The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ทีมงานกรุธรรม, 2023-10-27 22:55:05

เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

Keywords: เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 51 ปรารถนาพ้นจากทุกข์แต่กลับแสวงหาทุกข์นั้นมีมาก คนที่ปรารถนา พ้นจากทุกข์จริงๆ จังๆ มีน้อยเหลือเกิน ถ้าแต่ละคนๆ คิดดูใจ ของตนคงนึกกลัวความเกิด เราได้เกิดมาแล้วทุกคน จำเป็นที่สุดที่จะ รักษาความเกิดนี่ไว้ให้บริสุทธิ์หมดจด นั่นจึงเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายก็เหมือนกัน สังขารร่างกายของเราเกิดขึ้นมาแล้วจำเป็นจะต้องใช้ให้ถูกต้อง กาลเวลาเหมาะสมแก่เหตุการณ์ ถ้าใช้ไม่ถูกก็เป็นเครื่องเดือดร้อน เป็นทุกข์ต่อไปในอนาคต ถ้าใช้ถูกก็เป็นสุขสบายต่อไป สังขารเมื่อ เกิดขึ้นมาแล้วก็จำเป็นที่จะต้องมีทุกข์มีสุข แต่สุขนั้นมีน้อยเหลือเกิน ไม่คุ้มค่าของกองทุกข์ ให้คิดดูว่าเราเกิดขึ้นมานั้นมีสุขอะไรสักอย่าง หนึ่ง หรือสักนิดหนึ่ง สุขในการทำมาหาเลี้ยงชีพเพราะเจริญรุ่งเรือง ไม่ฝืดเคือง อันนั้นเรียกว่าสุขพอสมควร แต่ทุกข์อย่างอื่นยังมีอีก ทุกๆ คนเศร้าโศกเสียใจพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทุกข์มาก ทีเดียว การเจ็บปวดก็เป็นทุกข์ ความไม่พอใจ ความคับแค้นใจแน่น อุราสารพัดทุกอย่าง ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ แต่ละ อย่างนี้มากมายเหลือเกินในเรื่องทุกข์ ความสุขน่ะมีน้อยนิดเดียว เช่น ในขณะที่นั่งอยู่นี่แหละ ได้สุขสักพักเดียวเท่านั้นแหละ เดี๋ยวก็ เมื่อยแข้งเมื่อยขา ปวดแข้งปวดขา พลิกไปพลิกมา นั่นเรียกว่า ทุกข์ เปลี่ยนอิริยาบถแต่ละครั้งๆ ได้ความสุขนิดหนึ่ง แต่ความทุกข์มาก ความทุกข์น่ะเหลือหลายเหลือที่จะพรรณนา พระพุทธเจ้าท่านเทศนาว่า เกิดขึ้นมาในโลกนี้ นอกจากทุกข์ แล้วไม่มีอะไร ทุกข์เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป ทุกข์ใหม่เกิดขึ้นมาอีก ทุกข์นี้ดับไป ทุกข์ใหม่เกิดมาอีกหมดทั้งโลก ไม่ว่ามนุษย์ สัตว์ ตลอด


52 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หมดด้วยกันทั้งนั้น ทุกข์เพราะนั่ง พอเปลี่ยนอิริยาบถ ทุกข์นั่งก็ หายไป ได้ความสุขนิดหน ่อย ที่เปลี่ยนอิริยาบถจากข้างซ้ายไป ข้างขวา เพราะมันทุกข์จึงค่อยเปลี่ยนอิริยาบถ มันทนไม่ได้เรียกว่า ทุกข์ ลุกจากนั่งไปเดิน ไปยืน สักพักเดียวก็เมื่อยแข้งเมื่อยขาอีก ลงนั่งลงนอนอีก นี่แหละท่านว่าทุกข์เกิดขึ้นแล้วดับไป ทุกข์ใหม่เกิด ขึ้นมาอีก มันเป็นอย่างนี้ไม่มีที่สิ้นที่สุด ในระยะที่เรามีชีวิตอยู่ก็ต้อง ทนทุกข์นี้ไปตลอดชีวิต ยิ่งแก่ยิ่งเฒ่าชรายิ่งเมื่อยแข้งเมื่อยขาสารพัด ทุกอย่าง จะไปไหนมาไหนก็ใช้ไม้เท้า ๓ ขาค้ำยันไป จะลุกจะนั่งก็ ต้องพยุงลุกขึ้น เกาะไม้เกาะไร่ยืนขึ้น นอนก็ต้องเกาะไม้เกาะไร่จึงค่อย ลงนอน ถ้าไม่ทำอย่างนั้นล้มตึงเลย พระพุทธเจ้าท ่านสอนอย ่างนี้ สอนให้พวกเรารู้ตัวว ่ามีทุกข์ อย่างนี้ ทุกข์เกิดขึ้นมาแล้วมันทุกข์อยู่อย่างนี้แหละ ไม่มีใครจะพ้น ได้สักคนเดียว มีอาชีพก็ทุกข์เพราะอาชีพ สมมติว ่าทำมาหากิน ร่ำรวย การหากินนั่นเขาเรียกว่าทุกข์แล้ว การแสวงหานั่นก็เป็นทุกข์ บางทีก็สบเหมาะได้ดี บางทีก็ไม่ได้ ขาดแคลนด้วยประการต่างๆ กว่าจะหามาได้มาถึงปากถึงท้องมันไม่ใช่ของง่ายๆ ครั้นมาถึงปาก ถึงท้องแล้วก็สบายนิดเดียว พอแตะถึงลิ้นและลำคอเท่านั้น ทำมา หายากแสนยาก มีรสชาตินิดเดียวเพียงที่ปลายลิ้นและลำคอเท่านั้น ลงไปแล้วก็หายไม่รู้สึกอะไรหรอก ในตอนท้ายเขาเรียกว่าถ่ายทุกข์ ก็สมจริงสมจัง เวลาถ่ายมันก็แสนทุกข์แสนลำบาก ต้องปกปิดกำบัง สารพัดทุกอย ่าง อย ่างนี้เรียกว ่าทุกข์ทั้งนั้น สิ่งอื่นๆ นอกจากนี้ ก็พิจารณาเอาเอง มากมายเหลือหลายสุดที่จะพรรณนา แต่เราไม่ค่อย พูดกันถึงทุกข์ อับอายขายขี้หน้ากลัวเขาจะเห็น กลัวคนอื่นจะรู้ ปกปิดไว้ มีพระพุทธเจ้าเท่านั้นล่ะเปิดเผยให้รู้ทั่วกันหมดทุกคน ตั้งแต่


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 53 เด็กแต่เล็กขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่คนแก่คนเฒ่า เปิดโปงหมดทุกอย่าง นี่เรียกว่าทุกข์ ในระยะที่มีความเกิดขึ้นมาที่เป็นอยู่มีชีวิตอยู่ ถึงคราวดับล่ะคราวนี้ บางคนแสนทุเรศทุรังกว่าที่จะแตกดับ กว่าทีจะตาย บางคนก็ตายง่าย สบายหน่อย ในชีวิตของคนเราก็เพียง แค่นั้นแหละ เกิดและดับ เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่ ทำบ้านทำเรือนใหญ่ โตมโหฬาร มีห้องมีหับหลายเรื่องหลายอย่าง เวลาตายแล้วมีกระดาน ๔ แผ่นเท่านั้นหมดเรื่อง เขาเอาไปเผาซ้ำอีก บ้านช่องสถานที่ต่างๆ ที่ทำไว้หรูหรา เวลาตายแล้วไม่เห็นใครเอาไปได้สักคนเดียว มีแต่บุญ และบาปเท่านั้นติดตามตัวของเราไป บุญและบาปนี้ไม่ได้หาบไม่ได้คอน ไม่หนักไม่หนาอะไร มัน หากบันดลบันดาลเกิดขึ้นเองที่ใจของคนเรา ถ้าทำชั่วก็เศร้าหมองใจ เดือดร้อนภายในใจ กลุ้มใจ ตายไปแล้วความกลุ้มใจอยู่นั้นก็ติดตาม ตัวของเราไปเรื่อยๆ เหตุนั้น พระพุทธเจ้าท่านเทศนาว่า ความชั่วอย่า ทำเสียเลยดีกว่า ทำแล้วแก้ไขไม่ได้ เช่น เราทำกรรมทำเวรอิจฉา ริษยาคนอื่นเขาอย่างนี้ ฆ่าฟันเขา เวลาตายแล้ว ความเศร้าหมอง เดือดร้อนอยู่ภายในใจอันนั้นติดตามตัวของเราไป ใครจะช่วยแก้ไข ไม่ได้ หาทนายความมาแก้ก็ไม่ได้ ผู้พิพากษาก็แก้ไม่ได้ เราเป็นผู้รับ ผลของกรรมนั้นคนเดียว บุตร ภรรยา สามีไม่ติดตามไป ความดีก็ เหมือนกัน ไม่ได้หาบไม่ได้หิ้วไม่ได้ใส่กระเป๋าขนไปด้วย แต่ความดี มันร่าเริงบันเทิงใจ อิ่มอกอิ่มใจ ทำกุศลสิ่งใดไว้แล้วเพลิดเพลินอิ่มอก อิ่มใจด้วยคุณงามความดีนั้น ไปสู่สุคติก็ไม่มีใครไปด้วยเหมือนกัน อย่างบุตรภรรยาสามีด้วยกันอย่างนี้ คนหนึ่งมีศรัทธา คนหนึ่งไม่มี ศรัทธา ชักชวนให้ทำมันก็ไม่ทำ คนไม่ทำมันก็ไม่ได้บุญ คนทำก็ได้ ต่างคนต่างได้แท้ๆ คนมีศรัทธาเต็มที่ได้เต็มที่ ความอิ่มอกอิ่มใจ


54 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ของเขาก็ได้เต็มที่เหมือนกัน เหตุนั้นจึงว่าของใครของมัน ตายไปแล้ว ไม่มีใครไปส่งหรอก ส่งกันแต่เพียงแค่กองฟอนเท่านั้น เพียงแค่ป่าช้า เท่านั้นล่ะ สมมุติว่าได้เกียรติ ได้หน้า ผู้คน ญาติโยม พี่น้อง ญาติ ทั้งหลายทั้งปวงไปมากทีเดียว แท้ที่จริงก็ไปเผากัน ไม่ใช่ไปส่งขึ้น สวรรค์ชั้นฟ้าอะไรหรอก วิมานเงินวิมานทองบนชั้นฟ้าสวรรค์ก็ไม่มี ใครไปสร้างไว้ให้ มันอุบัติบังเกิดขึ้นมาเอง เรียกว่าของทิพย์ อาหาร การกินก็ไม่มีใครตบแต่งให้ มันปรากฏขึ้นเอง เหตุฉะนั้น ความดี ความชอบและสิ่งที่เราทำเป็นของตัวแท้ๆ ไม่ใช่ของคนอื่นที่ไหน จึง ควรรีบทำไว้เสียในเมื่อเรายังมีชีวิตอยู ่ แก ่เฒ ่าชราไปแล้วทำไม ่ได้ หรือดับแล้วก็ทำไม่ได้อีกเหมือนกัน จงทำเสียเมื่อมีชีวิตอยู่ บางคนมีเงินมีทอง มีข้าวของไว้ เมื่อตายแล้วค ่อยทำบุญ ต้องการหน้า ต้องการเกียรติและชื่อเสียง ตายไปแล้วเขาทำก็ไม่ได้ เห็น เขาไม่ทำก็ไม่เห็น คนที่ทำจะได้บุญ ๓ กาล ในเมื่อเราจะทำ คิดจะทำก็อิ่มอกอิ่มใจ เป็นบุญเบื้องต้น เมื่อทำอยู่ก็เกิดปีติเพลิดเพลิน อิ่มใจ เป็นบุญเบื้องกลาง เมื่อเห็นไทยธรรมที่เราสร้างที่เราทำแล้ว ระลึกขึ้นมาเวลาใดเป็นผลอยู่ตลอดเวลา ๙ ปี ๑๐ ปี ระลึกถึงบุญ นั้นๆ อิ่มอกอิ่มใจเป็นบุญอยู่ตลอด ๓ กาล จึงว่าบุญกุศลเป็นของ ควรทำให้มาก ในเมื่อมีชีวิตอยู่ทำเสีย ตายไปแล้วไม่ทราบว่าใครจะ ทำให้ เขาทำเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่างหาก เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณไม่อยู่ในที่นั้นหรอก ตัววิญญาณไม่ทราบว่าไปไหนแล้ว ธรรมเทศนาเรื่องความเกิดกับความดับ พูดถึงเบื้องต้นเบื้อง ปลายทั้งกัณฑ์มากมาย พระพุทธเจ้าท่านเทศนา ทุกข์เป็นของควร กำหนด สมุทัยเป็นของควรละ คือความทะเยอทะยานดิ้นรนนั่นเอง


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 55 ถ้าจะถามว่า ถ้าไม่มีความทะเยอทะยานบ้านเมืองจะเจริญได้อย่างไร ขออย่าไปกลัวมันเลยว่าความทะเยอทะยานจะไม่มี มันเป็นของมันเอง หรอก ถึงจะห้ามสักปานนั้นมันก็ยังเป็นของมันอยู่ ความทะเยอทะยาน อยากมีอยากรวยมันเป็นนิสัยอยู่แล้ว แม้พระพุทธเจ้าทรงห้าม แต่ยังงั้น มันก็ยังดื้อด้านอยู่ ขอให้ทำใจของเราให้มันสงบ อย่าทะเยอทะยาน ดิ้นรน แต่ปานนั้นก็ยังทะเยอทะยานดิ้นรน รู้ตัวมันอยู่ มันยังไม่พ้น จากความทะเยอทะยาน นับประสาอะไรกับคนที่ไม่รู้ภาษา ไม่ทำภาวนา ไม่ทำสมาธิ ไม่รู้จิตของตน คนเรากลัวโลกจะฉิบหาย พระพุทธเจ้า ท่านไม่กลัวโลกฉิบหาย ท่านกลัวแต่ธรรมฉิบหายอย่างเดียว ถ้าธรรม ฉิบหายแล้วโลกนี่วุ่นวายฉิบหาย แต่นี่อาศัยธรรมมีอยู่ โลกจึงยัง ปรากฏอยู่จนเดี๋ยวนี้ ธรรมคืออะไร คือความพอดีพองาม รู้จักประมาณพอสมควร ไม ่ทะเยอทะยานดิ้นรนนั่นเอง นั่นแหละเป็นธรรม รู้จักเกิด แก ่ เจ็บ ตาย ว ่าเป็นของไม ่เที่ยงเป็นทุกข์ เมื่อพิจารณาเห็นเรื่องนี้ เป็นทุกข์ บรรดาสัตว์ทั้งหลายมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็เป็นทุกข์เหมือน กัน เพราะความเอ็นดูสัตว์ทั้งหลายและมนุษย์ทั้งปวงหมดที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ จึงสงเคราะห์ เอ็นดู เมตตาซึ่งกันและกัน อันนี้แหละเป็นธรรม ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ โลกก็จะวุ่นวายเดือดร้อน ฉิบหายหมด นี่มาพูดเฉยๆ ว่า กลัวบ้านเมืองจะไม่เจริญ ให้ภาวนา เป็นไปเสียก่อนจึงจะรู้เรื่องว่า ความเจริญคืออะไร ความเสื่อมคือ อะไร มันเกิดจากอะไรกันแน่ นี่อธิบายถึงเรื่องธรรม ความเกิดกับ ความดับขอยุติเพียงแค่นี้


