The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เพื่อใช้เป็นคู่มือประกอบแผนยุทธศาสตร์สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2567 - 2569)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Benjawan KANKUNTOD, 2024-01-03 21:04:26

แผนยุทธศาสตร์สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2567 - 2569)

เพื่อใช้เป็นคู่มือประกอบแผนยุทธศาสตร์สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2567 - 2569)

1 ก คำนำ การกำหนดนโยบายการบริหารงานขององค์กร ถือว่าเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานที่ดี ส่งผล ให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและตอบสนองความต้องการ ความคาดหวังของนิสิต บุคลากร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยดำเนินการผ่านกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งในการทำให้สำนักงานวิทยาเขต กำแพงแสน บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร ดังนั้น เพื่อให้สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน มีแผนยุทธศาสตร์ที่ทันสมัย สอดรับกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถขับเคลื่อนให้บรรลุวิสัยทัศน์ตามที่ได้กำหนดไว้ ผู้บริหารสำนักงานวิทยาเขต กำแพงแสนทุกระดับ จึงได้นำข้อมูลการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก มาประกอบการกำหนด วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์หลัก พร้อมทั้งกลไกการขับเคลื่อน แผนยุทธศาสตร์สู่ความสำเร็จ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ได้ระดมความร่วมมือ ความคิดเห็นของ บุคลากรทุกระดับ กำหนดเป็นกรอบการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจต่อไป งานยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ขอขอบพระคุณผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย ที่ได้ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2567 – 2569)จึงได้แผนยุทธศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบุคลากรทุกท่าน จะร่วมกันผลักดัน และขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมาย ตามที่ได้กำหนดไว้ต่อไป งานยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ ธันวาคม 2566


ข 2 แนวโน้มการอุดมศึกษาของประเทศ ได้รับผลจากการมีความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรูปแบบการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ คือ สภาพแวดล้อมที่มีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือ จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมในการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ใน อนาคต เช่น ความผันผวนทางเศรษฐกิจ สงคราม การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร รวมถึงสถานการณ์ไวรัส Covid-19 ที่ส่งผลกระทบ ไปทั่วโลก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การวางแผนยุทธศาสตร์ จึงมีส่วนสำคัญยิ่งต่อ วิถีชีวิต ใหม่และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล (new normal & digital disruption) การทำงานแบบผสมผสานผ่านสื่อออนไลน์ที่ หลากหลาย สถานการณ์ Covid-19 เป็นตัวเร่งทำให้ความต้องการ เกิดความคุ้นเคยกับการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อการทำงานที่มากขึ้น การนำประโยชน์จากเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการ เพื่อความ ยั่งยืน ล้ำสมัย ตอบสนองต่อนิสิตและบุคลากร และช่วยให้องค์กรเป็น องค์กรแห่งคุณภาพพร้อมได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 ภายใน ปี 2569 ในนามของสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ขอขอบคุณ คณะผู้บริหารสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้อง ทุกท่านที่ทุ่มเทพลังกาย พลังใจและเสียสละเวลา ในการทบทวนแผน ยุทธศาสตร์ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2567 - 2569) สำหรับใช้พัฒนาสำนักงาน วิทยาเขตกำแพงแสน ให้เป็นองค์กรใน “การบริหารจัดการทรัพยากร และบริการอย่างมีคุณภาพเพื่อความยั่งยืน” อย่างแท้จริง


ค3


4 ข สารบัญ


1


2 บทสรุปผู้บริหาร


3 บทสรุปผู้บริหาร สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน กำหนดแนวทางการดำเนินงานของแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2567 – 2569) สอดรับกับกรอบทิศทางการดำเนินงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยกำหนดวิสัยทัศน์ “การบริหารจัดการทรัพยากรและบริการอย่างมีคุณภาพเพื่อความยั่งยืน : Quality resources and services management for sustainability.” ภายใต้3 พันธกิจ ได้แก่ 1) ส่งเสริมและ สนับสนุนการให้บริการด้านการเรียนการสอน กิจการนิสิต การวิจัยและบริการวิชาการ การบริหารจัดการ รวมถึงการให้บริการพื้นฐานด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทันสมัย 2) ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรคิดค้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีนำมาประยุกต์ในการปฏิบัติงานและการให้บริการแบบมืออาชีพ 3) พัฒนาระบบการ บริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ เพื่อให้ การดำเนินงานของสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน บรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกรอบทิศทางการ ดำเนินงาน จึงกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์การดำเนินงานตามแนวทาง TOWS Metrix เพื่อใช้ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนและผลักดันองค์กรสู่ความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการและการบริการ อย่างมีคุณภาพ นำประโยชน์จากเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการ เพื่อความยั่งยืน ล้ำสมัย ตอบสนอง ต่อนิสิตและบุคลากร และช่วยให้องค์กรปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นที่ยอมรับตามเกณฑ์รางวัล คุณภาพมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KUQS : Kasetsart University Quality System) และเตรียมความ พร้อมการได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 ภายในปี 2569 จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ดังนี้ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1 : ยกระดับการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านนวัตกรรม การศึกษาและเครือข่ายความรู้ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2 : ส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยและบริการวิชาการร่วมกับเครือข่าย วิจัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและความผาสุกของสังคม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3 : เพิ่มขีดความสามารถและความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กร ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 4 : เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ และคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน


4 สรุปแผนปฏิบัติการจำแนกตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1 : ยกระดับการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านนวัตกรรมการศึกษาและเครือข่ายความรู้มุ่งเน้นการส่งเสริม พัฒนาทักษะการเรียนรู้และ การให้บริการแก่นิสิต นักเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ด้านอาหาร เกษตร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ในการจัดการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับคณะวิชา ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พร้อมจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่น่าประทับใจ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2 : ส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยและบริการวิชาการร่วมกับ เครือข่ายวิจัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและความผาสุกของสังคม มุ่งเน้นการส่งเสริมและ สนับสนุนการให้บริการด้านการวิจัยและด้านบริการวิชาการ โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่าง คณะวิชา องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัยและ สิ่งสนับสนุนการผลิตงานวิจัย การบริการวิชาการ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนและสังคม ก่อให้เกิดความ เข้มแข็งอย่างยั่งยืน สนองนโยบายยุทธศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3 : เพิ่มขีดความสามารถและความสามารถในการฟื้นตัวของ องค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรด้าน technology รองรับการเปลี่ยนแปลง และยกระดับองค์กรสู่ดิจิทัล โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาบริการ ช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์ บนดิจิทัลแพลตฟอร์ม สนับสนุนการดำเนินงานการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืน (SDGs) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 4 : เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศและ คุณธรรมจริยธรรมเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการเป็นองค์กรที่มีการบริหาร จัดการ และพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ สร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กรตามค่านิยมองค์กร 5 ด้าน (I-STAR) คือ Innovation, Synergy, Transformation Team, Agile, Responsibility พร้อมทั้งส่งเสริม บุคลากรให้มีการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีเสริมสร้างศักยภาพวิชาชีพ และมีหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้องค์กร พร้อมทั้งยกระดับองค์กรในการเข้าสู่การได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015


5


6 ประวัติสนข.


7 ประวัติสนข.


8 วิวัฒนาการแผน


9 วิสัยทัศน์


10 กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ระยะ 3 ปี พ.ศ. 2567 – 2569 1. วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 1.1 เพื่อระดมความคิดเห็นของส่วนงาน ทั้งภายในและภายนอกส่วนงานเพื่อกำหนดทิศทาง ของสำนักงานวิทยาเขต และตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน 1.2 เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 3 ปีและแผนปฏิบัติการ/แผนปฏิบัติ ราชการประจำปี (Action Plan) ของสำนักงานวิทยาเขต 1.3 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำคำของบประมาณ 2. กรอบการดำเนินงานทบทวนแผนยุทธศาสตร์ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเป็นกระบวนการที่สร้างประโยชน์ ให้แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดทั้งส่งผลต่อการขับเคลื่อนการบรรลุภารกิจและพันธกิจหลัก ของส่วนงาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ในการจัดทำ แผนยุทธศาสตร์จึงต้องมีการวิเคราะห์และพิจารณาปัจจัยสำคัญประกอบด้วย ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ข้อกำหนดที่สำคัญ (ความต้องการของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กฎหมาย ประสิทธิภาพของกระบวนการ ความคุ้มค่าและการลดต้นทุน) และความสอดคล้องตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางความสำเร็จ ของสำนักงานวิทยาเขต การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2567-2569) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง บุคลากรผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดร่วมจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2567-2569) และนำเสนอคณะกรรมการประจำสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน โดยได้รับ ความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 /2566 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารชูชาติ กำภูและปรับแก้ไขจนกระทั่งได้เป็นแผนยุทธศาสตร์ ฉบับนี้โดยมีกรอบการดำเนินงาน 10 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ งานยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ ได้แก่ ผลการดำเนินการที่ผ่านมา แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับชาติและนานาชาติที่เกิดขึ้น (Mega trends) ความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ข้อมูลคู่แข่ง/คู่เทียบ นโยบาย ของกระทรวงอุดมศึกษาฯ นโยบายของภาครัฐ และแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ขั้นตอนที่ 2 การทบทวนวิสัยทัศน์ และ ค่านิยม ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หัวหน้างาน และบุคลากรสำนัก ร่วมกันทบทวนเป้าหมาย ของการสร้างคุณค่าให้กับผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น ส่วนงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญของสำนัก และ บูรณาการกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองพันธกิจด้านการสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการบริหารงานของวิทยาเขตกำแพงแสน ในส่วนของค่านิยม มีการกำหนดพฤติกรรมที่นำไปสู่ค่านิยม เปรียบเทียบกับวัฒนธรรมองค์กรที่มีอยู่ และ กำหนดให้เป็นค่านิยมที่ผู้นำระดับสูงนำไปประพฤติเป็นแบบอย่างและถ่ายทอดสู่บุคลากรทุกระดับให้ปฏิบัติตาม


11 ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หัวหน้างาน และบุคลากรสำนัก ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ที่รวบรวมจากขั้นตอนที่ 1 แบ่งเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกโดยใช้เครื่องมือ PESTLE Analysis และ การวิเคราะห์ปัจจัยภายในโดยใช้เครื่องมือ 7M+N และวิเคราะห์สมรรถนะหลักขององค์กรโดยใช้เครื่องมือ VRIO Analysis เพื่อมาวิเคราะห์ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ โดยใช้ SWOT Analysis ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดกลยุทธ์ ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หัวหน้างาน และบุคลากรสำนัก นำข้อมูลจาก SWOT Analysis มาออกแบบกลยุทธ์ โดยใช้เครื่องมือ TOWS matrix Analysis เพื่อออกแบบกลยุทธ์ที่สามารถดำเนินการได้ รวมถึงค้นหาโอกาสเชิงกลยุทธ์และโอกาสในการเป็นองค์กรแห่งคุณภาพ ขั้นตอนที่ 5 กำหนดยุทธศาสตร์ (วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์) ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หัวหน้างาน และบุคลากรสำนักร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ เชิงกลยุทธ์(Strategic Objectives) และเป้าประสงค์ (Strategic Goals) และกำหนดกรอบเวลาทั้งระยะสั้น และระยะยาวที่จะบรรลุแต่ละยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ที่สำคัญ นอกจากนั้น ยังได้กำหนดและทบทวนระบบงานที่สำคัญที่สำนักฯ จะดำเนินการเองหรือให้ผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือ พันธมิตร ดำเนินการ โดยพิจารณาจาก 1) ระบบงานที่มีความสำคัญต่อการส่งมอบคุณค่า ตามความต้องการของผู้เรียน และลูกค้า 2) ระบบงานที่สำคัญต่อสมรรถนะหลักขององค์กรในปัจจุบันและ อนาคต 3) ระบบงานที่สำนักฯ มีความได้เปรียบในการแข่งขัน (ต้นทุนต่ำกว่า Outsource) หรือมีประสิทธิผล ของการดำเนินการที่ดีกว่า ขั้นตอนที่ 6 การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หัวหน้างาน และบุคลากรสำนักฯ ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการ ที่จำเป็นต่อการดำเนินการของแต่ละยุทธศาสตร์ โดยกำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละแผนปฏิบัติการ กำหนด วัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการ และกำหนดตัววัดที่สะท้อนการบรรลุผล (Lagging Indicator) รวมถึงออกแบบ กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ และกำหนดระยะเวลาที่ต้องดำเนินการของกิจกรรม และกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญที่ใช้ ติดตามการดำเนินการของแต่ละแผนปฏิบัติการ (Leading Indicator) ขั้นตอนที่ 7 การจัดสรรทรัพยากร ผู้รับผิดชอบแผนปฏิบัติการ วิเคราะห์ความต้องการทั้งด้านงบประมาณ อาคารสถานที่ เทคโนโลยี และทรัพยากรอื่น ๆ ที่จำเป็น ในการดำเนินการตามแผนฯ รวมถึงวิเคราะห์ความต้องการด้านบุคลากร ว่าจำเป็นต้องพัฒนาทักษะของบุคลากรที่มีอยู่ หรือต้องสรรหาว่าจ้างบุคลากรเพิ่ม หรือต้อง Outsource เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ และจัดทำเป็นแผนด้านบุคลากรที่สำคัญที่สนับสนุน แต่ละยุทธศาสตร์พร้อมนำไปเชื่อมโยงกับการประเมินขีดความสามารถและอัตรากำลัง เพื่อจัดทำเป็นแผนแม่บท ด้านบุคลากร (HR Master Plan)


