The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ทีมงานกรุธรรม, 2023-10-27 22:55:05

เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

Keywords: เทสรังสีอนุสรณ์ ๑ หลวงปู่เทสก์

เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 101 ทุกสิ่งทุกอย่าง เวลาภาวนาเกิดอารมณ์ต่างๆ ก็คิดนึกปรุงแต่งเข้าใจว่า ตนดิบตนดี ผลที่สุดจิตไม่รวมลงไปได้ อันนั้นเรียกว่าเอาเปลือกมา เป็นแก่น เวลากลับไปถึงบ้านแล้วแทนที่จะเอาของดีๆ ไปฝากลูกหลาน เพื่อนฝูง คลี่ห่อออกมีแต่เปลือกทั้งเพ เคยมีลูกศิษย์คนหนึ่งเป็นคนแก่แล้ว เวลาแกภาวนาปรุงแต่ง ไปสารพัดทุกอย่างทั้งในอดีตอนาคต ปรุงแต่งไม่มีที่สิ้นสุด เข้าใจว่า ตนมีปัญญาดี เห็นหมู่เพื่อนภาวนาดีมีความสงบ แกหาว่าเป็นคน ไม่มีปัญญา เลยยกโทษดูถูกดูหมิ่นเพื่อน ต่อมาหมู่เพื่อนมาศึกษา ธรรมะเล่าเรื่องการปฏิบัติพูดถึงเรื่องจิตรวม จิตเป็นสมาธิ มีเอกัคคตารมณ์ อารมณ์อันเดียว แล้วจิตใจเบิกบานสว่างไสว ตาแก่คนนั้น อยู่ในที่นั้นด้วย ได้ยินเขาพูดถึงจิตรวมมีอารมณ์เดียว จิตใจแช่มชื่น เบิกบาน แกจึงสงสัยถามผู้เขียนว่า “เอ๊ะ ! จิตรวมนี้มันเป็นอย่างไร” ผู้เขียนจึงถามว่า ที่แกภาวนาดีนั้นจิตของแกเป็นอย่างไร แกตอบ ว ่า มันจะคิดนึกรู้อะไรๆ ทุกอย ่างไม ่มีหยุดยั้ง และเข้าใจว ่าเป็น ปัญญาของดีวิเศษ ผู้เขียนเลยอธิบายการภาวนาเบื้องต้นจนจิต รวมเป็นสมาธิให้ฟัง ในผลที่สุดแกอยู ่กับผู้เขียนไม ่ได้ หนีไปอยู ่ สำนักอีกแห ่งหนึ่ง ไปบวชเป็นพระก็ไปประพฤตินอกรีตนอกรอย ทุกอย่าง ตามเรื่องตามนิสัยของแก หมู่เพื่อนพระภิกษุตักเตือนว่า ทำอย ่างนี้มันผิดเป็นอาบัติ แกก็ตอบว ่า อาบัติไม ่เห็นมีตัวมีตน ไม่เห็นมีเขี้ยวมีงา ไม่เห็นกัดนี่ กลับเห็นผิดไปใหญ่โตตามนิสัยเดิม ที่สุดก็อยู่กับหมู่เพื่อนไม่ได้ ย้ายไปอยู่หลายแห่ง ได้ยินข่าวว่าเข้า เขตพม่า เดี๋ยวนี้ตายหรือยังก็ไม่ทราบ


102 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ นั่นแหละเอาเปลือกเป็นแก ่น มันเป็นอย ่างนี้แหละ เวลา ภาวนาจิตฟุ้งซ ่าน เกิดจากอารมณ์คิดนึกปรุงแต ่งไปกับอารมณ์ เข้าใจว่าเป็นปัญญาก็ยิ่งฟุ้งปรุงแต่งมาก เข้าใจว่าตนเฉลียวฉลาด เลยอวดตัวอวดตนว่าวิเศษวิโส อันนี้เรียกว่าเอาเปลือกมาเป็นแก่น บางคนเวลาภาวนามีอารมณ์ต ่างๆ เกิดขึ้นมา เป็นภาพเป็นนิมิต ให้ปรากฏแล้วยึดเอาภาพนิมิตนั้นเป็นอารมณ์ นั่นก็เอาเปลือก เป็นแก่นเหมือนกัน ส่วนคนที่ภาวนาเป็นจนกระทั่งจิตรวมลงไปนิ่งแน่วจนลืมเนื้อ ลืมตัว ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เรียกว่านั่งหลับขาดสติ แต่เขาเข้าใจ ว ่าอันนั้นเป็นแก ่น เข้าใจว ่าตนปฏิบัติได้ดีวิเศษ นั่นก็เอาเปลือก เป็นแก่นเหมือนกัน แต่ก็ยังดีกว่าที่ว่ามาแล้ว เพราะอันนี้เป็นเปลือก หุ้มแก่น ถ้ากะเทาะเปลือกแล้วก็จะเห็นแก่นธรรมเลย นอกจากนั้น เมื่อทำสมาธิภาวนากำหนดจิตพิจารณาอยู่ภายใน มันจะคิดนึกเฉพาะภายในจิตนั่นแหละ แต่มันนึกออกไปภายนอก เช่น เห็นรูป เห็นนามต่างๆ ภายนอก เรียกว่าเห็นสิ่งภายนอก ไม่อยู่ เฉพาะในจิต ถ้าหากจิตรู้เห็นอยู่ภายใน จิตไม่เป็นอย่างนั้น พิจารณา สิ่งใดจิตมันแน่วแน่ปลอดโปร่ง เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ลงสภาวะ เป็นจริง แล้วจิตก็สงบนิ่ง ไม่ส่งออกไปภายนอก อย่างนั้นจึงเรียกว่า จิตอยู่ภายใน จิตอยู่กับใจแท้ อันนี้เป็นแก่นแท้ อันที่ส่งออกไปกับ รูปนามภายนอกนั่นยังเป็นเปลือกอยู่ คนที่ไม่เข้าใจเปลือก ไม่เข้าใจ แก่น ย่อมจับพลัดจับผลูในสิ่งที่ตนเห็น ความไม่รู้ไม่เข้าใจนั่นแหละ ทำให้จับเอาเปลือกไม่เอาแก่น เหตุนั้นจึงควรศึกษาให้ถ่องแท้แน่แก่ใจ อย่าพึงตื่นเต้นจำเอาอันตนเห็นมาก่อน ให้พิจารณาให้มันชัดเจนแจ่ม


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 103 แจ้งในใจของตนเอง และให้เป็นอยู่อย่างนั้นบ่อยๆ นานๆ พิจารณา จนชำนิชำนาญ เมื่อชำนาญแล้วรู้ได้ด้วยตนเองว่าอันนี้ผิดหรือถูกทาง อันนี้เป็นแก่นหรือเป็นเปลือก ถ้าหากว่าพิจารณาสิ่งนั้น (ที่เกิดจากภาวนา) อยู่นานๆ จน กระทั่งว่าจะพิจารณาก็ได้ จะให้จิตอยู่นิ่งเฉยอยู่ที่เดียวก็ได้ จะให้ มันออกส่งส่ายก็ได้โดยที่รู้ตัวอยู่ทุกขณะ อันนั้นเรียกว่าเราจับแก่น ได้แล้ว ผู้ปฏิบัติ ให้ฝึกหัดปฏิบัติเช่นนั้น ไปให้มันชำนิชำนาญอยู่ ตลอดเวลา แล้วคราวนี้จะเห็นเรื่องจิตของตนเอง เราจะรู้เรื่องของเรา ว่าเวลานี้จิตใจเราเป็นอย่างไร ความโลภ ความโกรธ ความหลง มีหรือ ไม่ มีความอดความทนหรือไม่ จิตใจเราเยือกเย็นหรือไม่ เมื่อฝึกหัด ปฏิบัติไปแล้วถ้าจิตใจเยือกเย็นปลอดโปร ่งดี นั่นแสดงว ่าถูก ถ้า หากว่าจิตใจมันยังหงุดหงิด ฉุนเฉียว ขี้โกรธ ใจน้อย ไม่พอใจสิ่ง ต่างๆ ที่กระทบอารมณ์อยู่อย่างเดิม อย่างนั้นเรียกว่า ผิดทาง การ ที่จะทราบว่าเราปฏิบัติในทางผิดหรือถูกสังเกตได้ตรงนี้ เอาเถิด ถึงแม้ว่าจะผิดมากผิดน้อยก็ตาม ให้รักษาอันที่มัน เป็นอยู่อย่างนั้นไว้เสียก่อน แล้วค่อยสังเกตทีหลัง คือ คอยสังเกต จิตของเราด้วยตัวเราเองว่า มันถูกหรือมันผิด ถูกมากหรือผิดมาก ถูกน้อยหรือผิดน้อย ให้มันรู้จักด้วยตัวเอง อันนี้แหละเป็นเครื่อง สังเกต ถ้าหากว ่าไม ่รู้เรื่องจิตของตัวเองแล้ว อย ่าเพิ่งไปตัดสิน เข้าใจก ่อนเลยว ่าอันนั้นถูกหรือผิด เข้าใจตนเองได้เสียก ่อนจึงจะ เข้าใจว ่า ที่ตนปฏิบัตินั้นถูกหรือผิดทาง ไม ่ต้องมีใครตัดสินให้ ตัดสินได้ด้วยใจตนเอง


104 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ธรรมดาคนเรามันต้องมีทั้งผิดและถูก ถึงพระอริยเจ้าที่เป็น พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ท ่านก็ยังมีผิดพลาด อยู่ตามชั้นตามภูมิของท่าน ถูกทั้งหมดไม่ได้ ก็ต้องมีผิดอยู่ดีๆ แต่ว่า ความผิดอันนั้นมีการแก้ไขในตัว คือว่า ความโลภ ความโกรธ ความ หลง ความตระหนี่เหนียวแน่น ความหงุดหงิดใจ น้อยใจต่างๆ ที่ยัง มีอยู ่ เมื่อจิตสงบระงับลงด้วยสมาธิภาวนาแล้ว ให้ยกเอาข้อผิด อันนั้นแหละมาพิจารณา เหตุใดมันจึงเกิด เหตุใดมันจึงโลภ เหตุใด มันจึงหลง มันเกิดขึ้นได้ด้วยประการใด สมมติว ่าพิจารณาจนรู้จักว ่าตรงนั้นมันผิด และเข้าใจชัดว ่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ให้เอาความรู้นั้นๆ มาคอยระงับความผิด ที่ยังมีอยู ่ ตั้งใจพิจารณาในตรงนั้นแหละบ ่อยๆ ความผิดอันนั้น มันค่อยลดลงๆ จนกระทั่งมันหมดไปได้ สงบลงไปได้ เช่นนี้เรียกว่า ความผิดหรือกิเลสที่ยังเหลือฝังอยู ่ในจิตนั้นมันหมดไปได้ โดย ตั้งสติชำระด้วยการพิจารณาและเกิดปัญญาขึ้นมา จึงจะเป็นหน ทางแก้ไขได้ ทีนี้ถ้าหากว่าเกิดกิเลสขึ้นด้วยประการต่างๆ ดังอธิบายมานั้น เรารู้จักอยู่ว่ามีกิเลสครอบงำจิต แต่ไม่สามารถแก้ไข ไม่สามารถชำระ ได้ กิเลสอันนั้นเลยฝังอยู่ในจิตติดเป็นนิสัยไป คนเราเกิดมาจนอายุ ได้ ๓๐ - ๔๐ ปีขึ้นไป นับว่าเป็นเวลานานอักโขทีเดียว ที่กิเลสต่างๆ มันจะหมักดองอยู่ในสันดาน ไม่สามารถระงับหรือชำระให้มันดับสูญ ไปได้ ติดอยู่ที่จิตอย่างนั้นแหละ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 105 ดังนั้น เราเกิดขึ้นมาชาติหนึ่งก็คล้ายกับว่ามาสะสมกิเลสให้ พักนอนเนื่องอยู่ในใจ ให้มันฟักตัวค่อยงอกงามเจริญขึ้นเรื่อยในใจ นิสัยอันนั้นเป็นเหตุให้ก ่อภพก ่อชาติ ชาตินี้สะสมก ่อขึ้นมาเท ่านี้ แล้วยังไม่พอ ชาติหน้ายังสะสมต่อไปอีก ชาติต่อไปก็ยิ่งหนาแน่น ขึ้นทุกที ไม ่มีวันที่จะสงบระงับลงไปได้ ถ้าหากคอยชำระอย ่างที่ อธิบายมานั้น ถึงว่าชำระไม่หมด มันก็จะเบาบางลงไปในภพนี้ในชาติ นี้ แม้ว ่าจะมารู้สึกตัวเอาจนอายุถึงป ่านนี้แล้วก็ตาม หากค ่อย สงบระงับ คอยชำระลงไปๆ จนถึงวันตาย กิเลสก็ค่อยเบาบางลง ไปได้ การปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่าหัดนิสัยชำระกิเลสที่มีอยู่ให้มันเบาบาง ลงไป เราปฏิบัติเช่นนี้จะไม่ดีกว่าที่จะไม่ชำระเสียเลยหรือ การชำระ สะสางจิตของตนย่อมเป็นหน้าที่ของตนโดยเฉพาะ คนอื่นไม่สามารถ ทำให้ได้ เป็นหน้าที่ของตนโดยแท้ จะคอยท ่าให้คนอื่นชำระให้ มันชำระแทนกันไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็ดี ครูบาอาจารย์ก็ดี ไม่ทราบว่าเมื่อไรท่านจะมา เกิดอีก นานนักหนาที่จะได้ประสบพบครูบาอาจารย์ที่สอนให้เรา ละกิเลส สอนให้เราทิ้งสิ่งไม่ดีไม่งามที่มันมีอยู่ในใจของเรา เหตุนั้น จึงว่า เมื่อเรามาฝึกหัดปฏิบัติธรรมจนเห็นเรื่องโทษของตนเองแล้ว ค่อยชำระสะสางให้มันหมดไปๆ ก็จะเป็นคุณแก่ตนในอนาคตข้างหน้า ได้ชื่อว ่าไม ่เสียชาติที่เกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ แล้วยังมาพบพระพุทธ ศาสนา และยังมาพบครูบาอาจารย์ที่สอนให้เราละกิเลสอีกด้วย การ ที่ถือเอาสาระ (คือเป็นจิตหนึ่ง) อันเป็นแก ่นสารของตนนั้นฝังไว้ ในตนให้มั่นคง ก็จะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไพศาลแก่ตน อธิบายเรื่องแก่นของการปฏิบัติมาก็จบเพียงเท่านี้ เอวํ ฯ


