รายงานการวิจั วิจั ย ผลของการใช้สื่ ช้สื่ อ สื่ประสมปฏิสัฏิม สั พัน พั ธ์ และสื่อ สื่ เทคโนโลยี เพื่อ พื่ พัฒ พั นาทัก ทั ษะกระบวนการคิดคิทางคณิตศาสตร์ข ร์ อง นักเรีย รี นชั้น ชั้ มัธ มั ยมศึก ศึ ษาปีที่ ๓ โดย นางสาวพงษ์ลดา สินสิสุวรรณ์ ตำ แหน่ง ครู วิทวิยฐานะ ครูชำ นาญการ กลุ่มสาระการเรียรีนรู้ค รู้ ณิตศาสตร์ โรงเรียรีนสตรีเรีศรษฐบุตรบำ เพ็ญ พ็ สำ นักงานเขตพื้นพื้ที่การศึกษามัธมัยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ สำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นขั้พื้นพื้ฐาน กระทรวงศึกษาธิกธิาร โรงเรียรีนสตรีเรีศรษฐบุตรบำ เพ็ญ พ็ สำ นักงานเขตพื้นพื้ที่การศึกษามัธมัยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ สำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นขั้พื้นพื้ฐาน กระทรวงศึกษาธิกธิาร
รายงานการวิจัย เรื่อง ผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย นางสาวพงษ์ลดา สินสุวรรณ์ ครูชำนาญการ โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
2 รายงานการวิจัย เรื่อง ผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย นางสาวพงษ์ลดา สินสุวรรณ์ ครูชำนาญการ โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
ชื่อเรื่องงานวิจัย ผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชื่อผู้วิจัย นางสาวพงษ์ลดา สินสุวรรณ์ ปีการศึกษา 2565 บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อ พัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก ห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอนทั้งหมด 4 ห้องเรียน โดยทำการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับงานวิจัยนี้จำนวน 3 ห้องเรียน โดยเป็นกลุ่มนักเรียนที่เรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์ 6 (ค23102) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมคิดเป็นจำนวน 126 คน และเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีระดับ ผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาคณิตศาสตร์น้อยที่สุด 3 อันดับ เมื่อเปรียบเทียบจากกลุ่มนักเรียนที่เรียนในระดับเดียวกัน ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอน การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าคะแนนจากการทำแบบทดสอบในเรื่องนี้ โดยเปรียบเทียบค่าคะแนนที่ได้จากระยะก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีนำข้อมูลคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบทั้งในระยะก่อน และหลังเรียน มาวิเคราะห์ ข้อมูลเปรียบเทียบค่าคะแนน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่า T-Test ด้วยวิธี Paired-Sample T-Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ในระยะก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อ เทคโนโลยี มีจำนวนนักเรียนเพียงร้อยละ 47.62 ที่ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ (ได้คะแนนไม่ น้อยกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม) และมีเพียงร้อยละ 9.52 ที่ได้คะแนนจากการทดสอบคิดเป็นระดับ 3 ขึ้น ไป (ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) ซึ่งพบว่ามีจำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 3 ขึ้นไป ตามเกณฑ์ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 53) และส่วนใหญ่ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบน้อยกว่าระดับ 3 ของคะแนนเต็ม โดยได้คะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 45.48 2. ในระยะหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อ เทคโนโลยี มีจำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ (ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 87.30 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และพบว่ามีจำนวนนักเรียนที่ได้คะแนน ระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นจำนวนร้อยละ 63.49 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และกลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 53) โดยได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 62.58 และคะแนนเฉลี่ยของ การทดสอบในช่วงก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อ เทคโนโลยีนั้น มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข คำนำ รายงานการวิจัยฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยในชั้นเรียน ประจำปีการศึกษา 2565 โดยการวิจัย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การวิจัยครั้งนี้จะก่อประโยชน์ให้กับผู้เรียน และเป็นแนวทางสำหรับผู้สอนใน การแก้ปัญหา รวมถึงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ที่สูงขึ้นต่อไป ( นางสาวพงษ์ลดา สินสุวรรณ์ ) ผู้วิจัย
ค สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก คำนำ ข สารบัญตาราง จ สารบัญภาพ ฉ บทที่ 1 บทนำ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์งานวิจัย 5 สมมติฐานในการวิจัย 5 ขอบเขตในการวิจัย 5 นิยามศัพท์เฉพาะ 5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6 บทที่ 2 เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7 ทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ 7 สื่อการเรียนรู้ 11 สื่อประสม 25 สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ 29 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 31 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 32 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 36 แบบแผนการวิจัย 36 ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง 36 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 36 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือแต่ละประเภท 37 การดำเนินการวิจัย / การเก็บรวบรวมข้อมูล 38 เกณฑ์การให้คะแนน 39 การวิเคราะห์ข้อมูล 39 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 40
ง สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ 4 ผลการวิจัย 42 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 42 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 51 สรุปผลการวิจัย 51 - วัตถุประสงค์ของการวิจัย 51 - สมมติฐานการวิจัย 51 - ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง 51 - สรุปผลการวิจัย 46 อภิปรายผล 52 ข้อเสนอแนะ 53 รายการเอกสารและสิ่งอ้างอิง 55 ภาคผนวก 61
จ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 4.1 แสดงค่าคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อนและหลัง ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี 42 4.2 แสดงการเปรียบเทียบค่าคะแนน ร้อยละ และค่าสถิติเชิงพรรณนา ที่ได้จากการทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลัง ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยี 46 4.3 แสดงผลคะแนนเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และกลุ่มสาระฯ ที่ได้จากการทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลัง ได้รับการจัดการเรียนรู้ ด้วยสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยี 48 4.4 แสดงผลการทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน ที่ได้จากการทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลังได้รับ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี ด้วยวิธี Paired-Sample T-Test 50
ฉ สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 2.1 ลำดับการคิดของมนุษย์ตามแนวคิดของ Krulik & Rudnick (1993) 9 2.2 ความสัมพันธ์ของสื่อกับการเรียนการสอน 14 2.3 กรวยประสบการณ์ของ Dale 18 4.1 แผนภูมิแท่ง และแผนภูมิเส้นแสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนที่ได้จากการทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลัง ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยี 47 4.2 แผนภูมิแท่ง และแผนภูมิเส้นแสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน และ หลังเรียนคิดเป็นร้อยละที่ได้จากการทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลัง ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยี 47 4.3 แผนภูมิวงกลมเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทดสอบกับค่าเป้าหมาย ของสถานศึกษา และกลุ่มสาระฯ จากการทำแบบทดสอบในช่วง ระยะก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยี 48
บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วย ให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ และถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือใน การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติ ให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมี การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2560) สอดคล้องกับคำกล่าวของ สิริพร ทิพย์คง (2536) ที่ว่า …คณิตศาสตร์ ช่วยพัฒนาให้แต่ละบุคคล เป็น คนที่สมบูรณ์ เป็นพลเมืองดี เพราะคณิตศาสตร์ช่วยเสริมสร้างความมีเหตุผล ความเป็นคนช่างคิด ช่างริเริ่ม สร้างสรรค์มีระเบียบในการคิด มีการวางแผนในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อกิจการงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนมีลักษณะความเป็นผู้นำในสังคม... และคำกล่าวของ ยุพิน พิพิธกุล (2539) เช่นกัน ที่ว่า “วิชา คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับความคิด กระบวนการและเหตุผล คณิตศาสตร์ฝึกให้คนคิดอย่างมีระเบียบ และเป็นรากฐานของวิทยาการหลายๆ สาขา ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น ก็ล้วนแต่อาศัยคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น” เช่นเดียวกันกับ กิริยา กองชุน (2554) ที่ได้กล่าวไว้ว่าคณิตศาสตร์ เป็นกลุ่มวิชาที่ช่วยฝึกให้ผู้เรียนมีเหตุผลด้วยตนเอง ในการค้นพบความจริงว่า สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดบกพร่อง รู้จักแก้ไขให้ถูกต้องและรู้จักนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ประจำวันนั้นต้องอาศัย ความรู้ทางคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น ดังนั้นคณิตศาสตร์จึงเป็นวิชาที่สำคัญทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้ง ร่างกายจิตใจ สติปัญญาและอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข จากความสำคัญดังกล่าว จึงก่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์ขึ้นเพื่อให้ทันสมัย และ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในโลกปัจจุบัน และอนาคต โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตร และการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศไทย ได้พัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์โดย พิจารณาร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ที่กำหนดเป้าหมายและลักษณะของคนไทยใน 20 ปีข้างหน้า รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) ที่มุ่งให้การศึกษา และการเรียนรู้มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล พัฒนาคนไทยให้มีทักษะการคิด สังเคราะห์ สร้างสรรค์ ต่อยอดสู่ นวัตกรรม มีทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต และ ส่งเสริมระบบการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM Education) เพื่อพัฒนาผู้สอนและผู้เรียนในเชิงคุณภาพ โดยเน้นการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้กับการ ทำงาน (Work Integrated Learning) นอกจากนี้ สสวท. ได้ศึกษาแนวโน้มด้านการศึกษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่าประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ให้ความสำคัญกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ที่จำเป็นสำหรับคริสต์ศตวรรษที่ 21 (Partnership for the 21st Century Skills, 2016) ได้แก่ การคิดแบบมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem-Solving) การสื่อสาร (Communication) การร่วมมือ (Collaboration) และการคิดสร้างสรรค์และ
2 นวัตกรรม (Creativity and Innovation) ควบคู่ไปกับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560) แต่เนื่องจากในการเรียนการสอนโดยปกติทั่วไปพบว่านักเรียนบางคนมีความสามารถแตกต่างกันไปทั้ง ทางด้านความสามารถในการรับรู้ อัตราการเรียนรู้ นักเรียนบางคนมีความสามารถในการรับรู้ค่อนข้างช้า และมี ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนบางคนในระดับชั้นเดียวกันที่มีความสามารถใน การเรียนรู้เร็ว และมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ซึ่งสำรวจได้จากการสอบระหว่างภาค โดยนักเรียนที่มี ความสามารถในการรับรู้ค่อนข้างช้ามักจะทำคะแนนได้ค่อนข้างต่ำ หรือไม่ผ่านเกณฑ์ เห็นได้ว่า การจัดการ เรียนการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการศึกษาของ ไทยพบกับปัญหานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมาตลอด และมีแนวโน้มตกต่ำเกือบทุกรายวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์ในระยะเวลา 30 ปี นักเรียนระดับมัธยมศึกษายังไม่สามารถสอบผ่านการ ทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชาติได้ถึงร้อยละ 50 (รัตนา ตั้งศิริชัยพงษ์, 2553) ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ล้วน มีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเจตคติในด้านการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ทั้งนี้เพราะนักเรียนส่วนใหญ่คิดว่า วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก เนื่องจากวิชาคณิตศาสตร์มี ลักษณะเป็นนามธรรม ต้องอาศัยความเข้าใจในการคิดคำนวณมากกว่าการท่องจำกฎ และสูตร เมื่อนักเรียนไม่ สามารถแก้ปัญหาได้ จึงส่งผลให้ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนการสอนตามมา อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังปัจจัยด้านอื่น ๆ อีกมากมายที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหาดังกล่าว เช่น ปัญหา เกี่ยวกับบรรยากาศในชั้นเรียน ปัญหาด้านหลักสูตรที่มีการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง และปัญหา ด้านครูผู้สอน เป็นต้น ดังนั้นครูจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาของผู้เรียน โดยครู ต้องเป็นผู้สนใจในการศึกษาค้นคว้าความรู้อยู่ตลอดเวลา ปรับปรุงแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ พัฒนาตนเองให้เกิดความหลากหลาย รวมทั้งก้าวทันต่อสังคมโลกในปัจจุบัน ดังที่ สิริพร ทิพย์คง (2536) ได้ กล่าวไว้ว่า…ครูคณิตศาสตร์ที่ดีจำเป็นต้องรู้จักใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหม าะสมกับเนื้อหา และนักเรียน เพราะการใช้สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมได้มาก และช่วยครูในการจัด ประสบการณ์ให้กับนักเรียนได้หลายรูปแบบ ตลอดจนช่วยเสริมสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนในการเรียน เนื้อหาต่าง ๆ ทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น และช่วยเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชา คณิตศาสตร์... ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545 มาตรา 22 (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2545) กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้อง ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนทุกคนสำคัญที่สุด ดังนั้นครูผู้สอน จะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนโดยตรงไปเป็นผู้ส่งเสริม และสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทั้งกระบวนการและองค์ ความรู้จากสื่อที่หลากหลาย ควบคู่กับพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมของแต่ละ บุคคล ดังนั้นการจัดการเรียน ครูควรใช้วิธีการหรือสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อเป็นตัวกลางที่ช่วยในการนำ ความรู้จากครูหรือแหล่งเรียนรู้ไปยังนักเรียน ให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ส่งผลให้ครูผู้สอนในแต่ละโรงเรียนตระหนัก และพยายามที่จะช่วย พัฒนาผู้เรียนในเรื่องการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้มีความเหมาะสม มีคุณภาพตรงตามคุณลักษณะที่หลักสูตร การศึกษากำหนดไว้ โดยได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการคิด และแก้ไขปัญหา ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น กิจกรรมคลินิกคณิตศาสตร์ การทำโครงงานคณิตศาสตร์ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เป็นต้น ดังนั้น ครูจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมรูปแบบการสอนต่าง ๆ ที่มีความ หลากหลาย
3 ดังเช่นที่กัญญาพัชร ยอดกลาง (2563) ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ความพร้อมทางกายภาพ อาทิห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์เทคโนโลยี สื่อสังคม และสิ่งอำนวยความสะดวกหรือทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์การ เรียนการสอน ห้องสมุด หนังสือ ตำรา สิ่งพิมพ์ วารสาร เป็นต้น รวมถึงสิ่งสนับสนุนการเรียนในยุคปัจจุบัน ของศตวรรษที่ 21 ควรเน้นไปที่สื่อสังคม และอุปกรณ์เทคโนโลยีที่จะช่วยในการอำนวยความสะดวก อาทิเช่น Google , Youtube , Facebook , Power point เป็นต้น ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้เรียน ทำการสืบค้นและฝึกทักษะในการแสวงหาด้วยตนเอง และยังง่ายต่อการสนทนาติดต่อคุยงาน แลกเปลี่ยน ระหว่าง ผู้เรียนกับสมาชิกในกลุ่มหรือการปรึกษาสอบถามกับผู้สอน นั่นแสดงให้เห็นว่า ในการจัดการเรียนรู้ ควรต้องมีสื่อที่เหมาะสม โดยการใช้สื่อการเรียนรู้นั้น ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ และมีส่วน ช่วยในพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาของผู้เรียนได้ดี ดังนั้น ครูจึงควรต้องมีความสนใจในเรื่องการใช้สื่อต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย ทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และสื่ออื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งการใช้สื่อประสม ประกอบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เกิดการเรียนรู้และ ประสบการณ์หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ซึ่งจะช่วยในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์มาก ขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการใช้สื่อของครูผู้สอน พบว่ามีผู้ที่สนใจ และนำสื่อไปใช้ในการจัดการ เรียนการสอนมากมายหลายท่าน ดังที่ หนึ่งฤทัย เดวิเลาะ (2544) ได้ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง “อัตราส่วนและร้อยละ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบุรารักษ์จังหวัด สมุทรปราการ โดยใช้สื่อประสม ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง “อัตราส่วนและร้อยละ” โดยใช้สื่อประสมหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับ กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล (2548) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง “เส้นขนาน” โดยการสอนแบบใช้สื่อประสม ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง “เส้นขนาน” หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน และหลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ วิมลมาศ ถวาย (2551) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง “บทประยุกต์” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสม ผลการวิจัย ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง “บทประยุกต์” หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน และหลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับ สมศรี รำพรรณ์ (2552) ที่ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง “สมการ” โดยการใช้สื่อ ประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเซนต์ราฟาแอล จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งผลการศึกษา ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งนักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการ ใช้สื่อประสมว่ามีความเหมาะสม เห็นได้ว่าสื่อประสม ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยพัฒนาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และปัจจุบันด้วยบทบาทของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีเพิ่มมากขึ้นในการ ทำงานจึงทำให้ความหมายของสื่อประสมเพิ่มขึ้นจากเดิม ความหมายของสื่อประสมที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันจะ หมายถึง "สื่อประสมเชิงโต้ตอบ" หรือ “สื่อประสมปฏิสัมพันธ์” (Interactive Multimedia) โดยการเพิ่ม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสื่อและผู้ใช้ สื่อประสมสมัยนี้จึงหมายถึง การนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องเล่มซีดีรอม เครื่องเสียงระบบดิจิทัล เครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ ฯลฯ มาใช่ร่วมกันเพื่อเสนอเนื้อหาข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียงในระบบสเตริโอ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ช่วยในการผลิต การนำเสนอเนื้อหา เป็นการให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนมิใช่เพียงแต่นั่งดู หรือฟังข้อมูลจากสื่อที่เสนอมา
4 เท่านั้น แต่ผู้ใช้สามารถควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงานในการตอบสนองต่อคำสั่งและให้ข้อมูลป้อนกลับใน รูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ผู้ใช้สื่อสามารถมีปฏิสัมพันธ์ตอบสนองซึ่งกันและกันได้ทันที(“คอมพิวเตอร์ที่ใช้ใน สื่อประสม”, ม.ป.ป.) สอดคล้องกับ บทความส่วนหนึ่งของรายวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการ สื่อสารทางการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา (2559) ที่กล่าวไว้เกี่ยวกับสื่อ และสื่อประสม ปฏิสัมพันธ์ ดังนี้ มัลติมีเดีย (MULTIMEDIA) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทาง คอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียง และวีดิทัศน์ รวมถึงการใช้ คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวีดิทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้ แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า "มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)" กล่าวคือ อินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย (Interactive Multimedia) หมายถึง สื่อประสมที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถจัดการกับข้อมูลภาพและเสียง ให้แสดงผลบนจอในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ไม่ใช่การแสดงผลรวดเดียวจบ (run through) แบบวีดิทัศน์หรือภาพยนตร์และไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) คือ ผู้ชมเป็นผู้ดูฝ่ายเดียวอีกต่อไป ส่วนมากใช้คำว่า "สื่อประสมปฏิสัมพันธ์" เกี่ยวกับทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า-19 ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้โรงเรียน ต้องมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้แบบออนไลน์นั้น ครู และผู้เรียนมีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวในการเรียนรู้ร่วมกันให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ แต่จากการสังเกต พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนบางส่วนอาจยังไม่มีความพร้อมในการเรียนแบบออนไลน์ได้อย่าง เหมาะสม ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการเรียนรู้แบบออนไลน์นั้น ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ที่มากกว่าแบบออน ไซต์ ประกอบทั้งไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนที่ต้องตื่นแต่เช้า จึงทำให้ผู้เรียนนอนดึก ตื่นสาย ขาด ความสดชื่นในการเรียนรู้ เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ขาดปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ระหว่างครูผู้สอน ได้ ดังนั้นครูจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในรูปแบบออนไลน์ที่ช่วย กระตุ้น และสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมทางการเรียนรู้ที่เหมาะสม รวมถึงครูควรต้องมีความสนใจใน เรื่องการใช้สื่อต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียน และสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนดได้อย่างมีคุณภาพ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าการใช้สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Interactive เช่น Live Worksheets เกมออนไลน์ รวมถึง โปรแกรม Applications และ websites ต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ อาจเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับผลของการผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อ พัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อีกทั้งอาจส่งผลต่อการยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมถึงสามารถนำผลที่ได้จากการทำวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ เรียนการสอนต่อไป
5 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สมมติฐานของการวิจัย การจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีจะช่วยพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ทำให้ผู้เรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้น ขอบเขตของการวิจัย 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ทำการวิจัยในเนื้อหาเรื่อง เรื่อง ความคล้าย ซึ่งอยู่ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2. สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีของการวิจัยครั้งนี้ เช่น Live Worksheets Top Worksheets เกมออนไลน์ รวมถึง โปรแกรม Applications และ website ต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ . 3. ประชากรของการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ห้องเรียน ได้แก่ ม.3/2, ม.3/8, ม.3/9 และ ม.3/11 รวมคิดเป็นจำนวนนักเรียนทั้งหมด 161 คน 4. กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก ห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอนทั้งหมด 4 ห้องเรียน โดยทำการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับงานวิจัยนี้จำนวน 3 ห้องเรียน โดยเป็นกลุ่มนักเรียนที่เรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์ 6 (ค23102) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมคิดเป็นจำนวน 126 คน และเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีระดับ ผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาคณิตศาสตร์น้อยที่สุด 3 อันดับ เมื่อเปรียบเทียบจากกลุ่มนักเรียนที่เรียนในระดับเดียวกัน ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอน 5. ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ 5.1 ตัวแปรอิสระ การจัดการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี 5.2 ตัวแปรตาม ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 6. การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในปีการศึกษา 2565 นิยามศัพท์เฉพาะ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หมายถึง คะแนนที่ได้จากการสอบโดยใช้แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังจากการเรียน เรื่อง ความคล้าย ตรงตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีหมายถึง สื่อการเรียนรู้หลายประเภทที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาใช้ ประกอบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ ใบงาน ใบความรู้ใบ กิจกรรม เช่น Live Worksheets Top Worksheets เกมออนไลน์ โปรแกรม Applications และ websites ต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ รวมถึงสื่อของจริง สื่อเทคโนโลยี E-Learning และสื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ จาก อินเตอร์เน็ต
6 การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียน การสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิด การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และช่วยชี้แนะแนวทางในการ ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของนักเรียน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ ประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อทำให้ทราบถึงระดับพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนใน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี 2. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู หรือผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อ ประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับชั้นต่างๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่น ๆ ได้
7 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษารายละเอียดต่างๆ ดังนี้ 1. ทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ 2. สื่อการเรียนรู้ 3. สื่อประสม สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี 4. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารที่เกี่ยวข้อง ทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ ทักษะกระบวนการคิดเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อให้นักเรียน สามารถปรับประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตในสภาวการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้ โดยผู้วิจัยได้ สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้ ความหมายและความสำคัญของทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีนักการศึกษาที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ ดังที่ นิวัฒน์ สาระขันธ์ (2564) เป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสนใจ และทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวช้อง สรุปใจความ ได้ดังนี้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์(Mathematical skills and Mathematical process) เป็น ความสามารถหรือความชำนาญในการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทักษะและกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของศักยภาพทางคณิตศาสตร์ (Mathematic proficiency) ของ ผู้เรียนทุกคน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์มีความหมาย การจัดการศึกษาคณิตศาสตร์จึงมุ่ง ให้ผู้เรียนมีทั้งความรู้และทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ควบคู่กันไป และความสามารถในการนำ ความรู้ไปใช้ซึ่งเป็นทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์นั้น เป็นเครื่องมือของผู้เรียนในการทำให้ความรู้ทาง คณิตศาสตร์มีความหมายและมีคุณค่ามากกว่าเป็นเพียงวิชาที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์และขั้นตอนการแก้ปัญหา ในห้องเรียน ความรู้และทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์จึงเป็นของคู่กัน และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการ แก้ปัญหาในชีวิตจริง มนุษย์ใช้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการ แก้ปัญหาชีวิตหรือการใช้เหตุผลในสังคม แต่อาจไม่รู้ตัว เพราะคิดว่าการใช้คณิตศาสตร์ต้องมีตัวเลขและการ คำนวณเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยความสำคัญที่มนุษย์จำเป็นต้องมีและใช้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใน ชีวิตประจำวัน จึงมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในขณะสอนเนื้อหา คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องในทุกระดับของผู้เรียน เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ทั้งความรู้และทักษะและกระบวนการควบคู่ กันไป ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่เน้นในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในต่างประเทศและ ประเทศไทยคล้ายคลึงกัน โดยประกอบด้วย 5 ทักษะหลัก หรือที่มักเรียกกันว่า ทักษะ 1P 1R 3C ตามตัวอักษร ภาษาอังกฤษตัวแรกของแต่ละทักษะ ดังนี้