12 ขั้นตอนที่ 8 การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ นำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน โดยผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม คณะกรรมการประจำสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 /2566 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 หลังจาก นั้น ผู้บริหารระดับสูง ถ่ายทอดเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ ผ่านการประชุม คณะกรรมการประจำสำนักฯ โครงการสัมมาทิฐิบุคลากรสำนักฯ และโครงการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน รวมถึงถ่ายทอดตัวชี้วัดที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการตาม แผนยุทธศาสตร์ ไปตามลำดับชั้นของการบริหาร โดยใช้เครื่องมือ Balanced Scorecard ขั้นตอนที่ 9 ติดตามและประเมินผล (ทุกเดือนทั้งแผนปฏิบัติการระยะสั้น (แผนปฏิบัติการประจำปี) และแผนปฏิบัติการระยะยาว (แผนต่อเนื่อง) ผู้บริหารระดับสูง ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการทั้งระยะสั้น และระยะ ยาว ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ ทุกเดือน รวมถึงติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการ ตามเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ทุก 3 เดือน และนำมาประเมินผลเทียบผลกับค่าเป้าหมายผลการดำเนินการที่ กำหนดไว้ หากได้ผลการดำเนินการตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ก็ให้ดำเนินการต่อไป แต่หากไม่ได้ผลการ ดำเนินการตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ให้ผู้รับผิดชอบนำไปเร่งขับเคลื่อน หรือปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานให้ เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อให้ผลการดำเนินการเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป ขั้นตอนที่ 10 การปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ ผู้รับผิดชอบแผนปฏิบัติการประจำปี นำผลจากการประเมินในขั้นตอนที่ 9 ไปใช้ในการปรับเปลี่ยน แผนปฏิบัติการ เมื่อพบว่ามีกรณีที่สถานการณ์บังคับทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามแผนปฏิบัติการได้ หรือ เมื่อผลการดำเนินการไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้หากจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติม ให้เสนอขออนุมัติผ่านผู้บริหารระดับกอง และผู้อำนวยการสำนักฯ เพื่อให้มั่นใจว่าจะนำแผนปฏิบัติการใหม่ไป ปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว กรอบแนวคิดในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์


13


14 การทบทวนวิสัยทัศน์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ผู้อำนวยการกอง หัวหน้างาน และบุคลากร สำนักงาน วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมกันระดมความคิดเห็น ความต้องการ/ความฝันที่อยากให้สำนักงานวิทยาเขต กำแพงแสนดำเนินการ สรุปความคิดเห็นได้ ดังนี้ 1. สนับสนุนการบริหารจัดการด้วยมาตรฐานอย่างยั่งยืน 2. เป็นผู้ให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล 3. บริหารงานด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม อย่างมีมาตรฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 4. บริการทันสมัย ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี 5. บริการ และสนับสนุนการดำเนินงานที่มีมาตรฐาน 6. สนับสนุน บริหารจัดการเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัย อย่างยั่งยืน 7. สนับสนุนการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยอย่างยั่งยืน 8. มุ่งมั่นเป็นทีมงานบริการ เพื่อให้บริการสู่มาตรฐานโดยทีมงานคุณภาพ 9. ผู้สนับสนุนผลงานสร้างสรรค์ มุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรมืออาชีพ 10. เป็นองค์กรคุณภาพที่บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนภารกิจมหาวิทยาลัย อย่างยั่งยืน 11. บริหารจัดการแบบมีมาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน 12. บริการด้วยเทคโนโลยีและเป็นมาตรฐาน 13. ปฏิบัติงานได้มาตรฐาน บริหารงานอย่างเท่าเทียม 14. สร้างการบริการด้วยเทคโนโลยีสู่ความยั่งยืน 15. สิ่งแวดล้อมดี พัฒนาระบบ มุ่งสู่อนาคต 16. การบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน 17. ต้นแบบด้านการบริหารจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ และเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม 18. มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน 19. หน่วยงานสนับสนุนที่สร้างประสบการณ์ที่ดีด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างความคุ้มค่าและยั่งยืน 20. องค์กรบริการที่เป็นเลิศ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 21. การบริหารการจัดการด้วยมาตรฐานให้เกิดความยั่งยืน 22. สนับสนุนการบริหารงานด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยให้ผู้รับบริการพึงพอใจอย่างมี มาตรฐานและยั่งยืน 23. บริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนในสภาวะการเปลี่ยนแปลงด้วยระบบสารสนเทศก้าวสู่ความเป็น สากล 24. บริหารจัดการองค์กรให้มีมาตรฐานอย่างยั่งยืน 25. ส่งมอบนวัตกรรมและบริการที่มีคุณภาพ สร้างความเท่าเทียม สู่ความยั่งยืน 26. สร้างความเป็นเลิศด้านบริการ สนับสนุนการบริหารจัดการ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ ทันสมัย 27. มุ่งสร้างสมรรถนะกำลังคนด้านเทคโนโลยี นำไปสู่การพัฒนาองค์กรทุกอย่างยั่งยืน 28. สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน


15 29. สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม เพื่อการบริหารจัดการและการให้บริการที่มีมาตรฐาน โดยใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเกิดความยั่งยืน 30. หน่วยงานบริการที่สนับสนุนพันธกิจได้อย่างมีคุณภาพ เข้าถึงบริการได้ทุกที่ทุกเวลา 31. บริการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานสู่ความเป็นเลิศ 32. เป็นผู้ให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล 33. องค์การคุณภาพ ISO9001 ซึ่งจากการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการ ทำให้ได้วิสัยทัศน์ใหม่ ดังนี้


16 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้สอดรับกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อหาจุดแข็ง จุดเด่น หรือข้อได้เปรียบ จุดอ่อน หรือข้อเสียเปรียบ โอกาสที่จะดำเนินการได้ และอุปสรรคที่อาจทำให้เป็นปัญหาในการดำเนินงานไม่บรรลุผล สำเร็จ จึงต้องทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรทั้งภายในและภายนอก ปัจจัยภายใน (Internal factors) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฏิบัติงาน โดยใช้การ วิเคราะห์การบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง (7M+N) ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านการเงิน ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านเครื่องมือ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านวิธีการปฏิบัติงาน ปัจจัย ด้านการตลาด และปัจจัยด้านเครือข่ายอุปทาน ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ จุดแข็ง (Strength) S1 มีทรัพยากร และพื้นที่เอื้อต่อกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารจัดการและชุมชุนโดยรอบ S2 พื้นที่สีเขียวสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ รวมถึงที่ตั้งมหาวิทยาลัยฯ มียุทธศาสตร์ที่ต้องเดิน ทางผ่านเพื่อสู่แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และเป็นเส้นทางรองในการเดินทางสู่ พื้นที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือได้ S3 มีพื้นที่และลักษณะทางกายภาพที่สามารถใช้ประโยชน์ และสร้างรายได้ S4 เป็นองค์กรที่มีความมั่นคง (ความมีชื่อเสียง การเงิน) S5 มีการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี เช่น มีการจัดพื้นที่ เครื่องมือจำเป็นในการปฏิบัติงาน มี กิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีของบุคลากร S6 บุคลากรมีองค์ความรู้ด้านวิชาชีพ ความชำนาญ ด้านวิชาชีพที่หลากหลาย และได้เป็นที่ปรึกษา กับหน่วยงานภายนอก S7 มีเครือข่ายภายในวิทยาเขตที่มีองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม จุดอ่อน (Weaknesses) W1 การบริหารจัดการพื้นที่/อาคาร ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ W2 ขาดการวิเคราะห์อัตรากำลัง ที่จะสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพงานตามภารกิจหลัก W3 การปฏิบัติงานที่เป็นรูปแบบเดียวกันแต่ปฏิบัติงานไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน W4 ขาดความตระหนักในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและขาดการสื่อสารระหว่างกัน ยังขาดการสื่อสารที่ดี ภายในองค์กร รวมถึงช่องทางการสื่อสาร W5 การเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ส่งผลให้ต้องพัฒนาบุคลากรทุกกลุ่ม ให้ทันกับ การเปลี่ยนแปลงและรองรับการทำงานทุกรูปแบบ


17 ปัจจัยภายนอกองค์กร (External factors) ประกอบด้วย ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการปฏิบัติงานที่เป็นทั้งโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ได้แก่ ผลการดำเนินงานในอดีตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ผลการดำเนินงานในอดีตของสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และ ปัจจัยด้านกฎหมาย ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ โอกาส (Opportunities) O1 เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุน ลดกระบวนการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน O2 ระบบการเงินที่ปรับสู่ดิจิทัล การชำระเงิน ช่วยลดความเสี่ยงในด้านการเงิน O3 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในประเทศ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สามารถส่งเสริมเรื่อง สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ของประชาชนเพิ่มขึ้น O4 สังคมวัฒนธรรมที่เลื่อนไหล ทำให้มีนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น การเปิดกว้างโอกาสทางการศึกษา O5 นโยบายของมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมให้ภาคเอกชนร่วมพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ดีโดยรอบ พื้นที่ของวิทยาเขต O6 นโยบายจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างผู้ประกอบการจากบุคลากร นิสิต ภายใต้ KU Holding Company O7 หน่วยงานภายใต้สำนักงานวิทยาเขตมีจำนวนมาก และความหลากหลายสามารถรองรับภารกิจ ต่าง ๆ ของวิทยาเขต อุปสรรค (Threats) T1 การเข้าสู่ยุคดิจิทัลเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการเตรียม ความพร้อมในด้านต่าง ๆ T2 คู่แข่งมีจำนวนมาก ทำให้เสียโอกาสและรายได้ T3 ระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ส่งผลให้การปฏิบัติงานไม่คล่องตัว ไม่เอื้อต่อการทำงานที่เปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว T4 การเรียนรู้ที่เปิดกว้าง หลากหลายช่องทาง หน่วยงานต้องปรับตัว เพื่อปรับการทำงานให้ทัน T5 การเข้าสู่ยุคดิจิทัลเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการเตรียม ความพร้อมในด้านต่าง ๆ T6 จำนวนการเกิดของประชากร และสังคมผู้สูงวัย


