วัฒนธรรม
4 ภาคของไทย
วัฒนธรรมภาคกลาง
Cultural Central
ภาคกลางเป็นภาคที่มีประชาการสูงสุด โดยรวมพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของ
จังหวัดมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายซึ่งกัน
และกัน วัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคกลาง ประชาชนประกอบอาชีพทำ
นา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบ
ชาวนาไทย คือ การรักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อ และเคารพ
บุคคลสำคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตามชุมชนและ
หมู่บ้านในชนบท การละเล่นพื้นบ้านที่เป็นลักษณะเด่น ได้แก่ มังคละรำ
เต้น เต้นกำรำเคียว เพลงปรบไก่ เพลงลำตัด เป็นต้น
นอกจากนี้ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ
มีความสามารถในการปลูกสร้างเรือนไทย ความเป็นช่วงฝีมือที่ประณีต
ในการตกแต่งวัด และช่าง ประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างแกะสลัก
ลายไทย ลวดลายปูนปั้นประดับพระสถูปเจดีย์ชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่น
ภาคกลาง มีหลายเผ่าพันธุ์ อาทิ ลาวโข่ง กระเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัด
เพชรบุรี ลาวพวน ในอำเภอบ้านหมี จังหวัดลพบุรี คนลาว ในเขต
จังหวัดเพชรบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มอญ ในอำเภอ
พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
วัฒนธรรมภาคอีสาน
Isan culture
ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและ
ประเพณี แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรม
เหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนิน
ชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาค
อีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีส่วนหนึ่งอาจจะเป็น
ผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการ
ติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลก
เปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น
เพลงพื้นบ้าน
เพลงพื้นบ้านของภาคอีสานนั้น จะมีท่วงทำนองแตกต่างกันตาม
แต่ละพื้นที่ มักสอดแทรกแง่คิด เกี่ยวกับวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของ
คนในพื้นที่ไว้อย่างชัดเจน
อาหารประจำภาค
อาหารอีสานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ ส้มตำ ลาบ
ก้อย ข้าวเหนียวไก่ย่าง ปลาร้าหลน ข้าวจี่ ผัดหมี่โคราช แกงอ่อม แกงผัก
หวานไข่มดแดง เป็นต้น
วัฒนธรรมภาคเหนือ
Heritage North
ภาคเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขา สลับกับที่ราบ ผู้คนจะกระจายตัว
อยู่เป็นกลุ่ม มีวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง แต่ก็มีการ
ติดต่อระหว่างกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือหรือ อาจเรียกว่า "กลุ่ม
วัฒนธรรมล้านนา" ซึ่งเป็น วัฒนธรรมเก่าแก่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ทั้ง สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ หรือการจัด งานฉลองสถานที่
สำคัญที่มีแต่โบราณ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ วัดเจดีย์หลวง เป็นต้น
วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ
ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี โดยเชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผี
ให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต
ประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ
ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ เมื่อไปวัดฟังธรรมก็จะ
ประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย
วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นเมือง
ประเพณีของภาคเหนือ มีลักษณะเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถี
การดำรงชีวิตที่เกิดจากการผสมผสาน ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อ
วัฒนธรรมไทยภาคใต้
Southern Thai tradition
ภูมิประเทศของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีชายฝั่งประกบ
เทือกเขาสูงที่อยู่ตรงกลาง ที่ราบจะมีอยู่เป็นแนวแคบๆ แถบชายฝั่งทะเล
และสองฝั่งลำน้ำ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวัน
ออกและตะวันตก จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มี
ทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มี
เชื้อสายมาเลย์ รวมทั้งชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กันวัฒนธรรม ภาค
ใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
ดังนั้นภาคใต้จึง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่
งดงาม มีชายฝั้งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์
วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม
ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็น
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาว
ใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ
วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดด เด่นเป็นเอกลักษณ์ อาหารพื้น
บ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อาหารไทยพื้นบ้านกับ
อาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู