42 บทที่ 4 ผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อ พัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นลำดับในลักษณะตารางประกอบคำบรรยายดังนี้ 1. แสดงการเปรียบเทียบค่า คะแนน ร้อยละ และค่าสถิติเชิงพรรณนา ที่ได้จากการทำแบบทดสอบ ในช่วงระยะก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีโดย นำเสนอข้อมูลในรูปของตาราง และแผนภูมิแท่ง 2. แสดงผลการทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน ที่ได้จากการทำแบบทดสอบในช่วง ระยะก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีด้วยวิธี PairedSample T-Test และนำเสนอในรูปตาราง ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดสมมติฐานไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีจะช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ทำให้ผู้เรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลคะแนนจากการทำแบบทดสอบทั้งในช่วงระยะก่อน และ หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์โดยมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นดังต่อไปนี้ ตารางที่ 4.1 แสดงค่าคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียน การสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี ตารางที่ 4.1 (ต่อ) นักเรียน คนที่ คะแนนก่อนได้รับการสอน คะแนนหลังได้รับการสอน คะแนนเต็ม คิดเป็น คะแนนเต็ม คิดเป็น 20 ร้อยละ 20 ร้อยละ 1 9 45.00 13 65.00 2 8 40.00 12 60.00 3 10 50.00 13 65.00 4 12 60.00 15 75.00 5 19 95.00 20 100.00 6 11 55.00 14 70.00 7 15 75.00 17 85.00 8 13 65.00 16 80.00 9 13 65.00 16 80.00 10 9 45.00 13 65.00 11 12 60.00 15 75.00
43 ตารางที่ 4.1 (ต่อ) นักเรียน คนที่ คะแนนก่อนได้รับการสอน คะแนนหลังได้รับการสอน คะแนนเต็ม คิดเป็น คะแนนเต็ม คิดเป็น 20 ร้อยละ 20 ร้อยละ 12 12 60.00 15 75.00 13 10 50.00 13 65.00 14 8 40.00 12 60.00 15 18 90.00 20 100.00 16 5 25.00 9 45.00 17 10 50.00 13 65.00 18 4 20.00 8 40.00 19 8 40.00 12 60.00 20 5 25.00 9 45.00 21 8 40.00 12 60.00 22 10 50.00 13 65.00 23 7 35.00 11 55.00 24 12 60.00 15 75.00 25 11 55.00 14 70.00 26 9 45.00 13 65.00 27 15 75.00 17 85.00 28 11 55.00 14 70.00 29 10 50.00 13 65.00 30 15 75.00 17 85.00 31 10 50.00 13 65.00 32 15 75.00 17 85.00 33 15 75.00 17 85.00 34 12 60.00 15 75.00 35 11 55.00 14 70.00 36 8 40.00 12 60.00 37 11 55.00 14 70.00 38 12 60.00 15 75.00 39 10 50.00 13 65.00 40 11 55.00 14 70.00 41 15 75.00 17 85.00 42 10 50.00 13 65.00 43 7 35.00 11 55.00
44 ตารางที่ 4.1 (ต่อ) นักเรียน คนที่ คะแนนก่อนได้รับการสอน คะแนนหลังได้รับการสอน คะแนนเต็ม คิดเป็น คะแนนเต็ม คิดเป็น 20 ร้อยละ 20 ร้อยละ 44 6 30.00 10 50.00 45 10 50.00 13 65.00 46 11 55.00 14 70.00 47 7 35.00 11 55.00 48 8 40.00 12 60.00 49 11 55.00 14 70.00 50 5 25.00 9 45.00 51 13 65.00 16 80.00 52 10 50.00 13 65.00 53 10 50.00 13 65.00 54 7 35.00 11 55.00 55 10 50.00 13 65.00 56 4 20.00 8 40.00 57 10 50.00 13 65.00 58 14 70.00 16 80.00 59 11 55.00 14 70.00 60 7 35.00 11 55.00 61 3 15.00 7 35.00 62 2 10.00 6 30.00 63 0 0.00 4 20.00 64 13 65.00 16 80.00 65 7 35.00 11 55.00 66 13 65.00 16 80.00 67 12 60.00 15 75.00 68 4 20.00 8 40.00 69 11 55.00 14 70.00 70 6 30.00 10 50.00 71 15 75.00 17 85.00 72 10 50.00 13 65.00 73 7 35.00 11 55.00 74 14 70.00 16 80.00 75 5 25.00 9 45.00
45 ตารางที่ 4.1 (ต่อ) นักเรียน คนที่ คะแนนก่อนได้รับการสอน คะแนนหลังได้รับการสอน คะแนนเต็ม คิดเป็น คะแนนเต็ม คิดเป็น 20 ร้อยละ 20 ร้อยละ 76 9 45.00 13 65.00 77 7 35.00 11 55.00 78 8 40.00 12 60.00 79 12 60.00 15 75.00 80 12 60.00 15 75.00 81 8 40.00 12 60.00 82 5 25.00 9 45.00 83 9 45.00 13 65.00 84 11 55.00 14 70.00 85 13 65.00 16 80.00 86 11 55.00 14 70.00 87 10 50.00 13 65.00 88 6 30.00 10 50.00 89 6 30.00 10 50.00 90 10 50.00 13 65.00 91 7 35.00 11 55.00 92 7 35.00 11 55.00 93 6 30.00 10 50.00 94 9 45.00 13 65.00 95 10 50.00 13 65.00 96 2 10.00 6 30.00 97 6 30.00 10 50.00 98 3 15.00 7 35.00 99 7 35.00 11 55.00 100 8 40.00 12 60.00 101 6 30.00 10 50.00 102 6 30.00 10 50.00 103 9 45.00 13 65.00 104 5 25.00 9 45.00 105 14 70.00 16 80.00 106 11 55.00 14 70.00 107 11 55.00 14 70.00
46 ตารางที่ 4.1 (ต่อ) นักเรียน คนที่ คะแนนก่อนได้รับการสอน คะแนนหลังได้รับการสอน คะแนนเต็ม คิดเป็น คะแนนเต็ม คิดเป็น 20 ร้อยละ 20 ร้อยละ 108 7 35.00 11 55.00 109 5 25.00 9 45.00 110 9 45.00 13 65.00 111 12 60.00 15 75.00 112 7 35.00 11 55.00 113 6 30.00 10 50.00 114 6 30.00 10 50.00 115 8 40.00 12 60.00 116 9 45.00 13 65.00 117 6 30.00 10 50.00 118 4 20.00 8 40.00 119 7 35.00 11 55.00 120 7 35.00 11 55.00 121 7 35.00 11 55.00 122 6 30.00 10 50.00 123 12 60.00 15 75.00 124 6 30.00 10 50.00 125 9 45.00 13 65.00 126 7 35.00 11 55.00 ตารางที่ 4.2 แสดงการเปรียบเทียบค่าคะแนน ร้อยละ และค่าสถิติเชิงพรรณนา ที่ได้จากการทำ แบบทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม ปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี Descriptive Statistics N Range Minimum Maximum Mean Std. Deviation คะแนนก่อนเรียน 126 19 0.00 19.00 9.0952 3.38568 คะแนนหลังเรียน 126 16 4.00 20.00 12.5159 2.79638 คะแนนก่อนเรียน (ร้อยละ) 126 95 0.00 95.00 45.4762 16.92842 คะแนนหลังเรียน (ร้อยละ) 126 80 20.00 100.00 62.5794 13.98190 Valid N (listwise) 126
47 ภาพที่ 4.1 แผนภูมิแท่ง และแผนภูมิเส้นแสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนที่ได้จาก การทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม ปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี ภาพที่ 4.2 แผนภูมิแท่ง และแผนภูมิเส้นแสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนคิดเป็น ร้อยละที่ได้จากการทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี 0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 1 5 9 13 17 21 25 29 33 37 41 45 49 53 57 61 65 69 73 77 81 85 89 93 97 101 105 109 113 117 121 125 คะแนน นักเรียน (คนที่) แผนภูมิแท่งและแผนภูมิเส้นแสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน 0.00 10.00 20.00 30.00 40.00 50.00 60.00 70.00 80.00 90.00 100.00 1 5 9 13 17 21 25 29 33 37 41 45 49 53 57 61 65 69 73 77 81 85 89 93 97 101 105 109 113 117 121 125 ร้อยละ นักเรียน (คนที่) แผนภูมิแท่ง และแผนภูมิเส้นแสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน (คิดเป็นร้อยละ) คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน
48 ตารางที่ 4.3 แสดงผลคะแนนเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และกลุ่มสาระฯ ที่ได้จากการ ทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลัง ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และ สื่อเทคโนโลยี ภาพที่ 4.3 แผนภูมิวงกลมเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทดสอบกับค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และ กลุ่มสาระฯ จากการทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ร้อยละ 70 ขึ้นไป) ระยะก่อนได้รับการเรียนรู้ด้วยสื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent Valid ไม่ผ่านเกณฑ์(น้อยกว่า 70%) 114 90.5 90.5 90.5 ผ่านเกณฑ์(70% ขึ้นไป ) 12 9.5 9.5 100.0 Total 126 100.0 100.0 ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ร้อยละ 70 ขึ้นไป) ระยะหลังได้รับการเรียนรู้ด้วยสื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent Valid ไม่ผ่านเกณฑ์(น้อยกว่า 70%) 83 65.9 65.9 65.9 ผ่านเกณฑ์(70% ขึ้นไป ) 43 34.1 34.1 100.0 Total 126 100.0 100.0
49 จากตาราง และแผนภูมิในข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีระดับผลคะแนนในช่วงก่อนที่จะได้รับ ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีต่ำกว่าในช่วงหลังได้รับการ จัดการเรียนรู้กล่าวคือ ในช่วงก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ นั้น จากนักเรียน ทั้ง 126 คน มีผู้ที่ผ่านเกณฑ์ (คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ) เพียงจำนวน 60 คน (ร้อยละ 47.62) ซึ่งแสดงว่ามีผู้ที่ได้คะแนนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม 20 คะแนน (น้อยกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม) เป็นจำนวนถึง 66 คน (คิดเป็นร้อยละ 52.38) และได้คะแนนคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยเพียง 9.10 คะแนน หรือคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.48 แต่หลังจากที่นักเรียนได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ ประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี ส่งผลให้คะแนนที่ได้หลังจากการเรียนรู้นั้นเพิ่มขึ้น โดยมีนักเรียนที่ผ่าน เกณฑ์ คือได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 คิดเป็นจำนวน 110 คน (ร้อยละ 87.30) และได้คะแนนหลังเรียน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 12.52 คะแนน หรือคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.58 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาค่าคะแนนจากการทำแบบทดสอบ เปรียบกับค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่กำหนดค่าเป้าหมายของคะแนนไว้ที่ ระดับ 3 ขึ้นไป กล่าวคือ ควรได้ คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม ซึ่งพบว่า มีจำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนในช่วงระยะก่อนเรียนผ่าน เกณฑ์ค่าเป้าหมายเพียงร้อยละ 9.52 แต่เมื่อนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อ เทคโนโลยี พบว่ามีระดับคะแนนที่ผ่านเกณฑ์ค่าเป้าหมายสูงขึ้น โดยมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ค่าเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 34.13 ดังนั้นเห็นได้ว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีน่าจะมีผล ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคิดทางคณิตศาสตร์ ทำให้ระดับคะแนนของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่า ผลคะแนนที่ได้นั้นจะไม่สูงเท่าที่ควร แต่ถือได้ว่ามีพัฒนาการทางการเรียนรู้ที่ดีขึ้นสำหรับนักเรียนที่เคยมีระดับ ผลสัมฤทธิ์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ หรือไม่ผ่านเกณฑ์ และนอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบค่าความแตกต่างของ คะแนนที่ได้จากการทดสอบระหว่างคะแนนก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม ปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบว่าระดับผลคะแนนที่ได้หลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนโดย ใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีนั้น มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ ซึ่งผู้วิจัยได้ แสดงในตารางดังต่อไปนี้
50 ตารางที่ 4.4 แสดงผลการทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่ได้จากการทำ แบบทดสอบในช่วงระยะก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม ปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีด้วยวิธี Paired-Sample T-Test Paired Samples Statistics Mean N Std. Deviation Std. Error Mean Pair 1 คะแนนก่อนเรียน 9.0952 126 3.38568 .30162 คะแนนหลังเรียน 12.5159 126 2.79638 .24912 Pair 2 คะแนนก่อนเรียน(ร้อยละ) 45.4762 126 16.92842 1.50810 คะแนนหลังเรียน(ร้อยละ) 62.5794 126 13.98190 1.24561 Paired Samples Correlations N Correlation Sig. Pair 1 คะแนนก่อนเรียน & หลังเรียน 126 .994 .000 Pair 2 คะแนนก่อนเรียน(ร้อยละ) & หลังเรียน(ร้อยละ) 126 .994 .000 จากตารางที่ 4.4 เป็นการทดสอบค่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างคะแนนก่อน และหลัง ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีแสดงให้เห็นว่าคะแนนเฉลี่ยจาก การทำแบบทดสอบในช่วงระยะก่อนเรียนและหลังเรียน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเห็นได้อย่างชัดเจนว่าค่าคะแนนเฉลี่ยหลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีนั้นเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี ส่งผลให้คะแนนในช่วงก่อนและหลังได้รับการสอนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรือการ จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยีดังกล่าว เป็นตัวแปรที่ช่วยพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ที่ทำให้ระดับผลคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การจัดการ เรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี ส่งผลให้นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับการ วิจัยในครั้งนี้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้น N Correlation Sig. Pair 1 คะแนนก่อนเรียน & หลังเรียน 126 .994 .000 Pair 2 คะแนนก่อนเรียน(ร้อยละ) & หลังเรียน(ร้อยละ) 126 .994 .000 Lower Upper Pair 1 คะแนนก่อนเรียน & หลังเรียน -3.42063 0.68531 .06105 -3.58033 -3.26094 -56.028 125 .000 Pair 2 คะแนนก่อนเรียน(ร้อยละ) & หลังเรียน(ร้อยละ) -17.10317 3.42655 0.30526 -17.90166 -16.30469 -56.028 125 .000 Mean t df Sig. (2-tailed) Std. Deviation Paired Samples Correlations Paired Samples Test Std. Error Mean 99% Confidence Interval of the Difference Paired Differences
