The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น63 เล่ม1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by appleati, 2021-12-27 04:12:56

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น63 เล่ม1

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น63 เล่ม1

464

สาขาวิชา เช่น การปรับปรุงพันธุ์ (วันทนา และคณะ, 2535) งานเขตกรรม (ธงชัย และคณะ, 2535) งาน
ปฐพีวิทยา (จักรนิ ทร์ และปรชี า, 2536) และงานอารกั ขาพืช (ประภาส และผุด, 2537) เพ่ือให้ได้อ้อยค้ันน้ำ
พันธุ์ใหม่ต่อไป การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินสำหรับอ้อยในเขตชลประทานเป็นวิธกี ารที่สามารถเพิ่มผลผลิต
อ้อยคัน้ นำ้ ได้ (กอบเกยี รติ, 2554)

วธิ ดี ำเนนิ การ
จากการผสมพนั ธอุ์ ้อย ปี 2561/2562 สามารถผสมพันธุอ์ ้อยค้นั น้ำไดท้ ้ังหมด 27 คูผ่ สม เม่อื ดอกอ้อย
มีเมล็ดที่สมบูรณ์แล้ว ประมาณ 1 เดือนจะทำการตัดช่อดอกและรูดดอกออกจากก้าน เขียนชื่อคู่ผสมและ
รายละเอียดการผสมแลว้ พบั ห่อกระดาษแกว้ นั้นไวใ้ นหอ้ งควบคุมความอุณหภูมิ จากนน้ั ปลายเดือนกุมภาพันธ์
2562 นำเมล็ดออ้ ยไปเพาะให้งอกด้วยวัสดุปลกู ดว้ ยดนิ ผสมกบั กากตะกอนหม้อกรอกทย่ี อ่ ยสลายแลว้ จากนั้น
ย้ายลงถาดหลุม และย้ายลงแปลงในเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2562 โดยวางแผนการคัดเลือกแบบ
Mass selection ใช้ขอนแก่น 3 เค88-92 และสุพรรณบุรี 50 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ขนาดแปลงย่อย 1 แถว
ยาว 15 เมตร ปลูกพันธุ์ขอนแก่น 3 เป็นหลุมแรกและหลุมสุดท้าย ใช้ระยะระหวา่ งต้น 0.5 เมตร และระยะ
ระหว่างแถว 1.5 เมตร ใส่ปุ๋ยเกรด 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อม
ปลูก อัตรา 50 กิโลกรัมตอ่ ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากย้ายลงแปลง 3 เดือน อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กำจัดวัชพืช
ไม่ให้รบกวนตลอดการทดลอง
บนั ทกึ วันปฏิบัตกิ ารต่างๆ คดั เลอื กอยา่ งน้อย 3 ครง้ั เมือ่ ออ้ ยอายุ 3-4 เดอื น 6-7 เดอื น และกอ่ นเก็บ
เกี่ยว และคัดเลือกอ้อยคั้นน้ำโคลนดีเด่นโดยเน้นคุณภาพสีน้ำอ้อยและไม่ตกตะกอน และบันทึกข้อมูล เช่น
ผลผลิตอ้อย องคป์ ระกอบผลผลติ ปรมิ าณนำ้ อ้อยสด ความหวาน คณุ ภาพน้ำคนั้ (สี รสชาติ กลิน่ หอม)

ผลและวจิ ารณผ์ ลการทดลอง
บำรงุ รกั ษาแปลงคัดเลอื กข้นั ที่ 1 ลกู ออ้ ยมกี ารเจรญิ เติบโตดี (ภาพที่ 1) และจะดำเนนิ การคัดเลือกข้ันที่
1 ประมาณเดือนพฤศจกิ ายนถงึ ธนั วาคม 2563 คดั เลือกจากลักษณะกอของออ้ ยค้ันน้ำโคลนดีเด่น โดยเน้นคุณ
ภาพสีน้ำอ้อยและการไม่ตกตะกอน มีผลผลิตสูง และมีองค์ประกอบผลผลิตดี เช่น ปริมาณน้ำอ้อยสด ความ
หวาน คุณภาพน้ำคัน้ (สี รสชาติ กลิ่นหอม)

สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
แปลงคัดเลือกขั้นที่ 1 ของอ้อยคั้นน้ำชุดที่ 4 ลูกอ้อยมีการเจริญเติบโตดี และจะสามารถคัดเลือก
โคลนออ้ ยดเี ดน่ ข้นั ท่ี 1 ได้ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธนั วาคม 2563 ท่ีตอ้ งคัดเลือกในช่วงนี้ เน่ืองจากอ้อย
ลูกผสมมีอายุที่เหมาะสม และเป็นช่วงที่อ้อยออกดอก การคัดเลือกนอกจากจะเน้นในเรื่องของคุณภาพสี
นำ้ ออ้ ยและการไม่ตกตะกอนแล้ว ผลผลิต องคป์ ระกอบผลผลติ และช่วงเวลาการออกดอกของออ้ ยกเ็ ปน็ ปัจจัย
หนึง่ ทส่ี ำคญั ในการคัดเลอื กโคลนอ้อยดเี ดน่

465
เอกสารอา้ งอิง

กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ. 2554. คำแนะนำการใชป้ ุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับอ้อยในเขตชลประทาน. โครงการวิจัยและ
พฒั นาดา้ นดนิ นำ้ และปุ๋ยออ้ ย.

จักรนิ ทร์ ศรทั ธาพร และ ปรชี า พราหมณยี .์ 2536. ศึกษาอัตราปยุ๋ ทีเ่ หมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำสายพันธ์ุ 90-1.
รายงานผลงานวจิ ยั ประจำปี 2536. ศูนยว์ ิจยั พืชไรส่ ุพรรณบุรี, สถาบันวจิ ัยพชื ไร่, กรมวิชาการเกษตร หน้า 672-680.

ธงชัย ต้ังเปรมศรี วันทนา ตัง้ เปรมศรี และอรรถสทิ ธ์ิ บุญธรรม. 2535. การศกึ ษาคณุ ภาพน้ำอ้อยเมื่อเกบ็ เก่ียวที่อายุแตกต่าง
กัน. รายผลงานวิจัยประจำปี 2535. ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่, กรมวิชาการเกษตร หน้า 701-
705.

ประภาส ดารีพัฒน์ และ ผุด จันทร์สขุ โข. 2537. ศึกษาการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยต่ออ้อยค้ันน้ำ 90-1: ออ้ ยปลูก. ราย
ผลงานวิจัยประจำปี 2537. ศนู ยว์ จิ ยั พชื ไรส่ พุ รรณบรุ ี, สถาบนั วิจัยพชื ไร่, กรมวิชาการเกษตร หนา้ 706-710.

วันทนา ตั้งเปรมศรี ธงชัย ตั้งเปรมศรี และอุดม เลียบวัน. 2535. การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุอ์ อ้ ยคั้นน้ำ : อ้อยปลูก. ราย
ผลงานวจิ ยั ประจำปี 2535. ศนู ยว์ ิจัยพืชไรส่ พุ รรณบรุ ี, สถาบันวจิ ัยพชื ไร่, กรมวชิ าการเกษตร หนา้ 691-693.

ภาพที่ 1 แปลงคัดเลือกขน้ั ท่ี 1 ออ้ ยคนั้ นำ้ ชุดท่ี 4 ปี 2563

466

การเปรียบเทยี บเบือ้ งต้นพนั ธ์ุออ้ ยคนั้ นำ้ ชุดที่ 2 ปี 2560

ธีระรัตน์ ชณิ แสน1* ภาคภูมิ ถนิ่ คำ1 อัมราวรรณ ทพิ ยวัฒน์1 แสงเดือน ชนะชัย1
ปิยะรัตน์ จังพล1 และกมลวรรณา เรียบรอ้ ย1

รายงานความกา้ วหน้า
พนั ธ/ุ์ โคลนอ้อยคั้นนำ้ ท่ีใช้ในการเปรยี บเทยี บเบ้ืองตน้ ครงั้ นม้ี ีทง้ั สิ้น 26 พนั ธุ์/โคลน ซึ่งประกอบด้วย
โคลนออ้ ยจำนวน 25 โคลน ไดแ้ ก่ KKj16-1-003 KKj16-1-009 KKj16-2-011 KKj16-4-019 KKj16-4-021
KKj16-4-025 KKj16-4-026 KKj16-5-033 KKj16-5-034 KKj16-5-035 KKj16-5-038 KKj16-5-039
KKj16-5-040 KKj16-5-041 KKj16-5-043 KKj16-5-045 KKj16-5-048 KKj16-5-049 KKj16-5-052
KKj16-5-055 KKj16-5-056 KKj16-5-057 KKj16-5-060 KKj16-5-061 และ KKj16-5-064 และพันธุ์
เปรียบเทียบ คือ SP50 (สุพรรณบุรี 50) จากการศึกษาพบว่า ความมีชีวิตหลังย้ายปลูกและลักษณะทางการ
เกษตร ไดแ้ ก่ ความยาวลำ ค่า SCMR (SPAD chlorophyll meter reading) จำนวนหน่อตอ่ กอ และการเข้า
ทำลายของหนอนกออ้อยมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ และขณะนี้อยู่ระหว่างการดูแลรักษาเพื่อวัดข้อมูล
ลักษณะทางการเกษตรและเก็บเกยี่ วผลผลติ ในลำดบั ต่อไป
คำสำคัญ: ความยาวลำ คา่ SCMR จำนวนลำต่อกอ

คำนำ
อ้อย (Saccharum officinarum) พืชไร่เศรษฐกิจท่สี ำคัญชนิดหน่ึงของประเทศไทย สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้หลากหลายตามสายพันธุ์อ้อยน้นั ๆ ซงึ่ หากแบง่ ตามการบริโภคแล้วสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม
ได้แก่ กลุ่มอ้อยเคี้ยว ได้แก่ อ้อยสายพันธุ์มอริเซียส และสุพรรณบุรี 72 เป็นต้น กลุ่มอ้อยอุตสาหกรรมที่มี
ปริมาณนำ้ ตาลสงู เหมาะสมต่อการผลิตเป็นน้ำตาลหรอื ทน่ี ิยมเรยี กโดยท่วั ไปว่า ออ้ ยโรงงาน เช่น สายพันธ์ุ เค
88-92 แอลเค 92-11 และ ขอนแก่น 3 เป็นต้น และกลุ่มอ้อยคั้นน้ำ เช่น สายพันธุ์สิงคโปร์ และสุพรรณบุรี
50 เปน็ ตน้ และสำหรบั อ้อยคั้นน้ำน้นั ถือเป็นเครื่องด่ืมทน่ี ิยมบรโิ ภคอย่างแพรห่ ลายในทวีปเอเชียเนื่องจากหา
ซ้ือไดง้ า่ ย รสชาตหิ อมหวาน หรือมรี าคายอ่ มเยา (Mao et al., 2007) ทั้งน้ี ในน้ำอ้อยยังประกอบด้วยเกลือแร่
สำคัญทร่ี า่ งกายต้องการ เชน่ แคลเซยี ม ธาตเุ หล็ก และโพแทสเซียม เปน็ ตน้ รวมถงึ สารตา้ นอนุมูลอิสระกลุ่ม
สารประกอบฟีนอลิก (Phenolic Compounds) เช่น caffeic acid, sinapic acid และ hydroxycinnamic
acid (Singh et al., 2015) ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง อังคณา และคณะ
(2561) รายงานว่า น้ำอ้อยสดพันธุ์สุพรรณบุรี 50 มีค่าฟีนอลิกทั้งหมด ประมาณ 200 mg GAE/100g และ
น้ำอ้อยดำสดซึ่งเป็นอ้อยที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำแต่มีประโยชน์ทางการแพทย์แผนไทยมีค่าฟีนอลิกทั้งหมด
ประมาณ 380 mg GAE/100g

1ศูนย์วิจยั พืชไรข่ อนแก่น สถาบนั วจิ ยั พืชไร่และพชื ทดแทนพลังงาน อำเภอเมือง จังหวดั ขอนแก่น

*Corresponding Author E-mail: [email protected]

467

อ้อยคั้นน้ำพันธ์ุสุพรรณบุรี 50 เป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตรตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 ซึ่งใช้มา
นานมากกว่า 20 ปี และขอ้ จำกัดของอ้อยพนั ธ์นุ ี้ คือนำ้ ออ้ ยจะมีสคี ลำ้ และมีความหวานนอ้ ยในช่วงฤดูฝนทำให้
จำหนา่ ยไดน้ อ้ ยลง และการใชพ้ ันธุ์เดมิ อย่างต่อเนื่องกนั เปน็ เวลานาน ในสภาวะแวดลอ้ มที่เปลี่ยนแปลงทำให้
โรคและแมลงศตั รอู าจมกี ารปรบั ตวั ทำให้พันธ์อุ อ้ ยเกิดการออ่ นแอได้ และนำ้ อ้อยสดเปน็ สินค้าที่ต้องมีคุณภาพ
ตามความต้องการของผู้บริโภค ถ้ามีการพัฒนาให้มีความหลากหลายขึ้นอาจเป็นโอกาสในการขยายฐานของ
ผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการวิจัยและพัฒนาหาอ้อยคั้นน้ำพันธุ์ใหม่ให้มีคุณภาพที่
หลากหลายขึ้น ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และสามารถผลิตได้ตลอดปี ซึ่งจะเป็นทางเลือกและขยายโอกาสในการ
ประกอบอาชีพของประชาชน

