The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อนงค์นุช นิตอินทร์, 2022-06-11 00:51:07

ภาษาไทย (1)

ภาษาไทย (1)

๔๕

ถอดคำประพันธ์

ข่าวศึ กแพร่ไปจนรู้ถึงชาวเมืองเวสาลี แทบทุกคนในเมือง
ต่างตกใจและหวาดกลัวกันไปทั่ว หน้ าตาตื่น หน้ าซีดไม่มี
สีเลือด ตัวสั่ น พากันหนี ตายวุ่นวาย พากันอพยพครอบครัว
หนี ภัย ทิ้งบ้านเรือนไปซุ่มซ่อนตัวเสียในป่ า ไม่สามารถ
ห้ามปรามชาวบ้านได้ หัวหน้ าราษฎรและนายด่านตำบลต่าง ๆ

ปรึกษากันคิดจะยับยั้งไม่ให้กองทัพมคธข้ามมาได้ จึงตีกลอง

ป่ าวร้องแจ้งข่าวข้าศึ กเข้ารุ กราน เพื่อให้เหล่ากษัตริย์แห่งวัชชี

เสด็จมาประชุมหาหนทางป้ องกันประการใด ไม่มีกษัตริย์
ลิจฉวีแม้แต่พระองค์เดียวคิดจะเสด็จไป แต่ละพระองค์ทรง

ดำรัสว่าจะเรียกประชุมด้วยเหตุใด ผู้ใดเป็ นใหญ่ ผู้ใด
กล้าหาญ เห็นดีประการใดก็เชิญเถิด จะปรึกษาหารืออย่างไร

ก็ตามแต่ใจ ตัวของเรานั้ นไม่ได้มีอำนาจยิ่งใหญ่ จิตใจก็ขี้ขลาด

ไม่องอาจกล้าหาญ แต่ละพระองค์ต่างแสดงอาการเพิกเฉย

ปราศจากความสามัคคีปรองดองในจิตใจ กษัตริย์ลิจฉวีแห่ง
วัชชี ไม่เสด็ จมาประชุ มกันแม้แต่พระองค์เดี ยว

๔๖

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

ปิ่ นเขตมคธขัต ติยรัชธำรง
ยั้งทัพประทับตรง นคเรศวิสาลี

ถอดความได้ว่า : จอมกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ
หยุดทัพตรงเมืองเวสาลี

ภูธร ธ สังเกต พิเคราะห์เหตุ ณ ธานี
แห่งราชวัชชี ขณะเศิ กประชิดแดน

ถอดความได้ว่า : พระองค์ทรงสังเกตวิเคราะห์
เหตุการณ์ทางเมืองวัชชีในขณะที่ข้าศึ กมาประชิด

เมือง

เฉยดู บ รู้สึก และมินึ กจะเกรงแกลน
ฤๅคิดจะตอบแทน รณทัพระงับภัย

ถอดความได้ว่า : ดูนิ่ งเฉยไม่รู้สึกเกรงกลัว หรือ
คิดจะทำสิ่ งใดโต้ตอบระงับเหตุร้าย

๔๗

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

นิ่ งเงียบสงบงำ บ มิทำประการใด
ปรากฏประหนึ่ งใน บุรว่างและร้างคน

ถอดความได้ว่า : สงบเงียบไม่ทำการสิ่ งใด
มองดูราวกับเป็ นเมืองร้างปราศจากผู้คน

แน่ โดยมิพักสง สยคงกระทบกล
ท่านวัสสการจน ลุกระนี้ ถนั ดตา

ถอดความได้ว่า : แน่ นอนโดยไม่ต้องสงสัย
เลยว่าคงจะถูกกลอุบายของวัสสการพราหมณ์
จนเป็ นเช่นนี้

ภินท์พัทธสามัค คิยพรรคพระราชา
ชาวลิจฉวีวา รจะพ้องอนั ตถ์ภัย

ถอดความได้ว่า : ความสามัคคีผูกพันแห่ง
กษัตริย์ลิจฉวีถูกทำลายลงและจะประสบกับภัย
พิบัติ

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ๔๘

ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป
หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้ นหนอ

