The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยตามหลัก SIMPLE

SIMPLE Patient@SSR2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by IPZPREAW, 2021-11-03 04:28:55

แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยตามหลัก SIMPLE

แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยตามหลัก SIMPLE

SIMPLE Patient@SSR2564

Keywords: แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยตามหลัก SIMPLE,SIMPLE Patient@SSR2564,แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย,SIMPLE Patient

แนวปฏิบตั ิ
เพ่อื ความปลอดภยั ของผปู้ ่ วย

ตามหลกั SIMPLE

โรงพยาบาลสวนสราญรมย์
จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี
ปี 2564

สารบัญ หนา้

หมวด เร่ือง 1
2
S: Safe Surgery (ECT) 2
S 1: Safe ECT and Invasive Procedure 4
8
S1.1: ECT Safety Checklist 8
S 2: Safe Anesthesia For ECT 10
S 3: Safe ECT Room 12
16
S 3.1: Safe Environment 17
S 3.2: Safe ECT Instrument 18
S 3.3: Safe ECT Care Process 18
I: Infection Control (Clean Care) 21
I 1: Hand Hygiene 23
I 2: Prevention of Healthcare Association Infection 26
I 2.1: Catheter-Associated Urinary Tract Infection (CAUTI) Prevention 27
I 2.2: Peripheral association blood stream infection 27
I 3: Isolation Precautions 32
M: Medication Safety 34
M 1: Safe from Adverse Drug Events (ADE) 36
M 1.1: Safe from High Alert Drug 36
M 1.2: Safe from Preventable Adverse Drug Reactions (ADR) 38
M 1.3: Safe from Fatal Drug Interaction 44
M 2: Safe form Medication Error 47
M 2.1: Look - Alike , Sound - Alike Medication Names 52
M 2.2: Safe from Using Medication 53
M 3: Medication Reconciliation 59
M 4: Rational Drug Use (RDU) 59
P: Patient Care Process 61
P 1: Patients identification 62
P 2: Communication 65
P 2.1: Effective communication - ISBAR 66
P 2.2: Communication During Patient Care Handovers
P 2.3: Communicating critical test Results
P 2.4: Verbal or Telephone Order/Communication
P 2.5: Abbreviations, Acronyms, Symbols, & Dose and Proportion

Designation

สารบญั (ตอ่ ) หนา้

หมวด เรอื่ ง 68
72
P 3: Reduction of Diagnostic Errors 72
P 4: Preventing Common Complications 74
76
P 4.1: Preventing suicidal attempt 79
P 4.2: Preventing Patient Falls 82
P 4.3: Preventing violence behavior 85
P 4.4: Preventing escape attempt 93
P 4.5: Preventing swallowing problems 94
P 4.6: Specific Clinical Risk 96
L: Line, Tube, and Catheter & Laboratory 97
L 1: Right and Accurate Laboratory Results 99
E: Emergency Response 99
E 1: Response to the Deteriorating Patient 101
E 2: ER Safety
E 2.1: Effective Triage 109
E 2.2: Effective Diagnosis and Initial Management of High-risk 110
112
Presentation
E 2.3: Effective Teamwork and Communication
E 2.4: Effective Patient Flow
E 2.5: Effective Hospital Preparedness for Emergencies

1

S: Safe Surgery (ECT)

S 1 Safe ECT and Invasive Procedure

S 1.1 ECT Safety Checklist

S 2 Safe Anesthesia For ECT
S 3 Safe ECT Room

S 3.1 Safe Environment
S 3.2 Safe ECT Instrument
S 3.3 Safe ECT Care Process

2

S1 : Safe ECT and Invasive Procedure
S 1.1: ECT Safety Checklist

Definition

เครื่องมือสำหรับช่วยตรวจสอบและประเมนิ ความพรอ้ ม โดยการสื่อสารในทีม ECT ให้เกิดความมั่นใจ
ในความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า เพ่ือลดข้อผิดพลาดและเหตุการณ์ไม่พึง ประสงค์จากการ
รักษาด้วยไฟฟ้าท่ีป้องกันได้ และเพ่ิมประสิทธิภาพในการส่ือสารการทำงานเป็นทีม โดยเทียบเคียงหลักคิดและ
วธิ กี ารมาจาก Surgical Safety Checklist จาก WHO

Goal

• ลดข้อผิดพลาดและเหตกุ ารณไ์ ม่พงึ ประสงคท์ ป่ี ้องกันได้จากกระบวนการรักษาด้วยไฟฟ้า
• สง่ เสริมการสอ่ื สารการทำงานเป็นทมี ที่คำนึงถึง critical safety steps ร่วมกัน

Why

เพ่ือลดข้อผิดพลาดและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการรักษาด้วยไฟฟ้า และเพ่ิมประสิทธิภาพในการ
สอื่ สารของทมี สหวชิ าชีพ

Process

การใช้ Safe ECT Checklist มีการปรับให้สอดคล้องกับการรักษาด้วยไฟฟ้า มีการทำงานร่วมของทีม
รักษาด้วยไฟฟ้า มีผู้ดำเนินกระบวนการตรวจเช็ค (Checklist coordinator) ณ ที่น้ีคือวิสัญญีพยาบาล แบ่ง
ออกเปน็ 3 ระยะ คอื ก่อนให้ยาระงบั ความรู้สกึ (Sign in) ก่อนรกั ษาด้วยไฟฟ้า (Time out) และก่อนผปู้ ว่ ยออก
จากห้องECT (Sign out) ซึ่งในแต่ละระยะทีมรักษาด้วยไฟฟ้าจะต้องปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะเริ่ม
ปฏิบตั ภิ ารกิจในระยะต่อไป โดยมแี นวทางปฏิบัติดงั นี้
1. กอ่ นให้ยาระงับความรู้สึก (Sign in)

ทีมรักษาด้วยไฟฟ้า โดยมีแพทย์ วิสัญญีพยาบาล และพยาบาลห้องหน่วยรักษาด้วยไฟฟ้าร่วมกัน
ดำเนินการตอ่ ไปน้ี

1.1 การยืนยันความถูกต้อง (Verification) ของชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย ปริมาณกระแสไฟที่ใช้ในครั้งก่อน
ปริมาณยานำสลบยาคลายกล้ามเน้ือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน ความเสี่ยงท่ีต้องเฝ้าระวัง และใบ
ยนิ ยอมการรกั ษาด้วยไฟฟา้

1.2 ตรวจสอบความครบถว้ นของอุปกรณแ์ ละยาทีใ่ ชใ้ นการระงบั ความรู้สกึ
1.3 ตรวจสอบ monitor pulse oximeter, EKG monitor, capnometer, NIBP ว่าใช้ได้
1.4 ตรวจสอบประวัตกิ ารแพ้ยา

3

1.5 ตรวจสอบประวตั ิการใส่ทอ่ ชว่ ยหายใจลำบากหรือเสี่ยงทจ่ี ะเกดิ อาการสำลัก ขณะช่วยหายใจ
1.6 ตรวจสอบ EEG electrode ตดิ ถกู ตอ้ ง และดูคา่ Impedance ใหไ้ ดต้ ามเกณมาตรฐาน
2. ก่อนรักษาดว้ ยไฟฟ้า (Time out)
ทีมรักษาด้วยไฟฟ้าประกอบด้วย แพทย์ วิสัญญีพยาบาล และพยาบาลห้องรักษาด้วยไฟฟ้า ร่วมกัน
ดำเนนิ การต่อไปนี้
2.1 แพทย์ วิสัญญีพยาบาล และพยาบาลห้องรักษาด้วยไฟฟ้า กล่าวยืนยันช่ือ-นามสกุลผู้ป่วย
พลงั งานท่ใี ช้รกั ษาด้วยไฟฟา้
2.2 แพทย/์ วสิ ัญญีพยาบาล ทบทวนปญั หาท่ตี อ้ งระมัดระวังในผ้ปู ่วยเฉพาะราย
3. ก่อนผู้ป่วยออกจากหอ้ ง ECT (Sign out)
ทีมผ่าตัดประกอบดว้ ยแพทย์วิสัญญีพยาบาล และพยาบาลหน่วยรกั ษาดว้ ยไฟฟ้า ร่วมกันดำเนินการดงั นี้
3.1 ยืนยันปริมาณพลังงานที่ใช้ในการรักษาดว้ ยไฟฟา้
3.2 แพทย์ วิสัญญีพยาบาล ทบทวนเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างรักษาด้วยไฟฟ้าและแจ้งให้ทีม
ห้องพักฟนื้ เพือ่ การดแู ลผปู้ ่วยอยา่ งต่อเนื่อง

Training

จัดแผนอบรมการใช้ ECT Safety Checklist ในทมี สหวชิ าชีพ

Monitoring

1. ร้อยละของการใชแ้ บบตรวจสอบที่ถกู ต้องเพอื่ ความปลอดภยั ของผ้ปู ว่ ยท่ีรบั การรักษาด้วยไฟฟ้า
2. อบุ ัติการณ์การรกั ษาด้วยไฟฟา้ ผิดคน
3. อุบตั กิ ารณ์การรักษาดว้ ยไฟฟ้าผดิ ขัน้ ตอน
4. อบุ ัตกิ ารณจ์ ากกระบวนการทางวิสัญญี
5. อุบัตกิ ารณค์ วามเสี่ยงทปี่ อ้ งกันได้จากการดูแลผูป้ ่วย ก่อน ระหว่าง และหลังการรกั ษาดว้ ยไฟฟา้

Pitfall

บุคลากรบางคนยงั มีความเขา้ ใจในการใช้ ECT Safety Checklist และไมไ่ ด้ดำเนนิ การร่วมกนั เปน็ ทมี

4

S 2 : Safe Anesthesia For ECT

Definition

ความปลอดภัยในการให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยขณะรักษาด้วยไฟฟ้า หมายถึง การมีอัตราการ
เสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเก่ียวข้องกับการให้ยาระงับความรู้สึกในขณะรักษาด้วยไฟฟ้าในอัตราต่ำ
และหลกี เลย่ี งภาวะแทรกซ้อนท่ีอาจปอ้ งกันได้

Goal

เพื่อให้ผู้ป่วยท่ีมารักษาด้วยไฟฟ้าได้รับการระงับความรู้สึกโดยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่
เหมาะสม มีกระบวนการการให้ยาระงับความรู้สึกตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้วยเคร่ืองมือและอุปกรณ์ทางการ
แพทยท์ ่เี หมาะสม เพอื่ ให้ได้รบั การรักษาดว้ ยไฟฟ้าโดยปลอดภัยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน

Why

จากงานวิจัยสหสถาบัน Thai Study (2005) โดยราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ซ่ึงพบ
อัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกภายใน 24 ช่ัวโมง 28:10000 ลดลงเป็น 14:10000
(งานวิจัย PAAd Thai Study 2015) และการลดลงของภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี ซ่ึงส่วนใหญ่ยังเป็น
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจ โดยราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์ได้ใช้แนวทาง International Standard for
a safe Practice of Anesthesia 2010 (จากความร่วมมือจากองค์การอนามัยโลก World Health
Organization และ World Federation of Societies of Anesthesiologists)

และนอกจากน้ีผู้ป่วยท่ีได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบ Unmodified ECT ยังคงอยู่ในภาวะรู้ตัว
ตลอดจนถึงขณะที่ไฟฟ้าผ่านเข้าสู่สมอง ผู้ป่วยจำนวนมากจึงมีอาการกลัวอย่างมาก Modified ECT หรือการ
รักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยานำสลบและยาคลายกล้ามเนื้อจึงช่วยป้องกันภาวะกระดูกหักและลดอาการกลัวของ
ผ้ปู ่วยได้ การให้ออกซิเจนรว่ มด้วยท้งั กอ่ นใหก้ ารรักษา ขณะรักษา และหลังการรกั ษาทำให้อัตราตายของผปู้ ่วย
หลังการรักษาลดลงอย่างมากในปัจจุบัน แม้เม่ือนับรวมผู้ป่วยท่ีมีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดและโรคทาง
กายอืน่ ๆด้วยแล้ว อัตราตายกย็ ังมเี พยี ง 1 ต่อ 80,000 เท่านั้น ซงึ่ เท่ากับอัตราตายจากการคลอดบุตร หรือการ
ผ่าตดั เล็ก

Process

การให้ยาระงบั ความรูส้ กึ ประกอบด้วย
1. บุคลากรท่ีสามารถให้การระงับความรสู้ ึกไดแ้ ก่
1.1 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ท่ีปฏิบัติงานในสถานบริการของรัฐ สถานพยาบาลในกำกับของรัฐ
หรอื สถานพยาบาลของสภากาชาดไทย
1.2 พยาบาลท่ีได้รับประกาศนียบัตรการศึกษา หรือการอบรมในหลักสูตรวิสัญญีพยาบาลโดย
ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสถานพยาบาลของรัฐ สถานพยาบาลในกำกับ

5

ของรัฐ หรือสถานพยาบาลของสภากาชาดไทย (เฉพาะการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป) โดยจำนวนบุคลากรที่
บริการต้องมคี วามเพียงพอต่อจำนวนผมู้ ารับการรกั ษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงบั ความรู้สกึ

2. กระบวนการทำงาน ขั้นตอนในการระงบั ความรูส้ ึกแก่ผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยไฟฟ้า
2.1 ระยะก่อนทำการรักษาดว้ ยไฟฟา้ แบบใช้ยาระงบั ความรู้สกึ

- พยาบาลวสิ ัญญีตรวจเยี่ยมผปู้ ว่ ยทีห่ อผปู้ ่วยเพื่อประเมนิ ปัญหา ความต้องการและเตรยี ม
ความพร้อมก่อนการรักษาด้วยไฟฟ้า โดยการประเมินและรวบรวมข้อมูลเก่ียวกับประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติการใช้ยาท่ีมีผลต่อการให้ยาระงับความรู้สึก อาการแสดงถึงพยาธิสภาพของระบบหายใจ หัวใจ ระบบ
ไหลเวยี น ภาวการณ์คลื่นไส้อาเจียน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ปัญหา/ความต้องการ สภาพความพร้อม
ด้านร่างกาย/จิตใจ ตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของเอกสาร การลงนามยินยอมรับการรักษา พร้อมท้ังให้
ข้อมูล คำแนะนำการปฏิบัติตัวและความเส่ียงที่อาจจะเกิดข้ึนระหว่างทำการรักษา เปิดโอกาส ให้ผู้ป่วย/
ครอบครัวซักถามข้อสงสัย เพ่ือลดความวิตกกังวล และเสนอทางเลือกให้ผู้ป่วย/ครอบครัว โดยคำนึงถึงความ
ปลอดภัย โดยมีการจำแนกผู้ป่วยตามเกณฑ์ของสมาคมวิสัญญีแพทย์อเมริกา (American Society of
Anesthesiologists Physical Status)

- ประสานงานและให้ข้อมูลการเตรียมผู้ป่วยให้ยาระงับความรู้สึกกับพยาบาลประจำหอ
ผปู้ ว่ ย

- บนั ทึกการตรวจเย่ยี ม การปฏิบตั ิการพยาบาลทใ่ี หก้ ับผ้ปู ว่ ย/ครอบครัว และสรุปผลท่ีเกิด
ข้นึ กบั ผ้ปู ่วย

- ประสานงานกบั ทีมสหวิชาชีพท่ีเก่ียวข้อง เพ่อื วางแผนใหย้ าระงบั ความรู้สึก
- เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือให้บริการทางวิสัญญี เครื่องมืออุปกรณ์การช่วย
ฟื้นคืน พร้อมให้บริการที่ปลอดภัยต่อผู้ป่วย เตรียมยา/เตรียมอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังตามสภาวะปัญหาของ
ผปู้ ว่ ยแตล่ ะรายและชนิดของการใหย้ าระงบั ความรสู้ ึก

หมายเหตุ : ช่วงการระบาดของเชื้อ โควิด 19 เพ่ือป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ ได้มีการปรับแนว
ทางการประเมินผู้ป่วย ในกลุม่ ผ้ปู ่วยท่ียงั เส่ียงสูงหรือเฝ้าระวังต่อการแพรก่ ระจายเชื้อ/ผู้ป่วยไม่ให้ความรว่ มมือ
ในการตรวจช่องปาก ดังน้ี

• ตรวจเย่ียมประเมินผู้ป่วยก่อนมารักษาด้วยไฟฟ้าด้วยการบริการดิจิทัล เพ่ือสื่อสารระหว่าง
ทีมสหวิชาชีพ เช่น การใช้ VDO call แทนการเข้าไปตรวจเยี่ยมผู้ป่วยท่ีหอผู้ป่วย รวมท้ังส่ง
ตอ่ ขอ้ มลู ผปู้ ่วยทาง line application

• การประเมินช่องปากผู้ป่วยก่อนรักษาด้วยไฟฟ้าทุกราย เพ่ือวางแผนใส่ท่อช่วยหายใจกรณี
เหตุฉกุ เฉินรวมทั้งตรวจร่างกายซ้ำทุกครั้งในเช้าวันทที่ ำการรักษาดว้ ยไฟฟ้า

2.2 ระยะขณะทำการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใชย้ าระงบั ความร้สู ึก
มีการเฝ้าระวังสัญญาณชีพของผู้ป่วยระหว่างรักษาด้วยไฟฟ้าตามมาตรฐานของราชวิทยาลัย

วสิ ัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย อนั ประกอบไปดว้ ย pulse oximeter , EKG monitor , capnometer , NIBP

6

มกี ารบันทึกท่ีเหมาะสมตามมาตรฐานของราชวิทยาลยั วสิ ัญญแี พทย์แห่งประเทศไทย และมีการประเมนิ ผ้ปู ่วย
กอ่ นการเคล่ือนย้าย

2.3 การดูแลผูป้ ่วยระยะหลังทำการรักษาด้วยไฟฟา้ แบบใช้ยาระงับความรู้สกึ ในห้องพักฟื้น
ดูแลให้ผู้ป่วยหลังการรักษาและสังเกตอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 60 นาทีโดยมีบุคลากรท่ีมี

คุณสมบัติตามข้อ 1 หรือบุคลากรท่ีได้รับการฝึกอบรมเร่ืองการดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกของแต่ละ
สถานพยาบาลมีการเฝ้าระวังและบันทึกทเ่ี หมาะสม และหรอื ก่อนส่งต่อผู้ป่วยจากหอ้ งพักฟ้ืนไปยังหอผู้ป่วย มี
post-anesthesia recovery scoring system ควรมีคะแนนที่ถึงเกณ และมีการตรวจเย่ียมผู้ป่วยหลังทำการ
รักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยานำสลบท่ีหอผู้ป่วยภายใน 24 ช่ัวโมงหลังได้ยาระงับความรู้สึก เพื่อเฝ้าระวัง
ภาวะแทรกซอ้ นต่อเนือ่ งและเพื่อวางแผนการพยาบาลในการระงับความรู้สึกเพือ่ รักษาดว้ ยไฟฟา้ ในครงั้ ตอ่ ไป