56 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ นั่งสมาธิ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน ฟังเทศน์แล้วทำตาม ท่านเรียกว่าฟังธรรม ฟังเทศน์เฉยๆ แล้ว ก็ไม่ทำตาม เรียกว่าฟังเทศน์ ได้ประโยชน์น้อย ฟังแล้วทดลองทำ ตามดูได้ประโยชน์มาก พระพุทธเจ้าท่านสอนให้กระทำ ไม่ได้สอน ให้ฟังเฉยๆ พระพุทธเจ้าท่านดับขันธ์ปรินิพพานล่วงเลยไปนานแล้ว พวกเราไปจำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาอวดอ้างกันว ่าได้เท ่านั้น เท่านี้อะไรต่างๆ ได้นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอกได้ประโยค ๕ ประโยค ๖ เอามาอวดอ้างกัน แต่การทำไม่มี ผลที่สุดผู้นั้นก็ได้แต่ คัมภีร์เฉยๆ พระพุทธเจ้าท่านว่า ตุจโฉโปฐิละ คือ คัมภีร์เปล่าๆ เหมือนกับคนเลี้ยงวัวไม่ได้กินนมวัว ผู้ที่เขาไม่ได้เลี้ยงแต่เขาได้กิน นมวัว เพราะเขาฟังแล้วทำตาม เราฟังเทศน์แล้วจึงพากันทำตาม แต่การกระทำไม่ใช่ทำกันง่ายๆ พอทำไปนิดๆ หน่อยๆ พอ เห็นมันยากลำบากแล้วก็เลยละเลิกเสีย ของดีหากทำง่ายมันก็ดีหมด ทั้งบ้านทั้งเมืองน่ะซี มันของทำยาก ยากนั่นแหละมันจึงมีราคาสูง ท ่านที่ฟังเทศน์ได้สำเร็จมรรคผลนิพพานในเวลาขณะนั้นน ่ะ ท ่าน ทำมาแต ่ก ่อนแต ่เก ่ามากมายแล้ว เหมือนกับผลไม้นี่แหละ มัน สุกงอมอยู่แล้วไปสอยมันประเดี๋ยวมันก็หล่น เราจะไปเอาอย่างนั้น ไม่ได้หรอก ตัวเราไม่ทราบว่ามันแก่มาแต่ไหนแล้ว ใจของเรามัน แก่เข้าไปแค่ไหนแล้ว ดูใจของเราก็รู้เรื่อง มันฝักใฝ่จริงๆ ไหมใน ธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า มันยินดีพอใจจริงๆ ไหม คนที่ ฝักใฝ ่ในธรรมะจริงๆ จังๆ ท ่านใฝ ่หาจนถึงที่สุด พอมีท ่านผู้รู้ ไปเทศน์ไปอธิบายให้ฟังมันก็เกิดความรู้ขึ้นมา อ๋อ ! นี่หนอ ลง บางอ้อเลย เรายังไม่ฝักใฝ่อย่างท่าน เราอยากจะฟัง อยากจะได้


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 57 ความรู้ประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น มันไม่ได้หรอก ความอยากได้ความรู้ นั่นมันเป็นตัณหาไม่ใช่หรือ อยากได้มันไม่ได้หรอก เวลามันจะได้ มัน ปล่อยวางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง นั่นแหละมันจึงจะได้ขึ้นมา เหตุนั้นจึงว่าการทำน่ะเป็นการดีมาก ได้อดทนต่อสู้อุปสรรค ต ่างๆ นานา พระท ่านเที่ยวธุดงค์รุกขมูล ท ่าผจญภัยสารพัดทุก อย ่างก็ยังแค ่นั้น นับประสาอะไรกับพวกเรา ญาติโยมอยู ่บ้านอยู ่ เรือน มีแต่ความสุขสบายในอาหารการกินทุกสิ่ง เพลินสนุกอยู่กับ สิ่งหรูหราทุกประการ มันยากที่จะพ้นพานอันนั้นไปได้ เวลานี้ลอง ทำดู มันจะเห็นการต ่อสู้คือเวทนา ความเกิดดับ เมื่อเวทนาเกิด ขึ้นมาจากจิต มันก็ดับลงที่จิตนั่นเอง มันไม่ดับในที่อื่น สิ่งทั้งปวง เกิดที่ไหนต้องดับที่นั่น ธรรมะเป็นของจริง มันเกิดที่นั่น ดับที่นั่น ก็ได้ชื่อว่าเป็นธรรมะเป็นของจริงนั่นเอง เห็นจิตที่ปล่อยวางความ เกิดดับ ไม ่มีอะไรเหลือ จิตว ่างเปล ่า ไม ่อุปาทานยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งต่างๆ คิดดูว่า จิตของเราถ้ายึดสิ่งใดแล้วสิ่งนั้นต้องหนักที่สุด ทุกข์ก็ทุกข์มาก เช ่น เวทนาเกิดขึ้นที่ตัวของเรา ถ้ายึดเอาเวทนา มันยิ่งเจ็บหนักเข้า เวทนายิ่งมากเข้าทุกที จิตมันอันเดียว ไม่ใช่จิตมาก ไม่ใช่จิตหลายดวง ถ้าปล่อย เวทนา แล้วเอาความสบาย เบิกบาน ความปล่อยวางอันนั้นน่ะเอา เป็นอารมณ์ มันก็ว่างน่ะซี มันก็ไม่มีอะไรน่ะซี ความว่างมันอยู่ระหว่าง กลางความสุขกับความทุกข์ ตรงกลางที่ไม่สุขไม่ทุกข์นั่นแหละ ตรง ว่าง เอาไว้ตรงนั้นแหละ ลองดูซี ให้จิตมันแน่วแน่เต็มที่แล้วมันไม่ รู้สึกหรอก เวทนาไม่มี จิตกลายเป็นใจ ใจคือของกลาง ท่ามกลาง ของสิ่งทั้งปวงหมด ไม่มีดีมีชั่ว ไม่มีหยาบมีละเอียด ไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบุญมีบาป ตัวใจแท้ต้องเป็นอย่างนั้น.


58 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 59 ๖  ธาตุ ๔ แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ วันนี้จะเทศน์เรื่อง ธาตุ ให้ฟัง พื้นฐานของคนเราทั้งหมดมัน เกิดจากธาตุ โลกทั้งหมดที่ตั้งขึ้นมาก็เกิดจากธาตุ เหตุฉะนั้นจึงจำเป็น ที่สุดที่จะพูดถึงเรื่องพื้นฐาน แล้วจึงค่อยพูดถึงเรื่องอื่นต่อไป ถ้าหาก ไม่รู้จักพื้นฐานเสียก่อนแล้วก็ลืมตัวของเรา ฟังเทศน์อยู่นี่ก็ไม่ทราบว่า จะเอาอะไรมาเป็นหลัก ปฏิบัติก็ไม่ทราบว่าจะเอาอะไรมาเป็นหลัก มันต้องจับหลักฐานได้เสียก่อน คิดดู มนุษย์ทั้งหลายก็ดี โลกทั้งปวง หมดที่ตั้งขึ้นก็ดี มันต้องตั้งขึ้นมาจากธาตุ ๔ ธาตุ ๔ น ่ะ เป็น หลักฐานของธาตุทั้งหมด พูดอย่างนี้บางคนอาจจะไม่เข้าใจก็ได้ ที่พวกเขาพูดว่า คนๆ หรือชายหญิงก็ดี พ่อตาแม่ยายก็ดี เป็นคน ให้ทิ้งคำว่า ‘เป็นคน’ เสียก่อน พูดของจริงคือว่า ธาตุ ๔ เป็นหญิงเป็นชาย เป็นผู้เป็นคน เป็นพระเป็นสงฆ์ ทั้งหมด พืช ต้นไม้ ภูเขา สารพัดทุกอย่าง ทุก สรรพสิ่งทั้งปวงหมด มันต้องมีธาตุ ๔ ออกจากธาตุ ๔ ทั้งนั้น ธาตุ ๔ นี้ตั้งขึ้นเป็นหลักแล้วจึงค่อยแปรสภาพไปตามเรื่อง มีรูปร่าง ลักษณะหน้าตาต ่างกันที่เรียกว ่ารูปพรรณสัณฐานต ่างกัน มีอาชีพ


60 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ต่างกัน มีความเป็นอยู่ต่างกัน ให้เข้าใจว่าธาตุ ๔ เป็นประธานของ ทุกสิ่งทั้งหมด ท่านอธิบายธาตุ ๔ นี้ไว้กว้างขวางมาก ที่ท่านอธิบายนั้นก็ไม่ใช่ อื่นไกล คือของเป็นจริงนั่นเอง ท่านมาสมมติบัญญัติขึ้นเพื่อพูดให้ ผู้ฟังเข้าใจ ถ้าหากว่าท่านไม่สมมติบัญญัติ มันก็เป็นสภาพตามเดิม ของมันอยู่อย่างนั้นแหละ ท่านมาเรียกก็เลยเป็นเรื่องยืดยาวไป อย่างตาก็เรียกว่าธาตุ หูก็เรียกว่าธาตุ จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ เรียกว่าธาตุ ตาเห็นรูปเรียกว่าสัมผัส การสัมผัสทางตาก็เรียกว่าธาตุ หูได้ยินเสียง เสียงนั้นก็เป็นธาตุเหมือนกัน การได้ยินคือสัมผัสรู้ขึ้นมา ก็เรียกว่าธาตุเหมือนกัน จมูกดมกลิ่น จมูกก็เป็นธาตุ กลิ่นก็เป็นธาตุ ความสัมผัสรู้กลิ่นก็เรียกว่าธาตุ กายและโผฏฐัพพะต่างก็เป็นธาตุ ความสัมผัสรู้สึกตัวทางกายก็เรียกว่าธาตุ จิตและธรรมารมณ์ก็เป็น ธาตุ ความสัมผัสรู้ทางใจก็เรียกว่าธาตุ เลยยืดยาวออกไปเป็นธาตุ ๑๘ อันนี้เป็นของจริง ท่านพูดตามหลักธรรมชาติของมัน แต่มนุษย์ ชาวโลกยากที่จะจดจำกันได้ จึงสมมติว่าคน ว่าสัตว์ ว่าชาย ว่าหญิง บิดามารดา แต่เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว เห็นแจ้งตามความจริง จึง ได้บัญญัติของเหล่านั้นขึ้น เรียกว่า ธาตุ เมื่อคนทั้งหลายไม่เข้าใจ พระองค์จึงเรียกตามสมมุติของโลก จึงว่าสิ่งทั้งปวงหมดจะพูดก็เป็น อยู่อย่างนั้น ไม่พูดก็เป็นอยู่อย่างนั้น เมื่อเราจะทำสมาธิภาวนา ให้ทิ้ง สมมุติบัญญัติเสียก่อน จิตจะเข้าถึงสมาธิภาวนา แล้วสมมุติบัญญัติ เหล่านั้นเลยไม่มีชื่อ นั่นแหละเป็นของจริง ของไม่มีชื่อนั่นแหละเป็น ของจริง ของมีชื่อนั้นเป็นของปลอม ตัวของเรานี้ให้ทิ้งเสีย ถึงว่ามีตน มีตัวอยู่ก็ทิ้งเสียก่อนในการที่จะพิจารณาธาตุ ถ้าไม่อย่างนั้นไม่เห็น


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 61 ถือเป็นตนเป็นตัว จึงไม่เห็นธาตุ อย่าให้มีตัวของเราคือ ไม่มีในจิต นั่นเอง หมดธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีในจิตจึงจะเข้าถึงของจริง ธาตุทั้ง ๔ นี้เมื่อยังมีอยู่ภายในกายของเรา และคนเรายังสมมุติ อยู่ตราบใดก็จำเป็นต้องอาศัยธาตุ ๔ ภายนอกกายอันนี้มาสนับสนุน จึงจะอยู่ได้ ถ้าไม่มีธาตุ ๔ ของภายนอกมาสนับสนุนแล้ว ก็จะอยู่ไม่ได้ ต้องตาย อย่างน้อยก็อยู่ทนทุกข์ทรมาน ดังจะเห็นได้ที่พระพุทธเจ้า ท่านทรงแสดง ธาตุปัจจเวกขณะ ให้พิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ ให้เห็นเป็น สักแต่ว่าธาตุ ไม่ใช่สัตว์บุคคลอะไรทั้งหมด คือผ้าผ่อนเครื่องนุ่มห่ม ปกปิดร่างกายอันนี้ก็ปกปิดธาตุ ๔ เพื่อปกป้องธาตุ ๔ ภายใน กัน เย็นร้อน หนาวเย็น และสัตว์ร้ายต่างๆ มีริ้น เหลือบ ยุง เป็นต้น แล้วก็เก่าชำรุด เปื่อย เน่าไปเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ของเก่า อาหารการบริโภคทุกประการ เป็นต้นว่า ข้าว ขนม หมากไม้ ผลไม้ และผักต่างๆ ที่เราบริโภคเข้าไปนี้ ก็เกิดจากธาตุ มิใช่สัตว์ บุคคลเราเขา ของเหล่านี้หาชีวิตจิตใจมิได้ เป็นแต่เอาธาตุภายนอกมา พอกธาตุภายใน หรือฉาบทาหรือยาสิ่งที่ธาตุภายในขาดตกบกพร่อง ไว้เท่านั้น ที่อยู่อาศัยเสนาสนะทั้งปวง เป็นต้นว่า บ้าน ตึก เรือน ๒ ชั้น ๓ ชั้น ทำด้วยอิฐและด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือซีเมนต์ หรือด้วยแฝกหรือจาก ล้วนแล้วแต่เกิดจากธาตุดิน คนมาประดิษฐ์ คิดปรุงแต่งให้เป็นเสนาสนะที่อยู่อาศัยขึ้นมา ของเหล่านี้ก็เป็นสักแต่ ว่าธาตุ ๔ มิใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาอะไร ไม่มีชีวิตจิตใจอะไร มนุษย์ปรุงแต่งให้เป็นที่อยู่อาศัยของธาตุภายใน (คือคนเรา) ให้อยู่ได้ ชั่วคราวตลอดอายุของธาตุภายนอกและธาตุภายในเท่านั้น