8 การแก้ปัญหา (Problem solving) การให้เหตุผล (Reasoning) การสื่อสาร สื่อความหมาย และการนำเสนอ (Communications and presentations) การเชื่อมโยง (Connections) การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) หลายทักษะและกระบวนการที่เน้นในการศึกษาระดับโรงเรียนหรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็น องค์ประกอบของทักษะชีวิตและทักษะพื้นฐานในการทำงาน การพัฒนา ทักษะและกระบวนการทาง คณิตศาสตร์ในผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในการ ทำงานและการดำรงชีวิตในสังคม ทำ ให้สามารถอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ และทำให้มีความพร้อมสำหรับ การเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนา สังคม อย่างไรก็ตาม ทักษะที่เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์คือ ทักษะการคิด หากพิจารณาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จะเห็นว่าแต่ละทักษะ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการคิด หากผู้เรียนไม่คิด คิดไม่เป็น หรือคิดไม่ได้ก็จะไม่สามารถพัฒนาทักษะและ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้ ดังนั้น การฝึกการคิดให้กับผู้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่ไปกับการ พัฒนาทักษะและกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ ทักษะการคิดกับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ Kulk & Rudnick (1993 อ้างใน นิวัฒน์ สาระขันธ์, 2564) ได้กล่าวไว้ว่า การคิดเป็น ความสามารถของผู้เรียนในการหาข้อสรุปที่สมเหตุสมผลจากข้อมูลที่มีอยู่ในการทำงานอย่างหนึ่ง ผู้เรียนอาจ ต้องใช้การคิดในหลายลักษณะประกอบกัน เช่น การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หนึ่งข้อ อาจต้องใช้การคิด วิเคราะห์โจทย์ การคิดอย่างเป็นเหตุผลถึง กระบวนการแก้ปัญหา การคิดสังเคราะห์ เพื่อนำความรู้ย่อยๆ ที่มี มาประกอบกันเพื่อแก้ปัญหา เป็นต้น การพัฒนาทักษะการคิดที่หลากหลายให้กับผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียน พัฒนาทักษะอื่นได้ อย่างไรก็ตาม การคิดเป็นความสามารถทางสมองที่ต้องมีการฝึกอย่างยาวนาน ผู้ที่คิดเป็น และคิดเก่งมักเป็นผู้ที่ขอบคิด และมีการฝึกการคิดอย่างต่อเนื่องในเวลานาน การสอนการคิด (Teaching of thinking) เป็นการสอน ทักษะการคิดโดยตรง โดยอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสมองที่นำมาใช้ในการคิด และการสอนเพื่อฝึกให้คิด (Teaching for thinking)เป็นการสอนเนื้อหาวิชาปกติ แต่ใช้กระบวนการจัดการ เรียนรู้เพื่อเน้นความสามารถในการคิดของผู้เรียน การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องใน ชั้นเรียน ไม่ว่าจะเป็นการคิดลักษณะโด ผู้สอนควรฝึกให้ผู้เรียนได้เริ่มต้นคิด ได้พยายามคิด ไม่ว่าจะคิดได้หรือ คิดไม่ได้ จะคิดถูกหรือคิดผิด เพื่อที่ผู้เรียนจะได้คุ้นเคยและรักการคิด ความสามารถในการคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสร้างวิธีใช้ ความรู้ของตนเอง เช่น คนขายของข้างถนนสามารถพัฒนาวิธีและเทคนิคการคิดเลขในใจที่ไม่มีการสอนใน โรงเรียน โดยใช้ประสบการณ์ของตนเองจากการคิดเงิน ทอนเงิน ที่ทำได้อย่างถูกต้องและ รวดเร็ว (Schlierman & Carraher, 2002) หรือคนทำครัวที่ไม่ได้เรียนหนังสือ แต่สามารถคิดและจัดเตรียมเครื่องปรุง อาหารแต่ละชนิดได้พอดีกับจำนวนคนที่มารับประทาน ทั้งที่ไม่มีความรู้และไม่ได้ผ่านการทดสอบเรื่อง อัตราส่วนและสัดส่วน (Carraher, & Schliemann, 1985) สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นผลจากการคิดทั้งสิ้น การพัฒนา ให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากผู้เรียน จะได้ใช้การคิดเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการเรียนรู้ที่ชาญฉลาดสามารถคัดกรองความรู้และ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
9 การคิดของมนุษย์เป็นไปตามลำดับความซับซ้อนของกระบวนการทางปัญญา เริ่มต้นจากระดับ ต่ำสุดคือการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่จำได้หรือรู้มาหรือเป็นสิ่งที่ระลึกได้ ซึ่งมักจะเป็นข้อมูล หรือข้อเท็จจริง การคิดใน ระดับต่อจากนั้น เป็นการคิดระดับพื้นฐานที่ต้องใช้ความเข้าใจประกอบการคิด แล้วจึงสามารถคิดต่อไปถึง ระดับการวิเคราะห์และสร้างสรรค์ การคิดระดับพื้นฐาน การคิดวิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดให้ เหตุผล(Reasoning) ในขณะที่การคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดระดับสูง (Higher orderthinking) (Krulik & Rudnick, 1993) ลำดับการคิดดังกล่าวแสดง ได้ตามแผนภาพ 2.1 อย่างไรก็ตาม การคิดในแต่ละระดับอาจคาบเกี่ยวกัน จึงไม่แยกจากกันโดยเด็ดขาด การพัฒนาการคิดในลักษณะนี้ ทำให้ มนุษย์สามารถคิดสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ และสามารถจำแนกได้ว่า สิ่งใดเป็นความคิดเห็นหรือความรู้สึก สิ่งใด เป็นข้อเท็จจริง และควรใช้สิ่งใดประกอบการคิดและ ตัดสินใ ภาพที่2.1 ลำดับการคิดของมนุษย์ตามแนวคิดของ Krulik & Rudnick (1993 : 98) ที่มา: นิวัฒน์ สาระขันธ์(2564) จากลำดับการคิดข้างต้น ทำให้ได้แนวคิดว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้คิดนั้น ผู้สอน ต้องมั่นใจว่าผู้เรียนมีพื้นฐานการคิดเพียงพอที่จะสามารถคิดเพื่อทำงานที่กำหนดให้ได้ เช่น ถ้างานที่กำหนดให้ ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ ผู้สอนต้องมั่นใจว่าผู้เรียนมีความรู้ความจำ และความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงาน นั้นเพียงพอที่จะเป็นพื้นฐานในการคิดวิเคราะห์ได้ และเมื่อต้องการให้ผู้เรียนคิดในลักษณะใด ผู้สอนต้อง วิเคราะห์ลักษณะสำคัญของการคิดนั้น เพื่อที่จะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ ลักษณะของการ คิดนั้น ในที่นี้จะได้กล่าวถึงการคิดในลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการ คิดลักษณะนั้น ๆ ดังต่อไปนี้ 1. การคิดเชิงวิเคราะห์(Analytic thinking) เป็นการคิดแยกแยะ ตีความ และขยายความจากสิ่ง ที่มีอยู่ คิดหาความสัมพันธ์ คิดเพื่อเขียนพิสูจน์และวิพากษ์วิจารณ์ การพิสูจน์ เป็นการแปลความหมายหรือ ตีความข้อมูลจากปัญหาคณิตศาสตร์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต้องเน้นการให้ข้อมูลหรือสถานการณ์ที่เป็น ภาพรวมเพื่อให้ผู้เรียนจำแนก แยกแยะ หรือค้นหาองค์ประกอบย่อย
10 2. การคิดเชิงสังเคราะห์(Synthetic thinking) เป็นการคิดที่มีการผสมผสานส่วนย่อยเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เช่น การสังเคราะห์ความรู้ย่อย ๆ ทางคณิตศาสตร์ หรือสังเคราะห์ ความรู้คณิตศาสตร์ ร่วมกับข้อมูลหรือความรู้อื่น ทำให้ได้ข้อมูลใหม่ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องเน้น การให้ข้อมูลย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกันด้วยความสัมพันธ์บางอย่าง เพื่อให้ผู้เรียนได้คิดหาความสัมพันธ์และเชื่อมโยง ข้อมูลย่อยๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกัน จนได้ความรู้หรือแนวคิดใหม่ 3. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ (Critical thinking) เป็นการคิดที่มี การพิจารณา ไตร่ตรอง โดยใช้ข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ เช่น การคิดทบทวน กระบวนการแก้ปัญหาว่า ถูกต้อง เหมาะสม หรือสมเหตุสมผลหรือไม่ อย่างไร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องเน้นการให้สถานการณ์ที่ ยังไม่ชัดเจน และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ผู้เรียนสามารถจะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาไตร่ตรองได้ 4. การคิดเชิงตรรกะ (Logical thinking) เป็นการคิดเพื่อสรุปผลจากเหตุหรือสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้น โดยข้อสรุปที่ได้ต้องสอดคล้อง สมเหตุสมผล และเป็นจริงตามข้อกำหนด การคิดลักษณะนี้ แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้ 4.1 การคิดแบบนิรนัย (Deductive thinking) เป็นการคิดจากส่วนรวมไปยังส่วนย่อย เช่น การ พิจารณาว่าจะใช้ทฤษฎีบท กฎ สูตร และนิยามทางคณิตศาสตร์ที่ระบุไว้กับปัญหา ได้อย่างไร การจัดกิจกรรม การเรียนรู้จึงต้องเน้นการให้ข้อมูลหรือสถานการณ์ เพื่อให้ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสรุปที่เป็นไปตามหลักการทั่วไป 4.2 การคิดแบบอุปนัย (Inductive thinking) เป็นการคิดโดยใช้ข้อเท็จซึ่งย่อย ๆ ไปสู่กฎ หรือ หลักทั่วไปที่เป็นส่วนรวม เช่น การพิจารณาความสัมพันธ์เพื่อหาแบบรูปหรือความสัมพันธ์ทั่วไป การจัด กิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องเน้นการให้ข้อเท็จจริงย่อย ตัวอย่าง หรือสถานการณ์ เพื่อให้ผู้เรียน สังเกต ลักษณะร่วมหรือแบบรูป แล้วสร้างสมมติฐาน ตรวจสอบ และนำไปสร้างเป็นหลักการทั่วไป 5. การคิดสร้างสรรค์(Creative thinking) เป็นการสร้างแนวคิดที่แปลกใหม่ หาวิธีการแก้ปัญหา หรือหาคำตอบที่ง่ายกว่า สะดวกกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า การจัดกิจกรรม การเรียนรู้จึงต้องเอื้อให้ ผู้เรียนได้คิดและทำงานอย่างอิสระ โดยอาจให้งานที่สามารถทำได้ หลากหลายวิธี หรือการให้คำถามหรือปัญหา ปลายเปิด (Open ended problem) ซึ่งอาจเป็นการเปิดคำตอบคือมีหลากหลายคำตอบ หรือเป็นการเปิด กระบวนการคือทำให้หลากหลายวิธี. 6.การคิดเชิงประเมิน (Evaluative thinking) เป็นการคิดหาข้อดีและข้อจำกัด หาทางเลือก พิจารณาข้อได้เปรียบเสียเปรียบ ประเมิน เพื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด เป็นการประเมินกระบวนการ แก้ปัญหา วิธีการที่ใช้ และความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องให้สถานการณ์ที่ มีข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด เงื่อนไข และทางเลือกที่หลากหลาย 7. การคิดเชิงระบบ (Systematic thinking) เป็นความสามารถในการคิดเชิงภาพรวมหรือการ จัดระบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องเน้นการทำงานที่มีหลายๆ ส่วน หรือหลายๆ องค์ประกอบ แต่ละ ส่วนมีวิธีหรือขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้คิดวางแผน และจัดระบบการทำงานให้เป็นผลสำเร็จ นักจิตวิทยาและนักวิจัยทางด้านการคิดมีความเห็นสอดคล้องกันว่า กระบวนการคิดของมนุษย์ มีความซับซ้อน คุณภาพการคิดของมนุษย์ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่จะทำให้ ผู้เรียนคิดได้หรือคิดไม่ได้ องค์ประกอบที่สำคัญของการคิดมีดังนี้ 1. ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่คิด (Domain-specific knowledge) การคิดเกี่ยวกับเรื่องใดก็ตาม ผู้คิด จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนั้นดีพอ จึงจะทำให้คิดได้และทำให้การคิดบรรลุจุดมุ่งหมาย 2. กระบวนการพื้นฐานของการคิด (Basic process of thinking) กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การคิดมีหลากหลาย เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์หรือ ความสอดคล้อง การ สร้างข้อความคาดการณ์ ข้อโต้แย้ง การหาข้อสรุป การวิเคราะห์ ความสมเหตุสมผล
11 3. ความตระหนักรู้ในการคิด (Metacognition) ในกระบวนการคิด ผู้ติดจะมีความตระหนักใน การคิดของตน ซึ่งเป็นการกำกับและตรวจสอบกระบวนการคิดของตนว่าเหมาะสม ถูกต้องหรือสมเหตุสมผล เพียงใด และควรปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้อย่างไร 4. เจตคติต่อการคิด ( Attitude toward thinking ) เป็นการเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการ คิด มีความรู้สึกที่ดีต่อการคิด และพร้อมที่จะคิดเมื่อมีโอกาส รวมถึงการเห็นคุณค่าของการรับฟังความคิดเห็น ของผู้อื่นที่จะทำให้คนได้รับความรู้และได้ก็ตาม การให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ผู้สอนจึงต้องตระหนักถึงองค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนจะสามารถคิดได้ นั่นคือ ผู้สอนต้องมั่นใจว่าผู้เรียนมีความรู้เพียงพอในเรื่องที่กำลังจะติด นั้น หากไม่แน่ใจ ผู้สอนอาจต้องทบทวนหรือให้ความรู้พื้นฐานที่จะสามารถนำไปใช้ได้ ในขณะเดียวกัน ผู้สอน ควร แนะเพื่อให้ผู้เรียนใช้กระบวนการพื้นฐานของการคิดให้เหมาะสม เช่น อาจแนะให้ใช้การสังเกต การ เปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้เรียนมีแนวทางที่จะคิด ผู้สอนควรฝึกให้ผู้เรียนตรวจสอบการทำงานของตนอย่างต่อเนื่อง หากมีข้อผิดพลาดในตอนใด จะได้แก้ไขหรือปรับเปลี่ยนได้ทัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาใน การเริ่มต้นทำงานใหม่ นอกจากนี้ผู้สอนควรพยายามสร้างเจตคติที่ดีต่อการคิดให้ผู้เรียน ด้วยการทำให้ ผู้เรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ ของการคิด มีความรู้สึกที่ดีหรือรอยการคิด และพร้อมที่จะคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ การเตรียมผู้เรียน ให้มี องค์ประกอบครบทั้งสี่ประการ จะทำให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะคิด และประสบความสำเร็จในการคิด สื่อการเรียนรู้ ความหมายของสื่อการเรียนรู้ มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของสื่อการเรียนรู้ไว้มากมาย ดังนี้ สิริพร ทิพย์คง (2536) กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางในการนำ ความรู้ไปสู่นักเรียน และทำให้การเรียนการสอนนั้นดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดีได้แก่ เอกสารแนะแนวทาง ชุดการเรียนการสอนรายบุคคล แผ่นภาพ แผนภูมิสไลด์เทปบันทึกเสียง โทรทัศน์ฟิล์ม สตริป ภาพยนตร์เกม ปริศนา กระดานดำ ตัวนักเรียน เป็นต้น ต่อมา กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล (2548) ได้ให้ ความหมายของสื่อการเรียนรู้ไว้ว่า สื่อการเรียนรู้หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือกิจกรรมที่เป็นตัวกลางในการนำ ความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จดีมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับ สุดใจ เหง้าสีไพร (2549) ได้ให้ความหมายของสื่อการเรียนรู้ไว้ว่า สื่อการเรียนรู้หมายถึง ทุก สิ่งที่อยู่ในรูปของวัสดุอุปกรณ์และ/หรือวิธีการที่นำไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน โดยทำหน้าที่บรรจุและ ส่งผ่านข้อมูลข่าวสารอันเป็นสาระการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจมีบทบาทในฐานะสิ่งที่ช่วยครูในการถ่ายทอด หรือทำหน้าที่ถ่ายทอดด้วยตัวสื่อเอง ผ่าน กระบวนการเรียนของผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียน นอกจากนี้ จิราวรรณ เทพจินดา (2551) ที่ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์วิธีการ และอาจรวมไปถึงบุคคล เหตุการณ์สถานที่ ประสบการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้เป็น ตัวกลาง ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปยังผู้เรียนให้เข้าใจเนื้อหาได้มากที่สุดตามจุดมุ่งหมาย สอดคล้องกันกับ ณรงค์ฤทธิ์ฉายา (2552) ได้ให้ความหมายของสื่อการเรียนรู้ไว้ว่า สื่อการเรียนรู้หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางที่ ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนได้รับรู้ข่าวสารซึ่งกันและกัน สื่อการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้รวดเร็วขึ้น เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น โดยผู้สอน จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการรับรู้การเรียนรู้การสื่อความหมาย ความสำคัญและความหมายของสื่อการเรียนรู้
12 ในขั้นพื้นฐานก่อน เพื่อการเลือกสื่อการเรียนรู้การเลือกสรรสื่อการเรียนรู้ทำได้ง่าย และสอดคล้องกับ ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเป็นผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ถือว่ามีความสอดคล้องกับนักการศึกษาต่างประเทศที่ได้ให้ความสำคัญ และสนใจเกี่ยวกับเรื่องของสื่อการเรียนรู้มาเป็นเวลานานแล้ว ดังเช่น Page and Thomas (1977 อ้างใน ยุพิน พิพิธกุล และ อรพรรณ ตันบรรจง, 2536) กล่าวว่าสื่อการเรียนรู้หมายถึง เครื่องมือทางกายภาพของเทคโนโลยี ทางการศึกษาหรือเทคโนโลยีทางการเรียนรู้อันประกอบด้วยสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม เทปและเครื่องบันทึก ซึ่งนำมาใช้ โดยเฉพาะ เพื่อส่งเสริมให้ระบบการเรียนรู้เป็นไปอย่างสมบูรณ์และกว้างขวาง จากความหมายของสื่อการเรียนรู้ข้างต้น สรุปได้ว่า สื่อการเรียนรู้หมายถึง วัสดุอุปกรณ์เทคนิค วิธีการที่เป็นตัวกลางช่วยให้เกิดการสื่อสาร สื่อความหมาย ถ่ายทอด หรือนำความรู้เพื่อให้เกิดกระบวนการ เรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายของการสอน ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ สมบูรณ์สงวนญาติ(2534) ได้ให้ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอนดังนี้ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ 2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้น โดยใช้เวลาน้อยลง 3. ช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียน และมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง 4. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ มั่นใจ และจดจำได้นาน 5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในการเรียนรู้ 6. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ ในการเรียนรู้ได้ 6.1) ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น 6.2) ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น 6.3) ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง 6.4) ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้ดูเร็วขึ้น 6.5) ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา 6.6) ทำสิ่งที่เล็กมากให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น 6.7) นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาในปัจจุบัน 6.8) นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาในห้องเรียนได้ 7. ช่วยลดการบรรยายของผู้สอนลง แต่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น 8. ช่วยลดการสูญเปล่าทางการศึกษา เพราะช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้นผู้เรียนตกน้อยลง
13 ส่วน ยุพิน พิพิธกุล และ อรพรรณ ตันบรรจง (2536) ได้กล่าวถึงความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ดังนี้ 1. สื่อการเรียนรู้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 2. ช่วยในการสอนนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน เช่น นักเรียนบางคนซึ่งเรียนอ่อนอาจจะต้อง ใช้รูปภาพ สื่อรูปภาพ หรือชุดการเรียนการสอนรายบุคคล ช่วยให้เขาบรรลุจุดประสงค์ในการเรียน 3. ช่วยเสริมสร้างความสนใจของนักเรียน 4. ประหยัดเวลาในการสอน บางคนกล่าวว่าทำให้เสียเวลา ความจริงนั้นไม่เสียเวลาเลย คนที่ว่า เสียเวลาเพราะใช้สื่อการเรียนรู้ไม่เป็น 5. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ซึ่งนำไปสู่นามธรรมและทำให้นักเรียนเกิดความ เข้าใจแน่นแฟ้น และจำได้นาน 6. ใช้สื่อการสอนนั้นเพื่อช่วยในการอธิบายขยายข้อความและสรุปข้อความก็ได้ 7. เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียน 8. ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เอกวิทย์แก้วประดิษฐ์(2545) ได้กล่าวถึงความสำคัญของสื่อการเรียนการสอนดังนี้ เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนมีบทบาททั้งต่อระบบการศึกษาโดยรวม ต่อผู้สอนและต่อผู้เรียนโดยตรง จึงถือได้ว่าสื่อที่นำมาใช้ในกระบวนการให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีความสำคัญหรือความพิเศษและ สามารถสร้างคุณค่าในฐานะต่างๆ คือ 1. ความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องช่วยการสอนของผู้สอน (teaching aids) โดยสามารถทำให้ผู้สอน สอนเนื้อหาได้ง่ายขึ้น รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น สอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ลดการบรรยายของผู้สอน ลงได้ทำให้ผู้สอนมีเวลาดูแลผู้เรียนที่เรียนอ่อนได้มากขึ้น มีเวลาพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น 2. ความสำคัญในฐานะที่เป็นเครื่องช่วยการเรียนของผู้เรียน (learning aids) โดยสามารถทำให้ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายของสื่อในรูปแบบต่างๆ การเรียนการสอน ครู สื่อ นักเรียน ผู้เรียนเรียนได้มากขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนและมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนอย่างกระฉับกระเฉง เกิดความประทับใจซึ่งนำไปสู่การจดจำได้นาน สร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ไขปัญหาในการเรียนรู้และช่วยให้เอาชนะข้อจำกัดต่างๆ ได้ 3. ความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องช่วยบริหารและจัดการเรียนการสอน (instructional administration and management) โดยสามารถปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนจากการเป็นผู้บอกหรือ ถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้จัดการ และกำกับดูแล คอยชี้แนะให้กับผู้เรียนในการใช้สื่อเป็นแหล่งความรู้แทนการ รับจากครูทำให้สามารถจัดรูปแบบการเรียนการสอนได้หลายลักษณะ เช่น เรียนเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย รายบุคคล เรียนระบบทางไกล การศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบและตามอัธยาศัย เป็นต้น
14 4. ความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องช่วยเพิ่มคุณภาพการศึกษา (educational qualities) โดยสามารถ แก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนผู้เรียนที่เพิ่มขึ้น การมีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันของผู้เรียนและสร้างความเสมอภาค แก่ผู้เรียน เป็นต้น ชาญชัย ยมดิษฐ์(2548) ได้กล่าวถึงความสำคัญของสื่อการเรียนการสอนว่า สื่อการเรียนการสอนมี ความสำคัญต่อการเรียนรู้ประดุจเสาหลักของการสอน เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่าย มี ประสิทธิผลและเกิดประสิทธิภาพ มีความเกี่ยวข้องกันดังภาพที่ 2.1 ภาพที่2.2 ความสัมพันธ์ของสื่อกับการเรียนการสอน ที่มา: ชาญชัย ยมดิษฐ์(2548) ซึ่งสอดคล้องกับ Erickson (1972 อ้างใน ศิริพงศ์ พะยอมแย้ม, 2533) นักการศึกษาต่างประเทศ ที่ กล่าวถึงความสำคัญของสื่อการเรียนรู้โดยสรุปดังนี้ 1. สื่อการเรียนรู้จะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี 2. สื่อการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้หลายรูปแบบ 3. สื่อการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนองตามที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน 4. สื่อการเรียนรู้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆ รูปแบบ 5. สื่อการเรียนรู้จะช่วยสอนสิ่งที่อยู่ในที่ลี้ลับ ไม่สามารถนำมาให้ดูโดยตรงได้ 6. สื่อการเรียนรู้จะช่วยในการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมาก ยิ่งขึ้น 7. สื่อการเรียนรู้จะช่วยวินิจฉัยหรือการซ่อมเสริมผู้เรียนได้ เห็นได้ว่า สื่อการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นสิ่ง ที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ได้ด้วยการค้นพบ ทำให้เกิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
15 ประเภทของสื่อการเรียนรู้ บุญทัน อยู่ชมบุญ (2529) ได้กล่าวถึงประเภทของสื่อการเรียนรู้ในปัจจุบันว่ามี2 ประเภท โดยมี รายละเอียดดังนี้ 1. สื่อสำเร็จรูป ได้แก่ สื่อการเรียนรู้ที่มีการผลิตขึ้นจำหน่ายเป็นชิ้นเรียบร้อย เช่น เครื่องตวง มาตรฐานต่างๆ เครื่องชั่งแบบตั้ง หรือวิทยุสไลด์ไม้โปรแทรกเตอร์ฯลฯ 2. สิ่งที่จัดทำขึ้นเอง สื่อการเรียนรู้บางอย่างครูสามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้หรือให้นักเรียนช่วยกันทำ ช่วยกันหามา เช่น ตัวนับต่างๆ เครื่องตวงที่ไม่ได้มาตรฐาน เครื่องชั่งสองแขนอย่างง่าย เป็นต้น ยุพิน พิพิธกุล (2539) ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้4 ประเภท ดังต่อไปนี้คือ 1. วัสดุได้แก่ 1.1) วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ได้แก่ หนังสือเรียน คู่มือครูเอกสารประกอบการสอน โครงการสอน วารสาร จุลสาร หนังสืออ่านประกอบ บทเรียนแบบโปรแกรมเอกสารแนะแนวทาง เอกสาร ฝึกหัด บทเรียนการ์ตูน บทเรียนกิจกรรม บทเรียนสำหรับเรียนด้วยตนเอง 1.2) วัสดุประดิษฐ์เป็นสิ่งที่ครูสามารถทำด้วยตนเอง อาจจะใช้กระดาษ ไม้พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูนำมาประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน เช่น ใช้กระดาษทำรูปทรงต่างๆหรือภาพเขียน แผ่น ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิบัตรคำ กระเป๋าผนัง แผ่นภาพพลิก กระดานตะปูกระดานผ้าสำลีชุดการเรียน การสอน สไลด์ประกอบเสียง 1.3) วัสดุถาวร ได้แก่กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลองของตัวอย่าง โปสเตอร์แผนที่แผ่นเสียง ฯลฯ 1.4) วัสดุสิ้นเปลือง ได้แก่ชอล์ก ฯลฯ 2. อุปกรณ์เป็นสื่อการเรียนการสอนประเภทเครื่องมือ เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะเครื่องฉาย สไลด์และฟิล์มสตริป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องเทปบันทึกภาพ เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉาย ภาพทึบ เครื่องรับโทรทัศน์เครื่องสอน (Teaching machine) เครื่องฉายภาพยนตร์ 3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆ ก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอนทั้งสิ้น เช่น การทดลองการสาธิต การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การทำโครงการ การศึกษานอกสถานที่ การเล่าเรื่อง การแสดงบทบาทสมมติ การร้องเพลง การใช้คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง การใช้เกม ปริศนา การ์ตูน กลลวง 4. สื่อการเรียนการสอนจากสิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการเรียนการสอนที่หาได้ง่ายเพราะอยู่รอบๆ ตัวเรา เมื่อเข้าไปในชั้นเรียนครูอาจจะใช้แผ่นกระเบื้องยางสอนการหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือกระดานดำ ประตู หน้าต่าง สมุด หนังสือ ก็เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทั้งสิ้น ผู้ที่เป็นครูควรจะนำสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวนักเรียนมาใช้เป็นสื่อ การเรียนรู้
16 สุดใจ เหง้าสีไพร (2549) ได้กล่าวถึงสื่อการสอนตามแนวคิดและทฤษฎีทาง “เทคโนโลยีการศึกษา” ประกอบด้วยสื่อ 3 ประเภท คือ 1. สื่อว ัสดุ (Material, Software or Small Media) หรือ “ว ัสดุการสอน ” (Instructional materials) หมายถึง สื่อการสอนที่เก็บเนื้อหาความรู้ไว้ในตัวสื่อเอง แบ่งเป็น 2 ลักษณะย่อย คือ วัสดุที่สามารถ ถ่ายทอดความรู้หรือเนื้อหาได้ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผนที่รูปภาพ หุ่นจำลอง ฯลฯ และวัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผ่นซีดีฟิล์ม ภาพยนตร์แถบบันทึกเสียง แถบวีดิทัศน์แผ่นเสียง ฯลฯ สื่อวัสดุทั้งสองลักษณะนี้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งสิ้นเปลือง ชำรุดผุพังค่อนข้างง่าย มีทั้งที่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระใหม่ได้และไม่ได้บรรจุเนื้อหาสาระไว้ใน ลักษณะต่างๆ เช่น เป็นตัวอักษรสัญญาณแม่เหล็ก สัญญาณอ่านด้วยแสง และลักษณะทางกายภาพรูปแบบ อื่นๆ 2. สื่ออุปกรณ์(Hardware, Device, Equipment, Tool or Big Media) บางครั้งเรียกว่าอุปกรณ์ การสอน ซึ่งแต่เดิมใช้เรียกสื่อที่ครูนำไปใช้ในการเรียนการสอนและตรงกับ “Teaching aids” ปัจจุบันถือว่า เป็นการเรียกชื่อที่คลาดเคลื่อน เพราะสื่ออุปกรณ์เป็นสื่อที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับสื่อวัสดุกล่าวคือ เป็นสื่อที่ คงทนถาวร เป็นสิ่งที่ใช้เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูล หรือ ความรู้ที่บันทึกหรือเก็บไว้ในวัสดุสามารถ ถ่ายทอดมาให้เห็น และได้ยินหรือสัมผัสได้แบ่งได้เป็น 3. ประเภทย่อย คือ “อุปกรณ์เครื่องฉาย” (Projected aids) ซึ่งเป็นสื่ออุปกรณ์เพื่อนำเสนอเนื้อหา จากวัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องวิชวลไลเซอร์เป็นต้น “อุปกรณ์เครื่องเสียง” (Audio aids) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทอดเสียงจากวัสดุที่บรรจุเนื้อหา ประเภทเสียง เช่น เทปเสียง แผ่นซีดีฯลฯ ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ได้แก่ เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นซีดีฯลฯในการนำเสนอเสียงที่ บันทึกไว้หรือรับเสียงสัญญาณที่ส่งผ่านทางบรรยากาศ เช่น วิทยุ เป็นต้น และ “อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการให้ เสียงหรือการฉาย” เช่น กระดาษ ชอล์ก สื่อแผ่นป้ายต่าง ๆ 4. สื่อวิธีการ (Techniques, Process, Procedure or Method) บางทีเรียกว่า “สื่อที่ซ่อนเร้น” (Intangible) คลุมไปถึงทฤษฎีหลักการ ข้อค้นพบ ผลการวิจัยและเทคนิควิธีซึ่งผู้เรียนอาจมิได้สัมผัสโดยตรง และส่วนที่ผู้เรียนได้สัมผัสหรือกระทำด้วยตนเอง เช่น การประกอบกิจกรรมของผู้เรียน การลงมือสาธิต จัด นิทรรศการ และเรียนจากบทเรียนโปรแกรมด้วยตัวผู้เรียนเองเป็นต้น Dale (1969) ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อ โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็แสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อการเรียนการ สอนแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของ บรูเนอร์(Bruner) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์” (cone of experiences) โดยการแบ่งเป็นขั้นตอน ดังนี้ 1. ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ โดยตรงจากของจริง สถานการณ์จริง หรือด้วยกระทำของตนเอง เช่น การจับจ้องและการเห็น เป็นต้น 2. ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้ความเป็นจริงที่สุดซึ่งอาจเป็นของ จำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้
17 3. ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เพื่อเป็น การจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดด้วยยุคสมัย เวลาและสถานที่ เช่น เหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น 4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนการกระทำนั้น 5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นการให้ผู้เรียนได้รับและเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่ เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ เป็นต้น 6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ ฯลฯ เพื่อให้สาระประโยชน์และ ความรู้แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างมาผสมผสานกันมากที่สุด 7. โทรทัศน์โดยใช้ทางโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการสอนให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือ ผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน และใช้ส่งได้ทั้งในระบบวงจรเปิดและวงจรปิด การสอนอาจจะเป็นการสอน สดหรือบันทึกลงวีดิทัศน์ 8. ภาพยนตร์เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม หรือให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้ง ภาพและเสียง โดยใช้ประสาทตาและหู 9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง การบันทึกเสียงอาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง วิทยุเป็นสื่อที่ให้เฉพาะเสียง ส่วนภาพนิ่งอาจเป็นรูปภาพ สไลด์โดยเป็นภาพวาดภาพล้อ หรือภาพเหมือนจริงก็ ได้ข้อมูลที่อยู่ในสื่อนั้นจะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียน ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็สามารถจะเข้าใจเนื้อหา เรื่องราวที่สอนได้เนื่องจากเป็นการฟัง หรือดูภาพเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องอ่าน 10. ทัศนสัญลักษณ์เช่น แผนที่ แผนภูมิหรือเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แทนความ จริงของสิ่งต่างๆ หรือข้อมูลที่ต้องการให้เรียนรู้ 11. วจนสัญลักษณ์เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและ เสียงของคำพูดในภาษาพูด การใช้กรวยประสบการณ์ของ Dale จะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์ หรือการ กระทำจริง เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์จริงที่ เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบการณ์รอง ต่อจากนั้น จึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์ โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น ดังภาพที่ 2.2
18 ภาพที่2.3 กรวยประสบการณ์ของ Dale ที่มา: Dale (1969) สุโชติดาวสุโข และ สาโรจน์แพ่งยัง (2535) ได้แบ่งประเภทของสื่อการเรียนรู้ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. สื่อประเภทวัสดุ (software) หมายถึง สื่อที่มีขนาดเล็กทำหน้าที่เก็บเนื้อหาความรู้ในลักษณะของ ภาพและเสียง สื่อประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1.1) สื่อวัสดุประเภทสิ่งพิมพ์ (printed) เช่น เอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำราและสื่อ ประเภทที่ต้องเขียนหรือพิมพ์ทุกชนิด 1.2) สื่อวัสดุประเภทไม่ใช่สิ่งพิมพ์(non-printed) เป็นสื่ออื่นๆ ที่นอกเหนือจากสิ่งพิมพ์เช่น ของ จริง ของตัวอย่าง ของจำลอง กระดานดำ ป้ายชนิดต่างๆ รวมถึงวัสดุที่ต้องใช้กับเครื่องมือ 2. สื่อประเภทอุปกรณ์(hardware) เป็นสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้า เมื่อจะทำงาน เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์เครื่องฉายสไลด์เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับ วิทยุวิดีโอเทป เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง คอมพิวเตอร์โทรทัศน์ 3. สื่อประเภทวิธีการ (technique) เป็นสื่อประเภทวิธีการและกิจกรรม หรือกระบวนการและวิธีการ ต่างๆ เช่น การบรรยาย การสาธิต การสอนรายบุคคล เกม การแสดงละคร กลุ่มสัมพันธ์การศึกษานอกสถานที่ สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมติ จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่าสื่อการเรียนรู้มีหลายประเภท ดังนั้นครูจะต้องเลือกใช้ หรือ สร้างสื่อให้มีความเหมาะสมกับลักษณะการเรียนรู้ และผู้เรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการใช้สื่อ และ พัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
19 บทบาทของสื่อการเรียนรู้ สุดใจ เหง้าสีไพร (2549) ได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อการเรียนการสอนซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้ 1. บทบาทของสื่อการเรียนการสอนต่อระบบและกระบวนการทางการศึกษาของชาติและสังคม 1.1) บทบาทของสื่อในฐานะที่เป็น “ส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา/การสอน”สื่อการเรียนรู้มี บทบาทหน้าที่ตามคุณลักษณะ 3 ประการของเทคโนโลยีการศึกษา คือ 1.1.1) มีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพ (efficiency) ของกระบวนการให้การศึกษา เพื่อให้ ระบบการศึกษาบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว เที่ยงตรง แม่นยำ ไม่มีข้อบกพร่อง หรืออุปสรรค หรือมีน้อยที่สุด 1.1.2) มีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิผล (productivity) ของกระบวนการให้การศึกษา เพื่อให้ ผลิตผลทางการศึกษาเป็นไปอย่างได้ผลสูงสุดหรือใกล้เคียงกับปริมาณสูงสุดมีการสูญเปล่าน้อยมากหรือไม่มีเลย เมื่อเทียบกับสิ่งนำเข้า (input) 1.1.3) มีบทบาทในการก่อให้เกิดความประหยัด (economy) หรือคุ้มค่าแก่การลงทุน โดยที่ ใช้เวลาสั้นแต่เกิดผลจำนวนมาก ใช้แรงงานน้อยแต่ผลของงานมาก หรือลงทุนในระบบการศึกษาเพียงเล็กน้อย แต่ได้รับผลผลิตทางการศึกษามาก 1.2) บทบาทของสื่อในฐานะที่เป็น “มิติที่ 3 ในระบบการศึกษา” สื่อการเรียนการสอนมีบทบาท ในการเป็นเครื่องมือหรือตัวกลางในการบริการถ่ายทอดเนื้อหาสาระประสบการณ์ 1.3) บทบาทของสื่อในการ “แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา” ได้แก่ 1.3.1) แก้ปัญหาความต้องการทางการศึกษา สื่อการเรียนการสอนมีบทบาทในการสร้าง โอกาสทางการศึกษาแก่สมาชิกของสังคมมากขึ้น โดยอาศัยสื่อนานาชนิด ลักษณะ และรูปแบบ ซึ่งเปิดโอกาส ทั้งในด้านจำนวนผู้เรียน เวลา สถานที่ วิธีการในเรียนรู้งบประมาณค่าใช้จ่ายและอื่นๆ 1.3.2) แก้ปัญหาผลิตผลทางการศึกษาขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ถ้าหากมีการนำสื่อมาใช้ ในระบบการศึกษาอย่างเหมาะสม และเพียงพอ จะสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี 1.3.3) แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาที่เหมาะสมและจำเป็นสื่อการเรียนการ สอนนำมาทดแทนและแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ 1.3.4) แก้ปัญหางบประมาณทางการศึกษาไม่เพียงพอและจำกัด สามารถแก้ไขได้ด้วยสื่อการ เรียนการสอนที่เหมาะสม เช่น สื่อราคาถูกหรือได้เปล่าหรือคิดค้นขึ้นเองในท้องถิ่นสื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ก่อให้เกิดความประหยัด มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 1.3.5) แก้ปัญหาการจัดการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และความต้องการของ ท้องถิ่น
20 1.3.6) แก้ปัญหาความเสมอภาพทางการศึกษา ทั้งนี้เพราะสื่อการเรียนการสอนสามารถสนอง การจัดการศึกษาทุกรูปแบบ 1.3.7) แก้ปัญหาการศึกษาที่ไม่สอดคล้องและไม่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยอาศัย สื่อการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้เรียนรู้ตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และความต้องการ เป็นต้น 1.4) บทบาทของสื่อต่อ “การจัดการศึกษาที่มีลักษณะอันพึงประสงค์” 1.4.1) การจัดการศึกษาที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยอาศัยสื่อการเรียน การสอนอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว ผู้เรียนได้เห็นได้สัมผัส เป็นต้น 1.4.2) การจัดการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยการวางแผนและ ออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องสัมพันธ์กับระบบการ เรียนการสอนและหลักการเรียนรู้ที่มีการค้นคว้าพัฒนาขึ้น 1.4.3) การจัดการศึกษาที่ส่งเสริมให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม โดยการอาศัยบทบาทของแหล่ง เรียนรู้จากโลกภายนอกมาสู่ผู้เรียน เป็นการขจัดช่องว่างระหว่างห้องเรียนกับสังคมภายนอก ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ ณ ที่ใด เวลาใดก็ได้ 1.5) บทบาทของสื่อในการทำหน้าที่ช่วยกระจายข่าวสารข้อมูล ปลุกเร้าสำนึกและความร่วมมือ ถ่ายทอดวัฒนธรรม นวัตกรรม และเทคโนโลยีและอื่นๆ แก่มวลสมาชิกของสังคม เพื่อก่อให้เกิดสังคมแห่ง สันติสุข 2. บทบาทของสื่อการเรียนการสอนต่อผู้สอนและกระบวนการสอนของครูโดยตรงในฐานะที่ครูเป็นผู้ มีบทบาทในการวางแผน การเลือกและผลิต และการใช้สื่อในกระบวนการเรียนการสอนโดยตรง สื่อการเรียน การสอนจึงมีบทบาทและความสำคัญต่อครูผู้สอนในหลายด้าน เช่น 2.1) ด้านการถ่ายทอดและนำเสนอเนื้อหาสาระความรู้และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนโดยสื่อทำ หน้าที่ช่วยหรือแทนครูผู้สอน 2.2) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอน ให้บรรลุเป้าหมายอย่างถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว และครอบคลุม 2.3) ด้านการแบ่งเบาภาระของผู้สอนให้น้อยลง ผ่อนแรง และทำหน้าที่อื่นๆ ได้มากขึ้น 2.4) ด้านการเตรียมเนื้อหาประสบการณ์และกิจกรรมที่เหมาะสมและพร้อมมูลเป็นการเตรียมตัว ล่วงหน้าของผู้สอน 2.5) ด้านการควบคุมดูแลและกำกับชั้นเรียนและพฤติกรรมผู้เรียนผู้สอน 2.6) ด้านความประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย เวลา คำพูด และนำเสนอที่ซ้ำซาก
21 2.7) ด้านการสร้างบรรยากาศที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และน่าสนใจ 3. บทบาทของสื่อการเรียนการสอนต่อตัวผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนเนื่องจากตัว ผู้เรียนเป็นผู้ที่เรียนรู้เนื้อหาสาระ ทักษะหรือประสบการณ์หรือสื่อการเรียนการสอนโดยตรง สื่อจึงมีบทบาทใน หลายด้านต่อผู้เรียน เช่น 3.1) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน จากสื่อที่เหมาะสมและ หลากหลาย 3.2) ด้านการส่งเสริม กระตุ้น สร้างความสนใจ โดยอาศัยคุณลักษณะของสื่อนั้นๆ 3.3) ด้านการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับกระบวนการเรียนรู้เช่น ทักษะการพูด การ เขียน การแก้ปัญหาจากสื่อที่ใช้ 3.4) ด้านการเสริมสร้างคุณลักษณะ ทักษะการศึกษาค้นคว้า และความคิดสร้างสรรค์อันเกิดจาก การใช้สื่อการเรียนการสอน 3.5) ด้านการเปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับผู้เรียน โดยการเรียนรู้ผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบ 3.6) ด้านการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาจาก สื่อที่สอดคล้องกับความสามารถ ความต้องการ และความสนใจ 3.7) ด้านการพัฒนาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน ผ่านสื่อการเรียนรู้ 3.8) ด้านการสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจ ประทับใจ และจดจำจากการเรียนรู้ผ่านสื่อ 3.9) ด้านการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายด้าน จากสื่อหลายประเภทและหลายรูปแบบ สื่อการเรียนรู้จึงนับว่าเป็นสิ่งที่บทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อีกทั้งเป็นการพัฒนาคุณภาพในการทำงาน กระบวนการคิด ความรับผิดชอบ และความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับครู และผู้เรียนได้ คุณค่าของการสื่อการเรียนรู้ สุดใจ เหง้าสีไพร (2549) ได้กล่าวถึงคุณค่าของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้ 1. คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนต่อการศึกษา การเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ 1.1) คุณค่าด้านการเพิ่มจำนวนผู้เรียนโดยที่สื่อการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนจำนวนมากเรียนรู้ได้ พร้อมกัน ในเวลาเดียวกันตั้งแต่ระดับกลุ่มย่อยไปจนถึงระดับมวลชน 1.2) คุณค่าด้านโอกาสทางการศึกษา เพราะสื่อการเรียนการสอนทำให้สถาบันการศึกษาจัด การศึกษาได้หลายลักษณะและรูปแบบ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อโดยไม่จำกัดสถานที่ เวลาพื้นฐานความรู้ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเลือกศึกษาจากสื่อที่เหมาะสมและเข้าถึงผู้เรียนเหล่านั้น
22 1.3) คุณค่าด้านการให้การศึกษาที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งความแตกต่างด้าน ร่างกาย สติปัญญา พื้นฐานความรู้ความสามารถ สภาพแวดล้อมและอื่นๆ ทั้งนี้โดยอาศัยสื่อที่มีลักษณะ รูปแบบ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม 1.4) คุณค่าด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเปล่าทางการศึกษา เพราะสื่อช่วยให้ผู้สอน สามารถสอนได้ดีและมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้นโดยใช้เวลาสั้นลง รวมถึงความสามารถเรียนรู้ได้ ด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ นำไปสู่การลดปัญหาการสอบตกซ้ำชั้น และการออกกลางคันของผู้เรียน 1.5) คุณค่าด้านการลดปัญหาทางสังคม จากการที่สื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกของสังคมได้รับ การศึกษาและมีความรู้ความเข้าใจในโลกแห่งความจริง ปลูกฝังเจตคติที่ถูกต้อง เกิดทักษะความชำนาญ มีงาน ทำประกอบอาชีพสุจริต มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 1.6) คุณค่าด้านการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผลิตผลทางการศึกษา เช่น การคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจในตนเอง เป็นต้น เพราะสื่อการเรียน การสอนที่เหมาะสม สามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนได้ 1.7) คุณค่าด้านวิชาการ สื่อการเรียนการสอนสามารถให้ประสบการณ์ที่มีคุณค่าช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้มากและกว้างขวางขึ้น สร้างความประทับใจ และจดจำได้แม่นยำติดแน่นทนนานและก่อให้เกิดทักษะ ความชำนาญ รวมถึงส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา 1.8) คุณค่าทางจิตวิทยา สื่อการเรียนการสอนสามารถเร้าหรือกระตุ้นให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ช่วยสร้างมโนมติที่ถูกต้อง ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการเรียนและสิ่งที่เรียน ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายในที่สุด 1.9) คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนช้าเรียนได้เร็วขึ้น ในขณะที่ผู้เรียนเร็วสามารถก้าวไปข้างหน้าได้ตามต้องการ สามารถขจัดความสิ้นเปลือง และข้อบกพร่อง ทางการสอน ประหยัดเวลาและคำพูดของผู้สอน ขจัดปัญหาด้านสถานที่เรียน เวลาและระยะทาง จึงก่อให้เกิด การคุ้มค่าในแง่เศรษฐศาสตร์ 1.10) คุณค่าด้านการส่งเสริมแนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนไป โดยการใช้สื่อเพื่อเตรียม ความพร้อมของผู้เรียน สื่อที่สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล สื่อที่สอดคล้องกับการใช้เวลาการเรียน การสอนและสื่อที่เอื้อต่อการให้อิสระและขยายโอกาสทางการศึกษาอื่นๆ 2. คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนต่อผู้สอน 2.1) สื่อช่วยสร้างบรรยากาศการสอนที่ดีน่าสนใจ สนุกสนาน มีความน่าเชื่อถือ จึงสร้างความ เชื่อมั่นให้กับครูผู้สอนได้เป็นอย่างดีและนำไปสู่การสอนที่บรรลุเป้าหมายของครูในที่สุด 2.2) สื่อช่วยแบ่งเบาภาระการสอน เช่น ทำให้ผู้สอนพูดน้อยลง ถ่ายทอดเนื้อหาด้วยตนเองน้อยลง โดยที่ผู้เรียนเรียนรู้ได้เองจากสื่อภายใต้การกำกับดูแลหรือเงื่อนไขของครูไม่ต้องเตรียมและสอนซ้ำซาก เพราะ ได้เตรียมสื่อและวิธีการใช้สื่อไว้แล้วเป็นอย่างดีจนทำให้สามารถนำไปใช้ในครั้งต่อๆ ไปได้ทันที 2.3) สื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนเตรียม ผลิตหรือพัฒนาสื่อใหม่ๆ รวมทั้งคิดค้นวิธีการที่น่าสนใจ เพราะผู้สอนทราบและมีประสบการณ์จากการใช้สื่อว่า ให้ประโยชน์แก่การสอนของตนอย่างไร
