หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว พุทธศักราช ๒๕๕๔ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๑ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ก คำนำ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. ๑๒๓๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ และคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ๓๐/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑ ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) โดยมีคำสั่งให้โรงเรียนดำเนินการใช้หลักสูตรในปี การศึกษา ๒๕๖๓ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดย กำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มี พัฒนาการเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพและมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย และเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านทุ่งยาว จึงได้ทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๖๖ ให้ สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อนำไปใช้ ประโยชน์และเป็นกรอบในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอน โดยมี เป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด โครงสร้าง เวลาเรียน ตลอดจนเกณฑ์การวัดประเมินผลให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ โรงเรียนสามารถกำหนดทิศทางในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละระดับตามความพร้อมและ จุดเน้น โดยมีกรอบแกนกลางเป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ มีความพร้อมในการ ก้าวสู่สังคมคุณภาพ มีความรู้อย่างแท้จริง และมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในเอกสารนี้ ช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับ เห็นผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนตลอดแนว ซึ่งจะสามารถช่วยให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำ หลักสูตรในระดับสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการ วัดและประเมินผลการเรียนรู้และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการพัฒนา หลักสูตรในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติจนกระทั่งถึงสถานศึกษา จะต้องสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษา ทุกรูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบ และ
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ข ต่อเนื่อง ในการวางแผนดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาเยาวชน ของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ..................................................... (นางสาวพิมพ์ประกาย ศรีไตรรัตน์) ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งยาว
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ค สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ประกาศโรงเรียน จ ส่วนที่ ๑ ส่วนนำ ๑ ความนำ ๑ วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา ๒ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๓ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๓ ส่วนที่ ๒ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ๗ โครงสร้างเวลาเรียน ๘ โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี ๑๐ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและลักษณะตัวชี้วัด ๑๖ ส่วนที่ ๓ คำอธิบายรายวิชา ๒๔ รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ๒๙ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ๓๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๔๗ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๖๐ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา ๗๙ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ๘๗ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ๑๐๐ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๐๘ รายวิชาเพิ่มเติม วิชาวิทยาศาสตร์น่ารู้/วิทยาศาสตร์พลังสิบ ๑๒๐ วิชาหน้าที่พลเมือง ๑๒๙ วิชาป้องกันการทุจริต ๑๔๓ วิชาภาษาอังกฤษ อ่าน-เขียน/สนทนาภาษาอังกฤษ ๑๕๑ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว ๑๖๑ กิจกรรมนักเรียน ๑๖๓
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ง สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๑๘๑ กิจกรรมชุมนุม ๑๘๒ ส่วนที่ ๔ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๘๓ กิจกรรมแนะแนว ๑๘๕ กิจกรรมนักเรียน ๑๘๕ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๑๙๑ ส่วนที่ ๕ เกณฑ์การจบการศึกษา ๑๙๖ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ๑๙๘ เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน ๒๐๐ เอกสารหลักฐานการศึกษา ๒๐๒ การเทียบโอนผลการเรียน ๒๐๓ ภาคผนวก - คำสั่งโรงเรียน เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการโรงเรียน บ้านทุ่งยาว - คำสั่งโรงเรียน เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานวิชาการ
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว จ ประกาศโรงเรียนบ้านทุ่งยาว เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรโรงเรียนบ้านทุ่งยาว พุทธศักราช ๒๕๕๔ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ................................................................................. ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่ง ที่ สพฐ. ๑๒๓๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ เรื่อง ให้ใช้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีคำสั่ง ๓๐/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑ เรื่องให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) เพื่อให้สถานศึกษานำมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไปสู่การปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนในชั้น เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบท จุดเน้นของสถานศึกษาและศักยภาพของ ผู้เรียน ทั้งนี้ หลักสูตรโรงเรียนได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ ๓๑ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ จึงประกาศใช้หลักสูตรโรงเรียนตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ......................................... ……………………………………………….. (นายเจริญสุข แซ่อึ่ง) (นางสาวพิมพ์ประกาย ศรีไตรรัตน์) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งยาว
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑ ส่วนที่ ๑ ความนำ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ตามคำสั่ง กระทรวงศึกษาธิการที่ สพฐ. ๑๒๓๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ และคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ๓๐/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑ ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) โดยมีคำสั่งให้โรงเรียน ดำเนินการใช้หลักสูตรในปีการศึกษา ๒๕๖๓ โดยให้ใช้ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็น เป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพและมีทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านทุ่งยาว จึงได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช ๒๕๖๖ ให้สอดคล้องกับหลักสูตร แกนกลางขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเป็นกรอบในการวางแผนและ พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มี กระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด โครงสร้างเวลาเรียน ตลอดจนเกณฑ์การวัด ประเมินผลให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ โดยมีกรอบแกนกลางเป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อ ตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ มีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมคุณภาพ มีความรู้อย่างแท้จริง และมีทักษะ ในศตวรรษที่ ๒๑ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในเอกสารนี้ ช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ เห็นผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนตลอดแนว ซึ่งจะสามารถช่วยให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำ หลักสูตรในระดับสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการพัฒนา หลักสูตรในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติจนกระทั่งถึงสถานศึกษา จะต้องสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษา ทุกรูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดทำหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังได้ ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ในการวางแผนดำเนินการ
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐาน การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล และเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งร่างกาย ความรู้คู่คุณธรรม มีความเป็นผู้นำของสังคมมีจิตสำนึกในความเป็น พลเมืองไทยและเป็นพลโลกโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐานสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาในการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิตโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ วิสัยทัศน์โรงเรียนบ้านทุ่งยาว “โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ สร้าง องค์กรแห่งการเรียนรู้ บนพื้นฐานการบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล” พันธกิจ ๑. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒. ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะตรงตามสายงาน และมีคุณภาพตาม มาตรฐานวิชาชีพ ร่วมกันสร้างพลังขับเคลื่อนในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานขององค์กรอย่างครูมือ อาชีพ ๓. ส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลการทางการศึกษา คิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ภายใต้การประสานงาน ร่วมกัน การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม สู่การคิดอย่างเป็นระบบ ๔. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภายในองค์กรตามหลักธรรมมาภิบาล โดยการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน เป้าประสงค์ ๑.ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีทักษะในศตวรรษที่ 21และดำรงชีวิตตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒.ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เป็นครูมืออาชีพและเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ ๓. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีแนวคิดแบบองค์รวมทำให้สามารถมองกรอบของงานได้อย่างเป็น ระบบ ๔. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นของสังคม