62 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หยูกยาเภสัชสำหรับแก้ไข้ต ่างๆ อันจะพึงเกิดมีแก ่ร ่างกาย อันนี้ ร่างกายอันนี้ (คือธาตุ ๔) ภายในวิการ วิปริต แปรปรวนไม่ ปกติ ซึ่งเกิดจากธาตุอันใดอันหนึ่งขาดเหลือไม่สม่ำเสมอกันเกิดขึ้น จะต้องใช้ยาภายนอก (คือธาตุภายนอก) มาบำรุงเพิ่มพูนช่วยเหลือ ยานี้ก็เป็นสักแต่ว่าธาตุ ๔ (คือเกิดจากธาตุ ๔) มิใช่สัตว์บุคคลตัวตน เราเขาอะไรทั้งสิ้น เมื่อธาตุ ๔ ภายในขาดเหลือสิ่งใดบางอย ่างก็ จำเป็นจะต้องอาศัยภายนอก (คือธาตุ ๔) บำบัดช่วยเหลือ คนเรานั่นไม่ใช่คนดอก ที่แท้จริงเป็นกองธาตุต่างหาก ถ้าจะ อุปมาอุปไมยคนเราเหมือนกับก้อนดินก้อนหนึ่ง กลิ้งไปบนพื้นแผ่น ดินนี่แหละไปแทบทุกแห ่งหน ก้อนดินไม ่ใช ่อะไรหรอก คนเรานี้ ต่างหาก ก้อนดินทั้งก้อน ถ้าเห็นเป็นก้อนดินแล้วคนเราจะไม่เกิด ทิฏฐิมานะ จะไม่ถือเนื้อถือตัวว่าตนเป็นใหญ่เป็นโต หรือว่าตนเป็น น้อยเป็นหนุ่ม หรืออาจจะเป็นเด็กเป็นเล็ก เป็นสาวอะไรต่างๆ ไม่ ถือทั้งนั้น ความหนุ่มไม่มี ความสาวไม่มี ใหญ่โตไม่มี เด็กเล็กไม่มี เสมอภาคกันหมด พระพุทธเจ้าท ่านสอนให้เราพิจารณาอย ่างนั้น จึงจะเห็นตามเป็นจริง ถ้าไม่เห็นอย่างนั้น ยังถือตัวถือตนอยู่ ถือเขา ถือเราอยู่ ความโกรธ ความเกลียด ความรัก ความชัง เกิดขึ้นมา มันตัวเกลียด ตัวโกรธ ตัวชังนั่นแหละ ที่ตัวใจมันเข้าไปถือ มันไม่ เห็นตามเป็นจริง ถ้าเห็นตามเป็นจริงแล้วจะไม่มีถือตัวถือตนกันเลย นั่นแหละเป็นธรรม ถือทิฏฐิมานะ ถือเขาถือเรา อหังการ มมังการ ไม่เป็นธรรมเลย ธรรมแท้ต้องเห็นเป็นสักแต่ว่าธาตุ ดังได้อธิบายมา แล้วข้างต้น ท่านว่าอาหารการกินก็ดี ผ้าผ่อนเครื่องนุ่มห่มก็ดี ที่อยู่ ที่นอนที่อาศัยก็ดี หยูกยาเภสัชต่างๆ ก็ดี ปัจจัยทั้ง ๔ นี้เป็นเพียง สักแต่ว่าธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลตัวตนเราเขา สุญโญ เป็นของ ว่างเปล่ามันก็ว่างน่ะซี ไม่มีตนมีตัวไม่ใช่ตน


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 63 มนุษย์เราอยู่ด้วยกันนี่ก็เหมือนกัน ถ้าพิจารณาเห็นเป็นสักแต่ ว่าธาตุ คือว่างจากตัวตนเสีย มันก็สบาย อยู่กันด้วยความสุขสงบ ไม่อิจฉาริษยา ไม่เบียดสีซึ่งกันและกัน ธาตุมันจะเบียดสีอะไรกัน ต่างตนต่างอยู่ ไม่มีฆ่ามีแกงกัน ไม่มีทุบตีต่อยกัน ไม่เห็นมีอะไร ไม่เห็นเจ็บเห็นปวด มันจะแตกจะดับ มันก็แปรสภาพสลายไปเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม อย่างเดิม เมื่อจะเกิดอีกก็เอา ดิน น้ำ ไฟ ลม ของเก ่านั้นมาเกิดอีก แท้ที่จริงมันเป็นธาตุอยู่แล้ว แต่เราพิจารณา ไม่เห็นต่างหาก ตอนนั้นจะว่าปัญญาของเราไม่มี หรือเราพิจารณา ไม่เป็นก็ใช่ คือมันเป็นธาตุอยู่แล้ว แต่เราไม่เห็นมันเป็นธาตุ เรียกว่า พิจารณาไม่เป็น พิจารณาไม่ถูก เราไม่เห็นเป็นธาตุ ความที่ไม่เห็น นั้นแหละจึงเรียกว่าภาวนาไม่เป็น มันยากตรงนั้นแหละ ก็ไม่ทราบว่า จะไปสอนอย่างไรกันอีก ความจริงมันเป็นจริงอยู่แล้ว แต่ไม่เห็น ตามเป็นจริงของมันต ่างหาก เหตุฉะนั้นจึงว่า เบื้องต้นที่จะให้เกิด ความรู้แจ้งเห็นชัด อย่าไปทิ้งสมาธิภาวนา หัดสมาธิให้ใจแน่วแน่ เต็มที่เสียก่อนจึงค่อยพิจารณา ให้พิจารณาอานาปานสติจนจิตมัน ลืมสิ่งทั้งหมด จนยังเหลือแต่อานาปานสติอย่างเดียว มันจึงจะถือ อานาปานสติต่อจากนั้นมันจะค่อยพิจารณาของมันเอง เมื่อทำสมาธิ ภาวนาแน่วแน่เต็มที่อย่างที่ว่าแล้ว มันจะไปไหนของมัน มีอยู่ในตัว ของเรานี้ทั้งหมดเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว พระพุทธองค์ทรงเทศนา ว่า ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺาย ทฏฺ€พฺพํมันเป็นจริงอย่างไร เห็นตาม เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อหัดสมาธิภาวนาแน่วแน่เต็มที่แล้ว มันเห็นจริง ของมันเองหรอก อย่าไปเดือดร้อนกับมันเลย เรื่องพิจารณากลัวจะ ไม่เห็นอย่างงั้นอย่างงี้ โอ๊ย อย่าไปกังวลเกี่ยวข้องมันเลย ไม่ได้เป็นอยู่ ที่อื่นดอก ชัดขึ้นมาในที่นี้เลยทีเดียว เอาล่ะเท่านั้นล่ะ


64 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ นั่งสมาธิ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน พิจารณาธาตุดังที่ว ่ามานี้ บางคนเพ ่งพิจารณาให้กายนี่เป็น ธาตุทั้งหมด พอจิตรวมลงเห็นเป็นก้อนดินทั้งก้อนก็มี พิจารณา ให้เห็นเป็นธาตุน้ำเลยกลายเป็นน้ำทั้งหมดก็มี พิจารณาธาตุไฟธาตุ ลมก็เหมือนกัน อาการเช่นนั้นเรียกว่า ปฏิภาค มันเกิดปฏิภาคนิมิต อยู่ในพวกฌาน ก็ดีอยู่ เป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องการเช่นนั้น แต่เป็น ประโยชน์ผู้ต้องการสมาธิเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มันจะเห็นมันก็เห็น ด้วยตนเองคนอื่นก็ไม ่รู้ด้วย และเมื่อมันจะเป็น มันก็ไม ่ได้ตั้งใจ จะให้เป็น มันเกิดขึ้นมาเอง จะเรียกว่าสัญญาก็ถูก จิตมันจะสงบ ลงพักหนึ่งเสียก่อน แล้วจะเกิด เพราะเราไปเพ่งมัน มันจึงจะเกิด ที่ว่าเกิดสัญญาเพราะของเปื ่อยเน่านั้น เราเคยเห็นมาแล้วแต่ก่อน ที่ว ่าเห็นด้วยปฏิภาคนั้น เพราะจิตเราสงบลืมสัญญาอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด แล้วจึงเกิดเห็น เห็นอื่นๆ ก็เหมือนกัน ปฏิภาคนิมิตนี้ คนอยากจะให้เป็นเหลือเกิน มันสนุกสนาน เพลิดเพลิน บางครั้งครั้นเห็นแล้วก็เบื่อหน่าย สะอิดสะเอียนเกลียดชัง แม้แต่อยู่บ้านอยู่เรือนกับลูกกับเต้ากับผัวกับเมีย ก็เบื่อหน่ายหมด แต่เบื่อบางครั้งบางคราวเท่านั้น ทีหลังกลับเป็นอย่างเดิมอีก เห็นรูป สวยสดงดงาม รูปดิบรูปดีอะไรต่างๆ มันก็กลับชอบ กลับรักขึ้นมาอีก สู้เราพิจารณาตามความเป็นจริงนี้ไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า มันเป็นจริงอย่างไร ให้เห็นมันตามเป็นจริงอย่างนั้น มันจะชัดเจน ดีกว่า ไม่ต้องเกิดปฏิภาค เวลายืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถใดๆ ก็ให้ เห็นเกิด แก ่ เจ็บ ตาย อยู ่อย ่างนั้น ตามความเป็นจริงของมัน ตลอดกาลก็แล้วกัน พิจารณาปฏิภาคมิใช่มันจะได้อยู่เสมอ พิจารณา


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 65 อย่างว่านี้ได้ทุกอิริยาบถ ง่ายดีและของจริงด้วย เวลาร่างกายอันนี้ มันจะแตกจะดับจริงๆ เราก็ไม่ต้องหวั่นไหว เพราะเห็นตามความ เป็นจริงแล้วทุกประการ ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น เวลาจะแตกจะดับมัน ไม่เป็นดอก เป็นแต่เวลาปกติดีๆ นี้แหละ จึงว่ามันไม่ชัดเหมือนกับ สมาธิภาวนาหรอก ถ้าเห็นจริงอย่างนั้นแล้วมันเต็มตื้นในตัวของเรา เห็นด้วยปฏิภาคนิมิตหรือด้วย ฌาน เห็นหน้าเดียว คือมอง แต่ภายใน ถึงจะเห็นด้วยตาเนื้อ แต่มันเห็นด้วยใจอย่างเดียว เห็น ด้วยปัญญาคือเห็นด้วยตานอกและตาใน คือด้วยการพิจารณา เช่น ร่างกายของคนเราพิจารณาเห็นชัดด้วยใจว่าเป็นทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายอย่างนั้นจริง หนีไม่พ้นสักคนเดียว แล้วก็เบื่อหน่ายเห็นโทษ ตนเกินไป หมายความว่าพิจารณาให้เห็นโทษก็ได้ ให้เบื่อหน่ายก็ได้ ให้เห็นคุณก็ได้ ฌานเป็นเครื่องเล ่นเครื่องอยู ่ของพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย ในเมื่อยังมีชีวิตอยู ่ เห็นด้วยการพิจารณาคือด้วยสมาธิเป็นเครื่อง ตัดตัณหา อุปาทาน ตัดภพ ตัดชาติ อุคคหะและปฏิภาคนิมิต ภวังคบาตร ภวังคจลนะ และภวังคุปัจเฉทะ เหล่านี้เป็นฌานทั้งนั้น ส ่วนขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธินั้นเป็นสมาธิ โดยส่วนเดียว วิธีใช้มีนัยดังได้อธิบายมาแล้ว เอ้า นั่งสมาธิกัน.


66 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 67 ๗ อายตนะ ๖ (ดับไฟนรก) แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ วันพระที่แล้วได้พูดถึงเรื่องธาตุ ๔ ซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีของธาตุ ทั้งหลาย คราวนี้จะพูดถึงเรื่องอายตนะ ๖ อายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ออกมาจาก ธาตุ ๔ นั่นแหละ ถ้าไม่มีธาตุ ๔ เป็นที่ตั้งอายตนะ ๖ อายตนะ ๖ ก็ไม่มีเหมือนกัน ไม่ทราบจะไปตั้งไว้ตรงไหน ธาตุ ๔ เป็นตัวตั้งของ สรรพวัตถุทั้งปวง ไม ่สามารถที่จะทำอะไรได้ คราวนี้อายตนะ ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันแยกออกไปจากธาตุ ๔ ที่จะเกิดกิเลส เพราะอายตนะ ๖ ธาตุ ๔ ไม่เกิดดอก อายตนะเป็นบ่อเกิดของกิเลส ทั้งปวง กิเลสเกิดขึ้นมาแล้วความร้อนก็เกิดขึ้น ความร้อนของกิเลส นั้นได้ชื่อว่า ไฟนรก ความเย็นไม่มีกิเลสได้ชื่อว่า สวรรค์ นรกและ สวรรค์เกิดขึ้นที่จิตนี้ทั้งนั้น ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท ่านเทศนาเรื่อง อายตนะ ๖ นี้ให้ชฎิลทั้ง ๓ พี่น้องผู้บูชาไฟว่าเป็นของประเสริฐยิ่ง ตายแล้วอาจสามารถไปเกิดในสวรรค์ได้


68 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ชฎิล ๓ พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ ตั้งอาศรมอยู ่ริมแม ่น้ำเนรัญชราโดยลำดับ พี่ชายใหญ ่มีบริวาร ๕๐๐ คน น้องคนที่ ๒ และที่ ๓ มีบริวาร ๓๐๐ และ ๒๐๐ พากัน บูชาไฟเป็นกิจวัตร เห็นว่าไฟเป็นของประเสริฐเลิศยิ่ง มีสิ่งของอันใด ที่นิยมว่าเป็นของดิบดี เป็นต้นว่า ขนม นม เนย เอาไปบูชาไฟหมด ถือว่าเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว มองเห็นอุปนิสัยว่า ชฎิล ๓ พี่น้องนี้มีนิสัยวาสนาจะสามารถบรรลุ มรรคผลนิพพานได้ พระองค์จึงได้เสด็จไปโปรดทรมานด้วยประการ ต่างๆ ผลที่สุดก็อ่อนน้อมยอมฟังพระธรรมเทศนา พระองค์จึงเทศนาเรื่องไฟที่ชฎิลบูชาให้เข้ากับอายตนะ ๖ ในตัวของเรานี้แหละให้ฟัง ไม่ได้ไปเอาไฟที่อื่น เอาความร้อนที่มัน เกิดขึ้นภายในใจ คือ ตาก็เป็นของร้อน รูปก็เป็นของร้อน วิญญาณ อาศัยสัมผัสตาก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันใดเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี อันนั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ เพราะความเกิด ความเจ็บ และความตาย เพราะ ความโศก ร่ำไรรำพัน เพราะความทุกข์และความเสียใจ เรากล่าวว่า เป็นของร้อน พระพุทธองค์ท่านทรงเทศนาถึง หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ในทำนองเดียวกันนี้ แต่ละอย่างเป็นของร้อน พระอริยสาวกผู้ได้ สดับแล้วย่อมเบื่อหน่ายในอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเบื่อหน่าย ก็พ้นแล้วและคลายจากความติดในอายตนะเหล่านั้น เกิดความรู้ขึ้น ในใจว่า เราพ้นแล้วจากความติดในอายตนะเหล่านั้น แล้วก็รู้ว่าเรา


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 69 พ้นแล้ว เป็นอันจบพรหมจรรย์ ที่จะประพฤติเพื่อความพ้นจากทุกข์ ไม่มีอีกแล้ว ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นว่า สิ่งใดเป็นของร้อนสิ่งนั้นเป็น นรก สิ่งใดเป็นของเย็นสิ่งนั้นเป็นสวรรค์ เมื่อพระพุทธเจ้าท่านทรง แสดงว่า อายตนะภายในทั้ง ๖ ซึ่งมีอยู่ในตัวของเรานี้ทั้งนั้นเป็นของ ร้อน อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้นก็เป็นของร้อน อายตนะภายใน กับอายตนะภายนอกกระทบกันเกิดความรู้สึกขึ้น แม้อันนั้นก็เป็น ของร้อนแล้ว เมื่อทั้ง ๓ อย่างเป็นของร้อน มันก็เป็นนรกไปหมดทั้ง ตัวล่ะซี่ คนมีอายตนะทุกๆ คน มันเดือดร้อนด้วยไฟซึ่งเกิดจากราคะ โทสะ โมหะ สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ จิปาถะ ล้วนแล้วแต่เป็นไฟนรก เมื่อสิ่งแวดล้อมในตัวของเรานี้ล้วนแต ่เป็นของร้อน คนเรา ก็ได้ชื่อว ่าเป็นนรกไปหมดทั้งตัว มันจะมีดีที่ไหน เกิดมาเป็นคน สู้สัตว์เดรัจฉานบางพวกไม่ได้ ซึ่งมีอายตนะไม่ครบเหมือนมนุษย์ เช่น งู เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่า เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ดี นักหนา มันก็เป็นของไม่จริงล่ะซี่ เป็นของจริง ถ้าไม่จริงพระพุทธเจ้า ไม่ตรัสเทศนาไว้ แต่คนไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้า ตรัสเทศนาไว้ต่างหาก เกิดมาเป็นมนุษย์ไม่ดีอย่างไร เป็นมนุษย์แล้ว จะทำอะไรก็ได้ทุกอย่าง เป็นเจ้าเป็นนาย เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็น พระเจ้าจักรพรรดิราช แม้เป็นพระพุทธเจ้าก็ต้องเกิดมาเป็นมนุษย์ นี้ก่อนจึงจะเป็นได้ นอกจากเป็นมนุษย์แล้วเป็นสิ่งอื่นไม่ได้เด็ดขาด จะไม่ดีอย่างไร แล้วเป็นมนุษย์นี้ธรรมชาติสร้างสรรค์เครื่องใช้มาให้ ครบมูลบริบูรณ์ทุกอย่าง แถมยังสร้างอะไหล่มาไว้ให้อีกด้วย เพื่อกัน