วธิ ีดำเนนิ การ
สิ่งทีใ่ ชใ้ นการทดลอง

ประกอบด้วย พันธุ์/โคลนอ้อยที่ผ่านการคัดเลือก ชุดที่ 2 ปี 2560 จำนวน 26 พันธุ์/โคลน ได้แก่
KKj16-1-003 KKj16-1-009 KKj16-2-011 KKj16-4-019 KKj16-4-021 KKj16-4-025 KKj16-4-026
KKj16-5-033 KKj16-5-034 KKj16-5-035 KKj16-5-038 KKj16-5-039 KKj16-5-040 KKj16-5-041
KKj16-5-043 KKj16-5-045 KKj16-5-048 KKj16-5-049 KKj16-5-052 KKj16-5-055 KKj16-5-056
KKj16-5-057 KKj16-5-060 KKj16-5-061 และ KKj16-5-064 และพนั ธุ์เปรียบเทยี บ คือ SP50 (สพุ รรณบรุ ี
50) ปุ๋ยเคมีเกรด 15-15-15 Hand Refractometer เครื่องหีบคั้นน้ำอ้อย และห้องปฏิบัติการทดสอบ
คณุ ภาพต่างๆ สำหรับนำ้ ออ้ ยสด
วธิ ปี ฏบิ ัตกิ ารทดลอง

ปลกู โคลนออ้ ยที่ผ่านการคัดเลือกและพนั ธุ์เปรยี บเทียบดว้ ยอ้อยชำข้อ ตามแผนการทดลองท่ีกำหนด
โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 2 ซ้ำ ขนาดแปลงย่อย 1 แถว ยาว 6 เมตร ปลูก 3 แถวต่อพันธ์ุ/
โคลน เก็บเกี่ยวทง้ั 3 แถว ใช้ระยะระหว่างตน้ 0.5 เมตร และระยะระหวา่ งแถว 1.5 เมตร ปลกู พนั ธ์สุ ุพรรณบุรี
50 เป็นพันธม์ุ าตรฐาน ใส่ปุย๋ เกรด 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 คร้ัง ครง้ั แรกใส่หลังย้าย
ลงแปลง 15-20 วนั อัตรา 50 กิโลกรมั ต่อไร่ ครง้ั ที่ 2 ใสห่ ลงั จากยา้ ยลงแปลง 3 เดือน อัตรา 50 กิโลกรมั ตอ่ ไร่
กำจดั วชั พชื ไม่ใหร้ บกวนตลอดการทดลอง
การบนั ทึกข้อมลู

บันทึกวันปฏิบัติการต่างๆ เปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตหลังย้ายปลูก การเจริญเติบโตของอ้อยคั้นน้ำ เช่น
ความยาวลำ จำนวนลำต่อกอ และค่า SCMR (SPAD Chlorophyll Meter Reading) เส้นผ่านศูนย์กลางลำ
ค่าของแข็งท้งั หมดทีล่ ะลายได้ (total soluble solid, TSS) รวมถึงการเขา้ ทำลายของโรคและแมลง เกบ็ เกี่ยว
ผลผลิตที่อายุ ประมาณ 12 เดือนหลงั ปลูก โดยสุ่มออ้ ยแปลงย่อยละ 10 ต้น วัดความยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง
ขนาดของไส้ และค่าบริกซ์ และชั่งน้ำหนัก นับจำนวนลำ และ จำนวนกอ วัดปริมาณน้ำอ้อยสด ความหวาน
คณุ ภาพนำ้ คั้น

468

ผลและวิจารณผ์ ลการทดลอง
ความมชี ีวิตหลงั ยา้ ยปลกู

ปลกู อ้อยคน้ั น้ำ ชุดท่ี 2 ปี 2560 เมื่อวนั ท่ี 23 มถิ นุ ายน พ.ศ. 2563 โดยหลังการยา้ ยปลูกพันธ์ุ/โคลน
อ้อยค้นั น้ำทแ่ี ตกกันท่อี ายุ 3 เดือนหลังยา้ ยปลูก พบว่า พนั ธ/์ุ โคลนอ้อยท่ีแตกต่างกันมีความมีชีวิตไม่แตกต่าง
กนั ทางสถิติ โดยทง้ั 26 พันธ์ุ/โคลนมคี วามมีชวี ิตหลงั ยา้ ยปลูกเฉล่ีย เทา่ กบั 86.14 เปอร์เซน็ ต์ โดยพบวา่ โคลน
KKj16-5-060 มีความีชีวิตหลังย้ายปลูกสูงสุด เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ โคลน KKj16-5-039 มีความมี
ชีวิตหลังย้ายปลกู ตำ่ สดุ เท่ากับ 72.22 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับพนั ธ์ุสุพรรณบุรี 50 ซึ่งเปน็ พนั ธุ์เปรียบเทียบมี
ความมชี วี ติ หลงั ย้ายปลูก เทา่ กบั 97.22 เปอร์เซ็นต์ (ตารางท่ี 1)
ความยาวลำ

วดั ความยาวลำของอ้อยคั้นน้ำที่อายุ 4 เดือนหลงั ย้ายปลูก จากการศึกษาพบวา่ ความยาวลำของอ้อย
คั้นน้ำมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยอ้อยคั้นน้ำทั้ง 26 พันธุ์/โคลน มีความยาวลำเฉลี่ย เท่ากับ 82.0
เซนติเมตร โดยพันธสุ์ พุ รรณบรุ ี 50 มคี วามยาวลำสงู สุดเท่ากับ 107.8 เซนตเิ มตร ขณะท่ี โคลน KKj16-5-035
มคี วามยาวลำนอ้ ยท่สี ดุ เทา่ กบั 50.3 เซนติเมตร (ตารางที่ 2)
ค่า SCMR

ค่า SCMR หรือค่า SPAD chlorophyll meter reading เป็นค่าที่แสดงความเขียวทางอ้อมของใบ
จากการศกึ ษาพบวา่ ท่ีอายุ 4 เดือนหลังปลกู อ้อยคนั้ นำ้ มคี ่า SCMR ไมแ่ ตกตา่ งกนั ทางสถิติ โดยออ้ ยคั้นน้ำทั้ง
26 พันธ์ุ/โคลน มคี ่า SCMR เฉลย่ี เท่ากับ 32.50 SPAD-unit โดยโคลน KKj16-1-003 และ KKj16-1-009 มคี ่า
SCMR สงู สุด เทา่ กบั 36.73 และ 36.63 SPAD-unit ตามลำดบั ขณะท่ี โคลน KKj16-5-061 มีคา่ SCMR น้อย
ทีส่ ุด เท่ากับ 27.52 SPAD-unit แลพันธุส์ พุ รรณบุรี 50 มคี ่า SCMR เทา่ กับ 31.90 SPAD-unit (ตารางท่ี 2)
จำนวนหน่อตอ่ กอ

จากการตรวจนับจำนวนหนอ่ ต่อกอของอ้อยคนั้ น้ำ พบว่า ที่อายุ 4 เดอื นหลังปลกู ออ้ ยคน้ั นำ้ มีจำนวน
หน่อต่อกอไม่แตกต่างกันทางสถติ ิ โดยทั้งน้ี 26 พันธุ์/โคลน มีจำนวนหนอ่ ต่อกอเฉลีย่ เท่ากับ 2.2 หน่อต่อกอ
โดยพันธุส์ พุ รรณบุรี 50 มจี ำนวนหนอ่ ต่อกอสงู สุด เท่ากับ 3.5 ลำต่อกอ (ตารางที่ 2)
การเข้าทำลายหนอนกออ้อย

จากการตรวจสอบการเขา้ ทำลายของหนอนกอออ้ ยพบวา่ การเขา้ ทำลายของหนอนกออ้อยตอ่ ออ้ ยค้ัน
น้ำมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยทั้ง 26 พันธุ์/โคลน มีการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยเฉลี่ย 15.04
เปอร์เซ็นต์ โดยโคลน KKj16-5-035 พบการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยสูงสุด เท่ากับ 33.33 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ พนั ธุส์ ุพรรณบุรี 50 พบการเข้าทำลายของหนอนกอออ้ ย เทา่ กับ 18.05 เปอรเ์ ซ็นต์ (ตารางที่ 2)

ความมีชีวติ หลงั ยา้ ยปลกู อ้อยท่ีอายุ 3 เดอื นหลังย้ายปลูก และลักษณะทางการเกษตรที่อายุ 4 เดือน
หลังย้ายปลูก ของอ้อยคั้นน้ำทั้ง 26 พันธุ์/โคลน มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติอาจเนื่องมาจากโคลนอ้อยได้รับ
อิทธิพลท่ีมคี วามคลา้ ยคลงึ กันทางพันธุกรรมจงึ สง่ ผลให้ลักษณะดงั กล่าวมคี า่ ใกลเ้ คยี งกนั

469

สรุปผลการทดลองและขอ้ เสนอแนะ
พนั ธ/์ุ โคลนออ้ ยคัน้ น้ำทป่ี ลกู ทดสอบในครัง้ น้ี ท้งั 26 พันธ์ุ/โคลน มคี วามมีชวี ติ หลงั ยา้ ยปลูก ความยาว
ลำ ค่า SCMR จำนวนหน่อต่อกอ และการเขา้ ทำลายของหนอนกอออ้ ยมีคา่ ใกล้เคยี งกนั

เอกสารอา้ งอิง

องั คณา จันทรพลพนั ธ์, ปยิ ะนุช กณุ โฮง, นชั ณภา สีเสนาะ และศิระภาไร ขมุ คำ. 2561. ผลของสายพันธุ์ การปอกเปลือก และ
เวลาในการให้ความรอ้ นตอ่ คุณสมบตั ิทางเคมขี องน้ำอ้อยคั้น. แก่นเกษตร 46 ฉบบั พเิ ศษ 1: 508 - 514.

Mao, L. C., Xu, Y. Q. and F. Que. 2007. Maintaining the quality of sugarcane juice with blanching and ascorbic
acid. Food Chem. 104: 740-745.

Singh, A., Lal, U.R., Mukhtar, H.M., Singh, P.S., Shah, G. and R.K. Dhawan. 2 0 1 5 . Phytochemical profile of
sugarcane and its potential health aspects. Pharmacogn Rev. 9: 45-54.

470

ตารางที่ 1 ความมีชีวิตหลังย้ายปลูก (เปอร์เซ็นต์) ของอ้อยคั้นน้ำ ชุดที่ 2 ปี 2560 ที่อายุ 3 เดือนหลัง
ปลกู ณ แปลงทดลองท่าพระ ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแกน่ ปี พ.ศ. 2563

ลำดับ พันธุ/์ โคลน ความมชี ีวิตหลังยา้ ยปลกู (%)
1 KKj16-1-003 84.73
2 KKj16-1-009 95.84
3 KKj16-2-011 91.67
4 KKj16-4-019 79.17
5 KKj16-4-021 79.17
6 KKj16-4-025 95.83
7 KKj16-4-026 88.89
8 KKj16-5-033 75.00
9 KKj16-5-034 77.09
25 KKj16-5-035 79.17
10 KKj16-5-038 97.22
11 KKj16-5-039 72.22
12 KKj16-5-040 77.78
13 KKj16-5-041 87.50
14 KKj16-5-043 93.06
20 KKj16-5-045 62.50
21 KKj16-5-048 95.84
22 KKj16-5-049 87.50
15 KKj16-5-052 86.11
23 KKj16-5-055 87.50
16 KKj16-5-056 86.11
17 KKj16-5-057 84.72
24 KKj16-5-060 100.00
18 KKj16-5-061 90.28
19 KKj16-5-064 87.50
26 SP50 97.22
ค่าเฉลีย่ 86.14
F-test ns
C.V. (%) 10.58

ns = ไม่แตกตา่ งทางสถติ ิ

471

ตารางที่ 2 ความยาวลำ ค่า SCMR จำนวนหน่อต่อกอ และการเข้าทำลายของหนอนกอของอ้อยคั้นนำ้
ชุดที่ 2 ปี 2560 ที่อายุ 4 เดือนหลังปลกู ณ แปลงทดลองท่าพระ ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแกน่ ปี พ.ศ. 2563

