The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สำนักมาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วารสารกรมที่ดิน 114 ปี (ปี 2558)

สำนักมาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ

Keywords: ด้านบริหารงานที่ดิน

สารจากอธิบดี

๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ครบรอบการสถาปนากรมที่ดิน ๑๑๔ ปี
กรมที่ดินได้ถือโอกาสอันดีนี้  กำ�หนดให้ปี  ๒๕๕๘  เป็นปีแห่งการ
พัฒนาปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชนและปรับเปลี่ยนทัศนคติ
บุคลากรผู้ให้บริการครั้งใหญ่  มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน
ภายใต้คำ�ขวัญ  “สำ�นักงานที่ดินทั่วไทย  รวดเร็ว  โปร่งใส 
ใส่ใจบริการ”  โดยกำ�หนดแนวทางปฏิบัติให้ทุกสำ�นักงานที่ดินปรับปรุง
การให้บริการ ก�ำ หนดมาตรฐานเวลาและข้ันตอนการให้บริการทีช่ ดั เจน  รวดเรว็   จดั ท�ำ คู่มือการให้บริการ 
พัฒนาปรับปรุงโปรแกรมคำ�นวณภาษีอากรให้ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ด้วยตนเองผ่านทาง  Internet 
เพื่อสร้างความโปร่งใส  รวดเร็ว  ตอบสนองการบริการประชาชน  กำ�หนดมาตรการพัฒนาบุคลากรให้มี
จิตวิญญาณการให้บริการ  (Service  Mind)  และมีการป้องปราบเรื่องการทุจริตอย่างจริงจัง  ทั้งยังสร้าง
แรงจูงใจด้วยการจัดให้มีการคัดเลือกสำ�นักงานที่ดินที่มีการบริหารจัดการดีเด่นในการดำ�เนินการตาม
แนวทางดงั กล่าวอีกด้วย
นอกจากนี้  การสร้างความรู้  ความเข้าใจในหลักกฎหมาย  ระเบียบ  และวิธีปฏิบัติให้แก่
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนผู้ใช้บริการ  ย่อมจะยังประโยชน์แก่การปฏิบัติงานให้บริการประชาชน
ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และสร้างความเชื่อมั่นในสิทธิการถือครองที่ดินให้แก่ประชาชนและทุกภาคส่วน
ทง้ั ภาครฐั และภาคเอกชน  วารสารทด่ี นิ ฉบบั พเิ ศษน ้ี ขอมสี ว่ นรว่ มน�ำ เสนอเรอ่ื งราวการออกเอกสารสทิ ธใิ นทด่ี นิ
นับแต่ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการถือครองที่ดินจวบจนมาเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในปัจจุบัน
กระบวนการขั้นตอนที่สำ�คัญตั้งแต่การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  ได้แก่  โฉนดที่ดิน  หนังสือรับรอง
การท�ำ ประโยชน์  ไปจนถงึ การเพกิ ถอนหรือแกไ้ ขหนงั สือแสดงสิทธิในทดี่ ินทอ่ี อกไปโดยไม่ชอบดว้ ยกฎหมาย
ตลอดจนคำ�วินิจฉัยและแนวทางปฏิบัติของกรมที่ดินซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและ
บุคคลผู้สนใจได้เข้าใจในแนวทางปฏิบัติของกรมที่ดิน  อันจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ด้านความเชื่อมั่น
ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อกรมทีด่ ินให้เพิม่ มากขึ้น
ในวาระครบรอบ ๑๑๔ ปี ของกรมที่ดิน ผมขออำ�นาจคุณพระศรีรตั นตรัยและสิ่งศกั ดิ์สิทธิ์
ท้ังหลาย จงดลบนั ดาลให้พีน่ ้องชาวดินทุกท่าน ประสบแต่ความสขุ เจริญด้วยจตุรพิธพรชยั และสมั ฤทธิผล
ในสิง่ อันพึงปรารถนาทุกประการ



(นายศิริพงษ์ ห่านตระกลู )
อธิบดีกรมที่ดิน

สารบัญCONTENT ปีท่ี ๖๑ ฉบบั ท่ี ๑ เดอื น มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

๑ สารจากอธิบดี
๓ ความเปน็ มาของการออกหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ ิน
๓๒ การออกหนงั สือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายทีด่ ิน
๘๕ การออกหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ ินโดยการเดินสำ�รวจ

๑๐๒ การออกหนงั สือแสดงสิทธิในที่ดินโดยการเปลี่ยนหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์

(น.ส. ๓ ก.) เป็นโฉนดที่ดิน

๑๐๕ การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นการเฉพาะราย
๑๒๕ การออกหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ ินในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จงั หวัดภเู ก็ต
๑๓๐ ความรู้เกีย่ วกบั เขตป่าไม้
๑๔๔ กฎหมาย ระเบียบ คำ�สงั่ ทีเ่ กีย่ วข้อง
๑๙๙ แนวทางการวินิจฉัยของกรมที่ดิน
๒๘๕ คติธรรม

๑๑๔ ปี กรมทีด่ ิน ๓

บทที่ ๑

ความเป็นมาในการออกหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ ิน*

การบริหารงานที่ดินของประเทศที่ดำ�เนินการอยู่ในปัจจุบัน  เป็นการวิวัฒนาการทางทฤษฎี
และแนวความคิดต่างๆ  ที่เป็นมาตั้งแต่คร้ังสุโขทัย  จากระบอบการจัดการที่ดิน  โดยพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุขของประเทศ  ที่ดินทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น  บุคคลอื่นจะถือครองที่ดินได้
โดยการได้รบั พระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน แบ่งปันให้แก่ข้าราชบริพาร หรือขนุ นางตามชั้น ต�ำ แหน่ง
ที่กำ�หนดไว้เท่าน้ัน  ต่อมาการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ระบบการถือครองทด่ี นิ เชน่ เดียวกนั ประกอบกบั ระบบเศรษฐกิจทม่ี ีการพฒั นาแนวความคิดทจ่ี ะใหป้ ระชาชน
ผู้ลงแรงทำ�ประโยชน์ในที่ดินได้รับประโยชน์จากที่ดินที่ตนลงแรงไว้มากขึ้น  จึงเป็นวิวัฒนาการโดยเป็นการ
มุ่งพยายามในการจัดระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่เอกชนและประชาชนทั่วไป  เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ และเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน วิวัฒนาการดงั กล่าวได้น�ำ มาสู่ประมวลกฎหมายที่ดินที่
ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินอีกหลายครั้ง  เพื่อเพิ่มความทันสมัยและสอดรับกับ
สถานการณ์ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป

l วิวฒั นาการการออกหนังสือแสดงสิทธิในทีด่ ิน

ค�ำ ว่า “โฉนด” เปน็ ภาษาเขมร หมายความว่า “หนังสือ”
“โฉนด” ความหมาย ตามพจนานุกรม ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
หมายถึง หนงั สือส�ำ คัญของทางราชการแสดงกรรมสิทธิท์ ีด่ ิน ก่อนนี้ถ้าเปน็ สวนปลูกไม้ยืนต้น
เรียกว่า โฉนดสวน ถ้าเปน็ สวนไม้ล้มลุก เรียกว่า โฉนดป่า เมือ่ พ.ศ. ๒๔๔๔ เริ่มออกโฉนดแบบใหม่โดย
วิธีรังวัดปักหลักเขตลงในที่ดินด้วยหมุดหลักฐานการแผนที่  และแสดงรูปแผนที่ที่ดินน้ันลงไว้ในโฉนดด้วย
เรียกว่า โฉนดแผนที่ หนังสือ เช่น ออกโฉนดบาดหมายให้แก่ราชการ (บรมราชาธิบาย ร.๔)

l สมัยสโุ ขทยั

ลกั ษณะการจัดระบบทีด่ ินในสมัยสุโขทยั นบั แต่ขุนศรีอินทราทิตย์สร้างกรงุ สุโขทัย ปรากฏ
หลกั ฐานตามหลกั ศลิ าจารกึ ของพอ่ ขนุ รามค�ำ แหงมหาราช พระมหากษตั รยิ แ์ หง่ กรงุ สโุ ขทยั ปกครองบา้ นเมอื ง
แบบพ่อกับลูก ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๒๐ - ๑๘๖๐ แม้ว่ากรรมสิทธิใ์ นทีด่ ินเปน็ ของพระมหากษตั ริย์ แต่พระองค์
ทรงแบ่งที่ดินให้แก่ประชาชนครอบครองและทำ�ประโยชน์ โดยการส่งเสริมให้ราษฎรเข้าทำ�ประโยชน์ในทีด่ ิน
และเมื่อราษฎรได้เข้าบุกเบิกหักร้างถางพงเข้าทำ�ประโยชน์แล้ว  ทรงยอมรับให้บุคคลนั้นเป็นเจ้าของที่ดิน
ตามข้อความในหลักศิลาจารึกทีว่ ่า

“ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม  สร้างป่าหมาก  ป่าพลู  ทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง  ป่าพร้าว  ก็หลาย
ในเมอื งน้ี ปา่ ลางกห็ ลายในเมอื งน้ี หมากมว่ งกห็ ลายในเมอื งน้ี หมากขามกห็ ลายในเมอื งน้ี ใครสรา้ งไดไ้ ว้
แกม่ นั ”
ข้อความดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าในสมัยสุโขทัยแม้ที่ดินทั้งหมดจะเป็นของพระมหากษัตริย์
ก็ตาม แต่กไ็ ม่จำ�กัดสิทธิของประชาชน ที่ดินสามารถตกเป็นของประชาชนได้ ถ้าประชาชนคนน้ันเข้าจบั จอง
ท�ำ ประโยชนใ์ นทด่ี นิ รวมท้งั การรบั รองสทิ ธิในทด่ี นิ ดงั กล่าวใหส้ ามารถตกทอดเปน็ มรดกตกทอดแกล่ กู หลาน
ต่อไปได้ด้วย ดังปรากฏตามข้อความในหลกั ศิลาจารึกที่ว่า
“ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลกู ขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อ เสื้อคำ�มนั ช้างขอลกู
เ–*ม– น–ียา–เ–ยย–ถีย–วข–ลั –้าย–ม–์ ท–ไ–พิม–าร–ส่ฟ–า–้าร–ข–้า––ไท––ย––ป–่า–ห––ม–า––ก–ป–่า––พลู พ่อเชื้อมันไว้แก่ลกู มนั สิ้น”
นนาายงเสอมมมอารนปนรสะสินิทธุรธะิสเุขวชญ์

๔ ๑๑๔ ปี กรมทดี่ นิ

ในสมัยกรุงสโุ ขทยั นี้ ไม่ปรากฏหลกั ฐานว่าได้มีการออกหนงั สือส�ำ คัญสำ�หรับที่ดินแต่อย่างใด
อาจจะเปน็ เพราะเนอ่ื งจากในสมยั นน้ั ประชาชนยงั ไมม่ าก หากเทยี บกบั จ�ำ นวนทด่ี นิ ยงั มที ด่ี นิ ใหเ้ ขา้ ท�ำ ประโยชน์
เหลืออีกเป็นจ�ำ นวนมาก ยงั ไม่มีการแก่งแย่ง หรือวิวาทกนั ในเรื่องที่ดินท�ำ กินเท่าใดนัก ความจ�ำ เป็นในการ
ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน หรือหลักฐานหนงั สือสำ�คัญสำ�หรับทีด่ ิน จึงมีความจำ�เป็นน้อย

l  สมยั กรงุ ศรีอยุธยา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการบันทึกไว้ว่า ในรชั กาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้า
อู่ทอง)  ประมาณปี  พ.ศ. ๑๙๐๓  มีกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จใช้บังคับ  โดยมีพระบรมราชโองการให้
ขนุ เกษตราธิบดี เสนาบดี ร่างกฎหมายลกั ษณะเบด็ เสร็จเกี่ยวกบั ทีไ่ ร่ นา เรือกสวนขึ้น โดยใช้หลักการบริหาร
ที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวเช่นเดียวกับสมัยสุโขทัย  ที่ดินทั้งหลายเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน  และพระองค์
พระราชทานใหร้ าษฎรเขา้ อยอู่ าศยั ท�ำ กนิ เพอ่ื ไมใ่ หท้ ง้ิ ทด่ี นิ ไวว้ า่ งเปลา่ โดยจะพระราชทานใหก้ บั ขา้ ราชบรพิ าร
และประชาชน โดยมอบหมายให้เสนา นายระวาง นายอากร เปน็ เจ้าหน้าที่ท�ำ การจดั เกบ็ ภาษี ถ้าหากว่า
ผู้ใดต้องการที่ดินทำ�กินในที่ดินต้องการจะได้ที่ดินเป็นของตนเองเพื่อเข้าทำ�ประโยชน์จะต้องไปบอกกล่าว
แก่เสนา นายระวาง นายอากร เสียก่อน เพือ่ ให้ออกไปตรวจสอบสภาพที่ดินนั้นว่า จะใช้ประโยชน์เปน็ ที่นา
ทีไ่ ร่ ทีส่ วนได้หรือไม่ ทีด่ ินนั้นเป็นที่สาธารณะหรือทีห่ วงห้ามหรือไม่ ถ้าที่ดินนั้นมีความเหมาะสม ก็จะมี
การออกใบอนญุ าตซึ่งในครั้งนั้นเรียกว่า “โฉนด” ให้ราษฎรเหล่าน้ันยึดถือไว้เปน็ หลกั ฐาน และที่ดินน้ันเมือ่
ทำ�ประโยชน์แล้วผู้นั้นตายไปก็ให้เป็นมรดกตกแก่ลูกหลานได้ด้วย ตามกฎหมายเก่าที่ปรากฏอยู่ในสมัยนั้น
รวมท้ังการกำ�หนดหลกั เกณฑ์เรือ่ งการทอดทิ้งทีด่ ินทีไ่ ด้จบั จองท�ำ ประโยชน์แล้ว ดงั นี้
กฎหมายลกั ษณะเบด็ เสร็จ บทที่ ๕ มาตรา ๓๓ บญั ญัติว่า
“ถ้าผู้ใดโก่นสร้างเลิกร้ังที่ไร่นาเรือกสวนน้ันให้ไปบอกแก่ เสนานายระวาง นายอากร ไปดู
ที่ไร่นา เรือกสวนทีโ่ ก่นสร้างน้ัน ให้รู้มากแลน้อย ให้เสนานายระวาง นายอากร เขียนโฉนดให้ไว้แก่ผู้เลิกรั้ง
โก่นสร้างนั้น ให้รู้ว่าผู้นั้น อยู่บ้านนั้น โก่นสร้างเลิกรั้งต�ำ บลน้ัน ขึ้นในปีนั้นเท่าน้ันไว้เปน็ ส�ำ คญั ถ้าแลผู้ใด
ลกั ลอบโก่นสร้างเลิกรั้ง ทำ�ตามอำ�เภอใจตนเอง มิได้บอกเสนานายระวาง นายอากร จับได้ก็ดี มีผู้ร้องฟ้อง
พิจารณาเปน็ สัจไซร้ให้ลงโทษ ๖ สถาน ”
กฎหมายลกั ษณะเบด็ เสรจ็ บทที่ ๔๒ บญั ญัติว่า
“ทีใ่ นแว่นแคว้นกรุงเทพฯ พระมหานครศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัตน์ราชธานีบรุ ีรมย์ เปน็ ที่
แห่งพระเจ้าอยู่หวั หากให้ราษฎรทั้งหลายผู้เป็นข้าแผ่นดินอยู่ จะได้เป็นทีร่ าษฎรหามิได้ แลมีพิพาทแก่กัน
ดังนี้
เพราะมันอยู่แล้วมนั ละที่บ้านที่สวนมันเสีย แลมีผู้หนึ่งเข้ามาอยู่ แลล้อมทำ�เอาปลูกสร้างอยู่
ใหเ้ ปน็ สทิ ธแิ กม่ นั อนง่ึ ถา้ ทน่ี น้ั มนั มไิ ดล้ ะเสยี แลมนั ลอ้ มท�ำ ไวเ้ ปน็ ค�ำ นบั แตม่ นั หากไปราชกจิ สขุ ทกุ ขป์ ระการใด
ก็ดี มันกลบั มาแล้วมันจะเข้ามาอยู่เล่าไซร้ ให้คืนให้มนั อยู่ เพราะมนั มิได้ซัดทีน่ ั้นเสีย ถ้ามันซัดที่เสียช้านาน
ถึง ๙ ปี ๑๐ ปีไซร้ ให้แขวงจัดการให้ราษฎรซึ่งหาที่มิได้นั้นอยู่ อย่าให้ที่นั้นเปล่าเป็นทำ�เลเสีย อนึ่ง
ถ้าที่นั้นมนั ปลกู ต้นไม้อัญมณีอนั มีผลไว้ ให้ผู้อยู่ให้ค่าต้นไม้นั้น ถ้ามันพนู เปน็ โคกไว้ ให้บำ�เหนจ็ ซึง่ มันพนู นั้น
โดยควร ส่วนทีน่ ั้นมิให้ซื้อขายแก่กนั เลยฯ”
หลักดังกล่าวเป็นการวางหลักการเกี่ยวกับที่ดินในสมัยอยุธยา  ซึ่งเป็นการปกครองสมัย
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่า  ที่ดินทั้งหลายภายในกรุงเทพมหานครศรีอยุธยาเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน  แต่
พระราชทานใหร้ าษฎรอยอู่ าศยั และท�ำ กนิ โดยเสยี ภาษอี ากรเปน็ เสมอื นคา่ เชา่ เมอ่ื มกี รณพี พิ าทเกย่ี วกบั ทด่ี นิ
ก็ตกอยู่ในการดำ�เนินการของศาลกรมนาเป็นผู้ตัดสิน  หากมีผู้ทอดทิ้งไม่ทำ�ประโยชน์เป็นเวลา  ๙ - ๑๐  ปี
ก็ให้จดั คนเข้าอยู่อาศยั ทำ�ประโยชน์ โดยไม่ปล่อยให้เป็นทีด่ ินรกร้างว่างเปล่า

๑๑๔ ปี กรมที่ดิน ๕
l  สมยั กรุงรตั นโกสินทร์

ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การบริหารที่ดินยงั ใช้แนวทางตามสมัยกรงุ ศรีอยธุ ยาตามกฎหมาย
เบ็ดเสรจ็
ในสมัยรัชกาลที่  ๔  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการออกหนังสือสำ�คัญ
ส�ำ หรับที่ดินขึ้น ซึง่ ขณะนั้นไม่ได้มุ่งในการรับรองกรรมสิทธิ์ทีด่ ิน แต่เปน็ การออกหนังสือส�ำ คญั สำ�หรับทีด่ ิน
เพื่อใช้ในการจดั เก็บภาษีอากร โดยเฉพาะในเรือ่ งภาษีอากรค่านา มีการออกตราจอง ออกตราแดง สำ�หรบั
ที่ดินทีไ่ ด้ทำ�ประโยชน์เป็นนาข้าว
ในสมยั รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการออกหนงั สือส�ำ คัญ
สำ�หรบั ที่ดินบางประเภทแต่ก็ยังไม่ใช่หนังสือสำ�คัญแสดงกรรมสิทธิเ์ ช่นเดียวกนั เช่น
โฉนดสวน ออกในปี จลุ ศักราช ๑๒๓๖ (พ.ศ. ๒๔๑๗) เจ้าพระยาภาศกรวงษ์ ผู้ว่าการ
กรมนา เปน็ ผู้ด�ำ เนินการ ต้ังข้าราชการจำ�นวน ๘ นาย เป็นข้าหลวงไปดำ�เนินการรงั วัดที่สวน เป็นส�ำ รวจ
ให้สำ�หรบั ที่สวนทีป่ ลูกไม้ยืนต้นที่มีอายเุ กิน ๓ ปีขึ้นไป ทีต่ ้องเสียอากรสวนจำ�นวน ๗ ชนิดคือ หมาก พลู
มะปราง มะม่วง ทเุ รียน มังคดุ ลางสาด ผลไม้อื่นๆ น้ันไม่ต้องเสียอากร การสำ�รวจสวนมีก�ำ หนดท�ำ การ
ส�ำ รวจทุกๆ ๑๐ ปี หรือเปลีย่ นรัชกาลใหม่ได้ครบก�ำ หนด ๓ ปี โดยมุ่งหมายในการเกบ็ อากรสวนเท่านั้น
โฉนดป่า  ออกในคราวเดียวกับโฉนดสวน  เป็นการออกให้สำ�หรับที่สวน  ที่ปลูกไม้ล้มลุก
พรรณไม้ขนาดเลก็ ซึ่งไม่ใช่ไม้ยืนต้น และไม่อยู่ในข่ายต้องเสียอากร เช่น สวนผัก สวนอ้อย สวนจาก เปน็ ต้น
เพื่อเป็นหลักฐานสำ�หรับเจ้าของที่ดิน โฉนดป่าเจ้าเมือง กรมการเป็นผู้ออกให้มิได้เกี่ยวกับข้าหลวงเสนา
แต่อย่างใด การเก็บโฉนดป่าเกบ็ ตามจำ�นวนเนื้อที่
หนังสือสำ�คัญส�ำ หรบั ทีบ่ า้ น ออกให้เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ เท่าน้ัน โดยกระทรวงนครบาล
หนังสือสำ�คัญสำ�หรับที่บ้านไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือเพื่อเก็บภาษี  แต่ออกให้เพื่อเป็นหลักฐานและ
ขอบเขตที่ดินทีป่ ลกู บ้านอยู่อาศยั เท่าน้ัน
ระบบงานทะเบียนทีด่ ินของประเทศไทย ได้รับรูปแบบและโดยได้นำ�มาปรับปรงุ มาจากระบบ
Torrens ของประเทศออสเตรเลีย ซึง่ ได้แพร่ขยายมาทางสิงคโปร์ มาเลเซีย
ในปี ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) มีพระบรมราชโองการว่าด้วยการออกหนงั สือส�ำ คัญสำ�หรับ
ที่ดินและการท�ำ ทะเบียนทีด่ ินขึ้นเป็นคร้ังแรก ซึง่ เรียกว่า ประกาศออกโฉนดทีด่ ินมณฑลกรงุ เก่า ร.ศ. ๑๒๐
และประกาศออกโฉนดทีด่ ิน ร.ศ. ๑๒๐ ซึง่ ถือว่าเปน็ กฎหมาย หลกั การสำ�คญั ของประกาศฉบบั นี้ ได้ก�ำ หนด
วิธีการท�ำ หลกั ฐานทางแผนทอ่ี อกโฉนดทด่ี นิ ใหก้ รรมสิทธกิ์ บั ผ้ถู ือครองทด่ี ินได้วางหลกั เกณฑว์ ิธีการเกยี่ วกบั
การจัดท�ำ ทะเบียนที่ดิน ซึง่ ด�ำ เนินการอยู่ในปัจจุบนั เพื่อความสะดวกแก่การตรวจสอบและค้นหาแปลงทีด่ ิน
ในปี ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ได้ออกพระราชบัญญตั ิออกตราจองที่ดินชั่วคราว ร.ศ. ๑๒๑
โดยการออกตราจองให้ในท้องทีท่ ีก่ ารออกโฉนดที่ดินยงั ไปไม่ถึง แต่ราษฎรเข้าท�ำ ประโยชน์ ได้หักร้างถางพง
ก่นสร้างทำ�ประโยชน์ในที่ดินแล้วก็จะมีการออกตราจองช่ัวคราวให้ยึดถือไว้เป็นหลักฐานก่อน  เพื่อป้องกัน
การทะเลาะวิวาท แย่งชิงที่ดินกนั
ในปี  ร.ศ. ๑๒๔  (พ.ศ. ๒๔๔๘)  ได้ออกพระราชบัญญัติออกโฉนดตราจอง  ร.ศ. ๑๒๔
โดยการเปลี่ยนชื่อจากพระราชบัญญัติออกตราจองที่ดินช่ัวคราว  ร.ศ. ๑๒๑  ซึ่งบังคับใช้เฉพาะในพื้นที่
มณฑลนครชัยศรี  มณฑลกรุงเทพฯ  และมณฑลปราจีนบุรี  เป็นชื่อ พระราชบัญญัติออกโฉนดตราจอง
ร.ศ. ๑๒๔ และให้ใช้ในมณฑลพิษณุโลก เพื่อออกโฉนดตราจองในพื้นที่ ๔ จงั หวดั ได้แก่จังหวัดอุตรดิตถ์
พิจิตร พิษณโุ ลก สุโขทยั ซึ่งเมือ่ มีการเปลีย่ นแปลงการปกครองเขตจังหวัดภายหลังจึงรวมถึงพื้นทีบ่ างส่วน
ของจังหวัดนครสวรรค์

๖ ๑๑๔ ปี กรมท่ีดนิ

ในปี ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) ได้ออกพระราชบัญญตั ิออกโฉนดทีด่ ิน ร.ศ. ๑๒๗ ซึ่งเป็นการ
ออกในรูปพระราชบัญญัติเป็นคร้ังแรก  กฎหมายเดิมเป็นการออกในรูปประกาศเท่านั้น  โดยการรวบรวม
ประกาศต่างๆ ซึง่ ถือว่าเปน็ กฎหมายมาไว้ในที่เดียวกนั ทั้งในเรือ่ งการออกตราจอง การออกหนังสือสำ�คญั
ต่างๆ เพื่อความสะดวกในการใช้และให้เหมาะสมกบั สภาพในขณะนั้น สาระสำ�คญั ของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่ง
ถือว่าเป็นพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดินฉบับแรก  ครอบคลุมเรื่องการชำ�ระความเรื่องพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน
วิธีการรังวดั ออกโฉนดที่ดิน  การจดทะเบียนทีด่ ิน โดยมุ่งเรื่องการจัดการเกี่ยวกับการให้กรรมสิทธิใ์ นที่ดิน
มากกว่าในเรื่องการจดั เก็บภาษีอากรเช่นสมัยก่อน
ต่อมามีการแก้ไขพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดินดังกล่าวอีกหลายครั้งโดยออกพระราช
บัญญตั ิออกโฉนดทีด่ ิน เป็น พระราชบัญญตั ิออกโฉนดทีด่ ิน ฉบบั ที่ ๒, ๓, ๕, ๖, ๗ เพื่อแก้ไขความในบาง
มาตราให้เหมาะสมกบั นโยบายของรฐั ในขณะนั้น โดยฉบับแก้ไขที่สำ�คญั คือพระราชบัญญัติออกโฉนดทีด่ ิน
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้มีหลักการการจดั ที่ดินให้แก่ประชาชน ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าจบั จอง
ทีด่ ิน อันเป็นที่รกร้างว่างเปล่าของรฐั ได้ ด้วยการไปยืน่ ค�ำ ขอต่อนายอำ�เภอเจ้าของท้องที่ และจะไปถึงข้ัน
การออกใบเหยียบยาํ่ ออกตราจองให้ไว้เปน็ หลกั ฐาน ดงั น้ัน การออกใบเหยียบยา่ํ หรือ การออกตราจอง
ส่วนใหญ่จึงเปน็ การออกตามพระราชบญั ญัติฉบับนี้

กฎหมายที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์ในการจัดการระบบที่ดิน
การถอื ครองทด่ี นิ การจดั ระเบยี บทด่ี นิ ซง่ึ กระจดั กระจาย มกี ารยกเลกิ แกไ้ ขซง่ึ เปน็ การยากตอ่ การด�ำ เนนิ การ
ดังน้ันในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ กรมทีด่ ินจึงได้ด�ำ เนินการรวบรวมจัดหมวดหมู่ กฎหมายทีเ่ กี่ยวข้องทั้งหมด แก้ไข
ปรับปรุงและนำ�หลักเกณฑ์ในเรื่องการจัดที่ดิน การถือครองที่ดินของนิติบุคคล การรวบรวมกฎหมาย
ดังกล่าวจัดทำ�ในรูปของประมวลกฎหมายที่ดิน  โดยออกใช้บังคับเมื่อวันที่  ๑  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๙๗
โดยอาศัยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินและต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน
อีกหลายคร้ังเพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ  การเมือง  สังคม
ความเปน็ อยู่ของประชาชนและอื่นๆ ในแต่ละสมยั

l  หนงั สือแสดงสิทธิในที่ดินประเภทต่างๆ
ใบเหยียบย่ํา  เป็นใบอนุญาตให้จับจองที่ดินเพื่อให้ผู้ขอเข้าครอบครองทำ�ประโยชน์ในที่ดิน

ให้เกิดประโยชน์
- ใบเหยียบยํา่ ซึ่งมีมาก่อน ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) เปน็ ใบอนญุ าตให้ราษฎรจบั จองทีด่ ิน
เพือ่ ท�ำ ประโยชน์ เป็นการจับจองทีอ่ อกตาม พ.ร.บ. สำ�หรบั ผู้รักษาเมืองกรมการ และเสนากำ�นันอ�ำ เภอ
ซึง่ จะออกประเมินนา จลุ ศกั ราช ๑๒๓๖ และแก้ไขเพิม่ เติมในปี จุลศักราช ๑๒๔๔ ผู้ใดประสงค์จะขอทีด่ ิน
ทำ�กินก็ไปบอกเสนาก�ำ นนั ซึง่ เปน็ พนกั งานเจ้าหน้าทีใ่ ห้ตรวจสอบพิจารณา แล้วออกใบเหยียบยํ่าให้ โดยให้
ท�ำ ประโยชน์ให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี ถ้าไม่เข้าทำ�ประโยชน์ก็สิ้นสิทธิการจับจอง ท�ำ ได้เพียงใดก็ได้เฉพาะที่
ทำ�ประโยชน์แล้ว
- ใบเหยียบยํ่า ออกตามข้อบังคับการหวงห้ามที่ดิน ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) นายอำ�เภอ
เป็นพนกั งานเจ้าหน้าที่ มีก�ำ หนด ๑๒ เดือน ครบแล้วต่ออายไุ ด้อีก ๑๒ เดือน ถ้าผู้ถือใบเหยียบยํา่ มีความ
ประสงค์จะให้ปัน แลกเปลีย่ นหรือขาย ก็น�ำ ใบเหยียบยาํ่ ไปขอเปลี่ยนเจ้าของได้โดยผู้รับโอนจะมีสิทธิจบั จอง
ตามอายุของใบเหยียบย่าํ ทีเ่ หลือ
- ใบเหยียบยา่ํ ออกตามกฎกระทรวงเกษตราธิการ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) หมวดที่ ๘
ว่าด้วยการจับจองที่ดิน  หากผู้ใดจะจับจองที่ดินว่างเปล่าในท้องที่ที่ได้ออกโฉนดอย่างใหม่  (โฉนดแผนที่)
แล้วให้ปักเขตที่ดินของตนแล้วยืน่ เรื่องต่อกรมการอำ�เภอ ใบเหยียบยํ่านี้มีอายุ ๑ ปี และโอนต่อให้ผู้อื่นไม่ได้

