42 3.2.2 กำหนดลักษณะของชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ ของเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี - เป็นชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ - การสร้างชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี จำนวน 1 ชุด 3.2.3 สร้างคู่มือในการดำเนินการทดสอบชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการ คิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปี ประกอบด้วย ลักษณะของแบบทดสอบ เวลาที่ใช้ในการ ทดสอบ วิธีการดำเนินการทดสอบ เกณฑ์การให้คะแนน แนะนำการใช้ชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัด การคิดเชิงวิเคราะห์และการดำเนินการ 3.2.4 นำชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเหมาะสมของชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยกำหนดเกณฑ์ การพิจารณาและให้คะแนน ดังนี้ ระดับการประเมิน +1 เมื่อแน่ใจว่าแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็ก ปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี มีความเหมาะสม ระดับการประเมิน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็ก ปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปี มีความเหมาะสม ระดับการประเมิน -1 เมื่อแน่ใจว่าแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็ก ปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี มีความเหมาะสม ไม่มีความเหมาะสม ซึ่งรายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่พิจารณาและให้คะแนนชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิง วิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 - 4 ปี จำนวน 3 ท่าน ดังน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่พิจารณาและให้คะแนนชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของ เด็กปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปี จำนวน 3 ท่าน ดังนี้ 1. ดร.กิ่งดาว หวังร่วมกลา ผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนสวนหม่อน 2. นางวนิดา ชาธิพา ครูนิเทศก์ โรงเรียนสวนหม่อน 3. นางสาวกัญญพัตร์ ฟ้าคุ้ม ครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน
43 เกณฑ์การพิจารณาและให้คะแนนชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็ก ปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปี มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาความเหมาะสมของแบบทดสอบเท่ากับ .05 3.2.5 นำชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการทดลองแบบ (One Group Pre-test Post-test Design) ซึ่งมีลักษณะการทดลองดังตารางต่อไปนี้ ตาราง 3.1 ตารางแบบแผนการทดลอง กลุ่ม Pre-test Treatment Post-test N T1 X T2 ความหมายของสัญลักษณ์ N แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง X แทน การสอนโดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ T1 แทน การทดสอบก่อนการทดลอง (pre-test) T2 แทน การทดสอบหลังการทดลอง (post-test) 4.1 วิธีดำเนินการทดลอง การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดย กลุ่มเป้าหมายจะได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ใช้เวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ มีขั้นตอนการ ดำเนินงาน ดังนี้ 1. ขอความร่วมมือจากครูประชั้นอนุบาล 3/1 ในการทำวิจัย 2. ผู้วิจัยนำชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์กับกลุ่มเป้าหมาย 3. ดำเนินการทดลองโดยกลุ่มเป้าหมายจะได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ซึ่งทำ การทดลองในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ใช้เวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 กิจกรรม กิจกรรมละ 40 นาที
44 ตางราง 3.2 ตารางดำเนินกิจกรรม จำนวน 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 กิจกรรม สัปดาห์ที่ วัน กิจกรรมการเรียนรู้ เวลา 1 วัน ศุกร์ ที่ 18 เดือน สิงหาคม พุทธศักราช 2566 เรื่อง แม่เหล็กสามารถดู สิ่งของอื่น ๆ ได้ 10.00 น. – 10.40 น. 2 วัน ศุกร์ ที่ 25 เดือน สิงหาคม พุทธศักราช 2566 เรื่อง ทอร์นาโดในขวด 10.00 น. – 10.40 น. 3 วัน พุธ ที่ 30 เดือน สิงหาคม พุทธศักราช 2566 เรื่อง สนุกกับไฟฟ้าสถิต 10.00 น. – 10.40 น. 4 วัน พุธ ที่ 6 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2566 เรื่อง การกรองน้ำ 10.00 น. – 10.40 น. 5 วัน ศุกร์ ที่ 22 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2566 เรื่อง เรือแบบใดบรรทุก น้ำหนักได้มากที่สุด 10.00 น. – 10.40 น. 4. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับ กลุ่มเป้าหมาย มีขั้นตอนดังนี้ ชั้นนำ ผู้วิจัยนำเด็กเข้าสู่เรื่องราวของกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ ผ่านการ ร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การสนทนา เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในการการจัดประสบการณ์การ ทดลองวิทยาศาสตร์ ขั้นการสังเกตก่อนการทดลอง คือ ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง เพื่อให้เด็กได้ สังเกตวิธีดำเนินการทดลองก่อนการทดลองร่วมกัน ขั้นดำเนินกิจกรรม เด็กและผู้วิจัยร่วมกันทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ ผู้วิจัยจัดขึ้น เน้นให้เด็กเกิดความสามารถในการคิดพิจารณาถึงความแตกต่างของสิ่งของต่าง ๆ ตาม รูปร่าง รูปทรง ขนาด ทิศทาง ประเภท ที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดยใช้ลักษณะที่ไม่เหมือนกันในการ เปรียบเทียบ ขั้นตอนการทำแผนผังกราฟิก คือ ผู้วิจัยและเด็กร่วมกันสรุปเรื่องราว เกี่ยวกับกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อเขียนเป็นผังกราฟิกแบบผังแสดงเหตุผล เวนน์ไดอะแกรม และผังมโนทัศน์ ที่เน้นให้เด็กพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งที่กำหนดให้หรือการจัดลำดับความต่อเนื่อง ของสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กัน เพื่ออธิบายถึงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรม วิทยาศาสตร์
45 6. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 5 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) กับกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปีชุดเดียวกันกับชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปีก่อนการทดลอง 7. เมื่อสิ้นสุดการทดลองแล้วผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ 5. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปวิเคราะห์และหาคุณภาพด้วยวิธีทางสถิติ ดังนี้ 1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนชุดเครื่องมือแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปีโดยนำข้อมูลไปหาคะแนนเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ 1.1 ค่าเฉลี่ย (̅ ) โดยใช้สูตร ดังนี้ ̅ = ∑̅ เมื่อ (̅ ) แทน คะแนนเฉลี่ย ∑̅ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด n แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
46 2. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้สูตร ดังนี้ .. = √ ̅ 2 − (∑̅) 2 ( − 1) เมื่อ .. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตัวแปรที่ศึกษาของกลุ่ม ตัวอย่าง แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ∑̅ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด 2. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ หาค่าความเที่ยงตรง ด้วยการคำนวณ ความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์ = เมื่อ คือ ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับเนื้อหา คือ คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ ∑ คือ ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
47 บทที่ 4 ผลการวิจัย ผลการวิจัยเรื่อง การส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์สำหรับชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิจัยตามลำดับดังต่อไปนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 2. การวิเคราะห์ข้อมูล 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมายของข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดความหมายของ สัญลักษณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ แทน จำนวนเด็กในกลุ่มเป้าหมาย ̅ แทน ค่าคะแนนเฉลี่ย .. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์ 2. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้ ผู้วิจัยได้นำคะแนนแบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิง วิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี ในกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมดจำนวน 20 ข้อ รวมคะแนนที่ได้จาก การวัดก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนและเปรียบเทียบดังแสดงในตารางที่ 4.1 และแปลความหมายได้ ดังนี้
48 ตาราง 4.1 แสดงค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ผลของเด็ก ปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 2 วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์โดยใช้ T – test for dependent samples ผลวิเคราะห์ตารางที่ 4.1 ปรากฏว่า ก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบทักษะการ คิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยด้านการเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.5 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.39 และด้านการคิดเชื่อมโยงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.65 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.16 หลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ด้านการเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.62 ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 0.99 และด้านการคิดเชื่อมโยงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.29 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.70 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยด้านการเปรียบเทียบหลังการทดลองด้านการเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ก่อนการทดลองเท่ากับ 2.76 และด้านการคิดเชื่อมโยงหลังการทดลองค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง เท่ากับ 5.86 นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้สังเกตพฤติกรรมของเด็กในระหว่างการจัดกิจกรรมโดยภาพรวม พบว่า เด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถคิดวิเคราะห์ได้มากขึ้นทั้งด้าน การคิดเชื่อมโยงและการคิดเปรียบเทียบ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียนของเด็ก ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ก่อนทดลอง หลังทดลอง ̅ .. ̅ .. ด้านการเปรียบเทียบ 8.5 3.39 9.62 0.99 ด้านการคิดเชื่อมโยง 7.65 5.16 9.29 1.70 รวม 16.15 8.55 18.91 2.69
49 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยได้สรุปผลของการวิจัยหลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สรุปผลการวิจัย 2. อภิปรายผล 3. ข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย เรื่อง ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สามารถสรุปผลได้ว่า ทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้แบบทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยด้านการเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.5 ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.39 และด้านการคิดเชื่อมโยงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.65 ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 5.16หลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ด้านการเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.62 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.99 และด้านการคิดเชื่อมโยงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.29 ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.70 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยด้านการเปรียบเทียบหลังการทดลองด้านการ เปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเท่ากับ 2.76 และด้านการคิดเชื่อมโยงหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเท่ากับ 5.86 อภิปรายผล จากการศึกษา ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยจะกล่าวถึงประเด็นสำคัญของการศึกษาทดลองซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ก่อนได้รับการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้แบบทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยด้านการเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 8.5 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.39 และด้านการคิดเชื่อมโยงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.65 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.16หลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ด้านการเปรียบเทียบ มี