ถอดความได้ว่า : ลูกข่างที่เด็กขว้างเล่นได้สนุก

ฉันใดฉันนั้ น

ครู วัสสการแส่ กลแหย่ยุดีพอ

ปั่ นป่ วน บ เหลือหลอ จะมิร้าวมิรานกัน

ถอดความได้ว่า : วัสสการพราหมณ์สามารถ

ยุแหย่ให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคี

กัน

ครั้นทรงพระปรารภ ธุ ระจบ ธ จึ่งบัญ

ชานายนิ กายสรร พทแกล้วทหารหาญ

ถอดความได้ว่า : ครั้นทรงคิดได้ดังนั้ นจึงมี
พระราชบัญชาแก่เหล่าทหารหาญ

๔๙

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

เร่งทำอุฬุ มป์ เว ฬุ คะเนกะเกณฑ์การ
เพื่อข้ามนทีธาร จรเข้านครบร

ถอดความได้ว่า : รีบสร้างแพไม้ไผ่เพื่อข้ามแม่น้ำ
จะเข้าเมืองของฝ่ ายศั ตรู

เขารับพระบัณฑูร อดิศูรบดีศร
ภาโรปกรณ์ ตอน ทิวรุ่งสฤษฎ์พลัน

ถอดความได้ว่า : พวกทหารรับราชโองการแล้วก็
ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับ ในตอนเช้างานนั้ นก็เสร็จ

ทันที

จอมนาถพระยาตรา พยุหาธิทัพขันธ์

โดยแพและพ่วงปั น พลข้าม ณ คงคา

ถอดความได้ว่า : จอมกษัตริย์เคลื่อนกองทัพอันมี
กำลังพลมากมายลงในแพที่ติดกันข้ามแม่น้ำ

๕๐

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

จนหมดพหลเนื่ อง พิศเนื องขนั ดคลา
ขึ้นฝั่ งลุเวสา ลิบุเรศสะดวกดาย ฯ

ถอดความได้ว่า : จนกองทัพหมด มองดู
แน่ นขนั ด ขึ้นฝั่ งเมืองเวสาลีอย่างสะดวกสบาย

คำศั พท์ยาก

นคเรศ หมายถึง เมือง
เศิ ก หมายถึง ศั ตรู , ข้าศึ ก
อนั ตภ์ หมายถึง ไม่มีประโยชน์ ,


หาประโยชน์ มิได้
ปรารภ หมายถึง เอ่ย, เปรย, กล่าวถึง,


เอ่ยถึง
อุฬุ มป์ เวฬุ หมายถึง แพไม้ไผ่
สฤษฏ์ หมายถึง การทำ, การสร้าง

๕๑

จิตรปทาฉันท์ ๘

นาครธา นิ วิสาลี
เห็นริปุมี พลมากมาย
ข้ามติรชล ก็ลุพ้นหมาย
มุ่งจะทลาย พระนครตน

ถอดความได้ว่า : ฝ่ ายเมืองเวสาลีมองเห็นข้าศึ ก
จำนวนมากข้ามแม่น้ำมาเพื่อจะทำลายล้างบ้าน
เมืองของตน

ต่างก็ตระหนก มนอกเต้น
ตื่น บ มิเว้น ตะละผู้คน
ทั่วบุรคา มจลาจล
อลเวงไป
เสี ยงอลวน

ถอดความได้ว่า : ต่างก็ตระหนกตกใจกันถ้วนหน้ า
ในเมืองเกิดจลาจลวุ่นวายไปทั่วเมือง

๕๒

จิตรปทาฉันท์ ๘

สรรพสกล มุขมนตรี
ตรอมมนภี
บางคณะอา รุ กเภทภัย
ยังมิกระไร
ทรปราศรัย
ขณะนี้ หนอ

ถอดความได้ว่า : ข้าราชการชนชั้นผู้ใหญ่ต่างก็
หวาดกลัวภัย บางพวกก็พูดว่าขณะนี้ ยังไม่เป็ นไร
หรอก

ควรบริบาล พระทวารมั่น
ต้านปะทะกัน อริก่อนพอ
ขัตติยรา ชสภารอ
ดำริจะขอ วรโองการ

ถอดความได้ว่า : ควรจะป้ องกันประตูเมืองเอาไว้
ให้มั่นคง ต้านทานข้าศึ กเอาไว้ก่อน รอให้ที่

ประชุ มเหล่ากษั ตริย์มีความเห็ นว่าจะทรงทำ

ประการใด

๕๓

จิตรปทาฉันท์ ๘

ทรงตริไฉน ก็จะได้ทำ
โดยนยดำ รัสภูบาล
เสวกผอง ก็เคาะกลองขาน
อาณั ติปาน ดุจกลองพัง

ถอดความได้ว่า : ทรงดำรัสอย่างไรก็จะได้

ดำเนิ นการตามพระบัญชาของพระองค์ เหล่า
ข้าราชการทั้งหลายก็ตีกลองสั ญญาณขึ้นราวกับ

กลองจะพัง

ศั พทอุโฆษ ประลุโสตท้าว
ลิจฉวีด้าว ขณะทรงฟั ง
ต่าง ธ ก็เฉย และละเลยดัง
ไท้มิอินั ง ธุ ระกับใคร

ถอดความได้ว่า : เสียงดังกึกก้องไปถึงพระกรรณ
กษัตริย์ลิจฉวี ต่างทรงเพิกเฉยราวกับไม่สนใน
เรื่องราวของผู้ใด

๕๔

จิตรปทาฉันท์ ๘

ต่างก็บคลา ณ สภาคา
แม้พระทวาร บุรทั่วไป
รอบทิศด้าน
เห็นนรไหน และทวารใด

สิจะปิ ดมี ฯ

ถอดความได้ว่า : ต่างไม่เสด็จไปที่ประชุม
แม้แต่ประตูเมืองรอบทิศทุกบานก็ไม่มีผู้ใดปิ ด

คำศั พท์ยาก

นาคร หมายถึง ชาวนคร, ชาวเมือง
อลวน หมายถึง วุ่น, ยุ่ง, สับสน
อลเวง หมายถึง เซ็งแซ่, วุ่นวาย, ไม่
เป็ นระเบียบ
เภทภัย
ภัยต่าง ๆ, เหตุร้าย
บริบาล หมายถึง ดูแลรักษา, เลี้ยงดู,
หมายถึง คุ้มครอง
พระทวาร ประตู
เสวก
ข้าราชการในราชสำนั ก
อุโฆษ หมายถึง กึกก้อง
หมายถึง
หมายถึง

๕๕

ถอดคำประพันธ์

สัททุลวิกกีฬิ ตฉันท์ ๑๙

เข้าปราบลิจฉวิขัตติย์รัฐชนบท

สู่ เงื้อมพระหั ตถ์หมด และโดย

ไป่ พักต้องจะกะเกณฑ์นิ กายพหลโรย

แรงเปลืองระดมโปรย ประยุทธ์

ราบคาบเสด็จ ธ เสด็จลุราชคฤหอุต

ดมเขตบุเรศดุจ ณ เดิม

เรื่องต้นยุกติก็แต่จะต่อพจนเติม

ถาษิตลิขิตเสริม ประสงค์

ปรุ งโสตเป็ นคติสุนทราภรณจง

จับข้อประโยชน์ ตรง ตริดู ฯ

เข้ามาปราบกษัตริย์ลิจฉวี อาณาจักรทั้งหมดก็ตกอยู่ใน
พระหัตถ์ โดยที่กองทัพไม่ต้องเปลืองแรงในการต่อสู้
ปราบราบคาบแล้วเสด็จยังราชคฤห์เมืองยิ่งใหญ่ดังเดิม
เนื้ อเรื่องแต่เดิมจบลงเพียงนี้ แต่ประสงค์จะแตงสุภาษิต
เพิ่มเติมให้ได้รับฟั งเพื่อเป็ นคติอันทรงคุณค่านำไปคิด

ไตร่ตรอง

ขัตติย์ หมายถึง กษัตริย์ ยุกติ หมายถึง ยุติ จบสิ้น

๕๖

ถอดคำประพันธ์

สัททุลวิกกีฬิ ตฉันท์ ๑๙

จอมทัพมาคธราษฎร์ ธ ยาตรพยุหกรี

ธาสู่ วิสาลี นคร

โดยทางอันพระทวารเปิ ดนรนิ กร

ฤๅรอจะต่อรอน อะไร

เบื้องนั้ นท่านคุรุ วัสสการทิชก็ไป

นำทัพชเนนทร์ไท มคธ

จอมทัพแห่งแคว้นมคธกรีธาทัพเข้าเมืองเวสาลีทาง
ประตูเมืองที่เปิ ดอยู่โดยไม่มีผู้คน หรือทหารต่อสู้
ประการใด ขณะนั้ นวัสสการพราหมณ์ผู้เป็ นอาจารย์ก็
ไปนำทัพของกษัตริย์แห่งมคธ

นรนิ กร หมายถึง ฝูงชน ชเนนทร์ หมายถึง ผู้เป็ นใหญ่ในชน

๕๗ ถอดคำประพันธ์

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

อันภูบดีรา ชอชาตศั ตรู
วประเทศสะดวกดี
ได้ลิจฉวีภู วรราชวัชชี
แลสรรพบรรดา ฑอนั ตถ์พินาศหนา
คณะแตกและต่างมา
ถึงซึ่ งพิบัติบี หสโทษพิโรธจอง
เหี้ยมนั้ นเพราะผันแผก

ถือทิฐิมานสา

พระเจ้าอชาตศั ตรู ได้แผ่นดินวัชชีอย่างสะดวก และ
กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายก็ถึงซึ่งความพินาศล่มจม เหตุ
เพราะความแตกแยกกัน ต่างก็มีความยึดมั่นในความคิด
ของตน ผูกโกรธซึ่งกันและกัน