๑๑๔ ปี กรมทด่ี นิ ๗

- ใบเหยียบยํา่ ออกตาม พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) หมวดที่ ๑๑
ว่าด้วยการจับจองที่ดินมีวิธีดำ�เนินการเช่นเดียวกับการออกใบเหยียบยํ่า  ตามกฎกระทรวงเกษตราธิการ
ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔)
- ใบเหยียบย่าํ ออกตามความในพระราชบญั ญตั ิออกโฉนดทีด่ ิน (ฉบบั ที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๗๙
เป็นใบอนุญาตตามแบบพิมพ์หลวงที่นายอำ�เภอออกให้โดยระบุตำ�แหน่งจำ�นวนเนื้อที่และเขตที่ดิน  ผู้ใด
ประสงค์จะขอจบั จองทีด่ ินจะต้องยื่นคำ�ขอจบั จองทีด่ ินตามแบบหมายเลข ๑ ต่อคณะกรมการอำ�เภอที่ที่ดิน
น้ันต้ังอยู่ หลงั จากการรังวดั และสอบสวนสิทธินายอำ�เภอจะออกใบเหยียบย่ําให้แต่ไม่เกิน ๕๐ ไร่ และต้อง
ท�ำ ประโยชน์ให้แล้วเสรจ็ ภายใน ๒ ปี นบั แต่วนั ที่ได้รับใบเหยียบยํ่า จะสิ้นสิทธิในการจบั จองในส่วนที่ยงั ไม่
ได้ทำ�ประโยชน์ ใบเหยียบยาํ่ เป็นเพียงหลกั ฐานใบอนุญาตให้จับจองเท่าน้ันจะจ�ำ หน่ายจ่ายโอนไม่ได้ เว้นแต่
ตกทอดทางมรดก
- ใบเหยียบยํ่า ออกตามข้อบังคับชั่วคราวสำ�หรับเพาะปลูกสวนใหญ่ ปลูกสวนสมพักศร
(ปลกู พันธ์ุไม้ล้มลกุ อันมีอายุไม่เกิน ๓ ปี) ทีไ่ ร่ ที่นา ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) เฉพาะมณฑล ชุมพร
นครศรีธรรมราช ปตั ตานี ภเู ก็ต และจันทบรุ ี เท่าน้ัน

ตราจอง

- ตราจอง ออกตาม พ.ร.บ. สำ�หรับผู้รักษาเมืองกรมการและเสนาก�ำ นนั อำ�เภอ ซึง่ ออก
เดินประเมินนา จลุ ศกั ราช ๑๒๓๖ โดยข้าหลวงกรมนาเปน็ ผู้ออกให้เพื่อความสะดวกในการเกบ็ เงินค่านา
- ตราจอง ทข่ี า้ หลวงขดุ คลองออกให้ ตามประกาศขดุ คลอง จลุ ศกั ราช ๑๒๓๔ (พ.ศ. ๒๔๒๐)
ออกให้แก่ราษฎรที่ออกเงินหรือแรงในการช่วยขุดคลอง เช่น คลองรงั สิต คลองประเวศบรุ ีรมย์ คลองใน
ทุ่งหลวง เป็นต้น
- ตราจองช่วั คราว ออกตาม พ.ร.บ.ตราจองชัว่ คราว ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ต่อมามี
ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น พ.ร.บ.ออกโฉนดตราจอง และให้ใช้ในมณฑลพิษณโุ ลก ใน ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
เรียกตราจองดงั กล่าวว่า โฉนดตราจอง
การออกโฉนดตราจองช่ัวคราว  หรือโฉนดตราจองนี้  เป็นการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่ยังไม่
สามารถออกโฉนดแผนทีไ่ ด้โดยจะใช้ พ.ร.บ นี้ ในท้องทีใ่ ด ให้ประกาศในราชกิจจานเุ บกษา ใช้เปน็ ท้องทีไ่ ป
โดยข้าหลวงเกษตรเป็นผู้ออกให้  และจัดตั้งหอทะเบียนที่ดินเพื่อเป็นที่เก็บรักษาและตั้งนายทะเบียนเพื่อ
รับจดทะเบียนด้วย  แต่ถ้าทางการดำ�เนินการออกโฉนดแผนที่ให้เมื่อใดก็ให้เปลี่ยนมารับโฉนดแผนที่ต่อไป
ท้องที่ทีเ่ คยมีการออกตราจองช่วั คราวได้แก่ อ�ำ เภอนครไชยศรี อำ�เภอบางขุนเทียน จังหวดั ชลบรุ ี จังหวัด
พิษณโุ ลก จังหวดั พิจิตร จังหวดั อตุ รดิตถ์
วิธีการออกและการจดทะเบียนที่ดินตามตราจองช่ัวคราวหรือโฉนดตราจองนี้เป็นไปทำ�นอง
เดียวกับเรื่องโฉนดแผนที่ทุกประการ  ซึ่งมีแผนที่ประกอบไว้หลังตราจองน้ันด้วยแต่ต่างกันโดยข้าหลวง
เกษตรเป็นผู้ลงนามและประทับตราแต่ผู้เดียวเท่าน้ัน ส่วนโฉนดแผนที่ต้องประทับตราผู้บญั ชาการเมืองและ
นายอ�ำ เภอท้องทีน่ ้ันด้วยอีก ๒ ดวง
ตราจองที่เป็นใบอนุญาตออกตามความในพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน  (ฉบับที่  ๖)
พ.ศ. ๒๔๗๙ ประกาศใช้เมือ่ วนั ที่ ๗ เม.ย. ๒๔๘๐ เป็นตราจองทีเ่ ป็นใบอนุญาต แต่ก็สามารถเปลี่ยนเปน็
ตราจองทีต่ ราว่า “ได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว” ได้ทนั ที โดยการสลกั หลงั ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตราจองที่ตราว่า
ได้ทำ�ประโยชน์แล้วนั้น  ผู้ถือมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายเป็นหนังสือสำ�คัญแสดงกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับ
โฉนดแผนที่

๘ ๑๑๔ ปี กรมที่ดนิ

โฉนดตราจอง
โฉนดตราจอง เปน็ หนงั สือสำ�คญั แสดงกรรมสิทธิ์ในทีด่ ิน ออกตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดตราจอง
และให้ใช้ในมณฑลพิษณุโลกใน  ร.ศ. ๑๒๔  (พ.ศ. ๒๔๔๘)  พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้เฉพาะในมณฑลพิษณุโลก
ในจงั หวดั พษิ ณโุ ลก พจิ ติ ร สโุ ขทยั และ อตุ รดติ ถ์ (ซง่ึ เมอื่ มกี ารเปลย่ี นแปลงการปกครองเขตจงั หวดั ภายหลงั
จึงรวมถึงพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์)  หลังจากนั้นตั้งแต่  พ.ศ. ๒๔๗๓  เป็นต้นมาทางการได้ส่ง
เจ้าหน้าที่ไปทำ�การเดินสำ�รวจเพื่อเปลี่ยนโฉนดตราจองเป็นโฉนดแผนที่แต่ขณะนี้ยังดำ�เนินการได้ไม่หมด
ทกุ แปลง
สำ�หรับโฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่า  “ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว”  นี้  มาตรา  ๑๑  แห่ง
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  พ.ศ. ๒๔๙๗  บัญญัติให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยการน้ันเฉพาะ
ในส่วนที่บัญญัติถึงวิธีการรังวัดและการออกหนังสือสำ�คัญดังกล่าวข้างต้นต่อไปจนกว่าจะได้ออกโฉนดที่ดิน
ตามประมวลกฎหมายทีด่ ินแล้ว
โฉนดแผนที่
โฉนดแผนที่ เปน็ หนังสือส�ำ คัญแสดงกรรมสิทธิ์ กล่าวคือ เมือ่ ทางราชการได้ออกโฉนดแผนที่
ในท้องทีใ่ ด ผู้ครอบครองที่ดินมือเปล่า หรือผู้ถือหนังสือสำ�คัญอย่างอื่น ต้องน�ำ รังวดั เพื่อขอออกโฉนดแผนที่
หรือเปลี่ยนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมเปน็ โฉนดแผนที่ ดงั นี้

- โฉนดแผนที่ออกตามประกาศพระบรมราชโองการ  ให้ออกโฉนดที่ดินมณฑลกรุงเก่า
และมณฑลกรุงเทพฯ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ในจงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยาเปน็ ครั้งแรก ในปี ร.ศ. ๑๒๐
(พ.ศ. ๒๔๔๔) โดยออกโฉนดแผนทีใ่ ห้แทนตราจองทีม่ ีอยู่เดิม โฉนดแผนที่นี้ท�ำ ตามแบบพิมพ์หลวง
- โฉนดแผนที่ออกตามความในพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน  ร.ศ. ๑๒๗  (พ.ศ. ๒๔๕๑)
โดยเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดินฉบับนี้แล้วโดยการประกาศใช้ท่ัวราชอาณาจักร
จึงยกเลิกประกาศออกโฉนดที่ดินแต่เดิมท้ังหมด โดยเมือ่ จะออกโฉนดทีด่ ินในท้องทีใ่ ด เสนาบดี กระทรวง
เกษตราธิการ จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แบบหมายเลข ๓
แบบหมายเลข ๓ หมายถึง หนงั สือรบั รองจากนายอ�ำ เภอว่าได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว ตามพระราช
บญั ญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบบั ที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๗๙ โดยออกให้แก่เจ้าของที่ดิน ใน ๒ กรณี คือ
๑. กรณีผู้จบั จองที่ดินทีไ่ ด้รับใบเหยียบยา่ํ
๒. กรณีที่ได้ครอบครอง  และทำ�ประโยชน์ในที่ดินอยู่โดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันใช้
พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบบั ที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๗๙
เมอ่ื ใชป้ ระมวลกฎหมายทด่ี นิ แลว้ หากเจา้ ของทด่ี นิ ทม่ี แี บบหมายเลข ๓ ไดแ้ จง้ การครอบครอง
ที่ดิน (ส.ค. ๑) ตามมาตรา ๕ แห่ง พ.ร.บ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ แบบหมายเลข ๓
ดังกล่าวจะเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเช่นเดียวกับหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  (น.ส. ๓)  การออก
โฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายจะดำ�เนินการตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน หรือการเดินสำ�รวจ
ตามมาตรา ๕๘ ทวิ วรรคสอง (๑) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่หากเจ้าของทีด่ ินไม่ได้แจ้งการครอบครอง
แบบหมายเลข  ๓  ดังกล่าวจะเป็นเพียงเอกสารหลักฐานทางราชการที่แสดงว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเจ้าของ
ที่ดินได้ครอบครองทำ�ประโยชน์มาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับเท่านั้น  การออกโฉนดที่ดินเป็นการ
เฉพาะรายจะด�ำ เนินการตามมาตรา ๕๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน หรือการเดินส�ำ รวจตามมาตรา
๕๘ ทวิ วรรคสอง (๒) แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน

๑๑๔ ปี กรมทีด่ นิ ๙

- แบบหมายเลข  ๓  ที่ออกให้ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ  จะมีสถานะเป็น
หนงั สือรับรองการทำ�ประโยชน์ตามประมวลกฎหมายทีด่ ิน เมือ่ มีการแจ้งการครอบครองทีด่ ิน (ส.ค. ๑)

- แบบหมายเลข  ๓  ที่ออกให้ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ  มีสถานะเป็น
หนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน  โดยไม่ต้องมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง
ทีด่ ิน (ส.ค. ๑)
หมายเหตุ
รตั นโกสินทรศก ย่อว่า ร.ศ. เป็นศกั ราชที่พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ต้ังขึ้น
เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๓๒  โดยใหน้ บั ปที พ่ี ระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช  สถาปนากรงุ รตั นโกสนิ ทร์
เมือ่ ปีขาล ๒๓๒๕ เป็น ร.ศ. ๑ และให้เริ่มใช้ศกั ราชนี้ในราชการตั้งแต่วนั ที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๐๘ (พ.ศ.
๒๔๓๒) โดยให้นับเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี เดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปีรัตนโกสินทรศก
จึงขึ้นปีใหม่ในวนั ที่ ๑ เมษายน ประเทศไทยใช้รตั นโกสินทรศกมาถึง ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) พระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั รัชกาลที่ ๖ ก็ทรงประกาศให้เลิกใช้รัตนโกสินทรศก เปลีย่ นเป็นพุทธศกั ราช
แทนแต่ยงั คงให้ขึ้นปีใหม่ในวนั ที่ ๑ เมษายน เหมือนเดิม ต่อมาได้มีพระราชบัญญตั ิปีประดิทิน พทุ ธศกั ราช
๒๔๘๓ กำ�หนดปีปฏิทินใหม่ ในสมยั จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนวนั ขึ้นปีใหม่เป็นวนั ที่ ๑ มกราคม
การเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ทีเ่ ริม่ ใน พ.ศ. ๒๔๘๔ ทำ�ให้ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เหลือจำ�นวนเดือนเพียง ๙ เดือน คือจาก
เดือนเมษายน ถึงเดือนธนั วาคม ๒๔๘๓
การเทียบเคียง ร.ศ. กบั พ.ศ. ให้เทียบเคียง ร.ศ. ๑ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๒๕ รตั นโกสินทรศก
จึงน้อยกว่าพุทธศกั ราช ๒๓๒๔ ปี การเทียบเปลี่ยนรัตนโกสินทรศกกับพุทธศักราช คือ
พ.ศ. = ร.ศ. + ๒๓๒๔
ร.ศ. = พ.ศ. – ๒๓๒๔
จุลศกั ราช ย่อว่า จ.ศ. ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๑๘๒ โดยกษัตริย์ของพม่า ไทย ใช้จลุ ศักราชมาจนถึง
รัชกาลที่ ๕ จึงเลิกใช้และใช้รัตนโกสินทรศก แทน จุลศักราช น้อยกว่า พ.ศ. = ๑๑๘๑

l  ประวัติการออกโฉนดทีด่ ิน

โฉนดทดี่ ินเปน็ หนงั สือแสดงกรรมสิทธใิ์ นทีด่ ิน มีประวตั ิความเปน็ มาเรมิ่ ต้งั แต่สมยั รชั กาลที่ ๕
เนื่องจากมีปัญหาเรือ่ งกรรมสิทธิท์ ี่ดินขึ้นศาลบ่อยๆ รชั กาลที่ ๕ จึงให้จัดต้ังกระทรวงเกษตรพาณิชยการ
และให้พระยาประชาชีพบริบาล  (ผึ่ง  ชูโต)  เป็นปลัดทูลฉลองดำ�เนินงานในเรื่องสิทธิในที่ดินให้รัดกุมขึ้น
ต่อมาพระยาประชาชีพบริบาลได้เป็นข้าหลวงพิเศษจัดการที่ดิน  ท่านได้คิดโครงการและแบบแผนขึ้นใหม่
โดยถือโฉนดที่ดินเป็นหลักของทะเบียน การส่งมอบกรรมสิทธิด์ ้วยการสลักหลงั โฉนด หรือทีเ่ รียกว่า “ระบบ
ทอเรนส์” (Torrens System) ซึ่งท่านได้พบวิธีนี้จากเอกสารรายงานของข้าหลวงที่ดินที่ยื่นต่อผู้ว่าราชการ
เมอื งสงิ คโปร์ ปรากฏตามค�ำ ชแ้ี จงประกอบของพระยาประชาชพี บรบิ าล (ผง่ึ ชโู ต) ทเ่ี สนอรา่ งแบบโฉนดทด่ี นิ
และร่างการทำ�ทะเบียน เมือ่ วันที่ ๕ มิถนุ ายน ร.ศ.๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔)
การเริ่มด�ำ เนินการได้คิดทำ�แบบ ใบเดินทุ่ง ก่อนแล้วทำ� ใบไต่สวน เรียกว่า ใบหมายเขตที่ดิน
และแบบบัญชีเทียบแบบหมายเรียกพยานข้างเคียง ใบไต่สวนนั้นท�ำ เป็น ๓ ฉบับ
ตอนที่ ๑ ส�ำ หรับไว้เขียนโฉนด
ตอนที่ ๒ สำ�หรับแจกให้เจ้าของที่ดินไปยึดถือไว้  เพื่อนำ�มารับโฉนดภายหลังและเมื่อออก
โฉนดแล้วส่งมาเกบ็ ไว้ยงั หอทะเบียนกลาง
ตอนที่ ๓ ทางจังหวัดขอไว้เปน็ เครื่องมือเก็บเงินอากรทีด่ ิน

๑ ๐ ๑๑๔ ปี กรมที่ดิน

แบบเหล่านี้พระยาประชาชีพบริบาล (ผึง่ ชโู ต) กบั พระยาวิสูตร์เกษตรศิลป์ (ข�ำ ศาลิคปุ ต์)
เป็นผู้คิดค้นขึ้นโดยดำ�เนินการต้ังแต่เดือนพฤษภาคม  ร.ศ. ๑๒๐  (พ.ศ. ๒๔๔๔)  ทำ�กันอยู่เกือบเดือนแล้ว
พระยาประชาชีพบริบาล (ผึง่ ชูโต) กน็ �ำ ไปถวายสมเด็จกรมพระยาดำ�รงราชานภุ าพทรงตรวจ เมื่อพระองค์
ท่านทรงตรวจเป็นการใช้ได้จึงส่งไปพิมพ์ แบบอื่นๆ เวลาไม่พอเพราะต้องเตรียมตวั เดินทางไปลงมือทำ�การ
เดินรงั วดั ได้ลงมือเริ่มต้นเดินสำ�รวจเป็นครั้งแรก เมื่อวนั ที่ ๖ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ท�ำ ทีบ่ ้าน
พลบั ตำ�บลเกาะเกิด อำ�เภอบางปะอิน จงั หวัดพระนครศรีอยธุ ยา พอถึงเดือนมิถนุ ายน ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ.
๒๔๔๔) ราววนั ที่ ๑๓ หรือ ๑๔ กย็ กกองขึ้นไปตั้งอาศัยพกั ท�ำ การอยู่ทีส่ ภาคารราชประยูร พระราชวัง
บางปะอนิ จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา กอ่ น เพราะยงั มไิ ดส้ รา้ งหอทะเบยี นประจ�ำ จงั หวดั เปน็ สถานทท่ี �ำ งานขน้ึ
และผู้ที่ไปทำ�การครั้งแรกนั้นประกอบด้วย เพราะการงานเริ่มต้นครั้งแรกถือว่าเป็นการทดลอง พอถึงวันที่
๒๐  มิถุนายน  ร.ศ. ๑๒๐  (พ.ศ. ๒๔๔๔)  ก็เริ่มออกไปลงมือทำ�การเดินรังวัดหมายเขตที่ดินตามประกาศ
กระแสพระบรมราชโองการและทำ�ที่บ้านพลับ ต�ำ บลเกาะเกิด ท้องที่อ�ำ เภอพระราชวังบางปะอิน จงั หวดั
พระนครศรอี ยธุ ยา เปน็ ปฐมฤกษก์ อ่ น ตวั ผทู้ อ่ี อกไปท�ำ ก�ำ กบั การส�ำ รวจครง้ั เรม่ิ แรกนน้ั พระยาประชาชพี บรบิ าล
(ผึง่ ภูโต) ข้าหลวงพิเศษจดั การทีด่ ิน กบั พระยาวิสตู ร์เกษตรศิลป์ (ขำ� ศาลิคปุ ต์) และ นายทบ นายทอง
เป็นเสมียนผู้บนั ทึกเปน็ ผู้ไต่สวน นายทบ นายทอง เป็นผู้ให้เจ้าของทีด่ ินและพยานข้างเคียงลงลายมือชือ่  
ฝ่ายช่างแผนที่เป็นผู้ทำ�การเดินรังวัดตรวจเขตที่ดินตามแผนที่ระวางซึ่งได้ทำ�รายละเอียดแล้ว  และราษฎร
เจา้ ของทด่ี นิ กน็ �ำ รงั วดั ตามแนวเขตทข่ี องตน การกระท�ำ ทง้ั นต้ี อ้ งพรอ้ มดว้ ยก�ำ นนั ทอ้ งท่ี หรอื ผแู้ ทนเปน็ พยาน
ด้วยทุกราย ได้ลงมือทำ�ถึงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) เสรจ็ ๔ ต�ำ บล หยุดพกั เพราะ
นํ้าเหนือหลากทำ�การเดินส�ำ รวจไม่ได้ เมื่อนํ้าลดได้ทำ�การเดินสำ�รวจต่อเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ร.ศ.๑๒๐
(พ.ศ. ๒๔๔๔) ถึงวนั ที่ ๑๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ส�ำ รวจเสร็จ ๑๑ ต�ำ บล ระหว่างเดินส�ำ รวจ
หมายเขตทด่ี นิ เจา้ พระยาเทเวศรวงษว์ วิ ฒั น์ เสนาบดกี ระทรวงเกษตราธกิ ารกบั มสิ เตอรก์ บิ ลนิ เจา้ กรมแผนท่ี
และมิสเตอร์เออร์วิน อาจารย์โรงเรียนแผนที่ได้ไปดูงานทีก่ �ำ ลงั ทำ�อยู่กลางทุ่ง บ้านพลับ รู้สึกเปน็ ทีพ่ อใจมาก
นอกจากนั้นสมเดจ็ กรมพระยาดำ�รงราชานภุ าพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้เสดจ็ ประทับ ณ พระราชวงั
บางปะอิน ทรงเป็นธรุ ะให้ตั้งแต่ต้นและทรงให้ค�ำ ปรึกษาในเรือ่ งการออกโฉนดทีด่ ิน
พระยาประชาชีพบริบาล (ผึ่ง ชูโต) กับพระยาวิสูตร์เกษตรศิลป์ (ขำ� ศาลิคปุ ต์) ได้ลงมือคิด
แบบทีย่ ังค้างอยู่อีกต่อไป เช่น แบบสารบัญรายชือ่ สารบญั ที่ดิน บญั ชีเก็บเงินค่าธรรมเนียม ใบเสรจ็ เกบ็ เงิน
ค่าธรรมเนียม แบบฟอร์มโฉนด เมือ่ คิดและเขียนแล้วกน็ �ำ ไปถวายสมเด็จกรมพระยาดำ�รงราชานภุ าพทรง
ตรวจก่อน ทรงแนะนำ�สง่ั ว่าใช้ได้ แบบฟอร์มโฉนดก็ส่งกรมแผนที่พิมพ์ แบบอืน่ ก็ส่งโรงพิมพ์รบั จ้างพิมพ์
แบบฟอร์มโฉนดทีด่ ินที่พิมพ์ขึ้นใช้ในชั้นต้นน้ัน มีเครื่องหมายต่างกนั คือ ฉบบั หลวงใช้กระดาษหนา กรอบ
โฉนดใช้ ๒ เส้นคู่ ฉบบั สำ�หรบั แจกให้แก่ราษฎรเจ้าของทีด่ ิน ใช้กระดาษบาง กรอบโฉนดใช้เส้นเดีย่ ว แต่ใช้
กระดาษดีๆ ทั้ง ๒ อย่าง เพื่อให้รู้ง่ายว่าฉบบั ไหนเป็นของหลวง ฉบับไหนเป็นของราษฎร โดยมิต้องใช้ตรา
ประทับเปน็ เครื่องหมายอีกช้ันหนึง่
เนื่องจากยังไม่มีบทกฎหมายเป็นหลักในการออกโฉนดที่ดินโดยชัดแจ้ง  จึงทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ออกประกาศพระบรมราชโองการลงวนั ที่ ๑๕ กนั ยายน ร.ศ.๑๒๐ (ประกาศออกโฉนดมณฑล
กรุงเก่า ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) วางระเบียบการเรื่องโฉนดที่ดินไว้โดยแน่ชดั ประกาศพระบรมราชโองการ
ฉบับนี้ถือได้ว่าเปน็ กฎหมายทีว่ ่าด้วย การจดั ท�ำ ทะเบียนทีด่ ินและสิทธิของผู้เปน็ เจ้าของทีด่ ินอย่างสมยั ใหม่
ซึ่งแผนทีร่ ะวางรายละเอียดอนั อาจจะชี้ได้ว่าทีด่ ินแต่ละแปลงอนั อาจออกโฉนดได้ว่าต้ังอยู่ทีไ่ หน เนื้อทีเ่ ท่าใด
ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในทะเบียน ตามประกาศออกโฉนดที่ดินดงั กล่าวได้ระบุข้อความแสดงความ
หมายของโฉนดวิธีการดำ�เนินการออกโฉนด และกรรมสิทธิข์ องเจ้าของทีด่ ินผู้ได้รบั โฉนดไว้ดงั นี้

๑๑๔ ปี กรมทดี่ นิ ๑๑

ว่าด้วยโฉนดทีด่ ิน
“ข้อ ๑. หนังสือโฉนดที่ดินที่จะได้ออกให้แก่เจ้าของที่ดินตามประกาศนี้  เป็นหนังสือพิมพ์
แบบหลวงบอกชื่อแลต�ำ แหน่งเจ้าพนักงานออกโฉนด ชื่อวงษ์ตระกลู ที่อยู่ของผู้รับโฉนดตำ�แหน่งแห่งที่ดินแล
ขนาดที่ดินที่ซึ่งจดเขตท้ังสี่ทิศ  แลจำ�ลองรูปแผนที่ดินแปลงนั้นลงไว้ในโฉนดด้วยเป็นสำ�คัญ  ในท้ายโฉนดที่
ตารางสำ�หรับจดหมายเหตุ แลส�ำ คญั ในการแก้ทะเบียนที่ดินแปลงน้ันต่อไปภายหน้าด้วย
ข้อ ๒. โฉนดที่ดินซึ่งออกให้แก่เจ้าของที่ดินตามประกาศนี้  ที่ดินอยู่ในเขตเมืองใดต้อง
เซน็ ชือ่ แลประทับตราต�ำ แหน่งผู้บญั ชาการเมืองนั้น ๑ เจ้าพนักงานเกษตราธิการเมืองน้ัน ๑ นายอำ�เภอ
ผู้ปกครองท้องที่ซึ่งทีด่ ินแปลงน้ันอยู่ในน้ัน ๑ จึงเป็นโฉนดอันได้ท�ำ โดยชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ ๓. โฉนดที่ดินตามประกาศนี้ให้ท�ำ เปน็ ๒ ฉบบั อย่างเดียว มอบให้เจ้าของที่ดินไปรกั ษา
ไว้ฉบับ ๑ เป็นของหลวงเกบ็ ไว้ในหอทะเบียนทีด่ ินฉบบั ๑
ข้อ ๔. โฉนดที่ดินของผู้ใดเป็นอันตรายหายเสียประการใด เมื่อเจ้าของโฉนดได้ทำ�คำ�ตราสิน
ตามกฎหมายแล้ว  ก็รับใบแทนโฉนดได้  แลใบแทนโฉนดนั้นต้องเซ็นชื่อประทับตราตำ�แหน่งเจ้าพนักงาน
ตามความทีว่ ่ามาในข้อ ๒ จึ่งใช้ได้ ต้ังแต่ได้ออกใบแทนโฉนดไปแล้วโฉนดเดิมใช้ไม่ได้ต่อไป
ข้อ ๕. เมื่อได้ลงมือจัดการตามประกาศนี้เมืองใด  ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการจดั ตั้ง
หอทะเบียนขึ้นไว้สำ�หรับเก็บรักษาทะเบียนที่ดินในเมืองนั้นๆ  ให้ตั้งกรมการตำ�แหน่งเกษตราธิการไว้ประจำ�
ท�ำ การเกษตรแลให้ต้ังเจ้าพนักงานทะเบียนไว้ประจำ�ทำ�การทะเบียนทกุ เมืองแลให้มีพนกั งานรังวดั แผนที่ แล
พนกั งานกองทะเบียนตามสมควรแก่ราชการ
ข้อ ๖. ในการออกโฉนดที่ดินตามประกาศนี้ ถ้าที่ดินทีม่ ีตราแดงหรือใบจอง หรือน่าโฉนด
ของเดิมอยู่แล้ว ให้เรียกแต่ค่ากระดาษท�ำ โฉนด ค่าเขียน แลค่าตราตามกำ�หนด ไม่ต้องเรียกค่าจอง เว้นแต่
ถ้ารังวดั ที่ดินได้เกินตราแดง หรือใบจอง หรือน่าโฉนดของเดิมออกไปเท่าใดจึงให้เรียกค่าจองเท่าเนื้อที่ดินที่
เกินน้ัน ที่ดินซึ่งยังไม่มีหนังสือส�ำ คญั ดงั ว่ามาแล้ว จึงให้เรียกค่าจองตามอตั ราคือ ไร่ละ ๑๖ อฐั เศษงานละ
๔ อฐั เศษ ตา่ํ งานเรียกเสมองาน ๑
วา่ ด้วยกรรมสิทธิ์ทีด่ ิน
ข้อ ๗. ที่ดินซึง่ ได้ออกโฉนดตามประกาศนี้ ให้เจ้าของมีกรรมสิทธิ์เหมือนอย่างนาคู่โค คือ
ต้องเสียค่าทีห่ รือค่านาแก่รฐั บาลทุกๆ ปี
ข้อ ๘. ไม่ให้ถือว่ากรรมสิทธิ์ที่ได้ว่ามาในข้อ  ๗  เป็นเหตุที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์น้ันจะพ้นจาก
ความรับผิดชอบแลความจำ�เป็นจะต้องประพฤติตามพระราชกำ�หนดกฎหมาย  ซึ่งบังคับในการที่ดิน  คือ
ในการเก็บภาษีอากร แลการทีร่ ัฐบาลจะต้องการที่เพื่อราชการ หรือเพือ่ สาธารณประโยชน์ เป็นต้น
ข้อ ๙. คนในบังคบั ต่างประเทศ เมือ่ ได้รบั พระราชทานในพระบรมราชานุญาตพิเศษให้ถือ
โฉนดฉบบั ใด ก็มีอ�ำ นาจแลน่าทีเ่ หมือนกับคนในบังคบั ไทย ทีถ่ ือโฉนดนั้นทุกประการ
ข้อ ๑๐. ต่อไปบรรดาคดีที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องด้วยกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้ออกโฉนดตามประกาศนี้
เมื่อศาลได้พิพากษาประการใดให้ศาลมีจดหมายแจ้งต่อเจ้าพนักงานทะเบียนสำ�หรับที่ดินน้ันให้ทราบว่า
ที่ดินตามโฉนดนั้นๆ  ได้พิพากษาให้เป็นของใครหรือให้แบ่งกันอย่างไร  ถ้าหากว่าศาลมิได้มีจดหมายตาม
ความทไ่ี ดว้ า่ มาในขอ้ น้ี กใ็ หผ้ ทู้ เ่ี กย่ี วขอ้ งรบั ประโยชนอ์ ยา่ งใดในค�ำ พพิ ากษานน้ั มอี �ำ นาจทจ่ี ะท�ำ ค�ำ ขอตอ่ ศาล
ให้แจ้งความแก่เจ้าพนกั งานทะเบียนตามประกาศนี้
ข้อ ๑๑. ถ้าผู้ใดจะเวนคืนที่ดิน  ให้นำ�โฉนดที่ดินมาส่งต่อเจ้าพนักงานเกษตราธิการประจำ�
เมืองน้ัน”