50 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.62 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.99 และด้านการคิดเชื่อมโยงมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 9.29 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.70 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยด้านการเปรียบเทียบหลังการ ทดลองด้านการเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเท่ากับ 2.76 และด้านการคิดเชื่อมโยง หลังการทดลองค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเท่ากับ 5.86 เมื่อผู้วิจัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบวิทยาศาสตร์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีความสนใจในทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีความตื่นเต้นกับ กิจกรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน เพราะเนื่องด้วยผู้วิจัยได้คัดเลือกกิจกรรมที่เด็กสนใจและอยากที่ จะลงมือทำ พร้อมทั้งรูปแบบในการทำงานที่แปลกใหม่ ทำให้เด็กเกิดความตื่นเต้นและให้ความร่วมมือ ในการทำกิจกรรมมาก เมื่อเด็กทำกิจกรรมสำเร็จตามที่วางแผนไว้แล้ว เด็กสามารถคิดเชิงิเคราะห์ได้ ดังแนวคิดของ ประภานิช เพียรไพฑูรย์ (2553: 15) ได้กล่าวว่า กระบวนการในการคิดเชิงวิเคราะห์ จะต้องใช้ลักษณะการคิดหลาย ๆ อย่างประกอบกัน เช่น การระลึกได้ การเปรียบเทียบ การลง ความเห็น การสรุป การคิด ในทางตรงกันข้าม การจำแนกหมวดหมู่ การวิเคราะห์ การจินตนาการ การสังเคราะห์ การประเมินผล ซึ่งแนวทางในการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์มี 2 แนวทาง หลัก คือ การสอนให้รู้จักคิดเป็น และการสอนให้คิดแก้ปัญหา และแนวคิดของ พัชรี คุ้มชาติ(2553: 15) ที่กล่าวว่า การจะพัฒนาเด็ก ให้เป็นคนที่รู้จักคิด และมีทักษะต่าง ๆ ทางการคิดแล้วนั้น เด็กควร ได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ยังเล็ก ตามวัยและวุฒิภาวะของเด็ก เพราะพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กนั้นจะ ดำเนินไปตามลำดับขั้น ฉะนั้นจึงควรมีการส่งเสริมให้เด็กได้เกิดทักษะและกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่ ยังเล็ก ให้เด็กได้มี การแสดงออกด้วยการลงมือกระทำ ตามสภาพความสนใจของเด็ก ให้เด็กได้รู้จัก สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ ค้นคว้า ทดลอง รวมถึงการแก้ปัญหาด้วยตัวของเด็กเอง เพื่อเป็น แนวทางในการหา คำตอบให้กับตนเองและนำไปสู่การคิดเชิงวิเคราะห์สำหรับเด็กได้ต่อไป และ แนวคิดของ นิฤมล สุวรรณศรี (2556: 38) ที่กล่าวว่า การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนิน ชีวิต เพราะการคิดโดยการอาศัยข้อมูลและข้อเท็จจริงมาช่วยในการตัดสินใจหรือแก้ปัญหา ช่วยให้เกิด การแสดงออกในสิ่งที่ดีงามและนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข รวมทั้งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ประสบการณ์ด้านอื่น ๆ ซึ่งประเทศที่มีประชากรที่มีความสามารถด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ จะ สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต ดังนั้น การจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์จึงจำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้คิดและใช้ วิเคราะห์ในการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผลมีกิจกรรมที่ หลากหลาย ได้แก่ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ การเล่นเกมการศึกษา การจัดกิจกรรมเล่านิทาน ประกอบคำถาม ดังนั้น การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะการคิดเชิง
51 วิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ช่วยให้เด็กมีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์เด็กสามารถอธิบายหรือให้วิเคราะห์ ถึงการกระทำของตนเองเข้าใจได้และเด็กเกิดการสังเกตในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กเกิดถาม และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จนสามารถนำไปสู่การใช้วิเคราะห์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และมี แนวทางในการใช้เหตุผลที่ดีจะเกิดขึ้นภายในอนาคตได้ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1.1 ขณะจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ควรมีขั้นนำที่น่าสนใจ แปลกใหม่ ในทุก ๆ ครั้งที่จัด เพื่อเป็นการเร้าความสนใจของเด็ก และช่วยให้เด็กมีสมาธิก่อนการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ 1.2 หลังจากจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เสร็จแล้ว ควรมีการทำแผนผัง หรือสรุปเป็นแผนภาพเพื่อง่ายต่อความเข้าใจของเด็กมากขึ้น 2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะของเด็ก ปฐมวัยด้านอื่น ๆ เช่น ทักษะทางภาษา ทักษะการสังเกต เป็นต้น
52 บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : โรง พิมพ์ คุรุสลาดพร้าว. กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรนเบสบุ๊คส์ คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ก.พ.ป.). (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย แห่งชาติNational Standard for Early Childhood Care, Development and Education Thailand. สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. การศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร. 2550:2-3 ทัศนา แก้วพลอย. (2544). กระบวนการจัดประสบการณ์พัฒนาการเรียนรู้เด็กปฐมวัย. ลพบุรี:สถาบันราชภัฏเทพสตรี. สุธิภา อาวพิทักษ์. (2542). การดูแลเด็กปฐมวัย. อุตรดิตถ์ : สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์. พัชรี เจตน์เจริญรักษ์. (2545). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1072307 การเตรียมความพร้อม เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. ลพบุรี : สถาบันราชภัฏเทพสตรี. จารุรินทร์ โชคเหมาะ. (2556). ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. ปริญญา ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. จันทรวิมล ใจอารีรอบ. (2558). ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ที่มีต่อความ เข้าใจและพฤติกรรมการอนุรักษ์น้าของเด็ก อนุบาล. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและ การสอน คณะครุศาสตร์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉัตรียา เลิศวิชา. (2557). พัฒนากระบวนการและทักษะการคิด GO. เชียงใหม่ : ธารปัญญา.
53 ชนาธิป บุบผามาศ. (2553). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเล่านิทาน อีสปประกอบคำถาม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ. ซูซาน เอ. แอมโบรส, ไมเคิล ดับเบิลยู. บริดจิส, มิเคเล ดิปีเอโตร, มาร์ชา ซี. โลเว็ตต์, & มารีเค. นอร์ แมน. (2556). How Learning Works การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่21 7 หลักการ สร้างนัก เรียนรู้แห่งอนาคตใหม่. กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นเวิร์ด. เตือนใจ ผางคำ. (2560). ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ที่มีต่อการคิดถึง เหตุผลของเด็กปฐมวัย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร. เทพกัญจนา พรหมขัติแก้ว. (2553). 5 แนวทางสอนคิด เติม “วิทย์” ให้เด็กอนุบาล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www4.eduzones.com/applezavip/20954. วันที่สืบค้น 2563 พฤศจิกายน 25. ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิฤมล สุวรรณศรี. (2556). การพัฒนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4M เพื่อส่งเสริมทักษะ การ คิดเชิงเหตุสำหรับเด็กปฐมวัย. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปรียานุช สถาวรมณี. (2548). การพัฒนากิจกรรมในหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ของนักเรียน. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (การศึกษาปฐม. กรุงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัยมหา ศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร ปราณี อุปฮาด. (2550). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตาม รูปแบบ พหุปัญญา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชา หลักสูตร และการสอน คณะครุศาสตร์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประภานิช เพียรไพฑูรย์. (2553). ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ที่เล่นเกม การศึกษาอนุกรมมิติ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
54 พัชรี คุ้มชาติ. (2553). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ฟังนิทานประกอบการปั้น. ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์. รัตนา นิสภกุล. (2552). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ด้วยน้ำตาลไอซิ่ง. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. รวีวรรณ สุวรรณเจริญ. (2554). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลป สร้างสรรค์ด้วยแป้งโดกับลูกกลิ้งหลายลาย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษา ปฐมวัย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วรัญชลี รอตเรือง. (2554). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์โดยใช้กากมะพร้าว. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์ การคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ดวงกมลมัย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). กรอบมาตรฐาน และคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริม การ สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สุมาลี หมวดไธสง. (2554). ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน. (ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
55 สยุมพู สัตย์ซื่อ. (2560). การพัฒนาการคิดเชิงเหตุผลโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานประกอบ คำถาม ปลายเปิดสำหรับเด็กปฐมวัย. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม. อารมณ์ สุวรรณปาล. (2551). หน่วยที่ 8 การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการคิด. ในประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. อารมณ์ สุวรรณปาล. (2552). "การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการคิด" ใน ประมวลสาระชุดวิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยหน่วยที่ 8 นนทบุรี. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาการศึกษาศาสตร์. อาภรณ์ ศรีสุขใส. (2555). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิง เหตุผลของเด็กปฐมวัย. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. อัครพล ไชยโชค ปัทมาวดี เล่ห์มงคล และ ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2561). การพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนประกอบผังกราฟิกสำหรับ เด็กปฐมวัย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรังสิต. Rosman, Bernice L, (1966). Analytic Cognitive Style in Childron Pissertation Abstract International. 27: 2126 - 2131. UNICEF. (2565). UNICEF For every child. Thailand. Smith, Deborah Ann. (1996,December). A Mata - Analysis of Student Outcomes Attributable of the Teaching of Science as Inquiry as Compared to Traditional Methodology (Achievement, Process Skills, Critical Thinking, Laboratory Skills) Dissertation Abstracts International. 57(6): 2424-A-A.
56 ภาคผนวก
57 ภาคผนวก ก - คู่มือแบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย (อายุ 5 - 6 ปี) - แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย (อายุ 5 - 6 ปี)
58 คู่มือการใช้แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ลักษณะทั่วไปของแบบทดสอบ 1. แบบทดสอบชุดนี้ใช้สำหรับทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุ 5 - 6 ปี จำนวน 2 ด้าน คือ การเปรียบเทียบ และการเชื่อมโยง 2. แบบทดสอบเป็นปรนัยที่มีคำถามเป็นตัวเลือกตอบ แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 10 ข้อ จำนวน 20 ข้อ ดังนี้ ชุดที่ 1 ด้านการเปรียบเทียบ จำนวน 10 ข้อ ชุดที่ 2 ด้านการเชื่อมโยง จำนวน 10 ข้อ การตรวจให้คะแนน แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ด้านการเปรียบเทียบ และการเชื่อมโยงตรวจให้ คะแนน ดังนี้ ข้อที่ตอบถูก ให้ 1 คะแนน ข้อที่ตอบผิด หรือไม่ตอบ หรือตอบมากกว่า 1 ตัวเลือก ให้ 0 คะแนน การเตรียมการสอบ 1. ผู้ดำเนินการสอบทดสอบ ศึกษาแบบทดสอบและคู่มือการใช้แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ให้ เข้าใจในกระบวนการทดสอบทั้งหมด ใช้ภาษาที่ชัดเจนในการอ่านคำถามในแบบทดสอบแต่ละข้อ โดยอ่านข้อ ละ 2 ครั้ง 2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ 2.1 แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว โดย เขียน ชื่อ-นามสกุล ของผู้รับการทดสอบไว้ให้พร้อม และแบบทดสอบสำรองอีก 3 ชุด 2.2 คู่มือการใช้แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.3 ดินสอดำสำหรับทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในแบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็ก ปฐมวัย
59 3. สถานที่/ห้องทดสอบ ในการทดสอบควรมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อผู้รับการทดสอบโต๊ะ เก้าอี้ มีเพียงพอกับจำนวนของผู้เข้ารับการทดสอบ และห้องเรียนควรมีแสงสว่างที่เพียงพอเหมาะสมกับผู้รับการ ทดสอบ และไม่มีเสียงดังรบกวนจนเกินไป 4. ผู้เข้ารับการทดสอบ ก่อนเริ่มการทดสอบควรให้ผู้เข้ารับการทดสอบทำธุระส่วนตัว ให้เรียบร้อย ก่อน เช่น ดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำ ให้เรียบร้อย เพื่อให้เด็กมีสมาธิในขณะทำการทดสอบ และเมื่ออยู่ในห้องผู้เข้ารับ การทดสอบนั่งประจำที่ให้เรียบร้อย ขั้นตอนการดำเนินการทดสอบ ในการทดสอบ ให้ผู้ดำเนินการทดสอบปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. แจกแบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยและดินสอดำ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบ ตามลำดับชื่อ-นามสกุล ที่เตรียมไว้ให้ตรงกับผู้รับการทดสอบ 2. อธิบายการเลือกคำตอบ ซึ่งเลือกได้เพียง 1 ตัวเลือก ทำเครื่องหมายกากบาท (X) โดยให้ผู้ เข้ารับการทดสอบดูและลองทำจนเข้าใจในข้อตัวอย่าง 3. ผู้ทำการทดสอบอ่านคำถามในแต่ละข้อให้ผู้เข้ารับการทดสอบฟังทีละข้อ ข้อละ 2 ครั้ง 4. สังเกตผู้เข้ารับการทดสอบทำเครื่องหมายกากบาท (X) ครบทุกคนในแต่ละข้อคำถาม แล้ว จึงอ่านข้อคำถามข้อต่อไป ระยะเวลาที่กำหนดในการทดสอบ แบบทดสอบเป็นปรนัยที่มีคำถาม และคำตอบเป็นรูปภาพ กำหนดข้อละ 1 นาที สื่อ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ 1. คู่มือการใช้แบบทดสอบและแบบทดสอบ 2. ดินสอดำ ยางลบ สำหรับแจกผู้เข้ารับการทดสอบ เพื่อใช้ในการทำแบบทดสอบและ ควรมีสำรองไว้ ด้วย 3. นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน
60 แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย (อายุ 5 - 6 ปี) **************************************************************************************************** ชุดที่ 1 แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ด้านการเปรียบเทียบ ชื่อ ………………………………………………………………… ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน วันที่ทำการทดสอบ ………………………………………… ผู้ดำเนินการทดสอบ นางสาวศศิกาญจน์ เครือแก้ว คะแนนที่ได้ ……………………………………………………
61 จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ด้านการเปรียบเทียบ ข้อที่ 1 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพดินสอที่ยาวที่สุด (พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ…………………………………………………………………………………… ข้อที่ 2 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพช้อนที่สั้นที่สุด (พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
62 ข้อที่ 3 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพสัตว์ที่ตัวใหญ่ที่สุด (พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ…………………………………………………………………………………… ข้อที่ 4 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพสัตว์ที่ตัวเล็กที่สุด (พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
63 ข้อที่ 5 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพคนที่สูงที่สุด (พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ…………………………………………………………………………………… ข้อที่ 6 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพคนที่เตี้ยที่สุด (พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
64 ข้อที่ 7 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพต้นไม้สูงที่สุด (พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ…………………………………………………………………………………… ข้อที่ 8 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพต้นไม้ที่เล็กที่สุด (พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
65 ข้อที่ 9 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพต้นไม้ที่มีผลไม้เยอะที่สุด (พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ…………………………………………………………………………………… ข้อที่ 10 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพต้นไม้ที่มีผลไม้น้อยที่สุด (พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
66 แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย (อายุ 5 - 6 ปี) **************************************************************************************************** ชุดที่ 1 แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ด้านการเชื่อมโยง ชื่อ ………………………………………………………………… ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนสวนหม่อน วันที่ทำการทดสอบ ………………………………………… ผู้ดำเนินการทดสอบ นางสาวศศิกาญจน์ เครือแก้ว คะแนนที่ได้ ……………………………………………………
67 ข้อที่ 1 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพที่สัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้(พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
68 ข้อที่ 2 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพที่สัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้(พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
69 ข้อที่ 3 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพที่สัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้(พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
70 ข้อที่ 4 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพที่สัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้(พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
71 ข้อที่ 5 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพที่สัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้(พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
72 ข้อที่ 6 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพที่สัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้(พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
73 ข้อที่ 7 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพที่สัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้(พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
74 ข้อที่ 8 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพที่สัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้(พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
75 ข้อที่ 9 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพที่สัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้(พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
76 ข้อที่ 10 คำสั่ง : ให้กากบาท (X) ทับภาพที่สัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้(พูดซ้ำอีก 1 ครั้ง) เลือกภาพนี้เพราะ……………………………………………………………………………………
77 ภาคผนวก ข แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
78 แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย (ครั้งที่ 1) กิจกรรมแม่เหล็กสามารถดูสิ่งของอื่น ๆ ได้ ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สัปดาห์ที่ 1 แผนการจัดประสบการณ์ที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เสริมประสบการณ์ เวลา 40 นาที จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ และการคิดเชื่อมโยงเหตุและผล ของกิจกรรม 2. เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการคิดเชิงเหตุผลโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ 1. กิจกรรมแม่เหล็กสามารถดูสิ่งของอื่น ๆ ได้ 2. การคิดเชิงเหตุผลด้านการเปรียบเทียบและการคิดเชื่อมโยง ประสบการณ์สำคัญ - ด้านร่างกาย การหยิบจับวัสดุ อุปกรณ์ และเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมได้อย่าง คล่องแคล่ว - ด้านอารมณ์-จิตใจ แสดงออกทางสีหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส สนุกสนาน ดีใจ ตื่นเต้น - ด้านสังคม ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ปฏิบัติตาม ข้อตกลงร่วมกันได้ แบ่งปัน รอคอยได้รับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - ด้านสติปัญญา การคิดเชิงเหตุผลด้านการเชื่อมโยงและเปรียบเทียบสิ่งที่ได้ทดลองลงมือทำ กิจกรรมด้วยตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูแสดงแม่เหล็กให้เด็กสังเกต แล้วถามว่าเด็กๆอยากรู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนี้ และเรียกว่าอะไรเด็กอาจ ตอบจากประสบการณ์เดิมของเด็กว่าเรียกว่าแม่เหล็ก
79 2. ครูสนทนากับเด็ก ๆ ว่าเราจะลองมาช่วยกันหาคำตอบเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งนี้ โดยการทดลอง เมื่อน้ำเข้าไปใกล้วัตถุบางอย่างจะมีแรงทำให้วัตถุเคลื่อนเข้าหาด้วยแรงอย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่า การดูดของ แม่เหล็ก 3. ครูน้ำเด็กสนทนาร่วมกันคิดว่าจะมีวิธีหาคำตอบได้อย่างไรว่าแม่เหล็กดึงดูดอะไรได้บ้าง เด็กเสนอวิธี หาคำตอบและสรุปวิธีหาคำตอบร่วมกันคือ สังเกตลักษณะของของสิ่งนี้ ว่าเป็นอย่างไรและลองนำเข้าไปใกล้ๆ สิ่งของต่าง ๆ แล้วสังเกตว่ามันดึงดูดสิ่งของหรือไม่ 4. เด็กแบ่งกลุ่มละ 3 คน จากนั้นครูแจกแม่เหล็กให้กลุ่มละ 1 อัน ให้ทุกคนช่วยกันทดสอบ สิ่งของใน ห้องเรียน แล้วสังเกตลักษณะของของสิ่งนี้ ว่าเป็นอย่างไร มีสิ่งของอะไรที่แม่เหล็กดึงดูดและมีสิ่งของอะไรที่ แม่เหล็กไม่ดึงดูด 5. เด็กจำแนกสิ่งของออกเป็น 2 ประเภท คือสิ่งของอะไรที่แม่เหล็กดึงดูด และสิ่งของอะไรที่แม่เหล็ก ไม่ดึงดูด แล้วบันทึกในใบบันทึกกิจกรรม 6. เด็ก ๆ ออกมานำเสนอผลงานใบบันทึกกิจกรรมและบอกผลการทดลองของเด็กเมื่อนำแม่เหล็กเข้า ไปใกล้วัตถุบางอย่างจะมีแรงทำให้วัตถุเคลื่อนเข้าหาด้วยแรงแม่เหล็กและมีสิ่งของบางอย่างที่แม่เหล็กไม่ดึงดูด ซึ่งเด็กสามารถจำแนกสิ่งของออกเป็น 2 ประเภทได้ 7. เด็กและครูสรุปร่วมกันอีกครั้งว่าแม่เหล็กสามารถดูดสิ่งของอื่น ๆ ได้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1. แม่เหล็ก 2. สิ่งของแม่เหล็กดึงดูด เช่น กรรไกร กุญแจ เข็มหมุด 3. สิ่งของที่แม่เหล็กไม่ดึงดูด เช่น ผ้า กระดาษ ไม้ไอศกรีม 4. ผังแสดงเหตุผล การประเมินผล สังเกต 1. การคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบในการทำกิจกรรม และการคิดเชื่อมโยงเหตุและผลของ กิจกรรม 2. การคิดเชิงเหตุผลโดยใช้ผังกราฟิกแบบผังแสดงเหตุผล
80 ใบบันทึกกิจกรรม แม่เหล็กสามารถดูสิ่งของอื่น ๆ ได้ วันที่ทำการทดลอง วัน ศุกร์ ที่18 เดือน สิงหาคม พุทธศักราช 2566 ชื่อ..........................................................................................................ชั้น อนุบาล 3/1 บันทึกคำพูด ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................
81 แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย (ครั้งที่ 2) กิจกรรมทอร์นาโดในขวด ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สัปดาห์ที่ 2 แผนการจัดประสบการณ์ที่ 2 กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ เวลา 40 นาที จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบทอร์นาโดในขวด และการคิด เชื่อมโยงเหตุและผลของกิจกรรม 2. เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการคิดเชิงเหตุผลโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ 1. กิจกรรมทอร์นาโดในขวด 2. การคิดเชิงเหตุผลด้านการเปรียบเทียบและการคิดเชื่อมโยง ประสบการณ์สำคัญ - ด้านร่างกาย การหยิบจับวัสดุ อุปกรณ์ และเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมได้อย่าง คล่องแคล่ว - ด้านอารมณ์-จิตใจ แสดงออกทางสีหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส สนุกสนาน ดีใจ ตื่นเต้น - ด้านสังคม ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ปฏิบัติตาม ข้อตกลงร่วมกันได้ แบ่งปัน รอคอยได้รับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - ด้านสติปัญญา การคิดเชิงเหตุผลด้านการเชื่อมโยงและเปรียบเทียบสิ่งที่ได้ทดลองลงมือทำ กิจกรรมด้วยตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูแนะนำกิจกรรมวิทยาศาสตร์คือ กิจกรรมทอร์นาโดในขวด 2. ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์ในการทดลองกิจกรรมทอร์นาโดในขวด เช่น สีผสมอาหารหรือสีน้ำ ผ้าเช็ด มือ น้ำ ขวด PET 2 ใบ ข้อต่อเชื่อมขวด
82 3. ครูสาธิตการทดลองกิจกรรมทอร์นาโดในขวด เพื่อให้เด็กได้สังเกตวิธีดำเนินการทดลองก่อนการ ทดลองร่วมกัน 4. เด็กและครูร่วมกันทดลองกิจกรรม 4.1 เด็ก ๆ เติมน้ำลงในขวดประมาณ 2/3 ส่วน และ 1/3 ส่วน แล้วหยดสีผสมอาหารลงไป 4.2 เด็ก ๆ หมุนข้อต่อให้ติดแน่นกับขวดใบที่เติมน้ำนำขวดเปล่าอีกใบวางคว่ำลงด้านบนและ หมุนปิดให้แน่น 4.3 เด็กคาดคะเนว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพลิกขวดกลับด้าน - เด็กๆ คิดว่าน้ำที่อยู่ในขวดจะมีลักษณะเป็นอย่างไรคะ 4.4 เด็ก ๆ รอดูว่าหลังจากพลิกขวดกลับด้านให้ขวดเปล่าอยู่ด้านล่างจะเกิดอะไรขึ้น และถาม คำถามว่า - เด็ก ๆ สังเกตดูนะคะระหว่างขวดที่มีน้ำ 2/3 ส่วนกับ 1/3 ส่วนทอร์นาโดในขวด น้ำจะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร 4.5 แล้วทดลองแบบเดิมอีกครั้ง 5. เด็กและครูร่วมกันสรุปการทดลองกิจกรรมทอร์นาโดในขวด 6. เด็กและครูร่วมกับสรุปความสำเร็จ และอุปสรรคในการทำกิจกรรมความลับของสี สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1. สีผสมอาหารหรือ สีน้ำ 2. ผ้าเช็ดมือ 3. ขวด PET 4. น้ำเปล่า 5. ข้อต่อเชื่อมขวด
83 การประเมินผล สังเกต 1. การคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบทอร์นาโดในขวด และการคิดเชื่อมโยงเหตุและผลของ กิจกรรม 2. การคิดเชิงเหตุผลโดยใช้ผังกราฟิกแบบผังแสดงเหตุผล
84 ใบบันทึกกิจกรรม ทอร์นาโดในขวด วันที่ทำการทดลอง วัน ศุกร์ ที่25 เดือน สิงหาคม พุทธศักราช 2566 ชื่อ..........................................................................................................ชั้น อนุบาล 3/1 บันทึกคำพูด ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... .........................................................................................................................................................................................
85 แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย (ครั้งที่ 3) กิจกรรมสนุกกับไฟฟ้าสถิต ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สัปดาห์ที่ 3 แผนการจัดประสบการณ์ที่ 3 กิจกรรมที่ 3 เสริมประสบการณ์ เวลา 40 นาที จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ และการคิดเชื่อมโยงเหตุและผล ของกิจกรรม 2. เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการคิดเชิงเหตุผลโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ 1. กิจกรรมสนุกกับไฟฟ้าสถิต 2. การคิดเชิงเหตุผลด้านการเปรียบเทียบและการคิดเชื่อมโยง ประสบการณ์สำคัญ - ด้านร่างกาย การหยิบจับวัสดุ อุปกรณ์ และเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมได้อย่าง คล่องแคล่ว - ด้านอารมณ์-จิตใจ แสดงออกทางสีหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส สนุกสนาน ดีใจ ตื่นเต้น - ด้านสังคม ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ปฏิบัติตาม ข้อตกลงร่วมกันได้ แบ่งปัน รอคอยได้รับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - ด้านสติปัญญา การคิดเชิงเหตุผลด้านการเชื่อมโยงและเปรียบเทียบสิ่งที่ได้ทดลองลงมือทำ กิจกรรมด้วยตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูชวนเด็กสนทนาเกี่ยวกับการนำวัสดุไปติดที่ผนังต้องทำอย่างไรจึงจะติดได้ไม่หล่น เด็ก ๆ ตอบ : ใช้กาว ใช้เทปใส จึงจะติดได้ 2. ครูชวนเด็กสนทนาเกี่ยวกับการนำวัสดุไปติดกับผนังโดยไม่ต้องใช้กาวจะมีวิธีการทำอย่างไร
86 3. ครูให้เด็กทดลองนำวัตถุสองสิ่งมาถูกัน เช่น นำหลอดมาถูกับผ้า แล้วนำไปวางใกล้เศษกระดาษหรือ เม็ดโฟม จะเกิดอะไร 4. ครูชวนเด็กทำกิจกรรมโดยใช้คำถามกระตุ้น เช่น เด็ก ๆ เคยเห็นขนลุกไหม เคยเห็นผมชี้ตั้งขึ้นบ้าง ไหมเด็ก ๆ อยากทดลองทำไฟฟ้าสถิตไหม 5. นำหลอดมาถูกับผ้า และนำไปติดกับเม็ดโฟม เด็ก ๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น 6. เราจะมีวิธีการทำให้เกิดการดูดติดกันได้อย่างไร 7. ให้เด็กแต่ละกลุ่มทำการทดลอง 8. ครูสังเกตแต่ละกลุ่มและใช้คำถามกระตุ้น ทำไมจึงวัตถุจึงดูดติดกันได้ เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น 9. ให้เด็กบันทึกผลการทดลองที่ได้ 10. ให้เด็กแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ 11. ครูและเด็กร่วมกันสรุปว่าเมื่อนำวัตถุสองสิ่งมาถูกันจะเกิดเสียดสี ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตและเกิดการ ถ่ายเทประจุไฟฟ้า จะเกิดการเหนี่ยวนำ ดูดเข้ามาหากันได้เมื่อนำมาไปติดด้านข้างของชั้นวางจะทำให้หลอดกับ เม็ดโฟมติดอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้กาว สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1. เศษกระดาษหรือเม็ดโฟม 2. ผ้าขนสัตว์ 3. เม็ดโฟม การประเมินผล สังเกต 1. การคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบในการทำกิจกรรม และการคิดเชื่อมโยงเหตุและผลของ กิจกรรม 2. การคิดเชิงเหตุผลโดยใช้ผังกราฟิกแบบผังแสดงเหตุผล
87 ใบบันทึกกิจกรรม สนุกกับไฟฟ้าสถิต วันที่ทำการทดลอง วัน พุธ ที่30 เดือน สิงหาคม พุทธศักราช 2566 ชื่อ..........................................................................................................ชั้น อนุบาล 3/1 บันทึกคำพูด ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................