18


19 การกำหนดกลยุทธ์ ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หัวหน้างาน และบุคลากรสำนักงานวิทยาเขต นำข้อมูลจาก SWOT Analysis มาออกแบบกลยุทธ์ โดยใช้เครื่องมือ TOWS matrix Analysis เพื่อออกแบบกลยุทธ์ที่ สามารถดำเนินการได้ รวมถึงค้นหาโอกาสเชิงกลยุทธ์และโอกาสในการสร้างนวัตกรรม ซึ่งสามารถวิเคราะห์ ออกมาได้ ดังนี้ กลยุทธ์เชิงรุก (SO/ Maxi-Maxi) S1O1 การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาในการให้บริการมากขึ้น S1O1 การสนับสนุนให้เปิดกว้างทางการศึกษา สร้างหลักสูตร Non-Degree ให้กับผู้เรียน ทั้งในและต่างประเทศ (online-onsite) S2O3 การพัฒนาและการบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อสร้างรายได้จากแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ S2O5 การให้บริการวิจัย การสร้างนวัตกรรมด้านการเกษตร จากเทคโนโลยีทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม S3O6 ส่งเสริมนิสิต และบุคลากร สู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup พร้อมสิ่งสนับสนุนเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ มีรายได้น้อย S6O1 บูรณาการการทำงานเพื่อยกระดับการบริการ และเกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงานของบุคลากร S6O2 การพัฒนาโปรแกรม KU KPS (เพิ่มสมรรถนะทางวิชาชีพ) และการพัฒนาระบบรับชำระเงินกลางของ วิทยาเขตกำแพงแสน S6O7 การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความหลากหลายความเชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO/ Mini-Maxi) W1O5 สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ และการสร้าง Co-working space W1O5 โครงการพลังงานทดแทนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เชื่อมโยงกับงานวิจัยของคณะวิชาภายใน วิทยาเขตกำแพงแสน W2O1 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการทำงานของบุคลากรในการปฏิบัติงานให้มีมาตรฐานและพัฒนาทักษะ ด้านการใช้เทคโนโลยีผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์/hybrid W2O1 ส่งเสริมให้บุคลากรอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีเป็นสำคัญ W3O1 พัฒนากระบวนการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ กำหนดมาตรฐานในการ ปฏิบัติงาน และถ่ายทอดแนวปฏิบัติที่มีมาตรฐาน W4O1 พัฒนาแอปพลิเคชันในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร W4O7 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสานสัมพันธ์บุคลากรระหว่างหน่วยงาน ภายในสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน W5O7 สร้างนวัตกรรมสมัยใหม่รองรับการปฏิบัติงานตามพันธกิจ


20 กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST/ Maxi-Mini) S1T4 สร้างรูปแบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย เข้าถึงง่าย S1T4 สร้างความร่วมมือกับโรงเรียนและหน่วยงานภายนอกในการจัดการเรียนในรูปแบบออนไลน์รวมถึง คอร์ส (Reskill/Upskill/New skill) S5T5 สร้างพื้นที่และบรรยากาศที่ทันสมัย ด้วยการให้บริการด้วยเทคโนโลยี S6T3 ยกร่างกฎระเบียบข้อบังคับ ที่จำเป็นต่อการพัฒนางาน การสร้างรายได้ S6T4 การบูรณาการการทำงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการพัฒนางานในองค์กร S6T5 ผลักดันการใช้บุคลากรที่มีความชำนาญด้านเทคโนโลยีสร้างนวัตกรรมสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่าง มืออาชีพ กลยุทธ์เชิงรับ (WT/ Mini-Mini) W1T2 จัดหารายได้เข้าสำนักงานวิทยาเขตเพิ่มมากขึ้น เช่น การให้เช่าพื้นที่ สร้างผลิตภัณฑ์ออกจัดจำหน่าย W2T5 พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรด้วย technology W3T1 พัฒนาระบบบริหารงานต่างๆ เพื่อใช้ปฏิบัติงานร่วมกัน W3T3 กำหนดมาตรฐานการทำงานของตำแหน่งเดียวกัน W4T1 ยกระดับการสื่อสารภายในองค์กรด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่เหมาะสม เข้าถึงบุคลากรทุกกลุ่ม W4T4 การจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงานเพื่อส่งเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ W5T5 การเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรให้รู้เท่าทัน เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป W5T5 แนะแนวหลักสูตรการศึกษาเชิงรุก แนะแนวสัญจร และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการ ดำเนินงาน W5T6 ร่วมมือกับชุมชนสร้างหลักสูตรอบรมระยะสั้นสร้างรายได้


21


22


23


24 วิสัยทัศน์ พันธกิจ


25 ค่านิยม


26 ยกระดับการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านนวัตกรรมการศึกษาและเครือข่ายความรู้ Leverage life-long learning experience through innovative education and knowledge network. ส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยและบริการวิชาการร่วมกับเครือข่ายวิจัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และความผาสุกของสังคม Promote integrated solutions to complex issues to strengthen communities and societal well-being through collaborative research network.


27 เพิ่มขีดความสามารถและความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Drive up organizational capability and organizational resilience through technology and innovation. เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศและคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน Build-up High-Performing culture and good governance to accelerate sustainable competitive advantage.