70 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ สึกหรอก เช่น ตาและหู เพราะเป็นของจำเป็นที่เกี่ยวเนื่องถึงของ ภายนอก สร้างมาไว้ ๒ อัน เมื่ออันหนึ่งชำรุดแล้วก็จะได้ใช้อีกอันหนึ่ง แทนทันที ถ้าไม่ชำรุดก็ใช้ควบคู่กันไปก็ไม่ขัดข้อง ยิ่งสะดวกใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าท่านเทศนาว่า อายตนะทั้ง ๖ เป็นไฟนั้น ท่าน เทศนาให้ชฎิลทั้งพันผู้มีนิสัยวาสนาแก ่กล้าฟังต ่างหาก แล้วก็ให้ เข้ากับความนิยมของท ่านเหล ่านั้น ที่นิยมว ่าการบูชาไฟเป็นของดี สามารถไปเกิดในสวรรค์ได้ แล้วก็เทศนาเอาไฟในตัวขึ้นมาอธิบาย สามารถทำลายจิตใจของบุคคลให้ตกนรกได้ เทียบกับไฟภายนอก ซึ่งสามารถไหม้สรรพสิ่งทั้งปวงให้ย ่อยยับไปได้ แม้แต ่ตัวของเรา ก็ไม ่เว้นถ้ารักษาไม ่ดี ไฟภายนอกไม ่รู้จักคุณและโทษอะไรทั้งสิ้น ไฟภายในก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ทำให้ไฟภายในเกิดขึ้น (คือจิตใจ) ย่อม ทำให้ตกนรกได้เหมือนกัน แต่ผู้ที่มีความสามารถหรือเห็นโทษกลัว ตกนรกแล้ว จะนำมาพิจารณาอย่างชฎิลทั้งพันก็ได้ไม่ห้าม เพราะ ธรรมะนี้พระพุทธเจ้าท ่านทรงแสดงไว้เป็นของสาธารณะแก ่ชน ทั่วไป ใครจะนำมาพิจารณาอย่างไรก็ได้ แล้วแต่บุญบารมีของใครจะ สามารถพิจารณาได้มากน้อยเท่าไรก็ตามใจ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่า อายตนะภายในมีตาเป็นต้นก็เป็น ไฟ อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้นก็เป็นไฟ อายตนะภายในและ ภายนอกกระทบกัน เช่น ตากระทบกับรูป เกิดความรู้สึกขึ้น ก็เป็น ไฟทั้งนั้น ตกลงเรากระดิกตัวไม่ได้ ล้วนแต่ไฟทั้งสิ้น ตัวอย่างนั้น ผู้เขียนก็บอกว่า คนเราตกนรกอยู่ตลอดเวลาน่ะซี แต่เหตุใดคนเรา จึงไม่เดือดร้อน อยู่มาแต่ไหนแต่ไรมาไม่เห็นใครบ่นว่าตนตกนรก สักคนเดียว


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 71 ข้อนั้นอุปมาเหมือนปลาเกิดอยู ่ในบ ่อน้ำร้อน ว่ายน้ำดำผุด หากินสนุกสนานอยู่ตามเรื่องของมัน ไม่เห็นมีความเดือดร้อนอะไร ต่อเมื่อมีคนเอาไปปล่อยในน้ำจืดปลานั้นจึงจะเดือดร้อน บางทีถึง แก่ความตายก็เป็นได้ นี่ก็ฉันเดียวกัน คนไม่รู้จักของร้อน เมื่อความ ร้อนยังไม่รุนแรงก็สำคัญว่าอุ่นดีอยู่ฉันใด บุคคลยังหลงมัวเมาอยู่ ในกามคุณ ๕ หนุ่มสาวเห็นรูปสวยๆ ก็ชอบใจอยากได้มาเป็นของตัว เข้าใจว่ารูปนั้นเป็นเครื่องอบอุ่นชื่นใจ เมื่อรูปนั้นแปรปวนหรือรูปนั้น ห่างเหิน รูปนั้นไม่มีอยู่ในที่นั้น ก็เป็นทุกข์กลุ้มใจ เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ดิ้นรนแสนสาหัส เพราะราคะ ความกำหนัดรักใคร ่ ย้อมใจเป็นต้นเหตุ ท่านจึงว่าราคะเป็นไฟ คนแก่ได้จูบลูกจูบหลาน จิตใจก็เบิกบานชื่นใจ ไม่อยากให้ ห ่างไกลจากตัว เมื่อลูกหลานห ่างไกลไปก็หาว ่าลูกหลานไม ่รักตัว พาลโกรธเอา ความโกรธเกิดจากความรักล ่ะ ถ้าถึงคราววิบัติเขา ตายลงยิ่งเกิดทุกข์ใหญ่ ความทุกข์เกิดจากความรักเข้าอีกแล้ว ไฟ คือราคะ ย่อมรุมล้อมแต่ต้นมาโดยลำดับ แต่บุคคลไม่เห็น เห็นแต่ ความอบอุ ่นเพราะความหลงมัวเมา ต ่อเมื่อความร้อนคือไฟนั้น มันแรงขึ้นถึงขนาดจนดับไม่ไหวแล้วจึงจะรู้ว่าไฟนี่ไหม้ได้ มันโหม เอาเต็มที่แล้วดับไม่ไหว ส่วนอายตนะอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกันนี้ กามคุณ ๕ ได้แก ่ อายตนะภายในและภายนอกทั้ง ๑๒ และที่อายตนะทั้งสองนั้นสัมผัสกันนี้เรียกว่า วิญญาณ นี้เป็นต้น เป็นเหตุให้ติดให้พอใจ ยินดี เพลิดเพลินหลงมัวเมาจมอยู ่ในนั้น จึงเรียกว่า กามภพ พวกที่อยู่กามภพนี้แหละ เห็นความร้อนน้อยนั้น ว่าเป็นของอบอุ่น ฉะนั้น กามภพจึงกลายมาเป็น กามภูมิ ติดพัน


72 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ กันเหนียวแน่นเป็นก้อนใหญ่ จนเป็น กามกิเลส จึงเป็นเหตุให้เป็น โลกอันกว้างใหญ่ไพศาลหาประมาณมิได้ ความร้อนที่เรียกว่าไฟ อันพระพุทธเจ้าทรงตรัสเทศนาแก่ชฎิล ทั้งพันนั้น เกิดจากอายตนะภายในมีตาเป็นต้น และเกิดจากอายตนะ ภายนอกมีรูปเป็นต้น แล้วก็เกิดจากอายตนะภายในและภายนอก สัมผัสกันแล้วเกิดความรู้สึกขึ้นที่เรียกว่า วิญญาณ นี้ทั้งนั้น นอกเหนือ จากสิ่งเหล่านี้แล้วไม่มี ความร้อนที่เรียกว่าไฟนั้นก็เกิดจากกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นมูลฐาน ราคะ โทสะ โมหะที่จะเกิดขึ้น ก็เพราะจิตไปปรุงไปแต่งให้มันเกิด ถ้าจิตไม่ไปปรุงไปแต่งแล้ว กิเลส เหล่านั้นมี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ไม่ทราบว่าไปอยู่ไหน เป็น ตัวตนอย่างไรก็ไม่รู้ อย่างเราอยู่เฉยๆ กิเลสเหล่านั้นก็ไม่มี เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ เป็นต้นเหล่านี้ มันเกิดจากจิตเป็นต้นเหตุ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจงตั้งสติค้นหาตัวกิเลส อันเป็นเหตุให้เดือดร้อนว ่ามันเกิดจากอะไรมันจึงทำให้เดือดร้อน เหมือนกับแพทย์ค้นสมุฏฐานของโรค เมื่อรู้ว่าเกิดสมุฏฐานอย่างนี้ แล้วก็จะวางยาถูกให้กับโรคนั้นๆ ได้ฉันใด กิเลสอันมีราคะเป็นต้น มันเกิดจากจิต เข้าไปค้นดูจิตอีกที จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก สัญญาอารมณ์ ต่างๆ นั่นคือจิต แต่ไม่ใช่กิเลส กิเลสคือเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เครื่องเศร้าหมองซึ่งจะเกิดขึ้นมาได้ต้องไปยึดเอาอารมณ์อันเกิดขึ้น มาจากจิต นั่นแหละกิเลสแท้


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 73 พึงเข้าใจว่า จิต คือผู้นึกปรุงแต่งสัญญาอารมณ์ต่างๆ กิเลส เครื่องเศร้าหมองคือจิตที่ไปยึดเอาอารมณ์ต ่างๆ ที่เกิดขึ้นจากจิต มาเป็นของตัว สติ คือผู้ควบคุมจิตไม่ให้หลงไปยึดเอาอารมณ์ต่างๆ มาเป็นของตัว เมื่อเข้าใจลักษณะอาการของสิ่งทั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว เราเอาสติมาจับ ควบคุมจิต จิตก็จะหยุดนิ่งเฉย กิเลสก็ไม่มีในที่นั้น จิตก็กลายเป็น ใจ คือมีแต่ความรู้สึก แต่ไม่คิดนึกปรุงแต่งอะไร ทั้งหมด การฝึกหัดอบรมกัมมัฏฐานทั้งหลาย จะอบรมด้วยวิธีใดๆ ก็ตามจะต้องมาลงตรงนี้ด้วยกันทั้งสิ้น เว้นแต่การอบรมนั้นจะอบรม ไปในแนวปริยัติ ซึ่งจะต้องคิดนึกไปตามปริยัติไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสพระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร ให้ชฎิลทั้งพัน มีอุรุเวลกัสสปะเป็นประธานฟัง โดยยกเอาอายตนะ ขึ้นมาแสดงว่าเป็นของร้อนเพราะกิเลสมีราคะเป็นต้น ชฎิลเหล่านั้น มีจิตศรัทธาเลื่อมใส น้อมใจลงเชื่อมั่นในพระธรรมเทศนาของ พระองค์ ปลงใจลงเป็นเอกัคคตาสมาธิแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว พิจารณาไปตามก็รู้ชัดเจนขึ้นมาว ่า ที่เราถือบูชาไฟว ่าเป็นของดี ตายแล้วสามารถไปเกิดในสวรรค์นั้นผิด ก็เกิดความสลดสังเวช ในใจ เบื่อหน่ายคลายจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนเห็นผิดนั้น เมื่อเบื่อหน ่ายก็พ้นจากกิเลสเหล ่านั้นทั้งหมด เมื่อพ้นแล้วจิตใจก็ ผ่องใสสะอาดเต็มที่ ไม่มัวหมอง แล้วก็เข้าใจว่า เราพ้นแล้ว (ถึง พระอรหัตผล) กิจอื่นที่เราจะต้องทำเพื่อละกิเลสอีกไม่มีแล้ว


74 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ นั่งสมาธิ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน เอ้า ใช้คาถาดับไฟนรก เสกคาถาดับเลย เอาพุทโธๆ นี่แหละ ดับ เราเสกคาถาพุทโธ บริกรรมเท่านั้นแหละ ความวุ่นวายเดือดร้อน ด้วยประการต่างๆ หายหมด ตั้งสติคุมจิตให้แน่วแน่ เอาเฉพาะพุทโธอันเดียว ส่งออกไป ข้างหน้าข้างหลังก็ไม ่มี ทั้งคิดนึกโน ่นนี่ก็ไม ่มี ให้ใจอยู ่เป็นกลาง ไม่กระทบกระเทือนอะไรทั้งหมด เราเกิดขึ้นมาในโลกมันต้องทำตัว เป็นกลาง ถ้าไม่เป็นกลาง ไม่เหนือโลก ไม่พ้นจากโลกไปได้ ต้องมี ทุกข์อยู่อย่างนั้นร่ำไป ใจที่เป็นกลางๆ แล้วจะมีอะไรกระทบกระเทือนอีก ขอให้ รักษาความเป็นกลางไว้ให้มั่นคงเถอะ ไฟนรกต้องดับลง ณ ที่นั้น แหละ ลองคิดดู โกรธ มันต้องเพ่งคนโน้นคนนี้ สิ่งโน้นสิ่งนี้ มันไม่ เป็นกลาง เพ่งอดีต เพ่งอนาคต มันไม่เป็นกลาง ความเป็นกลาง ไม่มีอะไรถูกต้อง อยู่คงที่ พุทโธ ตั้งมั่นในคำบริกรรมแล้ว กิเลสเครื่องเศร้าหมอง ทั้งหลายดับไปหมด ถึงหากไม ่ดับสนิทตลอดเวลา ก็ดับขณะนั้น ก็เอาล ่ะ ให้ดับได้เสียก ่อนขณะนั้น ถ้าหากดับนานๆ หลายครั้ง หลายหนเข้า หรือดับบ่อยๆ เข้าก็อาจสามารถจะดับสนิทได้เลย


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 75 อย่าเพิ่งดับมันทีเดียวก่อนเลย ไฟนั้นมีทั้งคุณทั้งโทษ ถ้าใช้ เป็นประโยชน์ก็ดี ก็เหมือนกับไฟภายนอกนั่นแหละ ใช้หุงต้มก็ยังดี ใช้ผิงไฟก็อุ่นในเวลามันหนาว ถ้าใช้ไม่เป็นมันไหม้ตัวของเราเสียด้วย ซ้ำไป ไหม้บ้าน ไหม้เรือน ไฟนี้เราใช้ระงับดับที่ตัวของเราเท่านั้น แหละ คนอื่นอย่าไปดับของเขาเลย เพราะมันเกิดที่เรา ไม่ใช่เกิดจาก คนอื่น เราดับตัวของเราแล้วก็เย็นสบาย อย ่างพระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์สาวก ท ่านดับไฟของท ่าน ท่านสบายแล้ว ท่านก็อยู่เย็นเป็นสุข ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ท่าน ก็อยู ่ในโลกนี้แหละ ท ่านไม ่ได้หนีจากโลกนี้ดอก เราดับไฟในตัว ของเราแล้วเราก็สบาย เราดับ ราคะ ความยินดีพอใจในสิ่งนั้นๆ โทสะ ความโกรธ ในสิ่งต ่างๆ ในบุคคลหรือในวัตถุต ่างๆ แม้แต ่ตัวของเราก็โกรธ ไม่พอใจตัวเองด้วยซ้ำ ไฟมันเกิดขึ้นอย่างนี้ เราดับไฟในตัวของเรา เสียแล้ว คนหมดทั้งโลกนี้จงอยู่ไปตามสบายใจเถิด เอาล่ะ ทำสมาธิภาวนาดีกว่า.


๘  สติควบคุมจิต แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย พ.ศ. ๒๕๑๗ สติควบคุมจิต นั่นคือ รวบรวมจิตให้อยู ่ในอำนาจของสติ ทุกอิริยาบถ ไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน การเคลื่อนไหวไปมา แม้จะ คิด จะพูด จะทำก็ให้มีสติปกครองจิตไว้ ให้มันรู้เท่าต่อการกระทำ ของเราทุกอย่าง ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายได้รับสัมผัส จิตได้รับอารมณ์ ต้องให้มีสติรู้เท่าทันอยู่ตลอด เวลา เมื่อผัสสะกระทบ ให้มีสติรู้เท่าทัน อย่าให้มันซึมลงถึงจิตได้ ถ้าเผลอสติเมื่อไร จะรู้สึกว ่าฟุ้งซ ่านรำคาญ หงุดหงิด ส ่งส ่ายไป ตามเรื่องที่มากระทบ เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง โดยส ่วนมากแล้ว จิตของเรามันเอนเอียงไหลไปทางอกุศล เกิดเดือดร้อนเศร้าหมอง ขุ ่นมัว บางทีก็หลงใหลเพลิดเพลินไปตามสิ่งภายนอกอยู ่เรื่อยไป จิตมีแต่ความโลภ ความโกรธ ความหลง นาทีผ่านไป ชั่วโมงผ่านไป แล้วก็วันหนึ่ง คืนหนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่งผ่านไปโดยไม่มีอะไรเป็น สาระที่ระลึกได้เลย จะระลึกอะไรมาเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ เพราะว่าจิต ของเราไม่เคยฝึกอบรมให้ระลึกเช่นนั้น เคยแต่อยากได้อันนี้มากๆ เมื่อได้อันนี้แล้วแทนที่จะสบาย มีพอแล้ว ก็ไม่พอ อยากได้อันอื่น


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 77 อีก เลยไม่มีวันพอ ก็เลยตายก่อน ทีนี้พอถึงเวลาจะตาย เราจะไม่ให้ จิตติดข้องได้อย่างไรเล่า ในเมื่อเราไม่ได้ฝึกฝนสติอบรมจิตไว้เสีย ก ่อนแก ่ ก ่อนเจ็บ ก ่อนตาย แล้วจะกะเกณฑ์ให้จิตที่มันติดข้อง ยุ ่งอยู ่กับเรื่องของกิเลสตัณหาอย ่างหนาแน ่นวางได้อย ่างไร จิต เช่นนี้ถ้าตายแล้วก็ต้องจมอยู่ในกิเลสตัณหาอย่างแน่นอน เพราะว่า มันไม่ได้อบรมในทางกุศล มีแต่ส่งจิตไปตามความอยากได้ อยากดี อยากมั่ง อยากมี เลยเพลิดเพลินไปตามความอยากอยู ่เรื่อยไป ไม ่มีสติจะมองเข้ามาในตัวตนของเราสักที มีแต ่เดือดร้อนวุ ่นวาย ส่งส่ายไปตามความอยากจนลืมตัว ไม่รู้ตัวว่าแก่เท่าไรแล้ว ยิ่งแก่ ก็ยิ่งมีความอยากมาก แบบนี้เรียกว ่าแก ่ไปทางกิเลสตัณหาอย ่าง ไม ่รู้ตัวว ่าแก ่ ใครเล ่าจะมาแก้กิเลสตัณหาให้เราได้ถ้าเราไม ่รู้ของ เราเอง ใครจะมารู้ให้เรา เราต้องสำนึกเอาเอง เมื่อเรามีความขัดข้อง หมองใจ เดือดร้อน ขุ ่นมัว มันติดข้องอยู ่ในจิตของเราหมด ทุกอย่าง เราหามาถมจิตใจของเราเองทั้งนั้น มีเงินมีทอง มีที่ดินมีบ้าน มีของเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ เรื่องของกิเลสตัณหานี้น่ากลัวมากที่สุด มันจะพาเราตายจม อยู่ในกิเลสตัณหา มันพาเราเดือดร้อนวุ่นวายอยู่ในกองทุกข์ทุกวันนี้ ก็เพราะว่าจิตของเรามันหลงอยู่ในกาม หลงยึดหลงถือเอาไว้ว่าเป็น ตัวเราตัวเขากันอยู่ทั้งโลก แย่งกัน ด่าว่ากัน ถกเถียงกันยังไม่พอ จิตที่ผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรไว้ตั้งแต่ครั้งก่อนโน้น เกิดมาในชาตินี้ ก็มาหลงเอาของเก ่า มาแย ่งชิงกัน ด ่าว ่ากัน ฆ ่าตีกันจนล้มตาย มากมายเหลือหลายอยู่ในโลกอันนี้นับไม่ถ้วนเลย ฝ่ายอกุศลมันหมุน วนอยู่ในห้วงของกาม มันติดข้องผูกพันอยู่ หาวิธีแก้ได้ยาก มัน


78 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เหนียวแน ่นอย ่างแกะได้ยากที่สุด เพราะมันเกี่ยวเนื่องกันอยู ่ใน กามภพ รูปภพ และอรูปภพ จิตของเราติดข้องอยู่ในภพทั้ง ๓ นี้แหละ จึงออกจากทุกข์ได้ยาก ที่ว่าหาวิธีแก้ได้ยากเพราะว่าเราไม่รู้จักทุกข์อย่างจริงจัง ถ้าเรา ทำให้มันถึงทุกข์ ได้ต่อสู้กับทุกข์ ได้ชนะทุกข์มาแล้วจึงจะรู้วิธีออก จากทุกข์มาได้ หากเราไม่ทำให้มันถึงทุกข์ จะเห็นทุกข์ได้อย่างไร เพราะว่าเราไม่ทันพบทุกข์ก็ไม่รู้จักทุกข์อย่างแท้จริง ถ้าไม่ได้ต่อสู้ กับทุกข์เสียก่อนแล้ว เราจะรู้วิธีออกจากทุกข์ได้อย่างไรหนอ เปรียบ เหมือนเรายังเดินทางไม่ถึงที่หมาย เราจะไปรู้จักได้อย่างไร ฉะนั้น เราผู้อยากจะพ้นทุกข์ ต้องทำให้มันถึงทุกข์ ได้ต่อสู้กับทุกข์ ชนะทุกข์ ได้แล้ว มันจึงพ้นทุกข์ เป็นปัจจัตตัง ผู้ประพฤติปฏิบัติในอรรถ ในธรรมรู้เองเห็นเอง ถ้าทำแท้ทำจริง ไม่เผลอสติ มีสติรู้เท่าทันต่อ เหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นมานั้น มันค่อยผ่อนจากหนักเป็นเบา รู้เท่าทัน ดีขึ้น ขอให้มีศรัทธา ทำทานไปเรื่อยทั้งทานภายนอกทานภายใน รักษาศีล คือ รักษากาย วาจา และใจ ให้มันเป็นปกติ หรือรักษา จิตนั่นเอง คอยมีสติปกครองจิตใจ สิ่งใดไม่ควรคิดก็ไม่คิด สิ่งใด ไม่ควรพูดก็ไม่พูด สิ่งใดไม่ควรทำก็ไม่ทำ เพราะเรามีสติรู้อยู่ว่าเรา เป็นผู้มีศีล เราไม่ควรจะคิดไปทางอกุศล เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ ด่าว่า เสียดสี พูดเพ้อเจ้อ พูดไม่มีเหตุผล ทางกายก็ไปฆ่าสัตว์ ลักขโมย ของคนอื่นมาเป็นของตน เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นอกุศลผิดหลัก ของศีลทั้งนั้น หากว่าจิตของเรามันยังอยากจะคิดอย่างนี้ พูดอย่างนี้


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 79 ทำอย่างนี้อยู่แล้ว ก็แปลว่าเรายังอยากก่อกรรมก่อเวรใส่ตัวเราเอง ทั้งนั้น คนอื่นไม่ได้มาทำให้เราเลย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มี อยู่นี้ล้วนแล้วแต่เป็นของเราทำไว้เองทั้งหมด คนอื่นมาแบ่งมาปัน ให้เราได้เมื่อไร ต่างคนต่างทำใส่ตัวเองมาทั้งนั้น กุศลและอกุศลมันเกิดขึ้นสัมผัสจิตของเราเอง ถ้าเรามีสติ มันก็หมุนไปตามกุศลกรรม คิดแต ่ทางดี ไม ่คิดอิจฉาริษยาใคร ทั้งหมด มีแต ่คิดเมตตาสงสารต ่อเพื่อนมนุษย์ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ลำบากด้วยกัน คิดอยากเกื้อกูลอุดหนุนเขาไปตามสติกำลังของเรา ที่จะทำได้ จิตอันนี้คิดเป็นกุศล ถ้ามีผู้มาด่าว่าเบียดเบียนเสียดสี จิตดวงนั้นมันก็คิดไว้ว ่าเป็นกรรมเก ่าของเรา มันก็ทำทานไปหมด ไม ่ติดต ่อกรรมเก ่าไว้ต ่อไปอีก ไม ่มีเรื่องของกรรมเก ่ากรรมใหม ่ ตั้งหน้าสร้างแต่กรรมดี คิดแต่ทางดี พูดแต่ทางดีทำแต่ทางดี มันดี มาจากจิตทั้งนั้น จิตดีพูดออกมาก็ดี การกระทำทางกายก็ดี ถ้า กายดี วาจาดี จิตดี แล้วเราจะไปหาดีจากที่ไหนอีกเล ่า ความดี มันก็อยู ่ที่จิตของเราเอง ความชั่วมันก็อยู ่ที่จิตของเราเอง ถ้าเรา รู้จักชั่วว ่ามันจะพาเราชั่วเสียหาย ก็ให้เรามีสติละชั่ว ทำแต ่ทางดี ก็เป็นบุญ ถ้าว่าบุญมีแล้ว ทำอันใดก็ได้ง่าย ไม่มีเวรไม่มีภัย เรา เป็นผู้ไม่ก่อเวรเราก็ไม่มีเวร เราไม่ก่อภัยเราก็ไม่มีภัย เราไม่ก่อกรรม เราก็ไม่มีกรรม เราทุกคนเกิดมารับผลของกรรมเก่าของเราที่ทำมาแล้วทั้งนั้น ฉะนั้นเราต้องตั้งสติให้มั่นคง เพื่อจะได้มองเข้ามาตรวจดูต้นสายปลาย เหตุที่เป็นภัยของจิตที่มันติดข้องอยู่ พาให้เราเป็นทุกข์อยู่ในภพทั้ง ๓ นี้เอง กามภพ คือจิตมันหลงติดอยู่ในกามติดรูปของเราเอง จิต


80 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ของเรามันหลงยึดถือว่าเป็นตัวตนอย่างจริงจังแล้ว รูปภพ มันก็เกี่ยว เนื่องกันมา มีตามันเห็นก็ไปติดรูปที่มีวิญญาณและไม ่มีวิญญาณ มันพันเกี่ยวเนื่องกันมาหมด ทุกอย่างเปรียบเหมือนมัดวัวไว้กับหลัก หลักก็ติดวัว วัวก็ติดหลัก ผูกพันกันอยู่เป็นคู่กันไป เรื่องของโลกมัน เป็นอยู่อย่างนั้นไม่สิ้นไม่สุดลงได้ ยืดยาวแบบนี้ เดี๋ยวเป็นอย่างนั้น เดี๋ยวก็เป็นอย่างนี้ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ สลับกันอยู ่อย ่างนั้นเรื่อยไป น ่าเบื่อหน ่าย มีแต ่ความเดือดร้อน วุ่นวายไม่มีความสงบระงับได้เลย ถ้าเราไม่พินิจพิจารณาเรื่องของโลก ให้มันเห็นแจ้งเห็นชัดแยบคายอย่างถี่ถ้วนแล้ว เรื่องต่างๆ มันก็เป็น พืชพันธุ์ผสมอยู่ในดวงจิตอย่างมองเห็นได้ยาก เปรียบเหมือนเรา จะดับไฟ แทนที่จะดับด้วยน้ำ เราเผลอสติไปเอาขี้ขยะมาถมไฟ หรือขี้แกลบมาถมเพื่อให้เชื้อไฟมันดับ อย่าหวังว่ามันจะดับได้เลย เชื้อของไฟมันยิ่งเพิ่มพูนขึ้นฉันใด เรื่องของกิเลสตัณหาที่มันข้อง อยู่ในจิตของเรามาแล้วนับภพนับชาติไม่ได้ เราจะมาประพฤติปฏิบัติ เพียงนิดหน่อย จะให้มันพ้นไปได้อย่างไร ไม่ใช่ว่าเป็นของง่าย และก็ไม่ใช่ว่าเป็นของยากจนเหลือวิสัย ขอแต่ให้เราทำแท้ทำจริง อบรมสติปัญญาของเราให้แก ่กล้ายิ่งๆ ขึ้นไป พิจารณาสอดส่องให้รู้จริงเห็นแจ้งในสภาพเหล่านี้ จึงจะรู้จัก ของจริง ธาตุทั้ง ๔ มันก็แตกสลายเสื่อมโทรมลงไปทุกลมหายใจ เข้าออกอยู ่เป็นนิจ เราไม ่ได้พิจารณาดูให้เห็นความเสื่อมก็เลย กลับเห็นว่าเป็นของสวยของงามไปหมด จึงมีความรักใคร่กำหนัด ยินดี หลงยึดหลงถือเอาว ่าเป็นของจริงของเที่ยง ที่แท้แล้วมัน เป็นของเท็จของหลอกลวง ของไม่เที่ยงทั้งนั้น ไม่มั่นคงถาวรอยู่ได้ เลย เกิดมาแล้วมีแต่เสื่อมสิ้นไป สิ่งเหล่านี้มันเป็นเครื่องปิดกั้นให้


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 81 อยู ่ในกองทุกข์กองไฟทั้งนั้น ล ่อให้เราหลงมัวเมา เสียเวลาไป พิจารณาแต ่เรื่องภายนอก ไปดูแต ่รูปอื่น ฟังเสียงอื่นอยู ่เรื่อยไป เพลิดเพลินอยู ่กับสิ่งภายนอกจนเฒ ่าจนแก ่จนตายมามากมาย เหลือหลายในโลกนี้ ติดข้องวุ่นวายอยู่ด้วยกันทั้งหมด คนที่มัวเมา อยู ่กับกิเลสตัณหานี้นับวันแต ่จะมืดเข้าทุกที ไม ่มีวันหายได้เลย แก ่ไปเท ่าใดยิ่งติดข้องมากขึ้น มีลูกก็ติดข้องอยู ่กับลูก มีหลานก็ ติดข้องอยู่กับหลาน มีเหลนก็ติดข้องอยู่กับเหลน ไปไหนมาไหนก็ ไม่ได้ แก่แล้วก็อยู่กับลูกหลานกับเหลนกับบ้านกับของ อยู่กับเงิน กับทอง แล้วก็ตาย เราตายแล้วจะไปไหนกันแน่ เราต้องตรวจดูให้ละเอียดจึงจะรู้เห็นด้วยตนเองว ่า เมื่อจิต มันติดข้องยึดถืออันใดไว้เราก็รู้ จิตของเราไม่ติดข้องไม่ยึดถือเราก็รู้ ถ้าว่าเรามีสติรู้เท่าอยู่ได้เสมอไป มันก็ค่อยปล่อยค่อยละวางไปทีละ เล็กละน้อย จะค ่อยเบาบางลงไป จะได้เห็นแจ้งเห็นชัดขึ้นมาว ่า ในตัวตนของเราของเขานั้นมันไม ่มีอันใดจะเที่ยงแท้แน ่นอนสัก อย ่างเดียว เป็นแต ่เพียงอาศัยกันสืบไปจนวันตายเท ่านั้น แล้วก็ เป็นของคนอื่นไป หมุนวนเกี่ยวเนื่องกันอยู ่อย ่างนั้นไม ่สิ้นไม ่สุด เรื่องของจิตมันติดข้องหลายสิ่งหลายอย ่าง เพราะฉะนั้นเราต้อง ประพฤติปฏิบัติให้มันเคร ่งครัด เพื่อให้กิเลสตัณหามันเบาบาง ลงไปในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู ่นี้ ต้องประพฤติปฏิบัติอย ่างจริงจัง เพื่อดับทุกข์ดับกิเลส เรื่องโรคของกายของจิตมันติดข้องผูกพันกันอยู่ โรคทางกาย เราก็ต้องรักษาพยาบาลให้มันหายขาด ถ้ามันไม่หายตายไปก็เผาไฟ หรือฝังดินมันก็หายขาดได้ แต ่โรคของจิตไม ่เป็นอย ่างนั้น หาวิธี