๑ ๒ ๑๑๔ ปี กรมทด่ี นิ

โฉนดที่ทำ�ออกช้ันต้นน้ัน ต้องลงนามและประทบั ตรา ๓ ต�ำ แหน่ง คือ ผู้บญั ชาการเมือง
กรมการต�ำ แหน่งนา (เจ้าพนกั งานเกษตราธิการ) และกรมการอำ�เภอท้องที่ในโฉนดท้ัง ๓ คนก่อนจึงจะออก
ให้แก่เจ้าของทีด่ ินไปได้ และถือว่าโฉนดนั้นชอบกฎหมาย ถ้าขาดการลงนามไปแต่ตำ�แหน่งหนึ่งตำ�แหน่งใด
กย็ ังออกไม่ได้
สำ�หรับตราตำ�แหน่งเจ้าพนักงานเกษตราธิการหรือเจ้าพนักงานที่ดินนั้น ใช้ตรารูปพิทยาธร
ดำ�เนินมือขวาถือดอกจงกลนี  (ดอกบัว)  มือซ้ายถือพระขรรค์  อยู่ในวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
๕ เซนติเมตร ตราแกะด้วยงาช้าง ภายในวงกลมด้านบนมีอักษร
“เกษตราธิการและบอกชือ่ เมือง” มีลวดลายเป็นเครือเถาล้อมรอบ ใช้ชาดผสมนํ้ามนั ประทับ
บนลายเซ็นชือ่
ส่วนตราตำ�แหน่งเจ้าพนักงานทะเบียน  สำ�หรับประทับรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินและ
ประทับเอกสารสัญญา  ตรงที่ระบุจำ�นวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร  รวมตลอดทั้งประทับลายเซ็นชื่อ
เจ้าพนกั งานผู้จดทะเบียน ใช้ตรารูปมนุษย์ มือซ้ายถือเส้นกระแส มีลายกนก ล้อมรอบอยู่ในวงกลมเส้นผ่า
ศนู ย์กลางประมาณ ๕ เซนติเมตร ด้านบนมีอกั ษร “พนกั งานทะเบียน และชือ่ เมือง” ตราแกะด้วยงาช้าง
ประทับด้วยชาดผสมน้�ำ มนั เช่นเดียวกัน
แต่ว่าก่อนทีจ่ ะแจกให้ราษฎรเจ้าของทีด่ ินไปนั้น เนื่องจากเปน็ โอกาสเหมาะทีพ่ ระบาทสมเดจ็
พระเจ้าอยู่หวั ยังเสด็จประทบั แรมอยู่ ณ พระราชวังบางประอิน พระยาประชาชีพบริบาล (ผึ่ง ชูโต) จึงน�ำ
โฉนดส�ำ หรบั ที่ดินต�ำ บลบ้านแป้งของพระคลังข้างที่ ๑ โฉนดทีน่ าหลวง ตำ�บลบ้านวัดยม ๑ โฉนด กบั ของ
ราษฎรด้วย ๓ โฉนด ขึ้นทลู เกล้าฯ ถวาย ณ พระที่นง่ั วโรภาสพิมาน พระราชวังบางประอิน เพื่อให้ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานแก่เจ้าของที่ดินเป็นฤกษ์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรง
พระราชทานแก่เจ้าของทีด่ ิน คือ ก�ำ นันแดง บ้านพลับ ๑ โฉนด กำ�นันวนั บ้านแป้ง ๑ โฉนด ก�ำ นนั หรุ่น บ้าน
วดั ยม ๑ โฉนด เป็นปฐมฤกษ์ และวนั รุ่งขึ้นก็ลงมือแจกโฉนดส�ำ หรับที่ดินบ้านพลับ ต�ำ บลเกาะเกิดให้แก่
ราษฎรเป็นต้นไป ต�ำ บลอื่นๆ กแ็ จกต่อเนื่องกนั ไปโดยล�ำ ดบั เวลาแจกโฉนด ก�ำ นนั เจ้าตำ�บลหรือผู้แทนก�ำ นนั
ตอ้ งมากบั ราษฎรในทอ้ งทข่ี องตนดว้ ยทกุ วนั จนกวา่ การแจกโฉนดในต�ำ บลนน้ั จะเสรจ็ ก�ำ นนั ไดเ้ งนิ คา่ ปว่ ยการ
วนั ละ ๑ บาท จากรัฐบาลเช่นเดียวกับเวลาเดินส�ำ รวจ

๑๑๔ ปี กรมท่ีดนิ ๑๓

โฉนดทีด่ ินฉบบั แรกของประเทศไทยเป็นโฉนดที่ดินจากการเดินส�ำ รวจ มีพระนาม “สมเด็จ
พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์” ทรงถือกรรมสิทธิ์ เป็นโฉนดเลขที่ ๑ สารบาญเล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑
เลขที่ดิน ๑๑๗ ระวาง ๑๗ ต ๓ อ ต�ำ บลบ้านแป้ง อ�ำ เภอพระราชวัง แขวงเมืองกรุงเก่า เมืองกรงุ เก่า (จังหวัด
พระนครศรีอยธุ ยา) เนื้อที่ ๘๙ ไร่ ๑ งาน ๕๒ ตารางวา เมือ่ วันที่ ๑ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศกหนึง่ ร้อยยีส่ ิบ
ลงพระนามพระเจา้ นอ้ งยาเธอกรมหมน่ื มรพุ งษศริ พิ ฒั น์ ในต�ำ แหนง่ ผบู้ ญั ชาการ ลงนามพระยาประชาชพี บรบิ าล
ในตำ�แหน่งเจ้าพนักงานเกษตราธิการ และลงนามพระราชภพน์บริหาร ในต�ำ แหน่งนายอำ�เภอ
ที่ดินแปลงนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงมีพระมหากรณุ าธิคณุ พระราชทานที่ดินอนั เปน็ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษตั ริย์ จำ�นวน ๕๑,๙๖๗ ไร่
๙๕ ตารางวา ในพื้นที่ ๘ จงั หวัด ได้แก่ ปทมุ ธานี พระนครศรีอยุธยา นครนายก นครปฐม ราชบรุ ี เพชรบรุ ี
สระบรุ ี และฉะเชิงเทรา ให้กับสำ�นกั งานการปฏิรูปทีด่ ินเพือ่ เกษตรกรรม เพือ่ เปน็ การช่วยเหลือเกษตรกรที่
ยากจน ซง่ึ มโี ฉนดทด่ี นิ เลขท่ี ๑ รวมอยดู่ ว้ ย โฉนดทด่ี นิ เลขท่ี ๑ ไดม้ กี ารจดทะเบยี นโอนใหแ้ กก่ ระทรวงการคลงั
เพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพือ่ เกษตรกรรม เมื่อวันที่ ๒๑ ตลุ าคม ๒๕๒๐ และจดทะเบียนเปลีย่ นนาม
จากกระทรวงการคลงั เป็นสำ�นกั งานการปฏิรปู ที่ดินเพือ่ เกษตรกรรม เมื่อวนั ที่ ๘ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๓๓
ซึง่ ส.ป.ก. ได้จัดที่ดินแปลงนี้ให้เกษตรกรจ�ำ นวน ๙ ราย ทำ�ประโยชน์โดยการท�ำ นา
หลังจากที่ได้ทำ�การเดินสำ�รวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่มณฑลกรุงเก่าเสร็จสิ้นแล้ว  จึงได้ต้ัง
หอทะเบียนมณฑลกรุงเก่าขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่สภาคารราชประยูรในพระราชวังบางปะอิน  เมื่อ
วันที่ ๒๐ กันยายน ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) เพราะหอนายทะเบียนซึง่ จะเปน็ สถานที่ท�ำ การประจ�ำ จังหวัด
ยงั มิได้สร้างขึ้น มีพระประมวลภมู ิเทศ เป็นนายทะเบียน และหลวงภูมิพิทยาภรณ์ เปน็ ผู้ช่วยนายทะเบียน
หอทะเบียนที่ดินทีต่ ั้งขึ้นคร้ังแรกนั้นอยู่ในความอำ�นวยการรบั ผิดชอบของพระยาประชาชีพบริบาล (ผึง่ ชโู ต)
ข้าหลวงพิเศษจดั การที่ดิน
ในปลายปีเดียวกนั นี้เองก็ได้จัดตั้งกรมทะเบียนที่ดิน (กรมทีด่ ินในปัจจุบัน) ขึ้นเมือ่ วันที่ ๑๗
กุมภาพนั ธ์ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) มีนายดบั ลิว เอ.เกรแฮม เป็นเจ้ากรม และต่อมากไ็ ด้ตั้งหอทะเบียน
กรงุ เทพฯ เปน็ แห่งที่ ๒ มีขุนวิวิธพจนวีภาค เป็นนายทะเบียน ขนุ ปรีชาเป็นผู้ช่วย
และเนื่องจากได้มีประกาศพระบรมราชโองการแลกฎเสนาบดี หลายฉบับ เช่น
- ประกาศต้ังข้าหลวงพิเศษจดั การทีน่ าในตำ�บลทุ่งหลวง และคลองประเวศบรุ ีรมย์ ลงวันที่
๑๒ ตลุ าคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒)
- ประกาศออกโฉนดที่ดินกรงุ เก่า ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔)
- ประกาศออกโฉนดทีด่ ินลงวนั ที่ ๑๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๐ และ
- กฎเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการสำ�หรับการออกโฉนดที่ดิน  ลงวันที่  ๓๑  มีนาคม
ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
ด้วยกฎหมายหลายฉบับยากแก่การปฏิบัติ  เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการจึงขอให้
กรมหมื่นราชบรุ ีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ให้พระเมธีนฤปกร กรรมการศาลฎีกา รวบรวมและ
ยกร่าง พระราชทานประกาศใช้เปน็ พระราชบัญญตั ิออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) ส่วนในการ
เดินสำ�รวจ ในปลายปี พ.ศ.๒๔๔๔ ได้มีการปรับปรุงและวางระเบียบเกี่ยวกับการเดินสำ�รวจออกโฉนดที่ดิน
เพือ่ ให้ความสะดวกแก่กองเดินสำ�รวจและเจ้าของที่ดิน โดยยกเลิกใบเดินทุ่งซึ่งใช้อยู่ และยกเลิกใบไต่สวน
ตอนที่ ๓ คงเหลือเฉพาะตอนที่ ๑ และ ๒ เท่าน้ัน และต่อมามีการออกกฎหมาย พระราชบญั ญตั ิว่าด้วยการ
ส�ำ รวจออกโฉนดทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๖

๑ ๔ ๑๑๔ ปี กรมทดี่ นิ

l  การออกหนงั สอื แสดงสทิ ธใิ นทด่ี นิ ตามพระราชบญั ญตั ใิ หใ้ ชป้ ระมวลกฎหมายทด่ี นิ พ.ศ.๒๔๙๗
และประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗
ประมวลกฎหมายที่ดินมีการกำ�หนดเวลาเริ่มใช้บังคับเป็นกฎหมายต้ังแต่วันที่  ๑  ธันวาคม
๒๔๙๗  ส่วนพระราชบญั ญตั ิให้ใชป้ ระมวลกฎหมายทดี่ ินให้ใช้บงั คบั ตง้ั แตว่ นั ถดั จากวนั ประกาศในราชกจิ จา
นุเบกษาเป็นต้นไป  ก็เพื่อประสงค์ให้พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินได้ประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๗๘ ลงวนั ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จึงมีผลบังคับใช้ต้ังแต่วนั ที่ ๑
ธนั วาคม ๒๔๙๗ อันเปน็ วันเดียวกันกบั วันที่ประมวลกฎหมายทีด่ ินใช้บังคับ ดงั น้ัน บทบัญญัติในกฎหมายท้ัง
๒ ฉบับ จึงใช้บงั คบั พร้อมกัน และมีสาระสำ�คัญ ดงั นี้
๑. พระราชบญั ญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗
พระราชบัญญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มีจดุ มุ่งหมายในท�ำ นองทีจ่ ะให้เปน็ บทเฉพาะกาล
เนอ่ื งจากมกี ารยกเลกิ กฎหมายเดมิ ทป่ี ฏบิ ตั อิ ยกู่ อ่ นประมวลกฎหมายทด่ี นิ ใชบ้ งั คบั และการปฏบิ ตั ยิ งั ตอ่ เนอ่ื ง
กันอยู่ แต่อย่างไรกด็ ี บทบญั ญตั ิในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินบางมาตราก็ยงั มีบทบาทและ
ใช้อยู่ในปัจจบุ นั
โดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  จะบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติออก
โฉนดที่ดินทุกฉบับ  และรวมกฎหมายว่าด้วยที่ดินที่มีอยู่หลายฉบับกระจัดกระจายกันอยู่มาประมวลไว้ใน
ที่เดียวกัน และปรบั ปรุงขึ้นใหม่บ้างเพือ่ ให้เหมาะกบั สภาวการณ์ มีสาระสำ�คัญเกีย่ วกบั การออกโฉนดทีด่ ิน
ดงั นี้
๑.๑ การแจ้งการครอบครองที่ดิน
ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  ตามมาตรา  ๕๑  กำ�หนดให้ผู้ครอบครอง
และท�ำ ประโยชน์ในทีด่ ินอยู่ก่อนวนั ที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคบั โดยไม่มีหนังสือส�ำ คญั แสดงกรรมสิทธิ์
(โฉนดทีด่ ิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่า “ได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว”) แจ้งการครอบครอง
ที่ดินต่อนายอำ�เภอท้องที่ภายใน ๑๘๐ วัน นบั แต่วนั ที่พระราชบัญญตั ินี้ใช้บังคับ (ต้ังแต่ ๑ ธนั วาคม ๒๔๙๗
– ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๙๘) เหตทุ ี่ต้องก�ำ หนดให้เจ้าของทีด่ ินแจ้งการครอบครองที่ดินเพราะเป็นนโยบายของ
รฐั อย่างหนึ่งในตอนน้ัน เพื่อจะได้ทราบว่านอกจากที่ดินทีท่ างการได้ออกหนงั สือแสดงกรรมสิทธิ์เช่น ได้ออก
โฉนดที่ดิน โฉนดตราจอง หรือตราจองที่ตราว่า “ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว”ให้กบั ราษฎรไปแล้วน้ัน ยังคงมีที่ดิน
ที่ราษฎรได้ครอบครองและทำ�ประโยชน์อยู่  โดยยังไม่มีหนังสือสำ�คัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินจำ�นวนเท่าใด

________________________________
๑ มาตรา  ๕  ให้ผู้ที่ได้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ
โดยไม่มีหนงั สือสำ�คัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน แจ้งการครอบครองทีด่ ินต่อนายอำ�เภอท้องทีภ่ ายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
นบั แต่วนั ที่พระราชบญั ญัตินี้ใช้บงั คบั ตามหลักเกณฑ์และวิธีการทีร่ ัฐมนตรีกำ�หนดโดยประกาศในราชกิจจานเุ บกษา
ถ้าผู้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินซึ่งมีหน้าที่แจ้งการครอบครองที่ดิน  ไม่แจ้งภายในระยะเวลา
ตามที่ระบุไว้ในวรรคแรก ให้ถือว่าบุคคลนั้นเจตนาสละสิทธิครอบครองทีด่ ินรัฐมีอำ�นาจจัดที่ดินดังกล่าวตามบทแห่ง
ประมวลกฎหมายทีด่ ิน เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะได้มีคำ�สัง่ ผ่อนผันให้เป็นการเฉพาะราย
(วรรคสอง ยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบบั ที่ ๙๖ ลงวนั ที่ ๒๙ กมุ ภาพนั ธ์ พุทธศกั ราช ๒๕๑๕)
การแจ้งการครอบครองตามความในมาตรานี้ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด

๑๑๔ ปี กรมทดี่ ิน ๑๕

เพราะถ้าได้ทราบถึงจำ�นวนของผู้ถือครองที่ดินและจำ�นวนที่ดินของผู้ที่ยังไม่มี  หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ใน
ที่ดินแล้ว  รัฐก็จะได้ตัวเลขที่แน่นอนพอสมควรเกี่ยวกับที่ดินที่ราษฎรได้ถือครองอยู่  ทั้งประเภทที่มีหนังสือ
สำ�คัญแสดงกรรมสิทธิ์  และที่ยังไม่มีหนังสือสำ�คัญแสดงกรรมสิทธิ์ว่ารวมแล้วเป็นยอดจำ�นวนเนื้อที่เท่าใด
เมื่อได้จำ�นวนเนื้อที่การถือครองท้ังหมดแล้ว  ทางการก็จะได้ทราบต่อไปอีกว่า  ยังมีที่ดินของรัฐอีกเป็น
จำ�นวนเท่าใด ในจำ�นวนที่ดินของรฐั ทั้งหมดที่ยังไม่มีผู้ใดเข้าถือครอง หรือเข้าครอบครองทำ�ประโยชน์ เมื่อ
รู้จำ�นวนที่ถือครองจริงแล้ว เรากจ็ ะได้ทราบถึงจ�ำ นวนที่ดินของรฐั ทีเ่ หลือว่ายังมีทีด่ ินรกร้างว่างเปล่าที่จะน�ำ
ไปจัดให้แก่ราษฎรหรือว่าจัดหาผลประโยชน์ หรือว่าจัดใช้ประโยชน์ด้วยประการใดก็ตามเป็นจำ�นวนเท่าใด
ทางราชการได้กำ�หนดแบบแจ้งการครอบครอง  (ส.ค. ๑)  แจกให้กับเจ้าของที่ดินซึ่งมาแจ้ง
การครอบครองที่ดิน  สำ�หรับผู้ที่มิได้แจ้งการครอบครองภายในกำ�หนด  กฎหมายถือว่าผู้นั้นมีเจตนาสละ
สทิ ธใิ นทด่ี นิ นน้ั ซง่ึ เปน็ บทสนั นษิ ฐานโดยเดด็ ขาดและรฐั มอี �ำ นาจน�ำ ทด่ี นิ นน้ั ไปจดั ตามประมวลกฎหมายทด่ี นิ ได้
เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะได้มีคำ�สงั่ ผ่อนผนั ให้เปน็ การเฉพาะราย ตามมาตรา ๕ วรรคสอง
การแจ้งการครอบครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินนี้
ไมก่ อ่ ใหเ้ กดิ สทิ ธขิ น้ึ ใหมแ่ กผ่ แู้ จง้ แตป่ ระการใด ฉะนน้ั ในกรณที ม่ี กี ารเอาทด่ี นิ ของผอู้ น่ื มาแจง้ การครอบครอง
หรือเอาทีส่ าธารณประโยชน์ ที่สงวนหวงห้าม มาแจ้งการครอบครองทีด่ ินก็ไม่เกิดสิทธิในทีด่ ินทีแ่ จ้งนั้น
ส.ค. ๑ เป็นเพียงหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินของราษฎรเท่าน้ัน โดยผู้ครอบครอง
ทีด่ ินเป็นผู้แจ้งว่าตนครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่ ตามกฎหมาย และไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิทีด่ ินเพราะไม่ใช่
หลกั ฐานทีท่ างราชการออกให้ ทีด่ ินทีม่ ีหลักฐาน ส.ค. ๑ ผู้ครอบครองมีแต่สิทธิครอบครองซึ่งสามารถโอน
กันได้เพียงแต่แสดงเจตนาสละการครอบครองและส่งมอบการถือครองทีด่ ินให้ผู้รบั โอนเท่านั้น และผู้ครอบ
ครองทีด่ ินตามหลักฐาน ส.ค. ๑ สามารถยืน่ คำ�ขอเพื่อพิสูจน์สิทธิในการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรอง
การท�ำ ประโยชน์ (น.ส. ๓ น.ส. ๓ ก. หรือ น.ส. ๓ ข) ได้
แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ไม่ใช่เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ ในเรือ่ งนี้ได้
มีค�ำ พิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๙๐/๒๕๐๙ วินิจฉัยไว้เปน็ บรรทัดฐานว่า การแจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) เปน็
เอกสารที่ผู้ครอบครองที่ดินยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อแสดงว่ามีที่ดินอยู่ในความครอบครองของตนก่อนวันใช้
บังคบั ประมวลกฎหมายทีด่ ิน ไม่ใช่เอกสารทีเ่ จ้าหน้าที่ทำ�ขึ้น การที่เจ้าพนักงานลงเลขรับ ลงชื่อก�ำ กบั และ
ประทับตราเป็นการแสดงให้เห็นเพียงว่าเอกสารนี้ได้ผ่านเจ้าพนักงานแล้วเท่าน้ันไม่ทำ�ให้หนังสือแบบแจ้ง
การครอบครองที่ผู้แจ้งทำ�กลายเป็นหนงั สือที่เจ้าพนกั งานท�ำ ไปได้ และไม่มีข้อความหรือความหมายเปน็ การ
รบั รองหนงั สือแจ้งการครอบครองที่ดินแต่อย่างใดตามประกาศประทรวงมหาดไทย ให้แจ้งการครอบครอง
ทีด่ ินตามแบบ ส.ค. ๑ ต่อนายอ�ำ เภอท้องที่โดยมีก�ำ นันหรือผู้ใหญ่บ้าน รับรองว่าข้อความถกู ต้องตามความ
จริงน้ันเปน็ เพียงประกาศแจ้งให้ผู้ครอบครองและท�ำ ประโยชน์ในทีด่ ินก่อนวันใช้บงั คับประมวลกฎหมายที่ดิน
ไปแจ้งการครอบครองตามหลกั เกณฑ์และวิธีการตามประกาศดงั กล่าวแล้วเท่านั้น และเป็นประกาศก�ำ หนด
หลักเกณฑ์และวิธีการให้ผู้แจ้งการครอบครองที่ดินปฏิบัติส่วนหนึ่ง  ไม่ใช่เป็นประกาศหน้าที่ของกำ�นันหรือ
ผู้ใหญ่บ้าน การที่ก�ำ นนั ผู้ใหญ่บ้านเซน็ ชือ่ รบั รองในหนังสือแจ้งการครอบครองเปน็ เพียงพยาน ไม่ใช่รบั รอง
ว่าหนงั สือนั้นเป็นเสมือนหนังสือราชการ หนงั สือแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) จึงไม่ใช่เอกสารสิทธิอัน
เป็นเอกสารราชการ

๑ ๖ ๑๑๔ ปี กรมท่ีดนิ

ตัวอยา่ งแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑)

๑๑๔ ปี กรมทด่ี นิ ๑๗

ตวั อยา่ งทะเบียนแจ้งการครอบครองทีด่ ิน
องค์ประกอบของที่ดินที่จะน�ำ มาแจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) มีดงั นี้
๑. ผู้แจ้งจะต้องได้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินแล้ว
๒. การครอบครองและการท�ำ ประโยชน์ จะตอ้ งมมี ากอ่ นวนั ทป่ี ระมวลกฎหมายทด่ี นิ ใชบ้ งั คบั
คือ ก่อนวนั ที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๗
๓. ทีด่ ินที่น�ำ มาแจ้งนั้น จะต้องยงั ไม่มีหนงั สือสำ�คัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน กล่าวคือ ยงั ไม่มี
โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง หรือตราจองทีต่ ราว่า “ได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว”
๔. การแจ้งจะต้องแจ้งภายในกำ�หนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่  ๑  ธันวาคม  ๒๔๙๗
ถ้าไม่แจ้งถือว่าเจตนาสละสิทธิครอบครองที่ดิน  เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะได้มีคำ�ส่ังผ่อนผันให้เป็นการ
เฉพาะราย
วิธีการแจ้งการครอบครองทีด่ ิน (ส.ค. ๑) ระเบียบการแจ้งและรบั แจ้งที่ดินทีม่ ีผู้ครอบครอง
อยู่ก่อนวันทีป่ ระมวลกฎหมายทีด่ ินใช้บังคับ รฐั มนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กำ�หนดวิธีการแจ้งและ
รบั แจ้งการครอบครองที่ดินไว้ตามค�ำ สง่ั ที่ ๑๒๔๔/๒๔๙๗ ลงวนั ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ ไว้ดังนี้
๑. เมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินแล้วให้นายอำ�เภอ  หรือ
ปลัดอำ�เภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ�กิ่งอำ�เภอ  รีบประกาศให้ผู้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินทราบว่า
มีหน้าที่แจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำ�เภอท้องที่ภายในกำ�หนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่
พระราชบญั ญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ
๒. ให้นายอำ�เภอมอบแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน  (แบบ ส.ค. ๑)  แก่กำ�นันเจ้าของท้องที่
ประมาณจำ�นวนให้พอแก่การที่จะใช้  และให้นายอำ�เภอแนะนำ�กำ�นันให้รีบแจกแบบแจ้งแก่ผู้ได้ครอบครอง
ที่ดินอยู่ก่อนวนั ที่พระราชบญั ญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายทีด่ ินใช้บังคับโดยเร็ว

๑ ๘ ๑๑๔ ปี กรมทดี่ ิน

๓. แบบแจ้งการครอบครองทีด่ ินสำ�หรับทีด่ ินแปลงหนึง่ ให้ทำ� ๑ ฉบบั มี ๒ ตอน ตอนที่ ๑
สำ�หรับเกบ็ ไว้ทีอ่ ำ�เภอท้องที่ ตอนที่ ๒ สำ�หรบั มอบคืนให้แก่ผู้แจ้งไปเป็นหลกั ฐาน การมอบคืนให้ผู้แจ้งหรือ
กำ�นนั หรือผู้ใหญ่บ้านลงลายมือชือ่ รบั ไว้ในตอนที่ ๑ มุมขวาล่างพร้อมด้วย วัน เดือน ปี
๔. ถ้าผู้ครอบครองที่ดินไม่ประสงค์จะไปยื่นแบบแจ้งการครอบครองที่ดินด้วยตนเองให้
กำ�นันหรือผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับแบบแจ้งการครอบครองที่ดินจากเจ้าของที่ดิน  แล้วรวบรวมส่งอำ�เภอเมื่อ
พนกั งานเจ้าหน้าทีร่ บั แจ้ง และคืนตอนที่ ๒ ให้แล้ว ให้ก�ำ นัน ผู้ใหญ่บ้าน นำ�ไปคืนผู้แจ้งโดยด่วน
๕. เมือ่ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแบบแจ้งการครอบครองที่ดินแล้วให้ลงรับในช่องเลขที่โดยขึ้น
เลขที่ ๑ ในหมู่บ้านหนึง่ ไปจดหมู่บ้านน้ันแล้วจึงขึ้นเลขที่ ๑ ใหม่ และลงลายมือชื่อ ผู้รบั พร้อมด้วย วัน เดือน
ปี ถ้าเป็นทีด่ ินในเขตเทศบาลให้ขึ้นเลขที่ ๑ ในต�ำ บลหนึง่ ไปจดหมดตำ�บลนั้น และให้นายอ�ำ เภอประทบั ตรา
ประจำ�ตำ�แหน่งประจำ�ต่อรอยปรุตรงทีพ่ ิมพ์ไว้ว่า”ประทับตรา” ท้ังสองแห่ง
๖. ให้นายอ�ำ เภอท�ำ ทะเบียนการครอบครองทีด่ ินขึ้นไว้ต�ำ บลละ ๑ เล่ม แบ่งหน้าออกเปน็
หมู่บ้านตามจำ�นวนหมู่บ้านในตำ�บลน้ันๆ  ให้พอสมควรกับจำ�นวนที่ดินในหมู่หนึ่งๆ  โดยคัดรายการจาก
แบบ  ส.ค. ๑  มาลงติดต่อกันไป  เรียงลำ�ดับจนหมดจำ�นวนที่รับแจ้งไว้ตามคำ�อธิบายการกรอกทะเบียน
การครอบครองท้ายค�ำ ส่ังนี้ ทะเบียนนี้เก็บไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่ว่าการอ�ำ เภอ และให้คัดขึ้นอีกชุด ส่งไปยงั
กรมทีด่ ิน
๗. ใหอ้ �ำ เภอท�ำ สารบบเกบ็ ใบแจง้ ไวเ้ ปน็ รายต�ำ บล โดยเกบ็ เรยี งตามล�ำ ดบั หมบู่ า้ น ต�ำ บลหนง่ึ
ให้แยกเก็บเล่มหนึ่ง  ถ้าตำ�บลใดมีใบแจ้ง  (ส.ค. ๑)  มากเกินสมควร  ก็ให้เพิ่มสารบบเล่มต่อไปได้ตาม
ความจ�ำ เป็น แล้วเขียนที่ป้ายสนั สารบบ บอก ชือ่ ตำ�บล และหมู่บ้านไว้ให้เรียบร้อย
๘. ในกรณีที่มีผู้ขอแจ้งการครอบครองที่ดินภายหลังกำ�หนดตามกฎหมายให้นายอำ�เภอ
สอบสวนเสนอผู้ว่าราชการจงั หวดั พิจารณา เมื่อผู้ว่าราชการจงั หวัดเห็นสมควรก็ให้มีคำ�สง่ั ผ่อนผนั เป็นการ
เฉพาะราย แล้วจึงน�ำ ลงทะเบียนการครอบครองทีด่ ินต่อไป
๙. ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานว่าการแจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าวน้ัน  มีการผิดพลาด
คลาดเคลอ่ื น ใหน้ ายอ�ำ เภอสอบสวนเสนอผวู้ า่ ราชการจงั หวดั พจิ ารณาสง่ั การเชน่ เดยี วกนั แลว้ ใหแ้ กท้ ะเบยี น
การครอบครองทีด่ ินตาม
กรณีการแจ้งการครอบครองที่ดินรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ได้กำ�หนดวิธีการแจ้ง
การครอบครองทีด่ ินไว้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวนั ที่ ๑ ธนั วาคม ๒๔๙๗ ตามหลกั เกณฑ์และ
วิธีการดังต่อไปนี้
๑. ให้ผู้ครอบครองที่ดินแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำ�เภอท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ด้วย
ตนเอง หรือ โดยผู้แทนตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน แบบ ส.ค. ๑ ท้ายประกาศนี้ โดยมีกำ�นันหรือ
ผู้ใหญ่บ้านรบั รองข้อความว่าถูกต้องตามความจริง
๒. ให้ผู้ครอบครองที่ดินยืน่ แบบแจ้งการครอบครองทีด่ ินแปลงละ ๑ ฉบับ (๒ ตอน)
๓. เมื่อนายอ�ำ เภอได้รบั แจ้งการครอบครองที่ดิน ให้ลงเลขที่รับ แล้วลงลายมือชื่อพนกั งาน
เจ้าหน้าที่ผู้รบั ในแบบ ส.ค. ๑ ท้ัง ๒ ตอน และประทับตราประจำ�ต่อ แล้วมอบแบบแจ้ง ตอนที่ ๒ ให้แก่
ผู้แจ้งไป
๔. การแจ้งการครอบครองที่ดิน ให้แจ้งได้ต้ังแต่บดั นี้เปน็ ต้นไป จนถึงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม
๒๔๙๘ เป็นอนั หมดเขต
๕. เมื่อพ้นกำ�หนดเวลาแจ้งตามความในข้อ ๔. ปรากฏว่าผู้ใดมิได้แจ้งและตนมีเหตุสมควร
อนั จะขอผอ่ นผนั ใหร้ บั แจง้ การครอบครองใหย้ น่ื ค�ำ รอ้ งตอ่ นายอ�ำ เภอสอบสวนพยานและหลกั ฐาน แลว้ เสนอ
ความเห็นไปยงั ผู้ว่าราชการจงั หวดั เพือ่ พิจารณาสง่ั การ

๑๑๔ ปี กรมที่ดนิ ๑๙

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๙๖ ลงวันที่ ๒๙ กมุ ภาพนั ธ์
๒๕๑๕ ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๕ แห่งพระราชบญั ญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน จึงเปน็
อันว่านบั แต่วันทีป่ ระกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บงั คบั (๔ มีนาคม ๒๕๑๕) กจ็ ะไม่มีการผ่อนผนั การแจ้ง
การครอบครองทีด่ ินอีกต่อไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งกค็ ือ จะไม่มีการออก ส.ค. ๑ ให้กบั เจ้าของทีด่ ินอีกต่อ
ไปแล้ว ยกเว้นกรณีผู้ว่าราชการจงั หวดั ส่งั การคำ�ร้องขอผ่อนผนั แจ้งการครอบครองทีด่ ินมีก่อนวันที่ประกาศ
ของคณะปฏิวัตินี้ใช้บังคับให้เสร็จสิ้นไปตามมาตรา ๒๗ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน
ผทู้ แ่ี จง้ การครอบครอง (ส.ค.๑) ดงั กลา่ ว สามารถน�ำ หลกั ฐาน ส.ค. ๑ ไปขอรงั วดั ออกโฉนดทด่ี นิ
ได้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน  ไม่ว่าที่ดินนั้นภายหลังจะอยู่ภายในบังคับหรือเงื่อนไขตามกฎหมายอื่น  เช่น
พระราชบญั ญตั อิ ทุ ยานแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ พระราชบญั ญตั ปิ า่ สงวนแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบญั ญตั ิ
จัดทีด่ ินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ หรือพระราชบัญญตั ิการปฏิรปู ทีด่ ินเพือ่ เกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘
๑.๒ การรับรองสิทธิของโฉนดที่ดิน ต๖า๒มพเจร้าะขราอชงบทญัีด่ ินญบัตาิใงหค้ในชม้ปีสริทะมธิอวลันกจฎะขหอมราบั ยโทฉีด่ นินดที่ดินได้
๑.๒.๑ ตามบทบัญญัติมาตรา
ในหลกั เกณฑเ์ งอ่ื นไขตามกฎหมายเกา่ อยแู่ ลว้ และตอ่ มาพระราชบญั ญตั ปิ ระมวลกฎหมายทด่ี นิ พ.ศ. ๒๔๙๗
มาตรา ๔ ยกเลิกกฎหมายเก่า เพราะฉะน้ันบทบญั ญัติในมาตรา ๖ นี้ จึงเป็นบทบัญญัติที่จะช่วยเหลือบุคคล
เหล่านั้นให้มีสิทธิได้รับโฉนดที่ดินตามเงื่อนไขระยะเวลาที่กำ�หนดไว้  ซึ่งสามารถแยกบุคคลดังกล่าวได้เป็น
๔ ประเภท คือ
ประเภทแรก คือ บคุ คลทีค่ รอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนวันที่พระราชบญั ญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๔๗๙ ใช้บังคบั (วนั ที่ ๑๒ เมษายน
๒๔๗๙) กฎหมายให้สิทธิผู้นั้นทีจ่ ะขอรบั โฉนดที่ดินได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ประเภทที่สอง คือ ผู้รับโอนทีด่ ินมาจากบคุ คลประเภทแรก
ประเภททส่ี าม คอื บคุ คลทไ่ี ดค้ รอบครองทด่ี นิ ตง้ั แตว่ นั ทพ่ี ระราชบญั ญตั อิ อกโฉนดทด่ี นิ
(ฉบบั ที่ ๖) พทุ ธศักราช ๒๔๗๙ ใช้บงั คบั (วนั ที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๗๙) และก่อนวันทีป่ ระมวลกฎหมายทีด่ ิน
ใช้บงั คับ แต่ไม่ได้ด�ำ เนินการให้ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บงั คบั อยู่ในขณะนั้น คือเข้าครอบครองทีด่ ินโดยมิได้
ขออนุญาตจับจอง บคุ คลที่ถือว่าครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายคือบคุ คลทีข่ อจบั จองทีด่ ินและนาย
อ�ำ เภอหรือข้าหลวงประจำ�จังหวัดแล้วแต่กรณี ส่งั ออกใบอนญุ าตให้ ซึง่ ใบอนุญาตให้จับจองมี ๒ ชนิด คือ
(ก) “ ใบเหยียบยาํ่ ” ผู้จับจองที่ได้รับใบเหยียบยํ่าจะต้องท�ำ ประโยชน์ให้แล้วเสรจ็ ภายใน
๒ ปี นับแต่ได้รับใบเหยียบยาํ่ เมื่อผู้น้ันได้ท�ำ ประโยชน์แล้วไปขอรบั รองจากนายอ�ำ เภอ นายอ�ำ เภอให้คำ�
รบั รองโดยน�ำ ทีด่ ินขึ้นทะเบียน และออกใบส�ำ คญั ให้ ตามแบบหมายเลข ๓ แบบหมายเลข ๓ ดงั กล่าวนี้
ถือว่าเปน็ หนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์แบบหนึ่ง ซึง่ มีเพียงสิทธิครอบครอง

_ ________๒_ _ม_า_ต__ร_า_๖__ __บ_ุค_ค__ล_ท__ี่ค_ร_อ__บครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินอยู่โดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่พระราช
บญั ญตั ิออกโฉนดที่ดิน (ฉบบั ที่ ๖) พุทธศกั ราช ๒๔๗๙ ใช้บงั คับและผู้รบั โอนทีด่ ินดงั กล่าว ให้มีสิทธิขอรับโฉนดทีด่ ิน
ตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  สำ�หรับบุคคลที่ครอบครองที่ดินตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน
(ฉบับที่ ๖) พทุ ธศกั ราช ๒๔๗๙ ใช้บงั คับเป็นต้นมา และก่อนวนั ทีป่ ระมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคบั ถ้าไม่ดำ�เนินการ
ให้ชอบด้วยกฎหมายทีใ่ ช้บงั คบั อยู่ในขณะนั้น การออกโฉนดที่ดินให้เป็นไปตามหลกั เกณฑ์และวิธีการที่กำ�หนดโดย
กฎกระทรวง และให้พระราชบัญญตั ิออกโฉนดทีด่ ิน (ฉบับที่ ๖) พุทธศกั ราช ๒๔๗๙ คงใช้บงั คบั ต่อไป

๒ ๐ ๑๑๔ ปี กรมทด่ี ิน

(ข) “ตราจอง” ผจู้ บั จองทไ่ี ดร้ บั ตราจองทเ่ี ปน็ ใบอนญุ าตน้ี จะตอ้ งท�ำ ประโยชนใ์ หแ้ ลว้ เสรจ็
ภายใน ๓ ปี นับแต่วนั ได้รบั ใบจอง เมือ่ ผู้นั้นท�ำ ประโยชน์แล้วไปขอต่อเจ้าพนกั งานที่ดิน เจ้าพนกั งานที่ดิน
จะออกตราจองที่ตราว่า “ได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว” ซึ่งถือเป็นหนงั สือแสดงกรรมสิทธิท์ ีด่ ินประเภทหนึง่
ส่วนผู้ที่ไม่ได้ขอจับจองเพื่อรับใบเหยียบยํ่าหรือตราจองที่เป็นใบอนุญาตให้ถูกต้อง
ตามกฎหมาย อเมอือ่ กปตราะมมคววลากมฎในหพมารยะรทาี่ดชินบใัญช้บญงั คัตับิใหแ้ใลช้ว้ปกร็มะีสมิทวลธกิรับฎโหฉมนาดยททีด่ ีด่ ินินไดพ้ต.ศา.ม ๒ก๔ฎ๙กร๗ะทขร้อวง๑๓ฉบบั ที่ ๑
(พ.ศ. ๒๔๙๗)
ประเภทที่สี่  คือ  บุคคลที่ครอบครองทำ�ประโยชน์ในที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อยู่ก่อนวันทีพ่ ระราชบัญญัติออกโฉนดทีด่ ิน (ฉบับที่ ๖) พุทธศกั ราช ๒๔๗๙ ใช้บังคบั (วันที่ ๑๒ เมษายน
๒๔๗๙) ถือว่าจดั อยู่ในกลุ่มบคุ คลประเภทที่สามมีสิทธิจะได้รับโฉนดทีด่ ินเช่นเดียวกนั
บคุ คลทั้งสี่ประเภท ถ้าได้แจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) แล้ว ก็ขอออกโฉนดทีด่ ินได้ตาม
มาตรา ๕๘ และ ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน อย่างไรก็ตามหากไม่แจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) กอ็ าจ
ข อออ กโฉ นดท ี่ดินได้ต๑า.๒มม.๒า ตตราาม๕บ๘ทบทัญวิญแลตั ะิมา๕ต๙ราทว๑ิ แ๑ห๔่งปรไะดม้บวญั ลญกฎัตหิรมับารยอทงสีด่ ิทินธิของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
มาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับความว่า  ในเขตท้องที่ซึ่งได้ออกโฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่า
“ได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว” ก่อนวันทีป่ ระมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ให้คงใช้บทบัญญตั ิว่าด้วยการนั้น เฉพาะใน
ส่วนทีบ่ ัญญัติถึงวิธีการรงั วัดและออกหนงั สือสำ�คัญดังกล่าวข้างต้นต่อไป จนกว่าจะได้มีการออกโฉนดที่ดิน
ตามประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว
๒. ประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗
๒.๑ การรบั รองหนงั สือส�ำ คัญแสดงกรรมสิทธิท์ ี่ดินตามกฎหมายเก่า
ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ ได้มีบทบัญญัติให้โฉนดที่ดินเป็นหนังสือสำ�คัญแสดง
กรรมสิทธิ์ที่ดินและรับรองหนังสือสำ�คัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมายเก่า  ตามคำ�นิยามในมาตรา  ๑
ก�ำ หนดว่า
“โฉนดทด่ี นิ ” หมายความวา่ หนงั สอื ส�ำ คญั แสดงกรรมสทิ ธท์ิ ด่ี นิ และใหห้ มายความรวมถงึ
โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองทีต่ ราว่า “ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว”
ฉะนั้น ในประมวลกฎหมายทีด่ ินถ้าใช้คำ�ว่า “โฉนดทีด่ ิน” แล้ว ต้องหมายถึงหนงั สือส�ำ คัญ
แสดงกรรมสิทธิท์ ี่ดินในที่ดินท้ัง ๔ ประเภทดงั กล่าว เว้นแต่บางมาตราที่มุ่งให้หมายถึงโฉนดที่ดินโดยเฉพาะ
เช่น กรณีการออกโฉนดทีด่ ินโดยการเดินส�ำ รวจตามมาตรา ๕๘ (รวมมาตรา ๕๘ ทวิ ทีเ่ พิม่ เติมภายหลงั )
และการออกโฉนดทีด่ ินเฉพาะรายตามมาตรา ๕๙ (รวมมาตรา ๕๙ ทวิ ทีเ่ พิม่ เติมภายหลัง) “โฉนดที่ดิน”

_________๓_ _ก_ฎ_ก__ร_ะ_ท_ร__ว_ง_ _ฉ_บ__ับ_ท__ี่ _๑_ _(พ.ศ. ๒๔๙๗)  ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
พ.ศ. ๒๔๙๗
ข้อ ๑ ในท้องที่ซึ่งได้มีการออกโฉนดที่ดินแล้ว  บุคคลที่ครอบครองที่ดินต้ังแต่วันที่พระราชบัญญัติ
ออกโฉนดทีด่ ิน (ฉบับที่ ๖) พทุ ธศักราช ๒๔๗๙ ใช้บงั คับเปน็ ต้นมา และก่อนวนั ทีป่ ระมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคบั
โดยไม่ได้ดำ�เนินการให้ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น  และได้แจ้งการครอบครองไว้แล้ว  หากประสงค์
จ ะขอรับโฉ๔น มดาทตีด่ รินา ให้ไปยืน่ คำ�ขอต่อพนกั งานที่ดินในเขตที่มีส�ำ นักงานที่ดิน หรือนายอ�ำ เภอเขตที่ไม่มีส�ำ นักงานที่ดิน
๑๑ ในเขตท้องที่ซึ่งได้ออกโฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่า “ได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว” ก่อนวันที่
ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ  ให้คงใช้บทกฎหมายว่าด้วยการน้ันเฉพาะในส่วนที่บัญญัติถึงวิธีการรังวัดและ
การออกหนังสือสำ�คัญดังกล่าวข้างต้นต่อไปจนกว่าจะได้ออกโฉนดทีด่ ินตามประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว

๑๑๔ ปี กรมท่ีดนิ ๒๑

ในที่นั้น หมายถึง โฉนดที่ดินที่ออกให้ตามประมวลกฎหมายที่ดินอย่างเดียว ไม่ได้หมายความรวมถึง
ประเภทอืน่ เพราะหนงั สือสำ�คญั แสดงกรรมสิทธิท์ ีด่ ินประเภทอืน่ ปัจจุบันไม่ได้ออกอีกแล้ว
๒.๒ การรบั รองกรรมสิทธิ์ของบุคคล
ตามมาตรา ๒ กำ�หนดว่า “ที่ดินซึง่ มิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบคุ คลหนึง่ บคุ คลใดให้ถือว่า
เปน็ ของรฐั ” เปน็ การรับรองสิทธิของกฎหมายทีม่ ีแต่สมยั ก่อนว่า ที่ดินเปน็ ของพระเจ้าแผ่นดิน (ดังที่เคย
กล่าวไว้ในกฎหมายลักษณะเบด็ เสรจ็ บทที่ ๔๒) ต่อมาเมื่อมีการใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กม็ ี
บทบัญญัติเกีย่ วกบั ทีด่ ินของรฐั ไว้ในมาตรา ๑๓๐๕ – ๑๓๐๖ สรปุ ได้ว่า ทีด่ ินของรัฐนั้นจะโอนแก่กันไม่ได้
ยึดไม่ได้ และจะใช้อายุความยันกบั รัฐก็ไม่ได้ ฉะนั้น ถ้าหากทีด่ ินในประเทศไทยส่วนใดยงั ไม่เป็นกรรมสิทธิ์
ของบุคคลหนึง่ บคุ คลใด ทีด่ ินส่วนนั้นกจ็ ะต้องเปน็ ของรฐั คือรฐั เป็นเจ้าของเสมอไป ในทางกลับกนั ถ้าทีด่ ิน
นั้นบุคคลหนึ่งบุคคลใดมีกรรมสิทธิ์แล้ว (มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือสำ�คัญแสดงกรรมสิทธิ์อย่างอื่น คือ
โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่า “ได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว”) ก็สามารถใช้ยนั รัฐได้ตลอดไป
๒.๓  การกำ�หนดวิธีการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทีด่ ิน
ตามมาตรา ๓ กำ�หนดว่า “บุคคลย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)  ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามบทกฎหมายก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับหรือได้มาซึ่ง
โฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้
(๒)  ได้มาซง่ึ กรรมสิทธติ์ ามกฎหมายวา่ ดว้ ยการจดั ทด่ี นิ เพอื่ การครองชีพหรือกฎหมายอนื่ ”
๒ตา.๔มม  กาตารรากำ�๕ห๖น๕ดไแดบ้กบ�ำ หหนลดักแเบกบณขฑอแ์งโลฉะนวดิธทีกีด่ าินรโอดอยกกโฎฉกนรดะททรี่ดวินง
๒ตา.๕มม  กาตารราก�ำ๕ห๗น๖ดกส�ำาหระนสด�ำใหค้โัญฉนในดโทฉี่ดนินดตท้อี่ดงมินีข้อความส�ำ คญั ดังนี้
(๑)  ชื่อตวั ชือ่ สกลุ ที่อยู่ของผู้มีกรรมสิทธิ์
(๒)  ต�ำ แหน่งทีด่ ิน
(๓)  จ�ำ นวนเนื้อที่

_ ________๕_ _ม_า_ต__ร_า__๕_๖_ __ภ_า_ย_ใ_ต__้บ_งั _ค_บั_มาตรา ๕๖/๑ แบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการออกใบจอง หนังสือรับรองการทำ�
ประโยชน์ ใบไต่สวนหรือโฉนดทีด่ ิน รวมท้ังใบแทนของหนงั สือดังกล่าว ให้เป็นไปตามทีก่ ำ�หนดในกฎกระทรวง
(มาตรา  ๕๖  แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน  (ฉบับที่  ๑๑)
พ.ศ. ๒๕๕๖๑ มาตรา
๕๗ โฉนดทีด่ ินและหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ ให้มีข้อความส�ำ คัญดงั ต่อไปนี้ ชื่อตัว ชือ่ สกลุ
ที่อยู่ของผู้มีสิทธิในที่ดิน  ตำ�แหน่งที่ดิน  จำ�นวนเนื้อที่  รูปแผนที่ของที่ดินแปลงนั้นซึ่งแสดงเขตข้างเคียงทั้งสี่ทิศ
ใหเ้ จา้ พนกั งานทด่ี นิ จงั หวดั เจา้ พนกั งานทด่ี นิ จงั หวดั สาขา หรอื เจา้ พนกั งานทด่ี นิ ซง่ึ อธบิ ดมี อบหมาย เปน็ ผลู้ งลายมอื ชอ่ื
และประทบั ตราประจ�ำ ต�ำ แหน่งของเจ้าพนักงานทีด่ ินเปน็ สำ�คญั กับให้มีสารบญั สำ�หรบั จดทะเบียนไว้ด้วย
โฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ให้ทำ�เป็นคู่ฉบับรวมสองฉบับมอบให้ผู้มีสิทธิในที่ดิน
ฉบบั หนึ่ง อีกฉบบั หนึ่งเกบ็ ไว้ ณ ส�ำ นกั งานที่ดิน ส�ำ หรับฉบับทีเ่ ก็บไว้ ณ ส�ำ นักงานที่ดินนั้น จะจำ�ลองเป็นรูปถ่ายหรือ
จดั เก็บโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือเสมือนเป็นต้นฉบับ
(มาตรา ๕๗ แกไ้ ขเพม่ิ เตมิ โดยพระราชบญั ญตั แิ กไ้ ขเพม่ิ เตมิ ประมวลกฎหมายทด่ี นิ (ฉบบั ท่ี ๔) พ.ศ.๒๕๒๘
ต่อมามาตรา ๕๗ วรรคสอง แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ. ๒๕๕๐)

๒ ๒ ๑๑๔ ปี กรมท่ดี ิน

(๔)  รูปแผนที่ของทีด่ ินซึ่งแสดงเขตข้างเคียงทั้ง ๔ ทิศ
(๕)  ให้มีสารบัญส�ำ หรับจดทะเบียนไว้ด้วย
(๖)  ให้เจ้าพนักงานที่ดินและผู้ว่าราชการจังหวัดลงลายมือชื่อและประทับตราประจำ�
ตำ�แหน่งเป็นสำ�คัญ
(๗)  ให้ท�ำ เปน็ คู่ฉบับรวม ๒ ฉบับ มอบให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ฉบับหนึง่ อีกฉบับหนึง่ เก็บไว้
ณ สำ�นักงานทีด่ ิน
ต๒า.๖ม มกาตารรกา �ำ ห๕น๘ด๗เร  ื่อกงำ�กหานรดเดใหิน้รสัฐ�ำมรนวตจรเีวพ่าื่อกอาอรกกรโะฉทนรดวทงมีด่ หินาทด้งั ไตทำ�ยบปลระกาศในราชกิจจา
นุเบกษากำ�หนดเขตท้องที่จังหวัด  เพื่อทำ�การสำ�รวจรังวัดทำ�แผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินและเมื่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่จะไปด�ำ เนินการ ให้ผู้ว่าราชการจงั หวัดประกาศล่วงหน้าในท้องทีซ่ ึง่ จะรังวดั ออกโฉนดที่ดินไม่น้อย
กว่า ๓๐ วนั และให้ผู้มีสิทธิในที่ดินนำ�พนักงานเจ้าหน้าทีท่ �ำ การรงั วดั ที่ดินของตนตามวันและเวลาที่กำ�หนด
ต๒า.๗มม  กาตารราก �ำ ห๕น๙ด๘เ รือ่กงำ�กหานรดอใอหก้ผโู้มฉีสนิทดธทิคีด่ รินอเบฉคพราอะงรทาี่ดยินสามารถมาขอออกโฉนดที่ดิน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะรายได้  (แต่ต้องเป็นที่ดินบริเวณที่มีประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยตามมาตรา ๕๘ มาแล้ว)
________________________________
๗ มาตรา ๕๘ เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรจะให้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์
ในจังหวัดใดในปีใด  ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษากำ�หนดจังหวัดที่จะทำ�การสำ�รวจรังวัดทำ�แผนที่หรือ
พิสูจน์สอบสวนการทำ�ประโยชน์สำ�หรับปีนั้น  เขตจังหวัดที่รัฐมนตรีประกาศกำ�หนดไม่รวมท้องที่ที่ทางราชการ
ได้จ�ำ แนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร
เมือ่ ได้มีประกาศของรฐั มนตรีตามวรรคหนึง่ ให้ผู้ว่าราชการจังหวดั ก�ำ หนดท้องที่และวนั เริ่มต้นของการ
เดินส�ำ รวจรังวดั ในท้องที่นั้นโดยปิดประกาศไว้ ณ ส�ำ นักงานทีด่ ิน ที่ว่าการอ�ำ เภอ ที่ว่าการกิง่ อ�ำ เภอ ที่ท�ำ การก�ำ นัน
และทีท่ �ำ การผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ก่อนวนั เริ่มต้นส�ำ รวจไม่น้อยกว่าสามสิบวนั
เมื่อได้มีประกาศของผู้ว่าราชการจงั หวดั ตามวรรคสอง ให้บคุ คลตามมาตรา ๕๘ ทวิ วรรคสอง หรือ
ตัวแทนของบุคคลดังกล่าว  นำ�พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมายเพื่อทำ�การสำ�รวจรังวัดทำ�
แผนทีห่ รือพิสจู น์สอบสวนการท�ำ ประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลาที่พนกั งานเจ้าหน้าที่ได้นดั หมาย
ในการเดินสำ�รวจพิสจู น์สอบสวนการทำ�ประโยชน์เพื่อออกหนงั สือรับรองการทำ�ประโยชน์ เจ้าพนกั งาน
ทด่ี นิ มอี �ำ นาจแตง่ ตง้ั ผซู้ ง่ึ ไดร้ บั การอบรมในการพสิ จู นส์ อบสวนการท�ำ ประโยชน ์ เปน็ เจา้ หนา้ ทอ่ี อกไปพสิ จู นส์ อบสวน
การท�ำ ประโยชน์แทนตนได้ในการปฏิบตั ิหน้าทีต่ ามวรรคสี่ ให้เจ้าหน้าทีเ่ ป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
(มาตรา  ๕๘  แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน  (ฉบับที่  ๔)
พ.ศ. ๒๕๒๘๘ ม)าตรา ๕๙ ในกรณีทีผ่ ู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์
เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา  ๕๘  แล้วหรือไม่ก็ตาม  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่
พจิ ารณาเหน็ สมควร ใหด้ �ำ เนนิ การออกโฉนดทด่ี นิ หรอื หนงั สอื รบั รองการท�ำ ประโยชน์ แลว้ แตก่ รณี ไดต้ ามหลกั เกณฑ์
และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้ก�ำ หนด
เพอ่ื ประโยชนแ์ หง่ มาตราน้ี ผมู้ สี ทิ ธคิ รอบครองทด่ี นิ ตามวรรคหนง่ึ ใหห้ มายความรวมถงึ ผซู้ ง่ึ ไดค้ รอบครอง
และทำ�ประโยชน์ในที่ดินต่อเนือ่ งมาจากผู้ซึง่ มีหลกั ฐานการแจ้งการครอบครองด้วย
(มาตรา ๕๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวตั ิ ฉบบั ที่ ๙๖ ลงวนั ที่ ๒๙ กุมภาพนั ธ์ พุทธศักราช
๒๕๑๕)

๑๑๔ ปี กรมท่ีดิน ๒๓

๓. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบบั ที่ ๙๖ (พ.ศ. ๒๕๑๕)
ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบบั ที่ ๙๖ ลงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๑๕ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๑๕
แก้ไขเพิ่มเติมแบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินและการออกโฉนดที่ดิน 
ตามประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ หลายประการ ดังนี้
๓.๑  การก�ำ หนดสาระสำ�คญั ในโฉนดที่ดิน
ได้แก้ไขเพิม่ เติมมาตรา ๕๗ โดยได้เพิ่มการก�ำ หนดแบบหนังสือรับรองการท�ำ ประโยชน์
ไวด้ ว้ ย และก�ำ หนดใหร้ ฐั มนตรวี า่ การกระทรวงมหาดไทยอาจมอบหมายใหผ้ อู้ น่ื ลงลายมอื ชอ่ื แทนผวู้ า่ ราชการ
จงั หวัดได้ เหตผุ ลที่ให้อ�ำ นาจรฐั มนตรีมอบหมายผู้อื่นได้น้ัน เพราะบางจงั หวัด เช่น กรุงเทพมหานคร ผู้ว่า
ราชการมีภารกิจมากมายไม่สามารถแบ่งเวลามาลงลายมือชื่อในโฉนดที่ดินได้  จึงให้รัฐมนตรีมอบหมาย
ให้ผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนเพื่อความสะดวกคล่องตัวในการที่จะให้งานออกโฉนดที่ดินให้กับประชาชนเสร็จ
รวดเร็วยิง่ ขึ้น
เท่าที่มีการมอบหมายมาแล้ว  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้อธิบดี
กรมที่ดินเป็นผู้ลงลายมือชือ่ แทนผู้ว่าราชการกรงุ เทพมหานครเพียงแห่งเดียวเท่าน้ัน ฉะน้ัน โฉนดทีด่ ินที่ออก
ในกรุงเทพมหานครเป็นระยะๆ  ก็จะเห็นลายมือชื่ออธิบดีกรมที่ดิน  หรือรองอธิบดีซึ่งรักษาการแทนอธิบดี
กรมที่ดินเป็นผู้ลงลายมือชื่อแทนผู้ว่าราชการกรงุ เทพมหานคร โดยการมอบหมายของรฐั มนตรี ตามมาตรา
๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๙๖ (พ.ศ. ๒๕๑๕) นี้
๓.๒  การเดินส�ำ รวจเพือ่ ออกโฉนดทีด่ ิน
มีการแก้ไขเพิม่ เติมมาตรา ๕๘ โดยกำ�หนดให้เขตที่จะท�ำ การเดินสำ�รวจต้องไม่รวมท้องที่
ไท_ ป_ี่ท_ตา_า_งม_ร_มา_ชา_๙ก_ต _มาร_ราา_ตไ_ด๕ร_้จา_๘_ำ�_๕แท_น๘_ว_กิ๙_ไท_วด_ว้เ_งัิป_นเ็น_มี้ _เื่อข_ไ_ตด_ป้_ส่าำ�รไมวจ้ถรางั ววรดั ทแำ�ลแะผกนทำ�หี่หรนือดพคิสณุ จู นล์สักอษบณสวะนขกอางรบทคุ ำ�คปรละทโยี่จชะนน์ใำ�นเทดีด่ ินินสต�ำ ารมวมจาไตดร้ใาห้เ๕ป๘็น