28


29


30 ยกระดับการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านนวัตกรรมการศึกษาและเครือข่ายความรู้ Leverage life-long learning experience through innovative education and knowledge network. กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านอาหาร เกษตร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม 1.1 ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมประชาสัมพันธ์หลักสูตร ผลิตภัณฑ์ วิทยาเขตผ่านช่องทาง online, social media เพื่อสร้าง การรับรู้ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 2.1 ส่งเสริมความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ที่มีความทันสมัยด้านหลักสูตรและผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มช่องทางในการ ประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์ที่ 3 ให้บริการในการเยี่ยมชมด้านต่างประเทศด้านการแลกเปลี่ยน 3.1 การให้บริการที่เข้าเยี่ยมชมจากต่างประเทศ กลยุทธ์ที่ 4จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ Learning environment เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมใน การเรียนรู้ที่น่าประทับใจ 4.1 จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน (พื้นที่การเรียนรู้ /อาคาร สถานที่ และอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอน/ ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน) 4.2 จัดสิ่งสนับสนุนการใช้ชีวิต (หอพักนิสิต สถานพยาบาล สนามกีฬา สิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยสะดวก โรงอาหาร รถสวัสดิการ การรักษาความปลอดภัย สาธารณูปโภค และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ)


31 ส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยและบริการวิชาการร่วมกับเครือข่ายวิจัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และความผาสุกของสังคม Promote integrated solutions to complex issues to strengthen communities and societal well-being through collaborative research network. กลยุทธ์ที่ 1 สร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและสนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงาน สร้างสรรค์ 1.1 ศูนย์ประสานงานด้านวิจัยและบริการวิชาการแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) 1.2 คลินิกให้คำปรึกษาการตีพิมพ์วารสารนานาชาติ 1.3 โครงการส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานสร้างสรรค์ กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและสิ่งสนับสนุนการผลิตงานวิจัย 2.1 โครงการ Cluster วิจัย ด้านอาหาร เกษตร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม 2.2 การพัฒนาชุดวิชาที่ส่งเสริมการทำงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานสร้างสรรค์ 2.3 โครงการสนับสนุนการวิจัยคุณภาพเพื่อพัฒนาศักยภาพงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนและสังคมให้เกิด ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 3.1 บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกและชุมชนเมืองกำแพงแสน 3.2 บูรณาการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงสุขภาพ


32 เพิ่มขีดความสามารถและความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Drive up organizational capability and organizational resilience through technology and innovation. กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาบุคลากรด้าน technology ผ่าน hybrid learning, MOOCs 1.1 พัฒนาและส่งเสริมบุคลากรด้านการใช้โปรแกรมพื้นฐานในการปฏิบัติงาน (hybrid) กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรด้วย technology 2.1 โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนเชิงรุกที่ครอบคลุมทุก พันธกิจ กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน 3.1 ส่งเสริมและพัฒนา COP เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน/ภายนอกสำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน กลยุทธ์ที่ 4 สนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทางความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) 4.1 ส่งเสริมการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4.2 ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อลดการใช้พลังงาน เพื่อลดรายจ่าย


33 เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศและคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน Build-up High-Performing culture and good governance to accelerate sustainable competitive advantage. กลยุทธ์ที่ 1 ผลักดันให้มีการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KUQS) 1.1 พัฒนาระบบบริหารและพัฒนาบุคลากรที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย (HRM & HRD) กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมบุคลากรให้มีความก้าวหน้า และมีหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม 2.1 ส่งเสริมบุคลากรทุกคนมีความก้าวหน้าในอาชีพ 2.2 ส่งเสริมและถ่ายทอดหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม 2.3 ยกย่องและส่งเสริมบุคลากรทุกระดับ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามค่านิยม 3.1 ส่งเสริมพฤติกรรมของบุคลากรเพื่อไปสู่ค่านิยมขององค์กร


34


35 เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ หน่วย เป้าหมายตัวชี้วัด 2567 2568 2569 1. ร้อยละของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่ได้มาจากกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 48.00 50.00 52.00 2. คะแนนความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ วิทยาเขตกำแพงแสน คะแนน 4.40 4.51 4.65 3. คะแนนระดับความพร้อมด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความ ปลอดภัย ตามดัชนี EHS คะแนน 1 2 3 4. ร้อยละของจำนวนนิสิตที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ร้อยละ 4.00 6.00 8.00 เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ หน่วย เป้าหมายตัวชี้วัด 2567 2568 2569 1. จำนวนโครงการที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุตัววัด SDGs ของมหาวิทยาลัย โครงการ 15 20 25 2. คะแนนความพึงพอใจของนักวิจัยที่มีต่อการให้บริการด้าน การวิจัย คะแนน 4.40 4.51 4.65 3. ร้อยละการตีพิมพ์ของผู้เข้าร่วมรับคำปรึกษา ร้อยละ 85.00 95.00 100.00 ยกระดับการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านนวัตกรรมการศึกษาและเครือข่ายความรู้ Leverage life-long learning experience through innovative education and knowledge network. ส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยและบริการวิชาการร่วมกับเครือข่ายวิจัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และความผาสุกของสังคม Promote integrated solutions to complex issues to strengthen communities and societal well-being through collaborative research network.


36 เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ หน่วย เป้าหมายตัวชี้วัด 2567 2568 2569 1. จำนวนกระบวนการปรับปรุงตามผลการสำรวจความ ต้องการ/ความคาดหวังในการให้บริการ กระบวนการ /นวัตกรรม 7 8 9 2. จำนวนผลงานของการให้บริการที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือ นวัตกรรม ผลงาน 30 35 40 3. อัตราการใช้พลังงานลดลงจากการประหยัดพลังงาน ร้อยละ 2.00 3.00 4.00 4. ร้อยละรายได้จากการบริหารทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นจากปีฐาน ร้อยละ 5.00 5.00 5.00 5. ร้อยละของบุคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี ร้อยละ 30.00 35.00 40.00 เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ หน่วย เป้าหมายตัวชี้วัด 2567 2568 2569 1. ผลการตรวจประเมินคุณภาพด้วยระบบ KUQS ของส่วนงานตาม เป้าหมายที่กำหนด คะแนน 200 200 220 2. คะแนนความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมต่อสวัสดิการ/นโยบาย/ การพัฒนา คะแนน 4.00 4.10 4.20 3. ผลสำรวจความผูกพันบุคลากรของส่วนงานตาม Engagement factor คะแนน 4.00 4.10 4.20 4. ร้อยละของบุคลากรของส่วนงานที่ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะ หรือทักษะที่สูงขึ้น ร้อยละ 60.00 75.00 100.00 5. ร้อยละของบุคลากรได้รับการพัฒนาตามค่านิยม ร้อยละ 85.00 90.00 100.00 6. ร้อยละบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามแผนพัฒนาบุคลากร (KUIDP) ร้อยละ 60.00 70.00 80.00 เพิ่มขีดความสามารถและความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Drive up organizational capability and organizational resilience through technology and innovation. เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศและคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน Build-up High-Performing culture and good governance to accelerate sustainable competitive advantage.


