The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือการถ่ายภาพเพื่อประชาสัมพันธ์ (ปี 2560)

สำนักงานเลขานุการกรม

Keywords: ด้านทั่วไป

คู่มือ
ถ่ายภาพเพื่อประชาสัมพันธ์

จัดทำโดย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกรม

กรมที่ดิน

คำนำ

โลก ณ ปัจจุบันนี้เป็นโลกที่การสื่อสารไร้พรมแดน “Social Network”หรือ
“เครือข่ายสังคมออนไลน์” มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนเกือบทุกด้าน
การถ่ายภาพแล้วอัพโหลดขึ้นสู่อินเตอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลาย โดย
เฉพาะอัพโหลดขึ้นไปบน Facebook, Twitter, IG หรือนำไปโพสต์ในเว็บบอร์ด
ต่างๆ ซึ่งภาพต่างๆเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็ถ่ายกันโดยใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการ
ถ่ายภาพถูกหลักทฤษฎีบ้างไม่ถูกบ้าง สวยบ้างไม่สวยบ้าง ไม่แปลกถ้าภาพเหล่า
นั้นเราเก็บไว้ดูเอง ส่งให้เพื่อน หรือเก็บไว้เพี่อความประทับใจหรือความทรงจำ
แต่ถ้าเราถ่ายภาพเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้งาน เช่น ส่งภาพเพื่อประชาสัมพันธ์
ตัวอย่างสินค้าหรือเพื่อจุดประสงค์ใดก็แล้วแต่ที่เป็นทางการ ถ้าใช้ความรู้สึก
เพียงอย่างเดียวบางครั้งก็ไม่สามารถจะใช้ภาพที่เราถ่ายสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
เฉพาะฉนั้นจึงเกิด “คู่มือถ่ายภาพเพื่อประชาสัมพันธ์” ซึ่งเป็นคู่มือแนะนำการ
ถ่ายภาพให้ถูกวิธีเบื้องต้น สำหรับมือใหม่ที่สนใจเรื่องถ่ายภาพ เพื่อที่จะเป็นหลัก
การแนวคิดในการพัฒนาการถ่ายภาพให้ถูกต้องและสวยงามเกิดความภาค
ภูมิใจและสามารถนำภาพไปใช้งานได้ตามจุดประสงค์ และขอให้ถ่ายภาพอย่าง

!มีความสุขสนุกสนานทุกคนครับ

ทีมช่างภาพ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกรม กรมที่ดิน

สารบัญ หน้า
1
อุปกรณ์ถ่ายภาพในปัจจุบัน 3
การควบคุมระบบในกล้องถ่ายภาพ 5
โหมดการถ่ายภาพบนกล้อง 13
การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)
เทคนิคการใช้สมาร์ทโฟนถ่ายภาพ 22
ลักษณะภาพข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ 23
จุดประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ 24
ลักษณะภาพถ่ายที่ดีเพื่อประชาสัมพันธ์ 26
ลักษณะภาพข่าวที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ 28

อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายภาพในปัจจุบัน

กล้องดิจิตอลแบบต่างๆ กล้องดิจิตอลคอมแพ็ค

1. กล้องดิจิตอลแบบคอมแพ็ค (Compact Digital
Camera)
กล้องดิจิตอลแบบคอมแพ็ค เป็นกล้องที่ได้รับความ

นิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีราคาถูกสะดวกในการพก
พา ใช้งานง่าย และมีโหมดถ่ายภาพอย่างครบถ้วน
ครอบคลุมในการใช้งาน เหมาะกับผู้เริ่มต้นหรือช่าง
ภาพมือใหม่ที่ไม่มีทักษะเรื่องการปรับตั้งกล้องหรือผู้ที่
ต้องการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็วโดยยกกล้อง
ขึ้นเล็งแล้วกดชัดเตอร์ถ่ายได้เลยไม่ต้องคิดอะไรหรือที่
เขาเปรียบเปรยว่ากล้องปัญญาอ่อนแต่ปัจจุบันมีสมาร์ท
โ ฟ น เ ข้ า ม า เ ป็ น คู่ แ ข่ ง ที่ สำ คั ญ แ ล ะ ไ ด้ รั บ ค ว า ม นิ ย ม
มากกว่า

2. กล้องดิจิตอลแบบ DSLR Like
กล้องดิจิตอล DSLR Like ก็คือกล้องคอมแพ็คที่

ออกแบบและขนาดให้คลายกับกล้อง DSLR และเพิ่ม

ช่วงระยะซูมของเลนส์ให้มากกว่าแต่คุณภาพไม่แตกต่าง

จากกล้องคอมแพ็ค

กล้องดิจิตอลแบบ DSLR Like

3. กล้องดิจิตอลมิลเลอร์เลส (Mirrorless Digital กล้องดิจิตอลมิลเลอร์เลส
Camera)
กล้องดิจิตอลชนิดนี้เป็นแบบไม่มีกระจกสะท้อนภาพ

จึงทำให้มีขนาดเล็กกระทัดรัดพกพาสะดวก สามารถ
เปลี่ยนเลนส์ได้ ด้านคุณภาพของภาพถ่ายไม่ได้แตกต่าง
จากกล้องแบบ DSLR ซึ่งบางรุ่นคุณภาพดีกว่าด้วยใน
ราคาที่พอๆกัน เพราะใช้เทคโนโลยี่ที่ใหม่กว่าได้รับการ
พัฒนาอยู่ตลอด ใช้งานง่าย ขนาดเล็กกระทัดรัด พกพา
สะดวก ความสามารถบางอย่างดีกว่า บางรุ่นสามารถลง
แอพพิเคชั่นได้ด้วย มีWi-Fi ถ่ายแล้วสามารถแชร์ภาพ
ขึ้นโซเชียลต่างๆได้ สามารถถ่ายเซลฟี่ได้เหมือนสมาร์ท
โฟนและคุณภาพดีกว่า ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมาก

1

4. กล้องดิจิตอลแบบ DSLR (Digital Single Lens กล้องดิจิตอลแบบ DSLR
Reflex)
กล้องดิจิตอล DSLR คือกล้องที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดแทน

ก ล้ อ ง แ บ บ ที่ ใ ช้ ฟิ ล์ ม ใ น อ ดี ต โ ด ย ลั ก ษ ณ ะ ก า ร ใ ช้ ง า น ที่
คล้ายคลึงกันมาก แต่มีความแตกต่างเรื่องกระบวนการเก็บ
ข้อมูลภาพที่ใช้หน่วยความจำเป็นแบบการ์ด ซึ่งปัจจุบันมีอยู่
2 ชนิด คือ SD Card และ CF Card แทนการใช้ฟิล์มแบบใน
อดีต กล้องลักษณะนี้เหมาะกับผู้ใช้งานที่ค่อนข้างจริงจังกับ
การถ่ายภาพหรือพวกช่างภาพอาชีพ สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้
หลากหลาย ติดตั้งหรือทำงานกับอุปกรณ์เสริมต่างๆได้ ต้องมี
ทักษะการใช้กล้องดีพอสมควร คุณภาพของภาพสามารถนำ
ไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง

5. โทรศัพท์มือถือ (Smart Phone) โทรศัพท์มือถือ (Smart Phone)
ในปัจจุบันกล้องในโทรศัพท์มือถือ ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลง

วงการถ่ายภาพให้กว้างขวาง ในอดีตการถ่ายภาพอยู่ในวง
จำกัดจะมีเฉพาะผู้ที่สนใจหรือมืออาชีพเท่านั้น แต่คนในโลก
ปัจจุบันสามารถที่จะถ่ายภาพได้โดยไม่มีขีดจำกัด และกล้อง
ในมือถือก็มีการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราสามารถพก
พาไปถ่ายได้ทุกที่ทุกเวลา และไม่พลาดที่จะถ่ายภาพในทุก
สถานการณ์

2

การควบคุมระบบในกล้องถ่ายภาพ

1. รู้รับแสง (Aperture)

คือค่าสำหรับปรับความแคบกว้างของรูรับแสงเพื่อกำหนดให้แสงลอดผ่านไปบันทึกใน
ระนาบ CCD ของกล้องเพื่อให้เกิดภาพ มีค่าเป็น F แล้วตามด้วยตัวเลข ถ้าตัวเลขยิ่งน้อยรูรับ
แสงก็จะเปิดกว้างซึ่งจะใช้ถ่ายภาพที่ต้องการเน้นความโดดเด่นของวัตถุ เช่น การถ่ายภาพ
บุคคลที่นิยมถ่ายแบบน่าชัดหลังเบลอ ส่วนค่า F ที่ตัวเลขยิ่งมากรูรับแสงจะแคบก็จะทำให้ภาพ
มีความคมชัดครอบคลุมได้ทั้งในระยะใกล้ กลางและไกล นิยมใช้ถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ หรือภาพ
ที่ต้องการเน้นความคมชัดสูงๆ

ช่วงรูรับแสงที่นิยมใช้ถ่ายทิวทัศน์ ช่วงรูรับแสงที่นิยมใช้ถ่ายบุคคล

2. ความเร็วชัตเตอร์ (Speed Shutter)

คือการตั้งค่าระยะเวลาของชัตเตอร์กล้องที่จะเปิดให้แสงเข้ากล้องก่อนที่ม้านชัตเตอร์
จะปิด ค่าชัตเตอร์ที่ใช้เป็นมาตรฐานอยู่ช่วงระหว่าง 1/60 - 1/250 วินาที ถ้าปรับตั้งค่าให้สูง
กว่านี้จะนำไว้ใช้ถ่ายวัตถุเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง เช่น ถ่ายกีฬา รถวิ่ง ในทางตรงกันข้ามถ้า
ปรับค่าให้ตำ่กว่าค่ามาตรฐานจะทำให้ภาพสั่นไหวไม่คมชัด มีประโยชน์เอาไว้ถ่ายในที่แสง
น้อยๆ เช่นแสงไฟยามคำ่คืน ถ่ายพลุ ถ่ายรถวิ่งกลางคืนเพื่อให้เกิดเส้นแสงที่สวยงาม หรือ
ถ่ายน้ำาตกให้สายน้ำพริ้วสวยและจะต้องใช้ขาตั้งกล้องเป็นตัวช่วยไม่สามารถใช้มือถือกล้อง
ถ่ายได้เพราะภาพจะสั่นไหว

ช่วงสปีดสูง ช่วงสปีดมาตรฐาน ช่วงสปีดชัตเตอร์ต่ำ

3

3. ความไวแสง (ISO)

ความไวแสง คือระบบควบคุมแสงสว่างที่จะเข้ากระทบเซ็นเชอร์ภาพ ถ้าเปรียบ
เทียบกับยุคสมัยที่เป็นฟิล์มก็คือ ความไวแสงของฟิล์ม การปรับตั้ง ISO ที่เป็นค่ามาตรฐาน
จะอยู่ในช่วง ISO 100 - 400 ซึ่งจะเป็นช่วงที่ให้คุณภาพของภาพถ่ายที่ดีถ้าปรับค่า ISO
ให้สูงกว่าค่าที่กล่าวคุณภาพของภาพการจะด้อยลงตามค่าที่ปรับสูงขึ้นยิ่งค่ามากคุณภาพ
ของภาพก็ยิ่งต่ำมีสัญญาณรบกวนหรือที่เรียกว่าภาพเกิด Noise ปรากฏอยู่บนภาพทำให้
ภาพไม่คมชัด สีสรรไม่สดใสสวยงาม หรือที่เรียกว่าเกรนแตก แต่ปัจจุบันกล้องดิจิตอลหรือ
สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆก็พยายามใส่เทคโนโลยีที่มีความสามารถปรับ ISO สูงๆ โดยยังให้
คุณภาพของภาพได้ดีน่าพอใจ

ช่วงที่ให้คุณภาพี่ดี คุณภาพเริ่มด้อยเกิด Noise มาก

4. การตั้งค่าอุหภูมิสี (White Balance Setting)

แสงจากแหลงกำเนิดแสงที่แตกต่างกัน จะมีอุณหภูมิของแสง (หน่วยเป็นองศา
เควิน Kelvin) ที่ไม่เท่ากัน ส่งผลกับสีสันของวัตถุต่างๆ ที่อยู่ภายใต้แสงเหล่านั้นเกิดการ
ผิดเพี้ยนไป ซึ่งโดยปกติแล้วตาของคนเราจะไม่สังเกตเห็นความแตกต่างเหล่านี้ เช่น เรา
มองกระดาษสีขาวภายใต้แสงอาทิตย์หรือแสงเทียนเราก็ยังเห็นว่ามันเป็นสีขาวนั่นเป็น
เพราะว่าสมองของเราปรับสมดุลการรับรู้สีได้ดี แต่สำหรับกล้องดิจิคอลและสมาร์ทโฟนจะ
แยกแยะได้ไม่ดีเท่า ทำให้บางครั้งเมื่อเราถ่ายภาพออกมาจะเห็นว่าสีสันของวัตถุภายใน
ภาพไม่ตรงกับความเป็นจริง อมเหลืองบ้าง อมเขียวบ้าง เมื่ออยู่ภายใต้แสงที่แตกต่างกัน
ทำให้ภาพเกิดสีผิดเพี้ยน White Balance มีให้เลือกใช้งานอยู่หลายชนิด แล้วแต่จะเลือก
ใช้ให้ตรงตามความต้องการในสภาพแสงในเวลานั้นๆ

4

Basic Zone

โหมดการถ่ายภาพบนกล้อง

กล้องชนิดต่างๆ ถูกออกแบบมาให้รองรับกลุ่มผู้ใช้หลายระดับ เริ่มตั้งแต่มือใหม่
ช่างภาพที่พอมีประสบการณ์มาบ้าง ไปจนถึงระดับมืออาชีพก็สามารถตอบสนองสไตล์การ
ใช้งานได้หมด โดยมีโหมดการถ่ายภาพที่เหมาะสมกับสถานการณ์แบบต่างๆ ให้เลือกใช้
งานมากมาย กล้องส่วนใหญ่แบ่งการปรับโหมดถ่ายภาพออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ Basic
Zone และแบบ Creative Zone

!!!!!!!!!!