แล้ว ให้พนกั งานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนงั สือรับรองการท�ำ ประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บคุ คลตามที่ระบุไว้ใน
วรรคสอง  เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครองเป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์
ได้ตามประมวลกฎหมายนี้
บุคคลซึง่ พนกั งานเจ้าหน้าทีอ่ าจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ตามวรรคหนึง่ ให้ได้ คือ
(๑) ผู้ซึ่งมีหลกั ฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน มีใบจอง ใบเหยียบยา่ํ หนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์
โฉนดตราจอง ตราจองทีต่ ราว่า “ได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว” หรือเปน็ ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพือ่ การครองชีพ
(๒) ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ ตรี
(๓) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทำ�ประโยชน์ในที่ดิน  ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ  และไม่มี
ใบจอง ใบเหยียบยาํ่ หรือไม่มีหลกั ฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดทีด่ ินเพื่อการครองชีพ
เพือ่ ประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ซึ่งมีหลกั ฐานการแจ้งการครอบครองทีด่ ินตามวรรคสอง (๑) ให้หมายความ
รวมถึงผู้ซึง่ ได้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในทีด่ ินต่อเนือ่ งมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย
สำ�หรับบุคคลตามวรรคสอง  (๒)  และ  (๓)  ให้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์
แล้วแต่กรณี ได้ไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่ จะต้องได้รับอนุมตั ิจากผู้ว่าราชการจงั หวดั เป็นการเฉพาะราย ท้ังนี้ ตาม
ระเบียบที่คณะกรรมการกำ�หนด
ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง  ห้ามมิให้บุคคล
ตามวรรคสอง  (๓)  ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในทีด่ ินดงั กล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น  เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้
แก่ทบวงการเมือง องค์การของรฐั บาลตามกฎหมายว่าด้วยการจดั ต้ังองค์การของรฐั บาล รัฐวิสาหกิจทีจ่ ัดต้ังขึ้นโดยพระ
ราชบญั ญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อช�ำ ระหนี้โดยได้รบั อนมุ ตั ิจากนายทะเบียนสหกรณ์
ภายในก�ำ หนดระยะเวลาห้ามโอนตามวรรคห้า ที่ดินนั้นไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคบั คดี
(มาตรา  ๕๘  ทวิ  แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน  (ฉบับที่  ๔)
พ.ศ. ๒๕๒๘)

๒ ๔ ๑๑๔ ปี กรมท่ีดิน

ประเภทที่หนึ่ง  ผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน  มีใบจอง  ใบเหยียบยํ่า
หนังสือรบั รองการทำ�ประโยชน์ โฉนดตราจอง ตราจองทีต่ ราว่า “ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว” หรือเป็นผู้มีสิทธิตาม
กฎหมายว่าด้วยการจัดทีด่ ินเพื่อการครองชีพ
ประเภททีส่ อง ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามาตรา ๒๗ ตรี (มาตรา ๒๗ ตรี ได้ก�ำ หนดเพิม่ เติมตาม
ประกาศของคณะปฏิวตั ิ ฉบบั ที่ ๙๖ (พ.ศ. ๒๕๑๕) เช่นเดียวกัน โดยกำ�หนดให้ผู้ครอบครองและท�ำ ประโยชน์
ในทด่ี นิ อยกู่ อ่ นวนั ทป่ี ระมวลกฎหมายทด่ี นิ ใชบ้ งั คบั และมไิ ดแ้ จง้ การครอบครองทด่ี นิ (ส.ค. ๑) แตไ่ ดค้ รอบครอง
และท�ำ ประโยชน์ในทีด่ ินน้ันติดต่อกันมาจนถึงวนั เดินสำ�รวจ ถ้าประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น ให้แจ้งการ
ครอบครองทีด่ ินต่อนายอำ�เภอท้องที่ภายในกำ�หนดเวลา ๓๐ วัน นบั แต่วันปิดประกาศ หรือถ้าได้มาน�ำ
พนักงานเจ้าหน้าที่ทำ�การสำ�รวจรังวัดตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำ�หนด  ให้ถือว่ายัง
ประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น ผู้ครอบครองและท�ำ ประโยชน์ดังกล่าวหมายความรวมถึงผู้ครอบครองและทำ�
ประโยชน์ในทีด่ ินต่อเนื่องมาจากบุคคลดงั กล่าวด้วย)
ประเภททส่ี าม ผซู้ งึ่ ครอบครองทดี่ นิ และท�ำ ประโยชน์ในทด่ี นิ ภายหลงั วนั ทปี่ ระมวลกฎหมาย
ที่ดินใช้บังคับและไม่มีใบจอง  ใบเหยียบย่ํา  หรือไม่มีหลักฐานเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดิน
เพือ่ การครองชีพ
บคุ คลประเภทที่ ๒ และ ๓ ให้ออกโฉนดที่ดินได้ไม่เกิน ๕๐ ไร่ ถ้าเกิน ๕๐ ไร่ จะต้องได้รบั
อนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นการเฉพาะราย  ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำ�หนด  (ระเบียบของ
คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๑๕) ซึ่งได้ก�ำ หนดวิธีการ
และหลักเกณฑ์ไว้ว่า
ผู้ว่าราชการจงั หวดั จะอนมุ ัติให้ออกโฉนดที่ดินเกินกว่า ๕๐ ไร่ แต่ไม่เกิน ๑๐๐ ไร่ได้ เมือ่
ปรากฏว่า
(๑) ผู้ครอบครองได้ท�ำ ประโยชน์หรืออ�ำ นวยการท�ำ ประโยชน์ในที่ดินน้ันด้วยตนเอง
(๒) ผู้ครอบครองแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถทำ�ประโยชน์ในที่ดินน้ันได้อย่างจริงจัง
และ
(๓) สภาพการทำ�ประโยชน์ในที่ดินนั้นเป็นหลักฐานม่ันคง  และมีผลผลิตอันเป็นประโยชน์
ในทางเศรษฐกิจ
ทีด่ ินของบคุ คลประเภทที่ ๓ ห้ามโอน ๑๐ ปี นบั แต่วนั ได้รบั โฉนดทีด่ ิน เว้นแต่ตกทอดทาง
มรดก หรือโอนให้แก่ทางราชการ
นอกจากนี้มาตรา  ๕๘  ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่นี้ยังกำ�หนดให้ผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการ
ครอบครองทด่ี นิ (ส.ค. ๑) หมายความรวมถงึ ผซู้ ง่ึ ไดค้ รอบครองและท�ำ ประโยชนใ์ นทด่ี นิ ตอ่ เนอ่ื งมาจากบคุ คล
ดงั กล่าวด้วย
(ต่อมามาตรา ๕๘ ทวิ ได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญตั ิแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายทีด่ ิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ เกี่ยวกบั ข้อยกเว้นการห้ามโอนโดยเพิม่ เติมการโอนให้แก่
ทบวงการเมือง และการโอนให้แก่สหกรณ์เพือ่ ช�ำ ระหนี้เปน็ ข้อยกเว้นการห้ามโอนด้วย)
๓.๓ การออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย
(๑) แกไ้ ขเพม่ิ เตมิ มาตรา ๕๙ ใหช้ ดั เจนวา่ ผมู้ สี ทิ ธคิ รอบครองทด่ี นิ สามารถขอออกโฉนดทด่ี นิ
เปน็ การเฉพาะรายไดท้ กุ พน้ื ทไ่ี มว่ า่ จะเปน็ บรเิ วณทไ่ี ดม้ ปี ระกาศของรฐั มนตรี ตามมาตรา ๕๘ แลว้ หรอื ไมก่ ต็ าม
นอกจากนย้ี งั ก�ำ หนดใหผ้ มู้ สี ทิ ธคิ รอบครองทด่ี นิ หมายความรวมถงึ ผซู้ ง่ึ ไดค้ รอบครองและท�ำ ประโยชนใ์ นทด่ี นิ
ต่อเนือ่ งมาจากผู้ซึ่งมีหลกั ฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

๑๑๔ ปี กรมท่ดี ิน ๒๕

(๒) เพิม่ เติมให้มีมาตรา ๕๙ ทวิ๑๐ กำ�หนดให้ผู้ครอบครองและท�ำ ประโยชน์ในทีด่ ินอยู่
ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ  โดยไม่มีหนังสือสำ�คัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการ
ครอบครอง (ส.ค. ๑) สามารถขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายโดยมิได้แจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) ได้ (แต่
ไม่รวมถึงผู้ซึ่งไม่ปฏิบตั ิตามมาตรา ๒๗ ตรี) และมีความจำ�เป็นในการขอออกโฉนดที่ดิน โดยให้พนักงาน
เจ้าหน้าทีพ่ ิจารณาออกโฉนดทีด่ ินให้ได้ไม่เกิน ๕๐ ไร่ ถ้าเกิน ๕๐ ไร่ จะต้องได้รับอนมุ ตั ิจากผู้ว่าราชการ
จงั หวดั ท้ังนี้ ตามระเบียบของคณะกรรมการจดั ทีด่ ินแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕)
นอกจากนี้มาตรา  ๕๙  ทวิ  ยังกำ�หนดให้ผู้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินตาม
มาตรานี้ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและท�ำ ประโยชน์ที่ดินต่อเนือ่ งมาจากบุคคลดงั กล่าวด้วย
๓.๔ กำ�หนดหลักเกณฑ์การออกโฉนดที่ดินกรณีเนื้อที่ที่รังวัดใหม่แตกต่างจาก
เนื้อทีต่ าม ส.ค. ๑
โดยก�ำ หนดเป็นมาตรา ๕๙ ตรี๑๑ ว่า ในการออกโฉนดทีด่ ินถ้าปรากฏว่าเนื้อที่ที่ท�ำ การ
รังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครอง  (ส.ค. ๑)  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออก
โฉนดที่ดินให้ได้เท่าจ�ำ นวนเนื้อทีท่ ี่ได้ท�ำ ประโยชน์ ทั้งนี้ตามระเบียบทีค่ ณะกรรมการก�ำ หนด (ตามระเบียบ
ของคณะกรรมการจัดทีด่ ินแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ลงวนั ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๑๕ ข้อ ๑๑ (๑) (๒)
ก.ข.ค. และ ง. แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบของคณะกรรมการจดั ทีด่ ินแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ลงวนั ที่ ๑๕ ตลุ าคม ๒๕๒๔ ข้อ ๓ และข้อ ๔)

๔. พระราชบญั ญตั ิแก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๕๒๘
ได้มีการก�ำ หนดแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการออกโฉนดทีด่ ินเพิ่มเติมจากเดิม ดงั นี้
๔.๑ กำ�หนดแบบโฉนดที่ดินใหม่
(๑) ก�ำ หนดแบบโฉนดที่ดินใหม่ โดยให้ใช้แบบ น.ส. ๔ จ. (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๔
(พ.ศ. ๒๕๒๙) ลงวนั ที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๙

_ ______๑__๐_ _ม_า_ต__ร_า_๕__๙__ท_ว_ิ_ผ_ู้ซ_ึ่ง__ค_ร_อ_บ_ครองและทำ�ประโยชน์ในทีด่ ินอยู่ก่อนวนั ทีป่ ระมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มี
หนงั สือส�ำ คญั แสดงกรรมสิทธิ์ทีด่ ิน และมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบตั ิตามมาตรา ๒๗ ตรี ถ้ามีความจ�ำ เปน็ จะขอออกโฉนดที่ดิน
หรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์เป็นการเฉพาะราย  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควรให้ดำ�เนินการ
ออกโฉนดทีด่ ินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลกั เกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้
ก�ำ หนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนมุ ัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ท้ังนี้ ตามระเบียบที่คณะ
กรรมการก�ำ หนด
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้  ผู้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในทีด่ ินต่อเนื่องมาจากบคุ คลดงั กล่าวด้วย
(มาตรา ๕๙ ทวิ เพิ่มโดยประกาศของคณะปฏิวตั ิ ฉบับที่ ๙๖ ลงวนั ที่ ๒๙ กมุ ภาพันธ์ พุทธศกั ราช
๒ ๕๑๕)๑๑ มาตรา ๕๙ ตรี ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ ถ้าปรากฏว่าเนื้อทีท่ ีท่ ำ�การ
รังวดั ใหม่แตกต่างไปจากเนื้อทีต่ ามใบแจ้งการครอบครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมาย
ทด่ี นิ พ.ศ. ๒๔๙๗ ใหพ้ นกั งานเจา้ หนา้ ทพ่ี จิ ารณาออกหนงั สอื แสดงสทิ ธใิ นทด่ี นิ ใหไ้ ดเ้ ทา่ จ�ำ นวนเนอ้ื ทท่ี ไ่ี ดท้ �ำ ประโยชน์
ทั้งนี้ ตามระเบียบทีค่ ณะกรรมการกำ�หนด
(มาตรา ๕๙ ตรี เพิม่ โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบบั ที่ ๙๖ ลงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พุทธศกั ราช
๒๕๑๕)

๒ ๖ ๑๑๔ ปี กรมท่ดี ิน

(๒) กำ�หนดแบบโฉนดที่ดินใหม่ โดยให้ใช้แบบ น.ส. ๔ จ. (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓
(พ.ศ. ๒๕๓๗) ลงวนั ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ (ใช้บงั คบั ต้ังแต่วนั ที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๗) ซึง่ โฉนดที่ดินตาม
แบบนี้เปน็ โฉนดทีด่ ินแบบล่าสุดและได้ใช้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
๔.๒ กำ�หนดพนกั งานเจ้าหนา้ ทีผ่ ลู้ งนามในโฉนดที่ดิน ตามมาตรา ๕๗
โดยก�ำ หนดให้ เจา้ พนกั งานทด่ี นิ จงั หวดั เจา้ พนกั งานทด่ี นิ จงั หวดั สาขา หรอื เจา้ พนกั งานทด่ี นิ
ซึ่งอธิบดีกรมทีด่ ินมอบหมาย เปน็ ผู้ลงลายมือชือ่ และประทับตราประจำ�ต�ำ แหน่งของเจ้าพนักงานที่ดินเปน็
สำ�คัญลงในโฉนดที่ดิน (การแก้ไขแบบโฉนดที่ดินครั้งหลังสุดที่ให้มีเจ้าพนักงานที่ดินแต่ผู้เดียวเป็นผู้ลงนาม
ประทับตรานี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเคยมีโฉนดทีด่ ินแบบนี้มาก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติออกโฉนดทีด่ ิน
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๔๘๖)
ฉะนั้น  ในปัจจุบันพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำ�นาจลงนามและประทับตราในโฉนดที่ดินจึงเป็น
ผู้ดำ�รงต�ำ แหน่ง ดังนี้
(๑) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด  เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกโฉนดที่ดินในเขตพื้นที่
ความรบั ผิดชอบของสำ�นักงานที่ดินจงั หวัด
(๒) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา  เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกโฉนดที่ดินในเขต
พื้นทีค่ วามรบั ผิดชอบของส�ำ นกั งานที่ดินจังหวัดสาขา
(๓) เจ้าพนกั งานที่ดินซึง่ อธิบดีมอบหมาย ปจั จุบันอธิบดีกรมที่ดินได้มอบหมาย ๒ กรณี
คือ
(ก) ผู้อ�ำ นวยการศูนย์เดินสำ�รวจออกโฉนดทีด่ ิน ซึง่ อธิบดีกรมทีด่ ินมอบหมายให้ออก
โฉนดที่ดินจากการเดินสำ�รวจในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบเป็นปีงบประมาณไป  (โดยรัฐมนตรีแต่งต้ังเป็น
เจ้าพนกั งานที่ดินตามนยั มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗)
(ข) เจ้าพนักงานที่ดินหัวหน้าส่วนแยก  ซึ่งอธิบดีกรมที่ดินมอบหมายให้ออกโฉนด
ที่ดินในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของสำ�นักงานที่ดินจังหวัด/สาขาส่วนแยก  (โดยอธิบดีกรมที่ดินแต่งตั้งเป็น
เจ้าพนักงานทีด่ ินอาศัยอำ�นาจตามคำ�สงั่ กระทรวงมหาดไทยที่ ๔๖๖/๒๕๒๒ ลงวนั ที่ ๖ มิถนุ ายน ๒๕๒๒
เรือ่ ง แต่งตั้งเจ้าพนักงานทีด่ ิน)
๔.๓ การเดินส�ำ รวจออกโฉนดทีด่ ิน
ตามมาตรา ๕๘ หลกั การใหญ่คงเดิมตามกฎหมายเก่า เพียงแต่ปรบั เปลี่ยนอำ�นาจในการ
แต่งต้ังเจ้าหน้าทีพ่ ิสจู น์สอบสวนการทำ�ประโยชน์จากนายอำ�เภอมาเป็นเจ้าพนักงานที่ดิน ในห้วงระยะเวลานี้
ได้เปลีย่ นต�ำ แหน่งผู้ควบคุมงานเดินสำ�รวจจาก “ผู้ก�ำ กับการเดินส�ำ รวจ” เปน็ ผู้อำ�นวยการศนู ย์เดินส�ำ รวจ
ออกโฉนดทีด่ ิน” และเปลี่ยนชือ่ หน่วยงานปฏิบตั ิการเดินสำ�รวจจาก “กองกำ�กับการเดินสำ�รวจ” เป็น “ศูนย์
อ�ำ นวยการเดินสำ�รวจออกโฉนดที่ดิน” สำ�หรับมาตรา ๕๘ ทวิ ได้มีการแก้ไขเพิม่ เติมเล็กน้อย คือ เพิ่มเติม
ให้มีการยกเว้นการห้ามโอน กรณีครอบครองท�ำ ประโยชน์ในทีด่ ินมาภายหลงั ประมวลกฎหมายที่ดินสำ�หรับ
องค์การของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจด้วย ได้มีเหตุการณ์ที่สำ�คัญอันอาจกล่าวได้ว่าเปน็ จดุ ผกผัน หรือเป็นมิติ
ใหม่สำ�หรบั การออกโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชนในช่วงนั้น กล่าวคือ กรมทีด่ ินได้มีโครงการพฒั นากรมที่ดิน
และเร่งรัดการออกโฉนดทีด่ ินให้แล้วเสรจ็ ท่ัวประเทศภายใน ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๔๗) โดยการกู้เงิน
จากธนาคารโลกมาดำ�เนินการ  และได้นำ�เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการรังวัดทำ�แผนที่และเปลี่ยนระบบ
พิกัดฉาก ๒๙ ศนู ย์ก�ำ เนิด มาเป็นระบบพิกดั ฉาก ยูทีเอ็ม และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายทีด่ ิน

๑๑๔ ปี กรมท่ีดิน ๒๗

โดยเพิม่ เติมมาตรา ๕๘ ตรี๑๒ ขึ้น เพือ่ ให้ประชาชนทีม่ ีหนังสือรับรองการท�ำ ประโยชน์โดยใช้ระวางรูปถ่าย
ทางอากาศ (น.ส. ๓ ก.) สามารถมีโฉนดที่ดินเป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนโดยทวั่ ถึง
มาตรา ๕๘ ตรี มีหลกั เกณฑ์วิธีการดำ�เนินการดังนี้ คือ
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษากำ�หนดท้องที่และ
วนั ที่เริม่ ดำ�เนินการออกโฉนดที่ดิน สำ�หรบั ที่ดินทีม่ ี น.ส. ๓ ก. ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
(๒) การทำ�แผนที่เพื่อออกโฉนดทีด่ ินตาม (๑) ให้น�ำ ระวางรปู ถ่ายทางอากาศมาตราส่วน
๑ : ๕,๐๐๐ ที่ใช้ในการออก น.ส. ๓ ก. ไปย้ายรปู แปลง น.ส. ๓ ก. ลงในระวางแผนที่รปู ถ่ายทางอากาศระบบ
พิกัดฉาก ยทู ีเอม็ มาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ แล้วใช้รูปแผนทีใ่ นระวางแผนที่รปู ถ่ายทางอากาศไปเขียนโฉนด
ทีด่ ิน โดยไม่ต้องไปท�ำ การส�ำ รวจรังวัดในทีด่ ิน
(๓) เมือ่ ถึงก�ำ หนดวนั ทเี่ รมิ่ ด�ำ เนินการออกโฉนดทีด่ ินตาม (๑) ให้ระงบั การจดทะเบียนสิทธิ
และนิติกรรมใดๆ ทีต่ ้องมีการรังวัดสำ�หรบั ที่ดินทีม่ ี น.ส. ๓ ก. ในท้องที่ดงั กล่าว
(๔) ให้ออกโฉนดทีด่ ินแก่ผู้มีชือ่ ซึง่ เปน็ ผู้มีสิทธิใน น.ส. ๓ ก.
(๕) เมื่อได้จัดทำ�โฉนดที่ดินแปลงใดพร้อมที่จะแจกแล้ว  ให้เจ้าพนักงานที่ดินประกาศ
กำ�หนดวนั แจกโฉนดที่ดินแปลงน้ันแก่ผู้มีสิทธิ และให้ถือว่า น.ส. ๓ ก. ส�ำ หรบั ที่ดินแปลงนั้นได้ยกเลิกต้ังแต่
วนั ก�ำ หนดแจกโฉนดที่ดินตามประกาศดงั กล่าว
๔.๔ การออกโฉนดทีด่ ินเฉพาะราย
ตามมาตรา ๕๙ ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม
๔.๕ การออกโฉนดทีด่ ินเฉพาะรายโดยมิไดแ้ จง้ การครอบครอง
ตามมาตรา ๕๙ ทวิ ไม่มีการแก้ไขเพิม่ เติม แต่กรณีการขออนมุ ตั ิผู้ว่าราชการจังหวดั เพื่อ
ออกโฉนดทีด่ ิน กรณีจำ�เป็น และกรณีที่ดินทีข่ อออกโฉนดทีด่ ินมีเนื้อที่เกินกว่า ๕๐ ไร่ นั้น ได้มีการก�ำ หนด
หลกั เกณฑ์วิธีดำ�เนินการโดยระเบียบของคณะกรรมการจดั ที่ดินแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ลงวันที่
๔ ตุลาคม ๒๕๓๒ ข้อ ๕, ๖ และ ๗ (แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบของคณะกรรมการจดั ที่ดินแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๒
(พ.ศ. ๒๕๑๕) ข้อ ๕, ๖ และ ๙)
_______๑__๒_ _ม_า_ต__ร_า__๕_๘___ต_ร_ี _เม__ื่อ_ร_ัฐ_ม__นตรีเหน็ สมควรจะให้มีการออกโฉนดทีด่ ินสำ�หรับทีด่ ินที่มีหนงั สือรบั รองการทำ�
ประโยชน์ซึ่งใช้ระวางรูปถ่ายทางอากาศในท้องที่ใด  ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาก�ำ หนดท้องที่นั้นและ
วนั ที่เริ่มด�ำ เนินการออกโฉนดที่ดินให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
การทำ�แผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินตามวรรคหนึ่ง  ให้นำ�หลักฐานเกี่ยวกับระวางรูปถ่ายทางอากาศที่ใช้กับ
หนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์มาปรับแก้ตามหลักวิชาการ  แผนที่รปู ถ่ายทางอากาศโดยไม่ต้องท�ำ การส�ำ รวจรงั วัด
เว้นแต่กรณีจำ�เปน็ ให้เจ้าพนกั งานที่ดินท�ำ การส�ำ รวจรังวัด
เมื่อถึงกำ�หนดวนั ที่เริม่ ดำ�เนินการออกโฉนดที่ดินตามประกาศของรฐั มนตรี ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ระงับ
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมใดๆ ที่ต้องมีการรังวดั ส�ำ หรบั ที่ดินที่มีหนงั สือรบั รองการทำ�ประโยชน์โดยใช้ระวาง
รูปถ่ายทางอากาศในท้องที่ดังกล่าว  เว้นแต่ในกรณีจำ�เป็นเจ้าพนักงานที่ดินจะอนุญาตเฉพาะรายก็ได้  ทั้งนี้  ตาม
ระเบียบทีค่ ณะกรรมการก�ำ หนด
การออกโฉนดที่ดินตามมาตรานี้ ให้ออกแก่ผู้มีชือ่ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์
เมอ่ื ไดจ้ ดั ท�ำ โฉนดทด่ี นิ แปลงใดพรอ้ มทจ่ี ะแจกแลว้ ใหเ้ จา้ พนกั งานทด่ี นิ ประกาศก�ำ หนดวนั แจกโฉนดทด่ี นิ
แปลงนั้นแก่ผู้มีสิทธิ และให้ถือว่าหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์สำ�หรับทีด่ ินแปลงน้ันได้ยกเลิกต้ังแต่วันก�ำ หนดแจก
โฉนดที่ดินตามประกาศดังกล่าว  และให้ส่งหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ที่ยกเลิกแล้วนั้นคืนแก่เจ้าพนักงานที่ดิน
เว้นแต่กรณีสูญหาย
(มาตรา ๕๘ ตรี เพิ่มโดยพระราชบญั ญัติแก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายทีด่ ิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘)

๒๘ ๑๑๔ ปี กรมที่ดิน

๔.๖ การออกโฉนดทด่ี นิ กรณเี นอ้ื ทท่ี ท่ี �ำ การรงั วดั ใหมแ่ ตกตา่ งจากเนอ้ื ทต่ี าม ส.ค. ๑
ตามมาตรา ๕๙ ตรี ไมม่ กี ารแกไ้ ขเพม่ิ เตมิ แตไ่ ดม้ กี ารก�ำ หนดหลกั เกณฑแ์ ละวธิ ดี �ำ เนนิ การ
โดยระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ข้อ ๘, ๙ และ ๑๐ (แก้ไขเพิ่มเติม
ระเบียบของคณะกรรมการจดั ที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ข้อ ๓ และ ๔)
๔.๗ การออกโฉนดที่ดินโดยอาศยั หลกั ฐานหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้มีการแก้ไขหลกั เกณฑ์การออกโฉนดทีด่ ินโดยอาศยั หลักฐานหนังสือ
รบั รองการทำ�ประโยชน์ ทีไ่ ด้ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งมีประวัติความเปน็ มา และหลกั เกณฑ์การแก้ไขตาม
หนังสือกรมทีด่ ิน ที่ มท ๐๗๑๙/ว ๒๕๔๗๘ ลงวนั ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๑ ดงั นี้
(๑) เดิมกรณีการออกโฉนดที่ดินโดยอาศัยหลักฐานหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์
กรมที่ดินได้วางหลกั เกณฑ์และวิธีการให้ถือปฏิบตั ิตามมาตรา ๕๙ ตรี แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ินและ
ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๒๔) และฉบับ
ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) โดยอนโุ ลม ตามหนงั สือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๖๐๖/ว ๙๔๙๐๙ ลงวนั ที่ ๑ พฤศจิกายน
๒๕๑๕ ที่ มท ๐๖๐๙/๑๐๓๐๐ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒ และ ที่ มท ๐๗๑๒/ว ๗๘๖๑ ลงวันที่ ๑๗
เมษายน ๒๕๓๐ ตามล�ำ ดบั โดยทก่ี ฎหมายและระเบยี บค�ำ สง่ั ดงั กลา่ วก�ำ หนดแตเ่ พยี งกรณกี ารออกโฉนดทด่ี นิ
โดยอาศยั หลกั ฐาน ส.ค. ๑
(๒) ต่อมากรมที่ดินเห็นว่า  การอนุโลมใช้บังคับกฎหมายและระเบียบดังกล่าวแก่การออก
โฉนดที่ดินโดยอาศัยหลักฐานหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  ทำ�ให้ราษฎรจำ�นวนมากต้องเสียสิทธิ  เช่น
ในกรณีที่ที่ดินมีด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านจดที่ป่า  หรือที่รกร้างว่างเปล่า  และระยะที่วัดได้เกินกว่า
ระยะทีป่ รากฏในหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ระเบียบของคณะกรรมการจดั ที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
(พ.ศ. ๒๕๓๒) ข้อ ๑๐ ก�ำ หนดให้ถือระยะทีป่ รากฏในหลกั ฐานการแจ้งการครอบครองเปน็ หลกั ในการออก
โฉนดที่ดิน กล่าวคือต้องตัดระยะให้เหลือเท่าทีป่ รากฏใน ส.ค. ๑ ฉะนั้น ในกรณีทีห่ นังสือรับรองการท�ำ
ประโยชน์มีด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านจดที่ป่า หรือที่รกร้างว่างเปล่า จึงต้องถูกตดั ระยะไปด้วยเหมือน
ดงั กรณี ส.ค. ๑ กรมที่ดินจึงได้สัง่ ยกเลิกหนังสือกรมทีด่ ินตาม (๑) ท้ัง ๓ ฉบับ ที่อนุโลมให้ใช้กฎหมายและ
ระเบียบดงั กล่าวแก่กรณีการออกโฉนดทีด่ ินโดยอาศัยหลกั ฐานหนงั สือรับรองการท�ำ ประโยชน์
(๓) สำ�หรับหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะใช้กับกรณีการออกโฉนดที่ดินโดยอาศัยหลักฐาน
หนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  หลังจากยกเลิกหนังสือเวียนกรมที่ดินดังกล่าวแล้วน้ัน  ต้องเป็นไปตาม
มาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน และกฎกระทรวงฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) (เช่น ตาม
ข้อ ๑๔ ทีด่ ินที่จะออกโฉนดทีด่ ินต้องเป็นที่ดินทีผ่ ู้มีสิทธิในทีด่ ินได้ครอบครองและทำ�ประโยชน์แล้ว และเป็น
ทีด่ ินทีส่ ามารถออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎหมาย) ส่วนกรณีอาณาเขตระยะของแนวเขต และเนื้อทีใ่ นการรังวดั
ออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับหลักฐานหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  ย่อมอยู่ในดุลยพินิจของ
เจ้าพนักงานที่ดินที่จะพิจารณาดำ�เนินการตามความเหมาะสมแก่กรณีต่อไป  โดยขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและ
ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏในแต่ละเรือ่ ง
๔.๘ การกำ�หนดการจดแจ้งรายการภาระผูกพันและรายการเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิ
ในทีด่ ิน

๑๑๔ ปี กรมท่ดี ิน ๒๙

โดยเพิ่มเติมมาตรา ๕๙ จัตวา๑๓ ซึง่ ก�ำ หนดว่า
“การออกโฉนดทีด่ ินตามมาตรา ๕๘ ทวิ มาตรา ๕๘ ตรี และมาตรา ๕๙ ถ้าหนังสือแสดง
สิทธิในที่ดินเดิมมีรายการภาระผกู พนั หรือมีรายการเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิในที่ดินในระหว่างด�ำ เนินการออก
โฉนดที่ดิน ให้ยกรายการดังกล่าวมาจดแจ้งไว้ในโฉนดที่ดินด้วย”
เหตุผลทีม่ ีบทบญั ญัติมาตรานี้ ก็เพือ่ ให้มีกฎหมายรองรับทางปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่ดำ�เนินการ
อยู่ก่อนแล้วก่อนออกโฉนดทีด่ ิน เช่น โฉนดที่ดินที่ออกโดยการเดินส�ำ รวจท้ังตำ�บลตามมาตรา ๕๘ ทวิ หรือ
ออกตามมาตรา ๕๘ ตรี โดยการปรบั แก้ระวางรูปถ่ายทางอากาศเปลี่ยน น.ส. ๓ ก. เปน็ โฉนดทีด่ ิน หรือ
โฉนดที่ดินที่ออกตามค�ำ ขอเฉพาะราย ตามมาตรา ๕๙ ถ้าหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิม เปน็ ต้นว่า น.ส. ๓,
น.ส. ๓ ก. มีรายการผูกพนั เช่น จ�ำ นอง ขายฝาก เช่าหรือทรัพยสิทธิใดๆ ผกู พนั อยู่ก่อน หรือจดทะเบียน
ภาระผูกพนั ระหว่างการออกโฉนดทีด่ ิน หรือมีรายการเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิในที่ดินระหว่างดำ�เนินการออก
โฉนดที่ดิน เช่น มีการโอนขาย โอนให้ หรือรับมรดกในระหว่างนั้น ก็ให้ยกรายการดังกล่าวมาจดแจ้งใน
โฉนดที่ดินด้วย ท้ังนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการรับรองสิทธิที่ผกู พนั กบั ทีด่ ินมาก่อนการออกโฉนดทีด่ ิน รวมท้ัง
รับรองการเปลี่ยนแปลงสิทธิในที่ดินในระหว่างการออกโฉนดที่ดินด้วย  ซึ่งบางครั้งเอกชนก็มีความจำ�เป็น
เร่งด่วนที่จะต้องทำ�การโอนสิทธิในที่ดินกันระหว่างน้ัน
มีข้อสังเกตว่า การจดแจ้งรายการภาระผกู พนั หรือรายการเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิในทีด่ ิน
ในระหว่างด�ำ เนินการออกโฉนดที่ดินน้ัน มีทางปฏิบัติส�ำ หรับการออกโฉนดที่ดินแต่ละวิธีไม่เหมือนกัน คือ
จะสามารถจดแจ้งรายการฯ ดงั กล่าว ได้ดังนี้
(๑) กรณีการออกโฉนดที่ดินตามมาตรา ๕๘ ทวิ และมาตรา ๕๙ โฉนดทีด่ ินเปน็ ผล
สมบรู ณต์ ามกฎหมาย เมอ่ื เจา้ พนกั งานทด่ี นิ ไดล้ งนามในโฉนดทด่ี นิ และแจกโฉนดทด่ี นิ ใหแ้ กผ่ มู้ สี ทิ ธริ บั ไปแลว้
ฉะนั้น จึงสามารถจดแจ้งรายการฯ ดังกล่าวในกรณีนี้ได้ก่อนทีเ่ จ้าพนักงานที่ดินแจกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิ
รบั ไป หลังจากน้ันไม่สามารถจดแจ้งได้
(๒) กรณีการออกโฉนดที่ดินตามมาตรา  ๕๘  ตรี  โฉนดที่ดินเป็นผลสมบูรณ์ตาม
กฎหมายในวนั ก�ำ หนดแจกโฉนดทีด่ ินตามประกาศของเจ้าพนักงานที่ดิน ฉะน้ัน จึงสามารถจดแจ้งรายการฯ
ดังกล่าวในกรณีนี้ได้ก่อนวันกำ�หนดแจกโฉนดที่ดินตามประกาศของเจ้าพนักงานที่ดินและต้ังแต่วันดังกล่าว
เป็นต้นไป จะไม่สามารถจดแจ้งได้
โ๔ด.ย๙เ พิ่มกเาตริมกมำ�าหตนรดาให๕้ย๙กเเบลญิกหจน๑งั๔สือซแึง่ กส�ำดหงนสดิทวธ่าิในที่ดินเดิม
“การออกโฉนดที่ดินตามมาตรา ๕๘ ทวิ และมาตรา ๕๙ ให้ถือว่า หนังสือแสดงสิทธิใน
ทีด่ ินเดิมเป็นอนั ยกเลิก และให้ส่งหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ ินที่ยกเลิกแล้วน้ันคือแก่เจ้าพนักงานทีด่ ิน เว้นแต่
ก __ร_ณ__ีส__ญู ๑__ห๓_า _มย_า_”ต__ร_า__๕_๙__จ__ัต_ว_า__ก_า__ร_อ_อกโฉนดที่ดินตามมาตรา ๕๘ ทวิ มาตรา ๕๘ ตรี และมาตรา ๕๙ ถ้าหนังสือ
แสดงสิทธิในที่ดินเดิมมีรายการภาระผูกพัน  หรือมีรายการเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิในที่ดินในระหว่างดำ�เนินการออก
โฉนดที่ดิน ให้ยกรายการดังกล่าวมาจดแจ้งไว้ในโฉนดทีด่ ินด้วย
(มาตรา ๕๙ จตั วา เพม่ิ โดยพระราชบญั ญตั แิ กไ้ ขเพม่ิ เตมิ ประมวลกฎหมายทด่ี นิ (ฉบบั ท่ี ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘)
๑๔ มาตรา ๕๙ เบญจ การออกโฉนดที่ดินตามมาตรา ๕๘ ทวิ และมาตรา ๕๙ ให้ถือว่าหนงั สือแสดงสิทธิ
ในทีด่ ินเดิมเป็นอันยกเลิก และให้ส่งหนังสือแสดงสิทธิในทีด่ ินทีย่ กเลิกแล้วน้ันคืนแก่เจ้าพนกั งานทีด่ ิน  เว้นแต่กรณี
สูญหาย
(มาตรา ๕๙ จตั วา เพม่ิ โดยพระราชบญั ญตั แิ กไ้ ขเพม่ิ เตมิ ประมวลกฎหมายทด่ี นิ (ฉบบั ท่ี ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘)

๓ ๐ ๑๑๔ ปี กรมทดี่ ิน

กฎหมายมาตรานี้ มีสาระสำ�คญั คือ เมือ่ มีการออกโฉนดทีด่ ินให้แก่ผู้ใดไปโดยการเดินส�ำ รวจ
ตามมาตรา ๕๘ ทวิ กด็ ี หรือโดยการขอเฉพาะรายตามมาตรา ๕๙ ก็ดี ให้ถือว่าหนงั สือแสดงสิทธิในที่ดิน
เดิม เช่น น.ส. ๓, น.ส. ๓ ก., โฉนดตราจอง, หรือตราจองทีต่ ราว่า “ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว” เป็นอนั ยกเลิก
และให้ผู้มีสิทธิในที่ดินน้ันส่งหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ยกเลิกแล้วน้ันคืนแก่เจ้าพนักงานที่ดิน  ยกเว้นกรณี
สูญหาย  เมื่อไม่สามารถคืนได้ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ก็จะบันทึกการสูญหายไว้เป็นหลักฐาน  (สำ�หรับการ
ออกโฉนดที่ดินโดยการปรับแก้ระวางรปู ถ่ายทางอากาศเปลี่ยนจาก น.ส. ๓ ก. ตามมาตรา ๕๘ ตรี มีการ
บญั ญตั ิกำ�หนดให้ยกเลิกหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ ินเดิม (น.ส. ๓ ก.) ไว้ในมาตรา ๕๘ ตรี น้ันแล้ว คือให้ถือว่า
น.ส. ๓ ก. ส�ำ หรบั ที่ดินแปลงน้ันได้ยกเลิกตั้งแต่วันก�ำ หนดแจกโฉนดที่ดินตามประกาศของเจ้าพนักงานทีด่ ิน
และให้ส่ง น.ส. ๓ ก. ทีย่ กเลิกแล้วนั้นคืนแก่เจ้าพนักงานที่ดิน เว้นแต่กรณีสูญหาย)
เหตุผลสำ�คัญในการแก้ไขเพ่ิมเติม  ก็เพราะว่าแต่เดิมมาเม่ือได้ออกโฉนดท่ีดินให้ผู้ใดไปแล้ว
มิได้มีบทบัญญัติให้หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับเดิมต้องยกเลิก  เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงเดียวกันมีหนังสือ
แสดงสิทธิในที่ดินหลายฉบับ  จึงมีกรณีผู้ฉวยโอกาสเอาหลักฐานเดิมจากสำ�นักงานที่ดินหรือที่ยังไม่ได้มอบ
คืนให้เจ้าหน้าที่ ไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น นำ�ไปประกันเงินกู้ทำ�ให้เกิดความเสียหายขึ้น จึงจ�ำ เป็นต้อง
เพิม่ บทบญั ญตั ิมาตรานี้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
๕. พระราชบญั ญตั แิ กไ้ ขเพม่ิ เตมิ ประมวลกฎหมายทด่ี นิ (ฉบบั ท่ี ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ให้
เหมาะสมยิง่ ขึ้น โดยให้มีมาตรการเร่งรัดผู้มีหลกั ฐานการแจ้งการครอบครองทีด่ ินมาด�ำ เนินการเพือ่ ขอออก
โฉนดทีด่ ินหรือหนงั สือรบั รองการทำ�ประโยชน์
๕.๑ ก�ำ หนดวันใช้บังคบั กฎหมาย
มาตรา ๒ กำ�หนดให้พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บงั คับตั้งแต่วันถัดจากวนั ประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา ๓ มาตรา ๖ และมาตรา ๗ ให้ใช้บงั คบั เมื่อพ้นกำ�หนดเก้าสิบวนั นับแต่วนั
ประกาศในราชกิจจานเุ บกษา
๕.๒ แกไ้ ขเพิม่ เติมมาตรา ๕๖ และเพิ่มเติมมาตรา ๕๖/๑
โดยกำ�หนดเรื่องการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ในกรณีเป็นที่ดิน
ทีม่ ีอาณาเขตติดต่อคาบเกีย่ วหรืออยู่ในเขตทีด่ ินของรฐั
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๖ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ใช้ความต่อไป
นี้แทน
“มาตรา ๕๖ ภายใต้บังคบั มาตรา ๕๖/๑ แบบ หลกั เกณฑ์ และวิธีการออกใบจอง หนังสือ
รบั รองการทำ�ประโยชน์ ใบไต่สวนหรือโฉนดทีด่ ิน รวมทั้งใบแทนของหนงั สือดังกล่าว ให้เปน็ ไปตามที่ก�ำ หนด
ในกฎกระทรวง”
มาตรา ๕ ให้เพิม่ ความต่อไปนี้เปน็ มาตรา ๕๖/๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
“มาตรา ๕๖/๑ การออกโฉนดทีด่ ินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ ถ้าเป็นทีด่ ินที่มี
อาณาเขตติดต่อคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตที่ดินของรัฐที่มีระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศหรือระวางรูปถ่าย
ทางอากาศ พนักงานเจ้าหน้าทีจ่ ะออกให้ได้ต่อเมือ่ ตรวจสอบกบั ระวางแผนทีร่ ูปถ่ายทางอากาศหรือระวาง
รูปถ่ายทางอากาศฉบับที่ทำ�ขึ้นก่อนสุดเท่าที่ทางราชการมีอยู่แล้วว่าเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินหรือ
หนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ได้ หรือตรวจสอบด้วยวิธีอืน่ ท้ังนี้ ตามระเบียบที่อธิบดีก�ำ หนด”
โดยอธบิ ดกี รมทด่ี นิ ไดอ้ อกระเบยี บกรมทด่ี นิ วา่ ดว้ ยการตรวจสอบทด่ี นิ เพอ่ื ออกโฉนดทด่ี นิ
หรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  กรณีเป็นที่ดินที่มีอาณาเขตติดต่อคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตที่ดินของรัฐ
ด้วยวิธีอืน่ พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อเปน็ แนวทางปฏิบตั ิ

๑๑๔ ปี กรมทด่ี นิ ๓๑

๕.๓ ก�ำ หนดใหเ้ จา้ ของทด่ี นิ ทม่ี หี ลกั ฐานการแจง้ การครอบครองทด่ี นิ (ส.ค. ๑) ไปยน่ื
ค�ำ ขอ ออกห นังสือมแาสตดรงาส  ิท๘ธ๑ิใ๕น ทแี่ดหิน่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน  (ฉบับที่  ๑๑)
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก�ำ หนดใหเ้ จา้ ทด่ี นิ ทม่ี หี ลกั ฐานการแจง้ การครอบครองทด่ี นิ และยงั มไิ ดย้ นื่ ค�ำ ขอออกโฉนดทด่ี นิ
หรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  ไปยื่นคำ�ขอเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ต่อ
พนกั งานเจ้าหน้าทีภ่ ายในสองปีนบั แต่วันทีพ่ ระราชบญั ญัตินี้ใช้บังคับ (ภายในวนั ที่ ๘ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๓)
หากพ้นกำ�หนดพนักงานเจ้าหน้าที่จะออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ให้ได้ต่อเมื่อศาล
ยุติธรรมได้มีคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งถึงที่สุดว่าผู้น้ันเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินโดยชอบ
ด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บงั คบั
๕.๔ ให้อธิบดีกรมที่ดินทำ�การตรวจสอบหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน
(ส.ค. ๑)
มาตรา ๙ ให้อธิบดีกรมทีด่ ินทำ�การส�ำ รวจ ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งการครอบครอง
ที่ดินและตำ�แหน่งที่ดินตามหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินที่มีอยู่จริงกับทะเบียนการครอบครอง
ที่ดินระวางแผนทีห่ รือระวางแผนที่รปู ถ่ายทางอากาศหรือระวางรปู ถ่ายทางอากาศ ว่าที่ดินที่มีหลกั ฐานการ
แจ้งการครอบครองที่ดินน้ัน  ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ไปแล้วหรือไม่ให้
แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  หากพบว่าที่ดินแปลงใดได้ออกโฉนดที่ดินหรือ
หนงั สือรับรองการทำ�ประโยชน์ไปแล้ว ให้จ�ำ หน่ายหลกั ฐานการแจ้งการครอบครองทีด่ ินน้ันเสีย

_______๑__๕_ _ม_า_ต__ร_า_ __๘_ __ใ_ห_้ผ__ู้ซ_ึ่ง_ไ_ด__้ค_รอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้
บังคับ  โดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน  และยังมิได้ยื่นคำ�ขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�
ประโยชน์  นำ�หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินนั้นมายื่นคำ�ขอเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�
ประโยชน์ต่อพนกั งานเจ้าหน้าที่ภายในสองปีนับแต่วนั ที่พระราชบัญญตั ินี้ใช้บังคบั
เมอ่ื ไดร้ บั ค�ำ ขอและหลกั ฐานการแจง้ การครอบครองทด่ี นิ ตามวรรคหนง่ึ แลว้   ใหพ้ นกั งานเจา้ หนา้ ทด่ี �ำ เนนิ การ
เพื่อออกโฉนดทีด่ ินหรือหนังสือรบั รองการทำ�ประโยชน์ตามประมวลกฎหมายทีด่ ินต่อไป
เมื่อพ้นกำ�หนดเวลาตามวรรคหนึ่ง  หากมีผู้นำ�หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดิน
หรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ให้ได้
ต่อเมื่อศาลยุติธรรมได้มีคำ�พิพากษาหรือคำ�ส่ังถึงที่สุดว่าผู้น้ันเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินโดย
ชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันทีป่ ระมวลกฎหมายทีด่ ินใช้บังคับ
ในการพิจารณาของศาลตามวรรคสาม ให้ศาลแจ้งให้กรมทีด่ ินทราบ และให้กรมทีด่ ินตรวจสอบกบั ระวาง
แผนทีร่ ปู ถ่ายทางอากาศหรือระวางรปู ถ่ายทางอากาศฉบบั ที่ทำ�ขึ้นก่อนสุดเท่าทีท่ างราชการมีอยู่ พร้อมทั้งท�ำ ความ
เห็นเสนอต่อศาลว่า ผู้นั้นได้ครอบครองหรือท�ำ ประโยชน์ในทีด่ ินน้ันโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันทีป่ ระมวลกฎหมาย
ทีด่ ินใช้บงั คับหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล ความเห็นดังกล่าวให้เสนอต่อศาลภายในหนึง่ ร้อยแปดสิบ
วันนับแต่วนั ได้รบั แจ้งจากศาล เว้นแต่ศาลจะขยายระยะเวลาเปน็ อย่างอื่น
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้  ผู้ครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและ
ท�ำ ประโยชน์ในที่ดินต่อเนือ่ งมาจากบคุ คลดังกล่าวด้วย

๓ ๒ ๑๑๔ ปี กรมท่ีดนิ

บทที่ ๒

การออกหนงั สือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายทีด่ ิน*

l  ความหมาย

ตามมาตรา  ๑  แห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้ให้คำ�นิยามที่สำ�คัญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
การออกหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ ิน ดงั นี้
“ที่ดิน” หมายความว่า พื้นทีด่ ินทั่วไป และให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง
บึง บาง ลำ�นํ้า ทะเลสาบ เกาะ และทีช่ ายทะเลด้วย
“สิทธิในทีด่ ิน” หมายความว่า กรรมสิทธิ์ และให้หมายความรวมถึงสิทธิครอบครองด้วย
“ใบจอง” หมายความว่า หนงั สือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชวั่ คราว
“หนังสือรับรองการท�ำ ประโยชน”์ หมายความว่า หนงั สือคำ�รับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ว่าได้ท�ำ ประโยชน์ในทีด่ ินแล้ว
“ใบไต่สวน”  หมายความว่า  หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน  และให้
หมายความรวมถึงใบน�ำ ด้วย
“โฉนดที่ดิน” หมายความว่า หนงั สือส�ำ คัญแสดงกรรมสิทธิ์ทีด่ ินและให้หมายความรวมถึง
โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่า “ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว”
“การรงั วัด” หมายความว่า การรังวดั ปักเขต และท�ำ เขตจด หรือคำ�นวณการรังวดั เพือ่ ให้
ทราบที่ต้ังแนวเขตที่ดิน หรือทราบที่ตั้งและเนื้อที่ของทีด่ ิน
จากคำ�นิยามดังกล่าวจึงสามารถแบ่งสิทธิในที่ดินและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวล
กฎหมายที่ดินได้ ๒ ประเภท ได้แก่
๑. ทีด่ ินซึง่ มีสิทธิครอบครองในทีด่ ิน ได้แก่ หนงั สือรับรองการทำ�ประโยชน์
๒. ทีด่ ินทีม่ ีกรรมสิทธิใ์ นที่ดิน ได้แก่ โฉนดทีด่ ิน ซึ่งรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และ
ตราจองที่ตราว่า “ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว
การได้กรรมสิทธิท์ ี่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ตามมาตรา ๓ แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน
บญั ญัติว่า
“บุคคลย่อมมีกรรมสิทธิ์ในทีด่ ิน ในกรณีต่อไปนี้
(๑) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิต์ ามบทกฎหมายก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคบั หรือได้มาซึ่ง
โฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้
(๒) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจดั ที่ดินเพือ่ การครองชีพหรือกฎหมายอื่น”
๑. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามบทกฎหมายก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ  ได้แก่
ผู้ได้รับโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่า “ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว” หรือได้มาซึง่ โฉนดทีด่ ินตาม
บทแห่งประมวลกฎหมายนี้ ได้แก่ การเดินสำ�รวจออกโฉนดที่ดินตามมาตรา ๕๘, ๕๘ ทวิ แห่งประมวล
กฎหมายที่ดิน และการออกโฉนดทีด่ ินเฉพาะรายตามมาตรา ๕๙, ๕๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
๒. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ  หมายถึง
พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ (เดิมใช้พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
พ.ศ. ๒๔๘๕ ตอ่ มาไดย้ กเลกิ และแกไ้ ขใหมโ่ ดยออกเปน็ พระราชบญั ญตั จิ ดั ทด่ี นิ เพอ่ื การครองชพี พ.ศ. ๒๕๑๑)
ซึง่ ตามพระราชบญั ญัติดงั กล่าวเปน็ อำ�นาจหน้าที่ของกรมประชาสงเคราะห์และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งเดิม
เรียกว่ากรมสหกรณ์ที่ดิน  (ปัจจุบันหมายถึงกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  และกรมส่งเสริมสหกรณ์)
*–– น–า––ย–ถ–ว–ัล–ย––์ ท––ิม–า–ส–า–ร–––––––––––––––––––
นายสมมานน สินธุระเวชญ์

๑๑๔ ปี กรมทด่ี นิ ๓๓

ดำ�เนินการจดั ทีด่ ินของรัฐให้กบั บคุ คลบางประเภทในรปู นิคมสร้างตนเอง โดยจดั สรรทีด่ ินให้แก่บคุ คลผู้เปน็
สมาชิก เมือ่ สมาชิกได้ท�ำ ประโยชน์ในที่ดินได้ครบตามหลกั เกณฑ์และเงือ่ นไขทีก่ ฎหมายกำ�หนดไว้ เจ้าหน้าที่
จะออกหนงั สือสำ�คัญให้เป็นหลกั ฐานเพื่อให้สมาชิกน�ำ ไปยืน่ ขอออกโฉนดทีด่ ินต่อไป และให้ถือว่ากรรมสิทธิ์
ดังกล่าวเป็นการได้มาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ  หรือการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตาม
กฎหมายอืน่ เช่น การออกพระราชบัญญตั ิโอนที่ดินอันเปน็ สาธารณสมบัติของแผ่นดินให้กับเอกชนในกรณี
มีการแลกเปลี่ยนทีด่ ิน การได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา ๑๓๘๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ กล่าวคือครอบครองทีด่ ินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิอ์ ยู่โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
ติดต่อกนั เปน็ เวลาสิบปีผู้ครอบครองกไ็ ด้กรรมสิทธิใ์ นทีด่ ินนั้น การได้กรรมสิทธิใ์ นทีง่ อกตามมาตรา ๑๓๐๘
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  กล่าวคือที่ดินที่งอกออกไปจากที่ดินที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว
ส่วนเป็นทีง่ อกนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทีด่ ินแปลงน้ัน การได้มาโดยทางมรดกตามมาตรา ๑๕๙๙
– ๑๖๐๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท้ังในฐานะทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินยั กรรม
การได้มาโดยทางนิติกรรมซื้อ ขาย แลกเปลีย่ น ที่ดิน การบังคับจำ�นองโดยวิธีเอาทรัพย์หลุดจำ�นอง เปน็ ต้น
ที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินหลายคร้ัง  และกำ�หนดหลักเกณฑ์ในการออก
หนงั สือแสดงสิทธิในที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ต่อมามีการแก้ไขเป็นกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๕ และกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ตามล�ำ ดับ การพิจารณาออกหนงั สือแสดงสิทธิใน
ทีด่ ินจึงต้องพิจารณากฎหมายและระเบียบปฏิบตั ิในขณะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเปน็ หลกั

l  แบบโฉนดทีด่ ิน

ตามมาตรา ๕๖ ซง่ึ แกไ้ ขเพม่ิ เตมิ โดย พ.ร.บ. แกไ้ ขเพม่ิ เตมิ ประมวลกฎหมายทด่ี นิ (ฉบบั ท่ี ๑๑)
พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญตั ิว่า
มาตรา ๕๖ “ภายใต้บังคับมาตรา ๕๖/๑ แบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการออกใบจอง หนงั สือ
รบั รองการทำ�ประโยชน์ ใบไต่สวนหรือโฉนดที่ดิน รวมท้ังใบแทนของหนงั สือดงั กล่าว ให้เป็นไปตามที่กำ�หนด
ในกฎกระทรวง”
การก�ำ หนดแบบและวิธีการออกโฉนดทีด่ ินถกู ก�ำ หนดไว้ตามกฎกระทรวงทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่
๑. กฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญตั ิให้ใช้ประมวล
กฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก�ำ หนดแบบของโฉนดทีด่ ิน รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการออกโฉนดทีด่ ิน โดย
ก�ำ หนดแบบของโฉนดทีด่ ินเปน็ ๓ แบบ คือ แบบ น.ส. ๔ ก., น.ส. ๔ ข. และ น.ส. ๔ ค.
๒. กฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๑๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก�ำ หนดแบบโฉนดทีด่ ินแบบใหม่ตามแบบ น.ส.๔ เพือ่ ป้องกันการทุจริตเกี่ยวกบั
การปลอมแปลงโฉนดที่ดิน
๓. กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ออกตามความในพระราชบญั ญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ กำ�หนดแบบโฉนดทีด่ ินขึ้นอีกแบบหนึง่ ตามแบบ น.ส. ๔ ง. เปน็ แบบโฉนดทีด่ ิน
แผ่นเดียว มีรปู แผนที่อยู่ด้านหน้า และรายการแก้ทะเบียนอยู่ด้านหลงั เพื่อให้สามารถจ�ำ ลองถ่ายรปู ด้วย
เครื่องถ่ายเอกสาร
๔. กฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๓๔ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ออกตามความในพระราชบัญญตั ิให้ใช้ประมวล
กฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก�ำ หนดแบบโฉนดที่ดินขึ้นใหม่ ตามแบบ น.ส. ๔ จ. เพือ่ ให้เปน็ ไปตามมาตรา
๕๗ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึง่ แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบญั ญัติแก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายทีด่ ิน
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘

๓ ๔ ๑๑๔ ปี กรมท่ีดิน

๕. กฎกระทรวงฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบญั ญตั ิให้ใช้ประมวล
กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก�ำ หนดให้แบบโฉนดทีด่ ินให้ใช้แบบ น.ส. ๔ จ. และในกรณีโฉนดทีด่ ินที่ออกเป็น
โฉนดตราจองหรือตราจองทีต่ ราว่า “ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว” ให้มีคำ�ว่า “โฉนดตราจอง” หรือ “ตราจองที่ตรา
ว่า “ได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว”” แล้วแต่กรณีไว้ใต้ตราครฑุ และก�ำ หนดหลกั เกณฑ์และวิธีการออกโฉนดที่ดิน
ดังนั้น แบบของโฉนดที่ดินซึ่งออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงมีอยู่ด้วยกนั ๖ แบบ คือ
น.ส. ๔ ก., น.ส. ๔ ข., น.ส. ๔ ค ., น.ส. ๔ ., น.ส. ๔ ง. และ น.ส. ๔ จ ปัจจบุ นั การพิจารณาออกโฉนดทีด่ ิน
จะใช้แบบ น.ส.๔ จ. และหลกั เกณฑ์และวิธีการออกตามกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตาม
ความในพระราชบญั ญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ เปน็ หลัก

l  แบบหนังสือรับรองการท�ำ ประโยชน์

การกำ�หนดแบบและวิธีการออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ถูกกำ�หนดไว้ตาม
กฎกระทรวงทีเ่ กี่ยวข้อง ได้แก่
๑. กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบญั ญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ กำ�หนดแบบหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ตามแบบ  น.ส. ๓ และตามแบบ
หมายเลข ๓ ท้ายกฎกระทรวงเกษตราธิการ ออกตามความในพระราชบัญญตั ิออกโฉนดที่ดิน (ฉบบั ที่ ๖)
พ.ศ. ๒๔๗๙
๒. กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก�ำ หนดแบบ น.ส. ๓ ก. ซึง่ ใช้ระวางรูปถ่ายทางอากาศเพิ่มเติม
๓. กฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบญั ญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ กำ�หนดให้ใช้แบบ น.ส. ๓ ก. เมื่อมีการออกหนังสือรบั รองการทำ�ประโยชน์โดย
วิธีกำ�หนดต�ำ แหน่งทีด่ ินในระวางรปู ถ่ายทางอากาศ
๔. กฎกระทรวงฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘
(พ.ศ. ๒๕๑๕) และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๑๕) โดยกำ�หนดแบบหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์
ตามแบบ น.ส. ๓ แบบ น.ส. ๓ ก. และแบบ น.ส. ๓ ข. โดย
(๑) การออก น.ส. ๓ ก. ให้ออกในท้องที่ที่มีระวางรปู ถ่ายทางอากาศ การจดทะเบียนสิทธิ
และนิติกรรมไม่ต้องประกาศ
(๒) การออก  น.ส. ๓  ข.  ให้ออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ  ซึ่งรัฐมนตรี
ได้ประกาศยกเลิกอำ�นาจหน้าที่นายอำ�เภอหรือปลัดอำ�เภอหรือหัวหน้ากิ่งประจำ�อำ�เภอ  ตามประมวล
กฎหมายทีด่ ิน การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต้องประกาศมีกำ�หนด ๓๐ วนั
(๓) การออก น.ส. ๓ ให้ออกในท้องทีอ่ ืน่ ทีไ่ ม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ซึง่ รัฐมนตรียังไม่มี
ประกาศยกเลิกอำ�นาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดินของหัวหน้าเขต  นายอำ�เภอหรือ
ปลดั อำ�เภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ�กิ่งอ�ำ เภอ
ดังน้ัน  แบบของหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ซึ่งออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน  จึงมีอยู่
ด้วยกัน ๔ แบบ คือ แบบหมายเลข ๓ (ออกภายหลงั ประมวลกฎหมายทีด่ ินหรือมีการแจ้งการครอบครอง
ทีด่ ิน), น.ส.๓, น.ส.๓ ก. และ น.ส.๓ ข. ปัจจบุ นั การพิจารณาออกหนังสือรับรองการท�ำ ประโยชน์จะใช้แบบ
น.ส.๓ ก. เฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มีการสร้างระวางแผนที่ ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ
ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ขอ้ ๔ ก�ำ หนดวา่ “การออกโฉนดทด่ี นิ ใหก้ ระท�ำ ไดใ้ นบรเิ วณทด่ี นิ ทไ่ี ดส้ รา้ งระวางแผนท่ี
เพื่อการออกโฉนดที่ดินไว้แล้ว  ในบริเวณที่ดินนอกจากนี้ให้ออกเป็นหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์เว้นแต่

๑๑๔ ปี กรมทด่ี นิ ๓๕

อธิบดีกรมที่ดินจะเห็นเป็นการสมควรให้ออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ในที่ดินที่ได้สร้างระวางแผนที่
ไว้แล้วไปพลางก่อนได้” และหลักเกณฑ์และวิธีการออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออก
ตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นหลัก
ปัจจุบันแบบของโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ถูกกำ�หนดโดยกฎกระทรวง
ฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบญั ญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗
ดังนั้น  การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ในปัจจุบันจึงต้องถือปฏิบัติตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบญั ญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗

ตัวอยา่ งโฉนดที่ดิน น.ส. ๔ จ

๓ ๖ ๑๑๔ ปี กรมทดี่ ิน

ตัวอยา่ ง แบบหมายเลข ๓

๑๑๔ ปี กรมท่ีดนิ ๓๗

ตวั อย่าง น.ส. ๓

๓ ๘ ๑๑๔ ปี กรมท่ีดนิ

ตัวอยา่ ง น.ส. ๓ ก.

