The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by artistrydesign, 2019-03-06 21:50:20

Legal Execution Department 115

Legal Execution Department 115

ปีท่ี 22 ฉบับที่ 115 เดอื นกรกฎาคม - สิงหาคม 2561 บขอ.คกุย.
http://www.led.go.th
คณะท่ีปรึกษา สวัสดีครับ... พบกันอีกเช่นเคยนะครับกับวารสาร
อธบิ ดีกรมบังคบั คดี กรมบังคับคดี ซ่ึงเนื้อหาสาระของวารสารฉบับที่ 115
รองอธบิ ดกี รมบงั คับคดี ปีที่ 22 เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2561 เต็มเป่ียมไปด้วย
บรรณาธกิ ารบรหิ าร เรื่องราวใหม่ๆมาเล่าสู่กันฟัง ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองเก่ียวกับ
เลขานุการกรม กรมบังคับคดีเข้าร่วมโครงการจิตอาสา “เราทำ�ความ ดี
ผูช้ ว่ ยบรรณาธิการบรหิ าร ด้วยหัวใจ” และกรมบังคับคดีเข้าร่วมโครงการเสวนา
หัวหน้ากลุ่มประชาสัมพันธ์ เวที ฬ.จุฬาฯ นิติมิติ เร่ือง “เรียน-กู้-ค้ํา-หน้ี-หนี-บังคับ” :
กองบรรณาธกิ าร ความเป็นธรรมของกฎหมายกับนโยบายกองทุน กยศ. และ
อรญั ญา ทองนา้ํ ตะโก เรอ่ื งเด่นๆ อน่ื ๆอีกมากมาย
ทศั นีย์ เปาอินทร์ สำ�หรับวารสารกรมบังคับคดีฉบับนี้ มีคอลัมน์ท่ีน่าสนใจ
ศรณั ย์ ปัญญาดลิ ก หลายคอลัมน์ เริ่มด้วย คอลัมน์ความรู้ด้านการบังคับคดี
ชนินทร์ สตุ ีกษณะ เร่ือง “การเข้าว่าคดีแพ่งซ่ึงค้างพิจารณาอยู่ในศาลของ
ภทั รภร เวชรงั ษี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเรื่อง “การชำ�ระหนี้ตาม
อรอมุ า เก่งทางดี หมายบังคับคดีกับการวางทรัพย์” นานาน่ารู้ นำ�เสนอ
วรดลุ จรรยามนั่ บทความเร่ือง “วิธีสร้างความสุขให้กับตัวเอง ใช้ชีวิตอย่างไร
ชลธร มวี งษอ์ โุ ฆษ ให้มีความสุขในทุกๆ วัน” และและความรู้ด้านไอที เรื่อง “การ
อทติ ยา ทองบุญ ใช้แฟลชไดร์ฟท่ีถูกต้อง” และพลายกระซิบแสนสนุก เก่ียวกับ
ธีรภทั ร์ ชัยเฉลมิ ปรชี า เร่ืองราวภายในของกรมบังคับคดี และสาระความรู้เรื่อง
ชุตกิ าญจน์ กวยรักษา ทา่ นถาม – เราตอบ ขอเชญิ ทา่ นอา่ นได้เลยในฉบับนี้ครบั ..
โสภา รตั นา สุดท้ายนี้ บ.ก. ขอขอบพระคุณทุกๆท่านท่ีติดตามผล
เจา้ หนา้ ทฝ่ี ่ายศลิ ป์ งานวารสารของกรมบังคับคดีมาตลอด หากท่านมีข้อคิดเห็น
จรี ศกั ด์ิ บูรณวนิช หรือข้อเสนอแนะ ประการใด โปรดแจ้งกองบรรณาธิการ
เจ้าหนา้ ทีฝ่ ่ายภาพ เพอื่ จะไดน้ ำ�มาเปน็ แนวทางการปรบั ปรงุ วารสารของกรมบงั คบั คดี
ธนกฤต พรประดิษฐ์ ตอ่ ไปครบั
สามารถ สสี ุก
จริ ายสุ สร้อยสอาด
เจ้าหนา้ ที่ประสานงานพิสจู น์อักษร
รงุ่ นภา บุญยิง่
กรุณา ประสิทธิแสง
ถิฐาณยี ์ อนนั ตว์ รเดชกลุ

บทความในวารสารนี้เป็นสว่ นหนงึ่
ของการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
มิใชเ่ ปน็ ความคดิ เห็นของกรมบังคับคดี

บุคลากรกรมบงั คบั คดี 1
สนใจสง่ บทความลงวารสารกรมบังคบั คดี
สามารถตดิ ตอ่ ไดท้ ี่ กลุม่ ประชาสัมพันธ์ กรมบงั คบั คดี กระทรวงยุติธรรม
ส�ำ นักงานเลขานกุ ารกรม
189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์
เขตบางกอกนอ้ ย กรุงเทพฯ 10700
โทร. 0 2881 4999 ตอ่ 1161, 1164
โทรสาร 0 2433 0801

บ.ก. ขอคุย 1 ทา่ นถาม-เราตอบ 36
สารบัญ
การที่เจ้าหนี้มีประกันยื่นคำ�ร้องต่อเจ้าพนักงาน
รอบร้ดู า้ นการบังคับคด ี 3 พิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติ
ลม้ ละลาย พทุ ธศกั ราช 2483 ขอใหด้ �ำ เนนิ การบงั คบั คดี
การเขา้ ว่าคดีแพง่ ซงึ่ คา้ งพิจารณาอยู่ในศาล 3 ยึดทรัพย์หลักประกันออกขายทอดตลาดนำ�เงิน
มาช�ำ ระหน้ี เจา้ พนกั งานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำ�เนินการ
ของเจา้ พนกั งานพิทักษท์ รพั ย์ ยึดทรัพย์หลักประกันออกขายทอดตลาดทุกกรณี
หรอื ไม่
โดย...ชิตชัย สทุ ธภิ ลู โดย...เนตินัย หมวดเมือง
กลมุ่ งานนติ ิการ กองพัฒนาระบบการบงั คบั คดี
ผู้อ�ำ นวยการส�ำ นักงานบังคบั คดี
และประเมนิ ราคาทรพั ย์
จังหวัดกาญจนบรุ ี

การช�ำ ระหน้ีตามหมายบงั คับคดกี บั การวางทรัพย์ 11 พลายกระซบิ 39
โดย...วาสนา ปักกาโร โดย...พลายบานเย็น 42
ผูอ้ ำ�นวยการส�ำ นักงานบงั คับคดี
จังหวดั สมทุ รปราการ รอบรู้ด้านไอที 42
การใช้งานแฟลชไดรฟ์ ท่ถี กู ต้อง
โดย...ณัฐวุฒิ แป้นน้อย
นกั วิชาการคอมพวิ เตอร์ปฏบิ ัติการ

นานา...น่ารู้ 45
โดย...pr team
17 การออกก�ำ ลังกาย มปี ระโยชน์ 45
รอบรั้วบานเยน็
แหลง่ ขอ้ มลู : https://men.mthai.com/health-
โดย...ทมี ข่าว PR
firm/34913.html

2

กรมบังคับคดี กระทรวงยุตธิ รรม

รอบรู้ดา้ นการบงั คบั คดี โดโดยย.....ช.ชิตติชชัยัยสสุททุ ธธิภภิ ลู ลู
ผอู้ ำ�นวยการส�ำ นักงานบงั คบั คดี
จงั หวดั กาญจนบรุ ี

การเขา้ ว่าคดแี พง่
ซง่ึ ค้างพจิ ารณาอยู่ในศาล
ของเจ้าพนกั งานพิทักษ์ทรพั ย์

เมื่อศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำ�นาจ
ตามที่กำ�หนดไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 อำ�นาจของ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในมาตราดังกล่าวนั้น
ใน (3) ให้อำ�นาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใน
การประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือ
ต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่
นอกจากอำ�นาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22(3)

3

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ิธรรม

ดังกล่าวแล้ว ยังมีบทบัญญัติในมาตรา 25 ที่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งหากพิจารณาอำ�นาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งสองมาตรา
ดังกล่าวแล้ว จึงมีข้อให้พิจารณาว่า หากมีกรณีที่เกี่ยวข้องกับการเข้าว่าคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จะต้องพิจารณาในการเข้าว่าคดีนั้นๆ อย่างไร และตามมาตราใด
การดำ�เนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
กำ�หนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายเรียกลูกหนี้มาให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินก่อนเป็นอันดับแรก
เมื่อลูกหนี้มาให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน จะทำ�ให้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินใดบ้าง
เพื่อที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ดำ�เนินการรวบรวม

เ พื่ อ นำ� ม า แ บ่ ง ใ ห้ กั บ บ ร ร ด า เ จ้ า ห นี้ ทั้ ง ห ล า ย
ซึ่งในการสอบสวนกิจการและทรัพย์สินดังกล่าวนั้น
มี คำ� ถ า ม ห นึ่ ง ที่ เ จ้ า พ นั ก ง า น พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ จ ะ
ต้องสอบถามลูกหนี้ว่า ลูกหนี้มีคดีแพ่งเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินที่ค้างพิจารณาอยู่ในชั้นศาลหรือไม่ด้วย
หากลูกหนี้ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ว่ามีคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินค้างพิจารณาอยู่ใน
ชั้นศาลในขณะที่ศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 บัญญัติไว้ กล่าวคือ
จะต้องพิจารณาว่าควรจะดำ�เนินการในคดีแพ่ง

4

กรมบงั คับคดี กระทรวงยุตธิ รรม

ดังกล่าวอย่างไร นอกจากนั้น เมื่อศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้ว แม้ลูกหนี้จะยังไม่ได้ให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการ
และทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่ามีคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินค้างพิจารณาอยู่ในชั้นศาลหรือไม่ก็ตาม แต่ด้วยผลของ
คำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์จะทำ�ให้ลูกหนี้ไม่สามารถที่จะดำ�เนินการต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ได้อีก ดังนั้น
หากมีคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ค้างพิจารณาอยู่ในชั้นศาลในขณะที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ศาลจะก็มีหมายแจ้งมายัง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการดำ�เนินคดีที่ลูกหนี้เป็นคู่ความอยู่ ซึ่งก็จะทำ�ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ทราบได้ว่าลูกหนี้มีคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินค้างพิจารณาอยู่ในชั้นศาล และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องพิจารณา
ว่าจะเข้าไปดำ�เนินการในคดีนั้นๆ หรือไม่อย่างไร ต่อไป
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การดำ�เนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้องคดี
หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือการเข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์จะต้องเข้าใจถึงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ที่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินคดีแพ่งอันเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยเฉพาะความแตกต่างระหว่าง มาตรา 22 (3) และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช
2483 เสียก่อน เนื่องจากบทบัญญัติทั้งสองมาตราได้กล่าวถึงการเข้าดำ�เนินคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

เมื่อพิจารณามาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แล้วจะเห็นได้ว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าว
เป็นบทบัญญัติที่วางหลักใหญ่เกี่ยวกับอำ�นาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายเมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ซึ่งในมาตรา 22 (1) และ (2) จะกล่าวถึงการจัดการและจำ�หน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำ�การที่จำ�เป็นค้างอยู่ให้เสร็จสิ้น
และการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ส่วนในมาตรา 22 (3) นั้น
เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้หากมีการดำ�เนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยให้อำ�นาจแก่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำ�เนินการ ซึ่งเป็นการวางหลักโดยกว้างเพื่อให้ครอบคลุมเกี่ยวกับการดำ�เนินคดีแพ่งเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ในการดำ�เนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ จะต้องพิจารณาบทบัญญัติในมาตราที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น

5

กรมบงั คับคดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

การฟ้องหรือถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายหรือฟ้อง หรือถอนฟ้องคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จะกระทำ�ได้ก็ต่อเมือ่ ไดร้ บั ความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตามมาตรา 145 แหง่ พระราชบัญญัตลิ ม้ ละลาย พทุ ธศกั ราช 2483 เป็นตน้
ส่วนมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 นั้น บัญญัติไว้ในกรณีที่ เมื่อศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
ถ้าลูกหนี้มีคดีแพ่งเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของลูกหนี้ค้างพิจารณาอยู่ในศาล ไม่ว่าศาลใด ไม่ว่าลูกหนี้จะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำ�เลยก็ตาม
มาตรา 25 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งดังกล่าวแทนลูกหนี้ เนื่องจากลูกหนี้ไม่มีอำ�นาจในการดำ�เนินคดีแพ่ง
เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนแล้ว ตามที่มาตรา 22 ได้บัญญัติไว้ และในการเข้าว่าคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 25 นั้น
มีหลักที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณา ดังนี้
1. คดีดังกล่าวจะต้องเป็นคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายความว่า การพิจารณาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตามมาตรา 25 นี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำ�นาจเพียงการเข้าว่าคดีเฉพาะคดีแพ่งเท่านั้น หากลูกหนี้ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำ�นาจในการเข้าว่าคดีอาญาดังกล่าวได้ และหากคดีดังกล่าวเป็นคดีแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ก็ยังจะต้องพิจารณาให้ได้ความว่า คดีดังกล่าวนั้นเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ด้วย เพราะการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง

ไม่จำ�เป็นที่จะต้องเป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเสมอไป
เช่น โจทก์ฟ้องขับไล่ลูกหนี้ออกจากทรัพย์สิน ที่ลูกหนี้
ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นๆ กรณีนี้เป็นคดีแพ่ง
แต่ไม่ได้เป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำ�นาจในการเข้าว่า
คดีแพ่งดังกล่าวได้ ดังนั้น ในการพิจารณาในการเข้า
ว่าคดีแพ่งแทนลูกหนี้ จึงต้องเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวกับ
ทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น

2. คดีแพ่งดังกล่าวจะต้องเป็นคดีซึ่งค้างพิจารณา
อยู่ในศาลในขณะที่มีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์ ประเด็นนี้
เป็นประเด็นที่สำ�คัญในการพิจารณาถึงการเข้าว่า
คดีแพ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพราะหากเป็น

6

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยุติธรรม

คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล จะเป็นอำ�นาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว
ที่จะเข้าหรือไม่เข้าว่าคดีแพ่งดังกล่าว อันเป็นการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยแท้ แต่หากไม่ใช่คดีแพ่งค้างพิจารณา
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีอำ�นาจตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งมีประเด็นที่จะต้อง
พิจารณาในข้อเท็จจริงต่อไปอีกว่า การเข้าว่าคดีแพ่งดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตจากที่กรรมการเจ้าหนี้ ตามมาตรา 145
หรือไม่ด้วย
หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นว่า ในข้อเท็จจริงที่ปรากฏเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
และเป็นคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องดำ�เนินการตามมาตรา 25
แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่การพิจารณาในการที่จะเข้าว่าคดีนั้นๆ หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จะต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับคดีนั้นๆ เสียก่อนเพื่อชั่งนํ้าหนักว่าสมควรที่จะเข้าว่าคดีดังกล่าวหรือไม่
การเข้าว่าคดีดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลดีกับกองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ และการเข้าว่าคดีในรูปแบบใดจะก่อให้เกิดผลดี
กับกองทรัพย์สินของลูกหนี้มากที่สุด ซึ่งมีหลักที่จะต้องพิจารณา ดังนี้
1. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมูลหนี้ในคดีแพ่งที่ค้างพิจารณาก่อนว่าเป็นมูลหนี้
ประเภทใด หมายถึงในคดีแพ่งดังกล่าว เป็นกรณีมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง
ซึ่งเป็นคดีมีข้อพิพาท หรือเป็นกรณีของการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งเป็นคดีที่มีคำ�ร้องขอ โดยต้องตรวจสอบทั้งในส่วนข้อเท็จจริง
และข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องที่พิพาทหรือจำ�เป็นต้องใช้สิทธิทางศาลนั้นๆ ทั้งหมด
2. ลูกหนี้อยู่ในฐานะใดในคดีแพ่งที่ค้างพิจารณานั้น หมายถึงว่า ลูกหนี้อยู่ในฐานะโจทก์ จำ�เลย หรือบุคคลในฐานะอื่น
เช่น ผู้ร้องสอด ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม เป็นต้น
3. การเข้าว่าคดีนั้น จะมีผลผูกพันกองทรัพย์สินของลูกหนี้แค่ไหนเพียงใด หมายถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณา
ถึงผลของการเข้าว่าคดีนั้นว่ามีผลต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไร ไม่ว่าผลของการเข้าว่าคดีนั้นจะเป็นผู้ชนะหรือแพ้คดี
และหากไม่เข้าว่าคดีนั้น จะมีผลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจัดการกับทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปอย่างไร

7

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

โดยส่วนมากแล้วคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น หากเป็นคดีที่ลูกหนี้จำ�เป็นต้องใช้สิทธิ
ทางศาลซึ่งเป็นคดีฝ่ายเดียวนั้น ไม่ค่อยจะเป็นปัญหาในการพิจารณาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพราะการดำ�เนินการของ
ลูกหนี้ในกรณีดังกล่าวมักจะเป็นประโยชน์ต่อกองทรัพย์สิน จึงมีแนวโน้มที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าว่าคดีต่อไป
เว้นเสียแต่บางกรณีที่การใช้สิทธิทางศาลนั้น เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พิจารณาแล้วไม่จำ�เป็นที่จะต้องดำ�เนินการ เช่น ลูกหนี้ขอใช้สิทธิในการเดินผ่านทางของผู้อื่นในลักษณะของทางจำ�เป็นที่
อาจจะต้องเสียค่าผ่านทาง แต่ปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า มีทางสาธารณะอื่นตัดผ่านที่ดินของลูกหนี้แล้ว
หรือเป็นกรณีที่อาจจะใช้สิทธิในเรื่องภารจำ�ยอมได้โดยลูกหนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอันเป็นสิทธิที่ดีกว่าทางจำ�เป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์อาจจะพิจารณาไม่เข้าว่าคดีแพ่งที่ค้างอยู่ในกรณีนี้เป็นต้น แต่คดีค้างพิจารณาส่วนมากที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พบนั้น
มักเป็นคดีมีข้อพิพาท ดังนั้น สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับมูลหนี้ คือ ลูกหนี้เป็นโจทก์
จำ�เลย หรือเป็นคู่ความฝ่ายใดในคดีนั้น เพราะด้วยสถานะที่แตกต่างกัน ทำ�ให้การพิจารณาเข้าว่าคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น
แตกต่างกัน

ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นโจทก์ในคดีแพ่ง หากเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทให้อีกฝ่ายหนึ่งชำ�ระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้อง
พิจารณาตั้งแต่การตั้งฐานสิทธิในการฟ้องคดีดังกล่าว เนื้อหาคำ�ฟ้อง บัญชีระบุพยาน แนวทางในการต่อสู้คดี และต้องดูว่าคดีดัง
กล่าวอยู่ในระหว่างขั้นตอนใด เช่น อยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์ สืบพยานจำ�เลย เป็นต้น ต้องประเมินสถานการณ์ของคดีว่า
มีทางชนะคดีได้หรือไม่เพียงใด ในการดำ�เนินคดีมีการจ่ายเงินอะไรไปบ้าง และยังมีรายจ่ายอื่นๆ ที่จะต้องจ่ายอีกหรือไม่
ในการดำ�เนินคดีต่อ เช่น ได้มีการจ่ายค่าขึ้นศาล หรือจ่ายค่าทนายความไปแล้ว เป็นต้น และหากชนะคดีแล้ว สามารถที่จะ
บังคับคดีกับจำ�เลยได้หรือไม่เพียงใด ในคดีมีฟ้องแย้งหรือไม่ และหากแพ้คดีในส่วนฟ้องแย้ง จะต้องดำ�เนินการอะไรบ้าง
ซึ่งในการพิจารณาดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการดำ�เนินคดีในชั้นศาลไม่มากก็น้อย
จะต้องมีความแม่นยำ�เกี่ยวกับข้อกฎหมายหากจะต้องเป็นผู้เข้าไปว่าคดีแทนลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องพิจารณา
ชั่งนํ้าหนักเพื่อให้เกิดประโยชน์กับกองทรัพย์สิน แม้จะไม่มีสูตรสำ�เร็จแต่การชั่งนํ้าหนักจะต้องใช้หลักการดังที่ได้กล่าว
ไปแล้วข้างต้น เช่น หากในคดีค้างพิจารณาดังกล่าว ข้อเท็จจริงชัดเจนว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้จำ�เลยชำ�ระหนี้จริง

8

กรมบงั คับคดี กระทรวงยตุ ิธรรม

แต่คดีนั้นการเขียนคำ�ฟ้องมีข้อบกพร่อง หากการเข้าว่าคดีต่อไปอาจส่งผลถึงการแพ้คดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ควรที่จะ
ขอถอนฟ้องเสียก่อนที่จำ�เลยจะยื่นคำ�ให้การก็จะเป็นประโยชน์กับกองทรัพย์สิน เพราะนอกจากจะเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด
ในการเขียนคำ�ฟ้องแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจจะได้รับค่าขึ้นศาลคืนเข้ากองทรัพย์สิน สิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีอยู่ก็ไม่เสียไป
เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถใช้กระบวนการทวงหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ได้ แต่หาก
การถอนฟ้องคดีดังกล่าวจะทำ�ให้ไม่สามารถใช้สิทธิได้อีกเนื่องจากขาดอายุความ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็อาจจำ�เป็นที่จะต้องเข้า
ว่าคดีเพื่อรักษาสิทธินั้นๆ หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีทางชนะคดีได้ แต่อาจจะต้องดำ�เนินการในการแก้ไขคำ�ฟ้อง เป็นต้น
ในคดีที่ลูกหนี้เป็นจำ�เลยในคดีแพ่ง การพิจารณาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องพิจารณาถึงผลดี ผลเสียที่จะเกิดกับ
กองทรัพย์สินของลูกหนี้เช่นเดียวกับที่ลูกหนี้เป็นโจทก์ดังกล่าวข้างต้น แต่เนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติ

ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 บัญญัติว่า “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำ�ระหนี้ได้ก็
แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้ แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาหรือเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้ว
แต่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม” ดังนั้น หากเป็นกรณีที่คดีค้างพิจารณาดังกล่าว ลูกหนี้เป็นจำ�เลยในคดี และคดีดังกล่าวเป็นคดี
ที่หากโจทก์ชนะคดีแล้วจะต้องมาดำ�เนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายเพื่อให้ได้รับชำ�ระหนี้จากการรวบรวมทรัพย์สิน
ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่เข้าว่าคดีดังกล่าว และแถลงต่อศาลขอให้โจทก์มาใช้สิทธิยื่นขอรับชำ�ระหนี้
ในคดีล้มละลายแทน อันเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 บัญญัติไว้แล้ว กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จะเข้าว่าคดีแทนลูกหนี้ในกรณีนี้จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องลูกหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ไม่ใช่คดีที่ฟ้อง
เพื่อให้ชำ�ระหนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องพิจารณาถึงประโยชน์ของกองทรัพย์สินดังเช่นที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
แต่อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลจำ�หน่ายคดีเพื่อให้โจทก์มายื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ในคดีล้มละลาย
แต่ศาลไม่อนุญาตให้จำ�หน่ายคดี หรือการเข้าว่าคดีนั้นจะเป็นประโยชน์กับกองทรัพย์สินมากกว่าการขอให้จำ�หน่ายคดี
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องใช้ความระมัดระวังในการเข้าว่าคดีนั้นๆ อย่างมาก เนื่องจากหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แพ้คดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องได้รับผลตามมาตรา 93 แห่งพะราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ที่บัญญัติว่า

9

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยุตธิ รรม

“ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่แทนลูกหนี้ ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เจ้าหนี้ตาม
คำ�พิพากษามีสิทธิขอรับชำ�ระหนี้ภายในกำ�หนดเวลาตามมาตรา 91 แต่ให้นับจากวันคดีถึงที่สุด”
ประเด็นที่สำ�คัญอีกประการหนึ่งที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ไม่ว่าลูกหนี้จะอยู่ในฐานะโจทก์หรือ
จำ�เลยก็ตาม หากคดีค้างพิจารณาดังกล่าวอยู่ระหว่างระยะเวลาในการอุทธรณ์ ฎีกา แก้อุทธรณ์หรือแก้ฎีกา หรืออยู่ระหว่าง
การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากในกรณี
ดังกล่าวมีคำ�พิพากษาศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ที่ผูกพันลูกหนี้อยู่แล้วส่วนหนึ่ง การพิจารณาจะเข้าว่าคดีหรือไม่ จะต้อง
พิจารณาถึงผลที่จะกระทบต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นสำ�คัญ และเนื่องจากกรณีการเข้าว่าคดีแพ่งตามมาตรา 25 นี้
เป็นอำ�นาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ต้องดำ�เนินการตามมาตรา 145 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
แต่อย่างใด เว้นเสียแต่ว่าการเข้าว่าคดีแพ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น มีกรณีที่จะต้องมีค่าใช้จ่าย
ในกรณีนี้ก็จำ�เป็นที่จะต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อไป
โดยสรุปหลักสำ�คัญในการเข้าว่าคดีแพ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
พุทธศักราช 2483 คดีแพ่งดังกล่าวจะต้องเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และต้องเป็นคดีแพ่งที่ค้างพิจารณาอยู่
ในขณะที่ศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์ การเข้าว่าคดีแพ่งดังกล่าวเป็นอำ�นาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 145 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องใช้
ดุลพินิจอย่างรอบคอบในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเข้าหรือไม่เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณานั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่กองทรัพย์สิน
ของลูกหนี้มากที่สุด เพราะหากการเข้าหรือไม่เข้าว่าคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทรัพย์สิน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจต้องรับผิดและถูกดำ�เนินคดีตามกฎหมายได้

10

กรมบังคบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

รอบรู้ โดย...วาสนา ปักกาโร
ผูอ้ ำ�นวยการส�ำ นักงานบงั คบั คดี
ดา้ นการบงั คบั คดี จังหวัดสมทุ รปราการ

กกตาับารมกชหาำ�รมรวาะยาหงบนทังี้ รคัพับยค์ ดี

การชำ�ระหนี้ที่ผู้เขียนจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการชำ�ระหนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ว่าคดีจะอยู่ระหว่าง
ภายหลังที่ศาลมีคำ�พิพากษาหรือมีคำ�สั่งให้คู่ความหรือบุคคล รอฟังเจ้าหนี้มาดำ�เนินการขอตั้งเรื่องบังคับคดี หรืออยู่ระหว่าง
ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา) ชำ�ระหนี้ให้แก่ ดำ�เนินการบังคับคดีไปบ้างแล้วก็ตาม เมื่อมีหมายบังคับคดีแล้ว
คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี (เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา) หากฝ่ายลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาหรือบุคคลภายนอกประสงค์
และเป็นกรณีที่ศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว กล่าวคือ จะขอชำ�ระหนี้ตามหมายบังคับคดีดังกล่าว ก็สามารถนำ�ไปวาง
เมื่อศาลได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ ชำ�ระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติ
จัดการยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287
หรือทำ�การอื่นใดโดยอำ�นาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยฝ่าย วรรคสองที่ได้กำ�หนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจในฐานะ
เจ้าหนี้จะเป็นผู้นำ�เจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำ�เนินการตาม เป็นผู้แทนของเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาในอันที่จะรับชําระหนี้

11

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยุตธิ รรม

หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือบุคคลภายนอก นอกจากนี้เมื่อศึกษาตามหลักประมวลกฎหมายแพ่ง
นํามาวางและออกใบรับให้ ซึ่งในทางปฏิบัติของเจ้าพนักงาน และพาณิชย์ ลักษณะหนี้แล้ว จะพบว่าได้บัญญัติเรื่องการ
บังคับคดีเคยมีปัญหาในเรื่องของการตีความของคำ�ว่า “วาง” วางทรัพย์ไว้รวมกับการชำ�ระหนี้และความระงับแห่งหนี้
ตามบทบัญญัติดังกล่าวว่าเป็นกรณีเดียวกับการวางทรัพย์ แต่มิได้บัญญัติให้ชัดแจ้งว่าผลทางกฎหมายของการวางทรัพย์
ตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 331 เป็นเช่นไร ซึ่งหากพิจารณาจากโครงสร้างของบทบัญญัติ
หรือไม่ แห่งกฎหมายแล้วอาจทำ�ให้เข้าใจได้ว่าการวางทรัพย์เป็น
มาตรา 331 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การชำ�ระหนี้อย่างหนึ่ง และมีผลทางกฎหมายทำ�ให้หนี้ระงับ
บัญญัติไว้ว่า “ถ้าเจ้าหนี้บอกปัดไม่ ยอมรับชำ�ระหนี้ก็ดี หรือ
ไม่สามารถรับชำ�ระหนี้ได้ก็ดี หากบุคคลผู้ชำ�ระหนี้วางทรัพย์
อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้วก็ย่อมจะ
เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ได้ ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณี
ที่บุคคลผู้ชำ�ระหนี้ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิหรือไม่รู้ตัว
เจ้าหนี้ได้แน่นอนโดยมิใช่ความผิดของตน”
เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า
หลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานจะรับชำ�ระหนี้แทนไว้หรือเป็นที่เข้าใจ
และเรียกกันในภาษากฎหมายว่า “การวางทรัพย์” นั้นต้อง
มีเหตุที่เกิดจากความบกพร่องของทางฝ่ายเจ้าหนี้ คือ 1. กรณี
เจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำ�ระหนี้ 2. กรณีเจ้าหนี้ไม่สามารถ
จะรับชำ�ระหนี้ได้ 3. กรณีลูกหนี้ไม่อาจรู้ได้ว่า ใครเป็นเจ้าหนี้
แท้จริง โดยมิใช่ความผิดของตน

12

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

สิน้ ไป แตจ่ ากการวเิ คราะหข์ องผูร้ ูต้ ามความเหน็ ของนกั กฎหมาย 1. กรณีที่จะมีการวางทรัพย์ได้จะต้องเป็นไปตาม
ไทยและแนวคำ�พิพากษาศาลฎีกา กลับพบว่าการวางทรัพย์ หลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
มีลักษณะและผลทางกฎหมายถือว่าเป็นการขอปฏิบัติการ และพาณิชย์ มาตรา 331 หรือตามคำ�สั่งศาลไม่ว่าศาลจะมี
ชำ�ระหนี้อย่างหนึ่ง และทำ�ให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ แต่มิใช่ คำ�สั่งในชั้นใดหรือขั้นตอนใด หรือตามบทบัญญัติแห่ง
เป็นการชำ�ระหนี้ จึงไม่ทำ�ให้หนี้ระงับสิ้นไปแต่อย่างใด กฎหมายนั้นๆ ที่มีกำ�หนดให้มีการวางทรัพย์ได้
เมื่อศึกษาเปรียบเทียบจากกรณีที่เคยเกิดเป็นปัญหา 2. บทบัญญัติในเรื่องการวางทรัพย์มีเจตนารมณ์
ในทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดีกับเจ้าพนักงานวาง เพื่อแก้ข้อขัดข้องในการชำ�ระหนี้ของลูกหนี้มิให้ตกเป็น
ทรัพย์ ในกรณีลูกหนี้ตามหมายบังคับคดีนำ�ทรัพย์ที่ศาล ผู้ผิดนัดอันจะนำ�ไปสู่การฟ้องร้องบังคับคดี ซึ่งในข้อนี้ผู้เขียน
มีคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งให้ส่งคืนทรัพย์สินต่อเจ้าหนี้ ลูกหนี้ มีความเห็นสอดคล้องกับข้อสรุปนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็น
จึงนำ�ทรัพย์ดังกล่าวไปขอวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ถูก มาตรการทางกฎหมายที่ทำ�ให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธไม่ยอมรับทรัพย์สินดังกล่าว ที่ประสงค์จะหลุดพ้นจากการเป็นหนี้และไม่ต้องสูญเสีย
แต่ให้ลูกหนี้นำ�ทรัพย์นั้นไปวางทรัพย์ ซึ่งเจ้าพนักงานวางทรัพย์ ทรัพย์สินไปโดยใช่เหตุหรือรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยหรือค่าปรับ
พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เข้าเหตุแห่งการวางทรัพย์จึงปฏิเสธ ที่ไม่จำ�เป็น

ไม่รับวางทรัพย์อีก จึงทำ�ให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานและ

การให้บริการแก่ประชาชน จะเห็นได้ว่าแม้แต่ผู้ปฏิบัติงาน

ทางด้านกฎหมายโดยตรงอย่างเจ้าพนักงานบังคับคดีและ

เจ้าพนักงานวางทรัพย์ยังเกิดความสับสนในเรื่องของการ

ชำ�ระหนี้ตามหมายบังคับคดีกับการวางทรัพย์

แต่อย่างไรก็ดี กรมบังคับคดีได้มีแนวปฏิบัติในกรณี

ดังกล่าวไว้ตามบันทึกของสำ�นักงานวางทรัพย์กลาง กลุ่มงาน

วิชาการ ที่ ยธ 0521.01/799 ลงวันที่ 18 ก.ย. 2552

โดยมีสาระสำ�คัญที่น่าสนใจเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของบทบัญญัติ

ในเรื่องของการวางทรัพย์และวิธีการชำ�ระหนี้ตามหมาย

บังคับคดี พอสรุปได้ดังนี้

13

กรมบังคับคดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

3. ในคดีที่ศาลได้มีคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งและมี จะรับชำ�ระหนี้ตามหมายบังคับคดีหรือวางทรัพย์สินตามข้อนี้
หมายบังคับคดีแล้วหากลูกหนี้ประสงค์จะชำ�ระหนี้ตาม ว่าจะต้องเป็นกรณีที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้วด้วยเท่านั้น
หมายบังคับคดีไม่ว่าจะชำ�ระเป็นเงินหรือวางทรัพย์สินหรือ ตามความเห็นของผู้เขียนเห็นว่าหากมีแต่เพียงคำ�พิพากษา
คืนทรัพย์สิน จะต้องไปดำ�เนินการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือคำ�สั่งให้ชำ�ระหนี้ ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาคงต้องไปใช้
ที่จะดำ�เนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีการวางทรัพย์ตามหลักกฎหมายเรื่องวางทรัพย์ต่อไป ทั้งนี้
วิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เป็นเรื่องของการวางทรัพย์ ซึ่งใน มีแนวคำ�พิพากษาฎีกาที่ปรากฏว่าลูกหนี้สามารถวางทรัพย์
ข้อสรุปนี้ตรงกับความเห็นของผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง แต่ผู้ปฏิบัติ ต่อสำ�นักงานวางทรัพย์ได้ทั้งก่อนถูกฟ้องและหลังศาลมี
ต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการ คำ�พิพากษา ดังนี้
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 4122/2540 “จำ�เลย ที่ 1
ได้นำ�รถจักรยานยนต์คันที่เช่าซื้อพร้อมกับค่าเสียหายและ
ค่าฤชาธรรมเนียมไป วางต่อสำ�นักงานวางทรัพย์กลางเพื่อ
ชำ�ระหนี้แก่โจทก์และแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว ก่อนโจทก์ขอ
หมายบังคับคดี ย่อมถือได้ว่าจำ�เลยได้ปฏิบัติการชำ�ระหนี้
ตามคำ�พิพากษาของศาลครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิ
นำ�เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำ�เลยที่ 2 เพื่อ
บังคับคดีอีกต่อไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์
ของจำ�เลยที่ 2 โดยผิดหลงว่าจำ�เลยยังมิได้ปฏิบัติตาม
คำ�พิพากษาเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมี สิทธิเรียกโจทก์
มาถอนการยึดทรัพย์รายนี้ได้ ที่โจทก์ฎีกาว่า รถจักรยานยนต์

14

กรมบังคบั คดี กระทรวงยุตธิ รรม

ทีจ่ ำ�เลยที่ 1 นำ�มาวางต่อสำ�นักงานวางทรัพยม์ ีสภาพเสือ่ มโทรม

โจทก์จึงไม่รับนั้นศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษา

เพียงว่า ให้จำ�เลยทั้งสองร่วมกันคืนรถจักรยานยนต์ ฯลฯ

เท่านั้น มิได้ระบุว่ารถจักรยานยนต์จะต้องมีสภาพอย่างไร

และโจทก์มิได้ฎีกา คำ�พิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุด”

คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 6404/2540 “คำ�บังคับที่ให้

จำ�เลยทั้งสองชำ�ระหนี้ภายใน 30 วัน เป็นกำ�หนดเวลา

ที่ให้จำ�เลยทั้งสองเป็นผู้ชำ�ระหนี้เอง หากไม่ชำ�ระหนี้ภายใน

กำ�หนด โจทก์ย่อมร้องขอให้ใช้วิธีการบังคับยึดทรัพย์ของ ชำ�ระหนี้เงินตามรายการหลัง โจทก์ไม่ได้นำ�ยึดรถยนต์เพียงแต่
จำ�เลยทั้งสองได้ และแม้จำ�เลยไม่ชำ�ระหนี้จนพ้นกำ�หนด นำ�ยึดที่ดินเพื่อหวังขายทอดตลาดชำ�ระหนี้เงิน ต่อมาจำ�เลย
ตามคำ�บังคับและ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้เข้ายึดทรัพย์สินแล้ว ที่ 1 นำ�รถยนต์ไปคืนให้โจทก์โดยวางต่อเจ้าพนักงานวางทรัพย์
ก็ไม่ปิดทางให้จำ�เลยทั้งสองยอมชำ�ระหนี้ด้วยความสมัครใจ ถือว่าจำ�เลยที่ 1 ได้ชำ�ระหนี้รถยนต์แล้ว ข้อที่ว่าหากคืนไม่ได้
การที่จำ�เลยที่ 1ยอมส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อเจ้าพนักงาน ให้ชดใช้ราคาจึงไม่เกิดขึ้น เมื่อจำ�เลยที่ 1 นำ�รถยนต์ที่เช่าซื้อ
วางทรัพย์ ย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ไม่ต้องดำ�เนินการ และค่าเสียหายพร้อมค่าธรรมเนียมไปวางต่อสำ�นักงาน
บังคับคดีต่อไป ไม่มีเหตุที่โจทก์จะปฏิเสธการรับรถยนต์ ว า ง ท รั พ ย์ ก ล า ง แ ม้ เ ป็ น ก า ร ชำ� ร ะ ห นี้ ห ลั ง จ า ก โ จ ท ก์ นำ�
ผลคำ�พิพากษาถึงที่สุดให้จำ�เลยทั้งสองร่วมกันชำ�ระหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ก็ไม่มี
สองรายการ คือ คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ เหตุที่จะขายทอดตลาดทรัพย์ต่อไปอีก เจ้าพนักงานบังคับคดี
ชดใช้ ราคากับจำ�เลยทั้งสองต้องชำ�ระค่าเสียหายจำ�นวนหนึ่ง มีคำ�สั่งถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
การบังคับคดีโจทก์ต้องนำ�เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดรถยนต์ ความแพ่ง มาตรา 295(1) ได้”
ที่เช่าซื้อเป็นอันดับแรก และยึดทรัพย์สินอื่นเพื่อขายทอดตลาด

15

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

บทสรปุ

เมื่อเรื่องใดมีการฟ้องร้องจนคดีมีคำ�พิพากษาหรือมีคำ�สั่งและมีหมายบังคับคดีแล้วการชำ�ระหนี้ของลูกหนี้
ตามคำ�พิพากษาจะต้องเป็นไปตามบทบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่ต้องย้อนกลับมาใช้
การชำ�ระหนี้ด้วยการวางทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีก เพราะไม่เข้าทั้งเหตุและผลแห่งการวางทรัพย์
(เว้นแต่จะเป็นการวางทรัพย์ตามคำ�สั่งของศาล)
อย่างไรก็ดี การวางชำ�ระหนี้ตามหมายบังคับดคีต้องเป็นกรณีวางชำ�ระหนี้เต็มตามหมายบังคับคดีเท่านั้น
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำ�นาจในการลดยอดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้ ในปัจจุบันกรมบังคับคดีได้นำ�วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ชั้นบังคับคดีมาเป็นทางเลือกให้แก่ลูกหนี้ในการที่จะหลุดพ้นจากการเป็นหนี้ทั้งก่อนและหลังการบังคับคดี ซึ่งลูกหนี้
สามารถเจราจาขอลดยอดหนี้กับเจ้าหนี้ได้เป็นวิธีการที่มีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยคู่ความสามารถ
เจรจายุติข้อพิพาทได้ด้วยความพึงพอใจร่วมกัน และทั้งสองฝ่ายยังสามารถรักษาความสัมพันธ์ต่อไปได้ ซึ่งนับว่าเป็น
อีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม ลดปริมาณคดีที่เข้าสู่กระบวนการบังคับคดี และยังเป็นการเปิดโอกาส
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการยุติการบังคับคดีด้วยตนเอง

เอกสารอา้ งอิง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บันทึกของสำ�นักงานวางทรัพย์กลาง กลุ่มงานวิชาการ ที่ ยธ 0521.01/799 ลงวันที่ 18 ก.ย. 2552
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 4122/2540 และ 6404/2540

16

กรมบังคบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

บรอานบเรย้วั ็น กรมบงั คับคดีรว่ มบริจาคปฏิทินให้กบั
ศูนย์ฝกึ อาชีพหญิงตาบอดสามพราน จงั หวดั นครปฐม
โดย...ทีมขา่ ว PR
วนั ท่ี 5 กรกฎาคม 2561 กรมบงั คบั คดี โดยนายธรรมวทิ ย์ นวชยั นนั ทน์ ผอู้ ำ�นวยการกองบงั คบั คดี
ล้มละลาย 5 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี ร่วมบริจาคปฏิทินให้กับศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอด
สามพราน เพ่ือใช้ประโยชน์แก่นักเรียนผู้บกพร่องทางการมองเห็น ซึ่งมีซิสเตอร์เทเรซา นํ้าสมบูรณ์
ผูอ้ ำ�นวยการศูนย์ฝกึ อาชพี ฯ เปน็ ผ้รู บั มอบ ณ ศนู ย์ฝกึ อาชีพหญิงตาบอดสามพราน จังหวัดนครปฐม

กรมบงั คับคดี ขายทรพั ย์ไดก้ วา่ 143 ลา้ นบาท
ในงาน บา้ น ธอส.เอก็ ซ์โป@กรุงเทพฯ ประจำ�ปี 2561

วนั ที่ 6 กรกฎาคม 2561 กรมบงั คบั คดจี ดั มหกรรมขายทอดตลาด กรงุ เทพมหานคร 1-6 ประกาศขายทงั้ สน้ิ 236 รายการ ราคาประเมนิ
ทรัพยส์ ินภายในงาน บา้ น ธอส.เอก็ ซ์โป@กรงุ เทพฯ ประจำ�ปี 2561 รวม 170,674,941.67 บาท มีผู้สนใจเข้าฟังการขายกว่า 500 คน
ณ ห้องโลตัส ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ิ โดยมีนางสาวร่ืนวดี สำ�หรับผลการขายทอดตลาดในวันน้ี ขายได้ 91 คดี 91 รายการ
สวุ รรณมงคล อธบิ ดกี รมบงั คบั คดี พรอ้ มดว้ ยนางสาวรตั นาวดี สมบรู ณ์ ราคาประเมินรวม 85,205,406.10 บาท ขายได้เป็นเงินท้ังสิ้น
รองอธบิ ดกี รมบงั คบั คดี นางศศวิ มิ ล ธนศานติ รองอธบิ ดกี รมบงั คบั คดี 143,290,000 บาท ซงึ่ ราคาขายไดส้ งู กวา่ ราคาประเมนิ คดิ เปน็ รอ้ ยละ
นายพีระ อัครวัตร รองอธิบดีกรมบังคับคดี และคณะผู้บริหาร 68.17 โดยในการนผ้ี เู้ ขา้ ซอื้ ทรพั ยไ์ ดว้ างหลกั ประกนั จำ�นวน 171 ราย
กรมบังคับคดีไปร่วมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภายในงาน เปน็ เงิน 19,850,000 บาท โดยใช้ระบบ edc จำ�นวน 44 ราย เปน็
มหกรรมขายทอดตลาด สำ�หรับทรัพยท์ นี ำ�มาประกาศขาย เป็นท่ีดนิ จำ�นวนเงิน 5,985,000 บาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายของปี
ท่ีดินพร้อมส่ิงปลูกสร้าง และห้องชุด ของสำ�นักงานบังคับคดีแพ่ง ที่แล้วพบว่าปีนส้ี ามารถขายไดส้ งู กวา่ ปที ี่แล้ว คิดเปน็ รอ้ ยละ 11.72

17

กรมบงั คับคดี กระทรวงยุติธรรม

กรมบังคบั คดีเขา้ ร่วมพิธเี ปิดงาน บ้าน ธอส.เอ็กซ์โป@กรงุ เทพฯ ประจ�ำ ปี 2561
และรว่ มลงนามบนั ทึกความรว่ มมือในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอสังหารมิ ทรัพยม์ อื สอง
กับศูนยข์ ้อมูลอสงั หารมิ ทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

วันท่ี 6 กรกฎาคม 2561 กรมบังคับคดีร่วมในพิธีเปิดงาน
บ้าน ธอส. เอ็กซ์โป@กรุงเทพฯ ประจำ�ปี 2561 โดยมี ดร.สมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน
พร้อมให้เกียรติเป็นสักขีพยาน พร้อมด้วยนางกรรณิการ์ แสงทอง
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านบริหารความ
ยุติธรรมในการลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาระบบฐาน
ข้อมลู อสังหารมิ ทรพั ย์มอื สอง ระหว่างกรมบงั คบั คดี โดยนางสาวรน่ื วดี
สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ
ศนู ยข์ อ้ มลู อสงั หาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ณ หอ้ ง Plenary
Hall 1 – 3 ศนู ย์การประชุมแหง่ ชาตสิ ริ กิ ติ ์ิ
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า
วัตถุประสงค์ในการลงนามบันทึกความร่วมมือกันระหว่างกรมบังคับคดี
และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในครั้งน้ี
เพื่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์มือสอง การกำ�หนด
แนวทางการพฒั นาใหเ้ กดิ ตลาดกลางในการซอ้ื และขายอสงั หารมิ ทรพั ย์
มือสองในรูปแบบ Digital Virtual Market ซ่ึงจะเป็นประโยชน์
ในการรวบรวมและวเิ คราะหข์ อ้ มลู อปุ สงค์ และอปุ ทานในภาพรวมตลาด
ที่อยู่อาศัยให้สามารถวางแผนการลงทุนและการพัฒนาท่ีอยู่อาศัย
ของภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากน้ียังเป็นการก่อให้เกิดสภาพคล่อง
ของตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสองในการให้การสนับสนุนสินเช่ือ
Reverse Mortgage ตามนโยบายภาครฐั และสร้างทางเลือกท่อี ย่อู าศยั
ใหแ้ กผ่ มู้ รี ายไดน้ อ้ ย โดยกรมบงั คบั คดจี ะสง่ ขอ้ มลู และรายละเอยี ดทรพั ย์
ทอ่ี ยรู่ ะหวา่ งการประกาศขายทอดตลาดใหแ้ กศ่ นู ยข์ อ้ มลู อสงั หารมิ ทรพั ย์
เพื่อบันทึกเข้าเป็นข้อมูลในระบบฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์มือสอง
ทศี่ นู ยข์ อ้ มลู พฒั นาขนึ้ และทำ�การเผยแพรป่ ระชาสมั พนั ธข์ อ้ มลู ดงั กลา่ ว
ผ่านระบบฐานข้อมูลบ้านมือสองหรือช่องทางท่ีศูนย์ข้อมูลฯ จัดข้ึนและ
จะร่วมมือกันในการพัฒนาระบบการขายทอดตลาดทรัพย์ผ่านช่องทาง
ออนไลน์ เพอ่ื ใหป้ ระชาชนสามารถเขา้ ถึงข้อมลู เปน็ การสรา้ งทางเลอื ก
ท่ีอยู่อาศัยให้กับผู้ท่ีมีรายได้น้อย และเป็นการเข้าถึงบริการของรัฐได้
อย่างสะดวก

18

กรมบงั คับคดี กระทรวงยุตธิ รรม

กรมบงั คับคดปี ระกาศขายทอดตลาดทรัพยส์ นิ ผ่านระบบ
อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ e - Offering Auction ครงั้ ท่ี 4 นดั ที่ 1

วันท่ี 8 กรกฎาคม 2561 กรมบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด
ทรัพย์สิน LOT4 e-Offering ( คร้ังที่ 4) นดั ท่ี 1 ณ ห้องขายทอดตลาด
อาคารอสตี ิพรรษ กรมบังคับคดี กรงุ เทพมหานคร โดยมนี างสาวรน่ื วดี
สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนางศศิวิมล ธนศานติ
รองอธิบดีกรมบังคับคดี นางสาวรัชนี บุญเรือง ผู้อำ�นวยการสำ�นักงาน
บังคับคดีจังหวัดจันทบุรี รักษาการในตำ�แหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
การบังคับคดีแพ่ง คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี ดูแล
การขายทอดตลาดทรัพย์ในครั้งนี้ด้วย ซ่ึงในวันน้ีมีการประกาศ
ขายทอดตลาดทรพั ยส์ นิ จำ�นวน 19 คดี ขายได้ 8 รายการ เปน็ จำ�นวนเงนิ
ทั้งสิ้น 9,895,000 บาท จากราคาประเมิน 7,349,852 บาท ราคา
ที่ขายได้สูงกว่าราคาประเมิน คิดเป็นร้อยละ 34.63 โดยมีสำ�นักงาน
บงั คบั คดแี พง่ กรงุ เทพมหานคร 1 เปน็ ศนู ยก์ ลาง (Center) ผา่ นเครอื ขา่ ย
สำ�นักงานบงั คับคดีจังหวดั เชยี งใหม่ ขอนแกน่ นครราชสมี า และสงขลา
มผี สู้ นใจเขา้ ฟงั การขายจำ�นวน 200 คน มผี ใู้ ชเ้ ครอ่ื ง EDC จำ�นวน 13 ราย
เป็นเงิน 1,200,000 บาท ทั้งน้ี กรมบังคับคดีกำ�หนดทำ�การประมูล
ขายทอดตลาดด้วยวิธีการเสนอราคาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
e - Offering Auction ทุกวนั อาทติ ย์ โดยนดั ที่ 2 วันที่ 29 กรกฎาคม
2561 นดั ท่ี 3 วนั ที่ 19 สิงหาคม 2561 นดั ท่ี 4 วนั ที่ 9 กันยายน 2561
สนใจสามารถดูรายละเอียดเพ่ิมท่ี www.led.go.th หรือติดต่อท่ีเบอร์
02 881 4999 และสายด่วนกรมบังคับคดี 1111 กด 79

19

กรมบังคบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

วันท่ี 9 กรกฎาคม 2561 กรมบังคบั คดีเข้ารว่ มโครงการจิตอาสา “เราท�ำ ความ ดี ดว้ ยหัวใจ”
กรมบังคบั คดี เข้าร่วมในโครงการ ท�ำ ความสะอาดคลองบา้ นขมิ้น จากถนนวังหลงั ถงึ คลองมอญ

จติ อาสา “เราทำ�ความ ดี ดว้ ยหวั ใจ”
ร่ ว ม กั บ สำ� นั ก ง า น เ ข ต
บางกอกนอ้ ย เพอ่ื เทิดพระเกียรติ
สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั มหาวชริ าลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร เน่ือง
ใ น วั น เ ฉ ลิ ม พ ร ะ ช น ม พ ร ร ษ า
สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั มหาวชริ าลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร 66 พรรษา
28 กรกฎาคม 2561 ด้วยการ
ขุดลอกคู คลอง กำ�จัดวัชพืช
ริมตล่ิง ตัดแต่งก่ิงไม้ เก็บขยะ
ตกค้าง ทำ�ความสะอาดทางเดิน
ริมคลอง เพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพการระบายนํ้าในพ้ืนท่ีเขตบางกอกน้อยโดยมีนายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เป็นประธานในพิธีเปิด ณ นันทอุทยานสโมสร ถนนอิสรภาพ กรุงเทพมหานคร กรมบังคับคดี โดยนายชิตชัย สุทธิภูล เลขานุการกรม
และเจา้ หนา้ ที่กรมบงั คับคดี เขา้ รว่ มในพิธเี ปิดและร่วมทำ�ความสะอาดคลองบา้ นขมน้ิ จากถนนวังหลังถงึ คลองมอญ ตลอดจนไดน้ ำ�ข้าวลาบหมู
กับไขเ่ จียว จำ�นวน 50 กลอ่ ง และน้ําดืม่ ไปมอบใหก้ ับพนี่ อ้ งจิตอาสาท่เี ข้าร่วมงานในพน้ื ท่ีดงั กลา่ ว

กรมบงั คับคดีร่วมในพิธลี งนามบันทึกความร่วมมอื
เพอ่ื ใหป้ ระชาชนเข้าถงึ งานบริการพ้นื ฐานของรัฐ

วนั ที่10กรกฎาคม2561พลอากาศเอก
ประจิน จ่ันตอง รองนายกรัฐมนตรีและ
รั ฐ ม น ต รี ว่ า ก า ร ก ร ะ ท ร ว ง ยุ ติ ธ ร ร ม
เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง
การบูรณาการความร่วมมือ เพื่อให้ความ
ช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงบริการของรัฐ
ระหว่าง 8 หนว่ ยงาน โดยมี ปลดั กระทรวง
ยุติธรรม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมน่ั คงของมนษุ ย์ ปลดั กระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจ
และสังคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
และผู้บัญชาการตำ�รวจแห่งชาติ เป็นผู้ลงนาม ซ่ึงมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและหัวหน้า
ส่วนราชการในแต่ละกระทรวง รวมถงึ กรมบงั คบั คดี นำ�โดยนางสาวรนื่ วดี สวุ รรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนางศศิวิมล ธนศานติ รองอธิบดีกรมบังคับคดี
และคณะผู้บริหารกรมบังคับคดี ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำ�เนียบรัฐบาล
การลงนามบันทึกความร่วมมือในคร้ังนี้ เป็นการบูรณาการการทำ�งานร่วมกันระหว่าง
หน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาขีดความ
สามารถในการให้บริการประชาชน และเพื่อให้สามารถเข้าถึงงานบริการพื้นฐานของรัฐ
ในด้านต่างๆ อำ�นวยความยุติธรรม ลดความเหล่ือมล้ํา ขจัดความทุกข์ยาก สร้างประชา
สามัคคี สง่ เสรมิ คนดีสสู่ งั คมไดอ้ ยา่ งเทา่ เทยี มและทวั่ ถงึ ตอ่ ไป

20

กรมบังคบั คดี กระทรวงยุตธิ รรม

กรมบังคบั คดีเข้าร่วมโครงการจิตอาสา
“เราทำ�ความ ดี ด้วยหวั ใจ” ทำ�ความสะอาดคลองวดั ช่างเหลก็

วันที่ 10 กรกฎาคม 2561 กรมบังคับคดี เข้าร่วมในโครงการจิตอาสา
“เราทำ�ความ ดี ด้วยหัวใจ” ร่วมกับ สำ�นักงานเขตบางกอกน้อย เพอ่ื เทดิ พระเกียรติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เน่ืองในวันเฉลิม
พระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 66
พรรษา 28 กรกฎาคม 2561 ด้วยการขุดลอกคู คลอง กำ�จัดวัชพืชริมตล่ิง ตัดแต่ง
กิ่งไม้ เก็บขยะตกค้าง ทำ�ความสะอาดทางเดินริมคลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การระบายน้ําในพืน้ ท่ีเขตบางกอกน้อย โดยมนี ายณัฐพงษ์ มโี ภคกิจ ผู้อำ�นวยการเขต
บางกอกน้อย เป็นประธานในพิธีเปิด ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย สำ�นักงานเขต
บางกอกนอ้ ย กองบงั คบั กองพนั ทหารปนื ใหญ่ 109 สถานตี ำ�รวจบางขนุ นนท์ กองทพั เรอื
กรมบังคับคดี โรงพยาบาลธนบุรี โรงพยาบาลวิชัยเวช และประชาชนจิตอาสา
ณ คลองวัดช่างเหล็ก กรุงเทพมหานคร สำ�หรับกรมบังคับคดี นำ�โดยนางสาวรื่นวดี
สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์ รองอธิบดี
กรมบงั คบั คดี นางรตั นา รตั นพฒั นากลุ ผตู้ รวจราชการกรม คณะผบู้ รหิ ารและเจา้ หนา้ ที่
กรมบังคับคดี รวมจำ�นวน 67 คน เข้าร่วมในพิธีเปิดและร่วมทำ�ความสะอาดคลอง
วัดช่างเหลก็ ตลอดจนไดม้ อบอาหารกลอ่ ง และเครื่องดืม่ จำ�นวน 100 ชุด ใหก้ ับพีน่ อ้ ง
จิตอาสาทีเ่ ข้าร่วมงานในพน้ื ทด่ี ังกลา่ ว

21

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยุติธรรม

กรมบังคบั คดจี ดั ประชุมรบั ฟังความคิดเห็นรา่ งพระราชบัญญตั ลิ ม้ ละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....(เจ้าพนักงานพิทักษท์ รัพย์เอกชน)

วันท่ี 11 กรกฎาคม 2561 กรมบังคับคดี จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับท่ี..) พ.ศ. ....
(เจา้ พนักงานพิทกั ษท์ รพั ย์เอกชน) โดยมีนางสาวรน่ื วดี สุวรรณมงคล อธบิ ดกี รมบงั คบั คดี พร้อมดว้ ยนางทศั นยี ์ เปาอินทร์ ผตู้ รวจราชการกรม
นางเพ็ญรวี มาแสง ผู้อำ�นวยการกองฟื้นฟูกิจการของลูกหน้ี และนายสหภัทร ไชยสง่าศิลป์ นิติกรชำ�นาญการพิเศษ กองพัฒนาระบบ
การบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ เป็นวิทยากรบรรยาย หลักการ เหตุผล และสาระสำ�คัญของร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับท่ี..)
พ.ศ. .... (เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชน) โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการเงิน สำ�นักงานกฎหมาย องค์กรอิสระ
เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น จำ�นวน 140 คน ณ ห้องปิ่นเกล้า ช้ัน 3 โรงแรมเอส ดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร การจัดประชุมรับฟัง
ความคดิ เห็นในครงั้ น้ี เพือ่ ใหเ้ ป็นไปตามรฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทยพุทธศกั ราช 2561 มาตรา 77 เพอื่ นำ�ความคิดเหน็ ของผู้ท่เี กีย่ วข้อง
มาวเิ คราะหผ์ ลกระทบทอ่ี าจเกดิ ขน้ึ จากกฎหมาย ในการเสนอรา่ งพระราชบญั ญตั ลิ ม้ ละลาย (ฉบบั ท.่ี ..) พ.ศ. .... (เจา้ พนกั งานพทิ กั ษท์ รพั ยเ์ อกชน)
เป็นไปตามท่ีสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ได้นำ�เสนอเร่ืองการถ่ายโอนภารกิจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ภาคเอกชนไปดำ�เนินการ
เป็นการปฏิรูประบบราชการ และท่ีประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบเร่ืองดังกล่าว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจ ท่ีมีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว
ประกอบกับปริมาณคดีล้มละลายเพ่ิมข้ึนเป็นจำ�นวนมาก และมีความซับซ้อนทางด้านบัญชีและการเงินมากยิ่งข้ึน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จำ�เป็นต้องเป็นผู้ท่ีมีความรู้แบบ สหวิชาชีพในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และเป็นการเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยหลักการและสาระสำ�คัญ เป็นการเพ่ิมเติมเป็นหมวด 5/1 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชน
ประกอบด้วย บทนิยามและคุณสมบัติ อำ�นาจหน้าที่ การขึ้นทะเบียน การควบคุมกำ�กับดูแล คณะกรรมการกำ�กับดูแล ค่าตอบแทน โทษ
และหลกั ประกนั ความเสยี หาย โดยผเู้ ขา้ รว่ มรบั ฟงั ความเหน็ ไดใ้ หข้ อ้ สงั เกตในประเดน็ เกยี่ วกบั คณุ สมบตั ิ อำ�นาจหนา้ ที่ การจดั รปู แบบทางการเงนิ
และบญั ชี การกำ�กับดูแล การตรวจสอบบัญชีและโทษ ของเจ้าพนักงานพิทกั ษท์ รพั ยเ์ อกชน ทงั้ นก้ี รมบังคับคดีได้เชิญประชาชนและผ้เู ก่ยี วข้อง
ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อหลักการและสาระสำ�คัญของร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับท่ี..) พ.ศ. .... (เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชน)
ในระหว่างวันท่ี 9 –26 กรกฎาคม 2561 ผ่านทางเว็บไซต์กรมบังคับคดี www.led.go.th และทางเว็บไซต์ www.lawamendment.go.th
ซงึ่ กรมบงั คบั คดจี ะรวบรวมความคดิ เหน็ เกย่ี วกบั รา่ งพระราชบญั ญตั ลิ ม้ ละลาย(ฉบบั ท.่ี .) พ.ศ. .... (เจา้ พนกั งานพทิ กั ษท์ รพั ยเ์ อกชน) เพอื่ ประกอบ
การดำ�เนินการต่อไป

22

กรมบงั คับคดี กระทรวงยุตธิ รรม

กรมบังคบั คดีให้การตอ้ นรับคณะศกึ ษาดงู าน ONE STOP SEVICE ณ สำ�นกั งานบงั คบั คดแี พง่
จากส�ำ นกั งานศาลปกครอง กรุงเทพมหานคร 4 ช้ัน 2 โดยนายชนินทร์
หลักสูตรพนักงานคดีปกครองระดับสงู รุ่นท่ี 20 สตุ กี ษณะ ผอู้ ำ�นวยการสำ�นกั งานบงั คบั คดแี พง่
กรุงเทพมหานคร 4 นอกจากนี้ คณะศึกษา
วันท่ี 12 กรกฎาคม 2561 ดูงานได้ร่วมรับฟังการบรรยาย เรื่อง ขั้นตอน
นางศศวิ มิ ล ธนศานติ รองอธบิ ดกี รมบงั คบั คดี และกระบวนการในการดำ�เนนิ การบงั คบั คดใี ห้
พรอ้ มดว้ ยนายชนนิ ทร์สตุ กี ษณะผอู้ ำ�นวยการ เป็นไปตามคำ�บังคับของศาล โดยนายชนินทร์
สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 4 สุตีกษณะ ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานบังคับคดี
คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี แพ่งกรุงเทพมหานคร 4 ณ ห้องประชุมคชสาร
ใหก้ ารตอ้ นรบั คณะศกึ ษาดงู านจากสำ�นกั งาน 2 ชัน้ 3 อาคารกรมบังคบั คดี กรมบงั คับคดี
ศาลปกครอง หลักสตู รพนกั งานคดปี กครอง
ระดับสูง รุ่นที่ 20 จำ�นวน 80 คน นำ�โดย
นายชวลิต ลาภผล ตุลาการหัวหน้าคณะ
ศาลปกครองกลาง และพนกั งานคดปี กครอง
ระดับสงู โดยคณะศึกษาดงู านไดร้ ่วมชมการ
ประมลู ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ณ หอ้ งขาย
ทอดตลาด อาคารอสตี พิ รรษ และศนู ยบ์ รกิ าร

กรมบงั คับคดีประชมุ คณะท�ำ งานส�ำ หรับการเตรียมการประชมุ ด้านการบงั คับคดีรว่ มกับหนว่ ยงาน
ด้านการบงั คับคดลี ม้ ละลายของประเทศสมาชกิ อาเซยี นและเทศค่เู จรจา ครงั้ ท่ี 1/2561

วนั ท่ี 13 กรกฎาคม 2561 นางสาวรตั นาวดี สมบรู ณ์ รองอธบิ ดี และประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และ
กรมบงั คบั คดี เปน็ ประธานในการประชมุ คณะทำ�งานสำ�หรบั การเตรยี ม สาธารณรฐั เกาหล)ี ทม่ี กี ำ�หนดจดั ขนึ้ ระหวา่ งวนั ที่ 14 - 16 สงิ หาคม 2561
การประชมุ ดา้ นการบงั คบั คดรี ว่ มกบั หนว่ ยงานดา้ นการบงั คบั คดลี ม้ ละลาย ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือ
ของประเทศสมาชกิ อาเซยี นและประเทศคเู่ จรจา (สาธารณรฐั ประชาชนจนี แลกเปลย่ี นความรแู้ ละประสบการณเ์ กยี่ วกบั กฎหมาย กฎระเบยี บ ระบบ
ประเทศญปี่ นุ่ และสาธารณรฐั เกาหล)ี ครงั้ ท่ี1/2561โดยมนี างสาวรนื่ วดี และแนวทางปฏิบัติที่ดีเลิศ ด้านการบังคับคดีล้มละลายกับประเทศ
สวุ รรณมงคล อธบิ ดกี รมบงั คบั คดี ที่ปรกึ ษาคณะทำ�งานฯ พรอ้ มดว้ ย สมาชกิ อาเซยี น คอื สาธารณรฐั ประชาชนจนี ประเทศญปี่ นุ่ และสาธารณ
คณะผู้บริหารกรมบังคับคดี และเจ้าหน้าท่ีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้แทน รัฐเกาหลี รวมถึงหน่วยงานหรือองค์การระหวา่ งประเทศท่เี กย่ี วข้องกบั
จาก สว่ นราชการ และหนว่ ยงานทเ่ี กย่ี วขอ้ ง ซงึ่ มนี างสาวตวงพร สอาด การบงั คบั คดลี ม้ ละลาย เพอ่ื พฒั นาเครอื ขา่ ยความสมั พนั ธท์ ดี่ แี ละความ
นักวิเทศสัมพันธ์ชำ�นาญการ นายอาทิตย์ วงศ์ยฤทธ์ิ นิติกร สำ�นัก ร่วมมือ รวมถึงหารอื ในประเด็นท่เี ก่ยี วขอ้ งให้เกิดเปน็ รูปธรรม โดยการ
กฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม และนางสาวชนัญ์ภรณ์ งอนเซ่ง ประชุมคณะทำ�งานสำ�หรับการเตรียมการประชุมฯในคร้ังนี้ ได้รับคำ�
นกั พฒั นาระบบราชการชำ�นาญการ สำ�นกั งาน ก.พ.ร. เขา้ รว่ มประชมุ แนะนำ�จากทปี่ รกึ ษาและคณะทำ�งานทเ่ี ปน็ ประโยชนส์ ำ�หรบั การเตรยี ม
ณ ห้องประชมุ คชสาร 2 ช้ัน 3 อาคารกรมบงั คบั คดี ซง่ึ กรมบงั คบั คดี การจดั การประชมุ ดา้ นการบงั คบั คดรี ว่ มกบั หนว่ ยงานดา้ นการบงั คบั คดี
กระทรวงยุติธรรม เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้านการบังคับคดีร่วม ลม้ ละลายของประเทศสมาชกิ อาเซยี นและประเทศคเู่ จรจา (สาธารณรฐั
กบั หนว่ ยงานดา้ นการบงั คบั คดลี ม้ ละลายของประเทศสมาชกิ อาเซยี น ประชาชนจนี ประเทศญป่ี นุ่ และสาธารณรฐั เกาหล)ี ดงั กลา่ วเปน็ อยา่ งดี

23

กรมบังคบั คดี กระทรวงยุติธรรม

กรมบงั คับคดจี ดั มหกรรมขายทอดตลาดทรัพยส์ นิ ในพ้ืนทจ่ี ังหวัดนครราชสมี า
จงั หวัดบุรีรมั ย์ และจงั หวดั ชัยภมู ิ นัดท่ี 1 ขายทรพั ย์สนิ ได้กว่า 390 ล้านบาท

วั น ท่ี 2 1 ก ร ก ฎ า ค ม 2 5 6 1 ในวันนี้ ขายได้ 158 คดี 170 รายการ ราคา ของกรมบงั คบั คดเี ปน็ จำ�นวนมาก และกจิ กรรม
กรมบังคับคดีจัดมหกรรมขายทอดตลาด ประเมิน 317,236,196.75 บาท ขายได้เป็น บรู ณาการรว่ มกบั วสิ าหกจิ สขุ ภาพชมุ ชนโดยจดั
ท รั พ ย์ สิ น ใ น พ้ื น ที่ จั ง ห วั ด น ค ร ร า ช สี ม า เงินท้ังส้ิน 390,961,000 บาท ซ่ึงราคาขาย ใหม้ นี วตั กรรมนวดเพอ่ื สขุ ภาพ โดยมนี ายแพทย์
จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดชัยภูมิ นัดที่ 1 ได้สงู กวา่ ราคาประเมินคดิ เปน็ ร้อยละ 23.24 พูลชัย จิตอนันตวิทยา ประธานฝ่ายการแพทย์
ณ ศนู ยก์ ารคา้ เทอรม์ นิ อล 21 โคราช จงั หวดั นอกจากน้ีมีจัดนิทรรศการเพื่อสร้างความ วสิ าหกิจชุมชน (SHE) “สตรีท่ี เคยกา้ วพลาด”
นครราชสมี าโดยไดร้ บั เกยี รตจิ ากนายมรุ ธาธรี ์ รับรู้ทางกฎหมายและการให้คำ�ปรึกษาทาง อนั เป็นการส่งเสริมคนดี สูส่ งั คม ตามนโยบาย
รกั ชาตเิ จรญิ รองผวู้ า่ ราชการจงั หวดั นครราชสมี า กฎหมายโดยมีผู้สนใจขอรับคำ�ปรึกษาทาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซ่ึงมีผู้สนใจ
ร่วมสังเกตการณ์การประมูลขายทอดตลาด กฎหมาย และสนใจดาวนโ์ หลดแอพพลเิ คช่ัน เข้ารบั การนวด เพอ่ื สขุ ภาพจำ�นวน 115 คน
ทรพั ยส์ นิ และกจิ กรรมตา่ งๆภายในงาน ซง่ึ มี
นางสาวรน่ื วดี สวุ รรณมงคล อธบิ ดกี รมบงั คบั คดี
พร้อมด้วยนางศศิวิมล ธนศานติ รองอธิบดี
กรมบงั คบั คดีและคณะผบู้ รหิ ารกรมบงั คบั คดี
ใหก้ ารตอ้ นรบั และรว่ มดแู ลการปฏบิ ตั หิ นา้ ที่
ของเจา้ หนา้ ทภ่ี ายในมหกรรมขายทอดตลาด
สำ�หรับทรัพย์ที่นำ�มาประกาศขายเป็นท่ีดิน
ที่ดินพร้อมส่ิงปลูกสร้าง และห้องชุด ท่ีตั้ง
อยู่ในเขตพื้นท่ีจังหวัดนครราชสีมา จังหวัด
บุรีรัมย์ และจังหวัดชัยภูมิ โดยมีทรัพย์ท่ี
พร้อมขายทอดตลาดจำ�นวน 331 คดี 353
รายการ ราคาประเมนิ รวม 757,835,758.77
บาท ซึ่งมีผู้สนใจเข้าฟัง การขายทอดตลาด
ประมาณ 400 คน โดยผลการขายทอดตลาด

กรมบังคับคดจี ัดพิธถี วายสตั ยป์ ฏญิ าณเพอื่ เปน็ ขา้ ราชการทีด่ ีและพลังของแผ่นดิน เน่อื งในวนั เฉลิม
พระชนมพรรษาสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั มหาวชริ าลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกรู 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561

วนั ท่ี 23 กรกฎาคม 2561นางสาวรนื่ วดีสวุ รรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ
เพ่ือเป็นข้าราชการท่ีดีและพลังของแผ่นดิน เน่ืองในวัน
เฉลมิ พระชนมพรรษาสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั มหาวชริ าลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกรู 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561 โดย
ได้นำ�คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีกล่าวคำ�
ถวายสัตย์ปฏิญาณ เพ่ือแสดงความจงรักภักดี สำ�นึกใน
พระมหากรณุ าธคิ ณุ อยา่ งหาทส่ี ดุ มไิ ด้ และแสดงความมงุ่ มนั่
แนว่ แนท่ จ่ี ะเปน็ ขา้ ราชการทด่ี แี ละพลงั ของแผน่ ดนิ ปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ี
ตามรอยพระยคุ ลบาทในฐานะขา้ ราชการของแผน่ ดนิ ใหเ้ กดิ
ประโยชนส์ ุขแกป่ ระชาชนและประเทศชาติ ณ ห้องประชมุ
ชนั้ 9 อาคารกรมบังคับคดี

24

กรมบงั คับคดี กระทรวงยุตธิ รรม

กรมบังคบั คดีรว่ มกบั สำ�นกั งาน ก.พ. และส�ำ นกั งานคณะกรรมการดิจทิ ลั เพอื่ เศรษฐกจิ
และสังคมแหง่ ชาติ ร่วมลงนามขอ้ ตกลงความรว่ มมือโครงการพัฒนาตน้ แบบการสร้าง
และพฒั นาก�ำ ลงั คนภาครฐั เพอ่ื ไปสู่ ดิจทิ ัลไทยแลนด์

วนั ที่ 25 กรกฎาคม 2561 ดร.พนั ธ์ศกั ดิ์ ศริ ริ ชั ตพงษ์
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ใหเ้ กียรติเปน็ สักขีพยานในการลงนามบันทกึ
ข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาต้นแบบการสร้างและ
พัฒนากำ�ลังคนภาครัฐเพื่อไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ ระหว่าง
กรมบังคับคดี สำ�นักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
และสำ�นักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคม
แหง่ ชาติ โดยมนี างสาวรน่ื วดีสวุ รรณมงคลอธบิ ดกี รมบงั คบั คดี
นางเมธินี เทพมณี เลขาธิการสำ�นักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรอื น และนางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยธุ ยา
เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ร่วมลงนาม ณ ห้องประชุมสุขุมนัยประดิษฐ
สำ�นกั งาน ก.พ. จงั หวัดนนทบรุ ี ซงึ่ มีนางทัศนีย์ เปาอินทร์
ผตู้ รวจราชการกรม นางสาวนภสั วรรณ สันตสิ ุข ผเู้ ชย่ี วชาญ
เฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย นางสาวรัชนี บุญเรือง
รกั ษาการในตำ�แหนง่ ผเู้ ชย่ี วชาญเฉพาะดา้ นการบงั คบั คดแี พง่
พรอ้ มดว้ ยคณะผบู้ รหิ ารและเจา้ หนา้ ทก่ี รมบงั คบั คดี เขา้ รว่ ม
ในพธิ ลี งนาม นางสาวรน่ื วดี สวุ รรณมงคล อธบิ ดกี รมบงั คบั คดี
กล่าวว่า ตามท่ี อ.ก.พ. วิสามัญเฉพาะกิจเก่ียวกับการ
ขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการ ได้มี
มติให้ กรมบังคับคดี เปน็ หนว่ ยงานภาครฐั ตน้ แบบการสร้าง
และพฒั นากำ�ลงั คนภาครฐั เชงิ กลยทุ ธ์ เพอ่ื นำ�ไปสดู่ จิ ทิ ลั ไทย
แลนด์ โดยมเี จตจำ�นงทจี่ ะรว่ มมอื กนั สรา้ งและพฒั นาตน้ แบบ
การสรา้ งและพฒั นากำ�ลงั คนภาครฐั เพอื่ ไปสดู่ จิ ทิ ลั ไทยแลนด์
และถอดบทเรียนจากประสบการณ์ การดำ�เนินงานต่างๆ
เพ่ือเป็นองค์ความรู้ และเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ส่วน
ราชการและหน่วยงานของรัฐ นำ�ไปปรับใช้ต่อยอดอย่าง
เหมาะสม เพ่อื เปน็ การขบั เคลอ่ื นเศรษฐกจิ และสงั คมดจิ ทิ ัล
ซง่ึ การลงนามบนั ทกึ ขอ้ ตกลงความรว่ มมอื ในครงั้ น้ี นบั วา่ เปน็
โอกาสทด่ี ีอยา่ งมากของกรมบงั คับคดี ทไ่ี ดร้ ับเลอื กในฐานะ
หนว่ ยงานทมี่ คี วามพรอ้ ม ความสมคั รใจ รวมถงึ ความโดดเดน่
ในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำ�งาน และการนำ�
เทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการประชาชนให้เกิดประโยชน์
สูงสุด ในการพัฒนาบุคลากร โดยกรมบังคับคดีจะร่วม
ดำ�เนินงาน เขา้ รว่ มกิจกรรมและให้การสนบั สนนุ ทรัพยากร
ที่จำ�เป็น เพ่ือพัฒนาให้กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานภาครัฐ
ต้นแบบการสร้างและพัฒนากำ�ลังคนภาครัฐเชิงกลยุทธ์
เพื่อการไปส่ดู จิ ทิ ัลไทยแลนดต์ อ่ ไป

25

กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

กรมบังคบั คดรี ่วมสัมมนาโครงการส่งเสริมประสาน
ความร่วมมือของหนว่ ยงานในกระบวนการยตุ ธิ รรม
ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ด้านการยตุ ิธรรมนวัตกรรม 4.0

วันท่ี 26 กรกฎาคม 2561 นางศศิวิมล ธนศานติ รองอธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนายสุทธิชัย คล้อสวัสด์ิ ผู้อำ�นวยการสำ�นักงาน
บังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 2 เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 เรื่อง “ประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรม : นวัตกรรม 4.0” ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยการสัมมนา
ในครง้ั น้ี กรมบังคบั คดี โดยนายสทุ ธชิ ัย คลอ้ สวัสด์ิ ผอู้ ำ�นวยการสำ�นักงานบังคบั คดีแพ่งกรงุ เทพมหานคร 2 ไดร้ ่วมเป็นวทิ ยากรบรรยายในหัวขอ้
“การเชอ่ื มโยงการสง่ หมายบังคับคดี” ณ หอ้ งแม่นา้ํ แกรนด์บอลรูม ชน้ั 2 โรงแรมแมน่ าํ้ รามาดาพลาซา กรุงเทพมหานคร

กรมบงั คับคดี และศูนย์ไกล่เกลยี่ ข้อพพิ าทช้นั บังคบั คดี
รว่ มออกบธู ให้ความรู้ทางกฎหมายแกป่ ระชาชน

วันที่ 27 กรกฎาคม 2561 กรมบังคับคดี และศูนย์ไกล่เกล่ียข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
รว่ มออกบธู กบั กระทรวงยตุ ธิ รรม เนอ่ื งในวนั เฉลมิ พระชนมพรรษาสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั มหาวชริ าลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561 เพ่ือเผยแพร่ภารกิจกรมบังคับคดี
รว่ มถงึ ให้คำ�ปรกึ ษากฎหมายแกป่ ระชาชน ซ่ึงมีนางสาวรืน่ วดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบงั คับคดี
พรอ้ มดว้ ยนายชิตชยั สทุ ธิภูล เลขานุการกรม และเจา้ หนา้ ท่กี รมบังคับคดี เขา้ ร่วมงานดงั กลา่ ว
ในครั้งน้ีมีประชาชนให้ความสนใจมาขอคำ�แนะนำ�กฎหมายเป็นประเด็นเรื่องค้ําประกัน
จัดการมรดก การร่างสัญญา คดีล้มละลาย เรื่องการปลดจากล้มละลาย การบังคับหน้ีเงินกู้
จำ�นวน 14 ราย ณ ทอ้ งสนามหลวง กรงุ เทพมหานคร

26

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยุตธิ รรม

กรมบงั คับคดี เข้าร่วมพธิ ที ำ�บญุ ตักบาตร เนื่องในวันเฉลิม
พระชนมพรรษาสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั มหาวชริ าลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561

วันท่ี 28 กรกฎาคม 2561 พลเอก ประยุทธ์ จนั ทรโ์ อชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ในพิธีทำ�บุญตักบาตร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561 กรมบังคับคดี นำ�โดยนางสาวร่ืนวดี
สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนางศศิวิมล ธนศานติ รองอธิบดีกรมบังคับคดี
นายพรี ะ อคั รวัตร รองอธิบดีกรมบงั คบั คดี นายชติ ชยั สทุ ธภิ ูล เลขานุการกรม และเจา้ หน้าที่
กรมบงั คบั คดี เขา้ ร่วมในพธิ ีดังกลา่ ว ณ ทอ้ งสนามหลวง กรงุ เทพมหานคร

กรมบังคบั คดจี ดั ประชุมคณะท�ำ งานศกึ ษา
และยกรา่ งกฎหมายหลกั ประกนั ทางธรุ กจิ คร้ังท่ี 4/2561

วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 กรมบังคับคดีจัดประชุมคณะทำ�งานศึกษาและ
ยกรา่ งกฎหมายหลกั ประกนั ทางธรุ กจิ ครงั้ ที่ 4/2561 โดยมนี างสาวรน่ื วดี สวุ รรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานคณะทำ�งานฯ ซ่ึงมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
อาทิ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำ�นักงานเศรษฐกิจการคลัง สำ�นักงานคณะกรรมการ
กฤษฎกี า สำ�นกั งาน ก.พ.ร สำ�นกั งาน กลต. สมาคมผปู้ ระกอบการธรุ กจิ ขนาดกลางและ
ขนาดยอ่ มไทย ธนาคารแหง่ ประเทศไทย สมาคมลสิ ซงิ่ เปน็ ตน้ และมผี แู้ ทนกรมบงั คบั คดี
เปน็ คณะทำ�งาน และเลขานกุ าร เขา้ รว่ มประชมุ ณ หอ้ งประชมุ คชสาร 2 อาคารกรมบงั คบั คดี
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธุรกรรมที่ก่อให้
เกดิ สทิ ธใิ นหลักประกนั พ.ศ. .... เพ่ือให้เป็นไปตามแนวทางสากล และเป็นประโยชน์
ต่อผูป้ ระกอบการธุรกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าถงึ สินเชื่อตอ่ ไป

27

กรมบังคบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

กรมบงั คับคดีร่วมในพธิ เี ปดิ งาน Thailand Industry Expo 2018

วนั ท่ี 2 สิงหาคม 2561 พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี
เปิดงาน Thailand Industry Expo 2018 และ
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ เวทีกลาง
อาคารชาเลนเจอร์ 3 ศูนย์แสดงสินค้าและ
การประชมุ อมิ แพค็ เมอื งทองธานี ซงึ่ มหี นว่ ยงาน
ท้ังภาครัฐและเอกชน รวมถึงกรมบังคับคดี โดย
นางสาวร่นื วดี สุวรรณมงคล อธิบดกี รมบังคับคดี
เข้าร่วม นอกจากน้ี ภายในงานกรมบังคับคดีได้
ร่วมออกบูธประชาสัมพันธ์ภารกิจกรมบังคับคดี
และบรกิ ารใหค้ ำ�ปรกึ ษาดา้ นกฎหมายการบงั คบั คดี
พ ร้ อ ม แ จ ก เ อ ก ส า ร ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ ภ า ร กิ จ
กรมบงั คบั คดแี กป่ ระชาชนทเี่ ขา้ รว่ มงาน ซงึ่ ไดร้ บั
ความสนใจจากประชาชนทเ่ี ขา้ รว่ มงานเปน็ อยา่ งมาก
ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 - 3 อมิ แพค็ เมอื งทองธานี
ซึ่งงาน Thailand Industry Expo 2018
มกี ำ�หนดจดั ขน้ึ ระหวา่ งวนั ท่ี 2 - 5 สงิ หาคม 2561

เม่ือวันที่ 2 สิงหาคม 2561 กรมบงั คบั คดจี ดั โครงการสรา้ งการรับรู้เก่ยี วกับกฎหมาย
นางศศิวิมล ธนศานติ รองอธิบดี ด้านการบงั คบั คดีแพง่ สำ�หรบั ผปู้ ฏิบัตงิ าน
กรมบงั คบั คดี เปน็ ประธานเปดิ โครงการ ด้านการเงินและบญั ชี รุ่นที่ 1

สรา้ งการรบั รเู้ กย่ี วกบั กฎหมายดา้ นการ
บังคับคดีแพ่ง สำ�หรับผู้ปฏิบัติงานด้าน
การเงินและบัญชี รุ่นที่ 1 ระหว่างวนั ที่
2 - 3 สิงหาคม 2561 ณ เดอะเลกาซี
ริเวอร์แคว รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี
โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือให้ผู้เข้าร่วม
โครงการฯ ไดร้ ับความรู้ ความเข้าใจ ใน
เร่ืองข้อกฎหมาย ระเบียบ คำ�ส่ังที่
เปล่ียนแปลงไปและแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการบังคับคดีแพ่ง และ
ระบบการโอนจ่ายเงิน e-payment การอบรมในครั้งน้ีได้รับเกียรติจากนายชนินทร์
สุตีกษณะ ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร 4 นางสาวสมถวิล
นนสวัสด์ิศรี ผู้อำ�นวยการกองติดตามและเฉล่ียทรัพย์สินในคดีล้มละลาย รักษาการ
ในตำ�แหนง่ ผู้เช่ยี วชาญเฉพาะด้านบญั ชเี งินในคดี และนางสาวรัชนี บญุ เรอื ง ผ้อู ำ�นวยการ
สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรี รักษาการในตำ�แหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
การบงั คบั คดแี พง่ เปน็ วทิ ยากรในการบรรยาย ซงึ่ ผเู้ ขา้ รว่ มโครงการฯ ประกอบดว้ ยเจา้ หนา้ ท่ี
ของกรมบังคับคดีที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ท้ังในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เข้าร่วม จำ�นวน 109 คน

28

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ิธรรม

กรมบังคับคดรี ่วมในพิธเี ปิดการประชุม
ทางวชิ าการระดบั ชาติว่าดว้ ยงานยุตธิ รรม ครงั้ ที่ 16

วันที่ 2 สิงหาคม 2561 พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วย
งานยุติธรรม คร้ังที่ 16 พรอ้ มปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “พัฒนากระบวนการยตุ ิธรรม ลดความเหลือ่ มล้าํ
นำ�ความยตุ ธิ รรมสปู่ ระชาชน” จดั โดยสำ�นกั งานกจิ การยตุ ธิ รรม (สกธ.) ณ หอ้ งรอยลั จบู ลิ ่ี บอลรมู อมิ แพค็
เมืองทองธานี จงั หวัดนนทบุรี โดยมหี มอ่ มหลวงปนดั ดา ดศิ กลุ ผู้ชว่ ยรัฐมนตรีประจำ�นายกรฐั มนตรี
ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยนายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�
กระทรวงยุติธรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม รวมถึงกรมบังคับคดี โดยนางสาวร่ืนวดี
สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนางอรัญญา ทองนํ้าตะโก ผู้ตรวจราชการกรม และ
คณะผู้บริหารกรมบังคับคดี เข้าร่วม การประชุมในครั้งนี้ จัดให้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ
“ศาสตร์พระราชากับการพัฒนากระบวนการยุติธรรมท่ียั่งยืน” โดยหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม และการเสวนา หัวข้อ
“กระบวนการยตุ ธิ รรมเพอ่ื คนยากไร้ : คมุ้ ครองสทิ ธิ สรา้ งโอกาส ลดความเหลอ่ื มลา้ํ สรา้ งความเทา่ เทยี ม”
และหัวข้อ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน พัฒนาการอำ�นวยความยุติธรรม สร้างสังคมยั่งยืน”
โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมเสวนา นอกจากนี้
พลอากาศเอกประจนิ จน่ั ตองรองนายกรฐั มนตรแี ละรฐั มนตรวี า่ การกระทรวงยตุ ธิ รรมและหมอ่ มหลวงปนดั ดา
ดศิ กลุ ผู้ชว่ ยรัฐมนตรปี ระจำ�นายกรฐั มนตรี ปฏิบตั ิราชการกระทรวงยุตธิ รรม ไดเ้ ยี่ยมชมนทิ รรศการ
ของกรมบังคับคดี ที่ได้มีการเผยแพร่ภารกิจกรมบังคับคดีและให้คำ�ปรึกษาด้านกฎหมาย โดยมี
นางสาวรน่ื วดี สวุ รรณมงคล อธบิ ดกี รมบงั คบั คดี พรอ้ มดว้ ยนางอรญั ญา ทองนาํ้ ตะโก ผตู้ รวจราชการกรม
คณะผ้บู ริหารและเจา้ หน้าที่กรมบงั คบั คดี ให้การตอ้ นรับ

กรมบงั คับคดรี ่วมในพธิ เี ปดิ งานมหกรรม Thailand Social Expo 2018

วันท่ี 3 สิงหาคม 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเจา้ หนา้ ทกี่ รมบงั คบั คดี เขา้ รว่ ม นอกจากน้ี ภายในงานกรมบงั คบั คดี
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปดิ งานมหกรรม Thailand Social ได้ร่วมออกบูธประชาสัมพันธ์ภารกิจกรมบังคับคดี บริการให้คำ�ปรึกษา
Expo 2018 งานแสดงผลงานด้านสังคมของรัฐบาลและมหกรรม ด้านกฎหมายการบังคับคดี การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
ด้านสังคมครั้งแรกของประเทศไทย พร้อมปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ให้กับลูกหนี้ร่วมกับสถาบันการเงินและบริษัทต่างๆ รวม 8 แห่ง
การขบั เคลอื่ นงานดา้ นการพฒั นาสงั คมในยคุ Thailand 4.0 และมอบ พร้อมแจกเอกสารประชาสัมพันธ์ภารกิจกรมบังคับคดีแก่ประชาชน
นโยบายดา้ นสงั คม โดยมพี ลเอก อนนั ตพร กาญจนรตั น์ รฐั มนตรวี า่ การ ที่เข้าร่วมงาน และกิจกรรมบูรณาการร่วมกับวิสาหกิจสุขภาพชุมชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ เป็นผู้กล่าว โดยจดั ใหม้ นี วตั กรรมนวดเพอ่ื สขุ ภาพ โดยมนี ายแพทยพ์ ลู ชยั จติ อนนั ตวทิ ยา
รายงาน ณ Hall 5 - 8 ศนู ย์การแสดงสนิ คา้ และการประชุม อมิ แพ็ค ประธานฝ่ายการแพทย์ วิสาหกิจชุมชน (SHE) “สตรีท่ีเคยก้าวพลาด”
เมอื งทองธานี ซง่ึ มหี นว่ ยงานทง้ั ภาครฐั และเอกชน รวมถงึ กรมบงั คบั คดี อันเป็นการสง่ เสริมคนดี สู่สังคม ตามนโยบายรฐั มนตรีว่าการกระทรวง
โดยนางสาวร่ืนวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วย ยุติธรรม ซ่ึงได้รับความสนใจจากประชาชนที่เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก
นางเพญ็ รวี มาแสง ผอู้ ำ�นวยการกองฟนื้ ฟกู จิ การของลกู หนี้ นายไกรสร ซึ่งงาน Thailand Social Expo 2018 มีกำ�หนดจัดข้ึนระหว่างวันที่
สิงหราชวราพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย 3 - 5 สงิ หาคม 2561

29

กรมบังคับคดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

กรมบงั คับคดีจัดโครงการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพ
แก่เจา้ หนา้ ทก่ี รมบังคบั คดี หลักสตู ร “การบัญชีสบื สวน
(Forensic Accounting)”

วันที่ 4 สิงหาคม 2561 นางสาวร่นื วดี สวุ รรณมงคล อธิบดีกรมบังคบั คดี เปน็ ประธานเปดิ โครงการอบรมเพิม่ ประสิทธภิ าพแก่เจา้ หนา้ ที่
กรมบงั คบั คดี หลกั สตู ร “การบญั ชสี บื สวน (Forensic Accounting)” ณ โรงแรมแซนดาเล รสี อรท์ พทั ยา จงั หวดั ชลบรุ ี โดยมผี เู้ ขา้ รว่ มโครงการอบรมฯ
จำ�นวน 60 คน ซึ่งจัดขึ้นระหวา่ งวนั ที่ 3 - 5 สิงหาคม 2561 การจดั โครงการฯ ในครง้ั น้ี ได้รับเกียรติจาก ดร.พรชัย นฤดมกุล ประธานเจา้ หน้าที่
ฝา่ ยการเงิน (CFO) บริษัท ที แอนด์ บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำ�กดั เป็นวทิ ยากรบรรยายใหค้ วามรู้ สำ�หรบั ผ้เู ข้ารว่ มโครงการอบรมฯ
ซง่ึ การจดั โครงการฯ ในครง้ั นี้ มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ ใหผ้ อู้ บรมไดร้ บั ความรู้ ความเขา้ ใจเกยี่ วกบั ระบบบญั ชี แนวทาง และวธิ กี ารปฏบิ ตั ติ ามมาตรฐาน
การบัญชี ข้ันตอน และวิธีการตรวจสอบทุจริตทางบัญชี และเพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากยิ่งข้นึ และเปน็ ไปในแนวทางเดยี วกนั ต่อไป

30

กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

กรมบงั คับคดรี ว่ มกบั กระทรวงพฒั นาสงั คมและความม่ันคง
ของมนุษย์ลงนามบนั ทกึ ความร่วมมือการให้ความชว่ ยเหลือผู้เสยี หาย
จากการค้ามนษุ ย์เพื่อบังคับคดีให้เปน็ ไปตามค�ำ พิพากษา

วันท่ี 5 สิงหาคม 2561 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ ระหว่างกรมบังคับคดี และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ของมนุษย์ เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วย ในการบังคับคดีเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนและค่าเสียหาย เพื่อการ
การให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เพ่ือบังคับคดี ลงโทษให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และมีประสิทธิภาพ
ให้เป็นไปตามคำ�พิพากษา ระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและ มากยิ่งขึ้น โดยกรมบังคับคดีสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการบังคับคดี
ความม่ันคงของมนุษย์ กับกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม โดยมี เกย่ี วกบั คา่ สนิ ไหมทดแทนและคา่ เสยี หายเพอื่ การลงโทษใหม้ คี วามรวดเรว็
นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ยิ่งขึ้น ได้แก่ การยึดทรัพย์สิน กรมบังคับคดีจะกำ�หนดผู้ประสานงาน
ของมนุษย์ และนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ในการต้ังเรื่อง
ร่วมลงนาม ณ ห้องฟีนิกซ์ 2 อาคารอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ บงั คบั คดี โดยขอใหก้ ระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ย์
ฮอลล์ 5 – 8 เมอื งทองธานี จงั หวัดนนทบุรี ซ่ึงมนี างศศวิ ิมล ธนศานติ แจ้งนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำ�การ เว้นแต่เป็นกรณีจำ�เป็น
รองอธิบดีกรมบังคับคดี พรอ้ มดว้ ยนางรตั นา รตั นพัฒนากุล ผู้ตรวจ เรง่ ดว่ นใหแ้ จง้ ลว่ งหนา้ 1 วนั ทำ�การ การอายดั ทรพั ยส์ นิ การอายดั เงนิ ฝาก
ราชการกรม และผู้บริหารกรมบังคับคดี เข้าร่วมในพิธีลงนาม ในบัญชีธนาคารของจำ�เลย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
นางสาวรน่ื วดีสวุ รรณมงคลอธบิ ดกี รมบงั คบั คดีกลา่ ววา่ ความรว่ มมอื กนั ความม่ันคงของมนุษย์ไม่ต้องเดินทางมาตั้งเร่ืองอายัดทรัพย์สินท่ี
กรมบงั คบั คดี การเกบ็ รกั ษาทรพั ยส์ นิ ทย่ี ดึ ณ สถานทเ่ี กบ็ รกั ษาทรพั ยส์ นิ
กรมบังคับคดี เว้นแต่ในกรณีท่ีจะต้องเก็บรักษาทรัพย์สินนอกสถานที่
กรมบังคับคดีและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
จะร่วมกันจัดหาสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินที่ยึดประจำ�ท้องที่พร้อม
พนักงานรักษาความปลอดภัยภายใต้การดูแลของเจา้ พนักงานบังคบั คดี
การจำ�หน่ายทรัพย์สิน การตรวจสอบรับรองบัญชี และการจ่ายเงิน
สว่ นไดจ้ ากการบงั คบั คดี โดยกรมบงั คบั คดจี ะสง่ บญั ชแี สดงรายรบั - จา่ ย
ไปใหก้ ระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมน่ั คงของมนษุ ยต์ รวจรบั รองบญั ชี
ทางไปรษณีย์ โดยไม่ต้องเดินทางไปตรวจรับรองบัญชีด้วยตนเอง
นอกจากน้ีทงั้ สองฝา่ ยตกลงทจ่ี ะใหก้ ารสนบั สนนุ ซงึ่ กนั และกนั ดา้ นวชิ าการ
บคุ ลากร หรอื ดา้ นอนื่ ๆ ตามความจำ�เปน็ เพอื่ ใหค้ ำ�ปรกึ ษา แนะนำ� แลกเปลย่ี น
ความรู้ และประสบการณ์ในการบังคับคดีเก่ียวกับค่าสินไหมทดแทน
และค่าเสียหายเพ่ือการลงโทษโดยการยึด อายดั และจำ�หน่ายทรัพยส์ นิ
เพ่ือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในการบังคับคดี
ใหเ้ ปน็ ไปตามคำ�พิพากษาอย่างมีประสทิ ธภิ าพและรวดเรว็ ย่ิงขนึ้ อันจะ
เปน็ ผลดตี อ่ สทิ ธขิ องผเู้ สยี หายจากการคา้ มนษุ ยท์ พ่ี ง่ึ จะไดร้ บั และภาพลกั ษณท์ ด่ี ี
ของประเทศไทยในการปอ้ งกนั และปราบปรามการค้ามนุษยต์ อ่ ไป

31

กรมบงั คับคดี กระทรวงยตุ ิธรรม

กรมบงั คับคดีรว่ มพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะ
เน่อื งใน “วนั รพ”ี

วันท่ี 7 สิงหาคม 2561 นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วย
นางสาวรตั นาวดีสมบรู ณ์รองอธบิ ดกี รมบงั คบั คดีนายพรี ะอคั รวตั รรองอธบิ ดกี รมบงั คบั คดีคณะผบู้ รหิ าร
ข้าราชการและเจ้าหน้าท่ีกรมบังคับคดี เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธ์ิ “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” เน่ืองในวันรพี
พร้อมบำ�เพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน ณ บริเวณพระอนุสาวรีย์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
หน้าอาคารสถานศึกษาและฝึกอบรมเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถนนกาญจนาภิเษก
แขวงบางระมาด เขตตลง่ิ ชนั กรงุ เทพมหานคร

กรมบังคบั คดีเข้ารว่ มโครงการเสวนาเวที ฬ.จฬุ าฯ นิตมิ ติ ิ เรอ่ื ง
“เรยี น-ก-ู้ ค�ำ้ -หน-้ี หน-ี บงั คบั : ความเปน็ ธรรมของกฎหมายกบั นโยบายกองทนุ กยศ.”

วนั ท่ี 8 สงิ หาคม 2561 นางสาวรนื่ วดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีผู้เข้าร่วมฟัง
สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เข้าร่วม การเสวนา 50 คน ณ หอ้ งประชมุ สรุ เกยี รต์ิ เสถยี รไทย ชนั้ 4 อาคารเทพทวาราวดี คณะนติ ศิ าสตร์
ในพิธีเปิดโครงการเสวนาเวที ฬ.จุฬาฯ นิติ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั
มิติ เร่ือง “เรียน-กู้-ค้ํา-หนี้-หนี-บังคับ :
ความเป็นธรรมของกฎหมายกับนโยบาย
กองทุน กยศ.” พร้อมร่วมเป็นวิทยากร
ในการเสวนา เวที ฬ.จุฬาฯ นิติมิติ เรื่อง
“เรยี น-ก-ู้ คาํ้ -หน-้ี หน-ี บงั คบั : ความเปน็ ธรรม
ของกฎหมายกบั นโยบายกองทนุ กยศ.” ซงึ่ มี
วิทยากรร่วมการเสวนา ไดแ้ ก่ นายชัยณรงค์
กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืม
เพื่อการศึกษา (กยศ.) นายสุรพล โอภาส
เสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิต
แหง่ ชาติ จำ�กดั (เครดติ บโู ร) รองศาสตราจารย์
ดร.ธนิต ธงทอง อดีตรองอธิการบดี
ด้านกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอื้ออารีย์ อ้ิงจะนิล
อาจารย์ประจำ�คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย และอาจารย์ ดร.กัญจน์ศักดิ์
เพชรานนท์ อาจารย์ประจำ�คณะนิติศาสตร์

32

กรมบังคบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

กรมบงั คับคดีร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชนิ ีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดชบรมนาถบพิตร
เนื่องในโอกาสวนั เฉลิมพระชนมพรรษา 12 สงิ หาคม 2561

วันท่ี 12 สิงหาคม 2561 ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
ปลดั กระทรวงยตุ ิธรรม พร้อมด้วยนางกรรณกิ าร์ แสงทอง รองปลัดกระทรวงยตุ ธิ รรม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านบริหารความยุติธรรมและคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม
รวมถึงกรมบังคับคดี นำ�โดยนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี
พร้อมด้วยนางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์ รองอธิบดีกรมบังคับคดี นางศศิวิมล ธนศานติ
รองอธิบดีกรมบังคับคดี นายพีระ อัครวัตร รองอธิบดีกรมบังคับคดี และนางภาวดี
ศิริเมธารักษ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี
ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาส
วันเฉลมิ พระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2561 ณ พระบรมมหาราชวัง

กรมบังคบั คดีจัดเล้ียงต้อนรับผูเ้ ข้ารว่ มการประชมุ ระหวา่ งประเทศว่าด้วยสทิ ธิของเจ้าหน้แี ละลกู หนแ้ี ละ
มาตรการเยยี วยา “การพัฒนาอย่างย่ังยืน : กลไกเจา้ พนกั งานพทิ กั ษ์ทรพั ย์เอกชน และสทิ ธหิ ลักประกนั ”

วันท่ี 14 สิงหาคม 2561 นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล
อธบิ ดกี รมบงั คบั คดีพรอ้ มดว้ ยนางสาวรตั นาวดีสมบรู ณ์รองอธบิ ดกี รมบงั คบั คดี
นางศศิวิมล ธนศานติ รองอธิบดีกรมบังคับคดี นายพีระ อัครวัตร
รองอธิบดีกรมบังคับคดี และคณะผู้บริหารกรมบังคับคดี ให้การต้อนรับ
ผู้เข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของเจ้าหนี้และลูกหนี้
และมาตรการเยียวยา “การพัฒนาอย่างย่ังยืน : กลไกเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์เอกชน และสิทธิหลักประกัน” ณ ห้องกมลพร โรงแรม
เดอะ สโุ กศล กรุงเทพมหานคร

33

กรมบังคบั คดี กระทรวงยตุ ิธรรม

หมอ่ มหลวงปนัดดา ดิศกลุ ผชู้ ว่ ยรัฐมนตรีประจ�ำ นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ
ในหัวขอ้ “น้อมน�ำ ศาสตรพ์ ระราชาและหลักธรรมาภบิ าล เพอื่ การปฏิรปู
กระบวนการยตุ ธิ รรมอย่างย่งั ยนื ”

วันท่ี 15 สิงหาคม 2561 หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง เพ่ือให้เกิดความโปร่งใส อันเป็นการป้องกัน
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม การทุจริตคอร์รัปช่ัน หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรี
ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “น้อมนำ�ศาสตร์พระราชา ประจำ�นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเน้นย้ําว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจ
และหลกั ธรรมาภบิ าล เพอื่ การปฏริ ปู กระบวนการยตุ ธิ รรมอยา่ งยงั่ ยนื ” พอเพียงน้ัน ไม่ได้หมายความว่า การงดไม่ใช้ส้ินเชิง แต่หมายถึง
ภายในงานการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของเจ้าหน้ีและ การใช้ในสิ่งท่ีมีอยู่ รู้ว่าตนมีอยู่อย่างไร และความต้องการ
ลกู หนแ้ี ละมาตรการเยยี วยา “การพฒั นาอยา่ งยง่ั ยนื : กลไกเจา้ พนกั งาน ของตนคืออะไร แค่ไหน เพียงใด แล้วจึงใช้ในสิ่งที่มีอยู่อย่างมี
พิทักษ์ทรัพย์เอกชน และสิทธิหลักประกัน” โดยกระทรวงยุติธรรม ภูมิคุ้มกัน เพ่ือความสุขอย่างย่ังยืน ดังน้ัน หากการล้มละลายเป็น
และกรมบงั คบั คดจี ดั ขนึ้ ณ หอ้ งกมลทพิ ย์ บอลรมู โรงแรม เดอะ สโุ กศล ปัญหาของคนในสังคม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ
กรงุ เทพมหานคร ซง่ึ มผี เู้ ขา้ รว่ มรบั ฟงั ประกอบดว้ ยผแู้ ทนประเทศสมาชกิ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถือเป็นหลักการ
อาเซียน ผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ นักวิชาการ ผู้บริหาร ตัวอย่างอันทรงคุณค่าในการน้อมนำ�มาแก้ไขปัญหาได้อย่างดีเย่ียม
กระทรวงยตุ ธิ รรมผบู้ รหิ ารและผแู้ ทนศาลยตุ ธิ รรมสำ�นกั งานอยั การสงู สดุ และยงั่ ยนื
สำ�นักงานศาลปกครอง กระทรวงการต่างประเทศ สมาคม
ธนาคารไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำ�นักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา จำ�นวน 400 คน หม่อมหลวงปนดั ดา ดศิ กุล
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม
กล่าวปาฐกถาพิเศษว่า กระบวนการยุติธรรมถือเป็นกลไกท่ีสำ�คัญ
ในการอำ�นวยความยุติธรรมและเป็นหลักประกันความยุติธรรมแก่
คนในสังคม ดังน้ัน การพัฒนาหรือปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมจึงเป็น
สง่ิ ทสี่ ำ�คญั และจำ�เปน็ ตอ้ งมหี ลกั การทดี่ ใี นการเปน็ แนวทางในการปฏริ ปู
โดยศาสตร์พระราชา และหลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการที่ควรค่า
ต่อการน้อมนำ�มาเป็นแนวทางในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
โดยเฉพาะในส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกันการเกิดปัญหาล้มละลาย
นอกเหนือจากมิติการบริหารจัดการคดีล้มละลายของภาครัฐ
หลกั ในการแกไ้ ขปญั หาตา่ งๆ ตามศาสตรพ์ ระราชา เขา้ ใจ เขา้ ถงึ พฒั นา
ได้แก่ 1.) การเข้าใจ เขา้ ใจปัญหา ศกึ ษาปัญหาตา่ งๆ ท่ีมีอยู่ ทเ่ี ก่ียวขอ้ ง
ประกอบกบั การศกึ ษาหาขอ้ มลู เพม่ิ เตมิ คดิ วเิ คราะห์ และสงั เคราะหข์ อ้ มลู
เหล่าน้ัน เพื่อหาวิธีการในการแก้ไขปัญหา 2.) การเข้าถึง ต้องเข้าถึง
ประชาชนและทกุ ภาคสว่ นทเ่ี กย่ี วขอ้ ง เพอ่ื จดั การปญั หานน้ั อยา่ งยง่ั ยนื
และเปน็ ธรรม แกท่ กุ ฝา่ ย และ3.) การพฒั นา ตอ้ งศกึ ษา แสวงหาเรยี นรู้
ในดา้ นอน่ื ๆ ทงั้ ดา้ นคณุ ธรรม และจรยิ ธรรม การเรยี นรใู้ นการอยรู่ ว่ มกบั
ผู้อ่ืน และการเรียนรู้ในการเป็นคนดี ถึงจะสามารถนำ�ความรู้มาใช้
ให้เกิดประโยชน์ในสังคมได้อย่างเป็นธรรม การศึกษาถือเป็นปัจจัยท่ี
สำ�คัญท่ีสุดในการนำ�ไปสู่การพัฒนาท่ียั่งยืน ซึ่งไปสู่การแก้ไขปัญหา
และลดความเหลื่อมล้ํา มีคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้น หลักปรัชญาของ
พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ถอื เปน็ แมแ่ บบหรอื ตน้ แบบ
ของคนรุ่นใหม่ในการสร้างภูมิคุ้มกัน และเอาชนะปัญหาต่างๆ ทำ�ให้
ประสบความสำ�เรจ็ ในการทำ�งาน ทัง้ น้ี หลักเศรษฐกจิ พอเพียงสามารถ
นำ�มาใช้ควบคู่กับหลักธรรมาภิบาล ในกระบวนการยุติธรรม ผ่านการ

34

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

วนั ที่ 15 สงิ หาคม 2561 เวลา 09.00 น. การประชมุ ระหว่างประเทศวา่ ดว้ ยสิทธิของเจ้าหน้ี
พลอากาศเอก ประจนิ จัน่ ตอง รองนายกรัฐมนตรี และลกู หนี้และมาตรการเยียวยา
และรฐั มนตรวี า่ การกระทรวงยตุ ธิ รรม เปน็ ประธาน
ในพธิ เี ปดิ และกลา่ วเปดิ การประชมุ ระหวา่ งประเทศ ในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และมมุ มองเก่ยี วกบั กฎหมาย กฎระเบียบ ระบบ
ว่าด้วยสิทธิของเจ้าหนี้และลูกหน้ีและมาตรการ และแนวทางปฏบิ ตั ทิ ดี่ เี ลศิ (best practices) ดา้ นการบงั คบั คดลี ม้ ละลาย และความสำ�คญั
เยยี วยา “การพฒั นาอยา่ งยง่ั ยนื : กลไกเจา้ พนกั งาน ของกฎหมายเกย่ี วกบั หลกั ประกนั ทางธรุ กจิ ตอ่ วสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ ม (SMEs)
พิทักษ์ทรัพย์เอกชน และสิทธิหลักประกัน” ของประเทศสมาชกิ อาเซยี น และประเทศคเู่ จรจา (สาธารณรฐั ประชาชนจนี ประเทศญปี่ นุ่
(International Conference on Creditors’/ และสาธารณรัฐเกาหลี) ตลอดจนเป็นการพัฒนาเครือข่าย ความสัมพันธ์ท่ีดีระหว่างกัน
Debtors’ Rights and Remedies “Sustainable ท้ังนี้เพ่ือนำ�ความรู้ และประสบการณ์มาพัฒนากฎหมายล้มละลาย และกฎหมาย
Development : Introducing Private Trustees หลักประกันทางธุรกิจต่อไป โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทน ประเทศสมาชิก
in Bankruptcy and Developing Security อาเซียน และประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญ่ีปุ่น และสาธารณรัฐ
Interests Regime”) โดยมีนางสาวร่ืนวดี เกาหลี) ผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ผู้บริหารและ
สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นผู้กล่าว ผู้แทนศาลยุติธรรม สำ�นักงานอัยการสูงสุด สำ�นักงานศาลปกครอง กระทรวงการ
รายงาน ณ ห้องกมลทิพย์ บอลรูม โรงแรม ต่างประเทศ สมาคมธนาคารไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำ�นักงาน
เดอะ สโุ กศล กรงุ เทพมหานคร การประชมุ ในครง้ั น้ี คณะกรรมการกฤษฎกี า นกั วิชาการ ประมาณ 400 คน เข้ารว่ มการประชุมในครัง้ นี้
จัดข้ึน โดยกระทรวงยุติธรรมและกรมบังคับคดี
โดยไดร้ บั ความรว่ มมอื จากองค์กรระหวา่ งประเทศ
ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา
(สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญ่ีปุ่น และ
สาธารณรฐั เกาหล)ี ระหวา่ งวันที่ 15 - 16 สิงหาคม
2561 โดยมีวัตถุประสงค์สำ�คัญ เพื่อเป็นเวที

กรมบงั คบั คดรี ่วมธนาคารพฒั นาวิสาหกจิ ขนาดกลาง
และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) หรือ ธพว.
จดั เสวนา “แนวทางช่วยเหลอื SMEs ท่ีประสบปัญหาหน้ี

วนั ที่ 16 สงิ หาคม 2561 โดยนางสาวรน่ื วดี สวุ รรณมงคล อธบิ ดี พาณิชย์การ จำ�กัด นางสาวจติ ตมิ า รัตนสิทธ์ิ รองผูอ้ ำ�นวยการฝ่าย
กรมบงั คบั คดี ไดร้ บั เกยี รติ เขา้ รว่ มเสวนา ในหวั ขอ้ “แนวทางชว่ ยเหลอื ทีป่ รกึ ษากฎหมาย ธนาคารกรุงไทย และนายสรุ ชัย กำ�พลานนท์วัฒน์
SMEs ท่ีประสบปัญหาหน้ี” เพื่อช่วยเหลือSMEs ท่ีประสบปัญหาหน้ี MR. Banker เป็นผดู้ ำ�เนินรายการ ณ หอ้ งแก้ววิเชียร ช้นั 11 อาคาร
และแนวทางช่วยเหลือในการดำ�เนินธุรกิจต่อไปการเสวนาคร้ังนี้ SME Bank Tower สถานีรถไฟฟา้ อารีย์ โดยมีผปู้ ระกอบการ SMEs
กรมบงั คบั คดไี ดร้ ว่ มกบั ธนาคารพฒั นาวสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ ม เขา้ ฟงั การเสวนา ประมาณ 100 คน นางสาวรน่ื วดี สวุ รรณมงคล อธบิ ดี
แห่งประเทศไทย (ธพว.) โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ นางสาวรื่นวดี กรมบงั คบั คดี กลา่ วว่า การฟนื้ ฟูกจิ การของลูกหนีไ้ มใ่ ชก่ ระบวนการ
สวุ รรณมงคลอธบิ ดกี รมบงั คบั คดีนายเขมชาติอภริ ชั ตานนท์ผอู้ ำ�นวยการ ล้มละลาย แต่เป็นกระบวนการท่ีช่วยเหลือธุรกิจให้ดำ�รงค์อยู่และ
ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ SMEs Development Bank นายชูพงษ์ ดำ�เนนิ การตอ่ ไปได้ โดยมมี าตรการหรอื แนวทางในการให้ ความชว่ ยเหลอื
โภคะสวสั ดิ์ รองกรรมการผจู้ ดั การใหญ่ บรษิ ทั บรหิ ารสนิ ทรพั ยก์ รงุ เทพ ผปู้ ระกอบการSMEsโดยการขอฟน้ื ฟกู จิ การSMEsตามพระราชบญั ญตั ิ
ลม้ ละลาย พ.ศ. 2559 นอกจากนไี้ ดใ้ หค้ วามสำ�คญั ในเรอ่ื งการไกลเ่ กลย่ี
ข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ที่เป็นทางเลือกหนึ่งของลูกหน้ีท่ีศาล
มีคำ�พิพากษาเพ่ือให้มีโอกาสในการเจรจากับเจ้าหนี้ ในงานดังกล่าว
ไดจ้ ัดให้มกี ารบรรยายกฎหมายฟ้ืนฟูกิจการ SMEs วิธีการจัดทำ�แผน
ฟนื้ ฟกู จิ การ โดยนายเชษฐช์ ฎลิ กาญจนอดุ มการณ์ นติ กิ รชำ�นาญการพเิ ศษ
กองฟื้นฟูกิจการ ของลูกหน้ีกรมบังคับคดี และได้จัดให้มีการ
ไกล่เกล่ียข้อพิพาทช้ันบังคับคดี รวมถึงการให้คำ�ปรึกษากฎหมาย
และการจัดทำ�แผนฟ้นื ฟูกจิ การ ซ่งึ ได้รบั ความสนใจเป็นอย่างมาก

35

กรมบังคับคดี กระทรวงยุตธิ รรม

ทเรา่ านตถอาบม ทา่ นถาม-เราตอบ ฉบับนี้
กล่มุ งานนิตกิ าร กองพฒั นาระบบการบงั คบั คดี
โดย... เนตินยั หมวดเมือง และประเมนิ ราคาทรัพย์
กองพฒั นาระบบการบงั คบั คดี น�ำ ประเดน็ จากข้อซกั ถามของเจา้ หนเี้ ก่ยี วกับ
และประเมนิ ราคาทรพั ย์ การบงั คับตามสิทธิของเจา้ หน้มี ีประกนั ตามมาตรา 95
แห่งพระราชบญั ญัติลม้ ละลาย พทุ ธศกั ราช 2483
มาเล่าสู่กันฟังเพือ่ ประโยชน์ในการปฏิบตั ิงาน
ของเจา้ หนา้ ท่ี ดังนี้

คำ�ถาม :

การท่ีเจ้าหนี้มีประกันยื่นคำ�ร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 95

แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ขอให้ดำ�เนินการบังคับคดียึดทรัพย์
หลกั ประกนั ออกขายทอดตลาดน�ำ เงนิ มาช�ำ ระหนี้ เจ้าพนกั งานพทิ กั ษท์ รพั ยจ์ ะตอ้ งด�ำ เนนิ การ
ยดึ ทรัพย์หลกั ประกนั ออกขายทอดตลาดทกุ กรณีหรือไม่

36

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ิธรรม

คำ�ตอบ :

เมอื่ ศาลมคี ำ�สง่ั พิทกั ษ์ทรัพย์ของลกู หนแี้ ล้ว ลกู หน้ยี ่อมไมม่ ีอำ�นาจกระทำ�การอนั เกย่ี วกับทรัพย์สนิ ของตนเองอกี ตอ่ ไป
โดยทอี่ ำ�นาจในการรวบรวมและจดั การทรพั ยส์ นิ ดงั กลา่ วยอ่ มตกแกเ่ จา้ พนกั งานพทิ กั ษท์ รพั ยแ์ ตผ่ เู้ ดยี วทนั ทโี ดยผลของกฎหมาย
สว่ นเจา้ หนจ้ี ะขอรบั ชำ�ระหนไ้ี ดก้ แ็ ตโ่ ดยปฏบิ ตั ติ ามวธิ กี ารทกี่ ลา่ วไวใ้ นพระราชบญั ญตั นิ ้ี แมจ้ ะเปน็ เจา้ หนต้ี ามคำ�พพิ ากษา หรอื
เป็นเจ้าหน้ีท่ีได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม กล่าวคือ เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำ�ระหนี้ในคดีล้มละลาย
จะเปน็ เจา้ หนผี้ เู้ ปน็ โจทกห์ รอื ไมก่ ต็ าม ตอ้ งยนื่ คำ�ขอตอ่ เจา้ พนกั งานพทิ กั ษท์ รพั ยภ์ ายในกำ�หนดเวลาสองเดอื นนบั แตว่ นั โฆษณา
คำ�ส่ังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำ�หนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน
สองเดอื น แตใ่ นคดลี ม้ ละลายไดใ้ หส้ ทิ ธพิ เิ ศษแกเ่ จา้ หนมี้ ปี ระกนั วา่ จะไมข่ อรบั ชำ�ระหนกี้ ไ็ ด้ พระราชบญั ญตั ลิ ม้ ละลาย พทุ ธศกั ราช
2483 จึงบัญญัติให้เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์
โดยไม่ต้องขอรับชำ�ระหนี้ แตต่ ้องยอมใหเ้ จ้าพนักงาน พทิ ักษ์ทรัพย์ตรวจดทู รัพยส์ ินนนั้ 1 คำ�สัง่ พทิ ักษท์ รพั ยจ์ ึงไม่กระทบถงึ
สิทธิของเจ้าหน้ีมีประกันในการที่จะบังคับคดีกับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แต่การที่เจ้าหน้ีมีประกันไม่ขอรับชำ�ระหน้ีก็คง
มีสิทธิเฉพาะเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเท่านั้น เจ้าหนี้มีประกันจึงต้องประเมินราคาทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อนว่า
ค้มุ กบั ภาระหนี้หรอื ไม่
การรวบรวมทรพั ยส์ นิ อันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายนัน้ ทรัพย์สินอนั อาจแบง่ ได้ในคดลี ม้ ละลาย หมายถงึ ทรัพย์สิน
ทั้งหลายทลี่ กู หนี้มีอย่ใู นเวลาเรมิ่ ตน้ แห่งการล้มละลาย รวมทั้งสทิ ธเิ รยี กร้องของลกู หนีใ้ นคดีล้มละลาย ทรพั ยส์ นิ ทลี่ ูกหนไ้ี ดม้ า
ภายหลังเวลาเร่ิมตน้ แหง่ การล้มละลาย จนถงึ เวลาปลดจากล้มละลาย และสิง่ ของของบคุ คลอ่ืนทอ่ี ยู่ในครอบครอง หรืออำ�นาจ
สั่งการ หรือสั่งจำ�หน่ายของลูกหนี้ในทางการค้า หรือธุรกิจของลูกหน้ีด้วยความยินยอมของเจ้าของอันแท้จริงโดยพฤติการณ์
ทำ�ใหเ้ หน็ วา่ ลูกหนีเ้ ปน็ เจา้ ของในขณะทมี่ กี ารขอให้ล้มละลาย 2

37

กรมบังคบั คดี กระทรวงยุตธิ รรม

เม่ือเจ้าหน้ีมีประกันซึ่งมีสิทธิเหนือหลักประกันโดยไม่จำ�ต้องขอรับชำ�ระหน้ีในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 95 เลือกใช้สิทธิยื่นคำ�ร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำ�เนินการยึดทรัพย์
หลักประกันออกขายทอดตลาดนำ�เงินมาชำ�ระหน้ีแก่เจ้าหน้ีมีประกันแทนการใช้สิทธิบังคับคดีในคดีแพ่ง โดยมาตรา 95
กำ�หนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเท่านั้น มิได้บังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ต้องดำ�เนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกันให้แก่เจ้าหน้ีมีประกันเสมอไป ถ้าปรากฏว่าทรัพย์สิน
อันเป็นหลักประกันมีราคาสูงกว่าจำ�นวนหน้ี ราคาส่วนท่ีเหลือเกินจำ�นวนหนี้ย่อมเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่ง
แก่เจ้าหน้ีได้ ซึ่งเป็นอำ�นาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะรวบรวมจัดการตามมาตรา 22 และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
มอี ำ�นาจขายตามวธิ ีท่ีสะดวกและเปน็ ผลดีที่สดุ ตามมาตรา 123 กรณเี ช่นน้ีเจา้ พนกั งานพทิ กั ษท์ รพั ย์จงึ มหี นา้ ทีต่ อ้ งรบั คำ�ร้อง
ดำ�เนนิ การสอบสวนสิทธขิ องเจ้าหนมี้ ีประกัน และยึดทรัพยอ์ ันเปน็ หลักประกันออกขายทอดตลาดตอ่ ไป แต่ถา้ หากปรากฏว่า
ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันมีราคาต่ํากว่าจำ�นวนหน้ี หรือภาระหน้ี ซึ่งถือว่า การดำ�เนินการบังคับเอากับทรัพย์สินดังกล่าว
จะไม่เป็นประโยชน์ต่อกองทรัพย์สินของลูกหน้ีในคดีล้มละลายเช่นน้ี แต่เน่ืองจากทรัพย์อันเป็นหลักประกันดังกล่าวเป็น
ทรัพย์สินของลูกหน้ีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำ�นาจดำ�เนินการยึดทรัพย์ กล่าวคือ ทรัพย์สินท้ังหลายอันลูกหน้ีมีอยู่
ในเวลาเร่ิมต้นแหง่ การลม้ ละลายตามที่บัญญตั ิไวใ้ นมาตรา 109(1) จงึ ชอบที่เจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรพั ยจ์ ะนำ�เสนอตอ่ ทป่ี ระชุม
เจา้ หนเี้ พ่ือใหม้ ีมติเหน็ ชอบให้เจา้ พนกั งานพทิ กั ษ์ทรัพยส์ ละสทิ ธิในทรพั ยห์ ลกั ประกนั ดังกลา่ วต่อไป 3



มาตรา 95  เจา้ หนม้ี ปี ระกนั ยอ่ มมสี ทิ ธเิ หนอื ทรพั ยส์ นิ อนั เปน็ หลกั ประกนั ซง่ึ ลกู หนไี้ ดใ้ หไ้ วก้ อ่ นถกู พทิ กั ษท์ รพั ยโ์ ดยไมต่ อ้ งขอรบั ชำ�ระหน้ี แตต่ อ้ งยอมใหเ้ จา้ พนกั งาน
พทิ กั ษ์ทรัพย์ตรวจดูทรพั ย์สนิ นัน้

มาตรา 109  ทรพั ยส์ ินดังตอ่ ไปน้ี ใหถ้ ือวา่ เปน็ ทรพั ยส์ ินในคดีล้มละลายอนั อาจแบ่งแก่เจ้าหนีไ้ ด้
(1) ทรัพยส์ ินทง้ั หลายอันลกู หน้มี อี ยใู่ นเวลาเริ่มตน้ แห่งการลม้ ละลาย รวมท้งั สิทธิเรียกร้องเหนอื ทรพั ยส์ นิ ของบคุ คลอื่น เวน้ แต่
ก. เครอ่ื งใช้สอยส่วนตัวอันจำ�เป็นแกก่ ารดำ�รงชพี ซง่ึ ลูกหน้รี วมท้ังคสู่ มรสและบตุ รผเู้ ยาวข์ องลกู หน้ี จำ�เป็นต้องใช้ตามสมควรแก่ฐานานรุ ปู และ
ข. สัตว์ พชื พันธ์ุ เครอื่ งมือและสิ่งของส�ำ หรับใช้ในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ราคารวมกนั ไมเ่ กินหนึง่ แสนบาท
(2) ทรพั ยส์ ินซึง่ ลกู หนี้ไดม้ าภายหลังเวลาเริม่ ต้นแหง่ การลม้ ละลายจนถงึ เวลาปลดจากล้มละลาย
(3) ส่งิ ของซึง่ อยใู่ นครอบครอง หรอื อ�ำ นาจสั่งการ หรือสัง่ จ�ำ หนา่ ยของลกู หนี้ ในทางการค้า หรอื ธรุ กจิ ของลูกหนี้ ด้วยความยนิ ยอมของเจ้าของอันแท้จริง โดย
พฤติการณ์ซึง่ ท�ำ ให้เห็นวา่ ลกู หนีเ้ ปน็ เจา้ ของในขณะทีม่ ีการขอให้ลูกหนี้น้นั ลม้ ละลาย

38

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ิธรรม

กพรละซายิบ

โดย...พลายบานเย็น

กลบั มาพบกันอีกเช่นเคยกับ
“พลายกระซิบ” ทนี่ ำ�เรือ่ งราวดีๆ
ของพ่นี ้องชาวบานเย็นมาแชร์ใหอ้ มยมิ้
กบั กิจกรรมดีๆ ที่กรมบงั คับคดี ไดจ้ ัดข้นึ ในช่วงเดอื นกรกฏาคม - สิงหาคม 2561
นบั วา่ เป็นชว่ งเดอื นแหง่ กจิ กรรมดๆี เดือนมหาสนุก
ของใครหลายๆ คนทีเดียวเลยคะ

เริ่มต้นกันด้วยกิจกรรมดีๆ ของ “พลายบานเย็น”กับกิจกรรมดีๆ ของกรมบังคับคดีและศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ชั้นบังคับคดี ออกบูธกับกระทรวงยุติธรรม เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561 เพื่อเผยแพร่ภารกิจกรมบังคับคดี รวมถึงให้คำ�ปรึกษากฎหมาย
แก่ประชาชน ซึ่งมีนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนายชิตชัย สุทธิภูล เลขานุการกรม
และเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี เข้าร่วมงานดังกล่าว ในครั้งนี้มีประชาชนให้ความสนใจมาขอคำ�แนะนำ�กฎหมายเป็นประเด็น
เรื่องคํ้าประกัน จัดการมรดก การร่างสัญญา คดีล้มละลาย เรื่องการปลดจากล้มละลาย การบังคับหนี้เงินกู้ จำ�นวน 14 ราย
ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

39

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

มาตอ่ กนั ดว้ ยกจิ กรรมกรมบงั คบั คดี เขา้ รว่ มใน
โครงการจิตอาสา “เราทำ�ความ ดี ด้วยหัวใจ” ร่วมกับ
สำ�นักงานเขตบางกอกน้อย เพื่อเทิดพระเกียรติ
สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั มหาวชริ าลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกรู
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 66 พรรษา 28
กรกฎาคม 2561 ด้วยการขุดลอกคู คลอง กำ�จัดวัชพืช
ริมตลิ่ง ตัดแต่งกิ่งไม้ เก็บขยะตกค้าง ทำ�ความสะอาด
ทางเดินริมคลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายนํ้า
ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย โดยมีนายจักกพันธุ์ ผิวงาม
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิด
ณ นันทอุทยานสโมสร ถนนอิสรภาพ กรุงเทพมหานคร
กรมบังคับคดี โดยนายชิตชัย สุทธิภูล เลขานุการกรม
และเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี เข้าร่วมในพิธีเปิดและ
ร่วมทำ�ความสะอาดคลองบ้านขมิ้น จากถนนวังหลัง
ถึงคลองมอญ ตลอดจนได้นำ�ข้าวลาบหมู กับ
ไข่เจียว จำ�นวน 50 กล่อง และนํ้าดื่ม ไปมอบ
ให้กับพี่น้องจิตอาสาที่เข้าร่วมงานในพื้นที่
ดังกล่าว

40

กรมบังคบั คดี กระทรวงยตุ ิธรรม

ผ่านมาแล้วกับกิจกรรมสำ�หรับเรื่องราวดีๆ
ที่ทำ�ให้คุณเป็นสุขใจ กำ�ลังใจที่สำ�คัญพิธีมหามงคลบำ�เพ็ญ
พระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร และเจรญิ พระพทุ ธมนต์
ถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชนิ นี าถ ในรชั กาลที่ 9 และสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ วั
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2561
โดยมพี ลอากาศเอก ประจนิ จัน่ ตอง รองนายกรฐั มนตรแี ละ
รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงยตุ ธิ รรม นายเพิม่ พนู พึง่ ประสทิ ธิ์
ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร
กระทรวงยุติธรรม และนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ พระลาน
พระราชวังดุสิต

41

กรมบงั คับคดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

รอบรู้ โดย...ณัฐวุฒิ แป้นน้อย
นกั วิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ด้านไอที

การใช้งาน

แฟลชไดร์ฟท่ถี ูกตอ้ ง

แฟลชไดร์ฟ ยังคงเป็นหนึ่งในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ฝากกัน ถึงแฟลชไดร์ฟจะเป็นอุปกรณ์ชิ้นเล็ก แต่ก็มี
ที่คนทั่วไปนิยมใช้ในการถ่ายโอนข้อมูล เนื่องจาก ความทนทานสูง นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกข้อมูลซํ้าๆ
แฟลชไดร์ฟมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก นํ้าหนักเบา แต่ให้ ได้หลายครั้ง เรียกได้ว่าใช้บันทึกงานได้จนกว่าจะพังกันเลย
ความจุสูง สามารถจุงานเอกสารหรือไฟล์รูปภาพได้ ทีเดียว แต่ด้วยความที่ใช้ง่ายและสะดวกทำ�ให้เราอาจจะ
อย่างเพียงพอต่อและยังสามารถเลือกใช้แฟลชไดร์ฟตาม เผลอใช้แฟลชไดร์ฟแบบผิดๆ จนเกิดความเสียหายต่อตัว
หน่วยความจำ�ที่ต้องการได้ ทำ�ให้อุปกรณ์ชิ้นนี้กลายมา อุปกรณ์หรือที่ร้ายกว่านั้นคือข้อมูลภายในเกิดความสูญหาย
เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่หลายๆ คนต้องมีติดตัวไว้เสมอ ได้ ดังนั้นจึงต้องทำ�ความเข้าใจวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง
และในวันนี้เรามีวิธีการใช้งานแฟลชไดร์ฟที่ถูกต้องมา ของแฟลชไดร์ฟเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันต่างๆ

42

กรมบงั คับคดี กระทรวงยุติธรรม

การใช้งานนั้นสำ�หรับการเชื่อมต่อ
ต้องเสียบเข้าที่พอร์ท USB เท่านั้น
การเสียบแฟลชไดร์ฟกับพอร์ทที่ไม่ได้รับ
การออกแบบมาโดยตรงอาจทำ�ให้แผงวงจร
ของอุปกรณ์เสียหายจนไม่สามารถใช้งาน
ได้อีก จากนั้นขั้นตอนต่อไปคือต้องทำ�การ
แสกนไวรัสในแฟลชไดร์ฟก่อนทุกครั้ง เพราะ
แฟลชไดร์ฟของเราอาจไปติดไวรัสมาจาก
คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้โดยที่ไม่รู้ตัว หากเผลอลืม
แสกนไวรัสอาจส่งผลให้ข้อมูลต่างๆ ในคอมของเรา
เสียหายได้ และสุดท้ายอย่าลืมการถอดแฟลชไดร์ฟ
ออกจากพอร์ตให้ถูกวิธีด้วยการคลิกขวาที่ไอคอนรูป
แฟลชไดร์ฟตรงบริเวณมุมล่างของหน้าจอคอม จากนั้น
เลือกเมนู Safety Remove Hardware เพื่อทำ�การ
ยกเลิกการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จากนั้นให้เลือก
คำ�สั่ง Safety Remove USB Mass Storage Device
และรอสักครู่ เมื่อสัญลักษณ์รูปแฟลชไดร์ฟหายไป
จึงค่อยทำ�การดึงออกตามปกติ ทั้งนี้ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้
ไม่ได้ยุ่งยากเลยค่ะ โดยเฉพาะการแสกนไวรัสและ
การถอดอุปกรณ์ออกให้ถูกวิธี หากเราทำ�จนชินก็จะคล่อง

43

กรมบังคับคดี กระทรวงยุตธิ รรม

และยังเป็นการยืดอายุการใช้งานรวมถึงป้องกันข้อมูล การใช้งานแฟลชไดร์ฟที่ถูกวิธีเป็นเรื่องสำ�คัญที่เรา
สำ�คัญของเราเสียหายอีกด้วย ควรศึกษาให้เข้าใจ เพราะเป็นการป้องกันง่ายๆ ที่จะช่วย
การใช้งานที่สำ�คัญอีกอย่างที่พบมากคือ การเสียบ ไม่ให้ข้อมูลของเราสูญหายไป และควรปฏิบัติตามขั้นตอน
ใช้งานคาไว้กับเครื่องตลอดเวลา ซึ่งเป็นสาเหตุลำ�ดับ ดังกล่าวเสมอในการใช้งาน รับรองว่านอกจากจะช่วย
ต้นๆ ที่จะทำ�ให้ตัวแฟลชไดร์ฟเองเสียหายก่อนเวลา ยืดอายุการใช้งานของแฟลชไดร์ฟแล้ว ยังช่วยป้องกันไวรัส
อันควร เพราะการเสียบคาเครื่องไว้ตลอดเวลา เครื่อง คอมพิวเตอร์ และยังช่วยปกป้องข้อมูลสำ�คัญต่างๆ ของคุณ
คอมพิวเตอร์จะมีการอ่าน-เขียนกับแฟลชไดร์ฟตลอด ไม่ให้มีความเสี่ยงในการโดนไวรัสหรือสูญหายจากการพัง
เวลา อายุการใช้งานของแฟลชไดร์ฟจะนับเป็นจำ�นวน เสียหายของแฟลชไดร์ฟอีกด้วย
ครั้งในการอ่าน-เขียน ซึ่งมีค่าที่แน่นอนตายตัว ถึงแม้จะ
ระบุว่าเป็นล้านครั้ง แต่การเสียบแฟลชไดร์ฟเพียงครั้งเดียว
จำ�นวนครั้งในการอ่าน-เขียนก็ใช้ไปเป็นหลักร้อยครั้งแล้ว
วิธีการที่ถูกต้องคือหากใช้งานแฟลชไดร์ฟเรียบร้อยแล้วให้
ทำ�การ Safety Remove Hardware โดยทันทีเพื่อเป็น
การยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น

44

กรมบังคับคดี กระทรวงยตุ ิธรรม

นานานา่ รู้

โดย...pr team

การออกกำ�ลงั กาย มปี ระโยชน์
สแาตมอ่ารอถกทก�ำ�ำ ใลหงั ร้ ก่าางยกอายยา่แงขไ็งรแใหร้ไงดป้ ปรระโายศชจนากอ์ โยร่าคงภแัยท้จรงิ
และไมอ่ นั ตรายตอ่ ร่างกายเรา

1. วิธีออกกำ�ลังกายท่ีดีท่ีสดุ คือการใช้กล้ามเน้ือมัดใหญ่
อย่างน้อย 1 ใน 6 ส่วนของร่างกายอย่างต่อเน่ืองสมํ่าเสมอ
โดยใช้หลัก F.I.T F-Frequency 1 สัปดาห์ ออกกำ�ลังกาย
อยา่ งตอ่ เน่อื ง 3 วัน อยา่ งมาก 6 วัน I-Intensity ความหนกั
ในการออกกำ�ลังกาย ใช้อัตราการเต้นของชีพจรเป็นเกณฑ์
ให้ได้ประมาณระหว่างร้อยละ 70-90 ของอัตราการเต้นสูงสุด
ของหวั ใจ ซึง่ สามารถคำ�นวณได้จากการนำ�อายไุ ป ลบออกจาก
เลข 220 คูณ 70 ถงึ 90 หาร 100 ตัวอย่างเชน่ : อายุ 20 ปี
จะใช้ความหนักในการออกกำ�ลังกาย (220-20) x 70 ถึง 90
หาร 100 เท่ากับ 140 ถึง 180 ครั้งต่อนาที และ T-Time
ชว่ งเวลาในการออกกำ�ลงั กายแต่ละวนั อย่างนอ้ ย 10-15 นาที
ใน 6 วนั อยา่ งมาก 30-45 นาที ใน 3 วนั

45

กรมบังคบั คดี กระทรวงยตุ ิธรรม

2. ด่ืมนมช็อกโกแลตคลายเมื่อยล้า ผลวิจัยจาก อยู่ประจำ� ปกติจะรู้สึกไม่หิวหลังออกกำ�ลังเสร็จใหม่ๆ
มหาวิทยาลัยนอร์ตัมเบรีย อังกฤษ (UK) ศึกษาพบว่า และ จะยังคงเป็นอยู่ จนถึงเวลากินมื้อหน้า และน่ีนับ
นมช็อกโกแลตช่วยให้ปั่นจักรยานได้นานกว่าเครื่องดื่ม เป็นการค้นพบ รูปแบบชีวิตท่ีมั่นคงและถูกสุขลักษณะที่
บำ�รุงกำ�ลังหลังเล่นกีฬา 51% และนานกว่าเครื่องดื่ม กำ�ลังเกรยี วกราวในวงการสขุ ภาพ
เกลือแร่ 43% การศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาอื่นๆ 4. อย่าออกกำ�ลังกายทันทีท่ีตื่นนอน เวลาที่
คือ นมไขมันตํ่าช่วยให้ร่างกายฟ้ืนตัวหลังออกแรง-ออก เราเพ่ิงต่ืน ร่างกายจะยังปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อม
กำ�ลังได้ดีกว่าเคร่ืองด่ืม ชนิดอ่ืน เพราะอาหารที่มีโปรตีน ได้ไมเ่ ต็มท่ี ถา้ ออกกำ�ลงั กายอาจจะบาดเจ็บ
ช่วยให้กล้ามเน้ือฟ้ืนตัวหลังออกกำ�ลัง น้ําตาลนม หรือ 5. ไม่ออกกำ�ลังตอนเช้ามืด ผู้เชี่ยวชาญศึกษา
แล็กเทส (Lactate) ในนมช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว พบว่า ก่อนดวงอาทิตย์จะขึ้น ต้นไม้จะยังคงขับก๊าซ
ทำ�ใหร้ ะดบั ของเสยี (Lactate) ในกลา้ มเนอ้ื ลดลง จึงคลาย คารบ์ อนไดออกไซด์ออกมา
อาการปวดเมอื่ ย 6. ด่ืมนํ้า 1 แก้วก่อนออกกำ�ลังกาย 6-8 ชั่วโมง
3. อิ่มแล้วออกกำ�ลัง ช่วยให้ผอม คณะนัก ที่เราหลับ ความเข้มของเลือดจะเพ่ิมข้ึนและผิวหนัง
วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ และอิมพีเรียล กค็ ายนา้ํ ออกมาตลอดเวลา จงึ ควรดม่ื นาํ้ อยา่ งนอ้ ยหนง่ึ แกว้
คอลเลจ ลอนดอน รว่ มกันรายงานผลการศึกษา ในวารสาร กอ่ นออกกำ�ลงั เพอ่ื ป้องกันอาการหน้ามดื
วิชาการแพทย์ “ต่อมไร้ท่อวิทยา” ว่าการออกกำ�ลังทันที
หลังจากกินจนอ่ิมช่วยให้อดอาหารได้นานข้ึน และผอมลง
เพราะร่างกายจะขับฮอร์โมนสะกดความหิวในขณะ
ถูกใช้งาน ตัวอย่างท่ีเห็นได้ชัดก็คือ ผู้ที่ออกกำ�ลังกาย

46

กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

7. ไม่ออกกำ�ลังตอนหมอกลง หมอกมักเกิด
พร้อมความดันอากาศตํ่า ทำ�ให้มีมลพิษในอากาศ
มากกว่าปกติ คนท่อี ย่ทู ่ามกลางหมอกถงึ มักจะหายใจได้
ไม่สะดวก และเป็นโรคปอดได้ง่าย ถ้าออกกำ�ลังกลาง
หมอก
8. อย่าอาบน้ําทันทีขณะออกกำ�ลัง รูขุมขน
จะเปดิ เพ่อื ขบั เหง่อื ถ้าถูกนํ้าราดลงมา เสน้ เลือดก็จะหด
ตวั ลงทนั ที ทำ�ใหภ้ มู คิ มุ้ กนั ลดลง ทำ�ใหเ้ ปน็ หวดั กนั ไดง้ า่ ยๆ
ระบบ การหายใจตดิ ขัดจนอาจช็อกได้
9. ไมด่ ืม่ นาํ้ เยน็ จดั หลงั ออกกำ�ลังกาย การนาํ้ เย็น
จัดๆ ด่ืมหลังจากจ๊อกกิ้งมาหมาดๆ จะทำ�ให้กระเพาะ
หดตัวเฉียบพลัน และอาจจะปวดทอ้ งหรอื ท้องเสียได้
10. ไม่กินอาหารทันทีหลังออกกำ�ลัง ขณะออก
กำ�ลัง เลือดลมจะสูบฉีดไหลเวียนไปท่ัวตัว ทำ�ให้กระ
เพาะและน้ําย่อยมีประสิทธิภาพต่ํา การกินอาหารทันที
หลงั ออกแรง อาหารจะถกู ย่อยช้า จนเกดิ อาการท้องอดื
ท้องเฟอ้

47

กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ิธรรม

11. ตรวจก่อนอนุ่ ใจกว่า ถา้ มีอายมุ ากกวา่ 35 ปี
ควรตรวจสุขภาพว่ามีโรคหัวใจหรือไม่ก่อนการออก
กำ�ลงั กาย
12. ไม่สบายไม่ฝืน ควรงดการออกกำ�ลังกาย
ในขณะเจ็บปว่ ย มไี ข้ พกั ผอ่ นไม่พอ
13. ออกกำ�ลังในอุณหภูมิปกติ ควรหลีกเล่ียง
สภาพอากาศท่รี ้อนจดั หนาวจัด ฝนฟา้ คะนอง มลภาวะ
มาก และสวมเสือ้ ผ้าทเ่ี หมาะสม
14. หยุดเมื่อมีสัญญาณเตือน ควรพักหากมี
อาการแนน่ หนา้ อก คลืน่ ไส้ อาเจียน และไปพบแพทย์

แหลง่ ขอ้ มลู : https://men.mthai.com/health-firm/34913.html

48

กรมบงั คับคดี กระทรวงยุตธิ รรม


Click to View FlipBook Version