The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปี พ.ศ. 2567 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chiangrai.cpd, 2025-03-06 22:36:19

รายงานประจำปี พ.ศ. 2567 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย

รายงานประจำปี พ.ศ. 2567 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย

สารบัญ สารผู้บริหารหน่วยงาน ก ทำเนียบบุคลากร ข บทสรุปผู้บริหาร ฑ ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน 1 1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และอำนาจหน้าที่ 2 1.2 โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของหน่วยงาน 3 1.3 แผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 5 1.4 ข้อมูลสารสนเทศสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์ 9 ส่วนที่ 2 ผลการปฏิบัติราชการ 15 2.1 ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 16 2.2 ผลการดำเนินงาน/โครงการนอกแผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 95 2.3 ผลการดำเนินงาน/โครงการตามนโยบายสำคัญ และการบูรณาการในระดับพื้นที่ 101 ส่วนที่ 3 รายงานทางการเงิน 121 3.1 งบแสดงฐานะการเงิน 122 3.2 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน 124 3.3 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 126 ส่วนที่ 4 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 132 4.1 กิจกรรมของหน่วยงาน 133 4.2 กิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการร่วมกับสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ 136 4.3 กิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ 140 4.4 รางวัลที่หน่วยงานได้รับจากหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ 143 ส่วนที่ 5 บรรณานุกรม 144


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ก สารสหกรณ์จังหวัดเชียงราย สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงราย ในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีบทบาทหน้าที่และภารกิจในด้านดำเนินการ ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการกำกับดูแล แนะนำ ส่งเสริม พัฒนางาน พัฒนา ธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนเผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์หลักการ และวิธีการ สหกรณ์ให้บุคลากรสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของ สหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง โดยในปี พ.ศ. 2567 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย ได้มีการวางแผน การปฏิบัติงาน การสร้างเป้าหมายร่วมกันตั้งแต่ต้นปี เพื่อขับเคลื่อนภารกิจงานที่สำคัญขององค์กรให้เป็นไป ตามเป้าหมาย แผนงาน นโยบาย และโครงการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้สามารถดำเนินงานช่วยเหลือและบริการ สมาชิกได้อย่างครบถ้วน ยั่งยืน สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเองรวมทั้งส่งเสริมและ ผลักดันให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของสมาชิกตาม นโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของกรมส่งแสริมสหกรณ์และของจังหวัด เชียงราย ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมาถือว่าได้ดำเนินการบรรลุเป้าหมายในระดับหนึ่งโดยเฉพาะในการสร้าง ความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อยกระดับความเข้มแข็ง ทั้งการทำงานเชิงการพัฒนา การส่งเสริม และงานกำกับดูแล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบสหกรณ์ของสังคมโดยรวม รายงานฉบับนี้เป็นการสรุปรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาของการส่งแสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย ให้ผู้ที่สนใจรับทราบหรือใช้ประโยชน์ได้ในนามของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงรายต้องขอขอบคุณ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย หน่วยงานส่วนราชการ ในจังหวัดเชียงราย และข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ในสำนักงานสหกรณ์ที่ให้ความร่วมมือ อย่างดียิ่งในการปฏิบัติงานต่าง ๆ จนบรรลุตามเป้าประสงค์สุดท้ายที่สำคัญยิ่ง คือ ความร่วมมือร่วมใจของ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่ร่วมกันในการผลักดันและขับเคลื่อนขบวนการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มี ความเข้มแข็งเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิกได้อย่างแท้จริง นายนรินทร์ศักดิ์ พนิตธรรมกูล สหกรณ์จังหวัดเชียงราย


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ข ทำเนียบบุคลากรในหน่วยงาน


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ค


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ง


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | จ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ฉ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ช


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ซ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ฌ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ญ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ฎ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ฏ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ฐ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ฑ บทสรุปผู้บริหาร สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย มีภารกิจในด้านดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการกำกับดูแล แนะนำ ส่งเสริม พัฒนางาน พัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร ตลอดจนเผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง สำหรับในรอบปีที่ผ่านมาสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย มีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการปฏิบัติงานและผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย ได้รับอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อปฏิบัติงาน รวม 5 แผนงาน 13 ผลผลิต/โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 26.36 ล้านบาท โดยแยกเป็น งบบุคลากร จำนวน 8.64 ล้านบาท งบดำเนินงาน จำนวน 7.12 ล้านบาท งบลงทุน จำนวน 1.90 ล้านบาท และงบเงินอุดหนุน จำนวน 8.70 ล้านบาท ผลการปฏิบัติงานได้ปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานเสร็จสิ้นทุกแผนงาน ตลอดจนสามารถเบิกจ่ายเงิน งบประมาณคิดเป็นร้อยละ 100 2. ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้ จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 2.1 แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 2.1.1 งานแนะนำส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและกำกับการดำเนินงานของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร การแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด เชียงราย ได้มีกำกับ แนะนำ ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของสหกรณ์ จำนวน 116 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 43 กลุ่ม โดยสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีการยกระดับชั้น และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ตลอดจนมี การดำเนินงานที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล สามารถยกระดับชั้นให้สูงขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้แก่สหกรณ์เพื่อเป็นองค์กรหลักระดับอำเภอในทุก ๆ อำเภอ ทั้งนี้ ได้แนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์ ให้มีการวางแผนการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิก ทั้งในด้าน การให้บริการรับฝากเงิน การให้สินเชื่อ การติดตามหนี้สิน การรวมกันซื้อ รวมกันขาย การแปรรูป และการให้บริการ เพื่อให้สามารถอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกในลักษณะครบวงจร ผลการแนะนำและส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีผลประเมินความเข้มแข็งตามศักยภาพ ดังนี้ 1) สหกรณ์ภาคการเกษตรมีระดับความเข้มแข็ง เป้าหมายชั้น 1 และ 2 ร้อยละ 47 มีผลการประเมินความเข้มแข็ง ชั้น 1 และ 2 มีจำนวน 32 แห่ง จากทั้งหมด 62 แห่ง คิดเป็นร้อย ละ 51.61 ซึ่งได้มากกว่าเป้าหมายที่กำหนด