เหี้ยมนั้ น หมายถึง เหตุนั้ น อนั ตถ์ หมายถึง ไม่เป็ นประโยชน์

ถอดคำประพันธ์ ๕๘

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

แยกพรรคสมรรคภิน ทนสิ้น บ ปรองดอง
ตริมลักประจักษ์เจือ
ขาดญาณพิจารณ์ตรอง รสเล่าก็ง่ายเหลือ
เชื่ออรรถยุบลเอา คติโมหเป็ นมูล
ยนภาวอาดูร
เหตุหาก ธ มากเมื่อ ยศศั กดิเสื่ อมนาม
จึ่งดาลประการหา คุรุ วัสสการพราหมณ์
กลงำกระทำมา
เสี ยแดนไผทสู ญ

ควรชมนิ ยมจัด

เป็ นเอกอุบายงาม

ต่างแยกพรรค แตกสามัคคีกันไม่ปรองดองกัน ขาดปั ญญาที่
จะพิจารณาไตร่ตรองเชื่อความของบรรดาพระโอรสอย่าง
ง่ายดาย เหตุที่เป็ นเช่นเพราะกษัตริย์แต่ละพระองค์ทรงมาก

ไปด้วยความหลง จึงทำให้ถึงความฉิบหาย มีภาวะความเป็ น
อยู่อันทุกข์ระทม เสียทั้งแผ่นดินเกียรติยศ และชื่อเสียงที่เคย
มี ส่วนวัสสการพราหมณ์นั้ นน่ าชื่นชมอย่างยิ่งเพราะเป็ นเลิศ

ในการกระทำกลอุบาย

๕๙ ถอดคำประพันธ์

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

พุทธาทิบัณฑิต พิเคราะห์คิดพินิ จปรา
รภสรรเสริญสา ธุ สมัครภาพผล
สุ กภาวมาดล
ว่าอาจจะอวยผา บ นิ ราศนิ รันดร
ดีสู่ ณ หมู่ตน คยพรรคสโมสร
คุณไร้ไฉนดล
หมู่ใดผิสามัค
ไปปราศนิ ราศรอน

พุทธบัณฑิตให้ความคิดวิเคราะห์สรรเสริญให้เห็ภาพที่
ว่าจะอำนวยสุขที่ดีต่อหมู่ตน เสื่ อมคลายไปตลอด คนหมู่
ใดหากผิดสามัคคีก็เหมือนไร้ซึ่ งคุณความดี

พุทธาทิบัณฑิต หมายถึง ผู้รู้ มีพระพุทธเจ้าเป็ นอาทิ
สมัครภาพ หมายถึง ความสามัคคี

ถอดคำประพันธ์ ๖๐

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

พร้อมเพรียงประเสริฐครัน เพราะฉะนั้ นแหละบุคคล

ผู้หวังเจริญตน ธุ ระเกี่ยวกะหมู่เขา

พึงหมายสมัครเป็ น มุขเป็ นประธานเอา

ธู รทั่ว ณ ตัวเรา บ มิเห็น ณ ฝ่ ายเดียว

ควรยกประโยชน์ ยื่น นรอื่นก็แลเหลียว

ดูบ้างและกลมเกลียว มิตรภาพผดุงครอง

ความพร้อมเพรียงสามัคคีของคนในหมู่คณะ เป็ นสิ่ งที่
ประเสริฐ เพราะฉะนั้ นบุคคลที่หวังให้เกิดความเจริญสู่
ตนและมีกิจธุ ระอันเป็ นส่วนรวม ก็พึงตั้งใจเป็ นหัวหน้ า

เอาเป็ นธุ ระด้วยตัวของเราเอง โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์
ส่วนตนฝ่ ายเดียว ควรยกประโยชน์ ให้บุคคลอื่นบ้าง
นึ กถึงผู้อื่นบ้าง กลมเกลียวเป็ นมิตรกันไว้

๖๑ ถอดคำประพันธ์

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

ยั้งทิฏฐิมานหย่อน ทมผ่อนผจงจอง
อารีมิมีหมอง มนเมื่อจะทำใด
ลุก็ปั นก็แบ่งไป
ลาภผลสกลบรร
ตามน้ อยและมากใจ สุจริตนิ ยมธรรม์
สุ ประพฤติ์สงวนพรรค์
พึงมรรยาทยึด อุปเฉทไมตรี
รื้อริษยาอัน

ต้องลดทิฐิมานะ รู้จักข่มใจ จะทำสิ่ งใดก็เอื้อเฟื้ อกัน
ไม่มีความบาดหมางใจผละประโยชน์ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นก็

แบ่งปั นกันไป มากบ้างน้ อยบางอย่างเป็ นธรรม ควรยึด
มั่นในมารยาทและความประพฤติที่ดีงาม รักษาหมู่คณะ

