The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนิเทศภาษาอังกฤษ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chtsan6, 2022-09-10 23:44:34

คู่มือนิเทศภาษาอังกฤษ

คู่มือนิเทศภาษาอังกฤษ

คู่ มื อ นิ เ ท ศ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR

สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

THE COMMON EUROPEAN FRAMEWORK OF REFERENCE FOR LANGUAGES: CEFR

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้ นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้ นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำนำ

กลมุ่ นิเทศ ตดิ ตามและประเมนิ ผลการจัดการศึกษา สำนกั งานเขตพืน้ ท่ีการศึกษา
มัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ได้จัดทำคู่มือนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตามกรอบ
ความสามารถทางภาษา CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็น
แนวทางให้ครูภาษาอังกฤษ ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ใช้เป็นแนวทางพัฒนาการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่
เป็นสากล The Common European Framework of Reference for Languages: CEFR และ
สอดคล้องตามสภาพบริบทของแต่ละสถานศึกษาโดยผา่ นกระบวนการนเิ ทศแบบรว่ มพัฒนา

เพื่อให้การนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถ
ทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นไปตาม
เป้าประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้จัดทำจึงได้จัดทำคู่มือการนิเทศการจัดกิจกรรม
การเรยี นรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดบั ช้นั
มัธยมศึกษาตอนต้น ขึ้น โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสร้างความเข้าใจในการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้นและเป็นประโยชน์ต่อผู้นิเทศ ผู้รับการนิเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็น
ประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในด้านการพัฒนาครูและบุคลากร
ทางการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนรว่ มในการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และส่งผลต่อการพฒั นา
คณุ ภาพของผเู้ รยี นตามเจตนารมณข์ องกระทรวงศกึ ษาธิการต่อไป

นางพิมพ์วรี วงษ์ภทั รกร
กล่มุ นิเทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา
สำนกั งานเขตพน้ื ท่ีการศึกษามธั ยมศึกษาชลบุรี ระยอง

คำชีแ้ จง

“คู่มือนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนตน้ ” เล่มนี้ ได้นำแนวคิดหลัก
ของการนิเทศแบบร่วมพัฒนา มาสังเคราะห์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศได้นำไป
เป็นเครื่องมือดำเนินการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เป็นไปอย่างมี
ประสิทธภิ าพ และสอดคลอ้ งตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษทเ่ี ป็นสากล CEFR
มุ่งหวังให้ครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถใน
การจัดกิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR มที ิศทางใน
การดาํ เนินการทีเ่ ปน็ เอกภาพ มีเปา้ หมายการเรียนรแู้ ละการพฒั นาท่ีเทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากล
ท่เี ปน็ ทย่ี อมรบั ในระดับนานาชาติโดยยึดผูเ้ รียนเปน็ สำคญั

ขอขอบคุณ ดร.สมศักดิ์ ทองเนียม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง และ นางธนนันท์ คณะรมย์ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและ
ประเมินผลการจัดการศึกษา ที่ให้โอกาสในการนำเสนอ “คู่มือนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้น
มธั ยมศึกษาตอนต้น”

ขอให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ศึกษา ทำความเข้าใจ และนำสู่การปฏิบัติอย่าง
จริงจังและต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครูภาษาอังกฤษ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อ
คุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคญั

นางพิมพ์วรี วงษ์ภัทรกร
กลมุ่ นเิ ทศ ติดตามและประเมินผลการจดั การศึกษา
สำนักงานเขตพนื้ ทกี่ ารศกึ ษามธั ยมศกึ ษาชลบรุ ี ระยอง

สารบญั

สว่ นท่ี 1 ความเป็นมาและความสำคัญ หนา้
ส่วนท่ี 2 การจัดการเรยี นรภู้ าษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR
1
การปฏิรปู การเรยี นรูภ้ าษาอังกฤษ
ความสำคัญของกรอบกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR 6
ระดับของ CEFR 6
คำอธบิ ายความสามารถทางภาษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR 9
การสอนภาษาองั กฤษเพื่อการสือ่ สาร 9
ความหมายของการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสาร 11
หลกั การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 18
ขั้นตอนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสาร 18
แนวทางการสอนภาษาองั กฤษเพื่อการส่ือสาร 19
องคป์ ระกอบกระบวนการเรยี นการสอนตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพือ่ การสือ่ สาร 22
การออกแบบกจิ กรรมการเรียนรูเ้ พ่อื ความสามารถในการสื่อสาร 23
การสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ 24
การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 27
การสอนทักษะการอา่ น 27
การสอนทักษะเขยี น 28
กจิ กรรมการจัดกจิ กรรมการเรียนรภู้ าษาอังกฤษเชิงรุก (Active Learning) 29
ประเภทกจิ กรรมการสอนภาษาอังกฤษเชิงรกุ (Active Learning) 29
วิธีการสอนภาษาองั กฤษโดยใชก้ ิจกรรม 31
การจัดทำแผนการจัดการเรยี นรู้ 32
ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ 33
ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ 36
ประเภทของแผนการจัดการเรยี นรู้ 37
ลกั ษณะของแผนการจดั การเรียนรู้ทีด่ ี 37
องค์ประกอบของแผนการจดั การเรียนรู้ 39
หลักในการเขียนแผนการจดั การเรยี นรู้ 39
40
41

รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ หนา้
ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรยี นรู้ 42
ตัวอยา่ งการจดั แผนการจัดการเรยี นรู้ 43
การวดั และประเมินผลการจดั การเรยี นรู้ 47
จดุ มุง่ หมายของการวดั และประเมินผลการเรียนรู้ 58
ประเภทของการวดั และประเมินผลการเรียนรู้ 58
การประเมนิ สภาพจริง (Authentic Assessment) 59
การวัดและประเมินผลการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 61
63
ส่วนที่ 3 การนเิ ทศแบบรว่ มพัฒนา 66
66
ความหมายของการนเิ ทศแบบร่วมพัฒนา 66
จดุ มุ่งหมายทว่ั ไปของการนิเทศแบบร่วมพฒั นา 67
จดุ มุ่งหมายเฉพาะของการนิเทศแบบรว่ มพฒั นา 67
ลักษณะสำคญั ของการนิเทศแบบรว่ มพัฒนา 69
บทบาทของผเู้ ก่ียวขอ้ งในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพฒั นา 71
กระบวนการนเิ ทศแบบรว่ มพัฒนา 75
ขั้นตอนการนเิ ทศสอนแบบรว่ มพัฒนา 79
แผนการนิเทศ 85
กจิ กรรมการนิเทศ 86
การรายงานผลการนิเทศ 90

ส่วนที่ 4 เครอ่ื งมือนเิ ทศ 92

แบบทดสอบวดั ความรคู้ วามเข้าใจการจัดกจิ กรรมการเรียนรภู้ าษาอังกฤษตาม 98
กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ช้นั
มัธยมศึกษาตอนต้น 100
เฉลยแบบทดสอบวดั ความรู้ความเข้าใจ การจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ภาษาอังกฤษ
ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรบั ครูภาษาอังกฤษ 103
ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนต้น
แบบประเมนิ ความสามารถสำหรับครูภาษาองั กฤษในการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้
ภาษาองั กฤษ ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR
เกณฑ์การให้คะแนนความสามารถสำหรบั ครูภาษาองั กฤษในการจดั การเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR

แบบรายงานการนเิ ทศการจดั กิจกรรมการเรียนร้ภู าษาอังกฤษตามกรอบ หนา้
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรบั ครูภาษาอังกฤษ ระดบั ชน้ั
มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ 110
แบบประเมินความพงึ พอใจที่มตี อ่ การนิเทศเพ่ือส่งเสริมความสามารถในการจดั
กจิ กรรมการเรยี นรูภ้ าษาองั กฤษ ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR 112
สำหรบั ครภู าษาอังกฤษ ระดับช้ันมัธยมศึกษาตอนตน้ 116

บรรณานุกรม

สารบญั ตาราง

หน้า

ตารางท่ี 2.1 ระดบั ทกั ษะภาษาองั กฤษ CEFR สำหรับนักเรยี นในระดับการศึกษาข้ันพ้นื ฐาน 7
ตารางท่ี 2.2 ระดบั ความสามารถทางภาษาตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR 10
ตารางท่ี 2.3 ขอ้ แนะนำการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 46
ตารางท่ี 3.1 แผนการนิเทศแบบรว่ มพฒั นาเพ่ือพฒั นาการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้
79
ภาษาองั กฤษ ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR
สำหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนต้น

สารบญั ภาพ หนา้
45
ภาพท่ี 2.1 ลำดบั การจัดทำแผนการจัดการเรยี นรู้ 75
78
ภาพ 3.1 กระบวนการนิเทศแบบรว่ มพฒั นา
ภาพที่ 3.2 ข้นั ตอนการนิเทศการสอนแบบร่วมพัฒนา

1

วัช

ส่วนท่ี 1

ความเป็นมาและความสำคัญ

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และแผนปฏิรูปประเทศ
ด้านการศึกษากำหนดกรอบทิศทางและเป้าหมายการผลิตและพัฒนากำลังคนที่ชัดเจนในสาขาตา่ ง ๆ
ที่ตรงกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาใน
ระดับต่าง ๆ ที่สามารถสร้างเสริมทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะด้านภาษาอังกฤษ
วิทยาศาสตร์และทักษะดิจิทัล (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560, หน้า 100) นอกจากน้ี
นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและแนวทางการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตาม
ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน
ภาษาอังกฤษ เน่ืองจากภาษาอังกฤษเปน็ ภาษาสากลที่ท่ัวโลกใช้ในการสื่อสาร การศึกษา การแสวงหา
ความรู้ในด้านต่าง ๆ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของ
ชุมชนในพ้นื ที่อ่ืน ๆ ของโลก ผทู้ ่มี ีความรูค้ วามสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษทำให้สามารถเข้าถึงองค์
ความรู้และวทิ ยาการต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว (จรสั ศรี หะทะยัง, 2557, หน้า 8)

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

2

กระแสการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ
มากยิ่งขึ้น กระทรวงศึกษาธิการจึงกําหนดใหก้ รอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล
The Common European Framework of Reference for Languages : CEFR เป็นกรอบความคิดหลัก
ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อให้ครสู ามารถจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตรงตาม
หลักมาตรฐานสากล ซึ่งเปน็ มาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษาท่สี หภาพยุโรปจัดทําข้ึน โดยมี
วตั ถปุ ระสงค์เพ่ือใชเ้ ป็นแนวทางในการจัดการเรยี นการสอนและการประเมินภาษาท่ีสองหรือภาษาต่างประเทศ
ในปี ค.ศ. 2002 สภาแหง่ สหภาพยุโรปได้กาํ หนดให้ใช้กรอบอ้างอิง CEFR ในการตรวจสอบความสามารถ
ทางภาษา จนกระทั่งปัจจุบันกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป CEFR ได้รับการยอมรับอย่าง
กว้างขวางว่าเป็นมาตรฐานในการจัดลําดับความสามารถทางภาษาของแต่ละบุคคล โดยจำแนกผู้มี
ความสามารถในการใช้ภาษาออกเป็น 3 กลุ่ม 6 ระดับความสามารถ ได้แก่ กลุ่ม A ผู้ใช้ภาษาข้ัน
พื้นฐาน ประกอบด้วย ระดับ A1 สามารถใช้และเข้าใจประโยคง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ระดับ A2
สามารถใช้และเข้าใจประโยคในชีวิตประจำวันในระดับกลาง กลุ่ม B ผู้ใช้ภาษาขั้นอิสระ ประกอบด้วย
ระดับ B1 สามารถพูด เขียนและจบั ใจความสำคัญของข้อความทั่วไปได้ จัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ
ทเ่ี กดิ ข้ึนระหว่างการเดนิ ทางในประเทศที่ใชภ้ าษาองั กฤษได้ ระดับ B2 สามารถใช้ภาษาในระดับดี พูดและ
เขียนได้แทบทุกเร่ืองอย่างถูกต้องคล่องแคลว่ ข้ึน รวมท้งั อ่านและทำความเข้าใจกบั บทความท่ีมีเน้ือหา
ยากขึ้นได้ กลุ่ม C ผู้ใช้ภาษาขั้นคล่องแคล่ว ประกอบด้วย ระดับ C1 สามารถพูดแสดงความรู้สึกได้
อย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องหยุดคิดหาคำศัพท์ เขียนข้อความที่ซับซ้อนได้ชัดเจนถูกต้อง
ตามโครงสร้างไวยากรณ์และระดับ C2 สามารถใช้ภาษาได้อย่างดีเยี่ยมใกล้เคียงเจ้าของภาษา
(สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน, 2557 หน้า 10)

รายงานผลการจดั อันดับทักษะความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษทั่วโลก ประจำปี
พุทธศักราช 2563 ของสำนักงานจัดอันดบั ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ English First: EF (EF English
Proficiency Index, 2563) ได้แบ่งระดับทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1)
ทักษะความสามารถระดับสูงมาก (Very High Proficiency) 2) ทักษะความสามารถระดับสูง (High
Proficiency) 3) ทักษะความสามารถระดับปานกลาง ( Moderate Proficiency) 4) ทักษะ
ความสามารถระดับต่ำ (Low Proficiency) และ 5) ทักษะความสามารถระดับต่ำมาก (Very Low
Proficiency) พบว่าประเทศไทยมีระดับทักษะความสามารถภาษาอังกฤษระดับต่ำมาก ด้วยระดับ
คะแนน 419 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 89 จาก 100 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ประเทศกลุ่มอาเซียนพบวา่
สงิ คโปรเ์ ป็นชาตทิ ่ปี ระชากรมที ักษะภาษาอังกฤษในระดับสูงมากที่อนั ดับ 10 ของโลก ตามด้วยอันดับ
ที่ 27 ฟิลิปปินส์ มาเลเซียอันดับที่ 30 เวียดนามอันดับที่ 65 อินโดนีเซียอันดับที่ 74 กัมพูชาอันดับที่
84 จาก 100 ประเทศ กล่าวไดว้ ่า แม้ระบบการศกึ ษาของไทยได้ผลักดันการเรยี นรทู้ ักษะภาษาอังกฤษ
ของคนไทยแต่ทักษะภาษาองั กฤษของประเทศไทยนั้นยังไมพ่ ัฒนาในระดับดีเท่าทค่ี วรหรอื อยู่ในระดับ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

3

ต่ำมากมาโดยตลอด นอกจากนี้ผลการประเมินความสามารถด้านภาษาอังกฤษตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นท่ี
การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ประจำปีงบประมาณ 2563 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขน้ั พ้ืนฐาน, 2563) พบว่า ครูทเ่ี ข้ารบั การประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษ มีจำนวนทั้งส้ิน 122 คน
โดยผลการประเมินครูผู้สอนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับ A2 มากที่สุด จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ
50.11 รองลงมา ได้แก่ ระดับ B1 จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 29.15 ระดับ B2 จำนวน 11 คน คิด
เป็นร้อยละ 13.51 ระดับ A1 จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.07 ระดับ A0 (ต่ำกว่า A1) จำนวน 1 คน
คิดเป็นร้อยละ 4.95 โดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษไม่มีผู้ใดสอบได้ผลการประเมินระดับ C1 และ C2
จากรายงานการประเมินทักษะภาษาอังกฤษของ สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำ
ปีงบประมาณ 2563 แสดงให้เห็นว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศกึ ษาชลบรุ ี ระยอง มีความรู้ ความสามารถตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ
ที่เป็นสากลอยู่ในระดับ A2 มากที่สุด คือ ครูมีความสามารถใช้และเข้าใจประโยคในชีวิตประจำวันใน
ระดับกลาง ดงั นัน้ การเสรมิ สร้างสมรรถนะและความสามารถในการส่ือสารเป็นภาษาอังกฤษของคนไทย
จัดเป็นความจำเป็นเร่งดว่ นของประเทศไทยในปัจจุบัน ขณะที่ต้องเร่งพฒั นาประเทศให้ก้าวทนั การเปล่ียนแปลง
ของโลกและรองรับภาวะการค้าการลงทุน การเชื่อมโยงระหว่างประเทศและการเป็นพลเมืองโลกที่ใช้
ภาษาองั กฤษเป็นเครื่องมือในการติดต่อสอื่ สาร

จากการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพฒั นาการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ภาษาอังกฤษ
ของครูระดับมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง พบว่า
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความต้องการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรม
ก า ร เร ี ยนร ู ้ ภาษาอั งกฤษที ่ สอดคล ้ องกั บธรรมชาต ิ ของภาษาที่ เน ้ นการส ื ่ อสารภายใต ้ กรอบอ้ างอิ ง
ความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป CEFR สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ
(พ.ศ.2561 - 2580) และแผนปฏิรปู ประเทศด้านการศกึ ษา (สำนักงานเลขาธิการสภาการศกึ ษา, 2560
หน้า 163) รวมไปถึงตรงกับนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและแนวทางการสอน
ภาษาองั กฤษแนวใหม่ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการท่ีกำหนดให้ใช้กรอบอา้ งอิงความสามารถ
ทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ได้แก่ The Common European Framework of Reference for
Languages (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย
ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาโดยเน้นการสื่อสาร
(Communicative Language Teaching: CLT) ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มี
มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานหลัก ส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ยกระดับ
ความสามารถในการจัดการเรยี นการสอนของครูใหส้ อดคล้องกบั วิธีการเรียนรู้ทีเ่ น้นการสื่อสาร (CLT)
และเป็นไปตามกรอบความคิดหลัก CEFR ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

4

เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยพัฒนาความสามารถทางภาษาของครูและนักเรียน (สำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน, 2557 หนา้ 6)

ดว้ ยเหตุนจ้ี งึ จำเป็นอย่างย่งิ ท่ตี อ้ งเรง่ พัฒนาความรู้ความสามารถของครูผูส้ อนภาษาอังกฤษ
เพื่อให้ครูสามารถถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถสื่อสาร
ภาษาอังกฤษได้ ดงั น้นั ทกุ ฝ่ายต้องรว่ มมือกันแก้ไขตัง้ แตร่ ะดับประเทศ ระดบั เขตพื้นที่การศึกษาและ
ระดับสถานศึกษา ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงควรเป็นการสอนเพื่อการสื่อสาร
อย่างแท้จริง โดยนำระดับความสามารถทางภาษาและคำอธิบายความสามารถทางภาษาท่ีกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR กำหนดไว้ในแต่ละระดับมาพิจารณาการจัดกระบวนการเรียน
การสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถแสดงออกซึ่งทักษะทางภาษาและองค์ความรู้ตามที่ระบุไว้ เช่น
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ควรมีระดับภาษาตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR
ในระดับ A1 ผู้สอนจะต้องจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจ ใช้ภาษาแนะนำ ถาม-ตอบ
ปฏิสัมพันธ์พูดคุยในเรื่องที่กำหนดตามคำอธิบายของระดับ A1 การเรียนการสอนจึงต้องเน้นให้
นกั เรียนไดฟ้ ังและพูดส่ือสารเป็นหลัก นักเรียนจงึ จะมีความสามารถตามท่ีกำหนด กลา่ วได้วา่ การพัฒนา
พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูอาจทำได้หลายวิธี วิธีหนึ่งที่สามารถส่งผลโดยตรงที่ทำให้ครู
สามารถปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ กระบวนการนิเทศการสอน เนื่องจาก
การนิเทศการสอนเป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดการศึกษาที่มุ่งปรับปรุงกระบวนการสอน
กระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนและส่งเสริมพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง ซ่ึง
ส่งผลโดยตรงตอ่ ผลการเรยี นรู้ของนักเรียนในการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรยี นการสอนต้องอาศัย
วิธีการหลากหลายและวิธีการหนึ่งท่ีจะชว่ ยเหลือครูใหส้ ามารถปรับปรุงและพัฒนาตนเอง พัฒนางาน
การจัดการเรียนการสอนในวชิ าชีพของตนได้อย่างต่อเน่ืองและเกดิ ประสิทธภิ าพสูงสดุ ต่อนักเรียน คือ
การนิเทศการสอน ซึ่งอาจเป็นการนิเทศรายบุคคลหรือวิธีการนิเทศกลุ่มที่สอดคล้องกับปัญหาและ
ความตอ้ งการของครูโดยใชเ้ ทคนิค วธิ กี ารนิเทศทห่ี ลากหลาย เน้นความรว่ มมอื กันระหว่างบุคลากรใน
โรงเรยี นเพ่ือพัฒนาการจดั การเรียนการสอน (วัชรา เล่าเรยี นดี, 2556, หนา้ 22)

การ น ิเทศการ ศึกษาเป ็น กร ะบ ว น การ ห น ึ่งของการ พัฒ น า การ ศึก ษาที่มุ่งป ร ั บ ป รุ ง
กระบวนการสอน กระบวนการเรียนรู้ในช้นั เรยี น และส่งเสริมพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพครู
ที่ส่งผลโดยตรงต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียน โดยอาศัยการนิเทศช่วยเหลือแนะนำให้ความรู้และฝึก
ปฏิบัติด้วยการพัฒนาหลักสูตร การใช้เทคนิควธิ ีการเรียนรู้ใหม่ ๆ การใช้และการสร้างนวัตกรรมด้านการสอน
และการทำวิจัยในชั้นเรียนเพือ่ ให้ครูสามารถปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้หรอื งานในวิชาชพี
ของตนเองอย่างต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดตามเป้าหมาย การนิเทศ
การศึกษายังเป็นกระบวนการช่วยเหลือแนะนำครูให้มีภาวะทางวิชาการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการสอน
และการปฏิบัติงาน ส่งเสริม ประสานความร่วมมือในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยยึดถือ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

5

หลักการของการมุ่งประโยชน์เพื่อการพัฒนาครู ร่วมมือ และสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้นิเทศและ
ผู้รับการนิเทศ อย่างไรก็ตามการนิเทศในปัจจุบันยังมีปัญหาค่อนข้างมาก เช่น ขาดแคลนอัตรากำลัง
ศึกษานิเทศก์ ขาดเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ขาดการประสานงาน ขาดงบประมาณ ศึกษานิเทศก์มี
ภาระงานมากทำให้ไม่มีเวลานิเทศ การนิเทศไม่ต่อเนื่องขาดแรงจูงใจและสนับสนุน ขาดการประเมินผล
การปฏิบัติงาน (มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ, 2553 หน้า 2) ซึ่งผลการวิจัยของสำนักงานเลขาธิการ
สภาการศึกษา (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2562, หน้า 15) พบว่า คุณภาพของนักเรียนยัง
ไม่เป็นไปตามที่กำหนดซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ครูยังขาดเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ เน้น
นักเรียนเปน็ สำคัญ การใช้การนิเทศเพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึง่ อาจทำให้ไม่น่าสนใจ ไม่ช่วยกระตุ้นให้
ครูผู้สอนเกิดเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ หากผู้นิเทศใช้วิธีการที่แตกต่างกันจะเกิด
แนวทางในการนิเทศรูปแบบหลากหลายและช่วยเหลือช้ีแนะครผู ู้สอนในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้หลากหลายขึ้น ซึ่งหลักการนิเทศต้องมีจุดมุ่งหมายท่ี
ชัดเจน มุ่งเน้นการปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนโดยตรง เป็นการนิเทศแบบรายบุคคลและ
รายกลุ่มที่สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของครูและของโรงเรียน มีการประเมินผลการจัด
การเรียนการสอนของครู มีการสังเกตการสอนและบันทึกผลข้อมูลที่เป็นปรนัย มีการประ ชุม
ปรึกษาหารือระหว่างครูผู้สอนและผู้นิเทศอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินการนิเทศที่เป็นวิทยาศาสตร์ มี
การวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ทง้ั เชิงปริมาณและคุณภาพ ผนู้ เิ ทศและหรือผู้ที่ทำหน้าท่ีนิเทศต้องอยู่ใน
ฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร เทคนิควิธีการสอน การนิเทศการสอน การวิจัยในชั้นเรียน
การสื่อสาร สื่อความหมาย นวัตกรรมและเทคโนโลยี การวัดประเมินผล และประเมินผลสมรรถภาพ
การจัดการเรียนรู้ของครูได้ รวมถงึ การมวี สิ ัยทัศน์ท่ีกว้างไกล มีหน้าที่ส่งเสริม สนบั สนุนยทุ ธวิธีในการสอน
ที่เหมาะสม เป็นผู้นำกลุ่ม ส่งเสริม และพัฒนาเจตคติที่ดีต่อตนเอง โรงเรียน และงานที่ปฏิบัติ ใส่ใจต่อ
ประสิทธิภาพ สุขภาพ และบุคลากรภายในองคก์ ร ครูมีอำนาจและอิสระในหน้าที่ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ในเร่ืองการจัดการศึกษามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทกั ษะ นวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้กับเพ่ือนร่วมงาน
มปี ระสบการณ์ สามารถใช้เทคโนโลยเี พ่ือการเรยี นการสอนและพัฒนาการเรยี นการสอนได้

จากที่มาและความสำคัญ กล่าวได้ว่าการนิเทศเป็นกระบวนการที่สามารถปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมผู้รบั การนเิ ทศและเป็นแนวทางในการพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาแนวทางหนึ่งในหลากหลาย
วิธีให้กับครูภาษาอังกฤษ ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลสำเร็จในการพฒั นาสมรรถนะ
ด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียน อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้าง
ความมัน่ ใจและความพรอ้ มของประเทศในการก้าวสู่ประชาคมโลกต่อไป

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

6

ส่วนท่ี 2

การจัดการเรียนรู้ภาษาองั กฤษ
ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR

การปฏิรูปการเรยี นรภู้ าษาอังกฤษ

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกันเพ่ือ
ยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริม
สมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผเู้ รยี นสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้เป็น
เครอ่ื งมอื ในการแสวงหาองค์ความรู้เพ่ือการพัฒนาตน อันจะนำไปส่กู ารเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดนโยบายการปฏิรูปการเรียน
การสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานขึ้น เพื่อใหท้ ุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความจำเป็น
ที่ต้องเร่งรัดปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะตามที่
กำหนด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2557 หน้า 1 - 3) จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติใน
การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามนโยบายในแต่ละด้าน เพื่อให้หน่วยงานทุกสังกัดที่จัด
การศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
นำไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย โดยกำหนดให้ใช้กรอบอ้างองิ ความสามารถทางภาษาของสหภาพ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

7

ยุโรป (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ทั้งใน
การออกแบบหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ การวัดผล การพัฒนาครู รวมถึง
การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ มีทิศทางในการดำเนินการที่เป็นเอกภาพ มีเป้าหมายการเรียนรู้และการพัฒนาท่ี
เทยี บเคยี งได้กบั มาตรฐานสากลท่ีเปน็ ทีย่ อมรบั ในระดับนานาชาติ

กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้ใช้กรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป (The Common
European Framework of Reference for Language: CEFR) ในการนำกรอบความสามารถทางภาษาสากล
CEFR มาใช้ในการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวทาง
ในการดำเนนิ การ ดงั น้ี

1. ใช้ CEFR เปน็ กรอบความคดิ หลักในการกำหนดเป้าหมายการจดั การเรียนรู้/การพัฒนาโดยใช้
ระดับความสามารถ 6 ระดับของ CEFR เป็นเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับ ทั้งนี้ในเบื้องต้น
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระดับความสามารถทางภาษาของผู้เรียนในระดับ
การศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน ดงั นี้

1.1 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.6) ควรมีระดับความสามารถทางภาษาใน
ระดบั ผใู้ ชภ้ าษาข้ันพ้ืนฐาน หรือ ระดบั ความสามารถทางภาษาตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล
CEFR อยา่ งน้อย A1

1.2 ผ้สู ำเรจ็ การศึกษาภาคบังคับ (ม.3) ควรมรี ะดบั ความสามารถทางภาษาในระดบั ผู้ใช้
ภาษาขั้นพื้นฐาน หรือ ระดับความสามารถทางภาษาตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR
อย่างนอ้ ย A2

1.3 ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.6 / ปวช.) ควรมีระดับความสามารถทางภาษา ใน
ระดับผู้ใช้ภาษาขั้นอิสระ หรือ ระดับความสามารถทางภาษาตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล
CEFR อย่างนอ้ ย B1

ตารางที่ 2.1 ระดับทกั ษะภาษาอังกฤษ CEFR สำหรับนักเรียนในระดบั การศึกษาขน้ั พื้นฐาน

ระดับนักเรยี น ระดับความสามารถทางภาษา
ระดับความสามารถทางภาษา ตามกรอบความสามารถ
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.6)
ผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) ทางภาษาสากล CEFR
ผสู้ ำเรจ็ การศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐาน (ม.6/ปวช.)
ผใู้ ช้ภาษาขนั้ พ้นื ฐาน A1

ผใู้ ช้ภาษาขนั้ พ้นื ฐาน A2

ผใู้ ช้ภาษาขน้ั อิสระ B1

ทม่ี า: สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน. (2558). คู่มอื การจดั การเรยี นการสอนภาษาองั กฤษแนวใหม่ตาม
กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาองั กฤษทเี่ ปน็ สากล (The Common European Framework of
Reference for Languages: CEFR)ระดบั ชั้นมธั ยมศึกษา. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์องคก์ ารสงเคราะหท์ หารผ่านศกึ .

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

8

ดังนั้นในการประเมินหรือตรวจสอบผลการจัดการศึกษาหรือผลการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับ
ข้างต้น หน่วยงานที่รับผิดชอบควรได้มีการทดสอบหรือวัดผลโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานที่เทียบเคียงผล
คะแนนกับระดับความสามารถทางภาษาตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR เพื่อตรวจสอบว่า
ผูเ้ รยี นมีผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนภาษาผา่ นเกณฑ์ระดับความสามารถท่กี ำหนดหรอื ไม่

2. ใช้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยนำระดับความสามารถทางภาษาท่ี
กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR กำหนดไว้แต่ละระดับ มากำหนดเป้าหมายของหลักสูตรและ
ใช้คำอธิบายความสามารถทางภาษาของระดับนั้นๆ มากำหนดกรอบเนื้อหาสาระที่จะใช้ในการจัดการเรียนรู้
ตามหลกั สูตร

3. ใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยนำระดับความสามารถทางภาษาและคำอธิบายความสามารถ
ทางภาษาที่กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR กำหนดไว้แต่ละระดับ มาพิจารณาการจัด
กระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดงออกซึ่งทักษะทางภาษาและองค์ความรู้ตามที่
ระบุไว้ เช่น ในระดับ A1 ผู้สอนต้องจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจ ใช้ภาษา
แนะนำ ถาม - ตอบ ปฏิสัมพนั ธพ์ ูดคุยในเรื่องท่ีกำหนดตามคำอธิบายของระดบั A1 การเรียนรู้จึงต้อง
เน้นใหผ้ เู้ รียนไดฟ้ งั และพดู ส่อื สารเป็นหลกั ผู้เรียนจึงจะมคี วามสามารถตามที่กำหนด

4. ใช้ในการทดสอบและการวัดผลโดยใช้แบบทดสอบ/แบบวัดที่สามารถเทียบเคียงผลได้กบั
กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR เพื่อให้ได้ข้อมลู ระดบั ความสามารถของผ้เู รียนหรอื ผู้เข้ารับ
การทดสอบเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้หรือสื่อให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นอันจะนำไปสู่
การพัฒนาผู้เรยี น/ผ้เู ข้ารบั การทดสอบใหม้ ีความสามารถตามเป้าหมาย/เกณฑ์ทก่ี ำหนด

5. ใช้ในการพฒั นาครู โดยดำเนนิ การ ดงั น้ี
5.1 ใช้เครื่องมือในการประเมินตนเอง (self-assessment checklist) ตามกรอบ

ความสามารถทางภาษาสากล CEFR เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการทดสอบและประเมิน
ความก้าวหนา้ ความสามารถทางภาษาองั กฤษอยา่ งต่อเน่ือง

5.2 ประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของครูก่อนการพัฒนาโดยใช้
แบบทดสอบมาตรฐานตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR ในการตรวจสอบระดับ
ความสามารถของครู

5.3 จัดทำฐานข้อมูลและกลุ่มครูตามระดับความสามารถเพื่อวางแผนพัฒนาตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR และติดตามความก้าวหน้าในการเข้ารับการพัฒนาของครูในแต่
ละกลุ่มความสามารถ

5.4 กำหนดเป้าหมายความสามารถด้านภาษาตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล
CEFR ในการพฒั นาครูแตล่ ะกลุ่มเพื่อนำมาจัดหลักสูตร และกระบวนการพัฒนาครูให้มีความสามารถ
ในการใชภ้ าษาผ่านเกณฑ์และบรรลเุ ป้าหมายที่กำหนด

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

9

5.5 ใชแ้ บบทดสอบมาตรฐานตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR ทดสอบหลัง
การพัฒนาเพื่อประเมินหลักสูตรการพัฒนา กระบวนการพัฒนาและความสามารถของครูเทียบเคียง
กับเปา้ หมายทีก่ ำหนดรวมทง้ั จัดกจิ กรรมการพัฒนาอยา่ งต่อเน่อื ง

ความสำคญั ของกรอบกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR

กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (The Common European Framework
of Reference for Languages : CEFR) หรือ กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR คือ
มาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษาที่สหภาพยุโรปจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็น
แนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการประเมินภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ CEFR ได้รับ
การตั้งขึ้นโดยสภายุโรปในปี 1990 ให้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้สอน
ภาษาทกุ ประเทศในยโุ รป สภายุโรปตอ้ งการปรบั ปรุงแนวทางสำหรับลกู จ้างและสถาบันการศึกษาทตี่ อ้ งการ
ประเมินความเชย่ี วชาญทางภาษาของผ้สู มคั ร เกณฑ์ทกี่ ำหนดน้มี จี ดุ ประสงคเ์ พ่ือใช้ในการจดั การเรียน
การสอนและการประเมิน CEFR ไม่ได้เชื่อมโยงหรือยึดตามแบบทดสอบใดแบบทดสอบหนึ่งโดยเฉพาะ
หากแต่เป็นการกำหนดทักษะที่สามารถทำได้โดยการใช้ภาษาต่างประเทศที่ระดับความเชี่ยวชาญที่กำหนด
ยกตัวอยา่ งเช่น หน่งึ ในทักษะทรี่ ะดบั B1 สามารถทำได้คือ “สามารถเช่อื มโยงเกี่ยวกับหัวข้อที่คุ้นเคย
หรือความสนใจของตวั บุคคล” ผู้ที่สอนภาษาต่างประเทศสามารถใช้รายการทกั ษะที่ต้องทำได้เหล่าน้ี
ในการประเมินและออกแบบบทเรียนเพื่อค้นหาความสามารถทางภาษาสำหรับผู้เรียน (สำนักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน, 2557)

สภาแห่งสหภาพยุโรป (2544) กำหนดให้ใช้กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR ใน
ปี ค.ศ. 2002 ในการตรวจสอบความสามารถทางภาษา ปัจจุบันกรอบความสามารถทางภาษาสากล
CEFR ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นมาตรฐานในการจัดลำดับความสามารถทางภาษาของ
แต่ละบุคคล สามารถนำกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR ไปปรับใช้ได้ในหลายบริบทและ
ครอบคลุมภาษามากถึง 40 กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR ได้รับการใช้งานอย่าง
กวา้ งขวางสำหรับการสอนภาษาในทวีปยุโรป รวมท้งั การศกึ ษาทวั่ ไปและโรงเรียนสอนภาษาเอกชนใน
หลายประเทศใช้กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR แทนระบบการวัดระดับที่เคยใช้ในการสอน
ภาษาต่างประเทศ กระทรวงการศึกษาในยุโรปส่วนใหญ่ระบุเป้าหมายที่อ้างอิงตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR อย่างชัดเจนสำหรับนักเรียนทุกคนที่จบการศึกษาระดับ
มัธยมศึกษา เช่น ระดับ B2 สำหรับภาษาตา่ งประเทศภาษาแรก ระดับ B1 สำหรับภาษาต่างประเทศ
ภาษาท่ีสอง

ระดับของ CEFR

ความสามารถทางภาษาตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR ได้จำแนกผู้ใช้ภาษา
ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก A, B และ C และแบ่งเป็น 6 ระดับความสามารถ ได้แก่ A1, A2, B1, B2, C1,
และ C2

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

10

ตารางที่ 2.2 ระดับความสามารถทางภาษาตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR

กลมุ่ หลัก ระดับ คำอธิบายความสามารถของผ้เู รยี น

Basic User A1 สามารถเขา้ ใจและโตต้ อบในสงิ่ ทีค่ ุ้นเคยในชวี ติ ประจำวนั รวมถงึ สามารถใช้
ผู้ใ ้ชภาษา ้ัขน ื้พนฐาน Breakthrough ประโยคพื้นฐานเพื่อสื่อสารถึงความตอ้ งการท่เี ป็นรปู ธรรม สามารถแนะนำ
or ตัวเองและคนอื่น สามารถถามและตอบคำถามเก่ยี วกับรายละเอียดส่วนบคุ คล
Beginner ได้ เชน่ สถานท่ีอยอู่ าศัย คนท่ีรู้จักและสง่ิ ของทม่ี ี สามารถโต้ตอบกับผู้อนื่ ได้
ในกรณที ผ่ี ู้อื่นพูดอยา่ งช้า ๆ ชัดเจน และพร้อมที่จะช่วยเหลอื

Independent Use A A2 สามารถเข้าใจประโยคและสำนวนท่ีใช้บอ่ ยเก่ียวกบั สิง่ รอบตวั (เชน่ ข้อมูล
ผู้ใ ้ชภาษาข้ัน ิอสระ Waystage พนื้ ฐานและขอ้ มลู ของครอบครัว การซื้อของ ภมู ศิ าสตรท์ ้องถ่ิน การจ้างงาน)
สามารถสอ่ื สารเรือ่ งที่ง่ายและเป็นกจิ วตั รท่ีต้องมีการแลกเปลยี่ นข้อมลู

ProficientC User B Or โดยตรงและไมย่ งุ่ ยากเกย่ี วกบั ส่ิงท่ีคนุ้ เคยหรือทำเปน็ ประจำ สามารถอธบิ าย
ู้ผใ ้ชภาษาข้ันค ่ลองแค ่ลวElementary
ประวตั ิสว่ นตัวและประวตั ิการศึกษาของตัวเองอย่างง่าย สภาพแวดลอ้ ม
B1
Threshold รอบตัวในขณะท่ีพดู และสิ่งของทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั ความตอ้ งการเฉพาะหนา้
Or
Intermediate สามารถเข้าใจจุดประสงคห์ ลกั ของส่ิงทีค่ นุ้ เคย ทเี่ ปน็ ภาษามาตรฐานแบบ
ชัดเจนและทีต่ อ้ งพบบ่อยคร้ังในท่ีทำงาน โรงเรยี น การเดนิ ทางพักผ่อน เป็น
B2 ต้น สามารถรบั มือกบั สถานการณส์ ว่ นใหญ่ท่ีอาจเกดิ ขน้ึ ขณะเดนิ ทาง
Vantage or ท่องเที่ยวในสถานทีต่ า่ งๆ สามารถสือ่ สารโดยเชื่อมโยงหัวขอ้ ทค่ี นุ้ เคยหรือ
Upper หัวขอ้ ทเี่ กีย่ วข้องความสนใจส่วนบุคคล สามารถอธิบายประสบการณแ์ ละ
Intermediate เหตุการณ์ ความฝนั ความหวงั และเปา้ หมายของตนเองได้ รวมถึงการให้
C1 เหตผุ ลหรือคำอธบิ ายเบือ้ งต้นทเ่ี กยี่ วกบั ความคิดเหน็ และแผนการต่างๆ
Effective
Operational สามารถเข้าใจประเดน็ หลักของขอ้ ความท่มี คี วามซบั ซอ้ นทงั้ รูปธรรมและ
Proficiency นามธรรม รวมถึงการพดู คยุ เชิงเทคนคิ ในบทสนทนาเฉพาะด้านตามความรู้
Or เฉพาะทางของผู้พูด สามารถโต้ตอบอย่างคลอ่ งแคล่วและเป็นธรรมชาติ
Advanced โตต้ อบกับผ้พู ดู ทเี่ ป็นเจ้าของภาษาไดโ้ ดยไมม่ คี วามเคร่งเครยี ด สามารถสรา้ ง
C2 ถอ้ ยคำทช่ี ัดเจนและมคี วามละเอียดในหวั ข้อท่หี ลากหลาย อธบิ ายมุมมอง
Mastery เกยี่ วกบั ปญั หาเฉพาะ รวมถงึ การให้ขอ้ มูลเกี่ยวกับขอ้ ดแี ละขอ้ เสยี ของเรื่องตา่ งๆ
Or
Proficiency สามารถเขา้ ใจขอ้ ความท่ียาวขน้ึ และทีต่ ้องใช้ความเขา้ ใจหลายด้านและ
ตระหนักถงึ ความหมายโดยนยั สามารถแสดงความคิดได้อย่างคลอ่ งแคลว่
และเป็นธรรมชาตโิ ดยไมใ่ ชเ้ วลามากนักในการคดิ หาคำศพั ท์ สามารถใช้
ภาษาไดอ้ ย่างยดื หยนุ่ และมีประสทิ ธภิ าพสำหรับการสอ่ื สารในเขา้ สังคมและ
ชวี ิตการทำงานหรอื ในการศึกษาเพิ่มเติมท้งั ในระดับวิชาชพี และในระดบั
มหาวทิ ยาลัย สามารถสร้างถ้อยคำทชี่ ัดเจน มีโครงสร้างดี ให้รายละเอียด
เกี่ยวกบั เรอ่ื งทซ่ี ับซอ้ น ใช้แบบแผนการสื่อสารและคำเชอื่ มตา่ งๆ ใน
การเช่ือมโยงความไดอ้ ยา่ งเหมาะสม

สามารถเข้าใจทกุ เร่ืองท่ฟี ังหรอื อ่านได้อยา่ งง่ายดาย สามารถสรุปคำพูดและ
ข้อความจากแหล่งท่ีมาตา่ งๆ สร้างคำอธบิ ายและระบเุ หตุผลในการนำเสนอ
ที่สอดคลอ้ งกัน สามารถแสดงออกและส่ือสารได้อย่างเปน็ ธรรมชาติ
คล่องแคลว่ และแมน่ ยำมาก รวมถึงสามารถแยกแยะความหมายที่ใกล้เคยี ง
กนั ของสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

11

คำอธิบายความสามารถทางภาษาอังกฤษ
ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR

สภาแหงสหภาพยุโรปไดกำหนดคำอธิบายใหใชกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR ใน
การตรวจสอบความสามารถทางภาษาและการจัดลําดับความสามารถทางภาษาของแต ละบุคคล
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2557, หน้า 11 – 32 และจิรดา วุฑฒยากร และกรวิภา
พลู ผล, 2563, หนา้ 11-14) ดงั น้ี

ภาษาอังกฤษระดับ A1

ภาษาอังกฤษระดับ A1 คือภาษาอังกฤษระดับแรกตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล
CEFR โดยทว่ั ไปเรยี กระดับนีว้ ่า “ระดบั เร่ิมตน้ ” และเป็นช่อื ระดบั อย่างเป็นทางการใน CEFR ในทาง
ปฏิบัติสามารถกำหนดระดับภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับต่ำกว่า A1 (Pre-A1) ซึ่งนักเรียนที่เพิ่งเริ่มต้น
เรยี นภาษาอังกฤษหรือผู้ท่ีไมม่ คี วามรู้ภาษาองั กฤษเบื้องตน้ มาก่อนจะอยู่ท่ีระดับ Pre-A1

มีความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับ A1 สามารถโต้ตอบอย่างง่าย ยกตัวอย่างเช่น
ความสามารถในการสื่อสารของนักท่องเที่ยวในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามผู้มี
ความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับ A1 อาจไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษสำหรับจุดประสงค์ทาง
วิชาการหรือความเชี่ยวชาญอืน่ ๆ ทเ่ี ป็นทางการ

ผทู้ ่มี ที ักษะภาษาอังกฤษอยูใ่ นระดบั A1 จะสามารถสือ่ สารได้ดงั ต่อไปน้ี
สามารถเข้าใจและโต้ตอบในสิ่งท่ีคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน รวมถึงสามารถใช้ประโยคพ้ืนฐานเพือ่
สื่อสารถึงความต้องการที่เป็นรูปธรรม สามารถแนะนำตัวเองและคนอื่น สามารถถามและตอบคำถาม
เกี่ยวกับรายละเอียดส่วนบุคคลได้ เช่น สถานที่อยู่อาศัย คนที่รู้จัก และสิ่งของที่มีสามารถโต้ตอบกับ
ผูอ้ ื่นได้ ในกรณีทผ่ี อู้ ่ืนพูดอย่างช้า ๆ ชัดเจน และพร้อมทีจ่ ะช่วยเหลือ
นักเรยี นท่ีมที กั ษะภาษาอังกฤษระดบั A1 จะสามารถสื่อสารไดด้ งั ต่อไปนี้
• แนะนำตัวเองง่าย ๆ และการทกั ทายเบอ้ื งต้น
• บอกได้ว่าตัวเองและผ้อู ่นื มาจากไหน และสามารถอธิบายข้อมลู พืน้ ฐานเก่ียวกบั เมืองนน้ั ๆได้
• พูดถงึ ครอบครวั และเพอื่ นรว่ มงาน อธิบายรูปลกั ษณแ์ ละนสิ ยั สว่ นตวั ของพวกเขาได้
• อธิบายการแตง่ ตวั ในระดับพ้นื ฐานและสอบถามพนกั งานขายด้วยคำถามงา่ ยๆ
• พดู คุยเกีย่ วกับอาหารโปรดและส่ังอาหารง่ายๆ สำหรับซือ้ กลับบ้าน
• พดู เก่ยี วกบั กจิ กรรมประจำวัน สามารถนัดพบเพอ่ื นและเพ่ือนร่วมงานได้
• อธิบายสภาพอากาศปจั จุบันและแนะนำกจิ กรรมที่สอดคลอ้ งกบั การพยากรณ์อากาศ
• พูดคุยเร่อื งทว่ั ไปเก่ียวกบั สุขภาพและอธบิ ายอาการทัว่ ไปแกแ่ พทย์ได้

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

12

• อธบิ ายทีต่ ั้งของบ้านและบอกทิศทางได้
• พูดคุยเกี่ยวกับงานอดิเรกและความสนใจ การวางแผนกิจกรรมสนุก ๆ กับเพื่อนหรือเพื่อน
รว่ มงานได้
• สามารถติดต่อเร่ืองพน้ื ฐานทโี่ รงแรม รวมถึงการเชค็ อนิ และเช็คเอาท์
• อธิบายผลิตภัณฑท์ ั่วไป สามารถซื้อสง่ิ ของในระดบั พื้นฐานและสง่ คืนสินคา้ ทเ่ี สยี หายคืนได้
ทักษะที่พัฒนาจะขึ้นอยู่กับประเภทของหลักสูตรและนักเรียนแต่ละคน โดยนักเรียนสามารถ
คาดหวังไดว้ ่าภาษาอังกฤษจะอย่ทู ี่ระดับ A1 เมื่อผา่ นการเรียน 60 ถึง 80 ชวั่ โมง

ภาษาองั กฤษระดบั A2

ภาษาอังกฤษระดับ A2 คือ เป็นภาษาอังกฤษระดับท่ี 2 ตามกรอบความสามารถทางภาษา
CEFR โดยทั่วไปเรยี กระดับนีว้ า่ “ระดบั พ้ืนฐานหรือระดับต้น” ซง่ึ ผมู้ ีความสามารถทางภาษาอังกฤษ
ระดับ A2 สามารถส่ือสารภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานไม่ซับซ้อนได้อย่างคล่องแคล่วและสามารถ
สือ่ สารถงึ ความตอ้ งการท่วั ไปของตนได้

ผู้มีความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับ A2 สามารถใช้ภาษาในการท่องเที่ยวในประเทศที่
พูดภาษาอังกฤษและการเข้าสังคมกับผู้ที่พูดภาษาอังกฤษ สามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานที่พูด
ภาษาองั กฤษได้ แต่ภาษาองั กฤษระดับ A2 ยังไม่เพียงพอสำหรบั การศึกษาเชงิ วิชาการหรือการใช้งาน
ผา่ นสอื่ ทเี่ ปน็ ภาษาองั กฤษ (โทรทศั น์ ภาพยนตร์ วทิ ยุ นติ ยสาร เปน็ ต้น)

นักเรยี นทม่ี ที ักษะภาษาอังกฤษระดับ A2 จะสามารถสื่อสารไดด้ ังตอ่ ไปนี้
นักเรียนที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับ A2 จะสามารถสื่อสารทุกอย่างท่ีนักเรียนระดับ A1
สามารถทำไดแ้ ละจะมที กั ษะเพิม่ เติมตังต่อไปนี้
• ประเมินประสทิ ธภิ าพการทำงานของเพ่ือนร่วมงานในสถานท่ีทำงาน
• สามารถบอกเลา่ ถงึ เหตุการณใ์ นอดีต รวมถงึ กจิ กรรมสุดสัปดาหแ์ ละเร่ืองราวทนี่ า่ สนใจ
• อธบิ ายชีวิตในอดตี สามารถบอกรายละเอียดเกย่ี วกบั เหตุการณท์ ม่ี ีความสำคญั
• สามารถสือ่ สารเพื่อสร้างความสนุกให้คนในบ้านหรือเม่ือไปเยย่ี มบ้านเพื่อนหรือเพ่ือนร่วมงาน
• วางแผนวันหยุด บอกเกยี่ วกบั กจิ กรรมวันหยุดให้เพ่ือนและเพ่ือนร่วมงานฟงั
• พดู เกี่ยวกับธรรมชาติ การเทย่ี วชมสตั วแ์ ละสถานทธี่ รรมชาตทิ ีม่ ีอยู่ในประเทศ
• พูดเกย่ี วกบั ภาพยนตรท์ ี่ชอบและเลือกภาพยนตร์ที่จะดกู ับเพื่อน
• พูดคยุ เก่ียวกับการแต่งตัวและประเภทเสื้อผ้าทช่ี อบสวมใส่
• การสื่อสารพื้นฐานในที่ทำงาน รวมถงึ การเข้ารว่ มประชมุ เกยี่ วกบั หวั ข้อทว่ั ไป
• อธิบายอบุ ตั เิ หตุหรือการบาดเจ็บ รบั ความชว่ ยเหลือทางการแพทย์และการกรอกใบสั่งยา

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

13

• มสี ่วนร่วมกับการเขา้ สังคมในแวดวงธรุ กิจ การต้อนรบั แขกและเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่าย
• เข้าใจและทำข้อเสนอทางธรุ กจิ ข้นั พน้ื ฐานในสายงานท่ีเชีย่ วชาญ
• พดู และอธบิ ายเก่ียวกับกฎของเกม
ทักษะท่ีพัฒนาจะข้นึ อยู่กับประเภทของหลักสูตรและนักเรียนแตล่ ะคน โดยนักเรียนสามารถ
คาดหวังไดว้ ่าภาษาองั กฤษจะอยทู่ ร่ี ะดับ A2 เมอื่ ผ่านการเรียน 200 ชั่วโมง

ภาษาอังกฤษระดับ B1

ภาษาอังกฤษระดับ B1 คือภาษาอังกฤษระดับท่ี 3 ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล
CEFR โดยทั่วไปเรียกระดับนี้ว่า “ระดับกลาง” และเป็นชื่อระดับอย่างเป็นทางการตาม
เกณฑ์ CEFR ในระดับนี้จะเป็นนักเรียนมีทักษะดีกว่าพื้นฐานแต่ยังไม่สามารถทำงานหรือศึกษา
ภาษาองั กฤษได้อยา่ งเชย่ี วชาญ

ผู้มีความสามารถภาษาอังกฤษระดับ B1 จะสามารถโต้ตอบกับผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ
หัวข้อที่คุ้นเคย การสื่อสารในสถานที่ทำงาน สามารถอ่านรายงานอย่างง่ายสำหรับหัวข้อที่คุ้นเคย
และเขยี นอีเมลง่าย ๆ เกยี่ วกับหัวข้อในสายอาชีพของตัวเอง อย่างไรกต็ ามระดบั B1 ยังไม่เพียงพอต่อ
การสื่อสารภาษาอังกฤษในงานพิธีการที่เป็นทางการ ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษอยู่ในระดับ B1 จะ
สามารถส่อื สารได้ดังตอ่ ไปน้ี

1. สามารถเขา้ ใจจดุ ประสงค์หลกั ของที่คุ้นเคยท่ีต้องพบบ่อยครงั้ ในท่ที ำงาน โรงเรียน
การเดินทางพักผอ่ น เปน็ ตน้

2. สามารถรบั มอื กับสถานการณส์ ว่ นใหญ่ท่อี าจเกดิ ขึ้นขณะเดนิ ทางท่องเท่ยี วในสถานทต่ี า่ ง ๆ
3. สามารถสอื่ สารโดยเช่ือมโยงหวั ข้อทค่ี ุ้นเคยหรือหวั ข้อทเี่ กี่ยวข้องความสนใจส่วนบุคคล
4. อธิบายประสบการณ์และเหตุการณ์ ความฝัน ความหวัง ความทะเยอทะยานและการให้

เหตุผลเบ้อื งต้น รวมทั้งสามารถอธบิ ายเกีย่ วกบั ความคิดเห็นและแผนการ
นักเรียนทม่ี ที ักษะภาษาอังกฤษระดับ B1 จะสามารถสือ่ สารไดด้ งั ต่อไปน้ี
ก า ร ก ำ ห น ด ค ำ อ ธ ิ บ า ย ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร ก า ร ส ื ่ อ ส า ร อ ย ่ า ง เ ป ็ น ท า ง ก า ร ถ ู ก ร ะ บุ เ พื่ อ
วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน การระบุทักษะอย่างละเอียดนี้สามารถช่วยประเมินระดับ
ทักษะภาษาอังกฤษของผู้มีความสามารถทางภาษาหรือช่วยเหลือครูผู้สอนในการประเมินระดับของ
นักเรียน ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับ B1 จะสามารถสื่อสารทุกอย่างท่ี
นกั เรียน ระดบั A2 สามารถทำไดแ้ ละจะมีทกั ษะเพ่มิ เติม ดงั ตอ่ ไปนี้
• พูดคุยเร่อื งส่วนตวั เป้าหมายด้านอาชพี และความฝันในอนาคต
• เตรยี มการสมั ภาษณง์ านและสมั ภาษณ์งานท่ีเกย่ี วกบั ความเชี่ยวชาญของตนเอง

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

14

• พูดเกี่ยวกบั พฤติกรรมการชมโทรทัศนแ์ ละรายการโปรดของตนเอง
• อธบิ ายถงึ การศกึ ษาของคุณและแผนฝึกอบรมในอนาคต
• พดู คุยเก่ียวกบั เพลงโปรด เพลงท่ีอยู่ในกระแสและการวางแผนเทยี่ วกลางคืนเพ่ือฟังดนตรสี ด
• พดู เกย่ี วกับการรกั ษาสขุ ภาพให้แขง็ แรง การให้และรบั คำแนะนำเกยี่ วกับสขุ ภาพ
• พูดเก่ยี วกับความสมั พนั ธแ์ ละการหาคู่ รวมถึงการพบกบั ผูค้ นผ่านสือ่ โซเชียล
• การเข้าร้านอาหาร สั่งอาหาร รว่ มสนทนาในม้อื เย็นอยา่ งสุภาพและชำระคา่ อาหาร
• สามารถมีส่วนร่วมในการเจรจาทีเ่ กี่ยวกับสายอาชีพ หากมีคนช่วยอธิบายให้เข้าใจในบาง

ประเดน็
• พูดคุยเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน รายงานการบาดเจ็บ การอธิบาย

กฎและข้อบังคบั
• พดู คุยเกี่ยวกับพฤตกิ รรมท่ีสุภาพและการตอบสนองอยา่ งเหมาะสมต่อพฤตกิ รรมที่ไมส่ ภุ าพ
ทกั ษะท่พี ัฒนาจะขน้ึ อยู่กบั ประเภทของหลักสูตรและนักเรียนแตล่ ะคน โดยนักเรยี นสามารถ
คาดหวังได้ว่าภาษาองั กฤษจะอยทู่ ร่ี ะดับ B1 เมื่อผ่านการเรียน 400 ช่ัวโมง

ภาษาองั กฤษระดบั B2
ภาษาอังกฤษระดับ B2 คือภาษาอังกฤษระดับท่ี 4 ตามกรอบความสามารถทางภาษา
CEFR โดยทั่วไปอาจเรียกระดับนี้ว่า “มีความมั่นใจ” เหมือนการกล่าวว่า “ฉันสามารถพูด
ภาษาอังกฤษได้ด้วยความมั่นใจ” คำที่ใช้เรียกอย่างเป็นทางการคือ “ระดับกลางสูง” ในระดับน้ี
นักเรียนสามารถทำงานได้อย่างอิสระในเชิงวชิ าการและใชภ้ าษาอังกฤษได้เหมือนผูเ้ ช่ียวชาญ แต่จะมี
ข้อจำกัดของความไม่ตอ่ เนื่องและความแม่นยำเล็กน้อย
ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับ B2 สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานและสื่อสารกับผู้ท่ี
ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษาในองค์กรระหว่างประเทศที่ใช้งานภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีทักษะ
ภาษาอังกฤษระดับ B2 ยังคงขาดความเชี่ยวชาญทางการใช้ภาษานอกเหนือสายอาชพี อยู่เล็กนอ้ ย ซ่ึง
อาจมีข้อพลาดในรายละเอียดปลีกย่อยและการแปลความหมายในการสนทนาบางอย่ างตามเกณฑ์
มาตรฐาน CEFR อย่างเป็นทางการ ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษอยู่ในระดับ B2 จะสามารถสื่อสารได้
ดังตอ่ ไปนี้
1. เข้าใจจดุ ประสงค์ของประเด็นท่ีมีความซบั ซ้อนทง้ั รปู ธรรมและนามธรรม รวมถึงการพูดคุย

เทคนิคในเรอ่ื งที่มคี วามเช่ียวชาญ
2. สามารถโต้ตอบอย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติโต้ตอบกับผู้พูดที่เป็นเจ้าของภาษาได้

โดยไม่มคี วามเครง่ เครยี ด

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

15

3. สามารถสร้างถ้อยคำที่ชัดเจนและมีความละเอียดในหัวข้อที่หลากหลาย อธิบายมุมมอง
เกี่ยวกับปญั หาเฉพาะท่ีมีความไดเ้ ปรยี บและเสียเปรียบ

นักเรยี นทม่ี ีทักษะภาษาอังกฤษระดบั B2 จะสามารถส่ือสารได้ดงั ต่อไปน้ี
ก า ร ก ำ ห น ด ค ำ อ ธ ิ บ า ย ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร ก า ร ส ื ่ อ ส า ร อ ย ่ า ง เ ป ็ น ท า ง ก า ร ถ ู ก ร ะ บุ เ พื่ อ
วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน การระบุทักษะอย่างละเอียดนี้สามารถช่วยประเมินระดับ
ทักษะภาษาอังกฤษของผู้มีความสามารถทางภาษาหรือช่วยเหลือครูผู้สอนในการประเมินระดับของ
นักเรียน ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับ B2 จะสามารถสื่อสารทุกอย่างท่ี
นักเรียนระดับ B1 สามารถทำได้ และจะมีทกั ษะเพมิ่ เตมิ ดงั ต่อไปน้ี
• เข้าร่วมการประชุมในเรื่องที่มีความเชี่ยวชาญหากได้รับความช่วยเหลือในการทำความเข้าใจ

บางส่วน
• พดู คุยเรือ่ งปญั หาทางเพศท่เี กย่ี วข้องกบั ความหยาบคายและบรรทัดฐานทางวฒั นธรรม
• พดู คุยเก่ียวกบั การเงนิ สว่ นตวั ใหค้ ำแนะนำทางการเงินแก่เพอ่ื นและเพื่อนรว่ มงาน
• พูดคยุ เร่ืองชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัวและดา้ นการงาน รวมถงึ การอธบิ ายเก่ียวกับชีวติ ในทท่ี ำงาน
• อธิบายวฒุ กิ ารศกึ ษา ประสบการณ์ จุดแข็งและจดุ อ่อน พดู คุยเกีย่ วกบั เส้นทางอาชีพ
• พูดคุยเกย่ี วกับแนวความคิดและแนวทางที่จะใช้ในการปรบั ปรุงประสทิ ธิภาพการทำงาน
• พูดคยุ ถึงส่ิงที่คุณชอบอา่ นและแนะนำเร่อื งดี ๆ ทเ่ี หมาะสำหรับการอา่ น
• ใช้ภาษาอยา่ งเหมาะสมในสถานการณ์ทางสังคม รวมถึงการชน่ื ชมและแสดงความเสยี ใจ
• พดู คยุ เกีย่ วกับคณุ สมบตั ิของการเปน็ ผู้นำและผ้นู ำที่ชนื่ ชอบ
• รับมือกบั สถานการณ์ท่ซี บั ซ้อนทเ่ี กิดขนึ้ ในสังคมและธรุ กิจ
• พดู คยุ เร่อื งการเมืองท่วั ไปและพฤติกรรมของนกั การเมือง
ทักษะที่พัฒนาจะขึ้นอยูก่ ับประเภทของหลักสูตรและนักเรยี นแต่ละคน โดยนักเรียนสามารถ
คาดหวังได้วา่ ภาษาอังกฤษจะอยู่ท่ีระดับ B2 เม่อื ผ่านการเรยี น 600 ชวั่ โมง

ภาษาองั กฤษระดบั C1

ภาษาอังกฤษระดับ C1 คือภาษาอังกฤษระดับที่ 5 กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR
โดยทั่วไปอาจเรียกระดับนี้ว่า “ระดับสูง” ในระดับน้ีนักเรียนสามารถสื่อสารได้อย่างอิสระและมี
ความแม่นยำมากเกยี่ วกับหวั ขอ้ ท่ีหลากหลายในเกือบทุกเรื่องโดยไมต่ ้องเตรียมตวั ล่วงหน้า

ผู้มีความสามารถภาษาอังกฤษระดับ C1 สามารถสือ่ สารในการทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบหรือ
ภายใตส้ ภาพแวดลอ้ มเชงิ วิชาการ ระดบั C1 คือการใชท้ ักษะไดอ้ ย่างเต็มที่ในประเทศท่ีพดู ภาษาอังกฤษ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

16

ตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR อย่างเป็นทางการ ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษอยู่ในระดับ C1 จะสามารถ
สอ่ื สารได้ดังต่อไปนี้

1. เขา้ ใจความตอ้ งการท่ีหลากหลาย ข้อความทีย่ าวข้ึนและตระหนักถงึ ความหมายโดยนัย
2. สามารถแสดงความคดิ ไดอ้ ย่างคล่องแคล่วและเปน็ ธรรมชาตโิ ดยไมใ่ ชเ้ วลามากนัก
3. สามารถใช้ภาษาได้อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสำหรับการสื่อสารในระดับสังคม

วชิ าการและด้านอาชพี
4. สามารถสรา้ งถอ้ ยคำท่ีชดั เจน มโี ครงสรา้ งดี ใหร้ ายละเอยี ดเก่ยี วกับเรอ่ื งทีซ่ บั ซอ้ น ใชแ้ บบ

แผนการส่ือสาร คำเชือ่ มและการเช่อื มโยงความ
นักเรียนทีม่ ที ักษะภาษาองั กฤษระดับ C1 จะสามารถส่ือสารได้ดงั ต่อไปน้ี
ก า ร ก ำ ห น ด ค ำ อ ธ ิ บ า ย ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร ก า ร ส ื ่ อ ส า ร อ ย ่ า ง เ ป ็ น ท า ง ก า ร ถ ู ก ร ะ บุ เ พื่ อ
วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน การระบุทักษะอย่างละเอียดนี้สามารถช่วยประเมินระดับ
ทักษะภาษาอังกฤษของผู้มีความสามารถทางภาษาหรือช่วยเหลือครูผู้สอนในการประเมินระดับของ
นักเรียน ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับ C1 จะสามารถสื่อสารทุกอย่างท่ี
นกั เรยี นระดบั B2 สามารถทำได้ และจะมีทักษะเพิม่ เตมิ ดงั ต่อไปนี้
• พูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของความสำเร็จ รวมทั้งการสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมประสบ

ความสำเรจ็
• พูดคุยถงึ รายละเอยี ดบางอย่างเก่ียวกบั ภาพวาดและสถาปัตยกรรมของอาคารท่ชี ่ืนชอบ
• ถกปญั หาทางสงั คม วิธีแก้ปญั หาทเ่ี ปน็ ไปไดแ้ ละบทบาททอ่ี งค์กรสามารถทำได้
• รว่ มสนทนาเกยี่ วกบั การอนุรักษ์ การพัฒนาอยา่ งยง่ั ยืนและการปกปอ้ งแหล่งท่ีอย่อู าศยั
• พูดเกี่ยวกบั เหตกุ ารณ์และปญั หาในขา่ ว ผลกระทบต่อผูค้ นและเพอ่ื นรว่ มงาน
• พูดเกยี่ วกับความเสีย่ งในชวี ิต รวมถงึ การเปล่ียนงานและการเลน่ กีฬาท่ีอันตราย
• เปรยี บเทยี บและเทียบเคยี งรูปแบบการศึกษาและโรงเรยี น
• โต้ตอบดว้ ยมกุ ตลก รวมถงึ รปู แบบท่ีซับซอ้ น เช่น การเสียดสี
• เข้าใจรูปแบบของการสื่อสารต่าง ๆ รวมถึงทางตรง ทางอ้อม เป็นทางการและไม่เป็น

ทางการ
• พดู คยุ ถงึ ปญั หาดา้ นคุณภาพชวี ติ รวมถงึ ความสมดลุ ของชีวติ การทำงานและที่บ้าน
• เข้าใจและสามารถพดู คุยเก่ียวกับปญั หาด้านจริยธรรม เช่น การฝา่ ฝืนจารตี
ทักษะที่พัฒนาจะข้ึนอยูก่ ับประเภทของหลักสูตรและนักเรียนแต่ละคน โดยนักเรียนสามารถ
คาดหวงั ได้ว่าภาษาอังกฤษจะอยทู่ ่ีระดับ C1 เมอื่ ผา่ นการเรยี น 800 ช่ัวโมง

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

17

ภาษาองั กฤษระดบั C2
ภาษาอังกฤษระดับ C2 คือภาษาอังกฤษระดับที่ 6 และเป็นระดับสูงสุดตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR โดยทั่วไปอาจเรียกระดับนี้ว่า “พูดได้สองภาษา” เหมือนการกล่าว
ว่า “ฉันพูดไดส้ องภาษาทั้งภาษาอังกฤษและฝร่งั เศส” เจ้าของภาษาอังกฤษท่ีมีพน้ื ความรู้ดีจะมีทักษะ
อยู่ท่ีระดับ C2ผู้เรียนภาษาอังกฤษจำนวนน้อยในระดับนี้ เนื่องจากเป้าหมายเกี่ยวกับอาชีพหรือ
เปา้ หมายทางวิชาการทีไ่ ม่จำเปน็ ต้องใช้
ผู้ทมี่ ภี าษาองั กฤษระดับ C2 คือระดบั ของเจา้ ของภาษา สามารถอ่านและเขียนเกยี่ วกับหัวข้อ
ทุกประเภท แสดงทางอารมณ์และความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการมีส่วนร่วมทางวิชาการ
หรือด้านอาชีพตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR อย่างเป็นทางการ ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษอยู่ใน
ระดบั C2 จะสามารถส่ือสารได้ดงั ตอ่ ไปน้ี
1. เข้าใจทกุ เร่ืองท่ีฟงั หรืออ่านได้อย่างงา่ ยดาย
2. สามารถสรุปคำพูดและข้อความจากแหล่งที่มาต่าง ๆ สร้างข้อโต้แย้งและใช้ในการนำเสนอท่ี

สอดคลอ้ งกัน
3. สามารถแสดงออกและส่ือสารได้อย่างเป็นธรรมชาติ คล่องแคล่วและแม่นยำมาก รวมถึง

สามารถแยกแยะความหมายท่ใี กล้เคียงกนั ของสถานการณท์ ่มี ีความซบั ซ้อน
นักเรียนที่มีทักษะภาษาองั กฤษระดับ C2 จะสามารถส่ือสารไดด้ ังตอ่ ไปน้ี
ก า ร ก ำ ห น ด ค ำ อ ธ ิ บ า ย ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร ก า ร ส ื ่ อ ส า ร อ ย ่ า ง เ ป ็ น ท า ง ก า ร ถ ู ก ร ะ บุ เ พื่ อ
วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน การระบุทักษะอย่างละเอียดนี้สามารถช่วยประเมินระดับ
ทักษะภาษาอังกฤษของผู้มีความสามารถทางภาษาหรือช่วยเหลือครูผู้สอนในการประเมินระดับของ
นักเรียน ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับ C2 จะสามารถสื่อสารทุกอย่างท่ี
นักเรียนระดับ C1 สามารถทำได้ และจะมีทกั ษะเพมิ่ เตมิ ดงั ตอ่ ไปน้ี
• พดู คยุ หวั ขอ้ ทางวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถงึ หุน่ ยนต์และนวัตกรรมใหม่
• พดู เกี่ยวกับบคุ คลท่มี ีชอื่ เสียง นกั กิจกรรมที่มชี ่อื เสียงและข่าวซบุ ซบิ ของคนดงั
• ใชเ้ ทคนคิ หลากหลายเพ่ือเสรมิ ความคดิ สรา้ งสรรค์ในคำพูดและการเขยี น
• พูดคุยเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน ให้ข้อเสนอแนะและเข้าใจคำแนะนำเรื่องการเงิน

สว่ นบุคคล
• พดู เกย่ี วกับความเครียดในชวี ติ ของตวั เอง รวมถึงของเพือ่ นและเพือ่ นร่วมงาน
• พดู คยุ ถงึ เทคนิคการทำวิจยั เกีย่ วกับหัวขอ้ ต่าง ๆ
ทักษะที่พัฒนาจะขึ้นอยูก่ ับประเภทของหลักสูตรและนกั เรียนแต่ละคน โดยนักเรียนสามารถ
คาดหวงั ได้ว่าภาษาองั กฤษจะอยูท่ ีร่ ะดับ C2 เมอ่ื ผา่ นการเรียน 1000 ชั่วโมง

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

18

การสอนภาษาองั กฤษเพือ่ การสอ่ื สาร
(Communicative Language Teaching : CLT)

หลักการสอนภาษาอังกฤษแนวสื่อสารนับว่าเป็นการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นในเรื่องของ
ความหมาย (Meaning) มากกว่ารูปแบบทางภาษา (Form) เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสนทนาจาก
สถานการณ์จริงโดยเลือกใช้ภาษาได้เหมาะสมกับบริบทเปน็ สำคัญ ไม่เนน้ การท่องกฎเกณฑ์ทางภาษา
หรือไวยากรณ์แต่เรียนรู้เพื่อใช้ภาษาสื่อความหมายเทียบเท่ากับการเรียนรู้โครงสร้าง เสียง และ
คำศัพท์ มีการทำแบบฝึกหัดทางภาษา (Drill) แต่ไม่ได้เน้นหนักมากเหมือนวิธีการสอนแบบตรง
(Direct Method) และแบบเนน้ ไวยากรณ์ เนน้ การออกเสียงได้อยา่ งถูกต้องมากกวา่ การพยายามออก
เสียงให้เหมือนกับเจ้าของภาษา มกี ารฝกึ การใช้ภาษาครบท้ังสี่ทักษะส่ือสาร ใหค้ วามสำคัญกับผู้เรียน
ด้านการสื่อสารคล่องแคล่ว (Fluency) มากกว่าความถูกตอ้ งของการใชภ้ าษา (Accuracy) มีการแกไ้ ข
ในเรื่องของข้อผิดพลาดการใช้ภาษาของผู้เรียน (Error Correction) โดยพยายามให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้และแก้ไขข้อผิดพลาดทางภาษาด้วยตนเอง ผู้สอนจะกระตุ้นด้วยการสร้างสถานการณ์หรือ
สภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษาสื่อสารออกมาให้ได้มากที่สุด ซึ่งกิจกรรมการสื่อสาร
(Communicative Activities) เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนนำมาใช้ในการสอนภาษาอังกฤษแนวสื่อสาร โดย
แบ่งประเภทของกิจกรรมสื่อสารออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1) กิจกรรมเพื่อการสื่อสาร (Functional
Communication Activities) เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนฝึกให้ผู้เรียนพัฒนาและใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร
ความหมายตามหน้าที่ของภาษา (Function) และ 2) กิจกรรมปฏิสัมพนั ธใ์ นสังคม (Social Interaction
Activities) เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ผู้เรียนพัฒนาและใช้ภาษาอังกฤษส่ือสารกับบุคคลในสังคมต่างๆ
เช่น กิจกรรมการสนทนา การโต้วาที การอภิปราย การแสดงละคร สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมติ
(ธปู ทอง กว้างสวาสด,ิ์ 2549, หนา้ 2-5)

ความหมายของการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสอ่ื สาร

การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT)
เปน็ แนวคิดในการสอนภาษาท่ีมงุ่ เน้นความสำคัญของตวั ผ้เู รยี น ใหผ้ ูเ้ รียนไดใ้ ชภ้ าษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสาร
ในชีวิตประจำวันได้จริง มีการจัดลำดบั การเรยี นรูเ้ ปน็ ขั้นตอนตามกระบวนการใชค้ วามคิดของผู้เรยี น
ซึ่งเชื่อมระหวา่ งความรูท้ างภาษา ทักษะทางภาษา และความสามารถในการสื่อสารเพื่อให้ผู้เรียนต้อง
คำนึงถงึ การส่อื สารในชีวติ จริง กิจกรรมและภาระงานต่าง ๆ ที่เก่ยี วขอ้ งกับการสอื่ สารจริง ส่ือท่ใี ชเ้ ป็น
สอ่ื จริง แตไ่ ม่ไดล้ ะเลยความรู้ดา้ นไวยากรณ์ เมอื่ เกิดความผดิ พลาดทางด้านไวยากรณเ์ พยี งเล็กน้อยแต่
ยังสามารถสื่อสารได้ ครูผู้สอนไม่ควรขัดจังหวะโดยการแก้ไขให้ถูกต้องทันที ควรแก้ไขเมื่อความผิดพลาด
นั้นทำให้เกิดความไม่เข้าใจหรือส่ือสารไม่ประสบความสำเร็จเท่านัน้ ทั้งนี้เพื่อทำให้ผู้เรยี นมีเจตคติทีด่ ี

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

19

ต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Davies and Pearse, 2000, p 208 ; Brown, 2001, p 5 ;
Richard, 2006, p 2)

องคป์ ระกอบของค์วามสามารถในการส่ือสารไว้ 4 องคป์ ระกอบ (Canale and Swain, 1980
อา้ งถึงในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ม.ป.ป. หน้า 37 - 38) ดงั น้ี

1. ความสามารถทางด้านไวยากรณ์หรือโครงสร้าง (Linguistic competence and
Grammatical competence) หมายถึง ความรู้ด้านภาษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ โครงสร้าง
ของคำ ประโยค ตลอดจนการสะกดและการออกเสียง

2. ความสามารถด้านสังคม (Sociolinguistic competence) หมายถึง การใช้คำและ
โครงสร้างประโยคได้เหมาะสมตามบริบทของสังคม เช่น การขอโทษ การขอบคุณ การถามทิศทาง
และขอ้ มลู ตา่ ง ๆ และการใช้ประโยค คำส่ัง เป็นตน้

3. ความสามารถในการใช้โครงสร้างภาษาเพื่อการส่ือความหมายด้านการพูดและเขียน
(Discourse competence) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมระหว่างโครงสร้างภาษากับ
ความหมายในการพูดและการเขยี นตามรปู แบบและสถานการณ์ท่ีแตกตา่ งกนั

4. ความสามารถในการใช้กลวิธใี นการส่ือความหมาย (Strategic competence) หมายถึง
การใช้เทคนิคเพื่อให้การติดต่อส่ือสารประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการส่ือสารด้านการพูด เช่น
การใช้ภาษาทา่ ทาง (Body language) การขยายความโดยใช้คำศพั ทอ์ ื่นแทนคำที่ผพู้ ูดนึกไม่ออก เปน็ ต้น

หลกั การเรียนการสอนภาษาองั กฤษเพื่อการส่ือสาร

การจัดการเรียนการสอนภาษาองั กฤษเพ่ือการสื่อสารมีหลักสำคัญ ดังนี้
1. ผู้เรยี นได้รบั การฝึกฝนรูปแบบภาษาท่ีเรียนจะใช้ได้ในสถานการณ์ที่มีความหมายครูต้อง
บอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน การฝึกการใช้ภาษาเพื่อให้การเรียนภาษาเป็นสิ่งที่มี
ความหมายต่อผู้เรียนให้ผูเ้ รียนรู้สึกว่าเมื่อเรียนแล้วสามารถทำบางอย่างได้เพิ่มขึ้น สามารถสื่อสารได้
ตามทีต่ นตอ้ งการ
2. จัดการเรียนการสอนแบบบรู ณาการหรอื ทักษะสมั พันธ์ (Integrated skill) คือ ใช้ทกั ษะ
ภาษาท้งั 4 ประกอบด้วย กรยิ าท่าทางทค่ี วรจะได้ทำพฤตกิ รรมเช่นเดียวกับในชวี ิตจริง
3. ฝึกสมรรถภาพด้านการสื่อสาร (Communicative competence) คือ ผู้เรียนทำ
กิจกรรมใช้ภาษามีลักษณะเหมือนในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดเพื่อให้ผู้เรยี นนำไปใช้ได้จริง กิจกรรม
การหาข้อมูลที่ขาดหายไป (Information gap) ผู้เรียนทำกิจกรรมนีจ้ ะไมท่ ราบขอ้ มูลของอีกฝ่ายหนึง่
จำเป็นต้องสื่อสารกันจึงทราบข้อมูล สามารถเลือกใช้ข้อความที่เหมาะสมกับบทบาท สถานการณ์
สำนวนภาษาในรปู แบบต่าง ๆ (Function)

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

20

4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้รับ
สามารถแสดงความเห็น หรือระดมสมอง (Brainstorming activity) ฝึกการทำงานกลุ่มแสดงบทบาท
สมมติ (Role Play) เกมจำลองสถานการณ์ (Simulation) การแก้ปญั หา (Problem solving)

5. ฝึกผู้เรียนให้ใช้ภาษาในกรอบของค์วามรู้ทางด้านหลักภาษา ( Grammatical
competence) ความรเู้ กยี่ วกับกฎเกณฑ์ของภาษา สอื่ สารไดค้ ล่องแคลว่ (Fluency) เนน้ การใชภ้ าษา
ตามสถานการณ์ (Function)

5.1 จดั กิจกรรมการเรยี นการสอนตามศักยภาพ
5.2 ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง มีความรับผิดชอบและสนับสนุนให้ศึกษาหา
ความรู้นอกช้ันเรียน
5.3 ผู้สอนต้องจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนท่ีสนองค์วามสนใจของผเู้ รียน
5.4 ให้โอกาสผเู้ รียนพดู แสดงความคดิ เหน็ ตามทีต่ อ้ งการ
5.5 ต้องช่วยชี้แนะ นำทางผู้เรียนให้คำแนะนำในระหว่างการดำเนินกิจกรรมพร้อมกับ
ตรวจความก้าวหนา้ ทางการเรยี นของผเู้ รยี น
ข้อสรุป 10 ประการในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Ten core assumptions
of current Communicative Language Teaching, Richards, 2006, pp 22 - 23) ดงั นี้
1. Interaction: การเรยี นรู้ภาษาที่สองจะเกิดข้นึ ไดง้ ่ายถ้าผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์หรือสื่อสาร
ในภาษาน้ันอย่างมคี วามหมาย
2. Effective tasks: กจิ กรรมภาษาหรือแบบฝึกหัดที่มีคุณภาพในชั้นเรยี นจะทำให้ผู้เรียนมี
โอกาสที่จะสื่อความหมายในภาษา เพิ่มพูนแหล่งการเรียนรู้ภาษา สังเกตการณ์ใช้ภาษาและมีส่วนใน
การร่วมส่อื สาร
3. Meaningful Communicative: การสื่อสารจะมีความหมายก็ตอ่ เมื่อผ้เู รียนส่ือสารเรื่อง
เก่ยี วข้องกบั ตน น่าสนใจและนา่ มสี ว่ นรว่ ม
4. Integration of Skills: การสอ่ื สารเปน็ กระบวนการเนน้ ภาพรวม (holistic process) ท่ี
ตอ้ งใชท้ ัง้ ทักษะทางภาษาและหลายรปู แบบ
5. Language Discovery/Analysis/ Reflection: การเรียนภาษาเกิดจากการทำกิจกรรม
การเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive learning) คือ ผ่านกระบวนการค้นพบกฎและรูปแบบของภาษา
ด้วยตนเอง จากกิจกรรมการเรียนรู้ทสี่ อนกฎและรปู แบบของภาษา (Deductive learning)
6. Accuracy &Fluency: การเรียนภาษาเป็นการเรียนรู้ที่ค่อยเป็นค่อยไปที่ผู้เรียนเรียนรู้
จากการใช้ภาษาและจากการลองผิดลองถูกในภาษาถึงแม้จะเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นในการเรียนรู้

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

21

แต่เป้าหมายปลายทางของการเรียนภาษา คือ การมีความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้องและ
เหมาะสม

7. Individuality: ผเู้ รียนแตล่ ะคนมหี นทางพัฒนาภาษาของตนเอง และมีอัตราการพฒั นา
ท่ีไมเ่ ทา่ กันและมีความต้องการและแรงจูงใจในการเรยี นภาษาท่ตี า่ งกนั

8. Learning and Communication Strategies: การเรียนภาษาที่มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่
กับกลยุทธใ์ นการเรยี นและกลยทุ ธ์การสอ่ื สารท่ีมปี ระสิทธภิ าพ

9. Teacher as a facilitator: บทบาทของผู้สอนในห้องเรียน คือ ผู้ช่วยสร้างบรรยากาศ
ในการเรียนรู้ สร้างโอกาสให้ผูเ้ รียนได้ฝึกภาษา ให้ผลสะท้อนกลับในการใชภ้ าษา การเรียนภาษาของ
ผเู้ รยี นและแบ่งปันการเรียนรซู้ ง่ึ กันและกัน

10. Collaboration & Sharing atmosphere: ห้องเรียนเปรียบเสมือนชุมชนที่ผู้เรียน
สามารถเรียนรู้ละแบ่งปนั การเรยี นรซู้ ่งึ กนั และกัน

ลอตตี้ เบเคอร์ และ เจเน็ต ออร์ (Lottie Baker & Janet Orr, 2014 อ้างถึงในสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้นั พื้นฐาน, ม.ป.ป. หนา้ 40 - 41) ได้สรุปการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารตาม
หลกั ทฤษฎแี ละงานวิจัยไว้ 4 ประการ ดังนี้

1. เน้นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพด้วยความถูกต้องและคล่องแคล่ว (A focus on
effective communication with accuracy and fluency) ความสามารถในการสื่อสารเป็น
เป้าหมายของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นสัมพันธ์กับความถูกต้อง
ในดา้ นไวยากรณ์ และคำศพั ท์ซึง่ ต้องคว์ บคไู่ ปกับความคล่องแคล่วในการพูดและการเขยี น

2. ความกล้าใช้ภาษาในการร่วมกิจกรรมกลุ่ม (Risk – taking in co-operative groups)
กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกันแสดงถึงการเพิ่มปฏสิ ัมพนั ธ์ระหว่างผ้เู รียน ซ่ึงเปดิ โอกาสให้ผู้เรียนได้
ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนั้นมีความสำคัญยิ่งต่อการเริ่มใช้ภาษาของนักเรียนทีป่ ระหมา่
ในการพูดต่อหน้ากลุ่มใหญ่ กิจกรรมในกลุ่มเล็ก ๆ นั้นสร้างแรงจูงใจในการใช้ภาษาและกระตุ้น
นกั เรยี นให้กล้าเสี่ยงในการใช้คำศพั ท์และโครงสรา้ งภาษาใหม่

3. เช่ือมโยงกบั ความหมายและบรบิ ท (Connected to meaning and context) ในการสอน
ภาษาเพื่อการสื่อสารนั้น นักเรียนจะมีพัฒนาการทางภาษาด้วยการใช้ภาษาในชีวิตจริงสอดคล้องกับ
ทฤษฎีทางสังคมวัฒนธรรมของวายกอทสกี (Vygotsky) ที่ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับการสอนภาษาเพื่อ
การสื่อสารไว้ว่า “วิธที ่ีดีทส่ี ุดท่จี ะเรียนรู้และสอนภาษา คือ การปฏิสมั พันธ์ทางสังคม ภาระงานด้านภาษา
ควรเชอ่ื มโยงกับบริบทของชวี ิตจรงิ ท่ีมีความหมายต่อนกั เรียน

4. ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical thinking skill) ทักษะการคิดวิเคราะห์มีความสำคัญ
มากขนึ้ สำหรบั นักเรยี นในทกุ สาขาวิชา ไม่เพียงแต่ดา้ นภาษาเทา่ นั้น ทฤษฎกี ารคดิ ที่รจู้ กั กันแพร่หลาย
คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม (Blooms taxonomy) ซึ่งนักเรียนจำเป็นต้องรู้จักทักษะ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

22

การคิดในระดบั สงู และระดับล่าง ทักษะในระดับลา่ ง คือการจำและความเข้าใจ เชน่ การจดจำคำศัพท์
ใหม่และเข้าใจวลีพื้นฐาน ทักษะในระดับสูง คือ การสังเคราะห์ ประเมินผล เช่น การรวบรวมข้อมูล
ย่อยในการเล่าเรื่อง หรือการแสดงความคิดเห็น และการตัดสินด้วยเหตผุ ล ทักษะการคิดวิเคราะห์ มี
ความสำคัญอย่างย่ิงต่อการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสาร เพราะภาระงานด้านการส่ือสารน้ัน ต้องบูรณาการ
ทั้งทักษะระดับล่างและระดับที่สูงขึ้น ในการสร้างภาษาใหม่นั้นนักเรียนต้องจดจำคำศัพท์ใหม่
สังเคราะห์ความคดิ และประเมนิ ทางเลอื กที่ดที ่ีสดุ ในการสื่อสาร

ข้ันตอนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพือ่ การส่ือสาร

ขั้นตอนการเรียนการสอนตามแนวการสอนเพ่ือการสื่อสารในท่ีนี้ขอกล่าววธิ ีการสอนแบบ 3P
หรือ P – P – P ซึ่งมีขั้นตอน 3 ขั้นตอน ดังริชาร์ด (Richard, 2006, p 8) และสุมิตรา อังวัฒนกุล
(2540, หนา้ 112 - 115) ไดส้ รปุ ขั้นตอนวิธีสอนภาษาอังกฤษเพอื่ การสื่อสาร ดงั นี้

1. ขั้นนำเสนอ (Presentation) เป็นการให้ตัวป้อนทางภาษา (Language Input) แก่
นักเรยี นซง่ึ จัดเป็นขนั้ การสอนที่สำคัญข้ันหนง่ึ ในขนั้ นคี้ รูจะนำเสนอเน้ือหาใหม่ โดยมงุ่ เนน้ ให้นักเรียน
ไดร้ บั รู้และทำความเข้าใจเก่ียวกับความหมายและรูปแบบภาษาท่ีใช้กนั จรงิ โดยทัว่ ไป รวมท้ังวิธีการใช้
ภาษาไม่ว่าจะเป็นด้านการออกเสียง ความหมาย คำศัพท์ และโครงสร้างไวยากรณ์ที่เหมาะสมกับ
สถานการณ์ตา่ ง ๆ ควบคู่กันไป

2. ขน้ั ฝึกปฏิบตั ิ (Practice) เป็นการฝกึ ให้ผู้เรียนมคี วามแมน่ ยำในรูปแบบภาษาเพ่ือจะได้
สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารต่อไป หลังจากที่ผู้เรียนได้รับรู้รูปแบบภาษาว่าเป็นอย่างไรและสื่อ
ความหมายอย่างไรในขั้นนำเสนอไปแล้ว ในขั้นนี้ควรเป็นการฝึกที่เน้นความหมาย (Meaningful drills)
เพราะผเู้ รียนมีความจำเป็นในการใชภ้ าษาเพื่อส่อื ความหมาย การฝึกเน้นความหมายหลายแบบ เชน่
ฝึกการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information gap) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role play) ฝึกดว้ ยการเล่นเกม
ท่มี ีการควบคมุ การใชภ้ าษา เป็นตน้

3. ขั้นนำไปใช้ (Production) เป็นการฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เปรียบเสมือนการถ่าย
โอนการเรยี นร้ภู าษาจากสถานการณ์ในชน้ั เรียนไปสู่การนำภาษาไปใช้จริง การฝึกใชภ้ าษาเพ่ือการส่ือสาร
โดยทั่วไป มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้ลองใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จำลองสถานการณ์จริงหรือที่เป็น
สถานการณ์จริงดว้ ยตนเอง โดยครูผู้สอนเป็นเพยี งผูแ้ นะนำแนวเท่าน้ัน สว่ นผู้เรยี นมหี น้าที่ในการผลิต
ภาษากิจกรรมที่ให้ผู้เรยี นปฏิบตั คิ วรเปน็ กจิ กรรมทใ่ี หผ้ เู้ รียนมคี วามต้องการและมจี ดุ มุ่งหมายในการสื่อสาร
และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกใช้ภาษาหรือเนื้อหาด้วยตนเองมากที่สุด อีกทั้งผู้เรียนควรจะได้
ประเมินผลการสื่อสารของตนจากผลสะท้อนกลับของผู้ร่วมสือ่ สารด้วย เพื่อให้การสื่อสารเหมือนจริง
มากท่ีสุด

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

23

หลังจากผู้เรียนได้ฝึกฝนและเข้าใจการใช้ภาษาได้พอสมควรแล้ว ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
นำความรู้และทักษะภาษาที่มีไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้อย่างอิสระ (Free Practice) ในกิจกรรม
สื่อสารต่าง ๆ เช่น บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง เกมทางภาษา การสำรวจ การหาข้อมูล ซ่ึง
รูปแบบการสอน 3P นี้ มแี นวคดิ พืน้ ฐานว่าภาษาเปน็ เครื่องมือท่ีใชใ้ นการส่ือสาร ดงั น้นั เป้าหมายของ
การสอนภาษา คอื ใหผ้ ู้เรยี นภาษาสามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสมในบริบทต่าง ๆ ทางสังคม (Social
Context) หรือสถานการณ์สื่อสารในชีวิตจริงทีม่ ีความแตกต่างและหลากหลาย (ธนกร สุวรรณพฤฒิ,
2558, หน้า 3) เมื่อตระหนกั ถึงปัญหาที่ผู้เรยี นไม่สามารถใช้ภาษาส่ือสารได้ แม้จะมีความรู้หลกั ภาษา
และโครงสร้างทางภาษาเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถพูดคุยสื่อสารหรือใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับบริบท
หรือสถานการณ์นั้น ๆ หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจึงมีเป้าหมายของการสอนให้ผู้เรียนสามารถ
สื่อสารได้ในสถานการณต์ ่าง ๆ เช่น การใชภ้ าษาตามหัวเรือ่ งและหน้าที่ภาษา (Notional-Functional
Language) ซึ่งเป็นหลักสูตรเน้นความจำเป็นต้องใช้ภาษาของผู้เรียนในสถานการณ์ชีวิตจริง การจัด
กิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนและการใช้ภาษาของผู้เรียน มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์
สือ่ สารทเี่ กิดขึน้ จริง (Authenticity) เพ่อื เตรยี มความพร้อมแก่ผู้เรียนในการใชภ้ าษานอกชั้นเรียนและ
ฝึกใช้ภาษาสื่อความหมายโดยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจนกระทั่งสามารถใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว
ถูกต้องและเหมาะสมกบั บริบท (Savignon, 1991, p 266)

แนวทางการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสอื่ สาร

แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Teaching Approach) (สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน, ม.ป.ป. หนา้ 41-42) เปน็ แนวการสอนท่ีมุ่งเนน้ ผู้เรียนเป็นสำคัญ
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกการใช้ภาษาในสถานการณ์จริงที่มีโอกาสพบใน
ชวี ติ ประจำวันและยังให้ความสำคัญกับโครงสร้างไวยากรณ์ แนวการเรียนการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสารให้
ความสำคัญกับการใชภ้ าษา (Use) มากกว่าวิธีใช้ภาษา (Usage) นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในเรื่อง
ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา (Fluency) และความถูกต้องของการใช้ภาษา (Accuracy) การจัด
การเรยี นการสอน จึงเนน้ หลกั สำคญั ดงั ต่อไปนี้

1. ต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ว่ากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ผู้สอนต้องบอกให้ผู้เรียนทราบถึง
ความมุง่ หมายของการเรียนและการฝึกใช้ภาษา เพ่ือใหก้ ารเรียนภาษาเปน็ สิ่งท่มี ีความหมายตอ่ ผเู้ รียน

2. การสอนภาษาโดยแยกเป็นส่วนๆ ไม่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ดี
เท่ากับการสอนในลักษณะบูรณาการในชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารจะต้องใช้ทักษะ
หลายทกั ษะบรู ณาการรว่ มกันไป ผู้เรียนควรจะไดฝ้ ึกฝนและใช้ภาษาในภาพรวม

3. ต้องให้ผเู้ รยี นได้ทำกิจกรรมการใชภ้ าษาท่ีมีลักษณะเหมือนในชีวิตประจำวันให้มากท่ีสุด

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

24

4. ต้องให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษามากๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ
ให้มากทสี่ ุดทจี่ ะเป็นไปได้

5. ผู้เรียนต้องไมก่ ลัววา่ จะใช้ภาษาผิด
ริชาร์ด (Richard, 2006, pp 27-30) ได้เสนอวิธีการสอนเพื่อการสื่อสารอีก 2 วิธี ที่เน้น
กระบวนการ คือ แนวการสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเปน็ ฐาน Content-Based Instruction (CBI) และ
แนวการสอนท่ียดึ ภาระงานเป็นฐาน Task-Based Instruction (TBI) โดยมรี ายละเอียดดังนี้
1. แนวการสอนภาษาโดยใชเ้ นื้อหาเปน็ ฐาน (Content-Based Approach) เป็นแนวการสอน
ที่เน้นเนื้อหาสาระการเรียนรูม้ าบูรณาการกบั จุดหมายของการสอนภาษา กล่าวคือ ให้ผู้เรียนใชภ้ าษา
เปน็ เคร่อื งมอื ในการเรียนรู้และในขณะเดียวกันก็พัฒนาการใชภ้ าษาเพื่อการส่ือสารไปด้วย ดงั นน้ั การคัดเลือก
เนื้อหาที่นำมาให้ผู้เรียนได้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเนื้อหาที่คัดเลือกมาจะต้องเอื้อต่อ
การบูรณาการการสอนภาษาท้ัง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรยี นสามารถ
พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ สามารถติดตาม ประเมนิ คา่ ข้อมลู และพฒั นาการเขียนเชิงวิชาการท่ี
เกี่ยวของกับเรื่องนั้นๆ ได้ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาในลักษณะองค์รวม (Whole Language
Learning)
2. แนวการสอนที่ยึดภาระงานเป็นฐาน (Task-Based approach) เป็นการเรียนรู้ภาษาที่
เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ในขณะที่ทำภาระงานให้สำเร็จ ความรู้ด้านคำศัพท์และโครงสร้างจะเป็นผลที่
ได้จากการฝึกใช้ภาษาในขณะทำกิจกรรม นิยมนำแนวคิดนี้ไปใช้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษา
เพราะเชื่อว่าการเรียนรู้ภาษาเกิดจากกระบวนการที่นั กเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานจนลุล่วงต าม
จดุ มุ่งหมายที่กำหนดไว้

องค์ประกอบกระบวนการเรียนการสอนตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพอื่ การสื่อสาร

กระบวนการเรียนการสอนตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ กิจกรรม เทคนิคการสอน และบทบาทของผู้เรียนและ
ครผู ู้สอน (สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน, ม.ป.ป. หน้า 43-45)

1. กจิ กรรม เปน็ องค์ประกอบที่มีความสำคัญมากในกระบวนการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสาร
เพราะเป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ภาษาในการสื่อสารที่สมจริงในห้องเรียน ริชาร์ด
(Richards, 2006, p 68) กล่าวว่า กิจกรรมที่ดีนั้นจะขึ้นอยูกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะของ
การจัดกิจกรรม

1.1 ลกั ษณะของกิจกรรมที่เออ้ื ตอ่ การเรียนการสอนภาษาเพ่ือการสอ่ื สาร มีดงั น้ี
1.1.1 กจิ กรรมสอดคลองกับจุดประสงคบ์ ทเรียน
1.2.1 กิจกรรมมีจดุ มงุ่ หมายในการใชภ้ าษาเพอื่ สอ่ื ความหมาย
1.1.3 กิจกรรมทำใหเ้ กดิ ความจำเปน็ ท่ีจะสื่อความหมาย

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

25

1.14 กิจกรรมเปิดโอกาสให้ผ้เู รียนรับรู้ผลของการส่อื ความหมาย
1.1.5 กจิ กรรมน่าสนใจเเละท้าทาย
1.1.6 กิจกรรมเปดิ โอกาสให้ผู้เรยี นมีโอกาสเลอื กตามความต้องการ
1.1.7 กจิ กรรมเปดิ โอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรแู้ ละประสบการณท์ มี่ ีอยู่
1.1.8 กิจกรรมฝึกให้ผ้เู รียนมกี ลยทุ ธก์ ารเรยี นรู้
1.2 ลักษณะของการจัดกิจกรรม การจัดกิจกรรมในการเรยี นการสอนภาษาอังกฤษเพอื่
การสื่อสารนั้นสามารถทำได้หลายลักษณะก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์หลายรูปแบบในชั้นเรียน เช่น
ปฏิสัมพันธ์ระหวา่ งผู้เรยี น - บทเรียน ผู้เรียน - ผู้เรียน ผู้เรียน - ครูผู้สอน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้
ภาษาในรูปแบบตา่ ง ๆ ลกั ษณะการจดั กิจกรรม ดงั น้ี
1.2.1 การจัดกิจกรรมรายบุคคล (Individual work) เป็นกิจกรรมที่ฝึกพึ่งตนเองใน
การเรียนรู้ (Autonomous learning) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมตามลีลาการเรียนรู้
Learning style) ในรูปแบบที่ตนต้องการ ในเวลาที่เหมาะสมกับตนเองและสามารถทำได้นอกช้ัน
เรียน กิจกรรมที่เหมาะสมกับกิจกรรมรายบุคคล ได้แก่ การอ่านหนังสือนอกเวลา การเล่นเกมต่าง ๆ
เชน่ เกมปริศนาอกั ษรไขว้ เกมสร้างคำ เปน็ ตน้
1.2.2 การจัดกิจกรรมแบบคู่ (Pair work) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมใหผ้ ู้เรียนมปี ฏิสัมพันธ์
ระหว่างผู้เรียนด้วยกันที่จะต้องคิดและทำร่วมกัน (Collaborative learning) ทำให้เกิดการใช้ภาษาใน
สถานการณ์ที่เหมือนจรงิ อย่างไรกต็ าม ระหว่างทำกิจกรรมครูผูส้ อนจะเป็นผู้ควบคมุ คอยให้ความช่วยเหลือ
เมื่อผู้เรียนต้องการ กิจกรรมที่เหมาะสมกับกิจกรรมรายคู่ ได้แก่ การถามหาข้อมูลที่ตนขาดหายไปจากคู่
ของตน (Information gap) การแสดงบทบาทสมมติ (role-play) เปน็ ต้น
1.2.3 การจัดกิจกรรมแบบกลุ่ม (Group work) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมี
ภาวะอสิ ระ (Autonomy) ลดการพึ่งครผู ู้สอน จำนวนผเู้ รยี นในแต่ละกลุ่มขึ้นอยูล่ ักษณะงานแต่ไม่ควรเกิน
6 คน กิจกรรมที่เหมาะสมกับกิจกรรมแบบกลุ่ม ได้แก่ การอภิปราย (Discussion) การอ่านและฟัง
ส่วนต่าง ๆ ของเรื่องราวแล้วนำส่วนเหล่านี้มาปะติดปะต่อกัน (Jigsaw reading/listening) การช่วย
หาข้อมูลเพอื่ มาทำโครงงานการเล่นเกมตา่ ง ๆ เช่น เกมต่อคำ เกมย่ีสิบคำถาม เป็นต้น
1.2.4. การจัดกิจกรรมแบบทำร่วมกันทั้งชั้น (Class work) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้
ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับครูผู้สอน เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนทำพร้อมกันทั้งห้อง ครูผู้สอนสามารถชี้นำและ
ควบคุมกิจกรรมได้มากกว่ากิจกรรมที่จัดในลักษณะอื่น กิจกรรมที่เหมาะสมกับกิจกรรมแบบทำ
รวมกันทั้งชั้น ได้แก่ การฝึกออกเสียงคำ ฝึกการอ่านออกเสียง การทำตามคำสั่ง การอภิปรายแสดง
ความคิดเหน็ เป็นต้น

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

26

2. เทคนคิ การสอน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร
เพราะเทคนิคการสอนที่เหมาะสมจะช่วยให้การเรียนการสอนเพื่อการสื่อสารประสบความสำเร็จ
เทคนิคการสอนทม่ี ีประสทิ ธภิ าพ ได้แก่

2.1 ให้ผู้เรียนได้พบและได้ใช้ภาษาในการสื่อสารให้มากที่สุด การสื่อสารที่สมจริง คือ
การท่ีผเู้ รยี นมงุ่ ความสนใจไปที่สารที่ส่อื ออกมาหรือสารท่ตี ้องการส่ือออกไป ไม่ใช่ม่งุ ท่ีตวั ภาษา

2.2 ใช้อุปกรณและสื่อการสอนที่ช่วยให้ผูเ้ รียนเข้าใจภาษาได้ง่ายข้ึน สื่อตามแนวการสอน
CLT ประกอบด้วย

2.2.1 เนื้อหา (Text-based materials) คือ แบบเรียนที่จัดกิจกรรมเน้นการสอน
CLT เชน่ มีกิจกรรมให้ผเู้ รียนแสดงบทบาทสมมติ กจิ กรรมคู่หรือกิจกรรมกล่มุ

2.2.2 งาน/กิจกรรม (Task-based materials) คือ สื่อที่เน้นการทำกิจกรรมและ
ภาระงานทีเ่ น้นให้ผูเ้ รียนได้ทำงานกล่มุ เพ่อื ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

2.2.3 ส่อื จรงิ (Realia/Authentic materials) คือ สื่อที่ใช้จรงิ ในชีวิตประจำวนั เชน่
ปา้ ยประกาศ โฆษณา รูปภาพ แผนที่ แผนพบั และหนงั สอื พมิ พ์ เปน็ ตน้

2.3 หาวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกเครียดระหว่างเรียนและสร้างบรรยากาศที่ทำให้
ผเู้ รยี นไมอ่ ายเวลาตอบผดิ

2.4 ศึกษาความสนใจของผู้เรียนและแทรกสิ่งที่ผู้เรียนสนใจไว้ในบทเรียนด้วยและ
ครูผสู้ อนควรเรยี นรู้ด้วยวา่ ผ้เู รยี นชอบทำงานกับผใู้ ด

2.5 เน้นกระบวนการเรียนรขู้ องผู้เรยี น (Process) มากกวา่ ผลงานการเรียนรู้ (Product)
3. บทบาทของครูผู้สอนและผู้เรียน ริชาร์ด (Richards, 2006, p 5) ได้เสนอบทบาทครู
และผ้เู รียนที่ต้องปรบั เปลีย่ นในการจัดการเรยี นการสอนภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสาร ดังน้ี

3.1 บทบาทครูผู้สอน (Teacher’s role) ครูมีบทบาทเป็นผู้เตรียมและดำเนินการจัด
กจิ กรรมเพ่อื การสื่อสารใหผ้ ู้เรียนไดม้ ีโอกาสใชภ้ าษาใหม้ ากที่สุด ครูผู้สอนจะควบคมุ การเรยี นในช่วงที่
มกี ารฝึกรปู แบบภาษาเทา่ นั้น แต่ในชว่ งที่ใหผ้ ้เู รยี นใช้ภาษาครูผสู้ อนจะลดบทบาทลงเป็นเพียงผู้กำกับ
รายการคอยให้ความสะดวกตลอดจนให้ความช่วยเหลือเมื่อผู้เรียนต้องการเท่านั้น ครูจะกระตุ้นให้
กำลังใจ ช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้ได้ความหมายและถูกต้องตามหลัก
ไวยากรณ์ อันเป็นการเชื่อมช่องว่างระหว่างความสามารถทางไวยากรณ์ Grammar competence)
และความสามารถทางด้านส่ือสาร (Communicative competence) ของผเู้ รียน และครผู สู้ อนจะไม่
ขัดจังหวะในขณะที่ผู้เรียนกำลังใช้ภาษาถึงแม้ว่าผู้เรียนจะใช้ภาษาไม่ถูกต้องก็ตาม แต่ครูจะช่วย
อธบิ ายและใหค้ วามช่วยเหลอื ก็ต่อเม่ือการสื่อสารของผู้เรียนชะงกั งัน อยา่ งไรกต็ าม ครผู สู้ อนยงั คงเป็น
แหล่งความรู้ (Resource) ให้ผู้เรียนเมื่อเขาต้องการเป็นผู้เตรียมผู้เรียนให้พร้อมก่อนการเรียนรู้
รวมทั้งเป็นผู้ให้ข้อมูลทางภาษาแก่ผู้เรียนครูผู้สอนต้องพยายามใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารใน
ห้องเรยี นให้มากทส่ี ุด เป็นผสู้ รา้ งบรรยากาศในห้องเรียนให้ผู้เรียนอยากเรยี นรู้ นอกจากน้ีครูผู้สอนยัง
เป็นผู้ประเมินผลการเรยี นรแู้ ละใหข้ ้อมลู สะท้อนกลบั แกผ่ เู้ รยี นอีกดว้ ย

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

27

3.2 บทบาทผู้เรียน (Learner’s role) ในการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารผู้เรียนมี
บทบาทสำคัญในห้องเรียนมากกวาครูผู้สอน ผเู้ รียนเป็นผมู้ สี ว่ นรว่ มในการเรียนรู้ไดล้ งมือใช้ภาษาด้วย
ตนเองโดยการเเลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำให้เกิดการเรียนรู้จากการทำ
กิจกรรมกลุม่ ร่วมกันและผูเ้ รียนพยายามเรียนรดู้ ว้ ยตนเองเพมิ่ ขึ้นโดยนำสิง่ ทตี่ นเรียนรูใ้ นห้องเรียนเป็น
เครื่องมือช่วยในการหาความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียน เช่น การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ การเรียนรู้
เพิ่มเติมในสิ่งที่ตนสนใจจากห้องสมุดอินเทอร์เน็ต เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถประเมินผล
การเรยี นรูด้ ้วยตนเอง และสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับแกเ่ พื่อนรว่ มชัน้ เรยี นได้อีกดว้ ย

การออกแบบกิจกรรมการเรียนรเู้ พอ่ื ความสามารถในการส่ือสาร
(Communicative Lesson Design)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน (ม.ป.ป. หนา้ 47 - 48) กลา่ วถึงการสอน
ทักษะการฟงั พูด อา่ น เขียน ดงั น้ี

การสอนทกั ษะการฟังภาษาองั กฤษ

การออกแบบกิจกรรมเพ่ือสงเสริมทักษะการฟัง ครูควรคำนึงถึงสถานการณ์หรือบริบทโดยเลือก
เน้อื หา และออกแบบกิจกรรมทีห่ ลากหลาย นา่ สนใจ มีขอ้ ควรพิจารณา 2 ประการ คือ

1. สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น ควรเป็น
สถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจ
เป็น การฟังคำสั่งครูการฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์
วีดทิ ศั น์

2. กิจกรรมในการสอนฟัง แบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมก่อนการฟัง (Pre - listening)
กิจกรรมระหว่างการฟังหรือขณะที่สอนฟัง (While - listening) และกิจกรรมหลังการฟัง (post-
listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้

2.1 กจิ กรรมกอ่ นการฟัง (Pre - listening) ผู้เรียนจะฟงั ขอความได้อยา่ งเขา้ ใจ ควรต้องมี
ข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับข้อความที่ฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพือ่
ช่วยสร้างความเข้าใจในบริบทก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดู
รูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะฟัง สนทนา อภิปราย หรือหาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้นๆ การเขียนรายการ
คำศัพท์ อาจจะใหผ้ เู้ รียนจดั ทำรายการคำศัพทเ์ ดิมที่รู้จักโดยใช้วธิ ีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะ
รับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมลอ้ มรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและฟังไปพร้อมๆกนั การอ่าน
คำถาม อาจใหผ้ ูเ้ รยี นอ่านคำถามท่ีเกี่ยวของกับเร่ืองราวในสารท่จี ะฟัง เพอื่ ใหผ้ เู้ รยี นได้ทราบแนวทาง
วา่ จะไดฟ้ ังเก่ียวกับเร่อื งใด เป็นการเตรียมตวั ลว่ งหนา้ เก่ียวกับข้อมลู ประกอบการฟังและคน้ หาคำตอบ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

28

ท่ีจะได้จากการฟงั สารน้นั ๆ การทบทวนคำศัพท์ทีเ่ กย่ี วข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่
แล้วซึ่งจะปรากฏอีกในสารที่จะได้ฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ให้มี
จากการฟัง

2.2 กจิ กรรมระหวา่ งการฟัง หรอื กิจกรรมขณะท่สี อนฟัง (While - listening) เปน็ กจิ กรรม
ที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่ฟังสารน้ันๆ กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการฝึกทักษะ
การฟังเพือ่ ความเข้าใจ

2.3 กิจกรรมหลังการฟัง (post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษา
ภายหลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น อาจฝึกทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียน
ระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้วเป็นการตรวจสอบความรู้
ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้นๆ หรือฝึกทักษะการพูด
สำหรับผู้เรียนระดับสูงโดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟังหรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจต
คตขิ องผูพ้ ดู

การสอนทกั ษะการพดู ภาษาองั กฤษ

ในการจัดการเรียนการสอนการพูดภาษาอังกฤษควรจัดให้เหมาะสม โดยออกแบบกิจกรรม
เพื่อเสริมทักษะการพูดจากง่ายไปหายากเพื่อลดความวิตกกังวลของนักเรียน กิจกรรมควรเป็นท่ี
ยอมรับของเจ้าของภาษาด้วย นักเรียนควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทางการพูดที่เหมาะสมและได้
ฝึกบ่อยๆ เพื่อการสื่อสารถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจโดยใช้
น้ำเสียง อากัปกิริยาซึ่งเป็นอวัจนภาษาด้วยและพูดให้ถูกต้องและชัดเจนขึ้น การสอนทักษะการพูด
ภาษาองั กฤษมีข้ันตอนและกิจกรรมต่างๆ กัน ดงั ต่อไปนี้

1. ขั้นบอกจุดประสงค์และขั้นเสนอเนื้อหา ครูควรจะบอกให้นักเรียนรู้ถึงสิ่งที่จะเรียนโดย
การตั้งคำถาม เล่าเรื่อง หรือใช้สื่อต่างๆ ช่วงหลังจากนำเสนอเนื้อหาซึ่งอยูในรูปบริบทครูจะต้องให้
นักเรียนสังเกตลักษณะของภาษา ความหมายของข้อความที่จะพูด เช่น ผู้พูดเป็นใคร พูดเกี่ยวกับ
อะไร สถานทพ่ี ูด และจดุ ประสงคใ์ นการพดู

2. ขน้ั การฝกึ การฝกึ จะกระทำทันทีหลังจากเสนอเนื้อหา อาจจะฝึกพดู พรอ้ มๆ กนั หรอื เป็น
คู่โดยการฝึกเริ่มจากการฝึกโดยมกี รอบหรือการควบคมุ ต่อมาก็ลดการควบคุมลงจนนักเรียนสามารถ
ใชภ้ าษาได้

3. ขั้นถ่ายโอน เป็นขั้นตอนที่นำความรู้ท่ีได้มาใช้ในรูปแบบการใช้ภาษาอย่างอิสระใกล้เคียง
กบั สถานการณ์ทีเ่ ปน็ จริง เชน่ การทำบทบาทสมมติ การนำเสนอ การสาธิต เปน็ ต้น

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

29

การสอนทักษะการอา่ น

การแบ่งประเภทการอา่ นแบง่ ได้ 2 ประเภทคือ
1. การอ่านออกเสียง (Oral Reading) เป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และ
ความคลอ่ งแคล่ว (Fluency)
2. การอ่านในใจ (Silent Reading) เป็นการอา่ นเพ่ือรับรแู้ ละทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซ่ึง
เป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน
ในขณะที่การอ่านจะใชก้ ารรับรู้จากตวั อักษรท่ีผ่านสายตา
ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้นักเรียนเกิดความชำนาญและมี
ความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควธิ ีการโดยเฉพาะครูผสู้ อนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอน
ทักษะการอ่านให้แก่นักเรียนเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ วิธีการสอนการอ่านควร
เน้นการสื่อสารอย่างมีความหมาย ครูควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนอ่านเพื่อสื่อสารอย่างมีความหมาย
ไม่ใช่อ่านเพื่อตอบคำถามท้ายบทแต่เพียงอย่างเดียว วิธีสอนอ่านเพื่อการสื่อสารจึงเน้นเทคนิค
ดงั ตอ่ ไปนี้

(1) การเติมข้อมลู ท่ขี าดหายไป (Information Gap)
(2) การอา่ นเพือ่ แกป้ ญั หา (Problem Solving)
(3) การอา่ นเพ่ือถ่ายโอนขอ้ มลู (Information Transfer)
บทอ่านท่ีนำมาใช้สอนควรเปน็ เอกสารจริง (Authentic Material) เอกสารจริง คอื เอกสารที่
ไม่ได้เขียนขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการสอนภาษาโดยตรง เพราะบทอ่านที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมอื
ในการสอนศัพท์และไวยากรณ์ จะมีลักษณะที่ไม่เป็นธรรมชาติ เนื่องจากผู้เขยี นจะคำนงึ ถึงโครงสร้าง
หรือหลักไวยากรณ์ที่ต้องการสอนมากเกินไป บทอ่านที่เป็นเอกสารจริงซ่ึงใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่
โฆษณา ข่าว ฉลากยา หรือป้ายประกาศ เป็นต้น และในการนำเอกสารจริงมาใช้ไม่ควรแกไ้ ขให้ภาษา
ง่ายขึ้น สรุปหรือย่อเพราะจะทำให้ข้อความผิดไปจากเดิมเนื่องจากเอกสารที่ผู้อ่านจะได้พบใน
ชีวติ ประจำวันนั้นไม่มใี ครมาปรบั ระดับความยากงา่ ยให้

การสอนทกั ษะเขยี น

การสอนเขียนภาษาอังกฤษเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็น
รากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงได้ต่อไป ดังนั้น สิ่งที่ครู
ต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้นักเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ (Vocabulary) ไวยากรณ์
(Grammar) และเนอ้ื หา (Content) อย่างเพียงพอทจี่ ะเป็นแนวทางให้นกั เรยี นสามารถคดิ และเขียนได้

การสอนการเขียนควรคำนึงถึงองค์ประกอบด้านเนื้อหา (Content) ข้อความที่ผู้เขียน
ต้องการสื่อให้กับผู้อ่าน รูปแบบ (Form) การวางรูปแบบของการเขียนไวยากรณ์ Grammar) การใช้

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

30

กฎไวยากรณ์ และโครงสร้างประโยคต่างๆ ลีลาในการใช้ภาษา (Style) การเลือกใช้ศัพท์ สำนวน
เพื่อให้เกิดอรรถรสทางภาษา กลไกทางภาษา (Mechanics) การใช้เครื่องหมายวรรคตอน การสะกด
คำศัพท์ และการใช้อักษรตัวเล็กและใหญ่ได้อย่างถูกต้อง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ัน
พืน้ ฐาน, ม.ป.ป. หนา้ 54 - 58)

1. กิจกรรมการเขียน การสอนการเขยี นอาจแบง่ ไดเ้ ป็น 4 ลกั ษณะ ดงั นี้
1.1 การเขียนแบบคัดลอก (Mechanical Copying) คือการลอกคำ ข้อความ หรือประโยค

โดยไม่ต้องสร้างภาษาของตนเอง มักเป็นกิจกรรมที่ใช้กับนักเรียนในระดับต้นๆ เช่น การคัด
ลายมือ การเขียนตามรอยประ การโยงภาพและข้อความท่ีเข้าคกู่ ันแล้วลอกข้อความ จัดลำดับตัวอักษร
แลว้ เขียนคำใหถ้ ูกต้อง หรือจดั ลำดับประโยคและเขียนข้อความที่ถูกต้อง (Mechanical Copying) เป็น
การฝึกเขียนโดยการคัดลอกคำ ประโยคหรือข้อความที่กำหนดให้ ในขณะที่เขียนคัดลอก นักเรียนจะ
เกิดการเรียนรู้การสะกดคำ การประกอบคำเข้าเป็นรูปประโยคและอาจเป็นการฝึกอ่านในใจไปพร้อม
กัน ข้อเสียของการเขยี นในลักษณะนี้ คอื ในบางกจิ กรรมนักเรยี นอาจลอกคำ ข้อความหรือประโยค โดย
ไม่เข้าใจความหมายและกิจกรรมการเขียนแบบนี้ไมได้เอื้อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างภาษาของ
ตนเองลักษณะกิจกรรมแบบนี้อาจไม่ท้าทายความสามารถของนักเรียน ครูจึงควรพิจารณาไม่ควรจัด
กจิ กรรมการเขยี นในแบบนี้มากเกินไป

1.2 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นกจิ กรรมในการสอนทักษะการเขียนท่ี
มงุ่ เนน้ ในเรื่องความถูกต้องของรปู แบบ โดยครใู ห้เนือ้ หาและรปู แบบภาษาสำหรบั นักเรียนใช้ในการเขียน
ครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้นักเรียน นักเรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ
สร้างสรรค์ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค รูปแบบประโยคทีต่ ้องใชต้ ัวอย่างยอ่
หน้าสำหรับเลียนแบบหรอื ข้อความสำหรบั เติมให้สมบูรณ์ ข้อดีของการเขียนแบบควบคุมนี้ คือการป้องกนั
มใิ ห้นกั เรยี นเขียนผดิ ต้ังแต่เร่ิมตน้

1.3 การเขยี นแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เปน็ แบบฝึกเขยี นที่มีการควบคุม
น้อยลง และนักเรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครง
หรือรูปแบบ แล้วให้นักเรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ช่วยให้นักเรยี นพัฒนา
ทักษะความสามารถในการเขียนไดม้ ากข้นึ อันจะนำไปสกู่ ารเขยี นอยา่ งอิสระได้ในโอกาสต่อไป

1.4 การเขียนแบบอิสระ (Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด
นักเรียนมีอิสรเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้ างขวาง
การเขียนในลักษณะนี้ครูจะกำหนดเพียงหวั ข้อเร่ืองหรือสถานการณ์แลว้ ใหน้ ักเรียนเขียนเรื่องราวตาม
ความคิดของตนเอง วิธีการนี้ช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ข้อจำกัดของ
การเขียนลักษณะนี้ คือนักเรียนมีข้อมลู ท่ีเป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค ไวยากรณ์เป็นองคค์ วามรูอ้ ยู่
คอ่ นขา้ งน้อย สง่ ผลให้การเขยี นอย่างอิสระนี้ไม่ประสบผลสำเรจ็ เทา่ ทคี่ วร กิจกรรมการเขียน เช่น การเขียน

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

31

ความเรียงท่ีครูกำหนดหวั ข้อใหห้ รือเขียนบทสนทนาเมื่อนักเรียนได้ช้ินงานจากการฝึกทักษะการเขียน
การตรวจงานเขยี นเป็นส่งิ ทค่ี รูต้องดำเนินการต่อไปซง่ึ ครคู วรคำนึงถึงสิง่ ต่อไปน้ี

1.4.1 การให้ระดับคะแนน A, B, C หรือ /7, /8 ,…/10 การให้คะแนนแบบนี้เป็นการประเมิน
การเขียนโดยรวม ไม่ควรเน้นเฉพาะความถูกต้องทางไวยากรณ์เป็นเกณฑ์แต่ยังต้องดูว่านักเรียน
สามารถใช้ภาษาสื่อความคิดได้ชดั เจนหรือไม่และพัฒนาความคิดและเรือ่ งราวที่เขียนดีเหมาะสมมาก
น้อยเพียงไร

1.4.2 การแสดงความคิดเห็นต่อการเขียน (good, fair, needs improvement,
careless) ครูพึงตระหนกั ว่าการแสดงความคดิ เห็นต่องานเขียนของนักเรียนเป็นการชีใ้ ห้นกั เรียนเหน็
ทั้งจุดเด่นและข้อด้อย ครูควรกล่าวชมสิ่งที่นักเรียนเขียนดีแล้วและคอยชี้ให้เห็นจุดที่ยังบกพร่องให้
คำแนะนำทีเ่ ปน็ ประโยชน์ต่อการปรบั ปรงุ แก้ไข

การจดั กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเชงิ รุก (Active Learning)

ในการจัดการเรียนการสอนที่เผยแพร่ในปลายศตวรรษที่ 20 ที่เรียกว่าการเรียนรู้ที่เน้น
บทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนหรือ “การเรียนรู้เชิงรุก” (Active Learning) ซึ่งหมายถึง
รูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และบทบาทในการเรียนรู้
ของผู้เรียนใช้กิจกรรมเป็นฐาน นำกิจกรรมเป็นที่ตัง้ เพื่อที่จะฝึกหรือพัฒนาผู้เรียนให้เกดิ การเรียนรู้ให้
บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2562,
หน้า 5-6)

ความสำคญั ของการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม
1. สง่ เสริมใหผ้ ู้เรยี นมีความตนื่ ตัวและกระตอื รือรน้ ดา้ นการรู้คิด
2. กระตุน้ ใหเ้ กดิ การเรยี นร้จู ากตัวผเู้ รียนเองมากกว่าการฟังผู้สอนในห้องเรียนและการท่องจำ
3. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้
อยา่ งตอ่ เนอื่ งนอกหอ้ งเรียนอีกดว้ ย
4. ได้ผลลัพธ์ในการถ่ายทอดความรู้ใกล้เคียงกับการเรียนรู้รูปแบบอื่นแต่ได้ผลดีกว่าในการพัฒนา
ทกั ษะดา้ นการคดิ และการเขยี นของผ้เู รียน
5. ผู้เรียนมีความพึงพอใจกับการเรียนรู้แบบนี้มากกว่ารูปแบบที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้
ซง่ึ เปน็ การเรยี นรูแ้ บบต้งั รบั (Passive Learning)
6. มุ่งเน้นความรับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนรู้โดยผ่านการอ่าน เขียน คิด อภิปราย
และเข้าร่วมในการแก้ปัญหาและยังสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม
(Bloom taxonomy) ท้งั ในดา้ นพุทธิพสิ ยั ทักษะพิสยั และจิตพิสัย

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

32

ประเภทกจิ กรรมการสอนภาษาอังกฤษเชงิ รกุ

กจิ กรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยวิธีใชก้ ิจกรรมเป็นฐานมีหลากหลายกิจกรรม การนำมาใช้ข้ึนอยู่
กับความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนั้นๆ ว่ามุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือ
พฒั นาในเรื่องใด โดยท่ัวไปสามารถจำแนกออกเปน็ 3 ประเภทหลกั ๆ คอื

1. กิจกรรมเชิงสำรวจ เสาะหา ค้นคว้า (Exploratory) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรวบรวม สั่งสม
ความรู้ ความคดิ รวบยอด และทกั ษะ

2. กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Constructive) ซึ่งเกย่ี วขอ้ งกับการรวบรวม ส่งั สมประสบการณ์
โดยผา่ นการปฏบิ ัตหิ รอื การทำงานทรี่ เิ รม่ิ สร้างสรรค์

3. กจิ กรรมเชิงการแสดงออก (Expressional) ได้แก่ กิจกรรมที่เกยี่ วกบั การนำเสนอผลงาน
กจิ กรรมการเรียนร้ทู ี่นิยมใช้
1. การอภิปรายในชั้นเรียน (class discussion) ท่ีกระทำได้ทั้งในห้องเรียนปกติและ
การอภปิ รายออนไลน์
2. การอภปิ รายกลมุ่ ย่อย (Small Group Discussion)
3. กิจกรรม “คดิ -จับค-ู่ แลกเปลีย่ น” (think-pair-share)
4. เซลล์การเรยี นรู้ (Learning Cell)
5. การฝึกเขยี นขอ้ ความสั้นๆ (One-minute Paper)
6. การโต้วาที (Debate)
7. บทบาทสมมุติ (Role Play)
8. การเรียนรโู้ ดยใชส้ ถานการณ์ (Situational Learning)
9. การเรยี นแบบกลุ่มร่วมแรงรว่ มใจ (Collaborative learning group)
10. ปฏกิ ิรยิ าจากการชมวดิ ิทศั น์ (Reaction to a video)
11. เกมในชน้ั เรยี น (Game)
12. แกลเลอรีว่ อล์ค (Gallery Walk)
13. การเรยี นร้โู ดยการสอน (Learning by Teaching)
หลักการเลือกกิจกรรมภาษาองั กฤษเพื่อนำมาสอนควรคำนึงถึงหลักการดังตอ่ ไปนี้
1. ใหค้ วามสนใจทีต่ วั ผู้เรียน
2. เรยี นรผู้ ่านกิจกรรมการปฏบิ ัตทิ ่นี า่ สนใจ
3. ครผู สู้ อนเปน็ เพียงผอู้ ำนวยความสะดวก
4. ใชป้ ระสาทสัมผสั ท้ัง 5 ในการเรยี น
5. ไมม่ ีการสอบแต่ประเมนิ ผลจากพฤติกรรม ความเข้าใจ และผลงาน
6. เพ่ือนในชั้นเรยี นช่วยส่งเสริมการเรียน
7. มีการจดั สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาความคดิ และเสริมสรา้ งความมั่นใจในตนเอง