โหมดแบบ Basic Zone

โหมดถ่ายภาพแบบ Basic Zone เป็นที่รวบรวมโหมดถ่ายภาพแบบอัตโนมัติเต็มรูป
แบบในสถานการณ์ต่างๆเอาไว้มากมาย กล้องจะปรับตั้งค่าต่างๆให้ทั้งหมด สิ่งเดียวที่ผู้ใช้
ต้องทำคือ เล็งกล้อง โฟกัส แล้วก็กดชัตเตอร์ถ่ายภาพเท่านั้น ดังนั้นโหมดถ่ายภาพแบบนี้จึง
เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือคนทั่วไปที่ไม่เคยจับกล้องมาก่อนก็ตาม โดยมีแบบต่างๆดังนี้

โหมดอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Full Auto Mode)

เป็นโหมดการถ่ายภาพที่ใช้ง่ายที่สุดของกล้อง ในโหมดนี้กล้องจะทำการคำนวณ
ค่าต่างๆให้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูรับแสง ความเร็วชัดเตอร์ ค่าความไว้แสง (ISO) ระบบโฟกัส
รวมทั้ง Picture Style โหมดนี้จึงเป็นโหมดถ่ายภาพแบบครอบคลุมการถ่ายภาพประเภท
ต่างๆตั้งแต่การถ่ายภาพคน สัตว์ สิ่งของหรือทิวทัศน์ โหมดนี้จึงเน้นใช้งานง่ายเป็นหลัก ผู้ใช้
ไม่สามารถปรับเปลี่ยนค่าการถ่ายภาพใดๆได้เลย

ชัตเตอร์สปีด รูรับแสง
ค่าความไวแสง(ISO)

Picture Style ระบบโฟกัส

5

Basic Zone

โหมดถ่ายภาพบุคคล (Portrait Mode)

การถ่ายภาพบุคคลมักนิยมใช้เทคนิคชัดตื้นเพื่อจำกัดฉากหลังที่รกอยู่ออกไป ใน
โหมดนี้กล้องจะทำการปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆให้เหมาะสมกับการถ่ายภาพบุคคลโดย
เฉพาะรูรับแสง กล้องจะพยายามเปิดรูรับแสงให้กว้างมากที่สุดเพื่อให้ภาพมีความชัดตื้น ช่วย
ละลายฉากหลังทำให้บุคคลในภาพโดดเด่นขึ้น กล้องจะทำการปรับโทนสีผิว ความคมชัดให้
เหมาะสมกับการถ่ายภาพบุคคล

ใช้รูรับแสงกว้าง

สัญญลักษณ์

โหมดถ่ายภาพบุคคล

โหมดการถ่ายภาพระยะใกล้ (Close-up mode)

เป็นโหมดที่เหมาะสำหรับการใช้ถ่ายวัตถุที่มีขนาดเล็กที่จำเป็นต้องเขาไปโฟกัสใกล้ๆ
เช่นดอกไม้หรือแมลงต่างๆ จริงๆแล้วในโหมดนี้ไม่ได้มีการตั้งค่ากล้องใดๆที่แตกต่างจากโหมด
Full auto เป็นพิเศษ (นอกจากพารามิเตอร์บางตัวของ Picture Style เท่านั้น) และในโหมดนี้
ก็ไม่ได้ช่วยให้สามารถโฟกัสเข้าใกล้วัตถุมากกว่าปกติเหมือนโหมดมาโครในกล้องคอมแพ็คแต่
อย่างใด เพื่อให้ได้ผลดีควรใช้ร่วมกับเลนส์มาโครหรือเลนส์ซูมที่มีกำลังขยายสูงๆจะดีกว่า

โหมดถ่ายภาพระยะใกล้

6

Basic Zone

โหมดถ่ายภาพทิวทัศน์ (Landscape Mode)

โหมดถ่ายภาพที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภูเขา
ท้องทะเลหรือทุ่งหญ้า โหมดนี้กล้องจะปรับค่ารูรับแสงค่อนข้างแคบเพื่อให้ภาพมีความคมชัด
ตั้งแต่ฉากหน้าไปจนถึงฉากหลัง กล้องจะปรับค่าพารามิเตอร์ความคมชัดอยู่ในระดับสูงรวมถึง
ทำการเร่งสีสันของภาพให้สด โดยเฉพาะโทนสีเขียวและสีฟ้า ซึ่งเป็นสีของต้นไม้และท้องฟ้าใน
ธรรมชาติ

รูรับแสงปรับให้แคบที่สุด

สัญญลักษณ์

Landscape mode

โหมดการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหว (Moving object mode)

การถ่ายภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอด เช่น เด็กเล็ก สัตว์ หรือรถยนต์ที่กำลังวิ่งมัก
เป็นเรื่องที่ยากสำหรับมือใหม่ เมื่อถ่ายออกมามักได้ภาพที่เบลอเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจาก
ความเร็วชัดเตอร์ไม่ไว้พอที่จะหยุดวัตถุที่มีความเร็วหรือโฟกัสไม่ตรงกับวัตถุ โหมดนี้จึง
ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เมื่อใช้งานในโหมดนี้กล้องจะทำการปรับระบบโฟกัสเป็น
แบบ AI Servo คือแบบติดตามวัตถุอัตโนมัติ และใช้ระบบขับเคลื่อนภาพแบบถ่ายต่อเนื่อง
บวกกับสปีดชัดเตอร์ที่สูง ทำให้สามารถจับภาพเคลื่อนไหวของวัตถุได้ ที่เหลือคือการรอจังหวะ
กดชัดเตอร์ของผู้ถ่ายเองควรสังเกตวัตถุที่จะถ่ายและควรกดชัดเตอร์ก่อนล่วงหน้า

สปีดชัตเตอร์สูง

Moving object mode โฟกัสติดตามวัตถุอัตโนมัติ

7

Basic Zone

โหมดถ่ายภาพบุคคลในที่แสงน้อย (Night Portrait Mode)

การถ่ายภาพบุคคลในตอนกลางคืน เป็นสถานการณ์หนึ่งที่มักจะสร้างความปวดหัวให้
กับมือใหม่อยู่เสมอ เนื่องจากเปิดแฟลชส่องไปที่ต้วแบบด้วยวิธีปกติจะทำให้บุคคลสว่างก็จริง
แต่ส่วนที่เป็นฉากหลังจะมืดไปหมดจนไม่เห็นฉากหลัง เมื่อใช้งานโหมดนี้กล้องจะช่วยแก้ปัญหา
ฉากหลังมืดโดยการใช้แฟลชร่วมกับการเปิดช้ตเตอร์ทิ้งไว้นานกว่าปกติเพื่อเก็บแสงฉากหลัง
ทำให้ภาพบุคคลและฉากหลังไดัรับแสงพอดี

