The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by gypzyonline, 2020-01-10 02:43:26

อาณาจักรที่สาบสูญ

อาณาจักรที่สาบสูญ
ณัฐพล เดชขจร: เขียน
ราคา 295 บาท

ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
ณัฐพล เดชขจร.
อาณาจักรที่สาบสูญ.-- กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุป, 2563.
332 หนา.
1. ประวัติศาสตรโลก. I. ชื่อเรื่อง.
909
ISBN 978-616-301-702-4

º¡§ª ขอความในหนังสือเลมนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558
© ©ª©
การคัดลอกสวนใดๆ ในหนังสือเลมนี้ไปเผยแพรไมวาในรูปแบบใดตองไดรับอนุญาตจากเจาของลิขสิทธิ์กอน
ยกเวนเพื่อการอางอิง การวิจารณ และประชาสัมพันธ

บรรณาธิการอำนวยการ : คธาวุฒิ เกนุย
บรรณาธิการบริหาร : สุรชัย พิงชัยภูมิ
ผูชวยบรรณาธิการบริหาร : วาสนา ชูรัตน
กองบรรณาธิการ : คณิตา สุตราม พรรณิกา ครโสภา ดารียา ครโสภา
นักศึกษาฝกงานกองบรรณาธิการ : ณัฐพร ชังเจริญ
เลขากองบรรณาธิการ : อรทัย ดีสวัสดิ์
พิสูจนอักษร : วนัชพร เขียวชอุม สวภัทร เพ็ชรรัตน สุธารัตน วรรณถาวร
รูปเลม : วรินทร เกตุรัตน
ออกแบบปก : Rabbithood Studio
ผูอำนวยการฝายการตลาด : นุชนันท ทักษิณาบัณฑิต
ผูจัดการฝายการตลาด : ชิตพล จันสด
ผูจัดการทั่วไป : เวชพงษ รัตนมาลี
จัดพิมพโดย : บริษัท ยิปซี กรุป จำกัด เลขที่ 37/145 รามคำแหง 98
แขวง/เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240
โทร. 0 2728 0939 โทรสาร. 0 2728 0939 ตอ 108
www.gypsygroup.net
พิมพที่ : บริษัท วิชั่น พรีเพรส จำกัด โทร. 0 2147 3175-6
จัดจำหนาย : บริษัท ยิปซี กรุป จำกัด โทร. 0 2728 0939
www.facebook.com/gypsygroup.co.ltd
LINE ID : @gypzy

สนใจสั่งซื้อหนังสือจำนวนมากเพื่อสนับสนุนทางการศึกษา สำนักพิมพลดราคาพิเศษ ติดตอ โทร. 0 2728 0939

อาณาจักรที่สาบสูญ
ณัฐพล เดชขจร: เขียน
ราคา 295 บาท

ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
ณัฐพล เดชขจร.
อาณาจักรที่สาบสูญ.-- กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุป, 2563.
332 หนา.
1. ประวัติศาสตรโลก. I. ชื่อเรื่อง. อาณาจักรที่สาบสูญ
909
Mysteries
ISBN 978-616-301-702-4
º¡§ª ขอความในหนังสือเลมนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558
© ©ª© of Lost Ancient
การคัดลอกสวนใดๆ ในหนังสือเลมนี้ไปเผยแพรไมวาในรูปแบบใดตองไดรับอนุญาตจากเจาของลิขสิทธิ์กอน
ยกเวนเพื่อการอางอิง การวิจารณ และประชาสัมพันธ
Kingdoms
บรรณาธิการอำนวยการ : คธาวุฒิ เกนุย
บรรณาธิการบริหาร : สุรชัย พิงชัยภูมิ
ผูชวยบรรณาธิการบริหาร : วาสนา ชูรัตน
กองบรรณาธิการ : คณิตา สุตราม พรรณิกา ครโสภา ดารียา ครโสภา
นักศึกษาฝกงานกองบรรณาธิการ : ณัฐพร ชังเจริญ
เลขากองบรรณาธิการ : อรทัย ดีสวัสดิ์
พิสูจนอักษร : วนัชพร เขียวชอุม สวภัทร เพ็ชรรัตน สุธารัตน วรรณถาวร
รูปเลม : วรินทร เกตุรัตน
✜ ณัฐพล เดชขจร ✜
ออกแบบปก : Rabbithood Studio
ผูอำนวยการฝายการตลาด : นุชนันท ทักษิณาบัณฑิต
ผูจัดการฝายการตลาด : ชิตพล จันสด
ผูจัดการทั่วไป : เวชพงษ รัตนมาลี
จัดพิมพโดย : บริษัท ยิปซี กรุป จำกัด เลขที่ 37/145 รามคำแหง 98
แขวง/เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240
โทร. 0 2728 0939 โทรสาร. 0 2728 0939 ตอ 108
www.gypsygroup.net
พิมพที่ : บริษัท วิชั่น พรีเพรส จำกัด โทร. 0 2147 3175-6
จัดจำหนาย : บริษัท ยิปซี กรุป จำกัด โทร. 0 2728 0939
www.facebook.com/gypsygroup.co.ltd
LINE ID : @gypzy

สนใจสั่งซื้อหนังสือจำนวนมากเพื่อสนับสนุนทางการศึกษา สำนักพิมพลดราคาพิเศษ ติดตอ โทร. 0 2728 0939

ค�าน�าส�านักพิมพ์


✜ ✜ ✜ ✜



หากกล่าวถึงอารยธรรมโบราณ เชื่อแน่ว่าผู้อ่านหลายท่านต้องนึกถึง

อารยธรรมที่เลื่องลือมีชื่อคุ้นหูอย่าง “เมโสโปเตเมีย” “อียิปต์โบราณ”
“จีน” “อารยธรรมลุ่มแม่น�้าสินธุ” อันเป็น 4 อู่อารยธรรมยิ่งใหญ่แรกเริ่ม
ของโลกโบราณ แต่หลายท่านอาจหลงลืมไปว่า นับตั้งแต่มนุษย์ออก

เดินทางจากทวีปแอฟริกาแพร่กระจายไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลกเมื่อราว
50,000 ปีก่อนนั้น มนุษย์ได้รังสรรค์ “อารยธรรม” และ “อาณาจักร”
ขึ้นมาในพื้นที่ต่างๆ ของโลกมากมาย หลายอาณาจักรและหลากอารยธรรม

ถือก�าเนิดขึ้นมาในบางช่วงบางตอนของหน้าประวัติศาสตร์ เคยรุ่งเรืองและ
เฟื่องฟูอยู่ในอดีตกาล แต่ทว่ากลับ “หายสาบสูญ” ไปจากความทรงจ�า
และการรับรู้ของมนุษยชาติในยุคปัจจุบัน

หนังสือ อาณาจักรที่สาบสูญ (Mysteries of Lost Ancient
Kingdoms) เล่มนี้ ณัฐพล เดชขจร ผู้เขียนตั้งใจศึกษาค้นคว้าข้อมูล

อย่างละเอียดและน�าเอาผลงานการขุดค้นของนักโบราณคดีออกมาตีแผ่
เพื่อเปิดโลกโบราณ และน�าอาณาจักรและอารยธรรมที่สาบสูญเหล่านี้
กลับมาเปิดเผยสู่สายตาของผู้อ่านทุกท่าน โดยคัดสรรอารยธรรมแปลกใหม่

น่าสนใจ โดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้อ่านจะได้ออกเดินทาง

แกะรอยตามหาอาณาจักรและอารยธรรมที่สาบสูญที่ยังไม่เคยมีใครค้นพบ

มาก่อน ไล่เรียงไปตามพื้นที่ต่างๆ ของโลก ตั้งแต่ภูมิภาคตะวันออกกลาง
อันเป็นที่ตั้งของชุมชนดึกด�าบรรพ์เก่าแก่ เรื่อยไปจนถึงทวีปแอฟริกา
เอเชีย ยุโรป และดินแดนโลกใหม่ หรือทวีปอเมริกา

ส�านักพิมพ์ยิปซีขอเชิญผู้อ่านทุกท่านร่วมเดินทางเปิดโลก
อารยธรรมลึกลับ จากแอตแลนติสถึงดินแดนโลกใหม่ และอาณาจักร
ยิ่งใหญ่ที่ถูกหลงลืม



ด้วยมิตรภาพที่ไม่มีวันสาบสูญ

ส�านักพิมพ์ยิปซี

ค�าน�าผู้เขียน


✜ ✜ ✜ ✜



นับตั้งแต่ที่มนุษย์ริเริ่มสิ่งที่เรียกว่า “อารยธรรม” ขึ้นมาบนโลกของเรา
เมื่อราว 5,000 ปีก่อน ชื่อของ “อียิปต์โบราณ” “เมโสโปเตเมีย” “จีน”
รวมถึง “อารยธรรมลุ่มแม่น�้าสินธุ” ได้เป็นที่เลื่องลือในด้านของความโดดเด่น

ทางวัฒนธรรม และความสามารถทางเทคโนโลยีที่ดูจะก้าวล�้าน�าสมัย
กว่ากลุ่มวัฒนธรรมยุคสัมฤทธิ์ที่รุ่งเรืองอยู่ร่วมสมัยกันในบริเวณอื่นของ
โลก ความยิ่งใหญ่ของ 4 อู่อารยธรรมแรกเริ่มที่สุดของโลกโบราณเหล่านี้
อาจท�าให้เรา (อาจ) หลงลืมอารยธรรมอื่น ๆ ที่เคยรุ่งเรืองและเฟื่องฟูอยู่
ในอดีตกาลไปเสียสนิท เพราะเมื่อลองทอดสายตากลับไปแล้วจะพบว่า
ยังมีอารยธรรมโบราณอีกมากมายที่ถือก�าเนิดขึ้นมาในบางช่วงบางตอน
ของหน้าประวัติศาสตร์โลก ทว่ากลับ “หายสาบสูญ” ออกไปจากความ
ทรงจ�าของมนุษยชาติอย่างน่าเสียดาย โชคดีที่อารยธรรมสาบสูญเหล่า
นี้ยังสามารถกลับมาเปิดเผยตัวตนสู่สายตาของมนุษยชาติได้อีกครั้งหนึ่ง
ผ่านการขุดค้นทางโบราณคดีที่มาจากความมานะอุตสาหะของนักสืบ

แห่งอดีตกาลที่ถึงแม้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับอารยธรรมที่สาบสูญอยู่เพียงแค่
หยิบมือ แต่ยังสามารถเปิดเผยความลับของชนโบราณผู้เป็นเจ้าของ
อารยธรรมลึกลับเหล่านี้ออกสู่สายตาชาวโลกจนได้
หนังสืออาณาจักรที่สาบสูญ [Mysteries of Lost Ancient
Kingdoms] ที่ทุก ๆ ท่านก�าลังถืออยู่ในมือเล่มนี้ ตั้งใจน�าเอาผลงาน

การขุดค้นของนักโบราณคดีกลุ่มนี้ออกมาตีแผ่ให้ผู้อ่านทุกท่านได้เปิด
โลกอารยธรรมที่สาบสูญกันอย่างเต็มอิ่ม หนังสือเล่มนี้จึงจงใจ “คัดสรร”
มาเฉพาะอาณาจักรและอารยธรรมที่ไม่ค่อยได้รับการน�าเสนอบ่อยนัก
ในต�าราประวัติศาสตร์ทั่วไป โดยจะละเว้นอารยธรรมที่เป็นที่รู้จักกันดี
อย่างเช่น มายา อียิปต์ หรือกรีก-โรมันเอาไว้ เพื่อเน้นไปที่อาณาจักร

และอารยธรรมแปลกใหม่ ซึ่งคัดสรรมาแล้วว่าโดดเด่นและมีเอกลักษณ์
เฉพาะตัว แล้วท�าการสอดแทรกข้อมูลทางโบราณคดีล่าสุดเข้าไปเพื่อ
ให้เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มีความทันสมัยมากที่สุด ผู้อ่านจะได้เริ่มต้น
ออกเดินทางไปตามหาอารยธรรมที่สาบสูญอันยิ่งใหญ่ที่ยังไม่เคยมีใคร
ค้นพบมาก่อนอย่างอารยธรรม “แอตแลนติส” และค่อย ๆ แกะรอยตาม
หาอารยธรรมที่สาบสูญไล่เรียงไปตามแต่ละพื้นที่ของโลก ตั้งแต่ภูมิภาค
ตะวันออกกลางอันเป็นที่ตั้งของชุมชนดึกด�าบรรพ์ที่เก่าแก่เทียบชั้นอารย

ธรรมแอตแลนติส ไปจนถึงทวีปแอฟริกา เอเชีย ตามด้วยยุโรป ก่อนปิด
ท้ายด้วยอารยธรรมที่สาบสูญในดินแดน “โลกใหม่” (New World) หรือ
ทวีปอเมริกาที่นักประวัติศาสตร์เสนอว่า อารยธรรมแรกเริ่มของโลกไม่ควร
มีเพียงแค่ 4 แห่ง แต่ควรนับรวมอารยธรรม “โอลเมค” อันเป็นต้นธาร
แห่งอารยธรรมมายาในทวีปอเมริกากลางและอารยธรรม “ชาวีน” ซึ่งเป็น
เจ้าแห่งพิธีกรรมหลอนจิตในทวีปอเมริกาใต้เข้าไปด้วย
ถ้าพร้อมแล้วก็อย่ารอช้า ขอเชิญทุก ๆ ท่านพลิกหน้าต่อไปเพื่อ
แกะรอยอาณาจักรและอารยธรรมที่สาบสูญเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กัน เชื่อสิว่า
ทุกท่านจะต้องอึ้ง! ทึ่ง! ประทับใจไปกับความพิศวง และความยิ่งใหญ่

ของบรรดาอารยธรรมสาบสูญหลากหลายแห่งจากทั่วทุกมุมโลก ที่น�ามา
เรียบเรียงให้ได้สัมผัสกันในหนังสือเล่มนี้อย่างแน่นอน


ณัฐพล เดชขจร
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

สารบัญ







อารยธรรมในต�านาน 11


♦ เปิดต�านานอาณาจักรแอตแลนติส มีจริงหรือแค่อิงต�านาน 12

อารยธรรมที่สาบสูญแห่งภูมิภาคตะวันออกกลาง 27

♦ วัฒนธรรมดึกด�าบรรพ์หมื่นปีที่มีอยู่จริง 28

♦ วัฒนธรรมสุเมเรียน ปฐมบทแห่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย 43
♦ อาณาจักรนาบาเทียน ผู้รังสรรค์นครศิลาสีกุหลาบ 59



อารยธรรมที่สาบสูญแห่งทวีปแอฟริกา 77
♦ นูเบีย อาณาจักรของชนผิวด�าแห่งลุ่มแม่น�้าไนล์ 78

♦ อัคซูม อาณาจักรมหาอ�านาจแห่งเอธิโอเปีย 100
♦ มาลี จักรวรรดิของบุรุษผู้ร�่ารวยที่สุดในโลก 112



อารยธรรมที่สาบสูญแห่งทวีปเอเชีย 127

♦ เปิดต�านานอารยธรรมลุ่มแม่น�้าสินธุ 128
♦ ตามรอยเขมรโบราณ อาณาจักรที่ (อาจจะ) ใหญ่ที่สุดในโลก 146

อารยธรรมที่สาบสูญแห่งทวีปยุโรป 163

♦ คูคูเตนี-ตรีพิลญัน อารยธรรมลึกลับผู้หลงใหลการวางเพลิง 164
♦ มิโนอันและไมซีเนียน ต้นธารแห่งอารยธรรมกรีกโบราณ 176

♦ อีทรัสคัน ต้นธารแห่งอารยธรรมโรมัน 195


อารยธรรมที่สาบสูญแห่งทวีปอเมริกาเหนือ 211

♦ คาโฮเกีย วัฒนธรรมที่สาบสูญแห่งลุ่มแม่น�้ามิสซิสซิปปี 212
♦ อนาซาซี อารยธรรมลึกลับใต้เพิงผา 223

♦ โอลเมค อารยธรรมแม่แห่งเมโสอเมริกา 237
♦ ซาโปเทค อารยธรรมที่ถูกลืมกลางป่าเม็กซิโก 251



อารยธรรมที่สาบสูญแห่งทวีปอเมริกาใต้ 269

♦ วัฒนธรรมชาวีน ศูนย์กลางพิธีกรรมหลอนจิตแห่งเทือกเขาแอนดีส 270
♦ วัฒนธรรมนาซกาและพาราคัส ช่างศิลป์แห่งผืนทะเลทราย 284
♦ ติอาวานาโก วัฒนธรรมดึกด�าบรรพ์หนึ่งหมื่นปีจริงหรือ 299

♦ ราปานุย ชนเผ่าปริศนาบนเกาะอันโดดเดี่ยวกลางมหาสมุทร 313


บรรณานุกรม 331

อาณาจักรที่สาบสูญ





























































10
Mysteries of Lost Ancient Kingdoms

อาณาจักรที่สาบสูญ











Mysteries



of Lost



Ancient Kingdoms



อารยธรรม

ในต�านาน






























11
Mysteries of Lost Ancient Kingdoms

✜ บทที่ 1 ✜
เปิดต�านานอาณาจักรแอตแลนติส

มีจริงหรือแค่อิงต�านาน































♦ ภาพวาดแผนที่ของแอตแลนติสที่เสนอกันว่าอาจจะตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก
Credit: https://www.vox.com/2015/4/30/8516829/imaginary-island-atlantis-map-kircher ♦


นับตั้งแต่ที่มนุษย์เริ่มก้าวเท้าออกเดินทางจากทวีปแอฟริกา

ไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลกเมื่อราว 50,000 ปีก่อน มนุษย์กลุ่มแรกนี้ได้
รังสรรค์สิ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรม” และ “อารยธรรม” ขึ้นมาในพื้นที่ต่าง ๆ

ทั่วทุกมุมโลก แรกเริ่มเดิมทีมนุษย์กลุ่มแรก ๆ นี้อาจมีเพียงแค่ความเชื่อ
ของชีวิตหลังความตาย มีการฝังศพแบบเรียบง่าย ทว่าหลังจากนั้นพวกเขา
เริ่มจะมีพิธีรีตองทางด้านประเพณีมากขึ้น มีการคิดค้นเทคโนโลยีต่าง ๆ


12
Mysteries of Lost Ancient Kingdoms

อาณาจักรที่สาบสูญ



ขึ้นมามากมาย ตั้งแต่การท�าเครื่องปั้นดินเผา การประดิษฐ์ล้อ ไปจนถึง
การคิดค้น “ตัวเขียน” หรืออักขระต่าง ๆ ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถจด

บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เอาไว้ได้ ตัวเขียนเหล่านี้ช่วยให้นักโบราณคดีและ
นักวิชาการเข้าใจชนโบราณจากบันทึกของพวกเขาเอง น�าไปสู่ปฐมบท

ของ “ยุคประวัติศาสตร์” ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงประมาณ 3,200 ปีก่อน
คริสตกาล ณ พื้นที่ของอารยธรรมอียิปต์โบราณและเมโสโปเตเมีย
ที่ต่างก็เป็นชนเผ่าแรกเริ่มที่นักวิชาการเสนอว่าสามารถคิดค้นตัวเขียนขึ้น

มาได้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ตัวเขียนท�าให้เกิด “บันทึก” ที่ร้อยเรียงความคิดในสมองออกมา
เป็นตัวอักษรให้บุคคลอื่นได้เข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสาร ใน

ปัจจุบันนักโบราณคดีก็ใช้ “บันทึก” ที่ปรากฏบนโบราณสถานต่าง ๆ รวม
ทั้งแผ่นหิน กระดาษหรือแผ่นดินเหนียวโบราณ ประกอบกับหลักฐานทาง
โบราณคดีที่ค้นพบจากสถานที่ต่าง ๆ น�ามาผูกร้อยเรียงต่อกันเพื่อตีความ

และท�าความเข้าใจถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตจนออกมาเป็นหนังสือ และ
ต�าราประวัติศาสตร์มากมายหลายต่อหลายเล่มตามแผงหนังสือให้ได้

อ่านกันไม่หวาดไม่ไหว แต่ถึงอย่างนั้น สิ่งหนึ่งที่ควรค�านึงถึงอยู่เสมอ
เมื่อกล่าวถึง “บันทึก” ของชนโบราณก็คือสิ่งที่ถูกจดบันทึกเอาไว้อาจ
ไม่ถูกต้องเสมอไปก็เป็นได้ เพราะเราไม่อาจทราบได้อย่างชัดเจนว่าเรื่องราว

ที่ปรากฏในบันทึกนั้นถูกเขียนขึ้นจากข้อเท็จจริงทั้งหมด หรือเป็นเพียง
แค่ “นิทาน” ที่ “อ้างอิงจากเรื่องจริง” (Base on True Story) ที่แต่งขึ้น

ในเชิงเปรียบเทียบเพื่อสื่อถึงนัยบางประการโดยใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ในอดีตมาเป็นตัวด�าเนินเรื่องกันแน่ และหนึ่งใน “บันทึก” หรือเอกสาร
ทางประวัติศาสตร์ที่สร้างข้อกังขาให้นักวิชาการได้มากที่สุดชิ้นหนึ่งคือ

บันทึกของ “เพลโต” (Plato) ที่กล่าวถึงการมีอยู่ของอารยธรรมในต�านาน

13
Mysteries of Lost Ancient Kingdoms

อาณาจักรที่สาบสูญ



อย่าง “แอตแลนติส” (Atlantis) อันเป็นทวีปดึกด�าบรรพ์ที่เชื่อกันว่าเคย
รุ่งเรืองอยู่เมื่อราวเกือบหนึ่งหมื่นปีก่อน แต่กลับถูกภัยพิบัติเล่นงานจนต้อง

จมน�้าหายไปในชั่วข้ามคืนนั่นเอง
ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงขอน�าพาทุกท่านไปเริ่ม “แกะรอย

อารยธรรมที่สาบสูญ” กันที่อารยธรรมในต�านานอย่าง “แอตแลนติส” กัน
ก่อน เพื่อค้นหาค�าตอบว่าอารยธรรมแห่งนี้เคยยิ่งใหญ่เพียงใด สาเหตุของ
การล่มสลายในชั่วข้ามคืนคืออะไร ต�าแหน่งดั้งเดิมก่อนที่ทวีปแห่งนี้จะ






































♦ ภาพจ�าลองอาณาจักรแอตแลนติสที่มีลักษณะคล้ายวงแหวนซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น
Credit: https://rocioespin.artstation.com/projects/K36LX ♦
14
Mysteries of Lost Ancient Kingdoms

อาณาจักรที่สาบสูญ



หายสาบสูญไปตลอดกาลนั้นควรจะอยู่ที่ใด และค�าถามสุดท้ายที่น่าสนใจ
ที่สุดก็คือ ต�านานเกี่ยวกับอารยธรรม “แอตแลนติส” ของเพลโตเชื่อถือได้

มากน้อยแค่ไหนกัน?
ในปัจจุบันมีหนังสือและสารคดีมากมายบอกเล่าถึงเรื่องราวของ

ทวีปที่สาบสูญแห่งแอตแลนติส พร้อมเล่าขานว่าอารยธรรมนี้มีองค์ความรู้
ทางด้านวิทยาการที่น่าทึ่งเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าถามถึงหลักฐานหรือจุดก�าเนิด
แรกสุดของอารยธรรมแอตแลนติสที่เป็นหลักฐานชั้นต้นแล้วล่ะก็ คงต้อง

ย้อนกลับไปหา “งานเขียน” ของ “เพลโต” ที่บันทึกเอาไว้ในช่วงประมาณ
359 ถึง 347 ปีก่อนคริสตกาลสถานเดียว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจาก
งานเขียนที่ชื่อ “ครีติอัส” (Critias) ของเพลโตกล่าวว่า เพลโตไม่ได้เห็น

แอตแลนติสด้วยตาของตัวเอง ทว่าได้ยินเรื่องของแอตแลนติสมาจาก
ปู่ของเขาที่ได้ยินมาจากรัฐบุรุษแห่งเอเธนส์ที่ชื่อว่า “โซลอน” (Solon)
อีกทอดหนึ่ง ซึ่งโซลอนคนนี้มีชีวิตอยู่ก่อนหน้ายุคของเพลโตถึงประมาณ

300 ปีเลยทีเดียว ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งคือ โซลอนก็ไม่ได้เห็นแอต
แลนติสด้วยตาตัวเอง แต่เขาได้รับรู้เรื่องทวีปที่สาบสูญนี้มาจากนักบวช

ในวิหารแห่งเทพีนีธ (Neith) ที่เล่าให้เขาฟังเมื่อครั้งที่เขาเดินทางไปยัง
ดินแดนอียิปต์โบราณในช่วง 569 ถึง 525 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับช่วง
การปกครองของฟาโรห์อมาซิส (Amasis) แห่งราชวงศ์ที่ 26 ดังนั้นถ้า

ว่ากันตามข้อเท็จจริงของการมีอยู่ของแอตแลนติสในงานเขียน “ครีติอัส”
ของเพลโตแล้ว แอตแลนติสคือมุขปาฐะที่ถูกเล่าขานกันมาเป็นทอด ๆ โดย

คนแรกที่กล่าวถึงดินแดนแห่งแอตแลนติสก็คือ นักบวชแห่งไอยคุปต์
ที่มีชีวิตอยู่ก่อนยุคของโซลอนถึง 300 ปีนั่นเอง
ถ้าว่ากันตามบันทึกของเพลโตแล้ว นักบวชได้เล่าให้โซลอนฟังว่า

ในอดีตเมื่อราว 9,000 ปีก่อน เคยมีเกาะมหึมาที่มีขนาดใหญ่กว่าเอเชีย

15
Mysteries of Lost Ancient Kingdoms


Click to View FlipBook Version