The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ทีมงานกรุธรรม, 2023-10-27 22:55:05

เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

Keywords: เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

เทสรังสีอนุสรณ์เล่ม ๑ พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสฺรํสี) พิมพ์ครั้งที่ ๑ : สิงหาคม ๒๕๕๙ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม จัดพิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทาน เนื่องในวาระครบรอบ ๒๒ ปี วันละสังขารขององค์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี โดย วัดมเหยงคณ์ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐ www.watmaheyong.org และ ชมรมกัลยาณธรรม ๑๐๐ ถนนประโคนชัย ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ www.kanlayanatam.com พิมพ์ที่บริษัทบุญศิริการพิมพ์ จำกัด โทร. ๐-๒๙๔๑-๖๖๕๐-๑


พระธรรมเทศนาของพระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสฺรํสี) ๗ ๑. ธรรมะเปรียบเหมือนดวงประทีป ๘ ๒. กรรม ๑๙ ๓. ความโง่ของคนโง่ ๓๐ ๔. คน ๔ เหล่า ๔๐ ๕. ความเกิดกับความดับ ๕๐ ๖. ธาตุ ๔ ๕๙ ๗. อายตนะ ๖ ๖๗ ๘. สติควบคุมจิต ๗๖ ๙. กรรมฐาน ๙๑ ๑๐. แก่นของการปฏิบัติ ๙๙ ๑๑. การฝึกหัดกัมมัฏฐาน (๑) ๑๑๐ ๑๒. การฝึกหัดกัมมัฏฐาน (๒) ๑๒๑ ประวัติของพระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ๑๒๙ ส า ร บั ญ


พระธรรมเทศนาของ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสฺรํสี)


วันนี้จะเทศนาหัวข้อเรื่อง ธมฺโม ปทีโป วิย ตสฺส สตฺถุโน แปล ความว่า ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเหมือนดวงประทีปส่องสว่าง นำทางคนให้ดำเนินไปในทางที่ดี นี่หัวข้อใหญ่ ก่อนที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ พระองค์ทรงเสาะ แสวงหาวิโมกขธรรมอยู่ถึง ๖ พรรษา จึงทรงรู้จักว่า อันนี้ถูกอันนี้ผิด เรียกว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้ว ทรงนำธรรมะนั้นมาสั่งสอนพวกเราพุทธบริษัทให้เข้าใจลึกซึ้ง ถึงธรรมะที่แท้จริง ธรรมะนั้นจึงได้ชื่อว่า ธมฺโม ปทีโป วิย ตสฺส สตฺถุโน คำสอนของพระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนแสงประทีปส่องทาง ให้พุทธบริษัทดำเนินไปสู่ทางดี ทางสุคติ ที่ท่านอุปมาเปรียบเทียบธรรมะเหมือนกับประทีปก็คือ ตาม ธรรมดาแล้วประทีปเขาจุดกลางคืนเพื่อส ่องทางให้คนเห็น แต ่ แท้ที่จริงแล้วธรรมะยังดีกว่าประทีปนั่นเสียอีก และยังดีกว่าพระ๑  ธรรมะเปรียบเหมือน ดวงประทีป แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 9 อาทิตย์หรือพระจันทร์เสียด้วย คือว่าตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว นำเอาธรรมะมาสอนพวกเราจนถึงปัจจุบันนี้ นับได้ ๒,๐๐๐ กว่าปี ประทีปดวงใหญ ่นี้คือพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม ่เคยดับ สักทีจนป่านนี้ ส่วนประทีปนั้นดับได้ ไฟฟ้า ตะเกียงก็ดับได้ทั้งหมด พระอาทิตย์และพระจันทร์ก็ยังมีเวลาดับเวลาสว่าง ได้แก่ เดือนดับ เดือนเพ็ญ พระอาทิตย์ก็เช ่นเดียวกัน คือ มีเวลากลางวัน เวลา กลางคืน และสิ่งเหล่านั้นสว่างก็จริงแล จะเห็นได้ก็ด้วยคนมีตาดี คือ ตาใสสว่างอยู่จึงค่อยมองเห็นได้ ส่วนธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นส่องสว่างตลอดเวลา ไม่ว่ากลางวันไม่ว่ากลางคืน สำหรับผู้ที่มีจิตใจใสสะอาดบริสุทธิ์ เรียกว่าคนมีตาดี ธรรมะส่องสว่างให้เห็นทั่วหมด ส่องสว่างเข้าไป ในตัวของเรา สามารถเห็นตัวของเรา คือ เห็นรูป เห็นนาม ตาม ความเป็นจริง เห็นความเกิดความดับ คนเรามีตาดี มีแสงประทีป และแสงพระอาทิตย์แสงเดือนส่องสักเท่าใดก็ไม่เคยเห็นความเกิด ความดับ เกิดมาตั้ง ๔๐ - ๕๐ - ๖๐ -๗๐ ปีมันก็ไม่เห็น ส่วนธรรมะ ของพระพุทธเจ้า ส่องให้เห็นความเกิด-ดับ ความสูญสิ้นไปของสังขาร ร่างกายชัดทีเดียว นั่นจึงว่าธรรมะเป็นของวิเศษดียิ่งกว่าพระอาทิตย์ พระจันทร์ หรือดีกว่าแสงประทีปแสงสว่างทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ว่า นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา แสง สว่างอะไรๆ เสมอด้วยปัญญาไม่มี ปัญญานั้นเรียกว่าได้ว่าแสงสว่าง อย่างยิ่ง ธรรมะส่องเข้าไปถึงภายในใจที่มันมืดมันหนาที่มีกิเลสทับถม อยู่ภายในใจ ส่องจนกระทั่งทะลุปรุโปร่งหมดสิ้น แม้แต่นามธรรมที่ มองไม่เห็นด้วยตาก็สามารถกระชากออกมาชำระได้หมดสิ้นได้


10 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ อนึ่ง ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วนั้น พระองค์ทรงนำมา เปิดเผยแก่พุทธบริษัทเพียงน้อยนิดเดียว ที่ยังไม่ได้นำมาเปิดเผยนั้น มากกว่ามาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปสู่ป่าแล้ว ทรงหยิบใบไม้ ขึ้นมาหยิบหนึ่งแล้วอุปมาว่า ใบไม้ในมือของเราตถาคตนี้กับใบไม้ใน ป่าอะไรจะมากกว่ากัน แล้วพระสงฆ์ทูลตอบว่า ใบไม้ในป่ามากกว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ฉันใด ธรรมที่เราได้ตรัสรู้แล้วก็ มากเหมือนใบไม้ในป่า เราเอาออกมาเทศนาให้พุทธบริษัทฟังนี้น้อย นิดเดียว เหมือนใบไม้ในมือของเราฉะนั้น ธรรมะที่พระองค์ทรงนำมาสั่งสอนพุทธบริษัท ล้วนแล้วแต่เป็น ธรรมอันใสสะอาด ส่องทางให้เห็นทางพ้นทุกข์ทั้งนั้น ธมฺโม ปทีโป วิย ตสฺส สตฺถุโน คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเหมือนดวงประทีป ส ่องทางให้คนเห็นความผิดความถูกของตนแล้วจะได้แก้ไขตนให้ ถูกทางต่อไป ธรรมะที่พระองค์ทรงสั่งสอนนั้นจะมากสักเท่าใดก็เอา เถิด เมื่อสรุปลงแล้ว ธรรมที่จะพ้นจากทุกข์ได้ก็มีเพียง ๔ ประการ เท่านั้น คือ ๑. ทุกข์ ๒. สมุทัย ๓. นิโรธ ๔. มรรค ทุกข์ พระองค์ทรงสั่งสอนธรรมอันเป็นผลที่เกิดจากเหตุ เห็น ได้ง่ายด้วยญาณทัสสนะ มีทั้งความรู้ด้วยใจและความเห็นด้วยตา ภายนอกชัดเจนแจ่มแจ้งไม่มีอะไรมาปกปิดกำบัง มีชาติ ชรา พยาธิ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 11 มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาสะ เป็นต้น พร้อมด้วย ปัจจัยอันเป็นเหตุให้ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เกิด คือ มีความทะยาน อยากไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อผู้มาเห็นโทษเหล่านี้แล้ว ก็ดับความอยาก ด้วยมัคคสมังคี คือ ความเห็นชอบ ประกอบด้วยกาย วาจา จิต ไม่มี มิจฉาทิฏฐิอีกต่อไป อันนี้เรียกว่า ธรรมที่พระองค์ทรงนำมาเปิดเผย ให้พุทธบริษัทได้รู้ได้เห็นแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็น้อยนักน้อยหนาที่จะมี ผู้รู้ตามเห็นตาม ธรรมที่พระองค์ยังไม่ได้ทรงเปิดเผยนั้นมีมากมายเหลือคณานับ นับแต่พระองค์ได้ตรัสรู้มาได้ ๔๕ ปี ทรงกระทำพุทธกิจวันหนึ่งเป็น เวลา ๕ ครั้งมิได้ขาด แม้วันจะปรินิพพานก็ยังทรงเทศนาสอนสุภัททะ ภิกษุอีกด้วย คือ ตอนเย็นทรงเทศนาให้พุทธบริษัทฆราวาสฟัง ตอน หัวค่ำทรงเทศนาให้บริษัทบรรพชิตฟัง ตอนกลางคืนทรงแก้ปัญหา เทวดา จวนจะสว่างพิจารณาดูสัตว์โลก เมื่อเห็นผู้ใดสมควรที่จะได้ มรรคผลนิพพาน ตอนเช้าก็เสด็จไปบิณฑบาตและทรงเทศนาโปรด นับว่าพระองค์ทรงเปิดเผยธรรมแก่พุทธบริษัทมากพอสมควร จะหา ศาสดาใดเสมอเหมือนพระองค์นี้ไม่มีอีกแล้ว ที่พระองค์ทรงเปรียบ อุปมาไว้ว่า ธรรมที่พระองค์ทรงนำมาเทศนาให้พุทธบริษัทฟังนั้นมี นิดเดียว เปรียบเหมือนใบไม้ที่มีอยู่ในกำมือของเรา ธรรมที่เราไม่ได้นำ มาเทศนาเหมือนใบไม้ในป่าฉะนั้น นั่นแสดงถึงความองอาจกล้าหาญ ของพระองค์ว่า พระองค์ทรงมี เวสารัชชญาณ เต็มที่ พุทธบริษัทไม่พึงน้อยใจที่เราไม่มีเวสารัชชญาณอย่างพระองค์ เพราะหลัก ๔ ประการอันเป็นเหตุที่จะได้ตรัสรู้ พระองค์ก็ได้ทรง แสดงเปิดเผยไว้ให้พวกเราแล้ว เหมือนกับบิดามารดาผู้เอ็นดูในบุตรธิดา


12 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ สอนวิชาอาชีพให้แก่บุตรธิดาด้วยหลักวิชา ๔ ประการเป็นเบื้องต้น (คือ ปัจจัย ๔) ส่วนปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ ล้วนแต่รวมอยู่ในปัจจัย ๔ ทั้งสิ้น ทีนี้เราพุทธบริษัทควรจะเคารพอะไรให้เป็นหลักของใจ จึงจะ ได้ชื่อว่าเรายึดถือหลักพุทธศาสนาเป็นเครื่องดำเนินในชีวิตประจำวัน ของเรา เบื้องต้นเราต้องเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เราทำกรรมอะไร ไว้ด้วยกาย วาจา และใจ ในที่ใดๆ มากหรือน้อยไว้แล้ว ผลกรรมนั้น ต้องตกมาเป็นของตัวอย่างแน่นอน ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ไม่ชาติใด ก็ชาติหนึ่ง คนอื่นจะมารับแทนไม ่ได้ เมื่อเชื่ออย ่างนี้แล้วผู้นั้นไม ่ สามารถจะกระทำกรรมอันเป็นบาปได้เด็ดขาด จะทำแต่กรรมที่เป็น บุญเป็นกุศลตลอดเวลา ได้ชื่อว่าถือธรรมเป็นที่พึ่ง ธรรมคืออะไร ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงนั้น คือ สภาพของจริงสภาพของแท้ไม่แปรผัน สภาพเป็นอย่างไรก็เป็นจริง อย่างนั้น พระองค์ทรงรู้แจ้งจริงอย่างนั้นจึงทรงนำเอาของจริงนั้นมา สอนแก่เราพุทธบริษัททั้งหลาย ถึงแม้พระองค์จะไม่ทรงแสดงธรรม ธรรมก็มีอยู่แล้ว เช่น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทั้ง ๔ อย่างนี้ก็มีอยู่ ในมนุษย์คนเรานี่แหละ ถ้าคนไม่มีจะมี ทุกข์ มาจากไหน สมุทัย ตัว เหตุให้เกิดทุกข์ก็เกิดจากคนนี่แหละ คนเราไปเอาทุกข์มาใส่ตัว มิใช่ ทุกข์มันมาเอง นิโรธ คือความดับทุกข์ ก็คนนั่นแหละดับ ใช่ทุกข์มัน ดับเอง มรรค หนทางให้ถึงความดับทุกข์ ก็คนเราอีกนั่นแหละทำทาง ให้ถึงความดับทุกข์ ครั้นไม่มีคนก็ไม่มีอริยสัจ ๔


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 13 ธรรมเป็นของมีอยู่แต่ไหนแต่ไรมา เรียกว่า สภาวธรรม พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็รู้ธรรมนั่นเอง ไม ่ได้เอามาจากที่ไหน ธรรมของมี อยู่ประจำโลกทั้งนั้น ทุกข์ก็มีอยู่แล้ว สมุทัยก็มีอยู่แล้ว นิโรธ มรรค มีอยู่แล้วทั้งนั้น แต่คนทั้งหลายไม่เห็น พระองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงเห็น แล้ว จึงนำเอามาแสดงชี้แจงให้คนฟัง คนเราจึงรู้ตามเห็นตาม การ รู้ตามเห็นตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั่นแหละ จึงเรียกพระพุทธเจ้า ว่า พระศาสดา ผู้เป็นครูทรงสั่งสอนชาวโลก คำสอนนั้นเรียกว่า ศาสนา หรือจะเรียกให้เต็มศัพท์ เรียกว่า คำสอนของพระโคดมบรมครู เมื่อก่อนพระองค์ยังไม่ได้ตรัสรู้ พระ ธรรมเปรียบเหมือนกับทรัพย์ที่ยังฝังอยู่ในดิน เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้ แล้ว เปรียบเหมือนกับพระองค์ได้ค้นเอาทรัพย์นั้นมาเป็นของส่วน พระองค์ ธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบนั้นเป็นเวลานานถึง ๖ ปี ด้วยพระ อุตสาหะวิริยะพากเพียร โดยไม ่มีครูอาจารย์สอนเลย จึงได้ทรง พบเห็นธรรมอันลึกซึ้งสุขุมเป็นของอัศจรรย์อย่างยิ่ง ภายหลังเมื่อ พระองค์มาทรงระลึกถึงธรรม ที่พระองค์ได้ทรงพบแล้วนั้นว่าเป็น ของเลิศล้ำวิเศษดียิ่งกว่ามนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม มารยักษ์ใดๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้น พระองค์จึงเทิดทูนพระธรรมเหนือสิ่งทั้งปวงหมด คราวนี้พวกเราจะเคารพอะไร อันสิ่งใดที่เราปฏิบัติรู้แล้วเห็น แล้วแน่ชัด เห็นประจักษ์ขึ้นมาในใจ อย่าง ทาน พิจารณาเห็นว่า เป็นประโยชน์ทั้งตนและคนอื่น ศีล ก็เป็นคุณประโยชน์แก่ตน โดย เฉพาะอย่างยิ่ง สมาธิ ก็เป็นคุณประโยชน์แก่ตนอย่างยิ่ง อันนั้นเรียกว่า


14 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ธรรมะเกิดขึ้นในดวงใจของเรา เราควรเคารพธรรมอันนั้น เราควร ยึดถือธรรมอันนั้น เราควรยึดมั่นธรรมอันนั้นไว้ตลอดชีวิตเลย ถ้าทำ อย่างนั้นได้ชีวิตของเราก็เป็นของมีค่า ไม่ใช่รู้ประเดี๋ยวประด๋าวแล้ว เราก็ทิ้งเสีย อย่างนั้นเราไม่รักธรรม ธรรมเลยไม่อยู่กับเรา ไม่เหมือน พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นผู้สูงสุดยิ่งกว่าสาวกทั้งปวง พระองค์ ยังทรงหาที่เคารพ ทรงหาที่ไหนก็ไม่พบ ไม่มีใครที่ไหนแล้วที่พระองค์ ทรงเคารพ มีแต่พระสัจธรรมเท่านั้นแหละ จึงทรงเคารพพระสัจธรรม ถ้าหากว่าไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ธรรมอันนี้ก็ไม่มีอยู่ในโลกนี้ เสียแล้ว ทั้งที่ของมีอยู่แล้ว มนุษย์ของเราก็หาที่พึ่งไม่ได้ หาธรรมะ ไม่ได้ หาอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น ท่านจึงเรียกว่า ธรรมเป็นของเก่า เพราะ บาปบุญเหล่านี้ แต่ไหนแต่ไรมันหากมีมาแต่เดิม ไม่มีใครมาตกแต่งขึ้น คนผู้กระทำบาปและบุญก็เอาของเก ่า คือ กาย วาจา และใจนี้ มาฟื้นฟูเอาบาปและบุญของเก่า ผู้กระทำเอามากระทำใหม่จึงเรียกว่า ของใหม่ คือผู้กระทำมาทำใหม่นั่นเอง แท้ที่จริงแล้วก็ของเก่านั่นแหละ พระพุทธเจ้าไม ่ได้ทรงเอาธรรมของใหม ่มาจากไหน ธรรมเป็นอยู ่ แต่เดิม แต่พระองค์ทรงค้นคว้าพบของเดิมจึงเรียกว่า ได้ตรัสรู้ และ เมื่อพระองค์ปรินิพพานก็ไม่ได้เอาธรรมนั้นไปด้วย ธรรมทิ้งอยู่ใน โลกนี้แหละ พระพุทธเจ้าองค์ใหม่มาอุบัติขึ้นในโลกนี้ก็เช่นเดียวกัน วันนี้อธิบายให้ฟังเพียงแค่นี้ล่ะ เอวํ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 15 นั่งภาวนา ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน พากันนั่งกัมมัฏฐานหาธรรมะของเก่ากัน ไม่ต้องเอาที่อื่น เอา ธรรมะของเก่านั่นแหละ ของที่มีอยู่แต่เดิม คือพิจารณาที่กายของเรา นี่แหละ เมื่อไรๆ ก็พิจารณากายนี่ทั้งนั้นแหละ เพราะกายเป็นที่ตั้ง ของกองทุกข์ เป็นที่ตั้งของอุปาทาน กายนี้ถ้าหากเห็นชัดตาม เป็นจริงแล้ว มันวางถอนจากทุกข์ได้ นั่นจึงเป็นทางออกจากทุกข์ เพราะมีกายอันเดียวนี่จึงเป็นทุกข์ ผู้ยึดถือกายนี้จึงค ่อยเป็นทุกข์ อันนี้เป็นของเก่า พิจารณาซ้ำๆ ซากๆ ไม่แล้วสักที ตั้งแต่เกิดจน วันตายพิจารณาไม่จบไม่สิ้น การเห็นของเก่าเป็นของไม่จืดจางสักที มันชัดเจนลงไปตามความเป็นจริง เห็นตามเป็นจริงยิ่งซาบซึ้งในใจ ก่อนที่จะเห็นตามเป็นจริง จิตต้องนิ่งเป็นหนึ่งเสียก่อน ถ้าจิต ไม่นิ่งเป็นหนึ่งเสียก่อนแล้วจะไม่เห็นตามเป็นจริง เพราะจิตกระสับ กระส่าย จึงเป็นอุปสรรคของการเห็นตามเป็นจริง ธรรมดาจิตมันมีอาการจึงเรียกว่า ‘จิต’ มันนิ่งไม่ได้ จิตที่ไม่นิ่ง แส่ส่ายสารพัดปรุงแต่งไปตามอาการภายนอก แต่ว่าถ้าหากผู้มีความ แยบคายอยู่ภายในใจ แม้จะปรุงแต่งไปพิจารณาตามเรื่องตามราว แต่ว่าจิตมันตั้งมั่นอยู่เฉพาะในสิ่งเดียว มันก็มีเวลารวมได้เหมือนกัน ถ้าจิตคิดนึกส่งส่ายตามอาการต่างๆ ภายนอก ไม่มีหลัก มันก็รวม ไม่ได้ ก็เตลิดเปิดเปิงไปภายนอกหมด ธรรมดาของจิตมันต้องเป็น อย่างนั้น


16 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ พุทธศาสนาสอนให้เข้ามาถึงจิต จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน จึงสอนเข้ามาถึงจิต สิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมดที่วุ่นวายส่งส่ายนั่นมัน ออกไปจากจิตตัวเดียว แล้วก็สอนให้รวมเข้ามาที่จิตอันเดียว หยุดนิ่ง ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงแต่ง เลยรวมเป็น ‘ใจ’ ครั้นรวมเป็นใจแล้ว ที่นี้ จะให้คิดก็ได้ ไม่ให้คิดก็ได้ แม้จะคิดก็อยู่ในขอบเขต คิดเสร็จแล้ว เดี๋ยวก็เข้ามารวมเป็นใจ จะคิดปรุงแต่งอะไรสารพัดทุกอย่างก็รู้จัก อยู่ว่ามันออกไปจากใจ เมื่อคิดไปจนหมดเรื่องนั้นก็กลับเข้ามาเป็น ใจอีก จิตกับใจมันคนละอันกันอย่างนี้ ใช้การคนละอย่างกัน จิตเป็น ผู้คิดผู้นึก ใจไม่คิดไม่นึก อยู่เฉยๆ แต่มีความรู้สึกอยู่ เมื่อสติควบคุม ให้อยู่ในขอบเขตแล้ว มันก็รวมเข้ามาเป็นหนึ่ง เข้ามาเป็นใจ จิตกับใจ มันต่างกันอย่างนี้ แต่แท้ที่จริงท่านก็พูดว่า จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใด จิตอันนั้น คนเราในโลกนี้ที่ไม ่มีจิตไม ่มีใจไม ่มีหรอก มันต้องมีทุกคน นั่นแหละ แต่ว่าคนไม่เห็นจิตเห็นใจของตนนั่นซี มันลำบากตรงนี้ เลยไม่รู้จักว่ามันคิดนึกไปไหน ไม่มีสถานีจอดตรงไหน ดังนั้นมัน จึงยุ่งยากวุ่นวาย ครั้นเห็นจิตเห็นใจของตนแล้วมันจึงค่อยสงบลงไป ผลที่สุดก็สงบนิ่งเป็นใจอันเดียว เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เอกัคคตารมณ์ ใจยังไม ่มั่นคงแท้ ต้องถึงอัปปนาสมาธิเสียก ่อนจึงเรียกว ่า ใจแท้ ท่านแยกเรื่องจิตเรื่องใจไว้หลายเรื่องหลายอย่างตามอาการ ต่างๆ เรียกชื่อต่างกันไป แต่ก็พูดเรื่องของใจอันเดียวนี้เท่านั้น


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 17 เหตุนั้นจึงสอนให้พิจารณาตรง กาย ของเรา ตรง จิต ของเรา นี่แหละ กายกับจิตเท ่านั้นไม ่มีสิ่งอื่นใด ใครจะพิจารณาอะไรก็ พิจารณาไปเถิด พุทธศาสนาสอนให้รักษาจิต ควบคุมจิตกับกาย เท ่านั้น เมื่อมันทำชั่วคิดชั่วก็เห็น มันทำดีคิดดีก็เห็น คิดหยาบ คิดละเอียดอะไรเห็นหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วมันก็รวมลงอยู่ใน สติ ตัวเดียว เอาง่ายๆ เท่านี้แหละ พากันทำสมาธิต่อไป.


18 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 19 วันนี้จะเทศนาถึงเรื่องกรรมให้ฟัง คนไม่ค่อยจะคิดถึงกรรม ถึงคิดก็คิดไม่ละเอียดถี่ถ้วน คิดเผินๆ เช่นว่า เวลาตายโดยเกิดอุปัทวเหตุขึ้นก็ว่าเป็นกรรมของคนๆ นั้น แท้ที่จริงกรรมมันลึกซึ้งลงไปกว่า นั้นอีก ท่านกล่าวไว้ว่า สพฺเพ สตฺตา ลทฺธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธู กมฺม ปฏิสรณา ยํ กมฺมํ กริสฺสนฺติ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ อย่างนี้เป็นต้น คนเราถ้าไม่มีกรรมก็ไม่มาเกิด มันมีกรรม จึงค่อยมาเกิด ครั้นหมดกรรมหมดเวรแล้วก็หมดเรื่องถึงพระนิพพาน เลย ทีนี้มันมีกรรมอยู่นี่แหละจึงค่อยเกิดมาเป็นคนเกิดมาเป็นสัตว์ สรรพสิ่งทุกประการที่เกิดมานั้นล้วนแต่เป็นกรรมทั้งนั้น สพฺเพ สตฺตา สทฺธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ สัตว์ทั้งหลายจง อย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด ทำกรรมดีกรรมชั่วก็ต้องได้ สมบัติอันนั้นที่เรากระทำ ไม่ใช่คนอื่นทำให้ ไม่ใช่ทำให้คนอื่น เรา ทำเองเราได้รับผลของกรรมเอง อันนี้เป็นการตายตัวอยู่ในนั้น จะ เปลี่ยนแปลงพลิกไหวไปไม่ได้ ๒   กรรม แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓


20 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ กมฺมสฺสกา กมฺมทายาทา กรรมที่เราทำแล้วเราต้องรับเป็น ทายาท คือว่าเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นเอง กมฺมโยนี เรามีกรรมเป็นกำเนิด คือได้เกิดมาเป็นมนุษย์มาเป็น สัตว์ทุกประเภทนี้เรียกว่าเกิดมาเพราะกรรม กมฺมพนฺธู กมฺมปฏิสรณา เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คนเราเกิด ขึ้นมาต้องอาศัยกรรม เดี๋ยวนี้ก็ต้องอาศัยกรรมอยู่ คือการกระทำใน สิ่งนั้นๆ เองเรียกว่ากรรม เราเกิดขึ้นมาต้องทำดีหรือทำชั่ว จะไม่ทำ อะไรเลยอยู่เฉยๆ เหมือนกับท่อนไม้ท่อนฟืนไม่ได้ คนไม่ทำกรรม อะไรเรียกว่า คนตายแล้ว ถ้ามีจิตและวิญญาณเข้าครอบครองแล้วต้อง กระทำกรรมทุกคน นี้เรียกว่า ปฏิสรณา ทำกรรมดีก็เรานั่นแหละทำ ทำกรรมชั่วก็เรานั่นแหละทำ ยํ กมฺมํ กริสฺสนฺติ เราจักทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่วเลือกเอา ถ้าเห็นว่ากรรมชั่วทุจริตเป็นผลก่อให้เกิดทุกข์ เราก็เว้นเสีย กรรมดี เป็นเหตุให้เกิดสุข เราก็ทำกรรมความดีอันนั้น ก็ยังเป็นกรรมอยู ่ การประกอบทั้งดีและชั่วเป็นกรรมทั้ง ๒ อย่าง แล้วจะไปพ้นจาก กรรมได้อย่างไร เมื่อเข้าใจว่าเราอาศัยกรรมเช่นนี้แล้ว จะเห็นชัดเจน ด้วยตนเองว่าไม่มีใครทำให้หรอก เราเกิดมาต้องพึ่งกรรม มีชีวิตอยู่ ทุกวันนี้ก็ต้องพึ่งกรรม คือทำดีทำชั่วแล้วก็ต้องได้รับผลกรรมนั้นต่อไป อีกไม่มีที่สิ้นสุด วัฏสงสารอันนี้ยืดยาวนานแสนนานที่สุด ที่จะพ้นจากกรรม ได้นั้นมันยากเกือบจะมองไม่เห็นริบหรี่เสียเลย แต่ไม่ใช่ของเหลือวิสัย ที่คนเราจะทำให้พ้นจากกรรมได้ ด้วยการประกอบคุณงามความดี


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 21 อันเป็นโลกุตรธรรม พระธรรมทั้งหลายทั้งเป็นโลกิยะและโลกุตระ พระพุทธองค์ไม่ได้ผูกขาด ใครทำก็ได้ถ้าตั้งใจทำ พระองค์ทรงชี้ทาง เฉยๆ ว่านี้เป็นโลกิยะและนี้เป็นโลกุตระ คนไม่เชื่อกรรม หลงในกรรมของตนของคนอื่น ในโลกอันนี้ พากันเห่อเหิมตื่นเต้นด้วยวิธีต่างๆ ข่าวเล่าลือเอิกเกริกเฮฮาทางโน้น ทางนี้ ตื่นเต้นกันไปหมด บางทีก็อาจารย์คนนั้นอาจารย์คนนี้แก้กรรม แก้เวรได้ โอ้โฮ ! ใครจะไปแก้ได้หนอ นั่นเป็นอาชีพของเขาต่างหาก การแก้กรรมแก้เวรมันต้องมีค่ายกครู อย่างน้อยต้อง ๔๐ - ๕๐ บาท หรือมากกว่านั้น มันก็รวยน่ะซี มันจะแก้กรรมได้อย่างไรเล่า ผลที่สุด ผู้แก้กรรมให้คนอื่นนั้นตัวเองก็ตายด้วยกันทั้งหมด ตัวกรรมนั้นแล คือตัวตายอันนั้น บางทีก็รูปเหรียญอาจารย์นั้นดี อาจารย์นี้ดี วิเศษวิโสอยู่ยง คงกระพันต่างๆ ยิงไม่ออกแทงไม่เข้าตีไม่แตก ตื่นเต้นกัน ราคาตั้ง เป็นร้อยเป็นพันก็ซื้อกัน บางทีพระพุทธรูปนั่งอยู่ในโบสถ์ดีๆ เอาไป เป็นเครื่องรางของขลัง ไปบนไปเซ่นสรวง คนไม่มีลูกไม่มีหลานไป บนบานเอากับพระพุทธรูปนั่นแหละ ท่านจะมีอะไร ท่านจะรู้จะเห็น อะไรกัน มิใช่ของท่าน ความตื่นเต้นความนิยมนับถือคือไม่เชื่อกรรม ไม่เชื่อผลของกรรมนั่นเอง อาจจะว่าบางคนทำไมจึงได้ลูกได้หลาน บางคนอยู่ยงคงกระพันชาตรี พ้นจากอันตรายได้บางคราว อันนั้น เป็นเพราะกำลังใจของผู้นั้น ความศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่กำลังใจของผู้นั้น ต่างหาก เขาเชื่อแล้วกำลังใจมันก็แน่วแน่ลงไป มันก็เป็นได้บางครั้ง บางคราว ไม่ใช่เป็นได้ทั่วๆ ไป ขอโชคขอลาภก็เหมือนกัน ถ้าขอได้ คนทั้งหลายก็ไม่ต้องทำมาหากินกันแล้ว ขอโชคขอลาภได้รวยด้วยกัน


22 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ทั้งหมดทุกคนนั่นแหละก็ลองดูซิ เมื่อขอแล้วคนนั้นไม่ทำจะได้ดีมี โชคลาภมาจากไหน ผู้มีความคิดขอโชคลาภด้วยกำลังใจอันนั้น เขา ขยันหมั่นเพียร มันก็บังเอิญให้มีให้ได้ร่ำรวยเท่านั้นเอง รูปเหรียญหรือพระพุทธรูปไม่ใช่ของมีวิญญาณ เป็นโลหะ อันหนึ่งต่างหาก รูปเหรียญก็เป็นโลหะอันหนึ่งต่างหาก จะไปศักดิ์สิทธิ์ วิเศษอะไรกัน คนไม่เข้าใจถึงเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ อาตมาอธิบาย นักหนาจนขี้เกียจจะอธิบายแล้วว่า ถือรูปให้ถือคุณ อย่าไปถือเป็นของ ศักดิ์สิทธิ์ ถือคุณนั้นมีคุณประโยชน์คุณค่าตลอดเวลา พระพุทธรูปนี้ คือรูปของพระพุทธเจ้า หรือรูปนี้เป็นรูปของครูบาอาจารย์ของเรา เราเคารพนับถือคุณงามความดีของท่าน แล้วเราทำดีอยู่ตลอดเวลา เห็นรูปนั้นนึกถึงคุณของท่าน เพราะท่านทำดีอย่างนี้ๆ ท่านจึงได้เป็น อย่างนี้ จึงได้รูปอย่างนี้ แล้วเราก็ทำความดีไม่กล้าทำชั่ว เมื่อเราทำ ความชั่ว เรานึกถึงรูปนึกถึงคุณของท่านแล้วเราก็จะละอายใจ ละ ความชั่วนั้นเสีย การนับถือเช่นนี้ไม่มีเสื่อมตลอดเวลาเลย เราจะทำ ความดีตลอดเวลา แต่จะให้อยู่ยงคงกระพันนั้นไม่ใช่ ให้เข้าใจโดยนัย ที่อธิบายมาให้ฟังนี้ ถ้าเข้าใจว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ รูปอาจารย์องค์นี้เก่ง ผู้ใดก็ถือ เป็นของศักดิ์สิทธิ์ก็ลองคิดดูว ่า คนชั่วก็ถือรูปของอาจารย์องค์นี้ คนดีก็ถือรูปของอาจารย์องค์นี้ ต่างคนต่างอ้างอาจารย์องค์เดียวกัน เข้าห้ำหั่นกัน ฆ่าฟันกัน แทงกันด้วยประการต่างๆ ที่แท้ก็อาจารย์ องค์เดียวกัน พอดื่มสุราเมาเข้าไปแล้วก็อวดอ้างว่ารูปอาจารย์ของฉันเก่ง ก็เลยฟันกันเกิดวินาศฉิบหายไปในที่สุด อาจารย์องค์นั้นเลยเป็นเหตุ ให้โลกยุ่งเป็นเหตุให้วุ่นวาย ไม่ใช่ความสงบเสียแล้ว อาจารย์แทนที่


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 23 จะนำมาซึ่งความสงบ สอนให้คนสงบ เลยกลับกลายมาสอนให้คนยุ่ง ให้คนเกิดทิฏฐิมานะฆ่าฟันกัน ประหัตประหารกัน อาตมาอธิบาย มาเช ่นนี้หลายครั้งหลายหนนับครั้งนับหนไม ่ถ้วน แต ่ก็น ่าเห็นใจ คนกลัวตาย คนอยากได้โชคลาภ ได้รูปอาจารย์แล้วก็เข้าใจว่ารูปนั้น อยู่ยงคงกระพันด้วยประการต่างๆ นั่นคนกลัวตายคือยึดถือเอาอันนั้น เป็นที่พึ่ง หาสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งไม่ได้ คนอยากได้โชคลาภก็ถือเอารูปหรือ เหรียญเป็นที่พึ่ง ขอเอาโชคลาภจากอันนั้น นี่แหละพุทธศาสนา มันแปลกปลอมมาอย่างนี้ ของบริสุทธิ์หมดจดแท้ๆ เอามาแต่งเป็น ของแปลกปลอม สิ่งอื่นเข้ามาแทรกซึมศาสนาด้วยประการอย่างนี้ ผู้ไม่เข้าใจก็ถือว่าอันนั้นเป็นศาสนา คนตาบอดจูงคนตาบอดเลยไป กันใหญ่ ศาสนาจึงไม่ถาวรไม่ยั่งยืน เดี๋ยวนี้ศาสนาแปลกปลอมไป หมดทุกแห่งหน ผู้ที่เชื่อมั่นในพุทธศาสนาอย่างจริงๆ จังๆ นั้นน้อย นักหนา คนที่เชื่อถือพระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะอย่างนี้ ๑. เชื่อถือพระพุทธเจ้า ไม่กล่าวโทษ ดูถูก นินทา ประมาท เหยียดหยามตลอดชีวิต บางคนเชื่อพระพุทธเจ้าแบบเชื่อกันตาย ถือพระพุทธเจ้าเพื่อกันตาย เวลาประสบอุปัทวเหตุล้มตายหายสูญ ด้วยประการใดก็ตามก็ว่าคุณพระไม่ช่วย เอาเข้าโน่นแน่ะ ๒. เชื่อคุณพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระธรรม ไม่มีตัวตน พระธรรมแนะนำตักเตือนสั่งสอนเราให้ละชั่ว ทำดี เมื่อ เรารู้แล้วได้ยินได้ฟังแล้วไม่สามารถทำชั่วได้ เพราะพระธรรมตักเตือน สั่งสอนให้เราไม่ทำความชั่วความผิด เมื่อทำความชั่วจะสะกิดใจปุ๊บ ขึ้นมา อันนั้นแหละคือพระธรรมตักเตือนทำความชั่วไม่ได้


24 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ๓. เชื่อคุณพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบรู้แจ้งเห็นจริงแล้วในคำสั่งสอนของพระองค์ ท ่านเอา คำสอนที่ท่านรู้เห็นจริงด้วยตนเองมาแนะนำตักเตือนพวกเรา ๔. เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถือ เครื่องรางของขลัง ดังอธิบายมาแล้ว เห็นว่าตนทำกรรมอันใดไว้ตน ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น เราทำความดีก็ได้ผลดี เราทำความชั่วก็ได้ ผลชั่ว จะให้ใครแก้ให้ไม่ได้ จะมาแก้ไขกรรมภายหลังไม่ได้ จะแก้ได้ ก็ทั้งสองฝ ่ายให้อโหสิแก่กันและกัน บางคนถือจนกระทั่งเจ้ากรรม นายเวรโน่น ทำบุญให้เจ้ากรรมนายเวรให้ละกรรมละเวร อย่าให้มัน เป็นกรรมเป็นเวรต่อไป อันนั้นก็ไม่จริง เจ้ากรรมนายเวรที่ไหนจะมา รับรู้ เราได้ทำด้วยความอิจฉาริษยา ด้วยความโทมนัสน้อยใจ ทำกรรม ต่างๆ ทำด้วยจิตเจตสิกที่แก่กล้าแรงที่สุด มาทีหลังรู้สึกตัวจะไปขอ อโหสิกรรม มันจะรู้เรื่องอะไรกัน อันนั้นพอเป็นเครื่องปลอบใจของคน เท่านั้น คนจะพ้นจากเวรกรรมกันได้ก็ต่อเมื่อมีชีวิตอยู่ให้อโหสิกรรม กันได้เท่านั้นเอง ตายแล้วไม่ได้หรอกไม่ทราบว่าเปรตโลกนั้นอยู่ ณ ที่ใด อายุยืนนานแสนนาน เราตายแล้วเกิดสักร้อยชาติพันชาติก็ไม่รู้ ไม่เห็นกัน ในขณะมีชีวิตอยู่ดีๆด้วยกันนี่แหละ ควรจะอโหสิกรรม ให้กันเสีย อันนั้นแหละจะพ้นจากกรรมได้ คนเราเกิดขึ้นมามีผิดพลาด นิดๆ หน่อยๆ ก็ให้อภัยกันเสียดีกว่าที่จะไปเสวยกรรมข้างหน้าไม่รู้แล้ว รู้รอดกันสักที นี่แหละการเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม ๕. ไม่ทำบุญนอกพระพุทธศาสนา เช ่น ศาสนาอื่นเขามา เรี่ยไรบอกบุญบอกกุศล เราก็ให้ไปโดยฐานเป็นเพื่อนเป็นฝูง โดยที่ เราไม่ได้ถือเป็นการทำบุญบำรุงศาสนาอย่างที่เราทำบุญในพระพุทธ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 25 พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยความนับถือศรัทธาเลื่อมใสเป็นสรณะจริงๆ จนตลอดชีวิต ๖. มีศีล ๕ เป็นนิจ ถ้าคนนั้นเป็นคนเชื่อมั่นในพุทธศาสนา เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมจริงจังแล้วไม่กล้าทำความชั่ว เมื่อไม่ทำ ความชั่วก็ต้องมีศีล ๕ ประจำตัวอยู่เป็นนิจไปในตัว บุคคลเช่นนี้ เรียกว่า โสดาบันบุคคล ขึ้นถึงอริยภูมิโน่น แต่คนในเมืองไทยเราถือ ศาสนาไม่จริง ถือศาสนานิดๆ หน่อยๆ พอประสบอุปัทวเหตุอะไร หรือเกิดวิบัติขึ้นมาด้วยประการต่างๆ ก็ถือว่าศาสนาไม่ช่วย เอาอย่าง ศาสนาพระเจ้า กล่าวโทษศาสนาไปโน่น ตนเองถือไม่จริง ไม่เชื่อกรรม ไม่เชื่อผลของกรรมนี่ใครจะไปช่วยได้ พระพุทธเจ้าก็ช่วยพระองค์ไม่ได้ แลคนอื่นก็ช่วยไม่ได้เมื่อถึงคราวแล้ว จึงว่าเป็นไปตามกรรมของตนๆ คิดดูซิ พระเทวทัตทิ้งก้อนหินลงมาจากภูเขาทับนิ้วพระบาทของ พระองค์จนเลือดห้อขึ้นมา พระเจ้าอชาตศัตรูก็ถูกพระราชบุตรแย่งชิง พระราชสมบัติหรือเป็นกบฏ พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์ทรงเป็น อุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าก็ถูกพระราชบุตรขบถ พระพุทธองค์ก็ช่วย ไม่ได้ นอกจากนั้นอีกในศากยราชตระกูลกรุงกบิลพัสดุ์ ผู้มีศีล ๕ เป็นนิจยอมสละชีวิตออกรบกับวิฑูฑภะด้วยอาวุธปืนผาหน้าไม้แต่ ไม่ใส่ลูกกระสุนยิงฝ่ายตรงกันข้าม ผลที่สุดถูกฝ่ายข้าศึกขยี้เอาจน หมด นั่นยอมสละชีวิตจริงๆ ทีนี้พระโมคคัลลานะถูกโจรทุบจนกระดูกแหลกเป็นจุณไปหมด มีแต่หนังหุ้มอยู่เหมือนกระสอบข้าวสาร ท่านกล่าวไว้ว่าเบื้องต้นพวก โจรยกมาปองร้ายพระโมคคัลลานะอยู่ถึง ๔ เดือน มาทีไรท่านก็เหาะ หนีไปทุกที ท่านมีฤทธิ์ศักดานุภาพถึงขนาดนั้น หลายครั้งหลายหน


26 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เข้า ท่านจึงได้ทราบว่ากรรมของท่าน ทีหลังท่านจึงไม่หนีปล่อยให้โจร มันทุบจนแหลกเหลวไปหมด ด้วยอำนาจปาฏิหาริย์ฤทธิ์เดชของท่าน ท ่านอธิษฐานให้กระดูกติดประสานกัน แล้วก็เหาะไปกราบทูลลา พระพุทธเจ้า เข้านิพพาน พวกเราสมัยนี้จะไปถืออะไรงมงายกันนักหนา รูปกายอันนี้เกิดมา แล้วเรียกว่าวิบากขันธ์ คอยแต่วันตายเท่านั้น จะตายด้วยวิธีใดๆ ก็เท่ากันนั่นแหละ รูปองค์นี้ดี อาจารย์องค์นี้ดี นิยมกันไปต่างๆ นานา ตามความเข้าใจหลงผิดของตน แท้จริงคือรูปโลหะ โลหะมันก็เป็น ธาตุอันหนึ่งเท่านั้น จะแตกทำลายไปอย่างมนุษย์คนเรานี้ ขอให้ถือเอา คุณของท่านเป็นเครื่องระลึก ท่านทำดีอย่างนี้มีรูปอย่างนี้ เอารูปนั้น เป็นเครื่องเตือนใจ แล้วจะได้ไม่กล้าทำความชั่ว คุณของท่านจะไม่มี ที่สิ้นสุด พวกเราไม่ฟังพระพุทธเจ้าเลย พุทธศาสนาสอนอะไรไม่รู้เรื่อง เลย ก็น่าเห็นใจ ใครก็ไม่อยากตาย ใครก็อยากรวย แต่ควรที่จะ พิจารณาตามที่พุทธศาสนาสอนเอาไว้ ทีหลังเกิดเหตุต่างๆ ขึ้นมา จะได้ไม่โทษศาสนา จะได้ไม่เสื่อมสูญจากการนับถือศาสนาจากการ เคารพนับถือครูบาอาจารย์ ผู้ที่ประสบเหตุ หรือเกิดอุปัทวเหตุต่างๆ ขึ้นมาแล้วกลับเสื่อมคลายความนับถือในพุทธศาสนา ในครูบาอาจารย์ นั้น เพราะไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจความเป็นจริง ไม่เห็นว่าเป็นกรรมของตน จริงๆ พระพุทธเจ้ามิใช่สอนพวกเราอย่างเดียว พระองค์ยังทรงเป็น อย่างเดียวกับพวกเรา สาวกก็เป็นอย่างเดียวกับพวกเรา ใครจะไปห้าม ปรามได้


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 27 ตัวเรานี้เกิดขึ้นมาด้วยกรรม ยังเหลือเป็นตัวเป็นตนนี้เรียกเศษ กรรม เศษกรรมนี้จะต้องติดตามอยู่อย่างนั้น เมื่อมีเศษมันก็ต้อง ติดตามเป็นการใช้กรรมอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ไม่พ้นจากเงื้อมมือ ของกรรมไปได้ ที่จะพ้นจากเงื้อมมือของกรรมก็เพราะจิตใจที่ไม่ยึดถือ ตัวตนนั่นต่างหาก ครั้นใจมายึดมาถือมันถึงจะเป็นกรรมเป็นเวรกัน อยู่ เมื่อใจไม่ยึดไม่ถือมันปล่อยวางเสียแล้ว นั่นแหละจะพ้นจากกรรม กรรมตามไม่ทันหรอก เพราะใจไปยึดจึงค่อยกระเทือนถึงใจ ถือว่า เรากระทำเขากระทำอะไรต่างๆ นานาแล้ว มันไปยึดไว้ มันทำอันนี้ จริงหรอก ตัวกรรมมันทำเหตุอย่างนี้ก็จริง แต่มันเป็นเหตุให้เนื่อง ถึงใจ สะเทือนถึงใจ เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ ไม่พอใจ สารพัด ทุกอย่าง กิเลสเกิดขึ้นที่ใจโน่น ตัวกายนั้นไม่มีกิเลส แต่เป็นเหตุให้ เนื่องถึงใจ เมื่อใจนั้นไม่ยึด ไม่ถือ ปล่อยวางละถอนได้ ส่วนกายอันนี้ ถึงกรรมจะตามทัน ถึงเขาจะทุบจะตีจนแหลกเหลวก็ช่าง ตัวอย่าง เช่น พระโมคคัลลานะ เป็นต้น ถูกทุบจนกระทั่งกระดูกเป็นจุณไป หมดก็ไม่ถึงใจ ใจไม่ตาย ท่านยังอธิษฐานให้ประสานกันแล้วเหาะไป กราบทูลลาพระพุทธเจ้า อันนี้เป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้น คนที่จะพ้นจากทุกข์ได้ พ้นจากโลกนี้ได้ พ้นจาก กรรมได้ ก็เพราะใจอันเดียว จงยึดใจถือใจเป็นสำคัญ จะมาเกิดก็ เพราะใจ เกิดแล้วจะมาสร้างกิเลสขึ้นก็เพราะใจ เป็นทุกข์ก็เพราะใจ ถ้าใจไม่เป็นทุกข์ ใจไม่ยึดถือ ปล่อยทิ้งเสีย กายอันนี้ก็ไปตามเรื่อง ของกาย ใจก็เป็นตามเรื่องของใจ หมดเรื่องหมดราวกันที วันนี้อธิบายมาพอสมควรแก่เวลาเพียงเท่านี้ เอวํ ฯ


28 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ นั่งสมาธิ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน ทุกคนเกิดมาก็ต้องการพ้นความทุกข์ทั้งนั้น คือต้องการดับ กรรมนั่นเอง แต่ดับไม่ถูก เหมือนกับไฟฟ้านั่นแหละ ไฟฟ้าโรงใหญ่ มันติดเครื่องดังอยู่ตุบๆ ส่งกระแสไฟกระจายอยู่ทั่วไปหมด ผู้ต้องการ ดับไฟไปดับหลอดเล็กหลอดน้อย มันก็ดับได้เฉพาะหลอดเท่านั้น แต่ ไฟต้นตอมันยังเดินอยู่ ถ้าดับต้นตอมันก็ดับวูบหมดด้วยกัน ถึงเปิดมัน ก็ไม่ติดอีกฉันใด กรรมก็ฉันนั้น ตัวกรรมนั้นเป็นต้นเหตุ ถ้าจะดับทุกข์ ก็ต้องดับกรรมอันเป็นต้นเหตุอย่างที่อธิบายแล้ว เมื่อไม่กระทำกรรม คือใจไม่กระทำ มันก็หมดเรื่องกันไป มันก็ดับหมดเท่านั้นแหละ มีใจ อยู่ตราบใด มันต้องทำอยู่ตราบนั้น ถ้าดับตัวใจ ไม่มีใจแล้ว กรรมมัน ก็ดับหมด ไม่ไปต่อที่ไหน มันไม่เกิดอีกก็ไม่มีกรรมอีก จึงต้องฝึกหัด ให้เห็นตัวใจที่แท้ ตัวใจที่แท้คืออะไร คือความไม่นึกไม่คิด มีความรู้สึกอยู่เฉยๆ แต่ไม่นึกไม่คิด ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ เช่น เรากลั้นลมหายใจ ไม่หายใจ สักพักหนึ่ง มันมีอะไรที่นั่น ไม่ใช่สมอง ไม่ใช่ประสาท ไม่ใช่เซลล์ มัน ไม่มีอะไร เป็นความรู้สึกเฉยๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ส่งไม่ส่าย อันนั้นแหละ ตัวใจแท้ แต่มันเฉยเช่นนั้นอยู่ไม่นาน พอระบายลมหายใจออกมันก็ วิ่งไปอีกตามเรื่องตามราว เรามาหัดตรงนั้น จับตัวนั้นให้ได้เสียก่อน เวลามันคิดมันส่งส่ายไป มันก็ออกไปจากใจนี่เอง เป็นจิตที่คิด ปรุงคิดแต่ง ตั้งสติควบคุมจิตนั้นให้อยู่ มันไม่อยู่ก็พยายามคุมจิตให้ อยู่ มันคิดอะไรส่งส่ายไปทำไม มันปรุงแต่งก็ให้รู้เรื่องรู้เท่ารู้ทันมัน


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 29 มันเกิดขึ้นก็ให้รู้เท่ามัน อย่าไปรู้ตาม ถ้ารู้ตามมันไม่ทันจิตหรอก ตาม หลังมันไม่ทัน เหมือนตามรอยวัวรอยควาย การตามรอยสัตว์หรือ รอยคนมันไม่ทันหรอก ถ้ารู้เท่า รู้ข้างหน้า ข้างหลัง รู้รอบตัวหมด จะรู้ตัวเลย ให้รู้เท ่าอยู ่อย ่างนั้น แล้วจิตก็จะรวมเข้ามาเป็นใจอีก คราวนี้จะอยู่ได้นาน คราวหลังถ้ามันจะคิดจะนึกจะปรุงจะแต่งก็ให้รู้ เท ่าอย ่างนั้น มันก็ไม ่เป็นเหตุให้เกิดกิเลสต ่างๆ อันนั้นมันจึงจะ หมดกรรมหมดเวร จึงจะหมดทุกข์ ถึงจะสิ้นทุกข์ อยากสิ้นทุกข์แต่ทำไม่ถึงการสิ้นทุกข์สักที เราเกิดขึ้นมาหลาย ภพหลายชาติ นับไม่ถ้วนล้วนแต่มีความทุกข์ อยากจะพ้นทุกข์แต่ ไม่ทำให้พ้นจากทุกข์สักที เราทำกรรมชั่วกอปรด้วยทุกข์มาเป็นอเนก ชาตินับภพนับชาติไม่ถ้วน ส่วนกรรมดีเป็นไปเพื่อความสุขเราทำไว้ น้อยมากจึงมีทุกข์อย่างนี้ จงพอใจยินดีด้วยกรรมดีของตนๆ ที่ตนทำ อยู่นั้น ก็จะเป็นกรรมดีที่มากไปเอง มีทางเดียวเท่านี้ที่จะแก้กรรมเวร ให้หมดสิ้นไป อนึ่ง เมื่อความโกรธเกิดขึ้น เรากลั้นลมหายใจเสีย ความโกรธ นั้นก็หายไป แล้วจะเหลือแต่ใจเดิม คือความรู้สึกเฉยๆ อย่าลืม ทำ บ่อยๆ ก็เห็นใจเดิม แล้วความโกรธก็ค่อยๆ หายไป เอาล่ะ เรานั่งสมาธิแก้กรรมกัน.


๓  ความโง่ของคนโง่ แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ วันนี้ขอได้พากันฟังเทศน์เรื่อง ‘ความโง่’ ได้เทศน์เรื่องความ ฉลาดมานานแล้ว ความโง่นั้นไม่มีขอบเขต ไม่มีใครให้ประกาศนียบัตร ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ไม่มีเลย ทั้งๆ ที่คนก็มีโง่อยู่แล้ว แต่ไม่ชอบ ให้คนอื่นพูดว่าตนโง่ แล้วคนที่พูดนั้นถ้าพูดด้วยความเหยียดหยาม ดูถูกคนอื่นก็ยิ่งโง่กว่าเขาเสียอีก เราพากันโง ่อยู ่ตลอดเวลา ความโง ่อันนี้แหละทำให้เราเป็น คนจม ทำให้เราไม่สามารถจะฟื้นฟูตัวเราให้ขึ้นมาได้ โง่มีหลายอย่าง โง่ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ โง่ในความไหวพริบ โง่ในการที่จะนำตนให้ รอดปลอดภัย ฯลฯ ความโง่ที่หมักหมมอยู่ในใจของเรานั้น เราเรียน เท่าไรก็เรียนไปเถิดไม่จบไม่สิ้นสักที คนนิยมเรียนความฉลาดข้างนอก เช่น เรียนวิชาวิทยาศาสตร์แผนใหม่อะไรต่างๆ เรียนไปหมดทุกอย่าง แต่ตัวของเราเองภายในนั้นไม่รู้เรื่อง มันโง่อยู่ภายใน นั่นคือความผิด ความถูกที่เกิดขึ้นในใจของตน คิดว ่าตนดี คิดว ่าตนวิเศษ อันนั้น แสนโง่ทีเดียว ถ้าเข้าใจว่าตนดี ตนฉลาด ตนวิเศษ ตนเลอเลิศด้วย


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 31 สติปัญญาอุบายต่างๆ อันนั้นแหละเป็นการโง่ที่สุด ถ้าคนใดเข้าใจว่า ตนโง่ คนนั้นฉลาดบ้าง เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนใดเข้าใจ ว่าตนโง่ คนนั้นฉลาดขึ้นมาบ้าง วิชาทุกอย ่างที่เราเรียนเป็นการเรียนออกไปภายนอก ออก ไปจากตัวของเรา ไม ่ใช ่เรียนเข้ามาในตัวของเรา เรียนส ่งออกไป ปรุงแต่งออกไปนอกจากกายนอกจากใจ คำว่า กาย มันเพี้ยนเป็น กราย ไปเสีย มันกรายออกไปจากกาย มันข้ามกายไปนั่นเอง จึงไม่ เห็นตนของตน เปรียบเหมือนกับตาไม่เห็นลูกตา หรือตาไม่เห็นกำ้ด้น (ก้ำด้นคือท้ายทอยนั่นเอง) โบราณท ่านว ่าตากับก้ำด้นอยู ่ด้วยกัน ไม่ทราบว่ากี่ปีกี่ชาติ แต่ไม่เคยเห็นกันเลย ก้ำด้นของตนแท้ๆ ไม่เคย เห็นสักที จึงว่ามันโง่ฝังอยู่นั่นแหละ ไม่เห็นตัวของเราเอง การเรียน ภายนอกนั้นมันปรุงแต่งออกไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขาก็ว่าจบแล้วล่ะ ให้ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก อะไรต่างๆ ได้ปริญญาเขาก็ว่า จบแล้ว วิชานั้นมันจบที่ไหน อันของที่ไม่รู้ยังมีอีกเยอะแยะมากมาย ก่ายกอง ความรู้มันเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการไปเรื่อย มันไม่อยู่คงที่ จะว่าเรียนจบได้อย่างไร หากเราพากันมาเรียนวิชาความโง่ เรียนสิ่งที่ไม่รู้ในกายวาจา ใจของเราให้มันรู้ขึ้นมา จึงจะหมดความโง่ไป ถ้าไม่เห็นกายเห็นใจ ของตนมันก็ยังโง่อยู่นั่นเอง ถ้าเห็นแล้วมันเห็นจริงหรือไม่ มันเบื่อ มันหน่ายมันคลายไหม หรือว่ามันยังยึดถืออยู่ ความยึดความถือ นั่นน่ะเรียกว่าไม่เห็นจริง


32 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ตัวของเราเป็นอนัตตา สิ่งสารพัดวัตถุทั้งปวงทั้งหมดก็เป็น อนัตตา อนัตตาคือว่ามันไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา อนัตตาไม่ได้ หมายว่าสิ่งนั้นๆ ไม่มี ของมีอยู่แต่มันไม่อยู่ในบังคับบัญชา เช่น กาย ของเรานี้จะไม่ให้แก่มันก็แก่ ไม่ให้เจ็บมันก็เจ็บ ไม่ให้ตายมันก็ตาย ไม่ให้พลัดพรากจากกัน มันก็พลัดพรากจากไป ทำอย่างไรมันก็ไม่อยู่ ในบังคับบัญชา นี่แหละท่านเรียกว่า อนัตตา การที่มันเปลี่ยนแปลง ไปเรื่อยๆ อันนั้นแหละท่านเรียกว่า อนิจจัง ของไม่เที่ยง อนิจจังเป็น อนัตตานี่แหละมันจึงได้เป็นทุกข์ หรือ ทุกขัง ความจริงเรื่องกายและ ใจของเราเป็นอย่างนี้ เราเห็นเช่นนี้แล้วหรือยัง ใครๆ ก็เห็นกายกัน ทุกคนล่ะ แต่มันไม่เห็นจริง ไม่เห็นเป็นอนัตตา ไม่เห็นเป็นอนิจจัง ไม ่เห็นเป็นทุกขัง ไม ่เห็นตามสภาพเป็นจริงทุกอย ่างจึงปล ่อยวาง ไม่ได้ จึงได้เป็นทุกข์ที่เราเดือดร้อนกันอยู่ทุกวี่ทุกวันนี้ก็เพราะเหตุ เห็นไม่จริงนั้นแหละ พระพุทธเจ้าทรงเห็นกายและใจตามสภาพที่เป็นจริง อริยสงฆ์ สาวกท่านก็เห็นตามเป็นจริง เรียกว่า อริยสัจ นั่นคือ รูปเป็นอนัตตา รูปเป็นอนิจจัง รูปจึงเป็นทุกข์ เมื่อยังไม่เห็นจริงด้วยใจ เห็นแต่ตาม สัญญา ก็เห็นเป็นแต่เพียงสัจจะ เฉยๆ ถ้าเห็นจริงเห็นชัดลงไปด้วยใจ แล้วเรียกว่า ‘เห็นอริยสัจ’ อันนั้นเป็นการเห็นของจริงของแท้ของ พระอริยเจ้า ดังนั้น พวกเราอย่าไปหาธรรมะที่อื่นไกลเลย หาเอาใน ตัวของเรานี่ ผสมกันขึ้นในที่นี้ ให้ปรากฏเห็นขึ้นมาในที่นี้แหละ ใจ เป็นคนเห็นกาย จึงอุปมาเหมือนกับเรียนสระกับพยัญชนะผสมกัน ผสมกันได้แล้วก็เขียนข้อความไปได้หมดทุกอย่าง จะขีดเขียนเรื่อง อะไรๆ เขียนได้หมด มันออกจากสระกับพยัญชนะเท่านั้น ธรรม


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 33 ทั้งหลายก็ออกมาจากกายกับใจ ไม่นอกเหนือจากกายกับใจ ใจมา พิจารณาเห็นกายตามเป็นจริง ถ้าหากไม่มีกาย ก็ไม่มีเรื่องทุกข์ ไม่มี อนัตตา ไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกขัง เพราะมีกายจึงมีอนิจจัง มีทุกขัง มีอนัตตา จึงมีวิปัสสนา มีมรรคผลนิพพาน มีฌานสมาธิ มีธรรม ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณก็ตรัสรู้ที่กายกับใจ นี่แหละ พระองค์ไม่ได้ไปตรัสรู้อย่างอื่นที่ไหนหรอก พระสงฆ์สาวก ทั้งหลายสำเร็จมรรคผลนิพพานก็สำเร็จที่กายกับใจนี่แหละ พวกเทพ ทั้งหลายมีแต่ใจ เป็นพวกอทิสสมานกาย ไม่มีรูปปรากฏ พวกพรหมก็ ไม่ปรากฏรูปไม่มีรูป พระพุทธเจ้าไม่ได้ไปตรัสรู้ไม่ได้ทรงสอนที่โน่นหรอก ทรงเทศนาสอนมนุษย์พวกเราที่มีกายหยาบๆ เห็นกันอยู่ด้วยตานี่เอง การเห็นด้วยตาเรียกว่า ‘ทัศนะ’ มันยังเห็นไม่จริงไม่แท้ ต้องใจ เข้าไปเห็นจึงจะเป็นการเห็นอย่างแท้จริง การเห็นด้วยใจจึงเรียกว่า ญาณทัศนะ คำว่าเห็นด้วยใจ คือมันชัดด้วยใจนั่นเอง ถ้าไม่ชัดก็ไม่ เรียกว่าเห็นด้วยใจ เมื่อเห็นชัดแล้ว กายมันเป็นอนัตตา เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง ดังที่อธิบายในเบื้องต้น มันก็ปล่อยวางได้ นั่นคือปล่อยวาง ไว้ตามสภาพเดิมของมัน เห็นมันเป็นอนัตตาแล้วไม่ยึดถืออีก ปล่อย ไปตามสภาพอนัตตา เห็นมันเป็นอนิจจังก็ไม่ยึดไว้ ปล่อยไปตามสภาพ อนิจจัง มันเปลี่ยนแปลงอยู ่เรื่อยไป ก็ปล ่อยไปตามเรื่องของมัน มันเป็นทุกขัง มันเกิดเป็นทุกข์เพราะเหตุที่มันแปรปรวนบังคับไม่ได้ ก็ปล่อยไปตามเรื่องของทุกข์ จึงว่ามันเป็นจริงอย่างไรให้เห็นตามเป็น จริงอย่างนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺาย ทฏฺ€พฺพํ ควรให้เห็นของสิ่งนั้นๆ ตามเป็นจริง นี่จึงจะได้ชื่อว่าเรียนความโง่ ไม่ใช่เรียนความฉลาด มันโง่ตรงนี้ โง่ที่ไม่เห็นกายของเรา ไม่เห็นใจ ของเราเอง


34 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ แต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ทุกๆ คนที่เกิดขึ้นมาได้ชื่อว่าโง่ด้วยกัน ทั้งนั้น ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนแนะนำตักเตือนอะไรต่างๆ เพื่อให้รู้ ความโง่นั่นแหละ ไม่ใช่เรียนความฉลาดหรอก ให้รู้ความโง่ทั้งนั้น แหละ อันของที่ไม่รู้จึงค่อยเรียน ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจนั่นแหละ มันโง่ ผู้ที่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ทั้งปวงเขาไม่ถือว่าตนฉลาด ความโง่ของ คนเรามันยังลึกซึ้งละเอียดมากเหลือมาก ยิ่งเรียนเท่าไรยิ่งเห็นความโง่ ของตนมากขึ้นเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเรียนความโง่ ไม่ใช่ สอนให้เราเรียนความฉลาด เมื่อรู้จักโง่ เห็นโง่แล้ว ความรู้นั้นแลเป็น ความฉลาด การไม่เห็นความโง่ของตน แต่สำคัญว่าตนฉลาด นั่นยิ่ง โง่เข้าทุกที เหตุนั้น การปฏิบัติของพวกเรา จงปฏิบัติตรงที่กายกับ ใจนี่แหละ อย่าส่งออกไปภายนอก ใครจะเรียนอะไรที่ไหนก็เรียนไป เถิด ถ้าเพ่งเข้ามาภายในตัวนั้นเรียกว่า เรียนความโง่ของตน อย่าส่ง ออกไปภายนอกก็แล้วกัน การเรียนกัมมัฏฐานแบบต่างๆ หลายเรื่องหลายอย่าง หลายครู หลายอาจารย์ เช่น ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัง อานาปานสติ พุทโธ ทั้งหมดนี้ก็เรียนโง่ด้วยกันทั้งนั้น คือเรียนให้เห็นตัวโง่ ตั้งใจ ให้มีสติควบคุมจิตที่มันนึกคิดที่มันปรุงแต่ง ให้รู้เรื่องของจิต ให้เห็น จิต รู้จักจิตเสียก่อน ถ้าไม่เห็นจิตมันก็รักษาจิตไว้ไม่ได้ คุมจิตไม่ได้ ชำระจิตไม่ได้ เพราะไม่ทราบว่าจิตมันคิดมันนึกปรุงแต่งอะไรบ้าง มันส่งส่ายไปไหนก็ไม่ทราบ ใครๆ ก็พูดถึงจิตถึงใจ จิตเป็นทุกข์ จิตเดือดร้อน จิตยุ่งวุ่นวาย จิตกระวนกระวาย จิตกระสับกระส่าย มันเรื่องของจิตทั้งนั้นแหละ แต ่ยังไม ่เคยเห็นจิตสักที จิตแท้ เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เมื่อไม่เห็นจิตไม่เห็นใจ มันก็ไม่มีโอกาสที่จะ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 35 ชำระได้ ต้องเห็นตัวมันเสียก่อน รู้จักตัวที่เราพูดถึงเสียก่อน พอเรา เดือดร้อนเรายุ่งเหยิงหรือส่งส่ายเราก็แก้ตรงนั้นเอง อาการของใจเรียกว่า จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุงแต่ง ผู้ส่งส่าย ไปมาหน้าหลังสารพัดทุกอย่างรอบด้านรอบข้าง ผู้นั้นแหละเรียกว่า จิต เราเอาสติไปคุมไว้ให้รู้ตัวจิตนั้นอยู่เสมอๆ ตลอดเวลา เห็นจิตของ ตนอยู่เสมอว่าจิตเป็นอย่างไร มันคิดดีคิดชั่วคิดหยาบคิดละเอียด คิดปรุงคิดแต่งอะไร ก็ให้รู้เห็นอยู่ทุกขณะ ควบคุมมันอยู่อย่างนั้น เป็นนิจ เมื่อเห็นจิตแล้ว ควบคุมจิตอยู่แล้ว เวลาจะคิดก็ให้มันคิดได้ จะนึกก็ให้มันนึกได้ มีสติกำกับอยู่ว่าคิดว่านึก เวลาไม่ให้คิดไม่ให้นึก ก็อยู่ได้ ไม่ให้ปรุงแต่งก็อยู่ได้ อย่างนี้จึงจะเรียกว่า บังคับจิตอยู่ อย่า ให้จิตบังคับเรา โดยทั่วไปจิตบังคับให้เรากระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เรา อยู ่ในอำนาจของจิต มันเป็นไปตามวิสัยอำนาจของจิต คนปุถุชน มันต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อเรากำหนดสติควบคุมจิตได้แล้ว เราจึงไม่ อยู่ในอำนาจของจิต แต่จิตอยู่ในอำนาจของเรา มันชักชวนไปทางดี ทางชั่วอีกก็ไม่ให้ไป นิ่งอยู่ได้ เช่น มันชักชวนไปในทางชั่วให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง ให้คิดประหัตประหารฆ ่าตี เขาก็บอกมันว ่าไม ่ดี อย่าทำ คิดทางดีให้สร้างบุญสร้างกุศลก็ไม่ให้ไป ให้อยู่คงที่ เมื่อหยุด ส่งส่ายอยู่คงที่มันก็เข้าถึง ใจ คือความเป็นกลาง ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าจิตกับใจมันต่างกัน คนละอันกัน แต่แท้ที่จริงท่านพูดอันเดียวกันนั่นแหละ จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใด จิตอันนั้น แต่ทำไมจึงเรียกว่าจิต ทำไมจึงเรียกว่าใจ ก็ลองคิดดูซิ มัน ต้องมีแปลกกันอยู่ ใจมันต้องอยู่เฉยๆ คืออยู่กลาง สิ่งใดเป็นกลางๆ จะเรียกสิ่งนั้นว่าใจ เช่น ใจมือ ใจเท้า ก็ชี้ลงตรงกลางมือ กลางเท้า