51 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สมมติฐานของการวิจัย การจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีจะช่วยพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ทำให้ผู้เรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้น ประชากร /กลุ่มตัวอย่าง ประชากรของการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ห้องเรียน ได้แก่ ม.3/2, ม.3/8, ม.3/9 และ ม.3/11 รวมคิดเป็นจำนวนนักเรียนทั้งหมด 161 คน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก ห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอนทั้งหมด 4 ห้องเรียน โดยทำการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับงานวิจัยนี้จำนวน 3 ห้องเรียน โดยเป็นกลุ่มนักเรียนที่เรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์ 6 (ค23102) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมคิดเป็นจำนวน 126 คน และเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีระดับ ผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาคณิตศาสตร์น้อยที่สุด 3 อันดับ เมื่อเปรียบเทียบจากกลุ่มนักเรียนที่เรียนในระดับเดียวกัน ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่สอน สรุปผลการวิจัย 1. ในระยะก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยี มี จำนวนนักเรียนเพียงร้อยละ 47.62 ที่ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ (ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อย ละ 50 ของคะแนนเต็ม) และมีเพียงร้อยละ 9.52 ที่ได้คะแนนจากการทดสอบคิดเป็นระดับ 3 ขึ้นไป (ได้ คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) ซึ่งพบว่ามีจำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 3 ขึ้นไป ตาม เกณฑ์ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 53) และส่วนใหญ่ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบน้อยกว่าระดับ 3 ของคะแนนเต็ม โดยได้คะแนนเฉลี่ยคิด เป็นร้อยละ 45.48 2. ในระยะหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยี มี จำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ (ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของคะแนน เต็ม) คิดเป็นร้อยละ 87.30 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และพบว่ามีจำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นจำนวนร้อยละ 34.13 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 53) โดยได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 62.58 และคะแนนเฉลี่ยของการ ทดสอบในช่วงก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโลยี นั้น มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
52 อภิปรายผล ผลของการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ และสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการวิจัย พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังการเรียนพบว่าสูงกว่าเกณฑ์50 % อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีความสอดคล้องกับ ผลงานวิจัยที่ผ่านมาหลายท่านที่ได้ทำการศึกษาผลพัฒนาการทางการเรียนรู้ด้วยการใช้สื่อประสม หรือสื่อ ประสมปฏิสัมพันธ์ดังเช่น ผลงานวิจัยของ หนึ่งฤทัย เดวิเลาะ (2544) ซึ่งได้ทำการวิจัยเรื่องการศึกษา ความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบุรารักษ์จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้สื่อประสม และงานวิจัยของ เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์(2545) ที่ว่าสื่อสามารถทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายของสื่อในรูปแบบต่างๆ ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างกระฉับกระเฉง เกิดความประทับใจซึ่งนำไปสู่การจดจำได้นานสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์สามารถ แก้ไขปัญหาในการเรียนรู้ ส่วนงานวิจัยของ สุจิตา นุ่มสุวรรณ (2547) ที่ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษา เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้ชุดสื่อ ประสมกับการสอนปกติเช่นเดียวกับงานวิจัยของกนิษฐา เชาว์วัฒนกุล (2548) โดยได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องเส้นขนาน โดยการ สอนแบบใช้สื่อประสม และงานวิจัยของจิราวรรณ เทพจินดา (2551) ที่ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ ณรงค์ฤทธิ์ ฉายา (2552) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความ คิดเห็นต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยการใช้สื่อประสม โรงเรียนศรีบุณยานนท์จังหวัดนนทบุรีซึ่งผลงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นนั้นสอดคล้องกัน โดยนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการใช้สื่อประสม นั้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังการเรียนสูง กว่าก่อนการเรียนทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนมีความสนใจในการเรียน ตั้งใจเรียนมีความกระตือรือร้นใน การศึกษาหาความรู้จากเอกสารและสื่อการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และการตั้งใจเรียนสม่ำเสมอทำให้นักเรียน ได้รับความรู้อย่างต่อเนื่อง การใช้สื่อประสมในการสอนช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียน ทำให้การเรียนรู้มี ประสิทธิภาพมากขึ้นจากการสังเกตขณะที่ผู้วิจัยทำการสอนโดยการใช้สื่อประสมพบว่า นักเรียนมีความ กระตือรือร้นในการเรียน มีความสนใจ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาชัดเจนและจดจำได้นานขึ้นเช่น การสร้าง รูปสามเหลี่ยมที่คล้ายกันด้วยโปรแกรม GSP การสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต การต่อรูปสามเหลี่ยมคล้าย กิจกรรมที่ จัดให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติประกอบการทำใบกิจกรรม ได้ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิด นักเรียนมีส่วนร่วมใน การทำกิจกรรม ได้ลงมือคิด ลงมือปฏิบัติก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม รวมทั้งเกิดความ
53 สนุกสนาน เพลิดเพลิน นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จะเห็นได้ว่าการนำสื่อประสมมาใช้นอกจากเป็นการ สร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้แล้วยังเป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้น่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย จากแนวการศึกษาในเรื่องของการใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในช่วงที่ผ่านมาของ นักการศึกษาท่านต่าง ๆ ทำให้เห็นได้ว่า สื่อประสม นั้นมีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด และเนื่องด้วยในยุคสมัยปัจจุบันนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีถือว่ามีความเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ดังนั้น การพัฒนาสื่อประสม ให้ มีความเหมาะสมกับโลกในยุคปัจจุบันจึงน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพให้ผู้เรียนสามารถเกิดทักษะ การเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุนี้ จึงเริ่มมีนักการศึกษาที่สนใจที่จะพัฒนาสื่อประสม ให้ อยู่ในรูปแบบเชิงโต้ตอบ หรือสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ กันมากขึ้น ดังตัวอย่างการศึกษาของ Nurmawati, Lusi, Edy and Maria (2019) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ การใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยพบว่า ผลจากการศึกษานั้นแสดงให้เห็น อย่างชัดเจนว่า การใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ในการจัดการเรียนรู้นั้น สามารถช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้ดีกว่าการจัดการเรียนการสอนแบบบรรยายตามปกติ ทั้งนี้เพราะสื่อประสม ปฏิสัมพันธ์นี้ ทำให้ทั้งผู้สอน และผู้เรียน สามารถมีปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ด้วยรูปแบบ ที่มีความทันสมัย เหมาะสมกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ประกอบทั้งสามารถสื่อสารข้อมูล รวมถึงการประเมินผล การเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีส่วนช่วยให้เกิดการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทางการเรียน และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ 1. ครูผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำความรู้จากการเรียนไปใช้ในสถานการณ์จริงเพื่อเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา และมีทักษะการแก้ปัญหาในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้ให้การสนับสนุนและผู้ให้ คำปรึกษาแก่ผู้เรียน 2. การสร้างสื่อการเรียนรู้ครูผู้สอนควรผลิตสื่อให้มีความสวยงาม สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและ รวดเร็ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนครั้งต่อ ๆ ไปได้ 3. ครูผู้สอนควรคำนึงถึงลำดับขั้นของการนำเสนอเนื้อหาทีละขั้น จากง่ายไปหายากเพื่อให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี 4. การจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและ เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน เวลาเรียนในแต่ละคาบ 5. ครูผู้สอนควรศึกษาหลักการใช้สื่อการเรียนรู้ก่อนการนำสื่อการรู้มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการ จัดการเรียนการรู้ให้มากที่สุด