หมายเหตุ :ช่วงการระบาดของเช้ือโควิด 19 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ได้ปรับปรุงแนวทางการดูแล
ผู้ป่วยหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้า โดยการสวมชุดป้องกันตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยหัตการความเสี่ยง การ
เว้นระยะปลอดภัย การปรับใช้แก้วน้ำด่ืมจากการหมุนเวียนใช้ เป็นแบบใช้แล้วท้ิง 1 คน 1 แก้ว ได้มีการ
ปรึกษาทีมวิสัญญีแพทย์เพื่อหาแนวทาง ลดการฟุ้งกระจายเชื้อจากการใช้ oxygen nebulizer ปรับเป็น
oxygen canula โดยผปู้ ว่ ยยงั คงปลอดภัยไมม่ ีภาวะแทรกซ้อน

3. มีเครอ่ื งมือและอุปกรณ์ทางการแพทยท์ ่ีเหมาะสม ตามมาตรฐานของราชวิทยาลัยวสิ ัญญแี พทยแ์ ห่ง
ประเทศไทย

4. มีแนวทางการจัดการเม่ือเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ เพ่ือไม่ให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือลด
ความรุนแรงของภาวะไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ควรตั้งสติระงับความตกใจ ขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่
ช่วยเหลือได้ รายงานผู้จัดการความเส่ียง ผู้บังคับบัญชา ติดตามดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด และมีการทำ RCA เพื่อ
วิเคราะห์ปัญหา หาแนวทางการแก้ไข และจัดทำแนวปฏิบัติเพ่ือลดความเส่ียงที่อาจจะเกิดข้ึนซ้ำ เช่น แนว
ปฏิบัติป้องกันการดูแลผู้ป่วยผิดคน แนวปฏิบัติป้องกันภาวะ Aspirate แนวปฏิบัติป้องกันภาวะ Cyanosis
เป็นตน้

Training

1. วสิ ญั ญพี ยาบาลตอ้ งมกี ารอบรมเพิ่มพูนความร้เู ฉพาะด้านวสิ ัญญวี ิทยาอย่างนอ้ ย 15 ชว่ั โมงตอ่ 5 ปี
2. มีการจดั การฝึกทกั ษะช่วยหายใจให้กับบคุ ลากรทีม่ าชว่ ยดแู ลผู้ป่วยท่ีได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบ
ใช้ยาระงบั ความรู้สึก

Monitoring

1. ร้อยละของผู้ป่วยรักษาด้วยไฟฟ้าได้รับการประเมินปัญหาและเตรียมความพร้อมก่อนได้รับยานำ
สลบ

7

2. อัตราภาวะแทรกซอ้ นจากการรกั ษาด้วยไฟฟา้ แบบใช้ยานำสลบ
3. กำหนดแนวทางปฏบิ ัติ เฉพาะเร่ืองที่มีความรุนแรงหรอื ความเสี่ยงในแง่ของอบุ ัตกิ ารณ์ระดบั E ขึ้น
ไป
4. มีกิจกรรมรายงานข้อมูลเหตไุ มพ่ งึ ประสงค์ หรอื ภาวะแทรกซอ้ นเปน็ ประจำเพื่อหาแนวทางปอ้ งกัน
และลดความรุนแรง
5. บุคลากรอบรมเพิ่มพูนความรู้เฉพาะด้านวิสัญญีวิทยาตามเกณฑ์มาตรฐานราชวิทยาลัยวิสัญญี
แพทย์แหง่ ประเทศไทย

Pitfall

1. บคุ ลากรควรมจี ำนวนเหมาะสมกับงานของหน่วยงานวิสัญญี ประกอบดว้ ยการให้ยาระงับความรู้สึก
การประเมินเตรียมผู้ป่วยและให้ข้อมูลผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก ตลอดจนการดูแลระยะหลังให้ยาระงับ
ความร้สู ึก

2. การจัดหาทรพั ยากร ตามมาตรฐานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ การเฝ้าระวัง
ดว้ ย pulse oximeter ทุกราย การเฝ้าระวังระดับคาร์บอนไดออกไซดใ์ นลมหายใจออกด้วย capnometer ใน
ผปู้ ่วยได้ยาระงับความรสู้ ึกแบบทง้ั ตวั

3. ควรจัดตั้งห้องพักฟื้น (post anesthesia care unit : PACU) ท่ีมีการปรับระบบระบายอากาศท่ี
เหมาะสม ปลอดภัยตอ่ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทางอากาศ

4. หากมีอุปสรรคเก่ียวกับการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากห้องพักฟื้นภายหลังระยะเวลา 1 ช่ัวโมง ควรมี
การจำหนา่ ยดว้ ยระบบ scoring ทเ่ี หมาะสม หรอื ได้รบั อนุญาตจากผ้ปู ระกอบวชิ าชีพเวชกรรม

5. เนอื่ งจากการบริการวสิ ัญญีเป็นวิชาชีพเวชกรรม ผู้ให้ยาระงับความรู้สกึ จงึ ต้องรบั การศกึ ษาตอ่ เน่ือง
เพ่ือดำรงความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือชำนาญการ การร่วมประชุมวิชาการหรือเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
วิสญั ญจี งึ มีความจำเปน็

6. ควรมกี ารจัดฝึกอบรมการช่วยหายใจให้กับบุคลากรท่ีมาช่วยดูแลผู้ป่วยท่ีได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า
แบบใชย้ าระงบั ความรสู้ ึกอย่างนอ้ ยปลี ะครง้ั

8

S 3: Safe ECT Room

S 3.1: Safe Environment

Definition

สิ่งแวดล้อมในห้องรักษาด้วยไฟฟ้า ท่ีเป็นผลจากนโยบายและการปฏิบัติที่ทำให้มั่นใจว่ามีความ
ปลอดภยั ไม่เกิดอันตรายตอ่ ผ้ปู ว่ ยและเจ้าหน้าท่ี Patient Safety

Goals

ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ปลอดภัย จากส่งิ แวดล้อมในห้องรักษาด้วยไฟฟ้า ทั้งด้านกายภาพ (Mechanical
risk) เคมีและชีวภาพ (Chemical and biological risk)

Why

ส่ิงแวดล้อมภายในห้องรักษาด้วยไฟฟ้าอาจส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าท่ี จึง
ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการส่ิงแวดล้อมในห้องรกั ษาด้วยไฟฟ้าในเร่ืองโครงสร้าง (Structure) และระบบ
ระบายอากาศ (Ventilation)

Process

1. วางระบบโครงสร้างในห้อง ECT ใหเ้ กิดความปลอดภัย

1) การแบ่งเขต การกำหนดพ้ืนท่ีในการทำงาน เป็นไปตามมาตรฐานการทำงานในห้องรักษา
ด้วยไฟฟ้า

2) มีระบบระบายอากาศ มีการกรองอากาศ และการหมุนเวียนอากาศในห้องผ่าตัด 20 Air
change per Hour (ACH)

3) ใช้ระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน และมีระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน และตรวจสอบให้พร้อมใช้อยู่
เสมอ

4) มี pipeline system ซึ่งประกอบด้วย oxygen, vacuum ซ่ึงสายส่งและ hose เป็น
medical grade

5) มเี คร่ืองดับเพลงิ ในตำแหนง่ ทเ่ี หมาะสม

9

6) ในระยะแพร่กระจายเชื้อของโรคโควิด 19 เจ้าหน้าที่สวมชุดป้องกันตามมาตรฐานป้องกัน
การแพร่กระจายเช้ือและถอดชุดป้องกันในบริเวณที่จัดทำไว้ ก่อนออกจากห้องรักษาด้วยไฟฟ้าเพื่อ
ปอ้ งกันการแพร่กระจายเช้ือ
2. มีระบบการตรวจสอบและการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องรักษาด้วยไฟฟ้าอย่าง
สม่ำเสมอ
3. การทำความสะอาดพื้นผิวในห้องรักษาด้วยไฟฟ้า ก่อน ระหว่าง และหลังรักษาด้วยไฟฟ้า ตามแนว
ปฏบิ ตั ขิ องหนว่ ยงาน
4. การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดเช่น เคร่ืองรักษาด้วยไฟฟ้า ต้องปฏิบัติตามคู่มือของผู้ผลิต หรือแนว
ปฏบิ ตั ิ ของหนว่ ยงาน
5. สรา้ งสิ่งแวดลอ้ มในการดแู ล (Environment of care) โดยการประเมินปัจจัยเสี่ยงท่ีมีผลต่อการดูแล
เช่น การปอ้ งกันการตดิ เช้ือ คุณภาพอากาศ เป็นต้น
6. มีการควบคุมการใช้เสียงในห้องผ่าตัด เช่น เสียงจากโทรศัพท์ การพูดคุยเรื่องท่ีไม่เก่ียวข้องขณะ
ปฏิบตั ิงาน
7. มกี ารจำกดั บคุ ลากรเขา้ ออกในหอ้ งรักษาดว้ ยไฟฟ้าขณะรักษา

Training

1. มกี ารจดั อบรมการใชเ้ ครื่องมอื อปุ กรณ์ต่างๆ ใหบ้ ุคลากรใหม่ และทุกคร้ังเมือ่ มกี ารติดต้งั เครอื่ งใหม่
2. บุคลากรทุกคนควรไดร้ บั การอบรมการซอ้ มรับอัคคภี ัย

Monitoring

1. เฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในห้องรักษาด้วยไฟฟ้า ถ้าเกิดข้ึน
หรือมีแนวโน้มโอกาสเกิดให้มีการรายงานอุบัติการณ์ การวิเคราะห์หาสาเหตุและกำหนด แนวทางการ
แกป้ ญั หา และบนั ทกึ อยา่ งเปน็ ระบบ

2. ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอตามแนวปฏิบัติของ
หน่วยงาน

10

Pitfall

1. การใช้พดั ลมในหอ้ งผา่ ตดั อาจทำใหเ้ ชอ้ื โรค และฝุ่นละอองฟงุ้ กระจาย

2. ถา้ บคุ ลากรไม่ปฏิบตั ติ ามแนวปฏิบตั อิ ยา่ งเครง่ ครดั ทำให้เกดิ เหตุการณ์ทไ่ี มพ่ ึงประสงค์ได้

S 3.2: Safe ECT Instrument

Definition

การปฏิบัติเพื่อให้เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาด้วยไฟฟ้าและอุปกรณ์ทางการแพทย์ปลอดภัยต่อการ
นำไปใชก้ บั ผ้ปู ว่ ย

Goal

เคร่ืองมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้รับการทำลายเช้ือหรือทำให้ปราศจากเชื้อด้วยกระบวนการท่ี
ถูกตอ้ งตามมาตรฐาน

Why

การทำลายเช้ือและการทำให้ปราศจากเชื้อเป็นกระบวนการสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อจากการ
รักษา เคร่ืองมือแพทยแ์ ละอปุ กรณ์ท่ีใช้กับผปู้ ่วยจำนวนมากต้องมีการนำกลบั มาใช้ซ้ำ ดังนั้น หากกระบวนการ
ทำลายเช้ือหรือทำให้ปราศจากเช้ือไม่มีประสิทธิภาพ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยติดเช้ือจากเคร่ืองมือแพทย์หรือ
อปุ กรณ์ต่างๆ เหล่านน้ั ได้

Process

การปฏิบัติในการทำความสะอาด การทำลายเช้ือและการทำให้ปราศจากเชื้อเครื่องมือและอุปกรณ์
ทางการแพทย์ มขี น้ั ตอนดังต่อไปน้ี

1. กำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติในการทำความสะอาด เลือกวิธีการทำลายเช้ือหรือการทำให้
ปราศจากเชื้อ เครื่องมือและอุปกรณ์การรักษาตามหลัก Spaulding Classification ซึ่งทางโรงพยาบาลสวน
สราญรมย์ได้จัดส่งเคร่ืองมือ ทำความสะอาดและทำปราศจากเช้ือกับโรงพยาบาลเครอื ข่าย ไม่ได้เปิดหน่วยทำ
ความสะอาดและปราศจากเชอื้ ภายในโรงพยาบาล

2. ให้ความรู้บุคลากรผู้ใช้เครือ่ งมือแพทย์ในการขจัดสิ่งท่ีปนเป้ือนบนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางแพทย์
ออกให้มากท่ีสุด ณ จุดใช้งาน (point of use) และบรรจุเคร่ืองมือและอุปกรณ์การรักษาที่ใช้แล้วในภาชนะท่ี
มิดชดิ เพือ่ ป้องกนั การแพร่กระจายเชือ้ และป้องกันเคร่อื งมอื ชำรดุ ขณะเคล่ือนย้าย

11

3. ตรวจสอบความสะอาดและความพร้อมในการใช้งานของเคร่ืองมือและอุปกรณ์การรักษาก่อนการ
บรรจหุ บี หอ่

4. เคร่ืองมือและอุปกรณ์การรักษาที่ทนความร้อนและความช้ืนสูงได้ใชว้ ิธีการทำให้ปราศจากเช้ือด้วย
ไอนำ้ หรอื ปฏิบตั ิตามคาแนะนำของบริษัทผูผ้ ลติ เครือ่ งมอื แพทย์

5. จัดหาเคร่ืองมือและอุปกรณ์การรักษาให้เพียงพอ โดยหลีกเล่ียงวิธีการทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์
การรักษาปราศจากเช้ือด้วยวธิ ี Immediate Use Steam Sterilization (IUSS)

6. ตรวจสอบประสิทธิภาพในการทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์การรักษาปราศจากเช้ือ ตามมาตรฐาน
อย่างสม่ำเสมอ

7. บันทกึ และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อการทวนสอบในกรณีที่เพอ่ื เรยี กเคร่ืองมือและอุปกรณ์
การรกั ษากลบั คืน (recall) กรณเี กดิ ความล้มเหลวในกระบวนการทำให้ปราศจากเชอื้

8. ตรวจสอบสภาพของหีบห่อเครื่องมือและอุปกรณ์การรักษาให้ครบถว้ นสมบูรณ์ รวมท้ังตวั ช้ีวัดทาง
เคมภี ายนอกและภายใน กอ่ นนำเครือ่ งมือและอปุ กรณ์การรักษาไปใช้

9. จัดเก็บหีบห่อเครื่องมอื แพทยป์ ราศจากเชอ้ื ในบริเวณเก็บเคร่ืองมือและอุปกรณ์ผ่าตัดปราศจากเช้ือ
ที่เหมาะสมตามประเภทของเครอื่ งมอื และอุปกรณน์ น้ั โดยคำนึงถงึ หลกั First in First Out (FIFO)

Training

1. มีการอบรมบุคลากรเก่ียวกับการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้ออย่างน้อยปีละคร้ัง และ
อบรมเพิ่มเติมเม่ือเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงาน หรือเมื่อมีการนำเครื่องมือและอุปกรณ์การรักษาชนิดใหม่มา
ใช้ และประเมินสมรรถนะในการปฏบิ ัติงานเปน็ ประจำทกุ ปี

2. ปฐมนเิ ทศบคุ ลากรที่ปฏิบตั งิ านใหม่เกี่ยวกบั การทำลายเชอ้ื และการทำให้ปราศจากเชื้อ

Monitoring

ประเมินและติดตามประสิทธิภาพการทำความสะอาด การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ
อย่างสมำ่ เสมอ ตั้งแตท่ จี่ ุดใชง้ านจนส้ินสดุ กระบวนการรกั ษา

Pitfall

1. บุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจในการแบ่งกลุ่มเครื่องมือแพทย์ตามหลัก Spaulding
Classification

2. บุคลากรไม่ปฏบิ ัติตามคำแนะนำของผผู้ ลิต ในเร่ืองของการทำความสะอาดและการทำใหป้ ราศจาก
เช้อื

12

S 3.3: Safe ECT Care Process

Definition

เป็นกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยท่ีมารับการรักษาด้วยไฟฟ้า ครอบคลุมต้ังแต่การเตรียมผู้ป่วยให้
พรอ้ มก่อนรกั ษาด้วยไฟฟา้ การดแู ลให้ปลอดภยั ระหวา่ งและหลงั รักษาดว้ ยไฟฟ้า

Goal

ผปู้ ว่ ยได้รบั ความปลอดภยั จากกระบวนการรกั ษาด้วยไฟฟา้

Why

การรักษาด้วยไฟฟ้าเป็นหัตการท่ีมคี วามเส่ียงอาจทำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงของระบบตา่ งๆในร่างกาย
เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดนิ หายใจ รวมถึงการใช้เครื่องมืออปุ กรณ์ต่างๆซึ่งเป็นเคร่ืองมือท่ีมีความ
เฉพาะเจาะจงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น เครื่องดมยาสลบ เคร่ืองรักษาด้วยไฟฟ้า
เพื่อลดการเกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงและภาวะไม่พึงประสงค์จากการรักษาด้วยไฟฟ้าเราจึงจำเป็นต้องมี เป็น
กระบวนการดูแลทีถ่ กู ต้องปลอดภัยต่อผู้ปว่ ยและผู้ปฏบิ ตั ิงาน

Process

กระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยทีม่ ารบั การรักษาด้วยไฟฟ้า ต้องทำอย่างต่อเน่ืองครอบคลุมทุกระยะ
ต้ังแตก่ ่อน ระหวา่ ง และหลังรกั ษาด้วยไฟฟา้ ดังน้ี

1. ระยะก่อนทำการรักษาด้วยไฟฟา้
1.1 พยาบาลวสิ ัญญีตรวจเยีย่ มผู้ป่วยท่ีหอผู้ปว่ ยเพื่อประเมินปญั หา ความต้องการและเตรียม

ความพร้อมก่อนการรักษาด้วยไฟฟ้า โดยการประเมินและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติการใช้ยาท่ีมีผลต่อการให้ยาระงับความรู้สึก อาการแสดงถึงพยาธิสภาพของระบบหายใจ หัวใจ ระบบ
ไหลเวียน ภาวการณ์คลื่นไส้อาเจยี น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ปัญหา/ความต้องการ สภาพความพร้อม
ด้านร่าง/จิตใจ ตรวจสอบความสมบูรณ์ถกู ต้องของเอกสาร การลงนามยินยอมรับการรักษา พร้อมทั้งให้ข้อมูล
คำแนะนำการปฏิบัติตัวและความเส่ียงที่อาจจะเกิดข้ึนระหว่างทำการรักษา เปิดโอกาสให้ผู้ป่วย/ครอบครัว
ซักถามข้อสงสัย เพ่ือลดความวิตกกังวล และเสนอทางเลือกให้ผู้ป่วย/ครอบครัว โดยคำนึงถึงความปลอดภัย
โด ย มี ก ารจ ำแ น ก ผู้ ป่ ว ย ต าม เก ณ ฑ์ ข อ งส ม าค ม วิสั ญ ญี แ พ ท ย์ อ เม ริก า ( American Society of
Anesthesiologists Physical Status)

1.2 ประสานงานและให้ข้อมูลการเตรยี มผู้ปว่ ยให้ยาระงับความรูส้ ึกกับพยาบาลประจำหอ
ผู้ปว่ ย

13

ข้ึนกับผู้ป่วย 1.3 บนั ทึกการตรวจเยีย่ ม การปฏิบตั ิการพยาบาลท่ีให้กบั ผูป้ ่วย/ครอบครัว และสรุปผลที่เกิด
1.4 ประสานงานกบั ทมี สหวชิ าชพี ท่เี ก่ยี วข้อง เพอื่ วางแผนการรกั ษา

