The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ในวันที่สายลมแห่งภูเขาโบราณนำทางเราไป

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ในวันที่สายลมแห่งภูเขาโบราณนำทางเราไป

ในวันที่สายลมแห่งภูเขาโบราณนำทางเราไป

Keywords: ในวันที่สายลมแห่งภูเขาโบราณนำทางเราไป

ของดีเมืองนราธิวาสทมี่ ีอตั ลักษณ์ท้องถนิ่ ใหเ้ ปน็ ท่ีรู้จัก
เมอ่ื ไปถงึ ลานนกเงอื กฉนั รสู้ กึ ตน่ื ตาตนื่ ใจดว้ ยสสี นั รปู ปน้ั นกเงอื ก

นับร้อยตัว ฉันเดินส�ารวจความสวยงามของบรรดารูปปั้นนกเงือกจาก
จุดหน่ึงไปยังอีกจุดหน่ึง เดินส�ารวจไปเรื่อยๆ ฉันรู้สึกเพลินกับการไปชม
รูปปั้นมาก ล�าตัวนกเงือกจะมีสีขาวด�า หางยาว ปีกกว้างใหญ่มีสีเหลือง
บ้าง ลักษณะเด่นของมันคือจะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทาง
ด้านบนเป็นโพรง เป็นประติมากรรมท่ีเสมือนจริงมาก ในความคิดของฉัน
นกเงือกอาจจะดูเป็นนกท่ีประหลาดกว่านกอ่ืนทั่วไปแต่ก็ยังคงความ
สวยงามตามลักษณะธรรมชาตขิ องมนั

ณ ลานนกเงือกแห่งนี้นอกจากจะมีรูปปั้นนกเงือกนับร้อยตัว
แล้ว ยังมีทิวทัศน์ที่สวยงามท้องฟ้าสีคราม แม่น�้าสีฟ้าใส ภูเขาเขียวขจี
บรรยากาศเย็นสบายยามต้องลม ซึ่งคนในพ้ืนที่มักจะพาครอบครัว
เพ่ือนฝูงมาเท่ียวพักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางธรรมชาติท่ีงดงาม และท่ี
พลาดไม่ได้คือต้องถ่ายรูปคู่กับนกเงือก ซ่ึงฉันก็ไม่พลาดที่จะเซลฟีคู่กับ
นกเงือกนับร้อยตัวอวดใครๆ เขา เพราะที่น่ีถือเป็นแลนด์มาร์กและจุด
เชก็ อนิ ของจังหวดั นราธิวาสทนี่ ิยมในขณะน้ี

ฉันบอกพ่อว่าฉันเคยอ่านหนังสือสารคดีจากห้องสมุดโรงเรียน
เกี่ยวกับนกเงือก ว่าเป็นตัวช้ีวัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้
ประการหน่ึง เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์เน่ืองจากมันจะอาศัย
ในป่าและพ้ืนท่ีที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น อย่างผืนป่า “ฮาลา-บาลา”
มีพ้ืนท่ีป่าบรรจบ 2 ผืน ประกอบด้วยป่าฮาลาในเขตอ�าเภอเบตง จังหวัด
ยะลาและอา� เภอจะแนะ จังหวดั นราธิวาส กับปา่ บาลาทค่ี รอบคลุมอา� เภอ
แวง้ และอ�าเภอสุคิริน จงั หวดั นราธวิ าส

พ่อเอ่ยกับฉันว่า “ลูกรู้หรือไม่ นกเงือกนอกจากจะเป็น
สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์แล้ว มันยังเป็นสัญลักษณ์ของความ
รักแท้อีกด้วย ท่ีเป็นเช่นน้ันก็เพราะว่านกเงือกจะใช้ชีวิตคู่แบบผัวเดียว

50

เมียเดียวจนแก่เฒ่าหรือว่าจะตายจากกันและตัวผู้ยังมีลักษณะของ
หัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารคอยดูแลปกป้องลูกนกและแม่นกให้
ปลอดภัย” ฉันเลยแซวพ่อว่า “ชีวิตรักของพ่อกับนกเงือกช่างเหมือนกัน
ที่มีรักแท้รักแม่คนเดียว และดูแลลูกเหมือนท่ีพ่อนกเงือกป้อนอาหาร
ปกปอ้ งลกู และคขู่ องมนั ” พ่อย้ิมอยา่ งเขินๆ

หลังจากท่ีได้ชมทิวทัศน์ความงามของเข่ือนท่าพระยาสาย
ได้เซลฟีคู่กับนกเงือกจนสุขส�าราญใจแล้ว เรายังไปสถานที่ท่องเท่ียว
อีกแหง่ ที่เป็นแลนด์มารก์ ใหมข่ องจงั หวดั นราธิวาสคือตลาดน้�ายะกงั ยะกัง
เป็นชุมชนริมน�้าเก่าแก่ของนราธิวาส เมื่อชุมชนอยู่ติดน้�าจึงมีตลาดน�้า
โจษขานในเรื่อง “ขนมโบราณ” ที่หากินได้ยากมาก ซ่ึงตลาดแห่งนี้มี
ร้านค้าให้เลือกซ้ือมากกว่า 50 ร้านไม่ซ้�ากัน ขนมของแต่ละร้านดูน่ากิน
เสียทุกอย่าง ขนมโบราณที่ว่านี้บางชนิดฉันก็ไม่เคยกินมาก่อน เช่น
“ปูตูฮาลือบอ” ท�าจากมันส�าปะหลังผสมขมิ้น ตะไคร้ กระเทียม และ
ลูกซัด ฉันยังสงสัยเลยว่าขนมชนิดน้ีเป็นของหวานหรือของคาวกันแน่ แต่
ฉันลองชิมดูแล้วเป็นของหวานท่ีรสชาติอร่อยนะ มีกลิ่นของสมุนไพรไทย
และมคี ุณค่าทางโภชนาการสงู ยงั มเี มนเู ด็ดกบั ขนม “บาตาบูโระ” “บาตา”
แปลว่า หมอน “บโู ระ” แปลวา่ เกา่ แปลความหมายวา่ “หมอนเกา่ ” ช่ือ
ขนมชนิดนี้เราเรียกตามรูปร่างหน้าตาของขนม คือแผ่นแป้งบางมีไส้
มะละกอฝอยกับเน้ือปลาแล้วมาปรุงรสม้วนกันเข้าคล้ายหมอน ราดด้วย
น้�ากะทิผสมน้�าตาลและแป้ง รสชาติอร่อยอย่าบอกใครเชียว เป็นขนมท่ี
หากนิ ได้ยากเพราะนอ้ ยคนนกั ทจ่ี ะทา� เปน็ ยงั มีขนมจูโจ ขนมอาเก๊าะ ขนม
เจะ๊ แมะ ขนมจาก ขนมโค ขนมมาดฆู าตง ฯลฯ จะหาซ้ือกนิ ทีอ่ น่ื ใหอ้ ร่อย
เหมือนตลาดน้�ายะกังคงหาไม่ง่าย นอกจากได้ล้ิมลองขนมโบราณอร่อยๆ
แล้วบรรยากาศท่ีน่ีก็ร่มร่ืนสงบลมโกรกตลอดเวลา บางวันจะมีรายการ
พิเศษมีการจัดกิจกรรมการแสดงศิลปะพื้นบ้าน เช่น ดีเกฮูลู รองเง็ง
ซีละ ร�าตารีกีปัส แสดงความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถ่ินเพ่ือเผยแพร่

51

ศิลปะพนื้ บา้ นใหผ้ มู้ าท่องเท่ยี วไดช้ มกนั
วันน้ีฉันและครอบครัวมีความสุขกับการท่องเที่ยวจังหวัด

นราธิวาสท้ังสองแห่ง นอกจากจะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นแหล่ง
ท่องเท่ียวแล้วยังให้ความรู้ถึงประวัติความเป็นมา สืบสานต�านาน เรียนรู้
วิถีชีวิตคนในชุมชน เราควรอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีที่
ดงี ามใหอ้ ยู่ค่กู ับชาวนราธิวาสต่อไป

กิจกรรมครอบครัวที่ได้เท่ียวแลนด์มาร์กแห่งเมืองนราธิวาสใน
คร้ังนี้ ฉันถือว่าเป็นประสบการณ์ท่ีมีคุณค่าและประทับใจ เป็นเร่ืองราว
ที่ฉนั จะเกบ็ เป็นความทรงจา� ทดี่ อี ีกเร่ืองหน่งึ

52

เรยี งความ
ระดับมธั ยมศกึ ษา

53

54

Harapan Saya1

: เส้ียวปรำรถนำ ณ มำตภุ มู ิแหง่ ควำมรัก

ฮีดายะห์ เบ็ญโกบ

29 ธนั วาคม 2562
เรื่องเล่าของฉันเร่ิมขึ้นพร้อมๆ กับแสงแรกของเช้าวันอาทิตย์ที่
โชนฉายเข้ามาทางช่องว่างระหว่างผนังไม้เก่าๆ รอบๆ ตัวบ้าน...น่ันเป็น
สัญญาณธรรมชาติท่ีชัดเจนว่าสายฝนที่ปรายโปรยลงมาตั้งแต่ค่อนรุ่งดูจะ
ทิง้ ช่วงเบาบางลงไปบ้าง
ก่อนฟ้าสาง ฉัน ม๊ะ และพ่ีๆ ของฉันอีก 10 ชีวิต รวมไปถึง
ชาวบ้านจ�านวนไม่น้อยต่างทยอยกางร่มเดินฝ่าสายฝนกันไปเพ่ือร่วม
ละหมาดซุบฮี ตามค�าเรียกร้องแห่งเสียงอาซานที่ก้องดังกังวานจากมัสยิด
อันเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน ส�าคัญมากยิ่งไปกว่าน้ันคือเสียงอาซานใน
ครั้งนี้ยังเป็นนิมิตหมายให้ชาวบ้านทุกคนตื่นตัวและรับรู้อย่างเป็นทางการ
ว่าวาระประเพณีอนั สุดส�าคญั “วันทา� บญุ กโุ บร์” ท่ีทุกๆ คน ณ หมู่บา้ น
แห่งนเ้ี ฝ้ารอคอยมานานนับปีกา� ลังจะเกดิ ข้นึ ในอีกไม่กีช่ ัว่ ยามแล้ว
หลังจากที่เพลงชาติไทยอันทรงเกียรติถูกถ่ายทอดผ่านสัญญาณ
โทรทัศนแ์ ละวิทยุชอ่ งต่างๆ ดวงตะวันกลมโตสว่างไสวไดย้ กระดับความสูง
ของมนั จนพน้ จดุ สงู สดุ ของขนุ เขา บางจงั หวะกระแสลมแสนอบอนุ่ ไดพ้ ดั พา

1 Harapan แปลวา่ ความหวงั , Saya แปลวา่ ฉนั “Harapan Saya” จึงมีความหมายวา่ “ความหวังของฉัน”

55

ก่ิงไม้ใบหญ้าให้ระเนนเอนไหวดูคล้ายเกลียวคลื่นเขียวขจี สายหมอกจางๆ
ทลี่ อ่ งลอยออ้ ยอ่ิงอยูค่ อ่ ยๆ เหอื ดหายไปจากท้องทุง่ นาอันกวา้ งใหญ่ เหลา่
ผีเสื้อหลากสีสันสยายปีกบางๆ โบยบินอยู่เหนือมวลบุปผานานาพรรณที่
ก�าลังสะพรั่งบานประดับสองฝั่งถนนซึ่งทอดตัวยาวไกล ฝูงนกเจ้าถ่ินใน
ราวปา่ โกง่ คอสง่ เสยี งรอ้ งสอดประสานเปน็ ทว่ งทา� นองและตวั โนต้ ธรรมชาติ
ทไี่ ม่สามารถหาฟงั ไดใ้ นเมืองใหญ่ ครอบครัวเจ้าไก่แจ้สีสันสะดดุ ตาท่พี ชี่ าย
คนรองสุดท้องของฉันเลี้ยงไว้พากันคุ้ยเข่ียหาอาหารที่ลานกว้างหน้าบ้าน
อย่างเรว็ รี่ แลดูมคี วามสุขไปตามประสา

เม่ือพิจารณาอย่างลึกล�้าลงไปในห้วงความรู้สึก...ณ ชายแดน
แผ่นดนิ แหง่ สยาม...มาตภุ ูมิอนั เป็นท่ีๆ ฉัน ครอบครัว ชาวบา้ น และหมาย
รวมไปถึงบรรพบุรุษท้ังหลายได้ถือก�าเนิดขึ้นมาน้ีก็มีมนต์ขลังอย่างวิเศษ
ไม่แพ้ฉากในผลงานซีรีส์สุดแสนโรแมนติกเรื่องหนึ่งของประเทศเกาหลี
ที่ยงั ประทับอยใู่ นใจของมวลผู้ชมทวั่ โลกซึ่งฉนั เพือ่ นๆ และพ่ๆี ในหม่บู ้าน
เคยตดิ ตามรบั ชมผา่ นจอแก้วเม่ือหลายปีกอ่ นเลยแมแ้ ตน่ ้อย

ระหว่างท่ีออกมายืนสูดอากาศและสัมผัสทัศนียภาพยามเช้า
อยู่ตรงระเบียงหน้าบ้าน พลันก็ได้ยินแว่วเสียงของม๊ะเรียกช่ือฉัน แสดงว่า
ท่านต้องมงี านอะไรสกั อยา่ งให้ฉนั ชว่ ยท�าอย่างแน่นอน ฉนั รีบจา้� อ้าวเขา้ ไป
ในครวั ชว่ั ครกู่ พ็ บวา่ อาหารและขนมหวานสา� หรบั นา� ไปรว่ มทา� นหู รี2ทกี่ โุ บร์
ได้รับการปรุงจนสุกหอมโดยฝีมือของม๊ะเช่นทุกคราว (ฉันและพี่สาวท้ัง 3
คน ท�าหน้าท่ีเป็นผู้ช่วยเชฟและคอยตระเตรียมเครื่องปรุงรวมท้ังวัตถุดิบ
กนั ต้ังแต่เช้ามดื แล้ว)

‘มันช่างน่าแปลกใจเหลือเกิน ทั้งท่ีฉันแลเห็นและอยู่กับมันมา
เนิ่นนาน อาหารพื้นเมืองมลายูก็ยังมีเสน่ห์หลากล้นด้วยกล่ินอันกรุ่นหอม
ความพิถพี ถิ ัน ภมู ิปญั ญา และรสชาติทีต่ รงึ ตราไมแ่ ปรผัน อนั เปน็ อีกแงง่ าม

2 การบริจาคทานดว้ ยอาหารการกิน

56

ทางวัฒนธรรมล้�าค่าที่จะไม่มีวันตายไปจากหมู่บ้านชายแดนแห่งน้ี’ ฉัน
รา� พงึ ดว้ ยความร้สู กึ ทเี่ ตม็ ตืน้ อยู่ภายในใจ

หน้าท่ีอันเป็นขั้นตอนสุดท้ายท่ีฉันได้รับมอบหมายจากม๊ะน้ัน
ก็คือ การตักข้าวปลาอาหารและขนมหวานใส่ปิ่นโตอย่างระมัดระวังไม่ให้
หกเลอะเทอะ อีกท้ังท่านยังบอกให้ฉันรับรู้ด้วยสีหน้าท่าทางที่ค่อนข้าง
คาดหวังว่า “ลูกรักของม๊ะ...อีกไม่กี่เดือนข้างหน้าหนูก็จะอายุครบ 17 ปี
แล้ว ส่วนม๊ะเองก็แก่ตัวลงไปทุกวันๆ ดังน้ัน...วันรายอและงานบุญกุโบร์
ปีหน้า...ม๊ะจะให้หนูลองเข้าครัวโชว์ฝีมือท�าอาหารและขนมพ้ืนเมือง
มลายูด้วยตนเองดูสักคร้ัง...ม๊ะเชื่อว่า...ลูกสาวคนสุดท้องของม๊ะจะต้อง
ทา� ออกมาไดด้ อี ยา่ งแนน่ อน...”

