การส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับ ชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน นางสาวศศิกาญจน์ เครือแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภิดา โครตนอก งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยนักศึกษาหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2566
การส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับ ชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน นางสาวศศิกาญจน์ เครือแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภิดา โครตนอก งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยนักศึกษาหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2566
ก หัวข้อวิจัย การส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาวศศิกาญจน์ เครือแก้ว ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภิดา โครตนอก ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัด กิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลัง ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนหม่อน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้อง เด็ก ปฐมวัยทั้งหมด 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์ทาง วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี จำนวน 2 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D) ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การจัด กิจกรรมวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองโดยมีค่าเฉลี่ยรวมก่อนการทดลองเท่ากับ 16.15 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.55 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 18.91 ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.69
ข กิตติกรรมประกาศ รายงานวิจัยในชั้นเรียนเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยการ จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน ซึ่งครูเป็นบุคคลสำคัญในการจัด ประสบการณ์ให้กับเด็กเกิดทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยใช้การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ รายงานวิจัยในชั้นเรียนเล่มนี้สำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย ในชั้นเรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภิดา โครตนอก ที่กรุณาให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ สนับสนุน ตรวจสอบข้อบกพร่องและแนะนำในการแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อ ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทั้งนี้ ขอขอบคุณท่าน อาจารย์ ดร.กิ่งดาว หวังร่วมกลาง ผู้อำนวยการโรงเรียน รวมทั้งคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสวนหม่อนทุกท่านที่อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ และสนับสนุน ตลอดจนนักเรียนชั้น อนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้ให้ความร่วมมือในการทดลองการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์จึงทำให้การศึกษาในครั้งนี้สำเร็จได้ด้วยดี คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ศึกษาค้นคว้าขอมอบกตัญญูกตเวทีแด่ บุพการี บูรพาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่านทั้งอดีตและปัจจุบันที่ทำให้ข้าพเจ้าเคยได้ศึกษาให้ประสบ ความสำเร็จตลอดมา ศศิกาญจน์ เครือแก้ว
ค สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ............................................................................................................................... ก กิตติกรรมประกาศ................................................................................................................. ข สารบัญ.................................................................................................................................. ค สารบัญตาราง........................................................................................................................ ฉ สารบัญภาพประกอบ............................................................................................................. ช บทที่ 1 บทนำ........................................................................................................................ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา.......................................................................... 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย................................................................................................. 3 สมมติฐานของการวิจัย...................................................................................................... 4 ขอบเขตของการวิจัย......................................................................................................... 4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ............................................................................................... 5 นิยามศัพท์เฉพาะ............................................................................................................... 5 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.................................................................................... 7 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560..................................................................... 8 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย................................................................................................ 8 จุดหมาย.......................................................................................................................... 8 คุณลักษณะที่พึงประสงค์................................................................................................. 8 สาระการเรียนรู้............................................................................................................... 10 การจัดประสบการณ์........................................................................................................ 11 เอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์........................................... 13 ความหมายของการคิดเชิงวิเคราะห์................................................................................. 13 ความสำคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์................................................................................ 14 ทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดเชิงวิเคราะห์........................................................................ 15 ลักษณะการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย.................................................................... 20 แนวทางการส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย................................................. 21 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์...................................................................... 23 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์........................................ 25
ง สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า ความหมายของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย.................................... 25 ความสำคัญของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย.................................... 25 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย................................................. 29 หลักการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย...................................................... 31 บทบาทครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์.......................................................... 33 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ......................... 36 กรอบแนวคิดในการวิจัย..................................................................................................... 38 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย.................................................................................................. 39 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง................................................................................................. 39 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย..................................................................................................... 39 การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ............................................................................... 39 การเก็บรวบรวมข้อมูล........................................................................................................ 43 การวิเคราะห์ข้อมูล............................................................................................................. 45 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล........................................................................................... 45 บทที่ 4 ผลการวิจัย.................................................................................................................. 47 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล.................................................................................. 47 การวิเคราะห์ข้อมูล............................................................................................................ 47 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอเสนอแนะ.................................................................... 49 สรุปผลการวิจัย.................................................................................................................. 49 อภิปรายผล........................................................................................................................ 49 ข้อเสนอแนะ...................................................................................................................... 51 บรรณานุกรม.......................................................................................................................... 52 ภาคผนวก............................................................................................................................... 56 ภาคผนวก ก ..................................................................................................................... 57 - คู่มือแบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย........................................ 58 - แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย................................................ 60
จ สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า ภาคผนวก ข ................................................................................................................. 77 - แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย............................................. 78 ภาคผนวก ค................................................................................................................... 94 - แบบประเมินคุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์.......................... 95 - ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแบบทดสอบ วัดทักษะการคิดเชิงเหตุผลระดับปฐมวัย....................................................... 98 ภาคผนวก ง ................................................................................................................. 99 - ภาพการปฏิบัติการทำงานวิจัยในชั้นเรียน.................................................... 100 ประวัติผู้วิจัย....................................................................................................................... 105
ฉ สารบัญตาราง ตาราง หน้า 3.1 ตารางแบบแผนการทดลอง................................................................................................... 43 3.2 ตารางดำเนินกิจกรรม จำนวน 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 กิจกรรม......................................... 44 4.2 ตารางเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ก่อนและหลังการทดลอง .............................. 48
ช สารบัญภาพประกอบ ตาราง หน้า 1 กรอบแนวคิดการวิจัย............................................................................................................... 38
