The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พลังงานไฟฟ้ามัธยมปลาย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

พลังงานไฟฟ้ามัธยมปลาย

พลังงานไฟฟ้ามัธยมปลาย

43

ภาพการผลติ ไฟฟ้าจากพลังงานความรอ้ นชีวมวล

การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ การเผาไหม้
ชีวมวลอาจเกิดฝุ่นเถ้าขนาดเล็กลอยออกสู่บรรยากาศ เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซซลั เฟอรไ์ ดออกไซด์ กา๊ ซไนโตรเจน และกา๊ ซอ่ืน ๆ เช่นเดียวกบั การเผาไหม้ท่ัวไป เพ่ือไม่ให้เกิด
ผลกระทบกับส่ิงแวดล้อม จึงจาเป็นต้องติดตั้งระบบในการดักจับก๊าซและฝุ่นละอองที่ออกจาก
กระบวนการเผาไหม้ก่อนปล่อยก๊าซออกสบู่ รรยากาศ

ระบบกาจัดมลพิษดังกล่าวประกอบด้วยระบบดักจับฝุ่นระบบกาจัดก๊าซ
ซลั เฟอรไ์ ดออกไซด์และระบบลดปรมิ าณก๊าซไนโตรเจนออกไซด์

2) โรงไฟฟา้ กา๊ ซชวี ภาพ
การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพเป็นการหมักหรือย่อยสลายของเสีย น้าเสีย

ของท้ิง และมูลสัตว์ท่ีได้จากโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น โรงงานผลิตแป้งมันสาปะหลัง
โรงงาน ผลิตเหล้าเบียร์ อาหารกระป๋อง ฟาร์มปศุสัตว์ ให้ได้ก๊าซชีวภาพได้แก่ มีเทน
คารบ์ อนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ไฮโดรเจนซลั ไฟด์ และก๊าซอ่ืน ๆ ไปต้มน้าจนเกิดไอน้า ต่อจากน้ัน
ไอน้าถูกส่งไปยังกังหันไอน้า เพื่อปั่นกังหันท่ีต่ออยู่กับเคร่ืองกาเนิดไฟฟ้า ทาให้ได้กระแสไฟฟ้า
ออกมา

44

ภาพการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชวี ภาพ

ศกั ยภาพของเชอื้ เพลิงชีวมวลในประเทศไทย

ศักยภาพของการผลิตชีวมวลในประเทศไทยจะประเมินจากปริมาณผลผลิตทาง

การเกษตรท่ีก่อใหเ้ กิดชีวมวลนน้ั ๆ

ศักยภาพชวี มวลของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552

ชนิด ผลผลติ (ตนั ) ชวี มวล ปรมิ าณชวี มวลเหลือใช้ ศกั ยภาพพลังงาน
(ตัน) (ktoe)

อ้อย 66,816,446 ชานออ้ ย 4,190,794.31 1,428.54

ยอดและใบ 13,439,727.21 5,532.52

ข้าว 31,508,364 แกลบ 3,510,598.90 1,185.87

ฟางข้าว 25,646,547.96 6,216.73

ถ่วั เหลอื ง 190,480 ต้น/เปลอื ก/ใบ 170,383.17 78.41

ขา้ วโพด 4,616,119 ซงั 584,539.15 249.62

ลาตน้ 2,758,777.36 1,178.11

ปาล์มนา้ มัน 8,162,379 ทะลายเปล่า 1,024,868.34 433.29

ใย 162,970.06 67.97

กะลา 38,959.04 17.02

กา้ น 2,203,740 516.62

มนั สาปะหลงั 30,088,025 ลาตน้ 2,439,236.19 1,063.60

เหง้า 1,834,466.88 799.89

มะพรา้ ว 1,380,980 ก้าน 628990.8 229.30

กาบ 464250.9 178.36

กะลา 128936.58 54.73

ไมย้ างพารา 3,090,280 กิ่ง/ก้าน 312,118.2 110.68

รวม 145,853,073 59,539,905.20 11,938.67

ทีม่ า : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษพ์ ลังงาน

45

ถึงแม้ว่าประเทศไทยมีวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรอยู่จานวนมาก สามารถใช้เป็น
เชือ้ เพลิงผลิตไฟฟา้ ในเชงิ พาณิชยไ์ ด้แตม่ ขี ้อจากัดในการจดั หาชวี มวลในปรมิ าณท่ีต้องการใช้ให้คงท่ี
ตลอดปีเพราะชีวมวลบางประเภทมีจากัดบางช่วงเวลาหรือบางฤดูกาลและข้ึนอยู่กับผลผลิตเช่น
กากอ้อย แกลบ เป็นต้น ทาให้เกิดความผันผวนของราคาชีวมวล นอกจากนี้การผลิตไฟฟ้าด้วย
ชีวมวลยังมีข้อจากัด คือ มีการเก็บรักษาและการขนส่งท่ียาก ต้องการพื้นท่ีในการเก็บรักษาขนาด
ใหญ่

5. พลงั งานความร้อนใตพ้ ภิ พ
พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานความรอ้ นตามธรรมชาติท่ีได้จากแหล่งความ

ร้อนท่ีถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพจะต้ังอยู่ในบริเวณท่ีเรียกว่า
“จุดร้อน” (Hot Spots) มักตั้งอยู่ในบริเวณท่ีเปลือกโลกมีการเคล่ือนท่ีเขตท่ีภูเขาไฟยังคุกรุ่น
และบริเวณที่มีช้ันของเปลือกโลกบาง ซึ่งทั้งหมดน้ีปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้าพุร้อนไอน้าร้อน
และบ่อโคลนเดือด

ภาพแหล่งพลงั งานความร้อนใตพ้ ิภพบนโลก

บริเวณแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถพบได้ตามบริเวณต่าง ๆ ของโลก
เช่น ประเทศท่ีอยู่ด้านตะวันตกของทวปี อเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
ประเทศตา่ ง ๆ บริเวณเทอื กเขาหิมาลัย กรซี อติ าลี และไอซแ์ ลนด์ เปน็ ต้น

46

แ ห ล่ ง พ ลั ง ง า น ค ว า ม ร้ อ น ใ ต้ พิ ภ พ ท่ี อ ยู่ ภ า ย ใ น โ ล ก มี รู ป แ บ บ ท่ี แ ต ก ต่ า ง กั น
โดยแบ่งเปน็ ลกั ษณะใหญ่ ๆ ได้ 4 ลักษณะ คอื

5.1 แหล่งทเี่ ปน็ ไอนา้ (Steam Sources) เป็นแหลง่ พลงั งานความร้อนใต้พิภพท่ีอยู่
ใกล้กับแหล่งหินหลอมเหลวในระดับตื้น ๆ แหล่งพลังงานน้ีจะมีลักษณะเป็นไอน้ามากกว่า
ร้อยละ 95 มีอุณหภูมิของไอน้าร้อนสูงเฉล่ียกว่า 240 องศาเซลเซียส สามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
ไดด้ ที ีส่ ดุ เพราะสามารถนาเอาพลังงานจากไอน้าร้อนไปหมนุ เคร่ืองกาเนิดไฟฟา้ ได้โดยตรง

5.2 แหล่งท่ีเป็นน้าร้อน (Hot Brine Sources) ส่วนใหญ่จะเป็นน้าเค็ม จะมี
อณุ หภูมิต่ากวา่ 180 องศาเซลเซียส และบางแหล่งอาจมกี ๊าซธรรมชาตริ วมอย่ดู ว้ ย

5.3 แหลง่ ท่เี ป็นหนิ ร้อนแหง้ (Hot Dry Rock) เป็นแหล่งที่สะสมพลังงานความร้อน
ในรูปของหินเนื้อแน่นโดยไม่มีน้าร้อนหรือไอน้าเกิดขึ้นเลย การนาแหล่งท่ีเป็นหินร้อนแห้งน้ีมาใช้
ประโยชน์จะต้องมีการอัดน้าลงไปเพื่อให้น้าได้รับพลังงานความร้อนจากหินร้อนน้ัน จากน้ันจึงจะ
ทาการสบู น้ารอ้ นน้ขี ึ้นมาใชผ้ ลิตไฟฟา้

5.4 แหล่งที่เป็นแมกมา (Molten Magma) เป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่มี
อุณหภูมิสูงกว่า 650 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่จะพบในแอ่งใต้ภูเขาไฟ ในปัจจุบันยังไม่สามารถ
นามาใช้ผลติ ไฟฟ้าได้

ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพท่ีมีศักยภาพเป็นแหล่งผลิตพลังงาน
ไฟฟ้าได้น้อย จึงมีการผลิตไฟฟ้าจากความร้อนใต้พิภพเพียงแห่งเดียว คือ โรงไฟฟ้าพลังงานความ
รอ้ นใต้พิภพฝาง ตั้งอยู่ที่ตาบลม่อนป่ิน อาเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เริ่มเดินเคร่ืองเม่ือวันท่ี
5 ธันวาคม พ.ศ.2532 มีขนาดกาลังผลิต 300 กิโลวัตต์ มีหลักการทางาน คือ นาน้าร้อนจากหลุม
เจาะไปถ่ายเทความร้อนให้กบั ของเหลวหรือสารทางาน (Working Fluid) ท่ีมีจุดเดือดต่าจนกระทั่ง
เดือดเป็นไอ แล้วนาไอนีไ้ ปหมุนกังหันเพอื่ ขับเครอ่ื งกาเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าออกมา

47

ภาพโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพฝางของ กฟผ.

พลังงานความร้อนใต้พิภพมีข้อจากัด คือ ใช้ได้เฉพาะในพื้นท่ีท่ีมีศักยภาพพลังงาน
ความร้อนใต้พิภพอยู่เท่านั้น นอกจากน้ีการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพอาจมีก๊าซและน้าที่มี
แร่ธาตุทีเ่ ป็นอนั ตรายตอ่ รา่ งกาย

6. พลงั งานนวิ เคลยี ร์
พลังงานนิวเคลียร์ คือ พลังงานที่เกิดจากการเปล่ียนแปลงภายในนิวเคลียสของ

อะตอมซึ่งมนุษย์ได้มีการนาพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น การแพทย์
เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการผลติ ไฟฟา้ เปน็ ต้น

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เหมือนกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ทั่วไป
แตกตา่ งกนั ที่แหล่งกาเนดิ ความร้อน โรงไฟฟ้าพลังความรอ้ นจะใช้การเผาไหม้ของเช้ือเพลิงฟอสซิล
เชน่ ถา่ นหนิ กา๊ ซธรรมชาติ และน้ามัน เป็นต้น ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ใช้ปฏิกิริยาแตกตัว
นิวเคลียสของอะตอมของเช้ือเพลิงนิวเคลียร์ท่ีเรียกว่า “ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน” (Nuclear
Fission) ผลิตความร้อนในถังปฏิกรณ์นิวเคลียร์ธาตุท่ีสามารถนามาใช้เป็นเช้ือเพลิงในโรงไฟฟ้า
พลังงานนิวเคลียร์ คือ ยูเรเนียม – 235 ซึ่งเป็นธาตุตัวหนึ่งท่ีมีอยู่ในธรรมชาติโดยนิวเคลียสของ
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่จะแตกออกได้เป็นธาตุใหม่ 2 ธาตุ พร้อมท้ังให้พลังงานหรือความร้อนจานวน
มหาศาลออกมา ความร้อนที่เกิดข้ึนนี้สามารถนามาให้ความร้อนกับน้าจนเดือดกลายเป็นไอน้าไป
หมุนกังหนั ไอน้าทตี่ ่อกบั เครื่องกาเนดิ ไฟฟ้าก็จะสามารถผลติ กระแสไฟฟ้าได้

48

เครอื่ งควบคุมความดัน อาคารคอนกรตี
แท่งควบคุม คลุมเครือ่ งปฏิกรณ์

ไอนา้ สง่ ไฟฟ้าไปยงั ครัวเรอื น
กงั หนั ไอน้า
เคร่ืองผลติ
ไอน้า เครอื่ งผลติ กระแสไฟฟา้

แทง่ เชอื้ เพลิง เคร่อื งควบแนน่
ถงั ปฏกิ รณ์
ระบบระบายความร้อนวงจร2
ระบบระบายความร้อนวงจร 1

ภาพโรงไฟฟา้ พลงั งานนวิ เคลยี ร์

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โดยทั่วไปมีส่วนประกอบสาคญั 3 สว่ น ได้แก่
1) ส่วนผลิตไอน้ามีอุปกรณ์สาคัญ ได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซ่ึงภายในบรรจุ
แทง่ เชอ้ื เพลงิ นิวเคลียร์
2) สว่ นผลติ ไฟฟา้ มีอปุ กรณส์ าคญั ไดแ้ ก่ กงั หนั ไอนา้ และเครอ่ื งกาเนิดไฟฟา้
3) ส่วนระบายความร้อน มีอุปกรณ์สาคัญ ได้แก่ หอระบายความร้อน โดยเฉพาะ
อย่างย่ิงโรงไฟฟ้าที่อยู่ไกลจากทะเลจะต้องมีหอระบายความร้อนเพ่ือช่วยในการระบายความร้อน
ของโรงไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ท่ีอยู่ติดทะเล จะระบายความร้อนออกสู่ทะเล
ซงึ่ จะมีการควบคมุ อณุ หภูมิไม่ใหเ้ กดิ ผลกระทบตอ่ ส่ิงแวดลอ้ ม

ภาพโรงไฟฟา้ พลงั งานนิวเคลียร์ Isar ภาพโรงไฟฟ้าพลังงานนวิ เคลียรต์ ัง้ อย่ตู ิดทะเล
และหอระบายความร้อนประเทศเยอรมนี ในประเทศเกาหลใี ต้

49

การจดั การเชื้อเพลงิ นิวเคลียร์ที่ใชแ้ ล้ว
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์รุ่นใหม่มีอายุการใช้งาน 60 ปี สามารถเดินเคร่ือง
ต่อเน่ืองเป็นเวลานานถึง 18 เดือน ก่อนที่จะหยุดเพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงและบารุงรักษา
ส่วนเช้อื เพลงิ ทใ่ี ชแ้ ลว้ ซ่ึงเป็นสารกัมมันตรังสจี ะถกู เก็บอยา่ งปลอดภัยภายในโรงไฟฟ้าโดยสามารถ
เ ก็บ แบบเปียกในส ร ะ น้า หรือเก็บแบบแห้งในถัง ค อ น ก รีต สา ห รับ วิธีก า ร จัดเก็บกาก
กัมมันตรังสีแบบถาวรจะเก็บโดยการบรรจุในถังเก็บซึ่งทาจากเหล็กกล้า (Stainless Steel)
แล้วนาไปฝังใต้ดินลึกประมาณ 500 เมตร ในโครงสร้างท่ีมั่นคง นอกจากนี้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
ใช้แล้วบางสว่ นยงั สามารถนาไปแปรสภาพเพื่อนากลับมาใช้ใหม่ได้ ซ่ึงจะช่วยลดปริมาณของเสียได้
มากถงึ ร้อยละ 95

