The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

SAR รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา-โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก-2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by งานวิชาการ, 2023-02-12 03:39:12

SAR รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา-โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก-2564

SAR รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา-โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก-2564

~ 1 ~


~ 1 ~ รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Self – Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


-กรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 คำนำ รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ฉบับนี้ จัดทำขึ้นตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ 2561 ข้อ 3 ที่ระบุให้สถานศึกษาจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่ หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ตามมาตรฐานการศึกษาที่สะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากการบริหารจัดการศึกษาที่ สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 มาตรฐาน ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการบริหารและการจัดการ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อนำเสนอ รายงานผลการจัดการศึกษาในรอบปีต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเผยแพร่ต่อสาธารณชน ได้รับทราบ และเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษา และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ต่อไป ในการนี้ ขอขอบคุณคณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 ฉบับนี้ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารรายงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ในปีการศึกษา 2565 ต่อไป (นายสว่าง ชินพงษ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก 17 พฤษภาคม 2565


-ขรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ....................................................................................................................................................................ก สารบัญ .................................................................................................................................................................ข บทสรุปสำหรับผู้บริหาร..........................................................................................................................................ง ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา................................................................................................................1 1. ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา............................................................................................................................1 2. ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา.....................................................................................................................3 3. ข้อมูลนักเรียน ..............................................................................................................................................5 4. โครงสร้างการบริหาร....................................................................................................................................6 5. ข้อมูลอาคารสถานที่.....................................................................................................................................6 6. ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา ......................................................................................7 7. ผลการประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรสถานศึกษา.....................................................................................9 8. ผลการประเมินการทดสอบระดับชาติ.........................................................................................................10 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา..................................................................................................18 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน...................................................................................................................18 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ.......................................................................................35 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.........................................................51 ส่วนที่ 3 สรุปผล จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น .....................................61 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน..................................................................................................................61 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ.........................................................................................72 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ........................................................79 สรุปมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับขั้นพื้นฐานการศึกษาโดยภาพรวมทั้ง 3 มาตรฐาน ..................85


-ครายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า ส่วนที่ 4 ภาคผนวก.............................................................................................................................................99 ผลงานดีเด่นในรอบปีที่ผ่านมา ........................................................................................................................99 ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน ตามตัวชี้วัด...........................................................108 ประกาศมาตรฐานและค่าเป้าหมาย...............................................................................................................119 คำสั่ง คณะทำงาน.........................................................................................................................................126 บันทึกให้ความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ................................................................131 แผนกลยุทธ์..................................................................................................................................................133 แผนปฏิบัติการประจำปี2564......................................................................................................................134 ภาพถ่ายแต่ละมาตรฐาน...............................................................................................................................135 เกียรติบัตร....................................................................................................................................................136


-งรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 จัดการศึกษา เป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีจำนวนนักเรียน ทั้งหมด 1,398 คน และบุคลากรทางการศึกษาทั้งสิ้น 91 คน แบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ครู76 คน และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ 10 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2564) โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ยึดหลักการบริหารตามวงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA ในทุกกระบวนการ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งบุคลากรภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อให้โรงเรียนสามารถดำเนินงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด ใช้รูปแบบการบริหารโดยการกระจายอำนาจการบริหาร แบ่งโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนเป็น 4 ฝ่ายงาน ได้แก่ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ซึ่งในแต่ละฝ่ายงานจะมีทีมงานในการขับเคลื่อนการดำเนินงานต่าง ๆ ภายในฝ่ายนั้น ๆ และด้วยโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวนนักเรียน ครูและบุคลากร ทางการศึกษามีจำนวนมาก เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างครอบคลุม จึงมีการบริหารงาน ในรูปแบบการ กระจายอำนาจการบริหารออกเป็นสายชั้น ภายใต้การดูแลของหัวหน้าสายชั้นในแต่ละระดับชั้น นอกจากนี้แล้วโรงเรียนยังพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 พัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้จัดโครงการและ กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ตลอดจนปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สามารถดำเนินชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สรุปมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาของระดับขั้นพื้นฐาน 1. ระดับคุณภาพของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับดีเลิศ 2. วิธีการพัฒนา ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง 2.1 วิธีการพัฒนา ทั้ง 3 มาตรฐาน โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก กำหนดมาตรฐานการศึกษาและค่าเป้าหมายความสำเร็จตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นปัจจุบัน และได้ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาและค่าเป้าหมายความสำเร็จตาม มาตรฐานการศึกษา ทั้ง 3 มาตรฐาน กระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพ เชิงระบบและวงจรเดรมมิ่ง (DEMING CYCLE) เป็นวงจร P - D - C - A ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่าย เน้นการกระจายอำนาจการบริหารและการสื่อสารในองค์กร เพื่อการขับเคลื่อนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เริ่มจาก การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (แผนกลยุทธ์) และจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีของ สถานศึกษา ในการดำเนินการตามแผน โรงเรียนให้ความสำคัญกับการพัฒนางานวิชาการที่เป็นหัวใจสำคัญของ การบริหารจัดการศึกษา โดยการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและปรับเปลี่ยนรูปแบบ


-จรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน รอบด้านและครบทุกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ จัดสภาพแวดล้อมและสังคมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบ Online และพร้อมสำหรับการเปิดเรียน ในรูปแบบ Onsite อีกทั้งโรงเรียนยังจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดเรียนรู้ การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ และการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน กระบวนการบริหารและจัดการที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้ครูสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการจัดการเรียนรู้ ที่หลากหลายตามศักยภาพและความพร้อมของผู้เรียน ผ่านกระบวนการคิด การลงมือปฏิบัติจริง โดยจัดเนื้อหาให้ มีความยืดหยุ่น เน้นเนื้อหาที่มีความจำเป็น และเสริมทักษะชีวิตที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Online และ On demand ครูทุกคนจึงสร้างสื่อและนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้น เรียนเชิงบวก สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ไม่ตึงเครียด มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ใช้วิธีการประเมินที่มีความยืดหยุ่น และอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การเรียนรู้ของผู้เรียน อีกทั้งโรงเรียนยังส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างเพื่อนครู ถึงวิธีการ ปัญหา และการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อนำผล ที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นผลโดยตรงจากกระบวนการบริหารจัดการ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยทางโรงเรียนได้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้ง 2 ด้าน ผ่านการจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ และการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยเน้นให้ผู้เรียนทุกคน อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาณ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด ผ่านการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดและสร้างสรรค์ชิ้นงานอย่างอิสระ สนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าร่วมการ แข่งขันและการสอบต่าง ๆ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน การสำนึกในความเป็นไทยและวิถีชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข โดยสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อีกทั้งโรงเรียนมีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาและผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ 2.2 ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง ทั้ง 3 มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับ ดีเลิศ พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดประเภทต่าง ๆ การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด จากการจัดการเรียนรู้ในสถานการ์การแพร่ระบาดเชื้อของโควิด-19 ส่งผล ให้ผู้เรียนบางส่วนเกิดภาวะถดถอยทางการเรียน อาจเนื่องจากการขาดความพร้อมในการเรียนรู้ในรูปแบบ


-ฉรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 Online และ On demand ในเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน สัญญาณอินเตอร์เน็ต และที่สำคัญความพร้อม ของผู้ปกครอง เพราะการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบดังกล่าวเป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้บ้านเป็นฐาน ผู้ปกครองจึง เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียน เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิผล โดยการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้การช่วยจัดเวลาหรือจัดตารางในการเรียนรู้ และคอย ดูแลเอาใจใส่ผู้เรียน โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ผู้ปกครองบางส่วนจำเป็นต้องประกอบอาชีพ จึงไม่สามารถช่วยเหลือหรือ ดูแลผู้เรียนเท่าที่ควร จึงส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย 82.15 ซึ่งน้อยกว่าปีการศึกษา 2563 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับดีเลิศ โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก มีการจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ อย่างชัดเจน มีแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปีที่มีประสิทธิภาพ และพร้อมปรับรูปแบบการบริหาร จัดการให้เป็นไปตามสภาวการณ์ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้โรงเรียนสามารถดำเนินการจัดการเรียน การสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้อย่างเต็มที่ จนทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาและ สถานศึกษาได้รับรางวัล เช่น รางวัลพระพฤหัสบดี ประจำปี พ.ศ. 2564 รางวัลชนะเลิศเหรียญทองผู้อำนวยการ สถานศึกษายอดเยี่ยมระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ ด้านวิชาการ การประกวดรางวัลหน่วยงานและผู้มีผลงาน ดีเด่นประสพผลเป็นที่ประจักษ์ เพื่อรับรางวัลผู้ทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 ระดับภาคใต้รางวัลสถานประกอบการ สถานศึกษา สะอาดปลอดภัย ป้องกัน COVID-19 ผ่านมาตรฐาน ประเภท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รางวัลชนะเลิศ ผลการจัดอันดับการลงข่าวผ่าน หน้าเว็บ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565เป็นต้น มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม เนื่องด้วยครูเป็นปัจจัยหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ครูจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเดิม ๆ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Online และ On demand ซึ่งครูทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ ส่วนครูบางคนที่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีได้ มีการปรับตัว พร้อมเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี และจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่อยทอดความรู้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้จากหลักสูตรสถานศึกษา เอกสารประกอบหลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ บันทึกหลังแผนการจัดการเรียนรู้ คลังสื่อ รายงานการวิจัยในชั้นเรียน แบบบันทึกการนิเทศชั้นเรียนออนไลน์ แบบบันทึกการนิเทศการจัดการเรียนรู้ออนไลน์คู่มือวัดและประเมินผล บันทึกชุมชนแห่งการเรียนรู้กลุ่มสาระการ เรียนรู้ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ครูให้ความสำคัญในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ในทุกสภาวการณ์ จนทำให้ครูหลาย ๆ ท่าน ได้รับรางวัลครูผู้สอนดีเด่น


-ชรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 3. จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา แผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา นักเรียนส่วนใหญ่อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น ในระดับชั้นของตนเอง สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ได้อย่างถูกต้อง มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้ในการเรียนรู้ออนไลน์ อีกทั้งโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก มีการบริหารและ การจัดการที่เป็นระบบ แบ่งงานอย่างชัดเจน โดยคำนึง ความเหมาะสม เน้นการกระจายอำนาจและการมี ส่วนร่วมของทุกฝ่ายทุกระดับ มีเครือข่ายเชิงพื้นที่ ที่พร้อมให้การสนับสนุนโรงเรียน โรงเรียนมีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่พร้อม ต่อการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการอย่างมี ประสิทธิภาพ มีแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาที่พร้อม ต่อการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ครูมีความพร้อมในเรื่องของความรู้ กระบวนการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วม ในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาและ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ มากขึ้น โรงเรียนต้องมีความพร้อมในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในทุกสถานการณ์ และจัดให้มีการบูรณาการ ความรู้ และมีความหลากหลาย เพื่อใให้ผู้เรียนสามารถ เลือกเรียนได้ตามความถนัดและความสนใจ ในการบริหารงานทั้ง 4 ฝ่ายงาน จะต้องมีตาราง การดำเนินงานที่ชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ เพื่อครูและ บุคลากรจะได้พร้อมในการปฏิบัติ แผนการพัฒนาคุณภาพ สร้างพื้นฐานนักเรียนในทุกระดับชั้นให้สามารถอ่านออกเขียนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเน้นการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เชิงรุก ที่มุ่งพัฒนาการอ่านและการเขียนเป็นสำคัญ เริ่มต้นจากการแจกลูกสะกดคำ ไปเรื่อย ๆ และ มีการกำหนดเป้าหมายเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในระหว่างทาง และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ บุคลากรต้องการที่จะพัฒนาต่อไป จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้ตามความถนัดและ ความสนใจของตนเอง เน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม พัฒนากระบวนการคิด ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เผยแพร่ผลงานของตนเองในช่องทางต่าง ๆ และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขนิสัยในการ ดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง รู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโควิด-19 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยคำนึงถึงศักยภาพ ของผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น การสอนแบบ PBL Open Approach เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพ ของตนเองอย่างเต็มที่ รวมทั้งพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อให้สามารถ นำผลการวิจัยไปพัฒนาหรือต่อยอดได้อย่างแท้จริง


-1- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 1. ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไป ชื่อโรงเรียน บ้านสุไหงโก-ลก ที่ตั้ง 18 ถนนเทศปฐม ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 โทรศัพท์ 0-7361-1127 โทรสาร 0-7361-4044 e-mail [email protected] website http://www.bskschool.ac.th เปิดสอน ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน เขตพื้นที่บริการ - วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พันธกิจ 1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันโดยพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะวิชาการ ทักษะ ชีวิต ทักษะวิชาชีพ คุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 3. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 4. สนับสนุนผู้เรียนให้มีโอกาสทางการศึกษาได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน 5. พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการ และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัด การศึกษา 6. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ 7. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง 8. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของสถานศึกษาและรองรับการพัฒนาเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษและเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”


-2- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 อัตลักษณ์ สุขภาพดี เรียนดี เพียรทำดี เอกลักษณ์ รักการเรียนรู้ 2) สภาพแวดล้อมภายนอกของชุมชน โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ซึ่งอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นเมือง ชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ราษฎรจึงได้รับอิทธิพลทางด้านภาษา ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมประเพณี และมีจารีตอิสลาม ประชากรในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณร้อยละ 75 ส่วนศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ ประมาณร้อยละ 25 ด้านวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของประชาชนจังหวัดนราธิวาส สำหรับชาวไทยที่นับถือ ศาสนาพุทธ มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันไม่แตกต่างไปจากจังหวัดอื่น ๆ เช่น การแต่งกาย การขึ้นบ้านใหม่ วันสงกรานต์ การบวชนาค วันออกพรรษา ประเพณีเดือนสิบ (วันสารทไทย) เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา ปลูกผัก และไม้ผลยืนต้น ทำนาข้าว และทำการปศุสัตว์แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นลักษณะการผลิตแบบยังชีพ และบางส่วน ประกอบอาชีพธุรกิจค้าขายและรับจ้างในธุรกิจและในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชากรในเขตเมือง โดยมีการค้า 2 รูปแบบ ได้แก่ ธุรกิจการค้าและบริการภายในเขตเทศบาล เป็นการค้าปลีกและค้าส่งตามปกติ และการค้าชายแดนระหว่างประเทศ สินค้าออกจากด่านสุไหงโก-ลกไปยังประเทศมาเลเซียจะเป็นผลไม้สด เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน ส่วนสินค้านำเข้าจะเป็นไม้แปรรูปและขนมปังกรอบ ด้านการเมือง การปกครอง และกฎหมาย โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรสุไหงโก-ลก และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นคือ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก


-3- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 2. ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน ชื่อ-สกุล นายสว่าง ชินพงษ์ โทรศัพท์ 081-9570683 e-mail [email protected] วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท สาขา การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ 18 พฤษภาคม 2561 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 2 ปี11 เดือน 2) รองผู้อำนวยการโรงเรียน 2.1ชื่อ-สกุล นางสาวมาฤดี บุญทองใหม่ วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท สาขา การบริหารการศึกษา โทรศัพท์ 091-4409564 e-mail [email protected] 2.2ชื่อ-สกุล นางสาวลภัสรดา มากชู วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท สาขา การบริหารการศึกษา โทรศัพท์ 093-5838761 e-mail [email protected] 2.3ชื่อ-สกุล นางรังสิพร เดชเชียร วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท สาขา การบริหารการศึกษา โทรศัพท์ 087-1602265 e-mail [email protected] 2.4ชื่อ-สกุล นางสาวสิริกัลยา โพธิ์พันธ์ วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท สาขา การบริหารการศึกษา โทรศัพท์ 082-7061028 e-mail [email protected] 3) ผู้รับผิดชอบงานประกันตามโครงสร้างงานประกันของสถานศึกษา ชื่อ-สกุล นางสาวตอยีบะห์ ยามา เบอร์โทร 093-6672387 4) จำนวนบุคลากร 5) สาขาวิชาที่จบการศึกษาและภาระงานสอน สาขาวิชา จำนวน (คน) ภาระงานสอนเฉลี่ยของครู1 คน ในแต่ละสาขาวิชา (ชม./สัปดาห์) 1. การบริหารการศึกษา 11 19.5 2. กฎหมายอิสลาม 2 21.5 3. การจัดการทั่วไป 1 21.5 บุคลากร ทั้งหมด (คน) ผู้บริหาร (คน) ครูผู้สอน (คน) พนักงานราชการ (คน) ครูอัตราจ้าง รวมครูต่างชาติ (คน) เจ้าหน้าที่อื่นๆ (คน) 91 5 59 12 5 10


-4- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 สาขาวิชา จำนวน (คน) ภาระงานสอนเฉลี่ยของครู1 คน ในแต่ละสาขาวิชา (ชม./สัปดาห์) 4. การบริหารธุรกิจ(บัญชี) 1 21.5 5. การบัญชี 1 21.5 6. การประถมศึกษา 8 20.5 7. การวิจัยและประเมิน 1 22.5 8. เกษตร 1 20.5 9. คณิตศาสตร์ 8 22.5 10. คอมพิวเตอร์ศึกษา 2 22.5 11. ชีววิทยา 2 21.5 12. ดนตรี 1 22.5 13. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 4 21.5 14. เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา 2 21.5 15. ไทยคดีศึกษา 1 22.5 16. ธุรกิจศึกษา 1 19.5 17. นาฏศิลป์ 2 22.5 18. พลศึกษา 2 19.5 19. ภาษาไทย 7 22.5 20. ภาษาอังกฤษ 12 22.5 21. รัฐศาสตร์ 1 21.5 22. วิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 21.5 23. วิทยาศาสตร์ทั่วไป 2 21.5 24. วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 1 21.5 25. ศิลปกรรม 1 22.5 26. ศิลปศึกษา 1 22.5 27. สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 1 21.5 28. สื่อสารมวลชน 1 22.5 29. สุขศึกษา 1 19.5 30. อิสลามศึกษา 1 22.5 รวม 81


-5- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 3. ข้อมูลนักเรียน 3.1 ข้อมูลนักเรียน จำนวนนักเรียนปีการศึกษา 2564 รวม 1,398 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2564) ระดับชั้นเรียน จำนวนห้อง เพศ รวม เฉลี่ย ชาย หญิง ต่อห้อง ป.1 6 100 102 202 33 ป.2 6 110 129 239 39 ป.3 6 121 134 255 42 ป.4 6 121 118 239 39 ป.5 6 110 126 236 39 ป.6 6 103 123 226 37 รวม 36 666 732 1,397 3.2 ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (คน) จำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา (คน) 2564 226 226 1441 1443 1397 1360 1380 1400 1420 1440 1460 ปีการศึกษา 2562 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564 เปรียบเทียบจ านวนนักเรียนระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2562-2564 ปีการศึกษา 2562 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564


-6- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 4. โครงสร้างการบริหาร 5. ข้อมูลอาคารสถานที่ อาคาร / รูปแบบ สร้างเมื่อ พ.ศ. จำนวน หลัง ห้อง / ที่ / ถัง อาคารเรียน - อาคารถาวร แบบ 004 - อาคารถาวร แบบ 004 - อาคารถาวร แบบ อื่น ๆ - อาคารถาวร แบบ สปช. 2/28 - อาคารถาวร แบบ สปช. 2/28 - อาคารถาวร แบบ สปช. 2/28 - อาคารถาวร แบบ 216 ปรับปรุง 46 อาคารประกอบ - อาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 206/26 - สนามบาสเกตบอล - บ้านพักครู แบบ อื่น ๆ - บ้านพักครู แบบ สปช. 301/26 - บ้านพักครู แบบ อื่น ๆ 2502 2508 2519 2533 2538 2553 2556 2529 2563 2526 2525 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 2 14 8 28 18 18 12 16 1 2 2 นางปริชญา มาสินธุ์


-7- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 อาคาร / รูปแบบ สร้างเมื่อ พ.ศ. จำนวน หลัง ห้อง / ที่ / ถัง - ส้วม แบบ สปช. 601/26 - ส้วม แบบ สปช. 602/26 - ส้วม แบบ สปช. 602/26 - ส้วม แบบ สปช. 602/26 สาธารณูปโภค - น้ำประปา - ไฟฟ้า 2539 2541 2542 2546 - - 1 1 1 1 3 มิเตอร์ 3 มิเตอร์ 9 8 4 4 - - 6. ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา 6.1 แหล่งเรียนรู้ภายใน 1) ห้องสมุด จำนวน 1 ห้อง 2) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ห้อง 3) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง 4) ร้านกิจกรรมสหกรณ์ จำนวน 1 ห้อง 5) ห้องนาฏศิลป์ จำนวน 1 ห้อง 6) ห้องดนตรีไทย จำนวน 1 ห้อง 7) ห้องพยาบาล คลินิกลูกรัก จำนวน 1 ห้อง 8) ห้องเรียนสีเขียว จำนวน 1 ห้อง 9) ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จำนวน 1 ห้อง 10) ศูนย์ควบคุมระบบเครือข่าย จำนวน 1 ห้อง 11) เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT CENTER จำนวน 1 ห้อง 12) ห้องศูนย์เรียนรวม จำนวน 1 ห้อง 13) ห้องรับรองนักแสดง จำนวน 1 ห้อง 14) ห้องละหมาด จำนวน 2 ห้อง 15) ห้องพุทธศาสนา จำนวน 2 ห้อง 16) ห้องกิจการลูกเสือ จำนวน 1 ห้อง


-8- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 17) ห้องกระจายเสียงม่วง-ขาว จำนวน 1 ห้อง 18) ห้องคาราโอเกะเพื่อการสื่อสาร จำนวน 1 ห้อง 19) ห้อง BSK WORD จำนวน 1 ห้อง 20) ห้องสมุดอนุบาล จำนวน 1 ห้อง 21) ห้องอินเทอร์เน็ตอนุบาล จำนวน 1 ห้อง 22) BSK COFFEE จำนวน 1 ห้อง 23) ห้องสืบค้นข้อมูล จำนวน 1 ห้อง 24) สนามบาส จำนวน 1 สนาม 25) ร้านไอศกรีม จำนวน 1 ห้อง 6.2 แหล่งเรียนรู้ภายนอก 1) ศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ 2) พระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ 3) TK-PARK จังหวัดนราธิวาส 4) พิพิธภัณฑ์นราธิวาส 5) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาส 6) ศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ 7) ป่าพรุสิรินธร 8) วัดชลเฉลิมเขต 9) วัดทองดีประชาราม 10) วัดโก-ลกเทพวิมล


-9- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 7. ผลการประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรสถานศึกษา 1) ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา เปรียบเทียบ 3 ปีการศึกษา ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2562 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564 คะแนนเฉลี่ย 85.69 85.79 82.15 2) ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชา จำแนกตามระดับชั้น ปีการศึกษา 2564 ชั้น จำนวน นร. ภาษาไทย คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ สังคมฯ ประวัติศาสตร์ สุข ศึกษา ศิลปะ การ งาน อังกฤษ เฉลี่ย พื้นฐาน (คน) % % % % % % % % % % ป.1 202 91.01 90.42 79.46 91.01 85.92 86.78 95.26 84.27 87.32 87.94 ป.2 239 82.96 86.37 79.42 82.76 85.18 90.94 88.90 81.76 83.40 84.63 ป.3 255 80.48 75.83 78.65 83.62 82.24 86.64 86.65 86.40 78.82 82.15 ป.4 239 81.89 80.76 77.52 84.64 80.18 83.39 87.50 85.59 79.28 82.31 ป.5 236 76.07 73.12 73.97 79.33 78.04 81.67 85.28 85.34 78.23 79.01 ป.6 226 71.29 71.24 74.35 79.59 74.60 83.17 77.73 83.37 71.24 76.29 รวม 1,397 483.70 477.74 463.37 500.95 486.16 512.59 521.32 506.73 478.29 492.32 เฉลี่ย 80.62 79.62 77.23 83.49 81.03 85.43 86.89 84.46 79.72 82.05 85.69 85.79 82.15 0 20 40 60 80 100 ปีการศึกษา 2562 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา คะแนนเฉลี่ย


-10- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 8. ผลการประเมินการทดสอบระดับชาติ 1) ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่1 จำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ 138 คน การเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ปีการศึกษา 2562-2564 สมรรถนะ ปี การอ่านออกเสียง การอ่านรู้เรื่อง รวม 2 สมรรถนะ ปี 2562 68.00 70.11 69.05 ปี 2563 72.95 66.28 69.62 ปี 2564 71.37 68.05 69.71 68 70.11 69.05 72.95 66.28 71.37 68.05 69.62 69.71 0 20 40 60 80 100 การอ่านออกเสียง การอ่านรู้เรื่อง รวม 2 สมรรถนะ ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564


-11- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่1 ปีการศึกษา 2564 เปรียบเทียบกับระดับจังหวัด และระดับประเทศ จำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ 138 คน การอ่านออกเสียง การอ่านรู้เรื่อง รวม 2 สมรรถนะ ระดับโรงเรียน 71.37 68.05 69.71 ระดับจังหวัด 38.68 60.06 49.37 ระดับประเทศ 69.95 72.79 71.38 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ปีการศึกษา 2564 เปรียบเทียบกับระดับจังหวัด และระดับประเทศ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง การอ่านออกเสียง 57.24 19.56 10.86 12.31 การอ่านรู้เรื่อง 37.68 48.55 11.59 2.17 รวม 2 ด้าน 52.17 27.53 17.39 2.89 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ปีการศึกษา 2564 จ าแนกตามระดับคุณภาพ


-12- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 2) ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(NT) จำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ 148 คน (ปกติ : 144 คน, พิเศษ : 4 คน) การเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(NT) ปีการศึกษา 2562-2564 ความสามารถ ปี ด้านภาษาไทย ด้านคณิตศาสตร์ รวม ปี 2562 52.5 55.62 53.90 ปี 2563 48.70 41.57 45.13 ปี 2564 55.56 46.00 50.78 52.5 55.62 53.90 48.70 41.57 45.13 55.56 46 50.78 0 20 40 60 80 100 ด้านภาษาไทย ด้านคณิตศาสตร์ รวม การเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2562-2564 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564


-13- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 การเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ระดับโรงเรียนและระดับประเทศ ปีการศึกษา 2564 ความสามารถ ปี ด้านภาษาไทย ด้านคณิตศาสตร์ รวมความสามารถทั้ง 2 ด้าน โรงเรียน 55.56 46.00 50.78 ประเทศ 56.14 49.44 52.80 ผลต่าง -1.24 +1.10 +1.16 55.56 46 50.78 56.14 49.44 52.8 0 20 40 60 80 100 การเปรียบเทียบผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ระดับโรงเรียนและระดับประเทศ ปีการศึกษา 2564 ระดับโรงเรียน ระดับประเทศ


-14- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ด้านภาษาไทย 17.36 25 43.05 14.58 ด้านคณิตศาสตร์ 23.61 41.66 30.55 4.16 รวมความสามารถทั้ง 2 ด้าน 18.05 31.25 45.13 5.55 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2564 จ าแนกตามระดับคุณภาพ


-15- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 3) ผลการประเมินผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) จำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ 182 คน การเปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2561-2563 วิชา ปี ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ เฉลี่ย ปี 2562 55.83 38.46 38.54 41.86 43.67 ปี 2563 61.56 34.95 40.81 53.91 47.81 ปี 2564 52.35 38.34 32.45 44.4 41.89 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 การเปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2562-2564 ปี 2562


-16- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 การเปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ ( O-NET ) ระดับโรงเรียนและระดับประเทศ ปีการศึกษา 2564 วิชา ระดับ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เฉลี่ย โรงเรียน 52.35 38.34 32.45 44.4 41.89 ประเทศ 38.75 36.83 34.31 39.22 37.28 ผลต่าง +13.6 +1.51 -1.86 +5.18 +4.61 52.35 38.34 32.45 44.4 41.89 38.75 36.83 34.31 39.22 37.28 0 20 40 60 80 100 ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เฉลี่ย การเปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ ( O-NET ) ระดับโรงเรียนและระดับประเทศ ปีการศึกษา 2564 ระดับโรงเรียน ระดับประเทศ


-17- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 52.35 38.34 32.45 44.4 41.89 38.75 36.83 34.31 39.22 37.28 0 20 40 60 80 100 ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เฉลี่ย การเปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ ( O-NET ) ระดับโรงเรียนและระดับประเทศ ปีการศึกษา 2564 ระดับโรงเรียน ระดับประเทศ


-18- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา ระดับคุณภาพ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ยอดเยี่ยม สรุปมาตรฐานระดับขั้นพื้นฐาน ดีเลิศ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน จุดเน้นในการพัฒนามาตรฐานที่ 1 ของสถานศึกษา นักเรียนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาณ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ผลการเรียนรู้ที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ประกอบด้วย ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดประเภทต่าง ๆ การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร การมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม มีประเด็น พิจารณา 2 ประเด็นดังนี้


-19- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นพิจารณาที่ 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ประเด็นย่อย จำนวน นักเรียน จำนวน นักเรียน ที่อยู่ใน ระดับดี ค่า เป้าหมาย ผลที่ เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน (สูงกว่า/ต่ำ กว่า/เท่ากับ เป้าหมาย) ร่องรอยหลักฐาน เอกสาร 1.1.1 มีความสามารถ ในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิด คำนวณ 1,397 1,117 80 ดีเลิศ 79.90 ดี ต่ำกว่า เป้าหมาย - รายงานโครงการ การพัฒนา หลักสูตร สถานศึกษา - รายงานโครงการ ส่งเสริมการอ่าน ออกเขียนได้ - รายงานโครงการ ส่งเสริมทักษะ สำหรับนักเรียนที่มี ปัญหาทางการ เรียนรู้ (LD) - รายงานโครงการ พัฒนาคุณภาพการ จัดการเรียนการ สอนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร - รายงานโครงการ จินตคณิต - บันทึกการอ่าน - การทดสอบคิด คำนวณ - สื่อและนวัตกรรม - แบบรายงาน ผลสัมฤทธิ์ทางการ


-20- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นย่อย จำนวน นักเรียน จำนวน นักเรียน ที่อยู่ใน ระดับดี ค่า เป้าหมาย ผลที่ เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน (สูงกว่า/ต่ำ กว่า/เท่ากับ เป้าหมาย) ร่องรอยหลักฐาน เอกสาร เรียน ปีการศึกษา 2563 - ภาพถ่ายกิจกรรม 1.1.2 มีความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ คิด อย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และ แก้ปัญหา 1,397 1,189 80 ดีเลิศ 85.05 ดีเลิศ สูงกว่า เป้าหมาย - รายงานโครงงาน คุณธรรม - รายงานโครงงาน วิทยาศาสตร์ - แบบบันทึกผล การพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน (ปพ.5) - บันทึกการอ่าน - แผนการจัดการ เรียนรู้และบันทึก หลังสอน - ภาพถ่ายกิจกรรม /เกียรติบัตร 1.1.3 มีความสามารถ ในการสร้างนวัตกรรม 1,397 1,170 85 ดีเลิศ 83.69 ดีเลิศ ต่ำกว่า เป้าหมาย - ผลงานนักเรียน - รายงานโครงงาน คุณธรรม - รายงานโครงงาน วิทยาศาสตร์ - แผนการจัดการ เรียนรู้และบันทึก หลังสอน - ภาพถ่ายกิจกรรม /เกียรติบัตร


-21- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นย่อย จำนวน นักเรียน จำนวน นักเรียน ที่อยู่ใน ระดับดี ค่า เป้าหมาย ผลที่ เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน (สูงกว่า/ต่ำ กว่า/เท่ากับ เป้าหมาย) ร่องรอยหลักฐาน เอกสาร 1.1.4 มีความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการ สื่อสาร 1,397 1,293 86 ดีเลิศ 92.49 ยอดเยี่ยม สูงกว่า เป้าหมาย - ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชา คอมพิวเตอร์ - แบบบันทึกผล การพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน (ปพ.5) - เกียรติบัตรการ ประกวดคลิปวิดีโอ - รายงานโครงการ ส่งเสริมการใช้ ICT ในการจัดการ เรียนรู้ - แผนการจัดการ เรียนรู้และบันทึก หลังสอน - รายงานโครงการ ส่งเสริมและ พัฒนาการจัดการ เรียนรู้ - ภาพถ่ายกิจกรรม /เกียรติบัตร 1.1.5 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตาม หลักสูตรสถานศึกษา 1,397 1,284 90 ยอดเยี่ยม 91.85 ยอดเยี่ยม สูงกว่า เป้าหมาย - รายงานโครงการ การพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา - รายงานโครงการ พัฒนาวิชาการ


-22- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นย่อย จำนวน นักเรียน จำนวน นักเรียน ที่อยู่ใน ระดับดี ค่า เป้าหมาย ผลที่ เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน (สูงกว่า/ต่ำ กว่า/เท่ากับ เป้าหมาย) ร่องรอยหลักฐาน เอกสาร - แบบรายงาน ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ปีการศึกษา 2563 - รายงานโครงการ จัดทำระเบียบและ แนวปฏิบัติที่ เกี่ยวกับงานวิชาการ - แบบบันทึกผล การพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน (ปพ.5) - แบบรายงานผล การพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนรายบุคคล (ปพ.6) - รายงานโครงการ การจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ - รายงานโครงการ ส่งเสริมทักษะ สำหรับนักเรียนที่มี ปัญหาทางการ เรียนรู้ (LD) - แผน IEP - แผนการจัดการ เรียนรู้และบันทึก หลังสอน


-23- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นย่อย จำนวน นักเรียน จำนวน นักเรียน ที่อยู่ใน ระดับดี ค่า เป้าหมาย ผลที่ เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน (สูงกว่า/ต่ำ กว่า/เท่ากับ เป้าหมาย) ร่องรอยหลักฐาน เอกสาร - รายงานโครงการ จัดทำระเบียบและ แนวปฏิบัติที่ เกี่ยวกับงานวิชาการ - ภาพถ่ายกิจกรรม /เกียรติบัตร 1.1.6 มีความรู้ ทักษะ พื้นฐาน และเจตคติที่ดี ต่องานอาชีพ 1,397 1,291 90 ยอดเยี่ยม 92.35 ยอดเยี่ยม สูงกว่า เป้าหมาย - แบบประเมินผล กิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน - ผลงานนักเรียน - ภาพถ่ายกิจกรรม /เกียรติบัตร 1.7 ค่าเฉลี่ยผลการ ทดสอบระดับชาติของ ผู้เรียน - รายงานโครงการ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ ระดับชาติ (RT NT ONET) ปีการศึกษา 2564 - ผลการทดสอบ เพื่อประเมิน ความสามารถใน การอ่าน (Reading Test: RT) - ผลการประเมิน คุณภาพการศึกษา ระดับชาติ (National Test: NT)


-24- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นย่อย จำนวน นักเรียน จำนวน นักเรียน ที่อยู่ใน ระดับดี ค่า เป้าหมาย ผลที่ เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน (สูงกว่า/ต่ำ กว่า/เท่ากับ เป้าหมาย) ร่องรอยหลักฐาน เอกสาร - ผลการประเมิน คุณภาพการศึกษา ระดับชาติ (O-NET) - ภาพถ่ายกิจกรรม สรุปประเด็นพิจารณา ที่ 1.1 ดีเลิศ ร่องรอยความพยายาม โครงการหรือกิจกรรมที่โรงเรียนทำ 1. โครงการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) - พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา - พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น - พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม - พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้หลักสูตรตามจุดเน้นฯ 2. โครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ - กิจกรรม PLC กลุ่มสาระ - กิจกรรมวางทุกงาน อ่านทุกคน - กิจกรรมบันทึกการอ่าน - กิจกรรมสร้างสื่อ/นวัตกรรม - กิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน 3. โครงการส่งเสริมทักษะสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (LD) - การจัดการเรียนการสอน - การคัดกรองนักเรียน 4. โครงการเตรียมความพร้อมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ - วิชาการนานาชาติ - อัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ - ธรรมทางก้าวหน้า - ความสามารถทางศาสนา 5. โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร


-25- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 - จัดทำ/พัฒนาหลักสูตรแผนการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือวัด - ค่าตอบแทนครูชาวต่างชาติ และครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ - ค่าวัสดุ / ครุภัณฑ์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน - จัดทำ/พัฒนาหลักสูตรแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเครื่องมือวัด - กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุนการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 6. โครงการการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษ 7. โครงการจินตคณิต - จัดกิจกรรมการเรียนจินตคณิตห้องเรียนพิเศษ ป.1-ป.6 สอนโดยสถาบัน 8. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ (RT NT ONET) 9. โครงการพัฒนาวิชาการ - กิจกรรมพัฒนาวิชาการ (นำนักเรียนเข้าร่วมประกวดแข่งขัน) - กิจกรรมพัฒนาวิชาการ (ค่ายวิชาการ) 10. โครงการส่งเสริมการใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้ - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ และครุภัณฑ์ ส่งเสริมการใช้ ICT ห้องสืบค้นข้อมูล 11. โครงการจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับงานวิชาการ - จัดทำคู่มือระเบียบและแนวปฏิบัติงานวิชาการ - จัดทำคู่มือนักเรียน 12. โครงการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ - จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าเช่าพื้นที่เว็บไซต์ - คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ - ซ่อมแซม พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ - ปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 13. โครงการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 - กิจกรรมวันสุนทรภู่ - กิจกรรมวันภาษาไทย - กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์และประกวดแข่งขันคณิตศาสตร์ - กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ - กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ - กิจกรรมวันอาเซียน - กิจกรรมการประกวดวาดภาพระบายสีในวันสำคัญต่างๆ - กิจกรรมกลุ่มพัฒนาผู้เรียน - การสอบการเขียน การอ่าน การฟัง และการพูด


-26- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 - ประเมินทักษะการคิดคำนวณของนักเรียน - กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ - การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา วิธีการพัฒนา ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลกไม่สามารถ ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และจัดโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติที่โรงเรียนอย่างที่เคย ดำเนินการในปีที่ผ่าน ๆ มาได้ จึงทำให้โรงเรียนจำเป็นจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างแท้จริง โดยทาง กระทรวงศึกษาธิการมีการประกาศแนวทางการจัดการศึกษาในสถานการณ์ดังกล่าว 5 รูปแบบ ได้แก่ 1. On site คือ การจัดการเรียนการสอนตามปกติที่โรงเรียน และต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด 2. On air คือ การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์ เรียนด้วยตนเอง กำกับด้วยเวลาที่ เผยแพร่ ซึ่งเรียนผ่าน DLTV 3. On demand คือ การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรียนด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ DLTV แอปพลิเคชันต่าง ๆ หรือระบบที่โรงเรียนจัดให้ 4. Online คือ การจัดการเรียนการสอน แบบถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถถาม -ตอบได้ ซึ่งเป็นการสื่อสารสองทาง การจัดการเรียนการสอนผ่าน Google meet, Zoom meeting, Line, Facebook เป็นต้น 5. On hand คือ การจัดการเรียนการสอนด้วยการนำส่งเอกสารที่บ้าน ทำแบบฝึกหัด ใบงาน และสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ ภายใต้ความดูแลช่วยเหลือของผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดย เริ่มจากการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนในการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า นักเรียนร้อยละ 99.56 มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้ และนักเรียนร้อยละ 0.44 ไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้ดังนั้น โรงเรียนจึงจัด กิจกรรมการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 6 ในรูปแบบ Online ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน LINE ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 3 และ 5 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในรูปแบบ On demand และในระดับชั้นอนุบาล จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบ On hand นอกจากนี้ โรงเรียนยังมีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended learning โดยได้นำทั้ง 3 รูปแบบ มาจัดการเรียนรู้ ร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทเรียนและธรรมชาติของแต่ละรายวิชา โดยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียน ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น ดำเนินการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนในรูปแบบ Online 100% ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน LINE และในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 สำหรับห้องเรียนเงื่อนไขพิเศษจะเรียนในรูปแบบ Online ทุกรายวิชา ในส่วนห้องเรียนทั่วไปจะจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Online ในรายวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ และในรายวิชาอื่น ๆ จะเรียนในรูปแบบ On demand ซึ่งการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว โรงเรียนคำนึงถึงความพร้อม ของผู้เรียนและความพร้อมของผู้ปกครองเป็นสำคัญ จึงทำให้มีนักเรียนบางส่วนที่ไม่มีความพร้อมในเรื่องของ อุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้มาเรียนที่โรงเรียน โดยปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด


-27- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ และสามารถเรียนรู้ได้เท่าทันกับคนอื่น ๆ อีกทั้ง โรงเรียนมีการติดตามการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับชั้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการตกหล่นของนักเรียน ทั้งโรงเรียนมีการจัดทำคู่มือระเบียบและแนวปฏิบัติงานวิชาการ และคู่มือการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สำหรับนักเรียน ผู้ปกครอง และครูตามโครงการจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติ ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ เพื่อให้ทุกฝ่ายรับรู้แนวทางการจัดการศึกษาไปในทิศทางเดียวกัน ในการจัดการเรียน การสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นอกจากโรงเรียนปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นรูปแบบ Online แล้ว โรงเรียนยังปรับเนื้อหาและวิธีการวัดและประเมินผลให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น นอกเหนือจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนแล้ว โรงเรียนยังดำเนิน โครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการที่สูงขึ้น มีการพัฒนาความสามารถในด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน โดยเฉพาะความสามารถด้านการอ่านและการเขียน ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดโครงการส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกเขียนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้กระบวนการในการจัดโครงการไม่เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ โดยปรับเปลี่ยนกิจกรรมเป็นรูปแบบออนไลน์ ทั้งหมด มีครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนกิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมวางทุกงาน อ่านทุกคน กิจกรรมบันทึกการอ่าน เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนทุกคนได้ใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 นาที ของทุกวัน ในการอ่านหนังสือที่นักเรียนสนใจ แล้วสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากเรื่องที่อ่านบันทึกลงไปในสมุดบันทึกรักการอ่าน ถือเป็นการฝึกให้นักเรียนได้อ่านหนังสือ และยังเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กิจกรรม พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ทางโรงเรียนมีการพัฒนาความสามารถด้านการเขียนผ่านกิจกรรมเขียนตามคำ บอกของรายวิชาภาษาไทย เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนเขียนคำพื้นฐานตามแต่ละระดับชั้นของตนเอง 10 คำ ก่อนเข้าสู่การเรียนการสอน ซึ่งเป็นการฝึกให้นักเรียนได้เขียนคำ โดยเริ่มจากคำพื้นฐานง่าย ๆ วันละ 10 คำ จนนักเรียนสามารถเขียนได้คล่องขึ้น เมื่อดำเนินกิจกรรมเป็นที่เรียบร้อย จะมีการทดสอบเพื่อประเมิน ความสามารถในการอ่านและการเขียน ในส่วนของนักเรียนที่อ่านและเขียนไม่คล่องนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือ จากผู้ปกครองในการส่งเสริมให้นักเรียนอ่านและเขียน ซึ่งผู้ปกครองถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา ผู้เรียนในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดผู้เรียนมากที่สุด การพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร โรงเรียนมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารผ่านกิจกรรม การเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร เป็นการจัดรายวิชา English for Communication ที่เน้นให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษในการ สื่อสาร และโรงเรียนมีการพัฒนาความสามารถด้านการคิดคำนวณ ผ่านกิจกรรมคิดเลขเร็วในกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์โดยให้นักเรียนได้คิดเลขก่อนเข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนได้ใช้ทักษะ การคิดคำนวณ ไม่ว่าจะเป็นการบวก การลบ การคูณ และการหาร เพื่อให้เกิดความชำนาญและความแม่นยำ อีกทั้งโรงเรียนยังมีโครงการจินตคณิต เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนจินตคณิตห้องเรียนพิเศษ ป.1-ป.6 สอนโดย สถาบันฯ เพื่อให้นักเรียนในโครงการการจัดการศึกษาห้องเรียนพิเศษมีทักษะการคิดคำนวณมากขึ้น และมีการทดสอบทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนในทุกระดับชั้น เพื่อวัดความสามารถของผู้เรียน และโรงเรียน จะได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมหรือพัฒนานักเรียนได้อย่างครอบคลุม


-28- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ยังมีการส่งเสริมกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่กลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อโควิด-19 โดยเน้นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง การเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ไม่ว่าจะเป็นการคิด วิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแก้ปัญหา ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีความสามารถในการรวบรวมองค์ความรู้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงแนวความคิด ผ่านการจัดเป็นโครงงาน ชิ้นงาน และผลผลิตอื่น ๆ เช่น โครงการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 จัดขึ้นในรูปแบบ Online ประกอบด้วย กิจกรรมวันสุนทรภู่และกิจกรรมวันภาษาไทย รับผิดชอบโดยครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์และประกวดแข่งขันคณิตศาสตร์รับผิดชอบโดยครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์และกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์รับผิดชอบโดยครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกิจกรรมวันอาเซียน รับผิดชอบโดยครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กิจกรรมการประกวดวาดภาพระบายสีในวันสำคัญต่างๆ รับผิดชอบโดยครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวล้วนส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะการคิด ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานในกิจกรรมต่าง ๆ มี การประกวดแข่งขันเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากขึ้น นอกเหนือจากการแข่งขันกิจกรรมภายในโรงเรียน แล้ว โรงเรียนยังส่งเสริมให้นักเรียนแข่งขันภายนอกหน่วยงานตามโครงการพัฒนาวิชาการ ที่มีกิจกรรมพัฒนา วิชาการ เป็นการนำนักเรียนเข้าร่วมการประกวดแข่งขันต่าง ๆ และโครงการเตรียมความพร้อมการแข่งขันทักษะ ทางวิชาการ โดยโรงเรียนสนับสนุนให้นักเรียนทดสอบวิชาการนานาชาติอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ธรรมทางก้าวหน้า และความสามารถทางศาสนา เช่น การแข่งขันสวดมนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ยังมีการส่งเสริมผู้เรียนในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ เป็นไปตามยุคสมัยที่ทุกคนจะต้องก้าวทันเทคโนโลยี และที่สำคัญ การเรียนในรูปแบบ Online นักเรียนต้องใช้ เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งทางโรงเรียนมีโครงการส่งเสริมการใช้ ICT ในการจัดการเรียนรู้และโครงการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยโรงเรียนมีความพร้อมในด้านของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา คอมพิวเตอร์ ซึ่งจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในทุกระดับชั้น โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุดที่มีมาตรฐาน และห้องสืบค้นข้อมูล แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จึงปรับเปลี่ยน วิธีการโดยการส่งเสริมผู้เรียนในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ การใช้โทรศัพท์ในการเรียนรู้ การเรียนรู้โดยใช้แอพพลิเคชันต่าง ๆ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดเกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เช่น การประกวดคลิปวิดีโอโครงการประกวดคลิปวิดีโอ สื่อสร้างสรรค์วันวาเลนไทน์ ระดับ ป.4-6 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 โรงเรียนมีการจัดหลักสูตรสถานศึกษาที่มีความหลากหลาย สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นสุไหงโก-ลก เมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดนราธิวาส และมีการปรับปรุง หลักสูตรให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ อีกทั้งโรงเรียนยังมีโครงการส่งเสริมทักษะสำหรับนักเรียนที่มีบกพร่อง ทางการเรียนรู้ (LD) โดยครูมีการวิเคราะห์ผู้เรียน จัดทำแผน IEP มีการสร้างสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวย


-29- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ความสะดวกต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และจัดสอนเสริมให้กับนักเรียนกลุ่มดังกล่าว และทางโรงเรียน ยังมีโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ (RT NT ONET) โดยการสอดแทรกข้อสอบระดับชาติเข้าไปในบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจแนวทางการสอบระดับชาติ ซึ่งครูได้มีการวิเคราะห์ผลสอบระดับชาติทุกปีเพื่อให้ทราบ ถึงจุดบกพร่อง และควรเน้นในเรื่องใด และแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในรูปแบบ Online นักเรียนใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ ทางโรงเรียนจึงได้มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเกิดทักษะ ชีวิตมากขึ้น เช่น การช่วยเหลือผู้ปกครอง การดูแลความสะอาดบ้าน การประกอบอาหาร แบ่งเบาภาระของ ผู้ปกครอง ช่วยผู้ปกครองทำงาน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ผลการพัฒนา จากการดำเนินการ พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา มีความสามารถ ในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร สถานศึกษา และมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อโควิด -19 จึงทำให้กิจกรรมต้องจัดในรูปแบบออนไลน์ และบางกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้ส่งผลให้ ผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในบางตัวบ่งชี้มีผลการประเมินที่ต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษา กำหนด ได้แก่ ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ และการสร้างนวัตกรรม อาจด้วย การเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ทำให้ครูไม่สามารถเข้าถึงนักเรียนที่มีปัญหาได้อย่าง เต็มที่ และนักเรียนบางคนขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ ทำให้ นักเรียนบางคนไม่มีโอกาสในการเรียนรู้เท่ากับคนอื่น ๆ ในสถานการณ์ดังกล่าว นักเรียนจำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ และเป็นการเรียนรู้ที่ใช้บ้าน เป็นฐาน ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และ เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ โดยมีผลการประเมินสูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด และด้วยทางโรงเรียนได้มี การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการจัดเนื้อหาที่มีความยืดหยุ่นทำให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาสูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด และผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ ในส่วน ของผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในระดับโรงเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 69.71 ซึ่งสูงกว่าระดับจังหวัด และสูงกว่าปีการศึกษา 2563 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2563 และผลการประเมิน ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ย ระดับประเทศ


-30- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 แนวทางการพัฒนาในอนาคต 1. ปรับพื้นฐานและทบทวนองค์ความรู้ของผู้เรียนทุกช่วงชั้น เพื่อประเมินศักยภาพของผู้เรียนเป็น รายบุคคล 2. พัฒนาผู้เรียนให้มีกระบวนการคิด โดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน พร้อม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เผยแพร่ผลงานตามช่องทางต่าง ๆ 4. พัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถอยู่รอดในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของเชื้อโควิด-19 พิจารณาที่ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ประเด็นประเด็นย่อย จำนวน นักเรียน เต็ม จำนวน เด็ก ที่อยู่ใน ระดับ ดี ขึ้นไป ค่า เป้าหมาย ผลที่เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน (สูงกว่า/ต่ำ กว่า/เท่ากับ เป้าหมาย) รองรอยหลักฐาน เอกสาร 1.2.1 มีคุณลักษณะและ ค่านิยมที่ดีตามที่ สถานศึกษากำหนด 1,398 1,396 91 ยอดเยี่ยม 99.86 ยอดเยี่ยม สูงกว่า เป้าหมาย - บันทึกความดี - แบบบันทึกผล การพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน (ปพ.5) - รายงานโครงการ โรงเรียนคุณธรรม - รายงานโครงการ ระบบดูแล ช่วยเหลือ นักเรียน - ภาพถ่ายกิจกรรม /เกียรติบัตร 1.2.2 มีความภูมิใจใน ท้องถิ่นและความเป็นไทย 1,398 1,351 91 ยอดเยี่ยม 96.64 ยอดเยี่ยม สูงกว่า เป้าหมาย - รายงานโครงการ โรงเรียนคุณธรรม -รายงานโครงการ ส่งเสริมความสัมพันธ์


-31- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นประเด็นย่อย จำนวน นักเรียน เต็ม จำนวน เด็ก ที่อยู่ใน ระดับ ดี ขึ้นไป ค่า เป้าหมาย ผลที่เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน (สูงกว่า/ต่ำ กว่า/เท่ากับ เป้าหมาย) รองรอยหลักฐาน เอกสาร โรงเรียนกับชุมชน จังหวัดแดนภาคใต้ - ภาพถ่ายกิจกรรม /เกียรติบัตร 1.2.3 ยอมรับที่จะอยู่ ร่วมกันบนความแตกต่าง และหลากหลาย 1,398 1,354 91 ยอดเยี่ยม 96.85 ยอดเยี่ยม สูงกว่า เป้าหมาย - รายงานโครงการ โรงเรียนคุณธรรม - รายงานโครงการ ส่งเสริม ความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียน และชุมชน - ภาพถ่ายกิจกรรม /เกียรติบัตร 1.2.4 มีสุขภาวะทาง ร่างกาย และจิตสังคม 1,398 1,393 91 ยอดเยี่ยม 99.64 ยอดเยี่ยม สูงกว่า เป้าหมาย - รายงานโครงการ อาหารกลางวันและ อาหารเสริม(นม) โรงเรียน - รายงานโครงการ เฉพาะกิจเพื่อการ บริหารจัดการศึกษา (covid-19) -บัตรสุขภาพ - ภาพถ่ายกิจกรรม /เกียรติบัตร สรุปประเด็นพิจารณา ที่ 1.2 ยอดเยี่ยม


-32- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ร่องรอยความพยายาม โครงการหรือกิจกรรมที่โรงเรียนทำ 1. โครงการโรงเรียนคุณธรรม -กิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรม 2. โครงการวันสำคัญประจำปี - วันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ - วันสำคัญเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรม 3. โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ -จัดซื้อเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ -กิจกรรมการประกวดนิทรรศการด้านสุขภาพ -กิจกรรมการประกวดวาดภาพ คำขวัญ เรียงความ การป้องกันลูกน้ำยุงลาย -อบรมครูนักเรียนแกนนำเด็กไทยทำได้ 4. โครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริม(นม)โรงเรียน 5. โครงการเฉพาะกิจเพื่อการบริหารจัดการศึกษา (covid-19) - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการฆ่าเชื้อทำความสะอาด - จัดซื้อ จัดหาวัสดุ อุปกรณ์เตรียมความพร้อมตามมาตรการ วิธีการพัฒนา โรงเรียนบ้านสุไหงโกลกได้ให้ความสำคัญกับการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ทุกคน โดยการสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนมีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์และมีค่านิยมตามที่สถานศึกษากำหนด เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันเกิดปัญหามากมาย ไม่ว่า จะเป็นการทะเลาะกัน ทำร้ายกัน การข่มขืน การขโมย หรือแม้กระทั้งการฆ่าคน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดคุณธรรมจริยธรรม การไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีของบุคคล จึงทำให้ผู้คนสามารถทำสิ่งดังกล่าว โดยขาดการหยั่งคิด ดังนั้น การศึกษา ไม่เพียงแค่มีหน้าที่สร้างผู้เรียนให้เป็นคนเก่งเท่านั้น แต่การศึกษาจะต้อง สร้างให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม และสามารถดำเนินชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข ดังนั้น ในแผนการจัดการเรียนรู้ของครูจะต้องกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน นอกจากนี้ ทางโรงเรียนมีการจัดโครงการโรงเรียนคุณธรรม โดยมีกิจกรรมที่เป็นการฝึกและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ พึงประสงค์และค่านิยมที่สถานศึกษากำหนด นั่นคือ การอบรมคุณธรรมจริยธรรมในคาบโฮมรูมของครูประจำชั้น ผ่านระบบ Online และการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาร่วมกับชุมชน เช่น วันเข้าพรรษา วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันลอยกระทง วันสารทเดือนสิบ เป็นต้น โดยให้นักเรียน ส่งภาพมาให้โรงเรียนร่วมชื่นชมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่นและ ความเป็นไทยของตนเอง


-33- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก เป็นโรงเรียนที่ประกอบด้วยครูและนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน และเป็นโรงเรียนที่อยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม ทางโรงเรียนจึงมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญกับทั้งสองศาสนา ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และรู้จักซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้เรียนยอมรับความแตกต่าง และอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดชั้นเรียนที่มีผู้เรียนทั้งสองศาสนา การจัดเตรียมสถานที่ ทั้งห้องพุทธศาสนา และห้องอิสลามศึกษา การเปิดกว้างในเรื่องของการแต่งกายของนักเรียนที่นับถือศาสนา อิสลาม ซึ่งในปีการศึกษานี้นักเรียนไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน เนื่องจากการเรียนในรูปแบบ Online แต่ นักเรียนยังสามารถทำกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทางโรงเรียนมีการจัดโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยการจัดซื้อเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 การจัดกิจกรรมการประกวดนิทรรศการ ด้านสุขภาพ การประกวดวาดภาพ คำขวัญ เรียงความ การป้องกันลูกน้ำยุงลาย สำหรับนักเรียนที่มีความสนใจ และการอบรมครูนักเรียนแกนนำเด็กไทยทำได้นอกจากนี้โรงเรียนยังดำเนินโครงการอาหารกลางวันและอาหาร เสริม(นม)โรงเรียน โดยปีการศึกษา 2564 โรงเรียนดำเนินการแจกเพียงอาหารเสริมนมเท่านั้น โดยให้ผู้ปกครองมา รับเป็นรายเดือน เพื่อให้นักเรียนได้ดื่มนมในทุกวัน และมีสุขภาวะทางร่างกายที่แข็งแรงและมีจิตสังคมที่ดี นอกจากนี้โรงเรียนยังส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ผลการพัฒนา จากการดำเนินการ พบว่า ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด จากการประเมิน ของครูประจำชั้นและผู้ปกครองนักเรียน โดยนักเรียนแสดงออกผ่านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี คอยช่วยเหลือ ผู้ปกครอง และรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เนื่องด้วยการสอน Online และการสอนแบบ On Demand นักเรียนจะต้องมีความรับผิดชอบในการเรียนสูง ต้องติดตามงานมากยิ่งขึ้น และการเรียนรู้ในรูปแบบดังกล่าว เป็นการเรียนรู้โดยใช้บ้านเป็นฐาน ผู้ปกครองจึงมีส่วนสำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือ เกื้อหนุนให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็น ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกัน บนความแตกต่างและหลากหลาย เข้าใจ และเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สามารถอยู่ร่วมกันสังคม พหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข ผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคมที่ดี ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรม อนามัย แนวทางการพัฒนาในอนาคต 1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้วิธีการป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสโควิด-19 2. ส่งเสริมผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพราะผู้ปกครองเป็นส่วนสำคัญ ในการดูแลนักเรียนให้เติบโตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ


-34- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 สรุปมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ผลการเรียนรู้ที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ประกอบด้วย ความสามารถ ในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดประเภทต่าง ๆ การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร การมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดี ต่อวิชาชีพ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งสุขภาวะทางร่างกายและ จิตสังคม ที่ ประเด็นพิจารณา จำนวนเด็กที่อยู่ ในระดับ ดี ขึ้นไป จำนวน นักเรียน ทั้งหมด ระดับ คุณภาพ ความ หมาย 1. 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1,224 1,398 4 ดีเลิศ 2. 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 1,374 1,398 5 ยอดเยี่ยม สรุปมาตรฐานที่ 1 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 ดีเลิศ


-35- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ จุดเน้นในการพัฒนามาตรฐานที่ 2 ของสถานศึกษา การบริหารงานอย่างเป็นระบบ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ เป็นการจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ อย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา ในทุกกลุ่มเป้าหมาย จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มี ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ โดยมีประเด็นพิจารณา 6 ประเด็น พิจารณา ดังนี้ ประเด็นพิจารณาย่อยตามมาตรฐาน ที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ประเด็นย่อย ค่า เป้าหมาย ผลที่เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน ร่อยรอยเอกสารหลักฐาน 2.1 โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ กำหนดชัดเจนที่กำหนดชัดเจ ดีเลิศ 5 ยอดเยี่ยม สูงกว่าเป้าหมาย - รายงานโครงการจัดทำ แผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติ การ - แผนกลยุทธ์ - แผนปฏิบัติการประจำปี - ป้ายนิเทศ - ภาพถ่ายกิจกรรม 2.2 มีระบบบริหารจัดการ คุณภาพของสถานศึกษา ดีเลิศ 4.67 ดีเลิศ เท่ากับเป้าหมาย - รายงานโครงการพัฒนา ระบบประกันคุณภาพ ภายในและมาตรฐาน การศึกษา - รายงานโครงการจัดระบบ บริหารและพัฒนาองค์กร - รายงานโครงการประชุม คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน


-36- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นย่อย ค่า เป้าหมาย ผลที่เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน ร่อยรอยเอกสารหลักฐาน - รายงานโครงการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือเพื่อ สนับสนุนการศึกษา - รายงานโครงการประชุม ผู้ปกครอง - คำสั่งการปฏิบัติงาน - คำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการประกัน ภายใน - รายงานการประชุม ประจำเดือน - รายงานการประชุม คณะกรรมการสถานศึกษา - บันทึกการประชุม - เครื่องมือการประเมิน - ภาพถ่ายกิจกรรม/ เกียรติบัตร 2.3 ดำเนินงานพัฒนางาน วิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียน รอบด้านตามหลักสูตร สถานศึกษาและทุก กลุ่มเป้าหมาย ดีเลิศ 4.67 ดีเลิศ เท่ากับเป้าหมาย - หลักสูตรสถานศึกษา - รายงานโครงการการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) - รายงานโครงการระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน - รายงานโครงการพัฒนา ระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงใน ศตวรรษที่ 21 - รายงานโครงการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือเพื่อ สนับสนุนการศึกษา


