The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวพระราชดำริการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Charan ya, 2021-12-02 22:59:22

แนวพระราชดำริการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

แนวพระราชดำริการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

สำ� นกั งานสภาพฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ

“...เวลานเี้ ราทุกคนมภี าระส�ำ คญั รออยู่ ทจ่ี ะต้องรว่ มมอื กัน
เสริมสรา้ งความเปน็ ปรกติเรยี บร้อยให้แกบ่ ้านเมือง
เพ่ือให้ประชาราษฎรช์ าตภิ มู มิ ีความผาสกุ สงบ.
ภาระท้ังนม้ี ใิ ช่หน้าท่ีของบคุ คลผู้หน่งึ ผู้ใดโดยเฉพาะ

หากเปน็ หนา้ ที่และความรับผดิ ชอบของทกุ ฝา่ ยทกุ คน ท่จี ะตอ้ งร่วมกันคิด
ร่วมกนั ท�ำ ใหพ้ รกั พรอ้ ม และสอดคลอ้ งเกือ้ กูลกัน
โดยมจี ดุ หมายและอุดมคติรว่ มกนั .
ข้าพเจา้ จงึ ใคร่ขอให้ทา่ นทง้ั หลายในมหาสมาคมน้ี

ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่า ทำ�ความคิดจติ ใจใหห้ นักแนน่ แนว่ แน่
และเที่ยงตรงเสมอเหมือนกัน ท่ีจะร่วมมือรว่ มความคดิ กัน

ให้เต็มกำ�ลงั ความสามารถและสติปญั ญา ดว้ ยความสจุ ริตบริสทุ ธิ์ใจ
และดว้ ยความสามคั คีปรองดอง โดยยึดเอาประโยชน์ย่งั ยืนยงิ่ ใหญ่

คอื ความมนั่ คงผาสกุ ของบา้ นเมืองเปน็ เป้าหมายสงู สดุ . ...”

พระราชดำ� รัส
พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพธิ เี ฉลมิ พระชนมพรรษา พุทธศกั ราช ๒๕๔๗

ณ พระทีน่ ัง่ อมรนิ ทรวินิจฉยั
วนั อาทิตย์ ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๗

2

3

ค�ำนำ�

ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงปฏิบัติ
พระราชกรณยี กจิ นานปั การ เพ่ือบ�ำบัดทุกข์ บ�ำรุงสุข ให้พสกนกิ รชาวไทยมคี วามเป็นอยทู่ ดี่ ีขนึ้ จนเปน็
ท่ีตระหนักแก่ชาวโลกว่า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาท่ีทรงน�ำความสุขอย่างยั่งยืน
สู่ชาวไทยและชาวโลก ส�ำนักงานฯ จึงขอน้อมร�ำลึกและแสดงความอาลัยด้วยความซาบซึ้ง
ในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น โดยไดจ้ ัดท�ำหนังสือ “แนวพระราชด�ำริการพัฒนาสู่ความย่ังยืน”
เพอื่ เฉลิมพระเกียรติ และเผยแพร่ให้ประชาชนและหน่วยงานท่ัวไปได้ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระองค์ ตลอดจนด�ำเนินตามรอยเบ้ืองพระยุคลบาท โดยน�ำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการ
พฒั นาประเทศและตนเองตอ่ ไป
หนังสือเล่มน้ี น�ำเสนอเน้ือหาสาระเก่ียวกับหลักการทรงงาน แนวพระราชด�ำริ และทฤษฎี
ในการพฒั นาประเทศของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถ
บพติ ร ตลอดจนประโยชน์สุขที่เกิดข้ึนแก่ประชาชน จากผลการพัฒนาตามแนวพระราชด�ำริ และการ
นอ้ มนำ� แนวพระราชดำ� ริมาใชใ้ นการด�ำเนนิ ชวี ติ โดยแบ่งการน�ำเสนอออกเปน็ ๕ สว่ น

บทนำ� ประกอบด้วย ธ สถติ ในใจนริ นั ดร์ นำ� เสนอบทความ “สำ� นกึ ในพระมหากรุณาธิคณุ
พระมหากษัตริย์นักพัฒนาแห่งแผ่นดิน” เพื่อแสดงความอาลัยและส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร พระมหากษตั รยิ ์
ท่ีทรงงานหนักท่ีสุดในโลก เพ่ือแก้ไขปัญหาของประชาชนและประเทศชาติ บรรเทาความเดือดร้อน
ของพสกนิกรทุกหนแห่งให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีข้ึน และเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ
ขน้ึ ครองราชยเ์ ปน็ พระมหากษตั รยิ ร์ ชั กาลที่ ๑๐ แหง่ พระบรมราชจกั รวี งศ์ ทรงปฏบิ ัติพระราชกรณยี กิจ
สืบสานพระราชปณิธานและงานต่าง ๆ ท่ีพระราชบิดาทรงริเร่ิมด�ำเนินการไว้ โดยการ “สืบสาน
รกั ษา ตอ่ ยอด สร้างสุขปวงประชา” เพื่อให้ปวงชนชาวไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิต
ความเป็นอยู่ทด่ี ี และนำ� ประเทศสกู่ ารพฒั นาที่ยง่ั ยนื สืบไป

และ “ศาสตร์แห่งกษัตริย์นักพัฒนา” บทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการ
และเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ผู้ถวายงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท อดีตเลขาธิการคณะกรรมการ
พฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ และอดตี เลขาธกิ ารคณะกรรมการพเิ ศษเพอื่ ประสานงานโครงการ
อันเนอื่ งมาจากพระราชดำ� ริ

4

ส่วนที่ ๑ “ธรรมชาติ” ปัจจัยแห่งชีวิตตามแนวพระราชด�ำริ น�ำเสนอแนวทางการแก้ไข
ปัญหา พัฒนา บ�ำรุงรักษาและอนุรักษ์ ดิน น้�ำ และทรัพยากรป่าไม้ ท่ีทรงถือเป็นปัจจัยพื้นฐาน
ส�ำคัญของการพฒั นาประเทศอย่างสมดลุ และย่งั ยืน

ส่วนที่ ๒ ตามรอยชัยชนะแห่งการพัฒนา... ของกษัตริย์นักพัฒนา น�ำเสนอตัวอย่างความ
ส�ำเร็จของการพัฒนาตามแนวพระราชด�ำริท่ีสอดคล้องกับภูมิสังคม ทั้งด้านภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม
ชีวภาพ วิถีชีวิต ประเพณี ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานส�ำคัญท่ีช่วยให้การพัฒนา
มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับความเป็นจริงในทุกด้าน โดยส่ือให้เห็นถึงสภาพก่อนและหลังการพัฒนา
ตามแนวพระราชด�ำริ

สว่ นที่ ๓ สบื สาน “แนวพระราชดำ� รกิ ารพฒั นา” นำ� ไทยสคู่ วามยง่ั ยนื นำ� เสนอแนวพระราชดำ� ริ
ทฤษฎีและพระอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล
อดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ในการทรงงานดา้ นการพฒั นาประเทศและโครงการอนั เนอ่ื งมาจาก
พระราชดำ� รดิ า้ นตา่ ง ๆ

ส่วนท่ี ๔ สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา น�ำเสนอพระราชกรณียกิจท่ี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเิ บศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ท้ังที่ทรง
สบื สาน รกั ษา และตอ่ ยอดโครงการตา่ ง ๆ ของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร รวมทั้งทรงปฏิบัติในส่วนของพระองค์เอง เพื่อประเทศชาติและประชาชน
ชาวไทย

ท้งั นี้ ส�ำนกั งานฯ ได้รับความกรุณาจาก ดร.สเุ มธ ตนั ตเิ วชกลุ กรรมการและเลขาธิการมูลนธิ ิ
ชัยพัฒนา ได้กรุณาเป็นประธานที่ปรึกษาการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ และให้ค�ำแนะน�ำท่ีเป็นประโยชน์
สำ� นกั งานฯ จงึ ขอกราบขอบพระคณุ เปน็ อยา่ งยงิ่ นอกจากน้ี มลู นธิ ชิ ยั พฒั นา และสำ� นกั งานคณะกรรมการ
พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริ ได้ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลและ
ภาพพระราชกรณยี กจิ สำ� นกั งานฯ จงึ ขอขอบพระคุณเปน็ อยา่ งสงู มา ณ โอกาสนี้

สำ� นกั งานสภาพฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ


5

สารบญั

หนา้

ค�ำน�ำ ๔

ธ สถติ ในใจนริ ันดร ์ ๘
บทนำ� ๑๑
๑๒
• ส�ำนึกในพระมหากรุณาธคิ ุณ พระมหากษตั รยิ ์นกั พฒั นาแห่งแผน่ ดิน
๒๔
• “ศาสตรแ์ หง่ กษัตริย์นักพฒั นา”
บทสมั ภาษณ์ ดร.สเุ มธ ตนั ตเิ วชกุล กรรมการเเละเลขาธกิ ารมูลนธิ ิชัยพัฒนา

ส่วนที่ ๑ : “ธรรมชาติ” ปจั จัยแหง่ ชีวติ ตามแนวพระราชดำ� ริ ๔๐
๑. ทรัพยากรดิน ๔๒
๒. ทรัพยากรน้ำ� ๕๐
๓. ทรพั ยากรป่าไม้ ๗๔

ส่วนที่ ๒ : ตามรอยชยั ชนะแห่งการพัฒนา... ของกษัตริย์นกั พัฒนา ๙๖
• ตวั อย่างความสำ� เรจ็ ภาคเหนือ ๑๐๒
• ตวั อย่างความส�ำเร็จภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ ๑๐๙
• ตวั อยา่ งความสำ� เรจ็ ภาคกลาง ๑๑๗
• ตัวอยา่ งความส�ำเร็จภาคตะวนั ออก ๑๒๓
• ตัวอยา่ งความสำ� เร็จภาคตะวนั ตก ๑๓๐
• ตวั อยา่ งความสำ� เรจ็ ภาคใต ้ ๑๓๗

6

ส่วนที่ ๓ : สืบสาน “แนวพระราชดำ� รกิ ารพฒั นา” นำ� ไทยสู่ความยั่งยนื ๑๔๖
๑. “ครองแผ่นดินโดยธรรม” : พระราชปณธิ านการครองแผน่ ดนิ ของราชาผ้ทู รงธรรม ๑๔๗
๒. หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง รากฐานการพัฒนาคนและสังคมท่ยี ัง่ ยืน ๑๗๑
๓. จากแนวพระราชดำ� ริ สกู่ ารพัฒนาอยา่ งยงั่ ยืน ๑๘๗
• “เขา้ ใจ เข้าถึง พฒั นา” ตอบสนองความต้องการของประชาชน ๑๙๑
• เรียนรู้จากหลกั ธรรมชาติ ๒๐๓
• บริหารงานแบบประสานเชอื่ มโยงกนั ๒๐๙
• มุ่งผลสมั ฤทธ์ ิ ๒๒๐
• ชยั ชนะแหง่ การพฒั นา ๒๓๘
๔. ทฤษฎีใหม่ : แนวคดิ แห่งการพง่ึ ตนเองตามแนวพระราชด�ำร ิ ๒๕๓
๕. ศนู ย์ศึกษาการพัฒนาอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำ� ริ ๒๖๐
แหล่งศกึ ษาและเผยแพร่ความรกู้ ารเกษตรครบวงจร

สว่ นท่ี ๔ : สืบสาน รกั ษา ตอ่ ยอด สร้างสุขปวงประชา ๒๗๘
๑. ดา้ นการแพทย์และสาธารณสขุ ๒๘๐
๒. ด้านการศึกษาและพัฒนาศักยภาพเดก็ ไทย ๒๘๔
๓. ด้านศาสนา ๒๘๙
๔. ด้านการทหาร ๒๙๐
๕. ดา้ นสงั คมสงเคราะห ์ ๒๙๒
๖. ด้านการพฒั นาการเกษตรและทรพั ยากรธรรมชาต ิ ๒๙๒
๗. ด้านการตา่ งประเทศ ๒๙๗
๘. โครงการจติ อาสา “เราท�ำความดี เพ่อื ชาติ ศาสน์ กษตั ริย์” ๒๙๘
๙. จิตอาสาเฉพาะกิจ งานพระราชพิธถี วายพระเพลงิ พระบรมศพ ๒๙๘

บรรณานุกรม ๓๐๒

รายนามทป่ี รึกษาและคณะท�ำงานจดั ท�ำหนงั สือ “แนวพระราชดำ� รกิ ารพฒั นาสคู่ วามยงั่ ยนื ” ๓๐๔

7

ธ สถติ ในใจนริ นั ดร์

พระบาทสมเด็จพระนวมินทร์ คือพลังแห่งแผ่นดินถิ่นพิสัย
โลกยกย่องพร้องพระองค์พระทรงชัย คือกษัตริย์แห่งกษัตริย์ ไท้ในสากล

เจ็ดสิบปีท่ีพระองค์ทรงครองราชย์ เสด็จยาตรเยือนทุกแหล่งทุกแห่งหน
พร้อมดินสอกล้องถ่ายภาพแผนท่ียล เสด็จดลแม้ป่าเขาล�ำเนาไพร

พระพักตร์พรายเสโทพร้อยย้อยหยดหยาด พระโลหิตสีแดงชาดหยาดหยดไหล
ทากเกาะกัดไม่กังวลสนพระทัย ท้ังริ้นไรตามตอมไต่ในมรรคา

ท่ัวแดนไทยพร่างพรายพร้อยรอยพระบาท แผนที่นาถทรงแก้ ไขง่ายยามหา
ภาพทรงถ่ายค่าจรัสยามพัฒนา ความเหน็ดเหนื่อยแห่งไท้พาชนาปรีด์ิ

แม้ประชวรไม่ห่วงองค์ยังทรงงาน เพ่ือสร้างสานความร่มเย็นเป็นสุขศรี
ทรงห่วงนักเตือนไทยรักสามัคคี รวมไมตรีร่วมสร้างชาติพิลาสไกร

พร้อมพระราชทานโครงการกว่าส่ีพัน ปัญหาสรรพ์พระองค์ทรงแก้ ไข
ปัญโญภาสราชด�ำริตริวิจัย ล้วนเกรียงไกรเจิดจรัสมหัศจรรย์

8

ทุกวิทย์ศิลป์ โลกชื่นชมนิยมนาถ วิศวกรรมวิทยาศาสตร์เกษตรสรรพ์
จิตรกรรมการกีฬาสารพัน พระราชนิพนธ์เพลงสวรรค์สรรค์สราญ

“สุธีกษัตริย์” พิพัฒน์ ไทยในเบ้ืองต้น บรรเจิดผลสู่ โลกามหาศาล
แม้ตามรอยพระบาทนาถภูบาล ย่อมบันดาลศานต์สุขแท้แก่ โลกา

เช่นยามเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทรงประสิทธิห์ นทางพลนั แกป้ ญั หา
ใช้ “เศรษฐกิจพอเพียง” เลี้ยงชีวา รู้คุณค่าความเพียงพอก่อสุขใจ

แม้ยามน้ีพระเสด็จสวรรค์แล้ว หากทกุ แนวพระราชด�ำรพิ ระตรไิ ข
ข้าบาทยังตามรอยบาทนาถทรงชัย พัฒนาไทยก้าวไกลพร้อมน้อมค�ำนึง

ทุกวันวานท่ีผ่านพ้นจนวันน้ี ไม่เคยมีวันไหนไม่คิดถึง
น้อมส�ำนึกพระคุณไท้แนบใจตรึง พระองค์จึงสถิตในใจนิรันดร์

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้าคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่
ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(นางสาววันเพ็ญ เซ็นตระกูล – ร้อยกรอง)

9

“...จะต้องช่วยกันทกุ วถิ ีทางท่ีจะทะนุบ�ำ รุงใหบ้ า้ นเมืองเจรญิ
ใหป้ ระชาชนอย่เู ย็นเป็นสุข มคี วามสงบไมเ่ บยี ดเบียนกนั และกนั

จะท�ำ อยา่ งไรก็ตาม ด้วยวิธีใดก็ตามไม่ส�ำ คัญ
สำ�คญั อยทู่ ีก่ ารกระท�ำ นนั้ ทำ�ดว้ ยความบริสุทธิ์ใจเพ่อื ประโยชนส์ ่วนรวม
เพราะวา่ ทำ�อะไรเพ่อื ประโยชน์ส่วนรวมนน้ั กน็ บั วา่ ท�ำ เพ่อื ประโยชนส์ ว่ นตัวท้งั น้นั
ถา้ บา้ นเมอื งมคี วามสงบมคี วามเจรญิ ประชาชนทอ่ี ยอู่ าศยั ในบา้ นเมอื งนน้ั กจ็ ะมคี วามเจรญิ

มคี วามสงบ และสามารถทจ่ี ะท�ำ มาหากนิ มชี วี ติ ทเ่ี จรญิ กา้ วหนา้ ได้
ไมท่ �ำ ใหต้ อ้ งหวาดกลวั ตอ่ อนั ตราย ตอ่ ความยากล�ำ บาก...”

พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร

พระราชทานแก่ คณะกรรมการจัดการแข่งขนั ฟุตบอล “ส.ส. มหากุศล”
ณ พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน
วนั ศกุ ร์ ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๑๒

10

บทนำ�
ธ สถติ ในใจนริ นั ดร์
11

ส�ำนกึ ในพระมหากรุณาธิคุณ

พระมหากษัตริย์นักพฒั นาแห่งแผ่นดนิ

“...ขา้ พเจ้าไดเ้ รยี นรู้โดยการทำ� งานทน่ี ว่ี ่า ท่ีของข้าพเจา้ ในโลกน้ี
คือการได้อยูท่ ่ามกลางประชาชนของขา้ พเจา้ น่นั คือ
คนไทยทั้งปวง...”

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมี
พระราชหัตถเลขาถึงพระสหายสมัยทรงศึกษาในทวีปยุโรป ดังข้อความตอนหน่ึงจากหนังสือความรัก
ของพ่อ หน้า ๑๗๘ ความว่า

“…เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนยุโรป ข้าพเจา้ ไมเ่ คยตระหนักว่าประเทศ

ของข้าพเจ้าคอื อะไร และเกี่ยวข้องกบั ขา้ พเจา้ แค่ไหน ไม่ทราบจนกระทง่ั ขา้ พเจ้า
ได้เรยี นรทู้ จ่ี ะรักประชาชนของข้าพเจ้า เม่อื ได้ติดตอ่ กบั เขาเหลา่ น้ัน ซ่ึงท�ำให้

ข้าพเจา้ ส�ำนกึ ในความรกั อนั มีค่ายง่ิ ขา้ พเจ้าไมเ่ ป็นโรคคิดถึงบ้านทจ่ี ริงจังอะไรนกั
ขา้ พเจ้าได้เรียนรู้โดยการท�ำงานท่นี ว่ี ่า ทีข่ องขา้ พเจา้ ในโลกน้ีคอื การได้อยู่

”ทา่ มกลางประชาชนของขา้ พเจา้ คือ คนไทยทง้ั ปวง...

12

เม่ือกาลผ่านมาเจ็ดทศวรรษเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่กับการเสด็จ
พระราชด�ำเนินไปในถ่ินทุรกันดารห่างไกลทุกหนแห่ง เพื่อทรงเย่ียมเยียนดูแลทุกข์สุขของราษฎร
ดังภาพคุ้นตาของท้ังชาวไทยและชาวโลก ท่ีมักจะเห็นพระองค์ประทับอยู่ท่ามกลางหมู่มวลประชาชน
เพื่อทรงไต่ถามถึงสภาพปัญหาทั้งด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ การด�ำรงชีพ และใช้เป็นข้อมูลในการ
พระราชทานความช่วยเหลือ ขจัดทุกข์ และบ�ำรุงสุข แก่พสกนิกร ที่พระองค์ทรงให้ความส�ำคัญเป็น
ลำ� ดับแรก

พระประมุขผทู้ รงเปน็ ที่เคารพรกั ยิ่ง
ไม่ทรงเคยห่างไกลจากพสกนกิ รของพระองค์

นอกจากนี้ หากย้อนกลับไปในช่วงต้นรัชสมัยของพระองค์ จะพบว่าทรงใช้เวลาเสด็จ
พระราชด�ำเนินเยือนต่างประเทศเพียงในช่วง ๒๐ ปีแรกของการครองราชย์เท่าน้ัน โดยในช่วงแรก
เพอ่ื ทรงศึกษาต่อในประเทศสวติ เซอรแ์ ลนด์ และในช่วงตอ่ มาเพอื่ การเจริญสัมพนั ธไมตรี

การเสด็จพระราชด�ำเนนิ เยอื นต่างประเทศของพระองค์ส้นิ สุดลงในปี ๒๕๑๐ ซึ่งเป็นเวลาเกอื บ
๕๐ ปจี นสน้ิ รชั สมยั ทพี่ ระองคม์ ไิ ดเ้ สดจ็ พระราชดำ� เนนิ ออกนอกแผน่ ดนิ ไทยเลย เนอ่ื งดว้ ยเพราะพระองค์
ทรงไมต่ อ้ งการอยหู่ า่ งจากประชาชนของพระองค์ ดงั พระราชปณธิ านวา่ จะไมเ่ สดจ็ ออกจากประเทศไทยอกี
หากประชาชนของพระองค์ยังทุกข์ยากล�ำบาก โดยมีเพียงคร้ังเดียวท่ีเสด็จพระราชด�ำเนินเยือน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในวันที่ ๘-๙ เมษายน ๒๕๓๗ โดยทรงเป็นองค์
ประธานร่วมกับนายหนูฮัก พูมสะหวนั ประธานประเทศ สปป.ลาว ในพธิ เี ปดิ สะพานมติ รภาพ แหง่ ที่ ๑
ท่จี ังหวัดหนองคาย และเสดจ็ พระราชดำ� เนินไปทรงเปิดโครงการศนู ย์พัฒนาและบรกิ ารด้านการเกษตร
ห้วยซอน - ห้วยซัว้ อนั เป็นโครงการในพระราชดำ� ริ ทีเ่ มืองนาทรายทอง แขวงเวยี งจันทน์

ประชาชนชาวไทยจึงรู้สึกอบอุ่นใจที่องค์พระประมุขอันเป็นท่ีเคารพรักยิ่งไม่ทรงเคยห่างไกล
จากพสกนิกรของพระองค์เลย ดังพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในหนังสือ “ความทรงจ�ำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ”
ความตอนหนึง่ วา่

“...นบั แต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นตน้ มา เมื่อขา้ พเจา้ มีอายเุ พยี ง ๑๙ ปี ไดต้ าม
เสดจ็ พระเจ้าอยูห่ วั กลบั มาเมอื งไทย พร้อมดว้ ยลูกสาวคนโต ซึ่งมีอายไุ มถ่ งึ ขวบ
ในครัง้ น้นั แลว้ จนมอี ายุ ๒๗ ปี ขา้ พเจา้ ยังไม่ได้ย่างกรายไปจากบ้านเกิดเมอื งนอน
อกี เลย ทั้งนกี้ เ็ พราะพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั ตง้ั พระทัยไว้อยา่ งแนว่ แน่วา่
จะไมเ่ สดจ็ ออกนอกประเทศ ถา้ ไมท่ รงมีเหตุทีส่ ำ� คัญพอ ในฐานะที่ทรงเป็นประมุข
ของชาวไทย สมควรจะประทบั อยูใ่ นบา้ นเมือง เพอื่ อย่ใู กล้ชดิ กับราษฎรของท่าน
ให้มากทสี่ ดุ ถึงแมเ้ ม่อื เสด็จแปรพระราชฐาน ก็ทรงแปรอย่ใู นประเทศเรานเ่ี อง

ทางเหนือบ้าง ทางใตบ้ ้างแล้วแต่โอกาสจะอ�ำนวย...”

13

14

ทรงพระราชด�ำริว่าการชว่ ยเหลอื ประชาชนเปน็ หน้าท่ีของพระองค์

เคยมีผู้กราบบงั คมทูลถามว่า ทรงเคยรสู้ กึ เบอื่ หน่ายในการทต่ี อ้ งเสด็จพระราชด�ำเนินไปท่โี น่น
ท่นี ีบ่ ่อย ๆ หรอื ไม่ ได้มีรบั สงั่ ว่า ไม่ทรงเหนอื่ ย เพราะเปน็ หนา้ ทีข่ องพระองค์ ท่ีจะตอ้ งทำ� ใหป้ ระชาชน
อย่างเตม็ ท่ี

อีกทั้งรับสั่งถึงพระราชภารกิจของพระองค์ดังพระราชด�ำรัสในโอกาสที่คณะบุคคลต่าง ๆ
เขา้ เฝา้ ฯ รบั พระราชทานเคร่ืองราชอิสริยาภรณเ์ หรียญรตั นาภรณ์ ณ ศาลาบหุ ลนั ทักษิณราชนเิ วศน์
วันเสาร์ ท่ี ๑ ตลุ าคม ๒๕๒๖ ความตอนหนึง่ วา่

“...การท่ไี ปในส่วนไหนของประเทศกต็ าม ขา้ พเจา้ ก็ได้เห็นว่า
มีความจำ� เป็นอย่างยิ่งทจี่ ะได้สอดส่องความเป็นอยู่ของประชาชนใหด้ ี
เพราะถา้ หากวา่ ความเป็นอยูข่ องประชาชนในส่วนใดของประเทศมีความบกพร่อง

ก็ท�ำใหป้ ระเทศชาตเิ ปน็ สว่ นรวมเสยี หายไปได้ อ่อนแอลงไปได.้ ..”

15

เขา้ ใจ เขา้ ถงึ พัฒนา : ทกุ พ้ืนทท่ี ่วั ภมู ภิ าคของประเทศ

ในตลอดรชั สมยั พระองคจ์ งึ เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ไปทวั่ ทกุ ภมู ภิ าคของประเทศ เพอ่ื ทจี่ ะไดเ้ ขา้ ใจ
ปัญหาสภาพความเป็นจริงของประชาชนในประเทศ ทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
และรบั ทราบความทกุ ขย์ าก รวมถงึ ปญั หาของราษฎรอยา่ งใกลช้ ดิ ดว้ ยพระองคเ์ อง ตามหลกั การทรงงาน
และศาสตรแ์ หง่ การพฒั นา คอื “เขา้ ใจ เขา้ ถงึ พฒั นา” โดยชว่ งแรกของการเสดจ็ พระราชดำ� เนนิ พระองค์
ทรงใช้เวลาในการเรียนรู้ท�ำความรู้จักประชาชนของพระองค์ และแม้ว่าทางท่ีจะเสด็จพระราชด�ำเนิน
จะห่างไกล ทุรกันดาร เป็นป่าเขา ไม่มีทางถนนเข้าถึง หรือแม้ว่าเต็มไปด้วยอันตรายถึงพระชนม์ชีพ
ด้วยเป็นช่วงที่บ้านเมืองระส�่ำระสายจากภัยคอมมิวนิสต์ แต่พระองค์ยังทรงด้ันด้นบากบั่นเสด็จ
พระราชด�ำเนินไปด้วยพระราชหฤทัยมงุ่ ม่นั ทีจ่ ะบรรเทาทกุ ข์ใหแ้ กพ่ สกนิกร

ด้วยเหตุน้ี จึงเกิดภาพท่ีคุ้นตาของคนไทยคือ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงแผนท่ีกับดินสอในพระหัตถ์ ทรงมีกล้องถ่ายภาพ
คล้องอยู่กับพระศอ และทรงมีวิทยุส่ือสารในกระเป๋าฉลองพระองค์ พระองค์ประทับราบอยู่บนพ้ืนดิน
แวดลอ้ มดว้ ยชาวบา้ น มพี ระราชปฏสิ นั ถารถงึ ทกุ ขส์ ขุ อยา่ งใกลช้ ดิ ดว้ ยพระพกั ตรท์ เี่ ปย่ี มดว้ ยพระเมตตา
แตช่ มุ่ ไปดว้ ยพระเสโท และเปน็ ความจรงิ ทว่ี า่ ไมม่ พี น้ื ทแ่ี หง่ ใดในประเทศไทยทพี่ ระองคไ์ มเ่ คยเสดจ็ ฯ ถงึ
ดงั พระราชดำ� รสั สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง พระราชทาน
แก่คณะบคุ คลที่มาเข้าเฝา้ ฯ ถวายพระพรชยั มงคลในโอกาสวนั เฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดสุ ดิ าลัย
สวนจติ รลดา พระราชวงั ดสุ ติ เมอ่ื วนั ที่ ๑๑ สงิ หาคม ๒๕๕๓ จากหนงั สอื พมิ พม์ ตชิ น ฉบบั วนั พฤหสั บดี
ท่ี ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ ความตอนหน่ึงว่า

16

“...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงงานเกยี่ วกบั โครงการพระราชด�ำริ
พระองคท์ ่านจะใช้แผนที่ทุกครง้ั ในหอ้ งทรงงานทพี่ ระตำ� หนกั ทกุ ๆ แหง่ ท่วั
ประเทศ จะมแี ผนทป่ี ระเทศไทยขนาดใหญ่ตดิ ฝาห้อง และแผนที่ท่ีขยายเฉพาะสว่ น

ก็มอี ีกหลายแผ่น ฉบบั ที่ทรงถือตดิ พระหตั ถ์ความจรงิ มขี นาดใหญม่ าก
เพราะทรงน�ำแผนทีม่ าตอ่ กันถึง ๙ แผ่น หรือ ๙ ระวาง แตท่ รงหาวธิ ีพบั แบบพิเศษ
จนมีขนาดทท่ี รงถือไดส้ ะดวกและพลกิ ออกมาทอดพระเนตรไดง้ ่าย ทรงตรวจสอบ

แผนที่เสมอ ไมว่ า่ จะเสด็จฯ ที่ไหน แม้ขณะทรงขับรถเอง ก็มีแผนทว่ี างอยูข่ า้ ง
พระองค์ตลอดเวลา ถา้ ประทับเฮลคิ อปเตอร์ก็จะทอดพระเนตรสภาพพน้ื ทีจ่ รงิ
เบ้อื งลา่ ง เปรียบเทียบไปกับแผนท่ตี ลอดทาง ไม่มีการหลับเด็ดขาด เม่ือเสด็จฯ ไป
ถึงที่หมายแล้ว ทรงถามชาวบา้ นวา่ ชอื่ หม่บู ้าน แมน่ �ำ้ ลำ� คลอง หรอื ถนนตรงกับ
แผนทไ่ี หม มีหมู่บา้ นใดเกิดข้ึนมาใหม่บ้าง ถ้ามขี อ้ มลู ท่ีตา่ งไปจากแผนที่ จะโปรด
ให้นายทหารแผนทจ่ี ดไว้และนำ� ไปแก้ไขในการพิมพแ์ ผนทค่ี รั้งตอ่ ไปให้ถกู หากมี
โครงการสร้างเขอ่ื นหรืออา่ งเกบ็ นำ�้ ทรงสามารถคำ� นวณพน้ื ท่รี ับน�้ำคร่าว ๆ
ได้จากแผนทข่ี องพระองคเ์ อง ทรงชำ� นาญมาก จนทอดพระเนตรความสูงต่�ำ

ของภมู ิประเทศได้ ราวกับทอดพระเนตรพื้นทจี่ ริง นกั วชิ าการหลายทา่ น
ทราบดถี ึงพระปรชี าสามารถด้านการทรงงานแผนที่ของพระองคท์ า่ นดี และ
ความที่ทรงแม่นย�ำในแผนทีน่ ้ี ทำ� ให้ขา้ ราชการทปี่ ฏิบัตงิ านด้วย พลอยกระตอื รอื ร้น

ศึกษาหาความรเู้ รื่องแผนทไ่ี ปด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั ทรงพระราชด�ำริ เรม่ิ โครงการเพอื่ ชว่ ย
เหลอื ประชาชนไวเ้ ป็นจำ� นวนมากทกุ ภาค เชน่ ท่ีโครงการอ่างเกบ็ น�ำ้ เขาเตา่
อ�ำเภอหวั หนิ จงั หวัดประจวบคีรขี นั ธ์ ทรงเร่มิ เมอื่ พ.ศ. ๒๕๐๖ จากน้ัน ระหว่าง
ประทับวังไกลกงั วล ได้เสดจ็ ฯ เย่ยี มราษฎรทจี่ ังหวดั เพชรบรุ ี และราษฎร
ในพ้ืนท่จี ังหวัดประจวบครี ีขนั ธ์ เป็นประจำ� ทรงพบว่าปญั หาหลกั คอื ดินเป็นทราย
ปลกู พืชไม่ค่อยขึ้น จึงทรงพระราชดำ� ริรเิ ร่ิมโครงการเกษตรขน้ึ หลายแห่ง เชน่
ท่หี บุ กะพง ดอนขนุ ห้วย ทส่ี ำ� คญั คือ ศนู ย์ศกึ ษาการพัฒนาหว้ ยทราย จังหวัด
เพชรบรุ ี ทดลองการปรบั ปรงุ บ�ำรงุ สภาพดนิ จากดินท่แี ห้งแข็งจนสามารถ
ปลกู พชื เศรษฐกิจ ได้หลายชนดิ และทรงสร้างอา่ งเก็บน้ำ� ไว้แกป้ ัญหาการขาดแคลนน�้ำ

ในพื้นทด่ี ว้ ย
ผลงานสำ� คัญเพ่อื แก้ปัญหานำ้� ทว่ มนำ้� แล้งในภาคกลาง เชน่ เข่ือนปา่ สกั

ชลสิทธิ์ และเขื่อนขุนดา่ นปราการชล...”

17

ทรงงานหนัก ด้วยทรงรักและหว่ งใยพสกนกิ ร

การเสด็จพระราชดำ� เนนิ ไปทรงเย่ียมเยียนดแู ลทกุ ขส์ ุขราษฎรทว่ั ทุกภูมิภาคดงั กล่าว พระองค์
จึงทรงทราบปัญหา ความเป็นอยู่ และอุปสรรคในการประกอบอาชีพของพสกนิกร ซึ่งแตกต่างกันไป
ตามท้องถ่ิน อาทิ การขาดแคลนน้�ำเพ่ือการเกษตร การไร้ท่ีดินท�ำกิน การขาดแคลนอาหาร
เครอื่ งอปุ โภค บริโภค ฯลฯ ซ่ึงล้วนแต่เป็นอุปสรรคท�ำให้ประชาชนขาดโอกาสในการพัฒนา อันเป็น
สาเหตหุ ลกั แหง่ ความยากจน

สง่ิ เหลา่ นพี้ ระองคท์ รงนำ� มาประมวล ศกึ ษาไตรต่ รอง คน้ ควา้ อยา่ งลกึ ซงึ้ ทดลองจนแนพ่ ระราชหฤทยั
ในผลที่ได้รับ แล้วจึงพระราชทานแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมไปตามพ้ืนที่ เพ่ือให้ประชาชนมีกินมีใช้
หลุดพ้นจากความยากจน และมุ่งไปสู่การพึ่งตนเองได้ในท่ีสุด ตลอดจนยังทรงติดตามทอดพระเนตร
โครงการตา่ ง ๆ ทีไ่ ด้พระราชทานไปแล้วอย่างใกลช้ ิด เพ่ือปรับปรงุ แกไ้ ขให้เกดิ ประสทิ ธภิ าพยิ่ง ๆ ข้นึ ไป

อาจกล่าวได้ว่าในขณะที่เกษตรกรผู้ยากจนต้องท�ำงานหนักอย่างหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินอยู่น้ัน
ทแ่ี ทจ้ รงิ พระองคท์ รงงานหนกั เคยี งบา่ เคยี งไหลก่ บั ประชาชนตลอดมา โดยทรงคอยแกไ้ ขปญั หาตา่ ง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นน้�ำน้อยน้�ำมาก ฝนไม่ตก น�้ำท่วม ดินเค็ม ดินเปร้ียว ฯลฯ และไม่มีพระราชวังไหนในโลก
เหมือนพระต�ำหนักจิตรลดารโหฐานท่ีเต็มไปด้วยบ่อเล้ียงปลา ไร่นาทดลอง โรงสี โรงงาน ฯลฯ
ที่ล้วนทรงท�ำเพื่อพสกนิกรของพระองค์ อันก่อให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริมากถึง
๔,๗๔๑ โครงการ

18

การท่ีทรงปฏิบัติพระองค์ได้เช่นนี้ก็ด้วยทรงรัก ทรงห่วงใยปวงชนชาวไทย ทรงมี
พระมหากรณุ าธคิ ณุ ตอ่ ราษฎรทง้ั แผน่ ดนิ เปน็ ทต่ี งั้ โดยเฉพาะผทู้ อ่ี ยชู่ นบทหา่ งไกลเพอ่ื ทจี่ ะพระราชทาน
แนวทางขจัดหรือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรของพระองค์อย่างสม่�ำเสมอ นับต้ังแต่เสด็จ
เถลิงถวัลยสิริราชสมบัติ เม่ือวันท่ี ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ต่อเน่ืองมาโดยตลอด ซึ่งแสดงให้เห็นถึง
พระขัตตยิ มานะ พระวิรยิ อตุ สาหะ และพระปรีชาสามารถอนั สงู เลิศดว้ ยพระเมตตาคณุ

พระบารมีปกเกล้าท่ีแผ่ไพศาลเป็นร่มโพธ์ิร่มไทรให้แก่ราษฎรนั้นเป็นที่ประจักษ์และซาบซึ้ง
ในพระมหากรุณาธิคุณย่ิงนักว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงยอมตรากตร�ำพระวรกายทรงงาน
มากทส่ี ดุ ในโลกเพอื่ ประชาชน โดยไมม่ พี ระราชประสงคส์ งิ่ ใดเปน็ การตอบแทน นอกจากทรงปรารถนา
ท่จี ะไดเ้ หน็ ราษฎรในชาติพออยู่ พอกิน มีความร่มเยน็ เปน็ สุข สามคั คี รักใครป่ รองดองกนั

...ทรงตรากตร�ำพระวรกายทรงงานมากที่สดุ ในโลกเพอ่ื ประชาชน

ความทุกข์ของประชาชนไมม่ ีวันหยุด เขาทุกขเ์ ดย๋ี วนี้ ต้องไปเด๋ียวน้ี

นอกจากนี้ ตลอดเวลาทีท่ รงครองราชย์ พระองคไ์ ม่เคยทรงหยุดทรงงานเพือ่ ชวี ิตความเป็นอยู่
ท่ีดีขึ้นของพสกนิกรของพระองค์เลย ดังค�ำบอกเล่าของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ
มูลนิธิชัยพัฒนา ในหนังสือ “ตามรอยพระยุคลบาท... ครูแห่งแผ่นดิน” ความตอนหน่ึงว่า คร้ังหน่ึง
ประเทศไทยกำ� ลงั เผชญิ กบั วกิ ฤตนิ ำ้� ทว่ ม พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร ทรงเรียกประชุมบุคคลที่เกี่ยวข้องเพ่ือทรงเตือนถึงอันตราย ผู้เข้าประชุมวันน้ัน
รบั ใสเ่ กลา้ ฯ กราบบงั คมทลู วา่ พรงุ่ นจ้ี ะเรม่ิ ดำ� เนนิ การ นน่ั หมายถงึ เวลาราชการคอื ๘.๓๐ น. ของวันร่งุ ข้ึน

“...พระองค์ก็ตรัสถามว่า น�้ำหยุดแล้วหรือ ไปเดี๋ยวน้ีแหละ คืนนี้เลย น้�ำไม่ใช่ว่าจะเร่ิมไหลเวลา
แปดโมงคร่ึงแล้วส่ีโมงครึ่งหยุดพักตามริมตล่ิง ผมก็เคยถูกพระองค์ทรงส่ังสอนเช่นเดียวกัน รับสั่งให้
ผมเขา้ เฝ้าฯ ในวันศุกร์ พระองค์ตรัสว่าท่ีตรงนท้ี ่ีตรงนน้ั เขาอดอยากอยู่ ผมกราบบังคมทลู วา่ เด๋ยี ววันจนั ทร์
ข้าพระพุทธเจ้าจะรีบไปพระพุทธเจ้าข้า...พระองค์รับส่ังทันทีว่า ความทุกข์ความทรมานไม่มีวันหยุดหรอก
พอวันศุกร์หยุด เดี๋ยวตอนเช้าวันจันทร์มาทรมานใหม่ยังง้ันหรือ ไม่ใช่อย่างน้ัน ดังนั้น เขาทุกข์เด๋ียวน้ี
ตอ้ งไปเดีย๋ วน้เี ลย...”

เม่อื ประชาชนอยดู่ ีกนิ ดี เมือ่ นัน้ จึงเป็นชยั ชนะของการพฒั นา

๗๐ ปีท่ีทรงงานเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้นน้ัน ไม่ได้เกิดจาก
น�้ำพระราชหฤทัยท่ีหลากมาช่ัวคร้ังช่ัวคราว หากแต่เกิดจากพระราชปณิธานอันม่ันคงและสม�่ำเสมอ
โดยไมท่ รงหวน่ั ไหวทอ้ แทเ้ มอื่ มปี ญั หา และไมท่ รงละความพยายามโดยงา่ ย โดยทรงตระหนกั วา่ การพฒั นานน้ั
จ�ำเป็นต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ จนเกิดความเข้มแข็ง
และพ่ึงตนเองได้ก่อน จึงค่อยสร้างความเจริญและเศรษฐกิจชั้นสูงในล�ำดับต่อไป รวมท้ังทรงเปรียบ
การพฒั นานน้ั เสมอื นการทำ� สงคราม เมอ่ื ใดทป่ี ระชาชนอยดู่ กี นิ ดี และประเทศชาตมิ คี วามสงบ ความเจรญิ
เมอ่ื นน้ั จงึ ถอื วา่ ประสบความสำ� เรจ็ เปน็ ชยั ชนะของการพฒั นาอยา่ งแทจ้ รงิ

19

เราจะครองแผ่นดนิ โดยธรรม เพือ่ ประโยชน์สขุ แหง่ มหาชนชาวสยาม

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ทรงครององค์ และครองแผ่นดินจนเป็นที่ประจักษ์แก่อาณาประชาราษฎร์ว่า พระองค์คือประมุข
ของประเทศ ซ่ึงทรงเป็นผู้น�ำแห่งแผ่นดินอย่างแท้จริง ทรงพระปรีชาสามารถด�ำเนินการบรรลุ
พระราชสัตยาธิษฐานตามพระปฐมบรมราชโองการ กล่าวคือ ไม่ทรงทอดทิ้งประชาชนของพระองค์
ทรงทำ� นบุ ำ� รงุ บา้ นเมอื ง ทรงครองแผน่ ดนิ ดแู ลพสกนกิ รของพระองคโ์ ดยธรรม การบรรลพุ ระราชสตั ยาธษิ ฐาน
บงั เกดิ ผลไดด้ ้วยพระราชจริยวัตรทงี่ ดงามเปยี่ มดว้ ยพระมหากรณุ าธคิ ณุ พระปรชี าสามารถ พระเมตตา
ทที่ รงมีต่อพสกนิกร กอปรดว้ ยพระราชปณธิ านทม่ี ุง่ มั่นในการบ�ำบัดทกุ ข์บ�ำรงุ สขุ แก่ราษฎร ซึง่ น�ำมาสู่
การบำ� เพญ็ พระราชกรณยี กจิ อยา่ งหนกั ตามพระราชปณธิ านจนเกดิ ผลเปน็ รปู ธรรม พสกนกิ รทวั่ แผน่ ดนิ
จงึ ลว้ นมคี วามจงรกั ภกั ดี เลอื่ มใสศรทั ธาอยา่ งไมเ่ สอ่ื มคลาย ดว้ ยพระองคท์ รงขจดั ปดั เปา่ ความทกุ ขย์ าก
ของปวงชนใหก้ ลบั มามคี ณุ ภาพชวี ติ ทดี่ ขี น้ึ และทรงชน้ี ำ� แนวทางการพฒั นาประเทศสคู่ วามยงั่ ยนื อนั สง่ ผล
ต่อความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงของประเทศชาติ สมดังพระราชปณิธานและพระราชสัตยาธิษฐาน
ในพระปฐมบรมราชโองการ ณ พระท่ีนง่ั ไพศาลทกั ษิณ วันศุกร์ ท่ี ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ความวา่

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพอื่ ประโยชนส์ ุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

20

พระมหากษตั ริยท์ ที่ รงงานหนักท่ีสุดในโลก...
ทรงสถิตอยู่ในใจชาวไทยตราบนิรันดร์

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันย่ิงใหญ่นี้ จึงได้ก่อให้เกิดคุณูปการอเนกอนันต์แก่ประชาชน และ
ประเทศชาติโดยรวม และมีความหมายต่อพสกนิกรชาวไทยมากเกินกว่าจะคณานับได้ เป็นท่ีประจักษ์
ของชาวไทยและชาวโลก ตา่ งทราบและถวายการยกยอ่ งเทดิ พระเกยี รตคิ ณุ วา่ ในบรรดาพระมหากษตั รยิ ์
ท่ีมีอยู่ในโลกปัจจุบันน้ี ไม่มีพระองค์ใดทรงงานหนัก เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเท่ากับ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อีกแล้ว
จึงนับเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร
ขององคพ์ ระผูท้ รงด�ำรงอยู่ในทศพธิ ราชธรรม ทรงเปน็ แบบอยา่ งท่ีประเสรฐิ อย่างหาที่สดุ มไิ ด้

วนั นถ้ี งึ แมว้ า่ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร
เสดจ็ สวรรคตแลว้ แตพ่ ระองคย์ งั คงสถติ อยใู่ นใจชาวไทยตราบนริ นั ดร์ดว้ ยสำ� นกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ เปน็ ลน้ พน้
หาทีส่ ุดมไิ ด้ จึงขอเชญิ ชวนประชาชนคนไทยทง้ั ประเทศร่วมกันถวายสัจจะ ทำ� ความดี ท่ีไม่ทำ� ใหต้ นเอง
และผ้อู ื่นเดอื ดร้อน รู้ รัก สามคั คี มสี ติ เสียสละเพอื่ สว่ นรวม ให้เกิดประโยชน์ทัง้ แก่ตนเอง ผู้อนื่ ชมุ ชน
สงั คม และประเทศชาติ เปน็ การสบื สานพระราชปณธิ าน เพอื่ ถวายเปน็ พระราชกศุ ลอยา่ งพรอ้ มเพรยี งกนั

คนไทยโชคดีนัก เพราะไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกน้ีท่ีจะทรงงานหนักเพื่อ
พสกนกิ รไดเ้ ทยี บเทยี มพระองคอ์ กี แลว้

21

22

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั
ทรงสืบสานพระราชปณธิ านส่กู ารพัฒนาประเทศอยา่ งยัง่ ยืน

ทา่ มกลางความเศรา้ โศกอาดรู อยา่ งยงิ่ ในการเสดจ็ สสู่ วรรคาลยั ของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ท่ีเปรียบเสมือนพ่อของปวงชนชาวไทยท้ังประเทศนั้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร
กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามมินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสดจ็ ข้นึ ครองราชยเ์ ปน็ พระมหากษัตรยิ ร์ ชั กาลที่ ๑๐ แหง่ พระบรมราชจักรวี งศ์ ต้ังแต่วนั ที่ ๑๓ ตลุ าคม
๒๕๕๙ พสกนิกรต่างปล้ืมปตี แิ ละมีความอบอ่นุ ใจ ดว้ ยทรงเปน็ ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย

เม่ือครั้งทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง ไปทรงเยยี่ มราษฎรในทวั่ ทกุ ภมู ภิ าคของประเทศ ทรงซมึ ซบั แนวพระราชดำ� รแิ ละ
พระราชกรณยี กจิ ของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร
เม่ือทรงเจริญวัยจึงทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ เพ่ือประเทศชาติและประชาชนชาวไทย
โดยมไิ ดท้ รงยอ่ ทอ้ ทง้ั ทท่ี รงปฏบิ ตั แิ ทนพระบรมชนกนาถและทรงปฏบิ ตั ใิ นสว่ นของพระองคเ์ องนานปั การ

ครั้นเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจสืบสาน
พระราชปณธิ านและงานตา่ งๆ ท่ีพระราชบิดาทรงริเร่มิ ด�ำเนินการไว้ โดยการ “สบื สาน รกั ษา ต่อยอด
สร้างสุขปวงประชา” โดยทรงด�ำเนินตามรอยเบ้ืองพระยุคลบาทในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
การพัฒนางานด้านต่าง ๆ ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระวิริยอุตสาหะ เพ่ือช่วยเหลือแก้ไขปัญหา
และบรรเทาความเดือดรอ้ นของราษฎรในทกุ ด้านอย่างตอ่ เนือ่ ง

เหนือสิ่งอื่นใด น่ันคือ ความทุ่มเทพระราชหฤทัยในการทรงงานเพ่ือประชาชนเช่นเดียวกับ
สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี พระองคท์ รงเสยี สละเพ่อื ประชาชนโดยเสมอมา
และดว้ ยพระวสิ ยั ทศั นอ์ นั กวา้ งไกล ทรงตระหนกั และทรงเลง็ เหน็ ในคณุ คา่ แนวพระราชดำ� รเิ พอื่ การพฒั นา
ที่ย่ังยืน จึงทรงสืบสานต่อยอดแนวพระราชด�ำริต่าง ๆ เพื่อความผาสุกของประชาชน ในพระราชพิธี
บรมราชาภิเษก วันเสาร์ ท่ี ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พระองค์ทรงมพี ระปฐมบรมราชโองการ ความวา่

“เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผน่ ดนิ โดยธรรม
เพ่ือประโยชนส์ ขุ แหง่ อาณาราษฎรตลอดไป”

แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงยึดมั่นท่ีจะสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชด�ำริต่าง ๆ
ดงั พระราชกรณยี กจิ ของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร
และพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทจี่ ะกลา่ วถงึ โดยสงั เขปในบทตอ่ ๆ ไป อนั จะเปน็ แสงสวา่ งนำ� ทางตามรอย
พระราชปณธิ านไปสคู่ วามสขุ อยา่ งยง่ั ยนื ของประชาชนและประเทศชาตสิ บื ไป

23

ศาสตร์แหง่ กษตั ริยน์ ักพัฒนา

บทสมั ภาษณ์ ดร.สเุ มธ ตันตเิ วชกลุ
เลขาธิการมลู นิธชิ ยั พฒั นา
อดีตเลขาธกิ ารคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ* และ
อดีตเลขาธกิ ารคณะกรรมการพิเศษเพ่ือประสานงานโครงการอนั เน่อื งมาจากพระราชดำ� ริ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นผู้ที่มีโอกาส

ถวายงานใกลช้ ดิ เบอื้ งพระยคุ ลบาท พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยดูแลรับผิดชอบ
การประสานงานโครงการอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำ� ริ ตง้ั แตป่ ี ๒๕๒๔
เมื่อคร้ังปฏิบัติงานท่ีส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ* (สศช.) จนกระท่ังได้มีการจัดต้ังส�ำนักงาน
คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำ� ริ (กปร.) ทา่ นไดร้ บั แตง่ ตงั้ เปน็ เลขาธกิ ารฯ ทา่ นแรกของ

* ปัจจุบันส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปล่ียนช่ือเป็น ส�ำนักงานสภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ
24

สำ� นกั งาน กปร. และเมอ่ื พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร
ทรงจดั ตง้ั มลู นธิ ชิ ยั พฒั นาขนึ้ ทรงแตง่ ตง้ั ใหด้ ำ� รงตำ� แหนง่ กรรมการและเลขาธกิ ารมลู นธิ ชิ ยั พฒั นาจวบจนถงึ ปจั จบุ นั

ท่านได้กรุณาให้คณะท�ำงานจัดท�ำหนังสือ “แนวพระราชด�ำริการพัฒนาสู่ความยั่งยืน”
เขา้ พบเพอ่ื เรยี นสมั ภาษณเ์ กย่ี วกบั การทรงงานของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร ณ มลู นิธชิ ัยพัฒนา

เส้นทางรับราชการก่อน “ถวายงาน” ประสานงานโครงการอันเน่ือง
มาจากพระราชด�ำริ

ผมเริ่มรับราชการที่ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ
ทเ่ี รยี กกนั วา่ “สภาพฒั น”์ ในตำ� แหนง่ หวั หนา้ กองวางแผนเตรยี มพรอ้ มดา้ นเศรษฐกจิ และปฏบิ ตั ภิ ารกจิ
ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการพฒั นาพ้ืนท่ีเพ่ือความม่ันคง ในเขตกองทพั ภาคท่ี ๑-๔ ซงึ่ ช่วยให้
ผมได้มีโอกาสสัมผสั งานในพ้ืนท่ี โดยท�ำหนา้ ท่เี ปน็ เลขาฯ ของแม่ทัพภาคต่าง ๆ

ต่อมาเม่อื ฯพณฯ พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ เปน็ นายกรัฐมนตรี มีดำ� รใิ หจ้ ดั ต้ังสำ� นักงาน
เพ่ือถวายงานในโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริ ด้วยทราบวา่ ไม่มีองค์กรใดท่ีจะเป็นหน่วยงาน
ประสานงานโครงการอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำ� รขิ องพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ล
อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จนบางครัง้ เกิดความซ�้ำซ้อน หรืออาจจะไม่มีพระราชดำ� ริกไ็ ปอ้างวา่
มพี ระราชดำ� ริ ซง่ึ กอ่ ใหเ้ กิดความสบั สน โดยไดม้ อบหมายให้ ดร.เสนาะ อูนากลู เลขาธิการสภาพฒั น์
ในขณะนน้ั ศกึ ษาและกำ� หนดวา่ ควรจะเป็นองคก์ รรปู แบบใดและมรี ะบบงานอย่างไร

โครงการพระราชด�ำรินั้นส่วนมากอยู่ในเขตชนบทและแหล่งทุรกันดาร อาจารย์เสนาะจึง
มอบหมายให้ผมศึกษางานโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริ ซึ่งขณะนั้นผมรับผิดชอบงานพัฒนา
ชนบทอยู่ และบังเอิญว่ามีประสบการณ์เรื่องการพัฒนาองค์กรความม่ันคงด้วย ผมจึงด�ำเนินการ
โดยยึดตามแบบระบบท่ีเคยด�ำเนินการเก่ียวกับการพัฒนาองค์กรความม่ันคง คือออกเป็นระเบียบ

25

ส�ำนักนายกรัฐมนตรี มีคณะกรรมการควบคุมดูแล โดยจะต้องมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
อนั เปน็ หัวใจส�ำคญั ของความสำ� เร็จ เน่อื งจากงานโครงการพระราชดำ� ริมีลกั ษณะเหมอื นการพัฒนา
ความม่นั คงทตี่ ้องการความฉับไว รวดเรว็

พลเอก เปรม พิจารณาแล้วบอกว่าดี และให้หาคนมาท�ำงานนี้ อาจารย์เสนาะจึงเสนอชื่อผม
และเรม่ิ จดั ตง้ั องค์กรขึน้ ตาม “ระเบยี บส�ำนกั นายกรฐั มนตรีว่าดว้ ยโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดำ� ริ
พ.ศ. ๒๕๒๔” ซ่ึงก�ำหนดให้มีองค์กรระดับชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบการด�ำเนินการโครงการอันเนื่อง
มาจากพระราชด�ำริ เรียกว่า “คณะกรรมการพิเศษเพ่ือประสานงานโครงการอันเน่ืองมาจาก
พระราชด�ำริ” มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และผมเป็นกรรมการและเลขานุการ ท�ำหน้าที่
ด�ำเนินการควบคุม อ�ำนวยการ ก�ำกับ ดูแลติดตามผลประสานการด�ำเนินงาน นอกจากน้ันเป็น
หน่วยปฏิบัติท้ังหมด กรรมการ ได้แก่ ปลัดกระทรวงส�ำคัญ ๆ ท่ีเก่ียวข้องกับงานพระราชด�ำริ โดยมี
ส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ
(สำ� นักงานเลขานกุ าร กปร.) สงั กัดสภาพฒั น์ ทำ� หนา้ ทฝี่ า่ ยเลขานกุ ารของคณะกรรมการฯ

จากสภาพฒั น์ ส่สู �ำนกั งาน กปร.

ขณะนน้ั ผมทำ� งานในตำ� แหนง่ ผอู้ ำ� นวยการกองวางแผนเตรยี มพรอ้ มดา้ นเศรษฐกจิ ของสภาพฒั น์
จึงมีหน้าท่ีหลากหลาย และหน่ึงในนั้นยังเป็นผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิเศษ
เพ่ือประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ รับผิดชอบงานโครงการอันเน่ืองมาจาก
พระราชด�ำริด้วย ต่อมาได้เลื่อนต�ำแหน่งเป็นรองเลขาธิการสภาพัฒน์ ต้องดูแลเร่ืองงานบริหารและ
งานวิชาการเพิ่มขึ้น เม่ือปริมาณงานมากขึ้น โครงการต่าง ๆ ขยายเพ่ิมมากข้ึน เจ้าหน้าท่ีสภาพัฒน์
ต้องสวมหมวกหลายใบ ท�ำหน้าที่หลายอย่าง งานล้นคน จึงขอแยกส�ำนักงานเลขานุการ กปร.
ออกจากสภาพัฒน์ โดยผมด�ำรงต�ำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ (กปร.) เปน็ คนแรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๖

26

ต่อมาในปี ๒๕๓๗ ทางรัฐบาลได้ขอให้ผมกลับสภาพัฒน์ เพ่ือด�ำรงต�ำแหน่งเลขาธิการฯ
ตอนนน้ั ผมมเี พยี งเงอ่ื นไขเดยี วทขี่ อไวค้ อื ผมขอทำ� งานรบั ใชเ้ บอื้ งพระยคุ ลบาทดว้ ยระหว่างด�ำรงต�ำแหน่ง
เลขาธิการสภาพฒั น์ ผมจงึ รักษาการตำ� แหนง่ เลขาธกิ าร กปร. ไปพร้อมกันดว้ ย จนกระทัง่ ครบ ๒ ปี

วนั ท่ีโชคดีทส่ี ุดในชวี ิต

โครงการอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริมีหลากหลายรูปแบบมาก ทั้งที่เป็นเร่ืองเกี่ยวกับอาชีพ
ของประชาชน ปญั หาสงั คม และพน้ื ทดี่ ำ� เนนิ การกก็ ระจายทว่ั ทกุ ภมู ภิ าค ซงึ่ ในปหี นง่ึ ๆ พระบาทสมเดจ็
พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร จะเสด็จฯ ไปทรงงานและประทบั
ในภมู ภิ าคตา่ ง ๆ ภมู ภิ าคละประมาณ ๒ เดอื น ๔ ภาค ๘ เดอื น หนา้ ทก่ี ารเปน็ เลขาธกิ าร กปร. ประการแรก
จงึ เปน็ การตามเสดจ็ ฯ วนั ทเ่ี รมิ่ ถวายงาน ดว้ ยความกงั วลวา่ จะไมส่ ามารถถวายงานได้ และไมท่ ราบวา่ มอี ะไร
ดลใจให้เข้าไปกราบบังคมทูลตรง ๆ ว่าวิตกและกังวลมากที่รัฐบาลมอบหน้าที่ให้ถวายงาน พระองค์
ทรงถามว่ากังวลเรื่องอะไร ผมกราบบังคมทูลว่า กังวลจะถวายงานไม่ได้ พระองค์ทรงถามว่าท�ำไม
ผมกราบบังคมทูลว่า ผมจบรัฐศาสตร์การทูต พื้นฐานการศึกษาเก่ียวกับเร่ืองที่พระองค์ทรงงาน
ท้งั เร่อื งดิน น�ำ้ และสิ่งแวดลอ้ ม ไม่ได้เรียนมาสักอยา่ ง

พระองค์ตรสั วา่ “แค่น้ันหรอื ฉนั ทำ� ใหม่ ๆ ก็ไม่รเู้ หมอื นกนั ไม่เป็นไรหรอก ฉันสอนเอง” วันนนั้
ผมได้รู้ว่าผมโชคดีที่สุด เป็นวันท่ีผมได้รับโชคอย่างมหาศาล แทนที่จะเป็นข้าราชบริพารตาม
ถวายงาน กลบั กลายเปน็ นกั เรยี น ทมี่ ชี วี ติ การเรยี นยาวนานทส่ี ดุ ถงึ ๓๕ ปี พระองคท์ รงหยดุ สอนกอ่ น
ถา้ พระองคย์ งั ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ผมคงไดร้ บั พระราชทานความร้ตู อ่ ไปไม่รจู้ บ

มองทกุ อย่างทฉี่ ันทำ� จดทุกอยา่ งท่ีฉันพดู สรุปสิ่งทฉ่ี ันคดิ

ตลอดระยะเวลา ๓๕ ปีที่ได้ถวายงานน้ัน พระองค์ไดท้ รงสอนเรื่องของแผ่นดิน สอนให้รู้จัก
และเข้าใจธรรมชาติ ดิน น้�ำ ลม ไฟ สอนให้รู้จักการใช้ชีวิต สอนให้ท�ำงานเพื่อสร้างประโยชน์
ให้กับผู้อ่ืน ซ่ึงผมคิดว่าไม่มีมหาวิทยาลัยแห่งไหนสอนได้ครบถ้วนเช่นน้ี และคิดว่าไม่มีอยู่ในต�ำรา
ใด ๆ ดว้ ย เพราะที่พระองคท์ รงสอนทกุ สิง่ ทุกอย่างนน้ั ทรงสอนในสถานท่ปี ฏบิ ตั ิจรงิ ทงั้ สิน้

27

พระองค์ทรงมีพระเมตตามาก ทรงเร่ิมสอนเกือบเรียกว่าต้ังแต่วันแรกท่ีเข้าไปถวายงาน
อย่างท่ีผมกล่าวแล้วว่าเม่ือเร่ิมแรกถวายงานน้ันผมไม่มีพ้ืนฐานความรู้เรื่องการเกษตร พระองค์
ทรงสอนด้วยวิธีที่แยบยลมาก รับสั่งให้ท�ำ ๓ ข้อ คือ “มองทุกอย่างท่ีฉันท�ำ จดทุกอย่างท่ีฉันพูด
สรปุ สิ่งทีฉ่ นั คดิ ”
ประการแรก ทรงรับส่ังว่า “มองทุกอย่างที่ฉันท�ำ” ต้องตั้งข้อสังเกตดี ๆ ว่า ทรงใช้ค�ำว่า
มอง ไม่ใช่แค่เห็น ไม่ใช่แค่ดู ให้มองเพ่ือหาความเข้าใจ หาความรู้ต้นเหตุปลายเหตุอย่างไร ให้มอง
ทุกอย่างท่ฉี ันท�ำ
ประการทส่ี อง “จดทุกอยา่ งทีฉ่ ันพดู ” จะเห็นวา่ ผมเดนิ ตามเสด็จฯ น้ัน ตอนแรก ๆ มีสมุดจด
ตอนหลงั จดไมไ่ หว จงึ ใชเ้ ทปตามอดั พระสรุ เสยี ง มคี นเดยี วทท่ี ำ� อยา่ งนนั้ แลว้ กลบั มาประมวล จดทกุ อยา่ ง
ท่ฉี ันท�ำ จะได้เป็นหลกั ฐาน เหมือนเราไปเรยี นหนังสือจดเลค็ เชอร์

ประการทส่ี าม “สรปุ สง่ิ ทฉี่ นั คดิ ” คำ� วา่ สรปุ สงิ่ ทฉี่ นั คดิ คอื อะไร ในการทรงงานของพระองคค์ อื
ทรงให้จดบันทึกไว้เพื่อกันลืมอดีต จดแล้วมองไปในอนาคต จะเรียกว่าวิสัยทัศน์หรือพันธกิจในอนาคต
ซ่ึงต้องเตรียมตัวรับความเปล่ียนแปลงที่จะเกิดข้ึนด้วย ต้องสรุปบันทึกแล้วทูลเกล้าฯ ถวายพระองค์
เป็นทางการทุกวัน ทรงตรวจเหมือนตรวจข้อสอบ วันไหนไม่มีแก้คือสอบผ่าน โดยแนวทางการสรุป
๓ ประการ คอื กจิ กรรม พระราชกรณยี กจิ พระราชกระแส มอี ะไรบา้ ง และแนวพระราชดำ� รขิ องพระองค์
ที่มีต่อพื้นท่ี หรือกิจกรรมน้ันๆ จะด�ำเนินการในทิศทางใด มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร ต้องสรุป
ให้ครบถ้วน ถ้าไม่มีอะไรแก้ไข พระองค์จะพระราชทานกลับมา ถือเป็นคัมภีร์น�ำมาใช้เป็นแนวทาง
ในการทำ� งานต่อไป ใครจะมากลา่ วอ้างเป็นอยา่ งอืน่ ไม่ได้ รวมทง้ั ตอ้ งท�ำบนั ทกึ ใหท้ ีมงานน�ำไปประสาน
ถ้าหากจ�ำเป็นจะต้ังเป็นคณะท�ำงานหรือเป็นกรรมการในระดับโครงการในพ้ืนท่ี ก็ท�ำเป็นโครงการ
เล็ก ๆ และประสานการจัดสรรงบประมาณจนครบถ้วนกระบวนการตามพระราชดำ� ริ