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ฒ 2) สหกรณ์นอกภาคการเกษตรมีระดับความเข้มแข็ง เป้าหมายชั้น 1 และ 2 ร้อยละ 57 มีผลการประเมินความเข้มแข็ง ชั้น 1 และ 2 มีจำนวน 36 แห่ง จากทั้งหมด 54 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 66.67 ซึ่งได้มากกว่าเป้าหมายที่กำหนด 3) กลุ่มเกษตรกรมีระดับความเข้มแข็ง เป้าหมายชั้น 1 และ 2 ร้อยละ 33 มีผลการประเมินความเข้มแข็ง ชั้น 1 และ 2 มีจำนวน 27 แห่ง จากทั้งหมด 43 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 62.79 ซึ่งได้มากกว่าเป้าหมายที่กำหนด 2.1.2 งานกำกับ ดูแล ตรวจสอบ และคุ้มครองระบบสหกรณ์ ด้านงานกำกับดูแลสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ได้เข้าตรวจการสหกรณ์ ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ จำนวน 18 แห่ง ครบตามเป้าหมาย ตลอดจนมีการแต่งตั้งทีมตรวจการสหกรณ์ เพื่อเข้าไปตรวจการสหกรณ์เป็นการเฉพาะในสหกรณ์เป้าหมาย จำนวน 30 แห่ง ตรวจครบตามแผนงาน ที่กำหนดอีกทั้งได้มอบหมายเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือ แนะนำ การแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องและการทุจริต ในสหกรณ์ เพื่อหาผู้รับผิดชอบมาดำเนินการทางกฎหมาย งานชำระบัญชี เป้าหมายยกมาต้นปี จำนวน 17 แห่ง มีผลการดำเนินการชำระ บัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ระหว่างชำระบัญชีขั้นตอนที่ 3-4 ยกระดับขึ้นสู่ขั้นตอนที่ 5 ร้อยละ 100 เป้าหมาย 1 แห่ง สามารถยกระดับขั้นตอนที่ 3-5 ไปสู่ขั้นตอนที่ 5 ได้ จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 สำหรับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั้งหมดที่อยู่ระหว่างชำระบัญชี สามารถถอนชื่อได้ ไม่รวมสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในขั้นตอนที่ 6 (คดี) เป้าหมายร้อยละ 25 จำนวน 5 แห่ง สามารถถอนชื่อได้จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 120 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่กำหนด งานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่นแห่งชาติผลการ ดำเนินงาน สหกรณ์ในจังหวัดเชียงราย ได้รับการคัดเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่นในระดับกรม จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขเชียงราย จำกัด และสหกรณ์ประมงพาน จำกัด 2.2 แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า (จำนวน 9 โครงการ) 2.2.1 โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ส่งเสริมและ พัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในสถานบันเกษตรกร (ผลไม้) เป้าหมายคือสหกรณ์การเกษตรแม่ยาว จำกัด ผลไม้สับปะรดภูแล โดยผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์สามารถทำการตลาดเชิงรุกใช้หลักการตลาด นำการผลิต การตลาดสินค้าเฉพาะเจาะจงทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์มากขึ้น และผลิตภัณฑ์ ของสหกรณ์ได้รับการผลักดันและพัฒนาให้มีความพร้อมขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 2.2.2 โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร เป็นกิจกรรมการสนับสนุน การทำการเกษตรปลอดภัยสำหรับสินค้าผักและผลไม้กลุ่มเป้าหมายได้แก่ คณะกรรมการ สมาชิกสหกรณ์ ผู้ผลิตลำไย ของสหกรณ์การเกษตรป่าแดด จำกัด อำเภอป่าแดด และคณะกรรมการสมาชิกสหกรณ์ผู้ผลิต สับปะรดภูแล ของสหกรณ์การเกษตรแม่ยาว จำกัด อำเภอเมืองเชียงราย โดยสหกรณ์เป้าหมาย ได้รับการ ส่งเสริมให้สมาชิกทำเกษตรปลอดภัย มีมูลค่าธุรกิจสินค้าเกษตรปลอดภัยของสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ณ ร้อยละ 5 และสหกรณ์เป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตที่ได้มาตรฐานตามหลักทางการเกษตรที่ดี (GAP) และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 80 2.2.3 โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร สหกรณ์เป้าหมาย จำนวน 1 แห่ง ได้แก่สหกรณ์การเกษตรเมืองพาน จำกัด ได้รับการส่งเสริมด้านการแปรรูปผลผลิต และมีมูลค่าการ จำหน่ายสินค้าแปรรูปเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยสมาชิกและสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการได้องค์ความรู้ ด้านบรรจุภัณฑ์สินค้าเพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และสหกรณ์มีแนวทางในการ เชื่อมโยงเครือข่ายตลาดแปรรูปสินค้าเกษตรให้กับสถาบันเกษตรกรอื่น 2.2.4 โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 10แปลง ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อจัดทำ แผนการผลิตและการตลาดของสินค้าเกษตรแปลงใหญ่ การเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทาง การจำหน่าย บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ให้ความรู้ด้านการตลาด การรวมกลุ่ม เชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าง สหกรณ์ 2.2.5 โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตรจำนวน 15 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 2 แห่ง เพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจและประสิทธิภาพในการจัดการองค์กรของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดย (1) วิเคราะห์ปัญหา คะแนนการประเมินความเข้มแข็ง แนวโน้มการพัฒนาของสถาบันเกษตรกรแต่ละแห่ง ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำข้อมูลไปวางแผนส่งเสริมพัฒนายกระดับชั้นความเข้มแข็ง (2) กำหนดแผน การดำเนินการ/หัวข้อการอบรม 3) จัดอบรม/ประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดทิศทางการพัฒนาธุรกิจและนำไปสู่ แผนขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ ด้านการเงิน มีแผนงานและยกระดับเสถียรภาพทางการเงิน และมีการขับเคลื่อนให้เกิดความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น มีการส่งเสริมธุรกิจ บริหารเงินอย่างระมัดระวังสามารถบริหารจัดการการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มระดับ คะแนนเสถียรภาพทางการเงิน สร้างความเชื่อมั่นในหมู่สมาชิกและชุมชน 2) กิจกรรมส่งเสริมการสร้างภาคี เครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคง โดยจัดประชุมคณะทำงานภาคีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อน สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคง จัดทำแนวทางแก้ไขปัญหาของสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคง เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการส่งเสริมสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงในจังหวัดเชียงราย และขับเคลื่อนแนวทางแก้ไขปัญหาของสหกรณ์ คหสถานบ้านมั่นคง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงในจังหวัดเชียงราย 2.2.6 โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร มีการ จ่ายเงินอุดหนุนอุปกรณ์การตลาด/โครงสรางพื้นฐานเพื่อยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถในการบริหาร จัดการและการแข่งขันของสหกรณ์จำนวน 4 รายการ ให้กับสหกรณ์โคนมแม่ลาว จำกัด และสหกรณ์ การเกษตรเวียงป่าเป้า จำกัด เป็นเงิน 2,770,000.00 บาท 2.2.7 โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป้าหมายได้แก่ สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเชียงรายที่ผลิตสินค้าพืชไร่ พืชสวน และปศุสัตว์ จำนวน 7 สหกรณ์ดำเนินการ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ด จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ครั้ง ส่งผลให้สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการมีแผนปฏิบัติการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้หรือป้องกันและ แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง จำนวน 1 แผน และผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการตามโครงการฯ ได้รับความรู้ เกี่ยวกับผลผลิตพลอยได้หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการลดต้นทุนและ สร้างมูลค่าเพิ่ม/ป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองตลอดห่วงโซ่การผลิตเพิ่มขึ้น 2.2.8 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตและการขนส่งของสหกรณ์เพื่อเป็น ต้นแบบในการบริหารจัดการ เป็นการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ด้วยการบริหารจัดการ ระบบโลจิสติกส์และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตและการขนส่งของสหกรณ์ เป้าหมายจำนวน 2 สหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรแม่จัน จำกัด และสหกรณ์โคนมเชียงราย จำกัด ส่งผลให้สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย รวบรวมผลผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ ของสหกรณ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และสหกรณ์มีการเชื่อมโยงเครือข่ายสหกรณ์ผู้ผลิตและสหกรณ์ที่มีศักยภาพ กระจายสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้า และต้นทุนโลจิสติกส์ของสถาบันเกษตรกร อย่างน้อย 2 เครือข่าย 2.2.9 โครงการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรและอาหาร เป็นกิจกรรมที่นำพา สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 300 ราย ไปร่วมงานมหกรรมเกษตรและท่องเที่ยว ถนนสายดอกไม้งามริมกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยและสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ ให้เกิดการยอมรับและเชื่อมั่นจากผู้บริโภค เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และองค์กรเกษตรกรทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์และผู้แทนสหกรณ์ภาคการเกษตร กลุ่มเกษตรกร และ เกษตรกรทั่วไป มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมเพิ่มทักษะ Value Chain สินค้าเกษตรครบวงจร เพื่อนำไป พัฒนาการประกอบอาชีพการเกษตร 2.3 แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม (จำนวน 2 โครงการ) 2.3.1 โครงการพัฒนาพื้นที่โครงการหลวง มี 2 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) โครงการส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง เป้าหมายสหกรณ์ 4 แห่ง กลุ่มเกษตรกร 2 แห่ง ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพทั้ง 6 แห่ง ผลการดำเนินงาน มีกำไรทุกแห่ง และสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง สามารถปิดบัญชีได้ตามกำหนดและ จัดให้มีการประชุมใหญ่ ภายใน 150 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด สหกรณ์การเกษตรในพื้นที่โครงการหลวง สามารถรักษาระดับชั้นความเข้มแข็งได้ และสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยโครงการประยุกต์ใช้ แนวพระราชดำริเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน 2) โครงการส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เป้าหมาย 1 สหกรณ์ 1 กลุ่มหมู่บ้าน สหกรณ์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งตามศักยภาพ และ กลุ่มหมู่บ้านได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการสหกรณ์ ดำเนินกิจกรรมของสหกรณ์ตามความต้องการ ของสมาชิก