106 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ นั่งสมาธิ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน ตั้งใจหาแก่นสารในตัวของเราให้พบ ก่อนที่จะหาแก่นสารใน ตัวของเราได้ ก็ต้องหัดสมาธิให้แน่วแน่เสียก่อน การหัดสมาธิไม่ต้อง เฉพาะนั่งอย่างเดียว จะยืน เดิน นั่ง นอน ทำได้ทั้งนั้น ทุกอิริยาบถ ทำได้หมด ขอให้จิตสงบอยู่เป็นหนึ่งก็แล้วกัน ตัวสาระ คือ จิตเป็นหนึ่ง มันเป็นแก่นสารในตัวของเราแท้ สาระอันนี้ไปไหนก็ไปด้วย ไม่เหมือนร่างกาย เนื้อหนังมังสา ส่วน ต่างๆ ทุกอย่างมันเป็นของปฏิกูล เปื่อยเน่า มันเป็นเพียง ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น กายอันนี้เรายืมเขามาใช้ต่างหาก ไม่ใช่ของเรา หรอก เรามาเกิดในโลกนี้ก็เอาของเหล่านี้มาใช้ (คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ผสมกันเป็นร่างกาย) ใช้แล้วก็ทิ้งไป ไม่เห็นมีใครเอาไป ด้วย เมื่อไปเกิดใหม่ก็เอาของใหม่มาเกิดอีก ของใหม่นั้นก็แบบเก่า คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ของเก่านั่นแหละ ยืมเขาใช้ไปชั่วคราว ท ่านจึงสอนไม ่ให้ถือเป็นของจริงของจังอะไร ไม ่ให้ถือเอา เป็นตนเป็นตัวของเราของเขา แต่คนเรามักถือกันน่ะซี ยึดถือเป็น ตนเป็นตัวเป็นจริงเป็นจัง ใครมาว่าไม่ดีไม่งาม ดูถูกดูหมิ่นก็โกรธ ใหญ่โกรธโต เป็นเพราะว่าไม่เห็นเป็นก้อนดินก้อนหนึ่ง แท้จริงแล้วกายอันนี้ก็เหมือนๆ กับก้อนดินก้อนใหญ่ หรือพื้น ปฐพีที่เราเหยียบย่ำมันนี่แหละ ใครจะว่ามันอย่างไรมันก็ไม่กระทบ กระเทือน จะว ่ามันอย ่างไรมันก็ไม ่เดือดร้อน ใครจะบ้วนน้ำลาย จะสั่งน้ำมูก จะถ่ายอุจจาระปัสสาวะใส่มันก็ไม่ว่าอะไร หากพิจารณา


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 107 ให้เห็นว่ากายนี้แท้จริงแล้วไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของใครทั้งนั้น มันเป็น สภาพของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เท่านั้น อันนี้แหละคือ การหาแก่นสารไม่ได้ แก่นสาร คือ จิตที่เป็นหนึ่ง จับเอาจิตที่เป็นหนึ่งให้ได้ ครั้น จับเอาจิตที่เป็นหนึ่งได้แล้ว รักษาเอาไว้ให้มั่น ไม่ต้องเอาอื่นใดอีก เอาอันเดียวนี้เท่านั้นเป็นพอแล้ว จิตที่เป็นหนึ่งเป็นอย่างไร มันไปเกิดที่ไหน จิตที่เป็นหนึ่ง คือ จิตที่สงบนิ่งแน่วไม่แส่ส่ายไปไหน มี อารมณ์อันเดียว เป็นเอกัคคตารมณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วมันจะไปเกิด ที่ไหนล่ะ รูปร่างมันก็ไม่มีแล้ว อาการของมันก็ไม่มีที่จะทำให้ไปเกิด อีก มันก็ไม ่มีที่เกิดน ่ะซี อันที่มีรูปร ่างเพราะมันมีจิตหลายอย ่าง แส่ส่ายไปตามร่างกาย ที่เรียกว่าอายตนะนั้นมันปรุงแต่งหลายอย่าง จิตที่เป็นหนึ่งแล้วมันไม่มีปรุงไม่มีแต่ง เป็นตัวกลางๆ หยุดนิ่งไม่ไป เกิดที่ไหนอีกแล้ว ทีนี้ทำสมาธิตั้งจิตให้เป็นกลาง ปล ่อยวางอารมณ์ทั้งหมด ก็จะเหลือจิตอันเดียว เมื่อจิตเป็นหนึ่งแล้วให้พิจารณาตัวของเรา คือกายอันนี้ ให้เห็นเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เห็นชัดตาม เป็นจริงลงไป จนกระทั่งจิตปล่อยวางกายเพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิต ทำอย่างนี้จนชำนาญ ถ้าชำนาญแล้วมันเห็นเป็นหนึ่งอยู่ตลอดเวลา หากยังไม่ชำนิชำนาญมันจะเป็นหนึ่งบางครั้งบางคราว แต่ก็ต้องทำ อยู่ตลอดไป


108 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ การหัดภาวนาเบื้องต้น คือ หัดให้เข้าถึงจิตเป็นหนึ่ง หัดเบื้องต้น ก็จริง แต่มันถึงที่สุดได้ คือ จิตที่สงบนิ่งเป็นหนึ่ง มันก็ถึงที่สุดแล้ว การฝึกหัดจิต หัดมากหัดน้อยเท่าไรก็ตาม ต้องการให้จิตเข้าถึงที่สุด คือ จิตเป็นหนึ่งเท่านั้น การฝึกหัดจิตไม่นอกเหนือไปจากจิตเป็นหนึ่ง ส่วนอุบายปัญญาที่จะเกิดขึ้น มันเป็นของเฉพาะบุคคลแตกต่างกัน ไป แล้วแต่คนใดจะมีวาสนาอย่างไร ผู้ฉลาดเฉียบแหลมกว้างขวาง ก็เป็นตามนิสัยของตนๆ ผู้ไม่มีแววไม่มีนิสัยวาสนาเฉียบแหลม ก็เกิด เฉพาะในจิตของตนเท่านั้นก็พอแล้ว ที่อธิบายมานั้นเป็นวิธีฝึกหัดจิต จิตกับใจมันไม ่เหมือนกัน จิต คือผู้คิดนึกส่งส่ายตามสัญญาอารมณ์ต่างๆ เรียกว่าจิต ใจ คือ ผู้นิ่งเฉย ไม่คิดไม่นึก แต่รู้ตัวอยู่ว่าตัวนิ่งเฉยอยู่ แต่ที่จริงแล้วจิตกับใจ ก็อันเดียวกัน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า จิตอันใดใจก็อันนั้น ใจอันใด จิตก็อันนั้น แต่เหตุใดพระองค์จึงตรัสว่าจิตว่าใจ จิตคงหมายเอา ความคิดความนึกแส่ส่ายไปตามอายตนะนั้นๆ ใจคงหมายเอาผู้นิ่งเฉย มีแต่รู้ตัวอยู่ ไม่คิดไม่นึกตามอารมณ์ต่างๆ หรือเรียกว่า ธาตุรู้ ผู้จะฝึกหัดจิตต้องมีสติตามกำหนดจิตให้รู้ว่า จิตคิดดี คิดชั่ว หยาบและละเอียดอย ่างไรอยู ่ตลอดเวลา ถ้าหากจิตคิดชั่วและ เลวทรามก็จงกำจัดมันเสีย ถ้าหากจิตมันคิดดีเป็นกุศลก็จงรักษา มันไว้ ธรรมดา จิตของปุถุชนมันย่อมคิดแต่ในทางชั่ว เมื่อเรารักษา จิตไว้แต่ในทางดีสักหน่อยมันก็จะรวมลงเป็นหนึ่ง นิ่งเฉย เป็นกลาง ไม่ส่งไปมาหน้าหลัง อดีตอนาคตไม่มี นั่นแหละคือตัวใจ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 109 การหัดสมาธิมีความประสงค์ให้เข้าถึงใจเท่านั้น ไม่มีอะไรอื่น แล้ว การฝึกหัดสมาธินี้ ใครจะฝึกแบบไหนวิธีไหนก็ตามเถิดถึงที่สุด ของฝึกหัดก็เข้าถึง ใจ เท่านั้น ไม่มีอะไรอีกแล้ว ถอนออกมาจาก ใจ แล้วก็จะมาคิดนึกปรุงแต่งตามเหตุผลต่างๆ ที่เรียกว่า ปัญญา ปัญญานี้ถ้าถูกทางที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เมื่อพิจารณาในสิ่งนั้นๆ จบ แล้ว ก็เข้าถึง ใจ อีก คือนิ่งเฉยๆ อย่างนี้ตลอดไป ถ้าไม่ใช่ ปัญญา สัมมาทิฏฐิ แล้ว พิจารณาอะไรก็เตลิดเปิดไปไม่มีที่สิ้นสุด ข้อสังเกต ได้ง่ายๆ ปัญญาในทางพุทธศาสนาจะสิ้นสุดได้ ปัญญาในทางโลก หาที่สุดไม่ได้ นี่เรื่องหาสาระอันแท้จริง เอ้า นั่งภาวนาต่อไป.


110 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ๑๑ การฝึกหัดกัมมัฏฐาน (๑) (มะม่วงเปรี้ยว) แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ วันนี้จะเทศน์เรื่อง การฝึกหัดกัมมัฏฐาน เราพากันมาฝึกหัด กัมมัฏฐาน ณ ที่นี้ แต่บางคนก็ยังทำไม่ค่อยจะถูกต้อง ยังไม่ค่อย จะเป็น มาฝึกหัดกัมมัฏฐานก็หัดไปอย่างนั้นแหละ ไม่ทราบว่าจะ จับหลักเอาที่ตรงไหน ไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์ น่าเสียดายเวลาล่วงไป เปล่าๆ ควรที่จะจับหลักให้ได้ การฝึกหัดปฏิบัติจึงจะเป็นไป ถ้า จับหลักยังไม่ได้ก็อยู่อย่างนั้นแหละ ยิ่งอยู่นานไปเท่าใดยิ่งเลอะเทอะ เหลวไหล คนเราแก่เข้า ความแก่ความชรามันทำให้ค่อยทรุดโทรม ไป จับอะไรมันไม่ถูกสักที คนเราแก่ไม่เหมือนกับลูกไม้ มะม่วง มันแก่ มันสุก มันอร่อยหวานดี๊ดี แต่คนเรายิ่งแก่ยิ่งเปรี้ยวไม่น่ากิน คนเราทุกคนควรที่จะมองดูตัวของเราว ่า มันเปรี้ยวอยู ่ตรงไหน มันหวานอยู่ตรงไหน คนแก่ก็ปฏิบัติให้สมกับคนแก่ คนหนุ่มก็ช่าง เถอะปล ่อยไปตามเรื่องของเขาก ่อน พระพุทธเจ้าท ่านไม ่ได้ถือ เอาอายุเป็นเกณฑ์ ไม ่ใช ่อายุมากๆ เรียกเป็นคนแก ่ ท ่านถือเอา คุณธรรมเป็นหลักเป็นเกณฑ์ คนแก ่ที่มีคุณธรรมนั้นได้ชื่อว ่าแก ่ ถูกต้องดีงาม สุกหวานอร่อย คนแก่ที่ไม่มีคุณธรรม แก่เปรี้ยว มัน


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 111 ก็เปรี้ยวล่ะสิ เห็นอะไรๆ ก็วุ่นวายไปหมด ไม่ถูกหูถูกตาด่ากราด ไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เปรี้ยวล่ะสิ คือไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจของตน ไม่รู้จักหลักปฏิบัติใจของตนว่าจะเอาอะไรเป็นหลักปฏิบัติ นั่นแหละ มันเปรี้ยวตรงนั้น เปรี้ยวใครก็ไม่ชอบ หวานใครก็ชอบทุกคน เข้าไปในบ้านถามชื่อ คนสามตา บ้านเธอมีหรือเปล่า (คือผู้เห็น พระไตรลักษณ์) คนสามขา บ้านเธอมีหรือเปล่า (คือยึดถือในพระรัตนตรัย) เข้าไปดงถามถึงไม้ในป่า (คือไม้หอมแก่นจันทร์แดง) พระพุทธเจ้าก็แสดง โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อุทยพฺพยํ คนมีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี ถ้าไม่เห็นความเสื่อม ความสิ้นไปของสังขาร ร่างกายของตน เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปสฺสโต อุทยพฺพยํ สู้เด็กเกิด มาในวันเดียวแต่เขารู้ความเสื่อมความสิ้นไปของสังขารร่างกายไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงแสดงอย่างนี้ เหตุนั้นจึงควรที่จะหาหลักธรรมไว้ สำหรับจิตใจของตน ดังจะอธิบายต่อไปนี้ การภาวนาหาหลักจิตหลักใจ คนเรามีจิตมีใจทุกคน แต ่ว ่า ไม่เห็นจิตใจของตน เรียกว่าไม่มีหลัก เห็นจิตใจของตนแล้ว ตั้งสติ พิจารณาอยู่ที่ใจของตนตลอดเวลา คิดดี คิดชั่ว หยาบ ละเอียด ก็ให้รู้ตัว มันก็ไม่สามารถที่จะทำชั่วได้ ถ้าเห็นจิตของตนอย่างนั้น เหตุนั้นจึงให้ตั้งสติคือความระลึก ให้เอามาตั้งไว้ที่คำบริกรรมแทน ตัวจิต คือจิตไม ่มีตัวไม ่มีตน จึงต้องให้เอาคำบริกรรมมาตั้งอยู ่ จะเป็นพุทโธก็ได้ สัมมาอรหังก็ได้ ยุบหนอพองหนอก็ได้ทั้งนั้น แต่ให้เอาอันเดียว ไม่เอามากอย่าง เอาพุทโธดีกว่า บริกรรมพุทโธ