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดซึ่ง จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว พุทธศักราช ๒๕๖๖ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้ ๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและ ลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจน การเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม ๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ หรือ สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และ การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไข ปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรม ไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และ มีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมี ความสุข ในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๔ ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตสาธารณะ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความ เป็นชาติไทย ศรัทธา ยึดมั่นในศาสนาและเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คือผู้มี ลักษณะซึ่งแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ มีความสามัคคีปรองดอง ภูมิใจ เชิดชูความเป็นชาติไทย ปฏิบัติตน ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติตรงตามความเป็น จริงต่อตนเองและผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต คือ ผู้ที่ประพฤติตรงตามความเป็นจริงทั้งกาย วาจา ใจ และยึดหลักความจริง ความถูกต้องในการดำเนินชีวิต มีความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด ๓. มีวินัย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์ และระเบียบข้อบังคับของ ครอบครัว โรงเรียน และสังคม ผู้มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคมเป็นปกติวิสัย ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ๔. ใฝ่เรียนรู้หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้จาก แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ผู้ที่ใฝ่เรียนรู้ คือ ผู้ที่แสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการ เลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม บันทึกความรู้ วิเคราะห์ สรุปเป็นองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอด เผยแพร่ และ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกการดำรงชีวิตอย่าพอประมาณมีเหตุผล รอบคอบ มี คุณธรรม มีภูมิคุ้มกันที่ดี และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้ดีมีความสุข ผู้ที่อยู่อย่างพอเพียง คือ ผู้ที่ดำรงชีวิต อย่างประมาณตน มีเหตุผล รอบคอบ ระมัดระวัง อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความรับผิดชอบ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เห็นคุณค่า ของทรัพยากรต่าง ๆ มีการวางแผนป้องกันความเสี่ยงและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความเข้าใจและรับผิดชอบในการทำหน้าที่การ งาน ด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ผู้ที่มุ่งมั่นในการทำงาน คือ ผู้ที่มีลักษณะถึงความ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเทกำกังกาย กำลังใจ ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้ สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดด้วยความรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจในผลงาน ๗. รักความเป็นไทย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจถึงคุณค่า ร่วมอนุรักษ์ สืบทอดภูมิ ปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ศิลปะและวัฒนธรรมใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ผู้ที่ รักความเป็นไทย คือ ผู้ที่มีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า ชื่นชม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบทอดเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๕ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมไทย มีความกตัญญูกตเวที ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม ๘. มีจิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานที่ก่อให้เกิด ประโยชน์แก่ผู้อื่นชุมชนและสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น โดยไม่หวังผลตอบแทน ผู้มีจิตสาธารณะ คือ ผู้ที่มี ลักษณะเป็นผู้ให้ และช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งบันความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าใจเห็นใจผู้ที่เดือดร้อน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดในชุมชน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ ตามนโยบายของ คสช. (เพิ่มเติม) ๑. ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์คือ การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงความสำนึกและ ภาคภูมิใจความเป็นไทยปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือและจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒. ชื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม คือ การประพฤติปฏิบัติตนที่ แสดงถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่น ละความเห็นแก่ตัว รู้จัก แบ่งปันช่วยเหลือสังคมและบุคคลที่ควรให้ รู้จักควบคุมตัวเองเมื่อประสบกับความยากลำบากและสิ่งที่ ก่อให้เกิดความเสียหาย ๓. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์คือ การประพฤติที่แสดงถึงการรู้จักบุญคุณ ปฏิบัติ ตามคำสั่งสอน แสดงความรัก ความเคารพ ความเอาใจใส่ รักษาชื่อเสียง และตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูอาจารย์ ๔. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม คือ การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึง ความตั้งใจเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียน แสวงหาความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ๕. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม คือ การปฏิบัติตนที่แสดงถึงการเห็นค่า คุณค่า ความสำคัญภาคภูมิใจ อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีไทยอันดีงาม ๖. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน คือ การประพฤติปฏิบัติตน โดย ยึดมั่นในคำสัญญา มีจิตใจโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่ช่วยได้ ทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกาย และ กำลังสติปัญญา ๗. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง คือ การแสดง ถึงการมีความรู้ ความเข้าใจ ปฏิบัติตนตามหน้าที่และสิทธิของตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่นภายใต้การปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๘. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ คือ การปฏิบัตินตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายไทย มีความเคารพและนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ ๙. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การ ประพฤติ
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๖ ปฏิบัติตนอย่างมีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำอย่างรอบคอบ ถูกต้องเหมาะสม และน้อมนำพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ๑๐. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำเนินชีวิตอย่าง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีความรู้ มีคุณธรรม และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๑๑. มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลสมีความละอาย เกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา คือ การปฏิบัติตนให้มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย และมี จิตใจที่เข้มแข็งมีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ไม่กระทำความชั่วใดๆ ยึดมั่นในการทำความดีของศาสนา ๑๒. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง คือ การ ปฏิบัติตนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และประเทศชาติ ยอมเสียสละประโยชน์ ส่วนตนเพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (เพิ่มเติม) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมกับสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาสำหรับใช้ในทุกระดับการศึกษา ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม "การป้องกันการทุจริต" ขึ้น และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนใน สถานศึกษาโดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของการกระทำ ทุจริตในลักษณะต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายที่เกิดจากการทุจริต ความสำคัญของการต่อต้าน การทุจริต รวมทั้งจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการจัดหลักสูตรในแต่ละช่วงวัยของผู้เรียนด้วย หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti - Corruption Education) รายวิชาเพิ่มเติม "การป้องกันการทุจริต" ประกอบด้วย ๔ หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ ๑) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ ส่วนรวม ๒) ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต ๓) STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต ๔) พลเมืองกับ ความรับผิดชอบต่อสังคม ที่สถานศึกษาจัดให้กับผู้เรียนเพื่อปลูกฝังและป้องกันการทุจริตไม่ให้เกิดขึ้น โดยเริ่ม ปลูกฝังผู้เรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการ มี สมรรถนะที่สำคัญ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๗ ส่วนที่ ๒ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อให้ผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ตาม หลักสูตรของสถานศึกษามีแนวปฏิบัติ ดังนี้ ระดับการศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดการศึกษาดังนี้ ๑. ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖) การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาค บังคับ มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐานการติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้ง ในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรมโดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การจัดเวลาเรียน หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้จัดเวลาเรียน ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยจัดให้เหมาะสม ตามบริบทจุดเน้นของโรงเรียนและสภาพของผู้เรียน ดังนี้ ๑. ระดับชั้นประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖) ให้จัดเวลาเรียนรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละ ไม่เกิน ๕ ชั่วโมง โครงสร้างหลักสูตร หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ประกอบด้วยโครงสร้างเวลาเรียนและโครงสร้างหลักสูตรชั้นปี ดังนี้ ๑. โครงสร้างเวลาเรียนเป็นโครงสร้างที่แสดงรายละเอียดในภาพรวมเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระที่เป็นเวลาเรียนพื้นฐานเวลาเรียนรายวิชาเพิ่มเติมและเวลาในการจัดกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนจำแนกแต่ละชั้นปีในระดับประถมศึกษา ๒. โครงสร้างหลักสูตรชั้นปีเป็นโครงสร้างที่แสดงรายละเอียดเวลาเรียนของรายวิชาพื้นฐานรายวิชา/ กิจกรรมเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจำแนกแต่ละชั้นปี ๓. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและลักษณะตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๘ โครงสร้างเวลาเรียน โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม เวลาเรียน(ชั่วโมง/ปี) ระดับประถมศึกษา ป. ๑ ป. ๒ ป. ๓ ป. ๔ ป. ๕ ป. ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐ คณิตศาสตร์ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ - วิทยาศาสตร์ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ - เทคโนโลยี ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ประวัติศาสตร์ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ สุขศึกษาและพลศึกษา ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ศิลปะ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ การงานอาชีพ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ภาษาต่างประเทศ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน) ๘๔๐ ๘๔๐ ๘๔๐ ๘๔๐ ๘๔๐ ๘๔๐ รายวิชาเพิ่มเติม วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ วิทยาศาสตร์พลังสิบ ๔๐ ภาษาอังกฤษเสริม ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ หน้าที่พลเมือง ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ป้องกันการทุจริต ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ รวมเวลาเรียน (เพิ่มเติม) ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ กิจกรรมแนะแนว ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ กิจกรรมนักเรียน - กิจกรรมลูกเสือ/ยุวกาชาด - ชุมนุม ๓๐ ๔๐ ๓๐ ๔๐ ๓๐ ๔๐ ๓๐ ๔๐ ๓๐ ๔๐ ๓๐ ๔๐
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๙ กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม เวลาเรียน(ชั่วโมง/ปี) ระดับประถมศึกษา ป. ๑ ป. ๒ ป. ๓ ป. ๔ ป. ๕ ป. ๖ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ รวมเวลาเรียนทั้งหมด ๑,๑๖๐ ชั่วโมง/ปี ๑,๑๒๐ ชั่วโมง/ปี จำนวนชั่วโมงที่จัดให้นักเรียนระดับประถมศึกษา (ป.๑ - ป.๓) เรียนทั้งปี เท่ากับ ๑,๑๖๐ ชั่วโมง ระดับชั้นประถมศึกษา (ป.๔ - ป.๖) เท่ากับ ๑,๑๒๐ ชั่วโมง แผนการเรียนรู้/จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนที่ต้องการ เน้นเป็นพิเศษ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ที่ดี มีประโยชน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะในการค้นคว้าและสร้าง องค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาที่หลากหลาย มีความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียน โดยจัดการเรียนการสอนและวัดผลประเมินผลเป็นรายปี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ นั้น จากการประเมินผลระดับโรงเรียน ระดับท้องถิ่น และ ระดับชาติ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีมติร่วมกันให้จัดทำโครงการ สอนเสริมประสบการณ์พิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพนักเรียน จำนวนชั่วโมง ๘๐ ชั่วโมง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ โดยไม่นำคะแนนและระดับผลการเรียน ในรายวิชาสอนเสริมไปคิดรวมและตัดสินการเลื่อนชั้นของ นักเรียน และจัดรายวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์น่ารู้ 1- 6 วิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับชั้น ป.4/2 เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ SMT หน้าที่พลเมือง ระดับชั้น ป.1- 6 ในโครงสร้างของหลักสูตรโรงเรียนบ้านทุ่งยาว ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๖ มีรายวิชาและจำนวนชั่วโมงดังนี้
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑๐ โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี โครงสร้างหลักสูตรชั้นปีเป็นโครงสร้างที่แสดงรายละเอียดเวลาเรียนของรายวิชาพื้นฐานรายวิชา/ กิจกรรมเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจำแนกแต่ละชั้นปี ดังนี้ โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านทุ่งยาว รหัส กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) รายวิชาพื้นฐาน (๘๔๐) ท ๑๑๑๐๑ ภาษาไทย ๑ ๒๐๐ ค ๑๑๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๑ ๒๐๐ ว ๑๑๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๑ ๑๐๐ ส ๑๑๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๑ ๘๐ ส ๑๑๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๑ ๔๐ พ ๑๑๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๑ ๔๐ ศ ๑๑๑๐๑ ศิลปะ ๑ ๔๐ ง ๑๑๑๐๑ การงานอาชีพ ๑ ๒๐ อ ๑๑๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๑ ๑๒๐ รายวิชาเพิ่มเติม ๒๐๐ ว ๑๑๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๑ ๔๐ อ ๑๑๒๐๑ ภาษาอังกฤษอ่าน – เขียน ๑ ๘๐ ส ๑๑๒๐๑ หน้าที่พลเมือง ๔๐ ส ๑๑๒๐๒ ป้องกันการทุจริต ๔๐ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (๑๒๐) แนะแนว ๔๐ กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ ยุวกาชาด • ชุมนุม ๓๐ ๔๐ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑๐ หมายเหตุ - ลูกเสือ – ยุวกาชาด จัด ๑ ชม./สัปดาห์ (ให้รวมกับกิจกรรมเพื่อสังคมฯ)
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑๑ โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านทุ่งยาว รหัส กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) รายวิชาพื้นฐาน (๘๔๐) ท ๑๒๑๐๑ ภาษาไทย ๒ ๒๐๐ ค ๑๒๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๒ ๒๐๐ ว ๑๒๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒ ๑๐๐ ส ๑๒๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๒ ๘๐ ส ๑๒๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๒ ๔๐ พ ๑๒๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๒ ๔๐ ศ ๑๒๑๐๑ ศิลปะ ๒ ๔๐ ง ๑๒๑๐๑ การงานอาชีพ ๒ ๒๐ อ ๑๒๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๒ ๑๒๐ รายวิชาเพิ่มเติม ๒๐๐ ว ๑๒๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๒ ๔๐ อ ๑๒๒๐๑ ภาษาอังกฤษอ่าน – เขียน ๒ ๘๐ ส ๑๒๒๐๑ หน้าที่พลเมือง ๔๐ ส ๑๒๒๐๒ ป้องกันการทุจริต ๔๐ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (๑๒๐) แนะแนว ๔๐ กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ ยุวกาชาด • ชุมนุม ๓๐ ๔๐ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑๐ หมายเหตุ - ลูกเสือ - ยุวกาชาด จัด ๑ ชม./สัปดาห์ (ให้รวมกับกิจกรรมเพื่อสังคมฯ)
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑๒ โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านทุ่งยาว รหัส กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) รายวิชาพื้นฐาน (๘๔๐) ท ๑๓๑๐๑ ภาษาไทย ๓ ๒๐๐ ค ๑๓๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๓ ๒๐๐ ว ๑๓๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๓ ๑๐๐ ส ๑๓๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๓ ๘๐ ส ๑๓๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๓ ๔๐ พ ๑๓๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๓ ๔๐ ศ ๑๓๑๐๑ ศิลปะ ๓ ๔๐ ง ๑๓๑๐๑ การงานอาชีพ ๓ ๒๐ อ ๑๓๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๓ ๑๒๐ รายวิชาเพิ่มเติม ๒๐๐ ว ๑๓๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๓ ๔๐ อ ๑๓๒๐๑ ภาษาอังกฤษอ่าน – เขียน ๓ ๘๐ ส ๑๓๒๐๑ หน้าที่พลเมือง ๔๐ ส ๑๓๒๐๒ ป้องกันการทุจริต ๔๐ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (๑๒๐) แนะแนว ๔๐ กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ ยุวกาชาด • ชุมนุม ๓๐ ๔๐ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑๐ หมายเหตุ - ลูกเสือ - ยุวกาชาด จัด ๑ ชม./สัปดาห์ (ให้รวมกับกิจกรรมเพื่อสังคมฯ)
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑๓ โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านทุ่งยาว รหัส กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) รายวิชาพื้นฐาน (๘๔๐) ท ๑๔๑๐๑ ภาษาไทย ๔ ๑๖๐ ค ๑๔๑๐๑ คณิตศาสตร์๔ ๑๖๐ ว ๑๔๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี๔ ๑๒๐ ส ๑๔๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๔ ๘๐ ส ๑๔๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔ ๔๐ พ ๑๔๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๔ ๘๐ ศ ๑๔๑๐๑ ศิลปะ ๔ ๘๐ ง ๑๔๑๐๑ การงานอาชีพ ๔ ๔๐ อ ๑๔๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๔ ๘๐ รายวิชาเพิ่มเติม ๑๖๐ ว ๑๔๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๔ ๔๐ ว ๑๔๒๐๒ วิทยาศาสตร์พลังสิบ ๑ อ ๑๔๒๐๑ สนทนาภาษาอังกฤษ ๑ ๔๐ ส ๑๔๒๐๑ หน้าที่พลเมือง ๔๐ ส ๑๔๒๐๒ ป้องกันการทุจริต ๔๐ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (๑๒๐) แนะแนว ๔๐ กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ ยุวกาชาด • ชุมนุม ๓๐ ๔๐ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑๐ หมายเหตุ - ลูกเสือ - ยุวกาชาด จัด ๑ ชม./สัปดาห์ (ให้รวมกับกิจกรรมเพื่อสังคมฯ) - วิชาวิทยาศาสตร์น่ารู้ สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๑ วิชาวิทยาศาสตร์พลังสิบ สอนใน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๒
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑๔ โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านทุ่งยาว รหัส กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) รายวิชาพื้นฐาน (๘๔๐) ท ๑๕๑๐๑ ภาษาไทย ๕ ๑๖๐ ค ๑๕๑๐๑ คณิตศาสตร์๕ ๑๖๐ ว ๑๕๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี๕ ๑๒๐ ส ๑๕๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๕ ๘๐ ส ๑๕๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๕ ๔๐ พ ๑๕๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๕ ๘๐ ศ ๑๕๑๐๑ ศิลปะ ๕ ๘๐ ง ๑๕๑๐๑ การงานอาชีพ ๕ ๔๐ อ ๑๕๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๕ ๘๐ รายวิชาเพิ่มเติม ๑๖๐ ว ๑๕๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๕ ๔๐ อ ๑๕๒๐๑ สนทนาภาษาอังกฤษ ๒ ๔๐ ส ๑๕๒๐๑ หน้าที่พลเมือง ๔๐ ส ๑๕๒๐๒ ป้องกันการทุจริต ๔๐ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (๑๒๐) แนะแนว ๔๐ กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ ยุวกาชาด • ชุมนุม ๓๐ ๔๐ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑๐ หมายเหตุ - ลูกเสือ - ยุวกาชาด จัด ๑ ชม./สัปดาห์ (ให้รวมกับกิจกรรมเพื่อสังคมฯ)
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑๕ โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านทุ่งยาว รหัส กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม เวลาเรียน (ชม./ปี) รายวิชาพื้นฐาน (๘๔๐) ท ๑๖๑๐๑ ภาษาไทย ๖ ๑๖๐ ค ๑๖๑๐๑ คณิตศาสตร์๖ ๑๖๐ ว ๑๖๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี๖ ๑๒๐ ส ๑๖๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๖ ๘๐ ส ๑๖๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๖ ๔๐ พ ๑๖๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา ๖ ๘๐ ศ ๑๖๑๐๑ ศิลปะ ๖ ๘๐ ง ๑๖๑๐๑ การงานอาชีพ ๖ ๔๐ อ ๑๖๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๖ ๘๐ รายวิชาเพิ่มเติม ๑๖๐ ส ๑๖๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๖ ๔๐ อ ๑๖๒๐๑ สนทนาภาษาอังกฤษ ๓ ๔๐ ส ๑๖๒๐๑ หน้าที่พลเมือง ๔๐ ส ๑๖๒๐๒ ป้องกันการทุจริต ๔๐ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (๑๒๐) แนะแนว ๔๐ กิจกรรมนักเรียน • ลูกเสือ ยุวกาชาด • ชุมนุม ๓๐ ๔๐ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ๑๐ หมายเหตุ - ลูกเสือ - ยุวกาชาด จัด ๑ ชม./สัปดาห์ (ให้รวมกับกิจกรรมเพื่อสังคมฯ)
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑๖ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและลักษณะตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตร โรงเรียนบ้านทุ่งยาว พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จึง กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ ๑. ภาษาไทย ๒. คณิตศาสตร์ ๓. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๔. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๕. สุขศึกษาและพลศึกษา ๖. ศิลปะ ๗. การงานอาชีพ ๘. ภาษาต่างประเทศ ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึง ประสงค์ เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน พัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และ ประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการ ประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา การ ทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัด การศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อน ถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะจะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วย การเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษา ปีที่ ๑-มัธยมศึกษาปีที่ ๓) หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อความเข้าใจและให้สื่อสาร ตรงกัน ดังนี้
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑๗ ว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ๑.๑ สาระที่ ๑ มาตรฐานข้อที่ ๑ ป.๑/๒ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ข้อที่ ๑ ว ๑.๑ ป.๑/๒ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้มี ๓๑ สาระ จำนวน ๕๕ มาตรฐาน ดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ ๑ การอ่าน มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการ ดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน สาระที่ ๒ การเขียน มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบ ต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระที่ ๑ จำนวนและพีชคณิต มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้ มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม และนำไปใช้ มาตรฐาน ค ๑.๓ ใช้นิพจน์ สมการ และอสมการ อธิบายความสัมพันธ์ หรือช่วยแก้ปัญหาที่กำหนดให้
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑๘ สาระที่ ๒ การวัดและเรขาคณิต มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดและนำไปใช้ มาตรฐาน ค ๒.๒ เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูป เรขาคณิต และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้ สาระที่ ๓ สถิติและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค ๓.๑ เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา มาตรฐาน ค ๓.๒ เข้าใจหลักการนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น และนำไปใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระที่ ๑ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว ๑.๑ เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากร ปัญหาและผลกระทบที่มี ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว ๑.๒ เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและออกจาก เซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว ๑.๓ เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สาร พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทาง ชีวภาพและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับ โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคหลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง สถานะของสสาร การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการ เคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว ๒.๓ เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๑๙ สาระที่ ๓ วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ มาตรฐาน ว ๓.๑ เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ มาตรฐาน ว ๓.๒ เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สาระที่ ๔ เทคโนโลยี มาตรฐาน ว ๔.๑ เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อ แก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิง วิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และ สิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ว ๔.๒ เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็น ระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการ แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มาตรฐาน ส ๑.๑ รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตน นับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข มาตรฐาน ส ๑.๒ เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือ ศาสนาที่ตนนับถือ สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม มาตรฐาน ส ๒.๑ เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษา ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข มาตรฐาน ส ๒.๒ เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สาระที่ ๓ เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส ๓.๑ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ ทรัพยากรที่ มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒๐ มาตรฐาน ส ๓.๒ เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็น ของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก สาระที่ ๔ ประวัติศาสตร์ มาตรฐาน ส ๔.๑ เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สามารถใช้วิธีการ ทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ มาตรฐาน ส ๔.๒ เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถ วิเคราะห์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น มาตรฐาน ส ๔.๓ เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและ ธำรงความเป็นไทย สาระที่ ๕ ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส ๕.๑ เข้าใจลักษณะทางกายภาพของโลกและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน ใช้แผนที่ และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ และสรุปข้อมูล ตามกระบวนการทาง ภูมิศาสตร์ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถี การดำเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ มาตรฐาน พ ๑.