-37- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นย่อย ค่า เป้าหมาย ผลที่เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน ร่อยรอยเอกสารหลักฐาน - รายงานโครงการส่งเสริม ทักษะสำหรับนักเรียนที่มี ปัญหาทางการเรียนรู้ (LD) - แบบรายงานผลการ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ปีการศึกษา 2564 - รายงานผลการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติ (RT, NT, O-NET) ปีการศึกษา 2564 - ภาพถ่ายกิจกรรม / เกียรติบัตร/รางวัลที่ได้รับ 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้ มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ดีเลิศ 5 ยอดเยี่ยม สูงกว่าเป้าหมาย - รายงานโครงการพัฒนา บุคลากร - รายงานโครงการวิจัยเพื่อ พัฒนาคุณภาพการศึกษา - รายงานโครงการส่งเสริม ขวัญและกำลังใจและยก ย่องเชิดชูเกียรติ - รายงานโครงการนิเทศ การศึกษา - รายงานส่งเสริมวินัยและ การรักษาวินัย จรรยาบรรณวิชาชีพ - รายงานโครงการพัฒนา ครูด้านทักษะการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking) ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning)


-38- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นย่อย ค่า เป้าหมาย ผลที่เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน ร่อยรอยเอกสารหลักฐาน - รายงานโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการ ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ -แบบบันทึกการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) - การอบรมเชิงปฏิบัติการ - การอบรมออนไลน์ - ภาพถ่ายกิจกรรม / เกียรติบัตร/รางวัลที่ได้รับ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทาง กายภาพและสังคมที่เอื้อต่อ การจัดการเรียนรู้อย่างมี คุณภาพ ดีเลิศ 5 ยอดเยี่ยม สูงกว่าเป้าหมาย - รายงานโครงการพัฒนา ห้องสมุด - รายงานโครงการ ซ่อมแซมอาคารสถานที่ และปรับปรุงภูมิทัศน์ - รายงานโครงการเฉพาะ กิจเพื่อการบริหารการจัด การศึกษา - ภาพถ่ายกิจกรรม / เกียรติบัตร/รางวัลที่ได้รับ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการ บริหารจัดการและการจัดการ เรียนรู้ ดีเลิศ 4.67 ดีเลิศ เท่ากับเป้าหมาย - รายงานโครงการพัฒนา สื่อ นวัตกรรมและ เทคโนโลยีทางการศึกษา - รายงานโครงการส่งเสริม การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) มาใช้ ในภารกิจด้านบริหารจัด การศึกษา


-39- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ประเด็นย่อย ค่า เป้าหมาย ผลที่เกิดขึ้น สรุปผลการ ประเมิน ร่อยรอยเอกสารหลักฐาน - รายงานโครงการ ประชาสัมพันธ์ทาง การศึกษา - รายงานโครงการพัฒนา ระบบเครือข่าย ICT - ภาพถ่ายกิจกรรม สรุปประเด็นพิจารณามาตรฐานที่ 2 ดีเลิศ ร่องรอยความพยายามประเด็นพิจารณาย่อยที่ 2.1 โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่กำหนดชัดเจน โครงการหรือกิจกรรมที่โรงเรียนทำ โครงการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ - ประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติราชการ วิธีการพัฒนา โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ดำเนินโครงการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ โดยการประชุมปฏิบัติการ จัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานทั้ง 4 ข่ายงาน หัวหน้าสายชั้น และหัวหน้ากลุ่มสาระ โดยใช้กระบวนการ SWOT Analysis นำผลการ จัดการศึกษา ผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ในปีที่ผ่านมา มาวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรคของโรงเรียน เพื่อทบทวนและปรับปรุงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียน รวมถึงการสร้าง ตาราง TOWS Matrix ในการกำหนดกลยุทธ์ ที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา บริบทของ ท้องถิ่น ความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล และสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เพื่อให้โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่ชัดเจน และโรงเรียนมีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งในดำเนินการดังกล่าว ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น และจะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐานเสมอ


-40- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ผลการพัฒนา จากการร่วมกันระดมความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียน และการวิเคราะห์สภาพปัญหาโดยการ SWOT Analysis ดูปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก การสร้างตาราง TOWS Matrix ทำให้ได้ กลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดการศึกษา จัดทำเป็นแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และแผนปฏิบัติราชการประจำปี เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายที่ชัดเจน สอดคล้องกับ บริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน นโยบายรัฐบาล แผนการศึกษาแห่งชาติเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง แนวทางการพัฒนาในอนาคต เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แสดงความคิดเห็น และประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อที่โรงเรียนจะได้มีแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย ร่องรอยความพยายามประเด็นพิจารณาย่อยที่ 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โครงการหรือกิจกรรมที่โรงเรียนทำ 1. โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา - จัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา - จัดประชุมชี้แจงการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา - จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา 2. โครงการจัดระบบบริหารและพัฒนาองค์กร 3. โครงการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4. โครงการประชุมผู้ปกครอง วิธีการพัฒนา โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ มีการกระจาย อำนาจ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีโครงการจัดระบบบริหารและพัฒนาองค์กร แบ่งโครงสร้างการบริหารงาน เป็น 4 ฝ่ายงาน ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป เนื่องด้วยโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ จึงมีการบริหารงานใน รูปแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ มีการกระจายอำนาจการบริหารออกเป็นสายชั้น ภายใต้การดูแลของหัวหน้า สายชั้นในแต่ละระดับชั้น และในแต่ละสายชั้นจะแบ่งงานให้ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ วิชาการสายชั้น บุคคล สายชั้น การเงินสายชั้น อนามัยสายชั้น อาคารสถานที่ และธุรการสายชั้น เป็นต้น ในการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา โรงเรียนดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาระบบประกัน คุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา โดยใช้กระบวนการ PDCA ในทุกกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การวางแผน ประกอบด้วยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและค่าเป้าหมายความสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและกำหนดผู้รับผิดชอบและ


-41- รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 ทีมงานที่มีคุณภาพอย่างชัดเจน การนำแผนไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือการดำเนินการตามแผน ซึ่งในการดำเนินการตามแผน โรงเรียนขับเคลื่อนโดยนำแนวทางที่ผ่านการวางแผนไว้อย่างชัดเจนไปสู่การปฏิบัติ ตามกิจกรรม โดยมีการแก้ไข ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และพัฒนาคุณภาพจนเกิดประสิทธิภาพ การติดตามตรวจสอบ การประเมินผล โรงเรียนติดตามผลการดำเนินการ และประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเป็นระยะ ๆ โดยสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ชื่อว่า E-QA : Electronic Quality Assurance ซึ่งระบุวิธีการวัดผลที่ ชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงที่สุด และรวบรวมข้อมูลไปสู่การรจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของ สถานศึกษา และนำข้อมูลสารสนเทศไปปรับปรุงแก้ไขแผนพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปใช้ต่อไป นอกจากนี้โรงเรียนยังมีการสร้างการรับรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยจัดเป็น โครงการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการประชุมภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อชี้แจงโครงการ/ กิจกรรมต่าง ๆ ให้คณะกรรมการสถานศึกษาทราบ และให้ความเห็นชอบในการดำเนินการขับเคลื่อนงานดังกล่าว โครงการประชุมผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษาละ 3 ครั้ง เพื่อชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียน การสอน การบริหารจัดการของโรงเรียน การรับฟังแนวคิดหรือข้อเสนอแนะจากผู้ปกครองนักเรียน เป็นต้น และที่สำคัญที่สุด การประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้า งาน 4 ฝ่ายงาน และหัวหน้าสายชั้นในทุกวันจันทร์ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานต่าง ๆ ของโรงเรียนดำเนิน ไปด้วยความเรียบร้อย เป็นการสรุปผลการดำเนินงานในสัปดาห์ที่ผ่านมา และเป็นการเตรียมการดำเนินงานใน สัปดาห์ที่จะถึง ซึ่งหัวหน้าสายชั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบในการสื่อสารให้ครูและบุคลากรในสายชั้นตนเองรับรู้ การดำเนินการขับเคลื่อนดังกล่าว และมีหน้าที่ในการนำเสนอความคิดเห็นของครูและบุคลากรในสายชั้นไปสู่ คณะกรรมการบริหาร และโรงเรียนยังมีการจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยการให้ครูที่มี ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับครูทุกคน และการจัดทำเป็นเอกสาร ทั้งเอกสารที่เป็น เล่ม และเอกสารที่เป็นไฟล์และมัลติมีเดีย เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับคุณครู ทำให้ครูเกิดความรู้และเชี่ยวชาญในด้าน นั้น ๆ ผลการพัฒนา การบริหารงานอย่างเป็นระบบ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยใช้ กระบวนการ PDCA ส่งผลให้ผลการประเมินระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอยู่ในระดับดีเลิศ โรงเรียนมีการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่มีแผนการดำเนินงานและโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน มีผู้รับผิดชอบและทีมงานที่มีคุณภาพ มีการกระจายงาน ไม่ทิ้งภาระงานให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมากเกินไป เพื่อให้ บุคลากรทุกคนในโรงเรียนมีบทบาทหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบอย่างเท่าเทียมกัน บุคลากรทุกคนมีความสำคัญ ในการดำเนินงานต่าง ๆ รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ส่งผลให้งานต่าง ๆ ออกมาอย่างมีคุณภาพ แนวทางการพัฒนาในอนาคต พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)


Click to View FlipBook Version