112 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ให้มันอยู่ที่จิต จิตเป็นคนนึกคนคิดพุทโธ จับตัวนั้นไว้ให้ได้ เมื่อ เอาพุทโธมาไว้แล้ว มันจะรวมความคิดความอ ่านทั้งหมดมารวม อยู่กับพุทโธในที่เดียว นึกเอาพุทโธตัวเดียว ให้เห็นตัวนั้นเสียก่อน ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถทั้งปวงหมดอยู่กับพุทโธอันเดียว จิตใจ ของคนเรามันอันเดียว ไม ่ใช ่หลายอย ่าง ที่ว ่าหลายอย ่างก็เพราะ มันเร็วที่สุด เราจับไม่ทัน เมื่อเอาจิตมาไว้พุทโธแล้ว เราจับพุทโธ ตัวเดียว เป็นอันว ่าเราจับตัวจิตได้แล้ว มันคิดพุทโธ นึกพุทโธ นึกสิ่งใดก็จิตผู้เดียวนั่นแหละ เมื่อความคิดความนึกทั้งหมดมา รวมอยู่ที่คำบริกรรมจุดเดียวแล้ว เป็นอันว่าเราจับจิตได้แล้ว ไม่ต้อง ไปหาจิตที่อื่นอีกแล้ว สติ ความระลึกได้ว ่า สัมปชัญญะ เป็นผู้รู้ตัวอยู ่เสมอว ่า เวลานี้เราตามรักษาจิตอยู่ ทั้ง ๓ อย่างรวมกันเป็นอันเดียวกันคือ สติ ๑ สัมปชัญญะ ๑ จิต ๑ มันก็จะวางอารมณ์อื่นทั้งหมด จะ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็รู้ตัว และตามรักษาอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า คุ้มครองจิตอยู่ รักษาจิตอยู่ จิตเป็นของเราแล้ว ทำอย่างนี้แหละ จึงจะเห็นจิต ถ้าไม่ทำอย่างนี้จะไม่เห็นจิตเลย ปฏิบัติไปเถอะ กี่ปีๆ ก็ตามก็จะไม่เห็นจิตเด็ดขาด การปฏิบัตินั้นได้ชื่อว่าไร้ผล ถ้าปฏิบัติ ตามแนวนี้จะเห็นจิตทุกคน คนเรามีจิตอยู่ด้วยกันทุกคน จิตของตนมีอยู่แต่ไม่เห็น ถ้า ฝึกหัดปฏิบัติตามดังที่กล่าวแล้วข้างต้นจะเห็นจิตทุกคน ทำอย่างนั้น ได้ชื่อว่า ฝึกหัดจิต ทำสมาธิภาวนาเป็น


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 113 การฝึกหัดจิต คือ ๑. ให้รู้จักจิต จับจิตได้ ๒. ฝึกสติ ตามรู้ รักษาจิตจนเห็นจิตของตนอยู่ทุกขณะ เมื่อเห็นจิตแล้ว ๓. ควบคุม รักษาให้จิตอยู่ในอำนาจของเรา จิตคิดอะไร นึกอะไร ส่งส่ายไปไหน มันปรุงมันแต ่งอย ่างไร เราอย ่าคิดอย ่านึก อย ่าปรุงอย ่าแต ่งเสีย จิตมันก็จะนิ่งเฉยอยู่นั่น และฝึกหัดให้เข้าถึงใจได้แล้ว ให้คิดให้นึก ก็ได้ ไม่ให้คิดไม่ให้นึกก็ได้ เรียกว่าเราคุมจิตหรือใจอยู่แล้ว วิธีฝึกหัดจิตต้องเป็นอย ่างนี้ ใครจะฝึกหัดอย ่างไหนก็ตาม อาจารย์องค์ไหนก็ตาม พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ก็ตาม ต้องฝึกหัด อย่างนี้ทั้งนั้น ไม่ฝึกหัดอย่างอื่นหรอก เมื่อฝึกหัดจิตอยู่อย่างนี้แล้ว มันจะมีเวลารวม เวลารวมเราไม่ต้องไปรวม มันรวมเองของมันต่าง หาก จิตรวมนั้นท่านเรียกว่า ภวังคจิต แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ภวังคบาต จิตรวมลงในขณะเดียวแล้วก็ถอนออกมา ลักษณะคล้ายกันกับขณิกสมาธิ คือก ่อนจิตจะรวมไม ่ได้คิดว ่าจิต จะรวมหรือไม่ เมื่อจิตรวมแล้วแลถอนออกมาแล้วจึงรู้ ถ้ารู้ว่าจิต รวมอยู่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ๒. ภวังคจลนะ จิตจะรวมลงไปแล้วมีอาการส่งส่ายอยู่ภายใน ไม่ได้ส่งออกไปภายนอก เหมือนกับคนที่เฝ้าบ้านเฝ้าเรือนแล้วปิด ประตูหมด มีแสงไฟสว่างเห็นสิ่งของทั้งปวงภายในบ้านในเรือน ของ ภายนอกจะไม่เห็นได้ เรียกว่า ภวังคจลนะ ๓. ภวังคุปัจเฉทะ จิตรวมเด็ดเดี่ยวลงไป นิ่งแน่วสู่อารมณ์ อันเดียว ตัดขาดหมดจากอารมณ์ภายนอก บางทีไม่สามารถที่จะรู้ ว่าตนมีหรือไม่ มีแต่ใจเป็นผู้รู้อยู่เท่านั้น


114 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ภวังคจิตนี้ เรียกตามที่ท่านบัญญัติสมมติตามอาการที่มันเป็น ในบางทีผู้ที่ฝึกหัดอย่างที่ว่าเบื้องต้น ตั้งสติควบคุมรักษาจิตอยู่อันเดียว เท่านั้น ไม่ไปไหน บางทีสามารถจะรวมวูบลงไปถึงภวังคุปัจเฉทะเลย วางเฉย ไม่ต้องรวมเป็นภวังค์ตามลำดับก็ได้ ที่ท่านอธิบายเป็นขั้น เป็นตอนนั้น อธิบายให้ฟังเพื่อความเข้าใจต่างหาก แท้จริงไม่ได้บังคับ ถ้าไปมัวถือตามตำราจะไม ่เป็นภวังค์เด็ดขาด เหตุนั้นอย ่าไปถือ อธิบายให้ฟังเพื่อความเข้าใจเฉยๆ ในแถว ภวังค์ เรียกว่า ภวังคบาต ภวังคจลนะ และ ภวังคุปัจเฉทะ คราวนี้แถว สมาธิ ก็มีขณิกสมาธิ คล้ายๆ ภวังคบาต อุปจารสมาธิ คล้ายๆ กับ ภวังคจลนะ อัปปนาสมาธิ คล้ายๆ กับ ภวังคุปัจเฉทะ ภวังค์เป็นเรื่องของฌาน สมาธิเป็นเรื่องของสมาธิ มันแยกกันตรงนั้น ขณิกสมาธิ พิจารณาพุทโธ นึกพุทโธอันเดียว บางครั้งมันก็อยู่ บางครั้งมันก็ไม่อยู่ จิตยังไม่แน่วแน่วูบวาบไปมา เรียกว่าขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ จิตแน่วลงอันเดียว แต่มันมีอาการไปๆ มาๆ รู้ตัวอยู่ภายใน แต่ไม่ได้ส่งออกนอก ที่เรียกว่า ส่งนอก คืออาการ ของจิตที่คิดนึกส่งส่าย ปรุงแต่งสารพัดทุกสิ่งทุกประการรอบด้าน รอบทิศ โดยไม่รู้ตัว ไม่มีสติส่งใน แต่อุปจารสมาธินี้ไม่เป็นอย่าง นั้น มีสติรู้อยู่ แต่ว่ามันยังไม่อยู่นิ่ง ยังคิดพิจารณา เช่น กายคตาสติ อยู่ภายใน เป็นการพิจารณาอยู่ภายใน อัปปนาสมาธิ จิตรวมเด็ดเดี่ยวแน่วนิ่งลงไป ไม่ได้คิดนึกส่ง นอก จิตละเอียดเต็มที่เลย จิตละเอียดแค่ไหนๆ ก็รู้สึกอยู่ รู้จักเฉยๆ ไม่คิด ไม่พิจารณา เรียกว่า อัปปนาสมาธิ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 115 เรื่องภวังค์และสมาธิเอาเพียงนี้เสียก่อน พระพุทธองค์ก็ทรง แสดงว่า ผู้ใดไม่มีสมาธิ ผู้นั้นไม่มีฌาน ผู้ใดไม่มีฌาน ผู้นั้นไม่มี สมาธิ เมื่อเป็นอันเดียวกัน ทำไมพระองค์จึงทรงแสดงไว้เป็นสอง ผู้เขียนจึงแยกให้รู้ว ่าลักษณะอาการมันต ่างกันอย ่างไร เมื่อจิต รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิเต็มที่แล้ว มันจะอยู่สักพักหนึ่งแล้วก็ถอนขึ้น มาอยู่ในอุปจารสมาธิ คิดนึก ส่งส่าย แต่ว่าอยู่ภายในขอบเขตของ สติ สติควบคุมอยู่ ฝึกหัดอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา ในพระพุทธศาสนานี้ เบื้องต้นของการฝึกหัดจิตคือการฝึกสติ ให้รู้ตัว คุมรักษาจิต จิตเมื่อได้รับการฝึกหัดดีแล้วจะรวมเข้าถึง อัปปนาสมาธิ ที่สุดของการฝึกหัดจิตมีเพียงแค่นั้น ไม่นอกเหนือไป จากนั้น ผู้ฝึกหัดจะต้องทำอยู่เสมอๆ เพราะอายตนะ ธาตุ ขันธ์ ของเรามีอยู่ มันจำเป็นที่จะต้องกระทบกระเทือน จะต้องหวั่นไหว จะต้องฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา จิตเมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว ออกมาเป็นอุปจารสมาธิ อาจจะถอนออกไปถึงขณิกสมาธิหรือ ออกไปนอกขณิกสมาธิก็ได้ ผู้ฝึกหัดปฏิบัติที่ยังไม่ทันชำนิชำนาญ สามารถที่จะหลงทางได้ อัปปนาสมาธิยังไม่ใช่มรรค ผล นิพพาน อันนั้นเป็นแต ่เพียงฝึกหัดจิตให้ชำนิชำนาญเฉยๆ พอจะหยั่งถึง ความวิสุทธิ์ พอจะหยั่งเข้าถึงกระแสแห่งความสงบเยือกเย็นที่เป็น อัปปนาสมาธิเท่านั้น ได้ชื่อว่าจิตใจหยั่งเข้าถึงพระพุทธศาสนาที่มั่นคง แล้ว หยั่งถึงกระแสความจริงแท้ทีเดียว หรือจะเรียกว่าอริยบุคคล ก็ไม่ผิด เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิมาเป็นอุปจารสมาธิแล้ว จะ ต้องพิจารณาอะไรให้เป็นเครื่องอยู่ของจิต พิจารณา ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕


116 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ อายตนะ ๑๒ ที่มีอยู่ในตัวของเราไม่ต้องหนีจากตัวของเรา พระ พุทธศาสนานี้ ทั้งหมดนอกจากธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ และอายตนะแล้ว ไม่มีที่จะพิจารณา การพิจารณาส่วนปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ ออกไป มากมายนั้น เมื่อสรุปใจความรวมแล้วก็จะอยู่ใน ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ และอายตนะนี้ทั้งนั้น พิจารณาของเหล่านี้ให้มันเห็นจริงตามความ เป็นจริงของมัน ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ตัวของเราก็มีทุกๆ คน มีพร้อมหมดแล้วทุกอย่าง เครื่องไม้เครื่องมือของเราที่จะทำการงาน ให้ได้มาซึ่งศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีแล้วทุกอย่าง พิจารณาลงไปสิ ธาตุ ๔ พิจารณาให้เห็นเป็นธาตุ ๔ ล่ะสิ มันเห็นเป็นคนไป ไม ่เห็นของจริงตามเป็นจริงของมัน คนที่ไหน เกิดมาจากธาตุ ๔ แท้ๆ เราเรียกเอาต ่างหากนี่ว ่า คนๆ เราพิจารณาดูสิ อะไรเป็น คน แขน ขา หู ตา จมูก นั้นเป็นคน เขาไม่ได้ว่าคนสักหน่อย เป็น แต ่อาการของธาตุ ๔ ทั้งนั้น ยิ่งพิจารณาลงไปก็จะเห็นสภาพว ่า อันหนึ่งเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไปๆ เท่านั้น ไม่มีมนุษย์ สัตว์ บุคคล ใครดับ เป็นแต่สภาพสิ่งอันหนึ่งเกิดมาแล้วก็ดับไปเท่านั้น ขันธ์ ๕ ก็เช ่นเดียวกัน ตัวของคนนี้เขาสมมติเรียกว ่าคน แต ่พระพุทธเจ้าท ่านบัญญัติเรียกว ่า ขันธ์ ถ้าไม ่บัญญัติก็เรียก ไม่ถูก ขันธ์คือตัวของคนเรานี้ แบ่งออกเป็นอาการ ๕ อย่าง ตาม อาการของมันเป็นอยู่ รูป เป็นรูป เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์แล เฉยๆ สัญญา ความที่จิตจดจำนั่นนี่ต่างๆ นานา สังขาร ความที่จิต ไปปรุงแต ่งนั่นนี่ต ่างๆ นานา วิญญาณ ความรู้สึกครั้งแรกของ อายตนะภายนอกภายในกระทบกัน ทั้ง ๕ นี้ทำหน้าที่อยู ่ที่กาย แห่งเดียวกัน รวมเรียกว่า กาย กับ จิต กายเป็นอาการส่วนหยาบ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 117 แสดงอาการให้เห็นได้ง่าย จิตเป็นของละเอียด ต้องให้บังคับกายให้ แสดงออกจึงจะรู้ว่าจิตต้องการอะไรจึงจะรู้ ในที่นี้ขอเรียกนามธรรม ทั้ง ๔ นั้นว่าจิต ให้เป็นกายกับจิต เพื่อให้มันสั้นเข้า กายกับจิตนี้ พอปฏิสนธิเกิดมาก็ทำงานร ่วมกันเรื่อยมา จะจำแนกแจกออกไป เป็นอะไรๆ ก็แยกออกไปจากกายกับจิตนี้ทั้งนั้น เรียกว่าสนิทสนมกัน มากทีเดียว เวลาจะแตกดับต่างคนก็ไม่ได้อำลาจากกันไป เหมือนกับ ไม่เคยได้อยู่ด้วยกันมาแต่ก่อนเลยนั่นแหละ มิตรชนิดนี้ไม่ควรคบค้า สมาคมเลย อายตนะ ๑๒ คือ ภายใน มี ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แยกออกมาจากขันธ์ ๕ นั่นแหละ ก็ไม่หนีจากกายกับใจเหมือนกัน เมื่อภายในมี ๖ แล้ว ก็ต้องมีภายนอก ๖ เป็นคู่กัน คือ มีรูปไว้คู่ กับตา มีเสียงไว้คู่กับหู มีกลิ่นไว้คู่กับจมูก มีรสไว้คู่กับลิ้น มีกาย ไว้คู่กับสัมผัส มีธรรมารมณ์ไว้คู่กับใจ มารวมลงที่กายกับใจนี้แหละ แต่พูดออกไปอีกอย่าง คนเราพอตั้งลงที่กายกับใจ ๒ อย่างนี้แล้ว จะใช้ให้เป็นไป อย่างไรก็ได้หมด เรียกว่า หมุนไปตามโลกจนกว่าจะแตกดับสลาย จากกัน แต่ถ้าในทางธรรมแล้วจะหยุดนิ่งอยู่กับที่เลย แล้วแต่ใคร จะนำไปใช้ในทางไหน จึงต้องหัดพิจารณาให้บ ่อยๆ หัดพิจารณา กายนี้ให้ชำนิชำนาญ ให้เห็นเป็นธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัว มันก็สบาย เจ็บป่วยก็ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะเจ็บต่างหาก ไม่สบายก็ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะไม่สบาย แตกตายก็ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะต่างหาก