๑๑๔ ปี กรมท่ดี นิ ๓๙

ตวั อยา่ ง น.ส. ๓ ข.

๔ ๐ ๑๑๔ ปี กรมท่ดี นิ

l  ความเหมือนกันของโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์
๑. เปน็ เอกสารสิทธิในทีด่ ินทีอ่ อกให้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
๒. การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน  ซึ่งโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการ
ทำ�ประโยชน์ต้องทำ�เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัยมาตรา  ๔  ทวิ  แห่งประมวล
กฎหมายที่ดิน
l  ความแตกต่างกันของโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการท�ำ ประโยชน์
๑. โฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน  ส่วนหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์เป็น
หนงั สือแสดงสิทธิครอบครองทีด่ ิน
๒. ทีด่ ินที่มีโฉนดที่ดินแล้ว หากถกู แย่งการครอบครองต้องเข้าแย่งการครอบครองด้วยความ
สงบโดยเปิดเผยและโดยเจตนาเป็นเจ้าของที่ดินติดต่อกันเเปน็ เวลา ๑๐ ปี จึงจะได้กรรมสิทธิใ์ นที่ดินน้ัน
แต่ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์จะมีเพียงสิทธิครอบครอง  หากถูกแย่งการครอบครองเจ้าของ
จะต้องฟ้องเรียกคืนภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง  หากมิได้ฟ้องเรียกคืนภายในกำ�หนด
เวลาดังกล่าวย่อมหมดสิทธิฟ้องเรียกคืน
๓. การจดทะเบยี นสทิ ธแิ ละนติ กิ รรม ส�ำ หรบั ทด่ี นิ ทม่ี หี ลกั ฐานหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์
(ยกเว้นหลักฐานที่เปน็ น.ส.๓ ก.) ต้องประกาศการขอจดทะเบียนมีกำ�หนด ๓๐ วนั แต่โฉนดที่ดินไม่ต้อง
ประกาศ (เว้นแต่กฎหมายบงั คบั ให้ประกาศ เช่น การประกาศก่อนการจดทะเบียนโอนมรดก)
l  สาระสำ�คัญของหนังสือแสดงสิทธิในทีด่ ิน
ตามมาตรา  ๕๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายทีด่ ิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘ และแก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบญั ญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบบั ที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๐ บญั ญตั ิว่า
มาตรา ๕๗ “โฉนดทีด่ ินและหนังสือรบั รองการทำ�ประโยชน์ ให้มีข้อความสำ�คัญดังต่อไปนี้
ชือ่ ตวั ชือ่ สกลุ ทีอ่ ยู่ของผู้มีสิทธิในทีด่ ิน ตำ�แหน่งที่ดิน จ�ำ นวนเนื้อที่ รปู แผนทีข่ องทีด่ ินแปลงน้ันซึ่งแสดงเขต
ข้างเคียงทั้งสี่ทิศ ให้เจ้าพนกั งานทีด่ ินจงั หวัด เจ้าพนักงานที่ดินจงั หวัดสาขา หรือเจ้าพนักงานที่ดินซึง่ อธิบดี
มอบหมาย  เป็นผู้ลงลายมือชื่อ  และประทับตราประจำ�ตำ�แหน่งของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นสำ�คัญ  กับให้มี
สารบญั ส�ำ หรับจดทะเบียนไว้ด้วย
โฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ให้ทำ�เป็นคู่ฉบับรวมสองฉบับมอบให้ผู้มีสิทธิ
ในที่ดินฉบบั หนึง่ อีกฉบบั หนึ่งเก็บไว้ ณ ส�ำ นกั งานที่ดิน ส�ำ หรบั ฉบบั ทีเ่ ก็บไว้ ณ สำ�นกั งานที่ดินนั้น จะจ�ำ ลอง
เป็นรปู ถ่ายหรือจัดเกบ็ โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือเสมือนเปน็ ต้น
ฉบับ”
ดงั นั้น ในโฉนดทีด่ ินและหนงั สือรับรองการทำ�ประโยชน์ต้องมีสาระสำ�คัญ ดังต่อไปนี้
๑. ชื่อตวั ชื่อสกลุ
๒. ที่อยู่ของผู้มีสิทธิในที่ดิน
๓. ตำ�แหน่งทีด่ ิน
๔. จำ�นวนเนื้อที่
๕. รปู แผนที่ของที่ดินแปลงนั้นซึง่ แสดงเขตข้างเคียงท้ังสีท่ ิศ
๖. ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด  เจ้าพนักงานที่ดิน  จังหวัดสาขา  หรือเจ้าพนักงานที่ดินซึ่ง
อธิบดีมอบหมาย นายอ�ำ เภอ เปน็ ผู้ลงลายมือชื่อ และประทับตราประจำ�ตำ�แหน่งของเจ้าพนักงานทีด่ ิน

๑๑๔ ปี กรมที่ดิน ๔๑

๗. ให้มีสารบัญสำ�หรบั จดทะเบียน
๘. ให้ทำ�เป็นคู่ฉบับรวมสองฉบับมอบให้ผู้มีสิทธิในที่ดินฉบับหนึ่ง  อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้  ณ
ส�ำ นักงานที่ดิน ส�ำ หรับฉบบั ทีเ่ กบ็ ไว้ ณ ส�ำ นกั งานทีด่ ิน ให้ถือเสมือนเป็นต้นฉบบั
๙. ส�ำ หรบั ฉบบั ทีเ่ กบ็ ไว้ ณ ส�ำ นักงานทีด่ ินน้ัน จะจำ�ลองเปน็ รูปถ่ายหรือจัดเก็บโดยระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารกไ็ ด้ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือเสมือนเปน็ ต้นฉบับ (ปัจจบุ ันยังไม่มีการด�ำ เนิน
การในส่วนนี้)
l  การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
ตามประมวลกฎหมายทีด่ ินกำ�หนดวิธีการออกหนังสือแสดงสิทธิในทีด่ ินได้ ๓ ประเภท ได้แก่
๑. การเดินส�ำ รวจออกโฉนดที่ดินหรือหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ ตามมาตรา ๕๘
และ ๕๘ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน แยกเป็น
(๑) การเดินสำ�รวจออกโฉนดทีด่ ินภาคพืน้ ดิน ด�ำ เนินการในพื้นทีห่ มู่บ้าน หรือพื้นที่ที่มีสิ่ง
ปกคลุมไม่เห็นรายละเอียดในระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ  หรือในพื้นที่ที่ไม่สามารถสร้างระวางรูปถ่าย
ทางอากาศได้
(๒) การเดินสำ�รวจออกโฉนดที่ดินโดยใชร้ ะวางแผนที่รปู ถา่ ยทางอากาศ ด�ำ เนินการใน
พื้นที่โล่ง สามารถเห็นลวดลายในระวางแผนที่รปู ถ่ายทางอากาศ ซึ่งเปน็ ลกั ษณะงานเกบ็ ตก เสริมหรือเพิม่
เติมในพื้นทีร่ ะวางแผนที่เดียวกับการเปลี่ยน น.ส. ๓ ก. เปน็ โฉนดทีด่ ินในกรณีที่ดินไม่มี น.ส. ๓ ก. หรือมีแต่
ไม่สามารถย้ายรปู แปลงที่ดินในระวางแผนที่รปู ถ่ายทางอากาศเพือ่ เปลี่ยนเปน็ โฉนดทีด่ ินได้
๒. การออกโฉนดที่ดินโดยวิธีการเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  (น.ส. ๓ ก.)
เปน็ โฉนดทีด่ ิน ตามมาตรา ๕๘ ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
๓. การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์เป็นการเฉพาะราย  ตาม
มาตรา ๕๙ และ ๕๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึง่ รวมการออกโฉนดทีด่ ินตามโครงการต่างๆ ดงั ต่อไป
นี้ด้วย คือ
(๑) การออกโฉนดที่ดินแบบท้องถิน่
(๒) การออกโฉนดทีด่ ินตามโครงการจดั รูปที่ดิน
(๓) การออกโฉนดที่ดินตามโครงการปฏิรูปที่ดิน
l  หลักเกณฑใ์ นการพิจารณาออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
๑. มีการครอบครองและทำ�ประโยชนใ์ นที่ดิน
รวมถึงการครอบครองที่ดินต่อเนื่องมาจากเจ้าของที่ดินเดิม  การที่จะครอบครองและทำ�
ประโยชน์ในที่ดินได้ต้องมีสภาพเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และการครอบครองและ
ทำ�ประโยชน์ในที่ดินต้องเป็นไปตามสมควรแก่สภาพที่ดินในท้องถิ่น  ตลอดจนสภาพของกิจการที่ได้ทำ�
ประโยชน์ กล่าวคือ จะเป็นบคุ คลธรรมดาหรือนิติบคุ คลกไ็ ด้ หากพิจารณาจากกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๓
(พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ แล้ว บุคคลที่มี
สิทธิจะได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในลักษณะ  “เป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน”  ซึ่ง
บคุ คลผู้มีสิทธิในที่ดินจะต้องอยู่ในฐานะเจ้าของทีด่ ิน มิใช่อยู่ในฐานะผู้เช่าหรือผู้ทรงสิทธิเกบ็ กิน ทั้งนี้ตาม
กฎกระทรวงฉบับที่  ๔๓  (พ.ศ. ๒๕๓๗)  ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ แม้ว่าการขอออกโฉนดทีด่ ินไม่เป็นนิติกรรมก็ตาม แต่ยงั ต้องพิจารณาถึงสิทธิของ
บคุ คล และความสามารถของบุคคลทีจ่ ะขอออกโฉนดทีด่ ินด้วย ซึง่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๕ บญั ญตั ิว่า

๔๒ ๑๑๔ ปี กรมทดี่ ิน

“มาตรา ๑๕ สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสดุ ลงเมื่อตาย 
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลงั คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก”
ดังนั้นผู้ที่จะทำ�การขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้น้ัน  พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำ�
การสอบสวนสิทธิต้องพิจารณาถึงการเป็นบุคคล  ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย  คือต้องมีสภาพ
บุคคล  แล้วในขณะที่ยื่นคำ�ขอออกโฉนดที่ดิน  หากเป็นบุคคลธรรมดาต้องพิจารณาถึงความสามารถของ
บคุ คลบางประเภทตามที่กฎหมายได้จำ�กัดความสามารถไว้ เช่น ผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ เปน็ ต้น รวมถึงประเด็นการพิจารณา ในการเป็นนิติบุคคลด้วย
ดงั นั้น บุคคลทีจ่ ะขอออกหนังสือแสดงสิทธิในทีด่ ิน จึงหมายถึง
๑. เจา้ ของทด่ี นิ , ผคู้ รอบครองและท�ำ ประโยชนใ์ นทด่ี นิ นน้ั ซง่ึ รวมทง้ั ผคู้ รอบครองตอ่ เนอ่ื งดว้ ย
๒. ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อุปการะผู้เยาว์ ซึง่ จะต้องพิจารณาปฏิบัติดังนี้
๒.๑ ถ้าผู้เยาว์มีอายตุ าํ่ กว่า ๗ ปี ถือว่าเปน็ ผู้ไร้เดียงสาต้องให้ผู้อปุ การะ(ผู้แทนโดยชอบ
ธรรมหรือผู้ใช้อำ�นาจปกครองหรือผู้ปกครองตามแต่กรณี) ของผู้เยาว์ท�ำ การแทน
๒.๒ ถ้าผู้เยาว์มีอายเุ กิน ๗ ปี จะต้องพิจารณาว่า ผู้เยาว์สามารถทีจ่ ะให้ถ้อยคำ�สอบสวน
ลงชือ่ ระวังชี้และรบั รองแนวเขตได้หรือไม่ ถ้าสามารถด�ำ เนินการได้ก็ให้น�ำ การรังวัดโดยไม่ต้องให้ผู้อุปการะ
(ผแู้ ทนโดยชอบธรรมหรือผ้ใู ช้อ�ำ นาจปกครองหรือผ้ปู กครอง) ของผเู้ ยาวท์ �ำ การแทน แตถ่ า้ ผ้เู ยาวไ์ ม่สามารถ
ให้ถ้อยค�ำ สอบสวน ลงชื่อระวังชี้ และรับรองแนวเขตได้ กต็ ้องด�ำ เนินการตาม ๒.๑ ตาม มาตรา ๑๕๖๖
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญตั ิให้บตุ รซึง่ ยงั ไม่บรรลุนิติภาวะอยู่ในอ�ำ นาจปกครองของบิดา
มารดา  ฉะนั้น  การขอแสดงตัวเป็นผู้ใช้อำ�นาจปกครองแทนผู้เยาว์  จึงต้องให้ทั้งบิดาและมารดายื่นคำ�ขอ
รวมกัน  เว้นแต่จะอยู่ในเงื่อนไขซึ่งกฎหมายกำ�หนดให้อำ�นาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาฝ่ายเดียวตาม
หนงั สือกรมที่ดินที่ มท ๐๖๐๖/ว.๘๗๑๒ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๑๗ เรื่อง ผู้เยาว์นำ�ทำ�การเดินสำ�รวจ
ออกโฉนดทีด่ ิน
๓. ผู้อนบุ าล ต้องแสดงค�ำ สงั่ ของศาลทีต่ ้ังให้เป็นผู้อนุบาล และต้องให้ทำ�การแทนคนไร้ความ
สามารถน้ันด้วย
๔. ผู้จัดการมรดก  กล่าวคือ  เจ้าของที่ดิน,  ผู้ครอบครองที่ดินนั้นเสียชีวิต  มีการแต่งต้ัง
ผู้จัดการมรดกเพื่อจัดการทรัพย์สินของเจ้ามรดก  ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือตามคำ�ส่ัง
ศาลโดยทายาทร่วมกันร้องขอต่อศาลกต็ ามจะต้องมีหลกั ฐานการเปน็ ผู้จัดการมรดกหรือค�ำ ส่ังศาลมาแสดง
๕. นิติบุคคลต่างๆ ต้องมีหลกั ฐานการก่อตั้งนิติบคุ คลเปน็ ต้นว่า หนังสือบริคณห์สนธิ หนงั สือ
รบั รองของเจ้าพนักงานจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจ�ำ กดั ข้อบงั คับ หรือ ตราสารจัดตั้ง แล้วแต่กรณี
มาแสดง และต้องพิจารณาด้วยว่า ผู้ใดบ้างมีอำ�นาจลงชือ่ แทนนิติบคุ คลน้ันๆ รวมท้ังเอกสารประกอบมติ
ทีป่ ระชุม หรือรายงานการประชมุ การมอบอำ�นาจด้วย
๖. ตัวแทน คือ ผู้มาน�ำ ทำ�การรังวดั แทนเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินน้ัน และต้องมีหนงั สือ
มอบให้นำ�ทำ�การน�ำ รงั วัดแทนมาแสดงด้วย
๗. เจ้าหน้าที่ซึง่ มีหน้าทีด่ แู ลรกั ษาทีด่ ินต่างๆ ตามกฎหมายเช่น กรมธนารกั ษ์หรือที่ดินของ
ทางราชการซึง่ ตาม พระราชบญั ญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ ไม่ถือว่าเปน็ ทีร่ าชพัสดุ เช่นที่ดินของรัฐวิสาหกิจ
ทีเ่ ปน็ นิติบุคคล เทศบาล หรือ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งต้องมีหลกั ฐานการมอบอ�ำ นาจให้ท�ำ การแทน
รัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบคุ คล หรือ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นน้ันๆ
การครอบครองและท�ำ ประโยชน์แล้วน้ัน ต้องเปน็ การเข้าครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดิน
นั้นจริงๆ เช่น ทำ�เป็นที่ไร่ นา เรือกสวน ที่บ้านอยู่อาศัยโดยการทำ�ประโยชน์จะต้องให้เห็นถึงกิจการที่
ทำ�ประโยชน์ด้วย

๑๑๔ ปี กรมทีด่ นิ ๔๓

“ครอบครอง”  การพิจารณาเรื่องการครอบครองน้ัน  ต้องเป็นการครอบครองโดยเจตนา
ยึดถือเพื่อตน ในฐานะเจ้าของทีด่ ิน เป็นการครอบครองเพือ่ ตนเอง เท่าน้ัน การเข้าไปปกั ป้ายชือ่ ว่าเป็นที่ดิน
ของตน  แต่ไม่ได้ครอบครองหรือทำ�ประโยชน์ในที่ดินน้ันไม่ถือว่าเป็นการครอบครอง  แต่การครอบครอง
อาจจะไม่ต้องครอบครองด้วยตนเองเสมอไป จะมีผู้ครอบครองแทนก็ได้ ในฐานะที่เป็นตวั แทน หรือเป็นผู้ใช้
ประโยชน์ในทีด่ ินนั้นแทนตน เช่นในฐานะ ผู้เช่า ลูกจ้าง บริวาร ผู้อยู่อาศัย แทนเจ้าของที่ดินกไ็ ด้
“ทำ�ประโยชน์”  การพิจารณาเรื่องการทำ�ประโยชน์น้ัน  ในการออกโฉนดที่ดินแม้มิได้มี
กฎหมายกำ�หนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาไว้โดยตรง  แต่หลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่จะใช้เป็นแนวทาง
ปฏิบัติ ในการใช้ดุลยพินิจพิจารณาในเรื่องการทำ�ประโยชน์ได้บัญญัติไว้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๓
(พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๐ ในเรือ่ ง
การออกหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ เปน็ การเฉพาะราย ว่า
“ข้อ ๑๐.   เมื่อได้พิสูจน์สอบสวนการทำ�ประโยชน์แล้วปรากฏว่าได้มีการครอบครองและ
ทำ�ประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพทีด่ ินในท้องถิน่ ตลอดจนสภาพของกิจการทีไ่ ด้ทำ�ประโยชน์ ให้พนกั งาน
เจ้าหน้าที่ด�ำ เนินการดังนี้ ฯลฯ ”
การพิจารณา คำ�ว่า “ ตามสมควรแก่สภาพที่ดินในท้องถิน่ ” แล้ว ต้องพิจารณาถึงสภาพใน
แต่ละท้องถิน่ นั้นๆ ด้วย เช่น
ภาคเหนือ ในบางจังหวัด เช่น จงั หวัดเชียงใหม่ ที่ดินในบางท้องที่อาจจะดปู ล่อยให้รกร้างไม่มี
การทำ�ประโยชน์อะไร เหมือนเปน็ ป่ารก มีต้นไม้ทึบ แต่หากได้ศึกษาสภาพท้องถิ่นและการประกอบอาชีพใน
ท้องถิ่นน้ันและการสอบสวนแล้ว  จะพบว่าที่ดินแปลงนั้นมีการทำ�ประโยชน์แล้วโดยการเลี้ยงคร่ังที่ต้นไม้
เจ้าของที่ดินแปลงนั้น มีอาชีพเลี้ยงครง่ั ขาย ที่ดินแปลงนั้นจึงเปน็ ทีด่ ินทีม่ ีการท�ำ ประโยชน์แล้ว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พื้นที่แห้งแล้งอาจทำ�ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่  บางส่วนจะปล่อยไว้
เป็นต้นไม้ธรรมชาติ  การพิจารณาก็ต้องถือว่าเจ้าของครอบครองทำ�ประโยชน์ท้ังหมดรวมทั้งที่เป็นต้นไม้
นั้นๆ ด้วย เพราะโดยสภาพต้องมีบางส่วนทิ้งไว้บ้าง ส�ำ หรบั ใช้ไม้ทำ�ฟืน
ภาคตะวนั ออก ในบางจังหวัดเช่นในจังหวัดชลบุรี สภาพในพื้นที่อาจจะเหน็ ว่า มีสภาพเป็น
ที่ชายเลนหรือมีนํ้าทะเลขงั อยู่ไม่ได้เปน็ พื้นดินแห้งให้เห็น และมีต้นโกงกาง แสม ตะบูน ขึ้นอยู่เต็มท้ังแปลง
ก็ต้องเข้าใจสภาพการทำ�ประโยชน์ว่าในพื้นที่ดงั กล่าว ว่า ชาวบ้านเขาปลกู หรือดแู ลต้นนี้ไว้ เพือ่ ตดั ไม้
ท�ำ เปน็ ถ่านไม้โกงกาง หรือตดั เป็นฟืนขาย หรือบางท้องที่ในหลายจงั หวัดเช่นจังหวดั ชลบรุ ี สมทุ รสงคราม
ต้องมีการปล่อยให้ที่ดินให้มีนํ้าทะเลเข้าถึงเพื่อการทำ�นาเกลือ ก็เป็นการทำ�ประโยชน์ตามสภาพพื้นที่
ภาคใต้ พื้นที่บางส่วนเปน็ เนินเขา ปลกู ยางพารา บางส่วนชาวบ้านกท็ ิ้งไว้ เพื่อรักษาต้นไม้ให้
คงอยู่และใช้ประโยชน์ โดยการ เกบ็ ฟืนหรือ พืชสมนุ ไพรเป็นอาหารประจ�ำ วนั แต่เจ้าของยงั ครอบครองอยู่ก็
ต้องถือว่าเขาทำ�ประโยชน์ แล้ว หรือในพื้นทีต่ ำ�บลบางใบไม้ อ�ำ เภอเมือง จงั หวัดสรุ าษฎร์ธานี มีสภาพเปน็
ที่น้ํากร่อย ที่มีลักษณะน้ําขึ้นน้ําลงเปน็ เวลาปกติทกุ วนั หากดสู ภาพ จะเหน็ ว่าเปน็ ที่นํ้าท่วมถึง แต่ตามสภาพ
ท้องถิ่นแล้วเป็นที่ดินที่ชาวบ้านปลูกต้นจาก  ซึ่งจำ�เป็นต้องมีนํ้าท่วมถึง  จึงเป็นการทำ�ประโยชน์ตามสภาพ
ท้องทีแ่ ล้ว
ข้อพิจารณาในเรื่องการทำ�ประโยชน์ตามสภาพท้องถิ่นในอีกประเด็นหนึ่ง  คือจำ�เป็นต้องทำ�
ประโยชน์ตลอดเวลา หรือตลอดทั้งปีหรือไม่ ซึง่ ต้องพิจารณาตามสภาพท้องถิน่ น้ัน เช่น ภาคตะวนั ออกเฉียง
เหนืออาจทำ�นาได้ปีละคร้ังในเวลาที่ไม่ได้ทำ�นาก็ยังคงถือว่าเจ้าของที่ดินได้ทำ�ประโยชน์เป็นที่นาอยู่  เพียง
แต่ไม่ใช้ระยะเวลาทีท่ ำ�นาปลูกข้าวได้เท่านั้น หรือ ในบางปีไม่มีนํ้าไม่สามารถทำ�นาได้ หรือเจ้าของขดั สนใน
การลงทนุ แต่เจ้าของกไ็ ม่ได้เจตนาสละการครอบครองหรือทิ้งร้าง เพียงแต่ท�ำ นาไม่ได้ในปีน้ัน ก็ยังคงถือว่า
เจ้าของได้ครอบครองท�ำ ประโยชน์เป็นทีน่ าอยู่

๔ ๔ ๑๑๔ ปี กรมทด่ี ิน

ส่วนการพิจารณา คำ�ว่า “ตามสภาพของกิจการที่ไดท้ �ำ ประโยชน”์ นั้น การพิจารณา ต้อง
ศึกษาว่าสภาพกิจการที่ทำ�ประโยชน์น้ัน เปน็ อย่างไร เช่น หากใช้เปน็ ที่เลี้ยงสตั ว์ สภาพการท�ำ ประโยชน์ มิใช่
เป็นเพียงคอกสัตว์  หรือที่ดูแลสัตว์เท่านั้นต้องกันพื้นที่เป็นจำ�นวนมากเพื่อการปลูกหญ้าหรือขุดบ่อเก็บนํ้า
หรือที่ดอนทีด่ ูเหมือนไม่ได้ท�ำ ประโยชน์อะไร แต่ทีจ่ ริงแล้ว เปน็ ที่ เพื่อให้สัตว์อยู่ในฤดนู ้ําหลาก หรือ ที่บ้าน
ในพื้นทีภ่ าคใต้ ที่มีวิถีชีวิตส่วนใหญ่ในการอนุรกั ษ์ธรรมชาติ ความเปน็ อยู่จะใช้พืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติเปน็
อาหารหลกั ประจ�ำ วัน ดงั น้ัน ที่บ้านส่วนหนึง่ จึงมิใช่เฉพาะส่วนทีเ่ ปน็ ที่ปลูกบ้านเท่าน้ัน แต่จะหมายรวมถึง
ต้นไม้ทีด่ ูรกเปน็ ป่าที่เจ้าของใช้ประโยชน์ที่อยู่รอบๆ บ้านน้ันด้วย
การพิจารณาในการสอบสวนการทำ�ประโยชน์น้ัน  พนักงานเจ้าหน้าที่ดำ�เนินการสอบสวน
เมื่อใด กระบวนการดังกล่าวได้กำ�หนดไว้ใน ข้อ ๙ ข้อ ๑๕ (๒) และ ข้อ ๑๐ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓
(พ.ศ. ๒๕๓๗) (ประกอบกับ ข้อ ๑๖ ซึง่ ให้นำ� ข้อ ๑๕ มาใช้โดยอนุโลมในการออกโฉนดที่ดินตามมาตรา ๕๙
และมาตรา ๕๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน) ซึ่ง ข้อ ๙ กำ�หนดว่า ในการน�ำ พนกั งานเจ้าหน้าทีพ่ ิสจู น์
สอบสวนการทำ�ประโยชน์ให้ผู้มีสิทธิในที่ดินหรือตัวแทนปักหลักตามมุมเขตที่ดินของตนและให้ถ้อยคำ�ต่อ
พนกั งานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึง่ พนกั งานเจ้าหน้าทีม่ อบหมายตามแบบ น.ส. ๑ ค. ท้ายกฎกระทรวงนี้ (และตาม
แบบ น.ส. ๕ กรณีโฉนดทีด่ ินตาม ข้อ ๑๕ (๒)) จึงเห็นได้ว่ากระบวนการพิสูจน์สอบสวนการทำ�ประโยชน์
เกิดขึ้นขณะวันที่ทำ�การรังวัดในที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์โดยมีเจ้าของ
ที่ดินหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้นำ�ชี้เขตที่ดินรอบแปลง  (ปักหลักตามมุมเขตที่ดิน)  และให้ถ้อยคำ�ต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ท�ำ การรังวดั และสอบสวนการทำ�ประโยชน์ ซึง่ พนักงานเจ้าหน้าทีจ่ ะต้องบนั ทึกถ้อยคำ�
น้ันลงในแบบ น.ส. ๕ และข้อ ๑๐ ก�ำ หนดต่อมาว่า เมื่อได้พิสจู น์สอบสวนการท�ำ ประโยชน์แล้วปรากฏว่า
ได้มีการครอบครองและทำ�ประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพที่ดินในท้องถิ่น  ตลอดจนสภาพของกิจการที่ได้
ท�ำ ประโยชน์ ให้พนักงานเจ้าหน้าทีด่ �ำ เนินการตาม (๑) (๒) และ (๓) ท้ังนี้ ข้อ ๑๐ (๒) ได้วางหลกั เกณฑ์ไว้ ว่า
เมื่อทีด่ ินน้ันไม่เป็นทีด่ ิน ซึ่งต้องห้ามมิให้ออกหนงั สือรบั รองการทำ�ประโยชน์และไม่มีผู้คัดค้าน กใ็ ห้พนักงาน
เจ้าหน้าทีอ่ อกหนงั สือรับรองการทำ�ประโยชน์ให้ได้
๒. ไม่เป็นที่ดินตอ้ งห้ามมิใหอ้ อกหนังสือแสดงสิทธิในทีด่ ิน
กฎกระทรวง  ฉบับที่  ๒  (พ.ศ. ๒๔๙๗)  ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๓ กำ�หนดว่า การออกหนงั สือรับรองว่า “ได้ท�ำ ประโยชน์แล้ว” ให้กระท�ำ
สำ�หรับที่ดินที่พึงจะออกโฉนดทีด่ ินได้ตามกฎหมาย”
กฎกระทรวง  ฉบับที่  ๕  (พ.ศ. ๒๔๙๗)  ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๘ กำ�หนดห้ามมิให้ออกโฉนดทีด่ ินสำ�หรบั ที่ดิน ดังต่อไปนี้
(๑) ที่ดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทางนํ้า ทางหลวง ทะเลสาบ ทีช่ ายตลิง่
(๒) ที่เขา  ที่ภูเขาหรือที่สงวนหวงห้าม  หรือที่ดินซึ่งทางราชการเห็นว่าควรสงวนไว้เพื่อ
ทรพั ยากรธรรมชาติ
กฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ กำ�หนดห้ามมิให้อออกโฉนดทีด่ ินส�ำ หรับทีด่ ิน ๕ ประเภท ดงั ต่อไปนี้
(๑) ที่ดินทีร่ าษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกนั เช่น ทางนํ้า ทางหลวง ทะเลสาบ ที่ชายตลิ่ง
(๒) ที่เขา ทีภ่ ูเขา และพื้นทีท่ ีร่ ัฐมนตรีประกาศหวงห้ามตามมาตรา ๙ (๒) แห่งประมวล
กฎหมายที่ดิน  แต่ไม่รวมถึงที่ดินซึ่งผู้ครอบครองมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวล
กฎหมายทีด่ ิน