1.5 เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ เคร่ืองรักษาด้วยไฟฟ้า เครื่องมือให้บริการทางวิสัญญี
เครอ่ื งมืออุปกรณ์การช่วยฟ้นื คืน พร้อมใหบ้ ริการท่ีปลอดภัยต่อผู้ปว่ ย เตรียมยา/เตรยี มอุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง
ตามสภาวะปัญหาของผ้ปู ว่ ยแตล่ ะรายและชนิดของการให้ยาระงับความรสู้ ึก

2. ระยะทำการรกั ษาด้วยไฟฟา้
2.1 เตรียมผูป้ ว่ ยใหพ้ รอ้ มสำหรบั การรักษาด้วยไฟฟา้
- ดูแลใหผ้ ูป้ ว่ ยนอนหงายราบบนเตยี งและจัดท่าเพือ่ เปิดทางเดินหายใจได้สะดวก
- ตดิ Monitor blood pressure , monitor ECG และ O2saturation
- ติดตามผล Monitor blood pressure , monitor ECG และ O2saturation เพื่อ

ดคู ่ามาตรฐาน ของผู้ป่วยแตล่ ะรายบนั ทกึ ลงแบบบันทกึ
- ตดิ electrode บริเวณศีรษะตอ่ กับเคร่อื ง ECT
- ให้ 0.9% NSS. ทางหลอดเลอื ดดำ
- ตรวจสอบความพรอ้ มของผู้ปว่ ยซำ้ ดา้ นผลการตรวจทางห้องปฏิบตั กิ ารต่างๆ

นำ้ หนักตวั ผู้ปว่ ยเพื่อคำนวณปริมาณยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายและเตรียมยาให้พร้อมใช้
- ทำ Sign in
- ทำการ Preoxygenation จน O2sat 100% ใส่ mouth guard ในปากผู้ป่วย

Monitor blood pressure และ Monitor ECG พยาบาลวิสัญญีฉีดยานำสลบ คือ Thiopental (ขนาด 3-5
mg./kg.) หรือ Propofol (ขนาด 2-2.5 mg./kg.) และทำการวัด blood pressure อีกครั้งหลังให้ยา สังเกต
และทดสอบวา่ ผปู้ ่วยหลับสนิทแล้ว ฉีดยาคลายกล้ามเน้อื กลมุ่ Depolarization คือ Succinylcholine (ขนาด
0.5-1 mg./kg.) สังเกตและรอให้ Fasciculation ตามกล้ามเนือ้ หมดไป (หรือรอ onset 60 วินาที หลังจากให้
ยาผู้ปว่ ยจะหยดุ หายใจและต้องช่วยหายใจโดยวสิ ัญญีพยาบาล) หลังจากน้ันจึงทำการทดสอบ Babinski’ Sign
ซ้ำอกี ครั้งถา้ ไม่พบ จดั ให้ฟันผูป้ ่วยชดิ กนั แจ้งความพร้อมกับทมี แพทย์เร่มิ กดไฟทำการรักษา

- ทำ Time out
- แพทยก์ ดปลอ่ ยกระแสไฟฟา้
- สังเกตลกั ษณะและประเมินระดับการชักร่วมกบั ทมี การรกั ษา
* ดา้ นร่างกาย เช่น อาการเกรง็ กระตุก ขนลุก
* ด้าน EEG สังเกตระดับคล่ืนสมองตั้งแต่การกดไฟ จนกระท่ังคล่ืนสมองกลับเข้าสู่
Base line ระยะเวลาทเี่ หมาะสม คอื 30-60 วินาที และไมเ่ กนิ 180 วินาที
* ถ้าระยะชักมากกว่า 90 วินาที แพทย์และพยาบาลวิสัญญีพิจารณาร่วมกันในการ
เพิม่ ปริมาณยา Thiopental หรอื Propofol เพอ่ื ให้ผู้ปว่ ยหยดุ ชัก

14

* ถ้าระยะชกั นอ้ ยกวา่ 25 วนิ าที แพทย์พจิ ารณาทำซ้ำหรอื ตามความเหมาะสม
- ประเมินการหายใจของผู้ป่วยโดยวิสัญญีพยาบาลเน่ืองจากหลังจากการทำการ
รกั ษาดว้ ยไฟฟ้าเสร็จแล้ว Duration ของยาระงบั ความรู้สึกยังไม่หมดไป จงึ ต้องดูแลและช่วยหายใจต่อจนกว่า
ผู้ป่วยจะกลับมาหายใจได้เอง และหลังจากน้ันทำการประเมินสารคัดหลั่ง การบาดเจ็บในช่องปาก ดูดเสมหะ
นำ้ ลายออกหลงั จากการชกั เสร็จสิ้น ปอ้ งกนั การสำลักและการตดิ เช้ือ
- ตรวจวัดสัญญาณชีพและประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนการเคล่ือนย้ายออก
จากหอ้ งทำการรักษา ทำ Sign out
- ลงบันทึกการปฏิบัติการพยาบาลเก่ียวกับการรักษาด้วยไฟฟ้า ยา อุปกรณ์ สภาวะ
เฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นรวมท้ังการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวในแบบบันทึกการรักษาด้วยไฟฟ้า
และแบบบันทึกทางการพยาบาล
- ส่งต่อข้อมลู ผ้ปู ่วยให้กับทีมผ้ดู ูแลหลังผ่าตัดโดยใชห้ ลกั การ SBAR ในการส่ือสารส่ง
ตอ่ ขอ้ มลู ให้กับหอ้ งพกั ฟื้น
หมายเหตุ เน่ืองจากอยู่ในช่วงการระบาดของเช้ือ โควิด 19 เพ่ือป้องกันการ
แพร่กระจายเชื้อได้มีการปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยขณะรักษาด้วยไฟฟ้า โดยมีการปรับปรุงแนว
ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยในยุคโควิด 19 ขณะทำการรักษาด้วยไฟฟ้ามีการสวมชุดป้องกันตามมาตรฐานการดูแล
ผู้ป่วยหัตการความเสี่ยงสูง การเว้นระยะปลอดภัย มีการใช้กล่องอะคริลิคครอบขณะทำหัตการ เช่น การดูด
เสมหะปอ้ งกนั การฟงุ้ กระจาย
3. การดแู ลผปู้ ่วยระยะหลงั ทำการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรูส้ ึกในหอ้ งพักฟ้ืน
ดูแลให้ผู้ป่วยหลังการรักษาและสังเกตอาการต่อเน่ืองอย่างน้อย 60 นาที โดยมีบุคลากรท่ีมี
คุณสมบัติตามข้อ 1 หรือบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมเร่ืองการดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึกของแต่ละ
สถานพยาบาลมีการเฝ้าระวังและบันทึกทีเ่ หมาะสม และ หรือก่อนส่งต่อผปู้ ว่ ยจากห้องพกั ฟื้นไปยงั หอผปู้ ว่ ย มี
post-anesthesia recovery scoring system ควรมีคะแนนที่ถึงเกณฑ์ และมีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยหลังทำ
การรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยานำสลบท่ีหอผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้ยาระงับความรู้สึก เพ่ือเฝ้าระวัง
ภาวะแทรกซ้อนตอ่ เน่อื งและเพือ่ วางแผนการพยาบาลในการระงบั ความรสู้ กึ เพอ่ื รักษาดว้ ยไฟฟ้าในครง้ั ต่อไป
หมายเหตุ เน่ืองจากอยู่ในช่วงการระบาดของเชื้อ โควิด 19 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเช้ือ
เพอ่ื ป้องกันการแพร่กระจายเช้ือได้มีการปรบั ปรุงแนวทางการดแู ลผู้ปว่ ยหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้า มีการสวม
ชุดป้องกันตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยหัตการความเสี่ยง การเว้นระยะปลอดภัย การปรับใช้แก้วน้ำดื่มจาก
การหมุนเวียนใช้ เป็นแบบใช้แล้วทิ้ง 1 คน 1 แก้ว ได้มีการปรึกษาทีมวิสัญญีแพทย์เพื่อหาแนวทาง ลดการฟุ้ง
กระจายเชื้อจากการใช้ oxygen nebulizer ปรับเป็น oxygen canula โดยผู้ป่วยยังคงปลอดภัยไม่มี
ภาวะแทรกซอ้ น

15

Training

1. วสิ ัญญพี ยาบาลต้องมีการอบรมเพม่ิ พูนความรูเ้ ฉพาะดา้ นวิสัญญวี ิทยาอยา่ งน้อย 15 ช่ัวโมงตอ่ 5 ปี
2. มีการจดั การฝึกทักษะช่วยหายใจให้กบั บุคลากรที่มาช่วยดูแลผู้ปว่ ยท่ไี ด้รบั การรักษาด้วยฟา้

Monitoring

1. อัตราภาวะแทรกซ้อนจากการรกั ษาด้วยไฟฟ้าท้ังแบบใช้ยานำสลบและแบบไม่ใช้ยานำสลบ
2. กำหนดแนวทางปฏบิ ัติ เฉพาะเร่ืองที่มคี วามเส่ียงในแง่ของอบุ ัติการณ์ หรอื ความรนุ แรงระดบั E ขึ้น
ไป
3. มกี ิจกรรมรายงานข้อมูลเหตไุ ม่พึงประสงค์ หรือภาวะแทรกซอ้ นเปน็ ประจำ เพ่ือหาแนวทางปอ้ งกนั
และลดความรนุ แรง
4. บคุ ลากรมกี ารศกึ ษาฝกึ อบรมความรแู้ ละทกั ษะอย่างต่อเนื่อง

Pitfall

• การสื่อสารภายในทีมที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย บุคลากรใช้ความเคย
ชนิ ในการทำงาน ไม่ยึดตามมาตรฐานหรือแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หรือขาดความรู้และทักษะท่ีสำคัญในการ
ปฏบิ ตั งิ าน ทำใหเ้ กิดเหตกุ ารณไ์ มพ่ ึงประสงค์ได้

• การประเมินและตรวจสอบข้อมูลท่ีสำคัญของผู้ป่วยอย่างเร่งรีบ อาจทำให้เกิดความผิดพลาดของ
ขอ้ มูล

16

I1 I: Infection Control (Clean Care)
I2
Hand Hygiene
I 2.1
I 2.2 Prevention of Healthcare Association Infection

I3 Catheter-Associated Urinary Tract Infection (CAUTI) Prevention
Peripheral association blood stream infection

Isolation Precautions

17

I 1: Hand Hygiene

Definition

การปฏิบัติเพื่อลดจำนวนเช้ือจุลชพี ที่อยู่บนมือโดยการถูมอื ดว้ ยแอลกอฮอล์ หรอื ล้างมือดว้ ยสบู่หรือสบู่ผสม
นำ้ ยาทำลายเชอ้ื

Goal

บุคลากรทำความสะอาดมอื อย่างถูกต้องและทำอย่างสมำ่ เสมอเม่ือปฏบิ ัติงานด้านคลนิ ิก

Why

การแพร่กระจายเช้ือในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะจากมือ
ของบุคลากรผู้ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย การล้างมืออย่างถูกวิธีเป็นวิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อใน
โรงพยาบาลท่ีมีประสิทธิภาพ สามารถลดอัตราการติดเชื้อของผู้ป่วยในโรงพยาบาล รวมทั้งลดโอกาสที่บคุ ลากรจะ
ติดเช้อื จากผปู้ ว่ ย และลดความสูญเสียท่ีจะเกิดขน้ึ จากการติดเชอื้ ในโรงพยาบาล

Process

1. จดั ใหม้ ี alcohol-based hand rubs ณ จดุ ท่ใี หบ้ รกิ ารผปู้ ว่ ยที่เขา้ ถงึ ไดง้ า่ ย ดังน้ี
1.1 รถ treatment รถตาม round แพทย์
1.2 หอ้ งแยกโรคทุกห้อง
1.3 counter ของแผนกบริการตา่ งๆ ไดแ้ ก่ OPD ER จุดบริการคัดกรองด่านหนา้

2. จดั ให้มสี ิง่ อำนวยความสะดวกทจ่ี ำเป็นสำหรับการล้างมอื เช่น เพ่ิมอา่ งล้างมอื ตามจดุ ท่ีมหี ตั ถการ
3. รณรงค์การล้างมือ : กจิ กรรมวันลา้ งมอื โปสเตอรล์ า้ งมือ
4. ให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง โดยปฏิบัติตามแนวท าง 5 moment
ประกอบด้วย 1) ก่อนสัมผัสผู้ป่วย 2) ก่อนทำหัตถการสะอาด/ปราศจากเชื้อ 3) หลังสัมผัสสารน้ำจากร่างกาย
ผ้ปู ่วย 4) หลังสัมผสั ผปู้ ว่ ย 5) หลงั สมั ผัสสงิ่ รอบตวั ผู้ปว่ ย
5. แสดงสือ่ เตือนใจในทท่ี ำงานเพือ่ กระตุ้นให้มีการล้างมือ เช่น ติดโปสเตอรก์ ารล้างมือ 7 ข้นั ตอน ที่บริเวณ
อา่ งลา้ งมอื
6. สังเกตตดิ ตามและวดั ระดับการปฏิบัตแิ ละใหข้ ้อมลู ป้อนกลับแกผ่ ู้ปฏบิ ตั งิ าน
การตดิ ตามและประเมินผล
ประเมินผลการล้างมอื ทกุ 3 เดอื น และรายงานใหห้ นว่ ยทีเ่ กีย่ วข้องทราบ

Training

มีการนำหัวข้อการล้างมือ (Hand washing) ในการอบรมต่าง ๆ ได้แก่ การอบรมพัฒนาศักยภาพ
บุคลากรในการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล สำหรับพยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเช้ือ
(ICWN) และการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ สำหรับ
บคุ ลากรหน่วยสนับสนุนในโรงพยาบาล ให้บุคลากรทีเ่ ขา้ รว่ มได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำความสะอาดมือ

18

Monitoring

ร้อยละของเจ้าหน้าท่ีทางการพยาบาลปฏิบัติตามมาตรฐานวิธีปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
จากเกณฑก์ ารลา้ งมือถูกตอ้ ง เป้าหมาย ≥ 95%

Pitfall

เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลจิตเวชทำให้การดูแลผู้ป่วยท่ีมีการทำหัตถการค่อนข้างน้อยมาก เจ้าหน้าท่ีจึง
ขาดความตระหนักในการล้างมือ โดยเฉพาะข้อบ่งชี้ของการทำความสะอาดมือ (5 moments) การล้างมือก่อน
สัมผสั ผู้ป่วย และหลังสมั ผสั สิ่งแวดลอ้ มรอบตวั ผ้ปู ว่ ย

I 2: Prevention of Healthcare Association Infection

I 2.1 : CAUTI Prevention

Definition

การติดเชื้อท่ีระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่มีการคาสายสวนปัสสาวะมาแล้วไม่น้อยกว่าสองวัน โดยใน
วันที่เริ่มมีอาการหรือการตรวจพบที่นำไปสู่การวินิจฉัยการติดเช้ือ ผู้ป่วยยังคงคาสายสวนอยู่หรือถอดสายสวน
ออกไปแล้วไมเ่ กนิ 2 วัน

Goal

ปอ้ งกนั การติดเช้อื จากการคาสายสวนปัสสาวะ

Why

การติดเชื้อท่ีระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่มากเกินความจำเป็น ทำให้ส้ินเปลือง
ค่าใช้จ่าย ผปู้ ว่ ยตอ้ งรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขน้ึ และอาจเปน็ ตน้ ตอของเชอื้ ดื้อยา

Process

1. การให้ความรูแ้ กบ่ ุคลากรท่ดี แู ลผปู้ ว่ ย: ฝกึ อบรมเจ้าหน้าท่ี
2. การประเมนิ ความจำเป็นท่จี ะตอ้ งใส่สายสวนปัสสาวะ ดงั น้ี

2.1 มีภาวะอุดก้ันระบบทางเดินปสั สาวะ
2.2 เกิดภาวะวิกฤตจำเป็นต้องบันทึกปริมาณปัสสาวะ เชน่ ผู้ป่วยชอ็ ค
2.3 ผูป้ ่วยทไี่ ดร้ ับการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะ
2.4 ผู้ปว่ ยทีม่ แี ผลบริเวณฝเี ยบ็ หรือบริเวณกน้ กบ และกล้นั ปสั สาวะไมไ่ ด้
2.5 ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องจำกัดการเคล่ือนไหวเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะบาดเจ็บรุนแรงบริเวณ

กระดกู สันหลงั ผู้ปว่ ยทไี่ ดร้ บั บาดเจ็บหลายอวยั วะ ฯลฯ
2.6 พิจารณาการเลอื กใช้วธิ กี ารอ่ืนแทนการสวนคาสายสวนปัสสาวะ เชน่ ใชถ้ ุงยางรองรับ