37


38 โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ เป้าหมายตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบ 2567 2568 2569 โครงการ 1. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวนโครงการที่ ส่งเสริมการพัฒนา ทักษะการเรียนรู้ ตลอดชีวิต โครงการ 3 4 5 สำนักงาน บริหารจัดการ ทรัพยากรการ เรียนรู้ 2. ส่งเสริมความร่วมมือใน การประชาสัมพันธ์ที่มีความ ทันสมัยด้านหลักสูตรและ ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มช่องทาง ในการประชาสัมพันธ์ 1. จำนวนช่องทาง การประชาสัมพันธ์ที่ เพิ่มขึ้น ช่องทาง 1 1 1 กองบริหาร 2. ร้อยละของนิสิต การศึกษา ชั้นปีที่ 1 ที่ได้มาจาก กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 48.00 50.00 52.00 3. การเข้าเยี่ยมชมหรือ ศึกษาดูงานภายในวิทยาเขต กำแพงแสน จากหน่วยงาน ต่างประเทศ คะแนนความพึงพอใจ ในการเข้าศึกษาดูงาน คะแนน 4.40 4.51 4.65 กองบริหาร ทั่วไป 4. จัดสิ่งสนับสนุนการเรียน การสอน คะแนนความพึงพอใจ ต่อสิ่งสนับสนุนการ เรียนการสอน คะแนน 4.40 4.51 4.65 สำนักงาน บริหารจัดการ ทรัพยากรการ เรียนรู้ 5. จัดสิ่งสนับสนุนการใช้ ชีวิต คะแนนความพึงพอใจ ต่อสิ่งสนับสนุนการใช้ ชีวิต คะแนน 4.40 4.51 4.65 กองบริหาร กิจการนิสิต ยกระดับการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านนวัตกรรมการศึกษาและเครือข่ายความรู้ Leverage life-long learning experience through innovative education and knowledge network.


39 โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ เป้าหมายตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบ 2567 2568 2569 โครงการ 1. ศูนย์ประสานงานด้าน วิจัยและบริการวิชาการ แบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) ร้อยละความสำเร็จของ แผนจัดตั้ง ร้อยละ 80.00 100.00 แล้ว เสร็จ กองบริหารการ วิจัยและบริการ วิชาการ 2. คลินิกให้คำปรึกษาการ ตีพิมพ์วารสารนานาชาติ ร้อยละการตีพิมพ์ของ ผู้เข้าร่วมรับคำปรึกษา ร้อยละ 85.00 95.00 100.00 กองบริหารการ วิจัยและบริการ วิชาการ 3. โครงการส่งเสริมการ เผยแพร่งานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงาน สร้างสรรค์ จำนวนผลงานที่ได้รับ การสนับสนุน ผลงาน 20 22 25 กองบริหารการ วิจัยและบริการ วิชาการ 4. โครงการ Cluster วิจัย ด้านอาหาร เกษตรสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม 1. จำนวน Cluster นักวิจัย Cluster 4 4 4 กองบริหารการ วิจัยและบริการ วิชาการ 2. ร้อยละของข้อเสนอ โครงการที่ยื่นขอแหล่ง ทุนต่อข้อเสนอโครงการ ทั้งหมด ร้อยละ 60 70 80 5. การพัฒนาสื่อที่ส่งเสริม การทำงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงาน สร้างสรรค์ จำนวนสื่อที่ส่งเสริมการ ทำงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงาน สร้างสรรค์ ชุด 2 3 4 สำนักงาน บริหารจัดการ ทรัพยากรการ เรียนรู้ 6. โครงการสนับสนุนการ วิจัยคุณภาพเพื่อพัฒนา ศักยภาพงานวิจัยและ งานสร้างสรรค์ จำนวนโครงการวิจัยที่ ผ่านเกณฑ์ โครงการ 30 32 35 กองบริหารการ วิจัยและบริการ วิชาการ ส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยและบริการวิชาการร่วมกับเครือข่ายวิจัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และความผาสุกของสังคม Promote integrated solutions to complex issues to strengthen communities and societal well-being through collaborative research network.


40 โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ เป้าหมายตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบ 2567 2568 2569 โครงการ 7 . บ ู ร ณ า ก า ร ค ว า ม ร่วมมือกับหน่วยงาน ภายนอกและชุมชนเมือง กำแพงแสน 1. จำนวนหน่วยงาน ภายนอกที่บูรณาการ ร่วมกัน หน่วยงาน 4 4 4 กองบริหาร การกีฬา ท่องเที่ยว และ ศิลปวัฒนธรรม 2. จำนวนโครงการ/ กิจกรรมที่บูรณาการ ร่วมกัน โครงการ/ กิจกรรม 3 3 3 8. บูรณาการแหล่งท่อง เที่ยวเชิงนิเวศ เชิงสุขภาพ 1. จำนวนแหล่งท่องเที่ยว ภายในมหาวิทยาลัย แหล่ง 5 5 5 กองบริหาร การกีฬา ท่องเที่ยว และ ศิลปวัฒนธรรม 2. จำนวนนักท่องเที่ยวที่ เข้ามาเที่ยวภ าย ใน มหาวิทยาลัย คน 150 200 250