28

หนา้ ทีห่ ลกั ๆ ของส�ำนกั งานเลขานุการ กปร. อีกประการหนึ่งจึงคอยเป็นตัวกลางประสาน
เพ่ือให้งานลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งจะท�ำให้ดีได้ต้องเข้าใจพระราชด�ำริอย่างแท้จริง พระองค์ทรงมี
พระราชกระแสหรือพระราชดำ� ริอะไรต้องจดให้หมด

ทรงสอนงานอยา่ งชาญฉลาด ตอ่ วชิ าความรู้ให้คดิ เปน็

จากการที่ได้ถวายงานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพติ ร มาตลอด ๓๕ ปี จนกระทั่งถึงขณะน้ี ผมยังแปลกใจที่ได้รับเชิญไปบรรยายในฐานะ
ผเู้ ชย่ี วชาญดา้ นนำ้� และดนิ รวมถงึ ไดร้ บั ดษุ ฎบี ณั ฑติ จากมหาวทิ ยาลยั ตา่ ง ๆ ทงั้ ดา้ นเกษตร วทิ ยาศาสตร์
การเกษตร ไมใ่ ชเ่ พราะเราเกง่ เรารู้ แตเ่ ปน็ เพราะพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช
มหาราช บรมนาถบพติ ร ทรงสอนเกง่ สอนใหค้ นทไ่ี มม่ คี วามรสู้ ามารถเรยี นรแู้ ละเขา้ ใจได้ ทรงมวี ธิ กี ารสอน
ทม่ี ศี ลิ ปะสงู พระราชทานคำ� อธบิ ายทมี่ แี งม่ มุ ตา่ ง ๆ โดยจะทรงอธบิ ายทกุ หนา้ ของเหรยี ญ ไมใ่ ชอ่ ธบิ ายของ
อย่างเดียว หรือปญั หาอยา่ งเดยี ว เพราะบางสง่ิ บางอย่างอธิบายหน้าเดียวอาจจะเขา้ ใจผิดได้ เบอ้ื งหน้า
ของเหรียญเปน็ อย่าง เบื้องหลังเป็นอีกอย่าง ทรงอธบิ ายจนเราเขา้ ใจแจ่มกระจา่ ง

นอกจากนี้ จดุ เด่นอีกอย่างคือ เวลาทรงมีรบั สัง่ กบั พวกเรา จะใหเ้ ราคิดตามไปดว้ ย จะไมร่ ับสง่ั
ส�ำเร็จรูป น้อยคร้ังท่ีจะรับส่ังส�ำเร็จรูปแล้วให้เราไปท�ำ มักจะทรงให้เราคิดตาม ใช้ดุลยพินิจ ใช้สติ
และปัญญาประกอบ ทรงสอนแบบวิธีโบราณท่ีเรียกว่า ต่อวิชา ต่อความรู้ แล้วน�ำมาคิดต่อ
เปรียบเหมือนการลับมีดให้คมอยู่เสมอ เพราะถ้าส�ำเร็จรูปมีแนวโน้มว่าเราจะหยุดคิด ก้มหน้าก้มตา
ปฏิบัติอย่างเดยี ว ไมท่ รงโปรดเช่นนัน้

พระองค์ทรงเป็นมหาบรมครู สุดยอดแห่งแผ่นดิน ผมได้เรียนหลักสูตรที่ยาวนานท่ีสุดในชีวิต
เรยี นปรญิ ญาตรี ๔ ปีจบ ปริญญาโทปีกว่าจบ ปรญิ ญาเอก ๒ ปีจบ แตผ่ มได้เรียนรู้จากพระองค์ ๓๕ ปี
สนุกและมีความสุขมาก ขอให้เราท�ำตามพระองค์ เรียนรู้จากส่ิงที่พระองค์ทรงสอนแล้วไปปฏิบัติ
บ้านเมอื งจะไม่เจอปญั หา

29

“ทางสายกลาง พอเพยี ง คดิ ถึงสว่ นรวม” หลกั การดำ� เนินพระชนมช์ พี
และการทรงงาน

หลักการสอนของพระองค์จะทรงเน้นการปฏิบัติให้ลูกศิษย์ดูและจูงใจนักเรียนให้มาสนใจ
แต่ไม่ทรงเคยสั่งหรือทรงบังคับให้ท�ำ จะทรงสอนอย่างละเอียดให้เข้าใจทุกแง่มุม และท่ีส�ำคัญ
ทรงเน้นเสมอว่า การสอนควรยึดรากฐานเดิมของสังคมไทยไว้ ไม่ควรคัดลอกจากต่างประเทศ
มากเกนิ ไป แตอ่ าจนำ� หลกั การมาเปรยี บเทยี บปรบั ปรงุ ได้ ไมเ่ ชน่ นน้ั จะทำ� ใหข้ าดความเปน็ ตวั ของตวั เอง
หากสนใจศึกษาโครงการฯ ที่พระองค์พระราชทานพระราชด�ำริที่มีมากกว่า ๔,๗๔๑ โครงการ
จะได้รบั ความรทู้ ี่ก่อให้เกดิ ประโยชน์มากมายและสอดคลอ้ งกับวิถชี ีวติ ไทยและภมู ปิ ระเทศในบ้านเรา

พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ทรงมหี ลกั
ในการดำ� เนนิ ชวี ติ ดว้ ยความเรยี บงา่ ย บนทางสายกลาง รกั ษาความพอดี และพอเพยี ง รบั สงั่ วา่ อยา่ ลน้ อยา่ โลภ
อยา่ ตาโต คนทงั้ โลกรวมถงึ คนไทยอยากรวย แตล่ มื วา่ ความรวยตอ้ งแลกดว้ ยอะไรหลายอยา่ ง ตอ้ งทำ� ลาย
ธรรมชาติ ต้องนำ� ทรพั ยากรมาใช้ประโยชน์ บางคร้งั โลภเกนิ ไป ใชม้ ากเกินพอดี สดุ ทา้ ยเกิดผลกระทบ
ท่ีเรียกว่า “ไดไ้ ม่คุม้ เสยี ” ทรงสอนให้เราอยูอ่ ย่างเรยี บง่าย พอเพยี ง ใน ๒ ข้อน้เี ปน็ หลัก และพระองค์
ทรงปฏบิ ตั เิ ป็นแบบอยา่ งให้ดู แต่เรามองไม่เหน็ เอง เชน่ ฉลองพระองค์ ฉลองพระบาท พระองคไ์ มท่ รง
ใช้ของราคาแพง ฉลองพระบาทที่ใช้เสด็จประพาสไปทั่วประเทศ เป็นรองเท้าผ้าใบที่ผลิตในเมืองไทย
ไมไ่ ดเ้ ป็นของตา่ งประเทศเหมือนพวกเราท่ียึดติด ตอ้ งเปน็ ของแบรนดเ์ นม ย่หี ้อน้ันยหี่ อ้ น้ี ผมถวายงาน
เหน็ ทุกวันกท็ �ำตามไปโดยไมร่ ตู้ วั สกั พกั ก็เปน็ นสิ ัย

30

พระองค์ทรงสอนให้เราฉลาดคิด
แต่เราคิดไม่ฉลาด เพราะเราคิดด้วยกิเลส
อยากได้นั่นได้นี่ อยากรวย ทรงสอนให้คิดถึง
ส่วนรวมและคนอ่ืนก่อน แต่คนส่วนมาก
มักจะคิดถึงตัวเองก่อน คิดถึงพรรคพวกญาติ
พนี่ อ้ งกอ่ น ไมค่ อ่ ยมใี ครคดิ ถงึ เรอื่ งของสว่ นรวม
หรือคิดถึงคนอ่ืนท่ัว ๆ ไป ซ่ึงที่จริงแล้ว
ต้องคิดถึงส่วนรวม เพราะเราอยู่ในส่วนรวม
หากส่วนรวมไม่ดีเราจะอยู่รอดได้อย่างไร
เราตอ้ งเอาตวั รอดบนแผน่ ดนิ นกี้ อ่ น จงึ ตอ้ งรกั ษา
ของใหญ่ รักษาดิน น�้ำ ลม ไฟ ของประเทศไว้
เพราะคนมากข้ึน ทรัพยากรน้อยลง เกิดการ
แย่งชิงกัน ถ้าไม่สร้างความพอดีต้ังแต่ตอนนี้
ความไมส่ มดุลกจ็ ะเกดิ ข้ึน
“เศรษฐกิจดี สงั คมมีปญั หา การพฒั นาไม่ย่ังยืน” ท่องจำ� กนั เปน็ สูตร เศรษฐกิจดเี ปน็ อย่างไร
วางแผนไว้ให้คนร�่ำรวย เราต้องเอาสังคมและสิ่งแวดล้อมไปแลก คุ้มหรือไม่ ได้อย่างเสียสองอย่าง
ผลการพัฒนาที่ผ่านมาได้สอนเรา เพราะเราอยากรวย อยากได้การเจริญเติบโต อยากให้เศรษฐกิจ
ขยายตัวสูง เราได้มาแต่คุ้มไหมกับสิ่งที่เราต้องเสียไป ฉะนั้น ความย่ังยืนที่พูด ๆ กันไม่เกิด เพราะ
ทกุ คนอยากรวย แต่เราต้องรวยอย่างยงั่ ยืนด้วย รวยถึงลกู หลาน ไมใ่ ชแ่ ค่ชวั่ ชวี ติ เรา ต้องคิดให้ดี
บ้านเราส่วนมากจะแก้ปัญหาอะไรมักคิดถึงงบประมาณ คิดใช้เทคโนโลยีระดับสูง เคร่ืองจักร
เครื่องกล มาแก้ปัญหา แต่พระองค์ทรงคิดกลับกัน ทรงคิดอย่างเรียบง่าย ธรรมดา ใช้ธรรมชาติ
ไม่ต้องลงทุนมากมาย อย่างเช่นเรื่องน�้ำเสีย ไม่ได้ทรงคิดตั้งโรงงานบ�ำบัดน้�ำเสียซึ่งต้องใช้งบประมาณ
เป็นพันล้านหมื่นล้าน พระองค์ทรงคิดแบบเรียบง่าย ทรงน�ำสิ่งท่ีอยู่รอบ ๆ มาช่วยในการแก้ไขปัญหา
ไมท่ รงคิดอะไรท่สี บั สนวนุ่ วาย ทรงใช้ผกั ตบชวา สายลมแสงแดดมาบ�ำบัด ตรงน้ีเรายงั ควบคุมความคิด
ในลกั ษณะดงั กลา่ วไมไ่ ด้ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร
ทรงคิดและทรงท�ำใหด้ ูทุกอยา่ งทกี่ ล่าวมา จับต้องได้ ฉะน้นั จะทำ� อะไรใหย้ ่งั ยืนน้ัน ตอ้ งคดิ ใหม่ท�ำใหม่

เราจะครองแผน่ ดินโดยธรรม เพื่อประโยชนส์ ุขแหง่ มหาชนชาวสยาม

ค�ำว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” ตามรูปศัพท์หมายถึงผู้ปกครองท่ีเป็นเจ้าของแผ่นดิน คือผู้น�ำที่มี
สิทธ์ิขาดในกิจการของแผ่นดินและสามารถพระราชทานที่ดินให้แก่ผู้ใดผู้หน่ึงได้ แต่ในสังคมไทย
พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินผู้ทรงบ�ำรุงรักษาแผ่นดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้
ประชาชนสามารถใช้ที่ดินในพระราชอาณาเขตของพระองค์ให้เกิดประโยชน์ พระองค์จึงทรงดูแล

31

ดิน น�้ำ ลม ไฟ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน เช่น ท�ำการเพาะปลูกให้ได้ผล ตลอดจน
เอาพระราชหฤทัยใส่ในการบ�ำรุงแผ่นดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายและ
พระราชหฤทัย ทรงท�ำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาแผ่นดิน รักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ฟื้นฟูกลับคืนมา
ดังท่ีทรงก�ำหนดเป้าหมายในการครองแผ่นดินในพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดิน
โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดยการพัฒนาช่วยเหลือประชาชน ผลของ
การด�ำเนินการพัฒนาดังกล่าวจะต้องน�ำมาซึ่งประโยชน์สุข น่ันคือประโยชน์ท่ีมาพร้อมกับความสุข
ของประชาชนเป็นสำ� คัญ

ทรงก�ำหนดเป้าหมายของพระองค์ชัดเจน ทรงใช้ค�ำว่าเราจะครองแผ่นดิน ค�ำว่า “ครอง”
เหมือนครองชีวิตเรา ครองชีวิตครอบครัว ไม่มีอะไรบังคับ เป็นความรับผิดชอบ ไม่ต้องใช้อ�ำนาจ
อะไรเลย แต่ทรงท�ำทุกอย่างเพื่อประโยชน์สุขของคนไทย เมื่อคนไทยสร้างความร�่ำรวย กอบโกย
และน�ำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จนกระท่ังแทบไม่เหลืออะไรในประเทศ พระองค์ทรงสอนให้เรารู้จัก
ค�ำว่า “พอเพียง” มีเงินก็ดีแล้ว แต่ต้องใช้เงินให้เกิดประโยชน์ ให้เกิดความสุข ไม่ใช่เกิดประโยชน์
แต่เกิดความทุกข์ด้วย คดโกงก็ทุกข์ พวกเราฟังแล้วปฏิบัติตามกันบ้างหรือเปล่า ถึงท�ำให้เกิดการ
ทุจรติ คอรร์ ัปชันเตม็ บ้านเตม็ เมือง หากเราน�ำสมบัติของแผน่ ดินไปกองไวก้ ับตัว คนทเ่ี หลือจะท�ำอย่างไร

ความยัง่ ยนื ของสงั คมไทยสูส่ ังคมโลก

ปจั จบุ นั องคก์ ารสหประชาชาตใิ หค้ วามสำ� คญั กบั การพาสงั คมไปสคู่ วามยงั่ ยนื ดว้ ยหลกั ปรชั ญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ในทางปฏิบัติเป็นอย่างน้ันหรือเปล่า เราชอบพูดถึงความย่ังยืน แต่ความ
เป็นจริงยังคงมีการท�ำลายอยู่ทุกวัน ตอนผมเป็นเด็ก ประชากรในประเทศไทยมี ๑๘ ล้านคน ขณะน้ี
กระโดดไปที่ ๖๖ ล้านคน เพ่ิมขึ้นถึงเกือบ ๔ เท่า แต่ขนาดและทรัพยากรของประเทศเรายัง
เท่าเดิม ความจริงเล็กกว่าเดิมเพราะถูกน�ำไปใช้หรือท�ำลาย ความย่ังยืนที่ง่าย ๆ คือ อยู่รอดตลอดไป
เปน็ มรดกตกทอดจากรนุ่ ลกู ไปสู่ร่นุ หลาน เหลน โหลน ไมร่ ู้จบ แตข่ ณะนี้ ปา่ ไมถ้ กู ท�ำลาย น้�ำเนา่ เสยี
แลว้ จะเหลืออะไรไว้ใหล้ ูกหลาน เพราะเรากนิ ใช้ และทำ� ลายกันจนหมดแล้ว

๗๐ ปที ผี่ า่ นมา พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร
ทรงพยายามรักษาส่ิงที่มีอยู่และฟื้นฟูสิ่งท่ีเสียไป เพราะทรงรู้และเข้าใจ ค�ำสอนของพระองค์น้ันลุ่มลึก
ไมใ่ ชท่ รงสอนเพียงคนไทย แต่ทรงสอนมนุษย์ทั้งโลกให้ความเคารพปจั จยั แห่งชวี ิต คอื ดิน น�ำ้ ลม ไฟ
สง่ิ รอบตวั เราเคยใหค้ วามเคารพอะไรบา้ ง เจอตน้ ไมก้ ต็ ดั เทของเสยี ลงพนื้ ทงิ้ ขยะลงพนื้ เทนำ้� เสยี ลงนำ�้
เพราะความเหน็ แก่ตวั เท่ากบั เป็นการท�ำลายตัวเองไปด้วย ฉะนัน้ ตอ้ งเดนิ ทางสายกลางตามทีส่ มเดจ็
พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ตรสั สอนไวเ้ ปน็ สจั ธรรม และพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร ทรงนำ� สัจธรรมนน้ั มายำ�้ ใหเ้ ราทราบ ตอ้ งแบง่ ปนั เพยี งเราอยเู่ ฉย ๆ เรากห็ ายใจนำ�
ออกซเิ จนเขา้ แลว้ คายคารบ์ อนไดออกไซดอ์ อก ดังน้ัน ถ้าเราใช้ไปหนึ่งต้องชดเชยกลับมาอย่างน้อยหน่ึง
ไม่เชน่ น้นั จะไม่เหลอื อะไรไวใ้ หล้ กู หลานได้ใชต้ ่อไป