19

3. การสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะในสถานพยาบาล ใชเ้ ทคนิคปลอดเชื้อ
3.1 ลา้ งมือแบบ hygienic handwashing กอ่ นการจัดเตรียมชดุ สวนปสั สาวะ
3.2 เตรียมชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอกและอุปกรณ์สะอาดที่จำเป็นอ่ืน ๆ สำหรับการ
ใสส่ วนปสั สาวะ เชน่ ถงุ มือ ผ้าปิดตาผู้ปว่ ย สบู่ น้ำกลนั่ ชามรปู ไต และพลาสเตอร์ เปน็ ตน้
3.3 อธบิ ายให้ผู้ปว่ ยทราบก่อนใส่สายสวนปัสสาวะ
3.4 จดั ทา่ นอนผู้ป่วย โดยผู้ป่วยชายนอนหงาย เท้าราบ แยกขาออก และผู้ป่วยหญิงนอนหงาย ชนั เข่า
3.5 ล้ างมื อ ด้ ว ย น้ ำแ ล ะ ส บู่ (normal handwashing) ห รือ น้ ำกั บ น้ ำย าฆ่ าเชื้ อ (hygienic
handwashing) สวมถุงมือสะอาด เช็ดทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสบื พันธุ์ด้วยน้ำและสบู่ และ
เช็ดรูเปิดท่อปัสสาวะด้วยนำ้ ปราศจากเช้อื
3.6 ถอดถุงมอื สะอาดออก
3.7 ลา้ งมือแบบ hygienic handwashing
3.8 เตรียมอุปกรณ์สวนปัสสาวะปราศจากเช้ือโดยใช้เทคนิคปลอดเช้ือ ได้แก่ สายสวนปัสสาวะ
ปราศจากเช้ือ ขนาดเหมาะสมกับผู้ป่วย เพ่ือลดการบาดเจ็บท่ีท่อปัสสาวะ (เพศชาย 14-16 Fr.
เพศหญิง 12-14 Fr. ผู้ป่วยสูงอายุ 22-24 Fr.) ถุงรองรับปัสสาวะ ถุงมือปราศจากเชื้อ ผ้าปู
ปราศจากเช้ือ น้ำยาฆ่าเช้ือท่ีเหมาะสมสำหรับการทำความสะอาดรอบๆ ท่อปัสสาวะ น้ำกล่ัน
ปราศจากเชือ้ กระบอกฉีดยาปราศจากเช้อื และสารหลอ่ ล่ืนปราศจากเชือ้ ชนิดใช้คร้ังเดยี วทงิ้
3.9 สวมถุงมอื ปราศจากเชือ้ หลอ่ ลื่นสายสวนดว้ ยสารหลอ่ ลน่ื ปราศจากเชื้อ
3.10 ปผู า้ ส่เี หล่ยี มเจาะกลางปราศจากเชือ้
3.11 เช็ดทำความสะอาดอวัยวะสบื พนั ธ์แุ ละรเู ปดิ ทอ่ ปัสสาวะด้วยน้ำสะอาด
3.12 สอดใส่สายสวนปสั สาวะ
3.12.1 ผู้ป่วยชาย รั้งองคชาตให้ทำมุม 60-90 องศากับลำตัว จับสายสวนปัสสาวะสอดเข้าท่อ
ปัสสาวะด้วย ความนุ่มนวล ใส่เข้าไปลึก 6-8 น้ิว หรือจนสุดสายสวน หรือจนกว่าจะมี
ปัสสาวะไหลออกมา และ รอจนปัสสาวะหยดุ ไหล
3.12.2 ผปู้ ว่ ยหญงิ ใช้นวิ้ หัวแมม่ ือและนิ้วชี้แหวก labia จนเห็นรเู ปิดท่อปสั สาวะแล้วจงึ สอดสาย
สวนปัสสาวะ เข้าท่อปัสสาวะด้วยความนุ่มนวล ใส่เข้าไปลึกประมาณ 2-3 นิ้ว หรือ
จนกว่าจะมีปัสสาวะไหลออก และรอจนปัสสาวะหยดุ ไหล
3.12.3 กรณที ี่ไม่ต้องการคาสายสวนปัสสาวะ ดงึ สายสวนปัสสาวะออกด้วยความนุม่ นวล ถอดถุง
มอื แลว้ ล้างมอื ดว้ ยน้ำและนำ้ ยาฆ่าเชอ้ื (hygienic handwashing)
3.12.4 กรณีทตี่ อ้ งการคาสายสวนปสั สาวะ
- ฉีดน้ำเข้าลูกโป่งสายสวนประมาณ 10-20 มล. แล้วค่อยๆดึงสายสวนออกจนลูกโป่ง
ตรึง ติดกระชับกับส่วนล่างของกระเพาะปัสสาวะ ต่อสายสวนปัสสาวะเข้ากับท่อ
ระบาย ลงสถู่ ุงปัสสาวะ
- ตรึงสายสวนด้วยพลาสเตอร์สำหรับผู้ป่วยผู้ชายตรึงกับโคนขาด้านหน้าหรือหน้าท้อง
ส่วนผูป้ ่วยหญิงตรงึ กับโคนขาด้านใน
- จดั สายสวนและสายตอ่ เขา้ ถงุ ปัสสาวะใหล้ าดลงสู่ถงุ ปัสสาวะ
- แขวนถุงปัสสาวะไว้ข้างเตียง ให้ถุงสูงจากพื้น และต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ
เสมอ

20

- ถอดถงุ มอื แลว้ ลา้ งมอื แบบ hygienic handwashing
4. การดูแลสายสวนและระบบระบายนำ้ ปัสสาวะ

4.1 ลา้ งมือ และสวมถงุ มอื สะอาดกอ่ นจับต้องสายสวนปัสสาวะและถงุ ปสั สาวะทุกครงั้
4.2 ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธแุ์ ละรูเปิดทอ่ ปสั สาวะดว้ ยน้ำและสบู่อย่างนอ้ ยวนั ละ 2 คร้ัง

และ ทุกคร้ังหลังถ่ายอุจจาระหรือเมอ่ื สกปรก
4.3 ดแู ลสายสวนปสั สาวะให้เป็นระบบปดิ ตลอดเวลา
4.4 ดูแลสายสวนปสั สาวะไม่ให้หักพับงอให้นำ้ ปัสสาวะไหลลงถุงไดส้ ะดวกจดั ให้ถุงปสั สาวะอยู่ต่ำกว่า

ระดบั กระเพาะปสั สาวะ ไมว่ างถุงรองปัสสาวะไวบ้ นพ้นื
4.5 การเคล่ือนย้ายผู้ป่วยต้องให้ถุงรองรับปัสสาวะอยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะเสมอ กรณีที่ไม่

สามารถใหถ้ งุ ปัสสาวะอยตู่ ่ำกว่าระดบั กระเพาะปสั สาวะใหห้ นีบสายสวนปัสสาวะ
4.6 การเทปัสสาวะ ให้เทปัสสาวะเมื่อปัสสาวะมีปริมาณ ¾ ของถุงหรอื ตามเวลาที่กำหนด สวมถุงมือ

สะอาด เทปัสสาวะออกจากถุงรองรับปัสสาวะด้วยเทคนิคปลอดเชื้อโดยใช้น้ำยาทำลายเช้ือเช็ด
บริเวณรอบปลายเปิดถุงรองรับ ปัสสาวะก่อนและหลังเทปัสสาวะ เทน้ำปัสสาวะจากถุงรองรับ
ปัสสาวะโดยใช้ภาชนะรองรับปัสสาวะแยกกันในผู้ป่วยแต่ละราย เปลี่ยนถุงมือคู่ใหม่ในการเท
ปัสสาวะในผู้ปว่ ยแต่ละราย
4.7 กรณีท่ีมีการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ ไม่แนะนำให้สวนล้างกระเพาะปัสสาวะ ควรเปล่ียนสาย
สวนปัสสาวะทงั้ ระบบ
4.8 การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ ไม่ควรปฏิบัติเป็นประจำ เมื่อจำเป็นต้องสวนล้างกระเพาะ
ปัสสาวะเพอื่ การรกั ษา ควรสวนลา้ งกระเพาะปัสสาวะด้วยระบบปดิ โดยใชเ้ ทคนคิ ปลอดเชื้อ
4.9 การเกบ็ ปสั สาวะเพ่ือสง่ ตรวจ ใหใ้ ชเ้ ทคนคิ ปลอดเชอ้ื
- กรณีต้องการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (urine examination) หรือตรวจเพาะเชื้อ (urine

culture) ควรดูดปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะด้วยเข็มปราศจากเช้ือขนาดเล็ก (No. 23)
และใชเ้ ทคนคิ ปลอดเชื้อ
- กรณีต้องการปริมาณปัสสาวะจำนวนมากเพ่ือส่งตรวจ ให้เทจากถุงรองรับปัสสาวะโดยใช้
เทคนคิ ปลอดเช้อื
4.10 ผู้ป่วยท่ีคาสายสวนปัสสาวะไว้นาน ควรพิจารณาสวนปัสสาวะแบบครั้งคราว (intermittent
catheterization)
4.11 ไม่ต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะและถุงรองรับปัสสาวะเป็นประจำ ให้พิจารณาเปลี่ยนสายสวน
ปัสสาวะ และถงุ รองรับปัสสาวะในกรณีท่มี ีการอดุ ตนั หรือร่วั
5. การถอดสายสวนปัสสาวะ
5.1 ควรถอดสายสวนปสั สาวะออกทันทีเม่อื หมดข้อบ่งช้ี
5.2 ทำความสะอาดมอื ด้วยน้ำและสบู่ (normal handwashing) ใสถ่ ุงมอื สะอาด
5.3 อธบิ ายใหผ้ ู้ปว่ ยทราบกอ่ นถอดสายสวนปสั สาวะ เพ่ือใหผ้ ปู้ ว่ ยให้ความรว่ มมือ
5.4 ทำความสะอาดอวยั วะสบื พนั ธ์ุภายนอกด้วยสบูแ่ ละน้ำสะอาด
5.5 ดดู น้ำออกจากบอลลนู
5.6 ดงึ สายสวนปัสสาวะออกดว้ ยความนุ่มนวล
5.7 ถอดถุงมอื ออก และทำความสะอาดมือ (hygienic handwashing)

21

6. การเปลี่ยนสายสวนและชุดระบายน้ำปัสสาวะ
เปลี่ยนสายสวน ท่อระบาย และถุงรองรบั ปสั สาวะ เมื่อชำรุด ร่ัว หรืออดุ ตัน

การตดิ ตามและประเมนิ ผล
1. ดำเนินการเฝ้าระวังการติดเชื้อจัดทำและรายงานข้อมูลอัตราการติดเช้ือในระบบทางเดินปัสสาวะใน
ผปู้ ่วยท่ใี สส่ ายสวนปัสสาวะทุก 3 เดอื น
2. สงั เกตตดิ ตามและวัดระดับการปฏิบัติและใหข้ อ้ มูลป้อนกลบั แก่ผู้ปฏบิ ัติงาน

Training

จดั ทำคู่มือวิธีปฏิบัติงาน (QW) แนะนำวิธีการสวนปัสสาวะที่ได้มาตรฐาน แล้วนำสู่ผู้ปฏิบัตใิ นหน่วยงานที่
มีการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับท่ีเก่ียวข้องกับการให้การพยาบาลผู้ป่วยท่ีได้รับสายสวน
ปัสสาวะ และผู้ป่วยท่ีคาสายสวนปัสสาวะ ได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันและลดอัตราการติดเชื้อของ
ระบบทางเดินปสั สาวะทีส่ มั พนั ธก์ บั การใส่สายสวนปัสสาวะ

Monitoring

1. อัตราการเกิด CAUTI ในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ เปา้ หมาย 0/1,000 cath.-day

Pitfall

1. บุคลากรที่ทำหัตถการสวนปัสสาวะและดูแลผู้ป่วยท่ีคาสายสวนปัสสาวะ มีอายุงานน้อย ประสบการณ์
และความเชี่ยวชาญในกาปฏบิ ตั งิ านนอ้ ย

2. คาสายสวนโดยไม่จำเป็น

I 2.2 Peripheral Associated bloodstream infection Prevention

Definition

การอักเสบของหลอดเลือดดำที่ให้สารน้ำ/เลือด/ส่วนประกอบของเลือดและยา มีลักษณะ ปวดบวม แดง
ร้อน คลำเส้นเลือดดำจะได้รอยนูนบริเวณท่ีแทงเข็ม หรือคลำเส้นเลือดดำได้เป็นเส้นแข็งบริเวณเหนือตำแหน่งท่ี
แทงเข็ม

Goal

ปอ้ งกันการตดิ เช้ือหลอดเลือดดำสว่ นปลาย

Why

การให้สารน้ำ/เลือด/ส่วนประกอบของเลือดและยา มีโอกาสทำให้เกิดการติดเช้ือในกระแสเลือด และอาจ
สง่ ผลต่อความปลอดภัยของผ้ปู ว่ ย การปอ้ งกนั การติดเชื้อท่เี ก่ยี วข้องกับการใชห้ ลอดเลอื ด จึงเปน็ ส่งิ ทป่ี อ้ งกันได้

22

Process

1. การปอ้ งกัน mechanical phlebitis
1.1 หลีกเลย่ี งการแทง catheter บริเวณปมุ่ กระดูก หรือ ตำแหน่งทมี่ กี ารเคลื่อนไหวบอ่ ย
1.2 หลีกเลีย่ งการออกแรงกดบนตำแหน่งทคี่ าเขม็ เช่น การวดั ความดนั โลหิต
1.3 กรณีเปลี่ยนตำแหน่งเปิดเส้นใหม่ ให้เลือกตำแหน่งที่สูงกว่าตำแหน่งเดิม และ หากแทงในแนวเส้น
เลอื ดเดมิ ใหแ้ ทงห่างจากตำแหนง่ เดิมสงู ขน้ึ อยา่ งน้อย 3 นิ้ว

2. การป้องกัน infective phlebitis
2.1 ล้างมือก่อนเปิดหลอดเลือด
2.2 ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณเปดิ หลอดเลือดดว้ ย alcohol 70%
2.3 ใชห้ ลกั aseptic technique ในการใหย้ า การปลดและต่อขอ้ ต่อต่าง ๆ
2.4 ใช้ขอ้ ต่อต่าง ๆ เพิ่มเฉพาะทีจ่ ำเปน็ และปลดท้ิงเมอื่ ไมใ่ ชง้ าน

3. การป้องกนั chemical phlebitis
3.1 ระมัดระวังการให้ยาหรือสารน้ำที่มีค่ำ pH ต่างไปจาก 7.35 – 7.45 หรือ osmolality มากกว่า
600-900 mOsm/L ท า ง ห ล อ ด เลื อ ด ด ำ ส่ ว น ป ล า ย เช่ น Dopamine, Dobutamine,
Epinephrine, 7.5% NaHCO3, 50% MgSO4, 10% Calcium gluconate, Furosemide
(Lasix), 50% Glucose, Potassium chloride (KCl) เปน็ ต้น
3.2 ยาทรี่ ะบใุ นข้อ 3.1 ควรให้ทาง central line หรอื เจือจางตามความเหมาะสมกอ่ นใหเ้ สมอ

4. การถอดเข็ม
4.1 พจิ ารณาถอดเขม็ ทันทีเมื่อไมม่ คี วามจำเปน็ ในการใช้งาน
4.2 ล้างมือก่อนถอดเขม็
4.3 กดเหนอื ปลายเข็ม ห้ามกดบนเข็ม เพราะจะทำให้เกิด mechanical phlebitis ได้

5. การปิดแผลตำแหน่งที่คาเข็ม
5.1 ปิดให้มองเห็นตำแหน่งที่คาเข็ม เพ่ือสังเกต/เฝ้าระวังการเกิด phlebitis แนะนำการปิดด้วย
transparent dressing
5.2 ยึด catheter อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันปลายเข็มเสียดสีกับหลอดเลือด การใช้ transparent
dressing ปิดตำแหน่งแทงเข็มชว่ ยใหป้ ระเมนิ สงั เกต/เฝ้าระวงั การ เกิด phlebitis ไดง้ า่ ย

การตดิ ตามและประเมินผล
ประเมินผลอัตราการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ทุก 3 เดือน และรายงานให้หน่วยที่เก่ียวข้อง

ทราบ

Training

จัดทำคู่มอื วิธปี ฏบิ ัตงิ าน (QW) แนะนำวิธีการใหส้ ารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายแล้วนำสู่ผู้ปฏิบัติใน

หน่วยงานท่ีมีการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับท่ีเก่ียวข้องกับการให้การพยาบาลผู้ป่วยท่ีให้

สารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายไดป้ ฏิบัตติ ามอย่างถกู ตอ้ ง เพ่ือปอ้ งกนั และลด phlebitis

23

Monitoring

อตั ราการเกดิ หลอดเลอื ดดำสว่ นปลายอักเสบ เป้าหมาย 0/1000 cath.- days

Pitfall (ข้อผดิ พลาดทีผ่ ่านมา)

1. การเตรยี มก่อนการใหส้ ารนำ้ การล้างมอื ก่อนแทง และ Aseptic technique ขณะแทงไมถ่ ูกตอ้ ง
2. ระหว่างการให้สารน้ำ ไมไ่ ด้ประเมิน phlebitis
3. ผปู้ ว่ ยจติ เวชใหค้ วามรว่ มมอื ในการดูแลระหว่างให้สารนำ้ น้อย

I 3: Isolation precautions

Definition

การปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเช้ือจากผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่เป็นพาหะโรค ไปสู่ผู้ป่วยอื่น ญาติ
ผ้ปู ่วย รวมถึงบคุ ลากรในทีมสขุ ภาพ

Goal

ป้องกนั การแพรก่ ระจายเชอ้ื ในโรงพยาบาล

Why

เชอื้ โรคสามารถแพร่กระจายได้มากในโรงพยาบาล จากผู้ป่วยสู่ผปู้ ่วย ผู้ปว่ ยสู่บุคลากร และบุคลากรสูผ่ ู้ปว่ ย
หากการดำเนินการของโรงพยาบาลในการป้องกนั การแพร่กระจายเชื้อไม่มีประสทิ ธภิ าพดีพอ บุคลากรขาดความรู้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ทำให้เกิดการระบาดของการติดเชื้อใน
โรงพยาบาล และสง่ ผลกระทบรนุ แรงทำให้ผู้ป่วยและบคุ ลากรเกิดการตดิ เชื้อ และอาจเสียชวี ิตได้

Process

1. ให้ความรบู้ คุ ลากร/ ผปู้ ่วย ในเรื่อง isolation precautions ดงั นี้
precautions หมายถึง การปฏิบัติ เพ่ือป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจุลชีพจากผู้ป่วย ผู้ติดเช้ือหรือผู้ที่มี

เช้ืออยู่แต่ไม่ปรากฏอาการ ไปสู่บุคลากรและผู้รับบริการอ่ืนๆ ตลอดจน หมายถึงการแยกผู้ป่วยให้อยู่ในห้องแยก
หรือการจัดผปู้ ่วยตดิ เชือ้ เดียวกนั อยู่ห้องเดียวกัน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายตา่ งๆ การลา้ งมอื และการนำส่งส่ิง
สง่ ตรวจทป่ี นเปอื้ นเชือ้ โรค แบง่ การปฏิบัตอิ อกเป็น 2 วิธีคือ

- Standard precautions
- Transmission - Based precautions
2. Standard precautions หมายถึง มาตรฐานการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อท่ีจะต้องปฏิบัติเพื่อ
ป้องกันการแพร่กระจายเช้ือทางเลือด สารน้ำสารคัดหล่ังผู้ป่วย โดยให้คำนึงว่าผู้ป่วยทุกรายอาจจะมีเช้ือโรคใน
รา่ งกายที่สามารถตดิ ต่อโดยเลือดและสารคัดหลั่ง ได้แก่ อุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะน้ำคร่ำ น้ำในเยื่อหุ้มปอด น้ำไข
สันหลงั เปน็ ต้น

24

3. Transmission - Based precautions หมายถึง วิธีการป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเช้ือใน
ผู้ป่วยท่ีทราบการวินิจฉัยแล้ว โดยป้องกันตามกลวิธีการติดต่อเพิ่มเติมจากการดูแลผู้ป่วยด้วย Standard
precautions ดังต่อไปน้ี

3.1 Airborne precautions หมายถึง วิธีป้องกันการแพร่กระจายเช้ือโรคท่ีแพร่ทางอากาศท่ีมีขนาด
เล็กกว่า 5 ไมครอน ซ่ึงลอยอยู่ในอากาศ ได้แก่ วัณโรค TB, โรคหัด Measles อีสุกอีใส chickenpox เป็นต้น ใช้
มาตรการ Standard precautions คูก่ บั N 95

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ซ่ึงเป็นการแพร่กระจายเช้ือแบบ Droplet
precautions แต่หัตการที่อาจทำให้เกิดฝอยละออง เชื้อแพร่กระจายทางอากาศได้ เช่น การ suction การใส่ท่อ
ช่วยหายใจ การพ่นยา และการป๊ัมหัวใจ ซ่ึงกิจกรรมเหล่านี้ต้องใช้หลักการ Airborne precautions ด้วย มีการ
เตรยี มความพร้อมห้องตรวจแยกโรคแบบ Modified AIIR ท่ี ER และ หอ้ ง Modified AIIR จำนวน 5 ห้องเพื่อดแู ล
ผูร้ ับบรกิ ารกลุม่ PUI และ ผปู้ ่วยยนื ยนั โรคโควดิ -19

