The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Princess Aseeyah, 2022-08-06 08:24:17

๖๓๒๐๒๑๐๓๙๔ E-book วิธีการนำภาษาสันสกฤตในรูปแบบวรรณกรรมมาใช้ในภาษาไทย

๖๓๒๐๒๑๐๓๙๔ E-book อาซียะ สาเมาะ

วิธีการนำภาษาสันสกฤตในรูปแบบวรรณกรรมมาใช้ในภาษาไทย




INTRODUCE MYSELF

นางสาวอาซียะ สาเมาะ
รหัสนักศึกษา ๖๓๒๐๒๑๐๓๙๔
คณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์

สาขาภาษาเเละวรรณคดีไทย

facebook : Princess Aseeyah

วิธีการนำภาษาสันสกฤตในรูปแบบวรรณกรรมมาใช้ในภาษาไทย




บทนำ
ปัจจุบันคนเขียนวรรณกรรมทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรองต่างได้นำภาษาสันสฤตไปใช้

อย่างแพร่หลาย ซึ่งคําภาษาสันสกฤตที่นํามาใช้ในภาษาไทยนั้น ปกติจะเป็นคํานามหรือคําที่มี
สถานะเป็นคํานาม ซึ่งจะไม่ใช่คำกริยา โดยคํานามดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนรูปคำ และเสียงโดย
ใช้วิธีตัดรูปวิภัตติ์ (วิภักติในสันสกฤต) ออก โดยจะใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตบนพยัญชนะ มีการ
ลดพยัญชนะออกไป เพิ่มเสียงพยัญชนะ เปลี่ยนเสียงสระ และแปลงพยัญชนะ สุดแต่ว่าการ
เปลี่ยนแปลงพยัญชนะต่างๆนั้นจะให้ประโยชน์ในด้านการประพันธ์วรรณกรรมประเภทร้อยแก้ว
และร้อยกรอง ซึ่งจะมีกฎบังคับเรื่องเสียงสั้น และเสียงยาว เรื่องสัมผัสเสียง และเรื่องจํานวนพ
ยางค์ เพื่อต้องการความไพเราะ ความชัดเจนของบทความ มีกลวิธีในการสร้างภาษาที่เข้าใจ
ง่าย และทำให้ภาษามีความหมายลึกซึ้งสร้างความประทับใจต่อผู้อ่าน

วิธีนำคําสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย
ในรูปแบบของวรรณกรรมแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ

๑. การเปลี่ยนเสียงสระ

๒. การเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ

การเปลี่ยนเสียงสระ

สระในภาษาสันสกฤตจะคงเสียงเดิมไว้ แต่เมื่อนํามาใช้ในภาษาไทยส่วนมากจะมีการเปลี่ยนเสียง
อื่นจากเสียงเดิม เพื่อความถูกต้องตามหลักการประพันธ์ โดยประเภทร้อยกรอง เพื่อให้การออกเสียง
ง่าย และเพื่อสัมผัสเสียง ซึ่งพอจะสรุปวิธีการนํามาใช้ดังต่อไปนี้

๑. สระอะ ที่ไม่มีพยัญชนะซ้อนในภาษาสันสกฤตออกเสียงสระ โอะ ลดรูปในภาษาไทย เช่น
คําสันสกฤต “วจน” ออกเสียงว่า วะจะนะ ภาษาไทยใช้คําว่า พจน์ (แปลง ว เป็น พ)

ตัวอย่างศัพท์จากวรรณกรรม

ภาษาบาลีสันสกฤตใช้คำว่า ภาษาไทยใช้คำว่า
(วิจารณ์) พิจารณ์
(จักรวรรดิ) จักรพรรดิ
(วิวกฺษา) พิพากษา
(มหาเทวี) มหาเทพี
พหุวจน พหุพจน์

๒. ในกรณีข้อ ๑ บางครั้งคนไทย (ในภาษาไทย) ใช้พยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นตัวสะกด
โดยออกเสียงพยัญชนะตัวแรกเป็นเสียงสระอะ เช่น “กมล” ออกเสียงในภาษาบาลีสันสกฤตว่า
(กะมะละ) ในภาษาไทยออกเสียงว่า “กะมล” (กะมน)

ตัวอย่างศัพท์จากวรรณกรรม

ภาษาไทยออกเสียงว่า ภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงว่า
มนุษย์ (มะนุดสะยะ)
ชนก (ชะนะกะ)
สมุทร (สะหฺมุดทฺระ)
นคร (นะคะระ)

๓. สระเสียงสั้นในภาษาสันสกฤต ใช้เป็นเสียงยาวในภาษาไทย เช่น
ภาษาสันสกฤตออกเสียงว่า “ครุ” ภาษาไทยออกเสียงว่า “ครู”

ตัวอย่างศัพท์จากวรรณกรรม

ในภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงว่า ในภาษาไทยออกเสียงว่า
(ศตฺรุ) ศัตรู
(ฤษิ) ฤาษี

(คฤหัสถ์) คฤหาสถ์
(ปิศาจ) ปีศาจ
(บุษปะ) บุษบา

๔. สระเสียงยาวในภาษาสันสกฤต เมื่อนํามาใช้ในภาษาไทยจะเปลี่ยนเป็นเสียงสั้น เช่น
ในภาษาบาลีสันสกฤต “วีณา” ในภาษาไทยใช้คำว่า พิณ (อ่านว่า พิน) และคําที่มีตัวสะกดก็ทําให้เป็น
เสียงสั้นได้ในภาษาไทย เช่น “อาศ จรุย” ในภาษาบาลีสันสกฤต ในภาษาไทยใช้คำว่า “อัศจรรย์”

ตัวอย่างศัพท์จากวรรณกรรม

ภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงว่า ภาษาไทยออกเสียงว่า
(นีล) นิล

(วิปรีต) วิปริต
(ทัศนา) ทัศนะ
(ศิลปี) ศิลปิน
(นาสิกา) นาสิก

๕. เสียงสระ อะ ในภาษาสันสกฤต เปลี่ยนเป็นเสียง ออ เมื่อนํามาใช้ในภาษาไทย เช่น
ในภาษาบาลีสันสกฤตใช้คำว่า “คฺรห” ในภาษาไทยใช้ว่า “เคราะห์”



๖. สระ อิ, อี ในภาษาสันสกฤต เมื่อนํามาใช้ในภาษาไทยเปลี่ยนเป็นเสียง สระ อี, อือ ตามลําดับ เช่น
ในภาษาบาลีสันสกฤตใช้คำว่า “ลึงค์” ในภาษาไทยใช้ว่า “ศึกษา”

ตัวอย่างศัพท์จากวรรณกรรม

ภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงว่า ภาษาไทยออกเสียงว่า
(มหิมา) มหึมา
(ลิงค์) ลึงค์
(ศิกษา) ศึกษา

บรรณานุกรม

ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร. (2562). วิธีการนําภาษาสันสกฤต ในรูปแบบวรรณกรรมมาใช้ในภาษาไทย.
[เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์].สำนักงานอธิการบดี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.


Click to View FlipBook Version