1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การคิดเชิงวิเคราะห์ กระบวนการคิดหรือความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ โดย อาศัยประสบการณ์เดิมมาเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เพื่อเปรียบเทียบ จำแนกประเภท เชื่อมโยง สาเหตุและ ผลที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ เพื่อให้ได้คำตอบหรือข้อสรุปของเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งจะช่วยในการ แก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ดีและจำเป็นต่อ การดำรงชีวิต ดังนั้นจึงควรพัฒนาเด็กให้มีทักษะ ในการคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อให้เด็กมีพื้นฐานการคิดที่ดีและในการพัฒนาการคิดขั้นสูงเพื่อดำรงชีวิตที่ดี ต่อไป ดังแนวคิดของ ประภานิช เพียรไพฑูรย์ (2553: 15) ได้กล่าวว่า กระบวนการในการคิดเชิง วิเคราะห์จะต้องใช้ลักษณะการคิดหลาย ๆ อย่างประกอบกัน เช่น การระลึกได้ การเปรียบเทียบ การ ลงความเห็น การสรุป การคิด ในทางตรงกันข้าม การจำแนกหมวดหมู่ การวิเคราะห์ การจินตนาการ การสังเคราะห์ การประเมินผล ซึ่งแนวทางในการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์มี 2 แนวทาง หลัก คือ การสอนให้รู้จักคิดเป็น และการสอนให้คิดแก้ปัญหา และแนวคิดของ พัชรี คุ้มชาติ (2553: 15) ที่กล่าวว่า การจะพัฒนาเด็ก ให้เป็นคนที่รู้จักคิด และมีทักษะต่าง ๆ ทางการคิดแล้วนั้น เด็กควร ได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ยังเล็ก ตามวัยและวุฒิภาวะของเด็ก เพราะพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กนั้นจะ ดำเนินไปตามลำดับขั้น ฉะนั้นจึงควรมีการส่งเสริมให้เด็กได้เกิดทักษะและกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่ยัง เล็ก ให้เด็กได้มี การแสดงออกด้วยการลงมือกระทำ ตามสภาพความสนใจของเด็ก ให้เด็กได้รู้จัก สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ ค้นคว้า ทดลอง รวมถึงการแก้ปัญหาด้วยตัวของเด็กเอง เพื่อเป็นแนวทาง ในการหา คำตอบให้กับตนเองและนำไปสู่การคิดเชิงวิเคราะห์สำหรับเด็กได้ต่อไป และแนวคิดของ นิฤมล สุวรรณศรี (2556: 38) ที่กล่าวว่า การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เพราะ การ คิดโดยการอาศัยข้อมูลและข้อเท็จจริงมาช่วยในการตัดสินใจหรือแก้ปัญหา ช่วยให้เกิดการ แสดงออก ในสิ่งที่ดีงามและนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข รวมทั้งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ประสบการณ์ด้านอื่น ๆ ซึ่งประเทศที่มีประชากรที่มีความสามารถด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ จะ สามารถพัฒนา ประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต ดังนั้น การจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิด เชิงวิเคราะห์จึง จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้คิดและใช้เหตุผลในการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง การส่งเสริม ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์มีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ การเล่นเกม การศึกษา การจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบคำถาม กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เนื่องจากเป็นการ ตอบสนองธรรมชาติของการเรียนรู้ผ่านการเล่นของเด็ก ช่วยฝึกนิสัยการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง และ ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก สร้างความเชื่อมั่นในตนเองได้ประสบการณ์ที่จำเป็น
2 ต่อชีวิต ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในการช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ดัง แนวคิดของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(2551 : 1) อธิบายว่า กิจกรรม วิทยาศาสตร์ มีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิด วิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถใน การแก้ปัญหาอย่างเป็น ระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ และแนวคิด ของ แลนด์และสโตน (Kusland and Stone. 1968 ; อ้างถึงใน สุมาลี หมวดไธสง 2554 : 7) กล่าว ว่า กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย การสังเกต การวัด การทดลอง และการออกแบบการทดลอง การอธิบาย การสรุป หลักเกณฑ์ และการพิจารณา เหตุผล และแนวคิดของ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551 : 173) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็น กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา เป็นความสามารถทางสมอง การรวบรวม ประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเชิงวิเคราะห์ ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถแก้ปัญหาได้และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนา ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เปิดโอกาสให้เด็กให้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ฝึกฝนการสังเกต การคิดอย่างมี วิเคราะห์ โดยจัดสร้างสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกคิดค้นหาคำตอบ เพื่อ ส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ด้วยตนเองได้เหมาะสมกับวัย การจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์จึงเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเด็กเป็นอย่างมาก อีกทั้งเป็นพื้นฐานของการพัฒนา ความสามารถด้านต่าง ๆ ต่อไป และมีนวัตกรรมที่สามารถจัดร่วมกับกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อ ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ เช่น การใช้ผังกราฟิก จากการศึกษาพบว่า ผังกราฟิกเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สอน เชื่อมโยง จัดระเบียบ ความคิดและ โครงสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนง่ายต่อการเชื่อมโยงข้อมูล และสร้างความรู้ที่ เป็นระบบ ดังแนวคิดของ ซู ซาน เอ. แอมโบรส (2556 : 28) กล่าวว่า ผังกราฟิกทำให้ผู้เรียน สังเคราะห์ ความรู้ที่จัดระบบไว้แล้วเชื่อมโยงกับความรู้เดิม สามารถดึงความรู้ไปใช้ต่อได้อย่างมี ประสิทธิภาพ แผนผังกราฟิก (Graphic Organizers) เป็นแผนผังทางความคิด ประกอบ ด้วย ความคิดหรือข้อมูลต่างๆเชื่อมโยงกันอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เห็นโครงสร้างความรู้หรือเนื้อหาสาระ นั้นๆ ทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และจดจำได้นาน และแนวคิดของ ทิศนา แขมมณี(2558 : 190) ได้กล่าวว่า แผนผังกราฟิกมีหลายประเภทที่นิยมใช้กันมาก ยกตัวอย่าง เช่น ผังความคิด ผัง มโนทัศน์ ผังก้างปลา เป็นต้น ในการเรียนการสอนเมื่อผู้เรียนนำข้อมูลมาสร้าง แผนผังกราฟิกก็จะ ทำ ให้เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลได้ แผนผังกราฟิกจะช่วยจัดระบบในการแสดงเนื้อหา ทำให้ผู้เรียนจำ และ เข้าใจในเนื้อหาวิชาโดยง่ายกว่าการสอนด้วยการบรรยายประกอบภาพแต่เพียงอย่างเดียว และ
3 แนวคิดของ ฉัตรียา เลิศวิชา (2557 : 47) ได้กล่าวว่า ผังกราฟิกเป็นการนำข้อมูลดิบหรือความรู้จาก แหล่งต่าง ๆ มาจัดกระทำข้อมูลโดยใช้ทักษะการคิด เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดประเภท เป็นต้นซึ่งผังกราฟิก ทำหน้าที่ช่วยจัดการกับเนื้อหา ข้อมูลและ ความคิดที่นักเรียนมีอยู่ในสมอง เป็น เครื่องมือจัดระบบความคิด โดยใช้เส้นวาดเข้าช่วยในรูปแบบของตาราง (Table) แผนภาพ (Picture) แผนภูมิ (Chart) เส้นเวลา (Timeline) แผนผังและเส้นโยง (Diagram and Flowchart) รูปพีระมิด (Pyramid) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ช่วยให้นักเรียนสามารถนำความรู้และข้อมูลจากความคิดในสมอง มา จัดวางได้อย่างเป็นระบบ ตามรูปแบบต่าง ๆ มีลักษณะเด่นในการเก็บข้อมูล ความคิด ข้อเท็จจริง เป็น แบบแผนแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างชัดเจน แผนผังกราฟิกมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ หลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล และทฤษฎีเกสตัลท์ ซึ่งทั้งหมดเป็น ทฤษฎีเกี่ยวกับด้านการเรียนรู้และความจำ ซึ่งจะส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ด้านการเปรียบเทียบและ ด้านการเชื่อมโยงอย่างมาก จากการที่ผู้วิจัยได้ไปสังเกตพฤติกรรมเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน พบว่ามีเด็ก หลายคนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์คือ เด็กให้เหตุผลขณะครูถามไม่ได้และขณะเรียนก็ไม่ค่อยตอบ คำถามเมื่อคุณครูถาม มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์คือ เด็กสนใจในกิจกรรม กลุ่มและกิจกรรมที่แปลก ใหม่ ผู้วิจัยจึงได้จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นกิจกรรมกลุ่มที่แปลก ใหม่ที่เด็กสนใจ เพื่อส่งเสริม การคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ในด้านการการเปรียบเทียบและด้าน การเชื่อมโยง เพราะกิจกรรม วิทยาศาสตร์ทำให้เด็กได้สังเกตและสามารถเปรียบเทียบได้ช่วยให้เด็ก สามารถคิดเชื่อมโยงหาสาเหตุ และผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรมได้ดี ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อ ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย เนื่องจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมกลุ่ม ที่น่าสนใจ เป็นกิจกรรมที่จะทำให้เด็กได้คิดหาเหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับชั้น อนุบาล 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน
4 สมมติฐานของการวิจัย เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน หลังจากได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้มีทักษะ การคิดเชิงวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย ดังนี้ 1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาค การศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนหม่อน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 ห้อง เด็กปฐมวัยทั้งหมด 64 คน กลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาค การศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนหม่อน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1ห้อง เด็กปฐมวัยทั้งหมด 34 คน 2. ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรอิสระ คือ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตัวแปรตาม คือ การคิดเชิงวิเคราะห์
5 ประโยชน์ของการวิจัย 1. เด็กได้รับการส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ ผ่านกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2. เป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้มีแนวทางใน การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ดียิ่งขึ้น โดยผ่านการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ 3. ผู้วิจัยได้รู้ถึงหลักการและขั้นตอนในการทำวิจัย เพื่อนำผลวิจัยที่ได้เป็นแนวทางในการ พัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับวัย คำนิยามศัพท์เฉพาะ เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กชาย–หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนหม่อน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้อง เด็กปฐมวัยทั้งหมด 34 คน การคิดเชิงวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจ โดยอาศัยข้อมูลจาก ประสบการณ์เดิมที่มีอยู่มาเป็นฐานเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ ในการหาข้อสรุปถึงความสัมพันธ์ ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการ สังเกต ทดลอง สืบค้น ผ่านกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กสามารถหาคำตอบได้อย่างสมเหตุสมผล สามารถวัดได้จากแบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เตือนใจ ผางคา (2560 : 123-129) แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการเปรียบเทียบ หมายถึง ความสามารถในการคิดพิจารณาถึงความแตกต่างของ สิ่งของต่าง ๆ ตามรูปร่าง รูปทรง ขนาด ทิศทาง ประเภท ที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดยใช้ลักษณะที่ไม่ เหมือนกันในการเปรียบเทียบ 2. ด้านการเชื่อมโยง หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งที่กำหนดให้ หรือการจัดลำดับความต่อเนื่องของสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กัน กิจกรรมวิทยาศาสตร์ หมายถึง การจัดประสบการณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ปฐมวัย เพื่อให้ความรู้ต่างๆ และสรุปเป็นผังกราฟิกร่วมกัน เพื่อฝึกการคิดเชิงวิเคราะห์ ซึ่งในการ จัดการจัดประสบการณ์การวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
6 1. ขั้นนำ คือ ผู้วิจัยนำเด็กเข้าสู่เรื่องราวของกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ ผ่านการร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การสนทนา เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในการการจัดประสบการณ์การทดลอง วิทยาศาสตร์ 2. ขั้นการสังเกตก่อนการทดลอง คือ ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง เพื่อให้เด็กได้สังเกต วิธีดำเนินการทดลองก่อนการทดลองร่วมกัน 3. ขั้นการทดลองวิทยาศาสตร์ คือ เด็กและผู้วิจัยร่วมกันทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัย จัดขึ้น เน้นให้เด็กเกิดความสามารถในการคิดพิจารณาถึงความแตกต่างของสิ่งของต่าง ๆ ตามรูปร่าง รูปทรง ขนาด ทิศทาง ประเภท ที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดยใช้ลักษณะที่ไม่เหมือนกันในการ เปรียบเทียบ จากกิจกรรม 5 กิจกรรมดังนี้ 1) กิจกรรมแม่เหล็กดูดอะไรได้บ้าง 2) กิจกรรมทอร์นาโดในขวด 3) กิจกรรมสนุกกับไฟฟ้าสถิต 4) กิจกรรมการกรองน้ำ 5) กิจกรรมเรือแบบใดบรรทุกน้ำหนักได้มากที่สุด 4. ขั้นตอนสรุป คือ ผู้วิจัยและเด็กร่วมกันสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อสรุปที่เน้นให้เด็กพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งที่กำหนดให้หรือการจัดลำดับความต่อเนื่องของสิ่ง ต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กัน เพื่ออธิบายถึงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรมวิทยาศาสตร์
7 บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 1.1 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย 1.2 จุดหมาย 1.3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 1.4 สาระการเรียนรู้ 1.5 การจัดประสบการณ์ 2. เอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์ 2.1 ความหมายของการคิดเชิงวิเคราะห์ 2.2 ความสำคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์ 2.3 ทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดเชิงวิเคราะห์ 2.4 ลักษณะการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.5 แนวทางการส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์ 3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3.1 ความหมายของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3.2 ความสำคัญของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3.3 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3.4 หลักการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3.5 บทบาทครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 4. กรอบแนวคิดในการวิจัย
8 1. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) 1.1 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ อย่างเปินองค์รวมบน พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตาม วัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มศักยภาพภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณคำต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ 1.2 จุดหมาย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยเต็มตามศักยภาพ และมีความพร้อม ในการเรียนรู้ต่อไป จึงกำหนดจุดหมายเพื่อให้เกิดกับเด็กเมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัย ดังนี้ 1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี 2. สุขภาพจิตดี มีสุนทรีภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม 3. มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข 4. มีทักษะการคิด การใช้ภาษาสื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย 1.3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จำนวน 12 มาตรฐาน ประกอบด้วย 1. พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและ ประสานสัมพันธ์กัน
9 2. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม 3. พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย 3 มาตรฐานคือ มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม 4. พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ ได้เหมาะสมกับวัย ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ สภาพที่พึงประสงค์ สภาพที่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่คาดหวังให้เด็กเกิดบนพื้นฐาน พัฒนาการตามวัยหรือความสามารถตามธรรมชาติในแต่ละระดับอายุ เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดสาระ การเรียนรู้ในการจัดประสบการณ์ และประเมินพัฒนาการเด็ก โดยมีรายละเอียดของมาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์
10 1.4 สาระการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) สาระการเรียนรู้ เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริม พัฒนาการเด็กทุกด้านให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรที่กำหนด ประกอบด้วย ประสบการณ์ สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ดังนี้ 1.4.1 ประสบการณ์สำคัญ ประสบการณ์สำคัญเป็นแนวทางสำหรับผู้สอนนำไปใช้ในการออกแบบการจัดระสบกรณ์ให้ เด็กปฐมวัย ลงมือปฏิบัติ และได้รับการสงเสริมพัฒนาการครอบคลุมทุกประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริม พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวผ่านการมี ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่าง ๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาส ให้เด็กได้พัฒนาการใช้ภาษา จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การคิดเชิงเหตุผล และการ คิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของการ เรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป 1.4.2 สาระที่ควรเรียนรู้ สาระที่ควรรู้ เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดแนวคิด หลังจากนำสาระที่ควรู้นั้น ๆ มาจัดประสบการณ์ให้เด็ก เพื่อให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ไม่เน้น การท่องจำเนื้อหา ผู้สอนสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ และ ความสนใจของเด็ก โดยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญ ทั้งนี้อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้โดย คำนึงถึงประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ดังนี้ 1.4.2.1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้ชื่อ นามสกุล รูปร่างน้าตา อวัยวะต่าง ๆ วิธี ระวังรักษาร่างกายให้สะอาดและมีสุขภาพอนามัยที่ดี การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ การ ระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองจากผู้อื่นและภัยใกล้ตัว รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย การรู้จักประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและ โรงเรียน การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น การรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความ คิดเห็นของผู้อื่น การกำกับตนเอง การเล่นและกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วนตนเองตามลำพังหรือกับผู้อื่น การ ตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง การสะท้อนการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของ ตนเองและผู้อื่น การแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม การแสดงมารยาทที่ดี การมี คุณธรรมจริยธรรม
11 1.4.2.2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่าง ๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวช้องหรือใกล้ชิดและปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สถานที่สำคัญ วันสำคัญ อาชีพของคนในชุมชน ศาสนา แหล่งวัฒนธรรมในชุมชนสัญลักษณ์สำคัญของ ชาติไทยและการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย หรือแหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญา ท้องถิ่น 1.4.2.3 ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบการเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ของมนุษย์ สัตว์ พืช ตลอดจนการรู้จักเกี่ยวกับดิน น้ำ ท้องฟ้า สภาพอากาศ ภัย ธรรมชาติ แรงและพลังงานในชีวิตประจำวันที่แวดล้อมเด็ก รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 1.4.2.4 สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายใน ชีวิตประจำวันความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้หนังสือและตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาด รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เวลา เงิน ประโยชน์ การใช้งาน และการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ยานพาหนะ การคมนาคม เทคโนโลยีและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดปลอดภัยและรักษา สิ่งแวดล้อม 1.5 การจัดประสบการณ์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-6 ปี เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะการบูรณา การผ่านการเล่น การลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงอย่างหลากหลาย เกิดความรู้ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย วารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไม่จัดเป็นรายวิชา โดยมีหลักการ และแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้ 1.5.1 หลักการจัดประสบการณ์ 1.5.1.1 จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาเด็ก โดยองค์รวมอย่างสมดุลและต่อเนื่อง 1.5.1.2 เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่าง บุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ 1.5.1.3 จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และ พัฒนาการของเด็ก
12 1.5.1.4 จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วน หนึ่งของการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง 1.5.1.5 ให้ห่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวซ้องมีสวนร่วมในการพัฒนา เด็ก 1.5.2 แนวทางการจัดประสบการณ์ 1.5.2.1 จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของ สมองที่เหมาะสมกับอายุ วุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตาม ศักยภาพ 1.5.2.2 จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก เด็กได้ลงมือ กระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง 1.5.2.3 จัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะ และ สาระการเรียนรู้ 1.5.2.4 จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่มคิด วางแผน ตัดสินใจลงมือกระทำและ นำเสนอความคิดโดยผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก และ เรียนรู้ร่วมกับเด็ก 1.5.2.5 จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในบรรยากาศที่อบอุ่นมีความสุข และเรียนรู้การทำ กิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่างๆ กัน 1.5.2.6 จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่ หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก สอดคล้องกับบริบท สังคม และวัฒนธรรมที่แวดล้อม เด็ก 1.5.2.7 จัดประสบการณ์ที่สงเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการชีวิตประจำวันตาม แนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม การมี วินัยให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 1.5.2.8 จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและแผนที่เกิดขึ้น ในสภาพจริงโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้
13 1.5.2.9 จัดทำสารนิทศด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของ เด็กเป็น รายบุคคล นำมาไตร่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวิจัยใน ชั้นเรียน 1.5.2.10 จัดประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมทั้งการวาง แผนการสนับสนุนสื่อ แหล่งการเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการ จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า การ จัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยมีหลักสูตรระดับปฐมวัย 2560 เป็นกรอบสำคัญในการที่ผู้วิจัยได้ นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ตามวัยของเด็กแต่ละคนตามบริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัย อยู่ 2. เอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์ 2.1 ความหมายของการคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นเรื่องที่นักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้ให้ความสนใจ และอธิบาย ความหมายของการคิดที่จะต้องใช้การวิเคราะห์เข้ามาประกอบการตัดสินใจไว้หลายลักษณะที่แตกต่าง กัน โดยมีผู้ให้ความหมายและคำอธิบายดังต่อไปนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546:251,1071) กล่าวว่าการคิดเชิง วิเคราะห์ มีความหมายว่า เป็นการไตร่ครวญ ตรึกตรองอย่างละเอียด รอบคอบ แยกเป็นส่วนๆ ใน เรื่องราวต่างๆ อย่างมีเหตุผล โดยหาจุดเด่น จุดด้อยของเรื่องนั้น ๆ และเสนอแนะสิ่งที่เหมาะสมอย่าง มีความเป็นธรรมและเป็นไปได้ ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพการคิดเชิงวิเคราะห์จึงสามารถกระทำได้โดย การฝึกทักษะการคิด อารมณ์ สุวรรณปาล (2552 : 25) ได้ให้ความหมายการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยว่า เป็นความสามารถรู้ถึงเหตุและผล เด็กจะนำประสบการณ์และความคิดรวบยอดเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เพื่อเปรียบเทียบหาวิเคราะห์ในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด การให้วิเคราะห์ของเด็กจะให้ตามที่พบเห็น หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวโยงกับการรับรู้การสังเกต การเปรียบเทียบ และความคิดรวบยอดตาม ระดับของเด็ก ประภานิช เพียรไพฑูรย์ (2553 : 12) ได้ให้ความหมายการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยว่า เป็นความสามารถในการอาศัยข้อมูลที่เป็นหลักการ และข้อเท็จจริงเพื่อที่จะสรุปเป็นกฎหรือหลักการ
14 เพื่อการตัดสินใจและวิเคราะห์ ในเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ดีและจำเป็นต่อ การดำรงชีวิต ดังนั้นจึงควรพัฒนาเด็กให้มีทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อให้เด็กมี พื้นฐานการคิดที่ดี ฆนัท ธาตุทอง (2554 : 28) ได้ให้ความหมายการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยว่า การคิด เชิงวิเคราะห์เป็นความสามารถในการจำแนก ข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็นอย่างเป็นระบบและ เชื่อมโยงกันระหว่างสาเหตุและผลที่เกิดขึ้น นิฤมล สุวรรณศรี (2556 : 37) ได้ให้ความหมายการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยว่า การ คิดเชิงวิเคราะห์ หมายถึง การคิดที่ต้องใช้หลักการ ข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลในการคิด เพื่อใช้ในการหา ทางออกของปัญหา และจำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต และการคิดเชิงวิเคราะห์ในเด็กปฐมวัยจะเป็น การใช้วิเคราะห์ในสิ่งที่พบหรือมีประสบการณ์ ดังนั้น จึงควรพัฒนาเด็กในการคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อให้ เด็กมีพื้นฐานการคิดที่ดีและเพียงพอ ในการพัฒนาการคิดขั้นสูงเพื่อดำรงชีวิตที่ดีต่อไป จากความหมายของการคิดเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า การคิดเชิงวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ถึงเหตุและผล โดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เพื่อเปรียบเทียบจำแนกประเภท เชื่อมโยง เพื่อให้ได้คำตอบหรือข้อสรุปของเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งจะ ช่วยในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ดีและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ดังนั้น จึงควรพัฒนา เด็กให้มีทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อให้เด็กมีพื้นฐานการคิดที่ดีและในการพัฒนาการคิดขั้นสูงเพื่อ ดำรงชีวิตที่ดีต่อไป 2.2 ความสำคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก นักจิตวิทยาและนักการศึกษาให้ความสำคัญ ของการคิดเชิงวิเคราะห์ ไว้ดังนี้ รวีวรรณ สุวรรณเจริญ (2554 : 11) กล่าวถึงความสำคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์ว่า เป็นสิ่งที่ ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ อีกทั้งการคิดอย่าง เป็นทักษะให้เด็กมีความสามารถในการสังเกต การจำแนก การคำนวณ การจัดกระทำข้อมูล การลง สรุปและการสื่อความ ฉะนั้นจึงควรให้ความสำคัญต่อการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยปลูกฝังฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้กับเด็กได้เกิดทักษะ
15 วรัญชลี รอตเรือง (2554 : 13) กล่าวถึงความสำคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์ว่า มีความสำคัญ สำหรับเด็กในการดำเนินชีวิต เพราะสามารถทำให้รู้จักการจำแนก การเปรียบเทียบ เพื่อหาคำตอบ ให้กับปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยวิธีการตามความสามารถ และเหมาะสมกับตนเอง เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทาง ต่อไป อาภรณ์ ศรีสุกใส (2555 : 9) กล่าวถึงความสำคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์ว่า การคิดเชิง วิเคราะห์ป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นทักษะที่ฝึกฝนให้เด็กมีความสามารถใน การใช้วิเคราะห์แก้ปัญหาและ ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจำวันและการใช้ ชีวิตในอนาคตได้อย่าง ปลอดภัยและคุ้มค่า นิฤมล สุวรรณศรี (2556 : 38) กล่าวถึงความสำคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์ว่า การคิดเชิง วิเคราะห์เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เพราะการคิดโดยการอาศัยข้อมูลและข้อเท็จจริงมาช่วยใน การตัดสินใจหรือแก้ปัญหา ช่วยให้เกิด การแสดงออกในสิ่งที่ดีงามและนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างมี ความสุข รวมทั้งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ประสบการณ์ด้านอื่น ๆ ซึ่งประเทศที่มีประชากรที่มี ความสามารถด้านการคิดเชิงวิเคราะห์จะสามารถ พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต จากความสำคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า ความสำคัญของการ คิดเชิงวิเคราะห์ เป็นทักษะให้เด็กมีความสามารถในการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การ คำนวณ การจัดกระทำข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูล การลงสรุปและการสื่อความ และเป็นพื้นฐานของ การเรียนรู้ประสบการณ์ด้านอื่น ๆ รวมทั้งเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักคิด โดยการอาศัยข้อมูลและ ข้อเท็จจริงมาช่วยในตัดสินใจหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ของตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้สามารถ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 2.3 ทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดเชิงวิเคราะห์ ในการศึกษาเกี่ยวกับการคิดเชิงวิเคราะห์ ควรมีความเข้าใจในทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของการคิด ดังนี้ 2.3.1 ทฤษฎีการคิดวิเคราะห์ของบลูม (Bllom's Taxonomy) บลูม (ปรียานุช สถาวรมณี 2548 : 22 อ้างอิงจาก Bloom. 1956 : 6-9, 201-207) ได้กำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Bloom's Taxonomy of Educational Objectives) เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้คิด ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย ของบุคคลส่งผลต่อความสามารถทางการ คิดที่บลูมจำแนกไว้เป็น 6 ระดับ คำถามในแต่ละระดับมีความซับซ้อนแตกต่างกัน ได้แก่
16 ระดับที่ 1 ระดับความรู้ความจำ แยกเป็น ความรู้ในเนื้อหา เช่น ความรู้ในศัพท์ที่ใช้ และ ความรู้ในข้อเท็จจริงเพราะ ความรู้ในวิธีดำเนินการ เช่น ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน ความรู้ เกี่ยวกับแนวโน้มและลักดับขั้น ความรู้เกี่ยวกับการจัดจำแนกประเภท ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ต่าง ๆ และความรู้เกี่ยวกับวิธีการ ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง เช่น ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยาย ความ และความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโดรงสร้าง ระดับที่ 2 ระดับความพอใจ แยกเป็น การแปลความ การตีความ และการขยายความ ระดับที่ 3 ระดับการนำเอาไปใช้ แยกเป็น การประยุกต์ ระดับที่ 4 ระดับการวิเคราะห์ แยกเป็น การวิเคราะห์ส่วนประกอบ การวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ ระดับที่ 5 การสังเคราะห์ แยกเป็น การสังเคราะห์การสื่อความหมาย การสังเคราะห์แผนงาน และการสังเคราะห์ความสัมพันธ์ ระดับที่ 6 ระดับการประเมินค่า แยกเป็น การประเมินค่าโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายใน และ การประเมินค่าโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายนอก จากทฤษฎีการคิดวิเคราะห์ของบลูมที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า การที่บุคคลจะมีทักษะ ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ บุคคลนั้นจะต้องสามารถวิเคราะห์และเข้าใจสถานการณ์ใหม่ หรือ ข้อความจริงใหม่ได้ความสามารถทางการคิดของบุคคลของบลูมในระดับการคิดเชิงวิเคราะห์ เป็น ทักษะการคิดระดับพื้นฐานของนักเรียนสู่ความสามารถทางการคิดในระดับสูง เพราะนักเรียนจะเข้าใจ เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างชัดเจนผ่านกระบวนการวิเคราะห์หน่วยย่อย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และ การวิเคราะห์หลักการโดยนักเรียนสามารถวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ จากส่วนย่อยสู่ส่วนใหญ่ และเชื่อม ความสัมพันธ์ของประเด็นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนสามารถสรุปอย่างเป็นหลักการโดยมีเหตุผลรองรับ 2.3.2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget’s theory of intellectual development) ได้กล่าวถึงการพัฒนาจากการปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม ว่าเป็นทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าเป็นทฤษฎีพัฒนาการทาง สติปัญญาของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งถึงวัยพัฒนาการทางสติปัญญา คือกระบวนการปรับเข้าสู่ โครงสร้าง (Assimilation) และขบวนการปรับขยายโครงสร้าง (Accommodation) (สิริมา ภิญโญ อนันต์พงษ์ 2550 : 56-57) 1. เพียเจท์(Piaget. ; อ้างถึงใน อารมณ์ สุวรรณปาล. 2551: 14-16) ได้แบ่งลำดับพัฒนาการ ทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้น ผู้วิจัยจะขอกล่าวเพียง 2 ขั้นที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ดังนี้
17 1.1 ขั้นประสาทรับรู้การเคลื่อนไหว (Sensory-motor stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ แรก เกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การ เคลื่อนไหว การมอง การดูด ในวัยนี้จะแสดงให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถ แก้ปัญหาเองได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูดเด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับ สิ่งแวดล้อม ด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิด ในขั้นนี้ความคิด ความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่าง กล้ามเนื้อมือและ สายตา เด็กในวัยนี้มักทำอะไรซ้ำบ่อย ๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหา แบบลองผิด เมื่อสิ้นสุด ระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมาย และสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยน วิธีต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ แต่กิจกรรมของเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่ ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถ สัมผัสได้เท่านั้น 1.2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-4 ปี แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ 1.2.1 ขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด (Preconceptual thought) เป็นพัฒนาการ ของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กมีวิเคราะห์เบื้องต้น สามารถโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์หรือมากกว่า มาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่วิเคราะห์ของเด็กในวัยนี้ยังมีขอบเขต จำกัดอยู่เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือ ถือเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่และไม่มอง เหตุผลของคนอื่น ความคิดวิเคราะห์ของเด็กวัยนี้จึงไม่ค่อยถูกต้องกับหลักความเป็นผู้ใหญ่และมองไม่ เห็นเหตุผลของคนอื่น ความคิดวิเคราะห์ของเด็กวัยนี้จึงไม่ค่อยถูกต้องกับหลักความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ยังอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่า เด็กหญิง 2 คน ซึ่งเหมือนกันทุก อย่างจะมีเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ จึงไม่ถูกต้องและความคิดรวบยอด ของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก 1.2.2 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (Intuitive thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4 - 7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวดีขึ้น รู้จักแยกแยะประเภท แยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนตัวเลข เริ่มมีการพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์แต่ ไม่ชัดเจนนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักใช้ รู้ในสิ่งหนึ่งไปใช้ อธิบายหรือแก้ปัญหาอีกสิ่งหนึ่งและสามารถใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปมาแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ ถ้วนเสียก่อน การคิดวิเคราะห์ของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขารับรู้หรือสัมผัสจากภายนอก 2. พัฒนาการแต่ละขั้นจะพัฒนาการคิดของเด็กให้ก้าวเข้าสู่พัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่ง เพียเจท์อธิบายกระบวนการที่ต่อเนื่องนี้ในรูปกระบวนการของการปรับตัว (Adaptation) และ การ สมดุล (Equilibration) ดังนี้
18 2.1 การปรับตัว (Adaptation) มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง อาศัยกระบวนการ 2 ชนิด คือ 2.1.1 การซึมซับประสบการณ์ (Assimilation) เกิดขึ้นได้เมื่อได้พบประสบการณ์ ใหม่ และให้ประสบการณ์เก่าที่มีอยู่รับประสบการณ์ใหม่ หรือเราอาจกล่าวได้ว่า เป็นกระบวนการที่ มนุษย์ซึมซาบสิ่งแวดล้อมตามความสามารถในการรับรู้ของเขา 2.1.2 การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accommodation) กระบวนการในการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวของสิ่งที่มีชีวิต เพื่อให้สามารถอยู่ในสภาพการณ์นั้นได้ หรือการที่มนุษย์เรา สามารถปรับตนเองให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ 2.2 การสมดุล (Equilibration) แบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 2.2.1 ระดับพัฒนาความรู้สึกทางอวัยวะเคลื่อนไหว (Sensorimotor operations phase) 2.2.2 ระดับพัฒนาการความคิดรวบยอด (Conceptual thought phase) แบ่ง พัฒนาการขั้นนี้ออกเป็นขั้นย่อย ๆ 3 ขั้น ดังนี้ 2.2.2.1 ขั้นพัฒนาการก่อนเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผล (Preconceptual thought phase) (1 ½ หรือ 2-4 ปี) ระยะนี้เด็กเริ่มสามารถใช้ภาษาและเข้าใจ ความหมายของสัญลักษณ์ แต่การใช้ภาษาของเด็กในวัยนี้มักจะเป็นภาษาที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เพราะ เด็กมีลักษณะเห็นว่าตนเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง (Egocentric) เด็กในวัยนี้เห็นเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เฉพาะที่ เกี่ยวกับตัวเองเท่านั้น ยังไม่สามารถจะเข้าใจความหมายของความคิดรวบยอดที่ลึกซึ้งได้ 2.2.2.2 ขั้นพัฒนาการใกล้เกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผล (Intuitive thought phase) (4-7 ปี) ระยะนี้เด็กยังไม่สามารถที่จะใช้วิเคราะห์ในการตัดสินใจได้ ความคิดความ เข้าใจของเด็กยังขึ้นกับการรับรู้ของเขาเป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตาม พัฒนาการขั้นนี้ เป็นขั้นที่ผิดกับขั้น พัฒนาการก่อนการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้วิเคราะห์ตรงที่ว่า เด็กวัยนี้เริ่มที่จะเกิดปฏิกิริยา โต้ตอบต่อสิ่งแวดล้อม และเริ่มที่จะเรียนแบบพฤติกรรมผู้ใหญ่ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา เด็กวัยนี้เริ่มใช้ภาษา เป็นเครื่องมือในการคิด 2.2.2.3 ขั้นพัฒนาการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้วิเคราะห์เป็นรูปธรรม (Concrete operations thought phase) พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด ความเข้าใจของ เด็กในวัยนี้แตกต่างกับเด็กในวัยนี้แตกต่างกับเด็กในวัย 2 ขั้นแรกมาก เด็กในวัยนี้เริ่มมีความสามารถ ในการสร้างเกณฑ์ รู้จักที่จะแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้จะสามารถตอบการทดลอง สองอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้นได้ถูกต้อง 1) ระดับพัฒนาการความเข้าใจอย่างมีเหตุผล (Cognitive thought phase หรือ Formal operations) (11-12 ปีขึ้นไป) ระยะนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและ
19 ความคิด ของเด็กพัฒนาการขึ้นสู่ระดับวุฒิภาวะสูงสุดคือ เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดเหมือนผู้ใหญ่ ความคิด แบบเด็ก จะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดอย่างมีเหตุผล จากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า เด็กปฐมวัย ในช่วงอายุ 2 - 7 ปีซึ่งพัฒนาการอยู่ในขั้นก่อนปฏิบัติการ (Preoperation stage) ขั้นนี้เด็กจะเรียนรู้ ในสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เนื่องจากเด็กยึดตัวเองเป็นหลักและยึดติดกับ ภาพ หรือสถานการณ์ตามที่เขาเห็น วิเคราะห์ที่เขาให้จะเป็นวิเคราะห์ตามที่เขารับรู้ไม่ขึ้นอยู่กับความ ถูกต้อง ดังนั้น การจัด ประสบการณ์ให้กับเด็ก ควรคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ จากการใช้ประสาทสัมผัส ทั้งห้า จากการสำรวจ ทดลอง ค้นพบสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองซึ่งจะช่วยกระตุ้น ให้เด็กคิด และเกิดการ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ 2.3.3 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ (Bruner’s theory of instruction) พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ (2556 : 39-46) เชื่อว่าทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเด็ก ปฐมวัยจะไม่ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ แต่จะอยู่ในรูปการสนองตอบทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย ภาพลักษณ์ (Visual image) และการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งบรูเนอร์มีแนวคิดที่สำคัญ 2 ประการ คือ ผลผลิตของพัฒนาการทางสติปัญญาอยู่ในรูปของการคิดและการเจริญงอกงามทางการคิด จะเกี่ยวโยง กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพพื้นฐานของเด็กและวัฒนธรรมเทคโนโลยีที่ทำหน้าที่เพิ่มความมี สมรรถภาพนั้น เทคโนโลยีไม่ได้รวมเพียงแค่สิ่งของที่เป็นรูปธรรม ผลผลิตของพัฒนาการทาง การคิด จะถูกสร้างขึ้นจากระบบการใช้สัญลักษณ์ (Coding) ซึ่งทำให้บุคคลได้ข้อมูลไปใช้ในการคาดคิด และ คาดการณ์ 1. บรูเนอร์ (Bruner; อ้างถึงใน สมคิด ศรไชย 2557: 10) แบ่งพัฒนาการทาง สติปัญญาไว้ 3 ขั้น ดังนี้ 1.1 ขั้นแสดงออกด้วยการกระทำ (Enactive stage) ในขั้นนี้เด็กจะเรียนรู้ทาง ประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว และการกระทำ 1.2 ขั้นสร้างภาพแทนในใจ (Iconic stage) ในขั้นนี้เด็กจะนึกเอาเองโดยไม่ต้อง ใช้ เหตุผล เด็กจะเกี่ยวข้องกับความจริงมากขึ้น ความคิดของเด็กเกิดจากการรับรู้และอาจมีจินตนาการ แต่ยังคิดไม่ลึกซึ้ง 1.3) ขั้นใช้สัญลักษณ์ (Symbolic stage) ขั้นนี้เด็กสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของ สิ่งต่าง ๆ เด็กจะจัดระเบียบโครงสร้างขึ้นด้วยตนเองจนเกิดความคิดรวบยอดในสิ่งต่าง ๆ ที่ซับซ้อน ได้มากขึ้น สำหรับบรูเนอร์ขั้นนี้จะแตกต่างจากสัญลักษณ์ปกติทั่วไป สำหรับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบูรเนอร์เน้นความสำคัญของการเรียนรู้จาก ประสบการณ์ การรับรู้ทางประสาทสัมผัส ทำความเข้าใจกับสิ่งนั้น จัดระเบียบโครงสร้างของสิ่งที่ รับรู้ จนเกิดเป็นความคิดรวบยอด
20 2. บรูเนอร์เน้นพัฒนาการในระดับพัฒนาการความคิดรวบยอด ซึ่งยังแยกออกเป็น 3 ขั้น คือ 2.1 ขั้นพัฒนาการก่อนเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้วิเคราะห์ 2.2 ขั้นพัฒนาการใกล้เกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้วิเคราะห์ 2.3 ขั้นพัฒนาการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้วิเคราะห์ บรูเนอร์เน้นขั้นพัฒนาการใกล้เกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้วิเคราะห์ (อายุ 4 - 7 ปี) ตาม ความคิดของเพียเจท์พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กในวัยนี้ยังคง ใกล้เคียงกับเด็กใน ขั้นพัฒนาการก่อนเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้วิเคราะห์ คือ เด็กยังไม่สามารถที่ จะใช้วิเคราะห์ที่ แท้จริง การตัดสินใจขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ๆ อย่างไรก็ตาม ลักษณะ พัฒนาการขั้นนี้ บรู เนอร์เชื่อว่าเด็กวัยนี้ มีความสามารถที่จะเข้าใจความคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ มนุษยวิทยา และ สังคมศาสตร์บางอย่างได้ ถ้าข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งเข้าไปในสมองและ สมองได้จัดระบบ ข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ (Organization) เพื่อถูกนำไปใช้ในการแก้ปัญหา จากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบูรเนอร์ (Bruner) ที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า สามารถแบ่งได้เป็นลำดับขั้น เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ การรับรู้ทางประสาทสัมผัส ทำความเข้าใจ กับสิ่งนั้น ผ่าน การลงมือกระทำอยู่ในขั้นพัฒนาการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้วิเคราะห์ ของบรู เนอร์ เป็นขั้นที่เด็ก เรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมและสามารถบอกถึง ความสัมพันธ์ของเหตุ และผลได้ และ ถ่ายทอดประสบการณ์ออกมาเป็นสัญลักษณ์ เช่น ผังกราฟิกแบบผังแสดงวิเคราะห์ 2.4 ลักษณะการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปลักษณะของการคิดเชิงวิเคราะห์หรือการคิด หาเหตุผลได้ ดังนี้ สุวิทย์ มูลคำ (2550 :23-24) จำแนกลักษณะการคิดวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ส่วนประกอบ เป็นความสามารถในการหาส่วนประกอบที่สำคัญของ สิ่งของหรือเรื่องราวต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ส่วนประกอบของพืช สัตว์ ข่าว ข้อความ หรือเหตุการณ์ เป็นต้น 2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นความสามารถในการหาความสัมพันธ์ของส่วน สำคัญต่าง ๆ โดยการระบุความสัมพันธ์ระหว่างความคิด ดวามสัมพันธ์ในเชิงเหตุผลหรือความแตกต่าง ระหว่างข้อโต้แย้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งในหนังสือเล่มนี้จะนำเสนอการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เชิงเหตุผลไว้ 14 ประการ 3. การวิเคราะห์หลักการเป็นความสามารถในกา รหาหลักความสัมพันธ์ส่วนสำคัญ ในเรื่องนั้น ๆ ว่าสัมพันธ์กันอยู่โดยอาศัยหลักการใด เช่น การให้ผู้เรียนค้นหาหลักการของเรื่องการระบุ
21 จุดประสงค์ของผู้เรียน ประเด็นสำคัญของเรื่อง เทคนิคที่ใช้ในการจูงใจผู้อ่าน และรูปแบบของภาษาที่ ใช้ เป็นต้น อาภรณ์ ศรีสุกใส (2555 : 11) กล่าวว่า การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นการคิดที่ซับซ้อน พัฒนาการ ทางสติปัญญาของเพียเจต์ เริ่มจากการคิดวิเคราะห์แบบรูปธรรม ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 2 - 7 ปีเด็กจะคิด จำแนกตามสิ่งที่เห็นส่งผ่านเข้าสู่การคิดแบบนามธรรมเมื่ออายุ 7 ปีขึ้นไป นั่นคือ เด็กจะเริ่มใช้เหตุ ผลเปรียบเทียบลงความเห็นด้วยการใช้มโนภาพได้ สามารถคิดกลับไปกลับมาได้ ซึ่งการคิดเชิง วิเคราะห์นี้ต้องอาศัยหลักการ หรือข้อเท็จจริงที่ถูกต้องมาสนับสนุนอย่างเพียงพอ ชนาธิป บุบผามาศ (2553 : 12) กล่าวว่า การคิดวิเคราะห์มี 2 ลักษณะ คือ การคิดแบบ นิรนัย ซึ่งเป็นการคิดวิเคราะห์ที่นำความรู้จากหลักการส่วนใหญ่มาเป็นตัวอธิบายข้อมูลย่อย แล้วสรุป เป็นความรู้ใหม่ และการคิดแบบอุปนัย ซึ่งเป็นการคิดวิเคราะห์จากการนาข้อมูลย่อยหลาย ๆ ประการ มาสรุปเป็นมโนทัศน์หรือหลักการ จำแนกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการเปรียบเทียบ การจัดประเภท และ การสรุปความ จากลักษณะการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า การคิดเชิง วิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย เป็นการคิดที่เด็กยังไม่รู้จักใช้วิเคราะห์ที่สมบูรณ์ ตัดสินใจทุกอย่างขึ้นอยู่กับ การรับรู้ทางสายตา และประสาทสัมผัส เด็กในวัยนี้จะเริ่มจากการคิดวิเคราะห์แบบรูปธรรมไปสู้ นามธรรม ซึ่งสามารถจำแนกลักษณะการคิดเชิง วิเคราะห์ได้ 2 แบบคือ การคิดแบบนิรนัย และการ คิดแบบอุปนัย สามารถจำแนกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการเปรียบเทียบ การจัดประเภท และการสรุป ความ 2.5 แนวทางการส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ดิวอี้ (Dewey ; อ้างถึงในรัตนา นิสภกุล 2552 : 16-17) ได้กล่าวถึง แนวทางในการส่งเสริม การคิดเชิงวิเคราะห์ว่า ควรให้เด็กได้แสดงออกโดยการปฏิบัติให้มีการลงมือกระทำ และเน้นในเรื่อง การพัฒนาความสนใจ และพัฒนาสติปัญญาของเด็กไปในแนวทางที่ให้เด็กได้รู้จักแก้ปัญหาค้นหา สิ่ง ใหม่ ๆ และวิธีการต่าง ๆ ได้กล่าวว่า การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ก็เป็นการจัดกิจกรรมอีก รูปแบบหนึ่งที่ไม่ใช้การสอนแต่ความจริง แต่เป็นเรื่องที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้านได้สืบค้น ด้วยตนเอง ได้ทำกิจกรรมที่ผสมผสานกันหลาย ๆ ด้านและจะทำโดยอาศัยวัสดุอุปกรณ์และ กระบวนการที่ง่าย ๆ ซึ่งการสอนประสบการณ์วิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัยควรสร้างให้เด็กเกิด ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์2 ด้าน คือ ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดอย่าง วิเคราะห์ และประสบการณ์เกี่ยวกับสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในโลกตามธรรมชาติ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2540 ; อ้างถึงในปราณี อุปฮาด 2550 : 40) การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย มีหลายวิธี ได้แก่
22 1. การแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหา ต้องเริ่มที่ครูเป็นผู้จัดตั้งปัญหาขึ้นอาจ เป็น คำถาม กรณีตัวอย่าง ครูใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวจุดประเด็นปัญหาให้เด็กคิดและหาข้อสรุป 2. การใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการใช้กระบวนการแก้ปัญหาทาง วิทยาศาสตร์ เด็ก อาจมีการทดลอง ตั้งสมมติฐาน และทดสอบงานที่ทำจนครบวงจร เช่น ให้เด็กได้เรียนรู้ว่าต้นไม้งอก ได้อย่างไร ด้วยการเพาะเมล็ดถั่วงอก และติดตามการงอก เป็นต้น 3. ใช้หลักการสืบค้น เป้นกระบวนการจัดประสบการณ์ที่พยายามให้เด็กได้ค้นหาคำตอบต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น การเล่นตัวต่อเป็นรูปที่ครูกำหนดจากอุปกรณ์หลาย ๆ ชนิด 4. การใช้ทักษะกระบวนการเป็นการจัดประสบการณ์ที่เน้นการสังเกต การเปรียบเทียบ การ จัดประเภท การสื่อสาร การถ่ายโยงการสรุป โดยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองซีเฟลด์ (Seefelet.; อ้างถึง ใน ปริษา บุญมาศ. 2552: 16-18) ได้แนะนำหลักการเลือกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์แก่เด็ก ปฐมวัยดังนี้ 1. ใกล้ตัวเด็ก ประสบการณ์ที่เลือกมาจัดให้แก่เด็กควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก โดยใกล้ ทั้งเวลา เหมาะสมกับพัฒนาการ ความสนใจและประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็ก 2. เอื้ออำนวยเด็กได้กระทำตามธรรมชาติของเด็ก เด็กมีธรรมชาติที่ชอบสำรวจ ตรวจค้น กระฉับกระเฉง หยิบโน่นจับนี่ จึงควรจัดประสบการณ์ที่เด็กจะได้ใช้ธรรมชาติเหล่านี้ในการ แสวงหาความรู้ 3. เด็กต้องการและสนใจประสบการณ์ที่จัดให้ต้องสอดคล้องกับความต้องการของ เด็กและอยู่ในความสนใจของเด็ก ดังนั้นหากบังเอิญมีเหตุการณ์ที่เด็กสนใจเกิดขึ้นในชั้นเรียนครูควร ถือโอกาสนำเหตุการณ์นั้นมาเป็นประโยชน์ในการจัดประสบการณ์ที่สัมพันธ์กันในทันที่ 4. ไม่ซับซ้อนประสบการณ์ที่จัดให้นั้น ไม่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาซับซ้อนแต่ ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาเป็นส่วนเล็กๆ และจัดทีละส่วน ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของ เด็กส่วนใหญ่ จะเป็นพื้นฐานความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา ทั้งนี้พื้นฐานต้องเป็นระดับง่าย (Simplistic Level) คือระดับของการสำรวจตรวจค้น (Exploration) และระดับของการทดลอง ซึ่ง เป็นระดับที่อาจไม่ถึงกับทำให้เกิดความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์เลยทีเดียว 5. สมดุลประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้กับเด็ก ควรมีความสมดุล ทั้งนี้เพราะ เด็กต้องการประสบการณ์ในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้พัฒนาในทุก ๆ ด้าน ซึ่งแม้ว่าเด็ก สนใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตได้แก่ พืชและสัตว์ ครูก็ควรจัดประสบการณ์ได้แก่ พืช และสัตว์ ครูก็ควรจัด ประสบการณ์หรือแนะนำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ด้านอื่นๆ ด้วยในแนวทางที่เด็กได้รู้จักแก้ปัญหา
23 ค้นหาสิ่งใหม่ และวิธีการต่างๆการกระทำดังกล่าวจะเกิดขึ้น เมื่อเด็กได้มีโอกาสในการแสวงหาและ คิดค้น จากแนวทางการส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า แนวทางในการส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นการจัดประสบการณ์ที่ควรให้เด็กได้แสดงออก โดย การปฏิบัติให้มีการลงมือกระทำ กล่าวได้ว่า การจัดประสบการณ์ทาง วิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องที่เด็กได้ ใช้ประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้าน ได้สืบค้นด้วยตนเอง จากการสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดประเภท การสื่อสาร การถ่ายโยง การสรุป การแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนา ความคิดอย่างวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็น พื้นฐานความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้ลำดับต่อไป 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์ งานวิจัยในประเทศ (อัครพล ไชยโชค ปัทมาวดี เล่ห์มงคล และ ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. 2561) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนประกอบผัง กราฟิกสำหรับเด็กปฐมวัย ของเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้น อนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด อำเภอ เสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 35 คน ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อน ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอก ห้องเรียนประกอบผังกราฟิก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.37 และหลังได้รับการจัด กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ประกอบผังกราฟิก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.18 เตือนใจ ผางคำ (2560 : 55) ได้ศึกษาเรื่อง ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-IN ที่มีต่อการคิดถึงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ของเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ในช่วง 5 - 6 ปีที่กำลังศึกษา อยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวัดคู้บอน สำนักงานเขต ของสามวา กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เด็กปฐมวัยมีการคิดเชิงวิเคราะห์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 สยุมพู สัตย์ซื่อ (2560 : 94) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์โดยใช้กิจกรรม การ เล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิดสำหรับเด็กปฐมวัยศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ผลการศึกษา พบว่า 1.
24 เด็กปฐมวัยการคิดเชิงวิเคราะห์หลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิด สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. เด็กปฐมวัยการคิดถึงวิเคราะห์หลังการจัด กิจกรรม การเล่านิทานแบบปกติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. เด็กปฐมวัย ที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิดมีการคิดเชิงวิเคราะห์สูงกว่าเด็กปฐมวัย ที่ ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 งานวิจัยต่างประเทศ รอสแมน (ปรียานุช สถาวรมณี : 2548; 45 อ้างอิงจาก Rosman. 1966:2126-B) ได้ศึกษา การคิดแบบวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น ป .1 และ ป.2 พบว่า นักเรียนชั้น ป .2 คิดแบบวิเคราะห์ มากกว่าชั้น ป.1 และยังพบต่อไปอีกว่า การคิดแบบวิเคราะห์มีความสัมพันธ์ในทางลบกับแบบทดสอบ วัดสติปัญญาของเวชเลอร์ (Wechsler Intelligence Scale for Children) ในฉบับเติมภาพให้ สมบรูณ์(Picture Completion) การจัดเรียงรูป (Picture Arrangement) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับ แบบทดสอบที่เกี่ยวกับด้านภาษา (Verbal test) นอกจากนั้นการคิดแบบวิเคราะห์ยังมีแนวโน้มที่ จะ เพิ่มขึ้นตามอายุและมีความสัมพันธ์กับความพร้อมการเรียนรู้ และแรงจูงใจอีกด้วย สมิธท์ (ปรียานุช สถาวรมณี. 2548: 47 อ้างอิงจาก Smith. 1996: 2424-A) ศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบผลการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสวนกับวิธีการสอนแบบดั้งเดิม เพื่อดูผลสัมฤทธิ์ทักษะ กระบวนการ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะการปฏิบัติการในห้องทดลอง ผลการศึกษาพบว่า การสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบสวนเพิ่มการเรียนรู้แบบรอบรู้ของนักเรียนในด้านเนื้อหา พัฒนาทักษะ การคิดอย่างมีวิจารญาณและทักษะการปฏิบัติการในห้องทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับสูง กว่าวิธีการสอนแบบดั้งเดิม ขณะที่ทักษะกระบวนการไม่มีความแตกต่าง เทรนเนอร์ (ปรียานุช สถาวรมณี. 2548: 47 อ้างอิงจาก Trainer. 1997: 4294-A) ศึกษาการ ประเมินคุณค่าของกิจกรรมเสริมหลักสูตรของสมาคมนักศึกษาเทคโนโลยีแห่งชาติในการส่งเสริมการ แก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณในโปรแกรมการศึกษาเทคโนโลยีของรัฐคา โรไลน่าเหนือ ใน 4 สาขา ได้แก่ การก่อสร้าง การผลิต การสื่อสาร และการขนส่งโดยมุ่งเน้นทักษะการ คิด ผลการศึกษา พบว่า ครูทุกคนเชื่อว่า กิจกรรมที่ครูได้ประเมินสามารถส่งเสริมการแก้ไขปัญหาา อย่างสร้างสรรค์และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในหมู่นักศึกษา
25 3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3.1 ความหมายของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรเป็นการจัดกิจกรรมอย่างง่าย ๆ และใกล้ ตัวเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ อยากรู้ อยากเห็น เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งมีนักการศึกษา ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ อารมณ์ สุวรรณปาล (2552 : 8-19) กล่าวว่า กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไม่ใช่ การทดลองทางวิทยาศาสตร์แบบเด็กโต แต่เป็นกิจกรรมง่ายๆ เช่น การผสมสี การปลูกผักจาก เมล็ด การดูแลสัตว์เลี้ยง การสังเกตหน้าตาของตนเอง การชั่ง ตวง วัดทราย-น้ำ ที่เด็กเล่น ล้วนเป็น ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น จันทรวิมล ใจอารีรอบ (2558 : 58) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การลงมือปฏิบัติจริงและการค้นหาคำตอบด้วยตนเองเพื่อตอบสนอง ความต้องการความสนใจและ ความอยากรู้อยากเห็นตลอดจนสร้างความรู้ใหม่จากกิจกรรมที่มีความ หลากหลายและเชื่อมโยงสู่ ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง จากความหมายของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่กล่าวมานั้น สามารถ สรุปได้ว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้น ให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจ ผ่านการใช้ประสาท สัมผัสทั้ง 5 การลงมือปฏิบัติจริงและการค้นหา คำตอบด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดความรู้ คิด อย่างมีเหตุผล รู้จักแสวงหาความรู้จากการค้นพบ ด้วยตนเอง มีความสามารถใน การแก้ปัญหา ฝึก การทำงานอย่างมีระบบ จากกิจกรรมที่มีความ หลากหลายและเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง 3.2 ความสำคัญของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการสร้างประสบการณ์ให้เด็กเกิด การ เรียนรู้ด้วยตนเอง มีหลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่สำคัญดังนี้ ชุลีพร สงวนศรี (2550) ได้กล่าวถึง หลักการในจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยให้เด็กเลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตาม ความสนใจ ความพอใจ และตอบสนองความอยากรู้ อยากเห็นตามวัยของเด็กย่อมช่วยสร้างเสริม ประสบการณ์ต่าง ๆ ช่วยพัฒนาความสามารถ ตลอดจนความก้าวหน้าของพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของ เด็กได้เป็นอย่างดึ จึงกล่าวได้ว่าการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กนั้นมีความสำคัญเป็น อย่างยิ่ง ซึ่งจะได้กล่าวถึงความสำคัญดังต่อไปนี้
26 1. เด็กได้มีโอกาสใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์เพื่อสังเกต ลงความเห็น จำแนกประเภท สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก 2. เด็กได้มีความสนใจ ยากรู้อยากเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน 3. เด็กได้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัส ได้แก่ การชิมรส ดมกลิ่น ฟังเสียง สังเกต สัมผัส ดึง หมุน ผลัก เปรียบเทียบ และอื่น ๆ เป็นต้น 4. เด็กสนุกสนานจากการทำกิจกรรมต่าง ๆที่เด็กมีโอกาสเลือกเองตามความสนใจและค้นพบ คำตอบที่เด็กสงสัย 5. เด็กยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดีได้ 6. เด็กได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพที่ตนมีอยู่อย่างมีคุณภาพและมีความก้าวหน้าทาง ความคิด 7. เด็กได้นำการคิดมาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้ และการหาคำตอบ 8. เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะพิสูจน์ให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ตนอยากรู้ 9. เด็กได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวันช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ในการดำเนิน ชีวิตในอนาคต 10. เด็กได้เห็นความสำคัญของการรอคอย การรู้จักยอมรับในความผิดพลาดของตนเองและ ผู้อื่นได้ขณะทำกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมรายบุคคล จิตรา ชนะกุล (2548 ; อ้างถึงใน จารุรินทร์ โชคเหมาะ 2556 : 13) ได้กล่าวถึง หลักการใน จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังนี้ เป็นการสร้างให้เด็กเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ และเนื้อหาวิทยาศาสตร์การจัดประสบการณ์ที่ดีครูควรยึดหลัก ดังนี้ 1. เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก โดยใกล้ทั้งเวลา เหมาะสมพัฒนาการความสนใจและ ประสบการณ์ที่ ผ่านมาของเด็ก 2. เอื้ออำนวยให้เด็กได้กระทำตามธรรมชาติของเด็ก เด็กมีธรรมชาติที่ชอบสำรวจ ตรวจค้น กระฉับกระเฉง หยิบโน่นจับนี่จึงควรจัดประสบการณ์ที่ใช้ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้ 3. เด็กต้องการและสนใจ จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องความต้องการ และความ สนใจหาก บังเอิญมีเหตุการณ์ที่เด็กสนใจเกิดขึ้นในขณะเรียนครูควรถือโอกาสนั้นเป็นประโยชน์ในการ จัด ประสบการณ์ 4. ไม่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อน ควรมีเนื้อหาในส่วนเล็กๆ จัดทีละส่วน ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กส่วนใหญ่จะเป็นพื้นฐานความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์จากระดับ ง่ายไม่ซับซ้อนไปสู่การสำรวจตรวจค้นและระดับการทดลอง
27 5. จัดประสบการณ์ทุกสาขาของวิทยาศาสตร์อย่างสมดุล เช่น สังเกต จำแนกแจก แจง การดู เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา สรุปข้อความรู้หรือมโน ทัศน์จาก การสังเกต ชุลีพร สงวนศรี(2550 : 80-94) ได้กล่าวถึงหลักการในจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับ เด็ก ปฐมวัยดังนี้ 1. จัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ทุกครั้ง ต้องมีการวางแผนที่ดีมีการกำหนดจุดมุ่งหมายที่ ชัดเจน 2. การจัดประสบการณ์ควรมุ่งเน้นพัฒนาความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และให้ มีจิตวิทยาศาสตร์หรือเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 3. จัดประสบการณ์ควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสามารถตามวัย และความสนใจ ของเด็ก 4. การจัดประสบการณ์ควรมีการแนะนำวัสดุอุปกรณ์ชักชวนให้เด็กสนใจและลงมือปฏิบัติ 5. การจัดประสบการณ์ควรจัดประสบการณ์หลายๆ ประเภท ได้แก่ การสาธิตการเล่านิทาน การอภิปราย และการปฏิบัติการทดลอง 6. การจัดประสบการณ์ครูควรใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิด และมีความกระตือรือร้น ที่จะค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 7. ควรเปิดโอกาสให้เด็กถามคำถาม โดยครูไม่ควรตอบเด็กทันทีแต่ให้โอกาสเด็กได้ทำ กิจกรรมจากการทดลอง การสัมผัส และการลงความเห็นจากเหตุการณ์ที่เด็กค้นพบด้วยตนเอง 8. ควรมีการยืดหยุ่นเวลาในขณะทำกิจกรรม และให้โอกาสเด็กได้ทำกิจกรรมต่อไปเมื่อเด็ก ยังให้ความสนใจ 9. ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสเลือกทำกิจกรรมต่างๆ จากความสนใจและความต้องการ ของเด็กด้วยความสุข ส่งเสริมการสำรวจค้นคว้าเพื่อนำไปสู่การค้นพบใหม่ 10. ควรจัดกิจกรรมให้มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ และหมุนเวียนสับเปลี่ยนกิจกรรมไปตาม เหตุการณ์โดยคำนึงถึงความสามารถตามวัย และธรรมชาติของเด็กเป็นสำคัญ 11. การจัดสภาพแวดล้อมให้น่าสนใจ ปลอดภัยต่อการให้เด็กสำรวจ ค้นคว้า ช่วยเสนอแนะ ให้กำลังใจขณะที่เด็กสำรวจ และทำกิจกรรมต่างๆ 12. การจัดประสบการณ์ควรเป็นเรื่องราว และสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวเด็ก มีความหมายกับ เด็ก ช่วยให้เด็กมีความสนใจมากยิ่งขึ้น 13. การจัดประสบการณ์แต่ละครั้งควรเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดเพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก
28 14. การจัดประสบการณ์ด้านต่างๆ เพื่อให้เด็กสำรวจ สังเกต รู้จักเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นและ แสดงความคิดเห็น เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานของความรู้ที่ยากขึ้นต่อไปใน ภายหน้า 15. ครูควรทำความเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยนั้นเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่แล้วควรนำประโยชน์นี้มา ใช้ในการจัดประสบการณ์โดยจัดสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการให้เด็กได้สำรวจ ค้นพบซึ่งสิ่งเหล่านี้มีส่วน สำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็ก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2551 : 1) ได้กล่าวถึงหลักการในจัด กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่า ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วน ร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของ เด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทาง วิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่จะรักษาสิ่งต่าง ๆ ที่ อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสม กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551 : 171) ได้กล่าวถึงหลักการในจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับ เด็กปฐมวัยดังนี้ 1. เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก ประสบการณ์ที่เลือกมาจัดให้แก่เด็ก ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก โดยใกล้ ทั้งเวลาเหมาะกับการพัฒนาการ ความสนใจและประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็ก 2. เอื้ออำนวยให้เด็กได้กระทำตามธรรมชาติของเด็ก ที่มีนิสัยชอบสำรวจ ตรวจค้น กระฉับกระเฉง หยิบโน่นจับนี่ จึงควรจัดประสบการณ์ที่ใช้ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้ 3. เด็กต้องการและสนใจ ประสบการณ์ที่จัดให้เด็กต้องสอดคล้องกับความต้องการ ของเด็ก และอยู่ในความสนใจของเด็ก ดังนั้นหากบังเอิญมีเหตุการณ์ที่เด็กสนใจเกิดขึ้นในชั้นเรียน ครูควรถือ โอกาสนำเหตุการณ์นั้นมาเป็นประโยชน์ในการจัดประสบการณ์ที่สัมพันธ์กันในทันที 4. ไม่ซับซ้อน ประสบการณ์ที่จัดให้นั้นไม่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีความซับซ้อน แต่ ควรเป็น ประสบการณ์ที่มีเนื้อหาเป็นส่วนเล็กๆ และจัดให้เด็กทีละส่วน ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นฐานความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา ทั้งนี้พื้นฐานต้องเริ่มจาก ระดับง่าย ไม่ซับซ้อน ไปสู้ระดับของการสำรวจตรวจค้น และระดับของการทดลอง ซึ่งเป็นระดับที่สร้าง ความ เข้าใจมโนทัศน์วิทยาศาสตร์ 5. สมดุล ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้กับเด็กควรมีความสมดุล ทั้งนี้เพราะเด็ก ต้องการประสบการณ์ในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้พัฒนาในทุกๆด้าน ซึ่งแม้ว่า เด็กจะสนใจ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืชและสัตว์ ครูก็ควรจัดประสบการณ์หรือแนะนำให้เด็กสนใจ วิทยาศาสตร์ ด้านอื่นๆ ด้วย
29 จากความสำคัญของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่กล่าวมานั้น สามารถ สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นการสร้างประสบการณ์ทาง วิทยาศาสตร์ โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองจากสื่อวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติเปิด โอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสามารถ และค้นคว้าหาคาตอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จากการ สังเกต จำแนกแจกแจง การดูเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ความสามารถในการคิด ซึ่งเด็กจะได้พัฒนา ทักษะในด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ รวมทั้งสรุปข้อความรู้หรือผังกราฟิกจากการสังเกต และมี ความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 3.3 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย บีเวอร์ (กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2551 อ้างอิงจาก Brewer 1995: 288 – 290) ได้กล่าวถึง ขั้นตอนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่า การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการ แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 5 ดังนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดขอบเขตของปัญหา ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหา คำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตาม แผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2 ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกิดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม ถ้าเด็ก ต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่ 1 ใหม่ แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่ 5 เป็นวงจรของการขยาย การเรียนรู้
30 ดิวอี้ (Dewey. 1975; อ้างถึง สุมาลี หมวดไธสง 2554: 7) ได้กล่าวถึง ขั้นตอนการ จัด กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่า ควรเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ ซึ่ง ดิวอี้ ได้กำหนดว่ามี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การกำหนดขอบเขตของปัญหา 2. การตั้งสมมติฐาน 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล และการทดลอง 4. กาวิเคราะห์ข้อมูล 5. การสรุปผล สุมาลี หมวดไธสง (2554: 9) ได้กล่าวถึง ขั้นตอนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ปฐมวัยว่า มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. กำหนดขอบเขตปัญหาอย่างชัดเจน 2. เก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น 3. ตั้งสมมุติฐานการแก้ปัญหา หรือคาดคะเนความน่าจะเป็น 4. ตรวจสอบสมมุติฐาน 5. ให้ข้อสรุป ปุณณ์ญาณ์ ขำนิ่ม (2554 : 48) ได้กล่าวถึง ขั้นตอนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ปฐมวัยว่า มีอยู่ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นกำหนด ปัญหาเป็นการระบุปัญหากระตุ้นให้เกิดความสงสัย และพยายามหา คำตอบ 2. ขั้นตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดเดาหรือพยากรณ์คำตอบ โดยอาศัยความรู้จาก ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน ในการคาดคะเนคำตอบ การตั้งสมมติฐานมักนิยมเขียนในรูป ถ้า……. แล้ว……. 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องที่สงสัย หรือที่เป็นปัญหาเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน 4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูล ต่าง ๆ ที่ได้มา เรียงให้ร้อยสอดคล้องสัมพันธ์กับข้อมูลที่มีอยู่ 5. ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันอภิปราย และลง ข้อสรุปให้เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
31 จากขั้นตอนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า ขั้นตอนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มี 5 ขั้น ได้แก่ 1. ขั้นกำหนดขอบเขตของ ปัญหา 2. ขั้นตั้งสมมติฐาน 3. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล และการ ทดลอง 4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล 5. ขั้น อภิปรายและลงข้อสรุป และระหว่างจัดกิจกรรมจะต้องเปิด โอกาสให้เด็กใช้คำถาม ตอบคำถาม กระตุ้นความสนใจให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และ ลงมือปฏิบัติ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ห้า เป็นการส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์จากการใช้เชื่อมโยง สาเหตุและผลของกิจกรรม รวมทั้งการ เปรียบเทียบสมมติฐานกับผลการทดลอง 3.4 หลักการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชุลีพร สงวนศรี(2550 : 80-94) ได้กล่าวถึงหลักการในจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ปฐมวัยดังนี้ 1. การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ทุกครั้งต้องมีการวางแผนที่ดี มีการกำหนด จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน 2. การจัดประสบการณ์ควรมุ่งเน้นพัฒนาความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ 3. การจัดประสบการณ์ควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสามารถตามวัยและความสนใจ ของเด็ก 4. การจัดประสบการณ์ควรมีการแนะนำวัสดุอุปกรณ์ ซักชวนให้เด็กสนใจ และลงมือ ปฏิบัติ 5. การจัดประสบการณ์ควรจัดประสบการณ์หลายๆ ประเภท ได้แก่ การสาธิตการเล่านิทาน การอภิปราย และการปฏิบัติการทดลอง 6. การจัดประสบการณ์ครูควรใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิด และมีความกระตือรือร้น ที่จะค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 7. ควรเปิดโอกาสให้เด็กถามคำถาม โดยครูไม่ควรตอบเด็กทันทีแต่ให้โอกาสเด็กได้ทำ กิจกรรมจากการทดลอง การสัมผัส และการลงความเห็นจากเหตุการณ์ที่เด็กค้นพบด้วยตนเอง 8. ควรมีการยืดหยุ่นเวลาในขณะทำกิจกรรม และให้โอกาสเด็กได้ทำกิจกรรมต่อไปเมื่อเด็ก ยังให้ความสนใจ 9. ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสเลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ จากความสนใจและความต้องการ ของเด็กด้วยความสุข ส่งเสริมการสำรวจค้นคว้าเพื่อนำไปสู่การค้นพบใหม่
32 10. ควรจัดกิจกรรมให้มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ และหมุนเวียนสับเปลี่ยนกิจกรรมไปตาม เหตุการณ์โดยคำนึงถึงความสามารถตามวัย และธรรมชาติของเด็กเป็นสำคัญ 11. การจัดสภาพแวดล้อมให้น่าสนใจ ปลอดภัยต่อการให้เด็กสำรวจ ค้นคว้า ช่วยเสนอแนะ ให้กำลังใจขณะที่เด็กสำรวจ และทำกิจกรรมต่างๆ 12. การจัดประสบการณ์ควรเป็นเรื่องราว และสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวเด็ก มีความหมายกับ เด็ก ช่วยให้เด็กมีความสนใจมากยิ่งขึ้น 13. การจัดประสบการณ์แต่ละครั้งควรเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดเพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก 14. การจัดประสบการณ์ด้านต่างๆ เพื่อให้เด็กสำรวจ สังเกต รู้จักเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นและ แสดงความคิดเห็น เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานของความรู้ที่ยากขึ้นต่อไปใน ภายหน้า 15. ครูควรทำความเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยนั้นเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่แล้วควรนำประโยชน์นี้มา ใช้ในการจัดประสบการณ์โดยจัดสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการให้เด็กได้สำรวจ ค้นพบซึ่งสิ่งเหล่านี้มีส่วน สำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ของเด็ก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2551 : 1) ได้กล่าวถึงหลักการในจัด กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่า ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วน ร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของ เด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทาง วิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่จะรักษาสิ่งต่าง ๆ ที่ อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสม กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551 : 171) ได้กล่าวถึงหลักการในจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับ เด็กปฐมวัยดังนี้ 1. เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก ประสบการณ์ที่เลือกมาจัดให้แก่เด็ก ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก โดยใกล้ ทั้งเวลาเหมาะกับการพัฒนาการ ความสนใจและประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็ก 2. เอื้ออำนวยให้เด็กได้กระทำตามธรรมชาติของเด็ก ที่มีนิสัยชอบสำรวจ ตรวจค้น กระฉับกระเฉง หยิบโน่นจับนี่ จึงควรจัดประสบการณ์ที่ใช้ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้ 3. เด็กต้องการและสนใจ ประสบการณ์ที่จัดให้เด็กต้องสอดคล้องกับความต้องการ ของเด็ก และอยู่ในความสนใจของเด็ก ดังนั้นหากบังเอิญมีเหตุการณ์ที่เด็กสนใจเกิดขึ้นในชั้นเรียน ครูควรถือ โอกาสนำเหตุการณ์นั้นมาเป็นประโยชน์ในการจัดประสบการณ์ที่สัมพันธ์กันในทันที 4. ไม่ซับซ้อน ประสบการณ์ที่จัดให้นั้นไม่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีความซับซ้อน แต่ควรเป็น ประสบการณ์ที่มีเนื้อหาเป็นส่วนเล็กๆ และจัดให้เด็กทีละส่วน ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก
33 ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นฐานความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา ทั้งนี้พื้นฐานต้องเริ่มจาก ระดับง่าย ไม่ซับซ้อน ไปสู้ระดับของการสำรวจตรวจค้น และระดับของการทดลอง ซึ่งเป็นระดับที่สร้าง ความ เข้าใจมโนทัศน์วิทยาศาสตร์ 5. สมดุล ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้กับเด็กควรมีความสมดุล ทั้งนี้เพราะเด็ก ต้องการประสบการณ์ในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้พัฒนาในทุกๆด้าน ซึ่งแม้ว่า เด็กจะสนใจ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืชและสัตว์ ครูก็ควรจัดประสบการณ์หรือแนะนำให้เด็กสนใจ วิทยาศาสตร์ ด้านอื่นๆ ด้วย จากหลักการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า หลักการจัดประสบการณ์ต้องคำนึงถึงธรรมชาติตามวัยและความพร้อมของเด็กเป็นสำคัญ ควรจัด ประสบการณ์เพื่อสนับสนุนให้เด็กค้นคว้า ค้นพบ และสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยครู ควรจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เอื้อประโยชน์ต่อความงอกงามทางสติปัญญาประสบการณ์ที่มีคุณค่าและ กิจกรรมที่เปิดกว้างจะช่วยกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิด และจัดกระทำ 3.5 บทบาทครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้นครูต้องมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ ของเด็ก ดังนี้ (สสวท., 2554) บทบาทครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับ ปฐมวัยเป็นการตอบสนองและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้โลกธรรมชาติรอบตัวและ พัฒนาทักษะทางสติปัญญาต่าง ๆ เนื่องจากเด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมธรรมชาติของการสืบเสาะหา ความรู้แบบวิทยาศาสตร์อยู่ในตนเอง การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด ให้ได้ทั้งกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ตั้งแต่ระดับ ปฐมวัยจะช่วยส่งเสริมศักยภาพของเด็กในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ช่วยให้เด็กได้พัฒนาตระหนักรู้ (Cognitive) เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว เด็ก ได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวของตนเอง อย่างเหมาะสมและทันท่วงที และฝึกฝนการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ที่ได้รับ ซึ่งเป็น การวางพื้นฐานโครงสร้างกรอบแนวคิด (Conceptual framework) เกี่ยวกับโลกธรรมชาติรอบตัวให้ ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ในระดับปฐมวัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กเมื่อเติบโต ขึ้น 2. ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
34 2.1 ด้านร่างกาย เช่น ขณะทำกิจกรรมสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กได้ใช้ประสาท สัมผัสทั้งห้า มีการเคลื่อนไหวและใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายในการทำกิจกรรมทำให้ กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กได้รับการพัฒนา 2.2 ด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น กิจกรรมที่เปีดโอกาสเด็กได้สำรวจและทดลองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กจะได้รับการฝึกฝนให้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักใช้เหตุผลใน การทำการสำรวจและอธิบายสิ่งต่าง ๆ รู้จักตัดสินใจในการเลือกวิธีการทดลองและยอมรับผลที่เกิดขึ้น ได้แสดงผลงานจากการสำรวจและแสดงความสามารถของตนเอง 2.3 ด้านสังคม เช่น การกิจกรรมสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เด็กจะได้ฝึกการช่วยเหลือ ตนเองรู้จักการทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ ในกลุ่มย่อย รู้จักการให้และการรับ รู้จักการรอคอยและฝึกกา ปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อตกลงร่วมกันตลอดจนเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกัน ดูแลรักษา 2.4 ด้านสติปัญญา เช่น การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สืบเสาะแสวงหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ เด็กจะได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์อย่างง่าย การลงมือ ค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย เช่น การสังเกต การสอบถาม การทดลอง การ จำแนกสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์ของตนเองหรือเกณฑ์ที่ครูกำหนดขึ้น การบอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจ พบด้วยคำพูด การวาดภาพหรือ การแสดงบทบาทสมมติ และการสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ใหม่และ บอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งได้มีพัฒนาการทางภาษาควบคู่กันไปด้วย 3. ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสในการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการ ออกแบบ และสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนวิธีการคิดแก้ปัญหาสิ่งต่าง ๆ ตามวัยและศักยภาพ ผ่านการเรียนรู้ จากการเล่นทางวิทยาศาสตร์ เทพกัญจนา พรหมขัติแก้ว (2553 : 1) บทบาทครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มี 5 ข้อ ดังนี้ 1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว หรือโลกของเรา 2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้น การ ค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
35 3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเองในขั้นนี้คุณครูอาจ ช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล 4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อนๆ 5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เด็ก กุลยา ตันติผลาชีวะ (2552 : 192) กล่าวว่า บทบาทครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีดังนี้ 1. ครูวิทยาศาสตร์รู้และเข้าใจ ในการออกแบบกิจกรรมที่กระตุ้นการคิดแบบวิทยาศาสตร์ 2. ครูวิทยาศาสตร์สร้างบรรยากาศและดำเนินกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสและอำนวย ความสะดวกแก่เด็กทุกคน 3. ครูวิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นและสนับสนุนให้เด็กแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 4. ครูวิทยาศาสตร์ต้องเป็นผู้เตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนรู้ 5. ครูวิทยาศาสตร์ต้องเป็นคลังความรู้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน อารมณ์ สุวรรณปาล (2552 : 8-39) กล่าวว่า บทบาทครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์มี ภายในห้องเรียน ครูควรจัดมุมประสบการณ์ ทางวิทยาศาสตร์ไว้ให้เด็ก เช่น มุม ธรรมชาติ มุมทดลองง่ายๆ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสคิดผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การจัด กิจกรรมวิทยาศาสตร์ควรเน้นที่การจัดสภาพแวดล้อมที่ให้เด็กได้สัมผัสกับของจริง พบเห็นของจริงที่ อยู่รอบตัว เพราะในชีวิตจริงเด็กจะอยู่กับธรรมชาติแวดล้อมที่เป็นจริง อาจกล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์อยู่ ในวิถีชีวิตประจำวันของเด็ก มุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติ จะกระตุ้นและส่งเสริมการคิดผ่าน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ 1. สังเกตวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในมุมวิทยาศาสตร์ หรือ มุมธรรมชาติ 2. คิดสงสัยว่าทำไมจึงเกิดสภาพที่เห็น 3. คิดหาเหตุผลที่ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่เด็กเห็น 4. ทดลองหาคำตอบสิ่งที่สงสัย
36 5. สังเกตผลที่ได้ และหาข้อสรุป สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (2551 : 6) ได้กล่าวว่า บทบาทครู ปฐมวัยในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มี ดังนี้ 1. สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 2. สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 3. ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจตรวจสอบจำแนกสิ่งต่าง ๆ 4. ส่งเสริมกระบวนการคิดรวบยอด การคิดแก้ปัญหา และการคิดสร้างสรรค์ 5. ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 6. ส่งเสริมความสนใจในการดูแลรับผิดชอบต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว 7. เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ จากบทบาทครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมานั้น สามารถสรุปได้ว่า บทบาทของครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้น ครูควรรู้พื้นฐานของเด็กแต่ ละคน เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยเด็ก มีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับกิจกรรม และเปิดโอกาสให้ เด็กได้มีอิสระในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ กิจกรรมควรเน้นให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการ ฝึกฝนทดลองปฏิบัติ ส่งเสริมให้เด็กเกิดการค้นพบด้วยตัวของเขาเองส่งเสริมในแง่ของความครบถ้วน สมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล การคิดหาเหตุผลที่ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่เด็กเห็น การนำสิ่งที่ เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก สังเกตผลที่ได้ และหาข้อสรุป เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดรวบยอด และการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็ก 3.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สุมาลี หมวดไธสง (2554 : 45) ได้ศึกษา ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ที่ ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชาย – หญิงที่มีอายุ5 - 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่าเด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น
37 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย หลัง ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการ จัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สุนดา เภาศรี (2556 : 104) ได้ศึกษา การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอายุ 5 - 6 ปี ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังทอง สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำนวน 23 คน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิด คล่อง คิดหลากหลาย คิดเปรียบเทียบและคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยระหว่างเรียน และหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60.00 ผลการพบว่า ทุกคนมีคะแนน ทักษะการคิดสูงขึ้นทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทักษะการคิดระหว่างเรียน และหลังเรียนทุก ด้าน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60.00 จารุรินทร์ โชคเหมาะ (2556 : 59) ได้ศึกษา ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีกำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 22 คน ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกต การจำแนก การสื่อความหมาย และการลงความเห็นของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 และผลการศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมเด็กมีระดับความพึงพอใจมาก จากการศึกเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควร เป็นเรื่องที่เด็กให้ความสนใจ เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้อิสระในการคิด เรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรง ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เด็กได้คิดหาสาเหตุและผลที่ เกิดขึ้นของกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในระดับต่อไป
38 4. กรอบแนวคิดในการวิจัย ภาพประกอบที่ 4.1 กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรอิสระ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตัวแปรตาม การคิดเชิงวิเคราะห์
39 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัย ได้ดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนมี ดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาค การศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนหม่อน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 ห้อง เด็กปฐมวัยทั้งหมด 64 คน กลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาค การศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนหม่อน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้อง เด็กปฐมวัยทั้งหมด 33 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์5 แผน 2. คู่มือและแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 3. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ 3.1. การสร้างและหาคุณภาพแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3.1.1 คู่มือแบบทดลองและแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็ก ปฐมวัย ของเด็กอายุ5 - 6 ปี ในด้านการเปรียบเทียบ และด้านการเชื่อมโยง จำนวน 20 ข้อ
40 3.1.2 คู่มือการใช้แผน และแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 แผน โดยกำหนดจุดประสงค์ การดำเนินกิจกรรม สื่อการเรียน และประเมินผล ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ ที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ 2. จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กสามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่าง ต่อเนื่อง 3. ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม เป็นส่วนที่ระบุถึงขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมโดยแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ขั้นนำ ผู้วิจัยนำเด็กเข้าสู่เรื่องราวของกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ ผ่านการร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การสนทนา เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในการการจัดประสบการณ์การทดลอง วิทยาศาสตร์ ขั้นการสังเกตก่อนการทดลอง คือ ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง เพื่อให้เด็กได้สังเกต วิธีดำเนินการทดลองก่อนการทดลองร่วมกัน ขั้นการทดลองวิทยาศาสตร์ คือ เด็กและผู้วิจัยร่วมกันทดลองกิจกรรม วิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยจัดขึ้น เน้นให้เด็กเกิดความสามารถในการคิดพิจารณาถึงความแตกต่างของ สิ่งของต่าง ๆ ตามรูปร่าง รูปทรง ขนาด ทิศทาง ประเภท ที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดยใช้ลักษณะที่ไม่ เหมือนกันในการเปรียบเทียบ ขั้นตอนการทำแผนผังกราฟิก คือ ผู้วิจัยและเด็กร่วมกันสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับ กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อเขียนเป็นผังกราฟิกแบบผังแสดงเหตุผล เวนน์ไดอะแกรม และผัง มโนทัศน์ ที่เน้นให้เด็กพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งที่กำหนดให้หรือการจัดลำดับความต่อเนื่องของสิ่ง ต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กัน เพื่ออธิบายถึงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3.1.3 นำแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยสร้างขึ้นเสนอต่อ ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านตรวจพิจารณาเพื่อหาความสอดคล้องของสาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ การ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล พิจารณาให้ข้อเสนอแนะเพื่อ ปรับปรุงแก้ไข โดยใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้าง ซึ่งเป็นแบบประเมินความคิดเห็น ชนิดมาตราส่วน ประเมินค่า 5 ระดับ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ดังนี้ ระดับการประเมิน 5 หมายถึง ดีมาก ระดับการประเมิน 4 หมายถึง ดี ระดับการประเมิน 3 หมายถึง พอใช้ ระดับการประเมิน 2 หมายถึง ปรับปรุง ระดับการประเมิน 1 หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
41 ซึ่งรายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 ท่าน คือ 1. ดร.กิ่งดาว หวังร่วมกลา ผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนสวนหม่อน 2. นางวนิดา ชาธิพา ครูนิเทศก์ โรงเรียนสวนหม่อน 3. นางสาวกัญญพัตร์ ฟ้าคุ้ม ครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน 3.1.4 ปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ที่ผ่านการตรวจสอบจาก ผู้เชี่ยวชาญ โดยปรับปรุงแก้ไขตามความคิดเห็นและข้อแนะนำ โดยใช้เกณฑ์การประเมินแผนการจัด กิจกรรม ดังนี้ 4.51 – 5.00 หมายถึง ดีมาก 3.51 – 4.50 หมายถึง ดี 2.51 – 3.50 หมายถึง พอใช้ 1.51 – 2.50 หมายถึง ปรับปรุง ต่ำกว่า 1.50 หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน เกณฑ์การประเมินแผนการจัดกิจกรรมระดับปฐมวัยที่มีค่าความเที่ยงตรง 3.50 ขึ้นไปจาก การตรวจพิจารณาเพื่อหาความสอดคล้องของสาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 3.1.5 นำแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วไป จัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง 3.2 การสร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ 3.2.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์ จากการศึกษา เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยผู้วิจัยได้เลือกการใช้ชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ ให้เด็กลงมือทำและมี ขีดจำกัดทางด้านเวลาในประเมิน จากนั้นนำชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ปรับปรุง และสร้างเพิ่มเติมให้เหมาะกับวัยและความสามารถของเด็กอายุ 5 - 6 ปี