3.2 Droplet precautions หมายถึง วธิ ีป้องกนั การแพรก่ ระจายเช้ือโรคจากละอองฝอย เสมหะ น้ำมูก
น้ำลาย โดยท่ีเช้ือโรคมีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน ท่ีมาสัมผัสกับร่างกาย บริเวณเย่ือบุ จมูกและปาก หรือฝอย
ละอองท่ีเกิดจากผู้ป่วยที่มีเชื้อโรค ไอ จาม พูด หรือขณะดูดเสมหะ ฝอยละอองน้ีขนาดใหญ่ลอยอยู่ในอากาศได้ไม่
นานในระยะไม่เกิน 3 ฟุต จากแหล่งโรค ได้แก่ หัด เยอรมัน rubella, คางทูม mumps, ไอกรน pertussis เป็น
ตน้ ใชม้ าตรการ Standard precautions คกู่ บั Surgical mask

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 เป็นการแพร่กระจายเช้ือแบบ Droplet
precautions ได้ใช้มาตรการการให้บริการและการทำงานของบุคลากรตามหลัก DMHTTมีการเว้นระยะห่าง 1.5-
2 เมตร จัดเตียงผปู้ ่วยห่างกัน 1-1.5 เมตร มีฉากพลาสติกใสกนั้ ระหวา่ งบุคลากรและผูร้ บั บริการ

3.3 Contact precaution หมายถึง วิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการสัมผัสทั้งทางตรง
และทางอ้อม การสัมผัสทางตรง เช่น การสัมผัสผิวหนังท่ีมีบาดแผล การสัมผัสทางอ้อม เช่น การสัมผัสส่ิงของ
เคร่ืองใช้ท่ีปนเป้ือนเช้ือ ได้แก่ เช้ือด้ือยา, herpes simplex/ zoster, infectious diarrhea, infectious wound
ใช้Standard precautions คู่กับ gloves

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 เป็นการแพร่กระจายเชื้อแบบ Contact
precaution มีการส่งเสริมให้บุคลากรล้างมือตามหลัก 5 Moment มีการสนับสนุนอุปกรณ์ส่งเสริมการล้างมือ
จัดหาน้ำยาล้างมือ Alcohol hand rub ให้เพียงพอ จัดทำอ่างล้างมือในแต่ละจุดเพื่อให้บุคลากรเข้าถึงง่าย มีการ
จัดหา Alcohol gel แบบเคร่ือง Automatic และแบบใช้เท้าเหยียบบริเวณท่ีมีผู้รับบริการเข้าถึงจานวนมากเพ่ือ
ลดการสมั ผสั อปุ กรณ์ ลดการปนเปอื้ น
การตดิ ตามและประเมินผล

ตดิ ตามนเิ ทศการปฏิบัตติ ามแนวทางตอ่ ไปนี้
1. การล้างมอื
2. การใช้อปุ กรณป์ ้องกันอันตรายส่วนบคุ คล
3. การทำลายเช้ือและทำใหป้ ราศจากเชือ้ ในวัสดอุ ุปกรณ์ทางการแพทย์
4. การบรหิ ารจัดการผา้ เปื้อน
5. การดูแลสิ่งแวดลอ้ ม การจัดการขยะ

25

Training

จัดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการควบคุมและป้องกันการติดเช้ือในโรงพยาบาลสำหรับ
พยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (ICWN) และโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศกั ยภาพบุคลากรในการ
ควบคุมและป้องกันการติดเช้ือสำหรับบุคลากรหน่วยสนับสนุนในโรงพยาบาล ให้บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับ
หลักการปอ้ งกนั การแพร่กระจายเชอื้

จัดทำคมู่ อื วิธปี ฏิบตั งิ าน (QW) เรื่องการการแยกผู้ป่วย (Isolation Precautions)

Monitoring

1. การล้างมืออยา่ งมปี ระสิทธิภาพ เปา้ หมาย ≥ 95%
2. จำนวนบคุ ลากรท่มี ีการติดเช้อื จากการปฏบิ ัตงิ านในโรงพยาบาล เปา้ หมาย 0 ราย
3. การใช้อุปกรณป์ ้องกนั การตดิ เช้ือถูกต้อง เปา้ หมาย ≥ 95%
4. รอ้ ยละการจัดการมลู ฝอยติดเช้ือถกู ต้อง เป้าหมาย 100%

Pitfall

1. การใช้หอ้ งแยกผิดประเภท
2. บุคลากรขาดความตระหนักในปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาล การมีส่วนร่วมใน isolation
precautions และการใช้ personal protective equipment
3. บุคลากรขาดความรู้เก่ียวกับวิถีทางการแพร่กระจายเช้ือของโรค หรือเช้ือต่าง ๆ ขาดความรู้ที่ถูกต้องใน
การป้องกนั การแพรก่ ระจายเชอ้ื
4. ระบบโครงสร้างอาคารของหอผูป้ ่วยในมีเฉพาะห้องแยกผู้ป่วยทก่ี ้าวรา้ วรุนแรงในแตล่ ะหอผู้ป่วย ยังไม่มี
ห้องแยกโรคท่ีชัดเจน จึงไดจ้ ัดระบบให้เปน็ การแยกพนื้ ทีผ่ ู้ป่วย แต่เนอ่ื งจากผู้ปว่ ยเป็นผู้ป่วยจติ เวชจึงควบคุมผู้ป่วย
ในการแยกตวั ได้ค่อนขา้ งยาก

26

M1 M : Medication Safety

M 1.1 Safe from Adverse Drug Events (ADE)
M 1.2
M 1.3 Safe from High Alert Drug
Safe from Preventable Adverse Drug Reactions (ADR)
M2 Safe from Fatal Drug Interaction

M 2.1 Safe form Medication error
M 2.2
Look - Alike , Sound - Alike Medication Names
M3 Safe from Using Medication
M4
Medication Reconciliation
Rational Drug Use (RDU)

27

M 1: Safe from Adverse Drug Events (ADE)

M 1.1: Safe from High Alert Drug

Definition

Adverse Drug Event (ADE): เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ท่ีเกิดข้ึนระหว่างการรักษา และได้รับการ
ประเมนิ แลว้ วา่ มคี วามสมั พนั ธก์ บั การใชย้ า

High Alert Drugs คือ ยาที่ตอ้ งระมัดระวังสูงเพราะอาจก่อใหเ้ กิดอันตรายแก่ผู้ป่วยอยา่ งมีนัยสำคัญ
เป็นยาที่มีดัชนีการรักษาแคบหรือมีการออกฤทธ์ิทีเ่ ปน็ อันตราย เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และยารกั ษา
มะเรง็ เปน็ ตน้

โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กำหนดยาท่ีมคี วามเสี่ยงสูงไว้ 2 กลมุ่ ดังนี้
กลุ่มท่ี 1 ยาทมี่ ีความเสี่ยงสงู ชนิดรบั ประทาน ได้แก่

1. Methylphenidate
2. Zolpidem tartrate
3. Lithium carbonate
4. Carbamazepine
5. Phenobarbital
6. Phenytoin
7. Sodium valproate
8. Clozapine
9. Ticlopidine
10. Warfarin sodium
กลุ่มที่ 2 ยาทมี่ คี วามเสย่ี งสูงสำหรับผู้ปว่ ยวิกฤต ได้แก่
1. Adenosine
2. Adrenaline injection (Epinephrine)
3. Atropine sulfate injection
4. Calcium gluconate
5. Dopamine Hydrochloride injection
6. Lidocaine hydrochloride injection
7. Potassium Chloride injection
8. Insulin preparations

Goal

1. ลดความคลาดเคล่อื นของยาความเสีย่ งสงู ท่ีจะก่อใหเ้ กิดอันตรายรนุ แรงหากถงึ ตวั ผ้ปู ว่ ย
2. ลดเหตกุ ารณไ์ ม่พึงประสงคจ์ ากการใชย้ าความเสี่ยงสงู

28

Why

1. พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา High Alert Drugs เช่น agranulocytosis และ
tachycardia จากการใช้ยา Clozapine เกิดอาการพิษจากการใช้ยา Lithium และ Sodium
valproate เกิดภาวะ hepatotoxicity หรือ Stevens Johnson Syndrome จากการใช้ยา
Phenytoin และภาวะ weight gain จากยา Sodium valproate เปน็ ตน้

2. พบความคลาดเคล่ือนของการบริหารยา High Alert Drugs ซ่ึงหากถึงตัวผู้ป่วยหรือไม่ได้รับการ
ติดตามอย่างใกล้ชิดและอยู่ในช่วงเวลาที่ควรเฝ้าระวังการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้
ยาความเสยี่ งสงู อาจสง่ ผลใหเ้ กดิ อันตรายจากการใช้ยาท่ีรุนแรงได้

Process

โรงพยาบาลสวนสราญรมย์โดยทีมสหวิชาชีพ กำหนดรายการยาท่ีมคี วามเสี่ยงสูงหรือยาท่ีต้องมีความ

ระมัดระวังการใช้สูง และมีแนวทางปฏิบัติที่มีการส่ือสารทำความเข้าใจกับผู้เก่ียวข้องโดยมีการกำกับติดตาม

การใช้ยาอยา่ งเหมาะสม เชน่

1. วิธกี ารเพื่อป้องกันอันตราย

• จัดทำแนวทางการติดตามการ Monitor Lab ในผู้ป่วยท่ีได้รับยากลุ่มท่ีมีความเส่ียงสูง (High

Alert drug; HAD) เพ่ือปอ้ งกนั การเกิดอบุ ัติการณ์อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาท่ีรนุ แรง

ดงั รายละเอียดในตาราง

• ยา Lithium

Drug D0,Drestart D7/D7adj./D next visit. M6 (รพช.) Y1, 2, 3, ... (รพช.)

Lithium - BUN/Cr* Bl level BUN/Cr - BUN/Cr

(ในผู้ป่วยท่ีได้รับยา - FT3*, FT4*, TSH* - FT3, FT4, TSH

> 600 mg/day) - EKG* (>60yrs/มี - ซักประวัติการมีประจำเดือน

underlying heart disease) ครงั้ สุดทา้ ย/Urine Preg test

- ซกั ประวัติการมีประจำเดอื น - Bl level

ครั้งสุดทา้ ย/Urine Preg test

การเจาะระดบั ยา Lithium ในเลือดควรเจาะหลงั ยามือ้ สุดท้าย ≥ 12 ชม. และหลงั ได้รับยาตอ่ เนือ่ งมาอยา่ งน้อย 7 วนั

กรณีผู้ปว่ ยนอก มีการสง่ ผู้ป่วยไปเจาะ Lab ที่ รพช. ดงั ระบุในตาราง

* กรณมี ีผล Lab ภายใน 6 เดอื น ไม่ตอ้ งตรวจ Lab ใหม่

• ยา Valproic acid, Phenytoin และ Carbamazepine

Drug D0,Drestart D7/D next visit./ D7adj /DS&S of M6 Y1, 2, 3, ...
Valproic acid CBC*, LFT* BTolx.l.evel CBC, LFT -
Phenytoin CBC*, Albumin*, LFT* Bl level CBC, LFT -
Carbamazepin CBC*, LFT* Bl level CBC, LFT -
* eกรณีมีผล Lab ภายใน 6 เดือน ไมต่ อ้ งตรวจ Lab ใหม่

- ติดตามในผู้ป่วยที่ไดร้ บั ยา

Valproic acid > 1,500 mg/day

Phenytoin เดย่ี ว > 300 mg/day หรือ ใช้ Phenytoin รว่ มกับ Valproic acid/Carbamazepine/Phenobarbital

Carbamazepine > 800 mg/day

29

• ยา Clozapine

Drug wk0 wk1-18, wkvisit wk19 - M5 > M6
Clozapine CBC* CBC qCBC q 1CBC q 2 mo.
* กรณีมผี ล Lab ภายใน 6 เดอื น ไม่ต้องตรวจ Lab ใหม่ wk/wkvisit mo./visit

• หมายเหตุ

D0 หมายถึง วันที่เร่มิ ไดร้ บั ยาเป็นครงั้ แรก

Drestart หมายถงึ วันทีเ่ ริ่มไดร้ บั ยาใหมอ่ กี ครง้ั

D7 หมายถงึ วนั ท่ี 7 หลงั จากไดร้ บั ยา

Dnext visit. หมายถึง visit ถัดไป หลังจากได้รับยา

D7adj. หมายถึง วันที่ 7 หรือ visit ถัดไป หลงั จากปรบั ขนาดยาใหม่

DS&S of Tox. หมายถงึ วันทพ่ี บอาการแสดงของพษิ จากยา

W0 หมายถงึ สัปดาห์ทีเ่ ร่ิมไดร้ ับยาเป็นครง้ั แรก

wk1-18 หมายถงึ สัปดาห์ที่ 1-18 หลังจากไดร้ บั ยา

wkvisit หมายถึง visit ถัดไป หลังจากได้รับยา

M6 หมายถงึ เม่ือครบ 6 เดือน

Y1,2,3, … หมายถึง เมื่อครบ 1 ป,ี 2 ป,ี 3 ปี, ….

2. วิธกี ารเพ่อื ค้นหาความผดิ พลง้ั และอนั ตราย

• จัดพ้ืนท่ีในการจัดเก็บเฉพาะยาความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะสร้างความมั่นใจให้แก่สหวิชาชีพใน

การเขา้ ถึงข้อมลู

• ผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการท่ีสำคัญสำหรับผู้ป่วยท่ีได้รับยาความเส่ียงสูงให้สามารถ

เข้าถึงข้อมูลได้และสามารถแปลผลข้อมูลได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ข้อมูลท่ีจัดทำมีป ระโยชน์

ต่อการติดตามการใช้ยา โดยผลทางห้องปฏิบัติการที่ได้จากข้อ 1 จะบันทึกไว้ในแบบบันทึก

การติดตามการ Monitor Lab ในผู้ป่วยที่ได้รับยา HAD และใส่ไว้แฟ้มประวตั ิผูป้ ่วยนอกเพ่ือ

สะดวกในการตดิ ตามและเฝา้ ระวัง

• มี double check อย่างเป็นอสิ ระต่อกนั ระหว่างสหวิชาชพี

3. วิธกี ารเพื่อบรรเทาอนั ตราย
• จัดทำ protocol สำหรับภาวะพษิ (intoxication) จากยาความเส่ยี งสงู โดยไมต่ ้องรอแพทย์

• จดั ทำแนวทางปฏิบตั ิในการให้คำแนะนำและปรกึ ษาจากเภสัชกรกรณที ่ีผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึง
ประสงค์ เพอ่ื ให้สามารถติดตามและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใชย้ าไดอ้ ย่างทนั ที ลดโอกาสใน
การเกดิ อาการไม่พงึ ประสงค์ทร่ี ุนแรงสำหรบั อาการท่ปี ้องกนั ได้

30

ตัวอย่าง ปญั หาท่ีพบ กระบวนการป้องกนั
ความคลาดเคลอ่ื นทางยา
รายการยา
Clozapine 1. จ่ายยาคลาดเคลื่อนจาก 1. หากคำสั่งใชย้ าไม่ชัดเจน หรอื ไม่แน่ใจใน

clozapine เปน็ คำสั่งควรประสานกับพยาบาลหอผู้ป่วย

clorazepate เป็นเหตใุ ห้ หรือแพทยผ์ ูส้ ง่ั ใช้ยากรณผี ปู้ ว่ ยนอก

ผู้ป่วยตอ้ งกลับมา admit ท่ี 2. เมื่อมีการ review order ใหม่ ให้เภสัช

โรงพยาบาล กรย้อนกลับไปดูใบสั่งยาเก่าในกรณีที่มี

2. พบอาการไม่พงึ ประสงคท์ ี่อาจ ยาท่ีต้องรบั ประทานตอ่ เน่อื ง

นำไปสู่อาการไม่พึงประสงค์ท่ี 3. จัดสถานท่ีเก็บยาท่ีมีลักษณะแผงยา

รนุ แรงและมผี ลต่อชวี ิตของ คล้ายคลึงกันให้ห่างกันเพื่อไม่ให้เกิด

ผู้ปว่ ยจากการใชย้ า ความคลาดเคลอ่ื น

clozapine เชน่ 4. เฝ้าระวังการจ่ายยาที่มีลักษณะแผงยา

myocarditis คล้ายคลึงกันช่ือการค้าเดียวกันและ

agranulocytosis และ ความแรงใกล้เคียงกนั

seizure เปน็ ต้น 5. ประชุมภายในกลุ่มงานเภสัชกรรมเพื่อ

ชี้แจงและรับทราบความคลาดเคล่ือน

ทางยาท่ีเกิดขึ้นทำความเข้าใจรว่ มกันใน

กรณีเกิดความคลาดเคลื่อนจากการอ่าน

คำสัง่ ใชย้ าและการรับคำสง่ั ใช้ยาใหม่

6. เน้นยำ้ ให้เภสชั กรดขู อ้ มูลการวินจิ ฉยั โรค

และอาการเพื่อประกอบการจ่ายยาทุก

ครง้ั

7. เมื่อผู้ป่วยเร่ิมใช้ยา clozapine เป็นคร้ัง

แรก ให้ค่อยๆ ปรับขนาดยา (titration

dose) และ monitor CBC ทุกสัปดาห์

ตามแนวทางการปฏิบัติในการใช้ยา

clozapine

8. มีแนวปฏิบัติเพ่ือพิจารณาการใช้ยา

ความเสี่ยงสูงทุกรายการ รวมไปถึงยา

clozapine และหารือทีมสหวิชาชีพ

กรณีการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ หรือ

ผู้ ป่ ว ย ที่ เค ย มี ป ระ วัติ ล ม ชั ก ห รือ

โรคหัวใจ

9. หากพบว่าผู้ป่วยสงสัยเกิดอาการไม่พึง

ประสงค์จากยา clozapine ให้พยาบาล

หรือผู้ดูแลสามารถสังเกตอาการและ

31

รายการยา ปญั หาที่พบ กระบวนการป้องกนั
ความคลาดเคลือ่ นทางยา

รายงานแพทย์ได้อย่างเหมาะสม ตาม
แนวทางประเมินอาการไม่พึงประสงค์
จากยาความเสยี่ งสงู

Training

ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานทุกคน (แพทย์ พยาบาล เภสัชกร) ให้เข้าใจการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง เช่น
ขนาดยาที่เหมาะสมในการใช้สำหรับผู้ป่วยที่เร่ิมใช้ยาความเส่ียงสูง ลักษณะภาวะพิษเบื้องต้น การติดตาม

อาการไม่พงึ ประสงค์ การประเมินความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ระดบั ต่างๆ การใหส้ ารนำ้ เมอ่ื พบภาวะ
พิษจากการใช้ยา ยาท่ีเกิดอันตรปฏิกิริยาหากใช้ร่วมกับยาความเส่ียงสูงซึ่งอาจมีผลต่อขนาดยาในร่างกายของ

ผปู้ ว่ ย รจู้ ัก antidote และขนาดยาทีใ่ ชห้ ากพบอาการไม่ถงึ ประสงคจ์ ากการใชย้ า

Monitoring

ความคลาดเคล่ือนทางยาของยาที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การส่ังยา การคำนวณ การจัดจ่ายยา การ
เต รีย ม ย า ก ารบ ริห ารย าเห ตุ ก ารณ์ ไม่ พึ งป ระส งค์ ที่ เกิ ด ข้ึ น (Adverse Drug Event) เช่ น EPS
(Extrapyramidal side effects), NMS (Neuroleptic malignant syndrome), Serotonin syndrome,
SJS (Steven Johnson syndrome), hypotension, tachycardia, weight gain, hypersalivation,
agranulocytosis seizures