118 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ อธิบายถึงหลักการปฏิบัติ จับหลักให้ได้ จำไว้ให้แม่นเสียก่อน จึงค่อยปฏิบัติฝึกหัดไปตามอย่างที่ได้อธิบายมา จึงจะได้หลัก ถ้าไม่ อย่างนั้นไม่ได้หลักสักที ชีวิตของเรามันไม่แน่นอน แก่ถึงขนาดนี้แล้ว ทุกคน ไม่ทราบว่าใครจะไปก่อนไปหลังกันแน่ ใครจะแตกจะดับ เมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ มันไม่บอกเวลา ให้รีบทำเสียเมื่อยังมีเวลาอยู่นี่ เห็นหน้ากันอยู่หลัดๆ ได้ยิน ได้ฟังกันอยู่ก็ให้รีบฟังเสีย รีบทำเสีย ให้มันทันต่อกาลเวลา นั่งสมาธิ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน นั่งสมาธิ ให้เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย หากว่า ไม่ถนัดจะนั่งพับเพียบลงไปก็ได้ ตามใจ อิริยาบถใดๆ ก็ได้ตามชอบใจ ตั้งสติกำหนดจิต เอาพุทโธไว้ที่จิต หรือเอาจิตไปไว้ที่พุทโธ ให้เห็นพุทโธอยู ่กับจิต เห็นจิตอยู ่กับพุทโธ อันเดียวกันนั่นแหละ อย่าส่งไปข้างนอก ข้างใน ข้างหน้า ข้างหลัง ตั้งอยู่เฉพาะหน้าอย่าง เดียว คือพุทโธ การตั้งจิตถูก ตั้งจิตตรง คือไม่นึกคิดถึงเรื่องอดีต อนาคต ทั้งภายนอก ภายใน ตั้งจิตไว้ที่พุทโธเฉยๆ ตรงกลางนั่นแหละ


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 119 เราไม่ได้คิดว่าจะทำให้ช้าหรือเร็ว มันหากเป็นเอง คือเมื่อจิต ตั้งแน ่วอยู ่เฉพาะพุทโธอันเดียวแล้ว มันเป็นของมันต ่างหาก เรา ไม่ต้องแต่งให้มันเป็น มันจะรวมเข้าไปเป็นใจ คือผู้รู้ ไม่คิด ไม่นึก เป็นกลางเฉยๆ อยู่ บางทีมันอาจจะรวมวูบลงไป แล้วดังเหมือนเสียง ฟ้าผ่าก็มี ทำให้เราตื่นตกใจเสียก็มี บางคนตัวหาย ว่างเหมือนกับ ไม่มีตัวของตน ไม่มีอะไรหมด เลยกลัวตาย ผวาตกใจเสียก็มี บางที ก็วูบลงไปคล้ายตกเหวตกผา กลัวตายสะดุ้งตื่นเสียก็มี มีอาการ ได้หลายอย่าง แต่อย่าไปกลัวว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มีอะไรหรอก มันเป็นเรื่องของสมาธิต่างหาก สติเราไม่พอ เราเผลอสติ จึงต้อง ตกใจกลัวตาย ให้ยึดเอาพุทโธไว้ให้มั่น มันก็จะหายไปเอง ถ้าหากว่าผู้ทำมีสติควบคุมจิตอยู่ จะไม่ตกใจ ให้ย้อนหาตัวผู้รู้ คำว่า ‘ว่าง’ ใครเป็นคนว่าว่าง คำว่า ‘ดังเหมือนฟ้าผ่าก็ดี’ หรือ ‘ตกเหวตกผาก็ดี’ ใครเป็นคนว ่า แล้วจะเห็นจิตของตนในที่นั้น แท้ที่จริงมันแสดงถึงเรื่องจิตนั่นแหละ ว่างก็จิตนั่นแหละ ว่างหรือ สว่างอะไรทั้งหมดก็จิตนั่นแหละเป็นผู้เห็น เราเลยไปมองแต่สิ่งที่มัน เป็นอยู่ ไม่มองจิตของเรา ถ้าสติควบคุมจิตอยู่ จิตจะไม่ถอน จะไม่ ตกใจกลัว จิตยิ่งจะละเอียดลงไป ถ้าจิตถอนก็แสดงว่ายังภาวนา ไม่มีหลักหนักแน่น ต้องตั้งสติให้หนักแน่น ทำสติให้มั่นคงยิ่งขึ้นไป กว่าเก่า เอ้า ภาวนาต่อไป.


120 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 121 ๑๒ การฝึกหัดกัมมัฏฐาน (๒) (วิธีทำมะม่วงให้หวาน) แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ครั้งที่แล้วเทศน์เรื่องอะไร ใครจำได้บ้าง มีผู้หนึ่งตอบว่า หลัก การฝึกหัดกัมมัฏฐานครับ อีกผู้หนึ่งตอบว่า มะม่วงเปรี้ยวเจ้าค่ะ อ๋อ มะม่วงมันเปรี้ยว ทำอย่างไรมันจึงจะหวาน คราวนี้จะสอนวิธี ทำให้มันหวานให้ฟัง อัมพา ภาษาบาลีแปลว่า ‘มะม่วง’ อัมพา พา หมายถึงว่า เรา พาไป คือ ตัวเรานี่แหละ ไปไหนเราก็พาไป ไปเหนือล่องใต้ตะวันตก ตะวันออกทุกสิ่งทุกอย ่างเราพาไปทั้งนั้น ถ้าเราว ่าไม ่พาไปก็ลอง ดูสิใครจะพาไป มาจากกุฏิเราก็พามา เวลากลับเราก็พากลับอีก ตัวนี้แหละที่จะต้องทำให้มันสุก ทำให้มันหวาน วิธีทำมะม่วงให้สุก ทำให้หวาน เขาต้องไปเก็บเอาลูกแก่มา จากต้น แล้วเอามาบ่มไว้ให้มันสุกเสียก่อน สุกแล้วก็กินจึงจะหวาน อะไรทำให้มันแก่พอที่จะบ่มให้สุก อันนั้นก็คือ ศรัทธา มันจะแก่ หรือไม่แก่ก็อยู่ที่ตัวศรัทธาเท่านั้น ทำอะไรทั้งหมดไม่ว่ากิจการงาน


122 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ อะไรทั้งสิ้น ต้องมีศรัทธาเสียก ่อนจึงจะทำได้สำเร็จ ทำไร่ทำนา ทำสวนก็ตามเถิด ถ้าไม ่มีความเชื่อมั่นว ่าจะได้ผลแล้วขี้เกียจทำ ทำสมาธิภาวนาก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่เชื่อมั่นในตัวของเราว่า เราทำ ภาวนาลงไปในที่นี้ ทำบริกรรมนี่ล่ะต้องได้รับผลแน่ ก็จะไม่อยากทำ เชื่อย่างนี้จึงจะทำได้ผล ก็เหมือนเขาเอามะม่วงแก่มาบ่มฉะนั้น เวลาบ่มต้องเอาไว้ที่เดียว ไม่ต้องย้ายไปย้ายมา เอาไว้ที่เก่า นั่นแหละ เมื่อบ ่มแล้วมันจะสุกงอมของมันเอง ถ้าต้องการอยาก ให้สุกเร็วก็เอาเครื่องอบอุ่นใส่เข้าไป แต่ว่าสุกอย่างนั้นสุกไม่หวาน ไม่เหมือนให้มันค่อยสุกด้วยกำลังของมันเอง มันมีรสชาติหวานดี ด้วยกำลังความแก่ของมันเอง การทำสมาธิภาวนาก็เหมือนกัน ถ้า รีบร้อนนักมักจะไม่ได้ผล เราทำให้สม่ำเสมอเป็นกิจวัตร ทำใจให้ เฉยๆ อย่าไปรีบร้อนเลย ทำใจให้รีบร้อนเลยไม่เป็นอีก อยากจะ เห็น อยากจะเป็น อยากจะมี อะไรต่างๆ ให้มันเกิดขึ้น เลยไม่เป็น อย่างชาวบ้านเขาว่า สุกก่อนห่าม อันนี้ก็ฉันเดียวกัน พิจารณากายนี่แหละให้เห็นสภาพตามเป็นจริง มันเป็นจริง อย ่างไรให้เห็นตามความจริงอย ่างนั้น อย ่างพระพุทธเจ้าท ่านว ่า “ยถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง” พึงเห็นตามเป็นจริงของมัน ที่มันเป็นอยู่อย่างไร ธาตุ ๔ คือตัวของเรามันเป็นจริงอยู่แล้ว คือ ธาตุดิน ก็เป็นดินตามสภาพของมัน ถ้าจะแยกออกไปก็มาก เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น อะไรทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวของเรานี้ ที่เป็นของแข็ง เรียกว่า ธาตุดิน ทั้งนั้น ธาตุน้ำ ของเหลวๆ เขา เรียกว่า ธาตุน้ำ มีน้ำดี น้ำเสลด เป็นต้น ทั้งสองอย่างนี้เป็นธาตุหลัก ส ่วนธาตุลมและธาตุไฟนั้นตามมาทีหลังต ่างหาก ธาตุลม ลมพัด


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 123 ไปตามตัวที่ทำให้กายเบา อ ่อนนุ ่มนวล ลมในท้องในไส้ที่มันร้อง โครกครากๆ นั่นแหละ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมก็อยู่เพียง แค ่ปอดเท ่านั้นแหละ แต ่มันกระจายทั่วไปหมดในสรรพางค์กาย ข้างบนมีผมเป็นต้น ข้างล่างตลอดถึงปลายเท้า ธาตุไฟ คือ ไออบอุ่น อยู่ในตัวของเรา ทั้งหมดนี้เรียกว่า ธาตุทั้ง ๔ มันมีอยู่ในตัวของเรา แล้ว เรายืน เดิน นั่ง นอนได้ก็เพราะธาตุทั้ง ๔ ให้เห็นธาตุ ๔ ตาม เป็นจริงเท่านั้น เราไม่ได้ปรุงแต่งอะไร มันปรุงแต่งของมันเอง เราพิจารณาเห็นชัดตามเป็นจริงอย่างนี้ ไม่ต้องเห็นด้วยนิมิต ไม ่ต้องเห็นด้วยภาพ ที่เห็นด้วยภาพด้วยนิมิตนั้นน ่ะมันก็เป็นเอง เห็นภาพนิมิตเช่นว่า ก็ไม่เห็นของสำคัญอะไร อย่างเช่นเราพิจารณา กายของเราให้เห็นเป็นดิน เลยปรากฏเป็นจอมปลวกขึ้นมาเลย ทีเดียว พิจารณาธาตุน้ำ ก็เลยเห็นเป็นแม ่น้ำลำธารไปเลย เห็น เช่นนั้นมักหลง เห็นแล้วมักไปจับภาพนิมิตนั้นเสีย เห็นด้วยสภาพ ที่มันเป็นจริงตามเป็นจริงนี่แหละ พระพุทธเจ้าท ่านให้เห็นตาม ความเป็นจริงอย่างไร ให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น นั่นแหละ เป็นของจริงแท้ อัตภาพเป็นของหลอกลวงให้เราลุ ่มหลง แต ่คน ชอบ ถ้าพูดตรงๆ ไม ่ชอบ ปรุงแต ่งให้หลงเท ่าใดยิ่งอยากหลง คนทั้งหลายในโลกนี้มันเป็นอย ่างนั้น หลงมัวเมาก็พอแล้ว ยิ่งมี คนมาหลอกมาลวงยิ่งไปใหญ ่เลย จึงว ่ามีความเห็นตามเป็นจริง อย่างไร คือให้เห็นมันมีความเป็นจริงอย่างนั้น เรียกว่า บ่มสุกแล้วนะ กินอร ่อยแล้ว หวานฉ่ำ สบาย อร ่อยเลยทีเดียว นั่นแหละ บ่มมะม่วงต้องบ่มด้วยวิธีนี้ ถ้าบ่มด้วยวิธีอื่นไม่ได้กินหรอก กินเข้า ไปก็ไม่อร่อย ไม่หวาน บ่มวิธีนี้หวานทุกคนทีเดียว และไม่ต้องไป แย่งกัน ของใครของมัน หวานทั้งนั้น


124 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เรามีมะม่วงด้วยกันทุกคน แต่คนเราไม่เหมือนลูกไม้ ลูกไม้ ผลไม้ต่างๆ เมื่อแก ่เข้าๆ จะรวมเอาบรรดาลำต้น รากเหง้ามาไว้ เมล็ดแห่งเดียวหมด คนเรายิ่งแก่ยิ่งฟุ้งซ่านมาก สารพัดจะยุ่งเหยิง วุ ่นวาย คิดถึงโน ่นคิดถึงนี่ทุกอย ่างไปหมด ต้นไม้เขารวมอยู ่ใน ผลมะม ่วงนี่แหละ ราก ลำต้น กิ่งก้านสาขาและใบก็รวมอยู ่ใน นั้นหมด มันอยู่ในเมล็ดนั้นหมด แต่ยังไม่ปรากฏ ต่อเมื่อใดเอาไป ฝังไว้ในดิน ถูกดินถูกนำ้เข้า ก็จะแตกออกมาเป็นใบ เป็นราก เป็นต้น ขึ้นมาเท่าเก่า แต่คนเราไม่เป็นอย่างนั้น แก่แล้วยิ่งแตกกิ่งก้านสาขา กว้างขวางออกไป รวมจิตไม่เป็น ได้อธิบายพุทธภาษิตให้ฟังวันก ่อนแล้วว ่า โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อุทยพฺพยํ เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปสฺสโต อุทยพฺพยํ คนเรามีอายุนานตั้งร้อยปี แต่ไม่พิจารณาเห็นความเสื่อมโทรมแห่ง ร่างกายของตนเลย สู้เด็กเกิดในวันนั้นแต่เขาพิจารณาถึงความเกิด ความดับของสังขารร ่างกายของตนเองเสมอไม ่ได้ พระพุทธองค์ ท ่านทรงถือเอาผู้ทรงคุณธรรมว ่าประเสริฐกว ่าผู้มีอายุมากแต ่ไม ่มี คุณธรรม แม้แต่สังขารร่างกายของตนแก่ชำรุดทรุดโทรมอยู่ทุกวัน ก็พิจารณาไม่เห็นเลย จิตของตนก็สำรวมไม่ได้ ได้ชื่อว่าไม่มีประโยชน์ แก่ตนเลย เรียกว่า มะม่วงบ่มไม่สุก ไม่ได้รับประทานมะม่วงหวาน กับเขา พวกเราต้องพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงตามสภาพของจริง อย ่างที่ว ่า ธรรมะเป็นของประเสริฐสูงสุดอยู ่ตรงนี้แหละ อย ่าไป หลงใหลเข้าใจผิดคิดลังเลสงสัยไปอย่างอื่น ไม่เป็นผลประโยชน์อะไร แก่เราเลย เราแก่เฒ่าจวนจะตายทุกคนแล้ว ถึงผู้เทศน์นี่ก็เหมือนกัน ไม่รู้ว่าจะตายวันไหน


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 125 จงรวมจิตของตนเอาไว้ที่เดียว เหมือนกับผลไม้มีมะม ่วง เป็นต้น มันแก่แล้วก็เก็บรวมเอารากเหง้า ต้นลำ กิ่งก้าน สาขา แม้ กระทั่งผลของมันเข้าไว้ในที่เดียวคือเมล็ด ฉะนั้น ชาวสวนเขา ย่อมรู้ดีว่า ถ้าเอาเมล็ดผลไม้นี้ไปปลูกลงในดินแล้วย่อมงอกออกมา มีรากเหง้า ลำต้น กิ่งก้านสาขา และมีผลออกมาเหมือนๆ กับต้นเดิม ของมัน ถ้าผู้ไม่รู้ก็เอาไปทิ้งเสีย ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากเมล็ดนั้น ขอให้รวมจิตตัวขี้ขโมยนี้ให้ได้เสียก ่อน เราจะตัดสินประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกกี่ปีๆ ก็ทำได้ง่าย เหมือนผู้พิพากษา จับขโมยได้แล้ว ตามสืบสวนคดีจนได้พยานหลักฐานเป็นที่แน่ชัด แล้ว ขึ้นนั่งบัลลังก์พิพากษา มีโจทก์จำเลยนั่งฟังพร้อมหน้ากันแล้ว อยู่ทีเดียวคดีย่อมสิ้นสุดอยู่ ณ ที่เดียวฉะนั้น คนเราที่จะตัดสินตนเองว ่าเราจะต้องมาเกิดอีกกี่ภพกี่ชาติ ก็ตรงนี้แหละ ตรงจิตรวมลงเป็นหนึ่งแล้วพิจารณาตนเองว ่า เรา ยังมีกังวลเกี่ยวข้องอยู่ด้วยสิ่งต่างๆ มากน้อยเพียงใด อันใดละได้ แล้ว และยังละไม่ได้ ต้องรู้ด้วยใจของตนเอง จะให้ใครมารู้ให้ไม่มี หรอก เชื่อคนอื่นไม่เชื่อตนเองแล้วจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้อย่างไร


126 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ นั่งสมาธิ ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน เอ้า นั่งบ่มมะม่วง บ่มในที่เดียวนี่แหละ ให้มั่นคงอยู่นี่ ไม่ต้อง ไปไหน เมื่อกายอยู่อย่าให้ใจไปไหน ให้อยู่ด้วยกัน ใจมันวิ่งว่อนไปมา มองก็ไม่เห็น เพราะใจไม่มีตนไม่มีตัว ต้องอาศัยหลักคือคำบริกรรม เป็นเครื่องอยู่ เอาพุทโธๆ ไว้ในใจ พุทโธนี่ดีหนักหนา สารพัดปราบ ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งสติแน่วในพุทโธอันเดียว สามารถที่จะระงับทุกข์โศกโรค ภัยทั้งหมด ถ้าไม่เชื่อก็ลองดูซิ ความโกรธฉุนเฉียวเกิดขึ้นมา ตั้งสติ นึกถึงพุทโธ เดี๋ยวก็หายหมด อายพระพุทธเจ้า อายพุทโธ นี่แหละ พุทโธดีอย่างนี้ ที่มันไม่หายเพราะไม่ได้ตั้งสติให้แน่วแน่ กำหนดพุทโธ เฉยๆ หลอกๆ พุทโธเลยไม่อยู่กับเรา พุทโธ พระพุทธเจ้าหายหมด มันก็มีแต่กิเลสเข้ามาครอบงำ มีแต่ความโกรธวุ่นวายหมด ความ โลภ ความโกรธ ความหลง เป็นภัยอันตรายอย่างยิ่ง ถ้าหากเรา ไม่มีสติตั้งอยู่ในพุทโธแล้ว สารพัดจะทำตัวของเราให้เป็นไปต่างๆ นานา จนกระทั่งคิดประทุษร้ายประหัตประหารฆ ่าฟันคนอื่นได้ ทุกประการ ถ้าตั้งสติกำหนดพุทโธไว้ พุทโธมาอยู่แทนที่ ความโกรธ ก็เลยหายจากใจหมด ฉะนั้น อย ่าลืม ให้ระลึกถึงพุทโธอยู ่เสมอจึงจะเป็นผลให้ สำเร็จประโยชน์แก่ตน เอาพุทโธตัวเดียวเท่านั้นแหละไว้ให้มั่น ตั้ง สติกำหนดให้มันลงจริงๆ จังๆ ในที่เดียวนี่แหละ กายตั้งมั่นอยู่แล้ว ใจมันต้องให้อยู่เหมือนกัน มันพาเราวิ่งว่อนมามากต่อมาก เกิดมา


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 127 มีอายุเท ่าไรแล้วก็ไม ่ทราบ ตั้งแต ่เกิดมาไม ่เห็นตัวพุทโธเลยสักที จิตก็ไม่เห็น สติควบคุมจิตไม่อยู่ ไม่เห็นจิตเลย ไม่เห็นพุทโธเลย พุทโธนั่นคือจิต เอาอันนั้นเสียก่อน เอาพุทโธๆ ไว้ในใจในจิตตัวนั่น แหละ เมื่อสติควบคุมมัน มันก็อยู่กับพุทโธ เอาพุทโธเป็นจิตเสียก่อน ครั้นเมื่อคุมจิตอยู่แล้วพุทโธจะหายไป จะยังเหลือแต่จิตก็เอา ไม่ต้อง ไปนึกถึงพุทโธอีก เท่านี้ล่ะเป็นพอ ทีนี้ก็เอาแต่จิตนั่นแหละ.


128 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 129 ประวัติของ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสฺรํสี)


130 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 131 เราได้อุบัติขึ้นในตระกูล “เรี่ยวแรง” เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๔๕ ที่บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัด อุดรธานี บิดาชื่อ อุส่าห์ เรี่ยวแรง เดิมเป็นชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัด เลย หนีความทุกข์ยากมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านนางิ้ว ตำบลกลางใหญ ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มารดาชื่อครั่ง เป็นชาวพวน ได้อพยพ หนีพวกโจรขโมยมาจากทุ่งย่างเมืองฝาง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้สมรสกับนายอุส่าห์ มีบุตรธิดาด้วยกัน ๑๐ คน ตายแต่ยังเด็ก ๒ คน เป็นหญิง ๑ ชาย ๑ เติบโตมาด้วยกัน ๘ คน ชาย ๔ หญิง ๔ เมื่อเป็นเด็กอายุได้ ๙ ขวบ ได้เรียนหนังสือภาษาไทยกับ พี่ชายซึ่งบวชเป็นพระ กับเด็กๆ ด้วยกันกว่า ๑๐ คน ซึ่งสมัยนั้น รัฐบาลขยายโรงเรียนประถมศึกษายังไม่ทั่วถึง นับว่าเป็นครั้งแรก ที่มีการเรียนการสอนที่นี้ เรียนหนังสือ ปฐม ก.กา มูลบทบรรพกิจ เรียนอยู่ปีกว่า พออ่านได้บ้างแต่ยังไม่คล่อง แต่หนังสือสำหรับพระ เณรเรียนในสมัยนั้นซึ่งเขาเรียกว่า หนังสือธรรม (จารเฉพาะธรรมะ คำสอนของพระพุทธเจ้า) อ ่านได้คล ่อง ต ่อมาพี่ชายสึกจากพระ ไม่มีใครสอนเลยเลิกเรียนกันทั้งหมด แล้วได้ออกจากวัดไปช่วยงาน


132 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ บิดามารดา แต่ถึงขนาดนั้น บิดามารดาและญาติๆ ยังสนับสนุนให้ ปฏิบัติพระอยู ่ จนชาวบ้านเขาไว้วางใจทุกอย ่างในด้านปฏิบัติพระ จนอายุราว ๑๓ - ๑๔ ปี เกิดนิมิตความฝันว่าพระธุดงค์ไล่ตีด้วยแส้ วิ่งหนีเอาตัวรอด กระทั่งวิ่งเข้าห้องนอนร้องให้บิดามารดาช ่วย ท ่านทั้งสองก็เฉยอยู ่เหมือนกับไม ่มีเรื่องอะไร พระธุดงค์หวด ด้วยแส้ สะดุ้งตื่นเหงื่อโชกทั้งตัว ปรากฏรอยแส้ถูกยังเจ็บแสบอยู่ เรานึกว่าเป็นจริง ตื่นขึ้นมาจึงรู้ว่าฝัน ต่อนั้นมาได้มีความคิดถึงเรื่องอาชีพของมนุษย์ที่กระทำกัน อยู ่ ตั้งต้นแต ่ฝนตกดินชุ ่มฉ่ำ ลงมือทำนาและเรื่องอะไรจิปาถะ ตลอดถึงปีใหม่ลงมือทำนาอีก อย่างนี้อยู่ตลอดชีวิต มาคิดเห็นว่า เกิดมานี้แสนทุกข์ลำบากจริงๆ ทำงานไม่มีเวลาหยุดยั้ง แต่ก่อนไม่เคย นึกคิดอย่างนี้เลยสักที มีแต่มัวเมาด้วยการเพลิดเพลินตามประสา คนชนบท เพราะสมัยนั้นหนุ ่มสาวเกือบไม ่รู้จักการใช้การหาเงิน เพราะธรรมชาติป่าเถื่อนยังอุดมสมบูรณ์ด้วยผักและลูกไม้นานาชนิด เข้าป่าหามาได้แบ่งปันกันบริโภคระหว่างญาติพี่น้อง สองวันสามวัน ก็ไม่หมด เรื่องกระบวนการสามัคคี บ้านนาสีดาเป็นเยี่ยมกว่าบ้าน อื่นใน ๒ - ๓ ตำบลที่อยู่ใกล้เคียงกัน หากมีโจรขโมยเกิดขึ้นก็พร้อม ใจกันอยู ่เวรยามตลอดคืนรุ ่ง คนสมัยนี้ได้ยินเข้าจะหาว ่าพูดเท็จ เหลวไหลไม่มีความจริง อนิจจา โลกหนอโลก หมุนเร็วเหลือเกิน เห็นจะไม่มีวันหมุนกลับเสียแล้ว ความหลังจะเป็นความฝันของคน เก่าแก่


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 133 เรายังคิดต่อไปอีกว่า พี่ๆ น้องๆ ทุกคนที่เติบโตมาจะต้องมี ครอบครัวและแยกย้ายออกไปทำมาหากินเฉพาะส่วนตัว คิดไปๆ ว่า บิดามารดาจะไม่มีใครเลี้ยงดูแล้วเกิดสลดสังเวชว่าตัวเราเองจะต้อง เป็นคนเลี้ยงดูบิดามารดาจนตลอดชีวิตท่านทั้งสอง เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม) ได้เดินรุกขมูลมาเป็นครั้งแรก ได้ เข้าไปอาศัยในวัดที่เราอุปัฏฐากอยู่ เป็นโอกาสอันดีจึงได้เข้าปฏิบัติ ท่าน แต่เนื่องด้วยที่วัดเป็นป่าทึบ ไข้มาลาเรียชุกชุม ท่านเป็นไข้ อยู่ไม่ได้ จึงได้ออกไปจำพรรษาที่อื่น และได้ชักชวนให้เราไปจำพรรษา กับท่านด้วย ออกพรรษาแล้วท่านได้กลับเมืองอุบลฯ ซึ่งเป็นถิ่นเดิม ของท่าน ก่อนจะเดินทางตามท่านไป เราได้เอาดอกไม้ ธูป เทียน ใส่ขัน แล้วไปขอขมาโทษผู้เฒ่าผู้แก่ที่เราคุ้นเคย ท่านก็ให้ศีลให้พร ขอให้ไอ้หนูจงสำเร็จตามความปรารถนาทุกประการ พร้อมด้วยหลั่ง น้ำตาร้องไห้ เราได้ติดสอยห้อยตามท่านอาจารย์สิงห์ฯ รอนแรมไป ในป่าและบ้านเล็กบ้านน้อย เมื่อเป็นไข้ก็พักนอนตามร่มไม้ ไข้สร่างแล้ว ก็เดินต่อไป พร้อมกันนั้นก็ทำความเพียรภาวนาไปในตัว เป็นเวลา เดือนกว่าจึงถึงเมืองอุบลฯ ได้บวชเป็นสามเณร เรียนภาษาไทยต่อ อยู่ ๓ ปี จนจบประถมศึกษาบริบูรณ์ ต่อนั้นได้เรียนนักธรรมและ บาลีอีกปีกว่า เลยบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ อุปสมบท ณ วัดสุทัศนาราม เมื่ออายุย่างเข้า ๒๒ ปี ได้ อุปสมบท ที่พัทธสีมา ณ วัดสุทัศนาราม โดยพระมหารัฐ รฐฺปาโล เป็นอุปัชฌาย์ พระมหาปิ ่น ปญฺาพโล เป็นกรรมวาจาจารย์


134 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ตรงกับ ๔ ฯ ๗ ค่ำ เวลา ๑๑.๔๘ น. ในปีนี้ พระอาจารย์สิงห์ ได้กลับมาจำพรรษาที่เมืองอุบลฯ อีก ออกพรรษาแล้วพร้อมด้วยพระมหาปิ่น ปญฺาพโล (น้องชาย ท่านอาจารย์สิงห์ฯ) และพระหลายองค์ด้วยกัน ได้ออกเดินรุกขมูล ไปในที่ต่างๆ เดินตัดลัดป่าดงมูลและดงลิง ซึ่งเขาเลื่องลือในสมัย นั้นว่าเป็นป่าช้างดงเสือ ผ่านจังหวัดร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ ตลอดถึง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งในเวลานั้นเราเพิ่งออกฝึกหัดใหม่ ได้ผจญภัย อันตรายทุกข์อย่างยิ่ง คือวันหนึ่งเดินไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แขวน กลดนอนในป ่า พอมืดค่ำลงมีฝนขนาดหนักตกลงมา โชคดีที่เรา ได้เตรียมปลดมุ้งเอาผ้าครองใส่ในบาตร แล้วเอากลดครอบตัวไว้ ฝนตกจนนอนไม่ได้ น้ำท่วมจนถึงที่นอน นั่งอยู่พักใหญ่ฝนจึงค่อย ซาลง พระที่เป็นเพื่อนองค์หนึ่งซึ่งเขาเคยเดินรุกขมูลก ่อนเราชวน ว ่า ไปเถอะเข้าไปในหมู ่บ้าน เราจึงสะพายบาตรและหอบเครื่อง บริขารของท่านอาจารย์มหาปิ่นฯ พากันออกเดิน อนิจจาเอ๋ย ไป หลงทางวกไปเวียนมาไม่ถึงหมู่บ้านสักที ทั้งบ่าก็สะพายบาตร และ หอบเครื่องบริขารท่านอาจารย์ฯ ด้วย แขนก็เหนื่อยล้าเหน็บชาไป หมด จะหยิบเอาเข็มทิศในย่ามออกมาดูก็ไม่ได้ ให้เพื่อนหยิบออก มาดูจึงรู้ว่าทิศเหนือทิศใต้ ไปประเดี๋ยวหมาเห่า จึงรู้ว่าถึงบ้านแล้ว ได้ไปพักที่วัดร้าง กุฏิไม่มีฝา ฝนสาดเปียกทั้งหมด รุ่งเช้าออกมา บิณฑบาตได้ข้าวเหนียวกับกล้วยน้ำว้าลูกหนึ่งมาฉัน แล้วก็ออก เดินต ่อไป ในชีวิตซึ่งไม ่เคยทุกข์ระกำถึงขนาดนี้ เดินวันยันค่ำ หิวก็หิว เหนื่อยก็เหนื่อย วันต ่อมาเป็นวันตรุษจีน เขามาทำบุญ อาหารมากหน่อย ฉันอาหารพอมีเรี่ยวแรง ๒


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 135 เมื่อเดินทางถึงบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พอ พบท ่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท ่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อยู่ ณ ที่นั้น ได้เข้าฟังธรรมเทศนาจากท่าน มีความชื่นใจสงบสบาย ดี ได้พักอยู่กับท่าน ๒ - ๓ คืน ท่านอาจารย์สิงห์ฯ ได้พากลับไป จำพรรษาที่บ้านหนองลาด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ใน ปีนี้เราทำความเพียรอย ่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว มีการทำความเพียร ภาวนาตลอดวันค่ำคืนรุ่ง พร้อมกันนั้นก็ผ่อนอาหารฉันน้อยที่สุด คือ ทำคำข้าวเหนียวเป็นคำๆ แต่ ๖๐ คำ ถอยลงโดยลำดับถึง ๓ คำ ฉันอยู่ ๓ วัน แล้วก็เพิ่มขึ้นโดยลำดับถึง ๕ คำ ฉันอยู่ได้ ๕ วัน ๑๐ คำฉันอยู่ได้ ๑๐ วัน ๑๕ คำ ฉันอยู่ได้ ๓ เดือน กับข้าวก็ มีแต่พริกกับเกลือเท่านั้น ตลอดเวลา ๓ เดือน กิจวัตรเป็นต้นว่า บิณฑบาต ปัดกวาดลานวัด และหามนำ้ ตลอดถึงอาจริยวัตร ไม่ขาด สักวัน ออกพรรษาแล้ว ท ่านอาจารย์มั่นฯ เรียกตัวให้ไปพบ เพื่อกิจของสงฆ์บางอย่าง หลังจากนั้นก็ไม่ได้กลับไปจำพรรษากับ ท่านอาจารย์สิงห์ฯ อีก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ ได้ไปโปรดโยมมารดาและพี่ชายให้บวช เป็นชีปะขาวในพรรษานี้ ได้ไปจำพรรษาที่อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โยมมารดาได้ติดตามไปจำพรรษาด้วย พร้อมด้วย พี่ชาย และอาว์ผู้ชาย ในปีนี้ทำความเพียรภาวนาได้อุบายอย ่าง หนึ่ง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน กล่าวคือ ที่คนทั้งหลายพูดว่านอนไปแล้ว ถูกผีอำนั้น เราก็เคยเป็นมาแต่เด็กจนกระทั่งบัดนั้นได้เกิดผีอำขึ้น เรามาพิสูจน์ตามความเป็นจริงว ่าผีอำจริงหรือไม ่ ก็ได้ความว ่า ไม่ใช่ผีอำจริง แต่มันเกิดโรคลมต่างหาก เราจะสังเกตได้ว่า เมื่อ ผีอำรู้สึกตัวขึ้นมาแล้วจะมีอาการมึนงง หรือมีอาการแปลกๆ ต่างๆ


136 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หลายอย่างซึ่งเนื่องมาจากลมทั้งนั้น ออกพรรษาแล้วพระคณาจารย์ กรรมฐานต่างๆ ได้อพยพลงไปเมืองอุบลฯ ทั้งหมด เรากับพี่ชาย ได้ย้อนกลับมาจำพรรษาที่บ้านนาช้างน้ำ อำเภอท ่าบ ่อ จังหวัด หนองคาย ซึ่งเราได้เคยจำพรรษาก่อนหน้านี้ปีหนึ่งมาแล้ว ในปีต่อมา ได้จำพรรษาที่ถ้ำพระนาผักหอก ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นถิ่นเดิมของเรา พรรษานี้ โยมผู้ชายได้ไปอยู่ด้วย แต่โชคไม่ดี ท่านป่วย ลูกหลานเห็นว่าเป็น การลำบากเมื่อเจ็บป่วยอยู่สองพ่อลูกด้วยกัน ลูกหลานจึงไปรับมา จำพรรษาที่บ้าน แต่ท่านก็ไม่ได้อยู่ที่เดิม กลับไปอยู่ห้างนาซึ่งเป็น ถิ่นเดิมของท่าน เราก็ได้ลงมาเทศนาอบรมอยู่ตลอดเวลา ข้าวในนา เกิดสังหรณ์ นาชาวบ้านทั้งหมดฟ้าแล้ง ต้นข้าวเหี่ยวแดงหมด ทั้งทุ่ง แต่ที่นาของท่านกลับเขียวชอุ่ม ทุกคนพยากรณ์ว่า ชีปะขาว เห็นจะไม่มีชีวิตต่อไปแล้ว พอดีจวนออกพรรษาท่านก็ถึงแก่กรรม ก ่อนวันจะถึงแก ่กรรมเราก็ได้ลงมาอบรมตามปรกติ ท ่านก็ไม ่ได้ แสดงกิริยาใดๆ เวลาจะถึงแก่กรรมก็สงบไปเฉยๆ บวชมาได้ ๑๐ กว ่าปี อายุ ๗๗ ปี นับว ่าการถึงแก ่กรรมของท ่านไปดีอย ่างยิ่ง ยากที่จะหาผู้จะเป็นอย ่างท ่าน ต ่อจากนั้นเราก็เที่ยวไปในที่ต ่างๆ พร้อมกันนั้นก็ได้อบรมสั่งสอนประชาชนให้ตั้งมั่นอยู ่ในคุณพระ รัตนตรัย พระคณาจารย์ทั้งหลายที่ลงไปจำพรรษาที่เมืองอุบลฯ พากัน ทำเรื่องยุ่ง ท่านอาจารย์มั่นฯ เลยปลีกหมู่หนีไปจำพรรษาที่จังหวัด เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ เราได้ข่าวว่าท่านอาจารย์มั่นฯ หนี ชาวหมู่เข้าป่าไปคนเดียว ใครไปตามก็ไม่พบ เราสองคนกับพระครู


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 137 สีลขันธ์สังวร (อ่อนสี) ได้ไปตามหาขึ้นไปถึงพม่า เข้าใจว่าท่านจะ ไปทางโน้น เราไปถึงผาฮังฮุ้ง ซึ่งเป็นเขตแดนของเมืองปั่น ประเทศ พม่า ก็ไม่ปรากฏวี่แววว่าท่านได้ไปทางนั้น เราได้ไปพักที่หมู่บ้าน ปะหร่องซึ่งเป็นชาวเขา ผา “ฮังฮุ้ง” นี้นับว่าสูงมาก เดินจากหมู่บ้านชาวปะหร่องไป ในราว ๓ ชั่วโมงจึงถึง ขณะนั้นอยู ่หมู ่บ้านปะหร ่องยังมองเห็น พระธาตุปะหร่องที่อยู่บนผาฮังฮุ้งอยู่ลิบๆ พระธาตุนี้ขึ้นไปไหว้ยาก ที่สุด ถ้าเป็นผู้ชายทางที่จะขึ้นไปเป็นชั้นๆ เมื่อขึ้นไปถึงตอนบนสุด ใกล้จะถึงพระธาตุอีกในราว ๑๐ เมตร จะต้องเหนี่ยวโซ่ใช้สองเท้า ยันหน้าผาขึ้นไป จึงจะขึ้นไปได้ ถ้าเป็นผู้หญิง จะต้องขึ้นอีกทาง หนึ่งซึ่งมีโซ่อยู่แล้ว เขาก่อเป็นบันได แต่อิฐหลุดหมดแล้ว ถ้าจะ ขึ้นก็ต้องคลานขึ้นไปจึงจะถึง เมื่อไปถึงข้างบนแล้วจะมีเจดีย์องค์ หนึ่งซึ่งเขาก่อใหม่ มีฐานกว้างในราว ๒ เมตรเศษ ส่วนสูงในราว ๘ เมตร เราได้ขึ้นไปไหว้แล้วกลับมานอนพักที่หมู่บ้านปะหร่องอยู่ ๒ คืน จึงได้กลับลงมา การเดินทางลำบากมาก ต้องเดินไปตาม ลำห้วยและหน้าผาชันมาก กลับมาพักทำความเพียรที่เขตพม ่า ต่อไป อยู่ในราว ๑๐ วัน จึงได้เดินข้ามดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ (ดอยอ่างขางนี้เดิมเขาเรียกว่า “ดอยมหาขาง” ซึ่ง ชาวบ้านเขาแปลว ่า “ผีหวงที่สุด”) ได้มาพักทำความเพียรที่ถ้ำ ตับเต ่าอีก ๑๐ กว ่าคืน ออกจากถ้ำตับเต ่าแล้วได้หลงทางพลัด เข้าไปในเขาลึก เดินตามลำธารคิดว ่าเหมือนลำธารทางภาคอีสาน คือลำธารทางภาคอีสานสุดยอดจะเป็นโคกไปเลย อันนั้นที่ไหนได้ สุดยอดลำธารเป็นหน้าผาสูงชันลิบ พอดีไปถึงหน้าผามืด พร้อมกันนั้น