54 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยการใช้รูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบอื่น ๆ 2. ควรมีการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของกลุ่มที่เรียนโดยการใช้สื่อประสม ปฏิสัมพันธ์และสื่อเทคโนโยลีกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอื่น ๆ 3. ควรมีการศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์และ สื่อเทคโนโลยีในเนื้อหาอื่น ๆ
55 รายการเอกสารและสิ่งอ้างอิง ภาษาไทย กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล. 2548. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่2 เรื่องเส้นขนาน โดยการสอนแบบใช้สื่อประสม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2544. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2545. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ก่อเกียรติ ขวัญสกุล. 2561. “การพัฒนาสื่อประสม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับวิดีโอโมชั่น กราฟิก เรื่อง พัฒนาการและระบบการพิมพ์ สำหรับนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และ คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม”. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 4(2), 59-76. กัญญาพัชร ยอดกลาง. 2563. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method). (Online). https://www.gotoknow.org/posts/677638, 25 กันยายน 2563. การพัฒนาสื่อประสมปฏิสัมพันธ์. (Online). http://wannisakaya.blogspot.com/2016/03/1-6-1- multimedia-interactive-cd-rom.html, 24 กุมภาพันธ์ 2565. กิดานันท์ มลิทอง. 2544. สื่อการสอนและฝึกอบรม : จากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิจิตทัล. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์. กิริยา กองชุน. 2554. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ความคล้าย โดยการใช้สื่อประสม โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
56 คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสื่อผสม. (Online). https://sites.google.com/site/computersusedinmixedmedia/sux-prasm-hruxmaltimideiy-multimedia, 24 กุมภาพันธ์ 2565. จิราวรรณ เทพจินดา. 2551. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่2 เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยการสอนแบบใช้สื่อประสม. วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์. 2528. การเลือกและการใช้สื่อการสอน. เอกสารประกอบการสอน ภาควิชา เทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2529. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชาญชัย ยมดิษฐ์. 2548. เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์หลักพิมพ์. ณรงค์ฤทธิ์ ฉายา. 2552. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นต่อวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยการใช้สื่อประสม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ดุสิต ขาวเหลือง. 2549. “การบูรณาการใช้สื่อประสมและสื่อหลายมิติเพื่อการสอนและการเรียนรู้ Integrating Multimedia and Hypermedia for Teaching and Learning”. วารสาร ศึกษาศาสตร์, 18(1), 29-44. นิวัฒน์ สาระขันธ์. 2564. “สอนอย่างไรให้นักเรียนเกิดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ How to Teach the Students to Arise Mathematical Skills and Processes?”. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(4), 203-218. บุญทัน อยู่ชมบุญ. 2529. พฤติกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์. มหาวิทยาลัยพะเยา. 2559. Educational Innovation. (Online). http://gararimeim.blogspot.com/2016/11/interactive-multimedia.html, 24 กุมภาพันธ์ 2565.