โดยไม่มีความริษยากันอันจะตัดรอนไมตรี

มาน หมายถึง ความถือตัว อุปเฉทไมตรี หมายถึง ตัดไมตรี

ถอดคำประพันธ์ ๖๒

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

ดั่งนั้ น ณ หมู่ใด ผิ บ ไร้สมัครมี
พร้อมเพรียงนิ พัทธ์นี รวิวาทระแวงกัน
สยคงประสบพลัน
หวังเทอญมิต้องสง หิตะกอบทวีการ
ซึ่ งสุ ขเกษมสั นต์ มนอาจระรานหาญ
ก็เพราะพร้อมเพราะเพรียงกัน
ใครเล่าจะสามารถ
หักล้าง บ แหลกลาญ

ดั่งนั้ นถ้าหมู่คณะใดไม่ขาดซึ่งความสามัคคี มีความ
พร้อมเพรียงกันอยู่เสมอ ไม่มีการวิวาทและระแวงกันก็
หวังได้โดยไม่ต้องสงสัยว่าจะพบความสุข ความสงบ
และประกอบด้วยประโยชน์ มากมาย ใครเล่าจะมีใจกล้า
คิดสงครามด้วย หวังจะทำลายล้างก็ไม่ได้ทั้งนี้ เพราะ
ความพร้อมเพรียงกัน

นิ พัทธ์ หมายถึง เนื องๆ เนื่ องกัน หิตะ หมายถึง ประโยชน์

๖๓ ถอดคำประพันธ์

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

ป่ วยกล่าวอะไรฝูง นรสู งประเสริฐครัน
ฤๅสรรพสั ตว์อัน เฉพาะมีชิวีครอง
ผิวใครจะใคร่ลอง
แม้มากผิกิ่งไม้ พลหักก็เต็มทน
มัดกำกระนั้ นปอง สละลี้ ณ หมู่ตน
บ มิพร้อมมิเพรียงกัน
เหล่าไหนผิไมตรี
กิจใดจะขวายขวน

กล่าวไปใยกับมนุษย์ผู้ประเสริฐ แม้แต่กิ่งไม้หักใคร
จะใคร่ลองอามามัดเป็ นกำ ตั้งใจใช้กำลังหักก็ยากเต็มทน

หากหมู่ใดไม่มีความสามัคคีในหมู่คณะของตน และ
กิจการอันใดที่จะต้องขวนขวายทำก็มิพร้อมเพรียงกัน

ถอดคำประพันธ์ ๖๔

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

อย่าปรารถนาหวัง สุ ขทั้งเจริญอัน
มวลมาอุบัติบรร ลุไฉน บ ได้มี
พภยันตรายกลี
ปวงทุกข์พิบัติสรร ติประสงค์ก็คงสม
แม้ปราศนิ ยมปรี คณะเป็ นสมาคม
ภนิ พัทธรำพึง
ควรชนประชุ มเช่ น ผิวมีก็คำนึ ง
สามัคคิปรารม จะประสบสุ ขาลัย

ไป่ มีก็ให้มี
เนื่ องเพื่อภิยโยจึง

ก็อย่าได้ หวังเลยความสุ ขความเจริญจะเกิดขึ้นได้
อย่างไร ความทุกข์พิบัติอันตรายและความชั่วร้ายทั้งปวง
ถึงแม้จะไม่ต้องการก็จะต้องได้รับเป็ นแน่ แท้ ผู้ที่อยู่รวม

กันเป็ นหมู่คณะหรือสมาคม ควรคำนึ งถึงความสามัคคีอยู่
เป็ นนิ จ ถ้ายังไม่มีก็ควรจะมีขึ้น ถ้ามีอยู่แล้วก็ควรให้เจริญ
รุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปจึงจะถึงซึ่ งความสุ ขความสบาย

๖๕

คุณค่าด้ านวรรณศิ ลป์

เลือกใช้ชนิ ดคำประพันธ์ได้เหมาะสม
กับเนื้ อหาที่ต้องการจะสื่ อสาร

ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
เป็ นฉันท์ที่มีลีลางามสง่าดุจงูเลื้อย นิ ยม

ใช้แต่งบทที่ดำเนิ นเรื่องอย่างรวดเร็วและคึกคัก
มาณวกฉันท์ ๘

เป็ นฉันท์ที่มีลีลาผาดโผน สนุกสนาน ร่าเริง และ
ตื่นเต้นดุจชายหนุ่ ม

มาลินี ฉันท์ ๑๕
เป็ นฉันท์ที่ใช้ในการแต่งกลบทหรือบรรยาย

ความที่เคร่งขรึม เป็ นสง่า

๖๖

คุณค่าด้ านวรรณศิ ลป์

การสั มผัสพยัญชนะ

เหมาะแก่การณ์จะเสกสรร ปวัตน์ วัญจโนบาย

มล้างเหตุพิเฉทสาย สมัครสนธิ์สโมสร

การสั มผัสสระ

แตกร้าวกร้าวร้ายก็ป้ ายปาม ลุวรบิดรลาม
ทีละน้ อยตาม ณ เหตุผล

การเล่นเสียงหนั กเบา

อันภูบดีรา ชอชาตศั ตรู
วประเทศสะดวกดี
ได้ลิจฉวีภู วรราชวัชชี
ฑอนั ตถ์พินาศหนา
แลสรรพบรรดา
ถึงซึ่ งพิบัติบี