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ต 2.3.2 โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีโครงการ/ กิจกรรม ดังนี้ (1) โครงการส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียนภายใต้แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร มีโรงเรียนในความดูแลแนะนำส่งเสริม รวม 38 แห่ง (2) โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน เพียงหลวง จำนวน 1 แห่ง (3) โครงการกิจกรรมทัศนศึกษาให้แก่นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการ จำนวน 4 รุ่น รวมทั้งสิ้น 585 คน และโรงเรียนเพียงหลวง 15 คน รุ่นที่ 1-3 ณ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และรุ่นที่ 4 ณ ไร่สิงห์ปาร์คเชียงราย (4) โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยมีการจัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ จำนวน 4 ครั้ง (5) โครงการขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร และ (6) โครงการจัดงาน "7 มิถุนายน วันสหกรณ์นักเรียน ประจำปี 2566" โดยจัดกิจกรรม ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านดอยล้าน อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 2.4 แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 2.4.1 โครงการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร เป้าหมายพื้นที่ 4 ป่า สมาชิกสหกรณ์ผู้เข้าร่วมโครงการในพื้นที่เป้าหมายได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ จำนวน 200 ราย 2.4.2 โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์สหกรณ์เป้าหมาย 13 แห่ง ดำเนินการส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีการบริหารจัดการสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความสามารถ ในการบริหารจัดการหนี้ของตนเอง และเสริมสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก โดยผ่านกลไกการให้บริการของสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินโครงการ สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 13 แห่ง และได้รับการ พัฒนาให้มีการส่งเสริมอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน เพื่อปลดหนี้เก่าและไม่สร้างหนี้ใหม่ มีการสนับสนุนเงินทุนให้ สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯ ที่ต้องการต่อยอดในการสร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน โดยการ คัดเลือกสมาชิกที่มีคุณสมบัติในด้านความมีวินัย และมีความรับผิดชอบ และสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีมูลหนี้ ค้างเฉลี่ยลดลงอย่างต่อเนื่อง และสามารถปลดหนี้ได้ทุกราย 3. การดำเนินงานโครงการนอกแผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 มีจำนวน 3 โครงการ คือ (1) โครงการการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการสร้าง เครือข่ายการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพ อาหารปลอดภัยจังหวัดเชียงราย (2) โครงการ “แต้มสี เต็มฝัน แบ่งปัน ความสุขให้น้อง” (3) โครงการเสริมสร้างสมดุลชีวิตคนทำงาน ประจำปี 2567 4. งานบูรณาการกับหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา มีการทำงานบูรณาการร่วมกับสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย ในด้านการประชุมเพื่อหารือแนวทาง การรักษาและยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 4 ครั้ง เพื่อหารือแนวทางการรักษาและยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ถ 5. การดำเนินงานโครงการตามนโยบายสำคัญ และการบูรณาการในระดับพื้นที่ 5.1 กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ได้รับวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติสำหรับให้สหกรณ์กู้ยืม รวม จำนวน 108.15 ล้านบาท แยกเป็นโครงการปกติ 41.20 ล้านบาท โครงการพิเศษ 66.95 ล้านบาท ผลการจ่ายเงินกู้โครงการปกติ จำนวน 41.20 ล้านบาท และโครงการพิเศษ จำนวน 66.95 ล้านบาท เป็นไปตามแผนและวงเงินที่ได้รับอนุมัติ สามารถติดตามเร่งรัดหนี้เงินกู้ ที่ถึงกำหนดชำระภายในปีงบประมาณ 2567 ได้รับชำระหนี้ จำนวน 92.033 ล้านบาท 5.2 เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร มีจำนวน 2 โครงการ คือ (1) โครงการสนับสนุน เงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ระยะที่ 2 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2567 มีผลการจ่ายเงินกู้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จำนวน 6 สหกรณ์ เป็นเงิน 2,950,000 บาท (สองล้าน เก้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) สัญญาเงินกู้สิ้นสุดภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 (2) โครงการสร้างความเข้มแข็ง ให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด มีผลการจ่ายเงินกู้ตามวัตถุประสงค์ ของโครงการ จำนวน 10 กลุ่มเกษตรกร เป็นเงินทั้งสิ้น 5,955,000 บาท 6. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย ได้มีการประชาสัมพันธ์ในกิจกรรมของหน่วยงาน และกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดเชียงราย รวมถึงกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยมีรูปแบบเป็น เทมเพลตข่าว มีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ อาทิเช่น เว็บไซต์ Facebook YouTube เป็นต้น จากการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย สามารถดำเนินงาน เป็นไปตามแผนปฏิบัติงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์แล้วเสร็จตามนโยบายทุกประการ ตลอดจนสามารถ แนะส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงรายให้มีการพัฒนาด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเกิดการพัฒนาและยกระดับให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | ท


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 2 1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และอำนาจหน้าที่


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 3 1.2 โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของหน่วยงาน 1) โครงสร้างการบริหารงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 4 2) กรอบอัตรากำลังของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 5 1.3แผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 1) แผนการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 1. แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิต สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กิจกรรมหลัก กำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กิจกรรมรอง สนับสนุนการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ (อำนวยการ) งบประมาณ (งบดำเนินงาน) 3,370,527.28 บาท (งบอุดหนุน) 10,000.00 บาท (งบลงทุน) 1,897,600.00 บาท 2. แผนงานบุคลากรภาครัฐ รายการ บุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่าย บุคลากรภาครัฐกรมส่งเสริมสหกรณ์ กิจกรรมหลัก ค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐกรมส่งเสริมสหกรณ์ กิจกรรม ค่าตอบแทนพนักงานราชการและเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ ค่าเช่าบ้านข้าราชการและเงิน ประกันสังคม งบประมาณ 10,780,724.20 บาท 3. แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม 3.1 โครงการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน กิจกรรมหลัก การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน (โครงการหลวง) งบประมาณ (งบดำเนินงาน) 151,060.00 บาท (งบอุดหนุน) 243,600.00 บาท