36 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ใจคนก็ชี้ลงท่ามกลางหน้าอก ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนหรอก แต่ชี้ลงท่าม กลางอกเรียกว่าใจ ที่เรียกว่าใจ คือมันอยู่ท่ามกลางสิ่งต่างๆ ไม่คิดดี ไม ่คิดชั่ว ไม ่คิดหยาบ ไม ่คิดละเอียด ไม ่ปรุง ไม ่แต ่งอะไรทั้งหมด แต่มีความรู้สึกอยู่เฉยๆ ตรงนั้นแหละเป็นใจ เมื่อเราตั้งสติกำหนดจิต ที่มันกระสับกระส่ายดิ้นรน เดือดร้อนวุ่นวาย คอยควบคุมระวังตัว นั้นไว้จนหยุดดิ้นรน หยุดแส่ส่าย มีความรู้สึกเฉยๆ รู้สึกเฉพาะตัว ของมันเอง ไม่คิดไม่นึกอะไร อันนั้นแลเป็นใจตัวเดิมแท้ ใจนี้มันจะดีอย่างไร ลองคิดดูซิ ถ้าเมื่อคุมจิตได้ เข้าถึงใจได้ก็ ไม่มีอะไร มีความรู้สึกเฉยๆ เฉพาะตัว ความวุ่นวายเดือดร้อนต่างๆ มันก็หายไปหมด มีแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบนั้นเอาความสุข แค่นั้นเสียก่อน สุขอันนั้นถ้าอยู่ได้นานเท่าไรยิ่งดี แต่คนเราไม่ชอบ ชอบให้จิตมันบังคับให้เราเดือดร้อนวุ่นวี่วุ่นวาย เดี๋ยวก็ร้องไห้ร้องห่ม เดี๋ยวก็หัวเราะเฮฮาเพลิดเพลิน เดี๋ยวก็เอะอะโวยวายสารพัดทุกอย่าง เราร้องไห้ก็เพราะมันบังคับให้เราร้องทั้งที่เราไม ่อยากร้องไห้ การ ร้องไห้น่าเกลียดจะตาย น่าอับอายขายขี้หน้าคนอื่น แต่มันก็บังคับ เอาจนร้องไห้ให้ได้ การหัวเราะก็เหมือนกัน หัวเราะมันเพลิดเพลิน สนุกสนานดี มันชอบใจ มันน่าที่จะหัวเราะเพลิดเพลินอยู่เสมอตลอด ไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น จิตมันทำให้ร้องไห้ก็ได้ หัวเราะก็ได้ นั่นเพราะ เราบังคับมันไม่ได้ ถ้าเราบังคับมันได้แล้วมันก็หยุด เอาสติเข้าไปตั้ง เมื่อไรหยุดเมื่อนั้น สตินี้ดีมากเป็นเครื่องควบคุมจิตได้ทุกอย่าง


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 37 ได้พูดถึงเรื่องความโง่แล้ว เรามาเรียนความโง่กันเถิด เรียน อย่างวิธีที่อธิบายมานี่แหละ มันจึงจะค่อยหายโง่ ความโง่ไม่มีที่สิ้นสุด หรอก ยิ่งเรียนก็ยิ่งเห็นความโง่ของตน มันลึกจมอยู่ในก้นบึ้งโน่น ท่านเรียกว่า อนุสัย ตราบใดที่ยังไม่ถึงมรรคผลนิพพาน ตราบนั้น ยังมีความโง่อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น จงพากันเรียนความโง่กันเสีย วันนี้ อธิบายมาก็สมควรแก่เวลา เอวํ ฯ นั่งกัมมัฏฐานหาความโง่ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน เคยได้ยินบางคนพูดเป็นเชิงเหยียดหยามดูถูกกัมมัฏฐานว ่า “นั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐาน” พวกเราจงพากันทำกัมมัฏฐาน ให้โง่อย่างเขาว่าดูซิมันจะโง่จริงหรือไม่ นั่งหลับตาแล้วพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอา ๕ อย่างนี้ เสียก่อน ให้เห็นเป็นอสุภะของไม่งาม เมื่อจะพิจารณาให้เลือกเอา อันเดียว ไม่ต้องเอามากอย่าง เช่น เลือกผม ก็พิจารณาแต่ผมอย่าง เดียว พิจารณาจนให้เห็นชัดว่าผมเป็นของปฏิกูลจริงๆ จนเบื่อหน่าย คลายเสียจากความรักใคร่ว่าผมเป็นของสวยงามจนเป็นเหตุให้เกิด ความใคร่ นี่หายจากโง่ขั้นหนึ่งล่ะ


38 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ขั้นที่สอง เห็นเป็นอสุภะทุกอวัยวะทั่วหมดทั้งตัวด้วยใจไม่ได้ ลังเลแต่อย่างใด จะเห็นเปื่อยเน่าเฟะไปหมดไม่มีชิ้นดีแม้แต่นิดเดียว คราวนี้ไม่ใช่เพียงผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่ทั้งหมดด้วยกันจะเป็น อสุภะทั้งนั้น แล้วอยากจะทอดทิ้งถ่ายเดียว ถ้าสติคุมจิตไว้ไม่ได้ก็จะ เสียคน ที่เรียกว่า วิปลาส (คำว่า วิปลาส นักปฏิบัติทั้งหลายกลัวนัก กลัวหนา แต่หลงในกามไม่ยักกลัว เพราะคนส่วนมากรู้จักกันดี) ขั้นที่สาม เมื่อสติคุมจิตให้อยู ่ในที่เดียวแล้ว ก็จะพิจารณา ทบทวนไปๆ มาๆ ว่า ที่เราพิจารณาเห็นเป็นอสุภะนั้น แท้ที่จริงแล้ว กายนี้มันก็ยังปรกติตามเดิมนั้นเอง ที่เราเห็นเป็นอสุภะนั้นเพราะ จิตเราเป็นสมาธิต่างหาก เมื่อจิตถอนออกมาจากสมาธิแล้วมันก็เป็น อยู่อย่างเดิม ใช่อันนี้หรือเปล่าที่เรียกว่านั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐาน นั้น แท้จริงกัมมัฏฐาน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีอยู่ด้วยกัน ทุกๆ คนมิใช่หรือ ผู้มาเพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามเป็นจริง ทำไม จึงเรียกว่าโง่ ผู้ไม่ได้เพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามสภาพเป็นจริงนั้น หรือเป็นผู้ฉลาด แปลกจริงหนอ ความเห็นของคนเรานี้ ผู้เห็นตาม สภาพความเป็นจริง แทนที่จะเรียกว่าผู้ฉลาด กลับเห็นว่าโง่ไปได้ ผิดวิสัยของคนทั่วไปเสียแล้ว ยิ่งกว่านั้น พระบางองค์ (ขอโทษ) เป็นถึงอุปัชฌาย์อาจารย์ สอนกัมมัฏฐาน ๕ แก่ลูกศิษย์ ลูกศิษย์ได้แล้วไปถามเข้า เลยหาว่าโง่ เข้าไปโน่นอีก ผู้เห็นเข้าเช่นนี้มิเป็นการเหยียดหยามดูถูกเราพร้อม ทั้งต้นตระกูลของเราที่เป็นพระสงฆ์ (คือพระพุทธเจ้า) เสียหรือ เมื่อเหยียดหยามดูถูกเช่นนั้นได้แล้ว ความเป็นพระจะมีอะไรเหลือ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 39 อยู่อีกเล่า เราผู้เป็นสงฆ์ฆราวาสญาติโยมเขาเคารพนับถือ ควรที่จะ ระวังสังวร ถึงแม้จะพูดเล่นก็ไม่เป็นการสมควรโดยแท้ ความโง่มันซ่อนเร้นอยู่ตามผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้แหละ ฉะนั้นจงค้นให้เห็นตัวมัน ถ้าค้นหาตัวความโง่เห็นแล้วจะอุทานว่า อ๋อ ! มันเป็นอย่างนี้เอง ท่านจึงสอนให้พิจารณา เราทอดทิ้งมาเป็น เวลานาน มีแต่เห็นว่า ผมมันสวยงาม มันหงอกก็หายามาย้อมไว้ให้ คนหลงว่ายังดำอยู่ ขนก็เช่นเดียวกัน มันรกรุงรังก็โกนให้คนอื่นเห็นว่า เกลี้ยงเกลาไม่มีขน เล็บมันไม่แดง ก็เอาสีมาทาไว้เพื่อให้คนเข้าใจว่า เล็บแดง ฟันก็เอาทองมาหุ้มไว้ให้เหลืองอร่ามไปหมด หนังมันย่นยู่ หดหู่ก็ลอกให้มันเป็นหนังใหม่ ลอกแล้วไม่กี่วันมันก็ย่นยู่หดหู่อีก จะ หลอกคนภายนอกไปอย่างไรก็หลอกไปเถิด แต่ในใจของตนย่อมรู้ดีว่า หลอกลวงคนอื่น เหมือนกับนายพรานดักนกมุ่งแต่จะเอาเขาถ่ายเดียว ผีไม่ตายหลอกเขา ไม่มีใครกลัวหรอก นอกจากเขาจะไม่กลัวแล้ว ท่านผู้มีปัญญายังจะต้องยิ้มขบขันเสียอีก.


40 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ๔  คน ๔ เหล่า แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาต่อไป ธรรมะเป็นของสงบ เราไม่ สงบรักธรรมะไม่ได้ เราต้องทำความสงบกาย วาจา และใจ กายสงบ คือ ไม่ไปหยิบนั่นฉวยนี่ ไม่ต้องกระดุกกระดิก หากว่าจำเป็นจำต้อง พลิกไหวบ้างก็ไม่เป็นไร วาจาสงบ คือ ไม่ต้องพูดต้องคุยกัน ใจสงบ คือ ให้ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาอยู่ในอารมณ์อันเดียว มันเป็นสมาธิ อยู่ในตัว เรียกว่า ใจสงบ การฟังเทศน์ก็ต้องการให้ใจสงบนั่งเอง ถ้าหากว่าใจสงบจนกระทั่งฟังเทศน์ไม่ได้ยินอะไรเลย นั่นแหละถูกต้อง แล้ว ฟังเทศน์ในที่ใดๆ หรือในอุบายอันใดก็เพื่อสงบแห่งใจนี่เอง พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าเทศน์ให้พระภิกษุสงฆ์ฟังก็ต้องการให้ ใจสงบเป็นสมาธินั่นเอง เราทำใจให้สงบน่ะถูกแล้ว ไม่ต้องไปพูดมาก มันถูกใจของเรา แล้วใจมันสงบแน่วแน่เต็มที่เลย มันก็ถูกแล้ว ฟังมาก ไปสักเท่าไร ใจไม่สงบก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร การฟังพระธรรมเทศนา ของพระพุทธเจ้าที่พระท่านเทศน์ให้ฟังนั้น ถ้าตัวของเราไม่สงบ ธรรมะ เป็นของสงบ มันก็เข้ากันกับความสงบแห่งธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ อย่างพระท่านบอกว่า ก่อนที่จะฟังพระธรรมเทศนา จงตั้ง


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 41 โสตประสาทคือหูทั้งสองไว้สำหรับรับรองซึ่งพระสัจธรรมเทศนา ดัง อาตมาจะได้วิสัชนาไปในกาลบัดนี้ จึงขอให้ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา และทำความสงบในใจให้ได้ วันนี้จะเทศนาเรื่อง คน ๔ เหล่า คนเราเกิดขึ้นมาในโลกนี้ ต้องตกอยู่ในจำพวก ๔ เหล่านี้ทั้งนั้น ไม่นอกเหนือไปจากคนจำพวก ๔ เหล่านี้ไปได้ คือ ๑. ตโม ตมปรายโน คนมืดมาแต่เบื้องต้นแล้วก็มืดต่อไปอีก จำพวกนี้ใช้ไม่ได้ ๒. ตโม โชติปรายโน มืดมาแล้วสว่างไปนั้น ก็ยังดีหน่อย ๓. โชติ ตมปรายโน สว่างเบื้องต้นแล้วมืดเบื้องปลาย พวกนี้ ใช้ไม่ได้เหมือนกัน ๔. โชติ โชติปรายโน สว่างมาแล้วก็สว่างไป นั้นดีมาก บางคนเกิดมาไม่รู้เดียงสาอะไรเลย เหมือนกับมดกับปลวก มืดตื้อไปหมด พูดอะไรก็ไม่รู้เรื่องรู้ราว เรื่องศีลเรื่องธรรมแล้วไม่ต้อง กล่าว เข้าใจว่าตัวเองโง่เง่าเต่าตุ่นไม่มีสติปัญญา แล้วก็เลยไม่ทำความ ดีต่อไป เห็นว่าหมดวิสัยของตัวแล้ว ซำ้เติมให้โง่ให้ทึบให้ตื้อเข้าไปอีก เรียกว่า มืดมาแต่ต้น แล้วก็มืดต่อไปอีก ขอให้คิดดู คนเราเกิดขึ้นมา ถ้าไม่มีการศึกษาเล่าเรียนจะเอาความรู้มาแต่ไหน เรียนอย่างน้อย ที่สุดมันก็ได้ความรู้ ถ้าถือว่าตนโง่แล้วก็ไม่ศึกษาเล่าเรียนและไม่ปฏิบัติ มันก็ยิ่งโง่ขึ้นไปกว่าเก่า คนที่เข้าใจผิดเช่นว่านั้น ทำผิดพลาดจากการ ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์เลยทีเดียว แทนที่จะคิดว่า ความมืดความโง่


42 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ของเรานั้น เราจะต้องแสวงหาเครื่องสว่างเป็นเครื่องส่องทางของเรา ถึงไม่ได้มากสักนิดเดียวก็เอา จึงจะเป็นการดี คนนั้นเรียกว่า ค่อย สว่างขึ้นหน่อย นับว่าดี อย่าไปถือว่านิสัยบุญวาสนาเราไม่ให้หรือไม่ ส่งเสริมบุญวาสนานิสัยใจคอของเรามันต่ำต้อยไม่สามารถที่จะเจริญ ภาวนาทำสมาธิได้ เลยทอดอาลัยเพียงแค่นั้น บุญวาสนานิสัยของเรา เรารู้แล้วหรือ เราเห็นแล้วหรือ ภพก่อนชาติก่อนเราทำอะไรไว้ มันจึง โง่เง่าเต่าตุ่น ทื่อ ทำอะไรก็ไม่เป็น เราไม่เห็นไม่รู้เรื่องเหล่านี้หรอก แต่โดยเหตุที่เราไม่มีปัญญาก็เลยถือเอาเฉยๆ นี่แหละว่า บุญวาสนา แต่ก่อนเราไม่มี จะให้บุญนั้นส่งเสริมเราเอง เมื่อไรบุญวาสนามันจึงจะ ส่งเสริมให้เรา เราต้องขวนขวาย ต้องแสวงหา ต้องอบรมเอาเองซี ถ้าไม่อบรมมันจะเกิดจะเป็นหรือ บุญวาสนามันจะส่งเสริมอะไรให้เรา เกิดขึ้นมาก็นอนแปะกันเพียงแค่นี้แหละ บุญวาสนาไม่มีอะไรให้เรา เรานี่แหละจำเป็นจะต้องทำ บุญก็ตัวของเรา วาสนาก็ตัวของเรา นิสัย ก็ตัวของเรา เราทำให้มันเกิดขึ้นมาซี ทำแล้วมันต้องได้ ถ้าไม่ทำมันจะ ได้อะไร ให้เข้าใจอย่างนั้น ให้ปฏิบัติอย่างนั้น มันจึงจะเจริญต่อไป พวกที่มืดมาแล้วสว ่างไป นั้นดี บุคคลผู้แสวงหาประโยชน์ ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องแสวงหาทางพ้นทุกข์ แสวงหาความดี เกิดขึ้นมา ไม ่มีใครจะเป็นนักปราชญ์มาตั้งแต ่เกิด จะเป็นผู้รู้ฉลาดเฉลียวมา ตั้งแต่ต้นไม่มีทั้งนั้น มันต้องอาศัยการศึกษาเล่าเรียนการฝึกฝนอบรม เป็นสิบๆ ปี กว่าจะเป็นศาสตราจารย์ อาจารย์เขาได้ นั่นเรียกว่า มืดมา แต่ต้นค่อยสว่างตอนปลาย อันนั้นดีมาก ถ้าเป็นได้อย่างนั้น บุญวาสนา บารมีมันต้องเป็นพื้นฐานของบุคคลสำหรับให้คนบำเพ็ญต่อไป


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 43 พวกสว่างเบื้องต้นแล้วมืดบั้นปลาย อันนี้ไม่ดีเลย เกิดขึ้นมา เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม เกิดในตระกูลผู้ดี มั่งคั่งบริบูรณ์สมบูรณ์ ทุกประการ มีเกียรติยศชื่อเสียงอะไรต่างๆ แต่กลับทำตัวเป็นคนเลว ทำชั่วยิ่งร้ายไปกว่าเก่า เราสามารถที่จะทำอะไรได้ทุกอย่าง เพราะ มีเงินมีทอง มีชื่อเสียง มีตระกูล พ่อแม่ของเรารำ่รวย มีอำนาจวาสนา ทำดีก็ได้ ไม่ทำ กลับมาทำชั่ว เมื่อทำไปแล้วยากที่จะกลับคืนมาหา ความดีได้ คือ มันเลวทรามมาแล้ว นิสัยชั่วช้าติดสันดานของตน เข้าไปแล้ว จะกลับคืนมาเป็นคนทำดีก็อับอายขายขี้หน้าเขา นั่นทำให้ สังคมเสื่อม ทำให้สังคมเดือดร้อน ทำให้คนอื่นวุ่นวาย เพราะเหตุ เราคนเดียวเท่านั้น เรียกว่า สว่างมาแล้วกลับมืดไปอีก ร้ายกาจกว่า เพื่อน ร้ายกว่าที่ว่า มืดมาแล้วกลับมืดไปอีก สว่างมาแล้วมืดกลับไป ร้ายกว่าพวกอื่นๆ ทุกพวก เรียกว่ารู้แล้วแกล้งทำไม่รู้ โชติ โชติปรายโน พวกสว่างมาแล้วก็สว่างต่อไป นั้นดีมาก เราเกิดมาในตระกูลที่มั่งคั่ง สมบูรณ์บริบูรณ์ มีเกียรติยศชื่อเสียง มีเงินมีทองมากมาย มาคิดถึงตัวเราว่าอุดมสมบูรณ์เพราะบุญวาสนา บารมีแต่เก่า อันนั้นเห็นได้ชัด ไม่ต้องเกิดอดีตญาณหรอก เห็นได้ ในปัจจุบัน คนที่มีเมตตาปรานี เอ็นดูสงเคราะห์คนอื่น ตัวเองก็อยู่ ในศีลในธรรม แล้วก็แนะนำคนอื่นให้ตั้งมั่นอยู ่ในศีลในธรรม ให้ ประพฤติดี ประพฤติชอบ ประกอบแต่การกุศล เจริญรุ่งเรืองด้วย ตนเองแล้วสอนให้คนอื่นเจริญรุ่งเรืองไปด้วย ตัวของเราก็ยิ่งได้รับ ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปอีกกว่าปกติธรรมดา เขาได้รับคุณงามความดี เขาก็นิยมนับถือยกย่องสรรเสริญผู้ที่สอนเขา นั่นแหล่ะการทำคุณงาม ความดีก็เป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าเรารวยแล้วมีเกียรติยศชื่อเสียงแล้วก็


44 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ข่มเหงคนอื่น กลับเป็นความชั่วมืดต่อไปอีก นิสัยคนมีจริยธรรม คนทำความดีได้ความปลื้มปีติอิ่มใจแล้วอยากสอนคนอื่นๆ ให้ทำตาม เป็นธรรมดา ธรรมที่ควรปฏิบัติสำหรับคน ๔ จำพวกนี้ก็คือ พวกแรกพวก ตโม ตมปรายโน เราเป็นคนทุกข์ คนจน ไม่มีสติปัญญา เลยไม่คิด จะทำสมาธิภาวนา คุณงามความดีอะไรทั้งหมด เลยหมดหนทางที่จะ ทำคุณงามความดีต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทางที่ถูกก็คือ ควรจะ หัดสมาธิภาวนาเพื่อแก้นิสัยบุญบารมีเดิมของตน นอกจากการภาวนา ทำสมาธิแล้ว ไม ่มีทางอื่นใดที่จะช ่วยแก้ได้ ขอให้มีความอดทน พยายามอย่างเต็มที่ก็จะสำเร็จตามความประสงค์ พวก ตโม โชติปรายโน คนเราเกิดมาทุกคนต้องมืดมนด้วยกัน ทั้งนั้น ไม่ใช่สว่างมาแต่เบื้องต้น ใครเกิดมาจะรู้จักดี ชั่ว ฉลาดเฉลียว มาแต่เบื้องต้น ไม่มีหรอก ถึงชาติก่อนจะเรียนรู้มาแล้วก็ตาม กลับ มาเกิดใหม่ก็ต้องมาเรียนใหม่ แต่นิสัยเป็นเหตุให้เรียนได้ดีกว่าคนไม่มี นิสัย พระพุทธเจ้าท่านเกิดมาเป็นปุถุชนเสียก่อน แต่เป็นอัจฉริยบุคคล คนหนึ่งเท่านั้น พระโสดาบัน พระสกิทาคามีในชาติก่อน เมื่อกลับมา เกิดก็ต้องเป็นปุถุชนธรรมดานี่แหละ ในกามโลกไม่มีที่เกิดของเสขบุคคล พระอนาคามีก็ไปเกิดชั้นสุทธาวาสเสียแล้ว แปลว่าเกิดเป็น คนธรรมดา แล้วนิสัยวาสนาแต่ต้นนั้นมันหากมาดลบันดาล และ ได้ยินได้ฟังธรรมเกิดความรู้ความฉลาดเฉียบแหลมยิ่งกว่าหมู่เพื่อน สามารถกลับตัวให้เป็นคนดี เป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี หรือพระ อรหันต์ต่อไปได้ นั่นแหละบุญวาสนาแท้ ไม่ใช่เอาโสดาบัน แต่ก่อน มาเป็นโสดาบันเดี๋ยวนี้ จะเอาสกิทาคามีแต ่ก ่อนมาเป็นสกิทาคามี


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 45 เดี๋ยวนี้ไม่ได้ จึงว่าเราเกิดมาแล้วเป็นคนมืดมาก่อนทุกคน แต่คนมืด นั้นพยายามตั้งใจที่จะเป็นคนสว ่าง เห็นเขาทำดิบทำดีก็อยากทำดี อย่างเขา ก็ตั้งใจพยายามทำดี ความพยายามทำให้ได้รับผลสำเร็จ ศาสนานี้สอนให้ทำ ไม่ใช่ให้อยู่เฉยๆ พระพุทธเจ้าสอนให้ทำทั้งนั้น ต้องพยายามทำจริงๆ จังๆ จึงจะดีต่อไป เราจะไปอ้างกาลเวลา อ้าง ธุรกิจการงานต่างๆ นั้นไม่ได้ นั่นมันเป็นเพียงเครื่องประกอบอาชีพ ของเราเท่านั้น มันไม่ใช่ของเรา ของเราแท้ก็คือ การกระทำคุณงาม ความดี หัดสมาธิภาวนา ตั้งสติกำหนดจิต นี่แหละเป็นของเราแท้ๆ ทีเดียว คนอื่นมาแย่งเราไม่ได้ เราทำแล้วก็เป็นของเรา การหาเงิน หาทองข้าวของสมบัติต่างๆ มันเป็นของภายนอก ไม่ใช่ของเรา เรา ใช้เมื่อยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ตายไปแล้วไม่เห็นเอาไปได้สักคนเดียว ให้คิดเสียอย่างนั้น ให้ทำสมาธิภาวนาทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน อันนี้เป็นของเราแท้ๆ ควรทำ โชติ ตมปรายโน สว่างแล้วกลับมืด เรื่องพรรค์นี้มีมากทีเดียว เมื่อหัดสมาธิภาวนาเกิดความรู้ความฉลาด พูดจาพาทีคล่องแคล่ว เพราะเป็นของเกิดขึ้นมาในใจของตนเอง ต่อมาเกิดความประมาท ในกิจวัตรและข้อวัตรต่างๆ ในการทำสมาธิ สมาธิภาวนาเลยเสื่อม เลื่อมแล้วคราวนี้ทำไม่ถูก ทำอย่างไรๆ ก็ทำไม่ได้ เลยเบื่อหน่ายขี้เกียจ ในผลที่สุดเป็นพระก็สึก เป็นชีก็สละชีเสีย เป็นฆราวาสก็สละวัดเสีย เลยไปหากินตามปกติธรรมดา เลยกลับเสื่อมเสียแทนที่จะเจริญต่อไป อันนี้แหละน่าเสียดายด้วย น่าสงสารด้วย ของดีๆ ทำมาแล้วกลับ ทิ้งทอดธุระเสีย มิหนำซำ้บางคนยังพูดเหยียดหยามดูถูกอีกว่า ศาสนา นี้ทำเท่าไรก็ทำเถิด ข้าพเจ้าทำมากแล้วถึงขนาดนั้นยังไม่เป็นไป ยัง