82 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ แก้ได้ยากที่สุด เรื่องของกิเลสมันมีอำนาจมาก ทั้งเกิดขึ้นได้ง ่าย และว ่องไวที่สุด เราต้องพิจารณาให้มันเห็นกองทุกข์ของกิเลสคือ ความเร ่าร้อนเศร้าหมองขุ ่นมัวที่มันเกิดขึ้นภายในจิตของเรา เมื่อเห็นแล้วก็ต้องตั้งสติปัญญาซักฟอกชำระสะสางให้จิตใจของเรา บริสุทธิ์สะอาด จะได้มีความเยือกเย็นไม ่มีความเดือดร้อนเศร้า หมองขุ ่นมัว เป็นเรื่องที่จะต้องใช้สติปัญญาเป็นเครื่องรู้เครื่องวัด สติปัญญาของเราที่ทำมาแล้ว ถ้ามันมีความเห็นผิดอยู่มันก็หลอก เรา หลอกให้คิดให้พูดให้ทำไปตามเรื่องที่ผิดอยู่อย่างนั้น หากเรา ไม ่แก้ความหลงด้วยสติปัญญาให้มันเบาบางลงไปแล้ว เราก็ตาย เปล่า คือจะได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในห้วงของกามอยู่เรื่อยไป ถ้า เราเกิดมาอีกก็มาเอาของเก่า มาหลงยึดหลงถือเอาของเก่า มาเอา ดิน น้ำ ไฟ ลม มาเป็นตนตัว มายึดถือไว้ จะไม่ให้มันแก่ มันเจ็บ มันตาย ก็เลยเกิดทุกข์ขึ้นกับตัว ประเดี๋ยวก็สุขเกิดขึ้น ประเดี๋ยว ก็เฉยๆ ประเดี๋ยวก็ทำดี ประเดี๋ยวก็ทำชั่ว เอามาปรุงมาแต่งนึกคิด อยู ่อย ่างนั้นเรื่อยไปไม ่สิ้น ปรุงไปทางอดีตและอนาคต เดินมันก็ ปรุง ยืนมันก็ปรุง นั่งมันก็ปรุง นอนมันก็ปรุงแต ่งอยู ่อย ่างนั้น มันไม่อยู่เป็นปกติได้เลย เรื่องของจิตนั้น เมื่อเราพิจารณาให้เห็น ความเป็นจริงอย ่างชัดเจนแล้ว อารมณ์ต ่างๆ จะดับสลายไปเอง เหลือแต่ความว่างแทนที่ เราไม่ควรเสียเวลาไปพิจารณาแต่เรื่องภายนอก ควรกลับเข้า มาพิจารณาภายในตัวตนของเรานี้ มองเข้าไปดูจิตให้รู้แจ้งเห็นจริง ให้ได้ สติปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝนอบรมพิจารณาตัวเองนี้ เปรียบ เหมือนกับของที่มีคมสามารถตัดกิเลสตัณหาให้มันขาดไปได้เป็นชั้นๆ ถ้าเราไม่เผลอสติมีสมาธิมั่นคงมันก็ตัดได้ ขั้นแรกเราต้องมีสติฝึกฝน


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 83 อบรมจิตให้สงบระงับ ให้มันเป็นเรือนที่อยู่ของจิต ให้จิตของเราอยู่ ในอำนาจของสติ แล้วก็คอยมองแต ่จิตของตัวเองอยู ่ทุกอิริยาบถ เมื่ออายตนะผัสสะสัมผัสกัน อะไรจะเกิดขึ้นมาก็เห็นว่ามันไม่เที่ยง เกิดแล้วก็ดับไป จิตก็เป็นปกติรู้อยู่อย่างนั้น แล้วก็พิจารณาอยู่ทุก อิริยาบถ ขณะไหนจิตมีความตั้งมั่นได้เป็นระยะนาน มีสติมั่นคงอยู่ อารมณ์อันเดียว จะมีกำลังใหญ่ให้รู้จริงเห็นแจ้งขึ้นมาได้ เราไม่ต้อง คิดว่าไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เป็น ว่าแต่ทำให้มันแท้ให้มันจริงมันก็จะรู้จะ เห็นของจริง มีความสุขความสบายเอิบอิ่ม เบากายเบาจิต เพราะ จิตมันวางจากกิเลสตัณหาได้ชั่วขณะหนึ่งก็ยังดีกว ่ามาทำกรรมไว้ ไม่ปล่อย ไม่วาง ไม่สะสางให้สะอาด ดีแต่ปล่อยให้จิตของเราสกปรก เพลิดเพลินไปตามกิเลสตัณหาหลงมัวเมาลืมตัวจนวันตาย จิตไม่มีตัวเราของเรา กายก็เป็นธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ประกอบกันเข้าเป็นตนเป็นตัวขึ้นมา แล้วไม่นานก็แตกสลายลงไป สู่สภาพเดิมของเขาหมดทุกอย่าง เมื่อเราได้ค้นคิดพินิจพิจารณาเห็น เป็นชิ้นเป็นอันไปหมดดังกล่าวแล้ว ก็เห็นว่าเป็นหน้าที่ของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยงจริงๆ มันหมุนอยู่เรื่อยไปจึงไม่ใช่ของใคร เพราะว่าจิตของเราไม่รู้จักว่าเป็นของไม่เที่ยง มันจึงหลงไปยึดถือเอา ของไม่เที่ยง จะให้มันเที่ยงก็เป็นทุกข์อยู่ร่ำไป เกิดมาตายเปล่าไม่มี คุณความดีติดตัวเลย น่าเสียดายเกิดมาแล้วขาดทุน ปล่อยให้จิต เรรวนไปตามความชั่วความเสียหายอยู่เรื่อยๆ วันคืนเดือนปีผ่านไป ไม่ได้อะไรเป็นที่พึ่ง ไม่ได้ทำความดีให้ตัวเลย มีแต่หลงมัวเมาอยู่กับ สิ่งภายนอกแล้วก็ตายไปอย่างน่าเสียดาย ไม่มีทาน ศีล ภาวนาอันใด เลย เดือนหนึ่งมีวันพระอยู่ ๔ วันเท่านั้น จะสละมาวัด มารักษา


84 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ กาย วาจา จิต ให้มันว่างจากตัณหาสักวันหนึ่งคืนหนึ่งก็ไม่ได้ มีแต่ ติดข้องอยู่กับลูกกับหลานกับบ้านกับของ อยู่กับเงินกับทอง ติดข้อง อยู่อย่างนั้นตลอดไป นี่แหละเรื่องกิเลสตัณหานี้มันผูกรัดติดต ่อกันไม ่ให้มีโอกาส เวลาทำความดีได้ อยากได้อันนี้ เมื่อได้อันนี้มาแล้วยังอยากได้ อันนั้น ได้อันนั้นมาแล้วยังอันโน้นอีกต ่อๆ กันไป ไม ่มีวันจะพอ มีแต่ความติดข้อง วุ่นวายส่งส่าย เผาร้อนอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน ถึงกายมันจะพักผ่อนอยู่ก็ตาม แต่จิตมันไม่ได้พัก คิดปรุงแต่งอยู่ ตลอดเวลา ไม ่ได้หยุดพักผ ่อนเหมือนกาย เมื่อเราตายแล้วเขา เอาไปเผาไฟหรือฝังดินก็หมดเรื่องของกาย แต ่จิตมันเป็นโรค ติดต่อเรื้องรังสืบภพสืบชาติไว้เป็นที่น่ากลัวมากที่สุด เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าใจเรื่องที่อธิบายมานี้แล้ว เราควรหันกลับมาอบรมฝึกหัด ดัดนิสัยจิตของเราที่แต่ก่อนมันเคยคิดไปตามความโลภ ความโกรธ ความหลง บัดนี้ เรามาฝึกฝนอบรมจิตให้คิดแต่ทางดี ไม่คิดอิจฉา ริษยาใครทั้งหมด เป็นผู้มีเมตตาอารีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่มี แม้แต่ด่าว่าเสียดสีใครทั้งนั้น มีศีลธรรมประจำจิต กายก็เป็นปกติ วาจาก็เป็นปกติ ไม่หาเรื่องเดือดร้อนวุ่นวายกับใคร ถ้ามีผู้มาด่าว่า เสียดสีก็ต้องให้มีสติกำหนดอยู ่ในลมหายใจเข้าออก หรือจะเพ ่ง อยู ่กับพุทโธก็ได้ เพื่อไม ่ให้จิตของเราไปเก็บเอาอารมณ์ที่ไม ่ดีนั้น มาทำให้จิตของเราเศร้าหมอง ขุ่นมัว วุ่นวาย ต้องให้สติปกครองจิตไว้อย่างมั่นคง ไม่ให้จิตเคลื่อนไหวเอน เอียงไปตามดีและชั่ว เรื่องที่มันเกิดขึ้นนั้นมันก็ดับไปเอง เพราะว่าเรา ไม่ได้ติดต่อไว้ ก็ไม่มีอะไรจะมาเกี่ยวข้องกับเราได้เลย จิตจะได้ว่าง


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 85 จากเครื่องกระทบกระเทือน เพราะว ่าเรามีหลักยึดได้แล้ว สติก็ ละเอียดเข้าไป สมาธิก็มั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป มีปีติความเอิบอิ่มสบาย กายก็เบา จิตก็สะอาดเยือกเย็น อย่างนี้เรียกว่าให้อาหารจิต จิตก็มี ความแช่มชื่น เบิกบาน มีความอิ่มหนำสำราญมีกำลัง ประพฤติเช่นนี้ เป็นการเลี้ยงชีวิตชอบ ปัญญาเห็นชอบ คือเห็นอยู ่ในตัวของเรานี้ ตัวของเราก็คือ สมุทัย จิตมันหลงก็หลงอยู ่ในตัวสมุทัยนี้ และทุกข์มันมาจาก ตัวตนของเรานี่แหละ หากว ่าจิตมันยังหลงยึดถือว ่าตัวตนของเรา อยู่แล้ว จำเป็นต้องมีทุกข์อยู่เรื่อยไป เพราะฉะนั้นควรฝึกฝนสติ ปัญญาของเราให้แก ่กล้า เพื่อจะทนต ่ออารมณ์ สู้กับทุกขเวทนา ที่มันเกิดขึ้นมาสัมผัสจิตของเราให้เศร้าหมองขุ่นมัว อบรมให้มีสติ ปกครองจิตให้ชำนิชำนาญ เวลาตาเห็นรูปก็ให้รู้เพียงแค่ตา หูได้ยิน เสียงก็ให้รู้เพียงแค่หู จมูกได้กลิ่นให้รู้เพียงแค่จมูก ลิ้นได้รสให้รู้ เพียงแค่ลิ้น กายสัมผัสก็ให้รู้เพียงแค่กาย อย่าให้มันซึมลงถึงจิต เพียงแต่รับรู้ว่าสัมผัสเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป ไม่มีอันใดมารบกวนจิต ของเราได้ เพราะว่าสติ สมาธิมั่นคงดี ปัญญาได้ค้นคว้าเห็นเรื่อง ของกิเลสตัณหาที่มันพาเราเป็นทุกข์มาแต่ก่อนโน้น และได้ถูกสติ ปัญญาของเราทำลายลงไปเป็นเรื่องของโลกตามเดิมของเขา ปัญญา ได้รื้อออกและคืนให้โลกตามเดิมหมดแล้ว ไม ่มีอะไรที่เกี่ยวข้อง ผูกพันอยู่ในจิตของเราต่อไป เพราะว่าสติปัญญาของเราได้ทำลาย ตัวตนของสมุทัยให้มันแตกออกไปเป็นธาตุ ๔ ขยายธาตุ ๔ ออกไปเป็นอาการ ๓๒ มันเป็นของไม่เที่ยงทั้งหมด ไม่ว่ากายนอก และกายในที่จิตของเรามาอาศัยแอบอิงอยู่ทุกวันนี้ล้วนแต่เป็นของ


86 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ไม่เที่ยงทั้งนั้น เพียงแต่อาศัยกันไป แล้วก็จะได้พลัดพรากจากกันไป ไม่วันใดก็วันหนึ่งในข้างหน้าไม่นานเลย เราไม ่ควรอ้างกาลเวลา เราต้องตั้งสติให้มันเคร ่งครัดลงไป ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิริยาบถ ให้มันมีสติอยู่เสมอทุกลม หายใจเข้าออก เราแก ่อยู ่ เจ็บอยู ่ ตายอยู ่ทุกเวลานาที คนเรา ส่วนมากไม่เห็นความแก่ เจ็บ ตาย อยู่ภายในตัวของเรา เห็นแต่ คนอื่นแก่ คนอื่นเจ็บ คนอื่นตาย เราไม่ได้โน้มเข้ามาหาตัวเราว่าเรา ก็จะต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายเหมือนกับเขา เราไม่ได้พิจารณาในตัวเรา เห็นแล้วก็แล้วไปผ่านไป ก็เลยเห็นแต่คนอื่นเท่านั้น อันนี้เรียกว่า เป็นผู้ที่ไม่มีปัญญา มีตาไปดูก็ไม่มีผลเกิดขึ้นกับจิต มีหูไปฟังก็ไม่มี ผลเกิดขึ้นกับจิต ก็เลยเป็นตาเปล ่า หูเปล ่า จิตที่ไม ่มีสติปัญญา มันก็เป็นอยู ่อย ่างนั้นเรื่อยไป จิตคิดว ่าเรายังไม ่แก ่ เรายังไม ่เจ็บ เรายังไม่ตาย แล้วก็เพลิดเพลินอยู่กับกิเลสตัณหาอย่างไม่รู้ตัวว่าแก่ เวลาแก่มาถึง เจ็บมาถึง ตายมาถึงตัวของเราแล้ว ทีนี้เราจะทำอย่างไร ถึงจะได้หลักที่พึ่งของเราได้ คนเราเกิดมาแล้วต้องรักตนของตนทั้งนั้น ถ้าเรารักตนของเรา อย่างแท้จริงแล้ว ก็ให้มีสติปกครองจิตไว้ไม่ให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ใส่ตัวเรา ก็เป็นคนดี ดีไปหมดทุกอย่าง มีทาน ศีล ภาวนา แสวงหา ทางออกจากทุกข์ มันถึงจะเป็นคนผู้รักตนอย่างแท้จริงและไม่ใช่รัก แต่ตนคนเดียว ยังรักบิดามารดา รักครูบาอาจารย์ด้วย เราเป็นคน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ฝึกฝนอบรมกาย วาจา จิตของเราดีแล้ว ก็ แปลว่าเราเป็นผู้รักษาพระศาสนาของพระพุทธเจ้าไว้ให้มั่นคงถาวร อยู่ได้ ไม่ให้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสื่อมสูญไป เพราะว่า