138 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เกิดอุบัติเหตุเราพลาดก้อนหินล้มลง หินบาดฝ่าเท้าเป็นแผลเหวอะหวะ เราเอาผ้าอังสะพันแล้วเดินปีนป ่ายขึ้นหน้าผา ถึงยอดเขาเห็นรอย ชาวบ้านเขามาหาไม้ ก็เข้าใจว่าใกล้บ้านแล้ว แต่มันก็ค่ำแล้ว เดิน ไปสักประเดี๋ยวได้ยินเสียงกวางตื่นเต้นคึกคักร้องปี๊บเปิ๊บ เราตกใจ พอตั้งสติได้ รู้ว ่าเป็นเสียงกวาง จึงจุดโคมเทียนแล้วเดินต ่อไป เหนื่อยก็เหนื่อย เพลียก็เพลีย ทั้งหลงทางอีกด้วย ตกลงกันว ่า พวกเราต้องนอนบนเขานี้แหละในคืนนี้ เขาลูกนั้นลมจัดมาก จะ กางกลดก็ไม่ได้ จึงเอากลดกางแล้วครอบตัวนอน ในคืนวันนั้นมด ก็ตอม ปลวกก็เจาะ เพราะไม่ได้อาบน้ำ เหงื่อโชกทั้งตัวมดมาตอม กินเหงื่อ เราเอาผ้าปิดตาไว้ แล้วก็นอนครึ่งหลับครึ่งตื่นจนสว่าง พอสว ่างขึ้นมองไปเห็นทุ ่งนาที่เราผ ่านมาอยู ่ลิบๆ เตรียม บริขาร แล้วก็ออกเดินลัดโคกไป โดยเข้าใจว่าหมู่บ้านคงอยู่ทิศนี้แน่ แม้เท้าก็เจ็บ ทีแรกมันมึนชาจึงไม่รู้สึกเจ็บ เดินคราวนี้หนทางเป็น หินลูกรังเจ็บที่สุด ค ่อยกระเถิบไปสักครู ่หนึ่งก็ถึงทางไปหมู ่บ้าน อย ่างที่เราหมายมั่นไว้จริงๆ พอไปถึงหมู ่บ้านซึ่งมีอยู ่สองหลังคา เรือน เราเข้าใจว่าคงจะพอได้อาศัยบิณฑบาตพอฉัน สักประเดี๋ยว มีชายคนหนึ่งออกมาหา เราพูดเปรียบเปรยนิดหน่อยว่า เมื่อคืนนี้ เราหลงทางนอนป ่า ทั้งเท้าก็เจ็บเราบิณฑบาตไม ่ได้ เราอยู ่ที่นี้จะ พออาศัยฉันอาหารสักสององค์จะได้ไหม เขาก็รับรองว่า “ได้เจ้า” พระครูสีลขันธ์ฯ ที่ไปด้วยเลยนอนเป็นลมแขม ่วๆ อยู ่ลุกไม ่ได้ เราคอยท่าฉันอาหารอยู่เป็นเวลานาน ก็ไม่เห็นใครเอาอาหารมาถวาย จึงได้สั่งให้พระครูสีลขันธ์ฯไปมองดูชาวบ้านว่าเขาทำอะไรอยู่ ก็ปรากฏ ว่ามีแต่เด็กเล็กๆ เราเรียกให้มาหา ถามว่าผู้ใหญ่ไปไหนกันหมด ก็ได้ ความว ่าผู้ใหญ ่เข้าป ่าไปหาใบตองมารีดมวนบุหรี่ขาย เราถามว ่ามี


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 139 ข้าวสุกไหม เราจะแลกด้วยไม้ขีดไฟ เขาบอกว ่ามี แล้วจึงไปเอา ข้าวกับยอดผักชะอมและน้ำพริกมาหนึ่งกระติบ เราดีใจว ่าจะได้ ฉันข้าวแล้ว ถามเขาว ่ามีอีกไหม เขาก็บอกว ่ามี เราจึงได้เอาไม้ ขีดไฟอีก ๒ กล่องให้ไปแลกข้าวมาอีกหนึ่งกระติบพร้อมกับอาหาร พอฉันอาหารแล้วที่ไหนได้ ยิ่งเจ็บแผลมากกว ่าเก ่า ลุกเดินไม ่ได้ จึงนอนแจ๋วอยู่ในที่นั้นจนตะวันบ่าย จึงได้ถามเขาว่า หมู่บ้านข้าง หน้ามีบ้างไหม ไกลเท่าใด เขาบอกว่ามี ไม่ไกล เราจึงอุตส่าห์เดิน ไปพักที่หมู่บ้านข้างหน้านั้นอยู่ ๑๐ คืน แผลที่เท้าพอทุเลา จึงได้ เดินต่อไป คราวนี้นับว่าโชคดีนักหนา พอเดินวันค่ำถึงบ้านมโนราห์ มี ชาวบ้านออกมาหาบอกว ่า มีตุ๊เจ้าองค์หนึ่งอยู ่ที่ป ่าเมี่ยง แม ่ปั๋ง ชื่อตุ๊เจ้ามั่น เขาไปบวชเณรเพิ่งกลับมาเมื่อวานนี้ เราถามลักษณะ ท ่าทีและการปฏิบัติก็แน ่ชัดว ่าเป็นท ่านอาจารย์มั่นฯ แน ่แล้ว รุ่งเช้าฉันจังหันแล้วเราก็ออกเดินทางไปนอนที่ถ้ำดอกคำ วันรุ่งขึ้น ฉันจังหันแล้วก็เดินทางขึ้นภูเขาไป จนกระทั่งถึงป ่าเมี่ยง แม ่ปั๋ง ในเวลาบ ่าย เห็นท ่านเดินอยู ่องค์เดียวลงไปที่ลำธาร อาบน้ำแล้ว สะพายกระบอกน้ำขึ้นมา พอท่านเห็นเรา ท่านก็พูดว่า “ท่านเทสก์ มาหรือ” ในที่นั้นท่านได้เทศนาให้เราฟังเป็นความว่า “ลูกศิษย์ลูกหาผม มีมากมาย ถ้าองค์ใดปฏิบัติตามที่ผมสอน คือพิจารณากายคตาสติ จนถึงเป็นธาตุ และสภาวะตามเป็นจริง องค์นั้นจะปฏิบัติได้มั่นคง และเจริญงอกงามโดยลำดับ”


140 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ พรรษานี้พวกเราสามองค์ได้อยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น แต่เราได้ ขึ้นไปจำพรรษาบนดอยซึ่งท่านเคยอยู่มาก่อน ที่นั้นไม่ใช่กุฏิธรรมดา แต่ท่านได้เอาต้นไม้แทนเสา ฝาและหลังคามุงด้วยใบตอง พอกัน ฟ้ากันฝนอยู ่จำพรรษาได้ ซึ่งห ่างจากที่นั้นขึ้นไปในราว ๕ เส้น เราได้อุบายธรรมเทศนาจากท่านอาจารย์มั่นฯ แล้วตั้งใจว่า เอาล่ะ ทีนี้ เราจะต้องฝึกหัดตนใหม ่ พิจารณากายคตาทุกลมหายใจ เข้า - ออก ตลอดพรรษารู้สึกว่าปลอดโปร่งสบายดี มีอุบายต่างๆ ให้พิจารณามากมาย ในพรรษานั้นอากาศหนาวมากเป็นพิเศษ เราได้ทำโรงไฟให้ ท่านนอน ออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นฯ ลงมาที่บ้านทุ่งหมาก ข้าว เราสององค์กับพระครูสีลขันธ์ฯ อยู่ที่นั่นต่อไป หมู่เพื่อนได้ยิน ข่าวว่าท่านอาจารย์มั่นฯ ออกมาจากป่าแล้วจึงพากันไปหาเป็นอันมาก เรากับพระครูสีลขันธ์ฯ สับเปลี่ยนที่อยู่กัน คือท่านพระครูสีลขันธ์ฯ ไปอยู ่ที่ที่เราอยู ่จำพรรษา เราลงมาอยู ่ที่ที่ท ่านอาจารย์มั่นฯ กับ พระครูสีลขันธ์ฯ อยู่ แต่พระครูสีลขันธ์ฯ ไปอยู่แล้วไม่อยู่ที่ที่เรา อยู่ กลับไปนอนใต้ร่มไม้สุมกองไฟผิงนอนอยู่คนเดียว วันหนึ่งท่าน มาเล่าให้ฟังว่า “ไม่รู้สัตว์อะไรมาหาเมื่อคืนนี้กำลังนอนอยู่ พอพลิกตัว ได้ยินเสียงร้องก๊าบ แล้วกระโดดดังสวบหายเข้าป่าไป” เราเลยบอกว่า “มาเถิด มาอยู ่ด้วยกันดีกว ่า” (คนบ้านทุ ่งไม ่รู้จักเสียงเสือก็ดี เหมือนกัน ไม่รู้จักก็เลยไม่กลัว)


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 141 พรรษาต ่อมา เราได้ลาท ่านอาจารย์มั่นฯ ขึ้นไปจำพรรษาที่ บ้านมูเซอร์ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในที่นั้นไม่เคยมีพระ ไปจำพรรษาเลยสักที เห็นจะเป็นเราเป็นองค์แรกไปจำพรรษา ณ ที่นั้น เมื่อเราขึ้นไปถึงจวนเข้าพรรษาแล้ว ให้เขารีบทำกุฏิให้อยู ่ บังเอิญปีนั้นเกิดฟ้าแล้ง ฝนไม่ตก คนในหมู่บ้านนั้นอดข้าวเกือบ ทั้งหมู่บ้าน พอทำกุฏิให้เราอยู่เสร็จสรรพ ฝนเทลงมาใหญ่โต ทำให้ ข้าวในไร ่ของเขาเขียวชอุ ่มงามดี ปีนั้น พวกมูเซอร์ทั้งหมู ่บ้านได้ กินอิ่มหนำสำราญ เขาหาว ่าเป็นบุญของเขา เราได้สอนเขาให้ละ อบายมุขต่างๆ เขาพร้อมใจกันปฏิบัติตามเรา ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ควรนำมากล่าวในที่นี้ แต่ไม่ใช่เรื่องธรรมะ คือ มีคนป่ากลุ่มหนึ่งออกมาหาพวกมูเซอร์ คนกลุ่มนี้พวกมูเซอร์ มาอยู่นานถึง ๕๐ - ๖๐ ปีแล้วไม่เคยเห็นสักที เมื่อเขาออกมาขอกิน อาหารต่างๆ ก็กินกันเอร็ดอร่อยอย่างคนหิวโหย เราถามว่า อร่อย ดีไหม เขาตอบว่า อร่อยดี เราเกิดสงสารเอ็นดูอยากจะให้เขาตั้งหลัก แหล่งทำมาหากินอย ่างพวกมูเซอร์ ซึ่งอุปกรณ์การทำมาหากิน เป็นต้นว่า จอบ เสียม มีดพร้าไม่มี เราจะไปขอให้ทางการช่วยเหลือ เราจึงบอกเขาว่า ถ้าอร่อยอย่างนั้นให้พวกเธอมาอยู่อย่างพวกมูเซอร์ แล้วทำมาหากิน จะไม่อดอยากอย่างอยู่เดี๋ยวนี้ เขาบอกว่า “โอ๊ย พวกข้าเป็นคนป่าจะทำอย่างนั้นไม่ได้ แผ่นดินจะกลับปลิ้น (หมายถึง แผ่นดินจะพลิก)” เราขายขี้หน้าแทบแย่ คนพวกนี้พูดภาษเมืองยอง เราฟังได้ทุกคำ เขาไม่มีผ้านุ่ง เมื่อออกมาหาพวกมูเซอร์ เขาเก็บผ้า ที่มีไว้มานุ่งแล้วจึงค่อยออกมา มีหอกเป็นอาวุธสำหรับล่าสัตว์เป็น อาหาร มีผู้หญิงและเด็กเล็กอยู่ด้วยกันในราว ๒๐ - ๓๐ คน ที่อยู่ ของพวกเขาอยู ่ไม ่เป็นที่ เมื่อเขาอยู ่ที่ใดก็เอากิ่งไม้คลุมพอกันฟ้า


142 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ กันฝนนิดหน่อย แล้วใครจะไปหาที่อยู่ของพวกเขาก็ไม่เห็น ต่อเมื่อ เขาหนีไปแล้วจึงจะเห็นร่องรอย ฉะนั้น เขาจึงเรียกคนพวกนี้ว่า “ผี ตองเหลือง” แต่พวกเขาก็ไม่ชอบคำว่า “ผี” เพราะว่าคำว่าผีนั้นพวกเขา เองก็กลัว เขาจึงไม่ให้เรียกว่าพวกเขาเป็นผีตองเหลือง เขาให้เรียก ตัวเขาเองว่า “คนป่า” สิ่งที่แปลกอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าผู้ชายคนใด ล ่าสัตว์ได้ ผู้หญิงจะชอบมานอนด้วยเป็นธรรมเนียมของเขา เนื้อที่เขาย ่างแห้งแล้วเขายังเอามาให้เรา แต ่เรารับประทานไม ่ได้ เหม็นเขียวมาก เพราะมันรมด้วยควันไฟ อาหารของพวกเขา ถ้า ไม ่มีเนื้อสัตว์ก็กินลูกไม้และน้ำผึ้งที่หามาได้ระคนกับไม้ผุกินเป็น อาหาร ในปี พ.ศ.๒๔๘๑ ที่หมู่บ้านชาวมอญชื่อ บ้านหนองดู่ เขต อำเภอปากบ่อง (อำเภอป่าซางในปัจจุบัน) จังหวัดลำพูน พระมอญ ที่เป็นสมภารอายุ ๘๐ ปี ได้ฝึกหัดกรรมฐานกับพระธุดงค์ จนเกิด ความรู้แปลกๆ ต ่างๆ ขึ้น เกิดอัศจรรย์จึงยอมสละขอญัตติเป็น พระธรรมยุตหมดทั้งวัด สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ สมัยท่านไปอยู่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม ่ เมื่อครั้งเป็นที่พระญาณดิลก ได้เป็นอุปัชฌาย์ ญัตติให้พระมอญทั้งหมด แล้วท ่านสั่งให้เราไปเป็นสมภาร ใน พรรษานี้เราได้เทศนาอบรมชาวมอญทั้งหมู ่บ้าน พวกเขาเลื่อมใส ศรัทธาได้พากันสละผีมอญเกือบทั้งหมดหมู่บ้าน หันมานับถือพระ ไตรสรณคมน์ ยังเหลืออีกก๊กหนึ่งจะหมด แต ่เราไม ่มีโอกาสอยู ่ เราได้ออกจากวัดบ้านหนองดู่กลับมาภาคอีสาน ก่อนจะกลับเราได้ไป นิมนต์ท่านอาจารย์มั่นฯ ให้กลับมาด้วย เรากราบเรียนท่านว่า “อยู่


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 143 จังหวัดนี้มาได้ ๑๐ กว่าปีแล้ว ก็ไม่เห็นมีคนกี่คนปฏิบัติตาม สู้ทาง ภาคอีสาเราไม ่ได้ คนทางภาคอีสานบ ่นถึงครูบาอาจารย์เป็นนัก เป็นหนา น ่าสงสารพวกเขาเหลือเกิน เราปฏิบัติมาในเขตจังหวัด เชียงใหม่ เราหาวิเวกได้ตามชอบใจ สิ่งที่ควรจะได้ควรจะเป็นก็พอ สมควรแก่เวลาแล้ว นิมนต์เถิด นิมนต์ท่านอาจาย์กลับเถิด” ท่าน บอกว ่าให้พิจารณาดูก ่อน เราเข้าใจว ่าท ่านรับนิมนต์แล้ว จึงได้มี หนังสือมาถึง ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ที่จังหวัด อุดรธานี ขอให้ท ่านส ่งพระหรือฆราวาสคนใดคนหนึ่งไปรับท ่าน อาจารย์มั่นฯ กลับมาจังหวัดอุดรธานี ท่านคงมาแน่ แล้วเราก็กลับ มาจังหวัดอุดรธานีพร้อมกับเด็กคนหนึ่ง เราได้กลับมาจำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัด หนองคาย อีกวาระหนึ่ง ได้อบรมพระเณร อุบาสกอุบาสิกา อย่าง เต็มความสามารถของเรา อยู่มาได้ ๙ พรรษา ได้ทำนุบำรุงวัดให้ เจริญมาโดยลำดับ แต ่วิบากของเราไม ่อำนวย คือเกิดโรคลมจน กินไม ่ได้นอนไม ่หลับ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่อำเภอท่าแฉลบ จังหวัดจันทบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑ อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ๒ พรรษา เราก็ได้อบรมพระเณร และอุบาสกอุบาสิกา ซึ่งในที่นั้นนับว่าเป็น ประโยชน์มาก โดยเฉพาะมีคนใบ้คนหนึ่งมาอบรมภาวนา เกิดปัญญา ความรู้ต่างๆ หลายอย่างหลายประการ เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง จน บัดนี้เขายังมีชีวิตอยู่ ได้ไปตั้งวัดของเขาโดยเฉพาะ แล้วตัวเขาเองได้ บวชเป็นชีปะขาวปฏิบัติพระอยู ่ตลอดเวลา และยังมีคนแก ่อีกคน หนึ่งเดิมเป็นคนขี้เมา เมื่อดื่มเมาแล้วนอนกลิ้งเกลือกอยู ่ริมถนน เราได้สอนให้เขาละความเมาแล้วมาภาวนา เกิดศรัทธาเป็นอัศจรรย์


144 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ได้มาปฏิบัติเราอยู่ ๒ พรรษา ออกพรรษาแล้วเราได้ลาญาติโยมไป เยี่ยมอาการไข้ของท่านอาจารย์มั่นฯ ที่จังหวัดสกลนคร ตาแก่คิดถึง เราถึงกับร้องไห้ หลังจากท ่านอาจารย์มั่นฯ มรณภาพและทำฌาปนกิจศพ ของท ่านเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราได้คิดถึงหมู ่คณะว ่า พระผู้ใหญ ่ ที่จะเป็นที่พึ่งของพระกรรมฐานไม ่มี เราจึงตั้งใจออกเดินทางเข้า กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เพื่อติดต่อกับพระผู้หลักผู้ใหญ่ จนกระทั่ง ไปถึงจังหวัดภูเก็ต ณ ที่นั้นเราได้ผจญภัยอย่างร้ายแรง โดยพระ ท้องถิ่นเขาไม ่อยากให้อยู ่ คือ ได้ทราบว ่าเมื่อก ่อนเขาร้องขอมา ทางคณะสงฆ์ว่า ไม่ให้พระธรรมยุตไปอยู่ในเกาะภูเก็ต พอพวกเรา เข้าไปจึงต้องผจญภัยอันใหญ ่หลวง คือ ถูกเผากุฏิบางแห ่ง จนกระทั่งถูกปาด้วยก้อนอิฐ และขับไล่โดยประการต่างๆ ทางเจ้าคณะ จังหวัดพังงาได้ขับไล่พวกเราหนีจากท้องถิ่นที่เขาปกครอง เมื่อพวก เราไม่หนี เขาจึงฟ้องร้องไปทางพระผู้ใหญ่ และได้ส่งศึกษาธิการ จังหวัดมาขับไล ่พวกเรา เราจึงพูดความจริงให้ศึกษาธิการจังหวัด ฟังว่า พวกเราไม่ได้มาเบียดเบียนใครทั้งหมด แต่จะมาอบรมศีล ธรรม และเผยแพร ่ศาสนาอันเป็นประโยชน์แก ่บ้านเมืองมิใช ่หรือ ต่อมาผู้ช่วยสังฆมนตรีจึงได้มีหนังสือไปต่อว่าเจ้าคณะจังหวัดพังงา ด้วยประการต่างๆ เรื่องจึงค่อยสงบลง


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 145 เป็นที่น ่าเห็นใจ เกาะภูเก็ตในสมัยนั้นเหมือนกันกับคนละ ประเทศ คนจังหวัดอื่นๆ น้อยคนที่จะได้เห็นเกาะภูเก็ต และน้อย คนในเกาะภูเก็ตที่จะออกมาเที่ยวตามหัวเมือง เรียกว่าต่างคนต่างอยู่ คำว่า “พระธรรมยุต” น้อยคนที่จะรู้จัก การบริหารคณะธรรมยุต มหานิกายก็ไม่เข้าใจ เหตุนั้นพอพวกเราเข้าไปในเกาะภูเก็ต จึงเป็น ของแปลกประหลาดมาก กรรมกรชาวอีสานก็เพิ่งเข้าไปในเกาะ ภูเก็ต ชาวบ้านเห็นพากันมองเป็นตาเดียวกันหมด น่าขัน เขาพากัน เลื่องลือว่าคนภาคอีสานแห้งแล้ง อดอยาก กินเด็กน้อยเป็นอาหาร ตามชนบทเมื่อเขาเห็นคนภาคอีสาน ก็พากันวิ่งเข้าบ้านปิดประตูมิด ถ้าเห็นอยู่ในป่าก็พากันวิ่งเข้าป่าหายเงียบ เราได้ไปอยู่ที่จังหวัดพังงา ๑ พรรษา ผจญภัยอย่างยิ่งดังกล่าวมาแล้ว ต่อมาได้ขยับมาอยู่ที่ เกาะภูเก็ตกระทั่งได้ ๑๕ พรรษา จึงได้ลาญาติโยมกลับมาภาค อีสาน การไปอยู ่เกาะภูเก็ตเป็นเหตุให้พระท้องถิ่นและญาติโยม เปลี่ยนสภาพไปหลายอย ่าง โดยเฉพาะการเทศนาและการบริหาร นับว่าเป็นประโยชน์แก่พระท้องถิ่นมาก ตามประเพณีเดิมชาวบ้าน เขาเข้าหาพระและกราบพระ ต้องนั่งขัดสมาธิ (ขัด - สะ - หมาด) พวกเราไปสอนให้ทำความคารวะโดยให้นั่งพับเพียบ นับว่าเรียบร้อย ดีมาก พวกเราสละทุกอย ่างเพื่อประโยชน์แก ่ชนชาวภูเก็ตและ จังหวัดพังงาดังกล่าวแล้ว เราพิจารณาเห็นว ่าเราแก ่ชรา เดินรุกขมูลมาก็มากแล้ว อิดโรยเหนื่อยล้าแก ่ชราลง ควรที่จะหาที่พักทำความเพียรภาวนา วิเวกเฉพาะตัว เห็นว่าที่ วัดหินหมากเป้ง เหมาะที่สุด จึงได้เข้ามา อยู่วัดนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๘ เรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ การอยู่เป็นที่ จำเป็นจะต้องมีการก่อสร้าง และปรับปรุงวัดให้ดูสะอาด เมื่ออยู่ไป


146 พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ก็พัฒนาให้เจริญไปเรื่อยๆ จนกระทั่งญาติโยมทางกรุงเทพฯ และ หมู่บ้านใกล้เคียงรู้จัก เข้าไปสนับสนุนช่วยกันทำถาวรวัตถุ จนสมเด็จ พระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทรงยกย่องให้เป็น “วัดพัฒนา ตัวอย ่าง” เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ เราสร้างวัดมิใช ่เพื่อประโยชน์แก ่ คนนับถือ แต ่เราสร้างวัดเพื่อให้สะดวกแก ่การทำกิจวัตรในพระ พุทธศาสนาเท่านั้น คนจะนิยมนับถือก็เป็นเรื่องของบุคคลต่างหาก เราก่อสร้างวัดมา ๒๐ กว่าปีมาแล้ว คำว่า “ขอ” หรือ “เรี่ยไร” ไม่เคยออกจากปากเราแม้แต่คำเดียว สร้างอะไรขึ้นมาก็มีแต่ญาติ โยมผู้มีศรัทธาบริจาคให้ทั้งนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ มีผู้ชักชวนให้ไปเผยแพร่ธรรมะที่สิงคโปร์ อินโดนีเซียและออสเตรเลีย พร้อมด้วยพระ ๓ องค์ ฆราวาส ๒ คน ได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปพักอยู่สิงคโปร์ ๑๐ คืน ณ ที่นั้นเขา ให้พักที่ตึกชั้น ๒๐ เราวิเวกสบายดี ทำความเพียรสนุกทั้งกลางคืน และกลางวัน มีญาติโยมมาอบรมธรรมะประจำทุกคืน คืนละ ๒๐ - ๓๐ คน ต่อจากนั้นได้ไปออสเตรเลีย พักอยู่ที่ออสเตรเลีย อาทิตย์กว่า ได้ไปเทศนาอบรมที่สมาคมจีน ๒ หน แล้วเดินทาง กลับมาสิงคโปร์อีก ได้มาพักอยู่ที่เก่าอีก ๑๐ คืน จึงเดินทางไป อินโดนีเซีย พักอยู่ที่อินโอนีเซีย ๒ อาทิตย์กว่า แล้วเดินทางกลับมา พักที่เก่าที่สิงคโปร์อีก นับว่าศรัทธาของเจ้าของบ้านที่เราพักอาศัยที่ สิงคโปร์แก่กล้าเป็นอย่างยิ่ง ยอมสละให้เราอยู่อาศัยโดยไม่คิดมูลค่า แม้แต่นิดเดียว ในการเดินทางไปและกลับในครั้งนี้ บริษัทการบินไทย จำกัด ให้บริการตลอดเวลา โดยเฉพาะพลอากาศโทชู สุทธิโชติ ได้เดินทางไปส่งถึงสิงคโปร์ และขากลับก็ไปรับที่สิงคโปร์ เราเดินทาง


เทสรังสีอนุสรณ์ เล่ม ๑ 147 ไปครั้งนี้เป็นเวลา ๓ เดือนกว่า หลังจากนั้นก็ได้กลับไปที่สิงคโปร์ อีกครั้งหนึ่ง ได้ไปพักที่เดิมอีกเป็นเวลานาน เพราะเขาอยากจะสร้าง วัดที่นั้น แต่สถานที่ไม่เหมาะ เราจึงไม่สร้าง นับแต่เราบรรพชาอุปสมบทมา สุข - ทุกข์ แสนสาหัส (ใจ) เราก็ได้ประสบมาแล้ว ความเกิดอีกของเราควรจะยุติได้แล้ว (พระราชนิโรธรังสี)


การอาพาธ / ละสังขาร การอาพาธหนักครั้งแรก เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๑๔ ด้วย โรคหลอดลมอักเสบและน้ ำท่วมปอด เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ศิริราช กรุงเทพฯ ธันวาคม ๒๕๒๘ อาพาธอีกครั้งด้วยเส้นโลหิตในสมองตีบ เป็นเหตุให้ร่างกายซีกซ้ายทำงานไม่ปกติ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ โปรดให้แพทย์หลวงประจำพระองค์จากโรงพยาบาลศิริราช มาถวายการรักษา พฤศจิกายน ๒๕๓๕ อาพาธอีกครั้งด้วยโรคปอดอักเสบ ในครั้งนี้โรคอื่นๆ แทรกซ้อนรบกวน เส้นโลหิตที่เลี้ยงหัวใจบางส่วน ตีบ คณะแพทย์ถวายการรักษาจนอาการอาพาธทุเลาลง แต ่ไม ่ เหมือนเดิม ตั้งแต่ ๖ มีนาคม ๒๕๓๖ ไปพักภาวนาอยู่ที่ วัดถ้ ำขาม ซึ่ง พระอาจารย์เขี่ยม โสรโย เป็นเจ้าอาวาส หลังจากพักอยู่ที่นี่แล้ว สุขภาพค่อยฟื้นตัวดีขึ้น พฤษภาคม ๒๕๓๗ มีอาการผิดปกติ ฉันอาหารได้น้อย มี อาการอ่อนเพลียและท้องอืด๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗ แพทย์ตรวจพบว่า มีการอุดตันของ ท่อทางเดินน้ ำดี ซึ่งเกิดจากก้อนนิ่วในถุงน้ ำดีหรือเนื้องอก ท่านละสังขารเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๗ เวลา ๒๑.๓๐ น. สิริรวมอายุ ๙๒ ปี ๗ เดือน ๒๑ วัน ๗๔ พรรษา


สมณศักดิ์ / ตำแหน่งหน้าที่ที่เคยได้รับ• ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๖ เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าคณะอำเภอภูเก็ต - พังงา - กระบี่ (ธรรมยุต) • ๕ ธันวาคม ๒๔๙๘ เป็นพระครูนิโรธรังสี • ๑๖ มิถุนายน ๒๔๙๙ รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัด ภูเก็ต - พังงา - กระบี่ (ธรรมยุต) • ๕ ธันวาคม ๒๕๐๐ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ • ๒๐ สิงหาคม ๒๕๐๗ เป็นเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต - พังงา - กระบี่ (ธรรมยุต) แต่ได้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ • ๒๘ มิถุนายน ๒๕๒๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดหินหมากเป้ง • ๕ ธันวาคม ๒๕๓๓ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม อรัณยวาสี


วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐ โทร. ๐๓๕-๘๘๑-๖๐๑-๒, ๐๘๒-๒๓๓-๓๘๔๘ โทรสาร ๐๓๕-๘๘๑-๖๐๓, ๐๓๕-๘๘๑-๖๐๕ www.watmaheyong.org


Click to View FlipBook Version