32

“น้�ำคือชีวิต” สำ� คัญยง่ิ

ในชีวิตเราต้องการปัจจัย ๔ ซ่ึงได้
จากดนิ น�้ำ ลม ไฟ โดยปัจจยั ที่ส�ำคญั ท่ีสดุ
คือ “น�้ำ” การทรงงานส่วนใหญ่กว่า
รอ้ ยละ ๗๐ มุ่งไปทเี่ ร่ืองนำ�้ พระองค์ทรงคดิ
ศิลปะการบริหารจัดการน�้ำไว้มากมาย
เวลาน้�ำมามาก ต้องหาทางกักเก็บไว้ก่อน
ทว่ั ประเทศไทยแตล่ ะแหง่ ตอ้ งประเมนิ ตวั เอง
เขา้ ใจตวั เองและถามตวั เองวา่ ใชน้ ำ้� ประมาณไหน
ตอ้ งเกบ็ ไวใ้ หไ้ ด้ ไมม่ ภี าชนะเกบ็ กต็ อ้ งสรา้ งขน้ึ
ไมว่ า่ จะเปน็ หนอง คลอง คู บึง เพราะเวลา
น้ำ� มาเหมือนไดเ้ งินเดอื น เดือนหนึง่ ออกหนเดยี ว ยังต้องกินตอ้ งใชอ้ ีก ๒๙ วนั

ในปีหน่ึง ๆ น้�ำมาแค่ ๓ เดือน แล้วอีก ๙ เดือนจะท�ำอย่างไร ประเด็นส�ำคัญคือ เราเก็บไว้
เพียงพอหรือไม่ เราต้องเก็บน�้ำไว้ ไม่ใช่สูบน้�ำท้ิงไป อย่างภาคอีสานสูบท้ิงลงแม่น�้ำโขง ภาคกลาง
สูบทิ้งลงทะเล เราต้องเข้าใจจริง ๆ ว่าค�ำว่าของเหลือท้ิงในส�ำนวนไทยคืออะไร คือ เหลือแล้วค่อยท้ิง
ท่ีเราต้องประสบกับปัญหาน�้ำแล้งน้�ำท่วมอยู่ทุกวันนี้ เพราะยามมีเราไม่เก็บ พระองค์ทรงสอนวิธี
เก็บน�้ำไว้หลากหลายวิธี เราต้องบริหารจัดการน้�ำให้ดี ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นอย่างทุกวันนี้ ซึ่งจะท�ำ
ให้พบปัญหาทับถมอยู่อย่างนต้ี ลอดไป

กษัตรยิ ท์ ่ที รงงานหนกั ท่สี ุดในโลก

พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ทรงเปน็
พระมหากษตั รยิ ท์ ที่ รงงานหนกั ทสี่ ดุ ในโลก และทรงงานยาวนานถงึ ๗๐ ปี ในแตล่ ะปที รงใชเ้ วลา ๘ เดอื น
ประทบั อยใู่ นชนบทตามภมู ภิ าคตา่ ง ๆ ผมเองไดม้ โี อกาสถวายงานรบั ใชพ้ ระองคเ์ พยี งครงึ่ เดยี วของเวลา
ที่พระองคท์ รงงานคอื ๓๕ ปี ทุกวนั น้ผี มรู้สึกผดิ เปน็ อยา่ งมาก เพราะทผี่ ่านมาในแตล่ ะปีน้ัน ๘ เดือน
เราอยู่บา้ น ส่วนพระองค์เสด็จฯ ทรงงานทวั่ ทกุ ภมู ภิ าคของไทย ทรงแกไ้ ขปญั หาต่าง ๆ มากมาย เพ่อื
ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เวลาทรงงานในชนบทจะเสด็จพระราชด�ำเนินทั้งครอบครัว โดยแต่ละ
พระองคจ์ ะทรงมหี นา้ ทแี่ ตกตา่ งกนั ไป พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร ทรงงาน ทอดพระเนตรกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ทรงช่วยเหล่าแม่บ้าน ส่วนทูลกระหม่อม
พระราชโอรสและพระราชธิดาที่ตามเสด็จฯ ทรงแบ่งหน้าที่กัน ทรงงานท้ังครอบครัว ไม่มีสถาบันไหน
ในโลกนีท้ ี่ทำ� อย่างน้ี

33

พระองค์รับสั่งว่า พระองค์ทรงมีอาชีพท�ำราชการ จึงทรงงานอย่างหนักและเหน่ือยยาก
ทั้งในยามกลางวันและค่�ำคืน เพ่ือช่วยเหลือราษฎรให้พ้นจากความทุกข์ยาก และมีความสุขท่ามกลาง
สภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ โดยไม่ทรงเลือกว่าเขาเหล่านั้นเป็นใคร ด้วยทรงห่วงใยในชีวิตความ
เป็นอยู่ของพสกนิกรท่ัวหล้า พระองค์ทรงงานไม่มีวันหยุด ในพระราชหฤทัยมีแต่งาน งาน งาน
เพราะพระองค์ทรงเป็นประมุขของประเทศ พระองค์ไม่ทรงเคยนึกถึงพระองค์เองเลย ส่วนพวกเรา
คิดถงึ แต่ตวั เองกอ่ น

มีเวลาท่ีทรงท้อแท้บ้างเหมือนกัน แต่พระองค์ไม่ทรงเคยหยุดทรงงาน เร่ืองท่ีท�ำให้ทรงท้อ
คอื ทรงสอนอะไรพวกเราแล้วไม่จำ� หรือไมน่ �ำไปทำ� ต่อ

ทรงงานหนักตลอดพระชนม์ชีพ และทรงวางกลไกการท�ำงานไว้
อยา่ งตอ่ เนือ่ ง

ผมเคยเข้าเฝ้าฯ กราบพระบาทพระองคใ์ นวนั ท่ผี มอายุ ๖๐ ปี เป็นวัยทจี่ ะเกษยี ณอายรุ าชการ
พระองค์รับส่ังว่า “แล้วฉันล่ะ” วันน้ันผมอายุ ๖๐ ปี ในขณะท่ีพระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษา
๗๒ พรรษา นับต้ังแต่วันนั้นผมไม่กล้าเอ่ยถึงค�ำว่าเกษียณอีกเลย ผมจึงเปลี่ยนเป็นขอพระราชทานพร
ในวันคล้ายวันเกิดแทน พระองค์มักจะทรงให้พรที่จบลงด้วยงาน หรือการท�ำเพ่ือคนอ่ืนว่า “ขอให้
มีพละก�ำลังกายท่ีแข็งแรง เพ่ือท่ีจะท�ำประโยชน์ให้คนอ่ืนได้” หรือ “ขอให้มีความสุขในการท�ำ
ประโยชนเ์ พื่อคนอนื่ ”

ต่อมาอีก ๑๒ ปี เมื่อผมเข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลว่าผมอายุครบ ๗๒ ปี พระองค์ทรงนิ่งไป
สักพักหน่ึง แล้วทรงยกพระหัตถ์มาจับบ่าผมเขย่า แล้วรับสั่งว่า “สุเมธ งานยังไม่เสร็จ” พระองค์
ทรงหว่ งเร่อื งงานอย่างแท้จริง เพราะพรสดุ ทา้ ย เป็นข้อความส่งั เสยี สดุ ท้ายวา่ “งานยงั ไม่เสรจ็ ”

ผมจึงต้องท�ำงานต่อ เม่ือพระองค์ไม่ทรงหยุดการทรงงานมา ๗๐ ปีแล้ว เราจะหยุดได้
อย่างไร ตอนน้ีผมอายุ ๘๐ ปีแล้ว คนท่ัวไปหยุดท�ำงานอยู่กับบ้าน แต่ตอนนี้ผมไม่เคยอยู่บ้านสักวัน
ทำ� ตวั ใหเ้ กิดประโยชน์ตามค�ำสอนของพระองค์

ตอนทพ่ี ระองคป์ ระทบั อยทู่ โ่ี รงพยาบาลศริ ริ าช ทรงตดิ ตามงานในทกุ เรอื่ งทกุ ดา้ นตลอดเวลา
ทุกวัน คร้ังใดท่ีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร
มหาวชริ าลงกรณวรราชภักดี สริ ิกิจการณิ ีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปยิ ชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ
ลงพนื้ ทใ่ี ด เมอ่ื เสดจ็ ฯ กลบั มาจะถวายรายงาน พระองคจ์ ะรบั สงั่ แนะนำ� ทกุ ครงั้ สว่ นงานอน่ื ๆ จะทรงใชร้ ะบบ
เทคโนโลยสี ารสนเทศเขา้ มาเปน็ เครอ่ื งมอื ในการทรงงาน โดยทรงสามารถคน้ หาขอ้ มลู และตดิ ตามงานไดต้ ลอดเวลา

แมเ้ มอื่ พระองคเ์ สดจ็ สวรรคตแลว้ งานของพระองคก์ ย็ งั คงดำ� เนนิ ตอ่ ได้ เพราะทรงวางกลไก
การท�ำงานไว้อย่างรอบคอบ โดยทรงต้งั หนว่ ยงานต่าง ๆ เปน็ มลู นิธิ มูลนธิ ิในพระบรมราชูปถัมภ์ มลู นิธิ

34

สว่ นพระองค์ เมอื่ จดั ตง้ั เปน็ มลู นธิ ติ ามกฎหมายจะมกี ระบวนการดแู ล ตราบใดทม่ี คี นมาบรจิ าค กส็ ามารถ
ด�ำเนินการต่อไปได้ ทรงมองการณ์ล่วงหน้ามาก่อนแล้ว การท�ำงานของแต่ละมูลนิธิเมื่อพิจารณา
รายละเอียดแล้วจะพบว่า ทรงแบง่ งานไวไ้ มซ่ �้ำซอ้ นกนั อาทิ ถ้าเกดิ น้�ำท่วม มูลนธิ ริ าชประชานุเคราะห์
ในพระบรมราชูปถัมภจ์ ะไปแจกถงุ พระราชทานก่อน เพือ่ ช่วยเหลือประชาชนในเบอ้ื งต้น เม่ือน�้ำลดแลว้
มลู นิธชิ ยั พัฒนาจะเขา้ ไปชว่ ยฟื้นฟู เรยี กวา่ งานไมห่ ยุด และไมม่ ีวันจากไป

ประทบั ใจท่ีไดเ้ รียนรู้ มีความสุขจากการขจัดทุกข์ บำ� รงุ สขุ ให้ประชาชน

ถา้ ถามถงึ ความประทบั ใจทไี่ ดถ้ วายงานพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช
มหาราช บรมนาถบพติ ร คอื ความรทู้ พ่ี ระองคพ์ ระราชทานให้ ผมไดเ้ รยี นรเู้ รอ่ื งตา่ ง ๆ มากมาย ไดเ้ รยี นรู้
ถึงการปฏิบัติ ความเสียสละ ความรู้ที่จะอ่านธรรมชาติ ให้สามารถรักษา อนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟูได้
ผมได้เรียนรู้ว่าการขจัดความทุกข์ของประชาชนให้ได้รับความสุขน้ัน เราก็มีความสุขไปด้วย
และเหนือส่ิงอ่ืนใด ผมได้เรียนรู้ชีวิต เข้าใจชีวิต ไม่เช่นนั้นแล้วคงหมกมุ่นอยู่กับกิเลส ตัณหา
ความอยาก และทกุ ขท์ รมาน

เมอ่ื เราเขา้ ใจชวี ิต เราก็ไม่ทุกข์ คือ ตรรกะของค�ำว่าพอ ถ้าคนไม่รู้จักพอ กจ็ ะมแี ตค่ วามทกุ ข์
จริง ๆ เป็นเรื่องของธรรมดา ธรรมชาติ ผมได้เรียนรู้มากมาย เรียนรู้โดยไม่ต้องอ่านหนังสือ
ผมมองพระองค์ ตามที่ทรงสอน “มองทุกอย่างที่ฉันท�ำ” มองแล้วเราก็เข้าใจ เข้าใจแล้วก็ปฏิบัติตาม
โดยไมร่ ้ตู ัว

นอกจากนี้ ผมประทบั ใจในความเสยี สละ ความเมตตา ความรบั ผดิ ชอบของพระองค์ ทที่ รงดแู ล
ประชาชนประดุจ “พ่อ” ดูแลลกู พระองคท์ รงเป็นพ่อแห่งแผน่ ดนิ พ่อทดี่ ูแลเอาใจใส่ และใหค้ วาม
เมตตากับลกู ทกุ ๆ คนอยา่ งแท้จรงิ

35

สานต่องานของพ่อแหง่ แผน่ ดนิ

ศนู ย์ศกึ ษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำ� ริท้งั ๖ ศูนย์ ที่กระจายอย่ทู ว่ั ประเทศไทย คือ
สรปุ แนวพระราชดำ� รขิ องพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราชบรมนาถบพติ ร
ทุกเรอื่ งทท่ี รงทำ� มารวมอยใู่ นทเ่ี ดียวกัน ทั้งเร่อื ง ดนิ นำ้� ลม ไฟ และโครงการปลีกยอ่ ย รวมถึงบทเรยี น
ตา่ ง ๆ รวบรวมประมวลไวท้ น่ี ท่ี ง้ั หมดแลว้ พระองคท์ รงใหค้ วามสำ� คญั ในการจดั ตงั้ ศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาฯ
มาก ทรงกำ� หนดพ้ืนทแ่ี ละภารกิจ โดยการสรุปรวมความคดิ แนวคดิ แนวทางการพัฒนาของพระองค์
ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชน ไม่ต้องเดินทางไปศึกษาไกล ตอนนถี้ งึ เวลาสรปุ เพราะทำ� มาประมาณ
๔๐ ปี ผมภมู ใิ จมากท่มี โี อกาสได้ถวายงานเรอ่ื งนี้ ศูนย์ศกึ ษาการพัฒนาอันเนือ่ งมาจากพระราชดำ� ริ ๕ ใน
๖ แหง่ ผมเปน็ ผู้ถวายงานในการน�ำแนวพระราชดำ� รมิ าดำ� เนินการใหส้ �ำเร็จ

พระองค์ทรงพยายามช้ีวิธีการดูแล รักษา ฟื้นฟู ดิน น้�ำ ลม ไฟ ตัวอย่างความส�ำเร็จ
มอี ยู่ทว่ั ประเทศ ทรงสอนจนครบหมดแลว้ เพียงเราปฏิบัตติ ามพระองค์ น�ำสง่ิ ทพ่ี ระองค์ทรงท�ำใหด้ ู
และพสิ ูจนว์ ่าส�ำเรจ็ แลว้ มาชว่ ยกนั ทำ� ชว่ ยกนั ต่อยอด ทง้ั เรอ่ื งนำ้� ดิน และปา่ จะช่วยให้ประเทศไทย
พฒั นาอย่างย่งั ยนื ได้

ตอนนง้ี านทพี่ ระองคท์ รงทำ� ไวใ้ หค้ นไทยมคี รบแลว้ ทง้ั ในเรอื่ ง ดนิ นำ�้ ลม ไฟ ไมม่ อี ะไรทไี่ มส่ ำ� เรจ็
แต่อาจจะมีที่ส�ำเร็จแล้วแต่ยังไม่ได้น�ำไปขยายผล ถ้าขยายผลคนไทยจะไม่เจอปัญหาเร่ืองน�้ำ ดิน ป่า
อย่างที่เราเจอกันทุกวันนี้ แค่ทุกคนลุกข้ึนมาช่วยกันท�ำ พระองค์ทรงมีบทเรียนพร้อมหมดแล้ว
ไมต่ อ้ งคิดอะไรเพมิ่ ลอกแบบไดเ้ ลย เพราะมวี ชิ าความร้สู ำ� เรจ็ รูปแล้ว

36

ธ สถติ ในดวงใจไทยนริ ันดร์

ถึงวันน้ี แม้พระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว แต่ผมเช่ือว่า พระองค์ไม่ทรงจากไปไหน ค�ำสอน
ของพระองค์จะอยู่ในหัวใจคนไทยตลอดไป เพราะเราทุกคนต่างรักและเคารพพระองค์เป็นท่ีสุด
การจากไปครง้ั นี้เป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติ อยา่ งเราเปน็ ชาวพุทธนบั ถอื สมเดจ็ พระสัมมาสัมพทุ ธเจา้
พระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานจากไปสองพันห้าร้อยหกสิบปีแล้ว แต่เรารู้สึกว่าพระองค์ยังทรงอยู่
โดยมีพระพทุ ธรูปเป็นทส่ี ักการะ เคารพ และเพื่อนอ้ มระลกึ ถงึ พระคุณของสมเด็จพระสัมมาสมั พทุ ธเจ้า
ท่านนบีมูฮัมมัดในศาสนาอิสลาม จากไปพันกว่าปีชาวมุสลิมก็ยังนับถือท่านอยู่ ชาวคริสต์ก็ยังนับถือ
พระเยซอู ยู่พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร กเ็ ชน่ เดยี วกนั
ถึงพระองค์จะเสด็จสวรรคตจากคนไทยไปแล้ว แต่ส่ิงท่ีพระองค์พระราชทานให้กับคนไทยยังอยู่น่ันคือ
“ความร้”ู องคค์ วามรเู้ กย่ี วกับ ดิน น้ำ� ลม ไฟ ยังมีอยคู่ รบ เพราะฉะนัน้ พระองคจ์ งึ ไม่ไดจ้ ากไปไหน

ถา้ คนไทยรกั และคดิ ถงึ พระองค์ ขอใหป้ ฏบิ ตั ติ ามคำ� สอนของพระองค์ ดงั เชน่ ชาวพทุ ธเคารพ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องปฏิบัติ ไม่ใช่นั่งกราบอย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์ ต้องปฏิบัติตาม
พระธรรมคำ� สงั่ สอน สมเดจ็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ทรงตรสั กอ่ นเสดจ็ ดบั ขนั ธป์ รนิ พิ พานวา่ ใหย้ ดึ พระธรรม
วินัยเป็นตัวแทนของพระองค์ เช่นเดียวกันหากเราระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขอให้น้อมน�ำค�ำสอนของพระองค์ น้อมน�ำบทเรียน
ท่ีทรงสอนมาปฏิบตั ิ จงึ จะถอื วา่ เป็นการเคารพพระองคอ์ ย่างแทจ้ รงิ

37

“...ทกุ วนั นี้ประเทศไทยยังมที รพั ยากรพร้อมมูล
ท้งั ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละทรพั ยากรบุคคล
ซ่ึงเราสามารถนำ�มาใชเ้ สริมสรา้ งความอุดมสมบูรณ์
และเสถยี รภาพอนั ถาวรของบ้านเมืองไดเ้ ป็นอยา่ งด.ี
ขอ้ ส�ำ คัญเราจะต้องรจู้ ักใช้ทรัพยากรทง้ั น้นั อย่างฉลาด
คือไมน่ ำ�มาทุ่มเทใช้ใหส้ ิ้นเปลืองไปโดยไรป้ ระโยชน์

หรอื ได้ประโยชน์ไม่คมุ้ ค่า
หากแต่ระมดั ระวงั ใช้ดว้ ยความประหยดั รอบคอบ
ประกอบดว้ ยความคดิ พจิ ารณาตามหลักวชิ า

เหตผุ ล และความถูกต้องเหมาะสม
โดยมุ่งถึงประโยชนแ์ ท้จรงิ ที่จะเกดิ แก่ประเทศชาติ

ทง้ั ในปัจจบุ นั และอนาคตอนั ยนื ยาว. ...”

พระราชดำ�รสั พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร
ในการเสดจ็ ออกมหาสมาคม

ในงานพระราชพิธเี ฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศกั ราช ๒๕๒๙
วันศุกร์ ท่ี ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙

38

๑ “ธรรมชาติ”
ปัจจยั แห่งชวี ติ ตามแนวพระราชดำ� ริ
39

ส่วนที่ ๑

“ธรตรามมชแานตวิ”พปรัจะจรยัาชแดหำ�่งรชิ วี ติ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ทรงตระหนักว่า “ปจั จัยแหง่ ชีวติ ” คือ ทรพั ยากรธรรมชาติอนั ไดแ้ ก่ ดนิ นำ้� และป่าไม้ ซ่ึงเป็นพื้นฐาน
ของการผลิตเพ่ือการอุปโภคบริโภคทั้งปวง ประกอบกับท่ีทรงเป็นนักพัฒนาบนพ้ืนฐานของความย่ังยืน
พระองคจ์ งึ ทรงมแี นวทางการพฒั นาทเ่ี รม่ิ จากพน้ื ฐานลำ� ดบั แรกคอื เพอื่ ปากทอ้ งประชาชน ตอ่ มาคอื เพอ่ื
ความมั่นคงของสังคม และสุดท้ายคือ เพอ่ื ความยง่ั ยนื ของทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์จึงทรงมีแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้�ำ ป่าไม้
และส่ิงแวดล้อม โดยทรงมุ่งรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและความสมดุลของระบบนิเวศ
ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการด�ำเนินการ เพื่อให้ “คน” และ “ธรรมชาติ”
อยรู่ ว่ มกนั อยา่ งพงึ่ พาอาศยั และเออ้ื ประโยชนต์ อ่ กนั อนั เปน็ รากฐานของการพฒั นาประเทศในระยะยาว
สูก่ ารพฒั นาอย่างย่ังยนื

นอกจากน้ี ด้วยพระปรีชาชาญในงานด้านการชลประทานซึ่งพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย
มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ดังพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการสโมสรไลออนส์สากล

40

ภาค ๓๑๐ (ประเทศไทยและประเทศลาว) ณ พระตำ� หนกั จติ รลดารโหฐาน วนั พฤหสั บดี ท่ี ๒๕ กนั ยายน
๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า

“...มาตอนหลงั นี้ จะทำ� อะไรก็ใชห้ ลักทีไ่ ดเ้ คยเห็นมาแล้ว เกยี่ วข้อง
กบั งานต่าง ๆ เม่อื เห็นอะไรเมื่อเดก็ ทงั้ เรยี นในโรงเรียน หรอื เห็นในพพิ ิธภณั ฑ์
จะทำ� ให้เกิดความคิด อยา่ งเช่นในดา้ นชลประทาน หรอื ในดา้ นป่าไมน้ ่ี กอ็ าจมี
บางคนเข้าใจวา่ ท�ำไมจงึ สนใจ และบางคนไม่เขา้ ใจวา่ ทำ� ไมฉนั เองทำ� ไมสนใจ
เรอื่ งชลประทานหรือเร่อื งปา่ ไม้ จ�ำไดว้ ่าเมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ทโี่ รงเรียนมคี รูคนหน่งึ

ซึง่ เดีย๋ วนต้ี ายไปแลว้ สอนเรือ่ งวทิ ยาศาสตร์ เรอื่ งการอนุรักษ์ดนิ แล้วให้
เขยี นว่า ภเู ขาต้องมปี ่าไม้อย่างนนั้ เมด็ ฝนลงมาแล้วจะชะดนิ ลงมาเร็วทำ� ให้
ไหลตามนำ�้ ไป ไปทำ� ใหเ้ สียหาย ดินหมดจากภูเขา เพราะไหลตามสายน�ำ้ ไป
ก็เป็นหลักของปา่ ไมเ้ ร่ืองการอนุรกั ษ์ดิน และเปน็ หลักของชลประทานท่ีว่า

ถ้าเราไมร่ กั ษาป่าไม้ขา้ งบน จะท�ำให้เดือดร้อนตลอด ตงั้ แต่ดินบนภูเขา
จะหมดไปกระทง่ั การท่จี ะมตี ะกอนลงมาในเขอ่ื น มตี ะกอนลงมาในแมน่ �้ำ ท�ำให้

เกิดนำ�้ ทว่ ม นี่นะ่ เรยี นมาตง้ั แต่อายุ ๑๐ ขวบ...”
กอปรกับเม่ือทรงเจริญพระชนมพรรษา พระองค์ยังทรงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการชลประทาน
และป่าไม้ด้วยพระองค์เอง และเม่ือเสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงดูแล
ทกุ ขส์ ขุ ของพสกนกิ รในจงั หวดั ตา่ ง ๆ ทวั่ ประเทศ ซง่ึ ทำ� ใหท้ รงพบวา่ ประชาชนสว่ นใหญท่ ปี่ ระกอบอาชพี
เกษตรกรรม ประสบปัญหามากมายในการด�ำรงชีวิต ตั้งแต่การขาดแคลนน�้ำในการอุปโภคบริโภค
ความเสื่อมโทรมของดินอันเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ เช่น บางแห่งเป็นดินเปร้ียว ดินด่าง ดินเค็ม
และบางแห่งก็ไม่มีดินเลย ซึ่งทรงเรียกดินเหล่าน้ีว่า “ดินแร้นแค้น” รวมถึงทรัพยากรท่ีถูกท�ำลาย
โดยมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อย่างส้ินเปลือง การไม่บ�ำรุงรักษา จนก่อให้เกิดมลภาวะต่าง ๆ
ไมว่ ่าจะเปน็ น�ำ้ เนา่ เสีย ดินเสื่อมสภาพ และอากาศเป็นพิษ เป็นตน้
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเิ บศร มหาภูมพิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงให้
ความสำ� คญั อยา่ งยงิ่ กบั การรกั ษาทรพั ยากรธรรมชาติ ทำ� อยา่ งไรใหท้ รพั ยากรทเ่ี สอื่ มโทรมแลว้ ฟน้ื กลบั คนื มา
โดยพระองค์ท้ังทรงแก้ไข ฟื้นฟู และบ�ำรุงรักษา เพื่อช่วยเหลือให้เหล่าพสกนิกรได้ใช้สิ่งเหล่านี้อันเป็น
ปัจจัยแห่งชีวิตท�ำมาหาเล้ียงชีพ เพ่ือให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก โดยพระองค์มีพระราชด�ำริศึกษา
ค้นคว้า และทดลองโครงการต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง และน�ำความรู้ที่ผ่านการทดลองจนได้ผลเป็น
ท่ีแน่ชัดแล้ว จึงพระราชทานแนวพระราชด�ำริในการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และพัฒนาแก่พสกนิกร
อยา่ งเหมาะสมกบั สภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของแตล่ ะทอ้ งถิน่
โครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำ� รสิ ว่ นใหญจ่ งึ เปน็ วธิ กี ารแกไ้ ข ทำ� นบุ ำ� รงุ รกั ษา และปรบั ปรงุ
สภาพทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมให้ดขี น้ึ โดยมีสาระส�ำคัญสรปุ ได้ ดังน้ี

41

๑. ทรัพยากรดิน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเข้า
พระราชหฤทัยถึงปญั หาดา้ นปัจจัยการเกษตรของเกษตรกรไทย โดยเฉพาะปญั หาดินเพื่อการเพาะปลกู
ทเ่ี กดิ จากสาเหตกุ ารม่งุ เปดิ พนื้ ท่ที �ำการเกษตรด้วยความรเู้ ท่าไม่ถงึ การณ์ ขาดความระมัดระวังในการใช้
ขาดการบำ� รงุ รกั ษาคณุ ภาพดนิ อยา่ งยงั่ ยนื ดนิ ในเขตพน้ื ทเ่ี กษตรกรรมของประเทศจงึ กลายสภาพเปน็ ดนิ ไม่มี
คุณภาพ และยังมีปัญหาของดินทราย ดินดาน ดินลูกรัง ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินพรุ และหน้าดิน
ถกู ชะล้าง เปน็ ต้น

พระองค์ทรงเห็นว่า “ดิน” เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ส�ำคัญมาก จึงได้พระราชทานพระราชด�ำริ
ในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพดิน ท้ังในแง่ปัญหาดินท่ีเส่ือมโทรม ขาดคุณภาพ ด้วยวิธีการ
แบบง่าย ๆ อาทิ การใช้ปุ๋ยหมัก การให้ดินตกตะกอนในอ่างเก็บน้�ำหรือตามล�ำห้วย เพื่อป้องกันการ
ชะล้างพังทลายของดิน เป็นต้น ดังพระราชด�ำรัสพระราชทานแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา เร่ืองการประยุกต์
เทคโนโลยีการถ่ายท�ำภาพถ่ายทางอากาศและดาวเทียม ในการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน�้ำทางเหนือ
ของประเทศไทย ณ โรงแรมรินค�ำ จังหวัดเชยี งใหม่ วนั จนั ทร์ ที่ ๗ มกราคม ๒๕๒๓ ความตอนหน่ึงวา่

42

“...ก็ขอกล่าววา่ ดินในทไ่ี หนทไี่ ม่ดีนนั้ ไม่คอ่ ยเปน็ ห่วง เพราะดนิ นั้นพฒั นา
ขน้ึ มาได้โดยไม่ยากนัก ดินจะเคม็ จะเปรี้ยว จะจดื อะไรก็ตาม สามารถที่จะทำ� ใหด้ ขี ึน้

ได้ภายในไม่ก่ปี ี โดยใชเ้ ทคนคิ แบบโบราณ ๆ ไมใ่ ช่สมยั ใหม่ แบบโบราณ ๆ คอื ใช้
ปุย๋ หมกั หรือใช้ตะกอนทีล่ งมาตามลำ� หว้ ย โดยท่ไี ดท้ ำ� เปน็ อา่ งเกบ็ น�้ำมาพัฒนาดินและ

รกั ษาดนิ ไม่ให้ไหลลงไป ไมใ่ ห้เกดิ การสึกหรอ erosion ไป อนั นเี้ ป็นวธิ ีทีง่ ่าย
โดยมากทางดา้ นพฒั นาท่ดี ินก็ออกจะเหน็ คุณภาพของดินปจั จุบันเป็นส่ิงท่ขี ้นึ สมอง

เพราะวา่ ดินท่ีไหนไมด่ ีกบ็ อกไม่ดี ใชไ้ มไ่ ด้ ความจรงิ พัฒนาท่ดี นิ นน้ั คำ� น้กี ็
หมายความวา่ ทำ� ใหด้ นิ ดขี น้ึ ไมใ่ ชด่ วู า่ ดนิ เดยี๋ วนเ้ี ปน็ อยา่ งไร แตว่ า่ พฒั นาใหด้ ขี นึ้ ซง่ึ ทำ� ไดแ้ นน่ อน