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 87 พระองค์ทรงบัญญัติพระธรรมไว้ให้เอามาประพฤติปฏิบัติกาย วาจา จิตของเราไม่ให้มัวเมาหลงใหลอยู่กับกิเลสตัณหานี้จนเกินไป ทรง สอนให้เรามีสติมองเข้ามาดูจิต มันติดข้องที่ไหน เราจะได้แก้ไขตรงที่ มันติดข้องอยู่นั้น เพื่อให้มันลุล่วงลงถึงใจดวงเดิมได้ ถ้าสติ สมาธิไม่มั่นคง มันก็หลงไปติดข้องอยู่ใน กามฉันทะ มีความรักใคร ่ยินดีอยู ่ในกาย ถ้าตาเห็นรูปที่ไม ่ดี หูได้ยินเสียงที่ ไม่เพราะ จิตของเราก็เศร้าหมองขุ่นมัว เรียกว่า พยาบาท เจ้าของ เพราะว ่าไม ่มีสติปัญญาจะชำระจิตให้สะอาด ถ้าพิจารณาอันใด ก็ไม่แจ้งไม่ชัด ตื้อไปหมด อันนี้เรียกว่า ถีนมิทธะ เมื่อพิจารณา ไม่แจ้งไม่ชัดจึงไม่สิ้นความสงสัยได้ เรียกว่า วิจิกิจฉา ติดข้องอยู่ เรื่อยไป ทำบ้างไม่ทำบ้าง ลูบๆ คลำๆ เรียกว่า สีลัพพตปรามาส เพราะว ่าจิตมันเกี่ยวเนื่องอยู ่ในกาม มันก็เป็นนิวรณ์ข้องอยู ่ใน กามฉันทะ มีความรักใคร่ยินดีอยู่ในตนในตัว หลงถือเอาไว้ เดี๋ยว มันก็เกิดทุกข์ขึ้น เดี๋ยวมันก็เกิดสุขขึ้น เดี๋ยวมันก็เฉยๆ เดี๋ยวก็ จำโน่นจำนี่ จำอดีตอนาคต จำผิดจำถูกเอามาปรุงมาแต ่งว ่าดี ว่าชั่ว มันหมุนกันอยู่เกี่ยวข้องกันอยู่ในกาม จึงได้เรียกว่า นิวรณ์ ๕ เพราะว่ามันเกี่ยวข้องกันอยู่ทั้ง ๕ อย่าง มันจึงไม่โยกคลอน ถอน ได้ยากที่สุด หากว่าจิตมันยังหลงยึดหลงถือว่าตัวกูของกูอยู่แล้วก็ แปลว่าจิตของเรายังมีภพมีชาติอยู่ต่อไป เพราะว่าเราไม่ได้แก้ไขกัน ให้ทันเวลาไว้ก่อนตั้งแต่ยังไม่แก่ไม่เจ็บ เราต้องเตรียมตัวอบรมฝึกฝนให้มีสติปัญญาแก่กล้า มีความ สามารถอาจหาญไม่ท้อแท้อ่อนแอ ไม่ถอยหลังได้เลย มีแต่ตั้งสติ สมาธิให้มั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป จะได้เกิดปัญญาเห็นแจ้งเห็นชัดขึ้นมา


88 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ จากจิตของเราเองทั้งนั้น มีทั้งดีทั้งชั่วอยู่ที่ในตัวเรา ถ้าว่าสติสมาธิ แก่กล้า มีความสามารถอาจหาญตัดรอนกำลังของกิเลสตัณหาลงได้ ถึงใจเดิม เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์อันเดียว ไม่ปรุงไม่แต่ง สิ่งใดเกิดขึ้นในขณะนั้นสติปัญญาทำลายลงสู่สภาพเดิมของโลก ไม่มี อะไรที่มาเกี่ยวข้องผูกพันกับใจที่มันอยู่เป็นปกติของใจ เปรียบเหมือน น้ำกับน้ำมันที่มันเข้ากันไม่ได้ เป็น เอกัคคตาจิต จิตเป็นเอก จิตสูง กว ่าเหนือกว ่ากิเลสตัณหา จิตดวงนั้นไม ่เป็นทาสของกิเลสตัณหา อีกต่อไป เรียกว่า จิตสูงกว่าโลก ความเป็นจริงนั้นอยู่กับโลก แต่ไม่ เป็นไปกับโลก เรื่องของโลกมันก็เป็นเรื่องของโลกอยู่แล้ว แม้เราไม่ เกิดมามันก็มีอยู่เป็นอยู่อย่างนี้แต่ไหนแต่ไรมา ถ้าเรารู้รอบรู้ทั่วแล้ว เราก็ปล่อยวางไว้กับโลกตามเดิม หรือคืนให้โลกเขาหมดทุกอย่าง เหลือแต ่จิตที่บริสุทธิ์ผุดผ ่องด้วยกำลังของสติปัญญาแก ่กล้า ตัด กระแสนิวรณ์ได้ถึงใจเดิม เรียกว ่า จิตถึงศีลสมาธิปัญญา เป็น อันหนึ่งอันเดียวกันได้ มันก็สิ้นความสงสัยหมดทุกอย่าง แม้ว่าทีหลัง มันจะติดข้องในที่ไหน เราก็ต้องใช้สติปัญญาตรวจค้นดูให้มันละเอียด ถี่ถ้วนเข้าไป ไม่ให้มันเศร้าหมองขุ่นมัวอยู่กับเรื่องโลก ชำระสะสาง ให้มันสะอาดอยู่เรื่อยไป ถ้าว่าสมาธิมั่นคงเข้าไปเท่าไร ยิ่งหนักแน่น มีแยบคายเบื่อหน่ายกับเรื่องของโลกเท่านั้น มันวุ่นวายเดือดร้อน มี ทั้งคุณมีทั้งโทษ มีทั้งบุญทั้งบาป มีทั้งสุขทั้งทุกข์ มีผิดมีถูก วุ่นวาย อยู่อย่างนั้น น่าเบื่อหน่าย ไม่ควรยินดีอยู่กับโลกนี้ มีแต่ของไม่เที่ยง ทั้งหมด เอวํ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 89 นั่งสมาธิ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน จงตั้งสติคือความระลึกได้ตลอดเวลา ผู้ระลึกนั้นก็คือสติ คุมจิตให้อยู่ในจุดเดียว เช่น ให้อยู่ในจุดพุทโธๆ ให้อยู่ในจุดนั้น อย่าให้หนีจากนั้น หรือจะพิจารณาเอาลมหายใจเป็นจุดหมายก็ให้ใจ อยู่ตรงนั้น สติคุมให้รู้สึกอยู่ที่ตรงนั้นอย่างเดียว อย่าให้ส่งส่ายไป ที่อื่น หากมันส่งออกไปก็ดึงมาให้มาอยู่ในที่นั้น จงยอมสละทุกสิ่ง ทุกประการ อย่าไปกังวลเกี่ยวข้องถึงเรื่องภายนอก เพราะเวลานี้ เป็นเวลาที่เราจะกระทำความเพียรภาวนา เราเคยยุ่งเคยกังวลมาแล้ว เรื่องนั้นเราก็พอเห็นคุณค่าประโยชน์มากน้อยเพียงไรแล้ว แต่เวลานี้ เราจะทอดทิ้งสิ่งทั้งหลายนั้น อยู ่กับปัจจุบัน ไม ่คิดอดีตอนาคต ข้างหน้าข้างหลังสำรวมอยู่ที่ใจ คือให้มันรวมอยู่ที่ใจแห่งเดียว เอาใจ ไปจดจ้องเฉพาะในอารมณ์เดียว มีสติควบคุมใจตรงนั้นไว้ให้ได้.


90 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 91 ๙  กรรมฐาน แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ วันนี้จะเทศน์เรื่องกรรมฐานให้ฟัง คำว่า กรรมฐาน ไม่ใช่ หมายความแต ่เฉพาะการปฏิบัติของผู้เป็นสงฆ์ หรือว ่าฆราวาส ผู้ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติฝึกหัดรุกขมูลหรือเดินจงกรม แล้วจึงจะเรียกว่า กรรมฐานเท่านั้น แท้ที่จริงคำนี้เป็นคำสาธารณะทั่วไปหมด กรรม คือ การกระทำ ฐานะ คือที่ตั้ง ทำแล้วตั้งในที่ใด ที่นั้นแหละเรียกว่า กรรมฐาน พวกชาวบ้านเขาทำการงานให้แน ่วแน ่เต็มที่ก็เรียกว ่า กรรมฐานเหมือนกัน เช่น ทำโต๊ะ ทำเก้าอี้ ทำบ้าน ทำเรือน ทำอะไร ต่างๆ ทุกสิ่งทุกประการที่ตั้งใจทำจริงๆ จังๆ คือทำที่ตั้งให้มั่นในจิต เรียกว่ากรรมฐานด้วยกันทั้งหมด แต่มันเป็นของภายนอก ไม่ได้เข้า มาอยู่ในกาย กรรมฐานในพระพุทธศาสนานั้น ท่านพูดเฉพาะในเรื่องการ ทำสมาธิภาวนา ทำบริกรรมจนกระทั่งจิตแน ่วแน ่เต็มที่เป็นสมาธิ ภาวนา ท่านเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ คือ จิตเป็นอารมณ์อันหนึ่ง เรียกว ่าสมาธิ เรียกกรรมฐานในพระพุทธศาสนา เมื่อจิตแน ่วแน ่ เต็มที่แล้วจึงค ่อยพิจารณาเข้ามาในกาย มาอยู ่ที่กายแห ่งเดียว


92 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ จนแน่วแน่เต็มที่อีก กายก็ไม่อยู่ ไปอยู่ที่จิตอันเดียว นั่นแหละเรียก กรรมฐาน กรรมฐานมีหลายอย่างหลายวิธี เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐ มีอนุสติ ๑๐ เป็นต้น การพิจารณากายนั้น ให้เพ่งเข้ามาภายใน ให้เห็นเฉพาะตัว ของเราเท่านั้น ไม่ให้เพ่งออกไปภายนอก ไปดูในที่อื่น เพ่งเข้ามา พิจารณาอยู่เฉพาะตัวของเรา พิจารณาให้ถึงที่สุด ให้เห็นเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นเป็นของเปื่อยเน่าปฏิกูล ถ้าเรา ไม่พิจารณาก็จะเข้าใจว่าเป็นของเที่ยงถาวร ไม่เห็นเป็นของปฏิกูล ยังอยากทำเสริมสวยหรูหรา ของที่ไม่ดีก็ทำให้มันดีขึ้น คือต้องการ ให้มันสวยมันงาม ให้มันอยู ่ถาวรเท ่านั้นเอง คือปกปิดความจริง ของมันไม่ให้เห็นตามเป็นจริง แต่กรรมฐานนั้นท่านไม่ปิด ท่านเปิด ของจริงขึ้นมาให้เห็น พิจารณาของจริงว่ามันปฏิกูลอย่างไร มันเปื่อย เน่าอย่างไร มันเป็นของไม่เที่ยงอย่างไร ให้มันชัดด้วยตนเอง มัน จึงจะเรียกว่า กรรมฐาน พิจารณาอย่างนี้ ไม่ให้พิจารณาส่งออกไป ภายนอก ให้พิจารณาให้เห็นของจริงตามเป็นจริง เรามาพิจารณาดูตัวของเราว ่าเป็นของจริงยังไง เป็นอสุภะ ปฏิกูลน่ะ มันจริงไหม พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอ็น กระดูก นี่แหละ เป็นต้น หรือจะพิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่ต้องพิจารณา ตามลำดับก็ได้เหมือนกัน ขอแต ่ให้เห็นชัดลงไปก็แล้วกัน สมมติ ว ่าเราพิจารณาเฉพาะฟันของเราเป็นของปฏิกูลโสโครก เราต้อง แปรงมันทุกวี่ทุกวัน วันหนึ่งตั้งหลายหนหลายครั้ง ฟันนั้นเป็นของ ปฏิกูล มีมูลฟันเกรอะกรังอยู ่ แต ่ว ่าฟันมันก็มีประโยชน์ เคี้ยว อาหารให้แหลกแล้วจึงกลืนลงไป อาหารที่เราเคี้ยวลงไปนั้นคลุก


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 93 เคล้าด้วยน้ำลาย ถ้าไม่มีน้ำลายก็กลืนไม่ได้ ถ้าเราคายมันออกมา ก็ไม ่สามารถจะเอากลับเข้าปาก นั่นก็แสดงว ่าเป็นของน ่าเกลียด เป็นปฏิกูลแล้ว เมื่อกลืนลงไปอยู่ในลำไส้ยิ่งแล้วใหญ่ ไม่สามารถ ที่จะเอาออกมาได้ ถ้าอยู ่ในกระเพาะก็จะถูกย ่อยเปื ่อยแปรสภาพ ไปตามที่มันจะถูกย ่อย ละลายซึมซาบไปตามเส้นเลือด ไปบำรุง ร่างกายทุกชิ้นทุกส่วน ตั้งแต่เส้นผมตลอดจนถึงเท้า เรากลืนอาหาร เข้าทางปากที่เดียวกันนั่นแหละ มันจัดแจงปรุงแต ่งไปตามเรื่อง ของมันเอง เมื่อผ ่านออกจากกระเพาะแล้ว เศษที่เหลือจากย ่อย ในกระเพาะก็ไหลไปตามลำไส้เล็กถึงลำไส้ใหญ่ เป็นอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นมูตร เป็นคูถยิ่งสกปรกใหญ่ เหม็นก็แสนเหม็นน่าเกลียดน่ากลัว นั่นล่ะพิจารณาเฉพาะอันเดียวเท่านั้นแหละ ถ้าหากว่าพิจารณาอสุภะ นี่แล้ว จิตเกิดรวมวูบลงไปเห็นภาพนิมิต คือ เกิดเน่าเละลงไปหมด เลย อันนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต เราพิจารณาอย่างที่ว่านี้ไม่ต้องเกิด ปฏิภาคนิมิตก็ได้ ให้เห็นชัดตามเป็นจริงเลย ภายนอกเราก็เห็น ภายในเราก็เห็น เรียกว่า ญาณทัศนะ เห็นชัดตามเป็นจริงทั้งภายนอก ภายใน การพิจารณาส่วนอื่นๆ ก็เหมือนกัน พิจารณาให้เป็นของปฏิกูล พระพุทธเจ้าท่านเทศนาว่า อุคฺฆรนฺตํ ปคฺฆรนฺตํ แปลว่ามีไถ้ ๒ ปาก คือว่ากรอกลงไปทางปากนี่แล้วก็ไหลลงไปทางทวาร ไหลอยู่ตลอด เวลาทุกวี่ทุกวัน คนเราไม่มีอะไรดีเลย หมดทั้งตัวมีไถ้ ๒ ปากเท่านั้น แหละ เราเห็นชัดอย่างนี้ เห็นตามเป็นจริงอย่างนี้ เรียกว่าเห็นของ จริง เห็นด้วยสมาธิ จิตแน่วแน่จึงค่อยเห็น ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิมัน ไม ่เห็น มันเห็นแต ่ของสวยของงาม ของสกปรกมันไม ่อยากเห็น เรียกว่าเห็นเป็นโลก ถ้าจิตเป็นสมาธิล่ะก็เห็นเป็นธรรม