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

33

วิธีการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม

1. การอภปิ รายในชั้นเรยี น (class discussion) เปน็ การอภิปรายร่วมกันถงึ ประเด็นที่ได้
กำหนดไว้ โดยผู้เรียนสามารถนำเสนอความเห็นทั้งที่เห็นพ้องกับเห็นต่างได้แต่ต้องแสดงเหตุผลหรือ
ข้อมูลเพื่อสนับสนุนข้อคิดเห็น จากนั้นต้องลงความเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน (วัชรี เกษพิชัยณรงค์,
2557, หน้า 14-15)

2. การอภิปรายกลุ่มยอ่ ย (Small Group Discussion) วธิ สี อนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย
คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการจัด
ผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4-8 คน และให้ผู้เรียนในกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น
และประสบ ก าร ณ์ ใ นป ร ะเ ด็ น ที ่ กำ หน ดแ ล ะส รุ ปผ ล ก าร อภ ิป ร าย อ อ ก ม าเ ป็ น ข้ อส รุ ป ข อ ง ก ลุ่ ม
วัตถุประสงค์วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อยเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม
การเรียนรู้อย่างทั่วถึง มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อันจะช่วยให้ผู้เรียน
เกิดการเรยี นรใู้ นเรื่องท่เี รียนกวา้ งขน้ึ (ทศิ นา แขมมณี, 2547, หนา้ 49-50)

2.1 องค์ประกอบสำคัญของวธิ ีสอน
2.1.1 มีการจัดผ้เู รียนเป็นกลุ่มยอ่ ย ๆ กลมุ่ ละประมาณ 4-8 คน
2.1.2 มีประเด็นในการอภิปราย
2.1.3 มีการพดู คุยแลกเปลี่ยนความคดิ เห็น ความรสู้ ึก และประสบการณก์ ันระหว่าง
สมาชกิ ในกลุ่มตามประเดน็ การอภปิ ราย
2.1.4 มีการสรปุ สาระท่ีสมาชิกล่มุ ไดอ้ ภปิ รายกันเปน็ ขอ้ สรุปของกลุ่ม
2.1.5 มกี ารนำขอ้ สรปุ ของกลมุ่ มาใชใ้ นการสรปุ บทเรยี น

2.2 ขัน้ ตอนสำคัญของการสอน
2.2.1 ผูส้ อนจดั ผเู้ รียนออกเป็นกลุม่ ย่อย ๆ กลุ่มละประมาณ 4-8 คน
2.2.2 ผู้สอน / ผูเ้ รียนกำหนดประเดน็ ในการอภิปราย
2.2.3 ผูเ้ รยี นพดู คุยแลกเปลย่ี นความคดิ เหน็ กันตามประเด็นอภปิ ราย
2.2.4 ผเู้ รียนสรปุ สาระทีส่ มาชกิ กลุม่ ได้อภิปรายร่วมกนั เป็นขอ้ สรุปของกลุ่ม
2.2.5 ผู้สอนและผเู้ รียนนำขอ้ สรปุ ของกลมุ่ ย่อยมาใช้ในการสรปุ บทเรยี น

2.3 เทคนคิ และข้อเสนอแนะตา่ ง ๆ ในการสอนโดยใชก้ ารอภปิ รายกลุ่มย่อยให้มปี ระสทิ ธภิ าพ
2.3.1 การจัดผูเ้ รียนเป็นกลุ่มย่อยจำนวนสมาชิกในกลุ่มย่อยควรมปี ระมาณ 4-8 คน

จำนวนที่เหมาะสมที่สุดคือระหว่าง 4-6 คน คือเป็นกลุ่มที่ไม่เล็กเกินไปและไม่ใหญ่เกินไปเพราะถ้า
กลุ่มเล็กเกินไปกลุ่มจะไม่ได้ความคดิ ท่ีหลากหลายเพยี งพอ ถ้ากลุ่มใหญ่เกินไปสมาชิกกลุ่มจะมีโอกาส
แสดงความคิดเห็นได้น้อยหรือได้ไม่ทั่วถึง การแบ่งผู้เรียนเข้ากลุ่มอาจทำโดยวิธีสุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนมี
โอกาสได้ร่วมกลุ่มกับเพื่อนไม่ซ้ำกันหรืออาจจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถเพื่อให้ผู้เรียนที่เก่ง
ช่วยเหลือผู้ที่เรียนอ่อนหรืออาจจัดผู้เรียนเข้ากลุม่ จำแนกตามเพศ วัย (ถ้าผู้เรียนมีหลายวัย) ความสนใจ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

34

ความสามารถ หรอื เลอื กอย่างเจาะจงตามปัญหาท่มี ีข้ึนกับวตั ถุประสงคข์ องผู้สอนและส่ิงทจ่ี ะอภิปราย
เทคนิคที่ใช้ในการแบง่ กลุ่มมีหลากหลาย เช่น ใช้การนับหมายเลขหรือเป็นภาพเป็นข้อความใหผ้ ้เู รียน
เกิดความสนกุ สนาน จนกระทั่งในทีส่ ดุ ครูสัง่ ให้จับกลุม่ ตามจำนวนทีค่ รูต้องการ เทคนิคการจัดกลุ่มจะช่วยให้
ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการแบ่งกลุ่มโดยเฉพาะเมื่อครูจำเป็นต้องแบ่งกลุ่มบ่อย ๆ จะช่วยให้
ผู้เรียนรู้สึกสนุกและสนใจที่จะเรียนรู้ในกิจกรรมต่อไป เมื่อจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มแล้วผู้สอนควรดูแลให้
กลุ่มจัดที่นั่งภายในกลุ่มให้เรียบร้อยให้อยู่ในลักษณะที่ทุกคนมองเห็นกันและรับฟังกันได้ดี
นอกจากนั้นในกรณีที่มีหลายกลุ่มผู้สอนควรจัดกลุ่มให้ห่างกันพอสมควร เพื่อไม่ให้เสียงอภิปรายจาก
แตล่ ะกลุ่มรบกวนกันและกัน

2.3.2 ประเดน็ การอภิปราย การอภปิ รายจำเปน็ ต้องมีประเดน็ ในการอภปิ รายและมี
วัตถุประสงค์ของการอภิปรายที่ชัดเจน ประเด็นการอภิปรายอาจจะมาจากผู้สอนหรือผู้เรียนแล้วแต่
กรณี การอภิปรายแต่ละคร้งั ไมค่ วรมีประเด็นมากจนเกินไปเพราะจะทำให้ผเู้ รียนอภิปรายได้ไม่เต็มที่

2.3.3 การอภิปราย การจัดกลุ่มอภิปรายมีหลายแบบผู้สอนควรเลือกใช้ให้เหมาะสม
กับวตั ถุประสงค์ ในการอภปิ รายทดี่ โี ดยทั่วไปควรมีการกำหนดบทบาทหนา้ ที่ท่ีจำเป็นในการอภิปราย
เช่น ประธานหรือผู้นำในการอภิปราย เลขานุการผู้จดบันทึกการประชุมและผู้รักษาเวลา เป็นต้น
นอกจากนั้นสมาชิกลุ่มทุกคนควรมีความเข้าใจตรงกันว่าตนมีบทบาทหน้าที่ที่จะต้องช่วยให้กลุ่ม
ทำงานได้สำเร็จ มิใช่ปล่อยให้เป็นความรับผิดชอบของสมาชิกเพียงบางคน หากสมาชิกกลุ่มมีความรู้
ความเข้าใจว่าสมาชิกกลุ่มที่ดีควรทำอะไรบ้าง เช่น ให้ข้อมูลแสดงความคิดเห็น ซักถาม โต้แย้ง
สนับสนุน ช่วยไม่ให้กลุ่มออกนอกเรื่องและสรุป เป็นต้น การอภิปรายจะเป็นไปได้ดี ผู้สอนจึงควรให้
ความรู้ความเข้าใจหรือคำแนะนำแก่กลุ่มก่อนการอภิปรายและควรย้ำถึงความสำคัญของการให้
สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีส่วนรว่ มในการอภิปรายอย่างทั่วถงึ ไม่ให้มีการผูกขาดการอภิปรายโดยผู้ใดผู้หนึ่ง
เพราะวตั ถปุ ระสงค์หลักของการอภิปรายก็คือการให้ผู้เรยี นมีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึงและ
ไดร้ ับฟงั ความคิดเห็นที่หลากหลายอันจะช่วยใหผ้ ู้เรียนมีความคิดทล่ี ึกซ้ึงและรอบคอบขึ้น การอภิปรายท่ี
ดีควรดำเนนิ การไปทีละประเด็นจะไดไ้ มเ่ กิดความสับสนและในกรณีทม่ี หี ลายประเดน็ ควรมกี ารจำกัด
เวลาของการอภิปรายแตล่ ะประเด็น มิฉะน้นั การอภิปรายอาจยืดยาว เยิ่นเยอ้ และประเด็นที่อยู่ท้าย ๆ
จะไม่ได้รับการอภิปรายเพราะหมดเวลาเสียก่อน ประเด็นการอภิปรายกับเวลาที่ให้ควรมี
ความพอเหมาะกนั

2.3.4 การสรุปผลการอภิปราย ก่อนทกี่ ารอภิปรายจะยุตลิ ง กลมุ่ จำเปน็ ตอ้ งมีการสรุปผล
การอภิปรายเพื่อให้ได้คำตอบตามประเด็นที่กำหนด ผู้สอนควรบอกหรือให้สัญญาณแก่กลุ่มอภิปราย
ประมาณ 3-5 นาที ก่อนหมดเวลาเพื่อกลุ่มจะได้สรุปผลการอภิปรายเป็นข้อสรุปของกลุ่มซึ่งหลังจากนน้ั
ผ้สู อนอาจให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลการอภปิ รายแลกเปล่ียนกันหรือดำเนินการในรูปแบบอน่ื ต่อไป

3. กิจกรรม “คิด-จับคู่-แลกเปลี่ยน” (think-pair-share) กลวิธี คิดเดี่ยว คิดคู่
แลกเปลย่ี นความคิดเปน็ กลวธิ ีหน่ึงของการจดั การเรียนรู้แบบร่วมมือรว่ มใจ (Cooperative Learning )

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

35

มีวัตถุประสงค์ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดโดยให้นักเรียนฝึกกระบวนการคิดด้วยตนเอง แล้ว
แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนเป็นคู่ แบ่งปันในกลุ่มของตัวและนำมาแบ่งปันให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่ม
ใหญ่ โดยเริม่ จากใหน้ ักเรยี นคิดเปน็ รายบุคคลแล้วนักเรียนจับคู่กนั เพื่อแลกเปล่ยี นความคิดเห็นของกัน
และกัน ตอ่ ไปอาจขยายขนาดกลุ่มโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพ่ิมขึ้นทลี ะคู่ ตอนสุดท้ายจะต้องให้
นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกนั ท้ังห้องเรียน กลวิธีน้ีใช้เมือ่ ต้องการให้ นักเรียนฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
คิดสังเคราะหค์ ิดอย่างมีเหตผุ ล ฝกึ ทักษะการสอื่ สารการแสดงออกและการยอมรับฟังความคดิ เห็นของ
ผู้อื่น ขั้นตอนของกิจกรรม “คิด-จับคู่- แลกเปลี่ยน” (think-pair-share) มีดังต่อไปนี้ ผู้สอนตั้งปัญหา -
ผู้เรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเองก่อน 4-5 นาที - จับคกู่ ับเพื่อนเพ่ืออภิปรายแลกเปล่ียนความคิดเห็น -
แลกเปลยี่ นเรียนร้รู ว่ มกนั ทง้ั ชนั้ เรียน (วัชรี เกษพชิ ยั ณรงค์, 2557, หน้า 14-15)

4. การโต้วาที (Debate) การโต้วาทีเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมากที่ช่วยให้ผู้เรียนฝึก
ทักษะในหลายๆด้าน ทั้งการนำเสนอ สรุปประเด็น ค้นคว้าข้อมูล และการอภิปรายเพื่อสนับสนุนและ
คัดค้าน เหมาะสำหรับเนื้อหาที่แยกประเด็น 2 ด้านชัดเจนและเท่าเทียม (วัชรี เกษพิชัยณรงค์, 2557,
หน้า 14-15)

5. บทบาทสมมุติ (Role Play) การแสดงบทบาทสมมุติเป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึก
การแสดงออกตามสถานการณ์ที่กำหนดให้เพื่อเป็นประสบการณ์ที่จะนำไปแก้ไขปัญหาและ
สถานการณ์จริงในชีวิต ผู้เรียนจะได้แสดงออก ฝึกวางแผนการทำงานและทำงานร่วมกัน เข้าใจ
ความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและของผู้อื่นและได้เรียนรู้จากการแสดงบทบาทสมมุติ (วัชรี
เกษพชิ ยั ณรงค,์ 2557, หน้า 14-15)

6. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ (Situational Learning) การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์
จำลองเสมือนจริงเป็นวิธีการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ด้วย
ตนเองเสมือนอยู่ในสถานการณ์จริงการสรุปผลการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดประสบการณ์จาก
สถานการณ์จำลองช่วยถ่ายโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติผู้เรียนได้ทำความเข้า ใจวิเคราะห์
ความคิด ความรู้สึกต่อกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติในสถานการณ์และสรุปหลักการหรือแนวคิดที่จะนำไป
ประยกุ ต์ในสถานการณใ์ หม่ (สมจติ ต์ สินธชุ ยั , 2560, หน้า 113)

7. เกมในชนั้ เรียน (Game) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม คือ เกมการศึกษาเป็น
วิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคญั เป็นเกมที่มลี ักษณะการเล่นเพ่ือการเรียนรู้ “Play
to learning” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในขณะหรอื หลังจากการเล่นเกม เรียน
ไปด้วยและสนุกไปด้วยพร้อมกัน ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความสุข การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็น
กระบวนการที่ผูส้ อนใชใ้ นการช่วยให้ผเู้ รยี นเกิดการเรียนรตู้ ามวัตถุประสงค์ท่ีกำหนดโดยการให้ผู้เรียน
เล่นเกมตามกติกาและนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเลน่ วธิ ีการเลน่ และผลของการเล่น
เกมของผู้เรียนมาใช้ในการสรุปการเรียนรู้โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

36

อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้ประสบการณ์ตรง เป็นวิธีท่ี

เปิดโอกาสให้นักศึกษามสี ่วนร่วมสูง (ทศิ นา แขมมณี, 2544, หน้า 81-85) เกมทน่ี ำมาใชใ้ นการสอนส่วน

ใหญ่จะเป็นเกมทเ่ี รียกว่าเกมการศึกษา เปน็ เกมทีม่ วี ตั ถปุ ระสงคใ์ ห้ผูเ้ ล่นเกดิ การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ท่ี
กำหนดไว้ มิใช่เล่นเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น จึงสรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้
เกมมีประโยชน์ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน เกิดความคิดรวบยอด
เก่ียวกบั ส่งิ ท่ีเรยี นและเปน็ การพัฒนากระบวนการคดิ ของผู้เรียนไปโดยที่ผูเ้ รียนไม่รู้ตัว รวมท้ังส่งเสริม
กระบวนการทำงานและอยรู่ ่วมกัน (คณาภรณ์ รศั มมี ารยี ์, 2561, หน้า 15)

8. แกลเลอรี่วอล์ค (Gallery Walk) กลวิธีเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ Gallery Walk
เป็นกลวิธีที่ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานของกลุ่มในการศึกษาเรื่องเดียวกันภายหลังจบบทเรียน ให้กลุ่ม
อื่นมาชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงาน แสดงความคิดเห็น อภิปรายภายในกลุ่มโดยเขียน เครื่องหมาย
หน้าข้อความที่มีความเห็นเหมือนกันและเขียนความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ถ้าไม่แน่ใจในประเด็นท่ี
เพือ่ นนำเสนอให้ใสเ่ ครื่องหมายคำถามไว้กลวิธีนี้ใช้เม่ือต้องการให้นักเรียนนำเสนอผลงานโดยทุกคนมี
สว่ นร่วม กลวธิ นี ชี้ ว่ ยฝกึ ทักษะการคิดวเิ คราะห์การตัง้ คำถาม การตอบคำถาม การส่ือสารและการยอมรบั ฟงั
ความคดิ เห็นของผอู้ ืน่ (กัญญา ชัยรตั น์, 2554, หนา้ 90) โดยมีขน้ั ตอนวธิ ีการ ดังน้ี

8.1 แบง่ นกั เรียนออกเป็นกลมุ่ ๆ ละ 3 – 4 คน
8.2 ให้นกั เรยี นรว่ มกันทำกจิ กรรม อภปิ ราย และสรปุ ความคิดเห็นของกลุ่ม เขียนลงใน
กระดาษโปสเตอร์แลว้ นำไปตดิ ไว้ทีผ่ นัง ระยะหา่ งกันพอสมควร
8.3 แจกปากกาสีใหแ้ ตล่ ะกลุม่ อธิบายวธิ กี ารเดนิ ชมแลกเปลยี่ นเรียนรผู้ ลงานของกลุ่มอ่นื
8.4 ให้นักเรียนแตล่ ะกลมุ่ ยนื ตรงโปสเตอรข์ องตนเอง
8.5 ให้สัญญาณให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเดินไปหยุดที่โปสเตอร์ของกลุ่มถัดไปศึกษาผลงาน
อภิปราย และสรปุ ความคดิ เห็น ถ้าเห็นด้วยในประเดน็ ใดให้เขยี นเคร่ืองหมายหน้าประเดน็ นนั้ ถ้าไม่เห็นด้วย
ในประเด็นใดใหเ้ ขียนความคดิ เหน็ ของตนเองลงไป ถา้ ไมแ่ นใ่ จในประเดน็ ใดให้เขยี นเคร่ืองหมายคำถาม
8.6 ให้นกั เรยี นทำกิจกรรมเชน่ เดิมจนครบทุกโปสเตอรห์ รือ 2 – 3 โปสเตอร์ตามเวลาท่มี ี
8.7 นำอภิปรายท้ังชั้นโดยครเู พื่อสรปุ ความคิดเห็นของห้อง

การจดั ทำแผนการจัดการเรียนรู้
Lesson Planning

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความสำคัญหลายประการ ผู้จัดทำจำเป็นต้องศกึ ษา
วิเคราะห์ วางแผน และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้
ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย คำนึงถึงความแตกต่าง
ระหว่างผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ช่วยให้ผู้สอนจัดกิจกรรมได้
อย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สร้างแนวทางการสอนที่เป็นขั้นตอนและ
ตอบสนองวัตถปุ ระสงค์ของหลักสตู ร

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

37

ความหมายของแผนการจัดการเรยี นรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่จะต้องทำแผนการจัดการเรียนรู้
ตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นกิจกรรมการจัดการเรยี นรู้ การใชส้ ื่ออุปกรณ์การจดั การเรียนรู้และการวัดผล
ประเมินผล โดยจัดเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนย่อย ๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือ
จุดเนน้ ของหลักสูตร สภาพของผู้เรยี น ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวสั ดอุ ุปกรณ์และตรงกับชีวิตจริง
ในห้องเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้เป็นแนวทาง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีเขียนไว้ล่วงหนา้ ทำ
ใหผ้ ูส้ อนมีความพร้อมและมั่นใจวา่ สามารถสอนไดบ้ รรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้และดำเนินการสอนได้
ราบร่นื (ชนาธิป พรกลุ , 2552 หน้า 85)

วสั ดุหลักสูตรทค่ี วรพัฒนามาจากหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดไว้เพ่ือให้การจัดการเรียนการสอน
บรรลุป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรเป็นส่วนที่แสดงการจัดการเรียนการสอนตาม
บทเรยี นและประสบการณ์การเรียนร้เู ป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ (เอกรินทร์ ลม่ี หาศาล, 2552, หน้า 409)

แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึงเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรของครูผู้สอน ซึ่งเป็น
แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละครั้งโดยใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนให้
สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เนื้อหา เวลา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนใหเป็นไปอย่าง
เต็มศกั ยภาพ (ชวลติ ชกู ำแพง, 2553, หนา้ 25)

แผนการจัดการเรียนรู้เป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ การใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ การวัดผล
ประเมินผลให้สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า
แผนการจัดการเรียนรู้เปน็ แผนที่จดั ทำขึน้ จากคู่มือครูหรือแนวทางการจัดการเรยี นรูข้ องกรมวชิ าการ
ทำให้ผู้จดั การเรียนรูท้ ราบว่าจะจัดการเรยี นรเู้ นื้อหาใด เพอ่ื จุดประสงคใ์ ด จัดการเรยี นรอู้ ย่างไร ใชส้ ่ือ
อะไร และวัดผลประเมนิ ผลโดยวิธีใด (วิมลรตั น์ สุนทรวิโรจน์, 2553, หน้า 203-213)

แผนการสอนมีความหมายเช่นเดียวกันกับแผนการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ เป็นแผนการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้และ
จุดประสงคก์ ารเรยี นรทู้ ี่กำหนด (อาภรณ์ ใจเทย่ี ง, 2553, หน้า 20)

ความสำคญั ของแผนการจดั การเรียนรู้

การวางแผนการจัดการเรียนร้มู สี ว่ นสำคัญท่ที ำให้การจัดการเรยี นรู้ประสบความสำเร็จหรือ
ล้มเหลวนั้นจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์และออกแบบหลายประการ จากการศึกษารวบรวมข้อมูล
ทัศนะของนักวิชาการไดอ้ ธบิ ายความสำคัญของแผนการจดั การเรยี นรูไ้ ว้ดังน้ี

แผนการจัดการเรียนรู้มีรายละเอียดสำคัญ ดังน้ี 1) แผนการจัดการเรียนรู้เปน็ หลักฐานทีแ่ สดง
ถึงการเป็นครูมืออาชีพ มีการเตรียมล่วงหน้า แผนการจัดการเรียนรู้จะสะท้อนให้เห็นถึงการใช้เทคนิค
การสอน สื่อนวัตกรรมและจิตวิทยาการเรียนรู้มาผสมผสานกันหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพ
ของนักเรียนที่ตนเองสอนอยู่ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมให้ผู้สอนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้
เกย่ี วกบั หลกั สูตร เทคนิคการสอน สือ่ นวตั กรรม และวธิ ีการวัดและประเมินผล 3) แผนการจดั การเรียนรู้

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

38

ทำใหค้ รผู ้สู อนและครูทีจ่ ะปฏิบตั ิการสอนแทนสามารถปฏบิ ตั ิการสอนแทนได้อยา่ งม่นั ใจและมีประสิทธิภาพ
4) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นหลักฐานที่แสดงข้อมูลด้านการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลที่จะ
นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป 5) แผนการจัดการเรียนรู้เป็นหลักฐานที่แสดงถึง
ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพครูซึ่งสามารถนำไปเสนอเป็นผลงานทางวิชาการเพ่ือขอเลือ่ นวทิ ยฐานะหรือ
ตำแหนง่ ได้ (ศริ ิวรรณ วณิชวัฒนวรชัย, 2558 หนา้ 347-348)

แผนการจัดการเรียนรู้มีความสำคัญหลายประการดังนี้ 1) ทำให้ผู้สอนสอนด้วยความมั่นใจ
เมื่อเกิดความมั่นใจในการสอนย่อมจะสอนด้วยความคล่องแคล่ว เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่าง
ราบรื่น ไม่ติดขัด การสอนจะดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างสมบูรณ์ 2) ทำให้เป็นการสอนที่มี
คุณค่าคุ้มกับเวลาที่ผ่านไปเพราะผู้สอนอย่างมีแผนมีเป้าหมายและมีทิศทางในการสอนมิใช่สอนอย่าง
เลื่อนลอย ผู้เรียนจะได้รับความรู้ ความคิด เกิดเจตคติ เกิดทักษะ เกิดประสบการณ์ใหม่ตามที่ผู้สอน
วางแผนไว้ ทำให้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณค่า 3) ทำให้เป็นการสอนที่ตรงตามหลักสูตร
ทง้ั นีเ้ พราะในการวางแผนการจดั การเรียนรู้ ผ้สู อนต้องศึกษาหลักสูตรท้ังด้านจุดประสงค์ เนื้อหาสารท่ี
จะสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอนและการวัดผลและประเมินผลแล้วจัดทำ
ออกมาเป็นแผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตร 4) ทำให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสทิ ธิภาพ เนื่องจาก
ผู้สอนต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างรอบคอบในทุกองค์ประกอบรวมทั้งการจัดเวลา สถานท่ี
และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่รอบคอบและปฏิบัติ
ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้ ผลของการสอนย่อมสำเร็จได้ดีกว่าการไม่ได้วางแผนการจัดการเรียนรู้
5) ทำให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสอนต่อไป ทำให้ไม่เกิด
ความซ้ำซ้อนและเป็นแนวทางในการทบทวนหรือการออกข้อสอบเพื่อวัดผลและประเมนิ ผลผู้เรียนได้
นอกจากนี้ทำให้ผูส้ อนมีเอกสารไว้เป็นแนวทางแกผ่ ู้ที่เข้าสอนในกรณีจำเป็น เมื่อผู้สอนไม่สามารถเข้า
สอนเองได้ผู้เรียนจะได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ต่อเนื่องกัน 6) ทำให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อ
ผูส้ อนและต่อวิชาทเ่ี รยี น ทง้ั นเี้ พราะผู้สอนสอนดว้ ย ความพร้อมเปน็ ความพร้อมทั้งทางด้านจิตใจ คือ
ความมนั่ ใจในการสอน และความพร้อมทางด้านวัตถุ คอื การทผ่ี สู้ อนได้เตรียมเอกสารหรือสิ่งการสอน
ไว้อยา่ งพรอ้ มเพรียง เมอ่ื ผ้สู อนมคี วามพร้อมใน การสอนย่อมสอนด้วยความกระจ่างแจ้ง ทำให้ผู้เรียน
เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนในบทเรียน อันจะส่งให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและต่อวิชาที่เรียน
(อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2553 หน้า 20)

ผลดีของการจัดทำแผนการจัดการเรยี นรู้ มดี งั นี้ 1) ทำใหเ้ กิดการวางแผนวธิ กี ารจัดการเรียนรู้
วิธีเรียนที่มีความหมายมากขึ้นเพราะเป็นการจัดทำอย่างมีหลักการที่ถูกต้อง 2) ช่วยให้ครูมีส่ือ
การจัดการเรียนรู้ที่ทำด้วยตนเองทำให้เกิดความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ ทำให้การจัดการเรียนรู้
ครบถ้วนตรงตามหลักสูตรและจดั การเรียนรู้ได้ทันเวลา 3) เป็นผลงานทางวิชาการที่สามารถเผยแพร่

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

39

เป็นตวั อยา่ งได้ 4) ชว่ ยอำนวยความสะดวกแก่ครูผจู้ ัดการเรียนรู้แทนในกรณที ผี่ จู้ ัดการเรียนรู้ไม่สามารถ
จัดการเรียนรู้ได้เอง (สงบ ลักษณะ, 2533 ; อ้างองิ จากศศธิ ร เวยี งวะลยั . 2556 หนา้ 51)

การวางแผนการจัดการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
ทำให้ผู้สอนสอนด้วยความมั่นใจและเป็นการสอนที่มีคุณค่าคุ้มกับเวลาที่ผ่านไป การสอนตรงตาม
หลักสูตรซึ่งส่งผลให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งทำให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำ
และทำให้ผู้เรยี นเกดิ เจตคตทิ ่ีดีต่อผ้สู อนและตอ่ วชิ าทเ่ี รียน

ประเภทของแผนการจัดการเรียนรู้

ประเภทของแผนการจดั การเรยี นรู้ แผนการจดั การเรยี นรูส้ ำหรบั การจดั การศกึ ษาข้นั พื้นฐาน
ตามหลักสูตรอิงมาตรฐาน สามารถสรุปได้เป็น 2 ประเภท (ชนาธิป พรกุล. 2552 หน้า 85-86 ;
นาตยา ปิลันธนานนท์, 2545 หนา้ 168) มี รายละเอยี ดดงั นี้

1) แผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้ เป็นแผนที่ระบุเป้าหมายหลักและระบุ
เฉพาะกจิ กรรมหลัก ๆ

2) แผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนหรือแผนรายชั่วโมง เป็นแผนที่ระบุกิจกรรมหลักและ
กิจกรรมยอ่ ยอยา่ งละเอยี ดชดั เจนเป็นรายชั่วโมงหรอื รายครง้ั

แผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนมี
ลักษณะที่คล้ายคลึงกันและจะสอดคล้องสัมพันธ์กันด้วย เพราะแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียน
จะให้รายละเอียดของเป้าหมายการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหา สาระ สื่อการ
เรยี นการสอน การวัดประเมนิ ผลในบทเรียนยอ่ ย ๆ ที่ประกอบกนั เปน็ หนว่ ยการเรยี นรู้

ลักษณะของแผนการจดั การเรียนรูท้ ่ดี ี

แผนการจดั การเรียนรถู้ อื เปน็ เครอ่ื งมอื สำคญั ของผู้สอนทจ่ี ะชว่ ยส่งเสริมให้ผเู้ รียนเกดิ การเรียนรู้
ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งสามารถสรุปลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีได้ จากการศึกษา
นักวิชาการได้อธิบายลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี (นาตยา ปิลันธนานนท์, 2545 หน้า 172-173)
ดงั น้ี

ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องประกอบไปด้วย 1) เจตคติที่ดี ผู้สอนควรมี
ความรู้สึกที่ดีต่อการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ไม่ควรมองว่างานเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็น
การสร้างภาระความยุ่งยากเพราะแผนการจัดการเรียนรู้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้สอน ผู้เรียน ผู้บริหาร
สถานศกึ ษาและตอ่ สังคมที่จะจดั การศึกษาให้มีคุณภาพ หากผสู้ อนมีความร้สู กึ และมีเจตคตทิ ีด่ ีต่อการเขียน
แผนการจัดการเรียนรู้ก็จะทำให้แผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพและนำไปใช้ได้จริง 2) นักวางแผน
นักคิด การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ก็เช่นเดียวกับประมวลการสอนหรือแนวการสอนหรือ
กำหนดการสอน คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สามารถสะท้อนความเป็นนักวางแผน นักคิด

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

40

สร้างสรรค์ของผู้สอนได้ 3) เครื่องมือสื่อสาร แผนการจัดการเรียนรู้เช่นเดียวกับประมวลการสอนที่ใช้
เป็นเครื่องมอื สื่อสารความเข้าใจสำหรับตัวผูส้ อน ผู้บริหาร พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบว่า
โรงเรยี นจดั การศึกษาอย่างไร ผูเ้ รยี นไดร้ ับการศึกษาท่ีมีคุณภาพอย่างไร 4) เฉพาะเจาะจง ครอบคลุม
พอเพียง การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ควรต้องระบุสิ่งที่จะเรียนจะสอนให้ชัดเจน ครอบคลุมและ
พอเพียงที่จะทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
ไม่ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการกำหนดจุดประสงค์ที่กว้างมากเกินไปหรือน้อยเกินไปและ
ต้องเป็นประโยชน์กับผู้เรียน 5) ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ แผนการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ได้เตรียมการ
ล่วงหน้าก่อนจะมีการเรียนการสอนจริงๆ การกำหนดข้อมูลใดๆ ไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ควรมี
ความยืดหยุ่นที่จะสามารถปรับเปลี่ยนแก้ปัญหาได้ในกรณีที่มปี ัญหาเมือ่ มีการนำไปใช้หรือไม่สามารถ
ดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้นั้นสามารถปรับเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ โดยไม่กระทบกระเทือน
ตอ่ การเรยี นการสอนและผลการเรยี นรู้

แผนการจัดการเรยี นร้ทู ่ีดี ควรมีลกั ษณะที่ช่วยส่งเสรมิ เจตคตทิ ดี่ ี ชว่ ยสะทอ้ นให้ผู้สอนเป็น
นักคิด นักวางแผน เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดี มีความเฉพาะเจาะจง ครอบคลุมและ มีความยืดหยุ่น
สามารถปรบั เปล่ียนได้ตามความเหมาะสมตลอดจนมีความชัดเจน ทกุ คนสามารถแปลความได้ตรงกัน
และมีการนำไปใช้และพัฒนาอยา่ งตอ่ เน่ือง

องคป์ ระกอบของแผนการจัดการเรยี นรู้

องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรตระหนักถึงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก
การเขียนแผนการจดั การเรยี นรูจ้ ำเป็นต้องเขียนตามลำดับองคป์ ระกอบและหากขาดองค์ประกอบใด
ก็มอิ าจทำให้แผนการจัดการเรยี นรนู้ ัน้ สมบูรณ์

แผนการเรียนรู้ (Lesson Plan) ประกอบด้วย 9 หัวข้อ โดยการบูรณาการของหน่วย
ศกึ ษานิเทศก์ (สำลี รกั สุทธี และคณะ, 2541 หนา้ 136–137)

1. สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่ต้องการให้
เกดิ กบั นักเรียน เม่อื เรียนตามแผนกาสอนแล้ว

2. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives) เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่ต้องการให้เกิด
กับผู้เรียนเมื่อเรียนจบตามแผนการจัดการเรียนรู้แล้วเขียนในลักษณะจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ซึ่งเมื่อ
ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติทุกพฤติกรรมในแต่ละแผนการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้แล้วบรรลุผลตาม
วตั ถุประสงค์ ตัวช้วี ดั และมาตรฐานผลการเรียนร้ทู กี่ ำหนดไวใ้ นแตล่ ะหน่วย

3. สาระการเรยี นรู้ (Content) เป็นเนือ้ หาทีจ่ ดั กจิ กรรมและต้องการใหน้ ักเรยี นเกดิ การเรียนรู้
เป็นการเขียนเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นประเด็นสำคัญสั้นๆ สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ใน
แผนการจัดการเรยี นรู้

4. กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities) ขั้นตอนหรือกระบวนการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด เมื่อจบบทเรียนผู้เรียนจะได้รับความรู้ ทักษะ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

41

กระบวนการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ครบถ้วนตามเป้าหมายการเรียนรู้ของตัวชี้วัดและมาตรฐาน
การเรียนร้ทู กี่ ำหนดไว้โดยออกแบบการจดั กิจกรรมการเรยี นร้ทู ผ่ี ้เู รียนต้องปฏิบัติในแตล่ ะรายชวั่ โมงอย่างชดั เจน

5. สื่อและอุปกรณ์ (Instructional Media) เป็นสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้จะกำหนด
สื่อการเรียนรทู้ ี่ใช้ประกอบการเรียนการสอนไว้อย่างชัดเจน มีใบความรู้ ใบงาน แบบฝึกทักษะการเรียนรู้
เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้สอนตามความเหมาะสมและบอกแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่ จะช่วยให้การจัด
กจิ กรรมการเรยี นร้เู ป็นไปตามเปา้ หมายที่กำหนด

6. การวัดผลและประเมินผล (Measurement and Evaluation) เป็นการกำหนดขั้นตอน
หรือวิธีการวัดและประเมินผลว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
แยกเป็นก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน ทุกแผนการจัดการเรียนรู้จะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ
เรื่องการวัดและประเมินผล ได้แก่ หลักฐานการเรียนรู้ ร่องรอยการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผล
เครอ่ื งมือในการวัดและประเมินผล

7. กิจกรรมเสนอแนะ (Suggestion Activity) เปน็ กิจกรรมที่บนั ทึกการตรวจแผนการจดั การเรียนรู้
8. ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา (Comment) เป็นการบันทึกตรวจแผนการจัดการเรียนรู้เพ่ือ
เสนอแนะหลงั จากได้ตรวจสอบความถูกตอ้ ง การกำหนดรายละเอยี ดในหวั ข้อตา่ ง ๆ ในแผนการจดั การเรยี นรู้
9. บันทึกการสอน (Post Teaching Record) เป็นการบันทึกของผู้สอนหลังจากนำ
แผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้แล้วเพื่อเป็นการปรับปรุงและใช้ในคราวต่อไป เป็นการบันทึกผลการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ให้
บรรลุเป้าหมาย มี 3 หวั ขอ้ คอื

9.1 ผลการเรียน เป็นการบนั ทกึ ผลการเรียนดา้ นสขุ ภาพและปรมิ าณทงั้ 3 ดา้ น คอื ด้าน
พุทธพิ สิ ัย จติ พสิ ัย และทกั ษะพสิ ัย ซง่ึ กำหนดในขั้นกจิ กรรมการเรียนการสอนและการประเมนิ

9.2 ปญั หาและอุปสรรค เป็นการบนั ทึกปัญหาและอุปสรรคท่ีเกิดข้ึนในขณะสอน กอ่ นสอน
และหลังทำการสอน

9.3 ขอ้ เสนอแนะ / แนวทางแก้ไข เป็นการบันทึกข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงการเรียน
การสอน ให้เกิดการเรยี นรู้บรรลุจุดประสงค์ของบทเรยี นท่หี ลักสูตรกำหนดรูปแบบของแผนการเรียนรู้

องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยสาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและอุปกรณ์ การวัดผลและประเมินผล กิจกรรม
เสนอแนะ ขอ้ เสนอแนะของผู้บังคบั บัญชา และบนั ทึกการสอน

หลักในการเขียนแผนการจัดการเรยี นรู้

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ควรคำนึงถึงหลักในการเขียนว่าจะต้องมีเนื้อหาและ
กระบวนการในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร โดยเรียบเรียงเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อ
การนำไปใช้ศึกษาหรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางในการสอนผู้เรียน โดยหลักในการเขียน
แผนการจดั การเรียนรคู้ วรคำนึงถงึ รายละเอยี ดดังน้ี

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

42

1. ควรเขียนให้ชัดเจนแจ่มแจ้งในทุกหัวข้อเพื่อให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่าน มีรายละเอียด
พอสมควร ไม่ยน่ ยอ่ และไม่ละเอียดเกนิ ไป

2. ใชภ้ าษาเขียนทีส่ ่อื ความหมายใหเ้ ขา้ ใจไดต้ รงกัน เปน็ ประโยคท่ไี ด้ใจความ ไม่ใชค่ วามค้าง
ไมย่ ืดยาว เยน่ิ เยอ้

3. เขียนทุกหัวข้อเร่ืองใหส้ อดคล้องกนั
4. สาระสำคญั ต้องสอดคลอ้ งกบั เนื้อหา
5. จดุ ประสงคต์ ้องสอดคล้องกับเน้ือหา กิจกรรมและการวัดผล
6. สื่อการสอนตอ้ งสอดคล้องกบั กจิ กรรมและการวัดผล
7. เขียนให้เป็นลำดับข้นั ตอนกอ่ นหลงั ในทุกหวั ข้อ
8. เขยี นหัวขอ้ ให้ถูกต้องชดั เจน เชน่ จดุ ประสงคต์ อ้ งเขยี นใหเ้ ป็นจดุ ประสงค์เชิงพฤติกรรม
9. จดั เนอ้ื หากจิ กรรมใหเ้ หมาะสมกบั เวลาท่ีกำหนด
10. คดิ กจิ กรรมท่นี า่ สนใจอยเู่ สมอ
11. เขียนให้เปน็ ระเบียบ งา่ ยแก่การอ่าน และสะอาดชวนอ่าน
12. เขียนในสงิ่ ท่สี ามารถปฏบิ ัติได้จรงิ และสอนตามแผนทีว่ างไว้
หลักในการเขยี นแผนการจัดการเรียนรู้ ผเู้ ขยี นจะต้องวางแผนล่วงหน้าก่อนการเรียนการสอน
โดยศกึ ษาเน้ือหาที่จะเขยี นให้ละเอียดและตามลำดับขั้นตอน แบง่ หน่วยเน้ือหาย่อย แบ่งเวลาท่ีใช้การสอน
ทุกหัวขอ้ มคี วามสอดคล้องกัน ใชภ้ าษาท่เี ขา้ ใจง่าย รวมทง้ั ตอ้ งมกี ารหาประสิทธภิ าพของแผนการจัดการเรยี นรู้

รูปแบบของแผนการจดั การเรยี นรู้

แผนการจัดการเรยี นรู้ไมม่ ีรูปแบบทีต่ ายตัวแตแ่ ผนจะมลี กั ษณะที่คล้ายคลงึ กนั นักวิชาการท่ี
ไดศ้ กึ ษาวิเคราะหไ์ ว้ว่าลักษณะของแผนน้ันสถานศึกษาให้อสิ ระในการออกแบบแผนการจดั การเรียนรู้
ซง่ึ มหี ลายรูปแบบ รายละเอียดมีดังน้ี

1. แผนการจดั การเรยี นรแู้ บบบรรยายหรือแบบความเรยี ง เปน็ การเขียนองค์ประกอบต่าง ๆ
ของแผนการจัดการเรียนรู้โดยเขียนร้อยเรียงกันเป็นความเรียงตามลำดับซึ่งจะมีวิธีการเขียนโดยใช้
ประเดน็ ทส่ี ำคัญมากำกับแตก่ ารลำดบั กจิ กรรมการเรยี นการสอนจะเขียนเป็นเชิงบรรยายกิจกรรมท่ีครู
จดั เตรียมไวโ้ ดยไม่ระบุชดั เจนวา่ นกั เรยี นทำอะไร

2. แผนการจัดการเรียนรู้แบบตาราง เป็นการเขียนองค์ประกอบในรูปแบบตารางซึ่งจะทำ
ให้มองเห็นภาพรวมขององค์ประกอบต่าง ๆ ได้เข้าใจง่าย แผนการจัดการเรียนรู้แบบนี้เขียนโดยใช้
คำสำคัญมากำกบั และบรรจุลงในตารางเกอื บทั้งหมด

3. แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นการเขียนองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนการจัด
การเรยี นร้ทู ่ีผสมผสานทง้ั 2 แบบ คอื แบบความเรียงและแบบตาราง

รูปแบบแผนการจัดการเรียนรมู้ ีหลายรูปแบบขึน้ อยู่กับดลุ ยพินิจของผู้สอนหรอื สถานศึกษา
จะเลอื กใชใ้ หเ้ หมาะสมและสะดวกตอ่ การนำไปใช้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้


Click to View FlipBook Version