ไม่พบอบุ ัติการณ์การเกดิ อาการไมพ่ ึงประสงค์จากการใช้ยาท่ีมีความเสีย่ งสูง ระดบั รนุ แรง

Pitfall ไม่มีนโยบายกำกับการสง่ั ยาทค่ี รอบคลมุ กรณยี าทเี่ กิดความคลาดเคล่ือนบ่อยครั้ง
ไม่มีแนวทางหรอื เครื่องมือช่วยในการคำนวณยา เช่น ตารางผสมยาและการคำนวณ อัตราเร็วใน
- การใหย้ า
- ไม่มีแนวทางในการติดตามอาการผู้ป่วยหลังได้รับยาความเส่ียงสูงหรือยาที่มีอุบัติการณ์การเกิด
อาการไมพ่ ึงประสงคป์ ระเภทตา่ งๆ
-

32

M 1.2 Safe from Preventable Adverse Drug Reactions (ADR) แ พ้ ย าซ้ ำ แ พ้ ย าก ลุ่ ม
เดยี วกัน

Definition

Adverse Drug Reaction (ADR): อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาท่ีเกิดข้ึนระหว่างการรักษา
ดว้ ยยาในขนาดปกติและไดร้ บั การประเมนิ แล้วว่ามีความสัมพนั ธ์กับการใช้ยา

Drug Allergy: อาการแพ้ยาเป็นอาการไม่พึงประสงค์ท่ีเกิดจากปฏิกิริยาทางภูมคิ ุ้มกันของรา่ งกายต่อ
ยาท่ไี ดร้ บั

แพ้ยาซ้ำ: เหตุการณ์ท่ีผู้ป่วยแพ้ยาซ่ึงเป็นยาตัวเดียวกับที่เคยมีประวัติแพ้โดยมีอาการแสดงท่ี
เหมอื นกัน

แพ้ยากลุ่มเดียวกัน: เหตุการณ์ที่ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ยา จากยาที่มีโครงสร้างคล้ายกับยาที่มีประวัติ
แพโ้ ดยมอี าการเหมือนกนั

หมายเหตุ กรณีสงสัย pseudoallergy จากยากลมุ่ NSAIDs แพ้ยากลมุ่ เดียวกนั จะหมายถึงเหตุการณ์
ท่ีผู้ป่วยมีอาการคล้ายแพ้ยาแบบ immediate reaction เหมือนกัน เช่น angioedema
หรือ urticarial โดยเกิดจากยา NSAIDs ที่มีกลไกการออกฤทธ์ิยับยั้ง COX-I เหมือนกัน
ถงึ แม้จะเป็นยาที่มีโครงสร้างทางเคมีท่ีแตกต่างกัน เช่น ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้ยา aspirin
แบบ angioedema มารักษาครั้งนี้ได้รับยา ibuprofen หลังรับประทานยา 10 นาที มี
อาการ angioedema กรณีเช่นนี้ถึงแม้ ibuprofen และ aspirin จะมีโครงสร้างทางเคมี
แตกต่างกัน แต่อาการแสดงของการแพ้น่าจะเกิดจากกลไกการออกฤทธิ์ของยา aspirin
และ ibuprofen ท่ียับย้ัง COX-I เช่นเดียวกัน กรณีผู้ป่วยรายน้ีให้นับเป็น “แพ้ยากลุ่ม
เดียวกนั ”

Goal

การแพ้ยาซ้ำ การแพ้ยากลุ่มเดียวกัน จากการสั่งจ่ายยา การจ่ายยา การบริหารยาในผู้ป่วยที่มีประวัติ
แพย้ าลดลงหรือไม่เกดิ ขึ้น

Why

การแพ้ยาซ้ำในผู้ที่เคยมีประวัติการแพ้ยาหรือเกิดอาการจากยาดังกล่าวมาก่อน ถือเป็นอาการไม่พึง
ประสงค์จากการใช้ยาชนิดป้องกันได้ (preventable ADRs) ซึ่งในประเทศไทยมีรายงานอุบัติการณ์การแพ้ยา
ซ้ำ เท่ากับ ร้อยละ 4.39 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้รณรงค์ให้โรงพยาบาลต่างๆ มีการพัฒนาระบบยาเพ่ือให้
เกิดความปลอดภัยและเป็นหลักประกันในการบริการด้านยาแก่ผู้ป่วย โดยมีเป้าหมาย คือ อัตราการแพ้ยาซ้ำ
เท่ากับรอ้ ยละ 0

33

Process

1. วางระบบรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เขียน flow ให้ชัดเจน ทั้งกรณีผู้ป่วยให้ประวัติ
แพย้ าและผู้ปว่ ยมาดว้ ยอาการแพ้ยา

2. กำหนดบทบาทสหวชิ าชพี เพ่ือใหไ้ ดร้ ายงานท่ถี ูกตอ้ ง ครอบคลมุ
1) แพทย์ พยาบาล ซกั ประวตั ิแพ้ยาผปู้ ว่ ยทุกคร้งั ก่อนทำการรกั ษา
2) หากพบผูป้ ่วยมปี ระวัตแิ พ้ยา ส่งตอ่ ขอ้ มูลให้เภสัชกรซกั ประวตั ิเพื่อให้การประเมนิ ประวัติการ
เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในอดีตที่ผู้ป่วยมาแจ้งอย่างเป็นระบบ เพื่อได้ข้อมูลท่ี
เพยี งพอต่อการตดั สินใจใหก้ ารรกั ษาผ้ปู ่วยอย่างปลอดภัย
3) หากผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือมาด้วยอาการแพ้ยา ส่งต่อ
ขอ้ มลู ใหเ้ ภสัชกรประเมินและจดั การอาการไม่พงึ ประสงคจ์ ากาการใช้ยาอยา่ งเป็นระบบ และ
หายาทีส่ งสัยไดถ้ ูกต้อง
4) บันทึกข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในเวชระเบียนเพื่อให้การส่งต่อข้อมูลการเกิด
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของผู้ป่วยให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นไปในแนวทาง
เดียวกัน โดยครอบคลุมการบันทึกของเภสัชกร เร่ืองการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้
ยาท้ังของผู้ปว่ ยนอกและผู้ป่วยใน กรณีเป็นการใหป้ ระวตั ิเภสัชกรบันทึกข้อมลู การให้ประวตั ิ
วา่ เคยเกดิ อาการไม่พึงประสงคจ์ ากการใช้ยา
5) ควรบันทึกรายละเอียดท่ีเป็นประโยชน์ต่อการประเมนิ ให้มากที่สุดเท่าที่จะหาข้อมูลได้ ได้แก่
วันเดือนปีที่บันทึก ระบุข้อมูลท่ีผู้ป่วยบอกเล่า ประกอบด้วย ช่ือยาท่ีสงสัยว่าเป็นสาเหตุของ
การเกดิ ADR ระยะเวลาท่ีเกดิ อาการก่อนมาพบเภสัชกรครงั้ นี้ อาการหรอื ความผิดปกติทีพ่ บ
6) ออกบัตรแพ้ยาใหเ้ ป็นแนวทางเดียวกัน ซ่ึงต้องมีแนวทางบันทึกข้อมูลเป็นแนวทางเดียวกัน มี
ขอ้ มูลท่ีสมบูรณ์ ครบถ้วน คำแนะนำท่ีเหมาะสมให้บุคลากรทางการแพทยท์ ี่จะรักษามีข้อมูล
เพยี งพอในการตัดสินใจรกั ษาโดยไม่ทำใหผ้ ู้ป่วยเกิดอันตรายจากการแพ้ยาซำ้ หรือแพ้ยากลุ่ม
เดยี วกนั พรอ้ มทั้งกำหนดแนวทางส่งมอบบัตรแพ้ยาให้เปน็ แนวทางเดียวกนั

Training

1. ความรู้เรื่อง แพ้ยาซ้ำ แพย้ ากลมุ่ เดียวกัน
2. ความรู้การประเมินอาการไม่พงึ ประสงค์จากการใชย้ าอย่างเปน็ ระบบ

Monitoring

1. อุบัตกิ ารณแ์ พ้ยาซ้ำ
2. อบุ ัตกิ ารณ์แพ้ยากลมุ่ เดียวกนั
3. Medication error (การสง่ั ยา การจา่ ยยา การบริหารยา) ในผปู้ ่วยทม่ี ปี ระวตั ิแพย้ า

34

Pitfall

• การไม่เชื่อมข้อมูลความคลาดเคล่ือนทางยากับแพ้ยาซ้ำ แพ้ยากลุ่มเดียวกันทำให้เหตุการณ์ไม่ได้ถูก
ทบทวน

• แนวทางการประเมินอาการไม่พงึ ประสงคท์ หี่ ลากหลายไมเ่ ปน็ แนวทางเดยี วกัน

M 1.3 Safe from Fatal Drug Interaction

Definition

ปฏิกิริยาระหว่างยากับยา (Drug-Drug Interaction) หมายถึง การเปล่ียนแปลงที่เกิดข้ึนของยาตัวใด
ตัวหน่ึง โดยเป็นผลมาจากยาที่ได้รับควบคู่กันหรือได้รับมาก่อนหน้านั้น ผลกระทบท่ีเกิดขึ้นอาจจะมีผลต่อ
เภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetic) หรือ เภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamic) ก็ได้ โดยผลกระทบท่ี
เกดิ ขึน้ อาจสง่ ผลใหป้ ระสิทธิภาพของยาลดลงหรือมากขึ้นจนเกดิ อนั ตรายตอ่ ผู้ป่วยได้

Goal

• เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์รุนแรง (Adverse Drug Event) ท่ีเกิดจากการใช้คู่ยาท่ีเกิดปฏิกิริยา
ระหวา่ งยา = 0

• ผู้ป่วยปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่มีสาเหตุจากการเกิดปฏิกิริยาระหว่าง
ยา

Why

ปจั จุบันมีการใช้ยาหลายชนดิ ร่วมกัน เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพการรักษา รวมถึงแนวโน้มผสู้ ูงอายทุ ่ีมีโรค
หลายชนิดจำเป็นต้องใช้ยาหลากหลายชนิดร่วมกัน ย่ิงมีการใช้ยาร่วมกันหลายชนิดก็ยิ่งมีโอกาสเกิดปฏิกิริยา
ระหวา่ งยามากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอาการไมพ่ ึงประสงคซ์ ึ่งเป็นได้ท้ังความลม้ เหลวในการรักษาและการเกิดอาการ
ไม่ พึ งป ระสงค์จากการใช้ยา WHO Global Patient Safety Challenge ปี 2017 กำห น ดป ระเด็น
medication without harm โดยกำหนดเป้าหมายท่ีจะลดอันตรายรุนแรงจากการใช้ยาลงร้อยละ 50 ใน
ระยะเวลา 5 ปี โดยกลุ่มเป้าหมายหนึ่งได้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับมากกว่า 4 รายการ (polypharmacy) ซึ่งมักพบใน
กลุ่มผู้สูงอายุท่ีมีโรคเรื้อรัง การได้รับยาหลายรายการมีความเส่ียงท่ีจะเพ่ิมอาการข้างเคียงและเกิดปฏิกิริยา
ระหวา่ งยา

มีการศึกษาท่ีแสดงให้เห็นว่าร้อยละ 10-17 ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามีความสัมพันธ์
กับการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา นอกจากน้ียังมีรายงานกรณีศึกษาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาท่ีเกิด
จากปฏกิ ิริยาระหว่างยา เช่น ภาวะ gangrene จากการใช้ยาต้านไวรัสกลุ่ม protease inhibitor, ยาปฏิชีวนะ
กลุ่ม macrolide กับ ergotamine ภาวะ rhabdomyolysis จากการใช้ยาต้านไวรัสกลุ่ม protease
inhibitor, ยาปฏชิ วี นะกลุ่ม macrolide, ยาไขมันกลุ่ม fibrate กบั ยาลดไขมันกลุ่ม statin เปน็ ต้น

35

Process

1. กำหนดคู่ยาทเี่ กิดปฏิกิริยาระหว่างยารุนแรงและแนวทางการจัดการจดั การใหช้ ัดเจน ได้แก่

- ห้ามใช้ยาคู่ที่มีการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา 2 ชนิดท่ีผู้ป่วยใช้ร่วมกัน (fatal drug

interaction)

- กำหนดแนวปฏิบัติหากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน เช่น การปรับลด/เพิ่มขนาดยา การหยุดยา

ชั่วคราว การติดตามเฝ้าระวงั ที่ต้องกำหนดพารามเิ ตอร์ ระยะเวลาที่จะใหแ้ ตล่ ะวชิ าชีพต้องเฝ้า

ระวังติดตามท่ีชดั เจน

2. พฒั นาระบบงานให้คน้ หา ปอ้ งกนั หากมกี ารใชย้ าร่วมกัน

- พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะช่วยลดการใช้ยาร่วมกัน หรือเตือนเพื่อให้สหสาขา

วชิ าชพี ไดร้ ับทราบและปฏบิ ตั ิตามแนวทางท่ีกำหนด โดยให้ครอบคลมุ กรณไี ดร้ ับยาระหว่างวนั

- ใช้การดำเนินงาน medication reconciliation ช่วยตรวจสอบการใช้ยาระหว่างวัน ระหว่าง

สถานพยาบาล และผปู้ ว่ ยทีไ่ ดร้ ับยาหลาย visits

- เภสัชกรต้องทบทวนคำส่ังการใชย้ า (prescription screening) หากพบมีการใช้ยารว่ มกันต้อง

ประสานกบั แพทย์เพอื่ จดั การตามแนวปฏบิ ัติทก่ี ำหนดไว้

3. การจัดการคยู่ า fatal drug interaction

Fatal Drug Interaction Effect การจดั การ

Thioridazine Fluoxetine ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของ thioridazine ห้ามใช้ร่วมกัน ห าก
โดยไปมีผลต่อเอนไซม์ CYP 2D6 ทำให้ จำเป็นต้องใช้ร่วมกันให้

ระดับยา thioridazine ในเลือดเพิ่มข้ึน มี ก า รต รว จ ติ ด ต า ม
เส่ียงท่ีจะเสียชีวิตจากภาวะหัวใจเต้นเสีย คลน่ื ไฟฟ้าหวั ใจ (EKG)
จั งห ว ะ รว ม ถึ งอ าก าร torsades de

pointes

Thioridazine Propranolol ผลจากยาทั้ง 2 ชนิดจะเพ่ิมข้ึน เพ่ิมความ ห้ามใช้ร่วมกัน ห าก

เส่ียงท่ีจะเกิดภาวะหัวใจเต้นเสียจังหวะ จำเป็นต้องใช้ร่วมกันให้
จาก thioridazine จนเสียชีวิต สาเหตุเช่ือ มี ก า รต รว จ ติ ด ต า ม
ว่าเกิดการยังย้ังกระบวนการเปลี่ยนแปลง คลน่ื ไฟฟ้าหวั ใจ (EKG)

ของยาท้ัง 2 ชนิด

Thioridazine Ziprasidone เสี่ยงท่ีจะเสียชีวิตจากหัวใจเต้นเสียจังหวะ ห้ามใช้ร่วมกัน ห าก

รวมถึง torsades de pointes อาจเกิด จำเป็นต้องใช้ร่วมกันให้

การเสริมฤทธ์ิหรือเพ่ิมฤทธ์ิในการกดคล่ืน มี ก า รต รว จ ติ ด ต า ม

หวั ใจ QT interval คลื่นไฟฟ้าหวั ใจ (EKG)

36

Training

จัดให้มีการทบทวนวรรณกรรมใหม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับการจัดการกับคู่ยาที่เกิดปฏิกิริยาให้
เหมาะสม จัดให้มีการปฐมนิเทศแนวปฏิบัติการจัดการกับคู่ fatal drug interaction เพื่อให้ทราบถึงนโยบาย
และบทบาทแต่ละวิชาชพี

Monitoring

1. medication error “การใช้ยาคู่ Fatal Drug Interaction”
2. เหตกุ ารณ์ไมพ่ ึงประสงคจ์ าก “การใชย้ าคู่ Fatal Drug Interaction”
ไม่พบอุบตั ิการณ์การเกิดอาการไมพ่ ึงประสงค์จากการใชย้ าท่ีมีอันตรกริ ิยาตอ่ กนั ระดับรุนแรง

Pitfall

ปฏิกิริยา drug interaction ท่ีเกิดจากการได้รับยาจากแพทย์หลายท่าน และจากหลาย
สถานพยาบาลทถี่ กู มองข้ามไปในการดูแลผปู้ ว่ ย

M 2: Safe form Medication Error

M 2.1: Look-Alike, Sound-Alike Medication Names

Definition

- ความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error) คือ เหตุการณ์ใดๆทอ่ี าจเป็นสาเหตุหรือนำไปสูก่ าร
ใช้ยาที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วยที่สามารถป้องกันได้ ขณะท่ียาน้ันอยู่ในความ
ควบคุมดแู ลของบคุ ลากรหรือผใู้ ห้บรกิ าร

- ยาชื่อพอ้ ง คอื ยาท่ีออกเสยี งคลา้ ยกนั หรือยาทม่ี ชี อ่ื เหมือนกันแต่ตา่ งความแรง
ยามองคลา้ ย คือ ยาทมี่ รี ูปแบบบรรจุภณั ฑค์ ล้ายกนั หรือรปู ร่างเมด็ ยา สคี ล้ายกนั

Goal

เพือ่ ป้องกันความคลาดเคลอ่ื นทางยาในกลุม่ ยาทมี่ ชี อ่ื ยาคลา้ ยกันหรือออกเสียงคลา้ ยกัน

Why

ชื่อสามัญทางยาหรือช่ือการค้าของยาหลายชนิดมีตัวสะกดคล้ายกันหรืออ่านออกเสียงคล้ายกัน อาจ
ทำให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดได้ง่าย เช่น การเลือกยาจากรายการยาในระบบคอมพิวเตอร์ การเขียนด้วย
ลายมอื การสัง่ ยาทางโทรศัพท์หรือการสงั่ ด้วยวาจา

37

Process

1. ทบทวนรายช่ือยาท่ชี อ่ื พ้องมองคลา้ ยเป็นประจำทุกปี

2. ลดการใช้คำสั่งการรักษาด้วยวาจาหรือคำส่ังทางโทรศัพท์ หากจำเป็น ต้องมีการทวนซ้ำคำส่ังยากับ

แพทยผ์ ้สู ่ังใช้

3. ให้มกี ารอา่ นชอ่ื ยาซ้ำเม่ือหยบิ ยาและกอ่ นให้ยา

4. มีการจัดรูปแบบอักษรยาท่ีมีช่ือพ้องมองคล้าย เป็นตัวพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ให้เห็นความแตกต่างกัน

ชัดเจน (Tallman letter)

5. ในการพิจารณายาใหม่ควรเพ่ิมเกณฑ์ของยาท่ีมีช่ือพ้องมองคล้ายในการพิจารณาด้วย ถ้ามีความ

จำเปน็ ตอ้ งนำมาใช้ในสถานพยาบาล ต้องวางมาตรการเพอื่ ลดโอกาสเกดิ ความคลาดเคลื่อนทางยาไวล้ ่วงหนา้

รายการยาชื่อพอ้ ง มองคล้าย (Look-Alike Sound-Alike)

