ชุมชนคณุ ธรรมวัดต๊ำมอ่ น
ตำบลบ้านตำ๊ อำเภอเมืองพะเยา จงั หวดั พะเยา
ชุมชนคณุ ธรรมต้นแบบด้านคุณธรรม
ใตร้ ่มพระบารมี ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ ตำบลบ้านต๊ำ
วันเสาร์ ท่ี ๒๗ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๒๕
1
วนั เสาร์ ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
เวลา ๑๐.๕๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ
พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากลานเฮลิคอปเตอร์ ภูพิงคราชนิเวศน์ ไปทอดพระเนตร
โครงการอ่างเก็บน้ำตามพระราชดำริ และทรงเยี่ยมฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารราบที่ ๔๗๓๑
ตลอดจนทรงเยย่ี มราษฎรอำเภอเมอื งพะเยา จังหวดั พะเยา กับอำเภอเทงิ จังหวัดเชยี งราย
ครั้นเสด็จพระราชดำเนินถึงบ้านต๊ำพระแล ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา ทรงพระดำเนิน
ไปยังฝายทดน้ำแม่ต๊ำ ทรงปล่อยปลานิล ปลาไน ปลาลิ่น และกุ้งก้ามกราม จำนวน ๗๖,๐๐๐ ตัว
ลงในฝายทดน้ำ ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการสร้างอย่างถาวรแทนฝายเดิมของราษฎร โดย
สามารถส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกบริเวณหมู่บ้านต๊ำพระแล และหมู่บ้านใกล้เคียงในเขตตำบลบ้านต๊ำ
เป็นเนื้อที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ และมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคได้ตลอดปี จากนั้นทรงเยี่ยมราษฎร
ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ บริเวณสนามหน้าโรงเรียนบ้านต๊ำพระแล แล้วจึงประทับ
เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังฐานพญาพิภักดิ์ ตำบลยางฮอม อำเภอเทิ ง
จงั หวัดเชียงราย
2
3
นายพฒุ ทะกุล (แพทย์ประจำตำบล) นายก๋อง ชาวเหนอื (อดตี ผูใ้ หญบ่ ้านตำ๊ มอ่ น หมทู่ ่ี ๖)
และนายก๋องคำ ปนั คำ (ผใู้ หญบ่ า้ นตำ๊ ม่อน หมูท่ ่ี ๖) เข้าเฝ้ารบั เสดจ็ ฯ ณ บริเวณฝายต๊ำ
4
5
เสด็จฯ ทรงเยี่ยมโรงสีข้าวของนายหมงิ
6
นายฟอง ไชยสาร อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้านห้วยหม้อ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านตนุ่
เฝา้ รับเสด็จฯ และกราบบังคมทูลขอพระราชทานอา่ งเกบ็ น้ำหว้ ยต่นุ ณ โรงเรียนบ้านต๊ำพระแล
7
อ่างเกบ็ น้ำห้วยเฮือก หน่ึงในพระเมตตาตอ่ ชาวพะเยา1
พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู ิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ทรงมี
พระเมตตาตอ่ ชาวพะเยา โดยเสดจ็ พระราชดำเนนิ ทรงเยี่ยมพสกนิกร เมื่อวนั ที่ ๒๗ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ.
๒๕๒๕ ได้เสด็จพระราชดำเนนิ ทอดพระเนตรโครงการฝายทดนำ้ แม่ตำ๊ และทรงเย่ยี มราษฎรบริเวณ
โรงเรียนบ้านตำ๊ พระแล ในทอ้ งทตี่ ำบลบา้ นตำ๊ อำเภอเมอื ง จังหวดั พะเยา ได้พระราชทานพระราช
ดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน ดงั นี้
“ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ ตามลำน้ำสาขาต่างๆ ของ
แม่นำ้ อิง ในเขตจงั หวัดพะเยา และจงั หวดั เชยี งราย เพ่ือบรรเทาอุทกภยั สำหรับพืน้ ท่ีเพาะปลูกในเขต
ลุ่มน้ำองิ และจัดหาน้ำให้ราษฎรหมู่บา้ นตา่ งๆ ในเขตลุ่มนำ้ อิงดังกล่าว สามารถมีน้ำทำการเพาะปลกู
ได้ท้งั ในฤดูฝน ฤดแู ล้ง และมีน้ำเพื่อการอปุ โภคบรโิ ภคตลอดปีด้วย”
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเฮือก เป็นโครงการตามพระราชดำริ เนื่องมาจากการถวายหนังสือ
กราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยเฮือก
ของนายก๋องคำ ปันคำ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้อุปโภค บริโภคและการเกษตร ไปยังสำนักราชเลขาธิการ
พระบรมมหาราชวัง ซึ่งความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
รับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยเฮือก ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามหนังสือที่
รล ๐๐๐๕/๑๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สำนกั งานเลขาธกิ าร พระบรมมหาราชวงั โดย
ม.ล. พรี ะพงษ์ เกษมศรี ราชเลขาธิการ ลงนามในหนังสือ
สถานที่ก่อสร้าง บ้านต๊ำพระแล หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พิกัด ๔๗
ONB ๘๑๖-๒๕๑ ระวาง ๔๙๔๗ ประเภทโครงการอ่างเก็บน้ำ ลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าโปร่ง
ค่าก่อสร้าง ๑๙,๐๖๒,๕๐๐ บาท ผลประโยชน์ท่ีได้รับการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค พื้นที่รับ
ประโยชน์ในฤดูฝน ๑,๖๐๐ ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ในฤดูแล้ง ๔๐๐ ไร่ จำนวนหมู่บ้าน ๒ หมู่ จำนวน
ครอบครัว ๓๑๔ ครอบครัว ประชากร ๑,๒๐๐ คน เริ่มการก่อสร้าง เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๔๓
เสร็จสน้ิ เมอื่ เดือนมกราคม ๒๕๔๔
1 ทีม่ าของข้อมูล : https://soclaimon.wordpress.com/2013/03/25/อา่ งเกบ็ น้ำหว้ ยเฮอื ก คน้ เมอ่ื ๒๒ เมษายน ๒๕๖๑
8
บุคคลสำคญั ของตำบลบ้านต๊ำ
นายก๋องคำ ปันคำ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ บ้านต๊ำม่อน ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา
จังหวัดพะเยา (ถึงแก่กรรมเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๑) ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖
(พ.ศ.๒๕๒๔) ได้เดินทางไปที่ยังสำนักราชเลขาธิการ กรุงเทพมหานคร เพื่อถวายฎีกากราบบังคมทูล
ขอพระราชทานอ่างเก็บน้ำ ต่อมาได้เฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ณ ฝายต๊ำ
บ้านต๊ำพระแล และตามเสด็จฯ ทรงเยี่ยมประชาชนในหมู่บ้านบ้านต๊ำพระแล เมื่อวันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
9
ประวตั แิ ละความเปน็ มา
๑. ตำบลบ้านต๊ำ
๑.๑. ความเป็นมา
คำว่า “ต๊ำ” มีความเป็นมาที่น่าศึกษาอยู่ ๒ แนวคิด คือ แนวคิดที่หนึ่งเป็นแนวคิดเชิง
ธรรมชาติ มีน้ำขุนตำ๊ ไหลผ่านจึงไดน้ ามตามขุนน้ำนั้นว่าบ้านต๊ำ แนวคิดทีส่ องเป็นแนวคิดเชิงนิทาน
พื้นบ้าน คือมาจากขะตั๊ม (ภาษาท้องถิ่น หมายถึง เครื่องมือดักสัตว์ชนิดหนึ่ง มีเรื่องเล่าว่าพ่อขุนงำ
เมอื งไล่จบั พ่อขนุ รามคำแหงทแ่ี ปลงกลายเปน็ เสือไปติดกบั ดกั ณ บรเิ วณนี้ ดงั นัน้ บรเิ วณดงั กลา่ วจึงได้
ชือ่ วา่ บ้านขะตั้ม ต่อมาเพีย้ นเป็นต๊ำ หรอื บา้ นต๊ำ)
๑.๒ คำขวญั ตำบลบ้านตำ๊
นำ้ ตกขุนต๊ำ จำปาทองลือช่ือ
ศกั ดส์ิ ทิ ธิ์คือพระธาตุโปง่ ขาม ลอื นามแดนขา้ วโพดหวาน
เล่าขานถิ่นสาวงาม โดดเดน่ วฒั นธรรมล้านนา
ผลติ ภณั ฑผ์ กั ตบชวา ภมู ิปัญญาทอ้ งถ่ิน
๑.๓ อาณาเขตติดตอ่ ตำบลบ้านต๊ำ ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ๑๑ กโิ ลเมตร มอี าณาเขต ดงั น้ี
ทิศเหนอื ตดิ กบั ตำบลทา่ จำปี ตำบลแม่ปมื อำเภอเมืองพะเยา
ทิศใต้ ติดกับตำบลบา้ นตอ๋ ม อำเภอเมืองพะเยา
ทศิ ตะวนั ออก ติดกับตำบลทา่ วงั ทอง อำเภอเมอื งพะเยา
และตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว
ทศิ ตะวันตก ตดิ กบั อำเภอวงั เหนือ จังหวดั ลำปาง
๑.๔ จำนวนหมู่บา้ น ๑๓ หม่บู า้ น ดงั น้ี
หมู่ ๑ บ้านห้วยเคยี นเหนอื เป็นหมูบ่ ้านทีต่ ้ังเรยี งรายบรเิ วณลำหว้ ย ซึ่งปรากฏว่า
ลำห้วยดังกลา่ วมตี น้ ตะเคียนข้นึ อยู่ตลอดแนว
หมู่ ๒ บา้ นตำ๊ เหล่าและบ้านดอนมลู
บ้านต๊ำเหลา่ เดิมช่อื ว่าบ้านต๊ำใต้ เพราะอยูใ่ ตน้ ำ้ ตอ่ มาเปลยี่ นเปน็ บ้านดอนมูล
เพราะที่บริเวณดังกลา่ วน้ีเป็นที่ลุ่มนำ้ และตอ่ มาได้พัดพาตะกอนหินดนิ ทรายมาทับถมขึน้ จนเกิดเป็น
สถานที่ดอนขึ้น (ลักษณะการมลู ขน้ึ นีเ้ ป็นภาษาทอ้ งถิน่ เรียกวา่ “ดอน”)
หมู่ ๓ บ้านป่าลาน บรเิ วณหมู่บ้านน้มี ตี น้ ลานขึ้นอยเู่ ปน็ จำนวนมาก (คนสมัยกอ่ นใช้
ใบลานในการจารหนงั สือเหมือน คนในยคุ ปจั จุบนั ใช้กระดาษในการเขียนหนังสือ)
10
หมู่ ๔ บ้านท่าชา้ ง ในอดตี ถนนหนทางการคมนาคมไปมาลำบาก ไมส่ ะดวกเหมือนใน
ยุคปัจจุบนั จึงใชช้ า้ งในการชักลาก หรือเป็นพาหนะในการสญั จรไปมาและบริเวณดังกล่าวเป็นทางข้ึน
ลงและข้ามลำน้ำแม่ตม๊ั ของชา้ ง จงึ เป็นทีม่ าของชอื่ หมบู่ ้าน
หมู่ ๕ บา้ นต๊ำน้ำล้อม สภาพของหมบู่ า้ นที่ประชาชนพากันปลกู บา้ นในบริเวณ
สถานทีอ่ ันเป็นที่มลี ำนำ้ ลอ้ มรอบหม่บู า้ นไว้ จงึ ได้ชอ่ื วา่ ตำ๊ น้ำลอ้ ม
หมู่ ๖ และหมู่ ๑๒ บา้ นตำ๊ มอ่ น
บา้ นตำ๊ มอ่ น ลกั ษณะภมู ิประเทศเป็นทเ่ี นินสงู คำวา่ “มอ่ น” เปน็ ภาษาถนิ่ ลกั ษณะ
เป็นเนินสูงข้นึ ไป ประกอบกับอยูใ่ นกล่มุ บ้านตำ๊
หมู่ ๖ บา้ นตอ๋ มดง
หมู่ ๗ และหมู่ ๑๑ บ้านต๊ำพระแล
บ้านต๊ำพระแล มีคนเล่าว่าในอดีตมีพระพุทธรูปที่สวยงามมากตั้งเด่นเป็นที่สนใจของ
ผู้คนทเี่ ดินทางสญั จรไปมา เรียกว่าใครท่ีไดผ้ า่ นมาทางนตี้ อ้ งแลดทู ุกคน จงึ เป็นที่มาของช่ือหมบู่ ้าน
หมู่ ๘ บา้ นตำ๊ กลาง เปน็ หมู่บา้ นที่ตง้ั อยู่ระหว่างบ้านตำ๊ พระแลและบา้ นตำ๊ ใน
หมู่ ๙ บา้ นต๊ำใน เปน็ หมู่บ้านทต่ี ั้งอยู่บริเวณในสุดของตำบล
หมู่ ๙ บา้ นรอ่ งไผเ่ หนือ
หมู่ ๑๐ บ้านโป่งขาม บริเวณดังกล่าวมีดินโป่งเปน็ จำนวนมาก และอยู่บนจอมปลวก
ที่มีต้นมะขามขึ้นอยู่ คำว่า “โป่ง” จึงมาจากดนิ โปง่ ส่วนคำวา่ “ขาม” มาจากตน้ มะขาม
หมู่ ๑๐ บ้านร่องไผใ่ ต้
หมู่ ๑๓ บ้านท่าเรือ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่อีกฝากหนึ่งของลำน้ำอิง ในสมัยก่อนการ
สัญจร ผู้คนนิยมใช้เรือ เพราะอยู่บริเวณที่มีท่าเรือขึ้นลงจึงเป็นช่ือของหมู่บ้าน (คำว่าบ้านต๊ำ มีอยู่ ๕
บา้ นคอื บา้ นต๊ำน้ำล้อม บา้ นต๊ำม่อน บ้านต๊ำพระแล บา้ นต๊ำกลาง และบา้ นต๊ำใน )
11
2. บ้านตำ๊ มอ่ น
คำว่า “ต๊ำ” หมายถึง ลำน้ำแม่ต๊ำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ส่วนคำว่า “ม่อน” (ถิ่น - พายัพ)
หมายถึง เนินเขา, ยอดเขา “บ้านต๊ำม่อน” หมายถึง หมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเนินเขาตลอดสองฝั่งลำน้ำ
แม่ตำ๊
บา้ นต๊ำม่อนเป็นหม่บู า้ นเล็กๆ ที่ตงั้ อยบู่ นพ้นื ทีข่ อง ๒ ฝัง่ ของลำนำ้ แม่ต๊ำ ซ่งึ มกี ารสร้างบ้าน
ที่พักอาศัยเรียงรายไปตามลำน้ำแม่ต๊ำ โดยประชาชนใช้เป็นแหล่งที่ใช้ในการประกอบอาชีพ สภาพ
ชุมชนยังไม่หนาแน่น หากฤดูน้ำหลากทำให้การคมนาคมติดต่อระหว่างสองฝั่งเป็นไปด้วยความ
ยากลำบาก จึงได้สร้างสะพานไม้เล็กๆ เพื่อสัญจรไปอกี ฝัง่ หนึ่ง แต่ก็ไม่ถาวรเพราะสะพานดังกลา่ ว
ทำจากไม้ไผ่ หากกระแสน้ำเชี่ยวก็ทำให้เกิดเสียหายง่ายต่อสะพานดังกล่าว ครั้นพ่อหลวงแก้ว นามบ้าน
(ผู้ใหญ่บ้าน) จึงขอความร่วมมือจากประชาชนในหมู่บ้านสร้างสะพานถาวร ทำจากไม้ซุง ทำเสา
และใช้ไม้ไผส่ านปูพนื้ สะพาน ทำใหก้ ารใช้งานได้ดีกว่าสะพานแบบเดิม ทำใหก้ ารคมนาคมติดต่อกัน
ของประชาชนมีความสะดวกขึ้น แต่ก็ยังไม่ทนต่อกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก จึงต้องสร้างและซ่อมแซม
เป็นประจำ จากนน้ั จึงได้ยา้ ยสะพานท่เี ดิมมาสร้างในทสี่ ะพานปัจจุบนั และไดส้ ร้างด้วยไม้ซุงอย่างดี
จนมอี ายกุ ารใชง้ านหลายปีกผ็ พุ งั ตามกาลเวลา
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ - พ.ศ. ๒๕๒๔ พ่อหลวงกองคำ ปันคำ (ผู้ใหญ่บ้าน) ได้รับงบประมาณ
จากทางราชการ จงึ มกี ารขยายถนนให้กว้าง จากทางเดิมทกี่ ว้าง ๓ เมตร ขยายเป็น ๘ เมตร และ
ได้รับงบประมาณสนบั สนนุ เพือ่ สร้างสะพานคอนกรตี เสริมเหล็ก ข้ึนแทนสะพานไม้เดมิ
ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายในการกระจายอำนาจการ
ปกครอง เพื่อให้หมู่บ้านมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนโยบายและแนวคิดของผู้นำในหมู่บ้าน
พ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) ก๋องคำ ปันคำ จึงจัดประชาคมหมู่บ้านเพื่อเสนอให้แยกหมู่บ้านต๊ำม่อน
ออกเป็น ๒ หมู่บ้าน เพื่อให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้าน และการกระจาย
อำนาจการปกครอง โดยแบ่งแนว-เขตหมู่บ้านยึดลำน้ำแม่ต๊ำเป็นแนวกั้นหมู่บ้านต๊ำม่อน ทั้ง ๒