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 6 กิจกรรมหลัก การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน (โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง) งบประมาณ 14,800.00 บาท 3.2 โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรม ส่งเสริมการสหกรณ์ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ งบประมาณ 2,600.00 บาท กิจกรรม ส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งบประมาณ (งบดำเนินงาน) 403,160.00 บาท (งบอุดหนุน) 20,000.00 บาท กิจกรรม ส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนเพียงหลวงในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราช กัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี งบประมาณ 9,500.00 บาท กิจกรรม คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร งบประมาณ 20,000.00 บาท กิจกรรม โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร งบประมาณ 6,500.00 บาท กิจกรรม โครงการจัดงาน “7 มิถุนายน วันสหกรณ์นักเรียนประจำปี 2567” งบประมาณ 30,000.00 บาท 4. แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า 4.1 โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร กิจกรรมหลัก ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรและ พัฒนาศักยภาพ สถาบันเกษตรกรเพื่อเพิ่มมูลค่า สินค้าเกษตร งบประมาณ 130,000.00 บาท กิจกรรมหลัก ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรและ พัฒนาศักยภาพ สถาบันเกษตรกรเพื่อเพิ่มมูลค่า สินค้าเกษตร งบประมาณ (งบอุดหนุน) 5,987,100.00 บาท 4.2 โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น กิจกรรมหลัก ส่งเสริมศักยภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่ตลาดยุคใหม่ งบประมาณ 51,650.00 บาท 4.3 โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในสถาบันเกษตรกร งบประมาณ 38,100.00 บาท 4.4 โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร กิจกรรมหลัก ส่งเสริมเกษตรปลอดภัยในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร งบประมาณ 55,200.00 บาท 4.5 โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กิจกรรมหลัก สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของสถาบันเกษตรกร งบประมาณ 57,880.00 บาท


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 7 4.6 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตและการขนส่งของสหกรณ์เพื่อเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการ กิจกรรมหลัก เพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตและการขนส่งของสหกรณ์เพื่อเป็นต้นแบบในการบริหาร จัดการ งบประมาณ 7,700.00 บาท 4.7 โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร กิจกรรมหลัก ยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร งบประมาณ (งบดำเนินงาน) 60,400.00 บาท (งบอุดหนุน) 2,441,800.00 บาท 4.8 โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาเพื่อรักษาและยกระดับความเข้มแข็งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร งบประมาณ 194,060.00 บาท 4.9 โครงการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรและอาหาร กิจกรรมหลัก ส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยและสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ให้เกิดการยอมรับและเชื่อมั่น จากผู้บริโภค งบประมาณ (งบดำเนินงาน) 108,010.00 บาท 5. แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 5.1 โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพภายใต้โครงการจัดที่ดินตามนโยบายรัฐบาล งบประมาณ 204,300.00 บาท 5.2 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของสถาบันเกษตรกรและสมาชิก กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับมาตรฐาน และสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าชุมชน งบประมาณ 21,650.00 บาท 5.3 โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ กิจกรรมหลัก แก้ไขปัญหาหนี้สิน และพัฒนาคุณภาพชีวิต สมาชิกสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบ สหกรณ์งบประมาณ 40,690.00 บาท


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 8 2) งบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เปรียบเทียบกับข้อมูล ย้อนหลัง 2 ปี (พ.ศ. 2565 – 2566) (จำแนกตามประเภทงบรายจ่าย) หน่วย : บาท งบรายจ่าย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมงบประมาณ 17,624,247.62 18,244,570.11 26,358,611.48 งบบุคลากร 8,401,335.00 8,452,823.45 7,122,904.50 งบดำเนินงาน 6,228,511.76 6,199,280.59 8,635,606.98 งบลงทุน 85,700.00 535,000.00 8,702,500.00 งบอุดหนุน 2,908,700.86 3,057,466.07 1,897,600.00 งบรายจ่ายอื่น - - - 0.00 2,000,000.00 4,000,000.00 6,000,000.00 8,000,000.00 10,000,000.00 งบประมาณที่ได้รับจัดสรร หน่วย : บาท


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 9 1.4 ข้อมูลสารสนเทศสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์ 1) ข้อมูลสารสนเทศสหกรณ์(จำแนกตามประเภทสหกรณ์) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ดังนี้ 1.1) จำนวนสหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ (ถ้ามี) แยกตามสถานะสหกรณ์ ประเภท จำนวนสหกรณ์ จำนวนชุมนุมสหกรณ์ รวม ทั้งสิ้น Active NonActive Active NonActive ยังไม่เริ่ม ดำเนินการ ดำเนินการ เลิก สหกรณ์ ยังไม่เริ่ม ดำเนินการ ดำเนินการ เลิกชุมนุม สหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร - 59 1 - 1 - 61 สหกรณ์ประมง - 2 - - - - 2 สหกรณ์นิคม - - - - - - - สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - สหกรณ์บริการ - 14 - - - - 14 สหกรณ์ออมทรัพย์ - 8 1 - - - 9 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน - 32 - - - - 32 รวมทั้งสิ้น - 115 2 - 1 - 118 1.2) จำนวนสหกรณ์ (Active) และจำนวนสมาชิกสหกรณ์ ประเภท จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) จำนวนสมาชิก (ราย) สหกรณ์การเกษตร 60 165,908 สหกรณ์ประมง 2 509 สหกรณ์นิคม - - สหกรณ์ร้านค้า - - สหกรณ์บริการ 14 1,755 สหกรณ์ออมทรัพย์ 8 36,297 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 32 29,025 รวมทั้งสิ้น 116 233,494


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 10 1.3) จำนวนสหกรณ์ (Active) แยกตามเดือนสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ประเภท เดือนสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. สหกรณ์การเกษตร 3 - 31 - - 6 1 2 3 - - 14 สหกรณ์ประมง - - - 1 - - - - - - - 1 สหกรณ์นิคม - - - - - - - - - - - - สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - - - - - - สหกรณ์บริการ - - - - 1 1 - - - - - 12 สหกรณ์ออมทรัพย์ - - - - - - - - 4 - 2 2 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน - - - 1 - 1 - - 3 3 - 24 รวมทั้งสิ้น 3 - 31 2 1 8 1 2 10 3 2 53 1.4) จำนวนสหกรณ์ (Active)แยกตามผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ ประเภท ผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 สหกรณ์การเกษตร 10 20 30 สหกรณ์ประมง 2 - - สหกรณ์นิคม - - - สหกรณ์ร้านค้า - - - สหกรณ์บริการ - 5 9 สหกรณ์ออมทรัพย์ 6 - - สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 16 9 9 รวมทั้งสิ้น 34 34 49


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 11 1.5) จำนวนสหกรณ์ (Active) และปริมาณธุรกิจสหกรณ์แยกตามประเภทธุรกิจ หน่วย : ล้านบาท ประเภท จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) ปริมาณธุรกิจแยกตามประเภทธุรกิจ รับฝากเงิน ให้เงินกู้ จัดหา สินค้ามา จำหน่าย รวบรวม ผลผลิต แปรรูป ผลผลิต ให้บริการ และอื่นๆ รวม ปริมาณธุรกิจ สหกรณ์การเกษตร 60 3,240.15 1,940.51 2,154.36 3,455.93 217.40 59.47 11,067.82 สหกรณ์ประมง 2 7.56 19.52 214.18 228.04 - 44.76 514.06 สหกรณ์นิคม - - - - - - - - สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - - สหกรณ์บริการ 14 3.04 2.34 3.05 - - 2.18 10.61 สหกรณ์ออมทรัพย์ 8 11,357.99 13,592.17 - - - - 24,950.16 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 32 596.38 529.38 6.24 - - - 1,132.00 รวมทั้งสิ้น 116 15,205.12 16,083.92 2,377.83 3,683.97 217.40 106.41 37,674.65 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว 1.6) จำนวนสหกรณ์ (Active)และผลการดำเนินงานของสหกรณ์ (กำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิ) ประเภท ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) สหกรณ์การเกษตร 45 182.95 15 34.54 สหกรณ์ประมง 2 4.7 - - สหกรณ์นิคม - - - - สหกรณ์ร้านค้า - - - - สหกรณ์บริการ 11 2.8 3 0.94 สหกรณ์ออมทรัพย์ 8 1,365.99 - - สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 26 44.83 6 3.99 รวมทั้งสิ้น 92 1,601.27 24 39.47 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 12 2) ข้อมูลสารสนเทศกลุ่มเกษตรกร (จำแนกตามประเภทกลุ่มเกษตรกร) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ดังนี้ 1.1) จำนวนกลุ่มเกษตรกร แยกตามสถานะกลุ่มเกษตรกร ประเภท จำนวนกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งสิ้น Active Non-Active ยังไม่เริ่ม ดำเนินการ ดำเนินการ เลิกกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรทำนา - 13 3 16 กลุ่มเกษตรกรทำสวน - 19 1 20 กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - 6 - 6 กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ - 5 - 5 รวมทั้งสิ้น - 43 4 47 1.2) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active) และจำนวนสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ประเภท จำนวนกลุ่มเกษตรกร (แห่ง) จำนวนสมาชิก (ราย) กลุ่มเกษตรกรทำนา 13 841 กลุ่มเกษตรกรทำสวน 19 1,844 กลุ่มเกษตรกรทำไร่ 6 350 กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 5 447 รวมทั้งสิ้น 43 3,482 1.3) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active) แยกตามเดือนสิ้นปีทางบัญชีของกลุ่มเกษตรกร ประเภท เดือนสิ้นปีทางบัญชีของกลุ่มเกษตรกร ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. กลุ่มเกษตรกรทำนา 1 1 11 - - - - - - - - - กลุ่มเกษตรกรทำสวน - - 14 - - - - - - - - 5 กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - 4 - - - - - - - - 2 กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ - - 4 - - - - - - - - 1 รวมทั้งสิ้น 1 1 33 - - - - - - - - 8


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 13 1.4) จำนวนกลุ่มเกษตรกร(Active)แยกตามผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกร ประเภท ผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกร ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 กลุ่มเกษตรกรทำนา - 6 7 กลุ่มเกษตรกรทำสวน - 14 5 กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - 5 1 กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ - 2 3 รวมทั้งสิ้น - 27 16 1.5) จำนวนกลุ่มเกษตรกร(Active)และปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกรแยกตามประเภทธุรกิจ หน่วย : ล้านบาท ประเภท จำนวนกลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) ปริมาณธุรกิจแยกตามประเภทธุรกิจ รับฝากเงิน ให้เงินกู้ จัดหา สินค้ามา จำหน่าย รวบรวม ผลผลิต แปรรูป ผลผลิต ให้บริการ และอื่น ๆ รวม ปริมาณธุรกิจ กลุ่มเกษตรกรทำนา 13 - 4.70 2.14 - - - 6.84 กลุ่มเกษตรกรทำสวน 19 0.01 6.63 2.94 124.99 - - 134.57 กลุ่มเกษตรกรทำไร่ 6 - 5.90 - - - 0.35 6.25 กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 5 0.03 1.87 - - - 0.70 2.60 รวมทั้งสิ้น 43 0.04 19.10 5.08 124.99 0 1.05 150.26 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของกลุ่มเกษตรกรที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว 1.6) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active) และผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร (กำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิ) ประเภท ผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ จำนวนกลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนกลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) กลุ่มเกษตรกรทำนา 10 66.74 3 1.81 กลุ่มเกษตรกรทำสวน 14 1,419.79 5 1.59 กลุ่มเกษตรกรทำไร่ 6 7.13 - - กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 5 0.20 - - รวมทั้งสิ้น 35 1,493.86 8 3.40 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของกลุ่มเกษตรกรที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 14 3) ข้อมูลสารสนเทศกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์(จำแนกตามประเภทผลิตภัณฑ์) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ดังนี้ 3.1) จำนวนกลุ่มอาชีพแยกตามสถานะกลุ่มอาชีพ ประเภท Active Non-Active รวม ทั้งสิ้น ดำเนินธุรกิจ ดำเนินธุรกิจ เป็นครั้งคราว หยุด ดำเนินการ แจ้งยกเลิกกลุ่มแล้ว แต่ยังไม่ได้แจ้งคืนเงิน เข้าคลังจังหวัด แจ้งยกเลิกกลุ่ม และ คืนเงินเข้าคลัง จังหวัดเรียบร้อยแล้ว ติดตาม ไม่ได้ อาหารแปรรูป 5 - 80 - - 7 92 ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4 - 42 - - 4 50 ของใช้/ของตกแต่ง/ ของที่ระลึก/เครื่องประดับ 1 - 56 - - 3 60 เลี้ยงสัตว์ - - 3 - - - 3 บริการ 1 - 4 - - - 5 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1 - 2 - - - 3 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ - - 7 - - - 7 สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร/ยา 1 - 28 - - 1 30 เพาะปลูก 1 - 7 - - 1 9 ปัจจัยการผลิต - - - - - 1 1 รวมทั้งสิ้น 14 - 229 - - 17 260 3.2) จำนวนกลุ่มอาชีพ (Active) และจำนวนสมาชิกกลุ่มอาชีพ ประเภท จำนวนกลุ่มอาชีพ (แห่ง) จำนวนสมาชิก (ราย) อาหารแปรรูป 5 97 ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4 196 ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก/เครื่องประดับ 1 30 เลี้ยงสัตว์ - - บริการ 1 28 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1 25 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ - - สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร/ยา 1 12 เพาะปลูก 1 13 ปัจจัยการผลิต - - รวมทั้งสิ้น 14 401