แทง่ เช้อื เพลงิ ถกู เก็บใน
บ่อนา้ ภายในโรงไฟฟา้

ภาพการเกบ็ เชอ้ื เพลงิ ใชแ้ ล้วแบบเปยี ก

ภาพการเกบ็ เชอ้ื เพลงิ ใช้แล้วแบบแห้ง

50

ความปลอดภัยของโรงไฟฟา้ พลังงานนิวเคลียร์
1) ด้านการออกแบบและการก่อสร้าง ภายในโรงไฟฟ้าจะมีโครงสร้าง 5 ช้ัน เพื่อ
ป้องกันรังสีร่ัวไหล ซ่ึงช้ันสุดท้ายคือ โครงสร้างอาคารคลุมปฏิกรณ์ทาจากคอนกรีตเสริมเหล็กหนา
ประมาณ 2 เมตร จึงทาให้ไม่มีรังสีรั่วไหลออกสู่ภายนอก และมีความแข็งแรงทนทานสามารถทน
ต่อการชนของเคร่ืองบินได้ นอกจากน้ีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ถูกออกแบบให้หยุดเดินเคร่ือง
อัตโนมัติเมื่อสภาวะภายในหรือภายนอกไม่ปกติ ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ ความดัน รังสี ในอาคาร
เครือ่ งปฏกิ รณส์ งู เกินกาหนด หรอื เกิดแผ่นดินไหว

ภาพแบบจาลองโครงสร้างอาคารคลมุ ปฏิกรณ์ ภาพตัดขวางผนงั อาคารคลุมปฏิกรณ์

ภาพการทดสอบผนงั อาคารคลมุ ปฏิกรณโ์ ดยการชนของเคร่อื งบิน

51

2) ด้านการอบรมพนักงานเดินเครื่อง พนักงานเดินเครื่องจะต้องสอบใบอนุญาต
เดินเคร่ือง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในห้องควบคุมจาลองโดยพนักงานต้องสามารถตัดสินใจ
แก้ไขปัญหาและเหตขุ ัดข้องต่าง ๆ ได้ภายในระยะเวลาท่ีกาหนด โดยใบอนุญาตท่ีได้เฉพาะสาหรับ
แบบปฏิกรณ์นิวเคลียร์และขนาดท่ีกาหนดเท่านั้น ในทุก 2 - 3 ปี พนักงานเดินเครื่องจะต้อง
เข้ารับการอบรมเพ่ิมเติมและสอบเพ่ือต่อใบอนุญาต ท้ังน้ีพนักงานทุกคนในโรงไฟฟ้าพลังงาน
นิวเคลยี ร์ จะได้รับการอบรมวฒั นธรรมความปลอดภัย โดยมีมาตรการสง่ เสริม สนับสนุน และจูงใจ
ให้ทุกคนตระหนักว่าความปลอดภัยเป็นเรื่องสาคัญ ซ่ึงทุกคนมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแล
ปอ้ งกันและแกไ้ ข

ภาพหอ้ งควบคมุ จาลองโรงไฟฟ้าพลังงานนวิ เคลียร์

3) ด้านการกากับดูแลความปลอดภัย นอกจากความปลอดภัยในระบบปฏิบัติการ
ของโรงไฟฟา้ พลงั งานนิวเคลียร์แล้ว ทุกประเทศที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จะต้องมีหน่วยงาน
ท่ีกากับดูแลความปลอดภัยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยการดาเนินการทุกอย่างจะต้องเป็นไป
ตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International
Atomic Energy Agency : IAEA) ซ่ึง IAEA จะตรวจสอบโรงไฟฟ้าก่อนเดินเครื่อง ตรวจสอบ
การเคลอ่ื นย้ายเช้ือเพลิงเข้า - ออก จากเครื่องปฏิกรณ์ ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อติดตามการทางาน
และสุ่มตรวจโดยไม่แจ้งล่วงหน้าปีละ 2 - 3 ครั้ง ซ่ึงหากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าไม่เป็นไปตาม
ข้อกาหนดด้านความปลอดภัย โรงไฟฟ้าจะถูกส่ังให้หยุดเดินเครื่องเพื่อแก้ไข จะสามารถเดินเคร่ือง
ได้อกี เมื่อไดร้ ับการตรวจสอบและผา่ นข้อกาหนดด้านความปลอดภยั แลว้

52

การปฏบิ ตั ิตนให้ถกู ต้องในการใชพ้ ลงั งานนิวเคลยี ร์
การใช้พลงั งานทกุ รูปแบบ เชน่ พลงั งานไฟฟา้ พลงั งานเชอ้ื เพลิง พลังงานความร้อน
หรือพลังงานนิวเคลียร์ ล้วนมีข้อจากัด ดังนั้นนอกจากจะศึกษาถึงประโยชน์ท่ีได้รับแล้วยังคงต้อง
ศึกษาถึงผลกระทบท่ีอาจเกิดข้ึนจากการใช้และความปลอดภัยในการใช้พลังงานทุกรูปแบบ แม้ว่า
จะมปี ระโยชน์มากมาย แต่ถ้าหากใช้ด้วยความประมาท ขาดความระมัดระวัง ขาดความรู้ก็อาจจะ
ทาให้ได้รับอันตรายได้ พลังงานนิวเคลียร์ก็เช่นกันต้องใช้อย่างรู้เท่าทันและปฏิบัติตนตามข้อควร
ปฏบิ ัติก็จะปลอดภัยไดโ้ ดยเฉพาะจากรงั สี
ปกติแล้วรังสีเป็นส่ิงที่เราได้รับจากธรรมชาติตลอดเวลาในชีวิตประจาวัน ไม่ว่าจะ
เปน็ รังสีจากพื้นโลกหรือจากนอกโลก เชน่ รงั สคี อสมิก อากาศที่เราหายใจ อาหาร และน้าท่ีบริโภค
การรับชมโทรทัศน์ ผนังบ้าน พื้นอาคาร ผนังโรงเรียน และที่ทางานล้วนประกอบด้วยสาร
กัมมันตรังสีทั้งส้ิน หรือพูดได้ว่ารังสีสามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเรา แม้แต่ในร่างกาย
ของเราเองก็มีธาตุกัมมันตรังสีอยู่เช่นกัน (ธาตุโพแทสเซียม - 40 หรือ K - 40 เป็นแหล่ง
กัมมันตภาพรงั สหี ลักในร่างกายของมนุษย์) ส่วนรังสีจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้นถือเป็นรังสี
ทีม่ นุษยผ์ ลิตข้ึน ซึ่งเม่ือเปรยี บเทยี บกับรังสีท่ีเราได้รบั จากธรรมชาตแิ ล้วถือวา่ มีคา่ น้อยกวา่ มาก

ภาพสัดสว่ นของปริมาณรังสีในสิ่งแวดลอ้ ม

53

ภาพรงั สีในชวี ติ ประจาวัน

แหล่งกาเนิดพลังงานนิวเคลียร์มีอยู่ทุกหนแห่ง แต่ก็มีสถานที่บางแห่งท่ีอาจมี
ต้นกาเนิดรังสีหรือมีสารกัมมันตรังสีซึ่งถูกนามาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งสถานท่ีที่มีต้นกาเนิดรังสีหรือสารกัมมันตรังสีน้ันสามารถ
สงั เกตได้จากสัญลักษณ์รปู ใบพัดสีมว่ งแดงหรือดาบนพ้ืนสีเหลือง

ภาพสญั ลักษณแ์ สดงสถานท่ที ีม่ ตี น้ กาเนิดรังสี

54

ตวั อย่างสถานทที่ ี่มกี ารใช้สารกัมมนั ตรงั สี ไดแ้ ก่
1. โรงพยาบาล
2. โรงงานอตุ สาหกรรมที่ใชส้ ารกมั มันตรงั สใี นเครอ่ื งมอื เคร่ืองจกั ร
3. สถาบันวิจัยท่ีใช้สารกัมมันตรังสี เช่น สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

(องค์การมหาชน) เปน็ ต้น
4. สถาบันการศกึ ษาท่ีใช้สารกมั มันตรงั สีเพอ่ื จดั การเรียนการสอนและการวิจยั

หลกั การปอ้ งกนั อนั ตรายจากรังสี มอี ยู่ 3 ขอ้ ไดแ้ ก่
1. เวลา (Time) : การปฏิบัติงานทางด้านรังสีต้องใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อป้องกัน

ไม่ให้ร่างกายได้รับรังสเี กนิ มาตรฐานท่ีกาหนดไวส้ าหรับบุคคล
2. ระยะทาง (Distance) : ความเขม้ ของรังสีจะลดลงไปตามระยะทางที่ห่างจาก

สารต้นกาเนิดรังสี
3. การกาบัง (Shielding) : ความเข้มของรังสีจะลดลงเมื่อผ่านวัสดุกาบัง ซ่ึงจะ

มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพลังงานของรังสี คุณสมบัติ ความหนาแน่น และความหนาของวัสดุที่ใช้ใน
การกาบงั

55

ตอนที่ 3 พลงั งานทดแทนในชมุ ชน
วกิ ฤตการณ์ด้านพลังงานได้ก่อตัว และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพ่ิมมากข้ึน ทั้งจากการ

ขาดแคลนแหล่งพลังงาน และผลกระทบของการใช้พลังงาน ท่ีมีต่อสภาวะส่ิงแวดล้อม ดังนั้น
ทุกภาคสว่ นจึงตอ้ งตระหนกั ถงึ วิกฤตการณ์เหล่าน้ี และพยายามคิดค้นเพ่ือหาทางออก หนทางหน่ึง
ในการแกไ้ ขวิกฤตการณ์ดังกล่าว คือ การใชพ้ ลังงานทดแทน

เน่ืองจากแต่ละท้องถ่ินมีโครงสร้างพ้ืนฐาน สภาพแวดล้อมและวัตถุดิบท่ีจะนามาแปลง
สภาพเป็นพลังงานเพ่ือใช้งานในท้องถ่ินที่แตกต่างกันออกไป ดังน้ันแต่ละท้องถ่ิน หรืออาจจะ
เริ่มต้นท่ีครัวเรือน จะต้องพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่มีศักยภาพ เพียงพอที่จะนามาผลิตเป็นพลังงาน
เพ่อื ใชใ้ นครวั เรือน หรือทอ้ งถ่ินของตนเองไดบ้ า้ ง อาทิเช่น เช้อื เพลิงชีวมวล (Biomass) ซึ่งเป็นวัสดุ
หรือสารอินทรีย์ที่สามารถเปล่ียนแปลงเป็นพลังงานได้ ชีวมวลนับรวมถึงวัสดุเหลือทิ้งทาง
การเกษตร เศษไม้ ปลายไมจ้ ากอุตสาหกรรมไม้ มลู สัตว์ ของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร
และของเสียจากชุมชน หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แกลบ
ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสาปะหลัง ซังข้าวโพด กาบและกะลามะพร้าว และส่าเหล้า
เปน็ ตน้

เช้ือเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เช้ือเพลิงที่ได้จากชีวมวล (Biomass) เป็นพลังงานที่ได้จาก
พืชและสัตว์โดยมีพื้นฐานจากการสังเคราะห์แสงแล้วเก็บรวบรวมพลังงานจากดวงอาทิตย์เอาไว้
ในรูปของพลังงานเคมี หรือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตหรือสารอินทรีย์ต่าง ๆ รวมท้ังการผลิต
จากการเกษตรและป่าไม้ เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอ่ืน ๆ พลังงาน
แสงอาทิตย์ พลังงานนา้ ตลอดจนพลังงานลม พลงั งานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น

เมื่อครัวเรือน หรือท้องถิ่นทราบศักยภาพว่าตนเองมีความพร้อมที่จะผลิตพลังงาน
จากแหล่งใดมากท่ีสุดแล้ว ก็สามารถพิจารณาดาเนินการได้ โดยอาจเร่ิมจากการไปศึกษาดูงาน
หรือขอคาแนะนาจากหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง เช่น จากครัวเรือน หรือท้องถิ่นที่ประสบความสาเร็จ
ในการผลิตพลังงานข้ึนใช้เอง หรือจากหน่วยงานราชการ รวมถึงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซ่ึงจะ
ทาให้ได้แนวทางในการพัฒนาพลังงานท้องถ่ินข้ึนใช้เองอย่างเหมาะสมและมีโอกาสประสบ
ความสาเรจ็ สงู

ชุมชนแต่ละชุมชนจะมีศักยภาพของแต่ละชุมชนแตกต่างกันไปตามศักยภาพของแต่ละ
พื้นที่ เช่น พ้ืนที่ท่ีมีการเลี้ยงสัตว์จานวนมากก็จะมีศักยภาพในการนามูลสัตว์มาทาไบโอก๊าซ
หรอื พ้ืนทที่ ม่ี กี ารเพาะปลกู อ้อย หรือมันสาปะหลัง กจ็ ะมีศักยภาพในการนามาทาชวี มวล เปน็ ตน้

ตัวอย่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินที่ได้ให้ความสาคัญกับการผลิตพลังงานทดแทนใช้
อย่างเป็นรูปธรรม

56

1. พลงั งานทดแทนจากกระแสลม

องค์กรปกครองรูปแบบพิเศษอย่าง "เมืองพัทยา" อาเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ก็มี
ความตื่นตวั ในการคิดหาพลังงานทดแทน คอื กงั หนั ลมมาใช้ เพ่ือลดการพง่ึ พาน้ามนั เช่นกัน

โครงการน้ีเกิดขึ้นเน่ืองจากบนเกาะล้านมีประชากรอาศัยอยู่ 489 ครัวเรือน หรือ
ประมาณ 3,000 คน ไม่รวมประชากรแฝงอีกกว่า 2,000 คน และยังมีนักท่องเท่ียวท้ังไทยและ
ต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาพักผ่อนอยู่บนเกาะอีกประมาณ 60,000 คนต่อเดือน การผลิตไฟฟ้าบน
เกาะยังต้องพ่ึงพาเคร่ืองปั่นไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ท่ีต้องใช้น้ามันดีเซลเป็นต้นทุน
หลักท่มี รี าคาสูงข้ึนทกุ วันนอกจากจะมีต้นทุนการผลิตไฟสูงข้ึนเร่ือย ๆ เคร่ืองป่ันไฟแบบเดิมยังเกิด
การชารุดอยู่บ่อยครั้งทาให้เครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านและสถานประกอบการบนเกาะได้รับความ
เสียหายจากเหตุกระแสไฟฟ้าตก และบางวันกระแสไฟฟ้าท่ีผลิตได้ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ด้วย