๖๗

คุณค่าด้ านวรรณศิ ลป์

ใช้คำง่าย ๆ ใช้คำง่าย ๆ ในบางตอน
ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย
ผูกไมตรีจิต
กับหมู่ชาวเมือง

เล่าเรื่องเคืองขุ่น
จำเป็ นมาใน เชิงชิดชอบเชื่อง
ฉั นท์อัชฌาสั ย
ว้าวุ่นวายใจ
ด้าวต่างแดนตน

คำไวพจน์

มีความหมายว่า กษัตริย์หรือพระเจ้าแผ่นดิน

เขารับพระบัณฑูร อดิศูรบดีศร
ภาโรปกรณ์ตอน ทิวรุ่งสฤษฎ์พลัน

อันภูบดีรา ชอชาตศั ตรู
ได้ลิจฉวีภู วประเทศสะดวกดี

ภูมิศลิจฉวี วัชชีรัฐบาล
บ่ ชุมนุมสมาน แม้แต่สักองค์ ฯ

๖๘

คุณค่าด้ านวรรณศิ ลป์

อุปมาโวหาร

ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป

หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้ นหนอ

อติพจน์

ตื่นตาหน้ าเผือด หมดเลือดสั่ นกาย
หลบลี้หนี ตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ

ซุ กครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย
ทิ้งย่านบ้านตน
เข้าดงพงไพร

๖๙

คุณค่าด้ านวรรณศิ ลป์

พรรณนาโวหาร

ควรชมนิ ยมจัด คุรุ วัสสการพราหมณ์
เป็ นเอกอุบายงาม กลงำกระทำมา
พิเคราะห์คิดพินิ จปรา
พุทธาทิบัณฑิต ธุ สมัครภาพผล
รภสรรเสริญสา

สาธกโวหาร

ลาภผลสกลบรร ลุก็ปั นก็แบ่งไป
สุจริตนิ ยมธรรม์
ตามน้ อยและมากใจ สุ ประพฤติสงวนพรรค์
อุปเฉทไมตรี
พึงมรรยาทยึด
รื้อริษยาอัน

๗๐

คุณค่าด้ านวรรณศิ ลป์

เทศนาโวหาร

ควรชนประชุมเช่น คณะเป็ นสมาคม

สามัคคิปรารม ภนิ พัทธารำพึง

ไป่ มีก็ให้มี ผิวมีก็คำนึ ง

เนื่ องเพื่อภิยโยจึง จะประสบสุ ขาลัย

คำถามเชิงวาทศิ ลป์

ใครเป็ นใหญ่ใคร กล้าหาญเห็นดี

๗๑

คุณค่าด้ านเนื้ อหา

ความสามัคคี เป็ นคติคำสอนคติธรรมหลักที่ปรากฎในเนื้ อเรื่อง

สามัคคีเภทคำฉั นท์มุ่งแสดงให้ เห็ นโทษของการแตกความสามัคคี

(สามัคคีเภท) เนื่ องจากไม่ยึดมั่นใน “อปริหานิ ยธรรม’’ ของชาวแคว้น

วัชชี จนทำให้พระเจ้าอชาตศั ตรู สามารถเข้ามายึดเมืองได้อย่างง่ายดาย

และเป็ นธรรมที่ไม่เป็ นที่ตั้งแห่งความเสื่ อมหรือความหายนะ โดยมี

ทั้งหมด ๗ ประการ เน้ นความสามัคคีเป็ นหลัก

หมั่นประชุมกันเนื องนิ ตย์
พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกัน

ทำกิจที่พึงทำ
ไม่บัญญัติสิ่ งที่ไม่ได้กำหนดไว้หรือขัดต่อหลักการเดิม ไม่ล้มล้างสิ่ ง

ที่บัญญัติไว้ ยึดถือมั่นตามวัชชีธรรม หลักการที่วางไว้ในคราแรก
ท่านเหล่าใดเป็ นผู้ใหญ่ในชนชั้นชาววัชชี เคารพนั บถือท่านเหล่านั้ น

เห็นถ้อยคำของท่านเหล่านั้ นว่าเป็ นสิ่ งสำคัญควรสดับรับฟั ง
บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหงหรือฉุดคร่า