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 15


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 16 2.1 ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน การดำเนินภารกิจพื้นฐานเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน ➢ แผนงานพื้นฐาน แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 1) งานแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและกำกับการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.1) แนะนำส่งเสริมฯ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ เป้าหมาย สรุปผลการแนะนำส่งเสริมและกำกับดูแล เป้าหมายของสหกรณ์ทั้งหมด จำนวน 116แห่ง สมาชิก 233,494 ราย และกลุ่มเกษตรกร 43 แห่ง สมาชิก 3,482 ราย สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินงานในการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ ตามขั้นตอนดังนี้ ผลการดำเนินการ ขั้นตอนที่1 การจัดทำแผนและการปฏิบัติงาน 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2) นำผลการวิเคราะห์ประเด็นการส่งเสริมของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเข้าประชุมกลุ่ม ส่งเสริมสหกรณ์เพื่อปฏิบัติงานตามแผน 3) กำหนดประเด็นการส่งเสริมของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าแนะนำ ส่งเสริมให้ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในการจัดทำแผน 4) เข้าร่วมประชุมกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่ นำประเด็นการส่งเสริมและพัฒนา สหกรณ์เข้าร่วมประชุมหารือกับคณะกรรมการสหกรณ์ ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติงาน 1) วิเคราะห์ มิติที่ 1 ความสามารถในการให้บริการสมาชิก ประเด็นการส่งเสริมเพื่อให้ สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ ดังนี้ - การประชุม การเสวนากลุ่มย่อย การให้การศึกษาอบรมแก่สมาชิก ในเรื่องของ การสร้างจิตสำนึกในการเป็นสมาชิกสหกรณ์ การเสวนารับฟังปัญหา การจัดทำข้อมูลพื้นฐานของสมาชิก การจัดกิจกรรมต่าง ๆ การระดมทุน กิจกรรมตามประเพณี การดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจรและ มีความหลากหลาย สร้างการรับรู้ข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Application line Facebook สื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการเข้าใช้บริการของสหกรณ์ 2) วิเคราะห์ มิติที่ 2 ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ประเด็นการส่งเสริมเพื่อให้ สหกรณ์มีความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 17 - ความเข้มแข็งทางด้านเงินทุน เป็นการส่งเสริมให้สหกรณ์มีการเพิ่มทุนภายใน เช่น การเพิ่มหุ้นของสมาชิก โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากเงินกู้ของสมาชิกที่มาใช้บริการ การเพิ่มทุนสำรอง การรับฝากเงินจากสมาชิก อาจกำหนดรูปแบบเงินฝากเพื่อส่งเสริมการออม เงินฝากเพื่อการศึกษา หรือเงิน ฝากเพื่อซื้อสินทรัพย์ - ผลตอบแทนของสินทรัพย์ ใช้วัดผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของสหกรณ์ ว่าสหกรณ์ ได้รับผลตอบแทนจากการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดผลกำไรกลับคืนในอัตราร้อยละเท่าใด สหกรณ์ควรมี การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินทรัพย์ของสหกรณ์ให้เกิดประโยชน์และผลตอบแทนสูงสุด เช่น การบริหารเงินสด ลูกหนี้ดอกเบี้ยรับ ให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด การบริหารสินค้าคงเหลือ และการใช้ อุปกรณ์การตลาดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด - ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ในกรณีที่สหกรณ์มีอัตราการใช้จ่าย ในการดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน มากว่าร้อยละ 50 แสดงให้เห็นว่าสหกรณ์มีค่าใช้จ่าย ดำเนินงานมากกว่ากำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน สหกรณ์จึงควรเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย โดยเฉพาะ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และติดตามรายงานผลการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามแผนงานประจำปี นำเสนอต่อ คณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ - สภาพคล่องทางการเงิน ในการวิเคราะห์อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเพื่อหาสภาพคล่อง ทางการเงิน อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเท่ากับ หรือมากกว่า 1 แสดงให้เห็นว่าสหกรณ์อาจประสบปัญหา ด้านสภาพคล่อง หนี้ระยะสั้นมากกว่าสินทรัพย์ระยะสั้น สหกรณ์จึงควรใช้แหล่งเงินทุนให้สอดคล้องกับ การใช้ไป (สั้น-สั้น ยาว-ยาว) เพื่อลดความเสี่ยงในการชำระหนี้ระยะสั้น กรณีที่สหกรณ์มีลูกหนี้ไม่สามารถ ชำระเงินกู้ระยะสั้นได้ตามกำหนด ทำให้สหกรณ์มีค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ หนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น สหกรณ์ ควรมีการเร่งรัดการติดตามลูกหนี้ที่ค้างชำระ เช่น แยกรายบุคคล และแยกอายุหนี้ ตลอดจนหนี้ปกติให้เป็นไป ตามกำหนดสัญญา เป็นต้น 3) วิเคราะห์มิติที่ 3 ประสิทธิภาพในการจัดการองค์กร - การใช้เทคโนโลยีการบัญชีในการบริหารจัดการ หรือการที่สหกรณ์มีการนำ โปรแกรมทางบัญชีมาใช้ในการจัดทำบัญชีครบทุกธุรกิจในการดำเนินงาน - การควบคุมภายใน สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรจะต้องมีการแบ่งแยกหน้าที่ ด้านการเงินการบัญชีออกจากกัน และได้ปฏิบัติงานจริงมีการจัดทำบัญชีให้ตรวจสอบได้และมีการกำหนด ระเบียบการปฏิบัติงาน - ระบบข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร (ข้อมูลข่าวสาร ระบบสารสนเทศ และการป้องกันดูแลรักษาสารสนเทศ) - ระบบการติดตามและประเมินผล ได้แก่การติดตามผลการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่สหกรณ์และผู้ตรวจสอบกิจการ การประชุมคณะกรรมการดำเนินการ การติดตามผลการดำเนินงาน ตามแผนงานและงบประมาณ และการนำข้อสังเกตและข้อบกพร่องมาพิจารณาดำเนินการ


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 18 4) ประสิทธิภาพของการบริหารงาน - ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ต้องไม่มีการฝ่าฝืนระเบียบ คำสั่งนายทะเบียน ข้อกฎหมาย - ผลการดำเนินงานในรอบสองปีบัญชีย้อนหลังสหกรณ์มีผลการดำเนินงาน ไม่ขาดทุน - ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชีสุดท้าย สหกรณ์จัดทำงบการเงินแล้วเสร็จ และส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงิน แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี - สหกรณ์จัดจ้างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำวันรับผิดชอบดำเนินงานและธุรกิจ ของสหกรณ์ เพื่อให้บริการแก่สมาชิกและผู้มาติดต่อทำธุรกิจและเพื่อให้การดำเนินธุรกิจและการให้บริการ สมาชิกเกิดเป็นรูปธรรม ขั้นตอนที่ 3 สรุปผลการปฏิบัติงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ตามศักยภาพ สหกรณ์ภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร จำนวน 116 แห่ง ประเภท ชั้นที่ 1 จำนวน คิดเป็น ร้อยละ ชั้นที่ 2 จำนวน คิดเป็น ร้อยละ ชั้นที่ 3 จำนวน คิดเป็น ร้อยละ จำนวน รวม สหกรณ์ภาคการเกษตร 12 19.35 20 32.26 30 48.39 62 สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 22 40.74 14 25.93 18 33.33 54 รวม 34 29.31 34 29.31 48 41.38 116 การแนะนำส่งเสริมสหกรณ์ภาคการเกษตรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีเป้าหมายกำหนดให้สหกรณ์ภาคการเกษตรชั้น 1 และ 2 ร้อยละ 47 โดยผลการ ประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์ภาคการเกษตร ชั้น 1 และ 2 มีจำนวน 32 แห่ง จากทั้งหมด 62 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 51.61 ซึ่งได้มากกว่าเป้าหมายที่กำหนด การแนะนำส่งเสริมสหกรณ์นอกภาคการเกษตรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีเป้าหมายกำหนดให้สหกรณ์นอกภาคการเกษตรชั้น 1 และ 2 ร้อยละ 57 โดยผลการประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์นอกภาคการเกษตร ชั้น 1 และ 2 มีจำนวน 36 แห่ง จากทั้งหมด 54 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.67 ซึ่งได้มากกว่าเป้าหมายที่กำหนด กลุ่มเกษตรกร จำนวน 43 แห่ง ประเภท ชั้นที่ 1 จำนวน คิดเป็น ร้อยละ ชั้นที่ 2 จำนวน คิดเป็น ร้อยละ ชั้นที่ 3 จำนวน คิดเป็น ร้อยละ รวม กลุ่มเกษตรกร 0 0 27 62.79 16 37.21 43


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 19 การแนะนำส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีเป้าหมายกำหนดให้กลุ่มเกษตรกรชั้น 1 และ 2 ร้อยละ 32 โดยผลการประเมินความเข้มแข็ง ของกลุ่มเกษตรกร ชั้น 1 และ 2 มีจำนวน 27 แห่ง จากทั้งหมด 43 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 62.79 ซึ่งได้มากกว่า เป้าหมายที่กำหนด ภาพกิจกรรม อบรมเพิ่มศักยภาพและยกระดับความเข้มแข็งสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเวียงเชียงรุ้ง จำกัด 2) งานกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 2.1) การตรวจการสหกรณ์ เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ ตามแผนการปฏิบัติงานและงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 การตรวจการสหกรณ์ แบ่งเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่ การตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด และการตรวจสอบสหกรณ์ ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดเชียงรายมีสหกรณ์ที่สถานะดำเนินการ จำนวนทั้งสิ้น 118 สหกรณ์โดยแบ่งเป็นกิจกรรมดังนี้ 1) การตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด : ตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด โดยนำผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง รายงานของผู้สอบบัญชี รายงานข้อสังเกตผู้สอบบัญชี ข้อมูลการวิเคราะห์สหกรณ์จากนักการเงินประจำจังหวัด โดยตรวจสอบจำนวนร้อยละ 25 ของสหกรณ์ที่มีสถานะดำเนินการ โดยไม่นับซ้ำกับสหกรณ์เป้าหมายที่ได้ ตรวจสอบโดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัดไปแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 การตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด สหกรณ์เป้าหมายร้อยละ 25 ของสหกรณ์ที่มีสถานะดำเนินการ ทั้งสิ้นจำนวน 30 สหกรณ์ โดยคณะผู้ตรวจการ สหกรณ์ที่ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ชุดที่ 1-3 ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 8/2559 เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการสหกรณ์ 2) การตรวจสอบสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ : สหกรณ์จังหวัดในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์ มอบหมายผู้ตรวจการสหกรณ์ ตรวจสอบสหกรณ์เป็นกรณีพิเศษร้อยละ 15 ของสหกรณ์ที่มีสถานะดำเนินการ โดยสหกรณ์เป้าหมายที่ได้