57 ยุพิน พิพิธกุล. 2539. การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ยุพิน พิพิธกุล และ อรพรรณ ตันบรรจง. 2536. สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. ภาควิชาการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (อัดสำเนา). รัตนา ตั้งศิริชัยพงษ์. 2553. “รูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติมที่ประยุกต์ใช้กลยุทธ์การพัฒนาตนเอง ด้วยสัญญาการเรียนในการพัฒนาสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนด้อยสัมฤทธิ์ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าบ่อจังหวัดหนองคาย”. วารสารวิชาการ, 14(4), 6. วิมลมาศ ถวาย. 2551. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง “บทประยุกต์”ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสม โรงเรียนบ้านเขา ทราย จังหวัดนครศรีธรรมราช. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอน คณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศิริชัย กาญจนาวสี. 2544. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ศิริพงศ์ พะยอมแย้ม. 2533. การเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560. คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร. สถาพร สาธุการ. 2549. Multimedia หรือสื่อประสมเพื่อการศึกษา. (Online). http://www.thapra.lib.su.ac.th/av/work4.htm, 25 พฤศจิกายน 2564. สมบูรณ์ สงวนญาติ. 2534. เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน. ภาคพัฒนาตำราและเอกสารทางวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์, กรมการฝึกหัดครู. สมศรีรำพรรณ์. 2552. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง “สมการ” โดยการใช้สื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 โรงเรียนเซนต์ราฟาแอล
58 จังหวัดสมุทรปราการ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2531. สื่อประสม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ อักษรไทย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 2560. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด. สิริพร ทิพย์คง. 2536. การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สิริพร ทิพย์คง. 2545. หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพัฒนาคุณภาพ วิชาการ (พว.) จำกัด. สุจิตา นุ่มสุวรรณ. 2547. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่5 โดยการใช้ชุดสื่อประสมกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สุโชติดาวสุโข และ สาโรจน์ แพ่งยัง. 2535. สื่อการสอน. คู่มือการสอนสื่อ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุดใจ เหง้าสีไพร. 2549. สื่อการเรียนการสอน: หลักการและทฤษฎีพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. ภาควิชา เทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. หนึ่งฤทัย เดวิเลาะ. 2544. การศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ” อัตราส่วนและร้อยละ” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนบุรารักษ์จังหวัดสมุทรปราการ โดยการสอนแบบใช้สื่อประสม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. 2545. เทคโนโลยีทางการศึกษา: หลักการและแนวคิดสู่การปฏิบัติ. คณะ ศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
59 ภาษาอังกฤษ Bottge, B., Rueda, E. and Skivington, M. 2006. Situating Math Instruction in Rich ProblemSolving Contexts: Effects on Adolescents with Challenging Behaviors (online). http://www.eric.ed.gov/., Sep 25, 2020. Carraher,T . & Schliemann, A. 1985. Computation routines prescribed by schools: Help or hindrance?. journal for research in Mathematics Education Dale, E. 1969. Audiovisual Methods in Teaching. 3rd ed. New York: The Dryden Press. Erickson, C. W. H. 1972. Fundamentals of Teaching with Audiovisual Technology. 2 nd ed. London: The Macmillan Company Collier-Macmillan Limited. Hiramatsu, M. 1982. An Individualized Learning Package Program in Beginning College Japanese: A Multi - Media Approach. Dissertation Abstracts International. 43 (August): 386-A. Krulik,S.,&Rudnick, J.A. 1993. Resoning and Probrem Solving : Handbook for elementary school teacher. Boston: Allyn and Bacon. Lichtenheld, P. J. 1987. Descriptive Study of a Prescription Learning Basic Mathematics Skills Multi-Media Lab in an Elementary School Setting (online). http://www.eric.ed.gov, Sep 25, 2020. Nurmawati, M., Lusi, R. P., Edy, D. and Maria, Y. R. 2019. The Use of Interactive Multimedia in Improving Mathematics Learning Outcomes: The Case of the 4th Grade Students of SDN Manyaran 01 Semaran in the Academic Year of 2019/2020. Advances in Social, Education and Humanities Research. 417(2). 227-231. Page, G. J. and Thomas, J. B. 1977. International Dictionary of Education. London: Kogan Page.
60 Schliemann, A. D., Carraher, D. W., & Brizuela, B. M. 2002. From unknown amounts to representing variables. In Proceedings of the XIV Annual Meeting Psychology of Mathematics Education, North American Chapter. Athens, GA: ERIC Clearinghouse. Wang, T. J. 2010. Educational Benefits of Multimedia Skills Training (online). http://www.eric.ed.gov/, Sep 25, 2021.
61 ภาคผนวก
62 ภาพตัวอย่าง แบบทดสอบก่อนเรียน และ หลังเรียน เรื่อง ความคล้าย
63 ภาพตัวอย่าง แบบทดสอบก่อนเรียน และ หลังเรียน เรื่อง ความคล้าย
64 ภาพตัวอย่าง แบบทดสอบก่อนเรียน และ หลังเรียน เรื่อง ความคล้าย
65 ภาพตัวอย่าง แบบทดสอบก่อนเรียน และ หลังเรียน เรื่อง ความคล้าย
66 ภาพตัวอย่าง สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) “Live Worksheet”
67 ภาพตัวอย่าง สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) “Live Worksheet”
68 ภาพตัวอย่าง ผลงานของนักเรียนจากสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) : “Live Worksheet”
69 ภาพตัวอย่าง สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) Application : “GeoGebra”
70 ภาพตัวอย่าง สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) Application : “GeoGebra”
71 ภาพตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
72 ภาพตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS