The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนิเทศภาษาอังกฤษ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chtsan6, 2022-09-10 23:44:34

คู่มือนิเทศภาษาอังกฤษ

คู่มือนิเทศภาษาอังกฤษ

43

ขน้ั ตอนการเขียนแผนการจดั การเรยี นรู้

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรเขียนเป็นขั้นตอนโดยนำมาตรฐานหลักสูตร
การศกึ ษาขั้นพน้ื ฐานมาจดั การเรยี นรู้ (วมิ ลรัตน์ สุนทรวิโรจน์, 2553, หนา้ 203-213) ดังนี้

1. ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระการเรียนรู้ท่ี
จัดทำหลกั สูตรเพอื่ ให้เขา้ ใจเป้าหมายและทิศทางของการจัดการเรียนรู้

2. วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรชู้ ่วงช้ัน เพื่อกำหนดสาระการเรยี นรู้ช่วงชั้นและกำหนดผล
การเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี รายภาค (เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกำหนดสาระการเรียนรู้เป็น
รายภาคเรียน) สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นการกำหนดเนื้อหาที่จะต้องเรียนโดยคำนึงถึงจุดเน้นของ
หลักสูตร ความต้องการของผู้เรียน ความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน จำนวนเวลาที่จัดการเรียนรู้
ในแต่ละสัปดาห์ วัยและระดับชั้น ส่วนการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี รายภาคเรียนน้ัน เปน็
การระบถุ งึ ความรูท้ กั ษะและคุณลักษณะของผู้เรยี นซง่ึ จะเกดิ ขนึ้ หลงั จากการเรยี นรู้ในแตล่ ะปี/ภาค

3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาคเรียน เพื่อ
กำหนดเป็นสาระการเรียนรู้รายปี รายภาค กล่าวคือเป็นเนื้อหาที่จะต้องเรียนให้สอดคล้องกับสภาพ
และความตอ้ งการของทอ้ งถ่นิ และชมุ ชน

4. นำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี รายภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/รายภาคมา
พจิ ารณาเพอ่ื จัดทำคำอธบิ ายรายวชิ า

5. นำคำอธบิ ายรายวชิ ามากำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้ ซ่ึงอาจอธบิ ายไดว้ า่ เป็นหนว่ ยการเรียนรู้
เปรียบเสมือนบทเรียนหน่ึง ๆ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาหลายเร่ืองที่มีความสัมพันธ์กัน นอกจากน้ีการจัดทำ
หน่วยการเรยี นรู้อาจใช้หลักการบูรณาการหลายกลุ่มสาระการเรียนร้เู ข้าด้วยกันโดยใชว้ ชิ าใดวิชาหน่ึง
เช่น สังคมศกึ ษา แล้วนำลักษณะเนือ้ หาของกลุ่มสาระการเรียนรอู้ ่ืนที่มีความสัมพันธ์เช่อื มโยงเขา้ ด้วยกัน

6. นำหนว่ ยการเรยี นรแู้ ตล่ ะหนว่ ยมาจัดทำแผนการจดั การเรยี นรู้เป็นรายหนว่ ย
7. นำแผนการจัดการเรยี นร้รู ายหนว่ ยมาจัดทำแผนการเรียนรรู้ ายชวั่ โมง
ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถจัดทำได้
ตามขั้นตอน (อาภรณ์ ใจเทย่ี ง, 2553 หนา้ 230-231) ดงั น้ี
1. วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำโครงสร้างรายวิชาที่ประกอบด้วย
หน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรยี นรู้ ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลาเรียน และน้ำหนัก
คะแนนในแต่ละหน่วย ซึ่งจะเห็นในภาพรวมในระดับรายวิชาว่าผู้สอนจะต้องจัดการเรียนรู้ในแต่ละปี
การศึกษาหรือภาคการศึกษาทง้ั หมดกีห่ นว่ ยการเรยี นรู้ใช้เวลาเรยี นเทา่ ใด
2. วิเคราะห์จุดประสงค์รายวิชาและมาตรฐานรายวิชา โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ เพื่อนำมาเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยให้ครอบคลุมพฤติกรรมทั้ง
ดา้ นความรู้ ทกั ษะ กระบวนการ เจตคตแิ ละคา่ นิยม
3. วิเคราะหส์ าระการเรยี นรู้โดยวเิ คราะหจ์ ากตัวชว้ี ดั หรอื ผลการเรียนรทู้ ่ีกำหนดไว้ในแต่ละ
รายวิชา เพื่อนำมาใช้ในการเลือกและขยายสาระที่เรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน ชุมชน และท้องถ่ิน
รวมทง้ั วทิ ยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ท่เี ปน็ ประโยชนต์ อ่ ผเู้ รยี น

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

44

4. วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้และ
ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตลอดจนสาระการเรียนรู้ โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติจริง มีความน่าสนใจ สอดคล้องกับวัยและธรรมชาติของ
ผ้เู รียน สามารถนำความรู้ไปใชใ้ นชีวิตประจำวันและชวี ติ จรงิ ได้

5. วิเคราะหก์ ระบวนการประเมนิ ผล โดยเลือกใช้วธิ กี ารวดั และประเมินผลท่หี ลากหลาย ใช้
เครอื่ งมือวัดท่มี ีความนา่ เชือ่ ถอื และเกณฑ์การประเมินที่สอดคล้องกับจดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้

6. วเิ คราะห์แหล่งการเรยี นรู้ โดยคัดเลอื กส่อื การเรยี นรูแ้ ละแหลง่ การเรียนรู้ทั้งในและนอก
หอ้ งเรียนให้เหมาะสมสอดคลอ้ งกบั กระบวนการเรียนรู้

ข้ันตอนการจัดทำแผนการจดั การเรียนรู้ ตอ้ งเร่มิ จากการศึกษาหลักสตู รการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
โดยศึกษามาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สาระการเรียนรู้
ตวั ชวี้ ดั รายปี/รายภาค แลว้ กำหนดเปน็ สาระการเรยี นรใู้ ห้สอดคลอ้ งกบั สภาพบรบิ ทและความต้องการ
ของท้องถิ่นและชุมชน หลังจากนั้นจึงนำตัวชี้วัดชั้นปีและสาระการเรียนรู้รายปีมาพิจารณาจัดทำ
คำอธิบายรายวิชา แล้วจึงกำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้
การจัดการเรียนรู้ต่อไป การวางแผนการจัดการเรียนรู้ควรเป็นสิ่งที่ครูสร้างขึ้นด้วยความรู้สึกที่ดีที่
สะท้อนการเป็นนักคิด นักวางแผน เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร มีความยืดหยุ่น ทุกคนแปลความได้
ตรงกันและมีการนำไปใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระบวนการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง
ซ่ึงมีองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้และการเขียนองค์ประกอบต่าง ๆ ควรเขียนให้มีความ
สอดคลอ้ งสมั พันธก์ นั และผสู้ อนสามารถนำไปสอนได้จริงเพ่ือใหเ้ กดิ ประโยชน์สงู สุดกับผเู้ รยี นตอ่ ไป

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

45

ภาพที่ 2.1 ลำดบั การจัดทำแผนการจัดการเรยี นรู้

วิเคราะห์คำอธบิ ายรายวชิ า เพือ่ กำหนดหนว่ ยการเรยี นรู้ หวั ขอ้ การเรียนรู้ และเวลาท่ีจะใช้

วิเคราะห์จุดประสงค์รายวิชา เพือ่ กำหนดผลการเรียนรูท้ ี่คาดหวงั ใหเ้ กดิ ข้ึนกับผเู้ รียน ท้งั ด้าน
และมาตรฐานรายวิชา ความรูท้ กั ษะกระบวนการ เจตคตแิ ละพฤติกรรมลักษณะนสิ ยั ที่
พงึ ประสงค์ โดยการเขยี นในรูปจดุ ประสงค์ทวั่ ไปและเชงิ พฤตกิ รรม
วเิ คราะห์สาระการเรยี นรู้
จากผลการเรียนรู้ - เลอื กและขยายสาระการเรยี นร้ใู หส้ อดคล้องกบั ผเู้ รยี น ชมุ ชน ท้องถ่นิ
- สาระการเรียนรู้ตอ้ งมคี วามเท่ยี งตรง ปฏบิ ตั ไิ ด้จรงิ ทันสมยั และ
เปน็ ตวั แทนของความรู้
- มคี วามสำคญั ท้งั ในแนวกว้างและแนวลึก
- จัดสาระการเรยี นรใู้ หเ้ รียงลำดบั จากง่ายไปหายากและต่อเน่ือง
- จดั สาระทเี่ รยี นรู้ให้สมั พนั ธก์ บั รายวชิ า / กล่มุ วิชาอื่น ๆ

วิเคราะห์ - เลือกรูปแบบการจดั การเรียนรู้ให้สอดคลอ้ งกับจุดประสงค์การเรียนรู้ว่า
กระบวนการจัดการเรยี นรู้ มุ่งไปในทศิ ทางใด
- มคี วามสนใจสำหรบั ผูเ้ รยี น
- สามารถเรยี นรไู้ ด้ง่าย เหมาะสมกบั วัย ธรรมชาตขิ องผเู้ รยี นและสถานท่ี
- เลอื กวิธีการนำเข้าสู่การเรยี น
- ให้ผูเ้ รยี นทำกิจกรรมตามข้นั ตอนของรูปแบบการเรยี นรู้ ผเู้ รียน
ทีม่ คี วามสามารถแตกต่างกนั ไมจ่ ำเปน็ ตอ้ งทำกจิ กรรมเหมอื นกัน
- ควรเน้นกิจกรรมท่ที ำงานเปน็ ทีมมากวา่ รายบคุ คล
- กจิ กรรมท่ีให้ผูเ้ รยี นปฏบิ ัตติ อ้ งนำเทคนิคและวธิ ีการตา่ ง ๆ มา
เปน็ เครือ่ งมอื ให้ผเู้ รียนบรรลุตามจดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้
- กจิ กรรมทีป่ ฏิบัตคิ วรสอดคลอ้ งกับชีวติ ประจำวันและชวี ติ จริง
- กิจกรรมทป่ี ฏบิ ัตมิ ีทง้ั ในห้องเรียนและนอกห้องเรยี น
- เปิดโอกาสให้ผ้เู รยี นฝึกฝนและถ่ายทอดการเรยี นรู้ไปสู่สถานการณ์
- ใหม่ ๆ พร้อมท้ังทำใหเ้ กดิ ความจำระยะยาว
- ตรวจสอบความเขา้ ใจโดยให้ผู้เรยี นสรปุ รวมทง้ั ส่งเสรมิ ให้
เชอ่ื มโยงส่ิงทเี่ รยี นร้แู ละที่จะเรียนต่อไป

วเิ คราะห์ - วิธีการวัดและประเมินผลต้องสอดคลอ้ งกับจดุ ประสงค์การเรียนรู้
กระบวนการประเมินผล - ใชว้ ธิ ีการวดั ทีห่ ลากหลาย
- เลอื กใช้เครือ่ งมอื วัดที่มีความเชอื่ มั่น
วิเคราะหแ์ หลง่ การเรยี นรู้ - แปลผลการวดั และการประเมนิ เพือ่ นำไปสกู่ ารพฒั นาและปรับปรงุ

ใหเ้ รียนรจู้ ากแหล่งความรู้หลากหลาย ทงั้ ในและนอกหอ้ งเรยี น

ทีม่ า : อาภรณ์ ใจเทย่ี ง. (2553). หลักการสอน. พิมพ์ครัง้ ที่ 5 กรงุ เทพฯ : โอเดียนสโตร.์

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

46

ตารางที่ 2.3 ขอ้ แนะนำการเขยี นแผนการจดั การเรียนรู้

องค์ประกอบ ข้อแนะนำการเขยี นการเขยี นแผนการจัดการเรียนรู้

1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้/ เขียนให้ชัดเจน กะทัดรดั เหมาะสมครอบคลุมเนื้อหาสาระการเรียนรู้และ

หัวข้อเร่ือง เวลาท่กี ำหนด

2. สาระสำคัญ เขียนให้กะทัดรัด เป็นหัวข้อย่อยหรือความเรียงก็ได้ แต่ต้องสอดคล้องกบั

ชื่อหน่วย/หัวข้อเรื่อง เน้นให้รู้ว่าจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรและเรื่องน้ัน

สำคญั อยา่ งไร

3. จุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยให้ครอบคลุมหัวข้อเรื่อง เน้น

พฤติกรรมและจติ พสิ ยั โดยเขยี นเปน็ ขอ้ ๆ เรยี งตามลำดับ แบง่ เป็นจดุ สงค์

ท่ัวไปและจุดประสงค์เชงิ พฤติกรรม

4. สาระการเรยี นรู้ กำหนดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เวลา ระดับความรู้ของผู้เรียน จึง

เรียงลำดบั อยา่ งเหมาะสมจากงา่ ยไปหายาก โดยเขียนเนน้ เฉพาะประเด็นที่

สำคญั (รายละเอยี ดอยู่ในใบความรู้)

5. กจิ กรรมการเรียนรู้ ระบุกิจกรรมที่เลือกตามบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน โดยเขียนให้ชัดเจน

ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้และเหมาะสมกับเวลา หากมี

หลายกิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมต่อเนื่องตามลำดับที่ต้องการให้เกิดการ

เรียนรตู้ ามจุดประสงค์การเรยี นรทู้ ีก่ ำหนดไว้

6. สอ่ื การเรยี นรู้ กำหนดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้

และเวลา โดยทวั่ ไปจะแบง่ เป็นสอ่ื สิง่ พมิ พ์ (เอกสารตำรา

ใบช่วยสอน) และสอื่ โสตทัศน์

7. การวัดประเมินผล ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเวลา โดยกำหนดจำนวนครั้ง วิธีวัดและวิธี

ประเมนิ ผลใหช้ ัดเจน โดยทั่วไปแบ่งเป็นการประเมินภาคทฤษฎี (ประเมินด้าน

พทุ ธพสิ ยั และจิตพสิ ัย) และการประเมนิ ภาคปฏบิ ัติ (ประเมนิ ด้านทักษะพิสัย)

รวมท้งั ตอ้ งกำหนดเคร่ืองมือท่ีใช้วัดและเกณฑ์การประเมนิ ใหช้ ดั เจน

8. งานมอบหมาย/กจิ กรรม กำหนดให้สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์ โดยอาจเป็นงานท่ีทำนอกเวลา

เสนอแนะ เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจ ทักษะและประสบการณ์ หรือสิ่งที่ต้องเตรียม

ล่วงหน้า จงึ ต้องกำหนดเวลาสง่ งานและเกณฑ์การให้คะแนนด้วย
9. เอกสารอ้างอิงหรือ เขยี นตามแบบทน่ี ิยมรูปแบบใดรูปแบบหน่ึง ทง้ั ส่อื สิง่ พมิ พ์และส่อื โสตทัศน์
บรรณานกุ รม

10. บันทึกหลังการจัด ระบุถงึ ขอ้ ดี ข้อดอ้ ย ปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนรแู้ ละแนวทางแก้ไข

การเรียนรู้

ทีม่ า: วัฒนาพร ระงบั ทกุ ข์. (2542). แผนการสอนทเี่ น้นผเู้ รียนเป็นศนู ย์กลาง. กรุงเทพฯ : บริษัทแอล.ท.ี เพรส จำกัด.

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

47

ตวั อย่างการจัดแผนการจดั การเรยี นรู้

กลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วชิ า ภาษาอังกฤษ 3 รหัสวิชา อ ..............

ภาคเรยี นที่ 1 ช้ันมัธยมศกึ ษาปที ี่ 2 เร่อื ง My Perfect Weekend

จำนวน 1 ชั่วโมง ครูผู้สอน……………………………………..

.....................................................................................................................................................................................

1.มาตรฐานการเรยี นร/ู้

ต.1.3 นำเสนอขอ้ มลู ขา่ วสาร ความคดิ รวบยอด และความคิดเห็นในเรอื่ งต่างๆ โดยการพูด

และการเขียน

2. ตวั ช้ีวัด/ผลการเรียนรู้

ต 1.3 ม.2/1 พดู และเขยี นบรรยายเก่ียวกบั ตนเอง กิจวตั รประจำวัน ประสบการณ์และขา่ ว/

เหตุการณท์ ี่อยูใ่ น ความสนใจของสังคม

3. จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ (Learning Objectives)

1. ฟังและบอกความหมายของคำศัพท์เก่ียวกับกิจวัตรประจำวนั และกจิ กรรมในวันหยดุ สุด

สัปดาห์ได้ถูกต้อง

2. เขา้ ใจวิธกี ารใชค้ ำศัพท์ สำนวน โครงสรา้ งประโยคเกยี่ วกับกิจวตั รประจำวนั และกิจกรรม

ในวนั หยุดสุดสัปดาห์

3. สามารถอ่านออกเสยี งคำศัพท์ สำนวน ประโยค ถูกตอ้ งตามหลักการอา่ น

4. มีทกั ษะการส่ือสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเก่ียวกับกิจวัตรประจำวนั และ

กิจกรรมในวนั หยุดสดุ สัปดาห์

5. สามารถเขยี นบรรยายเกยี่ วกับกิจวตั รและกจิ กรรมในวันหยุดสุดสัปดาห์

4. สาระสำคัญ (Concepts)

การฟังและบอกความหมายของคำศัพท์ เข้าใจวธิ ีการใช้คำศัพท์ สำนวน โครงสรา้ งประโยค

เกย่ี วกบั กจิ วัตรประจำวนั และกิจกรรมในวันหยุดสดุ สปั ดาห์ สามารถอ่านข้อความ พดู โต้ตอบ เขียน

บรรยาย และนำเสนอเป็นภาษาองั กฤษ เกย่ี วกับกิจวัตรประจำวนั และกิจกรรมในวนั หยุดสดุ สัปดาห์

โดยมวี นิ ัยในการเรยี น มุง่ ม่นั ในการทำงาน มีความมัน่ ใจในการแสดงออก มีเจตคติที่ดตี ่อภาษาองั กฤษ

และใชภ้ าษาอังกฤษเป็นเคร่ืองมือในการเรียนรู้

5.สาระการเรียนรู้ (Contents)

5.1 ด้านความรู้ Knowledge (K)

1) ความหมายของคำศพั ท์เก่ียวกับกจิ วตั รประจำวนั และกิจกรรมในวนั หยุดสุดสัปดาห์

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

48

2) การใชค้ ำศพั ท์ สำนวน โครงสรา้ งประโยคเก่ยี วกับกิจวตั รประจำวนั และกิจกรรมใน
วนั หยดุ สดุ สปั ดาห์

4.2 ดา้ นทักษะ/กระบวนการ Skills /Process (P)
1) การอ่านออกเสยี งคำศัพท์ สำนวน ประโยค ถกู ต้องตามหลักการอ่าน
2) ทกั ษะการสอ่ื สารทางภาษาในการแลกเปล่ยี นข้อมลู เกี่ยวกบั กจิ วตั รประจำวันและ

กจิ กรรมในวนั หยดุ สุดสปั ดาห์
3) การเขียนบรรยายเกี่ยวกบั กจิ วัตรประจำวนั และกจิ กรรมในวันหยุดสุดสปั ดาห์

4.3 ดา้ นคุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์ Attitudes and desirable characteristics) (A)
1) การพดู และเขียนเร่ืองที่เกี่ยวกบั กิจวัตรประจำวันและกิจกรรมในวนั หยุดสุดสปั ดาห์มี

ความสามารถในการส่ือสารอย่างมปี ระสิทธิภาพและเหมาะสม
2) การมองเหน็ ความสำคัญของการมมี ารยาทท่ดี ีท่ีในการสื่อสารกบั บคุ คลอ่ืน

6. กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities)
ขัน้ ท่ี 1 การนำเสนอ (Presentation)
1) ทบทวนคำถามท่ีใช้ Present Simple and Present Continuous as future โดยการ

เขียนตัวอย่างคำตอบบนกระดานและใก้นักเรียนถามคำถามของคำตอบนัน้ ๆ เช่น
How often do you watch movies? - Twice a week
Are you studying this evening? - Yes, I am. I’ve got a test tomorrow.
2) สุ่มนักเรียน 2 -3 คน ให้มาเขียนคำตอบลงบนกระดานและใหน้ ักเรียนในห้องช่วยกนั ตง้ั

คำถามท่ีสมั พันธก์ ับคำตอบโดยใช้ Present Simple and Present Continuous
3) สรุปทบทวนโครงสรา้ ง present Simple พดู ถึงส่งิ ทีก่ ระทำเปน็ กจิ วัตร และ present

continuous as future เนน้ ย้ำกรยิ า verb to be ใน present continuous แสดงการกระทำท่ี
กำลงั ดำเนินอยใู่ นปัจจบุ ัน ส่วน present continuous as future ใช้ แสดงการกระทำที่วางแผนว่า
จะทำในอนาคต

ข้นั ที่ 2 การฝกึ ปฏบิ ัติ (Practice)
4) นำเสนอบัตรภาพที่มคี ำศัพทป์ ระกอบเกย่ี วกับกิจวัตรและกิจกรรมในวันหยดุ สดุ สปั ดาห์
(Handout: Find someone who…) ใหน้ กั เรียนฝกึ อา่ นออกเสียง โดยครูอา่ นก่อนและให้นักเรยี น
ออกเสยี งตาม
5) แจกใบงานนักเรยี น อธิบายว่านกั เรยี นจะต้องเดินไปถามเพ่ือนในชนั้ เรียนเพ่ือเติมคำตอบ
ให้สมบรู ณ์ทุกข้อ โดยยกตัวอย่างคำถามจากใบงาน 3 – 4 ข้อ โดยให้ทงั้ ชั้นช่วยกนั ตง้ั คำถาม เช่น
How often do you travel by bus?
What do you usually have for breakfast?

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

49

โดยนกั เรยี นอาจจะต้องถามมากกวา่ 1 คำถามเพอื่ ใหไ้ ด้คำตอบ เช่น หากตอ้ งการจะหาเพื่อน
ที่เลน่ บาสเกตบอลทุกสปั ดาห์อาจจะต้องถามวา่

Do you play basketball?
How often do you play?
6) นักเรียนเดนิ ไปรอบชัน้ เรยี นพรอ้ มกับใบงาน กำหนดเวลา 15 นาทีเพ่ือที่จะหาช่อื เพื่อน
เตมิ ลงในใบงาน เน้นย้ำวา่ พูดภาษาองั กฤษแบบเตม็ ประโยคเท่านน้ั และห้ามให้ใครเห็นคำตอบ
7) เม่อื ครบเวลาให้นักเรียนนั่งประจำทแ่ี ละเปรียบเทียบคำตอบกับเพือ่ นเป็นคู่
8) รว่ มกนั อภปิ รายท้งั ชัน้ เรยี นว่าคำตอบใดที่พบและไม่พบ คำถามใดที่หาคำตอบยากที่สุด
พรอ้ มท้งั ถามเหตุผล
ข้ันที่ 3 การนำไปใช้ (Production)
9) ใหน้ กั เรยี นทำงานเปน็ กลุ่ม 4-6 คน และเปรียบเทียบกจิ วตั รประจำวนั ธรรมดาและกจิ วัตร
ในวัดหยดุ สดุ สัปดาห์ (Weekday daily routines VS their routines at the weekend) จัดทำ
แบบสอบถาม (Survey) จำนวน 10 คำถามเกีย่ วกบั กจิ วตั รประจำวนั ธรรมดาและกจิ วัตรในวัดหยุด
สดุ สัปดาห์ (Weekday daily routines VS their routines at the weekend) และให้สำรวจเพื่อน
กลุม่ อนื่ เพอ่ื เตมิ คำตอบลงในแบบสอบถามของกลุม่ ตนเอง
10) บอกนกั เรียนใหจ้ นิ ตนาการว่าสัปดาหห์ นา้ จะเปน็ วนั หยดุ ท่สี มบรู ณ์แบบ Perfect
Weekend ของนกั เรียนทุกคน ให้นกั เรียนเตรียมโปสเตอร์ทอ่ี ธบิ ายแผนการของ My Perfect
Weekend โดยใช้ Present Continuous tense เชน่ On Saturday, I’m getting up at 10
o’clock. I’m having breakfast at fast food restaurant with my friend. จากนั้นให้นกั เรียน
นำเสนอโปสเตอร์ Perfect Weekend บนผนังรอบหอ้ งเรยี นและให้เพ่ือนรว่ มช้ันคนอ่ืนชมผลงาน

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

50

7. การวดั ผลและประเมนิ ผล (Evaluation and Assessment)

สง่ิ ท่ตี อ้ งวัด วิธีวดั เครอื่ งมอื วดั เกณฑ์การประเมนิ ผล
1. การบอกความหมายของคำศพั ท์ การประเมนิ การอา่ น แบบประเมินการอ่าน ผ่านเกณฑ์ตง้ั แต่
เกย่ี วกบั กจิ วตั รประจำวนั และ ออกเสียงและ ออกเสยี งและ ร้อยละ 60 คะแนน
กิจกรรมในวนั หยดุ สดุ สัปดาหไ์ ด้ ความหมาย ความหมาย ขึ้นไป
ถกู ต้อง
2. การอ่านออกเสียงคำศพั ท์ ประเมินความสามารถ แบบประเมนิ ผา่ นเกณฑต์ ง้ั แต่
สำนวน ประโยค ถูกตอ้ งตาม ในการสนทนา ความสามารถในการ รอ้ ยละ 60 คะแนน
หลกั การอา่ น Handout: Find สนทนา ขนึ้ ไป
3. ความเข้าใจวธิ ีการใชค้ ำศพั ท์ someone who…
สำนวน โครงสร้างประโยคเกี่ยวกบั แบบประเมินงานเขยี น ผา่ นเกณฑต์ ง้ั แต่
กจิ วตั รประจำวันและกิจกรรมใน การเขยี นโปสเตอร์
วนั หยดุ สดุ สัปดาห์ บรรยายเรอ่ื ง My My Perfect รอ้ ยละ 60 คะแนน
4. ทกั ษะการสอ่ื สารทางภาษาในการ Perfect Weekend
แลกเปลยี่ นข้อมลู เกยี่ วกับกจิ วัตร Weekend ข้นึ ไป
ประจำวันและกิจกรรมในวนั หยดุ สดุ
สปั ดาหไ์ ด้
5. การเขยี นบรรยายเก่ียวกบั กิจวตั ร
และกจิ กรรมในวันหยดุ สดุ สัปดาห์
ของตนเองได้

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

51

7.1 แบบประเมนิ การอ่านออกเสยี งและความหมาย

ระดบั คุณภาพ

ประเดน็ การประเมนิ ดี ปานกลาง พอใช้ ปรับปรงุ

( 5 คะแนน) ( 4 คะแนน) (3 คะแนน) (2 คะแนน)

ความเข้าใจ ตอบคำถามหลังจาก ตอบคำถามหลังจาก ตอบคำถามหลังจาก ตอบคำถามหลงั จากท่ี
ทอ่ี ่านได้ร้อยละ 100 ที่อ่านไดร้ อ้ ยละ 80 ทอี่ า่ นไดร้ ้อยละ 60 อ่านไดต้ ำ่ กว่าร้อยละ 50

สามารถออกเสียง สามารถออกเสียง สามารถออกเสียง สามารถออกเสียงคำศพั ท์

การอ่านออกเสยี ง คำศพั ทแ์ ละเน้นเสยี ง คำศพั ท์และเนน้ เสียง คำศพั ทแ์ ละเนน้ เสยี ง และเน้นเสียงสูงตำ่ ได้
สูงตำ่ ได้ถกู ตอ้ งตาม สูงตำ่ ได้ถกู ต้องตาม สงู ต่ำได้ถกู ตอ้ งตาม ถูกตอ้ งตามหลกั การ ตำ่

หลกั การรอ้ ยละ 100 หลักการรอ้ ยละ 80 หลักการรอ้ ยละ 60 กว่ารอ้ ยละ 50

สามารถบอก สามารถบอก สามารถบอก สามารถบอก

การรคู้ วามหมาย ความหมายและ ความหมายและ ความหมายและ ความหมายและ
ของคำศัพท์ อธิบายความหมาย อธิบายความหมาย อธิบายความหมาย อธบิ ายความหมายของ
ของคำศพั ท์ได้ ของคำศัพท์ได้ ของคำศัพทไ์ ด้ คำศัพทไ์ ด้

รอ้ ยละ 100 รอ้ ยละ 80 ร้อยละ 60 ต่ำกวา่ ร้อยละ 50

คะแนนเต็ม 15 คะแนน

เกณฑ์การประเมนิ
15 - 13 คะแนน ดีมาก
12 - 10 คะแนน ดี
9 - 8 คะแนน พอใช้
น้อยกว่า 7 คะแนน ควรปรบั ปรุง

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

52

7.2 เกณฑก์ ารประเมนิ ความสามารถในการสนทนา

ระดับคุณภาพ

ประเดน็ การประเมนิ ดี ปานกลาง พอใช้ ปรับปรุง

( 4 คะแนน) ( 3 คะแนน) (2 คะแนน) (1 คะแนน)

ออกเสยี งถกู ต้องตาม ออกเสียงถกู ตอ้ ง ออกเสยี งถกู ตอ้ ง ออกเสยี งไมถ่ ูกต้อง

การออกเสียง หลกั การออกเสยี ง ตามหลกั การ ออก เปน็ บางสว่ น ทำให้ไม่เข้าใจ
มีเสยี งเนน้ หนกั ในคำ/ เสียงเปน็ สว่ นใหญ่ แตพ่ อเข้าใจ

ประโยคอยา่ งสมบรู ณ์

ใช้คำศพั ท์ สำนวน ใช้คำศพั ท์ สำนวน ใช้คำศัพท์ สำนวน ใช้คำศัพท์สำนวน

คำศัพทส์ ำนวนและ และโครงสร้างภาษา และโครงสรา้ ง และโครงสรา้ ง และโครงสรา้ ง
โครงสร้างภาษา ถกู ต้องและเหมาะสม ประโยคถูกต้อง เป็น ประโยคแบบงา่ ย ๆ ประโยคแบบง่าย ๆ
ส่วนใหญ่ แตไ่ ม่ และมีขอ้ ผดิ บ้าง และมขี อ้ ผดิ มาก

หลากหลาย

เนือ้ หา เนอื้ หาถูกต้อง มี เน้อื หาถูกตอ้ งเปน็ เนื้อหาถกู ต้องเปน็ เนื้อหาไมถ่ ูกตอ้ ง

รายละเอียด ส่วนใหญ่ บางสว่ น หรือมีข้อผดิ มาก

พดู ได้อยา่ งเปน็ พดู ตดิ ขัดบางครั้ง พูดคล้ายแบบ พูดเปน็ แบบทอ่ งจำ

ความคล่องแคล่ว ธรรมชาติ แต่ยังสามารถ ทอ่ งจำ พอส่อื สาร ตะกกุ ตะกัก

คลอ่ งแคล่ว สอ่ื สาร ส่ือสารได้ชดั เจน ได้บา้ ง สื่อสารได้น้อยมากหรอื

ได้ชัดเจน ไม่ได้เลย

แสดงทา่ ทางและพดู แสดงท่าทางและพูด พูดโดยไมแ่ สดง พดู โดยไมแ่ สดง

การแสดงทา่ ทาง ดว้ ยนำ้ เสียงท่ี ดว้ ยนำ้ เสียงทีห่ มาะสม ท่าทางประกอบ ทา่ ทางประกอบ

น้ำเสียงประกอบการพดู เหมาะสมกบั บทบาท กบั บทบาทและ น้ำเสียงคลา้ ยการอ่าน น้ำเสยี งเป็นการพูด

และสถานการณ์ดมี าก สถานการณ์ในระดบั ดี หรอื การท่องจำ แบบทอ่ งจำ

คะแนนเต็ม 20 คะแนน

เกณฑ์การประเมนิ
18-20 คะแนน ดมี าก
17-15 คะแนน ดี
14-12 คะแนน พอใช้
น้อยกว่า 11 คะแนน ควรปรบั ปรุง

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

53

7.3 เกณฑก์ ารประเมินงานเขียน My Perfect Weekend

ระดับคณุ ภาพ

ประเดน็ การประเมนิ ดี ปานกลาง พอใช้ ปรบั ปรุง

( 5 คะแนน) ( 4 คะแนน) (3 คะแนน) (2 คะแนน)

เขียนถูกต้อง เขยี นถกู ตอ้ ง เขียนผิดบา้ งและไม่ เขยี นผิดมากและให้

เนื้อหา ครอบคลมุ เน้ือหา ครอบคลมุ เน้ือหา ครอบคลมุ เนือ้ หา ขอ้ มลู น้อย

อยา่ งสมบรู ณ์ เป็นส่วนใหญ่

ใชค้ ำศพั ท์ สำนวน ใช้คำศัพท์ สำนวน ใชค้ ำศพั ท์ สำนวน ใชค้ ำศัพท์ สำนวน

คำศัพท์ สำนวน และโครงสรา้ ง และโครงสรา้ ง และโครงสรา้ ง และโครงสร้าง
และโครงสรา้ งภาษา ภาษาถูกต้อง ภาษาถูกตอ้ ง ภาษาแบบงา่ ย ๆ ภาษาแบบง่าย ๆ
เหมาะสมและ เหมาะสม และมีขอ้ ผดิ บ้าง และมีข้อผิดมาก

หลากหลาย

องคป์ ระกอบของ องคป์ ระกอบของ องค์ประกอบของงาน องคป์ ระกอบของ

งานเขียนแสดงให้ งานเขยี นมี เขยี นนา่ สนใจแตข่ าด งานเขยี นไม่

องคป์ ระกอบ เห็นความคดิ ริเริ่ม ความสมั พนั ธ์ ความสัมพนั ธต์ ่อเนอื่ ง น่าสนใจ

ของงานเขียน สรา้ งสรรคม์ ี ตอ่ เน่อื งนา่ สนใจ

ความสมั พันธ์

ตอ่ เนอ่ื งนา่ สนใจมาก

คะแนนเต็ม 15 คะแนน

เกณฑ์การประเมนิ
15 - 13 คะแนน ดีมาก
12 - 10 คะแนน ดี
9 - 8 คะแนน พอใช้
นอ้ ยกว่า 7 คะแนน ควรปรับปรุง

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

54

8.ชิน้ งานหรอื ภาระงาน (Assignments)
1. Handout: Find someone who….
2. My Perfect Weekend

9.สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media)
1. บทเรยี นประเภทสื่ออเิ ลคทรอนกิ ส์
2. รปู ภาพต่างๆ
3. คลิปวดิ โี อตา่ งๆ
4. ใบงานตา่ งๆ
5. บอรด์ นทิ รรศการ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

55

Handout: Find Someone Who…………

ทีม่ า: Meredith Levy; Nicholas Murgatroyd.(2009). Pair work and Groupwork: Multi-level
Photocopiable Activities for Teenagers (Cambridge Copy Collection). Cambridge: Cambridge
University Press.

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

56

ข้อเสนอแนะของหวั หน้ากลมุ่ สาระการเรยี นรู้

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ลงช่อื ..........................................................
(..........................................................)

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรภู้ าษาต่างประเทศ

ข้อเสนอแนะของฝา่ ยวชิ าการ

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ลงชอ่ื ..........................................................
(..........................................................)
รองผอู้ ำนวยการฝา่ ยวิชาการ

ขอ้ เสนอแนะของหัวหนา้ สถานศึกษา

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ..........................................................
(..........................................................)
ผู้อำนวยการโรงเรียน..................

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

57

บันทึกหลังการใช้แผนจัดการเรียนการสอน

1. ผลการเรยี นรู้

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

2. ปัญหา/อุปสรรค

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

3. ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ปัญหา

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ลงช่ือ..................................................
(.....................................................)

ครูกล่มุ สาระการเรยี นรู้ภาษาตา่ งประเทศ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

58

การวดั และประเมินผลการจดั การเรยี นรู้
(Evaluation and Assessment)

การวดั และการประเมนิ ผลการจัดการเรยี นรภู้ าษาอังกฤษเป็นส่ิงสำคญั เพราะถือเป็นกิจกรรม
อย่างหนึ่งที่ครูต้องวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกบั จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของ
การวัดผลการเรียนรู้ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2557, หน้า 2) ได้กล่าวไว้ใน
หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มดี ังนี้

จุดมุ่งหมายของการวดั และประเมินผลการเรียนรู้

การวดั และประเมนิ ผลการเรียนรู้ของผเู้ รยี นต้องอยู่บนจดุ มุ่งหมายพื้นฐานสองประการ ดงั น้ี
1. การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียน
และการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง บันทึก วิเคราะห์ แปล
ความหมายข้อมูล แล้วนำมาใช้ในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอน
ของครู การวดั และประเมินผลกับการสอนจึงเป็นเร่ืองที่สัมพันธ์กัน หากขาดส่ิงหน่ึงส่ิงใดการเรียนการสอน
จะขาดประสิทธิภาพ การประเมนิ ระหว่างการเรยี นการสอนเพ่อื พัฒนาการเรียนรเู้ ชน่ น้เี ป็นการวัดและ
ประเมนิ ผลเพ่อื การพฒั นา (Formative Assessment) ที่เกิดขึ้นในหอ้ งเรียนทุกวนั เป็นการประเมินเพ่ือให้รู้
จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุง จึงเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนาในการเก็บข้อมูล ผู้สอนต้องใช้วิธีการและ
เครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การซักถามการระดมความคิดเห็นเพื่อให้ได้มติ
ขอ้ สรปุ ของประเด็นท่ีกำหนด การใชแ้ ฟ้มสะสมงาน การใช้ภาระงานท่เี น้นการปฏิบัตกิ ารประเมนิ ความรู้
เดิม การให้ผู้เรียนประเมินตนเอง การให้เพื่อนประเมินเพื่อนและการใช้เกณฑ์การให้คะแนน
(Rubrics) สิ่งสำคัญที่สุดในการประเมินเพื่อพัฒนา คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนในลักษณะ
คำแนะนำท่ีเชื่อมโยงความรเู้ ดิมกับความรู้ใหม่ทำให้การเรียนรู้พอกพูน แก้ไขความคดิ ความเขา้ ใจเดิม
ท่ไี ม่ถูกตอ้ ง ตลอดจนการให้ผเู้ รียนสามารถตง้ั เปา้ หมายและพัฒนาตนได้
2. การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นการประเมินสรุปผลการเรียนรู้
(Summative Assessment) ซึ่งมีหลายระดับ ได้แก่ เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียน จบรายวิชาเพื่อ
ตัดสินให้คะแนนหรือให้ระดับผลการเรียน ให้การรับรองความรู้ความสามารถของผู้เรียนว่าผ่าน
รายวิชาหรือไม่ ควรได้รับการเลื่อนชั้นหรือไม่ หรือสามารถจบหลักสูตรหรือไม่ ในการประเมินเพ่ือ
ตัดสินผลการเรียนที่ดีต้องให้โอกาสผู้เรียนแสดงความรู้ความสามารถด้วยวิธีการที่หลากหลายและ
พิจารณาตัดสินบนพนื้ ฐานของเกณฑ์ผลการปฏิบตั มิ ากกวา่ ใชเ้ ปรยี บเทียบระหวา่ งผเู้ รยี น
วัตถุประสงค์ของการวัดและประเมินผล (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน,
ม.ป.ป. หน้า 143) มดี งั น้ี

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

59

1. เพือ่ ประเมนิ วิธีสอนของครวู า่ วิธสี อนแบบใดชว่ ยให้เกิดการเรียนรู้และวธิ ีใดที่ต้องมีการปรับปรงุ
2. ประเมินสัมฤทธิ์ผลในการเรียนของผู้เรียนว่ามีความรู้ความสามารถตามพัฒนาการ
ความก้าวหน้าของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรมจริยธรรมและ
คุณลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์
3. เพ่ือจำแนกหรือจัดลำดบั ความสามารถของผเู้ รยี นแตล่ ะคนเพื่อจัดช้นั เรยี นหรือแบ่งกลุ่ม
นักเรยี นตามความสามารถ เพ่ือใหน้ กั เรียนไดเ้ รียนในกล่มุ ทม่ี ีความสามารถเทา่ เทียมกนั
4. เพื่อวนิ ิจฉัยข้อบกพร่ อง และจดุ เด่นการเรยี นการสอนของแตล่ ะบคุ คล
5. เพอื่ ประโยชนในการซอ่ มเสรมิ แก่ผ้เู รียน
6. เพอื่ ประเมนิ ประสทิ ธิภาพการสอนของครู
7. เพ่ือให้ทราบกระบวนการเรียนร้ภู าษาของเด็กในแตล่ ะระดับ
8. เพื่อทดสอบผลการทดลองเกยี่ วกับการเรียนการสอนในช้นั เรียน

ประเภทของการวดั และประเมนิ ผลการเรียนรู้

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สามารถแบ่งได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ใน

การจำแนก (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา, 2555 หนา้ 86 - 88)
1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้จำแนกตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนก่อน

เรยี นระหว่างเรยี นและหลงั เรียน ดงั น้ี
1.1 การประเมินเพื่อจัดวางตำแหน่ง (Placement Assessment) เป็นการประเมินก่อน

เรม่ิ เรียนเพื่อต้องการข้อมูลที่แสดงความพร้อม ความสนใจ ระดบั ความรู้และทักษะพ้ืนฐาน ที่จำเป็นต่อ
การเรียนเพื่อให้ผู้สอนนำไปใช้กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ วางแผนและออกแบบกระบวนการ
เรียนการสอนท่เี หมาะสมกบั ผู้เรียนทั้งรายบุคคล รายกลมุ่ และรายชัน้ เรียน

1.2 การประเมนิ เพ่ือวินิจฉยั (Diagnostic Assessment) เปน็ การเก็บข้อมูลเพ่ือค้นหา
ว่าผู้เรียนรู้อะไรมาบ้างเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียน สิ่งที่รู้มาก่อนนี้ถูกต้องหรือไม่ จึงเป็นการใช้ในลักษณะ
ประเมินกอ่ นเรียน นอกจากนี้ ยงั ใชเ้ พ่อื หาสาเหตขุ องปญั หาหรืออปุ สรรคต่อการเรยี นรูข้ องผเู้ รียนเป็น
รายบุคคลที่มักจะเป็นเฉพาะเรื่อง เช่น ปัญหาการออกเสียงไม่ชัด แล้วหาวิธีปรับปรุงเพื่อให้ผู้เรียน
สามารถพัฒนาและเรยี นรู้ข้ันต่อไป วธิ ีการประเมนิ ใช้ได้ท้ังการสังเกต การพดู คยุ สอบถามหรือการใช้
แบบทดสอบก็ได้

1.3 การประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) เป็นการประเมินเพ่ือ
พัฒนาการเรียนรู้ (Assessment for Learning) ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดการเรียนการสอน
โดยมิใช่ใชแ้ ตก่ ารทดสอบระหวา่ งเรียนเป็นระยะๆอย่างเดียว แต่เป็นการทีค่ รเู กบ็ ข้อมูลการเรียนรู้ของ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

60

ผู้เรียนอย่างไม่เป็นทางการด้วย ขณะที่ให้ผู้เรียนทำภาระงานตามที่กำหนด ครูสังเกต ซักถาม จดบันทึก
แล้ววเิ คราะหข์ อ้ มูลวา่ ผเู้ รยี นเกดิ การเรยี นรหู้ รือไม่ จะตอ้ งใหผ้ ู้เรียนปรบั ปรงุ อะไร หรือผสู้ อนปรับปรุง
อะไรเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามมาตรฐาน/ ตัวชี้วัดการประเมินระหว่างเรียน
ดำเนินการได้หลายรูปแบบ เช่น การให้ข้อแนะนาข้อสังเกตในการนำเสนอผลงานการพูดคุยระหว่าง
ผสู้ อนกบั ผูเ้ รียนเปน็ กลุ่มหรือรายบุคคล การสมั ภาษณต์ ลอดจนการวเิ คราะหผ์ ลการสอบ เป็นตน้

1.4 การประเมนิ เพอ่ื สรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) มักเกดิ ข้ึนเม่อื จบ
หน่วยการเรียนรู้เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดและยังใช้เ ป็นข้อมูลใน
การเปรียบเทียบกับการประเมินก่อนเรียนทำให้ทราบพฒั นาการของผู้เรียน การประเมินสรุปผลการเรียนรู้
ยังเป็นการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตอนปลายปี/ปลายภาคอีกด้วย การประเมินสรุปผลการเรียนรู้
ใช้วิธีการและเคร่ืองมือประเมินไดอ้ ย่างหลากหลาย โดยปกติมักดำเนินการอย่างเป็นทางการมากกวา่
การประเมินระหวา่ งเรยี น

2. การวัดและประเมนิ ผลการเรยี นรู้จำแนกตามวัตถุประสงคข์ องการประเมนิ ดงั นี้
2.1 การประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: Aal) เป็นกระบวนการ

รวบรวมหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเรยี นรู้ขณะเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนตระหนกั ในการเรียนรู้
ของตน สามารถวางแผนการเรียนรู้ กำกับการเรยี นรู้ วนิ ิจฉยั ประเมิน และปรับปรุงการเรยี นรู้ของตน
การให้ผูเ้ รียนออกแบบแผนการเรียนรู้ ฝึกให้ผู้เรียนคดิ ทบทวนเกี่ยวกับการเรียนรู้และกลยุทธ์ในการเรียนรู้
จะชว่ ยใหผ้ ู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองตลอดเวลา

2.2 การประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) เป็นกระบวนการ
รวบรวมหลกั ฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ต่าง ๆ ตามสภาพจริงเกยี่ วกบั การเรียนรู้ของผเู้ รยี น เพือ่ ระบุและ
วินิจฉัยปัญหาการเรียนรู้และให้ข้อติชมที่มีคุณภาพแก่ผู้เรียนเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ให้ดีขึ้นโดยใช้
วิธีการประเมนิ หลากหลายและเพ่อื ใหเ้ ข้าใจการเรียนรู้ของผู้เรียนในแง่มุมต่าง ๆ อยา่ งรอบดา้ นอันจะ
นำไปสู่การปรบั การเรยี นและเปล่ยี นการสอนให้มีประสทิ ธภิ าพยิ่งข้นึ

2.3 การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning: AoL) เป็นกระบวนการ
รวบรวมหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้เพื่อตัดสินคุณค่าในการบรรลุ
วัตถปุ ระสงค์หรือผลลพั ธก์ ารเรยี นรูเ้ ป็นการประเมินผลสัมฤทธท์ิ างการเรียน ซ่งึ แสดงถึงมาตรฐานทาง
วิชาการในเชิงสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สารสนเทศดังกล่าวนำไปใช้ในการกำหนด
ระดับคะแนนใหผ้ เู้ รยี น รวมทัง้ ใชใ้ นการปรับปรุงหลกั สูตรและการเรียนการสอน

3. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้จำแนกตามวิธีการแปลความหมายผลการเรียนรู้
มี 2 ประเภททแี่ ตกต่างกนั ตามลักษณะการแปลผลคะแนน ดังนี้

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

61

3.1 การวัดและประเมินแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Assessment) เป็นการวัด
และประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนำเสนอผลการตัดสินความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนโดย
เปรยี บเทียบกนั เองภายในกลุม่ หรอื ในช้ันเรียน

3.2 การวัดและประเมินแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Assessment) เป็นการวัด
และประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนำเสนอผลการตัดสินความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนโดย
เปรียบกบั เกณฑ์ทก่ี ำหนดข้นึ

การประเมินสภาพจรงิ (Authentic Assessment)

การประเมินสภาพจริงเปนวิธี การประเมินที่ออกแบบมาเพื่อสะทอนใหเห็นพฤติกรรมและ
ทักษะที่จําเปนของผูเรียนในสถานการณท่ีเปนจรงิ และเปนวิธีการประเมินท่ีเนนงานหรอื กิจกรรมท่ผี ูเรียน
ไดแสดงออกโดยการกระทํา เนนกระบวนการเรียนรูผลผลิตและผลงาน เปดโอกาสใหผูเรียนมีสวนรวมใน
การประเมนิ และรวมในการจัดกระบวนการเรียนรูของตนเอง ซึง่ วิธีการน้ีเชอื่ วาจะชวยพฒั นาการการเรียนรู
ของผูเรียนไดอยางตอเนื่อง กระบวนการประเมินอาจใชวิธีการสังเกต การบันทึก การรวบรวมขอมูล
จากผลงานและวิธีการที่ผูเรียนไดเคยทําไว ดวยวิธีการที่หลายหลาย กลยุทธสําคัญของการประเมิน
ตามสภาพจริงคือการกระตุ นหรือท าทายใหผูเรียนไดแสดงออกโดยการกระทําว าตนเองมี
ความสามารถอะไร และไดเคยทําสิ่งใดบางแทนการทําแบบทดสอบหรือขอสอบเหมือนการประเมิน
แบบเดิมๆ นอกจากเนน เรื่องการกระทําและผลงานแลว การประเมินนี้ยังเนนความสามารถทางสติปญญา
กระบวนการสรางความสัมพันธระหวางบุคคล การแกปญหา มากกวาการเนนเรื่องการ ทองจํา หรือ
การหาคาํ ตอบจากแบบทดสอบ (สมศักดิ์ ภูวภิ าดาวรรธน, 2554, หนา้ 101-104)

ลักษณะสําคัญของการวัดประเมินสภาพจริง
การวัดประเมินผลตามสภาพจริงเปนการประเมินทางเลือกใหม่(Alternative Assessment)
ที่เนนการประเมินผลจากการปฏิบตั ิงานซ่ึงตางจากการประเมนิ ท่ีเนนการทดสอบเปนสาํ คญั ลักษณะสําคัญ
ของการวดั ประเมินผลตามสภาพจริงมีดังนี้
1. การประเมนิ ทเี่ นนแนวคิดทวี่ าความรู้เร่ืองใดเรื่องหนึง่ มคี วามหมายไดหลากหลาย ดังน้ัน
การวดั ควรใชวิธีการอยางหลากหลาย
2. การเรยี นรูเปนกระบวนการตามความตองการของผูเรียนมากกวาการบังคับใหเรียน ดังน้ัน
ผูเรียนจึงมีความกระตือรือรนและแสวงหาความรู้เพื่อความอยากรูมากกวาการเรียนเพื่อใหทําขอสอบ
ไดคะแนนสูงๆ
3. การวดั ประเมนิ ผลตามสภาพจรงิ เนนกระบวนการเรยี นรูและผลผลติ โดยพิจารณาจากส่ิง
ทผ่ี ูเรียนเรียนรูและทําไมจึงเกิดการเรยี นรูเชนน้ัน

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

62

4. การวัดประเมินผลตามสภาพจริงมุ่งเนนการสืบเสาะ พัฒนาทักษะการแกปญหาตาม
สภาพจริงทเี่ กดิ ขนึ้ ผูเรียนตองสังเกต วิเคราะหและทดสอบความรู้ของตนเองจากการปฏบิ ตั ิ

5. การวัดประเมินสภาพจริงมีจุดประสงคเพื่อกระตุนและอํานวยความสะดวกใหกบั ผูเรียน
และสะทอนผลการเรยี นรูเพือ่ การพฒั นาใหกบั ผูเรียน

เครอ่ื งมือวดั และประเมนิ ตามสภาพจรงิ
โดยทั่วไปการวัดและประเมินผลใหตรงกับสิ่งที่ตองการวัดมักตองใชอาศัยเทคนิคการเก็บ
รวบรวมขอมูลและใช ครื่องมือที่มีคุณภาพเหมาะสมกับคุณลักษณะที่ต องการศึกษารวมถึงเงื่อนไข
บริบทอื่น ๆ อาทจิ ดุ ประสงคการวดั ลักษณะผูสอบ ปริมาณ ระยะเวลา สถานที่ งบประมาณ การประเมิน
ตามสภาพจริงมกั ใชวิธีการประเมินหลากหลาย สวนเทคนคิ การเก็บรวบรวมขอมูล ประกอบดวยการทดสอบ
การสอบสัมภาษณ การสงั เกต การตรวจผลงาน การใชแฟมสะสมงาน การประเมนิ โดยใชศนู ยประเมิน
1. การทดสอบมักใชแบบทดสอบเพื่อประเมินความรู้ความสามารถของผูเรียน เครื่องมือที่
ใชประกอบดวย แบบสอบเขียนตอบ แบบสอบเลอื กตอบ และสอบภาคปฏิบตั แิ ละแบบวัดตางๆ เปนตน
2. การสอบสัมภาษณ เปนวิธีการวัดผลดวยการซักถาม สนทนา โตตอบ เพื่อประเมิน
ความคิด ทัศนคติตาง เครื่องมือที่ใชไดแก แบบสัมภาษณแบบมีโครงสราง (เตรียมคําถามไวลวงหนา)
และคําถามแบบไมมโี ครงสราง (กําหนดเฉพาะแนวทาง หรอื ประเดน็ แตไมมคี ําถามทชี่ ดั เจน)
3. การสังเกต เปนการวัดและประเมินที่มรี ายการพฤติกรรมเปาหมายที่ตองการเกบ็ ขอมูล
ดว้ ยประสาทสัมผัส โดยเฉพาะอยางยง่ิ ทางหูและตา เพ่ือศกึ ษาพฤตกิ รรมท่ีมความละเอียด ชัดเจนของ
ผูเรยี นในสภาพการณตางๆ ทีก่ าํ หนด เคร่ืองมอื ทใ่ี ชประกอบดวย แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตรวัด
ประเมินคา และแบบบนั ทึก เปนตน
4. การตรวจผลงานเปนการวัดและประเมินดวยการกําหนดงาน กจิ กรรมหรือแบบฝกใหผูเรียน
ไดปฏิบัติฝกฝน โดยผูสอนจะเปนผูตรวจสอบความถูกตองดวยตนเองหรือเพือ่ นผูเรียนทีไ่ ดรับมอบหมาย
เพื่อใหไดขอมูลจริงสําหรับสะทอนผลการปรับปรุงแกไขพฤติกรรมการเรียนรูของผูเรียนอยางเปน
ระบบตอไป เครื่องมือทใ่ี ชไดแก แบบประเมินผลงาน
5. การใช้แฟ้มสะสมงาน เปนการวัดและประเมินที่ใชหลักการเก็บหลักฐานผลงานที่ดีและมี
ความภาคภูมิใจที่เปนตัวแทนงานท่ีปฏิบัติของผูเรยี นเกี่ยวกับทักษะ แนวคิด ความสนใจ ความสําเรจ็
โดยมีผลการประเมินจุดเดน จุดดอยของชิ้นงาน อันแสดงถึงความกาวหนาในการเรียนดวยตนเองของผูเรียน
เอง เพื่อนรวมช้ัน หรือผูสอน แลวนําหลักฐานมาบรรจุ ลงในแฟม สมุดโนต แผนบันทึกขอมูล เปนตน
ลักษณะแฟมสะสมงานที่ดีควรมีความหลากหลาย สามารถสะทอน ความสามารถที่แทจริงของผูเรียน
แตละคน เครื่องมือที่ใชสําหรับประเมินแฟมสะสมงาน ไดแก แบบบันทึก แบบประเมินผลงานและ
แบบประเมินตนเอง เปนตน

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

63

6. การประเมินโดยใชศูนยประเมนิ ศูนยประเมนิ คือสถานทห่ี รือคอมพิวเตอรและซอฟแวร
ท่ีสรางหรือกําหนดข้ึนเพ่ือใหสําหรับทดสอบหรือประเมินผูเรียนภายใตสถานการณจําลองหรือส่ิงเรา เพื่อ
ใหผูเรียนตอบสนองโดยการแสดงออกตามพฤติกรรมบงช้ี การประมวลความรู้และทักษะตางของผูเรียน
ว่ามีมากนอยเพียงใดและอยูในระดับใด กิจกรรมหรือสถานการณที่กําหนดใหมีหลากหลาย ไดแก เกม
แบบฝกขั้นตอนการทํางาน ใบงาน การสนทนากลุม การทํางานเปนกลุม และการแสดงบทบาทสมมติ
การนําเสนองาน เครื่องมือที่ใชวัด ประกอบดวย แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตรวัดประเมินคา แบบ
บนั ทึกพฤติกรรม แบบประเมนิ ผลงาน และแบบทดสอบ เปนตน

การวัดและประเมินผลการสอนภาษาเพื่อการสอื่ สาร

การวัดและประเมินผลตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารควรมีจุดประสงค์เพื่อวัด
ความสามารถในการสื่อสารของผ้เู รยี น รปู แบบของการทดสอบต้องสอดคลอ้ งกบั รูปแบบการสอน การวัด
และประเมนิ ผลการเรียนการสอนภาษาเพอ่ื การสอ่ื สารสามารถทำไดห้ ลายวธิ ีท้ังโดยการทดสอบและไม่มี
การทดสอบ การวัดและประเมินผลโดยไม่มี การทดสอบอาจทำได้โดยการสังเกตความสนใจ การปฏิบัติ
กิจกรรม การอภิปราย ซักถาม ตลอดจนความร่วมมือในการทำกิจกรรมส่วนการวัดและประเมินโดย
การทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาของผู้เรยี นอาจใชก้ ารทดสอบความสามารถด้านองค์ประกอบ
ของภาษา ได้แก่ เสียง ศัพท์ ไวยากรณ์ หรือ การทดสอบลักษณะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับระดับของผู้เรียน
และจุดมุ่งหมายของการทดสอบนั้น โดยมีความยากง่ายเหมาะสมกับนักเรียนและสอดคล้องกับ
จุดประสงค์ของหลักสูตร เกณฑ์ตัดสินความสำเร็จมิใช่ความถูกต้องตามแบบแผน แต่เป็นประสิทธิผลใน
การสื่อสาร การนำไปใช้จริง (Use) การปฏิบัติตนในสถานการณ์การสื่อสารไม่ใช่ความรู้ทางไวยากรณ์
(Usage) แบบทดสอบจึงเป็นการใช้ภาษาตามหนา้ ที่ ทักษะ และความรู้ เกี่ยวกับภาษา แบบสอบรวม
และแบบสอบแบบบูรณาการ (Integrative Test) จึงนิยมใช้เป็นแบบทดสอบที่ทดสอบการใช้ภาษา

เพ่อื การสื่อสาร (Communicative Use of Language) (สมุ ติ รา องั วฒั นกุล, 2539 หนา้ 202 - 204)

การทดสอบความสามารถทางภาษาควรคำนงึ ถึงรากฐานปรัชญาทีเ่ ปน็ พื้นฐานในการจัดการเรียนรู้
ในปัจจุบันซึ่งยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีวัตถุประสงค์และตัวแปรเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นองค์ประกอบหลักใน
การศึกษาครูเป็นเพียงผู้อำนวยการเรียนรู้ การทดสอบความสามารถทางภาษาควรกระทำเมื่อผู้เรียน
พร้อมและอาจทำการสอบเป็นรายบุคคล ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการของผู้เรียนมากกว่า
เปรียบเทียบกับผู้อื่น การทดสอบจึงเป็นแบบอิงเกณฑ์ (Criterion – referenced) และมีการวัดตัวแปร
เกี่ยวกับผู้เรียน ได้แก่ ทัศนคติ แรงจูงใจ เชาวน์ปัญญา ความถนัด และบุคลิกภาพการทดสอบ
ความสามารถในการสอื่ สารแบ่งออกเปน็ 2 ลกั ษณะ ดงั นี้

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

64

1. การทดสอบความสามารถทางภาษาแบบรวม (Integrative or Global Tests) การทดสอบ
ลักษณะนี้จะมีการทดสอบมากกว่าหนึ่งทักษะและผู้เรียนต้องใช้ความสามารถทางภาษาภายในเวลา
จำกัด แบบทดสอบทนี่ ยิ ม ไดแ้ ก่

1.1 การเขียนตามคำบอก (Dictation) ข้อความที่บอกให้เขียนต้องอ่านด้วยความเร็ว ปกติ
จะหยุดต่อเมื่อถึงท้ายประโยคหรืออนุประโยค การเขียนตามคำบอกที่อ่านอย่างช้าๆ ทีละคำ เป็นการทดสอบ
การสะกดคำ ผู้เรียนควรจำข้อความยาวๆ แล้วเขียนสิ่งที่ได้ยินเพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจการเขียน
สะกดคำผิดจะไม่หักคะแนนถ้าหากไม่เกีย่ วข้องกับความเข้าใจในการฟังแต่ข้ึนอยู่กับการตัดสินใจของ
ผ้สู อนด้วย

1.2 การเขียนตามคำบอกที่มีเสียงรบกวน (Noise Test) แบบสอบลักษณะนี้ต่างจาก
การเขียนตามคำบอกคือการบันทึกข้อความลงในเทปจะบันทึกด้วยความเร็วปกติและลดการซ้ำซ้อนทาง
ภาษาลงโดยบันทึกเสียงรบกวนลงไปด้วยซึ่งผู้เรียนจะสามารถเข้าใจประโยคที่ได้ยินอย่างง่าย หากไม่ได้
บนั ทกึ เสยี งรบกวนลงไปดว้ ย การเขียนสะกดคาผิดจะไมห่ ักคะแนนถ้าเห็นวา่ ผู้เรียนเขา้ ใจในสิ่งท่ีไดย้ นิ

1.3 การทดสอบแบบโคลซ (Cloze Test) เป็นแบบสอบที่มีข้อความให้ผู้เรียนอ่านแล้ว
เว้นคำให้เติม ปกติจะเป็นทุกๆ 5,6,7 คำ ประโยคแรกมกั จะไม่ละคำเพ่ือช่วยสรา้ งบรบิ ท ผู้เรียนจะได้
คะแนนจากคำท่ีเตมิ ไดถ้ กู ต้องซึ่งอาจจะเปน็ คำทมี่ คี วามหมายเหมือนกนั ก็ได้ ลกั ษณะของแบบทดสอบ
โคลซ แบ่งเปน็ 3 ลักษณะ ดังนี้

1.3.1 แบบทดสอบโคลซมาตรฐาน เปน็ การเว้นคำใหผ้ เู้ รยี นเตมิ อย่างเป็นระบบ
1.3.2 แบบทดสอบโคลซชนิดให้เลอื กคำท่ถี ูกต้องเพยี งคำเดยี วจาก 2 คำท่ีให้
1.3.3 แบบทดสอบโคลซชนิดท่ีมีลักษณะคลา้ ยกบั แบบสอบชนดิ ใหเ้ ลอื กตอบ
1.4 การสอบสัมภาษณ์ (Oral Interview) เป็นการทดสอบการพดู สนทนาหรือสัมภาษณ์
ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยผู้สอนกำหนดหัวข้อหรือสถานการณ์ให้นักเรียนพูดหรืออาจเป็นการทดสอบ
การสนทนาระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน โดยการแสดงบทบาทสมมติ เน้นความสามารถในการสื่อความหมาย
ใหเ้ ขา้ ใจกันและการใชภ้ าษาทเ่ี หมาะสมกับสถานการณ์ของผู้พูด
2. การทดสอบความสามารถทางภาษาจุดย่อย (Discrete Point Tests) เป็นการวัด
องค์ประกอบย่อยของภาษา เช่น เสียง ศัพท์ โครงสร้าง หรือทักษะต่าง ๆ แยกออกเป็นการฟัง การพูด
การอ่าน และการเขียน โดยแยกทดสอบเป็นส่วนๆ ตามองค์ประกอบของภาษาหรือตามทักษะที่
ต้องการวัด ดงั น้ี
2.1 การทดสอบเสียง วิธีทดสอบที่ตรงที่สุดคือการสอบปากเปล่าแต่จะมีปัญหาในการให้
คะแนน วิธีการทน่ี ิยมใชค้ อื การทดสอบความสามารถในการแยกเสียงที่มีความเหมือนหรือตา่ งกัน เช่น
2.1.1 การทดสอบความสามารถในการแยกเสียงโดยใช้คู่เทียบเสียง (Minimal
Pairs) โดยใหฟ้ ังคำเป็นคู่ๆ แล้วใหผ้ ู้เรียนบอกว่าคำทีไ่ ดย้ นิ น้ันออกเสียงเหมอื นหรอื ตา่ งกัน
2.1.2 ใหฟ้ งั คำเป็นชุด ชดุ ละ 3 คำ แล้วใหผ้ ู้เรียนสังเกตเสียงคำที่เหมอื นกัน
2.1.3 ใหฟ้ งั ประโยค 2 ประโยค แลว้ ทดสอบความสามารถในการแยกเสียง

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

65

2.2 การทดสอบคำศัพท์ การคัดเลือกคำศัพท์อาจพิจารณาจากหลักสูตรแบบเรียน
บทความ เนื้อเรื่อง ที่ให้นักเรียนอ่านคำศพั ท์ทีน่ กั เรียนมักเขยี นผิดหรือใช้ผิด คำศัพท์ที่ใช้บ่อยหรือไม่
ค่อยได้ใช้ การเลือกว่าจะทดสอบคำศัพท์ใช้บ่อยในการฟังพูดหรือการอ่านเขียนขึ้นอยู่กับระดับของ
นักเรียน ถ้าเป็นนักเรียนในระดับกลางคำศัพท์ที่ใช้บ่อยจะเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในการฟัง - พูด สำหรับ
นักเรียนในระดับสงู จะเป็นคำศพั ทท์ ีใ่ ชใ้ นการอ่าน - เขียน เช่น

2.2.1 เลอื กคำศพั ทใ์ ห้ตรงกบั ภาพท่กี ำหนดให้
2.2.2 เลอื กคำศพั ทใ์ ห้ตรงกับคำจำกดั ความที่กำหนดให้
2.2.3 เลือกคำศัพทท์ มี่ ีความหมายเหมือนกบั คำที่กำหนดให้
2.2.4 เลอื กคำศพั ทท์ จ่ี ะนำมาแทนที่คำศัพท์ในประโยคได้ถูกต้อง
2.2.5 เลือกคำศพั ท์จากกลุ่มคำไปเตมิ ในช่องวา่ งให้ได้ความหมาย
2.2.6 ขดี เส้นใตค้ ำศัพทท์ ม่ี ีความหมายเกยี่ วข้องกับคำท่ีกำหนดให้
2.2.7 เขยี นคำศพั ท์ที่มีความหมายเดยี วกับคำทก่ี ำหนดให้
2.2.8 เตมิ วภิ ัติ (Prefix) หน้าคำทีก่ ำหนดให้เพ่ือเปลยี่ นความหมายเป็นคำตรงกนั ข้าม
2.3 การทดสอบไวยากรณ์ นกั เรียนท่เี รยี นภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศส่วนใหญ่
มีจดุ ประสงค์เพ่ือทดสอบความสามารถด้านรปู ประโยควา่ ครอบคลุมเน้ือหาเพยี งใด ลักษณะของ
ข้อทดสอบไวยากรณ์มี ดังน้ี
2.3.1 เลือกรปู ประโยคทถ่ี ูกตอ้ งไวยากรณ์
2.3.2 เลอื กส่วนของประโยคทเี่ ขียนผดิ ไวยากรณ์
2.3.3 เรยี งลำดบั คำให้ถกู ต้อง
2.3.4 เขียนประโยคใหม่โดยให้คงความหมายเดิม โดยขึ้นต้นประโยคด้วยคำที่
กำหนดให้ นอกจากนี้อาจทดสอบโดยให้เขียนประโยคใหม่โดยคงความหมายเดิมไว้โดยใช้คำท่ี
กำหนดใหแ้ ทนคำทม่ี คี วามหมายตรงกันในประโยค
การทดสอบความสามารถในการสื่อสารมี 2 ลักษณะ โดยลักษณะแรกเป็นการทดสอบ
ความสามารถทางภาษาแบบรวม เป็นแบบทดสอบที่ต้องการให้ผู้เรียนแสดงออกมากกว่าหนึ่งทักษ ะ
เพื่อวัดความสามารถในการใช้ทักษะสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ การประเมินอาจทำโดยใช้
การสังเกตพฤติกรรมการใช้ภาษาเพื่อประเมินผลตามสภาพความสามารถทีแ่ สดงออกจริงหรือประเมิน
ด้วยแบบทดสอบก็ได้และลักษณะที่สองคือแบบทดสอบความสามารถทางภาษาจุดย่อยเป็น
แบบทดสอบที่วัดองค์ประกอบย่อยของภาษา เช่น เสียง ศัพท์ โครงสร้าง หรือทักษะต่าง ๆ ซึ่งแยก
ออกเป็นทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตามองค์ประกอบของภาษาหรือตามทักษะท่ี
ต้องการวัด ทง้ั นี้ขน้ึ อยกู่ ับวัตถุประสงค์ของการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้เปน็ สำคัญ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

66

สว่ นท่ี 3

การนเิ ทศแบบร่วมพัฒนา

ความหมายและกำหนดขอบข่ายการนิเทศแบบร่วมพัฒนา รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2554,
หน้า 111) ได้ให้ ไวด้ ังน้ี

ความหมายของการนเิ ทศแบบร่วมพัฒนา

การนิเทศแบบร่วมพัฒนา หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา
ศึกษานิเทศกแ์ ละครู ในกระบวนการนิเทศการศึกษาท่ีมุ่งแก้ปญั หาและพัฒนาการเรียนการสอนอย่าง
เป็นระบบ โดยใช้เทคนคิ การนเิ ทศการสอนเป็นปัจจยั หลกั บนพื้นฐานของสัมพันธ์ภาพแห่งการร่วมคิด
ร่วมทำ พึ่งพา ช่วยเหลือ ยอมรับซึ่งกันและกัน ให้เกียรติและจริงใจต่อกันระหว่างผู้นิเทศ ผู้สอนและ
คู่สัญญา เพอื่ ร่วมกนั พฒั นาทักษะวิชาชีพอนั จะสง่ ผลโดยตรงตอ่ การพฒั นาคุณภาพการศึกษา

จุดมุ่งหมายทวั่ ไปของการนเิ ทศแบบรว่ มพฒั นา

การนิเทศแบบร่วมพัฒนาเป็นการนิเทศที่มุ่งแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนอย่าง
เป็นระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนของนักเรียน โดยการปรับปรุงการปฏิบัติงานของครูให้เกิด
ประสิทธภิ าพบนพ้นื ฐานของกระบวนการทีเ่ กิดจากความต้องการของครูในการพัฒนาทกั ษะวชิ าชพี

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

67

จดุ มงุ่ หมายเฉพาะของการนเิ ทศแบบรว่ มพฒั นา

1. เพื่อพัฒนาทักษะการสอนและทักษะการนิเทศแก่ครูอย่างเป็นระบบโดยใช้วิธีการนเิ ทศตนเอง
นิเทศโดยเพื่อนค่สู ัญญา นิเทศโดยการนิเทศภายในโรงเรียนและนเิ ทศโดยศกึ ษานิเทศก์

2. เพ่ือเสรมิ สรา้ งสมั พนั ธภาพทางวชิ าชีพระหวา่ งครูและศกึ ษานิเทศก์ให้กระชบั มากยิ่งข้นึ
3. เพื่อสร้างเสริมเจตคติที่ดีต่อการนิเทศการสอนให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูให้เกิด
ความมนั่ ใจว่าการนเิ ทศการสอนสามารถชว่ ยครูแกป้ ญั หาและพัฒนาการเรียนการสอนได้
4. เพื่อกระตุ้นให้ครูเป็นผู้นำในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนเห็นความสำคัญและ
ประโยชน์ของการนิเทศ พัฒนาตนเองเป็นผู้นำการนิเทศภายในโรงเรียน สามารถนิเทศตนเองและ
นเิ ทศเพอื่ นครดู ว้ ยกันอยา่ งมีหลักวิชาและมรี ปู แบบที่ชดั เจน
5. เพื่อให้ครูเกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพ และมุ่งมั่นพัฒนาตนเองเป็นครูมืออาชีพอย่าง
มาตรฐานและรกั ษาระดับคุณภาพไวอ้ ยา่ งต่อเนอ่ื ง
6. เพื่อให้ศึกษานิเทศก์ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง พัฒนาสื่อการนิเทศ พัฒนาเทคนิค
วิธีการนเิ ทศ และนำไปส่กู ารพฒั นาครูอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ
7. เพื่อพัฒนาศาสตร์ทางการนิเทศการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ
จำเป็น ตลอดจนกระแสสังคมและสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน โดยเน้นให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา
คณุ ภาพการศกึ ษาให้มากทีส่ ุด

ลกั ษณะสำคัญของการนิเทศแบบรว่ มพัฒนา

การนิเทศแบบรว่ มพัฒนา เน้นปฏสิ ัมพันธ์ทางการนิเทศจากใจถึงใจบนพ้ืนฐานของความรัก
ความเข้าใจและความจรงิ ใจตอ่ กนั ในการพฒั นาทกั ษะวชิ าชพี ซ่งึ มีลักษณะสำคญั ดังนี้

1. เป็นการนิเทศที่พัฒนามาจากการผสมผสานกันระหวา่ งการนิเทศจากบุคลากรภายนอก
และการนเิ ทศภายในโรงเรยี น โดยมจี ดุ ม่งุ หมายเดียวกนั คอื การพัฒนาคุณภาพการเรยี นการสอนด้วย
วธิ ีการทีเ่ ป็นระบบและมขี ั้นตอนการดำเนินงานทีช่ ัดเจน

2. ในกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศแบบร่วมพัฒนา จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวครูใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้และโรงเรียน ซึ่งมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน เช่น หัวหน้ากุล่มสาระการเรียนรู้มี
หน้าที่เป็นผู้นิเทศหรือครูผู้ร่วมพัฒนา (ถ้าผู้รับนิเทศต้องการ) เพื่อนครูที่สนิทสนมไว้วางใจกันและ
พร้อมที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาทักษะวิชาชีพ มีบทบาทหน้าที่เป็นคู่สัญญาและครูที่มีความสนใจ
ตอ้ งการมสี ่วนร่วมแตย่ ังขาดความพร้อม สามารถมีสว่ นรว่ มไดใ้ นบทบาทของเพื่อนร่วมอดุ มการณ์ และ
มีเครือข่ายที่เป็นบุคลากรจากภายนอก เช่น ศึกษานิเทศก์ หรือครูผู้ร่วมพัฒนา ซึ่งก็จะมีบทบาทเป็นผู้
นิเทศหรอื ทปี่ รกึ ษา

3. เป็นรูปแบบการนเิ ทศทีใ่ ห้ความสำคัญท้ังกระบวนการนิเทศท่ัวไปและกระบวนการนิเทศ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

68

การสอน โดยทงั้ สองกระบวนการจะเอ้ือประโยชน์ซึ่งกันและกัน สง่ ผลใหค้ ุณภาพการจัดการเรียนการสอน
ดีขึ้น สำหรับการนิเทศการสอนในรูปแบบของการนิเทศแบบร่วมพัฒนานี้ได้พัฒนามาจากแนวคิดใน
การนเิ ทศการสอนแบบคลนี ิกและการนเิ ทศเชงิ เนน้ วตั ถุประสงค์

4. เป็นการรวมกลุ่มกัน เพื่อพัฒนาวิชาชีพของครูที่มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพสูงและมี
ความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาความเจริญงอกงามทางวิชาชีพ โดยกำหนดเป็นโครงการนิเทศ มี
ระยะเวลาในการดำเนินงาน สามารถติดตามผลการปฏิบัติงานได้ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาและผูน้ ิเทศ
จะตอ้ งรับรมู้ ีสว่ นร่วมในการตดิ ตามผล ให้ความสนับสนนุ และอำนวยความสะดวก

5. เนน้ หลักประชาธปิ ไตยในการนเิ ทศ โดยครจู ะมีเสรีภาพในการนิเทศ เลอื กผ้นู ิเทศ เลือก
คู่สัญญา เลือกเวลาในการปฏิบัติการนิเทศ เลือกบทเรียนทีจ่ ะสอน เลือกเครื่องมือสังเกตการสอน ใน
การนิเทศการสอนครสู ามารถเลือกวธิ ีการนเิ ทศตนเอง คือ สังเกตพฤตกิ รรมการสอนของตนเองแทนท่ี
จะให้ผู้นิเทศหรือคู่สัญญาหรือศึกษานิเทศก์เข้าไปสังเกตการสอนหรือถ้าหากครูมีความพร้อมใจต้องการ
ให้ผู้นิเทศหรือคู่สัญญาเข้าไปสังเกตการสอน ครูก็สามารถเลือกหรือรับรู้ทำความเข้าใจกับเครื่องมือ
สังเกตการสอน จนเป็นทพ่ี อใจและไมม่ คี วามวิตกกงั วลต่อผลของการใช้เครื่องมือสงั เกตการสอนนน้ั ๆ

6. การสังเกตการสอนในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ผู้นิเทศต้องไม่สร้างภาพพจน์
ในการวัดผลหรือประเมินผลการสอนแต่จะเป็นการบันทึกและอธิบายภาพที่เกิดขึ้นในห้องเรียนว่า
ผู้สอนมีพฤติกรรมอย่างไร มากน้อยเท่าใด ไม่ใช่ดีหรือไม่ดีอย่างไรเพราะไม่ต้องการให้ครูเกิดความรู้
หว่นั กลัวการประเมินและวติ กกังวลตอ่ ปฏิสมั พันธ์ทางการนเิ ทศ

7. การสังเกตการสอนในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาจะเน้นที่การสังเกตตนเองเชิงเน้น
วัตถุประสงค์เป็นหลัก โดยมีเครื่องมือสังเกตการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการนิเทศซึ่ง
ข้นึ อยู่กับปัญหาทีเ่ กิดข้ึนในกระบวนการจดั การเรียนการสอน สว่ นการสงั เกตการสอนโดยคสู่ ัญญาหรือ
ผู้นิเทศอื่น ๆ เช่น หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้หรือศึกษานิเทศก์ จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเป็นความต้องการของ
ครผู ู้นนั้

8. การวิเคราะห์พฤติกรรมการสอนของครูจะต้องขึ้นอยู่กับขอ้ มูลที่ได้จากการสังเกตการสอน
ไม่ใช่จากความคดิ เหน็ สว่ นตัว ค่านยิ ม หรือประสบการณ์ของผู้นิเทศเอง

9. การใช้ขอ้ มลู ป้อนกลบั หลังจากการสังเกตการสอน และการวเิ คราะห์พฤติกรรมการสอน
ผ้นู เิ ทศจะใช้เทคนิคนเิ ทศทางอ้อม เพ่ือพฒั นาให้ครสู ามารถวางแผนการสอนได้เอง วิเคราะห์การสอน
ของตนเองได้ ประเมนิ ผลการสอนของตนเองได้ และสามารถนิเทศตนเองไดใ้ นทสี่ ุด

10. การปฏิบัติการนิเทศยึดหลักการนิเทศแบบมีส่วนร่วม คือ ทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
จะทำงานรว่ มกันทั้งกระบวนการ ตั้งแตก่ ารหาความต้องการจำเปน็ ในการนิเทศ การกำหนดวัตถุประสงค์
ในการนเิ ทศ การวางแผนการนิเทศ การดำเนนิ การนิเทศ และการประเมินผลการนิเทศดว้ ยความเสมอภาคกัน
ยอมรับ ยกยอ่ ง ใหเ้ กียรติซง่ึ กันและกันในฐานะผรู้ ่วมวิชาชีพ

11. ในกระบวนการนิเทศแบบร่วมพฒั นาได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมขวัญและกำลังใจแก่

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

69

ผู้ปฏิบัติการในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้ครูเกิดความภาคภูมิใจและเกิดความสุขใน
วิชาชีพ มีพลังที่จะแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานและมีความพึงพอใจที่จะนำข้อนิเทศไปปฏิบัติให้
เกดิ ผลอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง

12. การนิเทศแบบรว่ มพัฒนาเป็นการนิเทศทย่ี ึดวัตถุประสงค์เป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
และพฒั นาการเรียนการสอน เป็นการทำงานอย่างเป็นระบบแต่สามารถยืดหยุ่นไดต้ ามสถานการณ์ที่เหมาะสม

13. เป็นการนิเทศที่ยึดหลักการเชิงมนุษย์นิยม เป็นการทำงานร่วมกันด้วยความจริงใจ
เชอื่ มนั่ เขา้ ใจซงึ่ กันและกัน ช่วยเหลอื รว่ มมือและสนับสนุนต่อกันในการพัฒนาความก้าวหนา้ ทางวิชาชีพ

14. ผู้นิเทศและครูมีโอกาสวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศและปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศ
ร่วมกัน เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องและช่วยกันวางแผนในการพัฒนาปฏิสัมพันธ์ทางการนิเทศให้เกิด
ประสิทธิภาพและสมั พนั ธภาพทดี่ ีตอ่ กนั

15. มีรูปแบบในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายแนวร่วมในการขยายผลตามลำดับขั้นของ
การมสี ่วนร่วม เป็นการสร้างแรงจูงใจให้แกผ่ ู้ดำเนนิ งานและผ้ทู ่ีมีความสนใจจะอาสาเข้ารว่ มดำเนินงาน
ใช้เทคนคิ วธิ ีการขยายผลโดยการ "ขายตรง" และ "การมีสว่ นร่วม" โดยค่อยๆขายความคิดและเชิญชวน
ให้เข้ามามีส่วนร่วมที่ละน้อยในฐานะ "เพื่อนร่วมอุดมการณ์" จนกว่าจะเกิดความพร้อมที่จะอาสาเข้า
ร่วมดำเนินการด้วยอย่างเตม็ ตัว และเมอ่ื เข้าร่วมดำเนินการแลว้ มีผลการดำเนนิ งานดีเด่น มีประสิทธิภาพ
มีเครือข่ายแนวร่วมเป็นจำนวนมาก ก็จะได้รับการเสริมแรงในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเทคนิคนี้เรียกว่า
เทคนิค "การสรา้ งแรงจงู ใจใฝ่สัมฤทธ"ิ์ เพอื่ การพัฒนาท่ตี อ่ เนื่องและไมห่ ยดุ ย้ัง

บทบาทของผู้เกีย่ วข้องในกระบวนการนิเทศแบบรว่ มพัฒนา

1. ศกึ ษานิเทศก์ มบี ทบาทดงั ตอ่ ไปนี้
1.1 สร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ให้ตระหนักถึงความสำคัญและ

ประโยชนข์ องการนเิ ทศแบบร่วมพัฒนา
1.2 สร้างความเข้าใจแก่ครูเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และสิทธิทางวิชาชีพ (ให้ครู

ทราบว่าการนิเทศแบบร่วมพัฒนาเป็นกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย เสมอภาค ให้เกียรติกัน เป็น
การยนิ ยอมพร้อมใจ ไมม่ กี ารบงั คบั )

1.3 รว่ มสำรวจสภาพปจั จุบันและปญั หาการจดั กระบวนการเรยี นรู้
1.4 วางแผนการนิเทศรว่ มกับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ คณะนเิ ทศการจัดการเรยี นรู้และ
ครูปฏิบตั ิการทัง้ ภายในและภายนอกกลุ่มสาระการเรยี นรู้
1.5 การผลติ สอื่ การนเิ ทศ
1.6 ให้ความรเู้ สริมสรา้ งทักษะแก่ครูและคณะนเิ ทศการจัดการเรยี นรู้ภายในโรงเรยี น
1.7 เสริมสรา้ งขวญั และกำลังใจ ช่วยเหลอื รว่ มมอื เป็นทป่ี รกึ ษา
1.8 นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน
1.9 สรปุ และรายงานผลการนเิ ทศ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

70

1.10 เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และขยายผล
2. ผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา มบี ทบาท ดังตอ่ ไปน้ี

2.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูเห็นความสำคัญและมีความมั่นใจในการโครงการนิเทศ
ภายในโรงเรียน ถือวา่ เป็นโครงการของโรงเรยี นที่มีความต่อเน่ืองและถือเปน็ งานหลักของผู้บริหารสถานศกึ ษา

2.2 เสริมสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงานโครงการที่เป็นไปในลักษณะการมีส่วนร่วมกัน
พัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู โดยใหก้ ารยอมรบั ใหเ้ กียรติ จริงใจ ไว้ใจ ช่วยเหลอื เกื้อกูล และรว่ มมอื กนั

2.3 ส่งเสริมสนับสนนุ ปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างย่ิงการสร้างขวญั
และกำลงั ใจแกผ่ ปู้ ฏบิ ัตงิ าน

2.4 นิเทศและติดตามผลอย่างสมา่ เสมอ
3. หวั หนา้ กล่มุ สาระการเรียนรู้ มีบทบาท ดงั ตอ่ ไปน้ี

3.1 ศึกษา ทำความเขา้ ใจ เก่ยี วกับการนิเทศแบบร่วมพฒั นาอย่างละเอียด
3.2 ประชมุ สรุปสภาพปัจจุบัน ปญั หาและความตอ้ งการภายในกลมุ่ สาระการเรียนรู้
3.3 วางแผนจัดทำโครงการนิเทศภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้พร้อมทั้งกำหนดปฏิทิน
ปฏบิ ตั ิงานเป็นลายลักษณ์อกั ษร
3.4 ให้ความรเู้ กย่ี วกบั การนิเทศแบบรว่ มพฒั นาแกค่ รใู นกลุ่มสาระการเรียนรู้
3.5 ฝึกตนเอง ให้มีเทคนิคและทักษะของผู้นิเทศ ได้แก่ ทักษะผู้นำ ทักษะการจัดการ
ทักษะการสังเกตการจดั กระบวนการเรียนรู้ เทคนคิ การพูด เทคนิคการให้ขอ้ มูลปอ้ นกลบั เทคนคิ
การนิเทศทางอ้อม เป็นตน้
3.6 นเิ ทศ กำกับ ตดิ ตาม และประเมินผลการดำเนินงาน
3.7 เสรมิ สรา้ งขวัญ และกำลงั ใจแกผ่ ูป้ ฏิบัตงิ าน
3.8 สรปุ และรายงานผลการดำเนนิ งานตอ่ ผบู้ ริหารสถานศึกษา
4. ครผู ูส้ อน มีบทบาทดังตอ่ ไปน้ี
4.1 ศกึ ษาทำความเขา้ ใจเกย่ี วกับการนเิ ทศแบบร่วมพัฒนาอย่างละเอยี ด
4.2 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามผลการเรียนที่คาดหวัง โดยเน้นความรู้
กระบวนการ คณุ ลักษณะทเี่ นน้ การจดั กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรยี นเปน็ สำคัญ
4.3 ผลิตสือ่ นวตั กรรมและเทคโนโลยสี ำหรับใชก้ ารจัดกระบวนการเรยี นรู้
4.4 ฝึกหัดสังเกตและวิเคราะห์การจดั กระบวนการเรียนรู้
4.5 ฝึกสร้างเครื่องมือสังเกตการจดั กระบวนการเรียนรู้
4.6 ฝึกใช้เคร่อื งมือสงั เกตการจดั กระบวนการเรียนรู้และฝึกวิเคราะห์/สงั เคราะห์ขอ้ มูล
4.7 วางแผนดำเนินการจดั กระบวนการเรียนรู้และดำเนนิ การนิเทศการจดั กระบวนการ
เรียนรูต้ ามปฏิทินการปฏิบตั ิงาน
4.8 นำผลการนิเทศมาปรบั ปรุงแก้ไขและพฒั นากระบวนการจดั การเรยี นรู้

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

71

4.9 สรุปผลการดำเนนิ งานและรายงานผลอย่างเปน็ ระบบที่ต่อเน่อื ง
4.10 ประชาสัมพนั ธเ์ ผยแพร่และขยายผลการดำเนินงาน
5. ครผู ู้รว่ มพัฒนาหรือคสู่ ญั ญา มบี ทบาท ดังตอ่ ไปนี้
5.1 ศกึ ษาและทำความเข้าใจโครงการทุกขัน้ ตอน
5.2 ร่วมสำรวจปัญหาการจัดกระบวนการเรียนรู้และความต้องการจำเป็นภายใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้
5.3 ร่วมวางแผนในการแก้ปญั หาและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้
5.4 มสี ่วนร่วมในการผลติ ส่อื นวตั กรรมในการจดั กระบวนการเรียนรู้
5.5 มสี ่วนร่วมในการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรยี น
5.6 ชว่ ยสังเกตการจัดกระบวนการเรียนรู้ (เมือ่ ครผู ู้สอนตอ้ งการ)
5.7 มสี ่วนรว่ มวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ผลการสอน และผลการสงั เกตการจัดกระบวนการ
การเรยี นรู้
5.8 ให้กำลงั ใจ ยกยอ่ ง ยอมรบั เชดิ ชูเกยี รตใิ นผลการจดั กระบวนการเรียนรขู้ องครผู สู้ อน
5.9 ให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาพฤติกรรมที่เกิดการจัด
กระบวนการเรียนรขู้ องครแู ละนักเรยี น
5.10 เปน็ เพอ่ื นคคู่ ดิ มติ รคทู่ ำและร่วมรับผิดชอบชน่ื ชมในผลของการดำเนินงานทุกขน้ั ตอน
5.11 ชว่ ยประชาสัมพันธ์ เผยแพรแ่ ละขยายผลการดำเนินงาน
6. เพ่อื นรว่ มวิชาชีพครู มีบทบาท ดงั ต่อไปน้ี
6.1 ศกึ ษาเอกสารในโครงการอยา่ งละเอียด
6.2 ทดลองใช้เอกสารท่ีสนใจ
6.3 แสดงความคดิ เห็นและให้ข้อเสนอแนะทเ่ี ปน็ ประโยชน์และสร้างสรรค์
6.4 สังเกตการดำเนนิ งาน
6.5 ใหค้ วามรว่ มมือช่วยเลือกเกอ้ื กูลกนั ในการดำเนินงาน
6.6 ใหก้ ำลังใจแก่ผู้ดำเนนิ งาน

กระบวนการนเิ ทศแบบร่วมพัฒนา

1. การวางแผนการดำเนินงาน
รุ่งชชั ดาพร เวหะชาติ (2554, หนา้ 114) กลา่ ววา่ การวางแผนการดำเนินการ (Planning - P)
หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกฝ่ายจะประชุมหารือถึงปัญหาในการจัดการเรียน
การสอนท่ีเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนควรแก้ไขก่อนและนโยบายในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ
การเรียนการสอนโดยระดมสมองหาความต้องการจำเป็น (Need Assessment) ในเรื่องที่จะต้องมี
การนิเทศ รวมทั้งร่วมกันวางแผนและกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานนิเทศซึ่งอาจจะดำเนินการใน

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

72

ลักษณะของงานหรือโครงการนิเทศเพ่ือแกป้ ญั หาหรือพัฒนาการเรียนการสอน
สัมมา รธนิธย์ (2556, หน้า 37-38) กล่าวว่า การวางแผน (Planning) การกำหนดขึ้นมาล่วงหน้า

ว่าเป้าหมายเป็นอย่างไรและจะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น หน้าที่ในการวางแผน
จะต้องระบุผลงานที่ต้องการและหนทางที่จะทำให้ได้ผลงานนั้น การวางแผนเป็นการตัดสินใจใน
ปัจจุบันที่จะเลือกวิธีการกระทำเพื่อให้ได้ผลตามต้องการในอนาคต ส่วนปัจจัยที่จะทำให้ได้ตาม
เปา้ หมายมากนอ้ ยเพียงใดขนึ้ อยกู่ ับสถานการณ์อนั อาจเกดิ ขนึ้ ในอนาคต

สิรดา สายเพ็ชร (2559, หน้า 140-155) กล่าวว่า การวางแผน (Planning) คือ การวางแผน
การนิเทศการเตรียมการดำเนินงานในล่วงหน้าโดยการนำข้อมูลและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องมา
จัดลำดับความสำคัญและกำหนดรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนอย่างรอบคอบ เป็นระเบียบแบบแผน
และรัดกุม รวมทั้งจดั สรรบุคลากรทเี่ หมาะสมเพ่ือให้การดำเนนิ งานบรรลุตามวตั ถุประสงค์

สรปุ ได้วา่ การวางแผนการดำเนินงาน หมายถึง กระบวนการในการเตรียมการกำหนดสิ่งท่ี
ตอ้ งกระทำ มีการกำหนดจดุ มงุ่ หมายของงานไว้ลว่ งหนา้ อยา่ งรอบคอบ พฒั นาวิธดี ำเนนิ การ ทกุ ฝ่ายมี
ส่วนร่วมในการดำเนินงาน ทุกฝ่ายจะประชุมหารือถึงปัญหาในการจัดการเรียนการสอนที่เป็นปัญหา
สำคัญเร่งด่วนควรแก้ไขก่อน เพื่อการปฏิบัติงานในอนาคตและให้วัตถุประสงค์ขององค์การบรรลุ
ความสำเรจ็ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ

2. การเสรมิ สรา้ งความรใู้ นการปฏิบตั ิงาน
ร่งุ ชชั ดาพร เวหะชาติ (2554, หนา้ 114) กล่าวว่า ขัน้ ตอนของการทำความเข้าใจกระบวนการ
นิเทศท้งั ระบบและวธิ ีการดำเนินงานในแตล่ ะขั้นของการนิเทศ เพื่อใหผ้ ู้ดำเนินงานมีความรู้ความเข้าใจ
มีทักษะ และมีเทคนิคในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพขั้นตอนนี้นอกจากจะเป็นการช่วยให้ผู้ดำเนนิ งาน
สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพแล้ว ยังเปน็ การเสรมิ สร้างความม่ันใจในการทำงานให้แก่ผู้ดำเนินงานอกี ดว้ ย
อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ (2555, หน้า 47-49) กล่าวว่า การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน
คือ กระบวนการแสวงหาความรู้ ต้องอาศัยกระบวนการทางปญั ญาในการเลือก ทั้งตีความและวิธีการ
ประมวลข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความรู้ในการปฏิบัติงานที่ยอมรับได้ รวมทั้งการเลือกวิธีการ
เปรียบเทียบข้อมลู ที่ได้รับมากับความรู้เดิมที่มอี ยู่แล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ใหม่ที่เหมาะสมเข้าไวใ้ น
ระบบความจำ
สิรดา สายเพ็ชร (2559, หน้า 140-155) กล่าวว่า การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน
คือ กระบวนการเรียนที่ผู้ศึกษาแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ โดยการตัดสินใจเลือก
ขอ้ มลู ด้วยตนเองผา่ นแหล่งเรยี นรู้ตา่ ง ๆ ทสี่ ามารถเขา้ ถงึ ไดแ้ ละเหมาะสมกับตนเอง
สรุปได้ว่า การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบตั ิงาน หมายถึง ขั้นตอนของการทำความเข้าใจ
กระบวนการนิเทศท้ังระบบ จะทำใหผ้ ลงานออกมามีคุณภาพขั้นนี้จำเป็นทุกคร้ังสำหรับการเรมิ่ การนิเทศ
ที่จัดขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้ดำเนินงานมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ และมีเทคนิคในการดำเนินงานอยา่ งมี

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

73

ประสทิ ธิภาพ
3. การปฏบิ ัติงานตามแผน
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2554, หน้า 114) กล่าวว่า การปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ในแต่

ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนของผู้ให้การนิเทศ ผู้รับการนิเทศ และผู้สนับสนุนการนิเทศจะ
ดำเนินไปตามปฏิทินปฏิบัติงานที่ได้ตกลงร่วมกันและกำหนดไว้ในแผน โดยจะได้รับความช่วยเหลือ
และรว่ มมอื จากผนู้ ิเทศภายนอก เชน่ ศกึ ษานเิ ทศก์ ครผู ้รู ่วมนิเทศ ศนู ย์พฒั นาการเรียนการสอน และ
เครือข่ายจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผูนิเทศภายในโรงเรียน เช่น หัวหน้ากลุ่ม
สาระ ครผู ูร้ ว่ มพฒั นาหรือคสู่ ญั ญา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์(2555, หน้า 11) กล่าวว่า การปฏิบัติงานตามแผน (Execution of Plan)
คือ การศกึ ษาวิเคราะห์ข้อมลู ขา่ วสาร ตลอดจนสถานการณ์และปจั จยั ต่าง ๆ ทีเ่ ป็นเคร่อื งมือต่อการวางแผน
ทงั้ น้จี ะต้องคาดคะเนเหตุการณ์ (Forecasting) อันพึงบงั เกิดในอนาคต

สริ ดา สายเพช็ ร (2559, หนา้ 140-155) กลา่ ววา่ การปฏิบัติงานตามแผน (Execution of
Plan) คอื รูปแบบการดำเนนิ การนเิ ทศที่ตอบสนองรปู แบบการนิเทศต่าง ๆ โดยต้องคำนึงถึงบริบทท้ัง
ผู้นิเทศ ผู้รับการนิเทศ ทรัพยากรและสภาพแวดล้อม กิจกรรมการนิเทศจึงมีหลากหลายรูปแบบเพ่ือ
ควบคุมให้การนิเทศเปน็ ไปตามรูปแบบทก่ี ำหนดไว้

สรุปได้ว่า การปฏิบัติงานตามแผน หมายถึง การปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ในแต่ละ
ขั้นตอนอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นที่ผู้รับการนิเทศลงมือปฏิบัติงานตามความรู้ผู้ให้การนิเทศ ขั้นนี้ผู้ให้
การนเิ ทศจะทำการนเิ ทศและควบคุมคณุ ภาพให้งานสำเรจ็ โดยจะได้รับความชว่ ยเหลอื และรว่ มมือจาก
ผู้นเิ ทศภายนอก

4. การประเมินผลการปฏิบตั ิงาน
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2554, หน้า 115) กล่าวว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานหรือ
โครงการนิเทศ ควรดำเนินการประเมินทั้งระบบเพื่อให้ทราบประสิทธิภาพของโครงการจึงควรจะ
ประเมนิ ส่ิงต่าง ๆ ตามลำดับของความสำคญั ดังน้ี

4.1 ผลผลิตที่ได้จากการนิเทศ (Output) คือ สัมฤทธิ์ผลิตการเรียนของผู้เรียนและ
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับการนิเทศตามเป้าหมายของการนิเทศนั้น ได้แก่ ผลที่เกิดขึ้นจาก
การนิเทศ ระดับความสามารถในการทำงานของผู้รับการนิเทศ การเพิ่มจำนวนของบุคลากรที่มี
คณุ ภาพภายในหนว่ ยงาน ความต้งั ใจในการทำงานของบุคลากร และความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรใน
หน่วยงาน และผลที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการนิเทศ เจตคติของผู้รับการนิเทศที่มีต่องานและต่อ
ผู้ร่วมงาน ระดับความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันของผู้รับการนิเทศที่มีต่อเป้าหมายในการทำงาน
ระดับของจุดมุ่งหมายที่จัดตั้งขึ้น ระดับความร่วมมือร่วมใจที่มีต่อกลุ่มทำงาน ความเชื่อมั่นและ
ความไว้วางใจในตนเอง เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และความรู้สึกของผู้รับการนิเทศที่มีต่อ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

74

สภาพแวดลอ้ มในการทำงาน
4.2 กระบวนการดำเนินงาน (Process) คือ ความเหมาะสมของขั้นตอนในการทำงาน

ความเหมาะสมของการจดั กิจกรรม ปฏสิ มั พันธร์ ะหวา่ งผนู้ เิ ทศกับผรู้ ับการนเิ ทศและบรรยากาศในการทำงาน
4.3 ปัจจัยป้อนเข้า (Input) คือ การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการนิเทศ

เครอ่ื งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ งบประมาณการเงิน รวมท้งั ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ
จุไรรัตน์ สุดรุ่ง (2559, หน้า 192) กล่าวว่า การประเมินผลการปฏิบัติงาน คือ เพื่อตรวจ

สอบความก้าวหน้าของโครงการ พิจารณาผลสัมฤทธิ์ของโครงการว่ามีมากน้อยเพียงใด ข้อมูลจะถูก
นำเสนอและวเิ คราะห์เพื่อนำไปใชแ้ กป้ ัญหา เพื่องา่ ยต่อการคา้ หาและตดิ ตาม

สิรดา สายเพ็ชร (2559, 140-155) กล่าวว่า การประเมินผลการปฏิบัติงาน คือ การนำ
เสนอข้อมูลของผลการดำเนินงานซึ่งทำให้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานว่าประสบความ
สำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุง
และพัฒนาการดำเนนิ งานในอนาคต

สรุปได้ว่า การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation - E) หมายถึง การประเมินผลการปฏิบัติงาน
หรือโครงการนิเทศ ควรดำเนินการประเมินทั้งระบบเพ่ือให้ทราบประสิทธิภาพของโครงการจึงควรจะ
ประเมินสิ่งตา่ ง ๆ หลงั จากการประเมินผลการนิเทศหากพบว่ามีปญั หาหรืออุปสรรคอย่างหน่ึงอย่างใด
ที่ทำให้การดำเนินงานไม่ได้ผลก็สมควรจะต้องทำการปรับปรุงแก้ไข ถ้าหากการประเมินผลได้พบว่า
ประสบผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งไว้หากจะได้ดำเนินการนิเทศต่อไปก็สามารถทำไปได้เลยโดยไม่ต้องให้
ความรูใ้ นเร่ืองนน้ั อกี

5. การเผยแพร่ขยายผล
รงุ่ ชัชดาพร เวหะชาติ (2554, หน้า 115) กล่าวว่า เพอ่ื เปน็ การเสริมสร้างขวญั และกำลังใจ
แก่ผู้ปฏิบัติงาน ส่วนการขยายเครือข่ายการดำเนินงานนิเทศ โดยใช้เทคนิคการขายความคิด ให้เกิด
ความเชื่อถือศรัทธา แล้วจึงใช้เทคนิคการเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมที่ละน้อย ในฐานะเพื่อนร่วม
อาชพี หรอื อดุ มการณ์ จนเกิดความพร้อมทจี่ ะเข้ารว่ มดำเนินการดว้ ยอย่างเต็มตวั ในฐานะ "ครปู ฏิบัติการ"
หรือฐานะ "คู่สัญญา" และเมื่อดำเนินการงานได้ผลดี มีเครือข่ายแนวร่วมเพิ่มมากขึ้น ครูปฏิบัติการก็
จะได้ปรับเปลย่ี นบทบาทข้ึนเป็นผนู้ ิเทศเครือข่ายผู้ปฏบิ ัติการรุน่ ต่อไป ซึง่ นบั วา่ เป็นการให้แรงเสริมแก่
ผู้ปฏิบัติงานหรือเรียกว่าใช้เทคนิค "การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์" นับว่าเป็นกลวิธีการเผยแพร่และขยาย
ผลที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นความพร้อมหรือความสมัครใจของครูเป็นหลัก ขั้นเสริม การร่วมใจและ
การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ (Cooperating - C Reinforcing - R) นับว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะทำ
ใหผ้ ลการดำเนินงานได้ทั้งคน งานและจติ ใจท่ผี กู พันอยู่กบั งาน
สิรดา สายเพ็ชร (2559, หน้า 40-45) กล่าวว่า การเผยแพร่ขยายผล คือ กระบวนการที่
เกดิ ขึ้นระหว่างสองฝ่ายคอื ผใู้ ห้คำปรกึ ษาและผรู้ บั การปรึกษาซงึ่ อาจเปน็ รายบคุ คลหรอื กลมุ่ ก็ได้ โดยมี

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

75

จุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ผู้รับการปรึกษาสามารถคิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง รวมทั้งเกิด
เครือขา่ ยของการนิเทศเพื่อประชาสมั พันธ์แนวทางการแก้ปัญหาต่อไป

สรุปได้ว่า การเผยแพร่ขยายผล หมายถึง การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน
ส่วนการขยายเครือข่ายการดำเนินงานนิเทศ โดยใช้เทคนิคการขายความคิด ให้เกิดความเชื่อถือ
ศรัทธา เนน้ ความพร้อมหรือความสมัครใจของครูเปน็ หลัก ข้นั เสรมิ การร่วมใจและการเสริมสร้างขวัญ
และกำลังใจ

ภาพ 4.1 กระบวนการนิเทศแบบรว่ มพฒั นา

1. การวางแผนการดาํ เนนิ งาน

5. การเผยแพรข่ ยายผล กระบวนการนิเทศ 2. การเสริมสร้างความรู้
แบบรว่ มพัฒนา ในการปฏิบัตงิ าน

4. การประเมินผลการปฏิบัติงาน 3. การปฏิบตั ิงานตามแผน

ขนั้ ตอนการนิเทศสอนแบบร่วมพฒั นา

การนิเทศการสอนแบบร่วมพัฒนา เป็นกระบวนการนิเทศการสอนในชัน้ เรียนอย่างมีระบบ
ครบวงจร โดยเนน้ การสังเกตการสอนอย่างมวี ัตถุประสงค์ เพ่อื นำข้อมลู มาแกป้ ัญหาและพัฒนาการเรียน
การสอน โดยมีขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน ดงั น้ี

ขน้ั ตอนที่ 1 ค่สู ัญญาตกลงรว่ มกัน
ครู 2 คนท่ีสนิทสนมไว้วางใจซึ่งกันและกัน ได้ตกลงรว่ มกนั ในการทจ่ี ะพัฒนาทักษะวิชาชีพ
โดยมวี ตั ถปุ ระสงคจ์ ะรว่ มกนั แกป้ ัญหาการจดั การเรยี นการสอน หรอื ปรับปรงุ พฤติกรรมการสอน โดย
ฝา่ ยหนึง่ เปน็ ผ้สู อนและอีกฝา่ ยหนึ่งทำหน้าที่เปน็ คู่สัญญา คอยให้ความชว่ ยเหลือแนะนำ ให้คำปรึกษา
และใหก้ ำลงั ใจ ซ่งึ สมั พันธภาพของคสู่ ญั ญาจะดำเนินไปในลกั ษณะของเพื่อนร่วมอาชีพท่ีมีเจตนารมณ์
และอุดมการณ์เดียวกัน ความสัมพันธ์ของค่สู ัญญาท้ังสองจะอยู่บนพ้ืนฐานของความเป็นประชาธิปไตย

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

76

ความเสมอภาค การยอมรับซึ่งกันและกัน มีความจริงใจ ให้เกียรติกัน มีความพร้อมที่จะร่วมมือ
ช่วยเหลือกันในการแกป้ ญั หา และพฒั นาการเรียนการสอนใหเ้ กดิ สัมฤทธิผลจนเป็นทีพ่ อใจร่วมกัน

ขน้ั ตอนท่ี 2 วิเคราะหป์ ญั หาการเรียนการสอนร่วมกัน
ครูผู้สอนจะนำปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอนมาปรึกษาหารือกับคู่สัญญา เพ่ือ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ปญั หาและร่วมกันวเิ คราะห์หาสาเหตุของปญั หา ซึ่งอาจใช้แผนภูมิกา้ งปลา
ในการศึกษาสาเหตุของปัญหา และช่วยกันรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวทางในการวางแผน
แก้ปัญหา โดยอาจนำปัญหาและสาเหตุที่วิเคราะห์ได้ไปปรึกษาหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งมี
บทบาทเป็นผ้นู เิ ทศโดยตรงอยแู่ ล้ว หรือปรกึ ษาหารือเพื่อนรว่ มงานในกลมุ่ สาระการเรยี นรู้ ซ่งึ อาจเป็น
ผเู้ ชย่ี วชาญหรือมีประสบการณเ์ กี่ยวกับปญั หาในลกั ษณะเดยี วกันมาแลว้
ข้นั ตอนที่ 3 กำหนดวตั ถปุ ระสงคใ์ นการแก้ปัญหาหรอื พฒั นา
ผ้สู อนจะตกลงใจเลือกปญั หาท่ีสำคญั และตอ้ งการแก้ไขก่อนมาระบวุ ตั ถปุ ระสงคใ์ นการแก้ปัญหา
หรือพัฒนา ส่วนค่สู ัญญาจะมหี น้าท่คี อยเปน็ คู่คดิ ใหค้ ำปรกึ ษาและให้กำลงั ใจ
ข้ันตอนที่ 4 วางแผนการสอนและผลิตสอ่ื
ผู้สอนจะนำจุดประสงค์การเรียนรู้ และเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนทั้งจากใน
บทเรียนและสื่ออื่น ๆ มาวิเคราะห์ร่วมกับคู่สัญญาเพื่อวางแผนการสอนและเตรียมการผลิตส่ือ
ประกอบการสอน โดยคู่สัญญาจะทำงานร่วมกันกับผู้สอนพร้อมทั้งช่วยปรับปรุง แก้ไขแผนการสอน
และสื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยทั้งคู่จะรับผิดชอบร่วมกันในผลของการสอน ในกรณีที่ผู้สอน
ต้องการให้คู่สัญญาเข้าไปสังเกตการสอน คู่สัญญาจะได้เข้าใจบทเรียนเพิ่มขึ้น จากการเข้าไปมีส่วน
รว่ มในการวางแผนการสอน เมอื่ ผู้สอนเตรียมการสอนเรียบร้อยแล้ว คู่สญั ญากจ็ ะให้กำลังใจ เพื่อช่วย
ใหผ้ ูส้ อนเกดิ ความมน่ั ใจ และเกิดพลงั ท่จี ะดำเนนิ การสอนให้เกดิ สมั ฤทธ์ติ ามจดุ ประสงคท์ ี่ตั้งไว้
ขัน้ ตอนที่ 5 วางแผนการนิเทศการสอน
ผู้สอนและคู่สัญญาจะวางแผนร่วมกัน โดยกำหนดวิธีการและแนวปฏิบัตใิ นการสังเกตการสอน
ในชั้นเรียน รวมทั้งช่วยกันสร้างเครื่องมือสังเกตการสอน ที่เฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ในการนิเทศ
แต่ละครั้งหรือเลือกเครื่องมือสังเกตการสอนที่มีอยู่แล้ว และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือสังเกต
การสอนที่จะใช้รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในขณะสังเกตการสอน ตลอดจนสร้างข้อตกลงร่วมกันว่า
ในขณะสอนและสังเกตการสอน ผู้สอนจะอนุญาตให้คู่สัญญาเข้าไปสังเกตการสอนอยู่หลังชั้นเรียน
หรือจะให้คู่สัญญามีส่วนร่วมในการจัดการเรยี นการสอนหรือร่วมกิจกรรมด้วย ตลอดจนตกลงร่วมกัน
ว่าจะแจง้ ใหผ้ ้เู รียนทราบหรือไม่ว่าคาบเรียนจะมผี ู้มาสังเกตการสอน จะสงั เกตตลอดทั้งคาบเรียนหรือ
ช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ ข้อตกลงทั้งหมดต้องอยู่ในความยินยอมพร้อมใจ หรือความต้องการของผู้สอนทั้งส้ิน
เพื่อผู้สอนจะได้สบายใจไม่วิตกกังวลต่อพฤติกรรมการสังเกตการสอนของคู่สัญญา ในกรณีที่ผู้สอน
ต้องการจะสังเกตการสอนด้วยตนเอง คู่สัญญาก็จะมีหน้าที่เพียงให้ความร่วมมือช่วยเหลือและให้

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

77

ขอ้ เสนอแนะในการสรา้ งหรอื เลือกใช้เคร่ืองมือสังเกตการสอนทเี่ หมาะสมเท่านนั้
ขนั้ ตอนที่ 6 สอนและสงั เกตการสอน
เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนและครู ตลอดจน

สภาพการณท์ ุกอย่างที่เกดิ ข้นึ ในหอ้ งเรียน การสังเกตการสอนเปรยี บเสมอื นการนำกระจกบานใหญ่ไป
ตั้งไว้หลังชั้นเรียน เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าในห้องเรียนนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และผู้สังเกตก็จะบันทึก
ข้อมูลที่รวบรวมได้ไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือพิจารณา วินิจฉัย เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง
แกไ้ ขพฤติกรรมการเรยี นการสอนต่อไป

ขนั้ ตอนที่ 7 วิเคราะห์ผลการสอนและผลการสังเกตการสอน
คู่สัญญาจะร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสังเกตการสอน ซึ่งจะค้นพบ
พฤติกรรมท้ังท่ีประสบความสำเร็จอย่างเด่นชัดของผสู้ อน และพฤติกรรมที่ควรปรบั ปรุงแก้ไขในด้านต่าง ๆ
ซ่งึ ผสู้ ังเกตได้รวบรวมไว้ท้ังหมด ตลอดจนข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ท่ีเกิดข้นึ ในขณะการเรียนการสอน
กำลงั ดำเนนิ อยู่ ผสู้ งั เกตการสอนและผสู้ อนจะรว่ มกันวเิ คราะห์ แปลความ ตคี วามพฤติกรรมท่สี ังเกตได้
และนำผลการวิเคราะห์ มาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของความเสมอภาค
จริงใจ และมคี วามมุ่งหวงั อย่างเดียวกัน คือ การพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอน
ขนั้ ตอนที่ 8 ใหข้ ้อมูลปอ้ นกลับซง่ึ กนั และกนั

เสริมสร้างขวัญและกำลังใจที่ผู้ทำหน้าที่นิเทศจะต้องใช้เทคนิคหรือกลวิธีหรือทักษะท่ี
ละเอียดอ่อนที่มีประสิทธิภาพ ดงั นี้ คอื ผู้นเิ ทศจะต้องพดู น้อย ฟังมาก ยอมรับและใช้ความคิดของครู
ให้เป็นประโยชน์ต่อการนิเทศ ใช้คำถามช่วยคลี่คลายทำให้กระจ่างชัดเจนขึ้น ให้คำยกย่องชมเชยใน
ผลงานของครู หลีกเลี่ยงการให้คำแนะนำโดยตรง หากจำเป็นควรเสนอทางเลือกให้หลาย ๆ วิธีเพื่อให้
ครูเลือกวิธีการทเ่ี หมาะสมเอง การสนบั สนุนครูแบบการยอมรับและใช้ความรู้สึกของครูให้เป็นประโยชน์
หรือ ใช้แซนวิชเทคนิคของ Bittlle ดังนี้ ชมเชย ยกย่อง ยอมรับในผลงานที่ประสบความสำเร็จของครู
อภิปรายพูดคุยถึงพฤติกรรมทคี่ วรปรบั ปรงุ แก้ไขเพียงเล็กน้อย สรุปผลงาน แนะวิธีแก้ไข ให้กำลังใจครูซ้ำ
อกี เพ่อื จะได้เกดิ พลงั ในการนำข้อเสนอแนะไปปฏบิ ตั ิใหเ้ กดิ ผล) ประกอบกับต้องมีศิลปะในการพูดผนวก
กบั การใช้จติ วทิ ยาในการให้คำปรึกษาซ่ึงไม่ควรให้มากเกนิ ไปและไม่ควรให้ในสิ่งที่เปน็ ข้อจำกัด ผู้นิเทศ
จะต้องเลือกเฉพาะพฤติกรรมท่ีคาดคะเนว่าครูจะสามารถปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้เท่านั้น การให้
ข้อมลู ป้อนกลบั ต้องคำนงึ สมั พนั ธภาพทางวชิ าชีพท่ีตั้งอยูบ่ นพน้ื ฐานของพฤตกิ รรมดังต่อไปน้ี คอื ตอ้ ง
เกิดจากความต้องการของครู มุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพ ร่วมมือกันในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพ มุ่งเฉพาะ
พฤติกรรมการเรียนการสอนไม่ใช่บุคลิกภาพของครู ครูมีความพร้อมที่จะรับการนิเทศ สถานที่และ
จงั หวะเวลาที่เหมาะสม ครูมีสว่ นร่วมทุกขั้นตอน อย่าให้มากเกินไป หลีกเลยี่ งการใช้ค่านิยมสว่ นตัวให้ใน
ลักษณะเชิญชวน ไม่ใช่การวัดผลการสอนของครู อยู่บนพื้นฐานของการนิเทศทางอ้อม เป็น
ประชาธิปไตย เสมอภาค จริงใจ ใหเ้ กียรตกิ ัน ยอมรบั ซึ่งกนั และกนั

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

78 ผ้นู เิ ทศ และ ผู้รบั การนเิ ทศ

ขน้ั ตอนที่ 9 วางแผนการสอนและการนิเทศการสอนต่อเนื่อง
เปน็ การเริม่ ต้นวัฏจักรของกระบวนการนิเทศอกี รอบหนึ่ง เพือ่ ให้ครูและผ้นู ิเทศมีโอกาส

ทบทวนกระบวนการเรียนการสอนร่วมกันอีกคร้งั หนึ่งและมีโอกาสเลือกพฤติกรรมการเรยี นการสอนที่
ประสบความสำเร็จไปในการสอนครั้งต่อไป รวมทั้งเลือกพฤติกรรมการเรียนการสอนที่ควรปรับปรุง
ในวัฏจักรเก่าไปร่วมกันศึกษาหาแนวทางและวางแผนในการปรับปรุง โดยการนำไปทดลองสอนและ
สังเกตการสอนอีกครั้งหนึ่งในวัฏจักรใหม่ เทคนิคในการนิเทศของผู้นิเทศและความมุ่งมั่นของผู้รับการนิเทศ
จะนำไปสู่ความเป็นครมู ืออาชพี (Professional Teacher)

ภาพท่ี 4.2 : ขน้ั ตอนการนิเทศการสอนแบบร่วมพัฒนา

ข้ันตอนการนิเทศการสอนแบบร่วมพัฒนา

ข้นั ตอนที่ 1 คูส่ ัญญาตกลงร่วมกนั
ขน้ั ตอนที่ 2 วเิ คราะห์ปญั หาการเรียนการสอนรว่ มกนั
ขั้นตอนที่ 3 กาํ หนดวัตถปุ ระสงคใ์ นการแก้ปัญหาหรือพัฒนา
ข้ันตอนที่ 4 วางแผนการสอนและผลติ สือ่
ขน้ั ตอนท่ี 5 วางแผนการนิเทศการสอน
ขั้นตอนที่ 6 สอนและสังเกตการสอน
ขน้ั ตอนท่ี 7 วิเคราะห์ผลการสอนและผลการสังเกตการสอน
ขน้ั ตอนที่ 8 ให้ขอ้ มูลป้อนกลบั ซงึ่ กนั และกนั
ขั้นตอนที่ 9 วางแผนการสอนและการนเิ ทศการสอนตอ่ เน่อื ง

การจดั การเรยี นรู้ของครู

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

79

แผนการนเิ ทศ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ได้ใช้กระบวนการนิเทศแบบร่วม

พัฒนามาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถ

ทางภาษาสากล CEFR สำหรับครภู าษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มัธยมศึกษาตอนตน้ ซงึ่ ผ้ศู ึกษาได้กำหนดเป็น

“แผนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ

ความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น” ตาม

ตารางดงั น้ี

ตารางที่ 3.1 : แผนการนิเทศแบบร่วมพัฒนาเพอ่ื พัฒนาการจดั กจิ กรรมการเรยี นรภู้ าษาอังกฤษ

ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครภู าษาองั กฤษ

ระดับชั้นมธั ยมศึกษาตอนตน้

วตั ถปุ ระสงค์ กจิ กรรม สอื่ /เครอื่ งมือนเิ ทศ

ขั้นที่ 1 การวางแผนการดำเนินงาน

1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา 1. ศกึ ษาสภาพปัญหา ความต้องการใน 1. เอกสารนโยบาย
แนวทางการพัฒนา
การจัดการเรียนรู้ การจดั กิจกรรมการเรยี นรภู้ าษาอังกฤษ การปฏริ ปู การเรียน
ภาษาอังกฤษ
ของโรงเรียนในสงั กัด สพม.ชบรย ทงั้ นี้ การสอน
2. เพือ่ ให้ผูน้ เิ ทศกำหนด
แนวทางการนเิ ทศโดย เพอ่ื ให้ได้ขอ้ มูลพนื้ ฐานเกย่ี วกับปัญหา ภาษาอังกฤษแนวใหม่
ใชร้ ปู แบบวิธีการนเิ ทศ
ทเ่ี หมาะสมกับศักยภาพ ความตอ้ งการและความจำเปน็ ในการพัฒนา ตามประกาศของ
และความต้องการ
การจดั การเรยี นการสอนภาษาองั กฤษ กระทรวงศึกษาธิการ

2. จดั ลำดับความสำคัญและเลือกความ 2. รายงานผลการประเมนิ

จำเป็นเร่งด่วนหรือสำคัญทีส่ ุด คอื ทักษะภาษาอังกฤษ

การพัฒนาความรู้ความสามารถครู สำหรับครูและ

ภาษาอังกฤษ ในการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้ บคุ ลากรทางการ

ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถ ศึกษา 2563

ทางภาษาสากล CEFR 3. โครงการ “การ

3. จดั ทำโครงการพฒั นาการจัดกิจกรรม พฒั นาคุณภาพ

การเรยี นรูภ้ าษาอังกฤษตามกรอบ จัดการเรียนรู้

ความสามารถทางภาษาสากล CEFR ภาษาอังกฤษตาม

4. สรา้ งชุดนิเทศการพฒั นาการจัด กรอบความสามารถ

กจิ กรรมการเรียนรูภ้ าษาอังกฤษ ตาม ทางภาษาสากล

กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR”

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

80

วัตถปุ ระสงค์ กิจกรรม ส่ือ/เคร่ืองมือนิเทศ

CEFR สำหรบั ครภู าษาอังกฤษ

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเพ่ือทำให้

การนเิ ทศบรรลุวตั ถปุ ระสงค์

ข้นั ที่ 2 การเสริมสร้างความรูใ้ นการปฏิบตั ิงาน

1. เพอื่ ชแี้ จงใหผ้ ู้นิเทศ ระยะท่ี 1 1. แผนการนิเทศ

ผู้รับการนเิ ทศและ 1. ประชุมพร้อมชี้แจงวตั ถุประสงค์และ 2. หนังสือเชญิ ประชมุ
ผมู้ สี ่วนเกีย่ วขอ้ งเห็น แนวทางการใชช้ ุดนิเทศการจัดกิจกรรม 3. ชุดนเิ ทศการจัด
ความสำคัญและเข้าใจ การเรียนรภู้ าษาอังกฤษตามกรอบ
แนวทางทางการใช้ชุด ความสามารถทางภาษาสากล CEFR กิจกรรมการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษตาม
กรอบความสามารถ

นิเทศการจัดกิจกรรม สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชน้ั ทางภาษาสากล

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มัธยมศึกษาตอนตน้ ใหก้ ับผู้อำนวยการ CEFR สำหรบั ครู
ตามกรอบความสามารถ สำนกั งานเขตพืน้ ท่ีการศึกษา รอง
ทางภาษาสากล CEFR ผูอ้ ำนวยการสำนกั งานเขตพน้ื ท่ี ภาษาอังกฤษ
สำหรบั ครูภาษาองั กฤษ การศึกษา ผูบ้ รหิ ารสถานศึกษา ครู ระดับชั้นมธั ยมศึกษา

ระดบั ชน้ั มัธยมศึกษา ภาษาองั กฤษและศึกษานิเทศก์ ใน ตอนตน้
ประกอบดว้ ย 2 ชดุ

กิจกรรม ไดแ้ ก่

ตอนตน้ สงั กดั สพม.ชบรยเกี่ยวกบั แนวทางการ 3.1 คูม่ ือนเิ ทศการ
จดั กจิ กรรมการ
2. เพอื่ ให้ครูภาษาอังกฤษ ดำเนนิ งาน กำหนดระยะเวลาตา่ ง ๆ เรยี นร้ภู าษาอังกฤษ
ระดบั ชนั้ ม.ตน้ มีความรู้ ตามข้นั ตอนการนเิ ทศและเปิดโอกาสให้ ตามกรอบ
ความเข้าใจและ ผูบ้ ริหารสถานศกึ ษาและครซู ักถาม
ความสามารถในการจัด ปญั หาและความคดิ เหน็ เพอื่ ใหเ้ กิดความ ความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR
กิจกรรมการเรยี นรู้ เข้าใจวตั ถุประสงคแ์ ละวิธีการ
สำหรบั ครู

ภาษาอังกฤษตามกรอบ ดำเนินงานอยา่ งชดั เจน ภาษาองั กฤษ

ความสามารถทาง 2. ทดสอบความรู้ความเขา้ ใจการจัด ระดบั ชน้ั
ภาษาสากล CEFR กจิ กรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตาม มัธยมศึกษาตอนต้น
กรอบความสามารถทางภาษาสากล
3.2 เอกสารเสริม
ความรู้การจดั
CEFR ของครูภาษาอังกฤษ ระดับช้ัน กิจกรรมการเรียนรู้

มธั ยมศึกษาตอนตน้ ก่อนการใช้ชดุ นเิ ทศ ภาษาองั กฤษตาม

การจดั กจิ กรรมการเรียนรูภ้ าษาอังกฤษ กรอบความสามารถ
ทางภาษาสากล
ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรบั ครู

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

81

วตั ถุประสงค์ กจิ กรรม สอ่ื /เครอื่ งมือนเิ ทศ

CEFR สำหรับครภู าษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั ภาษาองั กฤษ
ระดับชน้ั
มัธยมศึกษาตอนตน้ มธั ยมศึกษาตอนต้น
ระยะที่ 2 4. . แบบทดสอบวัด
3. ผู้นเิ ทศและผู้รับการนิเทศทำการศึกษา ความรู้ความเข้าใจ
สำหรบั ผู้เขา้ อบรมการ
และทำความเข้าใจชดุ นิเทศการจดั จดั กิจกรรมการเรยี นรู้
กิจกรรมการเรียนร้ภู าษาองั กฤษตาม ภาษาองั กฤษตาม
กรอบความสามารถทางภาษาสากล กรอบความสามารถ
CEFR สำหรบั ครภู าษาอังกฤษ ระดบั ช้ัน ทางภาษา CEFR
มธั ยมศึกษาตอนต้น 5. รายละเอยี ด
ระยะท่ี 3 หลักสูตรการอบรม
4. ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบตั ิการ

“CEFR – Based Teaching and

Assessment for High School

Teachers” และช้ีแจงแนวทางการใช้

ชดุ นเิ ทศการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้

ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถ

ทางภาษาสากล CEFR ให้แก่ครู

ภาษาองั กฤษ ระดับชน้ั มัธยมศกึ ษา

ตอนต้น ทสี่ นใจใชน้ วตั กรรมการนิเทศ

โดยมีวัตถปุ ระสงค์ให้ครมู ีความรคู้ วาม

เขา้ ใจเกยี่ วกับการจดั กิจกรรมการ

เรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบ

ความสามารถทางภาษาสากล CEFR

สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้น

มธั ยมศึกษาตอนต้น เนื้อหาครอบคลุม

ดงั นี้ กรอบความสามารถทาง

ภาษาสากล (The common

European Framework of

Reference for Language : CEFR)

การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสอื่ สาร

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

82

วตั ถปุ ระสงค์ กจิ กรรม สือ่ /เคร่ืองมือนเิ ทศ

(Communicative Language

Teaching) การจดั ทำแผนการจดั การ

เรียนรู้ (Lesson Planning) การ

ออกแบบกจิ กรรมการเรียนรู้เพ่ือ

ความสามารถในการสื่อสาร

(Communicative Lesson

Designing) การวัดและประเมินผลการ

จดั การเรียนรู้ (Language Evaluation

and Assessment) สามารถเขยี น

แผนการจดั การเรียนรู้ และออกแบบ

การจดั การเรยี นรู้

ขน้ั ท่ี 3 การปฏบิ ัตกิ ารงานตามแผน

1. เพือ่ นเิ ทศ ติดตามการจดั 1. วางแผนผ้นู เิ ทศและผรู้ ับการนเิ ทศวาง 1. แบบประเมิน

กจิ กรรมการเรยี นรู้ แผนการทำงานร่วมกัน โดยมี ความสามารถใน

ภาษาองั กฤษตามกรอบ ศกึ ษานิเทศกร์ ่วมรบั รแู้ ละร่วมวางแผน การจัดการเรยี นรู้

ความสามารถทาง ตลอดจนการจดั ทำปฏิทนิ การนิเทศ ภาษาองั กฤษตาม

ภาษาสากล CEFR ของ ตดิ ตามร่วมกนั กรอบความสามารถ

ครภู าษาองั กฤษ ก่อน 2. ครูผู้รับการนเิ ทศและผู้นิเทศนเิ ทศตาม ทางภาษาสากล

และหลังใชช้ ดุ นเิ ทศ ขน้ั ตอนการนิเทศแบบรว่ มพฒั นา โดย CEFR

การจัดการเรยี นรู้ การสงั เกตการสอนเพ่ือประเมิน 2. ปฎทิ ินนิเทศการ

ภาษาองั กฤษตามกรอบ ความสามารถในการจดั การเรียนรู้ จดั การเรียนรู้

ความสามารถทาง ภาษาองั กฤษตามกรอบความสามารถ ภาษาองั กฤษตาม

ภาษาสากล CEFR ทางภาษาสากล CEFR มีการประชมุ กรอบ

สำหรบั ครภู าษาองั กฤษ สนทนาทางวชิ าการ หากมขี ้อสงสยั ความสามารถทาง

ระดับชั้นมัธยมศึกษา เอกสารประการใดสามารถทจ่ี ะ ภาษาสากล CEFR

ตอนต้น ประสานกับศึกษานเิ ทศก์ได้ทันทีทาง ของครูในสังกัด

โทรศพั ทห์ รือชอ่ งทางอื่นๆ ทีส่ ะดวก

มากท่ีสุด เนื่องจากผรู้ ับการนิเทศคร้ัง

น้มี คี ณุ สมบัติเบื้องต้นคือผ่านการ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

83

วตั ถุประสงค์ กจิ กรรม ส่อื /เคร่อื งมือนเิ ทศ

อบรมเชิงปฏิบัตกิ ารเกี่ยวกบั การ

จัดการเรียนร้ภู าษาองั กฤษตามกรอบ

ความสามารถทางภาษาสากล CEFR

ทำใหส้ ามารถเขา้ ใจและมีทักษะใน

เบอ้ื งต้นดา้ นการจดั กจิ กรรมการ

เรยี นรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ

ความสามารถทางภาษาสากล CEFR

3. ผนู้ เิ ทศนำเสนอผลการสงั เกตตาม

เคร่อื งมอื นเิ ทศแก่ครูผู้รับการนิเทศ

ผูน้ ิเทศ และครู ร่วมกันสะทอ้ นผล

แลกเปลยี่ นยอมรบั ในผลการสงั เกต

การสอน

ขัน้ ที่ 4 การติดตาม ตรวจสอบประเมินผลการนิเทศ

1. เพื่อเปรียบเทยี บความรู้ 1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจการจดั 1. แบบประเมินความ

ความเขา้ ใจและ กจิ กรรมการเรยี นรภู้ าษาอังกฤษตาม พึงพอใจของครู

ความสามารถในการจัด กรอบความสามารถทางภาษาสากล ภาษาองั กฤษ ใน

กจิ กรรมการเรยี นรู้ CEFR ของครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ การพฒั นากิจกรรม

ภาษาองั กฤษตามกรอบ มัธยมศกึ ษาตอนตน้ ก่อนการใชช้ ุดนิเทศ การเรียนรดู้ ว้ ยชดุ

ความสามารถทาง การจัดกิจกรรมการเรียนร้ภู าษาองั กฤษ นิเทศการจัด

ภาษาสากล CEFR ของ ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล กจิ กรรมการเรียนรู้

ครูภาษาองั กฤษ ก่อน 2. ครูผู้รับการนเิ ทศ ผูบ้ รหิ ารสถานศกึ ษา ภาษาอังกฤษตาม

และหลังใชช้ ดุ นิเทศ และครูผู้ร่วมพัฒนา ทำแบบประเมนิ กรอบความสามารถ

การจัดการเรยี นรู้ ความพึงพอใจของในการพฒั นา ทางภาษา CEFR

ภาษาอังกฤษตามกรอบ กจิ กรรมการจัดการเรยี นรู้ดว้ ยชดุ นเิ ทศ

ความสามารถทาง การจัดการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตาม

ภาษาสากล CEFR กรอบความสามารถทางภาษาสากล

สำหรับครูภาษาองั กฤษ CEFR สำหรบั ครภู าษาอังกฤษ ระดับช้นั

ระดับช้ันมธั ยมศึกษา มธั ยมศึกษาตอนต้น

ตอนตน้ 3. ประเมนิ และวเิ คราะหผ์ ลการประเมิน

ความพึงพอใจของครภู าษาองั กฤษ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

84

วตั ถุประสงค์ กิจกรรม สอื่ /เครื่องมือนเิ ทศ

2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ระดบั ชัน้ มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ และผบู้ ริหาร

ของครูภาษาอังกฤษและ สถานศึกษาหลังไดร้ บั การนเิ ทศดว้ ยชุด

ผู้บริหารสถานศึกษาที่มี การจัดกิจกรรมการเรียนรภู้ าษาอังกฤษ

ตอ่ ชดุ นเิ ทศการจดั การ ตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR

เรยี นร้ภู าษาองั กฤษตาม 4. สรุปผลและรายงานผลการดาํ เนินงาน

กรอบความสามารถทาง พรอ้ มคดั เลอื กผลงานที่เป็นแบบอย่าง

ภาษาสากล CEFR ในการปฏบิ ัตทิ ี่ดี (Best Practice)