ลำดับ พนั ธ์ุ/โคลน ความยาวลำ คา่ SCMR จำนวนลำต่อกอ การเขา้ ทำลาย
(เซนติเมตร) (SPAD-unit) (หนอ่ ) หนอนกอออ้ ย (%)
1 KKj16-1-003 2.3
2 KKj16-1-009 85.0 36.73 1.7 1.39
3 KKj16-2-011 88.5 36.63 2.7 8.33
4 KKj16-4-019 93.3 34.67 1.8 20.84
5 KKj16-4-021 68.1 32.05 2.4 8.33
6 KKj16-4-025 73.5 33.15 2.3 11.11
7 KKj16-4-026 90.7 30.59 2.6 9.72
8 KKj16-5-033 93.8 33.90 2.1 6.95
9 KKj16-5-034 86.0 34.20 0.8 15.28
10 KKj16-5-035 54.7 29.63 1.1 16.66
11 KKj16-5-038 50.3 31.28 2.9 33.33
12 KKj16-5-039 94.2 32.72 1.4 2.78
13 KKj16-5-040 57.8 28.65 2.1 19.44
14 KKj16-5-041 82.5 32.89 2.4 12.50
15 KKj16-5-043 83.1 28.50 3.4 15.28
16 KKj16-5-045 102.8 36.15 1.2 4.16
17 KKj16-5-048 51.0 30.38 2.7 29.16
18 KKj16-5-049 90.2 34.30 1.8 22.91
19 KKj16-5-052 76.4 32.70 3.5 20.84
20 KKj16-5-055 104.3 34.98 1.3 19.45
21 KKj16-5-056 78.4 33.07 2.6 16.67
22 KKj16-5-057 73.9 31.68 2.9 16.67
23 KKj16-5-060 85.3 30.60 1.2 9.72
24 KKj16-5-061 94.6 31.27 1.6 12.50
25 KKj16-5-064 72.1 27.52 2.7 20.84
26 SP50 95.4 34.86 3.5 18.06
107.8 31.90 2.2 18.05
คา่ เฉล่ยี 82.0 32.50 ns 15.04
F-test ns ns 39.25 ns
C.V. (%) 19.40 7.33 52.40
ns = ไมแ่ ตกตา่ งทางสถิติ

472

การเปรียบเทยี บมาตรฐานพนั ธอุ์ อ้ ยคนั้ น้ำ ชดุ ที่ 1 ปี 2559
Standard yield trial of Juice cane (Set 1 Series 2016)

ภาคภมู ิ ถนิ่ คำ1* ปยิ ธิดา อินทร์สขุ 2 สายชล บุญรศั ม3ี และพิมพ์นภา ขนุ พิลึก4

บทคัดย่อ
การคัดเลือกมาตรฐานโคลนอ้อยคั้นน้ำ ชุดที่ 1 ปี 2559 ทำการคัดเลือกโคลนพันธ์ุทีไ่ ด้จากโครงการ
ปรับปรุงพันธุ์ออ้ ย 7 โคลนและพันธุ์สุพรรณบุรี50เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ซึ่งคัดเลือกคุณภาพสีน้ำออ้ ยและไม่
ตกตะกอน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ ผลการทดลอง ที่แปลงทดลองขอนแก่น พบว่าโคลนอ้อย
คั้นน้ำ KKj16-0001 และ KKj16-0002 มีจำนวนลำเก็บเกี่ยวต่อไร่สูงกว่าพันธุ์เปรยี บเทียบ ทางด้านปริมาณ
น้ำอ้อยไม่มโี คลนอ้อยคั้นน้ำ ที่ให้ปริมาณน้ำอ้อยสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ แต่มีโคลนอ้อยค้ันน้ำ KKj16-0001
และ KKj16-0004 ทีมสี นี ้ำออ้ ย และการตกตะกอนเทยี บเทา่ กับพนั ธ์เุ ปรียบเทยี บ
คำสำคญั : โคลนอ้อยค้ันนำ้ ผลผลิตออ้ ยคนั้ น้ำ

คำนำ
อ้อยคั้นนำ้ พนั ธุส์ ุพรรณบรุ ี 50 เป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตรตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 ซึ่งใช้มา
นานมากกวา่ 20 ปี และขอ้ จำกัดของอ้อยพันธุน์ ้ี คอื น้ำอ้อยจะมีสคี ลำ้ และมีความหวานน้อยในชว่ งฤดูฝนทำให้
จำหนา่ ยไดน้ อ้ ยลง และการใช้พันธุ์เดมิ อยา่ งต่อเน่ืองกนั เปน็ เวลานาน ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทำให้
โรคและแมลงศัตรูอาจมีการปรับตัวทำให้พันธุ์อ้อยเกิดการอ่อนแอได้ การที่จะได้พันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ ต้อง
อาศัยทั้งเงินทุน เวลา และความรู้ อย่างมาก ขั้นตอนท่ีสำคญั ของการวิจัยและพัฒนาอ้อยคั้นน้ำประกอบดว้ ย
งานวิจัยหลายสาขาวิชา เช่น การปรับปรุงพันธุ์ (วันทนา และคณะ, 2535) งานเขตกรรม (ธงชัย และคณะ,
2535) งานปฐพวี ทิ ยา (จักรนิ ทร์ และปรีชา, 2536) และงานอารกั ขาพชื (ประภาส และผุด, 2537) เพื่อให้ได้
อ้อยคัน้ นำ้ พันธุใ์ หม่ต่อไป การใช้ปุย๋ ตามคา่ วเิ คราะหด์ นิ สำหรบั อ้อยในเขตชลประทานเป็นวธิ ีการทสี่ ามารถเพ่ิม
ผลผลิตอ้อยคั้นน้ำได้ (กอบเกียรติ, 2554) และน้ำอ้อยสดเป็นสินค้าที่ต้องมีคุณภาพตามความต้องการของ
ผบู้ รโิ ภค ถา้ มีการพัฒนาใหม้ ีความหลากหลายขนึ้ ก็จะเปน็ โอกาสในการขยายฐานของผู้บรโิ ภค ดังนัน้ จงึ มคี วาม
จำเป็นที่จะต้องทำการวิจัยและพัฒนาหาอ้อยคั้นน้ำพันธุใ์ หม่ให้มคี ุณภาพที่หลากหลายขึ้น ให้ผลผลิตเพิ่มขน้ึ
และสามารถผลติ ไดต้ ลอดปี ซง่ึ จะเป็นทางเลือกและขยายโอกาสในการประกอบอาชพี ของประชาชน

1 ศนู ย์วิจัยพชื ไรข่ อนแก่น สถาบนั วิจยั พืชไร่และพชื ทดแทนพลงั งาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแกน่
2 ศูนย์วจิ ัยพชื ไร่สพุ รรณบุรี สถาบันวิจัยพชื ไรแ่ ละพชื ทดแทนพลังงาน อำเภออูท่ อง จงั หวดั สุพรรณบุรี
3 ศนู ยว์ จิ ยั พชื ไร่สงขลา สถาบันวิจยั พชื ไรแ่ ละพืชทดแทนพลงั งาน อำเภอหาดใหญ่ จงั หวัดสงขลา
4 ศูนยว์ ิจยั พืชไร่เชยี งใหม่ สถาบนั วจิ ยั พืชไรแ่ ละพชื ทดแทนพลงั งาน อำเภอสันทราย จงั หวดั เชยี งใหม่

*Corresponding Author E-mail: [email protected]

473

วธิ ีดำเนินการ
- อุปกรณ์

- อ้อยโคลนดีเด่น 7 โคลน ได้แก่ KKj16-0001 KKj16-0002 KKj16-0003 KKj16-0004 KKj16-
0005 KKj16-0006 และ KKj16-0007 และพนั ธสุ์ ุพรรณบุรี 50

- ปยุ๋ เคมีเกรด15-15-15
- Hand Refractometer
- เครอ่ื งหีบคัน้ นำ้ อ้อย
- ห้องปฏิบัติการทดสอบคณุ ภาพต่าง ๆ สำหรบั น้ำออ้ ยสด ฯลฯ
- วิธกี าร
ปลูกเปรยี บเทียบพันธุ์มาตรฐานแปลงย่อยละ 4 แถว (เก็บเกยี่ ว 2 แถวกลาง) แถวยาว 8 เมตร ระยะ
ระหวา่ งแถว 1.5 × 0.5 เมตร ปลูกกล้าออ้ ยจากการเพาะชำข้อตา หลุมลำ 1 ต้น และใส่ปุ๋ยเคมีและดูแลรักษา
ตามคำแนะนำ จากนน้ั เกบ็ เก่ียวผลผลิต เมื่อออ้ ยอายุ 8 เดอื น หรือเม่ือออ้ ยถงึ อายสุ กุ แกข่ นึ้ กับสภาพแวดล้อม
ตดั ลำอ้อยชิดดิน ลอกกาบออก ตัดยอดออ้ ยทีต่ ำแหนง่ รอยตอ่ ทกี่ าบใบแหง้ สุดทา้ ยจากยอด สมุ่ ตัดตัวอย่างอ้อย
แปลงย่อย 10 ลำ โดยชั่งน้ำหนักผลผลิตออ้ ยตัวอย่าง 10 ลำ วัดความยาวลำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำ นับ
จำนวนปล้อง จากนนั้ สมุ่ เลือกมา 5 ลำ โดยชง่ั นำ้ หนักก่อนและหลังปอกเปลือก โดยปอกเปลือกท่อนอ้อยด้วย
มดี สองคม จากน้นั ลา้ งทำความสะอาดและตัง้ ผ่งึ ไว้ใหแ้ ห้งในภาชนะท่ีสะอาด นำไปหบี คน้ั นำ้ ด้วยลกู หบี อ้อยคั้น
น้ำจำนวน 2 ครั้งต่อลำและวัดปริมาณน้ำออ้ ยสด สุ่มน้ำอ้อยวดั คุณภาพ วัดค่าความหวาน (brix) ของน้ำอ้อย
สดด้วย Hand Refractometer พร้อมทั้งบรรจุน้ำอ้อยสดในขวดแก้วปิดฝาให้แน่น แล้วนำไปแช่ในถังน้ำแขง็
อัดเก็บความเย็นด้วยน้ำแข็งบด ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำมาตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง 1 ชั่วโมงก่อนทดสอบ
คณุ ภาพโดยการประเมนิ สนี ำ้ อ้อยด้วยกระดาษเทยี บสีมาตรฐานและประเมินการยอมรับของผู้ชิม 10 ราย ด้วย
แบบสอบถามเปรียบเทียบลกั ษณะ 5 ลกั ษณะคอื ความหวาน ความหอม/กลน่ิ สี รสชาติ และความชอบเทียบ
กับอ้อยพันธ์ุสุพรรณบุรี 50 โดยการให้คะแนนตามแบบการชิม (ณรงค์, 2537)

ผลและวจิ ารณผ์ ลการทดลอง
ทำการปลูกอ้อยเดือนกุมภาพันธุ์จำนวน 8 โคลนพันธุ์เพื่อทำการเปรียบเทียบ ผลการทดลองพบว่า
ออ้ ย 8 โคลนพันธ์มุ คี วามงอกเฉล่ีย 89.1 เปอร์เซ็นต์ ไมแ่ ตกต่างกันทางสถิติ โคลนอ้อยค้ันน้ำ KKj16-0001 มี
ความงอกมากที่สุด 97.9 เปอร์เซ็นต์ โคลนอ้อยคั้นน้ำ KKj16-0005 มีความงอกน้อยที่สุด 79.2 เปอร์เซ็นต์
(ตารางที่ 1) ทางด้านจำนวนหนอ่ ต่อกอที่อายุ 4 เดอื น พบวา่ จำนวนหนอ่ ต่อกอไมแ่ ตกตา่ งกันทางสถิติ โคลน
ออ้ ยคน้ั นำ้ KKj16-0007 มีจำนวนหนอ่ ตอ่ กอมากทีส่ ุด 3.6 หน่อ โคลนออ้ ยค้นั นำ้ KKj16-0004มีจำนวนหน่อ
ตอ่ กอน้อยท่ีสุด 1.9 หนอ่ (ตารางที่ 1)
ทางด้านผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ พบว่า จำนวนลำเก็บเกี่ยวต่อไร่ทุกโคลนพันธุ์รวมพันธุ์เปรียบเทียบเฉลย่ี
5,294 ลำ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โคลนอ้อยคั้นน้ำ KKj16-0002 และ KKj16-0001 มีจำนวนลำเก็บเกี่ยว
6,686 และ 6,647 ลำตอ่ ไร่ ตามลำดบั มากกว่าพนั ธุเ์ ปรียบเทยี บสุพรรณบุรี50 6,097 ลำต่อไร่ โคลนอ้อยค้ัน

474

น้ำ KKj16-0007 มีจำนวนลำเกบ็ เกย่ี วน้อยท่ีสดุ 3,671 ลำตอ่ ไร่ (ตารางท่ี 2) ทางดา้ นปริมาณน้ำอ้อยพบวา่ ไม่
มีโคลนออ้ ยค้นั น้ำมปี รมิ าณนำ้ อ้อยมากกว่าพนั ธุ์เปรียบเทียบพันธุ์สุพรรณบุร5ี 0 มีปริมาณนำ้ อ้อย 2,744 ลิตร
ตอ่ ไร่ รองลงมาโคลนออ้ ยคั้นน้ำ KKj16-0006 มีปริมาณนำ้ อ้อย 1,424 ลิตรตอ่ ไร่ สว่ นโคลนอ้อยค้ันนำ้ KKj16-
0007 มีปริมาณนำ้ อ้อยน้อยท่ีสดุ 583 ลิตรต่อไร่ (ตารางท่ี 2) ส่วนค่าบริกซ์ พบว่า ไม่มีความแตกตา่ งกันทาง
สถิติ โดยทโ่ี คลนออ้ ยคั้นน้ำ KKj16-0001 มีบริกซส์ งู ที่สุด 21.2 องศาบรกิ ซ์ ส่วนโคลนออ้ ยคน้ั นำ้ KKj16-0005
มีบริกซ์น้อยที่สดุ 18.1 องศาบริกซ์ (ตารางที่ 2) ทางด้านสีของนำ้ อ้อย พบว่า มเี พยี งโคลนอ้อยค้ันน้ำ KKj16-
0001 และ KKj16-0004 ที่มีสีอยู่ในเกณฑ์เดียวกับพันธุ์เปรยี บเทียบสุพรรณบุรี50 (ตารางที่ 2) ทางด้านการ
ตกตะกอนของน้ำอ้อยพบว่าโคลนออ้ ยคั้นน้ำ KKj16-0004 ไม่ตกตะกอน ส่วนโคลนอ้อยคั้นน้ำ KKj16-0007
ตกตะกอนน้อยเช่นเดียวกบั พันธุ์เปรยี บเทียบสุพรรณบุรี50 (ตารางท่ี 2)

ตารางท่ี 1 เปอรเ์ ซ็นต์ความงอก และจำนวนหนอ่ ตอ่ กอออ้ ยคน้ั น้ำอายุ 4 เดอื น

พันธ์ุ เปอร์เซน็ ตค์ วามงอก จำนวนหนอ่ /กอ
KKj16-0001 97.9 3.2
KKj16-0002 88.5 3.6
KKj16-0003 84.4 3.1
KKj16-0004 82.3 2.2
KKj16-0005 79.2 2.8
KKj16-0006 94.8 2.5
KKj16-0007 91.7 1.9
SP50 93.8 3.0
เฉลีย่ 89.1 2.8
F-test ns ns
cv% 5.98 27.82

ns ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

475

ตารางท่ี 2 ผลผลิตอ้อยคั้นน้ำท่อี ายุเก็บเก่ยี ว 10 เดอื น

พันธุ์ จำนวนลำเก็บเกยี่ วตอ่ ไร่ ปริมาณน้ำอ้อยตอ่ ไร่ คา่ บริกซ์ สีนำ้ ที่ผ่าน การตกตะกอน
(ลิตร)
KKj16-0001 6,647 1,122 21.2 ผา่ น ตกมาก
KKj16-0002 6,686 1,312 20.0 ตกมาก
KKj16-0003 5,597 1,005 18.9 ตกมาก
KKj16-0004 3,819 841 20.5 ผ่าน ไมต่ ก
KKj16-0005 4,715 1,355 18.1 ตกมาก
KKj16-0006 5,124 1,424 18.8 ตกมาก
KKj16-0007 3,671 583 19.2 ตกนอ้ ย
SP50 6,097 2,744 20.1 ผา่ น ตกน้อย
เฉลย่ี 5,294 1,298 19.6
F-test ns ns ns
cv% 26.22 72.2 9.54
ns ไมแ่ ตกตา่ งกนั ทางสถติ ิ

สรปุ ผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
โคลนอ้อยคั้นน้ำ KKj16-0001 และ KKj16-0002 มีจำนวนลำเก็บเกี่ยวมากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ
ทางด้านผลผลิตน้ำอ้อยไม่มีโคลนอ้อยคั้นน้ำพันธุ์ใดดีกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ สีของน้ำอ้อยโคลนอ้อยคั้นน้ำ
KKj16-0001 และ KKj16-0004 ที่มีสีอยู่ในเกณฑ์เดียวกับพันธุ์เปรียบเทียบสุพรรณบุรี50 และโคลนพันธ์ุ
KKj16-0004 นำ้ อ้อยไมต่ กตะกอน

เอกสารอา้ งอิง

กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ. 2554. คำแนะนำการใชป้ ุย๋ ตามค่าวิเคราะห์ดนิ สำหรับอ้อยในเขตชลประทาน. โครงการวิจัยและ
พฒั นาด้านดนิ น้ำและปุ๋ยอ้อย.

จักรนิ ทร์ ศรทั ธาพร และ ปรชี า พราหมณีย์. 2536. ศึกษาอตั ราปุย๋ ท่ีเหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นนำ้ สายพันธุ์ 90-1.
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2536. ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, สถาบันวิจัยพืชไร่, กรมวิชาการเกษตร หน้า 672-
680.

ธงชยั ต้งั เปรมศรี วันทนา ตงั้ เปรมศรี และอรรถสทิ ธิ์ บุญธรรม. 2535. จำนวนลำต่อกอที่เหมาะสมของอ้อยคั้นน้ำพันธุ์ใหม่.
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2535. ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบรุ ี. สถาบันวิจัยพืชไร่. กรมวิชาการเกษตร. หน้า 695-
700.

ประภาส ดารีพัฒน์ และ ผดุ จนั ทรส์ ขุ โข. 2537. ศึกษาการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยต่ออ้อยค้ันนำ้ 90-1: ออ้ ยปลูก. ราย
ผลงานวิจัยประจำปี 2537. ศนู ยว์ จิ ยั พืชไร่สพุ รรณบรุ ี, สถาบนั วจิ ยั พืชไร่, กรมวิชาการเกษตร หนา้ 706-710.

วันทนา ตั้งเปรมศรี ธงชัย ตั้งเปรมศรี และอุดม เลียบวัน. 2535. การเปรียบเทยี บมาตรฐานพันธุอ์ ้อยคัน้ น้ำ : อ้อยปลูก. ราย
ผลงานวิจัยประจำปี 2535. ศนู ยว์ ิจัยพืชไรส่ พุ รรณบุรี, สถาบนั วจิ ยั พชื ไร่, กรมวชิ าการเกษตร หนา้ 691-693.

476

การเปรียบเทยี บพันธุอ์ ้อยค้ันน้ำในไร่เกษตรกร ชดุ ที่ 1 ปี 2559

ภาคภูมิ ถ่ินคำ1* ปยิ ธดิ า อินทรส์ ขุ 2 และสายชล บุญรศั ม3ี

รายงานความก้าวหนา้
ทำการเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยคั้นน้ำในไร่เกษตรกร วางแผนการทดลองแบบ Randomized
Complete Block Design (RCB) มี 4 ซ้ำ 8 พันธุ์/โคลน ได้แก่ โคลนดีเด่น 7 โคลน (KKj16-0001, KKj16-
0002, KKj16-0003, KKj16-0004, KKj16-0005, KKj16-0006, KKj16-0007) และพันธ์ุสุพรรณบรุ ี 50 ดำเนนิ การ
ที่ไรเ่ กษตรกรจงั หวดั ขอนแก่นจำนวน 3 แปลง ผลการดำเนนิ การ เนอ่ื งจากจำนวนทอ่ นพันธุไ์ มเ่ พียงพอต่อการ
ทดลอง ปี 2563 จงึ ดำเนินการขยายท่อนพนั ธโุ์ ดยจัดทำแปลงพนั ธ์ุโดยการชำข้อ และปลกู ทำแปลงพันธ์ุเดือน
พฤษภาคม 2563 ขณะนเ้ี ตรยี มเกบ็ เกยี่ วทอ่ นพนั ธ์ุเพ่อื เข้าทดสอบในไรเ่ กษตรต่อไป
คำสำคญั : เปรยี บเทยี บไร่เกษตรกร, อ้อยค้นั น้ำโคลนดีเดน่

คำนำ

น้ำอ้อยดื่มสดมีประโยชน์และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อร่างกาย จึงมีความสำคัญทางการค้า และ
กลายเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูงทางการตลาด ในประเทศอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตอ้อยโรงงานรายใหญ่อันดับ 2 รอง
จากบราซลิ แต่ให้ความสำคัญกับออ้ ยค้นั นำ้ เปน็ อันดับหน่งึ ในการผลติ และมีความหลากหลายในงานวิจัยด้าน
พันธ์ุ ความสมบรู ณใ์ นการเก็บเก่ยี ว ภูมิอากาศ และสภาพดินปลูก รวมถึงสว่ นของลำอ้อยทีน่ ำมาใช้หีบน้ำอ้อย
สด และพนั ธุ์ทนี่ ยิ มปลกู ในอดีตคอื พนั ธ์ุ CoP 92226 เพราะวา่ ใหป้ รมิ าณนำ้ อ้อยสงู มากและคุณภาพโดยรวมดี
และมีการพัฒนาอย่างต่อเน่อื งจนกระทง่ั ได้พันธ์ุ Cos 767 ทน่ี ยิ มปลูกในปจั จุบนั เป็นพันธทุ์ ี่ผลิตน้ำอ้อยที่ต้อง
ประกอบด้วย ปริมาณของแข็งท้ังหมดทีล่ ะลายได้ในน้ำ 20% มีส่วนของน้ำตาลเป็นหลกั มีธาตุอาหาร และมี
สารสำคัญที่ส่งเสริมสุขภาพ เมื่ออายุ 12 เดือน (Chauhan et al., 2002; Khare et al., 2012) ส่วนพันธุ์ที่
นยิ มในประเทศบงั คลาเทศ ได้แก่ Isd 34, Isd 35, Isd 36, Isd 37 และ Isd 38 เน่อื งจากเปน็ พนั ธุ์ที่เหมาะกับ
การเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถงึ มกราคม จะมีคณุ สมบัติความสดใหม่ของน้ำอ้อยดีที่สุด เพราะมีค่าน้ำตาล
รดี วิ ซ์ต่ำกวา่ ช่วงอ่ืน และมเี ปอร์เซน็ ตน์ ำ้ ตาลสูงท่ีสุด (Begum et al., 2015) สำหรับในประเทศจีนยงั คงใช้ออ้ ย
โรงงานในการผลติ เปน็ ออ้ ยคั้นนำ้ การจำหน่ายน้ำอ้อยสดพร้อมด่ืมในประเทศไทยสามารถพบเห็นได้ทว่ั ไป เป็น
ธุรกิจทท่ี ำไดง้ า่ ยไม่ซบั ซอ้ นเพียงมอี ้อยและเคร่ืองหีบออ้ ยก็สามารถประกอบกิจการได้ เพราะมีอ้อยค้ันน้ำพันธ์ุ
ดที ่ีมคี ุณภาพ “สุพรรณบุรี 50” ที่สามารถปลกู ได้ทั่วไปดูแลรักษางา่ ย อ้อยคน้ั นำ้ พันธุน์ ้ีมีรสชาตดิ ี กลิ่นหอม สี
เหลืองอมเขียว และสีไม่คล้ำเมือ่ เวลาผ่านไป ทำให้น่ารับประทานจึงเป็นที่นิยมของผูบ้ ริโภค อ้อยคั้นน้ำพนั ธ์ุ
สุพรรณบุรี 50 เป็นพันธุร์ บั รองของกรมวิชาการเกษตรตัง้ แต่ ปี พ.ศ. 2539 ซึ่งใช้มานานมากกวา่ 20 ปี และ
ขอ้ จำกัดของออ้ ยพันธ์นุ ี้ คอื นำ้ อ้อยจะมีสีคลำ้ และมีความหวานนอ้ ยในช่วงฤดูฝนทำให้จำหน่ายไดน้ อ้ ยลง และ

1 ศนู ยว์ จิ ยั พชื ไรข่ อนแกน่ สถาบนั วิจยั พืชไร่และพชื ทดแทนพลงั งาน อำเภอเมอื ง จงั หวดั ขอนแก่น
2 ศูนย์วจิ ยั พชื ไร่สุพรรณบรุ ี สถาบันวจิ ยั พชื ไรแ่ ละพชื ทดแทนพลงั งาน อำเภออทู่ อง จงั หวดั สพุ รรณบุรี
3 ศูนย์วจิ ยั พชื ไร่สงขลา สถาบันวจิ ยั พืชไร่และพืชทดแทนพลงั งาน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

*Corresponding Author E-mail: [email protected]

477

การใช้พันธุ์เดิมอย่างต่อเนื่องกันเป็น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาพันธุ์และทดสอบโคลนดีเด่นในขั้นตอนการ
ปรบั ปรุงพนั ธ์ุเพ่ือใหไ้ ดอ้ ้อยคน้ั น้ำพนั ธุ์ใหมม่ ารองรับการเติบโตของธุรกขิ อ้อยคน้ั น้ำในอนาคต

วธิ ีดำเนนิ การ
สง่ิ ท่ีใช้ในการทดลอง

- อ้อยโคลนดีเดน่ 4 โคลนและพันธุส์ พุ รรณบรุ ี 50
- ป๋ยุ เคมีเกรด15-15-15
- Hand Refractometer
- เคร่ืองหบี ค้นั นำ้ อ้อย
- ห้องปฏบิ ัติการทดสอบคุณภาพตา่ งๆ สำหรับน้ำอ้อยสด ฯลฯ
แบบและวิธกี ารทดลอง
วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCB) มี 4 ซ้ำ 5 พันธุ์/โคลน
ไดแ้ ก่ โคลนดเี ดน่ 4 โคลน และพนั ธสุ์ ุพรรณบรุ ี 50
วธิ ีปฏิบัติการทดลอง
ในปี 2563 ทำการปลูกขยายท่อนพนั ธุ์ สำหรับปลูกเปรียบเทียบในไรเ่ กษตรกร จำนวน 5 แปลง ทำ
การปลูกขยายพันธุ์อ้อยคั้นน้ำโคลนดีเด่นโคลนดีเด่น 4 โคลน และพันธุ์สุพรรณบุรี 50 พันธุ์เปรียบเทียบ ใน
พ้ืนที่จำนวน 2 ไร่
ปี 2564 ทำการปลกู เปรียบเทียบพันธ์ุในไรเ่ กษตรกร ชดุ ที่ 1 ปี 2559 แปลงย่อยละ 4 แถว (เกบ็ เก่ียว
2 แถวกลาง) แถวยาว 8 เมตร ระยะระหวา่ งแถว 1.5 × 0.5 เมตร ปลูกออ้ ยโดยใช้ทอ่ นพนั ธุ์ทอ่ นละ 3 ตา ใส่
ปุ๋ยเคมีและดูแลรกั ษาตามคำแนะนำ จากนั้นเกบ็ เกีย่ วผลผลิต เมอื่ อ้อยอายุ 8 เดอื น หรอื เม่อื ออ้ ยถงึ อายุสุกแก่
ขึ้นกับสภาพแวดล้อมตัดลำอ้อยชิดดิน ลอกกาบออก ตัดยอดอ้อยที่ตำแหน่งรอยตอ่ ที่กาบใบแห้งสุดท้ายจาก
ยอด สุ่มตัดตัวอย่างอ้อยแปลงย่อย 10 ลำ โดยชั่งน้ำหนกั ผลผลิตอ้อยตัวอย่าง 10 ลำ วัดความยาวลำ ขนาด
เส้นผ่านศูนย์กลางลำ นบั จำนวนปลอ้ ง จากนัน้ สมุ่ เลอื กมา 5 ลำ โดยช่ังน้ำหนกั กอ่ นและหลงั ปอกเปลือก โดย
ปอกเปลือกท่อนอ้อยด้วยมีดสองคม จากนั้นล้างทำความสะอาดและตัง้ ผึ่งไว้ให้แห้งในภาชนะที่สะอาด นำไป
หีบคั้นน้ำด้วยลูกหีบอ้อยคั้นน้ำจำนวน 2 ครั้งต่อลำและวัดปริมาณน้ำอ้อยสด สุ่มน้ำอ้อยวัดคุณภาพ วัดค่า
ความหวาน (brix) ของน้ำอ้อยสดด้วย Hand Refractometer พร้อมทั้งบรรจุนำ้ อ้อยสดในขวดแก้วปิดฝาให้
แน่น แล้วนำไปแช่ในถังน้ำแข็งอัดเก็บความเย็นด้วยน้ำแข็งบด ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำมาตั้งทิ้งไว้ใน
อุณหภูมิห้อง 1 ชั่วโมงก่อนทดสอบคุณภาพโดยการประเมินสีน้ำอ้อยด้วยกระดาษเทียบสีมาตรฐานและ
ประเมินการยอมรบั ของผูช้ ิม 10 ราย ด้วยแบบสอบถามเปรยี บเทียบลกั ษณะ 5 ลกั ษณะคือ ความหวาน ความ
หอม/กลิ่น สี รสชาติ และความชอบเทียบกับอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 โดยการให้คะแนนตามแบบการชิม
(ณรงค์, 2537)

ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง
ทำการปลูกขยายท่อนพันธุ์ สำหรับปลูกเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร จำนวน 5 แปลง ทำการปลูก
ขยายพนั ธอุ์ ้อยค้นั น้ำโคลนดเี ดน่ โคลนดีเดน่ 7 โคลน และพนั ธ์ุสพุ รรณบรุ ี 50 พันธเุ์ ปรียบเทียบ เพอ่ื ผลติ ใช้เป็น
ทอ่ นพันธ์สุ ำหรับทดสอบในไร่เกษตรกร

478

สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
ได้แปลงพนั ธุ์อ้อยคนั้ นำ้ โคลนดเี ด่น สำหรับเข้าทดสอบในไร่เกษตรกร ช่วงต้นฝนเดือน มถิ นุ ายน 2564

เอกสารอา้ งองิ

ณรงค์ นิยมวทิ ย์. การชมิ อาหาร : ทฤษฎแี ละวิธกี ารปฏิบตั ิ. 2537. วี.บี.บุ๊คเซ็นเตอร.์ หน้า 180-687.
Khare, A. Lal, AB. Singh, A. and AP. Singh. 2012. Shelf life enhancement of sugarcane juice. Croatian

Journal of Food Technology, Biotechnology and Nutrition. 7(3–4): 179–183.

479

ศึกษาความเข้มข้นสารเคมกี ่อกลายพนั ธ์ุ 2 ชนดิ ท่มี ีผลต่อการเพาะเลย้ี งเนือ้ เยื่อ

กาญจนา กริ ะศกั ด์ิ1* และ ทีมวิจัย1

รายงานความก้าวหนา้
การทดลองนเี้ ปน็ การเพาะเลย้ี งใบออ่ นอ้อยพนั ธุ์สุพรรณบุรี 50 เพ่ือชกั นำแคลลัสสำหรบั การใช้สาร
เคมี กอ่ กลายพันธุ์ 2 ชนิด ได้แก่ Thidiazuron (TDZ) และ Sodium azide (NaN3) ซ่ึงสามารถชักนำแคลลัส
ได้ เมื่อเพาะเลี้ยงแคลลัสที่ได้บนอาหารสังเคราะห์ท่ีเติมสารก่อกลายพันธุ์ตามแผนงานทดลอง พบว่า ทุก
กรรมวิธีส่งผลให้แคลลัสเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตาย ขณะนี้จึงดำเนินงานต่อเนื่องด้วยการปรับความ
เข้มข้นสารเคมีก่อกลายพันธ์ุ และอยู่ระหว่างการดำเนินทดลอง
คำสำคญั : อ้อยคัน้ น้ำ การก่อกลายพันธ์ุ
Keywords: sugarcane juice, mutation

คำนำ
การชกั นำใหเ้ กดิ การกลายพนั ธุจ์ ากการเพาะเลี้ยงเน้ือเยื่อ โดยใชร้ ังสีและสารเคมี มีการใช้กนั มากและ
ประสบความเสร็จกบั พืชไร่หลายชนิด เช่น ขา้ วโพด ข้าว ขา้ วบาร์เล่ย์ ถวั่ ลสิ ง และออ้ ย เปน็ ต้น (Ahloowalia
and Maluszynski, 2001) โดยเฉพาะอ้อยใช้เทคนิคด้านเพาะเลีย้ งเน้ือเย่ือจดั เข้าไว้ในโปรแกรมการปรบั ปรงุ
พันธ์ุ เพื่อสรา้ งความแปรปรวนทางพันธุกรรม ด้วยวิธกี ารชกั นำใหก้ ลายพันธ์ุผ่านทางแคลลัส ส่งผลถึงลักษณะ
ที่สำคัญทางการเกษตรของอ้อย ด้านความสูง สีหน่อ สีใบ การต้านทานต่อโรคต่าง ๆ และการออกดอก เป็น
ต้น การเพาะเลี้ยงแคลลัสจากส่วนของใบและดอกอ้อยพันธุ์ Co 86032 และ CoM 265 สามารถคัดเลือกได้
พนั ธุใ์ หม่ 650 ต้น ออกปลูกทดสอบในแปลงเปรียบเทียบกับพนั ธ์ุเดิมที่ใชเ้ นือ้ เยื่อมาเพาะเลี้ยง พบว่าพันธุ์ใหม่
เกือบทุกต้นให้ผลผลิต ซีซีเอส และน้ำหนักต่อลำมากกว่าเดิม ซึ่งจากผลงานวิจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แสดงให้
เหน็ ถงึ ความสำคญั และความจำเปน็ ของการสร้างความแปรปรวนทางพันธุกรรมจากการเพาะเลย้ี งเนื้อเย่ือผ่าน
ทางแคลลัส (VASANTDADA SUGAR, 2013) สำหรับสารเคมีก่อกลายพันธุ์ที่นิยมใช้กับอ้อยได้แก่ 2,4-D,
TDZ, NaCl และ Sodium azide เป็นต้น ซึ่งสาร 2,4-D สามารถใช้ชักนำแคลลัสและก่อกลายพันธุ์ได้
(กาญจนา และคณะ, 2560; Ali et al., 2007; Khan et al., 2008; Naz et al., 2017) สาร NaCl มุ่งใช้
ประโยชนแ์ บบเฉพาะเจาะจงในดา้ นการกอ่ กลายพันธุ์ให้ทนทานหรอื ตา้ นทานตอ่ สภาวะดนิ เค็ม (Shomeili et
al., 2011; Errabii et al., 2017)

1ศูนย์วจิ ยั พชื ไรข่ อนแก่น สถาบันวิจยั พืชไรแ่ ละพืชทดแทนพลังงาน อำเภอเมอื ง จงั หวดั ขอนแกน่

*Corresponding Author E-mail: [email protected]

480

วธิ ีดำเนินการ
สง่ิ ทใี่ ชใ้ นการทดลอง

1. ใบอ่อนอ้อยพนั ธุส์ ุพรรณบรุ ี 50
2. อุปกรณ์และสารเคมีสำหรบั เตรยี มอาหารสังเคราะห์สตู รของ Murashige and Skoog (1962)
3. สารควบคุมการเจริญเตบิ โตสำหรับชักนำแคลลัส (กาญจนา และคณะ, 2560)
4. สารเคมีกอ่ กลายพนั ธ์ุ 2 ชนดิ คอื Thidiazuron (TDZ) และ Sodium azide (NaN3)
5. วสั ดชุ ำขอ้ ออ้ ย
แบบและวธิ กี ารทดลอง
-วางแผนแบบ CRD มี 4 ซำ้ ๆ ละ 100 ขวด ความเขม้ ขน้ 5 ระดบั คอื 0, 5, 10, 15 และ 20 มิลลกิ รัม
ต่อลิตร
วธิ ปี ฏบิ ัตกิ ารทดลอง
1. ชักนำแคลลสั
เตรียมอาหารแข็งสังเคราะห์สูตร Murashige and Skoog (1962) (MS) ที่เติมกรดซิตริก 150
มลิ ลิกรัมตอ่ ลติ ร (มก./ล.) นำ้ ตาลซโู ครส 20 กรัมตอ่ ลิตร เตมิ 2,4-D (dichlorophenoxyacetic acid) 5 มก./
ล. และน้ำมะพร้าว 10 % ปรับ pH 5.6-5.8 นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันที่ปรับความดัน 15 ปอนด์
อุณหภมู ิ 121 องศาเซลเซยี ส เปน็ เวลา 15 นาที ต้ังทงิ้ ไวใ้ นให้เย็น นำใบออ่ นของออ้ ยพนั ธุ์สุพรรณบุรี 50 ทำ
ความสะอาดด้วยน้ำสะอาด และฟอกฆ่าเช้ือ ล้างด้วยน้ำกลั่น 3 ครั้ง ตัดชิ้นส่วนใบขนาด 0.5x0.5 เซนติเมตร
ใส่ลงในขวดอาหารที่เตรียมไว้ขวดละ 2-4 ชิ้น นำไปวางบนชั้นเพาะเลี้ยงในห้องที่ไม่มีแสงสว่างและควบคุม
อุณหภมู ิท่ี 25+3 องศาเซลเซยี ส เป็นเวลา 8 สัปดาห์ หรือจนกระทง่ั ไดแ้ คลลัส
2. ชักนำกลายพันธ์ุ
2.1 เตรียมอาหารแข็งสังเคราะห์สตู ร Murashige and Skoog (1962) (MS) ทีเ่ ตมิ กรดซติ ริก 150
มิลลิกรมั ต่อลิตร (มก./ล.) น้ำตาลซูโครส 20 กรมั ตอ่ ลิตร เติม TDZ ความเขม้ ขน้ 5 ระดับคือ 0, 5, 10, 15 และ
20 มิลลิกรมั ต่อลติ ร มก./ล. ปรับ pH 5.6-5.8 นำไปนึง่ ฆ่าเชื้อด้วยหมอ้ น่ึงความดันทป่ี รบั ความดนั 15 ปอนด์
อณุ หภูมิ 121 องศาเซลเซยี ส เปน็ เวลา 15 นาที ตง้ั ท้งิ ไว้ในให้เยน็ ชงั่ แคลลัสจากขอ้ 1 0.5 กรัมต่อขวด วางลง
ในขวดอาหารสงั เคราะห์ นำไปวางบนชั้นเพาะเล้ียงในหอ้ งทม่ี แี สงสวา่ งและควบคมุ อุณหภมู ิที่ 25+3 องศา
เซลเซยี ส เปลยี่ นอาหารทกุ 2 สัปดาห์ อย่างน้อย 6 ครงั้
2.2 เตรียมอาหารแข็งสังเคราะห์สูตร Murashige and Skoog (1962) (MS) ที่เติมกรดซิตริก 150
มิลลิกรัมต่อลิตร (มก./ล.) น้ำตาลซูโครส 20 กรัมต่อลิตร เติม NaN3 ความเข้มข้น 5 ระดับคือ 0, 5, 10, 15
และ 20 มิลลิกรัมต่อลิตร มก./ล. ปรับ pH 5.6-5.8 นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันที่ปรับความดัน 15
ปอนด์ อุณหภมู ิ 121 องศาเซลเซยี ส เปน็ เวลา 15 นาที ตง้ั ทิ้งไว้ในให้เยน็ ชง่ั แคลลสั จากขอ้ 1 0.5 กรมั ตอ่ ขวด
วางลงในขวดอาหารสังเคราะห์ นำไปวางบนชั้นเพาะเลี้ยงในห้องที่มีแสงสว่างและควบคุมอุณหภูมิที่ 25+3
องศาเซลเซียส เปล่ียนอาหารทุก 2 สัปดาห์ อย่างนอ้ ย 6 ครั้ง
3. ชักนำตน้ อ่อน

481
เตรียมอาหารแข็งสังเคราะห์สูตร Murashige and Skoog (1962) (MS) ที่เติมกรดซิตริก 150
มิลลิกรัมต่อลิตร (มก./ล.) น้ำตาลซูโครส 20 กรัมต่อลิตร ปรับ pH 5.6-5.8 นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความ
ดันที่ปรับความดัน 15 ปอนด์ อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที ตั้งทิ้งไว้ในให้เย็น ชั่งแคลลัส
จากข้อ 2.1 และ 2.2 ปริมาณ 0.5 กรัมต่อขวด วางลงในขวดอาหารสังเคราะห์ นำไปวางบนชั้นเพาะเลี้ยงใน
ห้องท่มี แี สงสวา่ งและควบคมุ อณุ หภูมิท่ี 25+3 องศาเซลเซยี ส
การบนั ทกึ ขอ้ มลู
-วัดเปอร์เซ็นตก์ ารเกดิ ต้นออ่ นจากแต่ละความเข้มขน้
-หาคา่ GR50 LD50 ตามวิธกี ารของ (พรี นชุ , 2559) และเปอรเ์ ซน็ ต์ความอยู่รอดจากแต่ละปริมาณความ
เขม้ ข้นของสารก่อกลายพนั ธุ์ หลังย้ายปลกู 15 วัน

ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง
ผลการเพาะเลี้ยงเนื้อเยอ่ื ใบออ่ นออ้ ยพนั ธุส์ ุพรรณบุรี 50 ในท่มี ืดทหี่ ้องควบคุมอุณหภมู ไิ ดแ้ คลลัสเพียง
เล็กน้อย และทำการเปลยี่ นอาหารเพอ่ื เพิ่มปริมาณแคลลัส และตัดแบง่ แคลลัสเป็นช้ิน ๆ ละ 0.5 กรัม ย้ายลง
อาหารสังเคราะห์ที่มีสารก่อกลายพันธุ์ Thidiazuron และ Sodium azide ตามกรรมวิธีทดลอง พบว่า
ชิ้นส่วนแคลลัสที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ทุกกรรมวิธี มีผลต่อการทำให้แคลลัสเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
เมื่อเพาะเลี้ยงไปได้ 4 สัปดาห์ และตายไปหลังเพาะเลี้ยงได้ 8 สัปดาห์ แต่แคลลัสที่เพาะเลี้ยงบนอาหาร
สังเคราะห์ที่ไม่เติมสารก่อกลาย พบว่าแคลลัสเริ่มเปล่ียนเป็นสีน้ำตาลหลังเพาะเลี้ยงได้ 6 สัปดาห์ และไม่
พบการพัฒนาของแคลลัส ขณะนี้จึงทำการเพ่ิมขยายแคลลัสใหม่และปรับเปลี่ยนความเข้มข้นของสารก่อ
กลายพันธุ์ที่ต้องเติมลงในอาหารเพาะเลี้ยงก่อนการเพาะเลี้ยงแคลลัสอีกครั้ง ขยายเพิ่มปริมาณแคลลัส
และดำเนินการชักนำหน่ออ่อน

ภาพ การพฒั นาแคลลัสของอ้อยคน้ั นำ้ พันธสุ์ พุ รรณบรุ ี 50

482

สรุปผลการทดลองและขอ้ เสนอแนะ
1. สามารถชักนำแคลลสั และขยายเพิ่มปรมิ าณ
2. สารเคมีก่อกลายพนั ธุ์ทุกระดบั ความเข้มข้นทำใหแ้ คลลสั เปล่ียนเปน็ สีน้ำตาลและตาย จึงได้ทำการ
ทดลองซ้ำและปรบั ปรงุ ความเข้มข้นสารเคมกี ่อกลายพันธ์ุ

เอกสารอา้ งอิง

กาญจนา กิระศักดิ์ อัมราวรรณ ทพิ ยวัฒน์ ภาคภูมิ ถิน่ คำ ชยนั ต์ ภกั ดีไทย กมลวรรณ เรยี บร้อย วรี ะพล พลรกั ดี. 2560. ศกึ ษา
ผลของสารออกซินและไซโตไคนินทีม่ ีตํอการชักนา้ แคลลัสอ้อย 2 พันธุ.์ รายงานผลงานเร่ืองเตม็ การทดลองที่สิ้นสุดปี
2559.

Ali, A. Naz, S. Alam, S.S. and J. Iqbal. 2007. In vitro induced mutation for screening of red rot
(Colletotrichum falcatum) resistance in sugarcane (Saccharum officinarum). Pak. J. Bot. 39(6): 1979-
1994.

Errabii, T. Gandonou, C.B. Bouhdid, S. Abrini, J. and N. Skali-Senhaji. 2017. Callus growth and ioncomposition
in response to long-term NaCl-induced stress in two sugarcane (Saccharum sp.) cultivars.
International journal of biotechnology and molecular biology research. 8(1): 1-9.

Khan, I.M. Dahot M.U. Seema, N. Bibi, S. and A. Khathi. 2008; Genetic variability in plantlets derived from
callus culture in sugarcane. Pak. J. Bot. 40(2): 547-564.

Naz, M. and H. Faisal. 2017 Callus formation and somatic embryogenesis in sugarcane (Saccharum spp L.)
using various concentrations of 2, 4-D and RAPD analysis of regenerated plants. Pure Appl. Biol.
6(3): 917-931.

Shomeili, M. Nabipour, M. Meskarbashee, M. and H.R. Memari. 2011. Evaluation of Sugarcane (Saccharum
officinarum L.) Somaclonals Tolerance to Salinity Via In Vitro and In Vivo. Journal of Biosciences.
18(2): 91-96.

VASANTDADA SUGAR. 2013.VSIBulletin. Available at:
https://www.yumpu.com/en/document/view/52177244/vol-13-issue-1-april-2013-vasantdada-
sugar-institute. Accessed February, 2020

483

ศึกษาความเขม้ ข้นสารเคมกี อ่ กลายพนั ธ์ุ 2 ชนิดที่มผี ลตอ่ ตาอ้อย

กาญจนา กริ ะศกั ด์ิ1* และ ทีมวิจัย1

รายงานความกา้ วหน้า
การแช่ตาออ้ ยคนั้ นำ้ พันธ์สุ ุพรรณบุรี 50 ในสารกอ่ กลายพันธ์ุ 2 ชนิด ไดแ้ ก่ Thidiazuron (TDZ) และ
Sodium azide (NaN3) ที่ระดับความเข้มข้น 0, 20, 40, 60, 80, 100 เปอร์เซ็นต์ เวลาในการแช่ 3 ชั่วโมง
พบว่า สาร TDZ ที่ความเข้มข้น 40% ให้เปอร์เซ็นต์การงอกของตาอ้อยลดลง 50 % (LD50) โดยความงอก
สูงสุด 72.5 % สำหรบั สาร SA ทีค่ วามเข้มข้น 30 % ให้ความงอกสูงสุด 30 %
คำสำคญั : อ้อยคน้ั นำ้ การกอ่ กลายพันธุ์
Keywords: sugarcane juice, mutation

คำนำ
การชักนำให้เกดิ การกลายพนั ธ์ุจากการเพาะเลีย้ งเนือ้ เย่อื โดยใช้รงั สีและสารเคมี มีการใช้กนั มากและ
ประสบความเสร็จกับพืชไร่หลายชนิด เช่น ข้าวโพด ข้าว ขา้ วบาร์เลย่ ์ ถว่ั ลิสง และอ้อย เป็นตน้ (Ahloowalia
and Maluszynski, 2001) โดยเฉพาะอ้อยใช้เทคนิคดา้ นเพาะเล้ียงเนื้อเยื่อจัดเข้าไว้ในโปรแกรมการปรับปรงุ
พนั ธุ์ เพื่อสรา้ งความแปรปรวนทางพนั ธกุ รรม ด้วยวิธกี ารชกั นำให้กลายพนั ธ์ุผา่ นทางแคลลัส ส่งผลถึงลักษณะ
ที่สำคัญทางการเกษตรของอ้อย ด้านความสูง สีหน่อ สีใบ การต้านทานต่อโรคต่าง ๆ และการออกดอก เป็น
ต้น การเพาะเลี้ยงแคลลัสจากส่วนของใบและดอกอ้อยพันธุ์ Co 86032 และ CoM 265 สามารถคัดเลือกได้
พันธุ์ใหม่ 650 ต้น ออกปลกู ทดสอบในแปลงเปรียบเทยี บกบั พันธุ์เดิมท่ีใชเ้ น้ือเยือ่ มาเพาะเลี้ยง พบว่าพันธุ์ใหม่
เกือบทุกต้นให้ผลผลิต ซีซีเอส และน้ำหนักต่อลำมากกว่าเดิม ซึ่งจากผลงานวิจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แสดงให้
เหน็ ถึงความสำคญั และความจำเปน็ ของการสร้างความแปรปรวนทางพนั ธุกรรมจากการเพาะเลีย้ งเนื้อเยื่อผ่าน
ทางแคลลัส (VASANTDADA SUGAR, 2013) สำหรับสารเคมีก่อกลายพันธุ์ที่นิยมใช้กับอ้อยได้แก่ 2,4-D,
TDZ, NaCl และ Sodium azide เป็นต้น ซึ่งสาร 2,4-D สามารถใช้ชักนำแคลลัสและก่อกลายพันธุ์ได้
(กาญจนา และคณะ, 2560; Ali et al., 2007; Khan et al., 2008; Naz et al., 2017) สาร NaCl มุ่งใช้
ประโยชน์แบบเฉพาะเจาะจงในดา้ นการก่อกลายพันธุ์ให้ทนทานหรอื ตา้ นทานตอ่ สภาวะดินเค็ม (Shomeili et
al., 2011; Errabii et al., 2017)

1ศูนยว์ จิ ยั พืชไร่ขอนแก่น สถาบนั วิจัยพืชไรแ่ ละพืชทดแทนพลังงาน อำเภอเมอื ง จังหวัดขอนแกน่

*Corresponding Author E-mail: [email protected]

484

วธิ ดี ำเนินการ
สง่ิ ท่ีใช้ในการทดลอง

- อ้อยพนั ธ์สุ พุ รรณบรุ ี 50
- สารเคมกี อ่ กลายพันธ์ุ 2 ชนดิ คือ Thidiazuron (TDZ) และ Sodium azide (NaN3)
- วสั ดุชำข้ออ้อย
แบบและวิธีการทดลอง วางแผนการทดลองแบบ CRD 4 ซำ้ ๆ ละ 30 ตา ความเข้มขน้ 5 ระดบั คือ 0, 20, 40,
60, 80, 100 เปอร์เซ็นต์ เวลาในการแช่ 3 ชวั่ โมง
วิธปี ฏิบัติการทดลอง
1. เตรยี มทอ่ นพนั ธอ์ุ อ้ ยอายุ 10 เดือน ล้างดว้ ยนำ้ สะอาด เลือกเฉพาะตาที่สมบูรณ์ และคว้านเฉพาะ
ส่วนของตาอ้อยใหไ้ ด้ปรมิ าณตามตอ้ งการ นำไปแช่ในสารก่อกลายพนั ธ์ุตามแผนการทดลอง จากนั้นนำไปล้าง
ผา่ นน้ำไหลเป็นเวลา 1 ช่วั โมง
2. เพาะตาอ้อยที่ได้จากขอ้ ที่ 1 ลงในวัสดุชำข้อที่บรรจุไว้ภายในถาดหลุม ปฏิบัติดูแล กำจัดโรคและ
แมลงตามความจำเป็น
การบันทึกข้อมูล
หาค่า GR50 และ LD50 ตามวิธีการของ (พีรนุช, 2559) โดยวัดการเปอร์เซ็นต์ความงอก วัดการ
เจรญิ เติบโต ของต้นกลา้ และเปอร์เซ็นตค์ วามอยู่รอดจากแต่ละปริมาณความเข้มข้นของสารก่อกลายพนั ธุ์

ผลและวิจารณผ์ ลการทดลอง
ผลการแช่ตาออ้ ยหลังแช่สารเคมีก่อการกลายพันธุ์ SA พบวา่ หลังชำตาอ้อย 20 วัน การไม่แช่สารให้
ความงอกสูงสดุ 62.5 % และการแช่สารที่ความเขม้ ข้น 30 % ให้ความงอกสูงสุด 30 % แต่ให้ความยาวหนอ่
และราก 3.08 และ 1.64 เซนติเมตร รองจากสารเคมคี วามเข้มขน้ 40 % มีความยาวหนอ่ และรากสงู สุด 3.70
และ 2.09 เซนติเมตร ตามลำดับ แต่มีความงอกเพียง 25 % และหลังชำ 30 วัน การแช่สารท่คี วามเข้มข้น 30
% ยังคงให้การเจริญเติบโตสูงถึง 55 % และผลของการแช่สาร TDZ พบว่า การแช่สารที่ความเข้มข้นสูงสุด
40% ให้ความงอกสูงสุด 72.5 % และหลังเพาะ 20 วัน ให้ความยาวต้นและรากสูงสุดเฉลี่ย 4.24 และ 2.12
ซม. ตามลำดับ และความงอก ความยาวต้น และรากต่ำสดุ จากตาอ้อยที่ไมไ่ ด้แช่สาร 7.5 % 1.3 และ 2.3 ซม.
ตามลำดับ รองลงมาคอื ที่ระดบั ความเข้มขน้ 20% มีความงอก ความยาวต้นและรากเฉลี่ย 67.5% 3.81 และ
1.96 ซม. ตามลำดับ และหลังชำ 30 วัน พบว่าตาอ้อยที่แช่สารความเข้มข้น 40% ให้การเจริญเติบโตสูงสุด
10% รองลงมาคอื 7.5 % จากการแช่สารความเข้มข้น 30% และ2.5 % จากการแช่สารทีค่ วามเข้มข้น 20%
ในขณะทไี่ มแ่ ชส่ ารเน้ือเยอ่ื ตาย
จากผลการแช่สารก่อกลายพันธุ์ SA ที่ความเข้มข้น 30% สำหรับการแช่สารก่อกลายพันธุ์ TDZ ใช้
ความเข้มข้นท่ีเหมาะสมทีร่ ะดับ 40% เป็นความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการแช่ตาอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 เม่ือ
ตาอ้อยงอกอายุได้ 2 เดือน จึงทำการย้ายลงปลูกในแปลง ขณะนี้อยู่ระหว่างการดูและรักษาและเก็บบันทึก
ขอ้ มลู การเจริญเติบโต

485

สรุปผลการทดลองและขอ้ เสนอแนะ
สารเคมกี ่อกลายพนั ธุ์ ชนิด Sodium azide (NaN3) ที่ความเขม้ ขน้ 30% และ Thidiazuron (TDZ)
ใช้ความเขม้ ข้นทร่ี ะดบั 40% ทีเ่ ปอรเ์ ซ็นต์การงอกของตาออ้ ยลดลง 50 % (LD50)

เอกสารอา้ งอิง

กาญจนา กิระศกั ดิ์ อัมราวรรณ ทพิ ยวัฒน์ ภาคภูมิ ถน่ิ คำ ชยนั ต์ ภักดไี ทย กมลวรรณ เรยี บร้อย วีระพล พลรักด.ี 2560. ศึกษา
ผลของสารออกซนิ และไซโตไคนนิ ที่มตี ํอการชกั นา้ แคลลสั อ้อย 2 พันธ์ุ. รายงานผลงานเร่ืองเต็มการทดลองทส่ี น้ิ สุดปี
2559.

Ali, A. Naz, S. Alam, S.S. and J. Iqbal. 2007. In vitro induced mutation for screening of red rot (Colletotrichum
falcatum) resistance in sugarcane (Saccharum officinarum). Pak. J. Bot. 39(6): 1979-1994.

Errabii, T. Gandonou, C.B. Bouhdid, S. Abrini, J. and N. Skali-Senhaji. 2017. Callus growth and ioncomposition
in response to long-term NaCl-induced stress in two sugarcane (Saccharum sp.) cultivars.
International journal of biotechnology and molecular biology research. 8(1): 1-9.

Khan, I.M. Dahot M.U. Seema, N. Bibi, S. and A. Khathi. 2008; Genetic variability in plantlets derived from
callus culture in sugarcane. Pak. J. Bot. 40(2): 547-564.

Naz, M. and H. Faisal. 2017 Callus formation and somatic embryogenesis in sugarcane (Saccharum spp. L.)
using various concentrations of 2, 4-D and RAPD analysis of regenerated plants. Pure Appl. Biol.
6(3): 917-931.

Shomeili, M. Nabipour, M. Meskarbashee, M. and H.R. Memari. 2011. Evaluation of Sugarcane (Saccharum
officinarum L.) Somaclonals Tolerance to Salinity Via In Vitro and In Vivo. Journal of Biosciences.
18(2): 91-96.

VASANTDADA SUGAR. 2013.VSIBulletin. Available at:
https://www.yumpu.com/en/document/view/52177244/vol-13-issue-1-april-2013-vasantdada-
sugar-institute. Accessed February, 2020.

486

การขยายผลการปลูกอ้อยคน้ั น้ำในเขตจงั หวัดขอนแก่น

ภาคภูมิ ถ่ินคำ1* กาญจนา กริ ะศักด์ิ1 ชยนั ต์ ภกั ดีไทย1 ธีรวฒุ ิ วงศว์ รตั น์1 และวันทนา เลิศศิรวิ รกุล1

รายงานความก้าวหน้า
ดำเนินการในรปู แบบการถา่ ยทอดความร้แู ละทำแปลงต้นแบบอยา่ งมีส่วนร่วม ในพนื้ ที่เกษตรกร โดย
ใชพ้ นั ธุอ์ ้อยคั้นนำ้ สายพนั ธก์ุ ้าวหน้าจากการปรับปรงุ พนั ธุ์ มาขยายผลให้เกิดแปลงต้นแบบการผลิตอ้อยคั้นน้ำ
จัดทำแปลงพันธอ์ุ อ้ ยคัน้ น้ำในพืน้ ท่เี กษตรกรท่ีเข้าร่วมโครงการ โดยทำจดั ทำแปลงพนั ธ์ุจากอ้อยชำข้อ พื้นที่ 1
งาน จำนวน 2 แปลง เพอ่ื จดั เตรียมพนั ธสุ์ ำหรับปลกู ในแปลงตน้ แบบการผลิตออ้ ยค้นั นำ้ ในปีต่อไป
คำสำคญั : ต้นแบบอ้อยค้ันน้ำ แปลงพนั ธ์อุ ้อยคนั้ น้ำ ออ้ ยค้นั น้ำโคลนดีเดน่

คำนำ
ประเทศไทยจะปล่อยลอยตัวราคาน้ำตาลทรายภายในประเทศให้ปรับขึ้นลงตามกลไกตลาดเสรีที่
สะท้อนราคาตลาดโลกภายในฤดูการผลิตปี 2560/2561 โดยราคาน้ำตาลหลังลอยตวั ตามกลไกตลาดเสรีราคา
จะปรับเปลี่ยนตามกลไกตลาด หากราคาน้ำตาลตลาดโลกต่ำลงราคาน้ำตาลจำหน่ายในประเทศกจ็ ะจำหน่าย
ในราคาท่ีต่ำลงเชน่ กนั แนวโนม้ ราคาออ้ ยทลี่ ดลงอาจสง่ ผลตอ่ รายได้ของเกษตรกรในระยะต่อไป การปลูกอ้อย
1 ไร่จะมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 15-20 ตัน/ไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ยปี60/61 เริ่มต้นอยู่ที่ตันละ 880 บาท
(สำนกั งานคณะกรรมการออ้ ยและน้ำตาลทราย) ทำใหม้ รี ายได้เฉลย่ี 13,200 – 17,600 บาท ซงึ่ ต่ำกวา่ ฤดูกาล
ผลิต 2559/60 ดังนั้นเกษตรกรที่ปลูกอ้อย อาจต้องมองหาโอกาสการลงทุนปลูกพืชอื่นเพื่อทดแทนรายได้ท่ี
ขาดหายไปจากราคาอ้อยที่ลอยตัว หรือต้องดำเนินการลดต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้นทุนการ
ปลกู ออ้ ยท่คี ่อนข้างสงู เม่ือเทียบกบั การปลูกพชื ชนิดอนื่ ทำใหผ้ ลตอบแทนทีค่ าดหวังอาจไม่สงู อย่างทค่ี ดิ ในเขต
ภาคอสี านมกี ารปลูกออ้ ยค้นั น้ำกระจายอยทู่ ั่วไปแต่ยังขาดพนั ธแุ์ ละข้อมูลการปลูกดูแลรกั ษาที่มีประสิทธิภาพ
ทางภาคเหนือมกี ารปลูกบางในจังหวัดพะเยา อดุ รดิตถ์ เป็นการปลกู เพอ่ื ใช้ประโยชน์ในการแปรรูปทำน้ำตาล
อ้อย และในทางทางเขตภาคใต้การปลูกยางพาราใหม่จะตอ้ งใช้ระยะเวลาเติบโตยาวนาน 6-7 ปี ถึงจะได้เปิด
กรีดหน้ายาง ทำให้ขาดรายได้ในช่วงรอเปิดกรดี เกษตรกรจึงตอ้ งหาพืชมาปลูกแซมตามร่อง เพื่อสร้างรายได้
เสริมก่อนยางพาราโต โดยทั่วไปการปลูกยางพาราใช้ระยะปลูก 7x3 เมตร หรือ 4x6 เมตร ทำให้มีพื้นที่ว่าง
ระหวา่ งร่องแถว โดยเกษตรกรนิยมปลูกพืชแซมยางพารา เช่น สับปะรด ถ่วั ต่างๆ กาแฟ มันสำปะหลงั พืชผัก
สวนครัว อ้อย ข้าว และพืชชนิดอื่นๆ อ้อยคั้นน้ำเป็นพชื ที่สามารถปลูกได้ตามสวน ไร่นา จึงเป็นแนวทางเพื่อ
ขยายผลการใช้ประโยชน์จากการปรับปรุงพันธุอ์ ้อยคั้นน้ำให้เกษตรเกษตรผู้สนใจมีพันธุท์ ี่หลากหลายในการ
เลอื กปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพ้ืนที่ และการใชป้ ระโยชน์

1ศนู ย์วจิ ยั พืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพชื ไร่และพืชทดแทนพลังงาน อำเภอเมอื ง จังหวัดขอนแก่น

*Corresponding Author E-mail: [email protected]

487

วิธีดำเนนิ การ
ส่ิงทีใ่ ช้ในการทดลอง

1. อ้อยคน้ั นำ้ พนั ธ์กุ ้าวหน้า
2. อปุ กรณ์สำหรบั ใหน้ ้ำ
3. วัสดุการเกษตร เช่น ปุย๋ สารเคมี
4. สารเคมตี า่ ง ๆ เช่น สารป้องกันกำจดั วัชพืช สารเคมีสำหรบั วเิ คราะหด์ นิ
แบบและวธิ ีการทดลอง
ดำเนินการในรูปแบบการถา่ ยทอดความรู้และทำแปลงต้นแบบอย่างมีสว่ นรว่ ม ในพน้ื ทเี่ กษตรกร โดย
ใช้พันธ์ุอ้อยคน้ั น้ำสายพนั ธกุ์ า้ วหนา้ จากการปรบั ปรงุ พันธ์ุ มาขยายผลให้เกดิ แปลงตน้ แบบการผลิตอ้อยค้ันนำ้
วธิ ีปฏิบัตกิ ารทดลอง
ปีที่ 1
1. ชี้แจงโครงการผลิตออ้ ยคั้นน้ำ คดั เลอื กเกษตรกรตน้ แบบทำแปลงต้นแบบ
2. จดั ฝึกอบรบการผลิตออ้ ยคนั้ นำ้
3. เก็บตวั อย่างดินตรวจความอดุ มสมบูรณ์ของดนิ ในห้องปฏบิ ัตกิ าร
4. เกษตรกรต้นแบบทำแปลงต้นแบบการผลิตอ้อยคั้นน้ำ ทุกขั้นตอนตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยวโดยมี
นักวิจัยร่วมเป็นพี่เลี้ยงและดูแลตลอดการดำเนินงาน จัดทำแปลงพันธุ์อ้อยคั้นน้ำในพื้นที่เกษตรกรที่เข้าร่วม
โครงการ โดยทำจัดทำแปลงพันธ์ุจากอ้อยชำข้อ พื้นที่ 1 งาน จำนวน 2 แปลง เพื่อจัดเตรียมพนั ธุ์สำหรับปลูกใน
แปลงต้นแบบการผลติ อ้อยคั้นนำ้
ปีที่ 2
จัดทำแปลงต้นแบบอ้อยโดยใช้ระยะปลูก 1.0 X 1.5 เมตร ทำการปลูกแบบวางลำโดยตัดเป็นท่อนๆ
ละ 3 ตาวางในรอ่ ง กลบดนิ หนาประมาณ 5 เซนติเมตร กำจัดวัชพืชไม่ใหร้ บกวน ทำการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์
ดนิ โดยแบ่งใส่ 2 คร้ังเมือ่ ออ้ ยอายุ 2 เดอื น และ 4 เดือน ทำการให้นำ้ ตามค่าความต้องการนำ้ ของพืชโดยอ้างอิง
จากค่า Kc ของขอนแก่น 3 (กอบเกียรติ และคณะ, 2555) พื้นที่แปลงละ 2 ไร่ จำนวน 2 แปลง ทำการจัดกลุ่ม
เสวนา และศึกษาดูงานในแปลงตน้ แบบของเกษตรกรในชว่ งเกบ็ เกยี่ ว เพือ่ ประชาสัมพันธ์ สรปุ ขอ้ มูล และทำการ
ขยายผลตอ่ ไป
การเกบ็ ขอ้ มลู
1. เก็บข้อมลู ด้านอุตนุ ยิ มวทิ ยา สำหรับใชค้ ำนวณการให้นำ้
2. นำ้ หนักผลผลติ จำนวนลำ ปรมิ าณนำ้ อ้อยทห่ี บี ได้
3. เก็บขอ้ มูลทางด้านเศรษฐศาสตร์ ประกอบดว้ ยตน้ ทนุ การผลิต รายได้ และ ผลตอบแทน
การวเิ คราะห์ขอ้ มลู
1. วิเคราะหค์ วามพึงพอใจและประเมินการยอมรับรูปแบบการขยายผล
2. วเิ คราะห์จำนวนเกษตรกรทีย่ อมรบั และนำเทคโนโลยไี ปใช้ ดา้ น พันธ์ุ การใหน้ ้ำตามความตอ้ งการพชื

488

3. วิเคราะห์เงื่อนไข ข้อจำกัด ประสิทธิภาพและศักยภาพของการจัดการขยายผลในรูปแบบแปลง
ต้นแบบ

ผลและวิจารณผ์ ลการทดลอง
คัดเลอื กเกษตรกรตน้ แบบทำแปลงต้นแบบ จำนวน 2 ราย เพอ่ื ทำแปลงพันธใ์ุ นปที ี่ 1 ดำเนินการปลูก
เมื่อเดือนมกราคม 2563 โดยใช้พันธุ์ก้าวหน้า UTj10-3 เพื่อใช้เป็นท่อนพันธุ์ในปี 2564 ต่อไป พื้นที่ 1 งาน
ระยะปลูก 1.30×0.50 เมตร หลมุ ละ 2 ท่อนๆ ละ 3 ตา ใส่ปยุ๋ ตามคา่ วิเคราะห์ดนิ ตามคำแนะนำอ้อยโรงงาน
โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมปลูกโดยโรยขา้ งแถวอ้อย ครั้งที่ 2 ใส่เมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน ในสภาพดินมี
ความชื้นเหมาะสม ใส่โดยโรยปุ๋ยข้างแถวปลูกแล้วพรวนกลบ ให้น้ำตามร่อง เก็บเกี่ยวท่อนพันธุ์เดือนตลุ าคม
2563 นำมาตัดชำขอ้ อ้อยเพ่ือปลูกขายผลในปี 2564 ต่อไป

สรปุ ผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
จัดทำแปลงพนั ธุ์จำนวน 2 แปลงในพนื้ ที่ของเกษตรกรเพือ่ เป็นท่อนพันธ์สุ ำหรับปลกู ขยายผล

489

แผนงานวจิ ัย

วิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธภิ าพการผลิตอ้อยตามศักยภาพของ
พ้นื ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (โครงการวจิ ยั เดยี่ ว)

490

วัดค่าคุณภาพนำ้ ออ้ ยโครงการวจิ ัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยกี ารเพิม่ ประสิทธิภาพการ
ผลติ อ้อยตามศักยภาพของพ้นื ทีภ่ าคตะวันออกเฉยี งเหนือตอนบน

ปยิ ะรตั น์ จงั พล1 ทรงสทิ ธิ์ ทาขลุ ี1 และอรอุมา สวมชยั ภูมิ1
บทคดั ยอ่

การวัดค่าคุณภาพความหวาน (C.C.S.) เป็นระบบการคิดคุณภาพน้ำอ้อย ซึ่งได้นำแบบอย่างมาจาก
ระบบการซ้ือขายอ้อยของประเทศออสเตรเลยี เปน็ คา่ ปรมิ าณน้ำตาลที่มีอยู่ในออ้ ยซึง่ สามารถหีบสกัดออกมา
เป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ซึ่งค่าคุณภาพความหวานนี้จะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนของเกษตรกรที่ได้รบั
จากโรงงานน้ำตาล เนื่องจากในน้ำอ้อยมีสารประกอบสิ่งเจือปนมากมาย การวัดคุณภาพน้ำอ้อยจึงมีหลาย
ปัจจัย เช่น ค่าบริกซ์ (ความเข้มข้น) ค่าโพล (ปริมาณน้ำตาลซูโคส) ค่าไฟเบอร์ (ปริมาณเส้นใย) ค่าความเปน็
กรดด่าง ประกอบการหาค่าคุณภาพน้ำอ้อยดังกล่าว ในทดลองการทดสอบพันธุ์อ้อยในพื้นที่นาข้าวที่ไม่
เหมาะสม แต่เหมาะสมในการปลูกอ้อยในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ภายใต้ โครงการวิจัยการทดสอบและ
พัฒนาเทคโนโลยกี ารเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยตามศักยภาพของพื้นท่ีภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ไดส้ ่งอ้อยเพือ่ นำมาหาคุณภาพน้ำอ้อยในแปลงทดลองในเขตพ้นื ที่ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 7
จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ สกลนคร และจังหวัดเลย โดยส่งตัวอย่าง
ออ้ ยเข้ามาเพ่ือวิเคราะห์หาคุณภาพน้ำอ้อยจำนวน 198 ตวั อย่าง ในชว่ งเดอื นตุลาคม 2562 ถึงเดือนมกราคม
2563 และไดส้ ง่ ผลการวเิ คราะหค์ ณุ ภาพนำ้ อ้อยใหผ้ ทู้ ำการทดลองเรียบรอ้ ยแล้ว
คำสำคัญ: คา่ คณุ ภาพความหวาน ค่าบริกซ์ ค่าโพล ค่าไฟเบอร์

1ศนู ย์วิจัยพชื ไรข่ อนแกน่ สถาบนั วิจัยพืชไร่และพชื ทดแทนพลงั งาน อำเภอเมือง จงั หวัดขอนแกน่

*Corresponding Author E-mail: [email protected]

491

ตารางที่ 1 วันท่ี สถานท่ี และจำนวนตวั อยา่ งออ้ ยท่ีสง่ มาวเิ คราะหค์ ุณภาพนำ้ อ้อย ณ ห้องปฏบิ ัตกิ ารศูนยว์ ิจยั

พืชไรข่ อนแกน่ ปี 2562/63

ลำดบั ที่ วนั /เดือน/ปี สถานท่ี จำนวนตวั อยา่ ง

1 16 ตลุ าคม 2562 และ ศวพ. มุกดาหาร 6

11 พฤศจกิ ายน 2562

2 7-8 และ 11 พฤศจกิ ายน 2562 และ ศวพ. อดุ รธานี 56

19,25 ธันวาคม 2562

3 15 และ 19 มกราคม 2563 ศวพ. ชัยภูมิ 30

4 25 ธันวาคม 2562 และ ศวพ. กาฬสินธุ์ 21

10 และ 23 มกราคม 2563

5 18 ธนั วาคม 2562 และ ศวพ. สกลนคร 65

8 มกราคม 2563

6 8 มกราคม 2563 ศวพ. เลย 20

รวม 198

492

วัดค่าคณุ ภาพนำ้ ออ้ ยโครงการพฒั นาและขยายผลเทคโนโลยีการจัดการปยุ๋ ออ้ ยแบบเกษตรกร
มสี ่วนร่วมในพ้นื ท่ภี าคตะวันออกเฉยี งเหนอื ตอนลา่ ง

ปิยะรัตน์ จงั พล1 ทรงสิทธ์ิ ทาขลุ ี1 และอรอมุ า สวมชยั ภมู ิ1

บทคดั ย่อ
การวัดค่าคุณภาพความหวาน (C.C.S.) เป็นระบบการคิดคุณภาพน้ำอ้อย ซึ่งได้นำแบบอย่างมาจาก
ระบบการซอื้ ขายออ้ ยของประเทศออสเตรเลีย เป็นค่าปรมิ าณน้ำตาลท่ีมอี ยู่ในอ้อยซึ่งสามารถหีบสกัดออกมา
เป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ซึ่งค่าคุณภาพความหวานนี้จะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนของเกษตรกรทีไ่ ด้รับ
จากโรงงานน้ำตาล เนื่องจากในน้ำอ้อยมีสารประกอบสิ่งเจือปนมากมาย การวัดคุณภาพน้ำอ้อยจึงมีหลาย
ปัจจัย เช่น ค่าบริกซ์ (ความเข้มข้น) ค่าโพล (ปริมาณน้ำตาลซูโคส) ค่าไฟเบอร์ (ปริมาณเส้นใย) ค่าความเป็น
กรดด่าง ประกอบการหาค่าคุณภาพน้ำอ้อยดังกล่าว ในการทดลองการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการ
จดั การปยุ๋ เพ่อื เพิ่มประสิทธภิ าพการผลิตการผลิตอ้อยในเขตอาศัยน้ำฝนจงั หวัดบรุ ีรมั ย์ สุรินทร์ นครราชสีมา
และมหาสารคาม ภายใต้ โครงการพัฒนาและขยายผลเทคโนโลยีการจัดการปุ๋ยออ้ ยแบบเกษตรกรมีส่วนรว่ ม
ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้ส่งอ้อยเพื่อนำมาหาคุณภาพน้ำอ้อยในแปลงเกษตรจำนวน 4
จงั หวัด ไดแ้ ก่ จังหวดั บุรีรัมย์ สุรนิ ทร์ นครราชสมี า และมหาสารคาม โดยส่งตัวอย่างอ้อยเข้ามาเพ่ือวิเคราะห์
หาคุณภาพน้ำอ้อยจำนวน 80 ตัวอย่าง ในเดือนธันวาคม 2563 และได้ส่งผลการวิเคราะห์คุณภาพนำ้ อ้อยให้
ผ้ทู ำการทดลองเรยี บร้อยแลว้
คำสำคญั : คา่ คณุ ภาพความหวาน ค่าบริกซ์ คา่ โพล คา่ ไฟเบอร์

ตารางที่ 1 วนั ที่ สถานที่ และ จำนวนตัวอย่างอ้อยทส่ี ่งมาวเิ คราะหค์ ุณภาพนำ้ ออ้ ย ณ หอ้ งปฏบิ ตั ิการ

ศูนยว์ ิจยั พืชไรข่ อนแก่น ปี 2562/63

ลำดับท่ี วนั -เดอื น-ปี สถานที่ จำนวนตวั อยา่ ง

1 25 ธันวาคม 2563 ศวพ.บุรีรมั ย์ 20

2 25 ธันวาคม 2563 ศวพ.สุรนิ ทร์ 20

3 25 ธันวาคม 2563 ศวพ.โนนสูง 20

4 25 ธนั วาคม 2563 ศวพ.มหาสารคาม 20

รวม 80

1ศนู ย์วิจัยพืชไรข่ อนแก่น สถาบันวจิ ัยพืชไร่และพชื ทดแทนพลงั งาน อำเภอเมือง จงั หวัดขอนแก่น

*Corresponding Author E-mail: [email protected]


Click to View FlipBook Version