46 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เสื่อมเสียได้ จึงเป็นที่น่าเสียดายมากที่มาเหยียดหยามดูถูกการบวช การเรียน การเข้าวัดฟังธรรมและศาสนา ผู้เขียนขอนำเรื่องชายคนหนึ่งมาเล่าสู่กันฟังว่า เธอแลเคยได้ ฐานันดรเป็นใบฎีกามาแล้ว เธออยู่ไม่ได้จึงสึกออกไป ดื่มสุราเป็น เยี่ยม แลภรรยาก็นักดื่มยิ่งกว่าสามีอีกด้วย เที่ยวประกาศหมู่เพื่อนว่า เข้าวัดฟังธรรมจำศีลไม่เห็นได้อะไรเลย ถ้ามรรคผลนิพพานมีจริง ฉันทำมามากคงสำเร็จแล้ว ต ่อมาเธอเกิดเป็นโรคไปโรงพยาบาล หมอรักษาไม่ได้ เงินค่ายาก็ไม่มี หมอเขาถามถึงที่อยู่ เธออ้างเอา วัดแห่งหนึ่งว่าเธอปลูกบ้านอยู่ใกล้วัดนั้น หมอเขาสงสารเขาเลยไม่ เอาค่ายา แถมยังให้ค่ารถเดินทางกลับอีกด้วย เธอกลับมาแล้วมาเล่า ให้พระฟังตลอดหมด แต่โรคนั้นก็ยังไม่หาย พอเป็นหนักเข้า เธอได้ นิมิตว่าเธอได้พูดคำหยาบคายแก่พระ เธอได้เอาดอกไม้ธูปเทียนไป ขอขมาโทษพระ พระท่านก็ให้อโหสิกรรม แต่กว่าเธอจะรู้ตัวมันสาย เสียแล้ว นี่แหละ บาปบุญคุณโทษเป็นของมีจริง จึงไม่ควรประมาท เราประมาทแล้วยังสอนให้คนอื่นประมาทอีกด้วย กรรมใดๆ ก็ตาม เมื่อมันยังไม่ให้ผลก็ดูเหมือนไม่มี ต่อเมื่อมันให้ผลก็หมดหนทางแก้ไข นี้เรียกว่า สว่างแล้วกลับมืดบอดอีก พวกสว่างแล้วสว่างต่อไป นั้นไม่มีที่ติ โชติช่วงตลอดเวลาเลย สรุปรวมใจความแล้วว่า ศาสนานี้สอนให้กระทำ ได้น้อยได้ มากก็ทำ ถึงจะได้น้อยก็ยินดีพอใจกับการกระทำของตน เรามีมือ น้อยก็รับเอาแต่ของน้อยๆ รับเอามากเกินไปก็ไม่ได้ เรากำลังน้อย เราก็แบกก็หามเอาเท ่าที่มันแบกไหวนั่นแหละ เอามากกว ่านั้นก็ แบกไม่ไหว หลังหัก ความยินดีตามมีตามได้ ท่านบอกว่าเป็นสมบัติ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 47 อันล้ำค ่าหาประมาณมิได้ อะไรทั้งหมดก็เหมือนกัน ไม ่ว ่าธรรม ไม่ว่าของภายนอกมีน้อยแล้วไม่พอใจมักจะเสียหาย พอใจกับธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่ในตัวของเรา เช่น เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาเป็นทุกข์ด้วยกัน ทั้งนั้น แล้วเอาทุกข์นั้นมาเทียบกับทุกข์หรือสุขของเรา แล้วจะเห็นว่า ทุกข์หรือสุขของเขานั้นจะเทียบกันไม่ได้ ในเมื่อเรามีความสุข เอา ทุกข์ของเขามาเทียบกับเรา หรือในเมื่อเรามีความทุกข์ก็ดีจะเอา ความทุกข์ของเขามาเทียบกับของเราก็ไม่ได้เหมือนกัน ความสุขและ ความทุกข์ของสัตว์ที่เกิดมาย่อมมีเหมือนกัน แต่ทุกข์มากหรือทุกข์ น้อยเพราะความเข้าไปยึดถือต่างหาก เราเกิดมาอยู่ในโลกอันนี้ ทุกๆ คนจำเป็นจะต้องได้ประสบด้วยกันทั้งนั้น ผู้คิดเห็นเช่นนั้นจิตย่อม ไม่มีอคติใดๆ ในสัตว์มนุษย์ทั่วไป มีแต่ความเมตตาปรารถนาอยาก จะให้เขาเหล่านั้นได้รับแต่ความสุขถ่ายเดียว เมื่อเขาเหล่านั้นได้รับ ความสุขพ้นจากทุกข์แล้วก็พอใจอิ่มเอิบใจ เบิกบาน หรรษา หน้าตา ผ่องแผ้วอยู่เป็นสุข มันเลยกลายเป็นพรหมวิหารฌานไปในตัว นี่แหละ ความพอใจในธรรมที่มีอยู่ในตัวย่อมเกิดผลประโยชน์อย่างนี้ ฉะนั้น จึงไม่ควรดูถูกว่าเป็นสิ่งเล็กน้อย


48 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ นั่งสมาธิ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน นั่งสมาธิภาวนากัน ฟังแล้วต้องทำเรียกว่าฟังธรรม ฟังแล้ว ไม่ทำ เก็บไว้นานๆ จึงค ่อยจะทำ คิดว ่าไปถึงบ้านก ่อนเถอะจึง ค่อยทำ หรือวันหลังก่อนเถอะ ว่างเสียก่อนเถอะ โอกาสมีจึงค่อยทำ อันนั้นเรียกว่าฟังเทศน์ ไม่ใช่ฟังธรรม พูดง่ายๆ ไม่มีศัพท์มีแสง ทำคือการกระทำน ่ะซี ตัวของเราเป็นธรรมอยู ่แล้วทั้งหมด ตัว ทั้งหมดนี้เรียกว่า รูปธรรมนามธรรม แต่เราไม่ทำให้เป็นธรรม เรา ไม่ทำธรรมนั้นให้เกิดขึ้นมาในตัว เรียกว่าไม่ทำ พระธรรมเทศนาของพระองค์ เทศน์ก็เทศน์ที่กายที่ใจนี่แหละ ไปค้นดูเถิดไม่มีที่อื่น นอกจากเทศน์ที่กายกับใจนี่ทั้งนั้น จึงว่าธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ในตัวของเราแล้ว กายมีอยู่ให้พิจารณา ถึงเรื่องกาย นี่แหละเรียกว่า การกระทำ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ อาการ ๓๒ เราพูดอยู่เสมอ สวดอยู่เสมอ พูดมากเรียกว่า บ่น แต่ไม่ทำให้เห็นสักที พิจารณาให้มันเห็นธรรมซี ให้เห็นธรรมที่เกิดขึ้น ในตัวของเรา เกสาคือผม ที่ตั้งที่อยู่และที่เกิดของมันเป็นของสกปรก ยิ่งนัก แต่ก็เอามาอวดแขกเสียด้วย เขาดูคนต้องดูที่ผมก่อน ผมเป็น ประตูหน้าด่านและอวดแขกก็อวดที่ผมก่อน การพิจารณากายนี้แยกออกให้เห็นเป็นอาการ ๓๒ เพื่อไม่ให้ เป็นตัวตน เห็นเป็นแต่อาการ ๓๒ เท่านั้น แล้วอาการ ๓๒ นั้นยังให้ เห็นเป็นของสกปรกน่าพึงเกลียดอีกด้วยตามความเป็นจริงของมัน เรียกว ่าเห็นกายนี้เป็นธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าสอนให้เห็น อย่างนี้


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 49 ทำไมพระพุทธเจ้าจึงสอนให้เห็นแต่สิ่งสกปรกนัก จะไม่สอน อย่างไร ก็ของมันสกปรกอยู่แล้ว สอนตามความเป็นจริงล่ะซี่ พระองค์ ไม่เอาของเท็จมาพูด เอาของจริงมาพูด มันสกปรกตั้งแต่เกิด เกิด ก็เกิดในที่สกปรกของเหม็นเน ่า เติบโตขึ้นมาก็รับประทานแต ่ของ สกปรก อาหารการกินทุกสิ่งทุกส่วนรับประทานเข้าไปเข้าใจว่าเอร็ด อร่อย เอร็ดอร่อยอะไร เราหยิบของเหล่านั้นมาก็ยังต้องล้างมืออยู่ มันสกปรกล่ะซีจึงต้องล้าง ของเน่าของปฏิกูลทั้งนั้น อาหารที่เอามา ปรุงมาแต่งล้วนแต่ของสกปรกทั้งนั้นแหละ แต่เอาใส่ปากก็ยังต้อง เอาช้อนตักใส่ปาก แล้วค่อยๆ เคี้ยว แล้วจึงกลืนเข้าไป พระพุทธองค์สอนให้เห็นของสกปรกในตัวของเรา เพราะต้อง การให้เห็นตามเป็นจริง แล้วสอนให้เห็นทุกข์ที่มนุษย์เรายังลุ่มหลง อยู่ จมอยู่ในความสุขของกองทุกข์นั่นเอง เพื่อให้ตื่นหายจากความ หลงเข้าใจผิดอันนั้น คนไม่เห็นทุกข์ภาวนาไม่เป็นหรอก ทุกข์จนยอม สละความตายเมื่อไหร่จึงจะเห็นธรรมขึ้นมาในตัว ความสละปล่อยวาง ทั้งหมดนั่นแหละยังเหลือแต่ใจอันเดียว นั่นแหละถึงแก่นธรรมแล้ว คือตัวใจ อันนี้มันสละตายไม่ได้ มันข้องอยู่แต่เพียงกายเท่านี้ ก็เลย ไม่ลงเป็นธรรมได้ เมื่อสละกายแล้วยังเหลือแต่ใจ เห็นตัวใจได้ชัด ขึ้นมา ใจเป็นของสว่างเปิดเผยเมื่อมันไม่มีของเหล่านี้ปกปิดมันสว่าง หมด ธรรมของพระพุทธเจ้าต้องเป็นอย่างนี้ เอาล่ะ ทุกๆ คนพากันภาวนาอย่างนี้.


50 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ๕  ความเกิดกับความดับ แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ วันนี้จะเทศน์เรื่อง ความเกิดกับความดับ กัณฑ์นี้ก็เคยเทศน์ มาครั้งหนึ่งแล้ว แต่จะเทศน์ให้ฟังอีกสำนวนหนึ่ง สิ่งทั้งปวงหมดมีความเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท ่านั้น ในโลกนี้ ไม่มีอะไรอีกที่จะตั้งอยู่ถาวร พูดรวบรวมก็เรียกว่ามีแต่เกิดกับดับ ส ่วนตรงกลางสุดแล้วแต ่เรื่องที่จะบรรยาย ว ่ามันเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะทุกขเวทนา หรือสุขเวทนา หรืออุเบกขาก็แล้วแต่จะอธิบาย ให้กว้างขวางออกไป แต่เมื่อมีความเกิดขึ้นมาแล้วมันต้องมีความ ดับไปเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าท่านเทศนาธรรมะของจริง แต่คน ไม่ค่อยจะฟังของจริง ชอบปกปิดกันไว้ไม่ให้เปิดเผย ถ้าเปิดเผย ขึ้นมาแล้วอยู่ในโลกนี้ไม่สนุก เหตุนั้นจึงว่าคนที่ไปสู่สุคติน่ะมีน้อย เหลือเกิน ที่ไปสู่ทุคตินั้นมาก อุปมาเหมือนกะเขาวัวกับขนวัว ที่ไป สู่สุคติมันน้อย เปรียบเหมือนเขาวัวมี ๒ เขาเท่านั้น ส่วนที่ไปสู่ทุคติ นรกนั่นน ่ะมากมายยังกับขนวัว คิดเทียบดูกับความเป็นอยู ่ของ มนุษย์ชาวโลกทั่วๆ ไปแล้วก็น่าสมจริง อย่างทุกวันนี้ ในจิตของ คนเราที่ปรารถนาความสุขพ้นจากทุกข์ก็มีเหมือนกันแต่น้อย ส่วนที่


Click to View FlipBook Version