๑ เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ สาระที่ ๒ ชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน พ ๒.๑ เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต สาระที่ ๓ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ ๓.๑ เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา มาตรฐาน พ ๓.๒ รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชมใน สุนทรียภาพของการกีฬา สาระที่ ๔ การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค มาตรฐาน พ ๔.๑ เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและ การสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒๑ สาระที่ ๕ ความปลอดภัยในชีวิต มาตรฐาน พ ๕.๑ ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยาสารเสพติด และความรุนแรง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์ มาตรฐาน ศ ๑.๑ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มาตรฐาน ศ ๑.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างาน ทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล สาระที่ ๒ ดนตรี มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็น มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล สาระที่ ๓ นาฏศิลป์ มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่า นาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของ นาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มี คุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว สาระที่ ๒ การอาชีพ มาตรฐาน ง ๒.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนา อาชีพ มีคุณธรรมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน อ ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมี เหตุผล มาตรฐาน อ ๑.๒ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความ คิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน อ ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยการพูดและ การเขียน สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน อ ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่าง เหมาะสมกับกาลเทศะ มาตรฐาน อ ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับ ภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มาตรฐาน อ ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานใน การพัฒนาแสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก มาตรฐาน อ ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม มาตรฐาน อ ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ (เพิ่มเติม) สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน อ ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมี เหตุผล มาตรฐาน อ ๑.๒ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความ คิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน อ ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยการพูดและ การเขียน สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน อ ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่าง เหมาะสมกับกาลเทศะ
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒๓ มาตรฐาน อ ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับ ภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มาตรฐาน อ ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานใน การพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก มาตรฐาน อ ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชนและสังคม มาตรฐาน อ ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒๔ ส่วนที่ ๓ คำอธิบายรายวิชา หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้กำหนดคำอธิบายรายวิชาของวิชาต่าง ๆ ที่สอนในแต่ละปีการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ชื่อรหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนชั่วโมงต่อปี ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้รายปี คำอธิบายรายวิชาจะช่วยให้ ผู้สอนจัดหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปี ได้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ เนื่องจากคำอธิบายรายวิชาจะ รวมสาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ตลอดทั้งปี กลุ่มของสาระการเรียนรู้ตลอดปี จะมีจำนวนมาก ดังนั้น การจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้หลาย ๆ หน่วย จะช่วยให้กลุ่มของสาระการเรียนรู้มีขนาดเล็กลงและบูรณาการได้ หลากหลายมากขึ้น โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ได้กำหนดรายละเอียดของคำอธิบายรายวิชาเรียงตามลำดับไว้ ดังนี้ ๑. คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๒. คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๓. คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖ ๔. คำอธิบายรายวิซากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๕. คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๖. คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖ ๗. คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๘. คำอธิบายรายวิซากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๖ ๙. คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๑๐. คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม วิชาวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๑๑. คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม วิชาวิทยาศาสตร์พลังสิบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ๑๒. คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม วิซาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒๕ ๑๓. คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม วิชาหน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๑๔. คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม วิซาการป้องกันการทุจริต ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๖ ๑๕. คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒๖ รายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ท ๑๑๑๐๑ ภาษาไทย ๑ จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ท ๑๒๑๐๑ ภาษาไทย ๒ จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ท ๑๓๑๐๑ ภาษาไทย ๓ จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ท ๑๔๑๐๑ ภาษาไทย ๔ จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง ท ๑๕๑๐๑ ภาษาไทย ๕ จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง ท ๑๖๑๐๑ ภาษาไทย ๖ จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง รายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ค ๑๑๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๑ จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ค ๑๒๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๒ จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ค ๑๓๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๓ จำนวน ๒๐๐ ชั่วโมง ค ๑๔๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๔ จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง ค ๑๕๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๕ จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง ค ๑๖๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๖ จำนวน ๑๖๐ ชั่วโมง รายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว ๑๑๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๑ จำนวน ๑๐๐ ชั่วโมง ว ๑๒๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒ จำนวน ๑๐๐ ชั่วโมง ว ๑๓๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๓ จำนวน ๑๐๐ ชั่วโมง ว ๑๔๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๔ จำนวน ๑๒๐ ชั่วโมง ว ๑๕๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๕ จำนวน ๑๒๐ ชั่วโมง ว ๑๖๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๖ จำนวน ๑๒๐ ชั่วโมง รายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส ๑๑๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๑ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ส ๑๒๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๒ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ส ๑๓๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๓ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ส ๑๔๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๔ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ส ๑๕๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๕ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ส ๑๖๑๐๑ สังคมศึกษาฯ ๖ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ส ๑๑๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๑ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๒๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๒ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๓๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๓ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๔๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๕๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๕ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒๗ ส ๑๖๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๖ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง รายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พ ๑๑๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๑ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง พ ๑๒๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๒ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง พ ๑๓๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๓ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง พ ๑๔๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๔ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง พ ๑๕๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๕ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง พ ๑๖๑๐๑ สุขศึกษาฯ ๖ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง รายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ศ ๑๑๑๐๑ ศิลปะ ๑ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ศ ๑๒๑๐๑ ศิลปะ ๒ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ศ ๑๓๑๐๑ ศิลปะ ๓ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ศ ๑๔๑๐๑ ศิลปะ ๔ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ศ ๑๕๑๐๑ ศิลปะ ๕ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง ศ ๑๖๑๐๑ ศิลปะ ๖ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง รายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ง ๑๑๑๐๑ การงานอาชีพ ๑ จำนวน ๒๐ ชั่วโมง ง ๑๒๑๐๑ การงานอาชีพ ๒ จำนวน ๒๐ ชั่วโมง ง ๑๓๑๐๑ การงานอาชีพ ๓ จำนวน ๒๐ ชั่วโมง ง ๑๔๑๐๑ การงานอาชีพ ๔ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ง ๑๕๑๐๑ การงานอาชีพ ๕ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ง ๑๖๑๐๑ การงานอาชีพ ๖ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง รายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ) อ ๑๑๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๑ จำนวน ๑๒๐ ชั่วโมง อ ๑๒๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๒ จำนวน ๑๒๐ ชั่วโมง อ ๑๓๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๓ จำนวน ๑๒๐ ชั่วโมง อ ๑๔๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๔ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง อ ๑๕๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๕ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง อ ๑๖๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๖ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง รายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว ๑๑๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๑ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒๘ ว ๑๒๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๒ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ว ๑๓๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๓ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ว ๑๔๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๔ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ว ๑๕๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๕ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ว ๑๖๒๐๑ วิทยาศาสตร์น่ารู้ ๖ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ว ๑๔๒๐๒ วิทยาศาสตร์พลังสิบ ๑ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง รายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) อ ๑๑๒๐๑ ภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน ๑ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง อ ๑๒๒๐๑ ภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน ๒ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง อ ๑๓๒๐๑ ภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน ๓ จำนวน ๘๐ ชั่วโมง อ ๑๔๒๐๒ สนทนาภาษาอังกฤษ ๑ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง อ ๑๕๒๐๒ สนทนาภาษาอังกฤษ ๒ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง อ ๑๖๒๐๒ สนทนาภาษาอังกฤษ ๓ จำนวน ๔๐ ชั่วโมง รายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ส ๑๑๒๐๑ หน้าที่พลเมือง จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๒๒๐๑ หน้าที่พลเมือง จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๓๒๐๑ หน้าที่พลเมือง จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๔๒๐๑ หน้าที่พลเมือง จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๕๒๐๑ หน้าที่พลเมือง จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๖๒๐๑ หน้าที่พลเมือง จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๑๒๐๒ ป้องกันการทุจริต จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๒๒๐๒ ป้องกันการทุจริต จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๓๒๐๒ ป้องกันการทุจริต จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๔๒๐๒ ป้องกันการทุจริต จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๕๒๐๒ ป้องกันการทุจริต จำนวน ๔๐ ชั่วโมง ส ๑๖๒๐๒ ป้องกันการทุจริต จำนวน ๔๐ ชั่วโมง
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๒๙ คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓๐ โครงสร้างหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาพื้นฐาน ที่ รหัสวิชา ชื่อวิชา ระดับชั้น จำนวนชั่วโมง/ปี ๑ ท ๑๑๑๐๑ ภาษาไทย ๑ ป.๑ ๒๐๐ ๒ ท ๑๒๑๐๑ ภาษาไทย ๒ ป.๒ ๒๐๐ ๓ ท ๑๓๑๐๑ ภาษาไทย ๓ ป.๓ ๒๐๐ ๔ ท ๑๔๑๐๑ ภาษาไทย ๔ ป.๔ ๑๖๐ ๕ ท ๑๕๑๐๑ ภาษาไทย ๕ ป.๕ ๑๖๐ ๖ ท ๑๖๑๐๑ ภาษาไทย ๖ ป.๖ ๑๖๐
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓๑ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท ๑๑๑๐๑ ภาษาไทย ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกการอ่านคำคล้องจองและข้อความสั้น ๆ บอกความหมายของคำและข้อความ ตอบ คำถามเกี่ยวกับเรื่อง เล่าเรื่องย่อจากเรื่อง และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน อ่านหนังสือตามความสนใจ อย่างสม่ำเสมอ นำเสนอเรื่องที่อ่าน บอกความหมายของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นใน ชีวิตประจำวัน การคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่าย ๆ การฟัง คำแนะนำ คำสั่งง่าย ๆ และปฏิบัติตาม ตอบคำถาม เล่าเรื่องที่ฟังและดู พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์ บอก และเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ เรียบเรียงคำเป็น ประโยคง่าย ๆ บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก ท่องจำ บทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ โดยใช้กระบวนการอ่าน การเขียน ฟัง พูดตอบคำถาม กระบวนการคิด การนำเสนอ และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย เห็นคุณค่าของการ อนุรักษ์ภาษาไทย และตัวเลขไทย สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕, ป.๑/๖, ป.๑/๗, ป.๑/๘ ท ๒.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓ ท ๓.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕ ท ๔.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔ ท ๕.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒ รวม ๕ มาตรฐาน ๒๒ ตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓๒ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท ๑๒๑๐๑ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกการอ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่าย ๆ อธิบายความหมาย ของคำและข้อความที่อ่าน ตั้งคำถามและตอบคำถาม ระบุใจความสำคัญและรายละเอียด แสดงความคิดเห็น และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน อ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน อ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย และปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อเสนอแนะ การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด เขียนเรื่อง สั้นเกี่ยวกับประสบการณ์ เขียนเรื่องสั้นตามจินตนาการ การฟังคำแนะนำ คำสั่งที่ซับซ้อนและปฏิบัติตามเล่า เรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง บอกสาระสำคัญของเรื่อง ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับ เรื่องที่ฟังและพูด พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและพูด พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตาม วัตถุประสงค์ การบอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย เขียนสะกดคำและบอกความหมาย ของคำ เขียนเรียงคำเป็นประโยคตรงตามเจตนาของการสื่อสาร บอกลักษณะคำคล้องจอง เลือกใช้ภาษาไทย มาตรฐานและภาษาถิ่นใต้เหมาะสมกับกาลเทศะ การระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือฟังวรรณกรรมสำหรับเด็ก เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ร้องบทเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น ท่องจำบทอาขยาน ตามที่กำหนด และบทร้อย กรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ โดยใช้กระบวนการอ่าน เขียน ฟัง พูด การสื่อความ กระบวนการคิดวิเคราะห์ตีความ สรุปความ การ แสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม การนำเสนอผลงาน เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย เห็นคุณค่าของการ อนุรักษ์ภาษาไทย และตัวเลขไทย สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕, ป.๒/๖, ป.๒/๗, ป.๒/๘ ท ๒.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔ ท ๓.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕ ป.๒/๖, ป.๒/๗ ท ๔.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕ ท ๕.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓ รวม ๕ มาตรฐาน ๒๗ ตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓๓ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท ๑๓๑๐๑ ภาษาไทย ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกการอ่านออกเสียง และบอกความหมายของคำ คล้องจอง ข้อความ บทร้อยกรองง่าย ๆ ตัวการันต์ คำที่มี ร หัน พยัญชนะและสระไม่ออกเสียง คำพ้อง คำพิเศษอื่น ๆ อ่านจับใจความ นิทานหรือเรื่อง เกี่ยวกับท้องถิ่น เรื่องเล่าสั้น ๆ บทเพลงและบทร้อยกรอง ข่าวเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันในท้องถิ่นและชุมชน อ่านหนังสือตามความสนใจ อ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย ปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำ ประกาศป้ายโฆษณา และ คำขวัญ อ่านข้อมูลจากแผนภาพ แผนที่ และแผนภูมิ มารยาทในการอ่าน การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด ตามรูปแบบการเขี่ยนตัวอักษรไทยเขียนบรรยายลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ บันทึกประจำวัน จดหมายลาครู เรื่องตามจินตนาการจากคำ ภาพ และหัวข้อที่กำหนด มารยาทาในการเขียนการจับใจความ และพูดแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิงเช่นเรื่องเล่า และ สารคดีสำหรับเด็ก นิทาน การ์ตูน เรื่องขบชัน รายการสำหรับเด็ก ข่าว และเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เพลง พูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน มารยาทในการฟัง พูด ดู การสะกดคำ แจกลูกอ่านเป็นคำ มาตราตัวสะกดที่ตรง และไม่ตรงตามมาตารา ผันอักษร คำควบกล้ำ คำที่มีอักษรนำ คำที่ประและไม่ประวิสรรชนีย์ คำที่ ฤ ฤา คำที่ใช้ บัน บรร คำที่ใช้ ร หัน คำที่มีตัวการันต์ ความหมายของคำ ชนิดของคำ การใช้พจนานุกรมแต่งประโยคสื่อสาร ภาษาถิ่น ระบุข้อคิดจากการอ่านวรรณคดี วรรณกรรม และเพลงพื้นบ้าน นิทานหรือเรื่องในท้องถิ่น เรื่องสั้น ง่าย 1 ปริศนาคำทาย บทร้อยกรอง เพลงพื้นบ้านเพลงกล่อมเด็ก วรรณกรรมและวรรณคดีในบทเรียนและตาม ความสนใจ โดยใช้กระบวนการปฏิบัติในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู การพูด และการใช้ภาษาไทยความรู้ ความคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตอย่างมีวิจารณญาณและสร้สามารถนำไปใช้ในชีวิต จริงได้ เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย เห็นคุณค่าของการ อนุรักษ์ภาษาไทย และตัวเลขไทยสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาขอพอเพียงและ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖, ป.๓/๗, ป.๓/๘, ป.๓/๙ ท ๒.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖ ท ๓.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖ ท ๔.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓๔ ท ๕.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔ รวม ๕ มาตรฐาน ๓๑ ตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓๕ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท ๑๔๑๐๑ ภาษาไทย ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว บทร้อยกรอง. อธิบายความหมายของคำ ประโยค สำนวน จากเรื่องที่อ่าน อ่านเรื่องสั้นแล้วสามารถตอบคำถามจากเรื่อง คาดคะเนเหตุการณ์ สรุปความรู้ข้อคิดจากเรื่องที่ อ่านอย่างมีเหตุผล อ่านหนังสือที่มีคุณค่าอย่างสม่ำเสมอ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านมารยาทในการ อ่านคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด ครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ เหมาะสมชัดเจน เขียนแผนภาพโครงเรื่อง แผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางาน เขียนย่อความเขียนบันทึก เขียน รายงานจากการศึกษาค้นคว้า เขียนเรื่องราวจากจินตนาการ มารยาทในการเขียน จำแนกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ความรู้สึก ตั้งคำถาม ตอบคำถาม รายงานเรื่อง จับประเด็นที่จะศึกษาจากการฟังการดู มีมารยาทใน การฟัง การดู และการพูดการสะกดคำ บอกความหมายของคำในบริบทต่าง ๆ ระบุชนิดและหน้าที่ของคำใน ประโยค ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ แต่งประโยคบทร้อยกรอง คำขวัญตามหลักภาษา และ ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ บอกความหมายของสำนวน เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นนิทาน พื้นบ้าน นิทานคติธรรม ร้องเพลงพื้นบ้าน บทอาขยาน บทร้อยกรอง อธิบายข้อคิดจากการอ่านเพื่อนำไปใช้ใน ชีวิตจริง โดยใช้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการอ่าน การเขียน กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการทางภาษา กระบวนการสื่อความ และกระบวนการทำงาน เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย เห็นคุณค่าของการ อนุรักษ์ภาษาไทยและตัวเลขไทย สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้วิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗, ป.๔/๘ ท ๒.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗, ป.๔/๘ ท ๓.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖ ท ๔.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗ ท ๕.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔ รวม ๕ มาตรฐาน ๓๓ ตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓๖ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท ๑๕๑๐๑ ภาษาไทย ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกการอ่านออกเสียงคำ ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว คำประพันธ์ชนิดต่างๆ การอ่านในใจ เพื่อสร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่านเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การเขียนสะกดคำตามอักชรวิธี การเขียนสื่อสารแบบต่าง การเขียนเรียงความย่อความ เขียนรายงานจากการ ค้นคว้า เขียนจากจินตนาการ เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ การพูดแสดงความคิดเห็นความรู้สึก พูดลำดับเรื่องราวต่างๆ อย่างมีเหตุผล การพูดในโอกาสต่างๆ ทั้งเป็น ทางการและไม่เป็นทางการ การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ ศึกษาธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทยการใช้ภาษาให้ ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล การแต่งบทคำประพันธ์ประเภทต่างๆ และอธิพลของภาษาต่างประเทศ ในภาษาไทย โดยรู้จักการวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิดคุณค่าของงานประพันธ์ และเพื่อความเพลิดเพลิน การเรียนรู้และทำความเข้าใจบทเห่ บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านเป็นภูมิปัญญา ที่มีคุณค่าของไทย เพื่อให้เกิดความรู้ นึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต และความ งดงามของภาษา เห็นคุณค่าของเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียน ภาษาไทย ถ่ายทอดความรู้สึกการอนุรักษ์ภาษาไทย และตัวเลขไทย สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยใช้วิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗, ป.๕/ ท ๒.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗, ป.๕/๘, ป.๕/๙ ท ๓.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕ ท ๔.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗ ท ๕.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔ รวม ๕ มาตรฐาน ๓๓ ตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓๗ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ท ๑๖๑๐๑ ภาษาไทย ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและฝึกการอ่านออกเสียงคำ ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว คำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ การอ่านใน ใจเพื่อสร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ จากสิ่งที่อ่าน การเขียนสะกดคำตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ การเขียนเรียงความ ย่อความ เขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า เขียนตาม จินตนาการ เขียนวิเคราะห์วิจารณ์ และเขียนเชิงสร้างสรรค์ การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ การพูดแสดง ความคิดเห็นความรู้สึก พูดลำดับเรื่องราวต่าง ๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล การพูดในโอกาสต่าง ๆ ทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ และพูดเพื่อโน้มน้าวใจ ศึกษาธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษาให้ถูกต้อง เหมาะสมกับโอกาสและบุคคล การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่าง ๆ และอิทธิพลของภาษาต่างประเทศใน ภาษาไทย วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิดคุณค่าของงานประพันธ์ และเพื่อ ความเพลิดเพลิน การเรียนรู้และทำความเข้าใจ บทเห่ บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้าน ที่เป็นภูมิปัญญาที่มี คุณค่าของไทย ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีตและ ความงดงามของภาษา เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง และภูมิใจในบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสิบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยกระบวนการอ่าน เขียน พูด การสื่อความ กระบวนการคิดวิเคราะห์ ตีความสรุปความ การ แสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย เห็นคุณค่าของการ อนุรักษ์ภาษาไทย และตัวเลขไทย สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้วิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙ ท ๒.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙ ท ๓.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖ ท ๔.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖ ท ๕.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔ รวม ๕ มาตรฐาน ๓๔ ตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓๘ คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๓๙ โครงสร้างหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาพื้นฐาน ที่ รหัสวิชา ชื่อวิชา ระดับชั้น จำนวนชั่วโมง/ปี ๑ ค ๑๑๑๐๑ คณิตศาสตร์๑ ป.๑ ๒๐๐ ๒ ค ๑๒๑๐๑ คณิตศาสตร์๒ ป.๒ ๒๐๐ ๓ ค ๑๓๑๐๑ คณิตศาสตร์๓ ป.๓ ๒๐๐ ๔ ค ๑๔๑๐๑ คณิตศาสตร์๔ ป.๔ ๑๖๐ ๕ ค ๑๕๑๐๑ คณิตศาสตร์๕ ป.๕ ๑๖๐ ๖ ค ๑๖๑๐๑ คณิตศาสตร์๖ ป.๖ ๑๖๐
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๔๐ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ค ๑๑๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา บอกจำนวนของสิ่งต่าง ๆ แสดงสิ่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่กำหนด อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย แสดงจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐ และ ๐ เปรียบเทียบจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐ และ ๐ โดยใช้ เครื่องหมาย = ≠ > < เรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐ และ ๐ ตั้งแต่ ๓ ถึง ๕ จำนวน หาค่าของตัวไม่ทราบ ค่าในประโยคสัญลักษณ์ แสดงการบวกและประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบของจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐ และ ๐ ระบุจำนวนที่หายไปในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละ ๑ และทีละ ๑๐ และระบุรูปที่ หายไปในแบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ ที่สมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำมี ๒ รูป วัดและเปรียบเทียบความยาวเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร วัดและเปรียบเทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็น ขีด และใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน จำแนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา เมื่อกำหนดรูป ๑ รูป แทน ๑ หน่วย รหัสตัวชี้วัด ค ๑.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕ ค ๑.๒ ป.๑/๑ ค ๒.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒ ค ๒.๒ ป.๑/๑ ค ๓.๑ ป.๑/๑ รวม ๕ มาตรฐาน ๑๐ ตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๔๑ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ค ๑๒๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา บอกจำนวนของสิ่งต่าง ๆ แสดงสิ่งต่าง 1 ตามจำนวนที่กำหนด อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยตัวหนังสือแสดงจำนวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ เปรียบทียบจำนวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ โดยใช้เครื่องหมาย = * > < เรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ ตั้งแต่ ๓ ถึง ๕ จำนวนจาก สถานการณ์ต่าง ๆ หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวกและประโยคสัญลักษณ์แสดง การลบของจำนวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ หาค่าของตัวไม่ทราบค่าประโยคสัญลักษณ์แสดงการคูณของ จำนวน ๑ หลักกับจำนวนไม่เกิน ๒ หลักหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการหารที่ตัวตั้งไม่ เกิน 6 หลัก ตัวหาร ๑ หลัก โดยที่ผลหารมี ๑ หลักทั้งหารลงตัวและหารไม่ลงตัว หาผลลัพธ์การบวก ลบ คูณ หารระคน ของจำนวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ o แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหา ๒ ขั้นตอน ของจำนวน นับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาที่มีหน่วยเดี่ยวและเป็นหน่วยเดียวกัน วัดและ เปรียบเทียบความยาวเป็นเมตรและเซนติเมตร พร้อมทั้งแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวก การลบ เกี่ยวกับความยาวหน่วยเป็นเมตรและเชนติเมตร วัดและเปรียบเทียบน้ำหนักกิโลกรัมและกรัม กิโลกรัมและขีด แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวก การลบเกี่ยวกับน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัมและกรัม กิโลกรัม และขีดวัดและเปรียบเทียบปริมาตรและความจุเป็นลิตร จำแนกและบอกลักษณะของรูปหลายเหลี่ยมและวงกลม ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเมื่อกำหนดรูป ๑ รูป แทน ๒ หน่วย ๕ หน่วยหรือ ๑๐ หน่วย มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ค ๑.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕, ป.๒/๖, ป.๒/๗, ป.๒/๘ ค ๒.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕, ป.๒/๖ ค ๒.๒ ป.๒/๑ ค ๓.๑ ป.๒/๑ รวม ๔ มาตรฐาน ๑๖ ตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๔๒ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ค ๑๓๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๒๐๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา อ่านและเขียน ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ แสดงจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ และ ๐ เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ และ ๐ จากสถานการณ์ต่าง ๆ บอก อ่าน และ เขียนเศษส่วนที่แสดงปริมาณสิ่งต่าง ๆ และแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามเศษส่วนที่กำหนด เปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัว เศษเท่ากัน โดยที่ตัวเศษน้อยกว่าหรือเท่ากับตัวส่วน หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการ บวกและการลบของจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ และ ๐ หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดง การคูณของจำนวน ๑ หลักกับจำนวนไม่เกิน ๔ หลัก และจำนวน ๒ หลักกับจำนวน ๒ หลัก หาค่าของตัวไม่ ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการหารที่ตัวตั้งไม่เกิน ๔ หลัก ตัวหาร ๑ หลัก และหาผลลัพธ์การบวก ลบ คูณ หารระคน และแสดงวิธีการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา ๒ ขั้นตอน ของจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ และ ๐ หาผลบวกและแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวกของเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากันและผลบวกไม่เกิน ๑ และหาผลลบพร้อมทั้งแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการลบของเสษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน ระบุจำนวนที่หายไปในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่า ๆ กัน แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเงิน เวลา และระยะเวลา เลือกใช้เครื่องมือความ ยาวที่ เหมาะสมวัดและบอกความยาวของสิ่งต่าง ๆ เป็นเซนติเมตรและมิลลิเมตร เมตรและเชนติเมตร คาดคะเน ความยาวเป็นเมตรและเป็นเซนติเมตร เปรียบเทียบความยาวระหว่างเซนติเมตรกับมิลลิเมตร เมตรกับ เซนติเมตร กิโลเมตรกับเมตร จากสถานการณ์ต่าง ๆ แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวที่มี หน่วยเป็นเซนติเมตรและมิลลิเมตร เมตรและเซนติเมตร กิโลเมตรและเมตร เลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม วัด และบอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและขีด กิโลกรัมและกรัม คาดคะเนน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและเป็นขีด เปรียบเทียบ น้ำหนักและแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัมกับกรัม เมตริกต้นกับ กิโลกรัม จากสถานการณ์ต่าง ๆ เลือกใช้เครื่องตวงที่เหมาะสม วัดและเปรียบเทียบปริมาตรความจุเป็นลิตร และมิลลิลิตร คาดคะเนปริมาตรและความจุเป็นลิตร และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตร และความจุที่มีหน่วยเป็นลิตรและมิลลิเมตรระบุรูปเรขาคณิตสองมิติที่มีแกนสมมาตรและจำนวนแกนสมมาตร เขียนแผนภูมิรูปภาพ และใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา เขียนตารางทางเดียว จากข้อมูลที่เป็นจำนวนนับ และใช้ข้อมูลจากตารางทางเดียวในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๔๓ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ค ๑.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖, ป.๓/๗, ป.๓/๘, ป.๓/๙,ป.๓/๑๐ ,ป.๓/๑๑ ค ๑.๒ ป.๓/๑ ค ๒.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖, ป.๓/๗, ป.๓/๘, ป.๓/๙, ป.๓/๑๐, ป.๓/๑๑,ป.๓/๑๒, ป.๓/๑๓ ค ๒.๒ ป.๓/๑ ค ๓.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒ รวม ๕ มาตรฐาน ๒๘ ตัวชี้วัด
หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งยาว ๔๔ คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ค ๑๔๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยและตัวหนังสือแสดงจำนวนนับที่มากกว่าเปรียบเทียบและ เรียงลำดับจำนวนนับที่มากกว่า๑๐๐,๐๐๐จากสถานการณ์ต่าง ๆ บอก อ่าน และเขียนเศษส่วนจำนวนคละ แสดงปริมาณสิ่งต่าง ๆ และแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามเศษส่วน จำนวนคละที่กำหนด เปรียบเทียบ เรียงลำดับ เศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนตัวหนึ่งเป็นพหุคูณของอีกตัวหนึ่ง อ่านและเขียนทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง แสดงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ และแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามทศนิยมที่กำหนด เปรียบเทียบและเรียงลำดับทศนิยมไม่ เกิน ตำแหน่งจากสถานการณ์ต่าง ๆ ประมาณผลลัพธ์ของการบวก การลบการคูณ การหาร จากสถานการณ์ ต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวกและการลบของจำนวน ๑๐๐.๐๐๐ และ ๐ หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการคูณของจำนวนหลายหลัก ๒จำนวน ที่มีผลคูณ์ไม่เกิน๖หลักและประโยคสัญลักษณ์แสดงการหารที่ตัวตั้งไม่เกินอหลักตัวหารไม่เกิน6หลักหาผลลัพธ์ การบวกลบคูณหารระคน ของจำนวนนับและ0แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหา ๒ ขั้นตอนของจำนวนนับที่ มากกว่า๑๐๐,๐๐๐และo สร้างโจทย์ปัญหา ๒ ขั้นตอนของจำนวนนับ และ 0 พร้อมทั้งหาคำตอบ หาผลบวก ผลลบของเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนตัวหนึ่งเป็นพหุคูณของอีกตัวหนึ่ง แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ ปัญหาการบวกและการลบเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนตัวหนึ่งเป็นพหุคูณของอีกตัวหนึ่ง หาผลบวก ผล ลบของทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่งและแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวก การลบ ๒ ขั้นตอนของ ทศนิยมไม่เกิน ๓ ตำแหน่ง แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา วัดและสร้างมุมโดยใช้โพรแทรกเตอร์ แสดงวิธีหา คำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก จำแนกชนิดของมุม บอกชื่อ มุมส่วนประกอบของมุมและเขียนสัญลักษณ์แสดงมุม สร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากเมื่อกำหนดความยาวของด้าน ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิแห่ง ตารางสองทางในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ค ๑.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗, ป.๔/๘, ป.๔/๙, ป.๔/๑๐, ป.๔/๑๑, ป.๔/๑๒, ป.๔/๑๓, ป.๔/๑๔, ป.๔/๑๕, ป.๔/๑๖ ค ๒.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓ ค ๒.๒ ป.๔/๑, ป.๔/๒ ค ๓.๑ ป.๔/๑ รวม ๔ มาตรฐาน ๒๒ ตัวชี้วัด