บางประเทศเป็นหนิ แท้ ๆ เขายังพฒั นาขน้ึ มาให้เป็นสวนได้ ฉะน้นั นีก่ ็เปน็ เทคนคิ ที่
สมควรจะใช้ เพ่ือที่จะให้ทงั้ บรเิ วณท่ีเปน็ บรเิ วณปฏิบตั ิการของเราเจรญิ ข้นึ มา…”
นอกจากน้ี เกษตรกรยังมีปัญหาขาดแคลนที่ดินท�ำกิน จากปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น
พระองค์จึงมแี นวพระราชด�ำรเิ ก่ยี วกบั ทรพั ยากรดินทีส่ �ำคญั สรปุ โดยสังเขปดงั น้ี
๑.๑ การจดั การและพฒั นาทดี่ นิ เมอ่ื พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช
มหาราช บรมนาถบพติ ร ทรงเรมิ่ งานพฒั นาประเทศ ทรงนำ� วธิ กี ารปฏริ ปู ทดี่ นิ มาใชใ้ นการจดั และพฒั นาทดี่ นิ
ที่เป็นป่าเส่ือมโทรม ทิ้งร้าง ว่างเปล่า มาจัดสรรให้เกษตรกรท่ีไร้ที่ท�ำกิน ได้ประกอบอาชีพในรูป
ของหมู่บ้านสหกรณ์ และโครงการจัดและพัฒนาที่ดินในรูปแบบอ่ืนๆ โดยให้สิทธิท�ำกินชั่วลูกช่ัวหลาน
แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง พร้อมกับจัดบริการพ้ืนฐานให้ตามความเหมาะสม โดยทรงมี
หลักการว่าต้องมีการวางแผนการจัดการให้ดีเสียตั้งแต่ต้น โดยใช้แผนท่ี และภาพถ่ายทางอากาศ
ช่วยในการวางแผน ไม่ควรท�ำแผนผังท่ีท�ำกินเป็นลักษณะตารางสี่เหล่ียมเสมอไป โดยไม่ค�ำนึงถึง
สภาพภมู ปิ ระเทศ แตค่ วรจัดสรรพนื้ ท่ที �ำกนิ ตามแนวพนื้ ทีร่ บั น�้ำจากโครงการชลประทาน
น่ันคือจะต้องด�ำเนินโครงการเก่ียวกับการพัฒนาที่ดินเพ่ือการเกษตรควบคู่ไปกับการพัฒนา
แหล่งน�้ำ โดยทรงเริ่มโครงการพัฒนาที่ดินหุบกะพง เม่ือปี ๒๕๑๑ เนื่องจากราษฎรขาดที่ดิน
ท�ำกนิ พระองคจ์ ึงพระราชทานพน้ื ที่จำ� นวน ๑๐,๐๐๐ ไร่ ใหเ้ กษตรกรจ�ำนวน ๑๒๐ ครอบครวั เขา้ ไป
ท�ำกิน และมีส่วนราชการต่าง ๆ เข้าไปช่วยเหลือราษฎรบุกเบิกที่ท�ำกิน อันเป็นการแก้ไขปัญหา
การไม่มีทีด่ นิ ทำ� กนิ ของเกษตรกร
๑.๒ การด�ำเนินการเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ไดม้ พี ระราชดำ� รวิ า่ ปญั หาการบกุ รกุ เขา้ ไปครอบครองทด่ี นิ
ของรฐั โดยราษฎรทไ่ี มม่ ที ด่ี นิ ทำ� กนิ เปน็ หลกั แหลง่ จะทวคี วามรนุ แรงขนึ้ จงึ พระราชทานแนวพระราชดำ� ริ
เกยี่ วกบั การจดั การทรพั ยากรทดี่ นิ และปา่ ไม้ สำ� หรบั ทด่ี นิ ปา่ สงวนทเ่ี สอื่ มโทรมและราษฎรไดเ้ ขา้ ไปทำ� กนิ
อยแู่ ลว้ นนั้ เพอื่ แกป้ ญั หาการบกุ รกุ เขา้ ไปครอบครองทดี่ นิ ของรฐั โดยราษฎรทไ่ี มม่ ที ดี่ นิ ทำ� กนิ โดยใหภ้ าครฐั
ดำ� เนนิ การใหก้ รรมสิทธแิ์ ก่ราษฎรในการท�ำกินตามกฎหมาย ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นทนี่ น้ั ๆ
แตไ่ ม่สามารถซ้ือขายได้ เช่น ให้หนังสอื รับรองสทิ ธิท�ำกนิ (สทก.) ท่ีสามารถเปน็ มรดกตกทอดแกท่ ายาท

43

ให้ท�ำกินได้ตลอดไป ด้วยวิธีการนี้จะช่วยให้ราษฎรมีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเองและครอบครัว
โดยไมอ่ าจนำ� ทด่ี นิ นนั้ ไปขาย และจะไมไ่ ปบกุ รกุ พนื้ ทป่ี า่ สงวนอน่ื ๆ อกี ดงั พระบรมราโชวาทพระราชทาน
แก่ประธานกรรมการสมาคมธนาคารไทยและคณะผแู้ ทนธนาคารตา่ ง ๆ ณ พระตำ� หนกั จติ รลดารโหฐาน
วนั จนั ทร์ ที่ ๑๔ มถิ นุ ายน ๒๕๑๔ ความตอนหนง่ึ วา่
“ขอขอบใจทผี่ แู้ ทนของสมาคมธนาคารไทยไดม้ าใหพ้ รและใหเ้ งนิ เพอ่ื ทจี่ ะชว่ ยในการพฒั นาประเทศ

การทีไ่ ด้น�ำเงินจ�ำนวนน้มี าใหก้ ็จะเป็นประโยชน์เปน็ อเนกประการตอ่ ไป ต้งั ใจวา่
จะน�ำเงนิ จ�ำนวนน้ไี ปสำ� หรบั ท่จี ะชว่ ยใหโ้ ครงการสร้างหมู่บ้านหรอื จดั สรรท่ีใหป้ ระชาชน
ไดอ้ ยไู่ ดท้ ำ� มาหากนิ เพราะวา่ ในขณะนข้ี อ้ ทสี่ ำ� คญั สำ� หรบั ประชาชน คอื จะตอ้ งมที ที่ ำ� มาหากนิ และ

โดยเฉพาะสำ� หรบั ผู้ทีเ่ ป็นกสิกร จำ� เป็นท่ีจะให้เขามที ด่ี นิ ของตนเอง ต้องสามารถ
ทีจ่ ะผลิตผลผลติ หาเลยี้ งชพี ตนเองให้ไดด้ ี และต้องรักทที่ ำ� กิน ฉะนน้ั การทจ่ี ะจัดตงั้
หมู่บา้ นที่จะเรียกวา่ เป็นหม่บู ้านกสิกรข้นึ มา ก็เพื่อท่ีจะให้ประชาชนเหล่านั้นสามารถ
ท่ีจะท�ำมาหากินได้ดี และทำ� ให้ครอบครัวของเขามีความม่นั คงขน้ึ เม่อื มีความม่ันคงแล้ว

กจ็ ะเปน็ กำ� ลงั สำ� หรบั ชว่ ยให้ประเทศชาติมคี วามมน่ั คงข้นึ …”
๑.๓ การแก้ไขและฟื้นฟูทรัพยากรดิน หลังจากงานจัดสรรที่ดินท�ำกินในระยะแรกแล้ว
แนวพระราชดำ� รใิ นการจดั การทรพั ยากรดนิ ของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร ไดข้ ยายขอบเขตไปสกู่ ารแกไ้ ขปญั หาและฟน้ื ฟทู รพั ยากรดนิ เพอื่ ปรบั ปรงุ
ประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรให้สูงข้ึน โดยทรงให้ความส�ำคัญกับการฟื้นฟูท่ีดินที่มีสภาพ
ธรรมชาตแิ ละปญั หาทแ่ี ตกตา่ งกนั ออกไปในแตล่ ะภมู ภิ าค จงึ มพี ระราชดำ� รใิ นการแกไ้ ขปญั หาทด่ี นิ ทเี่ นน้
เฉพาะเรอ่ื งมากขึน้ เชน่ การศกึ ษาวจิ ยั เพอื่ แกไ้ ขปญั หาดนิ เคม็ ดนิ เปรยี้ ว ดนิ ทราย ในภาคกลางและภาค
ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ปญั หาดนิ พรุ ในภาคใต้ และทด่ี นิ ชายฝง่ั ทะเล รวมถงึ งานในการแกไ้ ขปรบั ปรงุ และ
ฟื้นฟูดินท่ีเสื่อมโทรมพังทลายจากการชะล้างหน้าดิน ตลอดจนการท�ำแปลงสาธิตการพัฒนาที่ดินเพ่ือ
การเกษตรกรรมในบางพน้ื ทท่ี มี่ ปี ญั หาในเรอื่ งดนิ เสอ่ื มโทรมดว้ ยสาเหตตุ า่ ง ๆ ทงั้ นี้ เพอื่ ใหพ้ นื้ ทท่ี ม่ี ปี ญั หา
เรอื่ งดนิ ทง้ั หลาย สามารถใชป้ ระโยชนท์ างการเกษตรไดอ้ กี โครงการตา่ ง ๆ ในระยะหลงั จงึ เปน็ การรวบรวมความรู้
ทั้งทางทฤษฎแี ละปฏิบตั ิจากหลากหลายสาขามาใชร้ ว่ มกันในการจัดการทรพั ยากรธรรมชาติ

44

พระราชดำ� รแิ ละพระราชกรณยี กจิ ในการ
ด�ำเนินงานด้านการแก้ไขและฟื้นฟูทรัพยากรดิน
ด้วยแบบจ�ำลองการฟื้นฟูบ�ำรุงดินที่มีสภาพ
ขาดความสมบูรณ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรม
ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพติ ร ไดม้ พี ระราชดำ� รเิ กย่ี วกบั การแกไ้ ข
ปญั หาคณุ ภาพของดนิ ตามสภาพของพน้ื ท่ี โดยทรง
ทดลองปฏบิ ตั ใิ นศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาอนั เนอ่ื งมา
จากพระราชดำ� ริ ๖ แหง่ เพอื่ ใหเ้ ปน็ แหลง่ ศกึ ษาวจิ ยั
เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาและพฒั นาพน้ื ทต่ี ามสภาพภมู สิ งั คม
ของแตล่ ะแหง่ ตลอดจนเปน็ แหลง่ ศกึ ษาดงู านและ
นำ� ความรไู้ ปปรบั ใช้ตามสภาพปัญหาของดนิ ในพน้ื ที่ตา่ ง ๆ ดงั น้ี

(๑) ปัญหาดินทราย สภาพของดินทรายจะมีลักษณะโปร่ง น�้ำและรากพืชผ่านไปได้ง่าย
มีอาหารพืชอยู่น้อย ในฤดูฝนต้นไม้ที่ปลูกจะงอกงาม แต่ในฤดูแล้ง น้�ำไม่เพียงพอ ต้นไม้มักเหี่ยวแห้ง
อีกท้ังต้นไม้ท่ีปลูกใหม่มักจะตายเพราะร้อนและแห้งจัด พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวทางแก้ปัญหาคือ ให้ปลูกหญ้า
ตามแนวระดับเพือ่ ยดึ ดนิ และให้เกดิ ป๋ยุ อนิ ทรยี ์ จากนั้นจึงปลกู ตน้ ไมน้ านาชนดิ เพ่อื รกั ษาความชน้ื

พระองค์ทรงยกตัวอย่างจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ
ซึ่งเป็นดนิ ทรายมีแรธ่ าตนุ อ้ ย เนอ่ื งจากมกี ารท�ำลายป่าและปลกู พืชไร่ เช่น ขา้ วโพด และมนั สำ� ปะหลัง
เป็นต้น ท�ำให้ดินจืด และกลายเป็นดินทรายในที่สุด ดินจึงขาดความอุดมสมบูรณ์ ไม่สามารถ
เพาะปลูกพืชและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ จึงได้มีการพัฒนาท่ีท�ำกินของราษฎรให้มีความ
อุดมสมบูรณ์ข้ึน โดยการพัฒนาที่ดินไปพร้อมกับการพัฒนาแหล่งน�้ำ การฟื้นฟูสภาพป่า โดยได้มี
การทดลองศึกษาการท�ำเกษตรผสมผสาน ท�ำให้เกษตรกรเร่ิมเปล่ียนมาปลูกพืชที่หลากหลายมากข้ึน
คือ ปลูกท้ังข้าว พืชผัก ผลไม้ ร่วมกับการเลี้ยงปลา หรือเล้ียงกบในสระน้�ำประจ�ำไร่นา เลี้ยงเป็ด
ไก่ ในท่ที �ำกนิ ของตนเอง แทนการปลกู มันสำ� ปะหลังหรอื ข้าวเพยี งชนดิ เดยี ว

(๒) ปัญหาดินดาน ดินแข็ง และดินลูกรัง ซึ่งมีลักษณะเป็นดินเนื้อละเอียด มีน้�ำหนักมาก
น้�ำและอากาศผ่านเข้าออกยาก ฤดูแล้งจะแห้งแข็งแตกระแหง รากไม้แทรกเข้าไปได้ยาก พืชท่ีปลูก
จึงไม่ค่อยเจริญเติบโต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร ทรงพบลักษณะดินดังกล่าวในพื้นที่เขตจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ
จงั หวดั ใกลเ้ คยี งอนื่ ๆ ทง้ั ทเ่ี คยเปน็ พนื้ ทที่ อ่ี ดุ มสมบรู ณ์ แตด่ นิ เกดิ ปญั หาจากการแผว้ ถางปา่ ของราษฎร
เพอื่ เพาะปลกู พชื รวมถงึ การทำ� เกษตรกรรมอย่างผิดวิธี ใชส้ ารเคมีท่ีสง่ ผลเสียต่อดนิ และน�ำ้

45

ในเบ้ืองต้น พระองค์ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้พัฒนาพื้นท่ีในเขตพระราชนิเวศน์
มฤคทายวันก่อน เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้
กลับคืนโดยเร็ว โดยเฉพาะการปลูกป่าและจัดหา
แหล่งน�้ำเพ่ือสร้างความช้ืนให้แก่พื้นที่ จากน้ัน
มีพระราชด�ำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา
หว้ ยทรายอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริ

นอกจากนี้ พระองค์ได้พระราชทาน
พระบรมราโชบาย “ป่าไม้หมู่บ้าน” ให้ราษฎร
เป็นเจ้าของ ด�ำเนินการปลูกป่าและบ�ำรุงรักษาต้นไม้เอง โดยระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้หน่วยงานราชการเข้าไปสาธิตให้ราษฎรรู้จักการเพาะต้นกล้าไม้โตเร็ว ไม้ผล และไม้เศรษฐกิจ
พรอ้ มใหค้ วามรเู้ กยี่ วกบั การปอ้ งกนั ไฟปา่ ดว้ ยระบบปา่ เปยี ก และการปลกู หญา้ แฝกเพอื่ ปอ้ งกนั การชะลา้ ง
พังทลายของหน้าดินและรักษาความชุ่มช้ืนของดิน รวมท้ังส่งเสริมพัฒนาการเพาะปลูกด้วยวิธีการ
ตา่ ง ๆ จนสามารถฟน้ื ฟสู ภาพดนิ ดานใหก้ ลายเป็นดินทอ่ี ุดมสมบรู ณไ์ ด้สำ� เรจ็
(๓) ปัญหาดินปนหินและกรวด ปัญหาของดินมีสาเหตุมาจากการท�ำลายป่า เม่ือถึงฤดูฝน
หน้าดินจึงถูกชะล้างพังทลาย เหลือแต่หินและกรวด จนเป็นดินท่ีขาดคุณสมบัติ ไม่สามารถ
เพาะปลกู พชื ให้เจริญเตบิ โตได้
เมอ่ื คราวทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร
เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ไปทรงเยย่ี มราษฎรทหี่ ว้ ยฮอ่ งไคร้ ตำ� บลปา่ เมอื ง อำ� เภอดอยสะเกด็ จงั หวดั เชยี งใหม่
มีพระราชด�ำริท่ีจะเล้ียงสัตว์ แต่ผู้เชี่ยวชาญกราบบังคมทูลว่าอาจจะเล้ียงได้ไม่กี่ตัวเพราะดินมีแต่หิน
และกรวด อนั เปน็ ทมี่ าของพระราชดำ� รจิ ดั ตง้ั ศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาหว้ ยฮอ่ งไครอ้ นั เนอ่ื งมาจากพระราชดำ� ริ
โดยแนวพระราชดำ� รใิ นการฟื้นฟสู ภาพดินที่น่ีคอื การสร้างอ่างเก็บน้�ำและฝายเพื่อคนื ความชุ่มชืน้ ให้แก่
พ้ืนที่และพัฒนาคุณภาพของดิน นอกจากนี้ ให้ท�ำการฟื้นฟูดิน ซ่ึงส่วนมากเป็นหิน กรวด
ทราย หนิ และดนิ ลกู รงั ใหส้ ามารถทำ� เปน็ ทงุ่ หญา้ สำ� หรบั ปศสุ ตั ว์ ปลกู พชื ไร่ พชื สวน พรอ้ มกบั การพฒั นา
แหล่งนำ้� เพื่อเกบ็ กกั น�้ำรักษาความชุ่มชืน้ ให้แกพ่ ้นื ที่ และพัฒนาคณุ ภาพของดนิ ไปพรอ้ มกนั
(๔) ปัญหาดินเค็ม เป็นดินที่มีเกลืออยู่ในปริมาณมาก มีความเป็นด่างสูง จนมีผลต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช เกลือในดินเค็มของภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็น
เกลือแกงท่ีอยู่ในรูปของโซเดียมคลอไรด์ สาเหตุที่ดินเค็มประการหน่ึงเกิดจากการสร้างอ่างเก็บน้�ำ
บนพื้นท่ีที่มีช้ันหินเกลืออยู่ใต้ดิน หรือการตัดไม้เพ่ือท�ำนาเกลือ ท�ำให้เกลือในดินเกิดการละลาย
และกระจายสผู่ วิ ดนิ มากยิง่ ขึ้น ส่วนการกระจายของเกลือลงในแหลง่ นำ�้ เกดิ จากนำ้� ทิง้ จากการตม้ เกลอื
ลงส่แู หล่งน้ำ� ธรรมชาติ

46


Click to View FlipBook Version