ครั้นจบค�า...ฉันถึงกับอ้�าอ้ึงไปชั่วขณะแล้วจึงรีบพยักหน้าและ
ยิ้มหวานเพ่ือตอบรับภารกิจในอนาคตอันใกล้ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนรู้และ
หมนั่ ฝึกฝนอย่างจรงิ จัง ทง้ั ยังต้องจดจ�ารายละเอยี ด สูตรเดด็ เคลด็ ลบั และ
ขั้นตอนอันมากมาย เพ่ือคงไว้ซึ่งหน้าตาและรสชาติของอาหารตามรอย
ภูมิปญั ญามลายดู ง้ั เดิม

ฉันเร่งท�าตามค�าสั่งของม๊ะด้วยความมุ่งมั่นและคล่องแคล่ว
เพียงไม่ก่ีนาที ปิ่นโตเถาเล็กและใหญ่ก็บรรจุอาหารและขนมหวาน
พร้อมสรรพ ประกอบไปด้วย ‘นาซิกราบู’ (ข้าวย�าปักษ์ใต้หรือที่ใครๆ
หลายคนเรียกกันติดปากว่าข้าวย�าใบยอ) , ‘ตูปะซูตง’ , สะเต๊ะไกแ่ ละเนื้อ
สูตรพเิ ศษ , ‘ละแซ’ (อาหารคาว มีลักษณะเป็นเส้นแบนยาว ขนาดกว้าง
ประมาณ 1 เซนติเมตร คล้ายกับเส้นก๋วยเต๋ียวแล้วราดด้วยน�้าแกง),
กรือโป๊ะทอดแสนกรอบนุ่มพร้อมน�้าจิ้มสูตรเด็ดของม๊ะ, และสุดท้ายคือ
‘ปูโละกายอ’ เมนูทั้งหมดท่ีได้กล่าวมา นับความเคยคุ้นที่ยังคงมีคุณค่า
ไมเ่ สอื่ มคลายสา� หรบั เดก็ ผู้หญิงตวั เล็กๆ ในพน้ื ทปี่ ลายดา้ มขวานอย่างฉัน

กระท่ังพ่ีชายท้ังเจ็ดคนของฉันได้เดินลงมาจากชั้นสองของบ้าน
อย่างพร้อมเพรียงในชุดโต๊ปและสวมกะปิเยาะห์สีขาวบริสุทธิ์ซ่ึงผ่านการ

57

ประพรมน�้าหอมอ่อนๆ (แบบปราศจากส่วนผสมของแอลกอฮอล์)
พร้อมทั้งคล้องลูกซะแบะห์3 ไว้ที่ข้อมือของตนเอง สีหน้าของแต่ละคนดู
อ่อนแรงเล็กน้อย อันเป็นผลจากการไปร่วมคิดมัต4 กับชายฉกรรจ์
ทั้งหลายในหมู่บ้าน เพื่อช่วยกันปรับภูมิทัศน์กุโบร์ขนาดใหญ่ให้ดูสะอาด
และโล่งเตียน รวมไปถึงการตระเตรียมความพร้อมเร่ืองเคร่ืองมือเคร่ืองใช้
ต่างๆ สา� หรับใช้สอยในพิธสี �าคัญน้ตี ง้ั แต่บา่ ยจรดเยน็ ของเมือ่ วาน

ในขณะเดยี วกนั น้ัน ม๊ะ ฉัน และพส่ี าวทั้ง 3 คนเลอื กที่จะสวม
ฮิญาบและอบายะห์สีด�าล้วน เพราะอาเยาะห์ของฉันเคยให้ค�าแนะน�าเม่ือ
ครั้งท่ีท่านยังมีชีวิตอยู่กับเราว่า “มันเป็นสีและชุดแห่งความส�ารวม
คมั ภีรภาพ และดูปลอดภัยมากที่สดุ สา� หรบั หญงิ ผู้ศรทั ธา”

เราทั้งสิบสองคนเลือกท่ีจะใช้วิธีการเดินเท้าไปยังกุโบร์แทนการ
นั่งรถกระบะคู่ชีพ (ยุค 90) ด้วยเหตุว่าบ้านของเราตั้งอยู่ห่างจากกุโบร์
เพยี งแค่ 300 เมตรเทา่ นั้น (ฉนั คิดวา่ อย่างนอ้ ยๆ มนั คงมสี ว่ นช่วยประหยดั
พลังงานและลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้บ้าง) อีกท้ังญีรานหรือเพ่ือนบ้าน
ของเราจ�านวนมากต่างก็พากันเดินจูงลูกจูงหลานไปกุโบร์เช่นเดียวกัน
ภาพผู้คนท่ีพร้อมใจถือปิ่นโตแบบวิถีมลายูโบราณเดินไปงานบุญกุโบร์เป็น
ทิวแถวอย่างสุขสันต์ ภาพรอยย้ิมอันสุขล้นปรากฏบนทุกๆ ใบหน้าของ
ผู้คนหลากหลายช่วงวัย เสียงประโยคทักทายแบบมุสลิมว่า “อัสสลามุ
อะลยั กุมฯ” และประโยคตอบรับท่วี ่า “วะอะลยั กุมุสสลามฯ” แว่วดังอยา่ ง
ไม่ขาดสาย ท�าให้ฉันพินิจในใจว่า ‘ส�าหรับอิสลามิกชน นอกเหนือไปจาก
วันฮารีรายอท้ัง 2 แล้ววันท�าบุญกุโบร์น่ีแหละท่ีสามารถเรียกร้องผู้คนทั้ง
ใกล้ไกลใหห้ วนถิน่ กลับมา เพ่ือรว่ มร�าลกึ ถึงความดีงามและดอุ าอ์เผ่อื แผใ่ ห้
แด่บรรดาดวงวิญญาณของญาติพี่น้อง ผองเพื่อน รวมถึงบรรพบุรุษ

3 ลูกประค�าแบบมุสลิม มีลักษณะคล้ายลูกปัดเล็กๆ มักเป็นโทนสีเดียวกันจ�านวน 100 เม็ด ใช้ส�าหรับนับ
จ�านวนประโยคในดุอาอห์ รือพรทว่ี งิ วอนต่อพระผู้เป็นเจ้า
4 จิตอาสาเพื่อสาธารณประโยชน์

58

ผลู้ ่วงลบั ท้ังหลายไดอ้ ย่างพร่ังพร้อมและลน้ หลามถึงเพียงนี้
ในที่สุดเราก็เดินเท้ามาถึงกุโบร์ก่อนก�าหนดเวลาท�าพิธีอย่าง

เป็นทางการพอสมควร ผู้ใหญ่บ้านได้แจ้งก�าหนดการของงานอย่างคร่าวๆ
ให้ผู้เข้าร่วมพิธีฯ ทุกคนรับทราบผ่านระบบเคร่ืองเสียง (ซึ่งได้รับความ
อนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากพ่ีน้องไทยพุทธท่านหน่ึงในหมู่บ้าน) ว่า “...อีก
ราวๆ คร่ึงช่ัวโมงเราจะมีการอ่านดุอาอ์คร้ังใหญ่ร่วมกัน...ขณะนี้...หาก
ผู้ศรัทธาท่านใดมีความประสงค์จะเข้าท�าพิธีแบบส่วนตัวก็ยังพอมีเวลา
อีกสักเล็กน้อย...” ได้ยินดังนั้นพ่ีชายท้ังเจ็ดคนของฉันก็เดินตรงไปยัง
หลุมฝังศพของผู้เป็นอาเยาะห์ในทันที ส่วนบรรดามุสลีมะห์ (สตรีมุสลิม)
ท่ีเข้ามาร่วมงาน โดยมารยาทแล้วจะถูกก�าหนดให้น่ังและกล่าวถ้อยค�า
ต่างๆ อย่างส�ารวมอยู่ภายในศาลาอเนกประสงค์ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากลาน
สุสาน ภาพหนึ่งซ่ึงได้สร้างความตื้นตันใจให้แก่ฉันเป็นอย่างย่ิงคือ พ่ีน้อง
ไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนจ�านวนหน่ึงซ่ึงรู้จักมักคุ้นกับชาวบ้านหรือ
อาจมีความผกู พันทางสายเช้อื เครอื ญาตกิ บั ผ้ตู ายได้ใหเ้ กยี รตเิ ข้ามาร่วมพธิ ี
อันส�าคัญกับพวกเราด้วย...‘ช่างเป็นภาพแห่งความแตกต่างที่งดงามและ
ลงตวั อยา่ งน่าอศั จรรย์ใจ’

เราท้ังห้าคนตัดสินใจเลือกจับจองท่ีนั่งแถวหน้าสุดของศาลาฯ
ภาพซึ่งบรรดาพ่ีชายของฉันก�าลังร่วมกันอ่าน ‘ซูเราะห์ยาซีน5’ อยู่ข้างๆ
หลุมฝังศพของอาเยาะห์ด้วยน้�าเสียง สีหน้า แววตา และอารมณ์ที่ดู
โศกสลด ‘นับเป็นความชิดใกล้ท่ีไกลห่างอย่างเหลือแสน’ ทุกๆ
รายละเอียดของความเคล่ือนไหวท่ีปรากฏอยู่ตรงหน้าได้สร้างแรงส่ัน
สะเทือนในห้วงอารมณ์ของฉันจนยากที่จะควบคุมให้เป็นปกติได้...พลัน
จิตใจของฉันก็โบยบินย้อนกลับไปสู่ภาพเหตุการณ์เก่าๆ เม่ือหลายปีก่อน
อกี ครา...

5 บทลา� ดับที่ 36 ซึ่งได้รบั สถานะอันสูงเกียรตยิ ่งิ ว่าเปน็ “หัวใจแห่งพระมหาคัมภีร์อัลกรุ อาน”

59

...ช่วงปลายของฤดูอนั ร้อนแล้ง ยามสายของวันทท่ี อ้ งฟ้าสวยใส
ขณะท่ีฉันมีอายุเพียง 6 ขวบเท่าน้ัน อาเยาะห์ของฉันในชุดโต๊ปและโพก
ศีรษะดว้ ย ‘ผ้าสะระบ่นั ’ สีขาวสะอาดสะอา้ น ไดย้ น่ื มืออันอบอุ่นของทา่ น
มาจูงมือน้อยๆ ของฉันแล้วก้าวเดินพร้อมๆ กับม๊ะและพี่ๆ ทั้งสิบคน
ของฉนั มายงั กโุ บรเ์ กา่ แกแ่ หง่ น้ีฉนั จา� ไดด้ วี า่ อาเยาะหไ์ ดบ้ อกเลา่ หลากหลาย
เรื่องราวดีๆ ท่ีฉันเองไม่เคยรับรู้มาก่อนเกี่ยวกับภาพจ�าในวัยเด็กของท่าน
ให้เราทุกคนได้รับฟังกันอย่างเพลิดเพลินตลอดเส้นทางไปสุสาน...ทุกส่ิง
อย่างท่ีเกิดข้ึนขณะนั้นช่างวิจิตรงดงามราวความฝัน...ฉันรู้สึกเสมือนว่า
ตนเองถูกห้อมล้อมไว้ด้วยสายใย ไออุ่น และความน่าอภิรมย์ที่สมบูรณ์
แบบ ทั้งยังได้แนบชิดอยู่ภายในอ้อมกอดแห่งธรรมชาติท่ีชวนหลงใหลของ
พื้นที่ชายแดนใตอ้ ันไกลหา่ ง

เม่ือเราเดินเท้ามาถึงลานสุสาน อาเยาะห์ได้รับเชิญให้ท�าหน้าท่ี
เป็นผู้น�ากล่าว ‘อีซีกุโบร์’ การกล่าวถ้อยค�าศักดิ์สิทธ์ิเพ่ืออุทิศผลบุญแด่
บรรดาดวงวิญญาณผู้ล่วงลับ เพียงช่ัวครู่ ‘บังอาดัม’ นักประชาสัมพันธ์
คนเก่งของหมู่บ้านได้รีบเร่งน�าไมโครโฟนแบบไร้สายมายังจุดท่ีอาเยาะห์
และพ่ีชายท้ังเจ็ดคนของฉันน่ังขัดสมาธิอยู่บนเสื่อกระจูดข้างๆ หลุมฝังศพ
โต๊ะชายของฉัน ผู้คนมากหน้าหลายตาทั้งในท้องถิ่นและพื้นท่ีใกล้เคียงได้
ให้เกียรติเดินทางเข้ามาร่วมพิธีกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งเต็มลานสุสานและ
ศาลาอเนกประสงค์ สรรพส�าเนียงแห่งถ้อยค�าศักด์ิสิทธิ์ของบรรดา
ผู้เข้าร่วมพิธีกระหึ่มดังกลบกลืนความสงัดเงียบเยียบเย็นที่เคยเข้า
ครอบครองกโุ บรแ์ หง่ นม้ี านานนบั ป.ี ..เวลาพน้ ผา่ นไปไมถ่ งึ ชวั่ โมง ‘อซี กี โุ บร’์
ก็เป็นอันเสรจ็ ส้ินพธิ ี

ระหว่างช่วงเวลาที่ผู้ร่วมพิธีก�าลังรอให้คณะคิดมัตและบรรดา
มุสลิมะฮ์ได้ตระเตรียมความพร้อมพรั่งเร่ืองอาหาร ขนมหวาน และ
เครื่องด่ืมสมุนไพรหลากชนิดอันหลั่งไหลมารวมกันด้วยแรงแห่งศรัทธา
และความเป็นหนึ่งเดียวของชาวบ้านแต่ละครัวเรือน ซ่ึงเพียงพอส�าหรับ

60

เลีย้ งรบั รองบรรดาแขกผ้เู ขา้ รว่ มพธิ ีกวา่ 300 คน ไดอ้ ย่างอ่มิ หนา�
อาเยาะห์ของฉันได้มอบถ้อยค�า นาซีฮัต ข้อเตือนใจแก่พ่อแม่

พี่น้องทุกๆ คน ท่ีพร้อมใจกันสละเวลาเข้ามาร่วมพิธีในวันนั้นด้วยน้�าเสียง
อันหนักแน่นมน่ั คง โดยมใี จความสา� คญั ทีฉ่ ันยงั พอจะจดจา� ได้วา่

“...ท่านพี่น้องท่ีรักยิ่งท้ังหลาย...เราทุกคนต่างก็รู้กันดีว่า...
ความตายคือสัจธรรมที่มนุษยชาติมิอาจหลีกลี้หนีพ้นไปได้ ความตาย...คือ
พลังท่ีพร้อมพรากเราไปจากทุกสิ่งท่ีเรารัก...และส�าหรับค�าสอนแห่ง
อิสลาม...เรามีความเช่ือว่า...ความตายเป็นแค่เพียงจุดเร่ิมต้นของการ
เดนิ ทางไกลไปสดู่ นิ แดนอันเปน็ นริ ันดร์...

ดังนั้น...ท่ามกลางสังคมของเราท่ีค่อนข้างมีความแตกต่าง
หลากหลาย ผมจึงอยากขอให้เราชาวมุสลิมรวมถึงพี่น้องต่างศาสนิก
หลายท่านที่ให้เกียรติเข้าร่วมพิธี...ได้วางแผนใช้เวลาและชีวิตท่ียังคงอยู่
มุ่งหมายประกอบแต่คุณงามความดี และร่วมสร้างเสริมเพ่ิมพูนความ
รักใคร่กลมเกลียวระหว่างเราทุกๆ คนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไป ดังใจความ
ส่วนหนึ่งจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานที่สอนใจเราทั้งหลายไว้ว่า...และ
สูเจ้าท้ังหลายจงช่วยเหลือเก้ือกูลกันในส่ิงที่เป็นคุณธรรมและความ
ยา� เกรง (ตอ่ พระผ้เู ปน็ เจ้า) และจงอย่าร่วมมอื กันในสง่ิ ทเ่ี ปน็ บาปกรรม
และการเป็นศัตรูซงึ่ กนั และกัน6...”

การกล่าวถ้อยคา� นาซีฮัตของอาเยาะห์ใช้เวลาอย่างกระชับพอดี
กับความพร้อมส�าหรับมื้อเท่ียงในนูหรีบุญกุโบร์คร้ังยิ่งใหญ่ครั้งน้ัน ส�าหรับ
ฉันถ้อยธรรมค�าสอนเพียงส้ันๆ ของท่านดุจด่ังสายฝนชุ่มเย็นที่พร่างพรม
ท้องทุ่งอันแล้งไร้ในจิตใจของฉันจนสะพรึบสะพรั่งไปด้วย ‘บุปผชาติแห่ง
ทัศนคติ’ อันหมดจดงดงาม วาระแห่งประเพณีโบราณของหมู่บ้านท่ี
สะท้อนผ่านนัยน์ตาเล็กๆ ท้ังสองของฉันท�าให้ใจท้ังใจของฉันบังเกิดความ

6 ความหมายสว่ นหน่งึ จากโองการท่ี 2 ซูเราะห์อัล-มาอดี ะห์ ซึ่งเปน็ บทล�าดับท่ี 5 จากจา� นวนท้งั หมด 114 บท
แหง่ พระมหาคมั ภรี อ์ ลั กุรอาน

61

ปีติภาคภูมิท่ีมีต่อ ‘แผ่นดินพหุวัฒนธรรม’ อันเป็นบ้านเกิดของตนอย่าง
สุดซึ้ง ซ่ึงมิอาจท่ีจะพรรณนาด้วยตัวอักษรหรือถ้อยค�าใดๆ ที่เหมาะสม
ควรค่าออกมาได้

ณ หมู่บ้านชายแดนใต้แห่งน้ีที่ฉันรัก...งานบุญใหญ่ในคร้ังนั้น
ไม่มีทางที่จะเกิดข้ึนได้เป็นอันขาด หากปราศจากพลังที่สอดประสาน
จนกลายเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกันของบรรดาชาวบ้านในหมู่บ้านของฉันและ
หมู่บ้านใกล้เคียง...ชาวบ้านผู้ไร้ซึ่งก�าแพงขีดค่ันใดๆ ท่ีจะเข้ามาแบ่งแยก
หรือแทรกแซงสายสัมพันธ์อันม่ันคงเหนือกาลเวลาของกันและกันได้...
ชาวบ้านผู้สืบสานสายใยแห่งรักอันบริสุทธิ์และแผ่ขยายฐานรากการเคารพ
ซง่ึ อตั ลกั ษณอ์ นั แตกตา่ งเปน็ หลกั หลอมรวมจติ ใจระหวา่ งกนั และกนั มานาน
แสนนาน...

...จู่ๆ ภาพเหตุการณ์ส�าคัญในเวิ้งทรงจ�าเก่าๆ อันมีความหมาย
ส�าหรับฉันก็พลันสลายลงเพียงแค่น้ัน เม่ือฉันได้ยินเสียงผู้คนกล่าวค�าว่า
“อามีน!” ดังกึกก้องท่ัวท้ังอาณาบริเวณ และย่ิงดังข้ึนๆ ทุกๆ คร้ังท่ี
โต๊ะอิหม่ามคนปัจจุบัน (น้าของฉัน) อ่านดุอาอ์จบแต่ละประโยค... ความ
ไหวหวั่นอันเกดิ จากความคดิ ถึงอาเยาะห์ ‘บุรษุ ท่ีฉันรกั มากทสี่ ดุ ’ ได้กอ่ ตัว
ข้ึนอย่างทันทีทันใดและตรงเข้าปกคลุมพื้นท่ีในหัวใจอันบอบบางทั้งดวง
ของฉัน...

ท่ามกลางกระแสความโศกที่ซัดสาดรุนแรงในห้วงค�านึง...ฉัน
จึงท�าได้เพียงใช้สายตาที่เริ่มพร่าเลือนด้วยหยดน�้าอุ่นใสๆ เพ่งมองไปยัง
แผ่นศิลาซ่ึงสลักชื่อภาษาอาหรับบนหลุมฝังศพอาเยาะห์ของฉัน พร้อมท้ัง
พยายามรวบรวมสมาธิและความเข้มแข็งท้ังหมดเท่าท่ีมี แล้วจึงค่อยๆ ยก
สองฝา่ มือน้อยๆ ของฉนั ข้ึนดุอาอ์ เพ่อื มุง่ หวงั ตงั้ จิตอธิษฐานถอ้ ยค�ารอ้ งขอ
ตอ่ องคพ์ ระผเู้ ปน็ เจา้ ทั้งนา�้ ตาท่กี า� ลงั พร่างพรายอาบใบหนา้ ...

62

‘…โอพ้ ระผู้เป็นเจา้ ของฉนั ...
ขอพระองค์ทรงดลบันดาลให้โระห์ (ดวงวญิ ญาณ)
โตะ๊ ชายและอาเยาะหข์ องฉัน
รวมทง้ั ทกุ ๆ ทา่ นทีถ่ ูกฝังอย่ใู นสุสานแห่งน้.ี ..
ได้พ�านกั อยใู่ นสถานทอี่ นั ทรงเกยี รติด้วยเถิด...
...โอ้พระผู้ทรงอภิบาล...
ฉนั เปน็ เพยี งเด็กผู้หญิงธรรมดาๆ คนหนงึ่
ซง่ึ ถอื กา� เนิดข้ึนมา ณ ชายแดนแผ่นดนิ แห่งนี้...
ดว้ ยทุกๆ หยดน�้าตาท่ีหลงั่ รินจากจิตวญิ ญาณ
อันดอ้ ยเดียงสาของฉัน
ฉนั ขอใชม้ ันเป็นสื่อเลก็ ๆ ในการรอ้ งขอตอ่ พระองค์...
โปรดทรงช่วยทา� ใหไ้ ฟรา้ ยท่ียังลกุ โหมเผาผลาญ
ชวี ติ ผ้บู ริสุทธ์ิ ณ ดินแดนแห่งน้ี
ไดม้ อดมลายและสลายสนิ้ ไปเสียท.ี ..
…โอพ้ ระผู้เปน็ เจา้ ของฉนั ...
ขอพระองค์ทรงประทานสันตภิ าพอนั นริ ันดร์
แกม่ นุษยชาตทิ ้งั หลาย
ไม่ว่าเขาเหลา่ นน้ั จะอยูใ่ กล้หรือไกล
พดู จาภาษาไหน หรอื จะนับถอื ศาสนาใด
ขอให้เสีย้ วปรารถนา ณ มาตุภูมิแห่งความรกั ของฉนั
พลันเปน็ จริงด้วยเทอญ...’
“...อามนี ...”

63

ล่ำมพระยำ

วงศธร ทองโรย

(1)
ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ในยามแดดร่มลมตกท้องฟ้าใสสะอาด
ปราศจากเมฆฝน เผยให้เห็นทิวทัศน์ชุมชนเมืองอันเงียบสงบของแผ่นดิน
“ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน” จากขอบระเบียงของอาคารแห่งหน่ึง
กลางตัวเมืองจังหวัดยะลา หมู่นกนานาสารพันสยายปีกงามท่ามกลาง
ไอแดดอ่อนร�าไร โบกบินไกลกลับรังในยามเย็น แต่แท้จริงแล้วสภาพของ
ท้องฟ้าในความเป็นจริงน้ันจะเป็นอย่างไรไม่มีใครทราบเนื่องจากน่ีเป็น
เหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในความรู้สึกอันเบิกบานชั่วขณะของเด็กชาย
คนหนึ่ง ผู้ซึ่งก�าลังปลาบปลื้มใจกับรางวัลการกล่าวสุนทรพจน์ท่ีตนเพิ่ง
ได้รับมาน้ัน จนท�าให้ในตอนนี้ทุกสิ่งทุกอย่างท่ีผ่านเข้ามาต้องสายตา
สวยงามไปเสียหมด ความเหน็ดเหน่ือยทั้งหลายท่ีผ่านมาสลายหายไปใน
พริบตาอย่างน่าอัศจรรย์ อิสรภาพและการนอนอย่างว่างเปล่าในช่วงปิด
ภาคเรียนที่ก�าลังจะมาถึงเป็นเพียงสองสิ่งท่ีเด็กชายต้องการในเวลาน้ี
แต่แล้วเสียงนุ่มทุ้มละมุนละไมแว่วดังเข้าสู่โสตประสาทอย่างไม่ทันได้
เตรียมใจ “ครูมีงานเขียนเรียงความอยากให้หนูลงประกวด” ถ้อยค�าส้ันๆ
ใจความชัดเจนเพียงไม่ก่ีพยางค์ของคุณครูผู้หวังดีท�าเอาเด็กชายหุบยิ้ม
แทบไม่ทัน ทันใดนั้นความเหน็ดเหน่ือยท่ีพลันหายไปได้ส่งสัญญาณแจ้ง
เตือนการกลับมาอีกครั้งอย่างย่ิงใหญ่ แม้เขาจะรู้ว่าการท�างานนี้จะต้องใช้

64

ความพยายามอย่างมากจนความฝันอันแสนหวานในตอนแรกอาจต้อง
จางหายไป แต่เด็กชายก็รับปากคุณครูอย่างเต็มใจว่าต้องการจะท�า ซ่ึง
ไม่ใช่ใครที่ไหน คือผมเองผู้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านงานเขียนท่ีคุณก�าลังอ่าน
อยใู่ นขณะนี้

หากเอ่ยถึงค�าว่า บ้าน แลว้ คณุ คิดถึงอะไรครบั สถานท่ีอนั เปน็
แหล่งรวมเร่ืองราวความผูกพันของคนในครอบครัว เคหสถานแรกที่นึกถึง
หลังกลับจากการท�างานแสนเหน็ดเหน่ือย หรือพื้นท่ีแห่งความทรงจ�าท่ี
คอยเกบ็ รวบรวมความประทบั ใจอันแสนวิเศษทีผ่ ่านเขา้ มาในชวี ติ วันนีผ้ ม
มีสถานที่ธรรมดาๆ แห่งหนึ่งท่ีเต็มไปด้วยความน่าอัศจรรย์ใจอย่าง
ไม่ธรรมดามาน�าเสนอ สถานท่ีแห่งความอบอุ่นใจท่ีรายล้อมไปด้วยภูผา
พนาสัณฑ์ อันเป็นแหล่งเก็บรวบรวมความเชื่อ ความศรัทธา ภูมิปัญญา
และเรอ่ื งราวทรงคณุ ค่าของหมู่ชนในอดตี นับศตวรรษ

ล�าพะยาชุมชนเล็กๆ ท่ีเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่อันแสน
อบอนุ่ ของผม และผคู้ นอีกกว่า 1,200 หลังคาเรอื น ต�าบลอนั งดงามแหง่ น้ี
ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอ�าเภอเมืองยะลา กล่าวกันว่า
แต่เดิมเจ้าพระยาปัตตานีได้ใช้สถานที่บริเวณต�าบลล�าพะยาเพ่ือเป็นท่ี
พักผ่อนหย่อนใจ ซ่ึงเจ้าพระยาปัตตานีผู้โปรดการคล้องช้างเป็นอย่างมาก
จึงให้มีการสร้างที่พักข้ึน อันเป็นที่ต้ังของวัดล�าพะยาหรือวัดสิริปุณณาราม
ในปัจจุบัน ด้วยเหตุท่ีปกติแล้วท่านจะใช้ภาษายาวีในการสื่อสาร ท�าให้
การสื่อภาษากับชาวบ้านซ่ึงใช้ภาษาไทยท้องถิ่นจ�าเป็นต้องใช้ล่าม เม่ือ
ท่านเดินทางกลับเมืองปัตตานีโปรดให้ล่ามและครอบครัวได้อาศัยในท่ีท่ี
สร้างข้ึน ด้วยเหตุนี้เองชาวบ้านจึงเรียกบริเวณที่พักน้ีว่า “บ้านล่าม
พระยา” ซึ่งตอ่ มาไดเ้ พยี้ นไปเปน็ “บ้านลา� พะยา” ดงั ปรากฏในปัจจุบนั

ทุกเช้าธารหมอกหนาไหลแทรกผ่านต้นไม้น้อยใหญ่ท่ัวบริเวณ
แลเห็นเป็นทะเลสีขาวงดงามท่ามกลางหุบเขาในป่าใหญ่ ไก่ขันร้องซ้อง
เสียงดุจส�าเนียงเพลงหวานปลุกผู้คนท่ีก�าลังหลับใหลให้ตื่นขึ้นในเช้า

65

วันใหม่อันสดใส ท่ามกลางธรรมชาติรับอากาศอันแสนบริสุทธ์ิ ไม่ช้า
ไม่นานเสียงอาซานก้องดังกังวานไกลแว่วมา เป็นสัญญาณให้พ่ีน้อง
ชาวไทยมุสลิมตื่นละหมาด ขณะเดียวกันเสียงสวดมนต์ท�าวัตรเช้าดัง
มาจากวัดในหมู่บ้าน พร้อมพุทธศาสนกิ ชนท่ีพรอ้ มใจกันตระเตรยี มอาหาร
คาวหวานส�าหรับการตักบาตรในอีกประมาณหน่ึงชั่วโมงข้างหน้า ซ่ึง
วัตถุดิบหลายอย่างก็สามารถหาได้ตามธรรมชาติในท้องถิ่นทั้งพืชผัก
สมุนไพรผลไม้นานาพันธุ์ หรือแม้แต่ในการหุงข้าวชาวบ้านท่ีน่ีก็ยังใช้
น้�าสะอาดท่ีได้จากเข่ือนกักเก็บน้�าบนภูเขา ซึ่งสร้างโดยบริษัทปัตตานี
ทนิ จา� กดั ของชาวองั กฤษทเ่ี ขา้ มาทา� เหมอื งแรด่ บี กุ ในพน้ื ทต่ี า� บลแหง่ นต้ี ง้ั แต่
สมัยก่อนสงครามโลกคร้ังที่ 2 แม้จะเป็นเร่ืองที่น่าเสียดายท่ีใน
สมัยนั้นคนไทยยังไม่มีความรู้เก่ียวกับการท�าเหมืองแร่ จนท�าให้เราต้อง
เสียทรัพยากรท่ีมีค่าให้กับต่างประเทศ แต่เรื่องราวที่น่าเสียดายน้ีก็เป็น
มลู เหตอุ นั ดที ท่ี า� ใหพ้ นี่ อ้ งชาวลา� พะยาไดม้ แี หลง่ นา�้ ทเี่ กดิ จากการขดุ ทา� เหมอื ง
แร่ ท�าให้มีน�้าด่ืมสะอาดส�าหรับใช้อุปโภคบริโภคสมบูรณ์ตลอดปี
จวบจนปจั จุบัน

(2)
แม้พื้นท่ีนี้จะเป็นพ้ืนที่นอกเขตความสนใจของบุคคลภายนอก
ไม่เจริญหูเจริญตา ไม่มีตึกระฟ้าให้เห็นเป็นสง่าเหมือนพ้ืนที่อื่นๆ แต่หาก
จะน�าประเด็นในเร่ืองความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร
ธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ มมาเทียบกนั แลว้ น้นั ตา� บลเล็กๆ นอกเมืองแหง่ นี้
ก็ไม่เป็นสองรองใครอย่างแน่นอน เพราะพ้ืนที่แห่งน้ีคือบริเวณท่ีถูก
ห้อมล้อมด้วยป่าเขาล�าเนาไพรอย่างแท้จริง แม้จังหวัดยะลาจะไม่มี
อาณาเขตติดทะเลให้ได้ล่องเรือด�าน�้าดูปะการังเหมือนจังหวัดอ่ืนๆ แต่ที่
ต�าบลล�าพะยาแห่งน้ีเรามีน้�าตกบูตง สถานท่ีคลายความร้อนอันเลื่องชื่อ
จากแหล่งน�้าใสไหลเย็นที่มีต้นก�าเนิดบนทิวเขาสันกาลาคีรี หรือที่คนใน
พื้นท่ีเรียกกันว่า “ยอดแม่” เป็นสถาปัตยกรรมล�้าค่าน่าต่ืนตาต่ืนใจที่

66

สรรค์สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันจากธรรมชาติ เป็นความสวยงามเหนือ
กาลเวลา เป็นแหล่งสมุนไพรทรงคุณค่า เป็นขุมทรัพย์ของชาวล�าพะยาท่ี
ประมาณค่ามิได้

“เกือบลืมเสียแล้ว” ค�าพูดหน่ึงดังขึ้นในความรู้สึกของผม มี
เร่ืองราวกล่าวขานท่ีอยากถ่ายทอดออกไปให้บุคคลภายนอกได้รับทราบ
จนเกือบลืมไปแล้วว่าเม่ือกล่าวถึงทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าแล้ว
หน่ึงในสิ่งมหัศจรรย์ที่ควรค่าแก่การร้อยเรียงลงบนหน้ากระดาษมากที่สุด
ของล�าพะยา คอื “กากยายกั ษ”์ หรอื “ดนิ ด�าล�ายา” ทรัพยากรทางธรณี
มากคุณค่าท่ีสามารถพบได้ในต�าบลน้ีเพียงแห่งเดียวในโลก ซ่ึงดินท่ีว่านั้น
เป็นดินที่มีสีด�าสนิท สามารถน�ามาท�ายารักษาโรคตามแบบฉบับแพทย์
พ้ืนบ้าน อีกท้ังยังน�าไปเป็นมวลสารท�าพระเคร่ืองวัตถุมงคลต่างๆ ตาม
ศรทั ธาความเชื่อของคนไทยท่มี ีมาต้งั แตส่ มัยโบราณเช่นเดยี วกบั “ขา้ วสาร
ด�า” ท่พี บในพ้ืนท่ีเพยี งไมก่ ่ีแหง่ ของประเทศไทย ซ่ึงก็มีอยทู่ ต่ี �าบลลา� พะยา
ลุงเอ๊ะ วิษณุ จันทร์แจ้ง อดีตผู้อ�านวยการโรงเรียนคณะราษฎรบ�ารุง
จังหวัดยะลา ปูชนียบุคคลท่ีใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่แห่งน้ีมากกว่า 60 ปี ท่าน
เล่าต�านานความเป็นมาของกากยายักษ์ให้ลูกหลานไว้ว่า ครั้งหนึ่งในสมัย
โบราณกาล มยี ักษส์ องพวกทรี่ บรากนั เสมอ ยักษ์ฝา่ ยที่อ่อนแอกวา่ จงึ ออก
ตามหาสมุนไพรมาท�ายาอายุวัฒนะ แล้วได้พบเข้ากับสรรพว่านบนภูเขา
แหง่ หนึ่ง จงึ น�ามาเค่ยี วยา แต่ยักษ์อกี ฝา่ ยได้ล่วงรเู้ ข้าจึงติดตามมาและคว�า่
กระทะเค่ียวยาจนหมดส้ิน ท�าให้สรรพว่านในกระทะไหลลงมาจากภูเขา
ซ่ึงก็คือแหล่งท่ีพบกากยายักษ์ในปัจจุบัน โดยภูเขาต้นก�าเนิดกากยายักษ์
มชี อ่ื ว่า “เขากระทะ” อนั เป็นชื่อตามตา� นานที่ได้กล่าวถึงมาแลว้ ขา้ งต้น

มาถึงตอนน้ีคงมีคนจ�านวนไม่น้อยที่ก�าลังคิดลังเลสงสัยถึง
ความเป็นไปได้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับต�านานความเป็นมาของกากยา
ยักษ์ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ซ่ึงก็ไม่ใช่เรื่อง
น่าแปลกเสียทีเดียว เพราะในความเป็นปกติของมนุษย์ก็คงต้องมีความ

67

สงสัยในเรื่องราวน่าเหลือเชื่อยากที่จะพิสูจน์ได้ ผมมีเจตนาเพียงเพ่ือจะ
ถ่ายทอดเรื่องราวแปลกใหม่น่าสนใจให้ผู้คนท่ัวไปได้รับทราบถึงของดี
หายากท่ีสามารถหาไดใ้ นพ้นื ท่ีทมี่ ีความน่าอัศจรรย์ใจแหง่ นี้

และส่ิงศักดิ์สิทธ์ิสา� คัญท่ีเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวล�าพะยาท่ี
ปกป้องคุ้มครองชาวล�าพะยาให้อยู่เย็นเป็นสุขมาช้านานคือ “หลวงปู่ทวด
สมภารท่านเจ้าไกร” หรือท่ีชาวบ้านท่ัวไปรู้จักกันในนาม “หลวงพ่อไกร”
แล้วนั้น เชื่อว่าพุทธศาสนิกชนในพื้นท่ีจังหวัดยะลาและบริเวณพ้ืนท่ี
ใกล้เคียงต้องล่วงรู้ช่ือเสียงกิตติศัพท์ความศักด์ิสิทธิ์ของท่าน โดยหลวงพ่อ
ไกรเป็นพระสงฆ์ผู้เป็นสหายธรรมกับหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ ท่านเดินธุดงค์
มาจากจังหวัดสงขลาแล้วมาอยู่จ�าพรรษา ณ วัดในต�าบลล�าพะยาเม่ือ
ประมาณ 400 กว่าปีก่อน ซึง่ หลวงพ่อไกรเป็นพระสงฆผ์ มู้ เี มตตาจติ ท่าน
มีงูบองหลาหรืองูจงอาง 2 ตัว นามว่า ตะบองแก้วและตะบองทอง ทั้ง
ยังมีเสือโคร่งและนกขุนทองอีกอย่างละตัวเป็นศิษย์ก้นกุฏิ ซ่ึงสามารถ
สังเกตได้จากประติมากรรมรปู เหมอื นของทา่ นท่จี ะมีสัตวเ์ หล่านอี้ ยดู่ ้วย

(3)
ครั้งหน่ึงในพิธีเคล่ือนย้ายอัฐิของหลวงพ่อไกรจากวัดใน ซ่ึงเป็น
เพียงถ้�าท่ีปัจจุบันได้มีหินพังทลายลงมาปิดทางเข้าออกมาไว้ท่ีวัดล�าพะยา
หลวงพ่อไกรก็ได้เข้าประทับร่างทรงในพิธีเพ่ือบอกเล่าเร่ืองราวได้อย่าง
น่าอัศจรรย์ เช่น ท่านมีเส้นผมเป็นทองแดง ซ่ึงจา� เป็นต้องสวดมนต์คาถา
ก่อนหากต้องการปลงผม ส�าหรับการย้ายอัฐิไปยังวัดล�าพะยานั้นท่านบอก
ให้จุดธูปแล้วเดินจากท่ีต้ังพระพุทธรูปออกไปจนธูปหมดสองดอกครึ่งจึงจะ
พบอัฐิ ปรากฏวา่ เม่อื ผู้ท�าพิธีทา� ตามท่ที ่านบอกกพ็ บอฐั ธิ าตบุ รรจอุ ยใู่ นขวด
โบราณจริงๆ ด้วย เพราะอภินิหารต่างๆ ท่ีเกิดขึ้นสามารถยืนยันได้จาก
ค�าบอกเล่าของผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายต่อหลายคน จึงท�าให้ประชาชนมี
ความเคารพศรัทธาตอ่ หลวงพอ่ ไกรจนถงึ ทุกวันน้ี
นอกจากหลวงพ่อไกรแล้ว ในต�าบลแห่งนี้ยังมีพระเกจิอาจารย์

68

อีกหลายรูปที่เป็นท่ีเล่ือมใสศรัทธาของผู้คนในพ้ืนท่ี อาทิ พระไพศาล
คุณากร หรือพ่อท่านสิงห์ เตชวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดล�าพะยาผู้สร้าง
คุณูปการให้กับพระพุทธศาสนาและชุมชนล�าพะยา ท่านเคยด�ารง
สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะช้ันสามัญและต�าแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะ
อา� เภอยะหา-กาบงั ยะลา ท่านมรณภาพเม่ือวันท่ี 12 สงิ หาคม พทุ ธศักราช
2560 สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับประชาชน ด้วยเหตุนี้บรรดาเหล่า
ศิษยานศุ ษิ ยจ์ ึงได้รว่ มจดั งานรา� ลึกถึงพระเดชพระคณุ ของท่านอย่างยิ่งใหญ่
อีกท้ังยังมีการหล่อรูปจ�าลองเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเล่ือมใส
ศรทั ธาของผูค้ นอย่างหาที่เปรียบมิได้

วัดล�าพะยา ศูนย์รวมใจพี่น้องชาวล�าพะยา สถานที่ศักด์ิสิทธิ์
อันเป็นแหล่งปฏิบัติศาสนกิจและประเพณีส�าคัญของท้องถ่ิน ครั้นมี
งานบุญพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยมุสลิมเข้าไปขายของในวัด ชาวไทยพุทธที่
เข้าไปท�าบุญในวัดก็อุดหนุนร้านค้าอยู่เป็นประจ�า และต้องยอมรับว่า
พนี่ ้องชาวไทยมุสลิมนั้นทา� อาหารไดอ้ รอ่ ยจริงๆ โดยเฉพาะในงานประเพณี
ประจ�าปีของวัดล�าพะยา ได้แก่ ลากพระ ทอดกฐิน ชิงเปรต ประเพณี
ท่ีสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดข้ึนในชุมชนจัดขึ้นเป็นประจ�าทุกปี
ท่ีวัดแห่งนี้ ซ่ึงล้วนแต่เป็นประเพณีที่สรรค์สร้างข้ึนจากความเชื่อความ
ศรัทธาของผู้คนในพ้ืนที่ที่มีมาอย่างยาวนาน เป็นมรดกทรงคุณค่าที่
ตกทอดจากอดตี สปู่ จั จุบนั และควรอนุรักษส์ บื ตอ่ ไปใหค้ งอยูค่ แู่ ผ่นดนิ น้ไี ว้

ต�าบลล�าพะยาพ้ืนที่สงบสุขอันเป็นที่รักของผมแห่งนี้ ซึ่งก็เป็น
เร่ืองปกติเหมือนทุกๆ วัน ต่างกันตรงที่มองออกไปข้างนอกหน้าต่างจะ
เห็น “เรียนบ้าน” ทุเรียนพันธุ์พ้ืนเมืองของท้องถิ่นล�าพะยาที่ก�าลัง
ออกดอกสะพร่ัง พร้อมที่จะให้ผลผลิตแรกในอีกหกเดือนข้างหน้า จะน�า
ไปถวายวัดในวันชิงเปรตเพื่อบูชาบรรพบุรุษผู้บรรจงปลูกพันธุ์ไม้ทรง
คุณค่าเหล่าน้ีให้เป็นมรดกตกทอดสู่ลูกหลาน ล�าต้นใหญ่ขนาดสองคนโอบ
ต้นสูงเสียดฟ้า “เงยหน้าจนผ้าโพกหัวเหลิน” ภาษาถ่ินใต้ที่พูดกัน เรียน

69

บ้านล�าพะยาเป็นราชาผลไม้ที่มีรสหวานละมุนเหมาะแก่การน�าไปท�า
ทุเรียนกวน ซ่ึงจะให้รสชาติและเน้ือสัมผัสท่ีถูกปากกว่าทุเรียนสายพันธุ์
อื่นๆ ไหนจะส้มแขกผลไม้มากคุณประโยชน์อันข้ึนชื่อของล�าพะยาที่
สามารถน�ามาประกอบอาหารรสโอชา แปรรูปเป็นแยมทาขนมปังหรือ
ผลิตภณั ฑท์ างยาสง่ ออกสสู่ ากลได้อยา่ งน่าภาคภมู ใิ จ

“แหม่ แหล่วมน้ั ด๊อกจงิ๋ ๆ นิ” ค�าพดู สัน้ ๆ ภาษาถ่ินไมม่ ผี ิดเพย้ี น
ของลุงเอ๊ะท�าเอาผมตกใจในน�้าเสียงอันหนักแน่น เมื่อคุณลุงต้องการจะ
บรรยายถึงความอุดมสมบูรณ์ของพ้ืนที่แห่งน้ี ท้ัง “ละไม” ผลไม้รสชาติดี
วิตามินซีสูงท่ีออกผลผลิตตามฤดูกาล “ลังแข” ผลไม้มีช่ือเสียงประจ�า
ต�าบลที่น�าไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เม่ือคร้ังเสด็จ
พระราชด�าเนินมาทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจยังพื้นที่จังหวัดยะลา หรือ
จะเปน็ ผลไมท้ อ้ งถนิ่ อยา่ ง “จ�าปูลิง” ผลไมร้ สอรอ่ ยเรยี งผลยาวสวยดจุ สาย
สร้อยงดงามที่คร้ังหน่ึงลุงเอ๊ะเคยน�าไปคล้องคอสาวงามท่ีคุณลุงหมายปอง
ในงานวัดเม่ือสมัยหนุ่มๆ ท้ังหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นของดีมีคุณค่า
มหัศจรรย์ผลไม้ล�าพะยาท่ยี ากจะหาท่ีไหนเหมอื น

(4)
แม้เร่ืองราวความสวยงามหลายๆ อย่างท่ีคุณลุงได้เล่าให้ผมฟัง
น้ันจะเป็นเรื่องท่ีผมรู้อยู่แล้ว ผมก็เป็นลูกหลานชาวต�าบลล�าพะยาท่ีถือ
ก�าเนิดเตบิ โตอาศยั อยูใ่ นพน้ื ทแ่ี ห่งน้ีมาตัง้ แตจ่ า� ความได้ แต่ทกุ คร้งั ท่ีคณุ ลงุ
เล่าเรื่องราวให้เห็นถึงคุณค่าและความมหัศจรรย์ของท้องถิ่นย่ิงท�าให้ผม
รู้สึกตื้นตันใจอย่างบอกไม่ถูก หยาดหยดน้�าตาแห่งความปลื้มปีติพร้อมจะ
พร่ังพรูออกจากดวงตาของผมอยู่ตลอดเวลา แต่ก็จ�าต้องกัดฟันกลั้นน�้าตา
และฟังเรื่องเล่าสุดอัศจรรย์ของลุงจนจบโดยไม่มีรอยน�้าตาบนใบหน้า
เพราะไม่เช่นน้ันแล้วผมก็คงรู้สึกอายคุณลุงไม่น้อย ความรู้สึกที่อยากจะ

70

ร้องไห้นั้นไม่ได้เกิดจากความต้ืนตันใจท่ีได้ฟังเรื่องราวแสนงดงามท่ีไม่เคย
รับรู้มาก่อน แต่เพราะเคยรับรู้มาก่อนนี่แหละครับจึงท�าให้ผมยิ่งรู้สึก
ภาคภูมิใจและตระหนักถึงความส�าคัญของทรัพยากรทรงคุณค่าของ
ผืนแผ่นดินอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของผมมากข้ึนและคิดว่าทุกคนก็
รู้สึกเชน่ เดียวกัน

ล�าพะยาพ้ืนที่อันเงียบสงบท่ีรายล้อมไปด้วยป่าเขาล�าเนาไพร
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติท่ีคุ้มกันให้ชาวล�าพะยาสงบสุขปลอดภัยมา
ช้านาน ด้วยความรักความสามัคคีและมีจิตส�านึกรักบ้านเกิด มีจิตอาสา
ปกป้องคุ้มครองภัยให้หมู่บ้านต่อเนื่องกันมาต้ังแต่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบ
ปีพุทธศักราช 2547 แต่แล้วเหตุการณ์ท่ีไม่คาดคิดก็เกิดข้ึนกลางดึกของ
คนื วนั ท่ี 5 พฤศจิกายน พทุ ธศักราช 2562 ตรงกับวันขนึ้ 9 ค่�า เดือน 12
ปีกุน ในขณะที่ชาวบ้านอยู่ในบ้านพักผ่อน บ้างจัดเตรียมเคร่ืองมือเพ่ือ
ออกกรีดยางในตอนดึก ต่างได้ยินเสียงรัวปืนดังสนั่นหวั่นไหวไปท่ัวบริเวณ
ความหวาดผวา อึกทึก วุ่นวาย โกลาหลท่ัวไปท้ังหมู่บ้าน เม่ือสิ้นเสียงปืน
จึงได้ทราบจากการส่งข่าวต่อๆ กันมาว่าป้อมยามชุดรักษาความปลอดภัย
หมูบ่ ้านทางล่มุ ล�าพะยาถกู ยงิ ถล่ม พ่ีน้อง ลงุ นา้ บา้ นล�าพะยาท่ที �าหนา้ ที่
รักษาความปลอดภัยหมู่บ้านถูกยิงถล่มเสียชีวิต 15 ราย เมื่อทราบข่าว
ทุกคนในหมู่บ้านต�าบลไม่มีใครเป็นอันหลับอันนอน ความโกลาหลเสียง
ร่�าร้องระงมเสียขวัญของญาติพ่ีน้อง ลูกหลาน พ่อแม่ สามีภรรยาของ
ผู้เสียชีวิตต้ังแต่ยามดึกของค่�าคืนอันน่าสะพรึงกลัวไปจนกระท่ังถึงรุ่งเช้า
น�้าตาแห่งความเศร้าโศกสะเทือนใจหล่ังไหลท่วมนองทั่ววัดล�าพะยา ซ่ึง
เป็นสถานที่ประกอบพิธีศพให้แก่วีรชนคนกล้าผู้อาสาพลีกายถวายชีวิต
ปกป้องแผ่นดินล�าพะยาจนลมหายใจสุดท้าย นับเป็นความสูญเสีย
สะเทือนใจทร่ี ุนแรงท่ีสดุ ท่ตี ้องบนั ทกึ ไวใ้ นประวัตขิ อง “ลา่ มพระยา”

“ขอสดดุ ี 15 วีรชนผู้กลา้ แหง่ บา้ นทางลุ่ม ล�าพะยา”

71

สองศรทั ธำแห่งวิถี สำยใยแห่งรกั ณ บ้ำนเรำ

นูรดี า เจ๊ะอมุ า

“...ส่ิงที่ยิ่งใหญ่กว่าการได้ออกเดินทาง คือการได้พบ
มิตรภาพท่ีเราจะไม่มีวันลืม รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ น�้าใจจากคนสอง
ศาสนาภายใต้ความเชื่อท่ีแตกต่างแต่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ท�าให้เรา
รู้ว่าไม่ว่าเราจะได้ยินข่าวมาแบบไหน จงอย่าเชื่อส่ิงที่ ‘เขาว่า’
จนกวา่ จะเห็นด้วยตาของตัวเอง ปัตตานนี ่ารกั จรงิ ๆ นะ...”

หลายครง้ั ทฉ่ี นั เผลอเขา้ ไปอา่ นรวี วิ ของนกั ทอ่ งเทย่ี วทไี่ ดเ้ ดนิ ทาง
มาท่องเที่ยวดินแดนอันแสนไกลแห่งน้ี ความรู้สึกอ่ิมเอมใจแสนพิเศษก็
ลุกซ่านขึ้นมาในห้วงความคิดขณะหน่ึง ทุกอย่างถูกประมวลผลออกมา
ผ่านรอยยิ้มแห่งความสุข พลอยให้คิดถึงวันท่ีเพื่อนนักท่องเท่ียวจาก
กรงุ เทพฯ (ฉันเรียกวา่ เพ่ือน เพราะเราอายุไล่เลยี่ กนั เลย) ตดิ ตอ่ ผ่านศูนย์
บริการนักท่องเท่ียวของชุมชนบ้านทรายขาว จังหวัดปัตตานี เพ่ือมาเที่ยว
พักผ่อนท่ีชุมชนแห่งน้ี และโฮมสเตย์ของป๊ะได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่
บ้านให้ท�าหน้าที่ดูแลรวมถึงอ�านวยความสะดวกต่างๆ ให้กับเพ่ือนๆ ใน
ครัง้ น้นั ดว้ ย

เสียงไก่ขันท่ีเปรียบเสมือนนาฬิกาปลุกส�าหรับการเร่ิมต้น
วันใหม่พร้อมกับเสียง “อาซาน” ของช่วงเวลาแรกกับการละหมาดดัง
กึกกอ้ งไปทัว่ ชุมชน วันนนั้ จ�าไดว้ า่ ฉันตื่นมาปฏิบัติภารกิจทางศาสนาตัง้ แต่
เช้ามืดเพ่ือเตรียมความพร้อมก่อนจะเดินทางไปรับนักท่องเท่ียวที่สถานี

72

รถไฟปัตตานี ป๊ะพาฉันมาน่ังรอท่ีสถานีรถไฟปัตตานีล่วงหน้าก่อนท่ีขบวน
รถไฟของเพอื่ นๆ จะเดนิ ทางมาถงึ ด้วยใจทเี่ ปยี่ มไปดว้ ยพลงั แห่งความหวงั

เวลาผ่านไปไม่นานขบวนรถไฟสายด่วนพิเศษ ขบวนที่ 37
กรุงเทพ-สุไหงโกลก ก็เดินทางมาถึง ฉันรับหน้าท่ีถือป้ายต้อนรับ
นักท่องเท่ียวเป็นคร้ังแรกในชีวิตอยู่กลางชานชาลา ทุกคนลงจากรถไฟ
ก็เดินมาหาป๊ะอย่างรวดเร็ว ฉันรับรู้ได้ถึงความรู้สึกที่ต่ืนเต้นของพวกเขา
เพราะเขาก็คงรู้สึกว่าการเดินทางมาเท่ียวที่นี่ไม่เหมือนกับการไปเท่ียว
ต่างจังหวัดที่เคยไป ย่ิงน่ังรถเข้าใกล้ภูเขามากเท่าไหร่พวกเขาก็รู้สึกได้
ถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในบ้านของเรามากย่ิงขึ้น เช้าวันนี้ลม
ได้พัดเอากล่ินอายธรรมชาติอันสดช่ืนล่องลอยตลอดเส้นทางไปชุมชน
บ้านทรายขาว ฉันเผลอมองกลุ่มนักท่องเท่ียวท่ีก�าลังสัมผัสอากาศบริสุทธ์ิ
ท่ามกลางแสงอาทิตย์ฉาบขอบฟ้าเหลืองผ่อง ทุกคนชมทิวทัศน์ริมทาง
ในยามเช้ากันอย่างเพลิดเพลนิ

ป๊ะประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ต้อนรับนักท่องเท่ียวที่เดินทาง
มาเที่ยวบ้านทรายขาวร่วมกับชุมชนเป็นเวลาสามปีแล้ว หลังจากที่กระแส
การท่องเที่ยวของชุมชนได้รับการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานต่างๆ จน
เกิดการพัฒนาด้านอาชีพทั้งทางด้านภาษา เช่น การเป็นล่าม การเป็น
มัคคุเทศก์หรือไกด์ท่องเที่ยว การสร้างที่พัก การท�าสินค้า OTOP และ
แปรรูปสินค้าที่หลากหลาย ชุมชนของเราต้ังอยู่ริมขุนเขาสันกาลาคีรี
ท�าให้ได้เปรียบทางด้านทรัพยากรการท่องเท่ียวท่ีโดดเด่นและสวยงาม
และสิ่งที่ส�าคัญที่สุดคือชุมชนของเราเป็นต้นแบบชุมชนพหุวัฒนธรรม
2 วิถีระหว่างชาวไทยพุทธและมุสลิมที่มีความสงบ ไม่เคยมีสถานการณ์
ความรนุ แรงเหมอื นท่ีอ่ืนๆ เลย

ฉันจ�าได้ว่าวันแรกท่ีพวกเขาเดินทางมาถึง ม๊ะได้ท�าอาหาร
ตอ้ นรบั ทเ่ี รยี กวา่ จัดชุดใหญ่กันเลยทีเดยี ว ก่อนหนา้ น้นั ม๊ะไดโ้ ทรมาถามว่า
พวกเขากินเผ็ดได้ไหม ชอบกินอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ซึ่งพวกเขาเอง

73

มีท้ังคนกรุงเทพฯ แท้ๆ และเพื่อนที่มาจากเชียงใหม่ เขาเลยขออาหาร
แบบรสชาติกลางๆ ไม่เผ็ดมาก ส่ิงที่ท�าให้ม๊ะปลื้มใจเป็นพิเศษเลยก็คือ
เขาขอเมนูที่มีสะตอด้วย ม๊ะเลยจัดสะตอผลโตๆ ให้พวกเขาได้กินกัน
อย่างเต็มที่ ทุกเมนูในแต่ละม้ือคือสิ่งที่ม๊ะรังสรรค์ออกมาด้วยความตั้งใจ
อย่างแท้จริง ความเป็นกันเองคืออุดมการณ์การท�างานของป๊ะกับม๊ะที่ฉัน
ยงั จ�าไดเ้ สมอ

ปะ๊ ไดเ้ ลา่ ถงึ ทม่ี าของชมุ ชนบา้ นทรายขาวใหก้ บั ทกุ คนวา่ ในอดตี
พระยาภักดีชุมพล เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรกได้เดินทางมาจากเมืองไทรบุรี
ในระหว่างทางได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าสันกาลาคีรี จึงตัดสินใจ
ตั้งบ้านเรือน ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาจึงมีผู้คนเริ่มย้ายเข้ามาตั้งถ่ินฐานเพ่ิม
มากข้ึน จนกระทง่ั ถึงปัจจบุ ัน โดยเหตุท่ไี ดช้ อ่ื วา่ “บา้ นทรายขาว” เพราะ
ไม่วา่ เราจะไปขดุ นา�้ จากทีไ่ หนในชมุ ชนกจ็ ะเจอทรายสขี าวตลอด ชาวบา้ น
เลยเรียกทนี่ ่วี า่ “บ้านทรายขาว”

เอกลักษณ์วัฒนธรรมท่ีโดดเด่นจากการที่มีผู้คนหลากหลาย
วัฒนธรรมมาอาศัยอยู่รวมกันท�าให้ชาวบ้านอยู่อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
ท่ีส�าคัญคือการร่วมใจของชุมชนท�าให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว
ท่ีหลากหลาย เชน่ กจิ กรรมน�าชมสวนผลไม้ด้วยการนง่ั รถจีป๊ ลยุ สวน การ
ท�าบ้านพักแบบโฮมสเตย์ที่สะท้อนวิถีชีวิตท่ีเรียบง่าย การท่องเท่ียวท่ี
อุทยานแห่งชาติน�้าตกทรายขาว และการจัดกิจกรรมวิ่งป่าและจักรยาน
เสือภูเขาเพื่อพิชิตยอดเขาสันกาลาคีรี ทุกๆ กิจกรรมล้วนมาจากการ
ร่วมไม้ร่วมมือของคนในชุมชนท่ีอยากจะส่งต่อความสุขให้กับนักท่องเท่ียว
ได้เกดิ ความประทบั ใจและรู้สกึ อบอุ่นท่ไี ดม้ าเยือนบา้ นของเรา

เม่ือทุกคนกินข้าวกันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็แยกย้ายกันไปอาบน้�า
เพื่อเตรียมตัวไปเท่ียวกันต่อเลย ป๊ะติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านเพ่ือ
ให้อ�านวยความสะดวกในการน�าเที่ยวชมสถานที่ส�าคัญของชุมชน และฉัน
ก็ไม่ลืมท่ีจะเป็นไกด์น�าเพื่อนๆ เท่ียวในครั้งนี้ด้วย วันแรกฉันได้พา

74

นักท่องเที่ยวชมโฮมสเตย์และนั่งรถจ๊ีปโบราณเที่ยวชมสวนผลไม้ ช่วงน้ี
เป็นฤดูผลไม้ทุกคนจึงได้โอกาสกินผลไม้ในฤดูกาลท่ีมีคุณภาพดี รสชาติ
อร่อย ไม่ว่าจะเปน็ ทเุ รียน เงาะ ลองกอง และมงั คุด ความหอมหวานของ
ผลไม้หลากหลายชนิดหอมโชยมาน่ารับประทาน ทุกคนได้กินกันอย่าง
อิ่มหน�าส�าราญจนลืมเหนื่อยจากการเดินทาง รอยย้ิมแห่งความสุขของ
เพอื่ นๆ ท�าให้ปะ๊ และฉันพลอยสขุ ใจตามไปดว้ ย

ป๊ะบอกกับทุกคนว่าคืนแรกทางชุมชนได้จัดกิจกรรมต้อนรับ
นักท่องเท่ียวที่จุดชมวิวเขารังเกียบ คืนนั้นเราได้โอกาสไปนอนกางเต็นท์
บนเขารังเกียบด้วยกัน ทันใดท่ีทุกคนได้ยินในส่ิงท่ีป๊ะพูดก็ต่างส่งเสียงเฮ
ชอบใจกนั ใหญ่ กิจกรรมนี้ผูใ้ หญ่บ้านรวมถงึ ชาวบ้านทดี่ แู ลโฮมสเตย์ทุกคน
ต้ังใจจะมอบเป็นของขวัญให้กับนักท่องเท่ียว สิ่งที่ฉันรับรู้ได้ตอนน้ีคือ
ด้วยวัยท่ีไล่เล่ียกันท�าให้เราสนิทกันมากขึ้น ป๊ะไม่เพียงแต่ขับรถน�าเที่ยว
แต่ยังมีการพูดคุยหยอกล้อเป็นท่ีหัวเราะสนุกสนาน ขับรถผ่านบ้านไหน
ชาวบา้ นกจ็ ะโบกมือทักทายใหก้ ันอย่างจรงิ ใจ ฉนั เช่อื ว่าสิง่ ท่เี รามอบให้กัน
จะตราตรึงในหวั ใจของทุกคน

ยามเย็นบนเขารังเกียบซึ่งต้ังอยู่ในอุทยานแห่งชาติน�้าตก
ทรายขาวพลุกพล่านไปด้วยกลุ่มนักท่องเท่ียว นอกจากการได้ชมวิวทิวเขา
สวยๆ แล้ว ส่ิงท่ีนักท่องเท่ียวจะขาดไม่ได้คือการนมัสการพระพุทธมหา
มุนินท์โลกนาถที่ประดิษฐานอย่างตระหง่านบนเขารังเกียบแห่งนี้ ความ
ศรัทธาอันแรงกล้าของชาวบ้านรวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยพุทธที่มีต่อ
พระพทุ ธมหามุนินทโ์ ลกนาถชา่ งนา่ อัศจรรยย์ งิ่ นัก

เม่ือแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้วทุกคนจะร่วมรับประทานอาหาร
กับนักท่องเที่ยว รวมถึงชมการแสดงของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนลังงา
ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมโนราห์ การแสดงปันจักสีลัต และการแสดงระบ�า
ตารีกีปัส สุ้มเสียงของเครื่องดนตรีพื้นบ้านท่ีท�าให้นักท่องเที่ยวทุกคน
เพลิดเพลินและเคล้ิมไปตามจังหวะท่วงท�านองของเพลงท่ีอ่อนช้อยเพราะ

75

พร้ิง เมื่อการแสดงของนักเรียนจบลงก็จะปิดท้ายด้วยวงดนตรีแนวเพ่ือ
ชีวิตซ่ึงเป็นวงดนตรีเยาวชนของชุมชน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นคนควบคุมดูแล
ส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้ความสามารถสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน นัก
ทอ่ งเทยี่ วทกุ คนตา่ งดมื่ ดา�่ กบั เสยี งเพลงอนั ไพเราะทา่ มกลางอากาศทอ่ี บอนุ่
ภายใต้แสงจนั ทร์และหมดู่ าวพรา่ งพราวส่องแสงระยิบระยบั อย่บู นฟา้

อีกหนึ่งกิจกรรมส�าคัญบนเขารังเกียบท่ีนักท่องเท่ียวได้สัมผัส
กันในช่วงเวลายามเช้าคือ การชมทะเลหมอก ซ่ึงเป็นความงดงามยาม
รุ่งอรุณท่ีธรรมชาติได้รังสรรค์จนประจักษ์ตาแก่ผู้พบเห็น ดวงอาทิตย์ที่
ก�าลังค่อยๆ เคล่ือนตัวขึ้นมาตัดกับท้องทะเลหมอกเรียงรายอันแสน
สวยงามและอบอุ่นเหมือนชีวิตถูกโอบกอดด้วยธรรมชาติเต็มไปด้วย
ความรักและความสุข กล่ินอายของทะเลหมอกสร้างความสดช่ืนแสน
อบอุ่นเคล้าไปกับเสียงนกร้องเสมือนเป็นนาฬิกาจากธรรมชาติท่ีท�าหน้าที่
ให้สัญญาณเพื่อการเร่ิมต้นชีวิตในวันใหม่ ทุกคนดื่มด�่ากับธรรมชาติอัน
บริสุทธิ์ในยามเช้าอย่างคุ้มค่าเท่าท่ีครั้งหนึ่งในชีวิตจะพบเห็นและสัมผัส
ได้ ก่อนท่ีแสงอุ่นๆ จะกระจายทั่วอาณาบริเวณฉายให้เห็นหมู่บ้านเล็กๆ
ทอี่ ยกู่ ลางขนุ เขา ช่างเปน็ ภาพทแ่ี สนสดุ ประทบั ใจยิง่ นัก

เขารังเกยี บทีเ่ ราอยใู่ กลก้ บั น�า้ ตกทรายขาว ปะ๊ เลยไดพ้ าเพ่อื นๆ
ไปสัมผัสกับน้�าตกทรายขาว สภาพป่าโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติน้�าตก
ทรายขาวเป็นป่าดิบชื้น มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และร่มรื่น
เป็นป่าต้นน้�าล�าธารท่ีส�าคัญของจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัด
สงขลา ซ่ึงชาวบ้านได้อาศัยประโยชน์จากน้�าน�าไปใช้เพื่อการอุปโภค
และบริโภคในชีวิตประจ�าวัน อากาศยามสายเย็นสบาย สายน้�าไหล
คดเคี้ยวมาพร้อมกับฝูงปลาท่ีแหวกว่ายผ่านซอกหินน้อยใหญ่สร้างความ
ชื่นฉ�่าให้กับทุกคน เท่าท่ีฉันสังเกตดูเหมือนว่าพวกเขาได้หลงเสน่ห์แห่ง
ธรรมชาติของบ้านเราไปแล้ว ฉันเผลอย้ิมอยู่ในใจ นึกถึงวันที่เราต้อง
จากกนั ฉันคงต้องรู้สึกเศรา้ ใจไมน่ อ้ ยเลย

76

เสร็จส้ินภารกิจเล่นน�้าตกที่แสนจะชุ่มฉ่�าแล้ว ก็ถึงเวลาที่ป๊ะ
จะพาทุกคนขับรถตะลอนเท่ียวชมสถานที่ส�าคัญต่างๆ ของหมู่บ้าน ป๊ะ
ขับรถพาไปเย่ียมชมวิถีชีวิตในหมู่บ้านต่างๆ ของต�าบลทรายขาว ไม่ว่า
จะเป็นชุมชนเกษตรต้นแบบในการเล้ียงโคขุน การท�าฟาร์มจระเข้ การ
เที่ยวชมกลุ่มแม่บ้านท�ากล้วยเส้นปรุงรส ส้มแขกแช่อิ่ม ส้มแขกหยี และ
กลุ่มผ้าจวนตานีท่ีนับว่าเป็นของดีประจ�าชุมชนเลยก็ว่าได้ ผ้าทุกผืนล้วน
ก่อเกิดจากสองมือและหน่ึงใจรักของชาวบ้าน แม้จะมีฝีมือฉกาจเพียงใด
แต่หน่ึงเดือนสามารถทอได้แค่ 1-2 ผืนเท่าน้ัน เพื่อนๆ ให้ความสนใจกับ
การทอผ้าจวนตานีที่มีเอกลักษณ์ในเร่ืองการออกแบบลวดลายและสีสัน
เป็นพิเศษ บางคนซ้ือติดไม้ติดมือกลับไปฝากให้กับคนรัก สร้างความ
ปลม้ื ปร่มิ ให้กบั ชาวบา้ นเปน็ อย่างยง่ิ

นอกจากการเย่ียมชมวิถีชีวิตในหมู่บ้านต่างๆ ป๊ะยังได้พาไป
เย่ียมชมสถานที่ส�าคัญในต�าบลทรายขาวอีกด้วย น่ันก็คือการเท่ียวชม
วดั ทรายขาว วัดเก่าแก่คูบ่ ้านค่เู มอื งมตี า� นานแหง่ ความศักด์ิสทิ ธ์ิทเี่ ก่ยี วขอ้ ง
กับหลวงปู่ทวดและสถานวิปัสสนาที่เล่ืองลือของชายแดนใต้ และการ
เท่ียวชมมัสยิดโบราณอย่างมัสยิดนัจมุดดีน มัสยิดเก่าแก่ที่สร้างจากไม้
สถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเอกลักษณ์ความเป็นไทยและอิสลามได้อย่าง
กลมกลนื และงดงาม กอ่ สร้างโดยไมใ่ ชต้ ะปแู ม้แตด่ อกเดยี ว ซึ่งมัสยิดแห่งน้ี
มีอายรุ ่วม 300 ปมี าแลว้ สถานที่สา� คัญสองแห่งนเี้ ปรยี บเสมือนกระจกเงา
ที่ฉายส่องอดีตให้เราเห็น เพื่อให้เราเดินไปข้างหน้าได้ถูกต้องและมั่นคง
แล้วยังให้คุณค่าทางจิตใจได้ดีย่ิงนัก ทา� ให้เราทุกคนเกิดความภาคภูมิใจใน
บ้านเกิดของตัวเอง บรรยากาศที่เห็นอยู่ ณ ตอนนั้นคือ ความเงียบสงบ
ผู้คนยังไม่ค่อยพลกุ พลา่ น ทา� ใหเ้ รามีเวลามากพอทจี่ ะเดินชมสถานทส่ี า� คัญ
เหล่านน้ั อย่างเต็มที่

สถานท่ีปิดท้ายของเราในวันแห่งความสุขแบบน้ีจบด้วยการ
เท่ียวชมตลาดนัดชุมชนบ้านทรายขาว ที่น่ีมีทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิม

77

มาขายสินค้าท้องถิ่นกันมากมาย ภาพตรงหน้าคือบรรยากาศท่ีแสนจะ
คึกคกั และชาวบ้านทน่ี า่ รัก รอยยิ้มทแี่ สนสดใสและภาษาถนิ่ ทที่ �าให้เพ่อื นๆ
ทุกคนหลงใหลไม่รู้จบ และดูเหมือนทุกคนจะตกตะลึงกับสินค้าอาหาร
หลากหลายชนิดท่ีวางอยู่ตรงหน้า ฉันเช่ือว่าหลายคนแทบจะไม่เคยได้
ล้ิมลองขนมพื้นเมืองของบ้านเรา ส่ิงที่น่าประทับใจมากที่สุดคือ ทุกคน
เดินเข้าไปพูดคุยและถามถึงสินค้ากับพ่อค้าแม่ค้าที่วางขายด้วยใบหน้า
เปอื้ นยม้ิ เสยี งเจ้อื ยแจ้วของพวกเขาทา� ให้ฉันอดยมิ้ ตามไม่ได้

นึกถึงประโยคหนง่ึ ท่ีว่า “วนั เวลาแห่งความสขุ มักจะเดนิ ผ่านไป
อย่างรวดเร็ว” ดูเหมือนว่ามันจะใช่เข้าไปทุกทีแล้ว เม่ือวันพรุ่งนี้คือวันที่
ฉันต้องลาจากเพ่ือนๆ ทุกคน ช่างเป็นความรู้สึกที่หดหู่มากนัก วันน้ันป๊ะ
และฉันเดินทางไปส่งเพื่อนๆ ที่สถานีรถไฟปัตตานีเช่นเดิม ทุกคนลาป๊ะ
และเข้าโอบกอดป๊ะด้วยใจที่อยากขอบคุณส�าหรับสิ่งดีๆ ท่ีมอบให้กัน
ก่อนท่ีจะเดินข้ึนรถไฟและโบกมือลาเป็นคร้ังสุดท้าย ช่วงเวลานั้นหยด
น้�าตาไหลพรากออกมาจากความรสู้ ึกลึกๆ ภายในหวั ใจของฉันอย่างไม่รูต้ ัว
ส้นิ เสยี งนายสถานี ขบวนรถไฟกเ็ คลอ่ื นตัวออกจากชานชาลาด้วยความเรว็
ก่อนที่จะหายไปไกลสุดลูกหูลูกตา เหลือไว้แค่ความทรงจ�าแห่งความสุข
ณ ช่วงเวลาหนง่ึ ทีย่ ังคงลอ่ งลอยในหว้ งความคิดของทกุ คน

นับตั้งแต่วันนั้นฉันก็ยังคงท�าหน้าท่ีในการถ่ายทอดเร่ืองราว
ดีๆ ของชุมชนบ้านทรายขาวตลอดมา ที่น่ีคือดินแดนเสน่ห์แห่งธรรมชาติ
ชุมชนแสนสุขท่ีใครไปใครมาจะได้เห็นว่าชาวบ้านในหลายๆ หมู่บ้านท้ัง
ไทยพุทธและมุสลิมอาศัยอยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแห่งความ
กลมกลืนจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันยังคงรักษา
อัตลักษณ์ของศาสนาไว้อย่างเหน่ียวแน่น ความเรียบง่ายและวิถีชีวิตท่ี
แสนธรรมดาแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข รอยยิ้ม และความรักของคนใน
หมู่บ้านท่ีมีให้กันจะยังท�าหน้าท่ีเฉิดฉายให้กับทุกคนได้มาสัมผัสชื่นชม
และขุนเขาสนั กาลาคีรีจะยังคงโอบกอดพวกเราดัง่ เช่นน้สี บื ไป

78

ฉันพลำดอะไรไป

กรนรนิ ทร์ แกว้ มณี

ฉันก็แค่เด็กคนหนึ่งที่ก�าลังจะจบช้ัน ม.4 ชีวิตม.ปลายปีแรก
ของฉันผ่านไปด้วยดี เรียนเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างแต่ก็สอบผ่านทุกวิชา
(ถึงจะเกือบสอบตกไปบ้างในบางวิชาก็เถอะ) หลังจากที่ใช้ชีวิตอยู่แต่ใน
โรงเรียนเกือบสิบชั่วโมงในแต่ละวันมาแรมปี ต่อจากนี้ฉันจะได้ท�าอะไร
ท่ีฉันอยากท�าได้อย่างเต็มท่ี โดยไม่มีการบ้านให้ต้องท�าก่อนเข้านอนอีก
ตอ่ ไป

บ้านของฉันอยู่ท่ีอ�าเภอเทพา เป็นอ�าเภอท่ีอยู่สุดเขตจังหวัด
สงขลาและอยู่ติดเขตจังหวัดปัตตานี ซ่ึงถ้าหากจะเข้าไปในตัวเมืองของ
จังหวัดสงขลาหรือปัตตานีก็ไกลท้ังน้ัน ปิดเทอมน้ีฉันวางแผนไว้แล้วว่า
จะไปช่วยงานที่ร้านอาหารของญาติในอ�าเภอหาดใหญ่ ซ่ึงค่าขนมที่ได้
จะท�าใหฉ้ นั ใชช้ ีวติ ปิดเทอมไดอ้ ย่างสนกุ แน่นอน ฉันมน่ั ใจวา่ ตอ้ งมเี ดก็ ๆ ที่
อาศัยอยู่ชานเมืองของจังหวัดสงขลาที่อยากใช้ชีวิตในหาดใหญ่เหมือนกับ
ฉัน ที่นั่นสะดวกสบายไปหมด มีห้างสรรพสินค้ามากมาย มีคาเฟ่น่ารักๆ
ท่ีแค่ชาเขียวแก้วเดียวก็ราคาเกือบร้อยบาท ชีวิตช่างโก้เก๋อะไรอย่างน้ี
ต่างกับบ้านฉันท่ีมีแค่ตลาดสดธรรมดา ร้านโรตีชาชักคงหรูท่ีสุดแล้วใน
ยา่ นนี้

แต่แผนการใช้ชีวิตปิดเทอมทุกอย่างของฉันจบลงเพราะ...ไวรัส

79

โคโรนา่ ตอนน้ีทว่ั โลกก�าลงั เผชิญกับโรค covid-19 รัฐบาลสงั่ ใหป้ ระชาชน
อยู่แต่บ้าน ซึ่งแน่นอนเมืองหาดใหญ่ที่ฉันใฝ่ฝันเป็นพ้ืนที่เสี่ยง คนใน
ห้ามออกคนนอกหา้ มเขา้ ใช่แล้วค่ะ ฉันตอ้ งอย่แู ต่บ้าน จากเดก็ ทชี่ ีวติ มแี ค่
โรงเรียนกับบ้าน เรียนไปวันๆ ไม่ได้ช่วยงานท่ีบ้านสักเท่าไหร่ ตอนนี้ฉัน
ต้องช่วยแม่เก็บยาง อาชีพกรีดยางคืออาชีพหลักของบ้านฉัน แต่น่าแปลก
ทีฉ่ นั ไม่เคยเกบ็ ยางเลยสกั ครั้ง ชา่ งนา่ อาย ลูกชาวสวนยางเติบโตไดเ้ พราะ
สวนยางแท้ๆ ปกติวันหยุดฉันตื่นนอน 9-10 โมง แต่ตอนน้ีต้องต่ืนต้ังแต่
6 โมงเชา้ ขบั รถไปสวนยางซงึ่ แมข่ องฉันไปตั้งแตห่ วั รุ่งแล้ว

ฉันก�าลังเดินถือถังใส่ข้ียาง เดินเก็บยางอยู่ได้แค่สามแถวก็
เหนื่อยแล้ว ถังที่ถืออยู่ก็หนักข้ึนเรื่อยๆ ฉันจึงหยุดพัก ป้าสวนข้างๆ จึง
ตะโกนมาวา่ “ไซร.่ ..เหน่อื ยแลว้ เร้อสาว แลแมม่ นั นุ ไปพักเดียวแลว้ ” ฉนั จงึ
หันไปมองแม่ที่เดินเก็บได้อย่างไม่แสดงออกเลยว่าเหนื่อย ฉันรู้ว่าแม่ก็
เหนือ่ ยแตแ่ ม่ไม่ยอมหยุด...เพื่อฉนั !

ตอนแรกฉันคิดว่าบรรยากาศป่ายางในตอนเช้าที่มีแสงส่อง
ร�าไรหันไปทางไหนก็เจอแต่ป่าคงต้องน่ากลัว แต่เปล่าเลย ชาวสวนยาง
ใกล้เคียงตะโกนกันไปมาถามไถ่เร่ืองต่างๆ หรือตะโกนหยอกล้อกันจนฉัน
ก็หลุดข�าไปหลายครง้ั เลยทีเดียว

ฉันเบื่อการอยู่แต่บ้านเต็มทน จึงเดินไปบ้านเพ่ือนตอนประถม
ท่ีอยู่ใกล้เคียง ตั้งแต่ข้ึนมัธยมก็แยกกันเรียนทั้งท่ีบ้านอยู่ใกล้กันแค่น้ีแต่
ไม่ค่อยได้เจอกันเลย เพราะท่ีผ่านมาฉันเอาแต่เก็บตัวอยู่ในบ้าน หลัง
เลิกเรียนวันๆ ก็อยู่แต่ในโลกโซเชียลไม่ค่อยได้คบค้าสมาคมกับใครสัก
เท่าไหร่ ซ่ึงตอนน้ีบ้านของเพ่ือนดูไม่ต่างจากศูนย์รับเลี้ยงเด็กเลย ลูกเล็ก
เด็กแดงในละแวกนั้นมารวมตัวกันอยู่ท่ีนี่ ไม่ได้รวมตัวกันเล่นเกมตีป้อม
หรือกระโดดร่มแต่อย่างใด เด็ก 5-6 คนก�าลังน่ังดีดลูกแก้วกันและ
บางวนั กเ็ ลน่ อยา่ งอนื่ ยงั มีการละเลน่ อีกมากมาย เช่น หมากฮอส หมากขมุ
หมากเก็บ และการละเล่นยอดฮิตของฉันในวัยเด็กคือ กระโดดยาง แต่

80

ช่วงนี้นิยมเล่นว่าวกันซึ่งเป็นการละเล่นถนัดของผู้ชาย (อย่าคิดลึกกัน
นะคะ)

มันน่าแปลกใจส�าหรับฉันที่เด็กยุคนี้ยังคงละเล่นแบบน้ีอยู่ ท�า
ให้ฉันนึกย้อนไป ฉันในตอนน้ันสัมผัสความสนุกแบบน้ีได้ไม่นาน เมื่อตอน
ป.4 ฉันมีโทรศัพท์เคร่ืองแรกท่ีแม่ซื้อให้ (ลูกสาวคนเดียวขออะไรก็จะ
ง่ายหน่อย) ตอนนั้นโทรศัพท์เป็นสิ่งที่ใหม่และน่าสนใจมากส�าหรับฉัน
แน่นอนค่ะ เมื่อมีโทรศัพท์การละเล่นแบบน้ีก็ไม่อยู่ในความสนใจของฉัน
อีกเลย

ล่วงเลยมาถึงตอนนี้ ผ่านมาหกปีที่ฉันเสียเวลาให้กับโทรศัพท์
โลกโซเชียล จนท�าให้ฉันขาดประสบการณ์ความสนุกแบบน้ีของชีวิตไป
ชีวิตเด็กน้อยกับการละเล่นพ้ืนบ้านแต่น่าประทับใจของฉันขาดหายไป
อายุ 10 ขวบมีได้แค่คร้ังเดียวในชีวิต แต่ฉันกลับไม่สร้างความประทับใจ
ให้กับชีวิตเลยในตอนนั้น ฉันไม่ชอบความรู้สึกเสียดายเลยเพราะมันท�าให้
ฉันรู้ว่าฉันจะไม่ได้สิ่งนั้นกลับคืนมาอีก ใช่แล้วค่ะ ตอนนี้ฉันก�าลังเสียดาย
เวลานั้นอยู่

เมื่อกลับมาถึงบ้านก็ได้ทบทวนอะไรต่างๆ มากมาย ช่วงเวลา
ที่น่าประทับใจแต่ฉันไม่เคยสนใจ ฉันนึกย้อนไปตอน ป.6 โรงเรียน
ช้ันประถมน�านักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ใกล้บ้าน สถานที่โด่งดังของ
อ�าเภอเทพาที่น่าเรียนรู้ก็หนีไม่พ้นวัดเทพาไพโรจน์ ตอนนั้นฉันไปที่น่ัน
ครั้งแรก ฉันไม่ได้สนใจอะไรมากมายคิดแค่ว่าเป็นวัดหน่ึงท่ีฉันไม่เคยมา
วัดเทพาไพโรจน์หรือวัดพระสามองค์ ต�านานแห่งศรัทธาของชาวเทพามี
พระพุทธรูปท่ีโด่งดังสามองค์ จึงเป็นที่มาของช่ือวัดพระสามองค์ คุณครู
เคยเล่าให้ฟังว่าวัดนี้มีมาราวร้อยปีแล้ว เมื่อก่อนมีแค่ศาลาหลังเดียว มี
พระภิกษุจ�าพรรษาอยู่ ขณะท่ีพระภิกษุองค์น้ีก�าลังฉันจังหัน (อาหาร) ซึ่ง
มีคนน�ามาถวายจ�านวนมาก ท�าให้อาหารเหลือ ท่านจึงเอาข้าวที่ฉันจังหัน
น้นั มาป้ันเปน็ พระพุทธรูปแลว้ หอ่ ดว้ ยดนิ เหนียว จึงเรียกพระพุทธรูปองค์น้ี

81

ว่า “พระจังหัน” องค์ต่อไปท�าจากดอกไม้แห้งท่ีน�ามาบูชาพระ เรียกว่า
“พระเกสร” องค์สุดท้ายท�าจากข้ีเถ้าไม้แก่นจันทน์ ซ่ึงในสมัยน้ันใช้
ไมแ้ กน่ จนั ทน์แทนธปู ทหี่ ายาก เรียกวา่ “พระแกน่ จันทน์”

ที่วัดน้ีมีต�านานลี้ลับมากมาย เรื่องท่ีฉันรู้ก็มีอยู่ว่า ชาวไทย
มุสลิมซึ่งมีอาชีพท�าประมงได้ต้ังบ้านสร้างเรือนที่บริเวณใกล้ๆ กับพระ
สามองค์ แต่ก็ต้องย้ายออกไปอย่างไม่มีสาเหตุ หลังจากนั้นชาวไทยพุทธ
ซ่ึงเห็นพุทธอภินิหารก็พากันสักการะและช่วยกันสร้างศาลาขึ้นมาใหม่
ด้วยไม้หลังคามุงจากและมีพระมาจ�าพรรษาเช่นเดิม ต่อมาพระเหล่านั้น
ไม่สามารถจ�าพรรษาอยู่ได้โดยไม่ทราบสาเหตุจึงต้องกลายเป็นวัดร้าง
อีกคร้ังหนึ่ง ศาลาที่สร้างก็ผุพังลงไปตามกาลเวลาเหลือไว้แค่พระท้ังสาม
องค์ท่ีไม่ได้รับความเสียหายใดๆ ท่ีนั่นท�าให้ฉันเห็นต้นจากเป็นคร้ังแรก
เพราะวัดอยู่ติดกับแม่น�้าท่ีมีต้นจากข้ึนเต็มสองข้างทางตลอดแม่น้�า ฉัน
จ�าได้ว่าฉันกับเพ่ือนเห็นปลาตีนแถวนั้นด้วย ต่ืนเต้นกันใหญ่ คงเป็น
แหล่งท่ีอุดมสมบูรณ์มากๆ มีบรรยากาศร่มร่ืน มีโรงเรียนในวัด นักเรียน
มีท้ังไทยพุทธและมุสลิม ชาวบ้านโดยรอบวัดก็มีทั้งสองศาสนา ไม่มีการ
แบ่งแยกเลย ดูแล้วคงรักใคร่กลมเกลียวกันมากด้วยซ�้า แตกต่างกันแค่
ความเชอ่ื หรอื พิธีกรรม แต่ไม่มีการแตกแยก

ตอนนี้เมื่อทบทวนแล้วฉันประทับใจความทรงจ�าของฉันมาก
หากย้อนไปตอนน้นั คงไม่คิดวา่ วัดเทพาไพโรจน์เปน็ แคว่ ัดธรรมดาแน่ๆ ขอ
ย้�านะคะ ฉันเกลียดความรู้สึกเสียดาย ใช่แล้วค่ะ ฉันก�าลังเสียดายเวลา
อีกแล้ว ท่ีน่ันสร้างความประทับใจหลายอย่างท่ีท�าให้ฉันคิดได้ ท้ังวัด
ท่ีเป็นต�านานแห่งศรัทธา การใช้ชีวิตร่วมกันของคนสองศาสนาในชุมชน
เล็กๆ และธรรมชาติทอ่ี ดุ มสมบรู ณ์ของอ�าเภอเทพาบ้านฉนั

ช่วงเวลาที่อยู่กับธรรมชาติสัมผัสวิถีพื้นบ้านมันเป็นความรู้สึก
ที่หาไม่ได้จากในเมือง แล้วท�าไมฉันจึงต้องขวนขวายที่จะเข้าไปอยู่ในเมือง
ฉันจะเข้าไปหาความวุ่นวายท�าไมในเมื่อความเป็นอยู่ในตอนน้ีมันล้�าค่า

82

มากแล้ว ตอนน้ีฉันเห็นคุณค่าของชีวิตบ้านๆ ตลาดสดธรรมดาก็มีอีก
มุมมองท่ีไม่ธรรมดา ร้านโรตีชาชักบ้านๆ ก็กลายเป็นแหล่งพบปะพูดคุย
สานความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ต่างกับคาเฟ่ที่ชาเขียวแก้วละเกือบ
ร้อยบาทมีแค่ความตึงเครียดของคนท�างานท่ีต่างคนต่างอยู่ ท�าไมฉัน
ไม่เคยเห็นเสน่ห์ท่ีซ่อนอยู่เลย อีกแค่สองปีฉันก็ต้องจากบ้านนอกแห่ง
ความสุขน้ีไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแล้ว คงหาความรู้สึกแบบน้ีไม่ได้
ที่ผ่านมาฉันมัวท�าอะไรอยู่ ปล่อยชีวิตขาดประสบการณ์ดีๆ ไปตั้งหลาย
อย่าง ฉันเสียดายเวลามามากพอแล้ว (อะไรที่เสียดายมักล้�าค่าเสมอ) ฉัน
จะไม่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป จะเก็บเกี่ยวความทรงจ�าท่ีดีเมื่อมีโอกาสให้
มากที่สดุ ชวี ิตของฉนั ตอ้ งไมม่ คี �าวา่ “ฉันพลาดอะไรไป”

83

คอื ชวี ติ

อารนี า มะลี

ต้ังแต่เริ่มจ�าความได้ ภาพต้นไม้ใหญ่น้อยที่ข้ึนรายล้อมรอบ
ตัวบ้านเป็นสิ่งที่ฉันคุ้นตามากท่ีสุด ส่วนเสียงจ้ิงหรีดจักจั่นเรไรท่ีแข่งกัน
รอ้ งเสยี งดังระงมทวั่ พ้นื ป่ารอบบ้านกลายเปน็ เสียงทคี่ ้นุ หูฉันต้ังแต่เดก็

เฑียรยา เป็นชื่อหมู่บ้านท่ีฉันอาศัยอยู่ ต้ังอยู่ในต�าบลตาแกะ
อ�าเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ในตอนเด็กๆ ฉันกับหลานยายคนอื่นๆ มัก
ชอบห้อมล้อมรอบตัวคุณยายรบเร้าให้คุณยายเล่าเรื่องราวต่างๆ เมื่อคร้ัง
คุณยายยังเด็ก คร้ังหน่ึงคุณยายได้เล่าว่า พื้นดินที่ตั้งของหมู่บ้านเฑียรยา
ในปัจจุบันน้ันเม่ือก่อนเคยเป็นชายฝั่งทะเล แต่เม่ือนานวันแรงลมจาก
ทะเลท�าให้มีการพัดพาทรายก่อให้เกิดการทับถมเป็นเนินทรายและ
กลายเปน็ พน้ื ดิน ส่งผลท�าใหม้ ีการเปล่ียนแปลงทางระบบนเิ วศในท่สี ดุ

และเมื่อประมาณห้าร้อยปีท่ีแล้วได้มีผู้คนเข้ามาต้ังรกรากใน
บริเวณดังกล่าวจนกลายเป็นชุมชนและค่อยๆ แผ่ขยายมาเรื่อยๆ จนเม่ือ
มาถึงยุคหน่ึงที่อาณาจักรปาตานีดารุสสลามเจริญรุ่งเรือง ได้มีการติดต่อ
ค้าขายกับต่างชาติ มีเรือบรรทุกสินค้ามาจอดเทียบท่าท่ีอาณาจักรปาตานี
ไม่ขาดสาย พื้นดินเฑียรยาจึงเป็นส่วนหนึ่งท่ีนักเดินเรือใช้พักพิงและ
หลบฝนพายุ มีเรื่องเล่าว่าคร้ังหนึ่งได้มีเรือส�าเภาของชาวจีนเข้ามาและได้
ลม่ จนเสากระโดงเรอื หกั แถบบรเิ วณพน้ื ทปี่ า่ ของหมบู่ า้ นเฑยี รยาในปจั จบุ นั

84

ซึง่ เสากระโดงเรือในภาษามลายจู ะเรยี กว่า ทีแยลายา ผ้คู นจึงเรียกบริเวณ
ที่เสากระโดงเรือหักนั้นว่า ทีแยลายา ต่อมามีชาวไทยพุทธได้เข้ามาอาศัย
อยู่ด้วย การออกเสียงเรียกทีแยลายาจึงเพ้ียนเป็น เฑียรยา มาจนถึง
ปจั จบุ ัน

หมู่บ้านเฑียรยาส่วนใหญ่เป็นป่าสันทราย มีพืชพรรณหลาก
หลายชนิดท้ังไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก เช่น ต้นชะมวง ต้นหลาวชะโอน
ต้นยางนา ต้นตาลโตนด ต้นมะพร้าว ต้นตะเคียน ต้นยางพารา กะพ้อ
หวาย ผักหวานป่า กล้วยไม้ เห็ดต่างๆ เป็นต้น อาจเรียกได้ว่าหมู่บ้าน
ของฉันอยู่ท่ามกลางป่า มีป่าไม้รายล้อมคอยโอบกอดคุ้มครองให้ความ
ปลอดภัยและให้ชีวิต เพราะความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของ
ป่าสันทรายน่ีเองท่ีช่วยชุบชีวิตและหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในชุมชนให้สามารถ
ดา� เนนิ ชีวิตในแตล่ ะวนั ได้

ชาวบ้านรวมทงั้ พอ่ ของฉนั มกั เขา้ ปา่ ไปเกบ็ ผักป่า เชน่ ผักหวาน
ปา่ ชะมวง ยอดมะมว่ งหมิ พานต์ น้�ามนั จากตน้ ยางนา เห็ด เพอ่ื น�าไปขาย
เป็นรายได้ บางคร้ังพ่อมักแบกเศษไม้ท่ีหักและร่วงหล่นใต้ต้นไม้ในป่า
กลับมาด้วย เพื่อน�าไปเผาท�าเปน็ ถ่านเอาไว้ใช้เองหรอื น�าไปขายต่อ

ช่วงหน่ึงท่ีราคายางพาราสูง พ่อจึงได้ลองปลูกต้นยางพารา
ใกล้ๆ บ้านดูบ้าง น่าอัศจรรย์มากที่ต้นยางพาราเหล่านั้นสามารถเติบโตได้
เป็นอย่างดี ส่วนพ้ืนดินว่างโล่งข้างบ้านพ่อมักสลับหมุนเวียนปลูกพืชที่
หลากหลายตามช่วงเวลาท่ีเหมาะสม เช่นบางคร้ังได้กลายเป็นสวนแตงโม
บางครั้งเป็นสวนข้าวโพด บางครั้งเป็นสวนพริก บางคร้ังเป็นสวนมะเขือ
ฉนั มักตน่ื ตาตื่นใจทุกครงั้ ยามเมื่อพืชเหลา่ นน้ั ผลดิ อกออกผล

ภาพสีเขียวของต้นไม้กลายเป็นภาพท่ีฉันคุ้นเคยและรู้สึกเป็น
ส่วนหนึ่งในชีวิต เหมือนกับพ่อที่เปรียบเสมือนเป็นลมหายใจของฉันและ
ครอบครัว

เม่ือฉันขึ้นช้ัน ป.6 พ่อได้จากทุกคนไปอย่างกะทันหัน การ

85

สูญเสียพ่อไปท�าให้วิถีชีวิตในครอบครัวพลอยเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แม่
กลายเป็นเสาหลักในครอบครัวแทนพ่อ ขณะเดียวกันสถานการณ์ความ
ไม่สงบในพื้นที่ก็ท�าให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนเปล่ียนแปลงไปด้วยเช่นกัน
พ่ีน้องชาวไทยพุทธพากันย้ายออกจากหมู่บ้านไปจนเกือบหมด ไม่มีใคร
กล้าเข้าป่าเพื่อไปหาของป่ามาขายอีกต่อไป ความหวาดกลัวเร่ิมครอบง�า
ชาวบ้าน พอๆ กับความกลัวที่จะขาดรายได้เริ่มกัดกิน ท�าให้ชาวบ้าน
บางคนออกไปท�างานในเมือง บางคนไปไกลถึงประเทศมาเลเซีย แต่สิ่งที่
เลวร้ายและเจ็บปวดที่สุดน่ันคือ มีการขุดหน้าดินไปขายท�าให้ป่าโดยรอบ
ทรุดลงและเสยี หายอย่างหนกั มีการถางปา่ เผาป่า ตัดไมเ้ พื่อน�าไม้ไปขาย
และสร้างบ้านเรือน ความสะดวกสบาย คุณภาพชีวิตที่ดีและม่ันคง
กลายเปน็ ส่ิงท่ีชาวบา้ นในป่าสันทราย หมูบ่ า้ นเฑียรยาฝนั ถงึ

บ่อยคร้ังที่คณาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์เข้ามาส�ารวจชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน เข้ามาท�า
กิจกรรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติท่ีมีอยู่ในชุมชนให้กับชาวบ้านและนักเรียน เม่ือนึกถึงเรื่องนี้ทีไร
ฉันแอบละอายใจเหลือเกินท่ีกลายเป็นว่าคนนอกพื้นที่กลับตระหนักถึง
คุณค่าของป่าสันทรายได้ดีกว่าคนในชุมชนซ่ึงเป็นเจ้าของป่าแท้ๆ เอง
เสยี อีก

ความหลากหลายของพืชพรรณนานาชนิดที่มีอยู่ในป่าสันทราย
ในหมบู่ ้านเฑยี รยากอ่ ใหเ้ กดิ ความอดุ มสมบรู ณข์ องระบบนเิ วศฉันใด ความ
เข้าใจในความหลากหลายทางความเช่ือ ศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี
ก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็งฉันน้ัน ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งและความ
ยากล�าบากท่ีทุกคนต้องก้าวข้ามไปให้ได้เช่นน้ี ฉันอดนึกถึงเรื่องเล่าของ
คุณยายไม่ได้ตามเคย คุณยายเคยเล่าให้ฟังว่าเม่ือคร้ังคุณยายยังเด็ก
ชุมชนบ้านเฑียรยามีชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่ร่วมกัน เม่ือ
ถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวทุกคนจะพากันไปช่วยเก็บเกี่ยวข้าวหรือท่ีเรียกว่า การ

86

ลงแขกเก่ียวข้าว หรือเม่ือมีคนมุสลิมคนไหนจัดงานแต่งงาน คนพุทธเองก็
จะได้รับเชิญให้มาร่วมรับประทานอาหารในงาน แต่ครั้นเม่ือมีคนพุทธจัด
งานแต่งงาน คนมุสลิมจะถูกเชิญให้ไปจัดเตรียมและปรุงอาหารเพ่ือให้
คนมุสลิมที่มาร่วมงานได้รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักศาสนา
อย่างสบายใจนั่นเอง หรือเมื่อถึงงานประเพณีกวนอาซูรอ คนพุทธทุกคน
จะได้รับการแจกจ่ายขนมอาซูรอกันทุกบ้าน เช่นเดียวกับวันฮารีรายอ
คนพุทธก็จะมีโอกาสได้กินตูปะ ซาเต นาซิดาแฆ ละแซหรือขนมจีน ที่
คนมุสลมิ ได้จัดเตรยี มไวใ้ นเทศกาลดังกลา่ วอีกดว้ ย

วนั นีฉ้ นั ยังมีโอกาสได้เห็นสีเขียวๆ ของตน้ ไม้รอบๆ บา้ น แม้จะ
ไม่หนาทึบเหมือนเม่ือตอนฉันยังเล็ก ได้เห็นเมล็ดยางนาค่อยๆ ร่วงหล่น
และตกเกล่ือนกลาดใต้ลา� ต้นให้ฉันและน้องๆ ได้โยนเล่นเสมือนเป็นหิมะ
ในประเทศเมืองร้อน แต่ถึงอย่างนั้นฉันกลัวเหลือเกิน หากวันหน่ึงป่าไม้
ท่ีคอยให้ชีวิตและคอยหล่อเล้ียงทุกคนถูกท�าลายลงอย่างช้าๆ จนหมดสิ้น
โดยไม่มีใครสักคนได้ตระหนัก ไม่มีใครสักคนอยากรักษา ไม่มีใครสักคน
เห็นคุณค่าและให้ความส�าคัญ วันน้ันคงไม่มีชุมชนบ้านเฑียรยาให้ทุกคน
ได้รจู้ กั อีกต่อไป เพราะปา่ สนั ทรายคือชวี ติ ของทุกคนท่ีนี่

บางทกี ว่าจะรตู้ ัวว่าส�าคญั กอ็ าจสายไปเสยี แลว้

87

“วดั ถ้�ำ” ลมหำยใจปลำยดำ้ มขวำน

สชุ าดา เจ๊ะแม

ระยะทางเพียง 7 กิโลเมตร หรือใช้เวลาประมาณสิบนาทีจาก
ตวั เมืองยะลา บนถนนสาย 407 เราก็จะเดนิ ทางมาถงึ “วดั คูหาภมิ ุข” หรอื
วัดที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดถ�้า” ซ่ึงเป็นวัดที่มีความสวยงามและมี
เอกลักษณ์เป็นเสน่ห์เฉพาะตัว เมื่อเดินทางมาถึงภายในวัดจะสัมผัสได้ถึง
กลนิ่ อายต่างๆ ทเ่ี สริมสรา้ งความงดงามให้แก่กนั

เม่ือเข้าไปถึงเราจะพบกับเจ้าถ่ิน น่ันคือฝูงลิงท่ีมารอต้อนรับ
นักท่องเที่ยวหรือบุคคลภายนอกที่มาเยี่ยมชม ทุกๆ ท่านสามารถซ้ือ
อาหารให้กับเจ้าถ่ินเป็นการท�าบุญแรกของวัดแห่งน้ี ใกล้ๆ กันมีร้านค้า
ร้านขายอาหารจ�านวนมาก เพื่อให้ทุกท่านได้พักผ่อนหย่อนใจและนั่งชม
ความงดงามของวัดคูหาภมิ ุข

“สะพานสองแสน” ซึ่งเป็นสะพานท่ีข้ามบึงน้�าไปยังอีกฝั่งเป็น
สะพานท่ีจะพาเราไปยังจุดเด่นของสถานท่ีแห่งน้ีคือถ�้า เมื่อมาถึงทางเดิน
ขึ้นถ้�ามีบันไดนาค ลักษณะคือพญานาคสีขาวนวลขนาบข้างเป็นราว
บันไดไปสุดทาง ระหว่างทางขึ้นมีหอวัฒนธรรมศรีวิชัยที่ให้ความรู้ประวัติ
ความเป็นมาและหลักฐานในประวัติศาสตร์ที่ค้นพบ คือ พระพิมพ์ดินดิบ
สถูป เมด็ พระศก และอิฐฐานพระพทุ ธรปู ยังมบี ริการเชา่ พระเครอ่ื งบชู าท่ี
ผเู้ ยยี่ มชมสามารถเช่ากลบั ไปเพ่อื เป็นสริ มิ งคล

88

เม่ือเดินข้ึนบันไดจนสุดทางแล้วเราจะพบกับรูปปั้นของ “พ่อ
ท่านเจ้าเขา” คือรูปปั้นยักษ์สูงหลายเมตร มีลักษณะไม่เหมือนยักษ์ที่อ่ืน
ในประเทศไทยตรงท่ีพ่อท่านเจ้าเขาน้ันเป็นยักษ์ป่า มีรูปร่างหน้าตาคล้าย
เงาะปา่ ซาไก ดวงตาโปน มีงเู ห่าพันรอบคอและรอบแขน นงุ่ ผา้ สีแดงเพียง
ผืนเดียว ยืนถือตะบองอยู่ที่ปากทางเข้าถ้�า ใบหน้าเผยรอยยิ้มเล็กๆ สร้าง
ความน่าเกรงขาม และสร้างความอบอุ่นให้กับผู้ที่มองใบหน้าของท่าน
คนในพ้ืนที่ให้ความเคารพและความศรัทธาเน่ืองจากพ่อท่านเจ้าเขาเป็น
ขวัญก�าลังใจให้แก่ชาวบ้านและมีความเช่ือว่าท่านจะปกปักรักษาชาวบ้าน
หน้าถ�้าให้พ้นภัย และป้องกันรักษาองค์พระพุทธไสยาสน์ไม่ให้คนมาท�า
มิดีมิร้ายและท�าลายพระองค์ได้ อีกท้ังคนในพื้นท่ีและคนนอกพ้ืนที่มักมา
บนบานศาลกลา่ วกบั พอ่ ท่านเจา้ เขาเปน็ จ�านวนมาก เมื่อไดด้ ง่ั ใจหวงั แลว้ ก็
มกั จะแก้บนด้วยการยงิ ปืน 7 นัดหรอื 10 นดั ตามท่ีได้บนบานศาลกลา่ วไว้
หรือบางท่านอาจจะบนวา่ จะน�าตะบองมาถวาย บริเวณขา้ งพ่อทา่ นเจา้ เขา
จึงมีตะบองขนาดต่างๆ วางไว้จ�านวนมาก บางท่านก็แก้บนด้วยการถวาย
ส�ารับอาหาร เช่น หัวหมู ไก่ต้มท้ังตัว และอ่ืนๆ โดยจุดธูปเทียน รอจน
ธูปหมดจึงสามารถน�ากลับไปรับประทานได้ มีค�ากล่าวลาพระว่า “เสสัง
มังคะลัง ยาจามิ” แปลเป็นค�ากล่าวว่า “เดนๆ ชานๆ ลูกหลานขอ” จึง
สามารถน�าของถวายกลบั บ้านได้

เมื่อเดินต่อเข้าไปถึงบริเวณปากถ้�าจะเห็นองค์พระพุทธรูป
ปางต่างๆ มากมายเรียงรายกัน มองแล้วท�าให้รู้สึกจิตใจสงบสุขและ
เล่ือมใสศรัทธา นอกจากพระพุทธรูปแล้วยังมีรูปปั้นองค์ฤๅษีที่บริเวณ
หินงอกหินย้อยซ่ึงมีน้�าไหลหยดลงมา บริเวณแอ่งหินเล็กๆ ซ่ึงชาวบ้าน
มีความเชื่อว่าเป็นน้�าศักด์ิสิทธ์ิสามารถเอามือแตะน�้ามาพรมที่ตัวหรือ
ศรี ษะเพอ่ื ความเป็นสริ ิมงคลได้

เข้ามาภายในวัดถ�้าซึ่งเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ภายในมีอากาศ
เย็นสบาย เม่ือเข้าไปจะพบพระพุทธรูปปางต่างๆ จ�านวนมาก รับรู้ได้ถึง

89

ความขลังและน่าเคารพ พระพุทธรูปที่เป็นองค์ส�าคัญคือพระพุทธไสยาสน์
หรอื พระนอน ซ่งึ คนในพ้นื ทีเ่ รียกวา่ “พ่อท่านบรรทม” ซึง่ มลี ักษณะแปลก
ไปจากพระนอนองค์อื่น คือมีพญานาคแผ่พังพานอยู่เหนือเศียรพระนอน
ท�าให้มีผู้สันนิษฐานถึงท่ีมาของพระนอนองค์น้ีว่าเดิมอาจเป็นพระนารายณ์
บรรทมสินธุ์ตามศาสนาพราหมณ์ ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่
เข้ามายังดินแดนส่วนนี้จึงได้ดัดแปลงเทวรูปดังกล่าวให้เป็นพระพุทธรูป
ดังท่ีเปน็ อยูใ่ นปัจจบุ นั

คุณยายฉิน แคล้วพันธ์ เล่าว่าเดิมทีแล้วน้ันพ่อท่านบรรทมมี
โครงเป็นไม้ไผ่ เมื่อก่อนคุณยายขายดอกไม้ธูปเทียนอยู่หน้าถ้�า ทุกเย็น
คุณยายจะเข้าไปท�าความสะอาดภายในถ้�า ครั้งหนึ่งคุณยายเข้าไปท�า
ความสะอาดในถ้�าเหมือนทุกๆ วัน แต่คุณยายพบว่าองค์พระมีรอยแตก
ท่ีข้างท้อง จึงได้เห็นว่าจริงๆ แล้วพ่อท่านบรรทมมีโครงเป็นไม้ไผ่จึงไป
แจ้งกับเจ้าอาวาสของวัดในขณะน้ัน และเป็นเรื่องจริงที่น�ามาเล่าบอก
ต่อกันว่าคุณยายฉิม แคล้วพันธ์ เป็นคนแรกที่ได้พบและเห็นองค์พระ
แตก จากน้ันจึงได้แจ้งไปยังกรมศิลปากรมาบูรณปฏิสังขรณ์เป็นองค์
พระนอนที่เหน็ อยใู่ นปัจจุบนั

นอกจากน้ีคุณยายยังเล่าถึงต�านานที่คนในพ้ืนที่เช่ือและศรัทธา
ว่าเมื่อในอดีตตอนที่คุณยายฉิมยังขายดอกไม้อยู่ในวัดน้ันเคยมีคนมา
กินยาฆ่าตัวตาย และนอนอยู่ในร่องของถ้�านานกว่าสิบวันจนมีคนไปพบ
โดยชายผู้นั้นยังมีลมหายใจอยู่ จึงเชื่อกันว่ายังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดแห่งน้ี
คอยปกปักรักษามิให้หมดลมหายใจไปก่อน ปัจจุบันเขาได้บวชเป็นพระ
และได้กลับมาขอบคุณคนที่เข้าไปชว่ ยเหลอื ในครั้งนน้ั

คุณยายยังบอกอีกว่าเม่ือใกล้ช่วงปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์
จะมีการแห่ผ้าห่มพ่อท่านเพื่อไปห่มผ้าให้องค์พระใหม่ จะท�าทุกๆ สองปี
เพื่อเป็นการท�าบุญพระใหญ่ของวัดแห่งนี้ นอกจากมีการแห่ผ้าพ่อท่าน
แล้ว บุคคลใดที่เคยบนบานศาลกล่าวไว้มักจะมาแก้บนในช่วงนี้เพ่ือเป็น

90

การท�าบญุ ไปด้วย
เมื่อฟังค�าบอกเล่าจากคุณยายท�าให้เกิดความประทับใจใน

ถ่ินฐานบ้านเกิดของตัวเอง ได้เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ได้ฟังสิ่งดีๆ จากผู้เฒ่าผู้แก่ในพ้ืนถิ่นแห่งนี้ หากจะเรียกท่านว่าครู
ภูมิปัญญาท้องถิ่นก็ไม่ผิด การเดินทางมาถ้�ายังไม่จบเพียงเท่านี้ยังได้พบ
เร่อื งราวของวดั ถา้� อกี เรอื่ งหนึง่ น่นั คอื “ถา้� มดื ”

หากจะกล่าวย้อนถึงเร่ืองราวของวัดถ้�า หรือวัดคูหาภิมุข เป็น
วัดเก่าแก่สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2390 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล 4 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยา
ยะลา หรือณรงค์ฤทธ์ิ ศรีประเทศวิเศษวังษา เจ้าเมืองยะลา สร้างวัดขึ้น
เพื่อประกอบพิธีบ�าเพ็ญกุศลในหมู่บ้าน จึงได้สร้างวัดขึ้นที่ริมเขาแห่งน้ี
และห่างจากถ้�าพระนอนไปประมาณ 300 เมตร จะพบกับถ้�าท่ีซ้อนอยู่ใน
วดั ถ�้า คอื “ถ�า้ มืด” ซ่งึ ครง้ั อดีตนั้นย้อนไปกอ่ นจะเกิดความรนุ แรงในพืน้ ท่ี
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนปีพุทธศักราช 2547 ถ�้ามืดแห่งนี้ได้รับความ
นิยมท้ังชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นประจ�า
แต่ภายหลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบภายในพ้ืนท่ีนักท่องเท่ียวก็ลด
หายไปเพราะกลวั ความไมป่ ลอดภยั จนท�าให้ “ถ�า้ มืด” ดังกลา่ วต้องปดิ ตัว
ลง ทางองค์การบริหารส่วนต�าบลหน้าถ�้าร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมต�าบล
หน้าถ้�าได้เปิด “ถ�้ามืด” เพ่ือต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง จึงท�าให้จังหวัด
ยะลาฟื้นคืนแหล่งท่องเที่ยวเก่า “ถ้�ามืด” หลังจากปิดมานานหลายปี
ผู้ที่จะเดินทางมาเท่ียวชมต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของการแต่งกาย
เหมาะสมกับการเดินเที่ยวชมถ�้ามืด ควรสวมใส่รองเท้าผ้าใบเน่ืองจาก
ภายในถ�้าน้ันเป็นดินชุ่มน้�าจะท�าให้เกิดการลื่น อีกทั้งควรพกไฟฉาย หรือ
อุปกรณ์ส่องสว่างท่ีมีความสว่างพอสมควรติดมาด้วย เพ่ือร่วมชมและ
สัมผัสความงดงามของถ�้ามืดท่ีมีหินงอกหินย้อยสวยงามแปลกตา อาทิ
หินหัวช้าง หินม่านแหวก หินมะระ หินเม็ดมะม่วงหิมพานต์ หลุมแม่ม่าย

91

ถ้�าปปร. สระแก้ว
“สระแก้ว” ซึ่งเป็นแหล่งน้�าศักด์ิสิทธิ์ท่ีชาวหน้าถ้�ายึดถือใน

ความเชื่อและมีความศรัทธา รวมถึงชาวยะลาและผู้คนในพ้ืนท่ีใกล้เคียง
เป็นสระน้�าศักดิ์สิทธ์ิเกิดขึ้นตามธรรมชาติภายในถ้�ามืด ซึ่งน�้าในสระแก้ว
จะใสสะอาดและเย็น ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวเม่ือเข้าไปเท่ียวในถ�้ามืด
มักจะน�าน้�าจากสระแก้วมาประพรมบนศีรษะ เพ่ือเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
ในอดีตเมื่อมีพิธีพระบรมราชาภิเษก จังหวัดยะลาจะน�าน�้าในสระแก้ว
ไปท�าพิธีปลุกเสกเป็นน�้าพุทธมนต์ส่งไปให้ที่กรุงเทพฯ เพ่ือน�าไปผสมกับ
น้�าศักด์ิสิทธ์ิจากแหล่งอ่ืนๆ ส�าหรับมุรธาภิเษก หลายคร้ังท่ีมีหลักฐาน
แน่ชัด คือพิธีมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ครบ 80 พรรษา ปีพุทธศักราช
2554 และคร้ังสุดท้ายท่ีมีหลักฐานแน่ชัดคือ พุทธศักราช 2562 พิธี
พลีกรรมตักน�้าจากแหล่งน้�าศักด์ิสิทธ์ิในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จ
เถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย พร้อมท้ัง
เฉลมิ พระปรมาภไิ ธยพระบาทสมเดจ็ พระวชริ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั พระมหากษตั รยิ ์
รชั กาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จกั รีอย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี

ก่อนเดินทางกลับยังมีจุดชมวิวริมบึงน�้าให้ทุกท่านได้พักผ่อน
หย่อนใจและมีจุดส�าหรับนักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูป จัดเป็นต�าแหน่งไว้มีสีสัน
สวยงามระบเุ ป็นช่ือ วดั ถ�้า ยะลา และแวะกินขนมโบราณท่มี ขี ายอยใู่ นวดั
บรรยากาศร่มเย็นสบายใจ ดื่มด่�ากับธรรมชาติท่ีสวยงามภายในวัดท�าให้
จติ ใจสงบ

ความตอนหนึ่งในบทความยะลาเพลินใจ อาจารย์พินิจ
จันทรล์ กั ษณ์

“วัดถ้�ามีโบราณล�้าค่า ของสร้างมาเป็นศรีวิชัย หวงแหน
จงรกั ษาไว้ ลกู หลานต่อไปจะไดช้ น่ื ชม”

92

วัดถ�้ามีประวัติและความเป็นมาหลายร้อยปีเป็นปูชนียสถานที่
ยังคงความสวยงาม ความน่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นแหล่งวัฒนธรรมและ
ประเพณีอันล�้าค่าควรรักษาไว้ และด้วยความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อ
สถานที่อันศักด์ิสิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเป็นท่ียึดเหน่ียวจิตใจ คอยปกปักรักษา
ชาวยะลา และคนในพ้ืนท่ีปลายด้ามขวานให้คงมีลมหายใจและคอยดูแล
รกั ษามรดกอันล้า� ค่านี้ไว้ต่อไปตราบนานเท่านาน

93

เรือ่ งเลำ่ จำกพนื้ ท่ีสแี ดง

ศริ ปิ ระภา ชา� นาญธุระกจิ

หากพูดถึงพื้นที่สีแดงในประเทศไทย...ใช่แล้ว คุณรู้ นั่นก็คือ
ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจะนะ เทพา สะบ้าย้อย นาทวี สี่อ�าเภอ
ของจังหวัดสงขลาแน่นอน! ภาพในหัวของใครหลายคนคงไม่ต่างจาก...
ระเบิด! โจรใต้! ซ่ึงภาพท่ีหลายคนนึกถึงอาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งท่ีก�าลัง
บดบังภาพอันสวยงามซ่อนอยู่ด้านหลังมโนภาพความน่ากลัวนั้น และ
ฉันเองก็เป็นคนหน่ึงท่ีเคยนึกถึงภาพน่ากลัวเหล่าน้ัน จนฉันได้ย้ายกลับมา
เรียนที่โรงเรียนแห่งหน่ึงในปัตตานี การย้ายมาเรียนในที่ใหม่ครั้งนี้ ท�า
ให้ฉันได้รู้ซ้ึงถึงสุภาษิตโบราณเลยว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น
ไม่เท่ามือคล�า” ฉันหลงใหลในวิถีชีวิตของการอยู่ร่วมกันภายใต้
พหุวัฒนธรรมอันงดงาม วิจิตรไปด้วยศิลปวัฒนธรรมท่ีแสดงอัตลักษณ์
ท้องถิ่นของผู้คนในพ้ืนท่ีดังกล่าว….และคุณเองก็อาจเป็นเช่นน้ัน หากคุณ
ไดส้ มั ผัสบรรยากาศของ “พน้ื ทส่ี แี ดง พ้นื ท่อี ันนา่ กลัวของใครหลายคน”

วันน้ีเป็นวันแรกท่ีฉันได้เรียนโรงเรียนแห่งใหม่ในจังหวัด
ปัตตานี ก่อนออกจากบ้านฉันรู้สึกกังวลและรู้สึกกลัวเป็นอย่างมาก แต่แม่
ก็ปลอบใจฉันแล้วบอกฉันว่าไม่ต้องคิดมาก บางทีทุกส่ิงอาจไม่เป็นอย่าง
ท่ีเราคดิ เสมอไป หรอื บางทีส่งิ ต่างๆ อาจดกี ว่าทฉ่ี ันคดิ เสียด้วยซา้� ฉันรู้สึก
หายกลัวขึ้นมาบ้างแล้วเดินทางมาโรงเรียนอย่างมีสติ ระหว่างทางที่ฉัน

94

ขับรถจักรยานยนต์ มีด่านตั้งหลายแห่งมาก ฉันรู้สึกปลอดภัยขึ้นมาอีกที
เพราะอย่างน้อยกม็ ที หาร ตา� รวจ ผู้เสยี สละคอยตรวจสอบความปลอดภยั
ในการเดนิ ทางให้แก่ประชาชนอยา่ งไม่ขาดสาย

เม่ือถึงโรงเรียนสิ่งที่ฉันเห็นถึงความแตกต่างเป็นล�าดับแรกคือ
การแต่งกายของท่ีน่ี ชัดเจนที่สุดคือนักเรียนผู้หญิงเพราะพวกเขาใส่
ผ้าคลุมศีรษะแต่งกายมิดชิด ใส่เสื้อแขนยาว กระโปรงยาว ส่วนนักเรียน
ผู้ชายใส่หมวกและกางเกงขายาว ฉันเห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่าพวกเขาคือ
ผู้นับถือศาสนาอิสลามและการแต่งตัวแบบน้ีคงเป็นเอกลักษณ์ของคนท่ีนี่
ซึง่ มองดแู ลว้ ต่างจากนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธอยา่ งสิ้นเชิง

ฉันจอดจักรยานยนต์แล้วเดินเข้าไปท�าความเคารพคุณครูที่
หน้าประตูโรงเรียน โดยหากเป็นนักเรียนไทยพุทธก็ยกมือไหว้คุณครูตาม
ปกติ แต่ถ้าหากเป็นนักเรียนนับถือศาสนาอิสลามท�าความเคารพคุณครู
จะกล่าวว่า อัสสลามุอะลัยกุม พร้อมกับจับมือขวาและคุณครูจะตอบ
กลับมาว่า วะอะลัยกุมุสสลาม แต่มีข้อแม้ในการจับมือคือต้องเป็นเพศ
เดยี วกนั เท่านน้ั

เข้าสู่การเรียนในคาบเรียนแรก ห้องของฉันมีนักเรียนทั้งหมด
36 คน มีนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธเหมือนฉัน 12 คน และนับถือ
ศาสนาอิสลาม 24 คน ฉนั นับโดยสังเกตจากการแตง่ ตัวของพวกเขา เพอื่ น
ในห้องของฉันย้ิมแย้มแจ่มใสและดูเป็นมิตรมากท้ังไทยพุทธและมุสลิม
(เพื่อนคนหน่ึงบอกว่าถ้าเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเราต้องเรียกพวกเขา
ว่ามุสลิม) ทุกคนต่างยิ้มให้ฉันอย่างเป็นมิตรพร้อมแนะน�าช่ือของพวกเขา
ให้ฉันรู้จัก เม่ือฟังชื่อพวกเขาแล้ว ฉันรู้สึกว่าช่ือของเพ่ือนมุสลิมเรียกยาก
มาก เพราะชื่อของเพื่อนมุสลิมดูเหมือนไม่ใช่ช่ือท่ีมาจากภาษาไทย เพื่อน
ของฉันบอกว่าเปน็ ช่อื ท่ไี ดม้ าจากภาษาอาหรบั บ้าง ภาษามลายูบา้ ง เพราะ
ไดร้ ับอิทธพิ ลมาจากการนบั ถอื ศาสนาอิสลาม เช่น อามีเนา๊ ะ ยามีล๊ะ เปน็
ชื่อผู้หญิง ส่วนชื่อผู้ชาย เช่น อิรฟาน ฮัมดาน เป็นต้น ในห้องของเราไม่

95

แบ่งแยกกันเลยว่าไทยพุทธต้องอยู่ร่วมกับไทยพุทธ มุสลิมต้องอยู่ร่วมกับ
มุสลิม แต่พวกเราอยู่ร่วมกันทั้งไทยพุทธและมุสลิมอย่างมีความสุข ต่าง
หยอกล้อ เล่นกันบ้าง ช่วยกันท�าการบ้านบ้าง ทั้งๆ ฉันเพ่ิงเข้ามาอยู่เป็น
วนั แรก แต่พวกเขาทา� ให้ฉนั รู้สกึ ว่าฉนั อยทู่ ่นี ่มี านานแล้ว

ตอนพักรับประทานอาหารกลางวัน ฉันเดินไปโรงอาหารพร้อม
กับเพ่ือนอีกสองคน เพ่ือนของฉันแนะน�าว่าอาหารท่ีเป็นเอกลักษณ์หรือ
เป็นท่ีนิยมของคนที่น่ี คือ ไก่กอและ แกงมัสม่ัน และโรตีมะตะบะ ฉันจึง
ซื้ออาหารตามท่ีเพื่อนแนะนา� เพราะฉันไม่เคยรับประทานเลยสักคร้ังและ
อยากลองรับประทานดูบ้าง อย่างแรกคือ ไก่กอและ ไก่กอและมีสีส้มแดง
อีกท้ังมีความหอม รสชาติเข้มข้น มีความเผ็ดนิดๆ แต่ก็หวานด้วย อย่าง
ที่สองคือ แกงมัสมั่น แกงมัสม่ันมีรสชาติไม่เผ็ดมาก กลมกล่อมอร่อย
ผสมผสานกับเคร่ืองเทศท่ีหอมจนลงตัวได้รสหวานมัน อย่างสุดท้ายคือ
โรตีมะตะบะ โรตีมะตะบะเป็นแผ่นแป้งท่ีใส่ไส้เนื้อสัตว์ปรุงสุก มีรสชาติ
เค็มและหอมเครือ่ งเทศ

เม่ือฉันรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็มาเข้าเรียน จนกระทั่งถึง
เวลากลับบ้าน จากหน่ึงวันที่ฉันได้สัมผัสบรรยากาศหรือได้อยู่ร่วมกันกับ
คนที่นี่ด้วยตัวของฉันเอง ฉันรู้ซึ้งถึงความมีน้�าใจและความเป็นมิตรของ
เพ่ือนๆ ทั้งไทยพุทธและมุสลิม ทั้งๆ ท่ีพวกเรามีอะไรหลายๆ อย่างที่
แตกต่างกันอย่างเช่นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี และวัฒนธรรม แต่
พวกเขาก็พยายามบอกหรืออธิบายถึงสิ่งท่ีฉันไม่รู้เกี่ยวกับพ้ืนท่ีแห่งนี้ และ
วันเสาร์นี้เพื่อนๆ ชวนฉันไปเที่ยวแหล่งท่องเท่ียวที่นิยมในสามจังหวัด
ชายแดนใต้ แตท่ า� ไมครัง้ นฉ้ี นั ไม่ร้สู กึ กลัวเหมือนก่อน กลบั กลายเปน็ อยาก
เห็นสถานที่ดงั กล่าวดว้ ยซ้า� ไป

ถึงวันเสาร์เพ่ือนของฉันสองคนมารับฉันที่บ้านตั้งแต่เช้า
เนื่องจากต้องไปสถานที่แห่งแรกคือ วัดช้างให้ เพื่อกราบสักการะ
หลวงปู่ทวด เพราะฉันและเพื่อนเช่ือว่าจะน�าพาความเป็นสิริมงคลมาให้

96

แก่ชีวิต ส่วนเพื่อนอีกคนท่ีเป็นมุสลิมได้น่ังรอที่ลานหน้าวัด ถึงเวลา
ประมาณเที่ยงกว่าๆ เพื่อนมุสลิมของฉันเสนอว่าให้ไปเที่ยวต่อที่มัสยิด
กลางปัตตานีเพราะเป็นมัสยิดที่สวยท่ีสุดในจังหวัดปัตตานีและเขาเอง
ก็ต้องการละหมาดที่นั่นด้วยเช่นกัน เม่ือมาถึงมัสยิดกลางปัตตานีแล้ว
ฉันท่ึงกับภาพที่เห็นเป็นอย่างมาก เพราะมัสยิดแห่งนี้เป็นตึกคอนกรีต
สองช้ัน ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวารสี่ทิศ มี
หอคอยสองข้างสูงเด่นเป็นสง่า ฉันไม่รอช้ารีบหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายรูป
ทันที แล้วน่ังรอจนเพื่อนของฉันละหมาดเสร็จ และเวลาก็ล่วงมาจนถึง
บ่ายสองโมง พ่อของเพ่ือนฉันก�าลังจะมารับเพ่ือนอีกคนไปท�าธุระส่วนตัว
ที่นราธิวาส เขาถามฉันและเพื่อนอีกคนว่าต้องการไปนั่งเล่นตอนเย็นที่
หาดนราทัศน์ไหม ฉันและเพื่อนตอบตกลงทันที และพวกเราก็รอจนพ่อ
ของเพื่อนท�าธุระส่วนตัวของเขาเสร็จ จากน้ันพวกเราก็มาถึงหาดนราทัศน์
หาดนราทัศนเ์ ปน็ ชายหาดทมี่ ีความสวยงามไมแ่ พช้ ายหาดอน่ื ๆ ในประเทศ
ไทยเลย โค้งหาดยาวต่อเน่ืองประมาณ 5 กิโลเมตร นอกจากหาดทราย
ขาวสะอาดน้�าทะเลใสแล้ว ริมหาดนี้ยังมีหมู่บ้านชาวประมงต้ังกระจาย
เป็นระยะๆ หน้าหมู่บ้านมีเรือที่มีการวาดลวดลายสีสันสวยงามอย่างวิจิตร
เพื่อนของฉันบอกว่าน่ีคือเรือกอและ ซ่ึงเป็นวัฒนธรรมของชาวใต้ในการ
คิดสร้างสีสันลวดลายบนเรือ และริมหาดนี้ยังมีร้านอาหารเรียงรายอยู่
หลายร้าน ฉันและเพื่อนได้รับประทานอาหารที่นั่น จากนั้นพวกเราก็
แยกย้ายกันกลับบ้าน โดยพ่อของเพ่ือนอีกคนอาสามาส่งท่ีกลางเมือง
ปตั ตานี

หลังจากท่ีฉันอยู่ที่นี่ได้สองเดือน ฉันได้เรียนรู้ถึงการอยู่ร่วมกัน
แบบพหุวัฒนธรรมหลายอย่างเช่น ประเพณีกินข้าวเหนียวหรือคนท่ีนี่
เรียกว่า ประเพณีมาแกปูโละ เป็นภาษามลายูซ่ึงหมายถึงการกินเล้ียงใน
วันแต่งงาน งานเลี้ยงฉลองความส�าเร็จ เป็นต้น โดยมีสถานที่จัดเลี้ยง
อาหารต่างๆ เช่น มัสม่ันเน้ือ ซุปเน้ือ ผัดวุ้นเส้น นอกจากน้ีฉันยังได้

97

บตั รเชิญไปงานการกุศล หรอื งานกนิ นา้� ชา หรอื เรยี กว่า ประเพณีมาแกแต
ซ่ึงเป็นงานเก่ียวกับการหาเงินเพื่อขอความช่วยเหลือท่ีต้องใช้เงินเป็น
จ�านวนมากแล้วไม่มีจ่าย อาหารที่เลี้ยงได้แก่ ข้าวย�า น�้าชา หรือ
ขา้ วเหนียวหนา้ กุง้ และงานอนื่ ๆ อกี หลายงาน

จากที่กล่าวมาข้างต้นท�าให้ฉันได้รู้ว่าในชีวิตของคนเราอย่า
ยึดติดอยู่กับส่ิงใดส่ิงหนึ่งโดยไม่ยอมรับส่ิงต่างๆ ที่ดีกว่านั้นเข้ามาในชีวิต
และไม่ควรรับฟังแต่ข้อเสียของส่ิงน้ันๆ โดยไม่ได้ตริตรองหรือสัมผัสด้วย
ตัวของเราเอง เช่นเดียวกับฉันท่ีเคยรู้สึกกลัวต่อพ้ืนท่ีแห่งนี้เป็นอย่างมาก
แต่เม่ือได้เข้ามาอาศัยในพ้ืนที่แห่งน้ีแล้ว ฉันมีความสุขและความทรงจ�า
ท่ีดีท่ีเกิดขึ้นจากการเปิดใจในการเรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพหุวัฒนธรรมท่ี
แตกต่างท่ามกลางมิตรภาพของผู้คนท่ีน่ี จนกระท่ังถึงตอนนี้ฉันกลับ
หลงรักผู้คนในพ้ืนที่แห่งนี้ หลงใหลสถานท่ีต่างๆ ในพื้นท่ีน้ี และต่อไปน้ี
ฉนั เองกเ็ ปน็ คนในพ้นื ที่แห่งน้ี...พ้ืนทส่ี แี ดง

98

จวนปัตตำนี เส้นใยนมี้ ีทม่ี ำ

ชนกิ านต์ ทองเจอื

ย้อนกลับไปยังวัยเด็ก ฉันโชคดีที่เติบโตมากับการละเล่น
พ้ืนบ้านและเพลงกล่อมเด็ก แทนที่จะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือสื่อโทรทัศน์
ฉันเกิดในยุคที่คาบเกี่ยวกัน ชีวิตวัยเด็กจึงมีกล่ินอายของความเป็น
ธรรมชาติและความเรียบง่ายปะปนอยู่ ฉันถูกเล้ียงดูโดยแม่เฒ่าหรือ
คุณยายในภาษากลาง แม่เฒ่ามักสอนให้ฉันสังเกตและตั้งค�าถาม จึง
กลายเป็นนิสัยติดตัว และในวันน้ีมีงานท�าบุญครั้งใหญ่ คนเฒ่าคนแก่
หนุ่มสาว และลูกเล็กเด็กแดงทั้งหลายท้ังหญิงทั้งชายตื่นกันต้ังแต่รุ่งสาง
ตระเตรียมแกง ขนม และดอกไม้ พลางตะโกนเรียกชวนกันไปวัด เหล่า
คุณยายท่ีหัวใจยังสาวก็พร้อมเพรียงกันสวมเสื้อลายลูกไม้ และผ้าถุง
ผืนงามมาประชันกัน แม่เฒ่าเองก็ไม่น้อยหน้า ผ้าถุงหลายผืนหลากสีสัน
น�ามาวางเรียงไว้รอให้แม่เฒ่าเลือกหยิบไปนุ่ง ยายนวมที่วันน้ีจัดเต็ม
สวมเส้ือลูกไม้สีแดงเลือดหมู ส่งเสียงมาจากหน้าบ้านเร่งให้แม่เฒ่ารีบ
แต่งตวั ใหเ้ สร็จ “สูเดนิ ไปก่อนตะ ฉานไม่เสร็จท”ี แมเ่ ฒ่าตะโกนตอบกลับ
ไป ใช้เวลาอยู่นาน จนในที่สุดก็ตัดสินใจสวมเส้ือลูกไม้สีขาว หยิบผ้าถุง
ผืนหนง่ึ ขึน้ มา ฉนั เหลอื บตาไปเห็น จา� ไดแ้ มน่ ย�าวา่ ผ้าผืนน้ันมสี พี ้ืน ชายผา้
เป็นสีแดงเข้มเด่นสะดุดตา เพ่งดูลักษณะของลวดลายแล้วเป็นลวดลาย
ที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ฉันใช้มือลูบไล้เส้นใยซึมซับความรู้สึกอิ่มเอม

99


Click to View FlipBook Version