3. เพื่อสรปุ และรายงานผล

การนิเทศ ติดตาม

ประเมินผล

ข้ันที่ 5 การเผยแพร่ขยายผล

1. เพ่อื เสริมสรา้ งขวัญและ 1. มอบรางวลั และจดั เวทเี ผยแพร่ผลงานท่ี 1. เกยี รตบิ ัตร

กำลังใจแกผ่ ปู้ ฏบิ ตั งิ าน เปน็ แบบอยา่ งในการปฏิบัติที่ดี (Best 2. หนังสอื ราชการ

2. เพื่อขยายเครือขา่ ยการ Practice) ตามบรบิ ทของโรงเรียนและ เผยแพรผ่ ลงาน

ดำเนินงานนเิ ทศ สำนกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษา วชิ าการ

2. เผยแพร่การดําเนนิ งานนิเทศตอ่ ผเู้ ก่ียวข้อง 3. หนังสือเชญิ ประชมุ

3. นําผลการนิเทศไปใชใ้ นการวางแผน

พฒั นาคุณภาพการศกึ ษาและเผยแพรส่ ู่

หน่วยงานทเ่ี กย่ี วข้อง

4. จัดประชมุ เสวนา ครูภาษาองั กฤษและผู้

นิเทศ เพ่ือแลกเปลีย่ นความคิดเห็นการ

จดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาอังกฤษตาม

กรอบความสามารถทางภาษาCEFR

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

85

กิจกรรมการนิเทศ

ผู้รายงานทำการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR สำหรบั ครูภาษาอังกฤษ ระดับช้ันมธั ยมศกึ ษาตอนต้น ไมน่ ้อยกว่า 2 ครั้ง/ภาคเรียน
โดยผู้นิเทศดำเนินการตามกิจกรรมการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตาม
กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3
ข้ันตอน ประกอบดว้ ย

ขั้นตอนท่ี 1 การเตรียมการกอ่ นสังเกตการจดั การเรยี นรู้
ขั้นตอนที่ 2 การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR
ข้นั ตอนที่ 3 การประชมุ ให้ข้อมูลยอ้ นกลบั
รายละเอียดกิจกรรมการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดับช้นั มธั ยมศึกษาตอนตน้ ดงั นี้
การนิเทศครั้งที่ 1
ข้ันตอนท่ี 1 การเตรียมการ ก่อนการสงั เกตการจดั การเรยี นรู้
ผนู้ เิ ทศ ครผู ูร้ ับการนิเทศ และครผู ู้รว่ มพฒั นา สร้างขอ้ ตกลงรว่ มกันในการนิเทศ โดยกำหนด
จุดประสงค์การสังเกตพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR แนะนำประเด็นในการประเมิน ได้แก่ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การออกแบบ
กิจกรรมการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR
และการวดั และประเมินผลการจัดการเรยี นรู้ และเคร่อื งมอื ในการนิเทศ
ขั้นตอนที่ 2 การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถ
ทางภาษาสากล CEFR (50 นาท)ี
ผู้นิเทศและครูผู้ร่วมพัฒนา ดำเนินการนิเทศพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR ในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศ ตามประเด็นที่ได้
กำหนดไว้ในแบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR โดยสังเกตการจัดประสบการณ์เงียบ ๆ ขณะที่ครูผู้รับการนิเทศจัดการเรียนรู้ โดย
ไมข่ ัดจังหวะของครู ผูน้ ิเทศจดบันทึกขอ้ มลู ที่สงั เกตได้อยา่ งละเอียด
ขั้นตอนที่ 3 การประชุมเพ่อื ใหข้ อ้ มูลยอ้ นกลับ (20 – 30 นาที)
ประชุม สรปุ ผลการสังเกตการจัดการเรยี นรู้ ให้ขอ้ มูลยอ้ นกลับยงั ผู้รับการนเิ ทศ โดยพิจารณา
วเิ คราะห์ข้อมลู ที่ได้จากการสังเกตการจดั กิจกรรมการเรียนรภู้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR และการบันทึกการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR ของครู และนำข้อมูลที่ได้สรุปให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ครูทราบ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

86

ว่าพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ใดที่เป็นจุดเด่นและจุดใดที่ควรพัฒนา ให้ครูแสดงความคิดเห็นต่อการจัด
การสอนของตนสะทอ้ นตนเองเพ่ือปรบั ปรงุ การสอนและวางแผนการนิเทศครั้งต่อไป
การนิเทศครัง้ ที่ 2

ขั้นตอนท่ี1 การเตรียมการ กอ่ นการสังเกตการจัดการเรยี นรู้ (10 – 15 นาที)
ผู้นิเทศทบทวนประเด็นการสังเกตพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR ของผู้รับการนิเทศที่เป็นจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาจากผลการนิเทศ
ครัง้ ที่ 1 ผนู้ เิ ทศและครูผ้รู บั การนเิ ทศ ร่วมกันกำหนดจุดประสงค์การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR ของครูผูร้ ับการนิเทศที่เป็นจุดเดน่ และจุด
ที่ควรพฒั นาจากผลการนิเทศครัง้ ท่ี 1
ขั้นตอนที่ 2 การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถ
ทางภาษาสากล CEFR (50 นาท)ี
ผู้นิเทศดำเนินการนเิ ทศพฒั นาการจดั กจิ กรรมการเรียนรภู้ าษาอังกฤษตามกรอบความสามารถ
ทางภาษาสากล CEFR ในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศ ตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้ในแบบประเมิน
ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR ได้แก่
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การออกแบบกจิ กรรมการเรียนรู้ การจัดการเรยี นรภู้ าษาอังกฤษตาม
กรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR และการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ รวมถึง
จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาจากผลการนิเทศครั้งที่ 1 เป็นพิเศษโดยสังเกตเงียบ ๆ ขณะที่ครูจัด
กิจกรรม ไมข่ ดั จังหวะการจดั ประสบการณ์ ผู้นเิ ทศจดบันทึกขอ้ มูลทีส่ ังเกตได้อยา่ งละเอยี ด
ขนั้ ตอนที่ 3 การประชุม ใหข้ อ้ มลู ย้อนกลับ (20 – 30 นาที)
ประชมุ สรุปผลการสงั เกตการจัดการเรยี นรู้ ใหข้ ้อมลู ยอ้ นกลบั ยงั ผ้รู บั การนิเทศ โดยพิจารณา
วิเคราะห์ข้อมูลท่ีได้จากการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR และการบันทึกการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR ของครู ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ครูทราบว่าสิ่งใดที่เป็นจุดเด่น
จุดใดควรพัฒนาเพิ่มเติมและให้ครูแสดงความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งสะท้อนตนเองเพ่ือ
ปรบั ปรงุ การจัดการเรียนรู้ ผู้นเิ ทศรวบรวมข้อมูลท่ไี ด้นำมาวเิ คราะห์และสรุปผลการนิเทศ

การรายงานผลการนิเทศ

การรายงานผลการนิเทศเป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องจัดทำเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานตาม
แผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศต้องมีการสรุปและรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
โดยใช้รปู แบบการรายงาน การประเมินผลโครงการหรอื การวิจัย ในทนี่ ีไ้ ด้นำเสนอตัวอย่างการเขียนรายงาน
2 รปู แบบ คอื การรายงานการนเิ ทศตามแบบรายงานและการรายงานการนเิ ทศในรูปแบบการวิจัย

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

87

1. การรายงานการนเิ ทศตามแบบรายงาน
แบบรายงานการนเิ ทศ

การจดั กจิ กรรมการเรยี นรภู้ าษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR
สำหรับครภู าษาอังกฤษ ระดับชน้ั มธั ยมศึกษาตอนต้น

ของโรงเรยี นในสงั กัดสำนักงานเขตพ้นื ท่ีการศกึ ษามัธยมศึกษาชลบรุ ี ระยอง

ครผู สู้ อน................................................................................ตำแหนง่ ..............................................
กลมุ่ สาระ.............................................................โรงเรียน................................................................
วชิ า........................................................ระดับช้นั ..............................จำนวนนกั เรียน.......................
วนั /เดือน/ปี และเวลาทรี่ บั การนเิ ทศ........................................... เวลา.............................................
การดำเนนิ งานตามข้นั ตอนการนิเทศ

ขั้นตอนที่ 1 การเตรยี มการ ก่อนการสงั เกตการจัดการเรียนรู้ (30 นาที)

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ขั้นตอนที่ 2 การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR (50 นาท)ี

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ขน้ั ตอนท่ี 3 การประชุมเพือ่ ให้ข้อมลู ย้อนกลบั (20 – 30 นาท)ี

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

88

ข้อเสนอแนะของผู้นเิ ทศ

พฤตกิ รรมครู

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

การจดั กิจกรรมการเรียนการสอน

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

พฤติกรรมนกั เรียน

.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ลงช่ือ.................................................... ผู้รบั การนเิ ทศ ลงช่ือ......................................................ผนู้ เิ ทศ

............/............../............. ............/............../.............

หมายเหตุ แนบภาพการดำเนินกจิ กรรมการนเิ ทศอย่างน้อย 2 ภาพ

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

89

2. การรายงานการนเิ ทศในรปู แบบรายงาน

ส่วนประกอบของรายงานทสี่ ำคญั มี 3 สว่ น คือ หมวดนำเรือ่ ง หมวดเน้อื เรอ่ื ง และหมวดอา้ งองิ
1. หมวดนำเร่อื ง หรือส่วนหน้า ประกอบด้วย

1.1 ปกหน้า หรอื ปกนอก คือ สว่ นที่อยู่หนา้ สดุ หรือนอกสดุ ของเลม่
1.2 ปกใน เปน็ ใบรองปกอย่ตู ่อจากปกนอก
1.3 คำนำ เปน็ การเขียนสรปุ กรอบของการทำงาน/โครงการ ผลงานทางวิชาอยา่ งย่อๆ
และกลา่ วขอบคุณผเู้ ก่ียวข้องทชี่ ว่ ยใหง้ านสำเรจ็
1.4 สารบัญ เปน็ ดชั นบี อกการเรียนลำดบั เนอื้ เรอื่ ง สารบญั ภาพประกอบ
2. หมวดเน้ือเรื่อง หรือสว่ นเนื้อหา ประกอบด้วย
2.1 บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึง ความนำ การกำหนดปัญหา จดุ ประสงคใ์ นการนิเทศ นิยาม
ศัพทเ์ ฉพาะขอบเขตของการนเิ ทศ
2.2 บทที่ 2 เอกสารและหลักวิชาที่เกี่ยวข้อง กล่าวถึง แนวคิด หลักการ หรือทฤษฎีท่ี
นำมาส่รู ปู แบบหรอื วิธกี ารนเิ ทศน้นั ๆ โดยอ้างอิงเอกสารทางวชิ าการทเี่ ก่ียวขอ้ ง
2.3 บทท่ี 3 วิธกี ารดำเนนิ งาน เปน็ การบรรยายให้เหน็ ภาพตั้งแตก่ ารเริ่มต้นดำเนินงานนิเทศ
จนเสร็จการนิเทศ อาจเขียนเป็นขั้นตอน เช่น การหาความต้องการจำเป็นในการนิเทศ การวางแผน
การนิเทศ การเตรยี มการนิเทศ การดำเนินการนเิ ทศ และการประเมินผลและปรบั ปรงุ
2.4 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน เป็นการรายงานผลการนิเทศตามจุดประสงค์ของการ
นิเทศ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการใช้สื่อ นิเทศ หรือผลการประเมินการนิเทศวิชา/งาน นั้นๆ ว่ามี
ผลเกิดขนึ้ ตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนดไวม้ ากนอ้ ยเพยี งใด
2.5 บทท่ี 5 สรุป อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ เปน็ การสรปุ ผลการดำเนินงานนิเทศ
ทกุ ข้นั ตอน มีการอภปิ รายผลการสรปุ น้นั พรอ้ มใหข้ ้อเสนอแนะในการพฒั นาการนิเทศต่อไป
3. หมวดอ้างอิง หรือส่วนหลัง ประกอบดว้ ย
3.1 บรรณานกุ รม เปน็ การเขียนลำดบั รายชอื่ เอกสารตำรา สอ่ื วสั ดอุ ้างอิง หรือศึกษา
ค้นคว้าในการจดั ทำงาน/โครงการ และผลงานวิชาการนี้
3.2 ภาคผนวก เป็นขอ้ มูลเฉพาะเจาะจง เพ่ือขยายหรือเปน็ สว่ นประกอบทชี่ ่วยให้เข้าใจ
สว่ นเนอ้ื หามากยง่ิ ขน้ึ อันเปน็ ส่วนทไี่ ม่สมควรจะนำไปใช้ในหมวดเนอื้ เรอื่ ง เพราะอาจจะดรู ุงรงั เกินไป

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้

90

สว่ นท่ี 4

เครอ่ื งมอื นิเทศ

การประเมินผลการพฒั นาการจดั การเรียนรู้ภาษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาองั กฤษ ระดับชน้ั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ โดยวธิ ีการนเิ ทศแบบ
ร่วมพฒั นา ผูศ้ กึ ษากำหนดการประเมนิ ออกเปน็ 3 ด้านดังนี้

1. ดา้ นความรู้ความเข้าใจการจัดการเรยี นรภู้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถ
ทางภาษาสากล CEFR

ผูร้ บั การนเิ ทศศึกษาชดุ นเิ ทศการจดั กจิ กรรมการเรียนรภู้ าษาอังกฤษตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรบั ครภู าษาองั กฤษ ระดบั ชั้นมธั ยมศึกษาตอนตน้ และ
ทำแบบทดสอบวดั ความรู้ความเข้าใจการจดั กิจกรรมการเรยี นรภู้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถ
ทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ เพื่อทดสอบวดั
ความร้คู วามเขา้ ใจกอ่ นและหลงั เรียนรดู้ ้วยชดุ นิเทศฯ โดยจะตอ้ งทำแบบทดสอบผ่านไม่นอ้ ยกว่า
รอ้ ยละ 75

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

91

2. ดา้ นความสามารถในการจดั การเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบความสามารถ
ทางภาษาสากล CEFR

ผู้นเิ ทศ (ประกอบดว้ ย ครู Buddy ผบู้ ริหารสถานศกึ ษาและศกึ ษานเิ ทศก์) ทำการ
นิเทศการสอนแบ่งการประเมนิ ออกเปน็ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การจดั ทำแผนการจดั การเรียนรู้
2) การออกแบบการจดั การเรียนรู้ 3) การจดั การเรยี นรภู้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถ
ทางภาษาสากล CEFR และ4) การวัดและประเมนิ ผลการจัดการเรียนรู้ จากนน้ั ใหผ้ ูน้ เิ ทศทำ
แบบประเมนิ ความสามารถในการจดั การเรยี นร้ภู าษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทาง
ภาษาสากล CEFR

3. ดา้ นความพงึ พอใจตอ่ ชุดนเิ ทศการจดั การเรียนรภู้ าษาองั กฤษตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาองั กฤษ ระดบั ช้ันมัธยมศกึ ษาตอนต้น
เครอ่ื งมือที่ใชใ้ นการนเิ ทศ

ครแู ละผูบ้ รหิ ารสถานศกึ ษาทำแบบประเมินความพงึ พอใจตอ่ ชดุ นิเทศการจัด การ
เรียนรู้ภาษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครูภาษาองั กฤษ
ระดบั ชน้ั มัธยมศึกษาตอนตน้

เครื่องมือนเิ ทศ

การพฒั นาการจัดการเรยี นรภู้ าษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล
CEFR สำหรบั ครภู าษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มัธยมศึกษาตอนตน้ โดยวธิ กี ารนเิ ทศแบบรว่ มพฒั นา
ไดด้ ำเนินการรวบรวมข้อมลู จากเครอื่ งมอื นิเทศดงั นี้

1. แบบทดสอบวดั ความรู้ความเข้าใจ เร่ือง การจดั กิจกรรมการเรียนรภู้ าษาอังกฤษ
ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR

2. แบบประเมนิ ความสามารถในการจดั การเรียนร้ภู าษาองั กฤษตามกรอบ
ความสามารถทางภาษาสากล CEFR

3. แบบประเมินความพึงพอใจตอ่ การนเิ ทศการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรับครภู าษาองั กฤษ ระดับชั้นมธั ยมศกึ ษาตอนตน้

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้

92

แบบทดสอบวดั ความรู้ความเข้าใจ

การจดั กจิ กรรมการเรยี นรภู้ าษาอังกฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR
สำหรับครูภาษาอังกฤษ ระดบั ชั้นมธั ยมศึกษาตอนต้น

คำช้ีแจง แบบทดสอบนีม้ วี ัตถุประสงคเ์ พ่ือประเมินความรู้ความเข้าใจในการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้
ภาษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษาสากล CEFR สำหรบั ครภู าษาอังกฤษ ระดบั ชน้ั
มัธยมศึกษาตอนตน้ ซึ่งแบบทดสอบเป็นแบบเลอื กตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ใชเ้ วลา 30 นาที
ขอใหเ้ ลือกคำตอบท่ีถูกตอ้ งท่ีสดุ เพยี งข้อเดียว

1. การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาองั กฤษตามนโยบายปจั จุบันใช้กรอบแนวคิดใดเป็นหลัก
a. Canadian Language Benchmarks
b. Interagency Language Roundtable scale
c. The Common European Framework of Reference for Languages
d. American Council on the Teaching of Foreign Languages Proficiency Guidelines

2. จุดมุ่งหมายของกรอบความสามารถทางภาษา CEFR คือ ข้อใด

1) กรอบมาตรฐานที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปใช้ร่วมกันในการวางแผนการสอนภาษาถิ่น

ทุกภาษาทั่วทั้งทวีปยุโรป

2) กรอบมาตรฐานท่ีประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปใช้ร่วมกันในการวางแผนการสอนเฉพาะ

ภาษาแม่ในประเทศทวีปยุโรป

3) กรอบมาตรฐานท่ีประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปใช้ร่วมกันในการวางแผนการสอนภาษาท่ี

สองท่ัวท้ังทวีปยุโรป

4) กรอบมาตรฐานที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปใช้ร่วมกันในการวางแผนการสอนเฉพาะ

ภาษาอังกฤษทั่วทั้งทวีปยุโรป
3. ข้อใดกล่าวถึงหลักการวัดระดับภาษาของ CEFR ได้ถูกต้อง

1) CEFR แบ่งเป็น 6 กลุ่ม 6 ระดับ
2) CEFR แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 6 ระดับ
3) CEFR แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 3 ระดับ
4) CEFR แบ่งเป็น 6 กลุ่ม 3 ระดับ

4. ผู้สำเรจ็ การศึกษาระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น อย่รู ะดับความสามารถใด
1) A1 2) A2 3) B1 4) C1

คูม่ ือนิเทศการจดั กิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษตามกรอบความสามารถทางภาษา CEFR
สาหรบั ครูภาษาองั กฤษ ระดบั ชนั้ มธั ยมศึกษาตอนตน้


Click to View FlipBook Version