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 20 คัดเลือกจากการประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 การตรวจสอบสหกรณ์ ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์มีสหกรณ์เป้าหมายจำนวน 18 สหกรณ์ ขั้นตอนและผลการดำเนินการ 1) การตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด มีขั้นตอนการตรวจสอบ สหกรณ์ ดังนี้ (1) การเตรียมการก่อนการตรวจสอบ ศึกษาสหกรณ์เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหน่วยงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ก่อนการตรวจการการกำหนดทีมตรวจสอบการศึกษาข้อมูลของสหกรณ์วิเคราะห์งบ การเงิน และข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ของสหกรณ์เป้าหมาย เพื่อสรุปประเด็นสำคัญที่จะเข้า ตรวจสอบสหกรณ์ (2) การวางแผนการตรวจสอบ การจัดทำแผนปฏิบัติการโดยการประสานงานกับผู้ตรวจการสหกรณ์ให้ทราบ เป้าหมาย วัน เวลา และสถานที่ โดยเน้นการทำงานเป็นทีมการกำหนดเรื่องหรือประเด็นที่จะทำการตรวจสอบ การกำหนดเรื่องหรือประเด็นที่จะทำการตรวจสอบ และมอบหมายให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ในแต่ละคนในคณะ ตรวจการรับผิดชอบให้ชัดเจน โดยมอบตามความถนัดและความเหมาะสม (3) การประสานเพื่อเข้าตรวจสอบ การประสานงานโดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ที่รับผิดชอบ สหกรณ์ที่จะเข้าตรวจการต้องสร้างความเข้าใจกับสหกรณ์ จัดทำหนังสือแจ้งสหกรณ์ วัน เวลา จำนวน ของคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ และ ประเด็นที่ต้องการตรวจสอบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคณะ ผู้ตรวจการ เพื่อให้การตรวจสอบได้รวดเร็ว (4) การปฏิบัติการตรวจสอบ เดินทางไปตรวจการสหกรณ์ตามเวลาที่ได้แจ้งไว้ ผู้ตรวจการทุกคนต้องมี ประเด็นในการตรวจสอบให้ครบถ้วน การตรวจสอบและการบันทึกข้อมูลผลการตรวจสอบ คณะผู้ตรวจการ สหกรณ์ต้อง ตรวจสอบวิธีปฏิบัติของสหกรณ์ โดยเทียบเคียงกับเอกสารต่างๆ เช่น รายงานการประชุม ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (5) การรายงานผลการตรวจสอบ รายงานที่จัดทำนั้นมาจากข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยเอกสาร หลักฐานที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนพฤติกรรมของผู้กระทำให้สหกรณ์เสียหาย หรืออาจเสื่อมเสียผลประโยชน์ ของสหกรณ์หรือ สมาชิกเพื่อเสนอรายงานภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ช้าเกินไป รวมทั้งจัดทำรายงาน ล่าช้า การสั่งการของนายทะเบียนสหกรณ์จะไม่สามารถ ป้องกันความเสียหาย หรือ เรียกคืนความเสียหาย จากผู้กระทำผิดได้เมื่อเข้าตรวจสอบสหกรณ์ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมายเสร็จสิ้นแล้ว เสนอรายงาน การตรวจสอบตามแบบรายงานการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินท้ายคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 8/2559 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2559


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 21 ผลการตรวจสอบสหกรณ์ จากการตรวจสอบสหกรณ์เป้าหมายจำนวน 30 สหกรณ์ ไม่พบข้อบกพร่องร้ายแรง มีเพียงข้อสังเกตที่สหกรณ์ควรแก้ไขและผู้ตรวจการสหกรณ์รายงานผลให้นายทะเบียนสหกรณ์เพื่อให้ นายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาสั่งการ 2) การตรวจสอบสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์มีขั้นตอนการตรวจสอบ สหกรณ์ ดังนี้ (1) ศึกษาสหกรณ์เป้าหมาย โดยศึกษาข้อมูลของสหกรณ์วิเคราะห์งบการเงิน และ ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ของสหกรณ์เป้าหมาย เพื่อสรุปประเด็นสำคัญที่จะเข้าตรวจสอบสหกรณ์ (2) ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ที่รับผิดชอบสหกรณ์ ที่จะเข้าตรวจการต้องสร้างความเข้าใจกับสหกรณ์ จัดทำหนังสือแจ้งสหกรณ์ วัน เวลา จำนวนผู้ตรวจการสหกรณ์ และประเด็นที่ต้องการตรวจสอบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ตรวจการสหกรณ์ (3) การปฏิบัติการตรวจสอบ เดินทางไปตรวจการสหกรณ์ตามเวลาที่ได้แจ้งไว้ ตรวจสอบวิธีปฏิบัติของสหกรณ์ โดยเทียบเคียงกับเอกสารต่างๆ เช่น รายงานการประชุม ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (4) การรายงานผลการตรวจสอบรายงานที่จัดทำนั้นมาจากข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยเอกสารหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนพฤติกรรมของผู้กระทำให้สหกรณ์เสียหาย หรืออาจเสื่อมเสีย ผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือ สมาชิกเพื่อเสนอรายงานภายในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิด ข้อบกพร่อง ผลการตรวจสอบสหกรณ์ จาการตรวจสอบสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ เป้าหมาย 18 แห่ง ผู้ตรวจการ สหกรณ์รายงานผลให้นายทะเบียนสหกรณ์เพื่อให้นายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาสั่งการ ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหา 1) การนัดหมายในการเข้าตรวจการสหกรณ์บางครั้งมีการเปลี่ยนแปลงวัน เวลา โดยสหกรณ์เป้าหมายเอง ซึ่งทำให้แผนการเข้าตรวจการสหกรณ์ล่าช้าไม่เป็นไปตามแผน 2) สหกรณ์บางแห่งไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการเข้าตรวจสอบสหกรณ์เท่าที่ควร แนวทางการแก้ไข ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ติดต่อประสานสหกรณ์เป้าหมาย และทำความเข้าใจ ในการตรวจสอบสหกรณ์ให้ชัดเจน เพื่อทำให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เห็นถึงความสำคัญ ในการตรวจสอบสหกรณ์ เพื่อป้องกันการเกิดข้อสังเกตและข้อบกพร่องขึ้นได้ การตรวจการสหกรณ์ตามแผนงานและงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 การตรวจสอบ สหกรณ์โดยผู้ตรวจการสหกรณ์ดำเนินการตรวจสอบสหกรณ์ครบทุกแห่งตามแผนงานที่กำหนดและได้ทำ รายงานผลการตรวจสอบพร้อมข้อเสนอแนะ โดยผ่านกลุ่มตรวจการสหกรณ์และผู้อำนวยการกลุ่มตรวจการ สหกรณ์แสดงข้อคิดเห็นเสนอต่อนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อลงนามสั่งการต่อไป


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 22 ภาพกิจกรรม การตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 1. การตรวจสอบสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 การประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 การตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 23 การตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด การตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 24 การตรวจสอบสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ การตรวจสอบสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 25 2.2) การติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดเชียงรายมีสหกรณ์ที่มีข้อบกพร่องที่อยู่ในระบบ ตรวจการสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวนทั้งสิ้น 12 สหกรณ์จากการติดตามผลความก้าวหน้า การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตามแผนงานและและงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 มีความก้าวหน้าดังนี้ - ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จต้องติดตาม จำวน 9 สหกรณ์ แบ่งเป็น สหกรณ์ประเภทการเกษตร จำนวน 6 สหกรณ์ สหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ จำนวน 1 สหกรณ์ สหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยน จำนวน 1 สหกรณ์ สหกรณ์ประเภทบริการ จำนวน 1 สหกรณ์ - อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไข จำนวน 3 สหกรณ์แบ่งเป็น สหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยน จำนวน 2 สหกรณ์ สหกรณ์ประเภทการเกษตร จำนวน 1 สหกรณ์ ขั้นตอนการดำเนินการ 1) สรุปประเด็นข้อบกพร่องที่ยังไม่ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง 2) จัดทำแผนการเข้าติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง 3) ทำหนังสือแจ้งสหกรณ์ในการเข้าติดตามประเมินผลการแก้ไขข้อบกพร่อง วัน เวลา และสถานที่ 4) ดำเนินการเข้าติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่อง 5) รายงานผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องในระบบตรวจการสหกรณ์ ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหา 1) การฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายล่าช้าเนื่องจากการรวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เพื่อประกอบสำนวนในการส่งฟ้องมีจำนวนมาก ถูกทำลาย ไม่มีความสมบูรณ์ 2) การสืบทรัพย์ บังคับคดี ต้องมีการจ้างทนายในการดำเนินการแทนสหกรณ์ซึ่งทำให้ มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก และสืบทรัพย์แล้วยังไม่พบทรัพย์สินจำเลย 3) สหกรณ์อยู่ในระหว่างปฏิบัติตามคำพิพากษาซึ่งมีระยะเวลานาน


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 26 ภาพกิจกรรม การลงพื้นที่ติดตามติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 2.3) การจัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.) วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดเชียงราย เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดเชียงรายมีสหกรณ์ ที่มีข้อบกพร่องที่อยู่ในระบบตรวจการสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์จำนวนทั้งสิ้น 12 สหกรณ์ ขั้นตอนและผลการดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงรายจัดประชุมคณะทำงาน ระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.) จำนวน ทั้งหมด 4 ครั้ง โดยดำเนินการจัดประชุมไตรมาสละ 1 ครั้ง โดยมีขั้นตอนในการจัดประชุม ดังนี้ 1) เลขานุการหารือร่วมกับประธานคณะทำงานฯ เพื่อกำหนดระเบียบวาระการประชุม จัดเตรียมข้อมูลและสถานที่ในการประชุม รวมทั้งแจ้งกำหนดการต่าง ๆ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับรู้ล่วงหน้า 2) กำหนดระเบียบวาระการประชุม 3) ทำหนังสือเชิญประชุมคณะทำงาน ที่ปรึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง 4) จัดทำเอกสารประกอบการประชุม 5) ดำเนินประชุมตามวาระการประชุม


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 27 6) จัดทำรายงานการประชุม และรายงานผลการประชุมให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ ภายใน 15 วัน หลังการประชุม ผลการดำเนินการ การจัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดำเนินการจัดประชุมเป็นไปตาม แผนงานกำหนด จำนวน 4 ครั้ง และสหกรณ์ที่มีข้อบกพร่องสามารถดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จต้องติดตาม จำนวน 9 สหกรณ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการตามคำพิพากษาศาล และอยู่ระหว่างการสืบทรัพย์บังคับคดี และอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขจำนวน 3 สหกรณ์ ซึ่งอยู่ระหว่างชั้นพนักงานสอบสวนและอัยการ ภาพกิจกรรม การประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.) 2.4) การชำระบัญชีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เป้าหมาย ประกอบด้วย สหกรณ์ 12 แห่ง กลุ่มเกษตรกร 11 แห่ง รวมทั้งสิ้น 23 แห่ง ดังนี้ 1. สหกรณ์สวนส้มดอยวาวี จำกัด 2. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านทุ่งอ่างพัฒนา จำกัด 3. สหกรณ์ผู้เพาะเห็ดเวียงป่าเป้า จำกัด 4. สหกรณ์การเกษตรขุนตาล จำกัด 5. สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินห้วยก้าง จำกัด 6. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านป่าแดง จำกัด 7. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำเวียงหวาย จำกัด 8. สหกรณ์การเกษตรศุภนิมิตริมโขง จำกัด 9. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านศรีดอนชัย จำกัด 10. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงห้วยแล้ง จำกัด 11. สหกรณ์หนองหลวง จำกัด 12. สหกรณ์ออมทรัพย์เชียงรายโฟรเซ่นฟูดส์ จำกัด


Annual Report 2024 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย | 28 13. กลุ่มเกษตรกรทำนาเชียงเคี่ยน 14. กลุ่มเกษตรกรทำนาห้วยซ้อ 15. กลุ่มเกษตรกรทำนาป่างิ้ว 16. กลุ่มเกษตรกร ส.ก.ย.ยางพาราธารน้ำใส 17. กลุ่มเกษตรกรทำไร่ต้า 18. กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านโป่ง 19. กลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราตำบลแม่เงิน 20. กลุ่มเกษตรกรทำนาธารทอง 21. กลุ่มเกษตรกรทำนาทุ่งฟ้าผ่า 22. กลุ่มเกษตรกรทำนาจอมหมอกแก้ว 23. กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางท่าก๊อ ผลการดำเนินการ กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่หน่วยงานได้ดำเนินการ ตามตัวชี้วัด กำหนดไว้ดังนี้ 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ระหว่างชำระบัญชีขั้นตอนที่ 3 - 4 ยกระดับขึ้นสู่ ขั้นตอนที่ 5 ร้อยละ 100 (1 แห่ง) ผลการดำเนินงาน สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสามารถยกระดับขึ้นสู่ขั้นตอนที่ 5 ขึ้นไป ได้จำนวน 1 แห่ง (ร้อยละ 100) ดังนี้ ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประเภท ขั้นปัจจุบัน 1 สหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านป่าแดง จำกัด ในภาคเกษตร ชั้น 5 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั้งหมดที่อยู่ระหว่างชำระบัญชี สามารถถอนชื่อได้ ไม่ รวมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในขั้นตอนที่ 6 (คดี) ร้อยละ 25 (5 แห่ง) ผลการดำเนินงาน สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั้งหมดที่อยู่ระหว่างชำระบัญชี สามารถ ถอนชื่อได้จำนวน 6 แห่ง (ร้อยละ 26.09 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้) ดังนี้ ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประเภท/กลุ่ม เลิก ถอนชื่อ มาตรา คำสั่งที่ ลงวันที่ คำสั่งที่ ลงวันที่ 1 กลุ่มเกษตรกรทำไร่ต้า ทำไร่ 32(3) ประกาศเลิก 25 ต.ค. 64 9/2567 30 ก.ค. 67 2 กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านโป่ง ทำนา 32(3) ประกาศเลิก 3 พ.ค. 65 5/2566 20 มี.ค. 66 3 สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงห้วยแล้ง จำกัด การเกษตร 70(3) ประกาศเลิก 9 ก.ย. 65 11/2567 14 ส.ค. 67 4 กลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราตำบลแม่เงิน ทำสวน 32(3) ประกาศเลิก 20 ก.ย. 65 11/2566 5 ก.ย. 66 5 กลุ่มเกษตรกรทำนาธารทอง ทำนา 32(3) ประกาศเลิก 11 ม.ค. 67 10/2567 31 ก.ค. 67 6 สหกรณ์สวนส้มดอยวาวี จำกัด ออมทรัพย์ 70(3) ประกาศเลิก 13 ก.ค. 58 12/2567 24 ก.ย. 67


Click to View FlipBook Version