23 2.4) สื่อช่วยแก้ปัญหาและทดแทนสิ่งที่ผู้สอนไม่ถนัด เช่น พูดไม่เก่ง จดจำข้อมูลได้ไม่มากพอ มี บุคลิกภาพที่ไม่น่าเชื่อถือและสนใจ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดประสบการณ์การสอนหรือปรากฏตัวต่อ หน้าคนจำนวนมาก เป็นต้น 2.5) สื่อช่วยให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบสำหรับการสอนทั้ง ที่เป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มย่อย และเป็นรายบุคคล โดยอาศัยสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมประกอบ 2.6) สื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครูโดยตรง เพราะทำให้ผู้สอนสามารถสอนได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ใช้เวลาสั้นลง แต่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้น 2.7) สื่อช่วยให้ผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์และติดตามดูแลผู้เรียนเป็นรายบุคคลโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหา ได้มากขึ้น เพราะใช้เวลาในด้านการบรรยายถ่ายทอดเนื้อหาสาระ การเตรียมการสอน และกิจกรรมการเรียนรู้ ต่างๆ น้อยลงจึงมีเวลาเพิ่มขึ้น 2.8) สื่อช่วยให้ผู้สอนสามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ตรงจุดมุ่งหมายในทุกขั้นตอน เพราะสื่อมีองค์ประกอบทั้งในด้านจุดมุ่งหมาย เนื้อหา วิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลตาม ขั้นตอนตั้งแต่ก่อนการเรียน ระหว่างและหลังการเรียน จึงมีความสมบูรณ์ในตัวมันเอง 2.9) สื่อช่วยให้ผู้สอนสามารถนำประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมายภายนอก ห้องเรียนมานำเสนอต่อผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่มีความหมาย 2.10) สื่อช่วยให้ผู้สอนได้รับทราบปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (feedback) ของผู้เรียน และนำข้อมูลที่ ได้ไปปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสื่อและกระบวนการสอนของตนได้ตลอดเวลา 3. คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนต่อผู้เรียน 3.1) สื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม ให้เป็น รูปธรรมที่สามารถสัมผัสและเข้าใจได้ง่ายขึ้น 3.2) สื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้นในเวลาที่กำหนดหรือรวดเร็วกว่าไม่ใช้สื่อ 3.3) สื่อช่วยกระตุ้นและเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น 3.4) สื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้มาก แม่นยำ และคงทนถาวรยิ่งขึ้น เพราะความประทับใจ ในประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อนั้น ๆ 3.5) สื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้สิ่งซึ่งปกติเรียนรู้ได้ด้วยความยากลำบาก เพราะสื่อสามารถทำสิ่งที่ ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม สิ่งที่ช้าเกินไปให้เร็วขึ้น สิ่งที่เร็วเกินไปให้ช้าลง ทำสิ่งที่ ใหญ่เกินไปให้เล็กลง ทำสิ่งที่เล็กเกินไปให้ใหญ่ขึ้น นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ศึกษาได้และนำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ ลับมาให้ศึกษาได้เป็นต้น
24 3.6) สื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ตรงกัน และเกิดประสบการณ์ร่วมในเรื่องราวเดียวกัน 3.7) สื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้และมีความคิดสร้างสรรค์ 3.8) สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างกระฉับกระเฉงสามารถเรียนรู้จากกัน และกัน สร้างความคุ้นเคยและเกิดการรักหมู่คณะ อันเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและสภาพแวดล้อม รอบๆ ตัวผู้เรียนเอง 3.9) สื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ในรูปแบบที่สอดคล้องกับความสามารถ ความสนใจ และความ ต้องการของแต่ละคน 3.10) สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะความชำนาญ ฝึกฝนการวินิจฉัย และการเรียนรู้เพื่อซ่อม เสริมสิ่งที่แต่ละคนยังขาดอยู่หรือหายไป 3.11) สื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน และคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต 3.12) สื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง แปลกใหม่และมีคุณค่า ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้บรรลุ เป้าหมายและความคาดหวังของผู้เรียน 3.13) สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ถึงผลการเรียนรู้และข้อขัดข้องต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขเพื่อการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 3.14) สื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างมโนมติ(concept) ในสิ่งที่เรียนได้รวดเร็วและมีความรู้ความ เข้าใจตรงกัน 3.15) สื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยการใช้สื่อที่เอื้อต่อ การศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นรายบุคคลประเภทต่าง ๆ เห็นได้ว่า สื่อการเรียนรู้นั้นเป็นสิ่งที่ช่วยสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความเข้าใจ อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ สื่อนั้นสร้างให้เกิดความสัมพันธ์อันดีดี ระหว่างครู และผู้เรียน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
25 สื่อประสม ความหมายของสื่อประสม มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “สื่อประสม” ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไว้หลากหลาย ดังนี้ ยุพิน พิพิธกุล (2539) ได้กล่าวไว้ว่า ระบบการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม หมายถึง การเลือกใช้ สื่อการเรียนการสอนต่างๆ ที่จะทำให้เกิดประสบการณ์ในการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ทั้งหลายเหล่านี้จะเป็น เครื่องเสริมซึ่งกันและกัน เมื่อเลือกกลวิธีในการสอนโดยใช้สื่อประสมนี้ด้วยความถูกต้องและระมัดระวัง ก็จะทำ ให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามต้องการ กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล (2548) ได้ให้ความหมายของสื่อประสมไว้ว่า สื่อประสม หมายถึง วัสดุและ อุปกรณ์หลายประเภทที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนในหนึ่งเนื้อหาอย่างมีระบบสัมพันธ์สอดคล้องกัน วัสดุและ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อประกอบการสอน ได้แก่ เอกสารฝึกหัด ใบงาน ใบกิจกรรม บทเรียนโปรแกรม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สุดใจ เหง้าสีไพร (2549) ได้ให้ความหมายของสื่อประสมไว้ว่า สื่อประสมหรือสื่อผสม (Multi-media) หมายถึง การนำสื่อหลายอย่างหรือหลายประเภทซึ่งอาจเป็นวัสดุอุปกรณ์และ/หรือวิธีการ ที่มีคุณค่าส่งเสริม ซึ่งกันและกันมาทำหน้าที่ร่วมกัน โดยที่สื่อหนึ่งอาจทำหน้าที่เร้าความสนใจ ในขณะที่อีกสื่อหนึ่งช่วยอธิบาย ข้อเท็จจริงของเนื้อหาและอีกสื่อหนึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบประเมิน หรือทบทวนความรู้เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การ เรียนรู้ในกระบวนการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด Erickson (1972) ได้ให้ความหมายของสื่อประสมไว้ว่า สื่อประสม หมายถึง การอาศัยหลักการนำเอา สื่อการสอนหลายๆ อย่างมาสัมพันธ์กัน และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันสื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจจะใช้เพื่อ เร้าความสนใจ ในขณะที่สื่อการสอนอีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหา และอีกชนิดหนึ่งอาจใช้ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และป้องกันการเข้าใจความหมายผิด ดังนั้น สื่อประสม จึงเป็นการนำสื่อหลาย ๆ ประเภท มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ กับทั้งผู้เรียน และครูผู้สอน โดยคำนึงความเหมาะสมในลักษณะวิชา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รวมถึงผู้เรียน อีกทั้งยังเป็นกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใฝ่รู้ในการศึกษาและค้นคว้าในองค์ความรู้ต่าง ๆ อีกด้วย ความสำคัญของสื่อประสม ยุพิน พิพิธกุล (2539) ได้กล่าวถึงความสำคัญของสื่อประสมไว้ดังนี้ 1. ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ ไม่เบื่อหน่าย เพราะมีการเปลี่ยนสิ่งเร้าอยู่ตลอดเวลา 2. ทำให้นักเรียนได้รับความรู้กว้างขวาง และเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น 3. เป็นการประหยัดเวลา ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ได้รวดเร็วเพราะได้เรียนจากสื่อการเรียนการสอน ที่แตกต่างกันหลาย ๆ อย่าง
26 4. เป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนทั้งวิธีการสอน กลวิธี และการเลือกใช้สื่อการเรียน การสอนให้ผสมผสานกัน เช่นเดียวกับ ชัยยงค์พรหมวงศ์(2529) ได้กล่าวถึงความสำคัญและบทบาทของสื่อประสมโดยสรุป ดังนี้ 1. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ ได้ดีเกือบทุกเรื่องจากหลายแหล่ง โดยถือว่าสื่อแต่ละ อย่างมีเนื้อหาต่างกัน 2. ช่วยประหยัดเวลาทั้งผู้เรียนและผู้สอน 3. ช่วยให้ผู้เรียนทั้งเก่ง และอ่อนได้รับความรู้ตามความสามารถ และความพร้อมของแต่ละบุคคล แสดงให้เห็นว่า สื่อประสม เป็นสื่อที่มีความหลากหลาย ที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใน การเรียนรู้ อีกทั้งเป็นการช่วยประหยัดเวลาในการเรียนรู้ทั้งผู้เรียน และผู้สอน โดยผู้เรียนนั้นสามารถเลือกใช้ สื่อที่เหมาะสมกับตนเองตามความรู้ความสามารถ ดังนั้น สื่อประสมจึงเป็นสื่อที่มีประโยชน์ และเอื้อต่อการ จัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ประเภทของสื่อประสม สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ(2531) ได้แบ่งสื่อประสมตามจุดมุ่งหมายการใช้ดังนี้ 1. ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายหลายอย่าง สื่อประเภทนี้มักอยู่ในรูปของสื่อหลายชิ้นมาอยู่รวมกันใช้สอนได้ หลายอย่าง เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ 2. ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่าง สื่อประเภทนี้จัดอยู่ในรูปสื่อหลายชนิดมารวมกัน แต่สอนได้เพียง เรื่องเดียว เรียกว่า ชุดการสอน ในทำนองเดียวกัน กิดานันท์ มลิทอง (2544) ได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ดังนี้ 1. สื่อประสมโดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันโดยไม่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับผู้เรียน และมีลักษณะเป็นสื่อหลายแบบที่ใช้ตามลำดับเนื้อหา 2. สื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศลักษณะต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษร และเสียงในลักษณะสื่อหลายมิติโดยผู้ใช้(ผู้เรียน) มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง การใช้ คอมพิวเตอร์เพื่อการควบคุมอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ในการทำงาน และ/หรือใช้ในการผลิตแฟ้มสื่อประสมโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป
27 นอกจากนี้ สุดใจ เหง้าสีไพร (2549) แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. สื่อประสมขั้นพื้นฐาน เป็นการนำสื่อหลายประเภท หรือหลายแบบมาใช้ร่วมกันในกระบวนการ เรียนการสอน โดยที่ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ (non – interactive) ระหว่างผู้เรียนกับสื่อเช่นการใช้สไลด์ประกอบ เสียง การใช้ชุดการสอนสื่อประสมสำหรับศูนย์การเรียน เป็นต้น 2. สื่อประสมเชิงโต้ตอบ (interactive multimedia) มีความคล้ายคลึงกับแบบแรกแต่ตัวสื่อสามารถ มีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบกับผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สามารถ พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูป (เช่น Toolbook, Authoware) ในการนำเสนอบทเรียนโปรแกรมฝึกอบรม นำเสนอ ผลงานทั้งในรูปตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียงอยู่ในแฟ้ม (File) เดียวกัน และนำเสนอ ได้ในเวลาเดียวกัน ไล่เลี่ยกันหรืออย่างสัมพันธ์กันและมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เกมคอมพิวเตอร์เชิงโต้ตอบต่างๆ และอื่นๆ สถาพร สาธุการ (2549) ได้จำแนกสื่อประสมตามจุดมุ่งหมายและลักษณะการใช้ได้ดังนี้ 1. จำแนกตามจุดมุ่งหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1.1) ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายหลายอย่าง สื่อประสมประเภทนี้มักอยู่ในรูปของสื่อหลายชิ้นมาอยู่ร่วมกัน แล้วใช้สอนได้หลายเรื่องเรียกว่า “ชุดอุปกรณ์” (Kit) 1.2) ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่างประเภทนี้มักจะอยู่ในรูปสื่อหลายชนิดมารวมกัน แต่สอนได้ เพียงเรื่องเดียว เรียกว่า “ชุดการสอน” (Learning package) 2. จำแนกตามลักษณะของสื่อและลักษณะการใช้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 2.1) การสอนโดยใช้สื่อประสม เป็นการสอนที่ใช้สื่อหลายอย่าง ทั้งสื่อที่เป็นวัสดุอุปกรณ์และ วิธีการ 2.2) การเสนอสื่อประสม (Multi-media presentation) เป็นการเสนอสื่อประเภทฉายเช่น สไลด์ ภาพยนตร์ควบคู่กับสื่อเสียง ดังนั้น สื่อประสม จึงเป็นสื่อหลายประเภทที่ครูผู้สอนควรตระหนัก และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ ลักษณะวิชา การจัดการเรียนการสอน รวมถึงความแตกต่างของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดองค์ความรู้ที่ ถูกต้อง และสามารถนำสื่อไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
28 หลักการเลือกสื่อประสมและการผลิตสื่อประสม ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์(2528) ได้กล่าวถึงหลักในการเลือกใช้สื่อประสมไว้ดังนี้ 1. การใช้สื่อประสมจะต้องมั่นใจว่าสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ไม่ทำให้นักเรียนเกิดความยุ่งยาก 2. การจัดลำดับการใช้สื่อการเรียนรู้จากชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่งจะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพ 3. การเลือกสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ให้เหมาะสมกับบทเรียน จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(2531) กล่าวถึง หลักในการพิจารณาเลือกและ การผลิตสื่อประสมไว้ดังนี้ 1. สื่อที่เลือกหรือผลิตต้องตอบสนองตามจุดมุ่งหมายได้อย่างแท้จริง 2. ในการผลิตสื่อการเรียนรู้ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ให้ชัดเจน และควรเขียนเป็น จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม 3. คู่มือการใช้สื่อการเรียนรู้ต้องมีคำอธิบาย คำแนะนำในการใช้อย่างชัดเจน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ได้บันทึกข้อสังเกตต่างๆ ได้ตอบคำถามและซักถามปัญหาต่างๆ ที่สนใจ 4. สิ่งที่เลือกใช้ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับเนื้อหา โดยพิจารณาจากคำถามต่อไปนี้ 4.1) สื่อการเรียนรู้นั้นตอบข้อสงสัยของนักเรียนได้หรือไม่ 4.2) สื่อการเรียนรู้นั้นมีเทคนิคต่างๆ ที่เร้าความสนใจหรือไม่ 4.3) ถ้าสื่อการเรียนรู้นั้นเป็นภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์การลำดับเรื่องและเทคนิคการตัดต่อทำได้ดี หรือไม่ นักเรียนสามารถติดตามเนื้อเรื่องได้มากน้อยเพียงใด 5. ควรเลือกใช้สื่อการเรียนรู้หลายๆ ประเภท ทั้งภาพและเสียงตลอดจนสื่อประสมที่นักเรียนมีโอกาส สัมผัสได้ด้วยมือ 6. การใช้สื่อการเรียนรู้หลายๆ ชนิดควรจะให้สื่อประสมแต่ละชนิดส่งเสริมซึ่งกันและกัน และต้อง แน่ใจว่าสื่อการเรียนรู้ชนิดหนึ่งไม่ขัดขวางการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้อีกชนิดหนึ่ง 7. สื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในชุดสื่อประสมจะต้องมีคุณค่าในตัวเองเมื่อใช้อย่างอิสระ และเมื่อใช้ร่วมกับสื่อ การเรียนรู้อื่นก็จะมีคุณค่า 8. เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในชุดสื่อประสมควรเป็นอุปกรณ์ที่หาง่าย 9. สื่อการเรียนรู้ในชุดสื่อประสมควรกระตุ้นให้นักเรียนได้เป็นผู้กระทำ 10. ชุดสื่อประสมควรกระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถตัดสินใจเลือกเนื้อหาตามความ สนใจและความถนัดของตน
29 11. ชุดสื่อประสมควรออกแบบให้มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ดังนั้น การเลือกใช้สื่อ ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนนั้นมี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผู้สอนควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญกับการจัดการเรียนรู้ ทั้งเรื่องเนื้อหา ลักษณะวิชา การจัดการเรียนรู้ และความรู้ความสามารถผู้เรียนร่วมด้วย เพื่อให้สื่อประสมนั้น สามารถสร้างให้ เกิดประโยชน์ และมีคุณค่าต่อการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ ความหมายของสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ สำหรับสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) ได้มีการนิยามจากหน่วยงาน และนักการ ศึกษาไว้ ดังนี้ กรมวิชาการ (2544 อ้างใน ดุสิต ขาวเหลือง, 2549) ได้อธิบายเกี่ยวกับสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ว่า สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ เป็นสื่อประสมที่เน้นการให้ผู้ใช้เป็นผู้ควบคุมการนำเสนอ การเลือกเส้นทางเดิน (Navigator) การโด้ตอบ การให้ความรู้ และกิจกรรมที่มีในบทเรียน การใช้สื่อประสมโดยทั่วไปจะพิจารณา คุณสมบัติหลัก 2 ประการ คือ การควบคุมการใช้งาน และความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ โดยได้ อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า การควบคุมการใช้งานเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของระบบสื่อประสม คือ ผู้ใช้ต้องสามารถควบคุมระบบ และขั้นตอนการนำเสนอได้ง่าย และไม่ซับซ้อน ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ เป็นคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นมาพร้อม ๆ กับพัฒนาการด้าน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถตอบโต้กับคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ โดยคอมพิวเตอร์จะ นำข้อมูลจากผู้ใช้ไปประมวลผล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการโต้ตอบ หรือการประเมิน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้ด้วย ตนเองมีประสิทธิภาพ และน่าสนใจขึ้น วัตถุประสงค์ของสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ คือ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน และการฝึกอบรมเป็นหลัก หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนทั้งใน และนอกระบบโรงเรียน สำหรับการ ออกแบบโปรแกรม ผู้ออกแบบต้องนำความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์บูรณาการเข้ากับแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ และจิตวิทยาการเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้เรียนโดยผู้เรียนสามารถควบคุมลำดับขั้นตอน การเรียนรู้ เลือกเนื้อหาการเรียน กิจกรรมการเรียนตรวจสอบความก้าวหน้า และทดสอบความรู้ด้วยตนเอง ซึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติที่มีครูเป็นศูนย์กลาง และเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียน การสอน จะเห็นได้ว่า การเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์มีจุดเด่นอยู่ที่การควบคุมกิจกรรมการเรียน การควบคุมเวลาเรียน และการได้มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเรียนเป็นรายบุคคล และ สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในวงการศึกษาทั่วไปเรียบสื่อประเภทนี้ว่า สื่อประสม ปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนการสอน (Interactive Multimedia Instruction : IMI) (ดุสิต ขาวเหลือง, 2549) ซึ่งในเวลาต่อมา มีนักการศึกษา และผู้ที่สนใจได้เขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ โดยมีการอธิบายที่มีความสอดคล้องกันกับจากที่ได้กล่าวไว้มาแล้วข้างต้น ดังเช่น จากบทความ “การพัฒนาสื่อ ประสมปฏิสัมพันธ์” (2559) ได้อธิบายไว้ว่า สื่อมัลติมีเดีย หรือสื่อประสม คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อ ความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ ( Graphic Art) เสียง ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวีดิทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตาม ต้องการได้ ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ หรือสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)
30 (Vaughan, 1993) เช่นเดียวกับ Hall (1996 อ้างใน “การพัฒนาสื่อประสมปฏิสัมพันธ์, 2559) กล่าวไว้ว่า สื่อ มัลติมีเดีย หรือสื่อประสม คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรม ประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน ภาพกราฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ หรือสื่อประสม ปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้คีย์บอร์ด (Key board) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) โดยมีความสอดคล้องกับบทความ “Educational Innovation” ที่วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัย พะเยา (2559) ได้สรุปเกี่ยวกับสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ไว้ว่า อินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย หรือ สื่อประสม ปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) หมายถึง สื่อประสมที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถจัดการกับข้อมูลภาพและเสียง ให้แสดงผลบนจอในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ไม่ใช่การแสดงผลรวด เดียวจบ (run through) แบบวีดิทัศน์หรือภาพยนตร์และไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) คือ ผู้ชมเป็นผู้ดูฝ่ายเดียวอีกต่อไป ส่วนมากใช้คำว่า "สื่อประสมปฏิสัมพันธ์" เกี่ยวกับ ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้สื่อประสมในการศึกษาไว้หลาย ด้าน เช่น • ดึงดูดความสนใจ บทเรียนสื่อประสมในลักษณะสื่อหลายมิติที่ประกอบด้วย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียง นอกเหนือไปจากเนื้อหาตัวอักษร จะดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็น อย่างดี และช่วยในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วย • การสืบค้นเชื่อมโยงฉับไวด้วยสมรรถนะของการเชื่อมโยงหลายมิติ ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในสิ่ง ต่างๆ ได้กว้างขวาง และหลากหลายได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นเรียนไปตามลำดับเนื้อหา • การโต้ตอบระหว่างสื่อและผู้เรียน บทเรียนสื่อประสมจะมีจุดเชื่อมโยงหลายมิติ เพื่อให้ผู้เรียนและ สื่อมีปฏิสัมพันธ์กันได้ในลักษณะสื่อประสมเชิงโต้ตอบได้รับสารสนเทศที่หลากหลาย โดยการใช้ซีดี และดีวีดี ใน การให้ข้อมูลและสารสนเทศในปริมาณที่มากมายและหลากหลายรูปแบบเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียนที่สอน • ทดสอบความเข้าใจ ผู้เรียนบางคนอาจจะไม่กล้าถามข้อสงสัยหรือตอบคำถามในห้องเรียน การใช้ สื่อประสมจะช่วยแก้ปัญหาในสิ่งนี้ได้ โดยการใช้ในลักษณะการศึกษารายบุคคล สนับสนุนความคิดรวบยอด สื่อ ประสมสามารถแสดงสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนความคิดรวบยอดของผู้เรียน โดยการเสนอสิ่งที่ให้ตรวจสอบ ย้อนหลัง และแก้ไขจุดอ่อนในการเรียน ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของสื่อมัลติมีเดียได้ว่า สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับ โปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุม สื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ หรือสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถ เรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้ สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
31 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ศิริชัย กาญจนาวสี(2544) ได้ให้ความหมายว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องมือ อย่างหนึ่งสำหรับการวัดผลและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ทำให้ ผู้สอนทราบว่าผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถถึงระดับมาตรฐานที่ผู้สอนกำหนดไว้หรือยัง หรือมีความรู้ ความสามารถถึงระดับใด เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนๆ ที่เรียนด้วยกัน เช่นเดียวกับ สิริพร ทิพย์คง (2545) ได้ให้ความหมายว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หมายถึง ชุด คำถามที่มุ่งวัดพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนว่านักเรียนมีความรู้ทักษะ และสมรรถภาพทางสมองด้านต่างๆ ในเรื่องที่เรียนรู้ไปแล้วมากน้อยเพียงใด ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สิริพร ทิพย์คง (2545) ได้แบ่งประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์มาตรฐาน (Standardized achievement test) เป็นแบบทดสอบที่ สร้างขึ้นโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวัดผลและประเมินผลร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาเฉพาะมีการวางแผนการ สร้างข้อสอบอย่างมีระบบ กำหนดวัตถุประสงค์มีการทดลองใช้แบบทดสอบที่สร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบความเป็น มาตรฐาน มีการกำหนดเวลาของการทดสอบและวิธีดำเนินการสอน ตลอดจนมีคู่มือประกอบการใช้ แบบทดสอบอย่างละเอียด แบบทดสอบมาตรฐานจะมีการวิเคราะห์และปรับปรุงหลายครั้งจนได้ข้อสอบที่มี คุณภาพดี 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ครูสร้าง (Teacher made test) เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ครู สร้างขึ้นเองเพื่อใช้ในการวัดผลการเรียนของนักเรียนในเรื่องที่นักเรียนได้เรียนรู้ไปแล้ว แบบทดสอบที่ครูสร้างมี 2 ประเภทดังนี้ 2.1) แบบทดสอบเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน (Formative test) เป็นแบบทดสอบที่วัด ภายหลังการเรียนการสอนในแต่ละหน่วยหรือแต่ละบทย่อยๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะนำผลของการวัดไป แก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียน และปรับปรุงวิธีการสอนของครูก่อนที่จะเรียนหน่วยหรือบทใหม่ต่อไป ดังนั้น แบบทดสอบนี้จึงเป็นแบบทดสอบที่มุ่งวัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral objective) ของการเรียน การสอนแต่ละหน่วย 2.2) แบบทดสอบเพื่อประเมินสรุปผลการเรียน (Summative test) เป็นแบบทดสอบที่มุ่งวัด ความคิดรวบยอดและการนำความรู้ไปใช้ภายหลังการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องเสร็จสิ้นลงหรือสิ้นภาค การศึกษา เพื่อตรวจสอบความรู้ที่นักเรียนเรียนไปแล้วทั้งหมดว่านักเรียนยังสามารถระลึกได้ถึงความรู้เหล่านั้น ทั้งหมดหรือไม่ แบบทดสอบชนิดนี้มุ่งวัดตามพฤติกรรมในตารางวิเคราะห์หลักสูตรเฉพาะวิชา
32 จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเกี่ยวกับ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แสดงให้เห็นว่า แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์นั้น ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการ เรียนรู้หรือไม่ มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับใด ดังนั้น การออกแบบทดสอบ และการเลือกใช้แบบทดสอบ ในการวัดองค์ความรู้ของผู้เรียนนั้น ครูผู้สอนต้องคำนึงถึงเนื้อหา มาตรฐานในการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ และ ความเหมาะสมของผู้เรียน เพื่อให้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์นั้น เป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ และสามารถนำ ข้อมูลจากการวัดผลมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ มีการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลของการใช้สื่อ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของผู้เรียน ดังเช่น หนึ่งฤทัย เดวิเลาะ (2544) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง “อัตราส่วนและร้อยละ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียน บุรารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาจากวิธีสุ่มแบบกลุ่มจากทั้งหมด 8 ห้องเรียนและเรียนโดยใช้สื่อประสม การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้ร้อยละ และ match-paired t-test ผลปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ โดยใช้สื่อประสมหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และร้อยละ 81.43 ของนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ที่เรียนโดยใช้สื่อประสม ส่วน สุจิตา นุ่ม สุวรรณ (2547) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้ชุดสื่อประสมกับการสอนปกติและแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน คือ กลุ่มทดลองสอนโดยใช้ชุดสื่อประสม และกลุ่มควบคุมสอนแบบการสอนปกติผลการวิจัยปรากฏว่า ชุดสื่อ ประสมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.17/82.66 การสอนโดยใช้ชุดสื่อประสมทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า การสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกันกับ กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล (2548) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องเส้นขนาน โดยการสอนแบบใช้สื่อประสมผลปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเส้นขนาน โดยการสอนแบบใช้สื่อประสมของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนและหลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์60 เปอร์เซ็นต์อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกันกับ จิราวรรณ เทพจินดา (2551) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัสโดยการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนวัด เขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานีผลปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ทฤษฎีบทพีทา โกรัสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ที่เรียนโดยใช้สื่อประสมหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนและหลังการ เรียนสูงกว่าเกณฑ์60 เปอร์เซ็นต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วน ณรงค์ฤทธิ์ ฉายา (2552) ได้ทำ การวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยการใช้สื่อประสม โรงเรียนศรีบุณยานนท์ จังหวัดนนทบุรีผลการวิจัยปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของ พหุนามดีกรีสองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
33 ที่ระดับ.05 และหลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์60 เปอร์เซ็นต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียน ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อประสมว่าเหมาะสม นอกจากนี้ สมศรี รำพรรณ์(2552) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ โดยการใช้สื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเซนต์ราฟาแอล จังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง สมการ โดยการใช้ สื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์70% อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งนักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสมว่า มีความเหมาะสม ในเวลาต่อมา ก่อเกียรติ ขวัญสกุล (2561) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อประสม หนังสือ อิแล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ กับวิดีโอโมชั่นกราฟิก เรื่อง พัฒนาการและระบบการพิมพ์ สำหรับนิสิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการ วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อประสม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับวิดีโอโมชั่นกราฟิก เรื่อง พัฒนาการและระบบการพิมพ์ 2) ประเมินคุณภาพสื่อประสม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับ วิดีโอโมชั่นกราฟิก เรื่อง พัฒนาการและระบบการพิมพ์ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน จากการ ใช้สื่อประสม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับวิดีโอโมชั่นกราฟิก เรื่อง พัฒนาการและระบบการพิมพ์ 4) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยสื่อประสมฯ ที่พัฒนาขึ้น 5) ศึกษาผลการตอบรับของนิสิตที่มีต่อ การใช้สื่อประสมฯ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายเป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและ คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ลงเรียนรายวิชาการผลิตสิ่งพิมพ์การศึกษา จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อประสม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับวิดีโอโมชั่นกราฟิก แบบประเมินคุณภาพสื่อประสม แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบทดสอบกิจกรรมระหว่างเรียน และแบบ ตอบรับของนิสิตที่มีต่อการใช่สื่อประสมฯ สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1. สื่อประสมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับวิดีโอโมชั่นกราฟิก เรื่อง พัฒนาการและระบบ การพิมพ์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ (80.85/83.24) 2. สื่อประสมฯ ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในระดับเหมาะสมมากที่สุด (̅ = 4.52 ,S.D.= 0.62) 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียน มีค่าร้อยละ 68.66 (E.I. = 0.6866) 5. นิสิตมีผลตอบรับต่อการใช้สื่อประสมฯ ที่พัฒนาขึ้น ในระดับมาก (̅ = 4.37 , S.D. = 0.54) จากผลการพัฒนาสื่อประสม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับวิดีโอโมชั่นกราฟิก สรุปได้ว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเนื้อหาที่เป็นขั้นตอนกระบวนการทำงานที่เป็นนามธรรมสูงขึ้น ซึ่งเป็นผล จากการนำเอาสื่อประสมมาใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน อีกทั้ง เมื่อได้มีการทดสอบประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลเป็นไปตามเกณฑ์ที่ก าหนด ท าให้เกิดความน่าเชื่อมั่นในการน าไปใช้ได้สูงยิ่งขึ้น
34 งานวิจัยในต่างประเทศ Hiramatsu (1982) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การใช้ชุดการเรียนการสอนรายบุคคลแบบสื่อประสมกับ นักศึกษาวิทยาลัยชุมชนฟุตฮิลล์ประเทศญี่ปุ่น นักศึกษาเรียนโดยใช้หนังสือเรียน เทปโทรทัศน์เทปวิทยุและ เทปแม่เหล็ก ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นที่น่าพอใจ และนักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการ ใช้ชุดการเรียนการสอนรายบุคคลแบบสื่อประสม ส่วน Lichtenheld (1987) ได้ทำการวิจัยศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดทัศนคติของครูและนักเรียนที่มีต่อการ เรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยการใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับสื่อประสมระดับประถมศึกษา โรงเรียนอัสติน แห่งรัฐเท็กซัส โดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 คน และครูจำนวน 24 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า นักเรียน และครูมีเจตคติที่ดีขึ้นต่อวิชาคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกับวิธีการสอน แบบอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้สื่อประสม ในเวลาต่อมา Bottge, et al. (2006) ได้ทำการศึกษา เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรสำหรับนักเรียน ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำ ซึ่งเรียนอยู่ในโรงเรียนการศึกษาการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มี ปัญหาด้านพฤติกรรม หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีผลการ เรียนต่ำ ซึ่งเน้นด้านการใช้สื่อประสม และการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์เป็นหลักเพื่อส่งเสริมให้เกิด บรรยากาศของการเรียนรู้ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้ปัญหาสูงขึ้น เช่นเดียวกับ Wang (2010) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ การใช้เทคโนโลยีสื่อประสมในจัดการเรียนรู้เพื่อ ช่วยให้ครูได้จำลองผลที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้และช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อประสม ซึ่ง เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการสอนแบบเดิมๆ และศึกษาว่าเทคโนโลยีสื่อประสม เหล่านี้มีประสิทธิภาพมากเพียงใด เมื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้การศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้น ในรูปแบบออนไลน์โดยใช้โปรแกรมแฟลช ซึ่งเป็นลักษณะโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์และใช้งานง่าย รวมทั้งการ อภิปรายโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีการทดสอบ ก่อนการเรียนและหลังการเรียน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาคือ ความรู้ความสามารถ ทักษะการปฏิบัติงาน และ ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนในขณะเรียน ผลการวิจัยพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของ ความรู้ความสามารถ และทักษะการปฏิบัติงาน แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องความพึงพอใจในการเรียน ซึ่งกลุ่ม ที่ได้รับการเรียนโดยใช้สื่อประสมมีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้แบบเดิม นอกจากนี้ Nurmawati, Lusi, Edy and Maria (2019) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ การใช้สื่อประสม ปฏิสัมพันธ์ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 SDN Manyaran 01 Semarang ในปีการศึกษา 2019/2020 โดยผลจากการศึกษาพบว่า สื่อการเรียนรู้เป็น เครื่องมือที่ช่วยครูในการพัฒนาระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ของนักเรียน โดยสื่อการเรียนรู้มักได้รับการ พัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อให้ทราบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ กับ นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบบรรยายตามปกติ ว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ โดยการ วิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยศึกษาจากการทดสอบก่อนเรียน และหลัง เรียน กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่าง
35 ในการวิจัยเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ซึ่งทั้งสองกลุ่มจะได้รับการทดสอบก่อนเรียน และมี รูปแบบในการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการจัดการเรียนสอนที่ใช้สื่อประสม ปฏิสัมพันธ์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมจะได้รับการสอนแบบบรรยายตามปกติ หลังจากการเรียนการสอนเสร็จสิ้น ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการทดสอบหลังเรียน ซึ่งผลปรากฏว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ มีระดับผลสัมฤทธิ์ที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 74.88 ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 64.32 ดังนั้นจึงเป็นตัวชี้วัดได้ว่า การจัดการเรียน การสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ส่งผลให้ผู้เรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ดีกว่าการ จัดการสอนแบบบรรยายตามปกติ และเป็นการยกระดับความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของ ผู้เรียนด้วยเช่นกัน จากผลการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศส่วนใหญ่ จะเห็นได้ว่า หลังจากที่นักเรียนได้รับการสอน โดยมีการใช้สื่อประสม หรือสื่อประสมปฏิสัมพันธ์นั้นพบว่าส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และสูงกว่าการสอนแบบปกติรวมถึงนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์เมื่อได้รับการเรียนรู้โดยใช้สื่อ ประสม หรือสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ ประสมปฏิสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อเป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้มีพฤติกรรมทางการเรียนรู้ที่เหมาะสม และ บรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำผลที่ได้จากการทำวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เป็น ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนต่อไป
36 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง ผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย ตามขั้นตอนดังนี้ 1. แบบแผนการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ในการจัดการเรียนการสอน 2. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง ประชากรของการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ห้องเรียน ได้แก่ ม.3/2, ม.3/8, ม.3/9 และ ม.3/11 รวมคิดเป็นจำนวนนักเรียนทั้งหมด 161 คน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก ห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอนทั้งหมด 4 ห้องเรียน โดยทำการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับงานวิจัยนี้จำนวน 3 ห้องเรียน โดยเป็นกลุ่มนักเรียนที่เรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์ 6 (ค23102) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมคิดเป็นจำนวน 126 คน และเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีระดับ ผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาคณิตศาสตร์น้อยที่สุด 3 อันดับ เมื่อเปรียบเทียบจากกลุ่มนักเรียนที่เรียนในระดับเดียวกัน ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 3.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เรื่อง ความคล้าย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.2 สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีได้แก่ ใบงาน ใบความรู้ใบกิจกรรม เช่น Live Worksheets Top Worksheets เกมออนไลน์ โปรแกรม Applications และ websitesต่าง ๆ ที่ส่งเสริม การเรียนรู้ รวมถึงสื่อของจริง สื่อเทคโนโลยี E-Learning และสื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ จากอินเตอร์เน็ต
37 4. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือแต่ละประเภท 1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เรื่อง ความคล้าย มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้ 1.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 1.2 วิเคราะห์ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับเนื้อหา เรื่อง ความคล้าย 1.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน 1.4 นำแบบทดสอบไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านการสอน คณิตศาสตร์ และด้านการวัดและประเมินผล ตรวจสอบความถูกต้องของการวัด และใช้ดุลพินิจเพื่อตรวจสอบความ เที่ยงตรงของเนื้อหา และนำตารางวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณค่าดัชนีความ สอดคล้อง 1.5 นำแบบทดสอบที่แก้ไขปรับปรุง ไปทดลองใช้เพื่อตรวจสอบหาคุณภาพของแบบทดสอบกับ นักเรียนระกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง 1.6 การตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบทดสอบ 1.7 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็น นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด 2. การสร้าง และใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์/ สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้ 2.1 ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของนักเรียน ในการเรียนรู้เรื่อง ความคล้าย 2.2 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน 2.3 ศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดย ใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยี เรื่อง ความคล้าย
38 การดำเนินการวิจัย / การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยผู้วิจัยมีขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย ดังนี้ 1. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เรื่อง ความคล้าย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1.2 สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีได้แก่ ใบงาน ใบความรู้ใบกิจกรรม เช่น Live Worksheets Top Worksheets เกมออนไลน์ โปรแกรม Applications และ websites ต่าง ๆ ที่ส่งเสริม การเรียนรู้ รวมถึงสื่อของจริง สื่อเทคโนโลยี E-Learning และสื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ จากอินเตอร์เน็ต 2. สำรวจผลการประเมินการเรียนรู้ในเรื่อง ความคล้าย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ห้องเรียน ได้แก่ ม.3/2, ม.3/8, ม.3/9 และ ม.3/11 รวมคิดเป็นจำนวนนักเรียนทั้งหมด 161 คน จากแบบทดสอบก่อนเรียน 3. การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากห้องเรียนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอนทั้งหมด 4 ห้องเรียน โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจงสำหรับงานวิจัยนี้จำนวน 3 ห้องเรียน โดยเป็นกลุ่มนักเรียนที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ 6 (ค23102) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมคิดเป็นจำนวน 126 คน และเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ใน รายวิชาคณิตศาสตร์น้อยที่สุด 3 อันดับ เมื่อเปรียบเทียบจากกลุ่มนักเรียนที่เรียนในระดับเดียวกันที่ผู้วิจัย รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอน จากการทำแบบทดสอบ 4. ผู้วิจัยดำเนินการสอนเรื่อง ความคล้าย โดยใช้วิธีบรรยายเพียงอย่างเดียว เมื่อเสร็จสิ้นการเรียน การสอน ผู้วิจัยนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความคล้าย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มาทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง แล้วนำข้อมูลผลการทดสอบเป็นคะแนนก่อนเรียน 5. จากนั้นผู้วิจัยดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ความคล้าย โดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 6. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความคล้าย มาทำการทดสอบหลังการเรียนกับ กลุ่มตัวอย่าง 7. นำผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความคล้าย ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ของก่อนการเรียนและหลังการเรียน มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน โดยใช้Paired-Sample T-Test
39 เกณฑ์การให้คะแนน ผู้วิจัยจะทำการให้คะแนนจากความถูกต้องในการทำแบบทดสอบก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียน การสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี โดยแบบทดสอบในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบทดสอบ แบบเลือกตอบ (multiple choice) โดยมี 4 ตัวเลือก ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 20 ข้อ คิดเป็นคะแนนข้อละ 1 คะแนนดังนั้นรวมคิดเป็น 20 คะแนน ดังนั้น ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะนำคะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียน การสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการเปรียบเทียบ และวิเคราะห์ข้อมูลใน การวิจัยต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อ ศึกษาผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนา ทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ต่างๆดังนี้ 1. ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความคล้าย ดังนี้ 1.1 ตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบทดสอบโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence: IOC) 1.2 ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ( - Coefficient) ของ Cronbach 2. การทดสอบสมมติฐาน 2.1. นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียน การสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์เพื่อมาเปรียบเทียบค่าคะแนน ร้อยละ และค่าสถิติเชิงพรรณนา 2.2. ทดสอบค่าความแตกต่างด้วยวิธี Paired-Sample T-Test ของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่ได้ จากการทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลังได้รับได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม ปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
40 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆโดยใช้สูตรทางสถิติ ดังต่อไปนี้ 5.1 ค่าร้อยละ (Percentage) 5.2 ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (̅ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D)
41 5.3 การทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าความแตกต่างด้วยวิธี Paired-Sample T-Test *หมายเหตุ : ผู้วิจัยเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