หมบู่ ้าน และไดร้ บั การพฒั นามาตามลำดบั จนถงึ ปจั จบุ ัน
2.1 ประวตั วิ ัดตำ๊ มอ่ น
สถานที่ตั้งของวัดต๊ำม่อนในอดีตเป็นป่าไม้ มีสัตว์นานาชนิด ลักษณะพื้นที่สูงๆต่ำๆ ไม่ได้เป็น
พื้นที่ราบเหมือนปัจจุบัน สมัยนั้นมีพวกชาวเงี้ยว พวกขมุ และละว้าหรือลัวะ ได้เข้ามาอาศัยอยู่ใน
พื้นที่แห่งน้ที ม่ี ีความอดุ มสมบูรณ์ และสมัยนนั้ พุทธศาสนาได้เจริญรงุ่ เรอื ง แผ่ขยายถงึ ลา้ นนา ได้มเี จา้
แมแ่ ก้ววันนาเปน็ บุตรของเจา้ หน้อย มหาพรหม และเปน็ พีข่ องเจ้าหลวงมหาจัย หรือพระเจ้าประเทศ
อุดรทิศ (เจ้าเมืองพะเยาต้นตระกูลศีติสาร) เห็นว่าพื้นที่แห่งนี้เหมาะสมเป็นที่ตั้งสถานที่ประกอบ
พิธีกรรมทางศาสนาลัทธิมหายาน เจ้าแม่แก้ววันนาจึงได้สร้างพระพุทธรูป พระประธาน ถวายเป็น
ทาน โดยวา่ จา้ งเจา้ ปูส่ ล่าชา่ งคำต๋ัน เป็นช่างปน้ั สมยั น้นั เมื่อปจี ุลศักราช ๑๐๘๓ (พ.ศ.๒๒๖๔)
12
การสร้างพระพุทธรูปในสมยั น้ันค่าจา้ งคดิ เปน็ เงินแถบเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประดับด้วย
แก้วสีต่างๆ ชาวบ้านเรียกว่าพระเจ้าเงี้ยว พระประธานองค์นี้ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับอารามเล็กๆ
(วัดต๊ำม่อน) อยู่กลางป่าต้นโพธิ์ ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกต้นศรีบริเวณวัดจะมีต้นโพธิ์ (ต้นศรี) ขึ้น
ล้อมรอบอาราม ต่อมาขาดคนดูแลรักษาทำให้กลายเป็นวัดร้างหลายปี จนมีพวกชาวเงี้ยว ชาว ขมุ
และละว้า ที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง ย้ายที่ทำกินไปเรื่อยๆ อาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งยังมีเหตุการณ์
รบราฆ่าฟันกันอยู่ จึงต้องทิ้งถิ่นไป ในเวลาต่อมาก็เริ่มมีชาวบ้านมาตั้งถิ่นฐานอีก รวมทั้งชาวลำปาง
ได้อพยพมาอาศัยอยู่เพิ่มเป็นจำนวนมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน จึงนับได้ว่าชาวบ้านต๊ำม่อนในปัจจุบันน้ี
มีเชื้อสายมาจากลำปาง และได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดต๊ำม่อนขึ้นใหม่ ซึ่งก่อนนั้นมีชื่อเรียกกัน
หลายชื่อ อาทิ วัดต๊ำม่อนศรีล้อมดอนชัย วัดศรีล้อมบุญโยงบ้าง ตามที่จะเรียกขานกัน เหตุที่เรียก
เช่นนี้ เพราะวดั น้ีถูกล้อมรอบด้วยตน้ โพธ์ิ (ตน้ ศร)ี และวดั ตั้งอยู่ในบริเวณพ้ืนที่เนินสงู (ที่เนนิ สงู ๆตำ่ ๆ
ภาษาถิน่ ชาวบ้านเรียกว่า ม่อน ) ดงั นั้น จงึ มีบางคนเรียกกันวา่ วดั ต๊ำมอ่ นศรลี ้อมบญุ โยง เนื่องจากเป็น
วดั ท่ีมชี าวบา้ นท่วั สารทศิ มาทำบุญกนั มาก ทง้ั ชาวพ้นื เมือง เงย้ี ว ขมุ และละวา้ เพราะในสมัยน้ันพื้นที่
แห่งน้ี มวี ดั ตำ๊ มอ่ นเปน็ วัดแหง่ แรก จงึ เหมอื นกับผลเนื้อนาบุญท่ีโยงใยทั่วถงึ กัน แต่ต่อมานิยมเรียกกัน
สั้นๆ ว่า วัดต๊ำม่อน ซึ่งหลังจากถูกปล่อยรกร้างมานาน พระครูบาคัณธะวัง พระครูบาปัญญา และ
พระครูบาแว ได้ร่วมกบั ชาวบ้าน ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นถาวรสถาน และมีถาวรวัตถสุ ืบทอด
ศาสนาต่อกันมา โดยพ่อหลวงหนานนะโม เป็นมัคนายกวัด หรือเรียกอาจารย์วัด เป็นคนแรก และ
พ่อเฒ่าหนอ้ ยสา มูลเท เปน็ ผใู้ หญ่บา้ นคนแรก ของบา้ นตำ๊ มอ่ น
วัดต๊ำม่อน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้เกิด
ไฟไหม้ ทีอ่ โุ บสถวดั ตำ๊ มอ่ น ทำใหพ้ ระพุทธรูปและวัตถโุ บราณอนั ล้ำคา่ ได้รบั ความเสียหายและสูญส้ิน
ไปกับเพลิงที่ลุกไหม้เผาผลาญ ในวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ. ศ. ๒๕๓๓ เวลา ๒๔.๐๐ น. ตรงกับ
จ.ศ.๑๓๕๒ แรม ๑ ค่ำ เดอื นย่ี เหนอื ปมี ะเมีย
วัดต๊ำม่อนได้รบั การบูรณะปฏิสังขรณข์ ึ้นอีก โดยมีศรทั ธาชาวบ้านต๊ำม่อนและพุทธศาสนิกชน
ทั่วทุกถิ่นร่วมกันก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น โดยมีเจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อน คือ พระสมพล รตฺนยาโน
และผูใ้ หญ่บ้านคือ พอ่ หลวงกองคำ ปันคำ ไวยาวัจกรคือ พอ่ มอญ ปวนคำ และมัคนายก คือนายสุคำ
ปิงวงค์ เปน็ แกนนำร่วมกบั ชาวบ้านตำ๊ ม่อน ทำการบูรณะปฏสิ ังขรณ์ และได้มกี ารพัฒนาเปล่ียนแปลง
ไปเรอื่ ยๆ ตามยุคสมยั จนสู่สภาพการณป์ จั จุบนั
ต่อมาเจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อนรูปปัจจุบัน คือ พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ (จิรวัฒน์ จิรวฑฒโน)
ได้พัฒนาทั้งทางด้านวัตถุ-จิตใจ ควบคู่กันไป ด้านพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เน้นเรื่องการเผยแผ่
หลักธรรมแก่คนทุกหมู่เหล่า เช่น โครงการปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ต้นเดือน , การเข้าค่ายพัฒนา
คุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน, การเป็นพระธรรมวิทยากรอบรมนักเรียนใน
สถานศึกษา, โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์, โครงการค่ายกล้าอาสา, โครงการค่าย
ละออ่ นกลา้ ดี, โครงการคา่ ยละอ่อนฮกั ดี เปน็ ต้น
13
2.2 อาณาเขตติดตอ่
ทศิ เหนือ ตดิ กับบ้านห้วยเคยี น หม่ทู ่ี ๙ ตำบลทา่ จำปี อำเภอเมอื ง จงั หวดั พะเยา
ทิศใต้ ติดกบั บา้ นตำ๊ มอ่ น หม่ทู ่ี ๑๒ ตำบลบา้ นต๊ำ อำเภอเมอื ง จังหวัดพะเยา
ทิศตะวนั ออก ติดกับบา้ นต๊ำนำ้ ลอ้ ม หมู่ท่ี ๕ ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมอื ง จังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก ตดิ กบั บ้านต๊ำพระแล หมู่ท่ี ๑๑ ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวดั พะเยา
2.3 สถานท่สี ำคัญในบ้านตำ๊ ม่อน หมทู่ ี่ ๖
๒.3.๑ วัดตำ๊ มอ่ น
๒.3.๒ คริสตจักรไมตรีสขุ
๒.3.๓ โรงเรียนบ้านตำ๊ ม่อน (ยุบไปเรียนรวมกับโรงเรียนบา้ นตำ๊ พระแล)
๒.3.๔ หอชาวบ้าน (ผพี ่อบ้าน)
๒.4 การรวมกลมุ่
๒.4.๑ กลมุ่ ออมทรัพย์หมู่บ้าน
๒.4.๒ กองทนุ หมบู่ ้าน
๒.4.๓ กลุ่มปุ๋ย
๒.4.๔ กลมุ่ จกั สาน
๒.4.๕ กลมุ่ สานหมวก
๒.4.๖ กล่มุ เลีย้ งสุกร
๒.4.๗ กลุ่มสุราชุมชน
๒.4.๘ กลมุ่ เกษตรกรทำสวน
๒.4.๙ กลมุ่ แกไ้ ขปัญหาความยากจน (กขคจ.)
๒.4.๑๐ กล่มุ สงเคราะห์
๒.4.๑๑ กลมุ่ แมบ่ ้าน
๒.4.๑๓ กลุ่ม ชรบ.
๒.4.๑๔ กลุ่มลกู เสอื ชาวบ้าน
๒.4.๑๕ กลุ่ม อปพร.
๒.4.๑๖ กลมุ่ เหมอื งฝาย (กลุ่มผู้ใช้นำ้ )
๒.4.๑๗ กล่มุ เยาวชนตน้ กลา้ (กลองสะบดั ชัย)
๒.4.๑๘ กลุ่มผ้สู ูงอายุ
๒.4.๑๙ กลมุ่ อาชีพเพาะเห็ด
๒.4.๒๐ กลุ่มอาชีพทำแหนม
14
๒.5 ทุนทางวัฒนธรรม/ภูมิปญั ญาทอ้ งถนิ่
๒.5.๑ หมอเลี้ยงผี – ผปี ู่ย่า, เจา้ บ้าน, ผีฝาย, ขุนน้ำ
๒.5.๒ หมอส่งเคราะห์, ฮ้องขวญั (ทำขวัญ)
๒.5.๓ จกั สาน, ส่มุ ไก่, ข้อง, ไซ, แซะ, จำ๋ (ยอ)
๒.5.๔ สมนุ ไพรรกั ษาโรคต่าง ๆ
๒.5.๕ หมอสู่ขวัญ, ฮอ้ งขวัญ
๒.5.๖ สุราชมุ ชน, ตัดเย็บผ้า, เสรมิ สวย
๒.5.๗ ดนตรีพ้นื เมอื ง ช่างปี่ ซงึ ซอ กลองปูจา กลองฟอ้ นเชิง กลองสะบัดชยั
๒.5.๘ สล่าสร้างบา้ น, สล่าสร้างวดั
2.5.9 ทำโคมลา้ นนา
2.5.10 ทำปราสาทศพ
2.5.11 ทำบายศรี , เครอื่ งสักการะ
๒.6 ทุนวัฒนธรรม ประเพณี/พิธีกรรมทอ้ งถน่ิ
๒.6.๑ ประเพณียี่เปง็ (เทศนม์ หาชาติ)
๒.6.๒ ประเพณที ำบุญสลากภตั ร
๒.6.๓ ประเพณตี านต้อด (ชว่ ยเหลือคนยากจน)
๒.6.๔ พิธเี ล้ียงผบี ้าน
๒.6.5 ประเพณีสงกรานต์ (ป๋ีใหม่เมอื ง), รดนำ้ ดำหัวผู้สงู อายุ, แห่ไมค้ ้ำศรี
๒.6.6 ประเพณีสบิ สองเปง็ (ตานเผต, ตานเปรต)
๒.6.7 ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ
๒.7 จำนวนประชากร
บา้ นตำ๊ มอ่ น หม่ทู ่ี ๖ มีจำนวนครวั เรือน จำนวนท้ังส้นิ ๑๘๐ ครัวเรอื น โดยแยก
ประชากรทม่ี ภี ูมลิ ำเนาในพนื้ ท่ี โดยแยกไดด้ งั น้ี
๑) ประชากรชาย จำนวน ๒85 คน
๒) ประชากรหญิง จำนวน ๒82 คน
รวมจำนวนประชากรทัง้ สน้ิ ๕67 คน (ขอ้ มลู จากฐานขอ้ มูลทะเบยี นราษฎร)
15
๓. ชมุ ชนคุณธรรมวดั ตำ๊ มอ่ น ชมุ ชนตน้ แบบดา้ นคุณธรรม
3.1 คำขวัญของชมุ ชน
พระเจา้ ทนั ใจ..เงีย้ วงามศกั ดิ์สทิ ธิ์
แหลง่ วจิ ติ ร..โคมลา้ นนา
ศูนยเ์ พาะ..กล้าแผ่นดิน
สืบสานศลิ ป.์ .กลองสะบดั ชยั
3.๒ ความโดดเด่นของชมุ ชน
บ้านต๊ำม่อน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเนินเขาตลอดสองฝั่งลำน้ำแม่ต๊ำ ในอดีตมีชาว
เงี้ยว ชาวขมุ และละว้า มาอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง จะย้ายที่ทำกินไป
เรื่อยๆ และเมื่อมีเหตุการณ์รบราฆ่าฟันกัน จึงได้ละทิ้งถิ่นไป และมีชาวบ้านกลุ่มใหม่มาตั้ งถิ่นฐาน
รวมทั้งชาวลำปางได้อพยพมาอาศัยอยู่เพิ่มเป็นจำนวนมาก ชุมชนบ้านต๊ำม่อนในปัจจุบัน มีเชื้อสาย
มาจากลำปาง และไดช้ ว่ ยกันบูรณะ ปฏสิ ังขรณว์ ดั เดมิ มชี ่ือเรียกกันหลายชื่อ อาทิ วัดต๊ำม่อนศรีล้อม
ดอนชัย เนื่องจากล้อมรอบด้วยต้นโพธิ์ (ต้นศรี) และตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เนินสูง (ภาษาถิ่นเรียกว่า
ม่อน) ผู้คนทั่วสารทิศมาร่วมทำบุญอุปถัมภ์วัดกันเป็นอย่างมาก ด้วยสายใยแห่งบุญที่เชื่อมโยงกัน
จึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดต๊ำม่อนศรีล้อมบุญโยง” ต่อมาเรียกสั้นๆ ว่า “วัดต๊ำม่อน” มีพระพุทธรูป
พระประธาน คอื พระเจา้ เงีย้ ว และพระเจ้าทันใจ งานพทุ ธศิลปท์ ่ีงดงาม เป็นที่ยดึ เหนยี่ วจิตใจของคน
ในชมุ ชน
ชุมชนคุณธรรมวัดต๊ำม่อน เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย โดยการนำ
ของ “พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ” เจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อน และพระครูสังฆบริรักษ์เอกรัฐ อภิรกฺโข
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และประธานเครือข่ายฯ เพื่อนคุณธรรม ได้ร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านการเผยแผ่
พระพุทธศาสนา ด้านพัฒนาด้านคุณธรรม จรยิ ธรรม และด้านศิลปะ วฒั นธรรม ส่งเสริมกระบวนการ
เรียนรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในหลากหลายรูปแบบ นำพลัง “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน
ร่วมกันส่งเสริมให้คนในชุมชนรักษาศีล น้อมนำหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติ ดำเนินชีวิตตาม หลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมไทย ตลอดจนปฏิบัติตนตามหลัก
ค่านิยม ๑๒ ประการ เป็นหมู่บ้านที่มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เสมือนเครือญาติ
มีความรกั และสามัคคี อยรู่ ว่ มกนั อยา่ งมีความสุข
16
ด้านศาสนา จัดกิจกรรมศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กิจกรรมบวร สานรัก
๓ วัย สานใจใกล้ธรรม จัดปฏิบัติธรรมทุกวันอังคารแรกของเดือน กิจกรรมค่ายละอ่อนฮักดี พัฒนา
คุณธรรมแก่เด็กและเยาวชนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กิจกรรมบรรพชาอุปสมบทภาค
ฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกุมารี กิจกรรมกล้าแผ่นดินละอ่อนกล้าดี เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนอาสากล้า
แผ่นดินในพื้นที่จังหวัดพะเยา และวัดต๊ำม่อนยังเป็นสถานที่ตั้งของเครือข่ายเพื่อนฯ คุณธรรม
ท่ีสนับสนุนพระวิทยากร วิทยากรอาสา ผ่านกิจกรรมด้านศาสนา ร่วมกับสถานศึกษา องค์กร
หน่วยงานต่างๆ ในรูปแบบค่ายกล้าคุณธรรม และค่ายกล้าอาสา รวมถึงสนับสนุน ส่งเสริม