เมืองพัทยา จึงมีแนวคิดหาพลังงานรูปแบบใหม่มาทดแทนน้ามัน โดยคานึงถึงปัญหา
สิง่ แวดลอ้ มเป็นสาคัญ ทั้งยังนอ้ มนาแนวพระราชดารขิ องพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว ในด้านการ
ใช้พลังงานทดแทน และการพ่ึงพาตัวเองอย่างย่ังยืนมาใช้ โดยการคัดเลือกพื้นที่เกาะล้านท่ีมีความ
เหมาะสมทางสภาพภูมิประเทศ ทั้งกระแสลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถผลิต
กระแสไฟฟ้าได้ท้ังปี และยังเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และเป็นแหล่งเรียนรู้พลังงาน
ทดแทนอีกทางหนง่ึ ด้วย

บริเวณหาดแสมห่างจากจุดเนินนมสาวประมาณ 20 เมตร คือ ทาเลท่ีถูกเลือกให้เป็น
สถานท่ีติดต้ังกังหันลม โดยแบ่งการดาเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ระยะละ 15 ต้น รวมท้ังส้ินมี
กังหันลม 45 ต้น จากการตรวจวัดความเร็วลมที่เกาะล้านพบว่ามีความเร็วลมเฉลี่ยที่ประมาณ
4 - 5 กิโลเมตรต่อวินาที ซ่ึงจะทาให้ระบบกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าได้ที่ 25 - 30 กิโลวัตต์ และ
หากมีลมเฉลี่ยต่อเน่ืองประมาณ 10 ชั่วโมง จะทาให้ระบบสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ
วันละ 200 หน่วย และลดการใช้น้ามันดีเซลเพ่ือผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึงวันละประมาณ 200 ลิตร
หรือประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณการใช้น้ามันดีเซล ขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม
อยู่ทห่ี น่วยละ 6 บาท ซึง่ ถูกกวา่ การใช้น้ามันดีเซลเป็นเชอื้ เพลงิ ถึง 3 บาท

การติดต้ังกังหันลม พร้อมท้ังระบบควบคุม จนเริ่มต้นเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า
สาเรจ็ ต้ังแต่เดอื นพฤศจกิ ายน ปี พ.ศ. 2550 โดยพลงั งานที่ไดจ้ ากการหมุนของกังหันลม จะถูกเก็บ
รวบรวมท่ีห้องสารองพลังงาน ซ่ึงทาหน้าที่คล้ายแบตเตอร่ีก้อนใหญ่ที่ควบคุมการส่ังการได้ทั้ง

57

2 ระบบ คือ ระบบสั่งการโดยมนุษย์ และระบบคอมพิวเตอร์ ในระยะแรกกระแสไฟฟ้า
ที่ผลิตได้ ถูกจ่ายเพ่ือใช้งานโดยตรงบริเวณท่าหน้าบ้าน บริเวณหาดแสม และกระแสไฟฟ้า
สาธารณะต่าง ๆ บนเกาะ แต่ในปัจจุบันกระแสไฟฟ้าถูกจ่ายรวมเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้า
สว่ นภมู ิภาค ก่อนทจี่ ะกระจายตามสายสง่ เพ่ือใชง้ านในชุมชนต่อไป

2. พลงั งานทดแทนจากพลังน้า
โรงไฟฟ้าพลังน้า ชุมชนบ้านคลองเรือ หมู่ 9 ตาบลปากทรง อาเภอพะโต๊ะ จังหวัด

ชุมพร เปน็ แหล่งต้นนา้ อยูใ่ นพนื้ ท่ลี มุ่ นา้ หลงั สวนตอนบนในเขตรกั ษาพนั ธส์ุ ตั ว์ป่าควนแม่ยายหม่อน
สภาพพ้ืนที่เป็นป่าดิบชื้นบนภูเขาสลับซับซ้อน มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ม่ังค่ังด้วย
ทรัพยากรธรรมชาติ คลองเรือเป็นชุมชนขนาดเล็ก มีประชากรอาศัยอยู่ 81 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น
183 คน ภายในหมู่บ้านไม่มีกระแสไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2537 หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้าพะโต๊ะ
กรมอุทยานแหง่ ชาตสิ ตั ว์ป่าและพันธพ์ุ ืช ไดจ้ ัดทาโครงการ “คนอยู่ - ป่ายัง” ตามแนวพระราชดาริ
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างความ
ม่ันคงด้านเศรษฐกิจแก่ชุมชนภายใต้กรอบการอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม มีการจัดการการใช้ประโยชน์
และปกป้องรักษาทรัพยากร ผสมผสานภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ส่งเสริม
ความรู้ให้ชุมชนเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทาให้ชุมชนพัฒนาทางความคิด
และกลไกในการดูแลตนเองมากข้ึนสามารถบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้า ป่าไม้ ให้ดารงชีวิตอยู่
ร่วมกับป่าไม้อย่างสมดุล อย่างไรก็ตามชุมชนบ้านคลองเรือ เป็นหมู่บ้านท่ีไม่มีไฟฟ้าใช้และเป็น
ความฝันอันสูงสุดของชุมชนท่ีต้องการให้ลูกหลานในหมู่บ้านได้เห็นข่าวสารภายนอก ซ่ึงถือเป็น
“แสงสว่างแห่งปัญญา” และชาวบ้านคลองเรือ ยังคงแสวงหาแหล่งความรู้และภูมิปัญญาจากการ
เดินทางไปดูงานในท่ตี ่าง ๆ อย่างต่อเน่ือง

ตอ่ มาในปี พ.ศ. 2551 ได้มีโครงการการจดั การความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้
โดยความร่วมมือระหว่างนักวิชาการจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยชีวิตเมืองนครศรีธรรมราช
ภายใต้การสนับสนุนจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซ่ึงได้ร่วมทางานกับชุมชน
บ้านคลองเรือ โดยใช้กระบวนการทางานแบบมีส่วนร่วมเร่ิมต้นจากการศึกษาศักยภาพของชุมชน
ในด้านสงั คม และทรัพยากรธรรมชาติ พรอ้ ม ๆ กับการเปดิ โลกทัศน์ นาผู้นาชุมชนศึกษาดูงานด้าน
การผลิตไฟฟ้า จากแหล่งพลังงานต่าง ๆ ทั้งจากเช้ือเพลิง ถ่านหิน น้าตก และชีวมวลในพ้ืนท่ี
ภาคเหนือและพบว่าชุมชนบ้านคลองเรือ มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะศักยภาพทาง
ทรัพยากร (น้า) และความเข้มแข็งของชุมชน ดังนั้นทีมงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ จึงเริ่มศึกษา
รายละเอียดด้านเทคนิค ศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้า บริเวณน้าตกเหวตา

58

จันทร์ หลังจากการสารวจ เก็บข้อมูลสภาพพ้ืนท่ี ชุมชนจึงได้เลือกโรงไฟฟ้าท่ีมีกาลังการผลิต 100
กิโลวัตต์ ท่ีไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพทางธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ตลอดจนวิถีการดารงชีวิตของ
ชุมชนท่ีมีมาแต่เดิม ในระหว่างการดาเนินโครงการชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนมีการเตรียมช่าง
ชุมชนเข้าอบรมเพิ่มพูนความรู้ เร่ืองการเดินระบบผลิตไฟฟ้า การดูแลรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์
ตลอดจนร่วมกันวางแผนการก่อสร้าง การระดมทุน การประสานความร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ
จนเกิดองค์กร / กลไกใหม่ข้ึนมา ท้งั ในระดบั จงั หวดั และในระดบั ชุมชน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพทางทรัพยากร
โดยการนาทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อให้เกิด
การพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน จึงจัดส่งเจ้าหน้าท่ีศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ของการพัฒนา
โรงไฟฟ้าชมุ ชนบ้านคลองเรอื และให้การสนับสนนุ ดังนี้

1) เครื่องกาเนิดไฟฟา้ พรอ้ มอปุ กรณ์ประกอบ ซง่ึ เปน็ ผลงานการวิจัยเครื่องกาเนดิ
ไฟฟ้าขนาดเล็กของมหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีพระจอมเกลา้ ธนบรุ ี จากทนุ การวจิ ัยของ กฟผ.

2) งบประมาณสาหรับการจัดหาระบบส่งไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าไปยังหมบู่ า้ น จานวน
9,000,000 บาท (เกา้ ลา้ นบาท)

3) สนับสนุนบุคลากรผเู้ ชย่ี วชาญเครอ่ื งจักรอปุ กรณ์และใหค้ าแนะนาร่วมกบั ชุมชน
ระหวา่ งการก่อสร้างทุกขนั้ ตอน

ภาพโรงไฟฟ้าพลงั นา้ ชุมชนบ้านคลองเรือ อาเภอพะโต๊ะ จังหวดั ชุมพร

การสร้างโรงไฟฟา้ พลงั นา้ ชุมชนบ้านคลองเรอื แห่งน้ี นอกจากจะทาให้ชุมชนมีไฟฟ้าใช้
แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนและจากชุมชนอ่ืน ๆ ได้ตระหนักถึงความสาคัญและคุณค่า
ของการรักษาปา่ เพือ่ ส่วนรวม ซึง่ ชว่ ยให้เจา้ หน้าท่ขี องหน่วยพิทักษ์ป่าและเขตป้องกันรักษาสัตว์ป่า
ในพนื้ ที่สามารถปฏบิ ัติงานได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพมากขึ้น การใช้บทเรียน โรงไฟฟา้ พลงั น้าชุมชนใน

59

ฐานะที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
แบบบูรณาการ และที่สาคัญที่สุด คือการสร้างศูนย์รวมพลังชุมชนต่าง ๆ ที่มีศักยภาพคล้าย ๆ กัน
รวมตัวกันเป็นเครือข่ายจัดการ ดนิ ปา่ น้า ไฟฟ้า อยา่ งย่ังยนื และเข้มแข็งตอ่ ไป

ปัญหาเร่ืองพลังงาน จึงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกี่ยวข้องทั้งการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม ซ่ึงการแก้ไขปัญหาไม่ใช่แค่การกาหนดนโยบายจากส่วนบน
เท่านั้น แต่ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมในการร่วมคิด
ร่วมทาตั้งแต่ระดับท้องถ่ิน ซ่ึงต้องคานึงถึงทรัพยากร แหล่งพลังงานในท้องถิ่น การกาหนด
มาตรการในการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน การจัดการพลังงาน
ระดับท้องถ่ินจึงเป็นกระบวนการหน่ึงท่ีช่วยแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เน่ืองจากเป็นเวที
การเรียนรู้ที่ทาให้ชุมชนได้เห็นสถานภาพพลังงานของชุมชนเอง และได้ตระหนักในศักยภาพ
ของชุมชนด้านการจัดการทรัพยากรภายใน ตลอดจนได้รู้แนวทางในการแก้ไขปัญหาและ
มีเปา้ หมายร่วมกนั ในการจดั การพลังงานของชมุ ชน โดยเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนนั้น ๆ
นอกจากน้ียงั ชว่ ยใหเ้ กิดการกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น และยกระดับขีดความสามารถของประชาคม
ทอ้ งถิ่น ในระดับองค์การบริหารส่วนตาบล อาเภอ จังหวัด โดยชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็น
รูปธรรมในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของชุมชนเอง อันเป็นกระบวนการแห่งประชาธิปไตยท่ี
ช่วยลดความขัดแย้งท่ีเกิดข้ึนและก่อให้เกิดพลังของภาคประชาชน ทั้งยังช่วยให้เกิดการสร้างงาน
ในทอ้ งถนิ่ นาไปสกู่ ารพฒั นาชนบทและการพัฒนาประเทศอยา่ งยง่ั ยนื ต่อไป

ตอนที่ 4 ต้นทุนการผลิตพลงั งานไฟฟา้ ต่อหนว่ ยจากเชอ้ื เพลงิ แตล่ ะประเภท

การพิจารณาตน้ ทนุ ของการผลติ ไฟฟา้ ของพลังงานทดแทนประกอบไปด้วย
1. มูลคา่ ในการวิจัยและพัฒนาระบบของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน (Research
and Development Cost) เป็นค่าใช้จ่ายจมหรือค่าใช้จ่ายในอดีต (Sunk Cost) มักไม่นามา
พิจารณาผลประโยชน์หรอื ต้นทุน เพราะไมม่ ีผลต่อการจะลงทุนหรอื ไม่ลงทุนในการตดิ ตง้ั ระบบ
2. มูลค่าการลงทุนหรือการจัดหาการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน
(Investment Cost) เปน็ คา่ ใชจ้ ่ายทเ่ี กิดขึ้นเพอ่ื ทาใหเ้ กดิ ความพรอ้ มทีจ่ ะดาเนินการระบบ ไดแ้ ก่

2.1 มลู คา่ ทด่ี ิน ขนาดพ้ืนท่ีข้นึ อยกู่ ับส่วนประกอบของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนแต่ละ
ประเภท ซึง่ พื้นท่ีแต่ละแห่งจะมีราคาประเมินท่ีแตกต่างกนั

60

2.2 มูลค่าวัสดุอุปกรณ์ท่ีใช้ในการผลิตไฟฟ้า เช่น มูลค่ากังหันลมท่ีใช้ในโรงไฟฟ้า
พลังงานลม หรอื มูลคา่ แผงเซลลแ์ สงอาทติ ย์ที่ใชใ้ นโรงไฟฟา้ พลังแสงอาทติ ย์ เป็นต้น

2.3 มูลค่าการติดต้ังระบบ คือ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งซ่ึงประกอบไปด้วย ค่าปรับพื้นที่
เช่น การทาถนนเพื่อความสะดวกในการขนส่งวัตถุดิบ ค่าระบบเสริม เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า
คา่ เชอ่ื มโยงระบบ เป็นตน้

3. มูลค่าการปฏิบัติงานและการบารุงรกั ษาซึ่งมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายจาแนกไดด้ งั น้ี
3.1 ค่าการปฏิบัติงานเป็นค่าใช้จ่ายในการดาเนินการ เช่น ค่าน้า - ค่าไฟ ค่าแรง

ค่าโทรศัพท์ ค่าขนส่ง ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ค่าประกันต่าง ๆ ค่าฝึกอบรม ค่าอะไหล่
ค่าที่ปรึกษา เป็นต้น เป็นค่าใช้จ่ายที่จานวนเงินไม่เปล่ียนแปลงตามปริมาณการผลิต ไม่ว่าจะทา
การผลิตในปรมิ าณมากหรอื นอ้ ยกต็ าม

3.2 ค่าบารุงรักษา เป็นค่าใช้จ่ายในการบารุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรและ
สิ่งก่อสร้างเพือ่ ใหด้ าเนนิ การตอ่ ไปไดต้ ลอดอายขุ องระบบ

61

ตารางเปรยี บเทยี บตน้ ทนุ การผลติ ต่อหนว่ ยของพลังงานไฟฟ้าท่ีผลิตจากเชื้อเพลิง

แตล่ ะประเภท ขนาด 1,000 เมกะวัตต์

ประเภท ต้นทนุ การผลิต (บาท/หนว่ ยไฟฟา้ )