๑๑๔ ปี กรมทีด่ นิ ๔๕

(๓) ที่เกาะ  แต่ไม่รวมถึงที่ดินของผู้ซึ่งมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน  มีใบจอง
ใบเหยียบย่ํา หนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ โฉนดตราจอง ตราจองทีต่ ราว่า “ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว” หรือ
เป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ
ได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน  หรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์  ตามมาตรา  ๑๐  และมาตรา  ๑๑
แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน โดยคณะกรรมการจดั ทีด่ ินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว
(๔) ที่สงวนหวงห้ามตามมาตรา  ๑๐  แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๒๐ (๓) และ (๔) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายทีด่ ิน (ฉบบั ที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๖ หรือกฎหมายอืน่
(๕) ที่ดินที่คณะรัฐมนตรีสงวนไว้เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
อย่างอืน่
ดังน้ัน ก่อนกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญตั ิให้ใช้
ประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ การออกหนังสือรับรองการท�ำ ประโยชน์อาศยั กฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๒
(พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๓ ประกอบ
กับกฎกระทรวง ฉบบั ที่  ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบญั ญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายทีด่ ิน
พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๘ ส่วนการออกโฉนดทีด่ ินอาศัยกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความใน
พระราชบัญญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๘
แต่ปจั จุบนั ได้มีการยกเลิกกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราช
บัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความ
ในพระราชบญั ญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยใช้กฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่าขณะ
ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  ที่ดินดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามมิให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรือไม่
เชน่ เดมิ สามารถอออกหนงั สอื แสดงสทิ ธใิ นทด่ี นิ บนเกาะได้ แตภ่ ายหลงั กฎกระทรวง ฉบบั ท่ี ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบญั ญตั ิให้ใช้ประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ มีผลใช้บังคบั ทำ�ให้ไม่สามารถ
ออกหนงั สอื แสดงสทิ ธใิ นทด่ี นิ บนเกาะได้ เวน้ แตม่ หี ลกั ฐานในทด่ี นิ ตามกฎกระทรวง ฉบบั ท่ี ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบญั ญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๔ (๓) เช่น ส.ค. ๑ และ
คำ�ขอออกหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ ินที่ได้ยืน่ คำ�ขอไว้ก่อนกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตาม
ความในพระราชบญั ญตั ใิ หใ้ ชป้ ระมวลกฎหมายทด่ี นิ พ.ศ. ๒๔๙๗ นอกจากนย้ี งั มมี ตคิ ณะรฐั มนตรที เ่ี กย่ี วขอ้ ง
และความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่จะต้องพิจารณาว่าที่ดินอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถออกหนังสือ
แสดงสิทธิในทีด่ ินได้หรือไม่ เช่น
๑. พื้นทีป่ ่าไม้ถาวร ที่มีการจ�ำ แนกเนื่องมาจากมติคณะรัฐมนตรีเมือ่ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๐๔
๒. พื้นทีท่ ี่มีความลาดชันโดยเฉลีย่ ร้อยละ ๓๕ ขึ้นไป (๑๙.๑๗๔ องศา) ตามมติคณะรฐั มนตรี
เมอ่ื วนั ท่ี ๓ ธนั วาคม ๒๕๒๘ ทก่ี �ำ หนดไวใ้ นนโยบายปา่ ไมแ้ หง่ ชาติ ผคู้ รอบครองทด่ี นิ จะตอ้ งมสี ทิ ธคิ รอบครอง
มาก่อนการบังคับใช้ประมวลกฎหมายทีด่ ิน (ก่อน ๑ ธันวาคม ๒๔๙๗) หรือมีหลักฐานแสดงว่าเปน็ ผู้มีสิทธิ
ครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น มีหลกั ฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) (ตามหนงั สือ
กรมทีด่ ิน ที่ มท ๐๗๑๓/ว ๑๙๗๗๙ ลงวนั ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๓๑)
๓. ป่าชายเลน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๓

๔ ๖ ๑๑๔ ปี กรมทด่ี นิ

๔. ทดี่ ินทอี่ ยู่ในเขตปฏิรปู ทีด่ ินซงึ่ ผู้ครอบครองทีด่ ินจะต้องมีหลกั ฐานการแจ้งการครอบครอง
(ส.ค. ๑), ใบแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน ตามมาตรา ๒๗ ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือ
มีใบจอง, ใบเหยียบยาํ่ หรือมีหลักฐาน น.ค. ๓, ก.ส.น. ๕ ก่อนประกาศเป็นเขตปฏิรูปทีด่ ิน (ตามหนงั สือ
สำ�นกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สดุ ที่ นร ๐๖๐๑/๒๐๙ ลงวนั ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๗)
พน้ื ทเ่ี หลา่ นต้ี อ้ งหา้ มมใิ หอ้ อกหนงั สอื แสดงสทิ ธใิ นทด่ี นิ เวน้ แตผ่ คู้ รอบครองจะมสี ทิ ธโิ ดยชอบ
ด้วยกฎหมายอยู่ก่อนแล้ว
๓. กระบวนการขั้นตอนการออกหนังสือแสดงสิทธิในทีด่ ิน
การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมีการกำ�หนดขั้นตอนและกระบวนการในการดำ�เนินการไว้
ท้ังตามประมวลกฎหมายทีด่ ิน กฎกระทรวง ระเบียบของคณะกรรมการจดั ทีด่ ินแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นกฎหมาย
และระเบียบคำ�สั่งกรมที่ดินซึ่งไม่ถือเป็นกฎหมายแต่เป็นแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติ  ซึ่งการ
ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมีผลให้การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย  แต่การไม่ปฏิบัติ
ตามระเบียบคำ�สั่งไม่มีผลต่อการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นเรื่องที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตาม
ระเบียบค�ำ สัง่
ขัน้ ตอนตามทีก่ ฎหมายกำ�หนด ได้แก่
๓.๑ ประมวลกฎหมายทีด่ ิน
ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้กำ�หนดข้ันตอนกระบวนการในการออกหนังสือแสดงสิทธิ
ในที่ดินไว้หลายมาตรา เช่น
(๑) การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินกรณีเป็นที่ดินที่มีอาณาเขตติดต่อคาบเกี่ยว
หรืออยูใ่ นเขตที่ดินของรฐั
มาตรา ๕๖/๑ “การออกโฉนดที่ดินหรือหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ ถ้าเป็นที่ดินที่มี
อาณาเขตติดต่อคาบเกี่ยวหรืออยู่ในเขตที่ดินของรัฐที่มีระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศหรือระวางรูปถ่าย
ทางอากาศ พนกั งานเจ้าหน้าทีจ่ ะออกให้ได้ต่อเมือ่ ตรวจสอบกบั ระวางแผนทีร่ ูปถ่ายทางอากาศหรือระวาง
รูปถ่ายทางอากาศฉบับที่ทำ�ขึ้นก่อนสุดเท่าที่ทางราชการมีอยู่แล้วว่าเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินหรือ
หนังสือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ได้ หรือตรวจสอบด้วยวิธีอืน่ ท้ังนี้ ตามระเบียบทีอ่ ธิบดีกำ�หนด”
โดยอธิบดีกรมที่ดินได้ออกระเบียบกรมที่ดิน  ว่าด้วยการตรวจสอบที่ดินเพื่อออก
โฉนดทด่ี นิ หรอื หนงั สอื รบั รองการท�ำ ประโยชน์ กรณเี ปน็ ทด่ี นิ ทม่ี อี าณาเขตตดิ ตอ่ คาบเกย่ี วหรอื อยใู่ นเขตทด่ี นิ
ของรัฐด้วยวิธีอื่น  พ.ศ. ๒๕๕๑  กำ�หนดข้ันตอนการตรวจสอบในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง
การทำ�ประโยชน์ กรณีเปน็ ทีด่ ินทีม่ ีอาณาเขตติดต่อคาบเกีย่ วหรืออยู่ในเขตที่ดินของรัฐ
(๒) การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยวิธีการเดินสำ�รวจ  ตามมาตรา  ๕๘
มาตรา ๕๘ ทวิ แหง่ ประมวลกฎหมายที่ดิน การเปลี่ยนหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เปน็ โฉนดที่ดิน และการออกหนังสือแสดงสิทธิในทีด่ ินเฉพาะรายตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๕๙ ทวิ
แหง่ ประมวลกฎหมายที่ดิน
ตามมาตราดังกล่าวได้กำ�หนดหลักเกณฑ์และข้ันตอนในการขอออกหนังสือแสดงสิทธิใน
ที่ดินไว้
(๓) กรณีเนื้อที่ที่ทำ�การรังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครอง
ทีด่ ิน
มาตรา ๕๙ ตรี “ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการท�ำ ประโยชน์ ถ้าปรากฏว่า
เนื้อทีท่ ี่ทำ�การรงั วดั ใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบญั ญตั ิ

๑๑๔ ปี กรมที่ดิน ๔๗

ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าทีพ่ ิจารณาออกหนงั สือแสดงสิทธิในที่ดินให้ได้
เท่าจำ�นวนเนื้อที่ทีไ่ ด้ท�ำ ประโยชน์ ท้ังนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการก�ำ หนด”
หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๙/ว ๒๕๔๗๘ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๑ เห็นว่า
มาตรา ๕๙ ตรี แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน และระเบียบของคณะกรรมการจัดทีด่ ินแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
(พ.ศ.๒๕๓๒) จะใช้ในกรณีผู้ขอน�ำ หลักฐาน ส.ค.๑ มาขอออกโฉนดทีด่ ินหรือหนังสือรบั รองการทำ�ประโยชน์
เท่าน้ัน ไม่ใช้บังคบั แก่กรณีนำ�หนงั สือรับรองการทำ�ประโยชน์มาขอออกโฉนดทีด่ ินแต่อย่างใด การอนุโลม
นำ�มาตรา ๕๙ ตรี มาใช้กบั หนงั สือรับรองการทำ�ประโยชน์ด้วยน้ัน ท�ำ ให้ราษฎรเสียสิทธิจากการอนโุ ลมใช้
กฎหมายและระเบียบดังกล่าว จึงให้ยกเลิกหนังสือกรมทีด่ ินที่ให้อนุโลมใช้กฎหมายดังกล่าว
สำ�หรับหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะใช้กับกรณีการออกโฉนดที่ดินจากหนังสือรับรองการ
ท�ำ ประโยชน์ ต้องเป็นไปตามมาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) กรณี
อาณาเขต ระยะ และเนื้อที่ผิดพลาดไปจาก น.ส.๓ อยู่ในดลุ ยพินิจของเจ้าพนักงานทีด่ ินทีจ่ ะพิจารณาตาม
ความเหมาะสม
(๔) การกำ�หนดเงื่อนไขในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามระเบียบของคณะ
กรรมการจัดที่ดินแหง่ ชาติ ได้กำ�หนดไว้ดงั นี้
(๔.๑) การออกโฉนดที่ดินให้กระทำ�ได้ในบริเวณที่ได้สร้างระวางแผนที่เพื่อ
การออกโฉนดที่ดินไวแ้ ลว้
ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ  ฉบับที่  ๒  (พ.ศ. ๒๕๑๕)  ว่าด้วย
หลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินและออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  ตามข้อ  ๓
ก�ำ หนดให้การออกโฉนดทด่ี นิ ใหก้ ระท�ำ ไดใ้ นบริเวณทด่ี นิ ทไ่ี ด้สรา้ งระวางแผนทเี่ พอื่ การออกโฉนดทด่ี ินไว้แล้ว
นอกจากนี้ให้ออกเป็นหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  ต่อมาได้ยกเลิกโดยระเบียบของคณะกรรมการจัด
ที่ดินแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ว่าด้วยหลกั เกณฑ์วิธีการและเงือ่ นไขการออกโฉนดทีด่ ินและออก
หนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  และกำ�หนดให้การออกโฉนดที่ดินให้กระทำ�ได้ในบริเวณที่ได้สร้างระวาง
แผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินไว้แล้ว  เว้นแต่อธิบดีกรมที่ดินจะเห็นเป็นการสมควรให้ออกหนังสือรับรอง
การทำ�ประโยชน์ในที่ดินที่ได้สร้างระวางแผนที่ไปพลางก่อนได้  นอกจากนี้ให้ออกเป็นหนังสือรับรองกรทำ�
ประโยชน์ ปจั จบุ ันได้ยกเลิกและให้ใช้ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒)
วา่ ดว้ ยหลกั เกณฑ์ วธิ กี าร และเงอ่ื นไขการออกโฉนดทด่ี นิ และออกหนงั สอื รบั รองการท�ำ ประโยชน์ ตามขอ้ ๔
การออกโฉนดที่ดินให้กระทำ�ได้ในบริเวณที่ได้สร้างระวางแผนที่เพื่อการออกโฉนดที่ดินไว้แล้ว  ในบริเวณ
ที่ดินนอกจากนี้ให้ออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  เว้นแต่อธิบดีกรมที่ดินเห็นเป็นการสมควร  ให้ออก
หนังสือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ในบริเวณที่ดินที่ได้สร้างระวางแผนทีไ่ ว้แล้วไปพลางก่อนได้
(๔.๒) กรณีที่ต้องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดในการออกหนังสือแสดงสิทธิ
ในที่ดิน
ระเบยี บของคณะกรรมการจดั ทด่ี นิ แหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี ๒ (พ.ศ.๒๕๑๕) วา่ ดว้ ยหลกั เกณฑ์
วิธีการ และเงือ่ นไขการออกโฉนดที่ดินและออกหนงั สือรบั รองการทำ�ประโยชน์ กำ�หนดหลกั เกณฑ์ในกรณี
ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ให้แก่ผู้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินก่อนวันที่
ประมวลกฎหมายทีด่ ินใช้บังคบั แต่ไม่ได้แจ้งการครอบครอง และภายหลังประมวลกฎหมายทีด่ ินใช้บังคับ
การขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์เฉพาะรายโดยมิได้แจ้งการครอบครอง  ให้ต้อง
ขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดหากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำ�หนด  ต่อมาได้ยกเลิกโดยให้ใช้ระเบียบของ
คณะกรรมการจัดทีด่ ินแห่งชาติฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ว่าด้วยหลกั เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออก

๔๘ ๑๑๔ ปี กรมท่ดี ิน

โฉนดที่ดินและออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  โดยการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�
ประโยชน์ตามมาตรา ๕๘ ทวิ วรรคสี่ และมาตรา ๕๙ ทวิ วรรคหนึง่ แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน ให้เสนอ
ผู้ว่าราชการจังหวดั เพือ่ พิจารณาอนุมัติตามหลกั เกณฑ์ทีก่ �ำ หนดตามข้อ ๕, ๖, ๗
(๔.๓) การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ในกรณีเนื้อที่
แตกต่างกับหลกั ฐานการแจง้ การครอบครอง
ระเบยี บของคณะกรรมการจดั ทด่ี นิ แหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี ๒ (พ.ศ.๒๕๑๕) วา่ ดว้ ยหลกั เกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินและออกหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ ข้อ ๑๑ ก�ำ หนดหลักเกณฑ์
พิจารณาในกรณีเนื้อที่แตกต่างกับหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน  และกรณีหลักฐานการแจ้งการ
ครอบครองที่ดินจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่าให้ถือระยะตามที่ปรากฏในหลักฐานการแจ้งการครอบครอง
โดยประมาณ ต่อมาได้ยกเลิกโดยให้ใช้ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ว่าด้วยหลกั เกณฑ์ วิธีการ และเงือ่ นไขการออกโฉนดทีด่ ินและออกหนังสือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ กรณี
เนื้อที่แตกต่างกับหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินให้ถือเท่าที่ได้ทำ�ประโยชน์อยู่จริงเมื่อที่ดินมี
อาณาเขต ระยะ และที่ดินข้างเคียงทุกด้านถกู ต้องกับหลักฐานการแจ้งการครอบครองทีด่ ิน แต่หากระยะ
ผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้ออกเท่าที่ทำ�ประโยชน์อยู่จริงเมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองแนวเขต
ไว้เป็นการครบถ้วนทุกด้าน  กรณีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่าให้
ถือระยะตามที่ปรากฏในหลักฐานการแจ้งการครอบครองโดยประมาณ  ปัจจุบันได้มีการยกเลิกและให้
ใช้ระเบียบของคณะกรรมการจัดทีด่ ินแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ว่าด้วยหลกั เกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินและออกหนงั สือรบั รองการทำ�ประโยชน์ ข้อ ๘, ข้อ ๙, ข้อ ๑๐ โดยกรณีเนื้อที่
ทีค่ �ำ นวณได้แตกต่างไปจากเนื้อทีต่ ามหลกั ฐานการแจ้งการครอบครองทีด่ ิน ให้ออกได้เท่าจำ�นวนเนื้อทีท่ ี่ได้
ทำ�ประโยชน์แล้วแต่ไม่เกินเนื้อที่ที่คำ�นวณได้และหากระยะผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้ออกเท่าที่ทำ�ประโยชน์
แล้วเมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองแนวเขตไว้เป็นการครบถ้วนทุกด้าน  กรณีหลักฐานการแจ้ง
การครอบครองที่ดินจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่าให้ถือระยะที่ปรากฏในหลักฐานการแจ้งการครอบครอง
ทดี่ นิ เปน็ หลกั โดยผลของระเบยี บดงั กลา่ วท�ำ ให้ปจั จบุ นั การออกหนงั สือแสดงสทิ ธิในทด่ี นิ โดยอาศยั หลกั ฐาน
การแจ้งการครอบครองที่ดินที่แจ้งข้างเคียงจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่างเปล่าต้องถูกตัดระยะตามที่ปรากฏใน
หลักฐานการแจ้งการครอบครองทีด่ ิน
(๔.๔) การแจ้งผมู้ ีสิทธิในที่ดินขา้ งเคียง
ระเบยี บของคณะกรรมการจดั ทด่ี นิ แหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี ๗ (พ.ศ.๒๕๒๔) วา่ ดว้ ยหลกั เกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการออกโฉนดทีด่ ินและออกหนังสือรับรองการท�ำ ประโยชน์ ข้อ ๑๓ การออกโฉนดที่ดิน
และออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ในกรณีเนื้อที่แตกต่างกับหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน
ก�ำ หนดหลกั เกณฑ์ในการแจ้งผู้มีสิทธิในทีด่ ินข้างเคียง ต่อมาได้ยกเลิกโดยให้ใช้ระเบียบของคณะกรรมการ
จดั ที่ดินแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกโฉนดทีด่ ินและ
ออกหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ ข้อ ๘ และ ข้อ ๙ โดยกรณีที่ระยะของแนวเขตทีด่ ินผิดพลาดคลาด
เคลื่อนให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือซึ่งมีข้อความด้วยว่า  ถ้าผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงไม่มาหรือมา
แต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตโดยไม่คัดค้านการรังวัด  เมื่อพ้นกำ�หนดสามสิบวันนับแต่วันทำ�การรังวัด
พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์โดยไม่ต้องมีการรับรองแนวเขต
สง่ ทางไปรษณยี ล์ งทะเบยี นตอบรบั ไปยงั ผมู้ สี ทิ ธใิ นทด่ี นิ ขา้ งเคยี งตามทอ่ี ยทู่ เ่ี คยตดิ ตอ่   หรอื ตามทอ่ี ยทู่ ผ่ี มู้ สี ทิ ธิ
ในที่ดินข้างเคียงนั้นได้แจ้งเป็นหนังสือไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เพื่อให้มารับรองแนวเขตหรือคัดค้าน
การรงั วัด

๑๑๔ ปี กรมท่ีดิน ๔๙

ในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้รับหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มาระวัง
แนวเขตแล้ว แต่ไม่มาหรือมาแต่ไม่ยอมลงชื่อรบั รองแนวเขตโดยไม่คัดค้านการรงั วัด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์เท่าจำ�นวนเนื้อที่ที่ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว  โดยไม่ต้องมีการ
รับรองแนวเขต เมือ่ พ้นกำ�หนดเวลาสามสิบวนั นบั แต่วันทำ�การรังวัด
ในกรณีที่ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขตได้  ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่ปิดประกาศแจ้งให้ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงน้ันมาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัดไว้ในที่
เปิดเผย ณ สำ�นักงานที่ดินจังหวดั หรือสำ�นักงานที่ดินสาขา ส�ำ นักงานเขตหรือทีว่ ่าการอ�ำ เภอหรือกิ่งอ�ำ เภอ
ที่ทำ�การกำ�นัน ทีท่ �ำ การผู้ใหญ่บ้าน และบริเวณทีด่ ินของผู้มีสิทธิในทีด่ ินข้างเคียงแห่งละหนึง่ ฉบบั ในกรณี
ทีด่ ินอยู่ในเขตเทศบาลให้ปิด ณ ส�ำ นกั งานเทศบาลอีกหนึง่ ฉบับด้วย ถ้าผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงไม่มาติดต่อ
หรือคัดค้านประการใดภายในสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือ
หนงั สือรบั รองการทำ�ประโยชน์เท่าจ�ำ นวนเนื้อที่ที่ได้ทำ�ประโยชน์แล้ว โดยไม่ต้องมีการรับรองแนวเขต และ
ตามมาตรา ๕๙ จัตวา การออกโฉนดทีด่ ินตามมาตรา ๕๘ ทวิ มาตรา ๕๘ ตรี และมาตรา ๕๙ ถ้าหนังสือ
แสดงสิทธิในที่ดินเดิมมีรายการภาระผูกพัน  หรือมีรายการเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิในที่ดินในระหว่างดำ�เนิน
การออกโฉนดที่ดิน ให้ยกรายการดังกล่าวมาจดแจ้งไว้ในโฉนดทีด่ ินด้วย
(๕) การสอบสวนเปรียบเทียบกรณีมีผคู้ ัดค้านการออกหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ ิน
มาตรา ๖๐ “ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ ถ้ามีผู้โต้แย้ง
สิทธิกนั ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานที่ดิน แล้วแต่กรณี มีอำ�นาจท�ำ การสอบสวนเปรียบเทียบ
ถ้าตกลงกันได้ก็ให้ดำ�เนินการไปตามที่ตกลง หากตกลงกนั ไม่ได้ให้เจ้าพนกั งานทีด่ ินจงั หวัดหรือเจ้าพนกั งาน
ทีด่ ินจังหวดั สาขามีอ�ำ นาจพิจารณาส่ังการไปตามที่เห็นสมควร
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาส่ังประการใดแล้วให้แจ้ง
เป็นหนังสือต่อคู่กรณีเพื่อทราบ  และให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปดำ�เนินการฟ้องต่อศาลภายในกำ�หนดหกสิบวัน
นบั แต่วนั ทราบค�ำ สง่ั
ในกรณีที่ได้ฟ้องต่อศาลแล้ว  ให้รอเรื่องไว้  เมื่อศาลได้พิพากษาหรือมีคำ�ส่ังถึงที่สุด
ประการใด จึงให้ด�ำ เนินการไปตามกรณี ถ้าไม่ฟ้องภายในก�ำ หนด กใ็ ห้ดำ�เนินการไปตามที่เจ้าพนกั งานทีด่ ิน
จงั หวดั หรือเจ้าพนกั งานทีด่ ินจงั หวดั สาขาส่ัง แล้วแต่กรณี”
กรณมี กี ารคดั คา้ นการออกหนงั สอื แสดงสทิ ธใิ นทด่ี นิ กฎหมายก�ำ หนดใหเ้ จา้ พนกั งานทด่ี นิ
เป็นผู้มีอำ�นาจทำ�การสอบสวนเปรียบเทียบและส่ังการ  โดยเจ้าพนักงานที่ดินมีอำ�นาจออกคำ�สั่งสอบสวน
เปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายที่ดินได้แก่  เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด  เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
นายอ�ำ เภอหรือปลดั อ�ำ เภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ�กิง่ อำ�เภอ แล้วด�ำ เนินการตามที่กฎหมายก�ำ หนด หากในการ
ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมีการคัดค้าน  เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไปโดยไม่
ท�ำ การสอบสวนเปรียบเทียบถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
(๖) พระราชบญั ญตั ิแก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๘ “ให้ผู้ซึง่ ได้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในทีด่ ินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมาย
ที่ดินใช้บงั คบั โดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองทีด่ ิน และยงั มิได้ยื่นค�ำ ขอออกโฉนดที่ดินหรือหนงั สือ
รับรองการทำ�ประโยชน์  นำ�หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินน้ันมายื่นคำ�ขอเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือ
หนังสือรบั รองการทำ�ประโยชน์ต่อพนกั งานเจ้าหน้าทีภ่ ายในสองปีนับแต่วันทีพ่ ระราชบญั ญตั ินี้ใช้บงั คบั
เมือ่ ได้รบั ค�ำ ขอและหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินตามวรรคหนึง่ แล้ว ให้พนกั งาน
เจา้ หน้าทดี่ �ำ เนนิ การเพอื่ ออกโฉนดทดี่ นิ หรือหนงั สือรบั รองการท�ำ ประโยชน์ตามประมวลกฎหมายทด่ี ินต่อไป

๕ ๐ ๑๑๔ ปี กรมทดี่ นิ

เมื่อพ้นก�ำ หนดเวลาตามวรรคหนึ่ง หากมีผู้นำ�หลักฐานการแจ้งการครอบครองทีด่ ิน
มาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์  พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือ
รับรองการทำ�ประโยชน์ให้ได้ต่อเมื่อศาลยุติธรรมได้มีคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งถึงที่สุดว่าผู้น้ันเป็นผู้ซึ่งได้ครอบ
ครองและท�ำ ประโยชน์ในทีด่ ินโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันทีป่ ระมวลกฎหมายทีด่ ินใช้บังคับ
ในการพจิ ารณาของศาลตามวรรคสาม ใหศ้ าลแจง้ ใหก้ รมทด่ี นิ ทราบ และใหก้ รมทด่ี นิ
ตรวจสอบกับระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศหรือระวางรูปถ่ายทางอากาศฉบับที่ทำ�ขึ้นก่อนสุดเท่าที่ทาง
ราชการมีอยู่ พร้อมทั้งทำ�ความเหน็ เสนอต่อศาลว่า ผู้นั้นได้ครอบครองหรือท�ำ ประโยชน์ในทีด่ ินน้ันโดยชอบ
ด้วยกฎหมายก่อนวนั ทีป่ ระมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับหรือไม่ เพือ่ ประกอบการพิจารณาของศาล ความเห็น
ดังกล่าวให้เสนอต่อศาลภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งจากศาล  เว้นแต่ศาลจะขยายระยะ
เวลาเปน็ อย่างอื่น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้  ผู้ครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึง
ผู้ซึง่ ได้ครอบครองและท�ำ ประโยชน์ในทีด่ ินต่อเนือ่ งมาจากบคุ คลดงั กล่าวด้วย”
ตามกฎหมายดังกล่าว การออกหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ ินโดยอาศัยหลกั ฐาน ส.ค. ๑
ซึ่งเปน็ ค�ำ ขอภายหลังวันที่ ๘ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๓ เจ้าของที่ดินต้องไปยืน่ ค�ำ ร้องต่อศาล เมือ่ ศาลยตุ ิธรรมได้
มีคำ�พิพากษาหรือคำ�ส่ังถึงที่สุดว่าผู้นั้นเป็นผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำ�ประโยชน์ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย
อยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ  พนักงานเจ้าหน้าที่จึงดำ�เนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือ
รับรองการทำ�ประโยชน์ให้ได้  โดยดำ�เนินการตามแนวทางปฏิบัติตามหนังสือกรมที่ดิน  ด่วนที่สุด  ที่  มท
๐๕๑๖.๒ (๑)/ว ๑๔๗๘๙ ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เรื่อง แนวทางปฏิบตั ิเพื่อดำ�เนินการตามมาตรา
๘ แห่งพระราชบญั ญัติแก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบบั ที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ ภายหลังวันที่ ๘
กมุ ภาพันธ์ ๒๕๕๓ (แก้ไขเพิ่มเติม)
(๗) เป็นการกระทำ�ในฐานะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานที่ดินตาม
กฎหมาย
เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามกฎหมาย เช่น ผู้ปกครองท้องที่ตามพระราชบญั ญัติลกั ษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ เจ้าพนกั งาน
ทีด่ ินผู้ลงนามในหนงั สือแสดงสิทธิในที่ดินตามมาตรา ๕๗ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
(๘) การรับรองแนวเขตที่ดินข้างเคียง
การรบั รองแนวเขตที่ดินข้างเคียง ต้องกระทำ�โดยเจ้าของทีด่ ินหรือผู้มีอำ�นาจหน้าที่
ในการรบั รองแนวเขตทีด่ ินตามกฎหมาย
๓.๒ กฎกระทรวงฯ ออกตามความในพระราชบญั ญตั ิใหใ้ ชป้ ระมวลกฎหมายทีด่ ิน
พ.ศ. ๒๔๙๗
โดยพิจารณากฎกระทรวงที่ใช้บงั คบั ในขณะออกหนงั สือแสดงสิทธิในที่ดิน เช่น
(๑) การออกหนังสือแสดงสิทธิในทีด่ ินในเขตป่าไม้
ตามกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๕  (พ.ศ. ๒๔๙๗)  ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้
ประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ไม่ได้ก�ำ หนดให้ต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจพิสจู น์ที่ดิน แต่
ให้ถือปฏิบตั ิตามบนั ทึกข้อตกลงว่าด้วย ระเบียบการตรวจพิสูจน์เพื่อออกหนงั สือสำ�คญั แสดงกรรมสิทธิห์ รือ
หนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ในที่ดินเกี่ยวกับป่าไม้ พ.ศ. ๒๕๐๑ บันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินและ
กรมป่าไม้  ว่าด้วยการตรวจพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ซึ่งเกี่ยวกับ
เขตป่าไม้ พ.ศ. ๒๕๒๔ บันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินและกรมป่าไม้ ว่าด้วยการตรวจพิสูจน์เพือ่ ออก


Click to View FlipBook Version