สปีดชัตเตอร์

Night Portrait Mode

โหมดไม่ใช้แฟลช (Flash off mode)

เป็นโหมดที่ไม่มีอะไรพิเศษมากนอกจากการที่แฟลชที่หัวกล้องจะไม่ทำงานให้ไม่ว่า
สถานการที่เราจะถ่ายนั้นมืดแค่ไหนก็ตาม ก็จะใช้การเพิ่มค่าความไวแสง(ISO) ใช้รูรับแสง
กว้างร่วมกับสปีดชัดเตอร์ต่ำๆ เพื่อให้ได้แสงพอดีแทน โหมดนี้เหมาะสำหรับใช้ในสถานที่ที่
ห้ามใช้แฟลช เช่น ในคอนเสิร์ตหรือพิพิธภัณฑ์บางแห่ง และควรใช้ขาตั้งกล้องเพราะสปีด
ชัตเตอร์ตำ่ใช้มือถือกล้องถ่ายภาพอาจสั่นไหว

รูรับแสงกว้าง

ค่าความไวแสง(ISO)
สปีดชัตเตอร์ต่ำ

Flash off mode

8

Basic Zone

โหมดการถ่ายภาพอัตโนมัติแบบปรับค่าได้ (Creative Auto Mode)

เป็นโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติแบบใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในกล้องรุ่นใหม่ๆ จริงๆ แล้วโหมด
นี้มีการทำงานที่เหมือนโหมดอัตโนมัติ (Full Auto)เกือบทุกอย่างสิ่งที่ต่างออกไปก็คือผู้ใช้
สามารถปรับค่าต่างๆ บางค่าได้ หรือให้แฟลชทำงานหรือไม่ก็ได้ เลือกระบบขับเคลื่อนภาพ
(ถ่ายภาพต่อเนื่องหรือตั้งเวลา) และสามารถปรับค่าพารามิเตอร์เพิ่มได้อีกสองค่า คือ เลือก
ปรับความเบลอของฉากหลังว่าจะให้เบลอหรือคมชัด (ที่จริงก็คือการปรับรูรับแสง)และอีกค่า
คือ เลือกปรับให้ภาพมืดลงหรือสว่างขึ้นกว่าเดิม (ซึ่งก็คือการชดเชยแสงนั่นเอง) โหมดนี้จึงมี
การยืดยุ่นมากกว่าโหมดอัตโนมัติ เหมาะสำหรับผู้ใช้มือใหม่ที่อยากจะลองปรับค่าต่างๆเอง
บ้าง เพื่อสร้างสรรค์ภาพให้ได้ตามที่ต้องการ

ภาพหน้าชัดหลังเบลอ

ผลของภาพที่ชดเชยแสงจากลบไปทางบวก

9

โหมดถ่ายภาพแบบ Creative Zone

โปรมแกรมถ่ายภาพแบบนี้แตกต่างจาก แบบ Basic Zone ก็คือ ผู้ใช้สามารถปรับค่า
ต่างๆด้วยต้วเองเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูรับแสง ความเร็วชัดเตอร์ ค่า ISO ระบบวัดแสง
ระบบโฟกัส ฯลฯ กล้องจะทำหน้าที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง คอยแนะนำค่าต่างๆ ที่เหมาะสมให้กับ
เราเท่านั้นในบางโหมด แต่การควบคุมกล้องหลักๆ กว่า 80% จะอยู่ในมือช่างภาพเองทั้งหมด
ภาพที่ออกมาจะดีไม่ดีจึงขึ้นอยู่กับการปรับกล้องของช่างภาพเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้จะใช้งาน
โหมดนี้จึงควรมีพื้นฐานในการควบคุมกล้องมาพอสมควร โดยแบ่งโหมดการถ่ายภาพออกเป็น
5 โหมด

P โหมดโปรแกรมอัตโนมัติ (Program AE mode)

โหมดโปรแกรม P คือโหมดการถ่ายภาพอัตโนมัติที่ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ

ได้เองทั้งหมด เมื่อเลือกโหมดนี้กล้องจะทำการเลือกรูรับแสงและความเร็วชัดเตอร์ให้เองโดย
วิเคราะห์จากสภาพแสงที่กล้องวัดได้ (คล้ายโหมดอัตโนมัติ) แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ หากเราไม่
พอใจกับค่าความเร็วชัดเตอร์หรือค่ารูรับแสงที่กล้องเลือกขึ้นมาให้ เราสามารถที่จะปรับ (หรือ
เรียกว่าชิฟ) ค่าใดค่าหนึ่งขึ้น-ลงเองได้ตามต้องการ โดยที่กล้องจะทำหน้าที่เหมือนพี่เลี้ยงคอย
ปรับค่าตรงข้ามให้เองเพื่อชดเชยให้ได้ความสว่างเท่าเดิม เช่น เริ่มแรกกล้องเลือกชุดรูรับแสง
ให้ที่ f4 กับชัดเตอร์สปีด 1/60 วินาที หากเราต้องการให้ภาพชัดลึกขึ้นก็สามารถเปลี่ยน (ชิฟ)
ค่ารูรับแสงไปที่ f8 ได้โดยที่กล้องจะทำการเปลี่ยนค่าความเร็วชัดเตอร์ให้โดยอัตโนมัติเป็น
1/15 วินาที เพื่อให้แสงเท่าเดิมภาพที่ได้จึงสว่างเท่าเดิมแต่มีความชัดลึกที่เพิ่มขึ้น

นอกจากการปรับเปลี่ยนค่ารับแสงด้วยตัวเองแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถปรับค่าอื่นๆนอก
เหนือจากนี้ได้อย่างอิสระ เช่น เลือกระบบขับเคลื่อนภาพที่ต้องการ เลือกใช้หรือไม่ใช้แฟลช
เปลี่ยนระบบวัดแสงหรือค่าของอุณหภูมิแสง (White balance) เป็นต้น ซึ่งค่าต่างๆเหล่านี้เรา
ไม่สามารถเปลี่ยนได้หากอยู่ในโหมดอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Full auto) โหมดโปรแกรม
อัตโนมัติ (P) จึงเหมาะสำหรับช่างภาพทุกระดับ ตั้งแต่มือใหม่หัดถ่ายก็สามารถใช้แทนโหมด
อัตโมัติเต็มรูปแบบได้เลย สำหรับช่างภาพที่มีประสบการณ์แล้ว การใช้โหมด P ช่วยให้ถ่าย
ภาพได้รวดเร็วขึ้นหากพบเหตุการแบบกระทันหัน เพราะค่าที่กล้องเลือกมาให้เป็นค่าที่จะรับ
ประกันได้ว่าจะไม่มืดหรือสว่างมากจนเกินไปแน่นอน ข้อควรรู้สำหรับโหมดนี้คือ การชิฟค่ารูรับ
แสงหรือความเร็วชัดเตอร์จะคงอยู่เพียงแค่ครั้งต่อครั้งเท่านั้น หากกล้องวัดแสงใหม่ กล้องจะ
ทำการปรับค่ารูรับแสงและความเร็วชัดเตอร์ตามที่คำนวณให้ใหม่ทุกครั้ง

ชิฟชัดเตอร์สปีด ชิพรูรับ

เปลี่ยนระบบวัดแสง

ชิฟอุณหภูมิแสง

10

Creative Zone

TV โหมดควบคุมรูรับแรงอัตโนมัติ (Time value mode)

โหมดนี้เรากับกล้องจะทำงานคนละครึ่งในการควบคุมค่าแสง โดยที่เราจะเป็นฝ่าย
เลือกค่าความเร็วชัดเตอร์ตามที่ต้องการ ส่วนกล้องจะปรับค่ารูรับแสงให้สัมพันธ์กับค่าความเร็ว
ชัดเตอร์ที่เลือกโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ค่าแสงที่เหมาะสม โหมดนี้จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพ
ที่ช่างภาพต้องการควบคุมความเร็วชัดเตอร์เอง เช่น ใช้ความเร็ว 1/1000 วินาที่ เพื่อหยุดภาพ
รถวิ่ง หรือใช้ความเร็ว 1/15 วินาที่เพื่อถ่ายภาพน้ำตกให้ดูพลิ้วไหว ส่วนเรื่องของรูรับแสงกล้อง
จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยดูให้เองโดยที่เราไม่ต้องพะวง โหมด TV จะใช้่ในการถ่าภาพสิ่งที่
เคลื่อนไหวเป็นหลัก เช่น การถ่ายน้ำตกให้พริ้วไหว ซึ่งต้องใช้สปีดชัดเตอร์ต่ำๆ โดยช่างภาพไม่
ต้องกังวลกับรูรับแสงเพราะกล้องจะคอยปรับรูรับแสงให้สัมพันธ์กับสปีดชัดเตอร์ที่ใช้อยู่โดย
อัตโนมัติ

กล้องปรับรูรับแสงอัตโนมัติ

ผู้ใช้กำหนดชัตเตอร์สปีด

AV โหมดควบคุมความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ (Aperture value mode)

โหมดนี้จะทำงานตรงข้ามกับโหมด TV คือ ช่างภาพเป็นฝ่ายควบคุมรูรับแสงเอง
ส่วนกล้องจะทำหน้าที่คอยปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์ตามเพื่อให้ได้แสงที่พอดี ประโยชน์
ของโหมดนี้ก็คือ ช่วยให้เราควบคุมความชัดลึกของภาพให้ได้ตามต้องการ เช่น ในการถ่ายภาพ
บุคคลที่ต้องการเบลอฉากหลังเพื่อให้แบบดูโดเด่น หรือในการถ่าภาพทิวทัศน์ที่ต้องการความ
คมชัดตั้งแต่ฉากหน้าจนถึงท้องฟ้าข้างหลัง

การใช้งานในโหมดนี้มีข้อควรระวังคือ บางครั้งเมื่อเราปรับรูรับแสงแคบมากๆ
เพื่อต้องการความชัดลึกสูงอาจทำให้ความเร็วชัดเตอร์ที่กล้องเลือกให้ต่ำมากจนไม่สามารถถือ
กล้องให้นิ่งได้ หากสังเกตุว่าความเร็วชัตเตอร์ในขณะนั้นต่ำกว่า 1/ทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่
กำลังใช้อยู่หรือจำไว้ว่าถ้าชัตเตอร์ต่ำกว่า 1/60 ต่อวินาที ก็ควรจะใช้ขาตั้งกล้องเพื่อให้ได้ภาพ
ที่คมชัดแต่สิ่งที่ถ่ายควรเป็นวัตถุที่อยู่นิ่งด้วย

ผู้ใช้กำหนดรูรับแสงเอง

กล้องจะปรับชัตเตอร์สปีดอัตโนมัติ

11

M โหมดปรับตั้งค่าด้วยตัวเอง M (Manual mode)

เป็นโหมดที่ผู้ใช้ทำหน้าที่ควบคุมกล้องด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งค่รูรับแสงและความเร็ว

ชัตเตอร์ โดยที่กล้องจะไม่เข้ามายุ่งในการปรับค่าใดๆเลย ภาพที่ได้จะออกมามืดหรือสว่างขึ้น

อยู่กับผู้ใช้เป็นหลัก การใช้งานในโหมดนี้จึงค่อนข้างยากสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์

เพราะต้องควบคุมการเปิดรับแสงเอง หากยังไม่คุ้นเคยอาจปรับได้ช้าและผิดพลาดได้
อย่างไรก็ตาม โหมด M ะมีประโยชน์ในการถ่ายภาพหลายๆสถานการณ์ เช่น ในสภาพที่

แสงคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยนัก (อย่างเช่นในสตูดิโอ) ในการถ่ายภาพที่ระบบวัดแสงของกล้อง
ทำงานได้ไม่ดี เช่น ในตอนกลางคืนหรือถ่ายภาพย้อนแสง การถ่ายภาพโดยใช้แฟลชภายนอกก็
เหมาะที่จะใช้โหมด M เช่นกัน เพราะเราสามารถวัดแวสงครั้งเดียวแล้วถ่ายได้ตลอดงานจนกว่า
แสงจะเปลี่ยน และในโหมด M ค่ารูรับแสงและความเร็วชั๖เตอร์ที่ตั้งไว้จะไม่เปลี่ยน ทำให้ไม่
ต้องพะวงไปกับความชัดลึกหรือความเร็วชัตเตอร์ที่มักแกว่งไปแกว่งมาเหมือนในโหมด P, Tv,
หรือ Av นอกจากนี้โหมด M ยังเหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น
ถ่ายพลุ การถ่ายแสงไฟให้เป็นเส้นสายหรือการถ่ายภาพให้มืดหรือสว่างกว่าปกติเพื่อสร้างสรรค์
ภาพไปในแนวที่ต้องการ โหมด M เหมาะสำหรับการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ที่ต้องอาศัยการ
ควบคุมค่าต่างด้วยตัวเอง

A-Dep โหมดควบคุมความชัดลึกอัตโนมัติ (Auto Depth of Field mode)

จริงๆแล้วโหมดนี้คือโหมดอัตโนมัติแบบหนึ่ง ประโยชน์ของโหมดนี้คือช่วยให้วัตถุ
อยู่ในพื้นที่ของจุดโฟกัส มีความคมชัดทั้งหมด โดยมีหลักทำงานคือ กล้องจะทำการวิเคราะห์ระยะ
ทางของวัตถุที่อยู่ใกล้กล้องที่สุดกับวัตถุที่อยู่ไกลกล้องที่สุด (เฉพาะที่อยู่ในจุดโฟกัส) จากนั้นจะ
ทำการคำนวณหาค่ารูรับแสงเพื่อให้ได้ความชัดลึกที่ครอบคลุมวัตถุทั้งสองได้พอดี ภาพที่เหมาะ
กับการใช้งานโหมดนี้คือ การถ่ายภาพหมูและการถ่ายภาพทิวทัศน์ทั่วๆไป ในการใช้งานใน
โหมดนี้ผู้ใช้จะได้สามารถปรับรูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ได้

จุดโฟกัสไกล

จุดโฟกัส

จุดโฟกัสใกล้

12

การจัดองค์ประกอบภาพ

Composition

การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)

คือ วิธีจัดวางวัตถุหรือสิ่งต่างๆที่ต้องการถ่ายภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
สวยงามโดยต้องอาศัยความรู้ทางด้านศิลปะ ในการจัดวางฉากหน้า ฉากหลัง แสงเงา รูปทรง
พื้นผิว โทนสี ช่องว่าง ความรู้สึก อารมณ์ ที่จะปรากฏบนภาพถ่ายให้มีความสมดุลกัน การจัด
องค์ประกอบภาพที่ดีจะช่วยให้ภาพถ่ายดีสวยงามลงตัวน่าดู เราสามารถถ่ายภาพให้ดูดีได้
โดยอาศัยหลักการจัดองค์ประกอบภาพต่างๆ ซึ่งแต่ละกฏจะนำมาใช้เป็นแนวทางในการถ่าย
ภาพให้สวยงาม แต่ก็มิใช่เป็นกฏที่ต้องปฏิบัติอย่างเครงครัด เพราะบางสถานะการก็มีขีด
จำกัดหรือบางครั้งก็ต้องแหกกฏ เราแบ่งวัตถุที่จะถ่ายออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. วัตถุที่สามารถจัดวาง ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการหรือสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้
เช่น การถ่ายภาพคน สัตว์ หรือสิ่งของที่ไม่ใหญ่

วัตถุที่สามารถจัดตำแหน่งได้

2. วัตถุที่ไม่สามารถกำหนดหรือจัดตำแหน่งได้ เช่น วิว ดอกไม้ นก สัตว์ป่าหรือตึกรามบ้าน
ช่อง ต้องใช้การจัดวางมุมกล้องให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ

วัตถุที่ไม่สามารถกำหนดหรือจัดตำแหน่งได้ 13

Composition

!

กฏสามส่วน (RULE OF THIRD)

กฏสามส่วนเป็นวิธีจัดองค์ประกอบแบบพื้นฐานที่สุด แต่ก็ได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างไม่น่าเชื่อ โดยมีวิธี
การคือให้แบ่งภาพออกเป็นสามส่วนเท่าๆกัน ตามแนวตั้งหรือแนวนอนของภาพ โดยหลักการนี้
นิยมนำไปใช้กับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์หรือจะประยุกต์ใช้กับการถ่ายภาพแบบอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน
สำหรับการถ่ายภาพด้วยกฏสามส่วนนี้ ช่างภาพจะต้องวางเส้นขอบฟ้า หรือเส้นของภาพไว้
บริเวณเส้นแบ่งที่เหมาะสมโดยให้คำนึงถึงรายละเอียดสำคัญว่าอยู่ส่วนไหนของภาพมากกว่า
เช่นการถ่ายภาพทะเลซึ่งมีฉากหน้าสวยๆก็จัดให้มีพื้นที่ 2 ใน 3 ของภาพแต่ถ้าท้องฟ้ามีเมฆ
สวยๆก็จัดให้ท้องฟ้ามีพื้นที่ 2 ใน 3 เป็นต้น

14

Composition
จุดตัดเก้าช่อง

สำหรับกฏที่ว่านี้มีหลักการคือ ให้หลีกเลี่ยง
การถ่ายภาพที่วางจุดสนใจไว้กลางภาพเพราะจะ
ทำให้ภาพน่าเบื่อ แต่ให้จินตนาการไปว่าที่ช่องมอง
ภาพมีเส้นตรง 4 เส้น เป็นเส้นแนวตั้ง 2 เส้นแนวนอน
2 เส้นพาดตัดกันทำให้ช่องมองภาพถูกแบ่งออกเป็น
เก้าช่องเท่าๆ กันและมีจุดตัด 4 จุด หลังจากนั้นย้าย
จุดสนใจไปไว้ตรงจุดตัดใดก็ได้ใน 4 จุด ขึ้นอยู่กับ
ลัษณะภาพและความเหมาะสม เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้
ภาพดูมีเรื่องราวและสวยงามขึ้นกว่าเดิมแล้ว

15

Composition
กฏสามเหลี่ยมทองคำ!

การจัดองค์ประกอบแบบนี้จะคล้ายๆกับกฏสามส่วน แต่แทนที่จะใช้สี่เหลี่ยมผืนผ้า กลับ
ไปใช้สามเหลี่ยมแทน ซึ่งทำให้จุดโฟกัสจากมุมหนึ่งไปสู่อีกมุมหนึ่ง อีกทั้งยังมีอีกสองเส้นที่มา
บรรจบกันที่เส้นตรงกลาง ทำให้เกิดสามเหลี่ยมที่เท่ากัน
ดูจากภาพตัวอย่างนี้ได้ ภาพจะให้ความรู้สึกถึงเส้นที่วิ่งจากมุมบนขวาไปยังล่างซ้าย เส้น
สามเหลี่ยมเล็กด้านขวาก็วิ่งใกล้ๆกับขอบตึก และมุมของสามเหลี่ยมก็ยังไปตรงกับมุมสิ่ง
ก่อสร้างอีกด้วย

นอกจากนี้ยังใช้กับกรณีอื่นได้ด้วย เช่นภาพนี้ที่ใช้หัวของรูปปั้นในการกำหนดทิศของเส้นได้
อย่างลงตัวเราสามารถมองให้มันเป็นสามเหลี่ยมโดยอัตโนมัติ

16

Composition

เส้นโค้ง

เป็นเส้นอีกแบบที่สามารถนำมาเล่นใน
ภาพถ่าย โดยเฉพาะเส้นโค้งแบบตัว S ที่มักเจ
อบ่อยๆ ในโค้งบนถนน หรือโค้งบนชายหาด
หรืออาจจะลองนำวัตถุชิ้นเล็กๆ มาเรียงต่อกัน
เป็นเส้นโค้งก็ได้ ซึ่งเส้นสายลักษณะนี้จะช่วย
เพิ่มความรู้สึกแบบลื่นไหล นุมนวล อ่อนไหว

วัตถุนำสายตา

เป็นการถ่ายภาพโดยนำวัตถุต่างๆ ที่มี
รูปทรง ทิศทาง มาเรียงต่อๆกันเพื่อสร้างเป็น
ตัวนำสายตาไปสู่จุดเด่นของภาพ ซึ่งจะช่วยสร้าง
มิติ และเสริมเนื่อหาให้ภาพได้เป็นอย่างดี

17

Composition
กรอบภาพ (Frame with Frame)

การถ่ายภาพโดยการใช้กรอบคือ การนำ
ช่องว่างหรือวัตถุต่างๆ มาสร้างเป็นกรอบรอบๆ วัตถุ
เพื่อเน้นให้เป็นจุดเด่นของภาพ เนื่องจากเป็นการ
บังคับให้สายตาของเราเพ่งมองไปยังภาพที่อยู่หลัง
กรอบ ซึ่งช่วยให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

จัดฉาก (จัดฉากหน้า กลาง หลัง)

การจัดฉากคือ เว้นระยะภาพให้มีฉาก
หน้า (Foreground) กลาง (Middle ground)
และหลัง (Background) ซึ่งจะช่วยให้ภาพมีมิติ
ใกล้ กลาง ไกล และมีจังหวะที่สวยงาม ภาพวิว
ทิวทัศน์จะใช้กฏนี้เป็นส่วนใหญ่

18

Composition
ความเป็นระเบียบและจังหวะ

การถ่ายภาพโดยใช้ความเป็นระเบียบ
เป็นหลักในการถ่ายภาพ โดยใช้วิธีเลือกวัตถุที่
มีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกันมาเรียงต่อกัน
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องและเป็นระเบียบ
ซึ่งเราสามารถใช้วัตถุใกล้ตัวมาใช้ หรือการ
เลือกถ่ายภาพแนวต้นไม้ ก็จะทำให้ภาพที่
สมบูรณ์ได้เช่นกัน

สร้างสรรค์ภาพด้วยมุมมองใหม่ๆ

เป็นการถ่ายภาพที่ผู้ถ่ายมีความ
อิสระในการถ่ายหามุมมองใหม่หรือมุมมองที่
ไม่ปกติทีเกิดจากความรู้สึกและไอเดียของผู้
ถ่ายโดยต้องคำนึงในเรื่องจัดองค์ประกอบ
ภาพเป็นหลัการแล้วนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิด
ประโยชน์

19

Composition
สมมาตร (Symmetry)

เป็นรูปแบบการถ่ายภาพโดยจัดวางให้ภาพมีน้ำหนักเท่ากันทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
หรือด้านบนและด้านล่าง ซึ่งให้ความรู้สึกสมดุลและเท่าเทียมกัน ซึ่งการถ่ายภาพลักษณะนี้
สามารถใช้ตัวแบบที่เป็นอาคาร สะพาน หรือเสาไฟฟ้าที่มีขนาดและระยะตายตัวอยู่แลัว หรืออาจ
จะพลิกแพลงโดยการจัดฉากให้คนยืนอยู่ในระยะห่างเท่าๆก็กันได้

การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร

ตัวอย่างภาพทั้งหมดคือการถ่ายภาพแบบสมมาตรหรือจะเรียกการถ่ายภาพแบบสมดุล
(Balance) ซึ่งผู้ที่เริ่มถ่ายภาพจะคุ้นชินเพราะส่วนใหญ่จะวางจุดสนใจ (Subject) ไว้ตรง
กลาง จึงเป็นเรื่องง่ายในการฝึกฝน

20

Composition
การใช้โทนสี (Color Tone)

การใช้โทนสีก็สามารถสร้างให้ภาพเกิดความโดดเด่นสวยงามได้ เช่น การใช้สีที่ตัด
กัน การใช้สีแบบไล่โทน การใช้สีโทนอุ่น โทนเย็น ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะส่งผลให้ภาพที่ถ่ายมา
เกิดความรู้สึกที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของช่างภาพว่าต้องการสื่อความรู้สึกและ
อารมณ์แบบไหน

21

เทคนิคการใช้สมาร์ทโฟนถ่ายภาพ

ปัจจุบันกล้องในสมาร์ทโฟนได้เข้ามามีบทบาทในการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก
ประกอบกับการพัฒนาของกล้องในสมาร์ทโฟนมีคุณภาพดีพอสมควร ทำให้เหมือนว่าเรา
สามารถพกพากล้องไปถ่ายภาพได้ทุกที่ทุกเวลาและสามารถถ่ายภาพในสถานการต่างๆ ได้
อย่างที่เราต้องการและการที่จะถ่ายให้ได้ภาพที่ดีและสวยงามก็ควรจะต้องมีหลักการและ
เทคนิคต่างๆดังนี้

1. มือต้องนิ่ง ภาพที่น่าสนใจอันดับแรกคือความคมชัด เราควรจะฝึกถ่ายให้มือนิ่ง หลีกเลี่ยง
การถ่ายภาพในที่ปริมาณแสงน้อยๆ หรือเข้าไปเซท “ระบบป้องกันการสั่นไหว” ภายในระบบ
ของสมาร์ทโฟนก็จะสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง

2. ฝึกจัดองค์ประกอบ โดยใช้กฏ 3 ส่วน แบ่งภาพออกเป็นตาราง โดยใช้เส้นแนวตั้งหรือ
แนวนอน 3 เส้น พยายามจัดองค์ประกอบให้อยู่ในเส้น ซึ่งถ้าเราใช้เส้นแนวนอนและแนว
ตั้งมาตีลงในภาพ ก็จะเกิดจุดตัดขึ้นมา ที่เราเรียกจุดตัดเก้าช่อง ให้เราวางจุดสนใจของ
ภาพให้อยู่ในตำแหน่งของจุดตั้ดทั้ง 4 จุด ภาพก็จะสวยงามขึ้น ตารางจุดตัด 9 ช่องนี้
สามารถปรับตั้งในฟังชั่นในสมาร์ทโฟนได้

3. พื้นอย่าเอียง เวลาถ่ายภาพให้สังเกตว่าภาพที่ถ่ายตรงหรือเปล่าเพราะส่วนใหญ่จะไม่
สนใจกันเท่าไหร่เรื่องภาพเอียง แต่จริงๆ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อความรู้สึก คังนั้น
ควรพยายามถ่ายภาพออกมาให้ภาพตรง พื้นตรงจะทำให้ภาพดูสวยงาม ใช้เส้นตาราง
ในฟังชั่นของสมาร์ทโฟนเป็นเส้นอ้างอิงก็ได้

4. ถ้าใช้มือถือถ่ายภาพ การใช้แอพพิเคชั่นเข้ามาช่วยปรับแต่ง แก้ไข แต่งเติมหรือปรับ
แสงสี ครอปภาพ ตัดต่อ เป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อจะทำให้ภาพสวยงาม โดยหา download
application ตกแต่งภาพโดยผ่านทาง Play Store ตามความเหมาะสม ในที่นี้จะแนะนำ
SNAPSEED APP ใช้งานง่ายและฟรี สามารถนำมาปรับแต่งได้หลากหลายลองโหลด
มาใช้กัน

5. เรียนรู้มือถือของตัวเองให้หมดทุกด้าน ถ้าจะถ่ายภาพด้วยมือถือก็ควรจะเรียนรู้คุณ
สมบัติกล้องในมือถือ ศึกษาฟังชั่นต่างๆ ว่าถ่ายภาพแบบไหนได้บ้างซูมภาพแล้วภาพ
แตกไหม ถ่ายในที่มืดดีไหม มีลูกเล่นอะไรบ้าง สิ่งเหล่านี้เป็นข้อจำกัด และการสร้างไอ
เดียในการถ่ายภาพและยังสามารถควบคุมคุณภาพของถ่ายให้สวยงามได้

22



ลักษณะภาพข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์

พอจะจำแนกได้ประมาณ 2 ลักษณะตามจุดประสงค์ที่จะเผยแพร่
1. ภาพประกอบข่าว หมายถึง ภาพๆ เดียว หรือหลายภาพที่ลงประกอบข่าว เพื่อให้ผู้

อ่านเข้าใจเนื้อหาของข่าวได้ชัดเจนขึ้น โดยเริ่มจากภาพประธาน รองประธาน ผู้กล่าวนำ ผู้เข้า
ร่วม ภาพมุมกว้าง และควรจบด้วยภาพหมู่แค่นี้ก็ทำให้ได้ภาพข่าวมีเนื่อหาครบถ้วนสมบูรณ์

ตัวอย่างภาพข่าว
2. ภาพข่าวแจก หมายถึง ภาพๆเดียวที่หน่วยงานส่งไปให้สื่อมวลชน หรือส่งมาที่ฝ่าย
ประชาสัมพันธ์กรมที่ดิน โดยหวังว่าให้ภาพถ่ายดังกล่าวเป็นตัวสื่อเรื่องราว หรือกิจกรรมที่
หน่วยงานต้องการเผยแพร่ โดยมีคำอธิบายภาพเป็นส่วนเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวใน
ภาพได้ดียิ่งขึ้น

23

จุดประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ

1. ภาพข่าวบุคคล หมายถึง “ใคร” เป็นภาพที่เฉพาะเจาะจงเผยแพร่บุคคลว่าเป็นใคร ตำแหน่ง
อะไรในองค์กร เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะชนให้รับทราบบทบาท ความสำคัญ อย่างไรในองกรณ์
ส่วนใหญ่จะเป็นภาพเดียว เป็นภาพครึ่งตัว หรือเป็นภาพเต็มต้วก็ได้ นั้งหรือยืนก็ได้ แต่ต้องมี
ความโดเด่น โดยต้องพิถีพิถันในการเลือกพื้นหลังให้เป็นพื้นที่ราบเรียบ ไม่รกยุ่งเหยิงจนไปลด
ความโดดเด่นของแบบ ส่วนใหญ่เป็นภาพที่จัดถ่าย เลือกมุมถ่ายที่แบบดูดีที่สุด และควรถ่าย
หลายมุมเพื่อเอาไว้คัดรูปที่ดีที่สุด

นายประทีป กีรติเรขา!
อธิบดีกรมที่ดิน

2. ภาพข่าวกิจกรรม หมายถึง “ทำอะไร” “เมื่อใด” “อย่างไร” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจะต้องมีเรื่อง
ราวที่ชัดเจนในภาพจะแสดงในภาพเดียวหรือในหลายภาพประกอบก็แล้วแต่จุดประสงค์ของ
การนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และแหล่งเรียนรู้ของการถ่ายภาพแบบนี้จะอยู่ในหนังสือพิมพ์
หน้าสังคม

24

3. ภาพข่าวสถานที่ หมายถึง “ที่ไหน” คือการถ่ายสถานที่ต่างๆที่ต้องการจะนำไปเผยแพร่ เช่น
สถานที่สำคัญทางราชการ โบราณสถาน สถานทท่องเที่ยว ฯลฯ การถ่ายภาพประเภทนี้จะ
ต้องคำนึงถึงเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพค่อนข้างเคร่งครัด จะต้องคำนึงถึงเส้นสาย จะต้อง
เดินดูรอบๆ หามุมภาพที่ดีที่สุด ทิศทางแสง เพื่อจะถ่ายทอดให้ภาพที่ดี โดดเด่น สวยงาม

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาฯ! พระธาตุลำปางหลวง!
ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร อ.เกาะคา จ,ลำปาง

ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

25

ลักษณะภาพถ่ายที่ดีเพื่อการประชาสัมพันธ์

1. สื่อความหมายได้ทันที่ และสื่อความหมายได้ตรงตาม วัตถุประสงค์ของ
ประชาสัมพันธ์นั้นๆ

2. มองเห็นส่วนที่ต้องการเน้น หรือต้องการสื่อได้อย่างชัดเจน

3. เป็นภาพธรรมดาง่ายๆ ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก

26

4. ภาพบุคคล ควรจะจำจัดจำนวนบุคคลในภาพ เช่น ภาพหมู่ ถ้ามีจำนวนคน
มากควรเพิ่มแถว เป็น 2 แถว 3 แถว หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับจำนวน เพื่อให้ได้
สัดส่วนของภาพที่สวยงาม การถ่ายภาพไม่ว่าจะถ่ายอะไรจะต้องคำนึงถึงองค์
ประกอบของภาพเสมอภาพถึงจะเกิดความสวยงามน่าดู น่ามอง

5. พื้นหลัง (Background) ของภาพต้องมีความหมายต่อภาพ ไม่รกยุ่งเหยิง
ส่งเสริมให้ Subject มีความโดดเด่น

6. ภาพข่าวที่ดีควรมีขนาด 5x7 นิ้ว ความละเอียดไม่ควรต่ำกว่า 300 dpi
สำหรับใช้พิมพ์หนังสือ กรณีส่งภาพเพื่อเว็บไซด์ควรมีขนาด 4x6 นิ้ว ความ
ละเอียดไม่ต่ำกว่า 72 dpiภาพต้องคมชัด แสงพอดี สีถูกต้อง

27

ลักษณะภาพข่าวที่จะไม่ได้รับการเผยแพร่

1. เป็นภาพขนาดเล็กกว่าขนาด 4x6 นิ้ว หรือความละเอียดของภาพต่ำมากๆ

2. ภาพขาดความคมชัด แสงน้อยไปหรือมากไป สีผิดเพี้ยน

ภาพแสงน้อย ภาพแสงมาก ภาพสีเพี้ยน ภาพปกติ

3. มีบุคคลในภาพมากเกินไป

4. มีองค์ประกอบไม่ชัดเจน หรือผิดหลักการการจัดองค์ประกอบ

5. ดูแล้วไม่เกิดความรู้สึกใดๆ ไม่มีชีวิตชีวา ขาดเรื่องราว

28!


Click to View FlipBook Version