พลังงานลม 5.00 – 6.00

พลงั น้าขนาดเลก็ 2.50 – 2.70

พลงั งานแสงอาทติ ย์ 8.00 – 9.00

ชวี มวล 3.00 - 3.50

ถา่ นหินนาเขา้ 2.50 – 3.00

นิวเคลียร์ 2.50 – 3.00

ท่มี า : การไฟฟา้ ฝ่ายผลติ แหง่ ประเทศไทย

เนือ่ งจากการผลติ ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ ยังมีต้นทุน
การผลิตราคาสูงเมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าท่ีใช้เช้ือเพลิงจากฟอสซิล ดังนั้นการ
จัดการมาตรการส่งเสริมเพ่ือสร้างสิ่งจูงใจให้กับนักลงทุนเกิดขึ้น เรียกว่า มาตรการส่วนเพ่ิมราคา
รบั ซ้ือไฟฟา้ จากพลงั งานหมุนเวียน ระบบ Adder (Adder Cost) เป็นการให้เงินสนับสนุนการผลิต
ต่อหน่วยการผลิต เป็นการกาหนดราคารับซื้อในอัตราพิเศษหรือเฉพาะสาหรับไฟฟ้าที่มาจาก
พลังงานหมุนเวยี น ภายในระยะเวลารบั ซ้อื ไฟฟ้าท่ชี ัดเจนและแนน่ อน

ช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการสนับสนุนให้มีการลงทุนด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น
โดยใช้มาตรการส่วนเพิ่มราคารับซ้ือไฟฟ้า ระบบ Adder การมีส่วนเพิ่มราคารับซ้ือไฟฟ้า
มีวัตถุประสงค์เพ่ือชดเชยต้นทุนการลงทุน (Capital Cost) ท่ีมีราคาสูงกว่าโรงไฟฟ้าท่ีใช้เช้ือเพลิง
ปกติ ค่าส่วนเพ่ิมราคารับซ้ือไฟฟ้านี้เปลี่ยนแปลงตามประเภทของแต่ละพลังงานทดแทน
โดยเฉพาะโรงไฟฟา้ พลังงานแสงอาทติ ยไ์ ด้รับเงินส่วนเพิ่มนี้มากที่สุด ค่าส่วนเพิ่มราคารับซ้ือไฟฟ้า
ได้ใช้เงินจากกองทนุ ส่งเสรมิ อนุรกั ษ์พลังงานเพิ่มเติมจากค่าไฟฟ้าปกติ (ราคาที่ผู้ขายไฟฟ้าจะได้รับ
คือ ค่ารับซ้ือไฟฟ้าปกติ รวมกับส่วนเพ่ิมราคารับซ้ือไฟฟ้า) ทาให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าท่ี
ผู้ใชไ้ ฟฟ้าตอ้ งแบกรบั หากมโี รงไฟฟ้าพลงั งานแสงอาทติ ย์มากเกินไป

จากมาตรการส่วนเพ่ิมราคารับซ้ือไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ระบบ Adder มีข้อเสีย
คือ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจะมีกาไรเพิ่มข้ึนเรื่อย ๆ จากราคาค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
รบั ซอ้ื เนือ่ งจากค่าไฟฟา้ ฐานมแี นวโนม้ สูงขน้ึ ทกุ 5 ปี ขณะที่ผู้ผลิตมีการลงทุนคร้ังเดียวเฉพาะตอน

62

เริ่มต้นโครงการเท่าน้ัน ทาให้ผู้ผลิตมีกาไรมากเกินไป และไม่เป็นธรรมกับประเทศ ที่ต้องนา
เงนิ กองทุนน้ามนั เชอื้ เพลิงไปอุดหนนุ

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติจากการประชุมเม่ือวันท่ี
28 มิถนุ ายน 2553 ให้คณะอนุกรรมการ ฯ พิจารณาปรับ มาตรการส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจาก
พลังงานหมุนเวียนเป็นระบบ Feed-in Tariff (FiT) ซ่ึงถือเป็นมาตรการจูงใจที่ประเทศท่ีพัฒนา
แลว้ หลายประเทศใชเ้ พ่อื กระตนุ้ ใหเ้ กดิ การลงทุนผลติ พลังงานสะอาด ซ่ึงมีความแตกต่างจากระบบ
Adder ที่การให้เงินสนับสนุนในลักษณะเดิมจะกระทบกับอัตราค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจะต้องแบกรับ
ในอนาคต ส่วนระบบ Feed-in Tariff นั้น เป็นอัตราค่าไฟฟ้ารวมต่อหน่วยท่ีสอดคล้องกับต้นทุน
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแต่ละเทคโนโลยี และราคาขายไฟที่ผู้ลงทุนได้รับภายใต้
มาตรการน้ีจะคงท่ีตลอดอายุโครงการ ไม่เปลี่ยนแปลงตามค่าไฟฐาน และค่า Ft เหมือนระบบ
Adder เดิมทาให้เกิดความเป็นธรรมทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคโดยเบื้องต้นสาหรับ
พลังงานแสงอาทิตย์รัฐบาลตั้งไว้ที่ 5.94 บาท/หน่วยและยังมีแนวโน้มการยืดระยะเวลา
การทาสัญญาจากเดมิ 10 ปี ไปเป็น 20 ปีดว้ ย

ตารางเปรยี บมาตรการส่วนเพ่มิ ราคารับซือ้ ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวยี น
ระบบ Adder และระบบ Feed-in Tariff

มาตรการส่วนเพมิ่ ราคารบั ซ้ือไฟฟ้าจากพลงั งาน มาตรการส่วนเพ่ิมราคารับซื้อไฟฟา้ จากพลงั งาน

หมุนเวียนระบบ Adder หมนุ เวียนระบบ Feed - in Tariff

ผู้ประกอบการจะได้รับ Adder เพิ่มเติมจากค่าไฟฟ้า ผู้ประกอบการจะได้ราคารับซ้ือคงที่ตลอดอายุ

ฐาน + Ft ในการขายไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 7 หรือ 10 สัญญา 20 ปี หรือ 25 ปี (ตามแต่ประเภทพลังงาน

ปี (ตามแตป่ ระเภทพลงั งานหมุนเวียน) หมนุ เวยี น)

การสนับสนุนภายใต้ระยะเวลาจากัด 7 – 10 ปี แม้ว่า FiT ทาให้ภาครฐั มีความมั่นใจว่า ผู้ประกอบการจะมี
จะมีข้อดีที่จูงใจให้เอกชนลงทุนมากกว่า เนื่องจาก แรงจงู ใจในการผลติ ไฟฟ้าจนครบอายุสัญญา
ระยะเวลาคืนทนุ เร็วขึ้น แต่อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการ
หยุดดาเนินโครงการภายหลังจากส้ินสุดระยะเวลาการ
รบั Adder

ภายหลังจากหมดระยะเวลา Adder 7 – 10 ปี สะดวกต่อภาครัฐในการกาหนดนโยบายการจัดหา
ผู้ประกอบการจะสามารถขายไฟฟ้าได้ในราคาขายส่ง ไฟฟา้ และโครงสร้างราคา เนื่องจากภายใตโ้ ครงสร้าง
เฉล่ีย + Ft ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูงในอนาคต ทาให้ FiT ภาครัฐสามารถทราบต้นทุนไฟฟ้าล่วงหน้าใน

63

เกิดความเสี่ยงต่อผู้ประกอบการ หรือความไม่เป็น ราคาคงท่ีเป็นระยะเวลา 20 – 25 ปี ซึ่งจะลดความ

ธรรมต่อภาครัฐ / ประชาชน ผนั ผวนด้านราคาไฟฟา้ ลงได้

FiT ทาให้ปัญหาความซ้าซ้อนในโครงสร้างค่าไฟฟ้า
หมดไป

ตอนที่ 5 ขอ้ ดแี ละข้อจากัดของการผลติ ไฟฟา้ จากเชอื้ เพลิงแตล่ ะประเภท

พลงั งานมปี ระโยชน์เป็นส่ิงที่จาเป็นต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นพลังงานส้ินเปลืองหรือพลังงาน
ทดแทน เพราะพลังงานทั้งหลายท้ังมวลเป็นตัวขับเคลื่อนให้กระบวนการพัฒนาดาเนินไปอย่าง
ต่อเนื่องไม่วา่ จะด้านใดก็ตาม จึงทาให้อัตราการใช้เพิ่มปริมาณมากข้ึนเร่ือย ๆ ในทางกลับกันเมื่อมี
การใช้เพิม่ ขน้ึ พลงั งานบางอยา่ งก็กาลงั มปี ริมาณลดนอ้ ยลง อย่างไรก็ตามเชื้อเพลิงแต่ละประเภทที่
นามาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้ามีข้อดีและข้อจากัดท่ีแตกต่างกัน ดังน้ันจึงจาเป็นต้องรู้ข้อดี
และข้อจากดั เชอ้ื เพลงิ ประเภทต่าง ๆ เพ่อื นามาเป็นข้อมูลในการพจิ ารณาเลอื กใชเ้ ช้ือเพลิงในแต่ละ
ประเภทได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตอ่ ไป

ตารางการเปรยี บเทยี บข้อดแี ละข้อจากดั ของเช้ือเพลงิ แต่ละประเภท

แหล่ง ข้อดี ขอ้ จากดั
พลังงาน

ถา่ นหนิ 1) มีตน้ ทนุ ในการผลิตต่า 1) ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2) มีปรมิ าณเชือ้ เพลงิ สารองมาก 2) ใชเ้ ช้ือเพลิงในปริมาณมาก
3) สามารถผลติ ไฟฟ้าไดต้ ลอด 24 ชั่วโมง 3) ประชาชนไม่เช่ือมั่นเร่ืองมลภาวะทาง
4) ขนสง่ งา่ ย จดั เก็บงา่ ย
อากาศ

น้ามัน 1) ขนส่งง่าย 1) ปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจก
2) หาซ้ือได้งา่ ย
2) มีปรมิ าณเช้ือเพลงิ สารองเหลือน้อย
3) มีผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมน้อยกว่าการ 3) ต้องนาเข้าจากต่างประเทศ
ผลิตด้วยถ่านหนิ
4) ราคาไม่คงที่ข้ึนกับราคาน้ามันของ
4) สามารถเดินเคร่ืองได้อย่างรวดเร็วเหมาะ ตลาดโลก
สาหรับผลิตไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉินหรือช่วง 5) ไฟฟา้ ทีผ่ ลติ ได้มีต้นทุนต่อหน่วยสงู
ความตอ้ งการไฟฟ้าสงู ได้

กา๊ ซธรรมชาติ 1) มีการเผาไหม้สมบูรณ์จึงส่งผลกระทบต่อ 1) ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ส่ิงแวดล้อมน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล 2) ตอ้ งนาเขา้ จากต่างประเทศ

64

ประเภทอืน่ ๆ 3) ราคาก๊าซธรรมชาติไม่คงที่ผูกติดกับราคา

2) มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูง นา้ มนั

สามารถผลติ ไฟฟา้ ได้ตลอด 24 ชัว่ โมง 4) มปี รมิ าณเชอ้ื เพลงิ สารองเหลือน้อย

3) มีตน้ ทุนในการผลิตตา่

พลงั งานลม 1) เป็นแหล่งพลังงานที่ได้จากธรรมชาติไม่มี 1) มีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กบั สภาวะอากาศ

ค่าเชื้อเพลิง บางฤดูอาจไม่มีลมต้องใช้แบตเตอร่ีราคา

2) เป็นแหล่งพลงั งานสะอาด แพงเป็นแหล่งเก็บพลังงาน

3) สามารถใช้ระบบไฮบริดเพ่ือให้เกิดประโยชน์ 2) สามารถใช้ได้ในบางพื้นท่เี ทา่ น้นั พ้นื ท่ีท่ี

สงู สดุ คือ กลางคนื ใช้พลงั งานลม เหมาะสมควรเป็นพ้ืนที่ท่ีมีกระแสลมพัด

กลางวันใชพ้ ลังงานแสงอาทิตย์ สมา่ เสมอ

3) มีเสยี งดังและมผี ลกระทบต่อทัศนยี ภาพ

4) ทาใหเ้ กิดการรบกวนในการส่งสัญญาณ

โทรทัศน์และไมโครเวฟ

5) ตน้ ทนุ สูง

6) สาเหตหุ นงึ่ ของการตายของนกจากการ

บนิ ชนกงั หนั ลมที่กาลงั หมุนอยู่

65

ตารางการเปรยี บเทยี บข้อดีและข้อจากดั ของเช้ือเพลิงแต่ละประเภท (ต่อ)

แหล่ง ขอ้ ดี ขอ้ จากดั
พลงั งาน

พลงั งานน้า 1) ไม่ต้องเสียคา่ ใช้จ่ายในการซ้ือเช้อื เพลิง 1) การเดินเคร่ืองผลิตไฟฟ้าขึน้ กับปรมิ าณน้า

นอกจากใช้เงินลงทุนก่อสร้าง ในช่วงทสี่ ามารถปลอ่ ยน้าออกจากเขื่อนได้

2) ไม่ก่อให้เกดิ ก๊าชคาร์บอนไดออกไซดจ์ าก 2) การก่อสร้างเข่ือนขนาดใหญ่ในประเทศไทย

การผลิตไฟฟา้ มีข้อจากัด เนอื่ งจากอา่ งเก็บน้าของเขอื่ น

3) โครงการโรงไฟฟา้ พลังนา้ ขนาดใหญม่ ีขีด ขนาดใหญ่จะทาให้เกิดน้าท่วมเป็นวงกว้าง

ความสามารถสงู ในการรักษาความมั่นคงให้ ส่งผลกระทบตอ่ บ้านเรอื นประชาชน

แกร่ ะบบไฟฟ้าสาหรบั รองรบั ช่วงเวลาท่ีมี

ความต้องการใช้ไฟฟา้ สูงสุด

พลงั งาน 1) เป็นแหลง่ พลงั งานธรรมชาติขนาดใหญ่ 1) ตน้ ทุนมีราคาแพง

แสงอาทิตย์ ที่สดุ และสามารถใชเ้ ป็นพลงั งานได้ไมม่ ี 2) แบตเตอรี่ซ่ึงเป็นตวั กกั เก็บพลงั งานแสงอาทิตย์

วันหมด ไว้ใชใ้ นเวลากลางคืนมีอายุการใชง้ านต่า

2) ไม่มคี า่ ใช้จา่ ยในเรือ่ งเช้ือเพลิง 3) ความเข้มของแสงไม่คงทแ่ี ละสม่าเสมอ

3) สามารถนาไปใช้ในแหล่งทีไ่ ม่มีไฟฟ้าใช้และ เนอื่ งจากสภาพอากาศและฤดูกาล

อยหู่ ่างไกลจากระบบสง่ และสายจาหน่าย

ไฟฟา้

4) การใชป้ ระโยชน์ไมย่ ุ่งยาก การดูแลรักษา

งา่ ย

5) เปน็ พลงั งานสะอาดไม่ก่อใหเ้ กิดมลภาวะ

จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า

พลงั งาน 1) ใชป้ ระโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการ 1) ชวี มวลเป็นวัสดทุ ี่เหลือใช้จากการแปรรปู