รายการยาที่ชื่อพ้อง (Sound-Alike)

ลำดับ ช่อื ยา ชื่อยา

1 Mianserin Mirtazapine

2 Vitamin B-complex Vitamin B1-6-12

3 Clorazepate Clozapine

4 Hyoscine Hydroxyzine

5 Risperidone 1 mg Risperidone 2 mg

6 Trihexyphenidyl 2 mg Trihexyphenidyl 5 mg

7 Trazodone 50 mg Trazodone 100 mg

8 Lorazepam 1 mg Lorazepam 2 mg

9 Clonazepam 1 mg Clonazepam 2 mg

10 Amoxicillin Amoxicillin/Clavulanic

รายการยาท่มี องคล้าย (Look-Alike) ชอ่ื ยา
ลำดบั ชื่อยา
Amitriptyline 10 mg
1 Chlorpromazine 25 mg Chlorpheniramine 4 mg
2 Bromhexine 8 mg Norfloxacin 400 mg
3 Metronidazole 400 mg Folic acid 5 mg
4 Aspirin 81 mg Trihexyphenidyl 5 mg
5 Vitamin B1 100 mg Quetiapine 200 mg
6 Metformin 500 mg Triamcinolone Cream
7 ClotrimazoleCream Milk of magnesia
8 Antacil gel Haloperidol decanoate 100 mg/2 ml
9 Haloperidol decanoate 50 mg/ml Olanzapine 10 mg
10 Chlorpromazine 200 mg

38

Training

จดั ให้มกี ารให้ความรูเ้ กย่ี วกับยาท่ีช่ือพอ้ งมองคล้ายในหนว่ ยงานอยา่ งสมำ่ เสมอ

Monitoring

คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ติดตามการเกิดความคลาดเคล่ือนทางยาที่เกิดจากยาที่มีช่ือ
พ้องมองคล้ายอย่างสม่ำเสมอ และออกมาตรการเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ (ตัวชี้วัดท่ีสำคัญ :
Medication error ท่ีเกดิ จากยาทช่ี ือ่ พ้องมองคล้ายกัน)

Pitfall

- ระมัดระวังการจัดซ้ือยาโดยไม่ได้พิจารณาชื่อยาและรูปลักษณ์ของยาก่อน จึงควรระบุไว้ในข้อกำหนด
ของยาทจี่ ัดซอ้ื ว่าต้องทำใหเ้ หน็ ความแตกต่างของยาที่มีชือ่ พ้องมองคล้าย

- ขาดการส่ือสารท่ีดี จึงควรมีการแจ้งข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาให้ผู้ประกอบวิชาชีพทราบเมื่อมี
เหตเุ กดิ ขน้ึ

M 2.2 Safe from Using Medication

Definition

ผปู้ ว่ ยไดร้ ับความปลอดภัยในกระบวนการใช้ยาของโรงพยาบาล

Goal

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาในทุกข้ันตอน ได้แก่ การส่ังใช้ยา การจัดจ่ายยา การให้ยาและ
การติดตามผลการให้ยา

Why

ระบบยามีความซับซ้อนและข้ันตอนทุกข้ันตอนมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ จึงต้องมีการวาง
ระบบงานท่ีดีเพอื่ ประกนั ความปลอดภยั จากการใชย้ า

39

Process

• การสง่ั ใชย้ า
- ผปู้ ่วยนอก: แพทย์สั่งยาโดยผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชื่อโปรแกรม Hospital Information
System (HIS) โดยจะมรี ะบบเพอื่ ช่วยแพทย์ในการตัดสนิ ใจสัง่ การรักษา ไดแ้ ก่
o มีระบบแสดงเตือนบนหน้าจอเมื่อมีการสั่งใช้ยาคู่ท่ีเกิดอันตรกิริยากันของโรงพยาบาล
เพ่ือให้แพทย์ป้อนข้อมูลยืนยันการสั่งใช้หรือปรับเปล่ียนยา ในกรณีท่ีแพทย์ยืนยันการ
สั่งใช้คู่ยาที่เกิดอันตรกิริยากันต่อกัน มีแนวทางการติดตามการไม่พึงประสงค์ที่อาจ
เกิดข้ึนจากยาที่เกดิ อนั ตรกิรยิ ากันต่อกันได้
o กรณีผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา ระบบจะแสดงเตือนด้วยตัวอักษรสีแดง “ผู้ป่วยแพ้ยา” บน
หนา้ จอคอมพิวเตอร์
o มีข้อมูลแสดง Pregnancy category ของยา เพ่ือให้แพทย์สามารถเลือกใช้ยาได้อย่าง
เหมาะสม
o สามารถเขา้ ดคู ่าผลทางห้องปฏบิ ตั ิการของผูป้ ว่ ยเพ่อื ประกอบการรักษาได้
- ผู้ป่วยใน: แพทย์สั่งยาผู้ป่วยในโดยเขียนคำสั่งใช้ยาพร้อมประวัติการแพ้ยาลงใน Doctor’s
order sheet และมีสำเนาส่งมาเบิกยาท่ีงานบริการจา่ ยยาผู้ป่วยใน ทำให้เภสัชกรตรวจสอบ
ยาทจ่ี ดั จ่ายกับคำสง่ั ท่รี ับโดยตรงจากแพทย์
- การจัดการกับยาที่ผูป้ ่วยนำติดตัวมาด้วย จะมกี ารซักประวัติ สืบค้นให้ได้รายการยาทั้งหมดท่ี
ผู้ปว่ ยใชอ้ ยู่ ทง้ั รายการยาจากสถานพยาบาลต่างๆ ยาทซ่ี ้ือใช้เองรวมท้งั สมุนไพร อาหารเสริม
ท้ังช่ือยา ขนาดยา และวิธีใช้ เพ่ือให้แพทย์ได้เปรียบเทียบรายการยาที่ใช้อยู่กับรายการยาท่ี
สั่งใหใ้ หมต่ ่อไป
o กรณีผู้ปว่ ยนอก พยาบาลดูช่อื ยาและวิธใี ชย้ าจากซองยาท่ีผปู้ ่วย/ญาตินำมา แตถ่ ้าไม่มี
การระบุช่ือยาบนซองยาให้ส่งมาให้เภสัชกรตรวจสอบจากลักษณะเม็ดยาอีกคร้ังหรือ
โทรศัพท์สอบถามจากแหล่งที่ผู้ป่วยได้รับยา กรณีที่ผู้ป่วย/ญาติไม่ได้นำยามาด้วยใน
คร้ังนี้ ต้องแนะนำผู้ป่วย/ญาตินำยาท้ังหมดมาด้วยในคร้ังหน้า หลังจากนั้นส่งพบ
แพทย์เพ่ือพิจารณาการส่ังใช้หรือไม่ หากแพทย์มีการส่ังใช้ร่วมกันให้เภสัชกร
ตรวจสอบขอ้ มลู การเกดิ อนั ตรกริ ิยาระหว่างยาใหมท่ ่แี พทย์สงั่ กับยาทผ่ี ูป้ ่วยนำมา
o กรณีผปู้ ่วยท่ีจะเข้ารับการรกั ษาในโรงพยาบาล เม่ือแพทยส์ ่ังใช้ยาท่ีผ้ปู ่วยนำติดตวั มา
จะมีการบันทึกลงในใบ Doctor’s order sheet และเจ้าหน้าที่จะนำยามาให้เภสัชกร
พิจารณาวันหมดอายุจากแผง สภาพภายนอกของยาและตรวจสอบข้อมูลการเกิด
อันตรกิริยาระหว่างยาท่ีนำติดตัวมาและยาที่แพทย์สั่งใช้ ก่อนจะนำยาไปใช้ในหอ
ผู้ป่วย จัดเก็บยาที่กลุ่มงานเภสัชกรรม จัดยาส่งไปยังหอผู้ป่วยทุกวันในรูปแบบ unit
dose
o กรณีผู้ป่วยใน เมื่อญาตินำยาที่ผู้ป่วยใช้ประจำจากบ้านมาส่งมอบให้พยาบาลในหอ
ผู้ป่วย พยาบาลประจำหอผู้ป่วยบันทึกรายการยา วิธีใช้ยา จำนวนยา ใน Doctor’s
order sheet รายงานแพทย์เพ่ือพิจารณาการใช้ยาต่อเน่ือง พร้อมส่ง Doctor’s

40

order sheet ที่แพทย์พิจารณาแล้วและยาท้ังหมดไปท่ีห้องยาผู้ป่วยใน เพื่อตรวจสอบ
การสง่ั ใช้ยา ประสานรายการยา จัดเก็บหรือแยกทำลายกรณแี พทยไ์ ม่ส่งั ใชย้ า จัดยาที่
แพทย์พจิ ารณาใชต้ ่อเนื่องสง่ ไปยงั หอผู้ป่วยทุกวันในรปู แบบ unit dose

• การเตรียม จัดจ่าย ส่งมอบ
- เภสัชกรมีการทบทวนคำส่ังใช้ยาทุกรายการเพ่ือให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัยจาก
การใช้ยา เช่น การสั่งยาเกินขนาดยาสูงสุด ขนาดยาท่ีเหมาะสมในผู้สูงอายุ ยาที่เหมาะสมใน
ผปู้ ว่ ยต้ังครรภ์ เป็นต้น
- เภสชั กรตรวจสอบยาท่ีจัดจ่ายกับคำส่ังการใช้ยาของแพทย์โดยตรงไม่ผา่ นการคัดลอก เพ่ือให้
ผ้ปู ว่ ยไดร้ ับยาท่ีถูกตอ้ ง ครบถว้ น
- ฉลากยามีข้อมูลครบถ้วนให้ตรวจสอบได้ เช่น ช่ือนามสกุลผู้ป่วย เลขประจำตัวผู้ป่วย ช่ือยา
ท้ังชื่อการค้าและช่ือสามัญทางยา ขนาดยา ความเข้มข้น ปริมาณ วิธีใช้ ข้อบ่งใช้ คำเตือนท่ี
จำเป็น และมี QR code ของ Rational Drug Use (RDU) เพ่ือให้ผู้ปว่ ยสามารถเข้าถึงข้อมูล
การใชย้ าของตนเอง
- จัดให้มีฉลากช่วยในกลุ่มยาท่ีมีความเส่ียงสูงแนบติดกับซองยาของผู้ป่วย ซ่ึงจะมีข้อมูล
เกย่ี วกบั ช่ือยา ข้อบง่ ใช้ และอาการไมพ่ งึ ประสงค์จากการใชย้ าที่สำคญั
- การส่งมอบยา เภสัชกรเรียกช่ือ-สกุลผู้ป่วยให้มารับยา และให้ผู้ป่วยทวนชื่อ-สกุลซ้ำอีกคร้ัง
ก่อนส่งมอบยา โดยเภสัชกรจะแนะนำยา ข้อบ่งใช้ วิธีการรับประทาน ความสำคัญของการ
รับประทานยาต่อเน่ืองและอาการข้างเคียงที่อาจพบได้ โดยเฉพาะยากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
กรณีที่ผู้ป่วยเกิดปัญหาจากการใช้ยาจะส่งพบเภสัชกรเพ่ือให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาจาก
การใชย้ าตอ่ ไป
- งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยในมีระบบกระจายยาในหอผู้ป่วยเป็นแบบ unit dose โดยใช้เครื่อง
จัดยาอัตโนมัติ จัดยาทุกวันให้แก่ผู้ป่วยทุกรายที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล เภสัชกร
ตรวจสอบความถูกต้องของยา unit dose ท่ีจ่ายกับคำสั่งใช้ยาของแพทย์ใน Doctor’s
order sheet (สำเนาสเี หลอื ง) ก่อนส่งมอบยาใหห้ อผูป้ ่วย

• การบริหารยา
- พยาบาลมีการตรวจสอบความถกู ต้อง ครบถ้วนของยาของผู้ป่วยแต่ละรายกบั คำสั่งใชย้ าของ
แพทย์ ก่อนบรหิ ารยาให้แกผ่ ู้ปว่ ย
- พยาบาลมีการบันทึกการบริหารยาทุกรายการลงใน Medication administration record
โดยมีข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ชื่อผู้ป่วย ประวัติแพ้ยา รายการยา ความแรง สารละลายที่ใช้ผสม
ยา วิถีการบริหารยา เวลาบริหารยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาถูกต้อง ครบถ้วน ตามแผนการ
รกั ษา

• การติดตามผลการใชย้ า
- กรณีผู้ป่วยทไ่ี ด้รับยาทมี่ ีความเส่ียงสงู ได้กำหนดระบบการตดิ ตามการใช้ยาท่ีมคี วามเส่ียงสูง
ในลักษณะของสหวิชาชีพ คือ แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร มีบทบาทในการติดตามอาการ

41

ไม่พึงประสงค์ และเฝ้าระวังการเกิดพิษจากการใช้ยาพร้อมท้ังให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาการไม่
พึงประสงค์จากยาแกผ่ ปู้ ่วยและญาติ

o ผู้ป่วยนอก จะได้รับการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาทุกครั้งท่ีมารับยา
จากกระบวนการสง่ มอบยา แต่จะบนั ทึกใน OPD Card ก็ตอ่ เม่อื เกิดปญั หาเท่านน้ั

o ผู้ป่วยใน พยาบาลจะทำการติดตามและเฝ้าระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการ
ใช้ยาท่ีมีความเส่ียงสงู ตามแบบบันทึกอาการไมพ่ ึงประสงค์จากการใช้ยาท่ีมคี วามเสี่ยง
สูงพร้อมรายงานแพทย์เม่ือมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นหรือกรณีไม่แน่ใจให้ปรึกษา
เภสชั กร

- กรณีผู้ป่วยได้รับยาใหม่ที่ต้องประเมินการใช้ยา ได้กำหนดรายการยาท่ีต้องประเมินการใช้
ยาซึ่งเป็นยาใหม่ที่ติดเคร่ืองหมาย Safety Monitoring Program (SMP) โดยทำการประเมิน
การใช้ยาในด้านข้อบ่งใช้ ขนาดยาที่ใช้ สำหรับผู้ป่วยนอกจะได้รับการติดตามอาการไม่พึง
ประสงค์จากการใช้ยาทุกคร้ังท่ีมารับยาจากในกระบวนการส่งมอบยา ส่วนผู้ป่วยในเภสัชกร
ประจำตึกจะติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและจะทำการบันทึกลงในแบบเก็บ
ข้อมลู การประเมนิ การใช้ยาซงึ่ อยู่ใน OPD Card ของผู้ป่วย

- กรณีผู้ปว่ ยได้รบั คู่ยาทเี่ กดิ อันตรกริ ยิ าระหวา่ งยา ได้กำหนดคู่ยาที่เกิดอันตรกริ ิยาระหวา่ งยา
ทม่ี ีนัยสำคัญระดับ1 หรือมรี ายงานเสียชวี ิตและจัดให้มีการติดตามเฝ้าระวังโดยทีมสหวิชาชีพ
ในกรณีผู้ป่วยนอกจะได้รับการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาทุกคร้ังท่ีมารับยา
จากในกระบวนการส่งมอบยา แต่จะบันทึกใน OPD Card ก็ต่อเม่ือเกิดปัญหาเท่าน้ัน กรณี
ผู้ป่วยในพยาบาลจะทำการติดตามและเฝ้าระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับคู่
ยาท่ีเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา พร้อมรายงานแพทย์เม่ือมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดข้ึน หรือ
กรณไี ม่แน่ใจใหป้ รกึ ษาเภสัชกร

• ช่วงสถานการณ์โรคระบาด COVID 19
ได้มีการปรับรูปแบบการให้บริการเพ่ือลดความแออัดในการให้บริการ ลดการแพร่กระจายของเช้ือ

COVID 19 โดยปรับบริการผู้ปว่ ยนอก ดังน้ี
กรณีผู้ป่วยอาการคงที่ไมต่ ้องมาโรงพยาบาล สามารถรับยาผ่าน 4 ช่องทาง คือ
1. การรับยาทางไปรษณีย์ โดยดำเนินการก่อนวันนัดหมายอย่างน้อย 1 สัปดาห์ พยาบาล
โทรศัพท์สอบถามอาการปัจจุบันและประเมินอาการทางจิต (Clinical Global Impression-
Severity: CGI-S) หากพิจารณาอาการและคะแนน CGIs แล้ว ไม่พบความเปล่ียนแปลงหรือ
สัญญาณท่ีบ่งบอกถงึ อาการทางจิตกำเรบิ แพทยพ์ ิจารณาอาการและมีคำส่งั ให้รับยาเดิม
2. การรับยาผ่านร้านยาใกล้บ้าน โดยการบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรม Pharm care Transition
ท่เี ช่ือมต่อกับโปรแกรม HIS ของโรงพยาบาลแบบ real time ผู้ป่วยเลือกร้านยาที่สะดวกไปรับ
บริการ
3. การรับยาผา่ นโรงพยาบาลเครือขา่ ย กระบวนการเช่นเดียวกับการใหบ้ ริการรบั ยาผ่านร้านยา
ใกล้บ้าน แต่เปล่ียนหน่วยบรกิ ารจากร้านยาเป็นโรงพยาบาลเครอื ขา่ ยท่ีอยู่ใกล้บ้านผู้ปว่ ย
4. การรับยาบนรถ (drive thru) กระบวนการเช่นเดียวกับการให้บริการรับยาทางไปรษณีย์ แต่
แตกต่างท่ีผูป้ ่วยหรอื ญาตริ ับยาเองทจี่ ุดนัดหมายในโรงพยาบาล

42

หมายเหตุ
- กรณีพยาบาลซักประวัติแล้วพบผู้ป่วยมีอาการเปล่ียนแปลงหรือกำเริบ, ผู้ป่วยที่ได้รับยาท่ีมี

ความเส่ียงสูงที่ขาดยาต้ังแต่ 1 สัปดาห์, ผู้ป่วยท่ีได้ยาท่ีไม่ใช่ยาท่ีมีความเส่ียงสูงท่ีขาดยาต้ังแต่ 2 สัปดาห์,
ผู้ป่วยที่ได้รับยา Methylphenidate, ผู้ป่วยที่ต้องติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ, ผู้ป่วยท่ีสงสัยว่าอาจเกิด
ปญั หาจากยา เปน็ ตน้ จะสง่ ต่อใหแ้ พทย์พิจารณาวา่ ควรไดร้ ับยาเดิมหรือไม่

- กรณีท่ีสงสัยว่าอาจเกิดปัญหาจากการใช้ยา ก็จะส่งข้อมูลไปท่ีเภสัชกรเพ่ือประเมินปัญหาจาก
การใชย้ า บนั ทึก Pharmacist note ในระบบ HIS เพื่อสอื่ สารใหแ้ พทย์ทราบและให้การรกั ษาต่อไป

กรณีผู้ป่วยมอี าการเปล่ยี นแปลงต้องมาโรงพยาบาล โรงพยาบาลจัดให้บริการ OPD ทห่ี น่วยบรกิ าร
ARI clinic มกี ารปรับเปลยี่ นสถานท่ีให้บรกิ ารผู้ปว่ ยนอกจากภายในตัวอาคารไปเป็นบริเวณด้านนอก

Training

- แพทย์ทุกคนเข้ารับการฝึกอบรมสม่ำเสมอเพื่อเพ่ิมความรูค้ วามสามารถและผ่านตามเกณฑ์ท่ีแพทย
สภากำหนด