ขืนใจ
เคารพสักการบูชาเจดีย์ ปูชนี ยสถานและปูชนี ยวัตถุตลอดจน

อนุสาวรีย์ต่าง ๆ ของประจำชาติทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่
ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้ นเสื่ อมทรามไป
จัดความอารักขา คุ้มครอง ป้ องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์
ทั้งหลาย หมายถึง บรรพชิตผู้ดำรงธรรมเป็ นหลักใจของประชาชนทั่วไป

ตั้งใจว่าขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้มา พึงมาสู่แคว้น ส่วนองค์ใด

ที่ เสด็ จมาประทับแล้วในแคว้นพึงอยู่ในแคว้นโดยความผาสุ ก

๗๒

คุณค่าด้ านเนื้ อหา

การเสื่ อมถอยจากอปริหานิ ยธรรมของชาววัชชีนี้ เกิดจากการ
หลงเชื่อกลอุบายของวัสสการพราหมณ์ ซึ่งทำอุบายให้เกิดควา
แตกแยกในหมู่กษัตริย์ลิจฉวีผู้ปกครองแคว้นวัชชี โดยเริ่มจากการสร้าง
ความ เคลือบแคลงใจให้เกิดขึ้นในหมู่พระกุมารด้วยการทำให้พระ
กุมารแต่ละพระองค์เข้าใจผิดว่าพระกุมารพระองค์อื่นนำข้อเสี ยหรือข้อ
ด้อยของตนไปเล่าให้ผู้อื่นฟั ง จนนำไปสู่การทะเลาะวิวาทและขยายวง
ทำให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคีในที่สุด เมื่อพระเจ้าอชาต
ศั ตรู ยกทัพมาจึงไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดกระทำสิ่ งใด

ต่างทรงสำแดง ความแขงอำนาจ
สามัคคีขาด แก่งแย่งโดยมาน
ภูมิศลิจฉวี วัชชีรัฐบาล
บ่ชุ มนุ มสมาน แม้แต่สั กองค์

ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขาดสติพิจารณาสิ่ งต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน จนทำให้
ตนและส่ วนรวมพินาศ

แลสรรพบรรดา วรราชวัชชี
ถึงซึ่ งพิบัติบี ฑอนั ตถ์พินาศหนา
คณะแตกและต่างมา
เหี้ยมนั้ นเพราะผันแผก หสโทษพิโรธจอง
ทนสิ้ นบปรองดอง
ถือทิฐิมานสา ตริมลักประจักษ์เจือ

แยกพรรคสมรรคภิน

ขาดญาณพิจารณ์ตรอง

ต่างจากฝ่ ายพระเจ้าอชาตศั ตรู ที่อาศั ยใช้สติปั ญญาจนยึดครองแคว้นได้
โดยมิต้องใช้กำลังในการยึดเมือง

๗๓

คุณค่าด้ านสั งคม

ด้านวัฒนธรรมประเพณี

ด้านการปกครองแบบมีสภาของกษัตริย์ลิจฉวี มีระบบระเบียบในการปกครองที่

เข้มเเข็งเป็ นปึ กแผ่น เป็ นหนทางยากที่ข้าศึ กยากที่จะเอาชนะได้
วัฒนธรรมด้านการศึ กษา โดยโอรสของกษัตริย์มาเรียนร่วมกันโดยมีพราหมณ์ผู้ที่
มีความรู้เป็ นครู ผู้สอน

ด้านข้อคิดและคติสอนใจ

ความสามัคคีเป็ นสิ่ งที่สำคัญที่สุดทำให้หมู่คณะยืนหยัดอยู่ได้อย่างสงบสุข
การเชื่อคนง่าย โดยขาดการพิจารณาไตร่ตรอง มักทำให้เกิดความเสียหายภายหลัง
การกระทำทุกสิ่ งทุกอย่างต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ จึงจะประสบผลสำเร็จ

ด้านการเมืองการปกครอง

(สามัคคีเภท) เนื่ องจากไม่ยึดมั่นใน “อปริหานิ ยธรรม’’ โดยมีทั้งหมด ๗ ประการ
หมั่นประชุมกันเนื องนิ ตย์
พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
ไม่บัญญัติสิ่ งที่ไม่ได้กำหนดไว้หรือขัดต่อหลักการเดิม ไม่ล้มล้างสิ่ งที่บัญญัติไว้
ยึดถือมั่นตามวัชชีธรรม หลักการที่วางไว้ในคราแรก
ท่านเหล่าใดเป็ นผู้ใหญ่ในชนชั้นชาววัชชี เคารพนั บถือท่านเหล่านั้ น เห็นถ้อยคำ
ของท่านเหล่านั้ นว่าเป็ นสิ่ งสำคัญควรสดับรับฟั ง
บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหงหรือฉุดคร่าขืนใจ
เคารพสักการบูชาเจดีย์ ปูชนี ยสถานและปูชนี ยวัตถุตลอดจนอนุสาวรีย์ต่าง ๆ
ของประจำชาติทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้
เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้ นเสื่ อมทรามไป
จัดความอารักขา คุ้มครอง ป้ องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลายหมายถึง
บรรพชิตผู้ดำรงธรรมเป็ นหลักใจของประชาชนทั่วไป ตั้งใจว่าขอพระอรหันต์ทั้ง
หลายที่ยังไม่ได้มา พึงมาสู่แคว้น ส่วนองค์ใดที่เสด็จมาประทับแล้วในแคว้นพึง
อยู่ในแคว้นโดยความผาสุ ก



๗๕

คุณค่าด้ านการนำไปใช้

การขาดการพิจารณาไตร่ตรอง นํ าไปซึ่งความสูญเสีย ดังเช่น เหล่า
กษัตริย์ลิจฉวี “ขาดการพิจารณาไตร่ตรอง” คือ ขาดความสามารถใน
การใช้ปั ญญาตริตรองพิจารณาสอบสวน และใช้ เหตุผลที่ถูกต้อง
จึงหลงกลของวัสสการพราหมณ์ ถูกยุแหย่ให้แตกความสามัคคีจนเสียบ้านเสียเมือง
ให้เห็นโทษของการแตกความสามัคคี และแสดงให้เห็นความสําคัญของการใช้สติ

ปั ญญาให้เกิดผลโดยไม่ต้องใช้กําลัง ข้อคิดเห็นระหว่างวัสสการพราหมณ์กับกษัตริย์

ลิจฉวี บางคนอาจมีทรรศนะว่าวัสสการพราหมณ์ขาดคุณธรรม ใช้อุบายล่อลวงผู้อ่ื่น

เพื่อประโยชน์ ฝ่ ายตน แต่มองอีกมุมหนึ่ งก็จะเห็นว่า วัสสการพราหมณ์น่ ายกย่อง
ตรงที่มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศั ตรู และต่อบ้านเมือง ยอมถูกลงโทษเฆี่ยนตี
ยอมลำบาก จากบ้านเมืองตนไป เส่ี่ยงภัยในหมู่ศั ตรู ต้องใช้ความอดทนสติปั ญญา

ความสามารถอย่างสู งจึงจะสั มฤทธิผลตามแผนการท่ี่ วางไว้

บรรณานุกรม ๗๖

กัลยาณี ถนอมแก้ว. (๒๕๕๓). สามัคคีเภทคำฉันท์. สืบค้น ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕, จาก

https://www.gotoknow.org/posts/332012

กัลยาณี ถนอมแก้ว. (๒๕๕๓). สามัคคีเภทคำฉันท์. สืบค้น ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕, จาก

https://www.gotoknow.org/posts/332031

กัลยาณี ถนอมแก้ว. (๒๕๕๓). สามัคคีเภทคำฉั นท์. สื บค้น ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕, จาก

https://www.gotoknow.org/posts/332007

จรรยวรรณ ศรีฉายา. (๒๕๖๔). สามัคคีเภทคำฉั นท์ (ครั้งที่ ๑). กรุ งเทพมหานคร:

สำนั กพิมพ์คุรุ มีเดียจำกัด

ณัฐชยา เพ็ชรรัตน์ . (๒๕๕๒). สามัคคีเภทคำฉันท์. สืบค้น ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕, จาก

https://sites.google.com/a/watpa.ac.th/krunatchaya/bi-khwam-ru-reuxng-samakhkhi-

pheth-kha-chanth

นิ รนาม. (๒๕๕๖). สามัคคีเภทคำฉันท์. สืบค้น ๔ มิถุนายน ๒๕๖๕, จาก

http://samakkeepeatchant.blogspot.com/2013/12/blog-post_4301.html

นิ รนาม. (๒๕๖๑). สามัคคีเภทคำฉันท์. สืบค้น ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕, จาก

http://www.digitalschool.club/digitalschool/thai2_4_1/thai8_11/page_1.php

บัวลักษณ์ นาคทรงแก้ว. (๒๕๖๓). สามัคคีเภทคำฉั นท์. สื บค้น ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕,

จาก http://elsd.ssru.ac.th/bualak_na/pluginfile.php/74/mod_page/intro/%E0%B8
%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B9%80

%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0

%B8%97%E0%B9%8C-60.pdf

พีระเสก บริสุ ทธิ์บัวทิพย์. (๒๕๖๓). สามัคคีเภทคำฉั นท์. สื บค้น ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕,

จาก http://www.digitalschool.club/digitalschool/thai2_4_1/thai9_5/paper/all.pdf

สุดารัตน์ มากอ้น. (๒๕๕๖). สามัคคีเภทคำฉันท์. สืบค้น ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕, จาก

https://www.slideshare.net/sudaratmakon/ss-16685482


Click to View FlipBook Version