94 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เห็นเป็นโลกอย่างหนึ่ง เห็นเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าจิตไม่เป็น สมาธิ เห็นเป็นโลก เห็นเป็นของสวยสดงดงามไปทุกสิ่งทุกอย ่าง มันไม่สวยก็ตบแต่งให้สวย มันไม่งามก็ตบแต่งให้งาม แท้ที่จริงตัว ของเราไม่มีอะไรงามหรอก ไม่สวยอะไรหรอก แต่เราเข้าใจว่าของ สวยของงาม แล้วก็ตบแต ่งวาดคิ้วทาปาก เขียนนั่นเขียนนี่อะไร ต่างๆ แต่งผีไม่มีดีอะไรหรอก ตัวเรานี่เรียกว่าซากผี แต่งสวยสด งดงามเหมือนกับเขาแต่งโลงผีนั่นแหละ อันตัวของเราก็เหมือนกัน แต่งภายนอกให้สวยสดงดงามไม่อยากดูของไม่ดี แต่ข้างในเหม็น หึ่งเชียว ให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนี้แล้วจึงจะเกิดสลดสังเวช เห็น ตัวตนของเราเป็นของน่าเบื่อหน่าย เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นอสุภะ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างที่เคยอธิบายให้ฟังแล้ว ของ ไม่เที่ยงมันแปรปรวนไปทุกวันๆ สิ่งทั้งปวงหมดในโลกนี้ไม่มีเที่ยง สักอย่างเดียว เที่ยงแท้ก็คือความตาย ทุกคนต้องตาย อะไรแต่งขึ้น มาปรากฏขึ้นมาแล้วเสื่อมในตัว เช่น คนเกิดวันหนึ่งก็ได้เสื่อมไป วันหนึ่งแล้ว ๒ วันก็เสื่อมไป ๒ วัน เดือน ๒ เดือนก็เสื่อมไปตาม วันเวลา มันแก ่ไปคือมันเสื่อมไป สิ่งของทั้งปวงหมดก็เหมือนกัน สร้างขึ้นมายังไม ่ทันสำเร็จมันก็เสื่อมไปแล้ว เสื่อมไปทุกวันๆ ถ้า ไม่พิจารณาก็เห็นยาก ก็สร้างยังไม่ทันจะสำเร็จจะเสื่อมได้อย่างไร มันพูดอยากอยู่เหมือนกัน สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมานั้นนับวันที่จะเสื่อม เสร็จไม ่เสร็จก็ต้องเสื่อม อย ่างเราสร้างบ้านให้มันเป็นรูปเป็นร ่าง ขึ้นมาก็ดี มันก็เสื่อมแล้วล่ะนั่น วัตถุที่ทำนั้นมันเสื่อมไปแล้ว บ้าน เรือนของเราก็ต้องเสื่อมไปเสื่อมไปทีละน้อย เสื่อมไปโดยลำดับ เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง ถ้าไม่เสื่อม ร้อยปี สองร้อยปี มันก็ถาวรมั่นคง น่ะซี แต่นี่มันเสื่อม ชำรุดทรุดโทรม จึงให้เห็นความชำรุดทรุดโทรม ของมัน นั่นเรียกว ่าความไม ่เที่ยง ตัวของเราก็เหมือนกัน แก ่วัน


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 95 แก่เดือน แก่ปีไปโดยลำดับ ถ้าเข้าใจว่าตนยังหนุ่มยังวัยอยู่ ไม่มี เสื่อม จนความแก่เฒ่าชำรุดทรุดโทรมมา แข้งขาอวัยวะทุกชิ้นส่วน ปวดเมื่อย เจ็บโน ่นเจ็บนี่อะไรต ่างๆ จึงค ่อยรู้สึกว ่าเสื่อมไปแล้ว ที่จริงมันเสื่อมไปโดยลำดับ แต่ไม่รู้ตัวเพราะมันมีพลังเพียงพอที่จะ ต้านทานต ่อสู้สิ่งแวดล้อม ที่มันเสื่อมไปทุกวันทุกนาทีน ่ะคือทุกข์ ทุกข์ที่เราเห็นนั้นน ่ะ ต้องเจ็บหนักถึงกับล้มนอนกับเสื่อกับหมอน จึงค่อยรู้จักว่าทุกข์ หรือเจ็บปวดต่างๆ จนลุกไม่ได้จึงค่อยว่าทุกข์ อันนั้นมันทุกข์ใหญ่ ส่วนทุกข์ทุกวันนี้น่ะคือความเสื่อม มันทนไม่ได้ นั่นแหละคือความทุกข์ ความทนอยู ่ไม ่ได้นั่นแหละเรียกว ่าทุกข์ มันแปรปรวนไปแล้วจึงเรียกว่าทุกข์ ก็อนิจจัง ทุกขัง นั่นแหละ อนัตตา ความไม่มีสาระอะไรเลย เราหาสาระไม่ได้ อวัยวะ ของร่างกายเรานี่ เช่น แขน ขา ไม่มีสาระอะไรสักนิดเดียว มีแต่ เสื่อมไป ชำรุดทรุดโทรมไปโดยลำดับ เราเกิดขึ้นมาครองร่างกาย ร่างกายก็ค่อยเสื่อมหมดไปๆ แต่จิตใจยังไม่เสื่อม เราใช้จิตใจ ไม่ได้ ใช้ของเหล่านี้ อายตนะทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราใช้ได้ใน เมื่อจิตยังมีอยู ่ ถ้าหากจิตไม ่มีแล้วก็ใช้ไม ่ได้ ของเหล ่านี้ก็หมด เรื่อง เหตุนี้แหละจึงว่าไม่มีสาระ ผู้ปฏิบัติหากอบรมจิตใจให้แน่วแน่ เต็มที่แล้ว ไม่ได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามลำดับอย่างนั้น ต้องเห็นอนัตตาก ่อน ตนตัวไม ่มีสาระเลย มันต้องเห็นชัดลงเป็น อนัตตาก่อน จึงกลับกัน แต่ก็อันเดียวกันนั่นแหละ ผู้ภาวนาต้อง เห็นอนัตตาเสียก่อน แล้วก็อนิจจัง ทุกขัง ทั้ง ๓ อย่างนี้ก็อยู่ด้วย กันนั่นแหละ เห็นอะไรชัดก็เอาเถอะเหมือนกันนั่นแหละ ผู้ที่ตั้งใจพิจารณาอย ่างนี้ เห็นเฉพาะในกายของตนอย ่างนี้ ในภาษาพุทธศาสนา เรียกว่า กรรมฐาน กรรมฐานอันนี้ทำแน่วแน่


96 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เต็มที่จนกระทั่งหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ไม ่เหมือนกรรมฐาน ทางโลก กรรมฐานทางโลกประกอบการงานต่างๆ ให้สำเร็จไปได้ เพราะเหตุที่จิตตั้งมั่นอยู่ในเรื่องนั้น แต่เป็นของภายนอกๆ ทำไป เถิด ทำไปเท่าไรก็ทำไปเถิด ไม่มีสิ้นสุดสักที มีปรุงมีแต่งไปเรื่อย แต่กรรมฐานในพระพุทธศาสนาทำให้ถึงที่สุดได้ ถึงที่สุดได้อย่างไร เราทำที่จิต เข้าถึงจิตแล้วมันถึงที่สุดทั้งนั้น คือเห็นจิตของตนว ่า ใครเป็นคนทำ จิตเป็นคนทำ ใครเป็นคนปรุงแต ่ง จิตนั่นแหละ เป็นคนปรุงแต่ง ใครเป็นกิเลส จิตนั่นแหละเป็นกิเลส ใครละกิเลส จิตละกิเลส ละกิเลสทั้งหมด ไม่มีกิเลสมันก็หมดเรื่องน่ะซี ที่เราอยู่นี่ อยู่ด้วยกิเลส ประกอบด้วยกิเลส เพลิดเพลินมัวเมาลุ่มหลง นั่นแหละ กิเลสทั้งหมด เมื่ออยู ่ในกิเลสจึงไม ่มีที่สิ้นสุด ครั้นเมื่อเห็นกิเลส แล้วละกิเลส มันก็หมดเรื่อง สิ้นสุดเท่านั้น เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ นั่งสมาธิ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน ตั้งใจทำกรรมฐาน อย่าให้มันไถลออกไป ไม่ได้เรื่อง ทำให้ มันแน่วแน่เต็มที่ ทอดธุระสิ่งที่กังวลเกี่ยวข้องหมดทุกประการ ให้ มันเหลือแต ่กรรมฐานอันเดียว เชื่อมั่นในกรรมฐานของตน ที่ตน บริกรรมอยู่นั้น จะบริกรรมพุทโธๆ ก็เชื่อในพุทโธอันนั้น จะบริกรรม อานาปานสติก็เชื่อมั่นอยู่ในอันนั้นให้เต็มที่ อย่าไปทิ้ง อย่าไปไถล


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 97 ไปโน่นไปนี่ ถ้าจิตแน่วแน่เต็มที่แล้ว มันก็วางหมดน่ะซี มันจะเหลือ แต่จิตกับพุทโธเท่านั้นเอง แต่นี่มันไถล ส่งออกไปโน่นไปนี่ มันก็ไม่ เป็นสมาธิสักที มันจะเป็นกรรมฐานได้อย่างไร กรรมฐาน จิตมันต้องแน่วแน่เสียก่อน สิ่งทั้งปวงหมด ลง อันเดียวเสียก ่อนแล้วมันจึงค ่อยเป็นต ่อไป ถ้าไม ่ลงอันเดียวแล้ว ไม ่มีที่จะเป็นกรรมฐานไปได้หรอก เรื่องการอาชีพ การทำการทำ งาน มันต้องมีตัวคือตนของเรานี่แหละ ตัวของเราก็คือจิตของเรา ถ้าไม่มีจิตแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ มันต้องเกิดจากจิตอันเดียวเสียก่อน เดี๋ยวนี้เราไม่รู้ตัวจิตน่ะซี จิตคืออย่างไร มันตั้งวางอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้เรื่อง เพราะเหตุที่จิต ไม่วางนั่นเอง ไม่ว่างจากสิ่งทั้งปวงหมด ถ้าเป็นกรรมฐานแล้ววางหมด ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไร ความว่างนั่นแหละ ผู้รู้ความว่างนั่นแหละ คือตัวจิต ต้องทำให้ถึงความว ่างเสียก ่อนมันจึงจะค ่อยเห็นจิต ความ ปล่อยวาง ความว่าง ผู้รู้ว่าว่างนั่นแหละคือตัวจิต ไปงมหาแต่จิต ไม่หาผู้งม ไปงมหาเสียที่อื่น ผู้งมไม่เห็นตัวผู้งม มันก็ไม่เห็นจิตน่ะซี ผู้ไปงมหานั่นแหละคือตัวจิต ทำกรรมฐานให้มันแน่วแน่เต็มที่ จึงจะ เห็นตัวจิต วันนี้อธิบายให้ฟังเท่านี้แหละ ตั้งใจทำต่อไป.


98 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 99 ๑๐  แก่นของการปฏิบัติ แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๖ การฟังเทศน์ต้องจับจุดให้ได้ คือ จับจุดหัวใจของการเทศนา นั่นเอง หัวใจมันอยู ่ตรงไหนให้จับเอาตรงนั้น สิ่งทั้งปวงหมดที่มี วิญญาณครอง จุดสำคัญอยู่ที่หัวใจ สัตว์ต่างๆ รวมทั้งมนุษย์เราด้วย ถ้าจับหัวใจได้แล้ว สิ่งอื่นๆ ก็ไม่มีอะไร หมดเรื่อง จุดหัวใจของธรรมเทศนา คือ ข้อความที่ท ่านเทศนานั้นมี ประสงค์อะไร มีจุดหมายปลายทางอะไรในเทศนานั้น ที่ท่านเทศนา มากๆ เป็นเครื่องปลีกย่อยออกไปแต่ละอย่างๆ นั้น อย่าไปหลงตาม หลงคิดนึกจดจำตามทั้งหมดไม่ได้ ให้จับเอาจุดสำคัญจุดเดียว ส่วน ปลีกย่อยออกไปจากนั้นทั้งหมดไม่ให้เอา การเทศนานั้น ผู้เทศนาก็ ต้องมีจุดประสงค์อย่างนั้น ผู้ฟังก็ต้องมีจุดประสงค์เหมือนกัน จึงจะ กลมกลืนกันทั้งผู้เทศน์และผู้ฟัง ผู้ฟังโดยส่วนมากไม่จับเอาจุดสำคัญ เอาแต่เปลือกๆ ย่อยออกไป


100 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ พระพุทธองค์ทรงเทศนาว ่า ตจสาโต สำคัญว ่าเปลือกเป็น แก่น เปลือกมันมากกว่าแก่น ธรรมเทศนาก็เช่นเดียวกัน ที่อธิบาย ปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ สารพัดทุกอย่าง เพื่อแสดงให้เข้าใจความหมาย นั่นเอง แต่คนก็ไปหลงจับเอาเปลือกมาเป็นแก่น แก่นแท้เลยจับเอา ไม่ได้ ทุกๆ คนที่มาปฏิบัติธรรมอยู่นี้ ก็มุ่งหมายหาแก่นของธรรม ด้วยกันทั้งนั้น แต่แล้วโดยส่วนมากไม่ค่อยเอาแก่น เอาแต่เปลือกๆ อย่างเช่น ละเว้นการงานทั้งปวงแล้วมาอยู่วัด ล้วนแล้วแต่มีอุปนิสัย ต่างๆ กัน การอยู่การกินกิริยาอาการความเป็นอยู่ตลอดคำพูดจา พาทีก็ไม่เหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนั้น ความกระทบกระเทือนภายในใจ ย่อมเกิดแก่ผู้ไม่เห็นตามเป็นจริงของบุคคลนั้นๆ อนึ่ง อาหารการ บริโภค ตลอดถึงที่อยู่อาศัยก็เช่นเดียวกัน ไม่สบกับกิเลสของตน ย่อมเป็นอุปสรรคแก่การภาวนา เหล่านี้แหละเรียกว่าเอาเปลือกมา เป็นแก่น มัวแต่ไม่พอใจอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ติดใจอยู่แต่เรื่องเหล่านั้นเป็น อารมณ์ ไม่สละทอดทิ้ง สิ่งเหล่านั้นจะติดนิสัยต่อไปในภายภาคหน้า แทนที่เราจะมาฝึกหัดสละปล ่อยวาง เลยกลับมาเอาของพวกนั้น เป็นอารมณ์ การภาวนาเลยได้แต่ของพวกนั้นมาเป็นแก่น คิดนึก แต่เรื่องเหล่านั้น เลยเป็นนิสัย อย่างที่พูดกันว่า คนขี้โกรธ คนนิสัยหงุดหงิด มีอารมณ์เดือด ร้อนอยู ่เสมอ คนชอบคิดชอบนึกก็จะระแวงสิ่งต ่างๆ อยู ่เรื่อยไป พูดกันง่ายๆ ว่าเป็นคนโรคเส้นประสาทก็แล้วกัน คนโรคเส้นประสาท นี่ไม่สามารถจะทำสมาธิได้ ภาวนาไม่ได้เรื่องได้ราว มีแต่เรื่องวุ่นวาย


Click to View FlipBook Version