- เภสัชกรทุกคนเขา้ รับการฝึกอบรมเพ่ือเพิ่มความรู้ความสามารถด้านเภสัชกรรมและผ่านตามเกณฑ์ที่
สภาเภสชั กรรมกำหนด

- กลุ่มงานเภสัชกรรม จัดการอบรมหลักสูตรอบรมระยะส้ัน “การบริบาลเภสัชกรรมเฉพาะทางสาขา
จิตเวช (Short course certificate in psychiatry pharmaceutical care)” แก่เภสัชกรเครือข่าย
ทุกปๆี ละ 1 รุ่น

- กลุ่มงานเภสัชกรรม จัดอบรมให้ความรู้เร่ืองยาท่ีจำเป็น (ยาจิตเวชผู้ใหญ่และยาจิตเวชสูงอายุ) แก่
พยาบาลในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

- เภสัชกรให้ความรู้เร่ืองยาทางจิตเวชแก่พยาบาลหลักสูตรเฉพาะทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิต
เวช และพยาบาลหลักสูตรเฉพาะทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชสูงอายุ ท่ีจัดโดย
โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ทกุ ปี

43

- เภสัชกรให้ความรู้เรื่องยาทางจิตเวชสำหรับผู้ป่วย Serious Mental Illness-Violent (SMI-V) แก่
พยาบาลท้ังในและนอกโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

Monitoring

ใหท้ ุกหน่วยงานท่ีเกิดความคลาดเคล่ือนทางยาบันทกึ ข้อมูลความคลาดเคล่อื นที่เกดิ ข้ึนลงในโปรแกรม
การบรหิ ารความเสยี่ งและรวบรวมข้อมูลไปวิเคราะหเ์ พื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

ตัวช้ีวดั ที่สำคญั
1. การมผี ู้ปว่ ยแพ้ยาซำ้
2. ความคลาดคลอ่ื นทางยา ระดับรุนแรง (G,H,I)

กรณีผู้ป่วยอาการคงที่ส่งยาไปทางไปรษณีย์/รับยาร้านยาใกล้บ้าน/รับยาผ่านเครือข่าย ติดตาม
ประเมนิ ดงั น้ี

1. มิติประสิทธิผล (Effectiveness) ลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรค (relapse) ที่รุนแรงต้อง
รกั ษาเป็นผูป้ ว่ ยใน (admit)

2. มิตกิ ารใช้ทรพั ยากรคุ้มค่า (Efficiency) คา่ ใช้จา่ ยในการมารบั บริการท่ลี ดลงของผ้รู ับบริการ
3. ความพึงพอใจของผูร้ ับบรกิ าร

Pitfall

ระบบสารสนเทศไมเ่ ออื้ ต่อการใช้งาน อาจทำให้เกดิ ความคลาดเคลอ่ื นทางยาได้ เชน่
- แพทย์ไม่สามารถ Re-med ข้อมูลประวตั ิยากลบั บ้าน ทำให้แพทย์ต้องพิมพ์รายการยาใหม่ซ่ึงพบ
ความเสยี่ งในการเกิดความคลาดเคลือ่ นในการพิมพ์คำสง่ั ใช้ยาได้
- กรณีผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา ระบบจะแสดงเตือนด้วยตัวอักษรสีแดง “ผู้ป่วยแพ้ยา” บนหน้าจอ
คอมพิวเตอร์ แตไ่ มไ่ ด้แสดงชือ่ ยาและอาการที่ผู้ปว่ ยแพย้ าในหน้าจอคอมพิวเตอร์เดียวกนั
- กรณีผู้ป่วยที่ต้องติดตามปัญหาการใช้ยาในคร้ังต่อไป เมื่อผู้ป่วยมารับการรักษาคร้ังหน้าจะไม่มี
ระบบแสดงเตอื น ทำใหผ้ ู้ป่วยบางรายอาจไมไ่ ด้ติดตามปัญหาการใช้ยาต่อเนื่องและไมแ่ สดงขอ้ มูล
บนั ทึกทสี่ ำคญั ทีต่ ้องการใหต้ ิดตามในหนา้ จอคอมพิวเตอรเ์ ดียวกัน
- กรณีผู้ป่วยท่ีมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะไม่มีระบบแสดงเตือนหากพบว่าผลการตรวจทาง
หอ้ งปฏบิ ตั กิ ารผิดปกติ
- Profile sheet ของผู้ปว่ ยใน ไม่ไดแ้ สดงข้อมลู ท่ีจำเป็นที่ใช้ประกอบการพจิ ารณาจา่ ยยา เช่น การ
วินิจฉัยโรค ประวัติแพ้ยา น้ำหนัก ส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย โรคร่วม ค่าอัตราการกร องไต
(Glomerular filtration rate; eGFR) ค่าการทำงานของตับ เป็นตน้

- ปัญหาในการดำเนินการส่งยาทางไปรษณีย์ พบผู้ป่วยแจ้งได้รับยาล่าช้า จากการทบทวนพบ
สาเหตุดงั นี้ คือ ลงทะเบียนล่าช้า ห้องยาไมไ่ ด้ส่งยา ติดต่อผู้รับไม่ได้ ผู้ป่วยไม่ชำระเงินค่ายา และ
ผู้ป่วยเปลย่ี นที่อยู่

44

M 3: Medication Reconciliation

Definition

Medication Reconciliation คือ กระบวนการเพ่ือให้ได้ข้อมูลรายการยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ท้ังหมดในทุก
รอยต่อที่มกี ารสง่ ต่อผปู้ ่วยไปรับบรกิ าร

Goal

ผู้ป่วยได้รับการซักประวัติและสืบค้นรายการยาท่ีผู้ป่วยใช้อยู่ ท้ังรายการยาจากสถานพยาบาลต่างๆ
และยาท่ีซ้ือใช้เอง โดยต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และแพทย์ต้องมาทบทวนรายการทั้งหมดเพื่อ
รับทราบข้อมลู ก่อนการส่ังยา

Why

1. เพือ่ ใหผ้ ู้ป่วยได้รบั การรักษาดว้ ยยาทีค่ วรได้รบั อยา่ งถูกตอ้ ง ครบถ้วนและตอ่ เนอื่ ง
2. เพื่อปอ้ งกนั การรับยาซ้ำซอ้ น
3. เพอ่ื ป้องกันการเกดิ ปฏกิ ิริยาระหวา่ งยา

Process

1. กรณผี ู้ปว่ ยกลบั มาตรวจรกั ษาใหม่
1.1สอบถามผู้ป่วยถึงโรคร่วมทางกายรายการยาอื่นๆท่ีผู้ป่วยรับประทานอยู่สถานพยาบาลที่ผู้ป่วยไป

รับการรักษา
1.1.1 หากผู้ป่วยนำยามาด้วยก็จะทำการประเมินยาที่ผู้ป่ วยใช้และบันทึกข้อมูลสำคัญ
ประกอบด้วย ช่อื ยา ความแรง วธิ ใี ชย้ า
1.1.2 สอบถามประวัติการรักษา/การรับยาจากสถานพยาบาลท่ีผู้ป่วยไปรับการรกั ษาเพ่ือยืนยัน
ยา ความแรง วิธีการใช้ยา ในโปรแกรม Hospital information system (HIS) ในช่อง
‘ยาท่ีไดร้ ับจากสถานพยาบาลอ่นื ๆ’ ความถูกตอ้ ง
1.1.3 สรุปรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับจากสถานพยาบาลอ่ืนทั้งหมดและบันทึกลงในโปรแกรม HIS
ในชอ่ ง ‘ยาทีไ่ ด้รับจากสถานพยาบาลอน่ื ๆ’และเขยี นในใบรพจ.3ให้ครบถว้ น
1.1.4 แพทย์พิจารณายาที่ผู้ป่วยได้รับในปัจจุบันกับสภาวะทางคลินิก เพ่ือปรับเปล่ียนการรักษา
ให้เหมาะสม

1.2 เปรยี บเทยี บรายการยาของผ้ปู ่วยท่ีมอี ยเู่ ดมิ กบั รายการยาท่แี พทยส์ งั่
1.2.1แจ้งแพทย์เจ้าของไข้ทราบหากพบปัญหาท่ีเกิดจากการใช้ยาเช่นผู้ป่วยรับประทานยา
ซ้ำซ้อนหรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาเดิมกับยาใหม่ท่ีแพทย์ส่ังใช้ ให้แพทย์ลงลายมือช่ือ
รบั รองเพือ่ ยนื ยนั การใชย้ าตอ่ เนือ่ งหรือปรบั เปลี่ยนยาให้เหมาะสมต่อไป

45

2. กรณรี บั ไวร้ ักษาในโรงพยาบาล/ย้ายหน่วยบริการในโรงพยาบาล/ส่งต่อสถานพยาบาลอื่น
2.1 กระบวนการรบั ผปู้ ่วยไวร้ ักษาในโรงพยาบาล (Admit)
2.1.1 พยาบาลที่จุด admit ซักประวัติเมื่อแรกรับหากผู้ป่วยนำยาจากสถานพยาบาลอื่นมาด้วย
ให้บันทึกลงในโปรแกรม HIS ในช่อง ‘ยาท่ีได้รับจากสถานพยาบาลอื่นๆ’ และเขียน
รายการยา (ชื่อยา ความแรง วิธีใช้) ลงใน Doctor’s order sheet ในช่อง ‘ยาท่ีได้รับ
จากสถานบรกิ ารอื่นๆ’ ตามที่กำหนดไว้
2.1.2 แพทย์มีคำสั่งใช้ยาทางจิตทบทวนและเปรียบเทียบกับยาทางจิตเดิมและยาทางกายเดิม
ของผู้ป่วยพร้อมระบุคำสั่งใช้ยาทางกายของผู้ปวยทุกตัวกรณีต้องการปรับยาฝ่ายกายตัว
ใดใหร้ ะบุลงในDoctor’s order sheet เพ่อื ส่อื สารกับวิชาชีพอ่นื
2.1.3 เภสัชกรติดตามประวัติการใช้ยาฝ่ายกายของผู้ป่วยเพิ่มเติมจากสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยไป
รบั การรกั ษาเพ่อื ยืนยนั ความถูกต้อง
2.1.4 เภสัชกร/จพง.เภสัชกรรมเปรียบเทียบรายการยาที่แพทย์สั่งกับรายการยาทางกายท่ีผู้ป่วย
ได้รับอยู่เดิมและแจ้งแพทย์เจ้าของไข้ภายใน 24 ช่ัวโมงหากพบว่ามีการละเลย การส่ังซ้ำ
หรือความไม่สอดคล้องกับสภาวะทางคลินิก ขนาดหรือวิธีการบริหารยาไม่เหมาะสม หรือ
อาจเกิดปฏกิ ิรยิ าระหว่างยา
2.1.5 กรณผี ู้ปว่ ยต้องใช้ยาทางกายทไ่ี ม่มีในโรงพยาบาล เภสชั กรจะแจ้งพยาบาลประจำหอผู้ป่วย
ใหป้ ระสานญาติหรอื ผ้ดู ูแลเพ่ือติดตอ่ ขอรบั ยาทางกายจากสถานพยาบาลเดิม

2.2 กระบวนการระหว่างรกั ษาในโรงพยาบาล (IPD)
2.2.1 เม่ือแพทย์ต้องการปรับเปลี่ยนการรักษา ให้ทบทวนและเปรียบเทียบยาทางจิตที่ได้รับอยู่
กับยาทางกายเดิมของผู้ป่วยและให้แพทย์เขียน Review treatment พร้อมระบุคำสั่งใช้
ยาทางกายของผู้ปวยทุกตัวกรณีต้องการปรับยาฝ่ายกายตัวใดให้ระบุลงใน Doctor’s
order sheet เพอ่ื ส่ือสารกบั วชิ าชพี อ่ืน
2.2.2 บันทึกข้อมูลรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับใน Medication profile sheet ให้ครบถ้วนทุก
รายการ
2.2.3 เภสัชกร/จพง.เภสัชกรรมเปรียบเทียบคำส่ังใช้ยาก่อนและหลัง review treatment
เภสัชกร consult แพทย์เจ้าของไข้ภายใน 24 ชั่วโมงหากพบว่ามีการละเลย การสั่งซ้ำ
หรือความไม่สอดคล้องกับสภาวะทางคลินิก ขนาดหรอื วิธกี ารบริหารยาไม่เหมาะสม หรือ
อาจเกิดปฏกิ ริ ิยาระหว่างยา
2.2.4 กรณีย้ายหน่วยบริการ พยาบาลหอผู้ป่วยจะทำการย้ายช่ือผู้ป่วยในระบบ HIS พร้อมกับ
การย้ายผู้ป่วยและแฟ้มประวัติไปหน่วยบริการใหม่ สำหรับกลุ่มงานเภสัชกรรมให้ใช้
Medication profile sheet เดิม แต่เปลย่ี นทจ่ี ัดเกบ็ ตามหนว่ ยบรกิ ารใหม่ทร่ี บั ผูป้ ่วยไป

2.3 กระบวนการจำหนา่ ยผูป้ ว่ ยออกจากโรงพยาบาล (Discharge)

46

2.3.1 แพทย์เขียน Review treatment คำส่ังรายการยากลับบ้านท้ังรายการยาจิตเวชและ
รายการยาทางกายที่ผู้ป่วยต้องได้รับลงใน Doctor’s order sheet และ Home
medication ในแฟ้มประวตั ผิ ู้ป่วยนอก

2.3.2 พยาบาลทบทวนและเปรียบเทยี บคำส่งั ใชย้ า 4 จุด คือ
1) รายการยาปจั จุบันใน Doctor’s order sheet
2) Home medication ใน Doctor’s order sheet
3) Home medication ในแฟม้ ประวตั ผิ ปู้ ว่ ยนอก
4) Discharge Summary

2.3.3 เภสชั กร/จพง.เภสชั กรรมทบทวนและคำส่ังใช้ยา 3 จดุ คือ
1) รายการยาปจั จบุ ันในDoctor’s order sheet
2) Home medication ใน Doctor’s order sheet
3) Home medication ในแฟ้มประวัติผ้ปู ่วยนอกใหถ้ กู ตอ้ งครบถว้ น

2.3.4 เภสัชกร consult แพทย์เจ้าของไข้ทันทีหากพบว่ามีการละเลย การสั่งซ้ำ หรือความไม่
สอดคล้องกับสภาวะทางคลินิก ขนาดหรือวิธีการบริหารยาไม่เหมาะสม หรืออาจ
เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาและให้เภสัชกรบันทึก home medication ท่ีแก้ไขใหม่ลงใน
Doctor’s order sheet และแฟม้ ประวตั ผิ ู้ป่วยนอก

2.3.5 เภสัชกร/จพง.เภสัชกรรม จัดยาสำหรับผู้ป่วยและพิมพ์สต๊ิกเกอร์สรุปรายการยาท่ีผู้ป่วย
ไดร้ ับ ใหพ้ ยาบาลติดไว้ในสมุดประจำตวั ผู้ปว่ ย

2.3.6 พยาบาลประจำหอผู้ป่วยจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยและญาติพร้อมแจ้งกรณีมีการปรับเปลี่ยนยา
ฝ่ายกายจากเดมิ แยกยาที่ไมม่ ีการใช้คืนแกผ่ ู้ปว่ ย (เฉพาะยาทผ่ี ปู้ ว่ ยนำมาเอง)

Training

บุคลากรท่ีเก่ียวข้อง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ต้องได้รับการฝึกอบรม ระบบ Medication
Reconciliation ในสถานพยาบาล

Monitoring

คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาล มีการติดตามผลของการทำ Medication
Reconciliation ทุกปี

ตัวช้ีวัดท่สี ำคัญ
1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยในได้รับการทำ Medication Reconciliation เพ่ือให้มีความต่อเนื่อง
ในการใชย้ า
2. ร้อยละ 50 ของผูป้ ว่ ยสูงอายุทเี่ ปน็ ผู้ปว่ ยใน ไดร้ บั การทำ Medication Reconciliation
3. ไม่พบ Drug related problem ซึ่งเก่ียวข้องกับกระบวนการ medication reconciliation
ที่รนุ แรง

47

Pitfall

แผนกผู้ป่วยใน: ใช้ระบบ consult แพทย์หลังจากมีการสั่งการรักษาไปแลว้ ยังไม่มีการสื่อสารข้อมูล
ยาของผูป้ ่วยใหแ้ พทย์ก่อนการตรวจรกั ษา

M4: Rational Drug Use (RDU)

Definition

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล หมายถึง การใช้ยาโดยมีข้อบ่งชี้ เป็นยาท่ีมีคุณภาพ มีประสิทธิผลจริง
สนับสนุนด้วยหลักฐานที่เช่ือถือได้ ให้ประโยชน์ทางคลินิกเหนือกว่าความเส่ียงจากการใช้ยาอย่างชัดเจน มี
ราคาเหมาะสม คุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ไม่เป็นการใช้ยาอย่างซ้ำซ้อน คำนึงถึงปัญหาเช้ือดื้อ
ยา เป็นการใช้ยาในกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ อย่างเป็นข้ันตอนตามแนวทางพิจารณาการใช้ยา โดยใช้ยาใน
ขนาดทีพ่ อเหมาะกับผู้ป่วยในแตล่ ะกรณี ดว้ ยวธิ กี ารให้ยาและความถใ่ี นการให้ยาท่ีถกู ตอ้ ง ตามหลักเภสชั วิทยา
คลินิก ด้วยระยะเวลาการรักษาท่ีเหมาะสม ผู้ป่วยให้การยอมรับและสามารถใช้ยาดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและ
ต่อเน่ือง กองทุนในระบบประกันสุขภาพหรือระบบสวัสดิการสามารถให้เบิกจ่ายค่ายานั้นได้อย่างย่ังยืน เป็น
การใช้ยาท่ีไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนสามารถใช้ยานั้นได้อย่างเท่าเทียมกัน และไม่ถูกปฏิเสธย าที่
สมควรไดร้ ับ

Goal

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use - RDU) เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งสู่การใช้ยาอย่าง
ปลอดภัย เกดิ ประโยชนจ์ ริงตอ่ ผูป้ ่วย ดว้ ยค่าใช้จ่ายที่ต่ำท่สี ดุ ต่อบุคคลและสังคม

Why

องค์การอนามัยโลกระบุว่ามากกว่าคร่ึงหนึ่งของการใช้ยาเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม (ไม่สมเหตุสมผล)
ซึ่งก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยได้หลายลักษณะ และเป็นอันตราย (morbidity และ mortality) ที่ไม่
ควรเกิดขึ้น กลา่ วคือ

ก. อันตรายจากยาที่มีการสั่งจ่ายโดยไม่จำเป็นหรือเป็นยาท่ีขาดประสิทธิผล (unacceptable risk
benefit ratio)

ข. อันตรายจากอันตรกิริยาท่ีเพิ่มความเส่ียงขึ้นตามจำนวนรายการยาท่ีสั่งจ่าย (polypharmacy &
duplication)

ค. อันตรายจากการใช้ยาผิดขนาด ผิดความถี่ ผิดวิธี ผิดระยะเวลา (inappropriate dosage,
frequency of dose, method of administration and duration of treatment)


Click to View FlipBook Version