ประสานงานให้เดก็ และเยาวชน ชมรมต้นกลา้ กลุ่มต้นกลา้ ในสถานศึกษา/วดั เครือข่ายทั่วประเทศ
จัดกิจกรรมเพื่อเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และแสดงออกถึงความจงรักภักดี
ต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และร่วมกันทำประโยชน์ให้แก่สังคม ผ่านกิจกรรม
กลา้ ทำดี ในกรอบ ๔ ด้าน ได้แก่ ๑.ดา้ นเทดิ ทูนสถาบัน ๒.ด้านศาสนาวฒั นธรรม ๓.ด้านสง่ิ แวดล้อม
และ ๔.ด้านสงั คม โดยมีเครอื ขา่ ยเดก็ และเยาวชน ทัง้ ศาสนาพุทธ คริสต์ อสิ ลาม สังกัดชมรมต้นกล้า
กลมุ่ ตน้ กล้าทีก่ ระจายอยู่ในสถานศึกษา/วัด ๔ ภาค ทัว่ ประเทศกวา่ 30 แห่ง ร่วมกนั ทำความดีในมิติ
ต่างๆ ตามศักยภาพอย่างต่อเนอ่ื ง
ด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดตั้งกลุ่มโคมล้านนา ส่งเสริมให้คนใน
ชุมชน นำทุนทางวัฒนธรรมมาพัฒนาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สร้างรายได้แก่
ครอบครัว และมีความรกั ความสามคั คภี ายในกลุม่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรม
เฉพาะดา้ นท่ีโดดเด่น เพ่อื ถ่ายทอดองคค์ วามรแู้ ก่เดก็ เยาวชน และประชาชนทสี่ นใจ และบริเวณลาน
โพธิ์หน้าวัดต๊ำม่อน ทุกวันอังคาร จัดกิจกรรมกาดนอ้ ยปอยม่วน ส่งเสริมให้คนในชมุ ชนนำพชื ผักสวน
ครัว พืชผลดา้ นการเกษตร อาหาร-ขนมพ้นื บ้านมาจำหน่าย
ด้านวิถีวัฒนธรรมไทย พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ ได้รวมกลุ่มเด็กและเยาวชน จัดตั้ง
กลุ่มเยาวชนกลองสะบัดชัย ส่งเสริมให้เยาวชนสืบสานศิลปะการตีกลองสะบัดชัย ใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์ มีการฝึกซ้อมตลอดทั้งปี และยังได้ถ่ายทอดศิลปะการตีกลองสะบัดชัยจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
จัดกจิ กรรมประเพณีตานต้อด ประเพณีล้านนาทกี่ ำลงั จะสญู หายไป ส่งเสรมิ ใหค้ นในชุมชน ให้มีน้ำใจ
ไมตรี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ร่วมกันช่วยเหลือคนในชุมชนที่มีความขัดสน
มีความยากไร้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองหรือไม่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้ โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่
ที่ไม่มีลูกหลานคอยดูแล จากนั้นคนในชุมชนจะร่วมบริจาคทรัพย์ ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า อาหาร
ยารักษาโรคต่างๆ ตามแต่กำลังของแต่ละคน แล้วนำข้าวของเครื่องใช้เหล่านั้นไปให้ ผู้จะรับการ
ตานต้อดในตอนกลางคนื โดยทีผ่ ู้จะรับการตานตอ้ ดน้ันไมร่ ู้ล่วงหนา้
17
3.3 การพัฒนาชุมชนเป็นชุมชนคณุ ธรรมตน้ แบบ
วัดต๊ำม่อน เป็นศูนย์กลางจัดกิจกรรมของชุมชน ท่ีมีบทบาทในการจัดกิจกรรมใน
รูปแบบที่หลากหลาย ส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม การเรียนรู้ อนุรักษ์ สืบสาน ประเพณี
วัฒนธรรมไทย ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจและความต้องการของชุมชนที่ร่วมกับวัดจัดกิจกรรม
อย่างตอ่ เน่อื ง ก่อให้เกิดการประสานความร่วมมอื ระหว่างวัด บ้าน และโรงเรียน อนั จะเป็นแหล่งรวม
คนในชุมชน และเป็นแหลง่ เรยี นร้ทู เ่ี กดิ จากพน้ื ฐานของความร่วมมอื ของคนในชุมชนเอง
ในปี พ.ศ.2548 พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ เจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อน ได้ดำเนินงานศูนย์
ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในปีแรกมีนักเรียน ๑๒๐ คน มีการเรียนการสอนและสอบ
ประเมินผลปลายภาคและมอบเกียรติบัตรให้ ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ก็ต้องหยุดทำการสอนไป เนื่องจาก
ค่าใช้จ่ายมากไม่มีงบประมาณในการดำเนินงาน จึงไม่สามารถเปิดเรียนได้ ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๕๐
ได้ระดมทุนในชมุ ชนหมบู่ ้านโดยขอรับบริจาคจากประชาชนทั่วไป ได้รับเงนิ บรจิ าคเพื่อเป็นทนุ ในการ
เปิดเรียนได้ใหม่ และได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็น ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดต๊ำม่อน
ได้เปิดรับสมัครนักเรียนชั้น ป.๓ - ป.๖ และมัธยมต้น/ปวช. ในเขตตำบลบ้านต๊ำและตำบลใกล้เคียง
เข้ามาเรียนในศูนย์ฯ มีการจัดการเรียนการสอนตามระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยศูนย์ศึกษา
พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จนถึงปัจจุบัน และยังได้จัดกิจกรรม “ค่ายละอ่อนฮักดี” อบรมนักเรียน
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ หลักสูตร ๒ คืน ๓ วัน เพื่อให้เรียนรู้หลักธรรมตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ฝึกกระบวนการจิตอาสา การฝึก
ประสบการณ์ภาคสนาม ศูนยศ์ กึ ษาพระพุทธศาสนาวนั อาทิตย์วดั ต๊ำมอ่ น ได้รับการยกยอ่ งเป็นศูนย์
ศึกษาพระพทุ ธศาสนาวนั อาทติ ย์ตน้ แบบของจังหวดั พะเยา
การแก้ปัญหาของสังคมในกลุ่มของเด็กและเยาวชน ไม่ว่าเรื่องยาเสพติด เพศสัมพันธ์
กอ่ นวยั อันควร การทะเลาะววิ าท ความฟุง้ เฟ้อทะเยอทะยาน รวมไปถงึ ปัญหาสังคมอ่ืนๆ ในปี พ.ศ.
2550 พระครสู ุวฒั นส์ ังฆโสภณ เจา้ อาวาสวดั ตำ๊ มอ่ น ไดร้ วมกลุ่มเยาวชนในพ้ืนทต่ี ำบลบ้านต๊ำ จัดตั้ง
เป็น “ชมรมต้นกลา้ บ้านต๊ำ” ส่งเสรมิ คณุ ธรรมให้เยาวชนทำกิจกรรมทำร่วมกนั เช่น การพบปะ การ
ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน และยังได้รวมกลุ่มเยาวชนชาย เพื่อเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมการ
ตีกลองสะบัดชัย จัดตั้ง “กลุ่มเยาวชนกลองสะบัดชัย” รักษา สืบสาน เผยแพร่ศิลปะการแสดงของ
ล้านนา อีกทั้งยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง
เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน กล้าแสดงออก กล้าทำความดี มีจิตอาสา ให้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น
แก้ไขปัญหาเป็น ห่างไกลอบายมุข สิ่งเสพติด รู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือ การเอื้อเผื่อแผ่
และแบ่งปัน และมีจิตสำนึกเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมค่านิยมความเป็นไทย อาทิ กิจกรรมค่าย
ละออ่ นกลา้ ดี กจิ กรรมคา่ ยละอ่อนฮักดี กิจกรรมคา่ ยกล้าอาสา กิจกรรมจติ อาสาเย่ียมปอ้ อุ๊ย แม่อุ๊ย
(ผู้สงู อายุในชมุ ชน) ท่สี ่งเสริมให้เด็กและเยาวชน นำสิง่ ของ เครอื่ งอปุ โภคบรโิ ภค เยี่ยมใหก้ ำลังใจ และ
ไปช่วยทำความสะอาดบา้ นเรอื นให้ผสู้ ูงอายเุ ปน็ ประจำทุกเดอื น
18
ผู้ปกครองและชุมชนได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของเยาวชนที่มีความส่วนร่วมในการทำงานของชุมชน
ทำใหเ้ ดก็ และเยาวชนได้รูจ้ กั คณุ คา่ ของตนเองมากข้ึนและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
ปี พ.ศ.2554 วัดต๊ำม่อนยังเป็นสถานที่ตั้งของ “เครือข่ายเพื่อนฯ คุณธรรม” โดยมี
พระครูสังฆบริรักษ์เอกรัฐ อภิรกฺโข ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อน เป็นประธานเครือข่ายเพื่อนฯ
คณุ ธรรม ทด่ี ำเนนิ กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ส่งเสรมิ ใหเ้ ด็ก และเยาวชน แสดงออกถึงความ
จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สร้างแรงบันดาลใจแก่เด็กและเยาวชน
ให้ร่วมกันทำประโยชน์ใหแ้ ก่สังคม ผา่ นกจิ กรรมกล้าทำดี ดา้ นเทดิ ทูนสถาบนั ดา้ นศาสนาวัฒนธรรม
ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม ให้ความรู้ ปลูกฝังหลักธรรมทางศาสนา แก่เด็ก เยาวชน ผู้รับการ
อบรมทั้งศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ให้มีศีลธรรมประจำใจ มีจิตเมตตา มีความปรารถนาดีต่อผู้อ่ืน
มีความซื่อสัตย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกิดทัศนคติที่ดีต่อชีวิต และมีแรงบันดาลใจในการเสียสละความสุข
ส่วนตัวเพื่อสังคม และเมื่อผ่านการอบรมแล้ว ยังได้ส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนกลับไปจัดตั้งกลุ่ม
เยาวชนอาสาในสถานศึกษาหรือชุมชน เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนมีบทบาทและมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม
เพื่อพัฒนาตนเองและชุมชน ในนามของ “ผู้นำเยาวชนกล้าแผ่นดิน” ปี พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔
เครือข่ายเพื่อนฯ คุณธรรม วัดต๊ำม่อน ได้ดำเนินกิจกรรม “โครงการกล้าแผ่นดินด้วยพลังบวร”
ร่วมกับสำนกั งานปลดั กระทรวงวัฒนธรรม
ในปี พ.ศ.2556 พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ ได้จัดกิจกรรม “บวร สานรัก 3 วัย
สานใจใกล้ธรรม” ทุกวันเสาร์ต้นเดือนของทุกเดือน ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้มี
โอกาสในการเข้าวัดปฏิบัติธรรม เน้นกิจกรรมธรรมะปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น.- ๑๖.๐๐ น. โดยมีกิจกรรมหลัก คือ การสร้างบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ทานมัย
มกี ารตานขนั ข้าว ถวายภัตตาหาร เป็นสงั ฆทาน เรียนรู้ศาสนพิธเี บือ้ งต้น ศลี มยั มีการสมาทานรักษา
ศีล ๘ ตลอด ๑ วันที่ทำกิจกรรม ภาวนามัย การทำวัตร สวดมนต์แปล นั่งสมาธิ เจริญเมตตา ภาวนา
เดินจงกรม ฟังธรรมจากพระเถระ พระวิทยากร ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน มาให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติ
ธรรม ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๖๒ ได้ปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรมเป็นทุกวันอังคารแรกของเดือนจนถึง
ปัจจบุ ัน
ในตำบลบ้านตำ๊ มผี ้สู งู อายจุ ำนวนมาก เนือ่ งจากประชากรวัยแรงงานไปทำงานเพ่ือหา
เลย้ี งชพี ละท้งิ ผู้เฒา่ ผูแ้ ก่และเดก็ ไวท้ บ่ี ้าน บางคนมปี ญั หาด้านสุขภาพ บางคนอยู่ตามลำพัง และบาง
คนมีทักษะ ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ในปี พ.ศ.2561 พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ เจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อน
ได้จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้น ชื่อว่า วิทยาลัยฮอมผญา เพื่อเปิดพื้นที่วัดเป็นสถานที่เรียนรู้ถา่ ยทอด
ประสบการณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่ม พบปะ พูดคุย ทำกิจกรรม
ร่วมกัน ได้เพิ่มพูนทักษะ ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตโดยวิทยากรจิตอาสา ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ
ได้พัฒนาตนเอง รู้เท่าทันและเข้าใจสิง่ ต่างๆ ที่เกิดข้ึน และได้แสดงศักยภาพ ถ่ายทอดประสบการณ์
ภูมิปัญญาแก่ผู้อื่น ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในตำบลบ้านต๊ำมีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
ลดความเสี่ยงจากการเจบ็ ปว่ ย
19
เมื่อเสร็จสิ้นจากฤดูกาลทำนา คนในชุมชนส่วนใหญ่จะมีเวลาว่าง และไม่มีรายได้
มาใช้จ่ายในครอบครัว กอปรกับคนในชุมชนมีทักษะฝีมือในงานหัตถกรรมต่างๆ ในปี พ.ศ.2558
พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ ได้รวบรวมคนในชุมชนที่มีทักษะฝีมือในงานหัตถกรรม และอนุเคราะห์
สถานที่ จดั ตง้ั “กลมุ่ โคมล้านนาบา้ นต๊ำมอ่ น” เพอ่ื เปน็ แหล่งเรยี นรภู้ มู ิปญั ญาทางวัฒนธรรม ส่งเสริม
ใหเ้ ด็ก เยาวชน และประชาชน ไดท้ ำกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน สร้างความรกั ความสามัคคีให้กับคนใน
ชุมชน และประชาชนในชุมชนมีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มจากการจำหน่ายโคมล้านนา และอนุรักษ์
ศิลปวัฒนธรรมของชาวล้านนาให้คงอย่สู ืบตอ่ ไป
ในปี พ.ศ.2562 พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ ได้เปิดพื้นท่ีบรเิ วณลานโพธิห์ นา้ วัดต๊ำมอ่ น
จัดกิจกรรม กาดน้อยปอยม่วน ทุกวันอังคาร ส่งเสริมให้คนในชุมชนนำพืชผักสวนครัว พืชผลด้าน
การเกษตร อาหาร-ขนมพื้นบ้าน มาจำหน่าย เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว อีกทั้งยังเป็นสถานท่ี
พบปะ แลกเปล่ียนขอ้ มูลข่าวสารซ่ึงกันและกัน
จากการส่งเสริม สนับสนุน ทุ่มเท เสียสละเวลา อุทิศตนเพื่อส่วนรวม เพื่อดำเนิน
กิจกรรมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง ของพระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ เจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อน ทำให้
ประชาชน สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ ได้เห็นความสำคัญและ
ใหค้ วามรว่ มมอื รวมพลัง สนับสนนุ และร่วมขบั เคลอ่ื นทกุ กจิ กรรมอยา่ งตอ่ เนอื่ ง
3.4 เสน้ ทางสูค่ วามสำเรจ็ ของการเป็นชุมชนคุณธรรมตน้ แบบ
จากการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในปี พ.ศ.2548
ต่อมาในปี พ.ศ.2550 ได้รวมกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ จัดตั้งเป็น “ชมรมต้นกล้าบ้านต๊ำ”
ส่งเสริมคุณธรรมให้เยาวชนทำกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น การพบปะ การทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
ร่วมกัน อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง การไปเยี่ยมผู้สูงวัย และยังได้จัดกิจกรรม “ค่ายละอ่อนกล้าดี”
ขยายผลพัฒนาเยาวชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา ให้กลับไปถ่ายทอดขยายผล ในการตั้งกลุ่มทำกิจกรรม
จิตอาสาในพื้นที่ของตนเอง ในด้านศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งได้รวมกลุ่มเยาวชนชาย เพื่อเรียนรู้
ศิลปวัฒนธรรมการตีกลองสะบัดชัย จัดตั้ง “กลุ่มเยาวชนกลองสะบัดชัย” จนสามารถออกแสดงและ
เผยแพร่ศิลปะการแสดงในชุมชน วัด สถานศึกษา และตามสถานที่ต่างๆ จะมีสมาชิกใหม่เพิ่มข้นึ ทกุ
ปี เนื่องจากรุ่นพี่ต้องไปศึกษาต่อ ได้ถ่ายทอดทักษะฝีมือ ลีลา ชั้นเชิงในการแสดงตีกลองสะบัดชัย
จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง นอกจากได้ร่วมกันรักษา สืบสาน เผยแพร่ศิลปะการแสดงของล้านนาแล้ว กลุ่ม
เยาวชนวัดต๊ำม่อนยังได้รวมพลังทำกิจกรรมด้านจิตอาสา ในนาม “ชมรมต้นกล้าบ้านต๊ำ” เพื่อทำ
กิจกรรมด้านจิตอาสาทั้งในชุมชนและนอกพื้นที่ ท่ีรู้จักคิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาเป็น ดำเนินชีวิต
อย่างมีคุณธรรม ห่างไกลจากอบายมุขสิ่งเสพติดและปัญหาสังคมต่างๆ ได้รู้จักคุณค่าของตนเอง
เป็นแกนนำเยาวชนที่กล้าทำความดี มีความสามัคคี เสียสละเพื่อส่วนรวม กลุ่มเยาวชน วัดต๊ำม่อน
จึงเป็นทย่ี อมรับช่นื ชมของคนในชมุ ชน และเปน็ แบบอยา่ งทีด่ ีแก่เด็กและเยาวชน
20
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ศนู ยศ์ ึกษาพระพุทธศาสนาวนั อาทิตย์วัดต๊ำม่อน ไดร้ บั การพิจารณา
คัดเลือกให้เปน็ ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมของครอบครัวตามหลักปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งตน้ แบบ ซ่ึงเป็น
ศูนย์ฯ ที่มีศักยภาพในการดำเนินงานโดยเชื่อมโยงระหวา่ งวัด โรงเรียน และอปท. (๓ ประสาน) และ
ยังได้ดำเนินงานชุมชนคุณธรรมน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจัดการเรียนการสอน
และดำเนินการตามบทบาทของศูนย์ฯ แล้ว ยังได้จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเน้น ๓ เรื่อง คือ
๑) น้อมนำหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของแต่ละศาสนา ๒) น้อมนำหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ และ ๓) การดำเนินชีวิตตามแบบวิถีวัฒนธรรมไทยภายใต้ภูมิปัญญา
ท้องถ่ิน และไดร้ ับคัดเลือกเปน็ ชุมชนคุณธรรมน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงตน้ แบบ
ปี พ.ศ.2557 วัดต๊ำม่อน ได้ดำเนินโครงการลานธรรม ลานวิถีไทย เปิดพื้นที่วัดเป็น
ศูนย์รวมใจและศูนย์เรยี นร้หู ลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งของชมุ ชน
ปี พ.ศ.2557 พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ
กระทรวงวฒั นธรรม รบั โลร่ างวัล “วฒั นคุณาธร” ประเภทบคุ คลด้านศาสนา
ปี พ.ศ.2558 พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ ได้รับคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธ
ศาสนา ประจำปี ๒๕๕๘ รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ประเภท การศึกษาสงเคราะห์
สาขาการศกึ ษาศนู ย์ศึกษาพระพทุ ธศาสนาวนั อาทติ ย์
ปี พ.ศ.๒๕๕๘ พระครูสังฆบริรักษ์เอกรัฐ อภิรกฺโข ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และประธาน
เครอื ข่ายเพ่ือนฯ คณุ ธรรม ได้รบั การคดั เลือกเป็นผูท้ ำคุณประโยชนต์ ่อกระทรวงวัฒนธรรม รบั โล่รางวัล
“วัฒนคณุ าธร” ประเภทบุคคลดา้ นศาสนา
ปี พ.ศ.2559 วัดต๊ำม่อน เข้าร่วมเป็นเครือข่ายชุมชนคุณธรรม โดยมีอัตลักษณ์ที่โดด
เด่นของชุมชน นำพลังบวร ขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน ชุมชนเข้าใจและมีส่วนร่วม
ดำเนินงานของชุมชน มีการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาค มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้คนในชุมชน
ยดึ ม่ันในหลกั ธรรมทางศาสนา นอ้ มนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินชีวิต และรว่ ม
สืบสานประเพณี วิถีถิ่นวิถีไทย และวัฒนธรรมที่ดีงาม อีกทั้งยังได้ส่งเสริมให้คนในชุมชนนำทุนทาง
วัฒนธรรม โดยรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้แก่ครอบครัว และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
เพอื่ ขยายเครอื ขา่ ยชุมชนคณุ ธรรม
ปี พ.ศ.2559 พระครูสังฆบริรักษ์เอกรัฐ อภิรกฺโข ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และประธาน
เครือข่ายเพื่อนฯ คุณธรรม ได้รับคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปี ๒๕๕9
รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ประเภท ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สาขา การเผยแผ่
พระพุทธศาสนาในประเทศ
ปี พ.ศ.2559 พระครูสังฆบริรักษ์เอกรัฐ อภิรกฺโข ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และประธาน
เครือข่ายเพื่อนฯ คุณธรรม ได้รับพระราชทานรางวัลประเภทบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและ
เยาวชน สาขา ศีลธรรม จรยิ ธรรม และคณุ ธรรม เนื่องในวนั เยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2559
21
ปี พ.ศ.2559 นายปารเมศ ศรีภิรมย์ ประธานกลุ่มกลองสะบดั ชัยวัดตำ๊ มอ่ น ไดร้ ับ
โลร่ างวลั “วฒั นคณุ าธร” ผทู้ ำคุณประโยชนต์ อ่ กระทรวงวฒั นธรรม ประเภทเด็กและเยาวชน
ปี พ.ศ.๒๕๖๐ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดต๊ำม่อน ได้รับคัดเลือกเป็น
ศนู ย์ศกึ ษาพระพทุ ธศาสนาวันอาทิตย์ “ตน้ แบบ” ของจังหวดั พะเยา
ในปี พ.ศ.2560 ชุมชนคุณธรรมวัดต๊ำม่อน ได้รับคัดเลือกเป็นชุมชนคุณธรรม
เครอื ขา่ ยของกรมการศาสนามผี ลงานโดดเด่นระดับจังหวัดพะเยา และได้รบั การประกาศยกย่องเป็น
ตน้ แบบชมุ ชนคุณธรรมนอ้ มนำหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงจงั หวดั พะเยา
ปี พ.ศ.2560 พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ รับพระราชทานรางวัลประเภทบุคคลผู้ทำ
คณุ ประโยชน์ตอ่ เดก็ และเยาวชน สาขา ศลี ธรรม จริยธรรม และคุณธรรม เนอ่ื งในวันเยาวชนแห่งชาติ
ประจำปี 2560
ปี พ.ศ.๒๕๖๐ เครือข่ายเพื่อนฯ คุณธรรม วัดต๊ำม่อน ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ทำ
คณุ ประโยชนต์ ่อกระทรวงวัฒนธรรม ประเภท กลมุ่ บคุ คล รับโล่รางวัล “วัฒนคณุ าธร”
ปี พ.ศ.2561 เครือข่ายเพื่อนฯ คุณธรรม วัดต๊ำม่อน ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณเป็น
เครอื ข่ายพระธรรมวทิ ยากรเผยแผพ่ ระพุทธศาสนาตน้ แบบ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑ ของกรมการศาสนา
กระทรวงวฒั นธรรม
ปี พ.ศ.256๑ ชุมชนคุณธรรมวัดต๊ำม่อน ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ทำคุณประโยชน์
ตอ่ กระทรวงวฒั นธรรม ประเภท กลุ่มบุคคล รบั โล่รางวัล “วัฒนคณุ าธร”
ปี พ.ศ.256๑ นายชญานิน ภิรมย์ชม ประธานกลุ่มกลองสะบดั ชัยวัดต๊ำม่อน ได้รบั
โล่รางวลั “วฒั นคณุ าธร” ผทู้ ำคณุ ประโยชน์ตอ่ กระทรวงวัฒนธรรม ประเภทเด็กและเยาวชน
ปี พ.ศ.2562 กลุ่มเด็กและเยาวชนวัดต๊ำม่อน ได้รับโล่รางวัล กลุ่มเด็กและเยาวชน
ดเี ด่น สาขา ศลิ ปวฒั นธรรม เน่อื งในวนั เยาวชนแห่งชาตจิ ังหวดั พะเยา
ปี พ.ศ.2562 นายวรพล เรือนแปง ประธานกลมุ่ กลองสะบัดชัยวัดต๊ำมอ่ น ได้รับโล่
รางวัล “วัฒนคุณาธร” ผทู้ ำคณุ ประโยชนต์ ่อกระทรวงวฒั นธรรม ประเภทเด็กและเยาวชน
ปี พ.ศ.2563 เด็กชายสันติพงษ์ แก้วเด็จ สมาชิกกลุ่มกลองสะบัดชัยวัดต๊ำม่อน
ได้รับประกาศเกียรติคุณ “วัฒนธรรมวินิต” (ผู้นำทางวัฒนธรรม) เนื่องในงานวันเด็กแห่งชาติ
ประจำปี ๒๕๖๓
ปี พ.ศ.2563 นายธราเทพ ประชมุ ของ ประธานกลมุ่ กลองสะบัดชยั วัดต๊ำม่อน ได้รับ
โลร่ างวัล “วฒั นคุณาธร” ผู้ทำคณุ ประโยชน์ตอ่ กระทรวงวัฒนธรรม ประเภทเดก็ และเยาวชน
ปี พ.ศ.2564 นายสันติพงษ์ แก้วเด็จ สมาชิกกลุ่มกลองสะบัดชัยวัดต๊ำม่อน ได้รับ
โล่รางวลั “วัฒนคณุ าธร” ผู้ทำคุณประโยชน์ตอ่ กระทรวงวัฒนธรรม ประเภทเด็กและเยาวชน
22
3.5 ความทา้ ทาย/อุปสรรค
การส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมแบบล้านนา รักษา สืบทอดศิลปะการ
ตีกลองสะบัดชัยให้คงอยู่ คนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
ของท้องถิ่น โดยจัดตั้ง “กลุ่มเยาวชนกลองสะบัดชัย” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้
สืบสานศิลปะการตีกลองสะบัดชัยและรวมกลุ่มกันใช้พื้นที่วัด ทำกิจกรรมต่างๆ หลังเลิกเรียนและใน
วันหยุด ซึ่งต้องมีการฝึกฝน ฝึกทักษะ ชั้นเชิง ลีลาการตีกลองสะบัดชัย อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ได้ฝึกฝนการตีกลองสะบัดชัยด้วยความสามัคคีและพร้อมเพรียง จนสามารถแสดงต่อสาธารณะชน
ได้รับการยอมรับและปรากฏชื่อเสียงในระดับจังหวัด ด้วยความสามารถด้านศิลปะการแสดงตีกลอง
สะบัดชัย จึงได้เป็นตัวแทนของจังหวัดพะเยาไปแสดงความสามารถทั้งในและนอกพื้นที่ ได้ร่วมกัน
เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของล้านนา สร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และจังหวดั
พะเยา จนเป็นเยาวชนผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่อยู่ระดับแนวหน้าของจังหวัดพะเยา ในแต่ละปี
จะมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเยาวชนรุ่นพี่ ที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ต้องไปศึกษาต่อ
แตเ่ ยาวชนรุน่ พ่ี ยงั ไดถ้ ่ายทอดทักษะฝมี ือ ลีลา ช้นั เชงิ ในการแสดงตกี ลองสะบัดชัย จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
ทำให้การขับเคล่ือนกิจกรรมของกลุ่มเดก็ และเยาวชนวัดต๊ำม่อนมีความต่อเน่ืองและยงั่ ยืน
จากต้นแบบการตีกลองสะบัดชัยของเยาวชนรุ่นพี่ ทำให้น้องๆ อยากเจริญรอยตามรุ่นพ่ี
ในปี พ.ศ.2562 พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ จึงได้ตั้ง “กลุ่มเด็กกลองสะบัดชัย” ของเด็กระดับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 ขึน้ และจัดหาทนุ เพื่อจัดซ้ืออุปกรณ์เพิ่มเติม ในช่วงเย็น
หลังเลิกจากการเรียนจะมีการฝึกซ้อมของ“กลุ่มเด็กกลองสะบัดชัย” และช่วงค่ำจะเป็นการฝึกซ้อม
ของ “กล่มุ เยาวชนกลองสะบดั ชัย” จากการทม่ี เี ด็ก เยาวชน ได้เข้ามาฝึกฝนกลองสะบัดชัยภายในวัด
การฝึกซ้อมในแต่ละวันจะเกิดเสยี งดังรบกวน แต่ก็ไม่มปี ัญหาอปุ สรรคแตอ่ ย่างใด เนื่องจากคนชุมชน
ให้การสนับสนุน ชื่นชมที่เด็กและเยาวชนเป็นแบบอย่างที่ดี และสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน นอกจาก
ได้ร่วมกันรักษา สืบสาน เผยแพร่ศิลปะการแสดงของล้านนาแล้ว ยังได้รวมพลังทำกิจกรรมด้าน
จิตอาสา ในนาม “ชมรมต้นกล้าบ้านต๊ำ” เพื่อทำกิจกรรมด้านจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ทั้งในชุมชน
และนอกพ้นื ที่ เป็นแกนนำเด็กและเยาวชนทกี่ ล้าทำความดี มีความสามคั คี เสียสละเพอื่ ส่วนรวม
3.6 ผลลัพธแ์ ละผลกระทบทเี่ กิดขน้ึ
พฤติกรรมของเดก็ และเยาวชนในชมุ ชน ทีถ่ กู มองวา่ เปน็ กลุ่มทีเ่ สยี่ งตอ่ การดำเนินชีวิต
ในยุคปัจจุบัน เช่น ติดเกม เลน่ การพนัน เสพยาเสพตดิ หรือการมเี พศสัมพนั ธ์ก่อนวัยอันควร แต่เด็ก
และเยาวชนเหล่านั้น หันมารวมกลุ่มกนั เพือ่ ใชพ้ ืน้ ที่วัดในการพบปะ ปรึกษาหารือ ทำกิจกรรมต่างๆ
หลังจากเลิกเรียนตอนเย็น และในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และร่วมกันสืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณี
ที่ดีงาม ทำกิจกรรมจิตอาสา บำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน ทำให้เด็กและเยาวชนมีความรัก ความ
สามัคคีซึ่งกันและกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละเพื่อส่วนรวม จึงสร้างความภาคภูมิใจให้แก่
ผปู้ กครองและคนในชุมชน
23
3.7 เปา้ หมายของการพัฒนาสู่ความย่ังยืน
ชุมชนคุณธรรมวัดต๊ำม่อน จะดำเนินกิจกรรมและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ใช้พลัง
“บวร” ขับเคลื่อนในทุกกิจกรรม อีกทั้งให้วัดต๊ำม่อนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ขยายเครือข่ายชุมชน
คุณธรรมใหเ้ พม่ิ มากข้ึน
บทเพลงวดั ต๊ำมอ่ นสะทอ้ นธรรม คำร้อง/ทำนอง/ขับรอ้ ง
โดยพนั โทสธุ ี สุขสากล
เข้าเขตอาราม “ตำ๊ ม่อน” ณ เมืองพะเยา
แสงธรรมสะทอ้ นใจเรา คลายเหงา ก่อเกิดปัญญา
นบั แต่โบราณ ช่วยสืบสาน ด้วยแรงศรทั ธา
“เจ้าแม่แกว้ วนั นา” นำบูชา “พระเจา้ พน้ ภัย”
เขา้ ส่ลู านบุญ ต้องเคยคนุ้ “พระเจ้าเงีย้ ว” งาม
ร่มโพธ์สิ งา่ อาราม เป็นนิยามสถานฝกึ ใจ
โบราณทา่ นสรา้ ง ชาว “ลำปาง” พรอ้ มปักหลกั ชยั
เปน็ “วดั ตำ๊ ม่อน” สดใส สถิตใน “พะเยา” วันนี้
นบั เปน็ ศรี เปน็ มงคล แก่ชนทุกถิ่น
มาแล้วรับศีล น้อมธรรม กำกับชวี ี
ให้ “วดั ต๊ำมอ่ น” สะท้อนธรรม นำไมตรี
รวมรัก รวมสามัคคี จาก “พะเยา” น้ีจนท่วั เมืองไทย
เขา้ วัดเขา้ ใจ ย่อมผอ่ งใส เปน็ อานิสงส์
ร้งู าน รตู้ ัว รปู้ ลง มีพระสงฆ์ เปน็ กำลงั ใจ
โอกาสหน้ามี เชญิ คนดี ย้อนคนื มาใหม่
“ตำ๊ มอ่ น” แหลง่ บญุ อนุ่ ใจ จะมาหรือไปขอใหโ้ ชคดี
-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-