ชวี มวล เกษตร ทางการเกษตรมีปรมิ าณสารองทีไ่ ม่แน่นอน

2) ช่วยเพิ่มรายได้ใหเ้ กษตรกร 2) การบริหารจัดการเชื้อเพลงิ ทาได้ยาก

3) ช่วยแกป้ ญั หาส่งิ แวดล้อมเรือ่ งของเหลอื ทิง้ 3) ราคาชีวมวลแนวโน้มสงู ข้ึนเนอ่ื งจากมคี วาม

ทางการเกษตร ต้องการใช้เพม่ิ ขนึ้ เรือ่ ย ๆ

4. ชวี มวลทม่ี ศี ักยภาพเหลืออยู่มักจะอยู่

กระจดั กระจาย มีความช้นื สูง จึงทาให้

ต้นทุนการผลิตไฟฟา้ สูงข้นึ เช่น ใบออ้ ย

และยอดอ้อย ทะลายปาลม์ เปน็ ตน้

พลังงาน 1) เปน็ แหลง่ พลังงานที่ไดจ้ ากธรรมชาติ ไมม่ ี ใช้ได้เฉพาะในท้องถนิ่ ท่มี ีแหล่งความรอ้ นใตพ้ ภิ พ

ความรอ้ น คา่ เชื้อเพลงิ อย่เู ทา่ นั้น

ใต้พิภพ 2) เป็นแหล่งพลงั งานสะอาด

66

ตารางการเปรียบเทียบข้อดีและข้อจากัดของเชื้อเพลงิ แตล่ ะประเภท (ต่อ)

แหลง่ ข้อดี ขอ้ จากดั
พลงั งาน
1) เป็นแหล่งผลิตไฟฟา้ ขนาดใหญ่โดยมตี น้ ทุน 1) ใช้เงินลงทนุ ในการก่อสร้างสูง
พลงั งาน
นวิ เคลียร์ การผลติ ไฟฟ้าท่ีแขง่ ขนั ได้กับโรงไฟฟา้ ชนิด 2) จาเป็นตอ้ งเตรียมโครงสร้างพ้ืนฐานและ

อน่ื ๆ พัฒนาบุคลากรเพื่อใหก้ ารดาเนินงานเปน็

2) เปน็ โรงไฟฟา้ ทีส่ ะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ไปอย่างมีประสิทธภิ าพ

และกา๊ ซเรือนกระจก 3) ตอ้ งการการเตรียมการจัดการกากกมั มนั ตรังสี

3) ชว่ ยเสรมิ สร้างความมัน่ คงให้ระบบผลติ ไฟฟา้ และมาตรการควบคุมความปลอดภัยเพอ่ื

เนือ่ งจากใช้เชอ้ื เพลงิ น้อยเมื่อเทียบกบั ป้องกันอบุ ัติเหตุ
โรงไฟฟ้าความร้อนประเภทอื่น 4) ยงั ไม่เป็นท่ยี อมรับของประชาชน ประชาชน

4) มีแหลง่ เชอ้ื เพลงิ มากมาย เชน่ แคนาดา มขี ้อกงั วลใจในเร่ืองความปลอดภยั

และออสเตรเลีย และราคาไม่ผันแปรมาก

เมือ่ เทียบกบั เช้ือเพลงิ ฟอสซลิ

กจิ กรรมท้ายเร่ืองท่ี 1 เช้อื เพลงิ และพลังงานท่ีใช้ในการผลิตไฟฟา้
(ใหผ้ เู้ รยี นไปทากิจกรรมเรอื่ งท่ี 1 ท่ีสมุดบนั ทึกกิจกรรมการเรียนร)ู้

67

เรือ่ งท่ี 2 โรงไฟฟา้ กับการจัดการดา้ นส่ิงแวดล้อม

การกอ่ สรา้ งโรงไฟฟา้ แต่ละแห่งมกี ารใชท้ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละอาจก่อให้เกดิ ผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุน้ีในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งจึงให้ความสาคัญเกี่ยวกับการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมและสังคม เพ่ือสร้างความ
สมดุลระหวา่ งโรงไฟฟ้ากบั สง่ิ แวดล้อมและชุมชนให้ดีที่สุด เพ่ือให้สามารถตอบสนองความต้องการ
ของภาคเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างย่ังยืน โดยเน้นให้มีการดาเนินการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพเพ่อื ใหเ้ กิดผลกระทบนอ้ ยทส่ี ดุ แบง่ เปน็ 2 ตอน ดังนี้

ตอนท่ี 1 ผลกระทบดา้ นสิง่ แวดล้อมและการจัดการ
ตอนที่ 2 ข้อกาหนดและกฎหมายทเี่ กี่ยวข้องกบั โรงไฟฟา้ ด้านสงิ่ แวดลอ้ ม

ภาพโรงไฟฟา้ แม่เมาะ จังหวัดลาปาง

ตอนท่ี 1 ผลกระทบด้านสิง่ แวดลอ้ มและการจัดการ
การเดนิ เคร่อื งโรงไฟฟ้าเพอ่ื ผลิตกระแสไฟฟ้า อาจส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมในด้านต่าง ๆ

เชน่ ผลกระทบทางอากาศเกิดจากกา๊ ซพิษ ซึ่งเกดิ จากการเผาไหมเ้ ช้ือเพลิง ผลกระทบทางเสียงเกิด
จากเสียงของการเดินเคร่ืองจักร ผลกระทบทางน้าเกิดจากอุณหภูมิและสารเคมี เป็นต้น ดังนั้น
โรงไฟฟ้าจึงต้องมีระบบการจัดการเพ่ือให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือเป็นไปตามมาตรฐานท่ี
กฎหมายกาหนด และไม่กอ่ ใหเ้ กดิ ผลกระทบต่อสง่ิ แวดลอ้ มและสังคม

68

1. ด้านอากาศ
ผลกระทบด้านอากาศ ถือเป็นผลกระทบท่ีสาคัญท่ีสุดท่ีโรงไฟฟ้าต้องคานึงถึง โดย

ระดับของผลกระทบขึ้นอยู่กับชนิดของเช้ือเพลิงที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้า ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้าหรือ
พลังงานทดแทน เชน่ พลงั งานแสงอาทิตย์ พลังงานลม จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าท่ีมี
การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศท่ีสาคัญ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซโอโซนในระดับพ้ืนดิน คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และฝุ่น
ละออง

การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ เป็นการจัดการด้านคุณภาพอากาศของโรงไฟฟ้า
เพอื่ ลดก๊าซทีเ่ ป็นพิษตอ่ สขุ ภาพอนามัยและชุมชน โดยมวี ิธกี ารดงั น้ี

1) การลดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทาโดยติดต้ังเครื่องกาจัดก๊าซซัลเฟอร์ได
ออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization : FGD) ซ่ึงวิธีการน้ีจะสามารถลดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ไดร้ อ้ ยละ 80 – 90

2) ก ารลด ก๊าซ ไ นโ ต รเจนออก ไ ซ ด์กระบวนการท่ีใช้กันแ พร่หลายแ ละ มี
ประสทิ ธิภาพสงู คอื Selective Catalytic Reduction (SCR) และเลือกใช้เตาเผาที่สามารถลดการ
เกิดไนโตรเจนออกไซด์ (Low Nitrogen Oxide Burner)

3) การลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ทาได้โดยการเช็คอุปกรณ์เครื่องเผาไหม้เป็น
ประจา และควบคมุ การเผาไหม้ใหม้ ีปริมาณออกซิเจนทเ่ี หมาะสมเพือ่ ให้เกดิ การเผาไหม้ที่สมบรู ณ์

4) ก ารลด ก๊ าซ คาร์บอนไ ด ออก ไ ซ ด์ โ ด ย ก ารรวบรวมแ ละ กั ก เก็ บก๊ าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้ดินหรือน้า เช่น ในแหล่งน้ามันหรือก๊าซธรรมชาติที่สูบออกมาหมดแล้ว
หรอื อาจนาก๊าซคารบ์ อนไดออกไซด์ไปใช้ในกระบวนการอตุ สาหกรรม

5) การลดฝนุ่ ละอองโดยการใชอ้ ุปกรณ์กาจดั ฝุ่นละออง ได้แก่ เคร่ืองดักฝุ่นด้วยไฟฟ้า
สถิต (Electrostatic Precipitator) เป็นการกาจัดฝุ่นละอองโดยใช้หลักการไฟฟ้าสถิต ซึ่งระบบน้ี
ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงมากในการดักจับฝุ่นเคร่ืองแยกฝุ่นแบบลมหมุน (Cyclone Separator)
เป็นการกาจัดฝุ่นละอองโดยใช้หลักของแรงเหว่ียง และเครื่องกรองฝุ่นแบบถุงกรอง (Bag Filter)
เป็นอุปกรณ์ที่มีถุงกรองเป็นตวั กรองแยกฝุ่นละอองออกจากก๊าซท่เี กดิ จากการเผาไหมถ้ า่ นหิน

นอกจากน้ีในด้านคุณภาพอากาศ โรงไฟฟ้าควรมีระบบตรวจวัดปริมาณสารเจือปน
จากปล่องโรงไฟฟ้าแบบอัตโนมัติอย่างต่อเน่ือง (Continuous Emission Monitoring Systems:
CEMs) เพอ่ื ตรวจตดิ ตามและเฝา้ ระวงั ส่ิงผิดปกติต่าง ๆ เช่น ปริมาณของมลพิษเกินมาตรฐานจะได้

69

หาสาเหตุและหาทางแก้ไข เพ่ือให้ค่าต่าง ๆ กลับมาปกติเหมือนเดิม ควรมีการจัดเก็บข้อมูลทุกวัน
และติดตั้งเคร่ืองตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปแบบต่อเนื่อง (Ambient Air Quality
Monitoring Systems: AAQMs) เพอ่ื วดั คุณภาพอากาศในบริเวณพ้ืนท่ีชุมชนรอบโรงไฟฟ้าโดยทา
การเก็บข้อมูลอย่างต่อเน่ือง ทั้งนี้ต้องควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องโรงไฟฟ้าให้อยู่
ในเกณฑม์ าตรฐานและเปน็ ไปตามกฎหมายทเี่ กี่ยวข้อง

2. ดา้ นน้า
ผลกระทบดา้ นน้า น้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจะมีการเติมสารเคมีบางอย่าง
เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของน้าให้เหมาะสมสาหรับนามาใช้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงไฟฟ้ารวมไปถึง
น้าหล่อเย็นที่ใช้สาหรับระบายความร้อนให้กับระบบต่าง ๆ ภายในโรงไฟฟ้าก็จะมีอุณหภูมิสูงข้ึน
กว่าแหล่งน้าในธรรมชาติ ซ่ึงหากน้าเหล่าน้ีถูกปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าลงสู่แหล่งน้าธรรมชาติ เช่น
แม่น้า ลาคลอง เป็นต้น โดยไม่ผ่านกระบวนการจัดการบาบัดฟ้ืนฟูน้าที่ดีอาจส่งผลกระทบต่อพืช
และสตั ว์นา้ ทอ่ี าศัยอยรู่ อบ ๆ ได้

การจัดการส่ิงแวดล้อมด้านน้า โรงไฟฟ้าต้องมีมาตรการจัดการน้าเสียที่มาจาก
กระบวนการผลติ ไฟฟา้ และจากอาคารสานักงานตามลกั ษณะหรอื ประเภทของนา้ เสีย โดยคุณภาพ
นา้ ทิง้ ต้องมีการควบคุมให้ครอบคลมุ ทง้ั เรอ่ื งของเสยี และอุณหภูมิ ดังนี้

1) การควบคุมอุณหภูมิของน้าก่อนที่จะปล่อยสู่แหล่งน้าสาธารณะ โดยน้าจาก
ทอ่ หลอ่ เยน็ เมือ่ น้าท้งิ มีความขุ่นในระดับหนงึ่ จะถูกระบายออกไปสู่บ่อพกั น้าท่ี 1 เพื่อให้ตกตะกอน
และลดอุณหภูมิลงเหลือประมาณ 28 - 30 องศาเซลเซียสทิ้งไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ช่ัวโมง
จากน้ันจึงระบายออกสู่บ่อพักท่ี 2 เพื่อปรับสภาพน้าให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับธรรมชาติ ซึ่งกรม
ชลประทานได้กาหนดมาตรฐานไว้ที่ระดับ 33 องศาเซลเซียส ก่อนปล่อยออกสู่คลองระบายน้า
ธรรมชาติ

2) การจัดการสารเคมตี ่าง ๆ ที่อยู่ภายในน้าก่อนปล่อยสู่ส่ิงแวดล้อม ทาโดยการกักน้า
ไว้ในบ่อปรับสภาพน้าเพื่อบาบัดให้มีสภาพเป็นกลางและมีการตกตะกอน หรือเติมคลอรีนเพื่อฆ่า
เชอื้ โรค

นอกจากนใี้ นโรงไฟฟา้ ควรมีระบบเฝ้าระวงั คณุ ภาพน้า ได้แก่ การตรวจวัดคุณภาพน้า
ท่ีระบายออกจากโรงไฟฟา้ อยา่ งสม่าเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพน้าท่ีจะปล่อยออกสู่ธรรมชาตินั้น
มีคุณภาพอย่ใู นเกณฑ์มาตรฐานและเปน็ ไปตามกฎหมายที่เกยี่ วข้อง

70

3. ด้านเสียง
ผลกระทบด้านเสียง เกิดจากกิจกรรมของโรงไฟฟ้าท่ีสาคัญจะมาจากหม้อไอน้า

เครื่องกาเนดิ ไฟฟ้ากังหันกา๊ ซ และพาหนะท่ีเขา้ มาในพ้ืนทโ่ี รงไฟฟ้า

การจัดการส่ิงแวดล้อมเสียง เกิดจากกิจกรรมของโรงไฟฟ้าท่ีสาคัญจะมาจากหม้อไอ
น้า เคร่ืองกาเนิดไฟฟ้ากังหันก๊าซ และพาหนะท่ีเข้ามาในพ้ืนท่ีโรงไฟฟ้า ด้วยเหตุน้ีโรงไฟฟ้าควร
กาหนดมาตรการควบคุมระดบั เสยี งไว้ ดังน้ี

1) กจิ กรรมท่ีกอ่ ใหเ้ กิดเสยี งรบกวนชมุ ชนในเวลากลางคนื ต้องมีระดับเสียงไม่เกิน 85
เดซิเบล ในระยะ 1 เมตรจากจุดกาเนิดเสียง ตามมาตรฐานข้อกาหนดความดังของเสียงจากโรงงาน
อุตสาหกรรมเพอื่ ไมใ่ หเ้ ป็นท่ีรบกวนต่อผู้อยอู่ าศัยโดยรอบโรงไฟฟา้

2) ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมเสียงภายในโรงไฟฟ้าช่วงเดินเคร่ืองผลิตไฟฟ้าและติดตั้ง
อุปกรณ์ดูดซับเสียงแบบเคล่ือนที่ขณะทาความสะอาดท่อท่ีเครื่องกังหันไอน้า เพ่ือควบคุมความดัง
ของเสยี งใหอ้ ยู่ในมาตรฐานไมเ่ กิน 85 เดซิเบล

นอกจากนใี้ นโรงไฟฟา้ ควรทาการตรวจวดั เสียงอย่างสม่าเสมอ โดยกาหนดจุดตรวจวัด
เสียงทั้งภายในโรงไฟฟ้า และชุมชนรอบโรงไฟฟ้าไว้ 3 จุด โดยตรวจวัดตามแผนที่กาหนดไว้ เช่น
ตรวจคร้ังละ 3 วัน ติดต่อกันทุก 3 เดือน และทาการก่อสร้างแนวป้องกันเสียง (Noise Barrier)
โดยการปลกู ต้นไม้รอบพื้นทโี่ รงไฟฟา้

ตอนที่ 2 ขอ้ กาหนดและกฎหมายที่เกย่ี วขอ้ งกบั โรงไฟฟ้าด้านส่งิ แวดล้อม

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กาหนดให้
จัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบส่ิงแวดล้อม สาหรับโครงการ หรือกิจการแต่ละประเภทและ
แต่ละขนาดขึ้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัตแิ ละแนวทางการจัดทารายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบส่งิ แวดล้อมทก่ี าหนดโดยสานักงานนโยบายและแผนสง่ิ แวดล้อม

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ที่มีขนาดตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป จะต้องจัดทารายงานการ
วเิ คราะหผ์ ลกระทบส่งิ แวดลอ้ ม (EIA) และ การวเิ คราะห์ผลกระทบส่ิงแวดล้อม สังคม และสุขภาพ
(EHIA) ตามประกาศกระทรวงทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เรอ่ื ง กาหนดประเภทและขนาด
ของโครงการหรือกิจการ โดยต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบส่ิงแวดล้อม
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
สงิ่ แวดลอ้ ม

71

1. การวเิ คราะห์ผลกระทบส่งิ แวดลอ้ ม (Environmental Impact Assessment : EIA)

EIA (Environmental Impact Assessment) เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เพ่ือจาแนก
และคาดคะเนผลกระทบที่คาดว่าจะเกดิ ข้ึนจากโครงการหรือกจิ กรรม ตลอดจนเสนอแนะมาตรการ
ในการแก้ไขผลกระทบ (Mitigation Measure) และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพส่ิงแวดล้อม
(Monitoring) ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและดาเนินโครงการในการจัดทารายงานสาหรับโครงการ
หรือกิจการทุกประเภทที่ต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบส่ิงแวดล้อม (EIA) จะต้องเสนอ
รายละเอียดของข้อมูลเฉพาะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ผลกระทบจากแต่ละประเภท
โครงการด้วย

องคป์ ระกอบของ EIA
การจัดทา EIA ประกอบดว้ ย การศกึ ษาครอบคลมุ ระบบสง่ิ แวดลอ้ ม 4 ดา้ น คือ

1) ทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ เช่น ดิน น้า อากาศ เสียง เป็นต้น
ว่าจะมีการเปล่ยี นแปลงไปอยา่ งไร

2) ทรัพยากรชีวภาพ การศึกษาความเปล่ียนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่มีต่อระบบนิเวศน์
เช่น ป่าไม้ สัตวป์ ่า สัตวน์ า้ ปะการัง เป็นต้น

3) คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรทั้งทางกายภาพ และชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ทีด่ ิน เปน็ ตน้

4) คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ซ่ึงจะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบท่ีจะเกิดต่อมนุษย์
ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึง
ทัศนยี ภาพ คุณค่า ความสวยงาม

หลกั การและวธิ กี าร EIA
1) การประเมินผลกระทบส่งิ แวดลอ้ ม กอ่ นตดั สนิ ใจพัฒนาโครงการ
2) การประเมินผลกระทบส่ิงแวดล้อม เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี เพ่ือใช้สาหรับ

การตัดสินใจพัฒนาโครงการใดโครงการหน่ึง
3) การประเมินผลกระทบส่ิงแวดล้อม เป็นการศึกษาปัญหาท่ีจะเกิดขึ้นในอนาคต

ของโครงการพัฒนา
4) การประเมินผลกระทบส่ิงแวดล้อม เป็นการศึกษาปัญหาหลาย ๆ แง่มุม เพ่ือ

วิเคราะห์ หาผลกระทบทจ่ี ะเกดิ ขนึ้
5) การประเมินผลกระทบส่ิงแวดล้อม ต้องอาศัยหลักการป้องกันส่ิงแวดล้อม

2 ประการ คอื การวางแผนการใช้ที่ดิน และการควบคุมมลพษิ

72

ดังนั้น ในกระบวนการประเมินผลกระทบส่ิงแวดล้อม นอกจากจะแสดงให้เห็น
ผลกระทบอันเกิดจากการดาเนินโครงการแล้ว ยังเน้นให้มีการป้องกันด้านส่ิงแวดล้อมเข้าไปทุก
ข้ันตอนของการวางแผนและออกแบบโครงการ ด้วยหลักการก็คือ ให้มีการป้องกันไว้ก่อน น่ันคือ
ให้มีการพิจารณาทางเลือกของโครงการเพ่ือที่จะสามารถเปรียบเทียบ พิจารณาทางเลือกท่ีมี
ผลกระทบทางลบนอ้ ยท่ีสุด และใหป้ ระโยชน์หรอื ผลกระทบในทางบวกมากท่ีสุด

ตารางประเภทและลักษณะโรงไฟฟ้าที่ต้องทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบส่ิงแวดล้อม
(EIA : Environmental Impact Assessment)

ประเภทโครงการหรอื กจิ การ ขนาด หลกั เกณฑ์ วิธกี าร
โรงไฟฟ้าพลงั ความร้อน ระเบียบปฏบิ ัติ
ขนาดกาลงั ผลติ
กระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ ใ ห้ เ ส น อ ใ น ข้ั น ข อ อ นุ ญ า ต
10 เมกะวัตต์ขึน้ ไป ก่อสร้างเพ่ือประกอบกิจการ
หรือข้ันขออนุญาตประกอบ
กิจการ แล้วแตก่ รณี

2. การวเิ คราะหผ์ ลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ (Environmental Health

Impact Assessment: EHIA)

ปี พ.ศ. 2553 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ได้ออกประกาศและ
ข้อกาหนดท่ีเกี่ยวข้องเพ่ิมเติม ในเร่ืองประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสาหรับโครงการหรือกิจการท่ี
อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ท้ังทางด้านคุณภาพส่ิงแวดล้อม ทรัพยากร
ธรรมชาติ และสุขภาพ เพื่อให้การเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และโดยเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และตามมาตรา 46
และมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กาหนดให้การดาเนินงานโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ลาดับท่ี 11 ตาม
ประกาศกระทรวงทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เรื่อง กาหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติ
สาหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ท้ังทางด้านคุณภาพ
ส่ิงแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทา

73

รายงาน การวเิ คราะหผ์ ลกระทบส่ิงแวดลอ้ ม สังคม และสุขภาพ (EHIA : Environmental Health
Impact Assessment) โดยมรี ายละเอียดโครงการ ฯ ท่ีตอ้ งจัดทารายงาน ดงั นี้

ตารางประเภทและลักษณะโรงไฟฟ้าที่ต้องทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบส่ิงแวดล้อม
สังคม และสขุ ภาพ (EHIA : Environmental Health Impact Assessment)

ประเภทโครงการหรอื กิจการ ขนาด หลกั เกณฑ์ วิธกี าร
ระเบียบปฏบิ ัติ
1. โรงไฟฟา้ ที่ใช้ถา่ นหนิ เป็นเชอื้ เพลิง ขนาดกาลงั ผลิต
กระแสไฟฟ้ารวม ต้ังแต่ ใ ห้ เ ส น อ ใ น ขั้ น ข อ อ นุ ญ า ต
100 เมกะวัตต์ข้นึ ไป ก่อสร้างเพ่ือประกอบกิจการ
หรือขั้นขออนุญาตประกอบ
2. โรงไฟฟา้ ที่ใชเ้ ชอื้ เพลิงชีวมวล ขนาดกาลังผลติ กิจการ แลว้ แต่กรณี
กระแสไฟฟ้ารวม ต้งั แต่ ใ ห้ เ ส น อ ใ น ข้ั น ข อ อ นุ ญ า ต
150 เมกะวตั ต์ขึน้ ไป ก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ
หรือขั้นขออนุญาตประกอบ
3. โรงไฟฟ้าท่ีใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น ขนาดกาลงั ผลิต กิจการ แล้วแตก่ รณี
เชือ้ เพลิง ซึ่งเป็นระบบพลังความ กระแสไฟฟา้ รวม ตง้ั แต่ ใ ห้ เ ส น อ ใ น ขั้ น ข อ อ นุ ญ า ต
รอ้ นร่วม ชนิด combined cycle 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป ก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ
หรือ cogeneration หรือขั้นขออนุญาตประกอบ
กิจการ แลว้ แต่กรณี

74

ตารางประเภทและลักษณะโรงไฟฟ้าท่ีต้องทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สงั คม และสุขภาพ (EHIA : Environmental Health Impact Assessment) (ต่อ)

ประเภทโครงการหรือกจิ การ ขนาด หลักเกณฑ์ วิธกี าร
ระเบยี บปฏบิ ตั ิ
4. โรงไฟฟ้าพลงั งานนิวเคลียร์ ทกุ ขนาด
ใ ห้ เ ส น อ ใ น ข้ั น ข อ อ นุ ญ า ต
ก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ
หรือข้ันขออนุญาตประกอบ
กิจการ แลว้ แต่กรณี

องค์ประกอบของ EHIA
การจัดทา EHIA ประกอบด้วย การศึกษาครอบคลุมระบบส่ิงแวดล้อม 4 ด้าน
เช่นเดยี วกับการจัดทารายงาน EIA แตม่ ขี ้อแตกต่างกนั คือ

1) เนน้ เรอื่ งการประเมินผลกระทบสุขภาพใหค้ รอบคลุมปัจจัยต่าง ๆ ให้ชดั เจน

2) เนน้ กระบวนการรับฟังความคดิ เห็นของประชาชนในทุกข้ันตอน

ในการกาหนดขอบเขตการศึกษา ควรพิจารณาโอกาสท่ีจะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ
โดยพิจารณาจากปจั จยั ดังนี้

1) ส่งิ คกุ คามสุขภาพ
2) ผลกระทบตอ่ ระบบสุขภาพ
3) ปจั จยั ต่อการรับสมั ผสั
4) ลักษณะผลกระทบตอ่ สขุ ภาพ
5) ผลกระทบต่อระบบสุขภาพ
6) ผลกระทบต่อสังคมและชีวติ ความเปน็ อยู่

75

ข้ันตอนการจัดทารายงาน EHIA เปน็ ดังข้ันตอนต่อไปนี้

ภาพแผนผงั ข้นั ตอนการจัดทารายงาน EHIA

ปัจจุบัน ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยมีความเส่ือมโทรม และมีจานวนลดลง
อย่างต่อเน่ือง จึงจาเป็นต้องมีมาตรการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติท่ีมีจานวน
ลดลง ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุน และเหมาะสมกับปริมาณทรัพยากรธรรมชาติท่ีมีอยู่
ในปจั จบุ ัน และทจ่ี ะลดลงในอนาคต

ในด้านกฎหมาย และสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
กาหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสงวนบารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากการส่งเสริม

76

บารุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ย่ังยืน ตลอดจนควบคุม
และการจัดการภาวะมลพษิ ทางส่ิงแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิต
ของประชาชนเปน็ หลัก ในการพฒั นาโครงการตา่ ง ๆ

ในกรณีที่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าท่ีมีกาลังการผลิตต้ังแต่ 5 เมกะวัตต์ข้ึนไป แต่ไม่ถึง
10 เมกะวัตต์ แม้ว่าปัจจุบันยังไม่ต้องจัดทารายงาน EIA และ EHIA แต่ตามกฎหมายบังคับให้ต้อง
ทารายงานการศึกษาและมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพส่ิงแวดล้อมและความ
ปลอดภยั (Environmental Safety Assessment : ESA)

สาหรับผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าจากเช้ือเพลิงชีวมวล (ประเภทเชื้อเพลิงแข็ง) ท่ีมี
กาลังการผลิตติดต้ังต่ากว่า 10 เมกะวัตต์ จะต้องดาเนินการตามประมวลหลักการปฏิบัติงาน
(Code of Practice: COP) โดยเสนอรายงานการตรวจสอบด้านส่ิงแวดล้อม (Environmental
Checklist)

การจัดทารายงานวิเคราะหท์ างดา้ นสิ่งแวดลอ้ มตา่ ง ๆ เพื่อให้การประกอบกิจการผลิต
ไฟฟ้าสาหรับประเภทและโครงการแต่ละประเภท มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและ
เป็นเคร่ืองมือสาคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดผลกระทบท่ีอาจจะเกิดข้ึนต่อทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดลอ้ ม และสุขภาพของประชาชนท่อี ยูโ่ ดยรอบพน้ื ทโี่ รงไฟฟา้

กจิ กรรมทา้ ยเร่ืองท่ี 2 โรงไฟฟา้ กบั การจัดการดา้ นสิง่ แวดลอ้ ม

(ใหผ้ เู้ รยี นไปทากจิ กรรมเร่อื งท่ี 2 ทสี่ มดุ บันทึกกจิ กรรมการเรียนร)ู้

77

หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 3
อปุ กรณ์ไฟฟา้ และวงจรไฟฟา้

สาระสาคัญ
การดาเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันมีพลังงานไฟฟ้าเข้ามาเก่ียวข้องอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น

เพ่ือให้การใช้พลังงานไฟฟ้ามีความปลอดภัย ผู้ใช้ต้องรู้จักวงจรไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้า การ
เลือกใช้อปุ กรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ให้ถูกต้องจะช่วยให้เกิดความปลอดภัย รวมทั้งการรู้จักใช้สายดินและ
หลกั ดนิ ซ่ึงเปน็ อุปกรณท์ ่ีมไี วเ้ พือ่ ความปลอดภัยตอ่ การใช้เคร่ืองใชไ้ ฟฟ้าในครัวเรือน

ตัวชีว้ ัด
1. เลอื กใชอ้ ุปกรณไ์ ฟฟา้ ไดถ้ กู ตอ้ ง
2. อธิบายการต่อวงจรไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
3. ตอ่ วงจรไฟฟ้าแบบต่าง ๆ

ขอบขา่ ยเน้ือหา
เรื่องที่ 1 อุปกรณไ์ ฟฟ้า
เรอ่ื งที่ 2 วงจรไฟฟา้
เรื่องท่ี 3 สายดนิ และหลักดนิ