88 แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย (ครั้งที่ 4) กิจกรรมการกรองน้ำ ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สัปดาห์ที่ 4 แผนการจัดประสบการณ์ที่ 4 กิจกรรมที่ 4 เสริมประสบการณ์ เวลา 40 นาที จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ และการคิดเชื่อมโยงเหตุและผล ของกิจกรรม 2. เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการคิดเชิงเหตุผลโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ 1. กิจกรรมการกรองน้ำ 2. การคิดเชิงเหตุผลด้านการเปรียบเทียบและการคิดเชื่อมโยง ประสบการณ์สำคัญ - ด้านร่างกาย การหยิบจับวัสดุ อุปกรณ์ และเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมได้อย่าง คล่องแคล่ว - ด้านอารมณ์-จิตใจ แสดงออกทางสีหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส สนุกสนาน ดีใจ ตื่นเต้น - ด้านสังคม ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ปฏิบัติตาม ข้อตกลงร่วมกันได้ แบ่งปัน รอคอยได้รับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - ด้านสติปัญญา การคิดเชิงเหตุผลด้านการเชื่อมโยงและเปรียบเทียบสิ่งที่ได้ทดลองลงมือทำ กิจกรรมด้วยตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูเล่านิทานเกี่ยวกับการทำเครื่องกรองน้ำ ประกอบวัสดุและอุปกรณ์ และขั้นตอนที่เด็กต้องใช้ใน การทำเครื่องกรองน้ำ
89 2. สนทนากับเด็ก ๆ เกี่ยวกับการกรองน้ำ แนะนำให้เด็ก ๆ รู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม จากนั้นแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน 3. ครูให้เด็กแต่ละกลุ่มนำดินใส่ในเหยือกน้ำแล้วคน จากนั้นสังเกตผลที่เกิดขึ้น วางแผนการทำเครื่องกรองน้ำร่วมกับเพื่อน 4. ครูให้เด็กลงมือทำเครื่องกรองน้ำตามที่วางแผนไว้ 5. ครูให้เด็กทดลองเครื่องกรองน้ำที่ตนเองทำ 6. ให้เด็กบันทึกผลการทดลองที่ได้ 7. ให้เด็กแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ 8. ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรมว่าการเรียงวัสดุแบบใดทำให้น้ำใสที่สุด น้ำที่ได้จากการผสมดินแล้ว เอาน้ำมากรองหลาย ๆ ครั้งทำให้ได้น้ำแบบใด สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1. เศษกระดาษหรือเม็ดโฟม 2. ผ้าขนสัตว์ 3. เม็ดโฟม การประเมินผล สังเกต 1. การคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบในการทำกิจกรรม และการคิดเชื่อมโยงเหตุและผลของ กิจกรรม 2. การคิดเชิงเหตุผลโดยใช้ผังกราฟิกแบบผังแสดงเหตุผล
90 ใบบันทึกกิจกรรม การกรองน้ำ วันที่ทำการทดลอง วัน พุธ ที่6 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2566 ชื่อ..........................................................................................................ชั้น อนุบาล 3/1 บันทึกคำพูด ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................
91 แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย (ครั้งที่ 5) กิจกรรมเรือแบบใดบรรทุกน้ำหนักได้มากที่สุด ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สัปดาห์ที่ 5 แผนการจัดประสบการณ์ที่ 5 กิจกรรมที่ 5 เสริมประสบการณ์ เวลา 40 นาที จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ และการคิดเชื่อมโยงเหตุและผล ของกิจกรรม 2. เพื่อให้เด็กสามารถฝึกการคิดเชิงเหตุผลโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ 1. กิจกรรมเรือแบบใดบรรทุกน้ำหนักได้มากที่สุด 2. การคิดเชิงเหตุผลด้านการเปรียบเทียบและการคิดเชื่อมโยง ประสบการณ์สำคัญ - ด้านร่างกาย การหยิบจับวัสดุ อุปกรณ์ และเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมได้อย่าง คล่องแคล่ว - ด้านอารมณ์-จิตใจ แสดงออกทางสีหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส สนุกสนาน ดีใจ ตื่นเต้น - ด้านสังคม ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ปฏิบัติตาม ข้อตกลงร่วมกันได้ แบ่งปัน รอคอยได้รับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - ด้านสติปัญญา การคิดเชิงเหตุผลด้านการเชื่อมโยงและเปรียบเทียบสิ่งที่ได้ทดลองลงมือทำ กิจกรรมด้วยตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1. ครูร่วมสนทนากับเด็กๆ เกี่ยวกับประสบการณ์เดิมที่เด็ก ๆ เคยนำที่นอนลมมาวางบนน้ำ แล้วลงไป นั่งในที่นอนลมไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย เด็ก ๆ จะต้องวางน้ำหนักบนที่นอนลมอย่างไรจึงจะบรรทุกน้ำหนักได้มาก ที่สุด