เวลาท่ใี ช้ในการศกึ ษา 30 ชั่วโมง

สือ่ การเรยี นรู้
1. ชดุ วชิ าการใช้พลังงานไฟฟ้าในชวี ิตประจาวนั 3 รหสั วิชา พว32023
2. ส่ือการเรียน เร่อื ง วงจรไฟฟา้
3. แผงสาธติ การต่อวงจรไฟฟ้า

78

เร่อื งที่ 1 อปุ กรณไ์ ฟฟา้

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในวงจรไฟฟ้ามีหลายชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่และความสาคัญท่ี
แตกต่างกนั ออกไป ไดแ้ ก่

1. ฟวิ ส์ (Fuse)
ฟวิ สเ์ ปน็ อุปกรณป์ ้องกนั กระแสไฟฟา้ ไหลเกินจนเกิดอันตรายต่อเคร่ืองใช้ไฟฟ้า ถ้ามี

กระแสไฟฟา้ ไหลเกิน ฟิวสจ์ ะหลอมละลายจนขาดทาใหต้ ัดวงจรไฟฟา้ ในครัวเรือนโดยอัตโนมตั ิ
ฟวิ ส์ทาดว้ ยโลหะผสมระหวา่ งตะกั่วกับดีบุก มีจุดหลอมเหลวต่าและมีรูปร่างแตกต่าง

กันไปตามวตั ถปุ ระสงค์ของการใชง้ าน ดงั นี้
1.1ฟวิ สเ์ สน้ มลี กั ษณะเปน็ เสน้ ลวดนยิ มใช้กับสะพานไฟในอาคารบ้านเรือน
1.2 ฟิวส์แผ่นหรือฟิวส์ก้ามปูมีลักษณะเป็นแผ่นโลหะผสมท่ีปลายท้ังสองข้างมี

ขอเก่ียวทาดว้ ยทองแดงนิยมใช้กบั อาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียน โรงงานต่าง ๆ เปน็ ต้น
1.3 ฟิวส์กระเบื้องมีลักษณะเป็นเส้นฟิวส์อยู่ภายในกระปุกกระเบื้องท่ีเป็นฉนวน

นิยมติดตัง้ ไว้ทแ่ี ผงควบคมุ ไฟฟ้าของอาคารบ้านเรอื น
1.4 ฟิวส์หลอดเป็นฟิวส์ขนาดเล็ก ๆ บรรจุอยู่ในหลอดแก้วเล็กนิยมใช้มากใน

เครอื่ งใชไ้ ฟฟ้าต่าง ๆ เชน่ วิทยุ โทรทศั น์ ปลก๊ั พ่วงเต้ารบั ไฟฟ้า เป็นต้น

ภาพฟวิ สช์ นดิ ต่าง ๆ

79

ขนาดและการเลือกใช้ฟิวส์
1) ขนาดของฟิวส์ถูกกาหนดให้เป็นค่าของกระแสไฟฟ้าสูงสุดท่ีไหลผ่านได้โดยฟิวส์
ไม่ขาด มขี นาดต่าง ๆ กนั เช่น 5, 10, 15 และ 30 แอมแปร์ เช่น ฟิวส์ขนาด 15 แอมแปร์ คือ ฟิวส์
ท่ียอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผา่ นได้ไม่เกิน 15 แอมแปรถ์ ้าเกนิ กวา่ นฟี้ วิ สจ์ ะขาด เป็นต้น
2) การเลือกใช้ฟิวส์ ควรเลือกขนาดของฟิวส์ให้พอเหมาะกับปริมาณกระแสไฟฟ้า ที่
ใช้ในครัวเรือนซ่ึงเราสามารถคานวณหาขนาดของฟิวส์ให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสไฟฟ้า
จากความสมั พันธ์ต่อไปนี้

P = IV

เมอ่ื P คือ กาลังไฟฟา้ มีหนว่ ยเปน็ วัตต์ (Watt)
I คือ กระแสไฟฟ้า มีหนว่ ยเปน็ แอมแปร์ (Ampere)
V คอื ความตา่ งศกั ย์ไฟฟา้ มีหน่วยเป็นโวลต์ (Volt)

ตัวอยา่ ง บา้ นหลงั หน่ึงใช้เครอื่ งใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ดงั นี้ ตู้เยน็ 100 วัตต์ เตารีด 1,000 วัตต์
โทรทัศน์ 150 วตั ต์ หมอ้ หงุ ขา้ ว 700 วตั ต์ และหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 25 วัตต์ 4 ดวง
ถา้ บา้ นหลงั นีใ้ ช้ไฟฟ้าทมี่ ีความต่างศักย์ 220 โวลต์ จะต้องใช้ฟวิ สข์ นาดกี่แอมแปร์

วิธีทา จากโจทย์ P = 100 + 1,000 + 150 + 700 + (25×4)

= 2,050 วัตต์

V = 220 โวลต์

I =?

จากสูตร P = IV

แทนคา่ I = 2,050/220

= 9.32 แอมแปร์

ตอบ บา้ นหลังนค้ี วรใช้ฟวิ สข์ นาด 10 แอมแปร์

80

2. อปุ กรณต์ ดั ตอน หรอื เบรกเกอร์ (Breaker)
เบรกเกอร์ คือ อุปกรณ์ตัดต่อวงจรโดยอัตโนมัติเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินไปปุ่ม

หรอื คันโยกที่เบรกเกอร์จะดดี มาอย่ใู นตาแหนง่ ท่ีเปน็ การตัดวงจรอย่างอัตโนมัติ โดยอาศัยหลักการ
ทางานของแม่เหล็กไฟฟา้ ไมใ่ ชก่ ารหลอมละลายเหมือนฟิวส์จงึ ไมจ่ าเป็นต้องเปลี่ยนฟิวส์ เบรกเกอร์
มีจาหน่ายตามทอ้ งตลาดหลายแบบหลายขนาด ดังภาพ

ภาพเบรกเกอร์แบบต่าง ๆ

3. สวติ ช์ (Switch)
สวิตช์ เป็นอุปกรณ์ปิดหรือเปิดวงจรไฟฟ้า เพ่ือควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ

เครื่องใชไ้ ฟฟา้ แบ่งออกเปน็ 2 ประเภท ประกอบดว้ ย
3.1 สวิตช์ทางเดียว สามารถโยกปิดหรือเปิดวงจรไฟฟ้าได้เพียงทางเดียว เช่น วงจร

ของหลอดไฟฟา้ หลอดใดหลอดหนง่ึ เป็นต้น
3.2 สวิตช์สองทาง เป็นการติดตั้งสวิตช์ 2 จุด เพื่อให้สามารถปิดหรือเปิดวงจรไฟฟ้า

ได้สองจุด เช่น สวิตช์ไฟท่ีบันไดที่สามารถเปิด - ปิดได้ท้ังอยู่ชั้นบนและช้ันล่างทาให้สะดวก
ในการใชง้ าน

ภาพสวติ ชแ์ บบทางเดยี ว ภาพสวติ ช์แบบสองทาง

81

ข้อควรรู้เกย่ี วกับสวิตช์
1) ไม่ควรใช้สวิตช์อันเดียวควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายช้ินให้ทางานพร้อมกัน
เ พ ร า ะ กระแสไฟฟ้าท่ีไหลผ่านสวิตช์มากเกินไปจะทาให้จุด สั ม ผั ส เ กิ ด ค ว า ม ร้ อ น สู ง อาจทาให้
สวิตชไ์ หม้ และเป็นอันตรายได้
2) ไม่ควรใช้สวิตช์ธรรมดาควบคุมเคร่ืองใช้ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสูง เช่น
มอเตอร์เคร่ืองปรับอากาศ เป็นต้น ควรใช้เบรกเกอร์แทน เนื่องจากสามารถทนกระแสไฟฟ้าที่ไหล
ผ่านได้สงู กว่า
4. สะพานไฟ (Cut-Out)
สะพานไฟเป็นอปุ กรณส์ าหรับตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดภายในครัวเรือนประกอบด้วย
ฐานและคนั โยกทีม่ ีลักษณะเป็นขาโลหะ 2 ขา ซึ่งมที ีจ่ บั เปน็ ฉนวนเม่อื สบั คนั โยกขึ้นกระแสไฟฟ้าจะ
ไหลเขา้ สูว่ งจรไฟฟ้าในครัวเรือนและเมื่อสับคันโยกลงกระแสไฟฟา้ จะหยดุ ไหล ซ่งึ เป็นการตดั วงจร

ภาพสะพานไฟและฟวิ สใ์ นสะพานไฟ

ขอ้ ควรรู้เกีย่ วกับสะพานไฟ
1) สะพานไฟชว่ ยให้เกดิ ความสะดวกและปลอดภยั ในการซอ่ มแซมหรือติดต้ังอุปกรณ์
ไฟฟา้
2) ถา้ ตอ้ งการให้วงจรเปิด (ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน) ให้สับคันโยกลงแต่ถ้าต้องการ
ให้วงจรปิด (มกี ระแสไฟฟ้าไหลผ่าน) ให้สับคันโยกขึ้น
3) ในการสบั คันโยกจะตอ้ งให้แนบสนิทกับที่รองรบั

82

5. เคร่ืองตัดไฟรวั่ (Earth Leak Circuit Breaker : ELCB)
เคร่ืองตัดไฟรั่ว เป็นอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยอีกชั้นหน่ึงที่สามารถตัดวงจรไฟฟ้า

กรณีเกิดไฟร่ัว โดยกาหนดความไวของการตัดตอนวงจรไฟฟ้าตามปริมาณกระแสไฟฟ้าท่ีรั่ว
ลงดนิ เพ่อื ใหม้ ีการตัดไฟรัว่ ก่อนทจ่ี ะเปน็ อันตรายกบั ระบบไฟฟา้

ภาพเครอ่ื งตดั ไฟรัว่

6. เต้ารับ (Socket) และเต้าเสยี บ (Plug)
เตา้ รบั และเต้าเสียบ เป็นอุปกรณท์ ี่ใช้เช่ือมต่อวงจรไฟฟ้า ทาใหก้ ระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่

อุปกรณแ์ ละเครื่องใช้ไฟฟ้า
1) เต้ารับหรือปลั๊กตัวเมีย คือ อุปกรณ์ท่ีเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าในครัวเรือน เช่น

เต้ารับที่ตดิ ตง้ั บนผนังบ้านหรืออาคาร เป็นตน้ เพ่ือรองรบั การตอ่ กับเตา้ เสยี บของเครอ่ื งใช้ไฟฟ้า
2) เต้าเสียบหรือปล๊ักตัวผู้ คือ อุปกรณ์ส่วนท่ีติดอยู่กับปลายสายไฟของเคร่ืองใช้ไฟฟ้า

เต้าเสียบทใ่ี ช้กันอยู่มี 2 แบบ คือ
(1) เตา้ เสยี บ 2 ขา ใช้กบั เต้ารบั ทม่ี ี 2 ช่อง
(2) เตา้ เสียบ 3 ขา ใช้กับเตา้ รับท่ีมี 3 ช่อง โดยขากลางจะต่อกับสายดนิ

83

ภาพเต้ารับและเต้าเสยี บ

ข้อควรรู้เก่ียวกบั เตา้ รบั และเต้าเสยี บ

1) การใช้งานควรเสียบเต้าเสียบให้แน่นสนิทกับเต้ารับและไม่ใช้เต้าเสียบหลายอัน
กบั เตา้ รบั อนั เดยี ว เพราะเต้ารบั อาจรอ้ นจนลุกไหม้ได้

2) เม่อื จะถอดปลั๊กออกควรจับท่ีเต้าเสียบ ไม่ควรดึงที่สายไฟเพราะจะทาให้สายหลุด
และเกิดไฟฟา้ ลัดวงจรได้

7. สายไฟ (Cable)
สายไฟเป็นอุปกรณ์สาหรับส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกท่ีหน่ึง โดย

กระแสไฟฟ้าจะนาพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเคร่ืองใช้ไฟฟ้า สายไฟทาด้วยสารท่ีมี
คุณสมบตั เิ ปน็ ตวั นาไฟฟ้า (ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี) เช่น ทองแดง เป็นต้น โดยจะถูกหุ้ม
ดว้ ยฉนวนไฟฟา้ เพ่ือความปลอดภยั ของผูใ้ ชไ้ ฟฟา้ สายไฟท่ใี ชก้ นั ตามบ้านเรือนมดี ังภาพ

ชนดิ ของสายไฟ พิกดั แรงดนั และลกั ษณะการตดิ ตงั้
VAF สายแขง็ พกิ ดั แรงดนั : 300 โวลต์
การติดตั้ง : ใช้ในบ้านอยู่อาศัยทั่วไป ใช้ใน
การเดินสายไฟติดผนังสาหรับระบบแสง
สว่าง หรือเตา้ รับไฟฟา้
พกิ ดั แรงดัน : 300 โวลต์
การติดต้ัง : เดินปล๊ักลอยแบบมีสายกราวด์

84

VAF-G หรอื สาย VAF แบบมีกราวด์ เดนิ ซอ่ นในผนัง
VFF สายอ่อน พิกัดแรงดนั : 750 โวลต์
VCT สายออ่ น การตดิ ตั้ง : ตอ่ เข้าเครอ่ื งอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือ
เครื่องใชไ้ ฟฟ้า
พิกดั แรงดัน : 300 โวลต์
การติดต้ัง : เคร่ืองใช้ไฟฟ้าตามบ้าน ปล๊ัก
พว่ งชนิดทาเองในบ้าน
พิกัดแรงดัน : 750 โวลต์
การตดิ ต้ัง : ใชเ้ ปน็ สายเดนิ เข้าเครื่องจักรใช้
ใ น ก า ร เ ดิ น ส า ย ไ ฟ ส า ห รั บ ป๊ั ม น้ า
เคร่ืองปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าท่ีใช้
กาลงั ไฟฟา้ สงู

ชนิดของสายไฟ พิกัดแรงดันและลักษณะการติดต้งั
VSF สายออ่ น พิกดั แรงดัน : 300 โวลต์
การติดต้ัง : ใช้เดินสายลาโพง เดินสาย
NYY ภายในเคร่ืองใช้ไฟฟ้าต่างๆ, เดินระบบ
THW สายแข็งอ่อน ควบคุมไฟฟ้าโรงงานเหมาะสาหรับเดินไฟ
ในตคู้ วบคมุ
พิกัดแรงดัน : 750 โวลต์
การติดตั้ง : นิยมใช้อย่างกว้างขวาง
เนื่องจากทนต่อสภาพแวดล้อมเพราะมี
เปลือกหุ้มอีกหนึ่งช้ัน นาไปใช้ในการเดิน
สายไฟสาหรับระบบไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณ
สนามหญ้าและฝงั สายไฟลงใต้ดนิ
พกิ ดั แรงดัน : 750 โวลต์
การตดิ ต้ัง : นิยมใช้กนั อย่างกวา้ งขวางท้งั
ในครวั เรอื นและในโรงงานอตุ สาหกรรม
ปกติจะเดนิ รอ้ ยในท่อร้อยสาย

85

การเลอื กขนาดของสายไฟ

ในการเลือกขนาดสายไฟให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานนั้น จะดูที่พิกัดการทน

กระแสไฟฟ้าของสายไฟเปน็ สาคัญ โดยดไู ด้จากตารางเปรียบเทียบ

ตารางเปรียบเทยี บขนาดของตวั นา ฉนวน และปริมาณกระแสไฟฟา้ ที่สายไฟสามารถทนได้

ตัวนาไฟฟา้ ความหนาของ ความหนาของ พกิ ัดการทน
ฉนวนไฟฟ้า เปลอื กหุ้มสายไฟ กระแสไฟฟา้
พน้ื ที่หน้าตัด หมายเลข/ (มลิ ลิเมตร)
(มิลลิเมตร) (แอมป์)
(ตารางมิลลเิ มตร) เสน้ ผ่าศนู ยก์ ลาง

หรือ (sq.mm) (มิลลิเมตร)

0.5 1/0.80 0.6 0.9 7

1.0 1/1.13 0.6 0.9 11

1.0 7/0.40 0.6 0.9 11

1.5 1/1.38 0.6 1.2 16

1.5 7/0.50 0.6 1.2 16

2.5 1/1.78 0.7 1.2 21

2.5 7/0.67 0.7 1.2 21

4 1/2.25 0.8 1.2 29

4 7/0.85 0.8 1.2 29

6 7/1.04 0.8 1.2 36

10 7/1.35 0.9 1.2 51

16 7/1.70 1.0 1.2 67

25 7/2.14 1.2 1.4 91

35 19/1.53 1.2 1.4 111

ตารางด้านบน ใช้สาหรับเลือกขนาดสายไฟให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานแบบ

ง่าย ๆ โดยใหด้ ู 2 ชอ่ งหลัก คอื ช่องพ้นื ทีห่ นา้ ตดั และช่องพกิ ดั การทนกระแสไฟฟา้

ตัวอย่าง สายไฟชนิด VAF ขนาด 2.5 ตารางมิลลเิ มตร จะมีพิกัดการทนกระแสไฟฟ้าได้ 21 แอมป์
หรือ สายไฟขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร จะมีพิกัดการทนกระแสไฟฟ้าได้ 91 แอมป์ จะ
เห็นได้ว่า ขนาดของสายไฟย่ิงมากเท่าไร อัตราพิกัดการทนกระแสไฟฟ้าก็จะย่ิงมากขึ้น
เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้ขนาดของสายไฟให้เหมาะสมกับขนาดการใช้ไฟฟ้าของ
อปุ กรณ์

86

ข้ันตอนง่าย ๆ ในการหาขนาดของสายไฟให้มีความเหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
มดี งั นี้

1) ตอ้ งรูค้ า่ กระแสไฟฟ้าของอุปกรณไ์ ฟฟ้า สาหรับค่ากระแสไฟฟา้ น้ันหาได้จากแผ่น
ปา้ ยทีต่ ิดอยทู่ ่ีโครงอปุ กรณไ์ ฟฟ้า แสดงดังภาพตัวอยา่ งฉลากบอกคา่ กระแสไฟฟา้ ของอปุ กรณ์ไฟฟ้า

ภาพตวั อย่างฉลากบอกคา่ กระแสไฟฟ้าของอปุ กรณไ์ ฟฟ้า

จากภาพตวั อย่างฉลากบอกค่ากระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวอย่างอุปกรณ์ไฟฟ้า
คือ เคร่อื งปรบั อากาศ (รูปซ้ายมอื ) จะเหน็ ว่าแผ่นป้ายที่บอกข้อมูลทางไฟฟ้าของเคร่ืองปรับอากาศ
เครื่องนี้อยู่ด้านข้างของเครื่อง (รูปขวามือ) จากแผ่นป้ายจะบอกไว้ว่าเครื่องปรับอากาศจะกิน
กระแสไฟฟา้ มคี า่ 10.50 แอมป์

หมายเหตุ ในกรณีที่แผ่นป้ายของอุปกรณ์ไฟฟ้าน้ัน ๆ ไม่บอกค่ากระแสไฟฟ้ามา ก็มี
วธิ ีคานวณเพอื่ หาค่ากระแสไฟฟ้าด้วยวิธีง่าย ๆ คือ นาค่ากาลังไฟฟ้า (หน่วยเป็นวัตต์ :W) หารด้วย
คา่ แรงดนั ไฟฟ้า (หน่วยเปน็ โวลต์ :V) ถ้าเขยี นเปน็ สูตรก็จะได้วา่

สูตร P = I x V
กาหนดให้ Current : I = คา่ กระแสไฟฟา้ ของอุปกรณไ์ ฟฟ้า มีหนว่ ยเปน็ แอมป์ (A)

Power : P = คา่ กาลงั ไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟา้ มหี น่วยเปน็ วตั ต์ (W)
Voltage : V = คา่ แรงดนั ไฟฟ้าท่อี ปุ กรณ์ไฟฟ้าใชง้ าน มีหน่วยเป็น โวลต์ (V)

87

ถ้าเครือ่ งปรับอากาศดงั รูป ไม่บอกคา่ กระแสไฟฟา้ มา ใหค้ านวณหาค่ากระแสไฟฟา้ ดังนี้

จากแผ่นปา้ ยจะได้ค่า กาลังไฟฟา้ (P) = 2,330 วตั ต์ (W)
ค่าแรงดนั ไฟฟา้ (V) = 220 โวลต์ (V)
จะได้ I = 2,330 W
220 V
= 10.6 แอมป์

2) เผ่ือค่ากระแสไฟฟ้า อีกร้อยละ 25 โดยท่ัวไปวัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อทางาน
ติดต่อกันเกินกว่า 3 ชั่วโมงข้ึนไป ประสิทธิภาพการทางานจะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 80
ดังนั้นสายไฟ ท่ีจะนามาใช้งานก็เช่นเดียวกัน เม่ือใช้งานติดต่อกันเกินกว่า 3 ช่ัวโมง ประสิทธิภาพ
ในการทนกระแสไฟฟา้ กจ็ ะลดลงเหลอื ประมาณร้อยละ 80 เพ่ือเป็นการชดเชยประสิทธิภาพในการ
ทนกระแสไฟฟ้าของสายไฟในส่วนท่ีหายไป จึงต้องมีการเผ่ือค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มอีกร้อยละ 25
กอ่ น แล้วนาคา่ กระแสไฟฟา้ ท่ไี ด้ไปหาขนาดสายไฟในขั้นตอนต่อไป
จากขั้นตอนการหาคา่ กระแสไฟฟา้ ค่ากระแสไฟฟา้ มีค่า 10.6 แอมป์

ทาการเผื่ออีก 25% = (10.6 X 25)
100

= 2.65
ค่ากระแสไฟฟ้าเมือ่ ทาการเผือ่ ค่ากระแส 25% = 10.6 + 2.65

= 13.25
จะได้คา่ กระแสไฟฟ้าเท่ากบั 13.25 แอมป์

3) นาค่ากระแสไฟฟ้า เปิดตารางหาขนาดสายไฟ โดยนาค่ากระแสไฟฟ้าที่ได้ทาการ
เผื่อไว้แล้วร้อยละ 25 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 13.25 แอมป์ นาไปเทียบกับตาราง พบว่า ต้องใช้สายไฟท่ีมี
ขนาด 1.5 ตารางมิลลิเมตร (ทนพิกัดกระแสไฟฟ้าได้ 16 แอมป์) มาใช้ในการเดินสายไฟให้กับ
เครื่องปรับอากาศ ดังรูป ทั้งนี้เนื่องจากสายไฟมีอัตราพิกัดการทนกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าค่า
กระแสไฟฟ้าทไี่ หลจรงิ ในวงจรจงึ ทาให้สายไฟไม่รอ้ นและไม่เกิดอบุ ตั เิ หตอุ คั คภี ัย

88

บทสรุปการเลอื กขนาดสายไฟชนดิ VAF มี 3 ขั้นตอน ดังรปู

หาค่ากระแสไฟฟ้าของอุปกรณไ์ ฟฟา้

เผอื่ คา่ กระแสไฟฟ้าอกี ร้อยละ 25

เปดิ ตารางหาขนาดสายไฟ
ขนั้ ตอนการเลอื กขนาดสายไฟ

กิจกรรมท้ายเร่อื งท่ี 1 อปุ กรณไ์ ฟฟ้า
(ให้ผเู้ รียนไปทากจิ กรรมเรอ่ื งท่ี 1 ทส่ี มุดบันทึกกิจกรรมการเรียนร)ู้

89

เร่อื งท่ี 2 วงจรไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า (Electrical Circuit) คือ การเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าผ่าน
สายไฟไปยงั เคร่อื งใช้ไฟฟา้ ในครวั เรอื น

สาหรับการเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า มี 3 แบบ คือ แบบอนุกรม
แบบขนาน และแบบผสม ดงั น้ี

วงจรไฟฟา้ ลักษณะการตอ่ วงจรไฟฟ้า

การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม เป็นการ
นาเอาเคร่ืองใช้ไฟฟา้ มาต่อเรียงลาดับกันไป โดยนา
ปลายด้านหนึ่งต่อเข้ากับปลายอีกด้านหน่ึงของ
เคร่ืองใช้ไฟฟ้าแต่ละตัวจนถึงตัวสุดท้าย แล้วจึงต่อ
เข้ากับแหล่งกาเนิดไฟฟ้าทาให้กระแสไฟฟ้าไหลไป
ในทิศทางเดียว และกระแสไฟฟ้าภายในวงจรจะมี
คา่ เทา่ กันทกุ ๆ จดุ

การต่อวงจรแบบน้ี ไม่เหมาะท่ีจะใช้กับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากหากอุปกรณ์ตัวใดตัวหน่ึง
เ กิ ด ข า ด ห รื อ ช า รุ ด เ สี ย ห า ย ก ร ะ แ ส ไ ฟ ฟ้ า จ ะ ไ ม่
สามารถไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ตัวอ่ืน ๆ ได้ ดังนั้น
การต่อวิธีนจ้ี งึ ไมค่ อ่ ยนิยมใช้กันท่ัวไป จะมีใช้กันอยู่
ในวงจรวิทยุ โทรทศั น์

วงจรไฟฟ้า 90

ลกั ษณะการต่อวงจรไฟฟ้า

การตอ่ วงจรไฟฟ้าแบบขนาน เป็นการนาเอา
เครื่องใช้ไฟฟ้า 2 ชนิดข้ึนไป มาต่อเรียงแบบขนาน
กนั โดยนาปลายดา้ นเดยี วกันของเคร่ืองใช้ไฟฟ้าแต่
ละตั วมาต่อเข้าด้ วยกัน แล้วต่อปลายของ
เคร่ืองใช้ไฟฟ้าแต่ละตัวท่ีต่อกันแล้ว ต่อเข้ากับ
แ ห ล่ง ก า เนิ ด ไ ฟฟ้ า โ ด ยแ รง ดั น ไ ฟ ฟ้า ข อ ง
เคร่ืองใช้ไฟฟ้าแต่ละตัวจะมีค่าเท่ากัน แต่กระแสที่
ไหลในแต่ละสาขาย่อยของวงจรจะมีค่าไม่เท่ากัน
อย่างไรก็ตามเมื่อนาค่ามารวมกันจะได้เท่ากับ
กระแสทีไ่ หลผา่ นวงจรท้งั หมด

การต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม เป็นการต่อผสม
กนั ของวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและวงจรไฟฟ้าแบบ
ขนานแตไ่ ม่นิยมใชง้ าน เพราะยงุ่ ยาก

การต่อวงจรแบบผสม

วงจรไฟฟ้าภายในครัวเรือนจะเป็นการต่อแบบขนานและเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดรับ
แรงดันไฟฟ้าขนาดเดียวกัน หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งเกิดขัดข้องเน่ืองจากสาเหตุใดก็ตาม
เครือ่ งใชไ้ ฟฟ้าชนดิ อื่นกย็ งั คงใช้งานไดต้ ามปกติ

ภาพการต่อวงจรไฟฟา้ ภายในบา้ น

91

สาหรับประเทศไทย ไฟฟ้าทใี่ ช้ในครัวเรือนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับท่ีมีความต่างศักย์ไฟฟ้า
(ความต่างศักย์ไฟฟ้า คือ พลังงานไฟฟ้าที่ต่างกันระหว่างจุด 2 จุด) 220 โวลต์ (V) ความถ่ี 50 เฮิรตซ์
(Hz) โดยใช้สายไฟ 3 เส้น คือ

1) สายไฟหรือเรียกว่า “สายเส้นไฟ หรือสาย L” (Line) เป็นสายเส้นที่มีกระแสไฟไหล
ผา่ นไปยงั เคร่ืองใช้ไฟฟา้ มคี วามตา่ งศักยไ์ ฟฟา้ 220 โวลต์

2) สายนิวทรัลหรือเรียกว่า “สายศูนย์ หรือสาย N” (Neutral) เป็นส่วนหนึ่งของวงจร
มหี นา้ ทท่ี าให้กระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรมีความต่างศกั ย์ไฟฟ้า 0 โวลต์

3) สายดิน หรอื เรยี กว่า “สาย G” (Ground) เป็นสายเส้นท่ีไม่มีกระแสไฟฟ้า ทาหน้าที่
รับกระแสไฟฟ้าท่ีรั่วมาจากเคร่ืองใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และป้องกันอันตราย
แกบ่ ุคคล อุปกรณไ์ ฟฟ้าและเคร่อื งใช้ไฟฟ้า

กระแสไฟฟ้าจะส่งผ่านมิเตอร์ไฟฟ้ามายังแผงควบคุมไฟฟ้า ซ่ึงแผงควบคุมไฟฟ้า
ทาหนา้ ท่ีจ่ายกระแสไฟฟา้ ไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

92

แผงควบคุมไฟฟ้าประกอบด้วยอุปกรณ์ตัดตอนหลัก หรือเรียกว่า “เบรกเกอร์” (Main Circuit
Breaker หรือ Cut-Out) ซ่ึงมี 1 ตัวต่อครัวเรือน และมีอุปกรณ์ตัดตอนย่อยหลายตัวได้ข้ึนอยู่กับ
จานวนเคร่ืองใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน นอกจากน้ียังมีจุดต่อสายดินที่จะต่อไปยังเต้ารับ หรือปล๊ัก
ตัวเมีย ทกุ จดุ ในครวั เรอื น เพ่ือต่อเข้าเครือ่ งใชไ้ ฟฟา้

สาย N สาย L
สาย G

ภาพตัวอย่างแผงวงจรไฟฟ้าในครัวเรือน

จากภาพตัวอย่างแผงวงจรไฟฟ้าในครัวเรือน กระแสไฟฟ้าจะไหลจากสายไฟหลักไปยัง
อุปกรณ์ตัดตอนหลัก และจ่ายไปยังอุปกรณ์ตัดตอนย่อย เพ่ือจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังเคร่ืองใช้ไฟฟ้า


Click to View FlipBook Version