41 โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ เป้าหมายตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบ 2567 2568 2569 โครงการ 1. พัฒนาหรือส่งเสริมบุคลากร ด้านการใช้เทคโนโลยีที่ เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน ร้อยละของบุคลากรที่มี ทักษะด้านเทคโนโลยี ร้อยละ 50.00 75.00 100.00 กองบริหาร ทั่วไป 2. โครงการพัฒนาระบบฐาน ข้อมูลหรือระบบปฏิบัติการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ สนับสนุนเชิงรุกที่ครอบคลุม ทุกพันธกิจ จำนวนระบบฐานข้อมูล หรือระบบปฏิบัติการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว เสร็จ ระบบ 10 10 10 กองบริการ กลาง 3. ส่งเสริมและพัฒนา COP เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใน/ภายนอกสำนักงาน วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวนแนวปฏิบัติที่ดีที่ พัฒนาขึ้นเพื่อตอบ สนอง ภาระหน้าที่ของส่วน งาน แนว ปฏิบัติ 24 27 30 กองบริหาร ทั่วไป 4. ส่งเสริมการบริหารจัดการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการใช้เทคโนโลยีหรือ นวัตกรรม จำนวนโครงการหรือ กิจกรรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมโดยการใช้ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม โครงการ/ กิจกรรม 2 3 4 ทุกกอง 5. ส่งเสริมการใช้พลังงาน ทดแทน โดยร่วมมือกับ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อลดการใช้พลังงาน เพื่อ ลดรายจ่าย จำนวนโครงการหรือ กิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้ พลังงานทดแทน โครงการ/ กิจกรรม 1 1 1 กองบริการ กลาง เพิ่มขีดความสามารถและความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Drive up organizational capability and organizational resilience through technology and innovation.


42 โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วย นับ เป้าหมายตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบ 2567 2568 2569 โครงการ 1. พัฒนาระบบบริหารและ พัฒนาบุคลากรที่ตอบสนอง ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย (HRM & HRD) ร้อยละบุคลากรที่ได้รับ การพัฒนาตา ม แ ผ น พัฒนาบุคลากร (KUIDP) ร้อยละ 60.00 70.00 80.00 กองบริหาร ทั่วไป 2. ส่งเสริมบุคลากรทุกคนมี ความก้าวหน้าในอาชีพ ร้อยละของบุคลากรที่มี ตำแหน่งวิชาการ/วิชาชีพ ต่อบุคลากรที่มีคุณสมบัติ ครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 20.00 30.00 40.00 กองบริหาร ทั่วไป 3. ส่งเสริมและถ่ายทอดหลัก ธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม จำนวนบ ุ คลากรของ สำนักงานวิทยาเขตที่ถูก ร้องเรียนด้านจริยธรรม คน 0 0 0 กองบริหาร ทั่วไป 4. ยกย่องและส่งเสริมบุคลากร ทุกระดับ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ จำนวนบุคลากรที่ได้รับ การยกย่องเชิดชูเกียรติ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ คน 4 9 9 กองบริหาร ทั่วไป 5. ส่งเสริมพฤติกรรมของ บุคลากรเพื่อไปสู่ค่านิยมของ องค์กร 1. ร้อยละของบุคลากร ได้รับการพัฒนาตาม ค่านิยม ร้อยละ 85.00 90.00 100.00 กองบริหาร 2. ร้อยละของบุคลากรที่ ทั่วไป รับทราบและรับรู้ค่านิยม องค์กร ร้อยละ 50.00 60.00 10.000 6. โครงการขับเคลื่อนการ บริหารจัดการตามระบบคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KUQS) สำนักงานวิทยาเขต กำแพงแสน คะแนนการประเมินใน ระบบคุณภาพ (KUQS) ของสำนักงานวิทยาเขต กำแพงแสน คะแนน 200 200 200 กองบริหาร ทั่วไป เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศและคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน Build-up High-Performing culture and good governance to accelerate sustainable competitive advantage.


43 แ


44 ผู้กำกับตัวชี้วัดตามเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ ในการบริหารขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นเลิศ และสอดคล้องตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพ ของสถานศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบการบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อบรรลุ เป้าประสงค์ของส่วนงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน จึงได้กำหนดตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน พ.ศ. 2567 - 2569 ซึ่งครอบคลุมพันธกิจ ทั้ง 3 ด้าน ที่สนับสนุนและ ส่งเสริม ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการบริหารจัดการ จึงกำหนดให้มีตัวชี้วัด ตามเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์เพื่อการบรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน 18 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดที่ ตัวชี้วัด รอบการเก็บ ข้อมูล ผู้กำกับ ติดตาม ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 1 1 ร้อยละของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่ได้มาจากกลุ่มเป้าหมาย ปีการศึกษา ผู้อำนวยการกอง บริหารการศึกษา กองบริหาร การศึกษา 2 คะแนนความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อสิ่งสนับสนุน การเรียนรู้ วิทยาเขตกำแพงแสน ปีการศึกษา ผู้อำนวยการกอง บริหารกิจการนิสิต กองบริหารกิจการ นิสิต 3 คะแนนระดับความพร้อมด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย ตามดัชนี EHS ปีการศึกษา ผู้อำนวยการ กองบริการกลาง กองบริการกลาง 4 ร้อยละของจำนวนนิสิตที่เข้าร่วมโครงการสามารถ เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ปีการศึกษา ผู้อำนวยการกอง บริหารกิจการนิสิต กองบริหารกิจการ นิสิต วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 2 1 จำนวนโครงการที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุตัววัด SDGs ของมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ ผู้อำนวยการ ทุกกอง ทุกกอง 2 คะแนนความพึงพอใจของนักวิจัยที่มีต่อการให้บริการ ด้านการวิจัย ปีงบประมาณ ผู้อำนวยการ กองบริหารการ วิจัยและบริการ วิชาการ กองบริหารการ วิจัยและบริการ วิชาการ 3 ร้อยละการตีพิมพ์ของผู้เข้าร่วมรับคำปรึกษา ปีงบประมาณ ผู้อำนวยการ กองบริหารการ วิจัยและบริการ วิชาการ กองบริหารการ วิจัยและบริการ วิชาการ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3 1 จำนวนกระบวนการปรับปรุงตามผลการสำรวจ ความต้องการ/ความคาดหวังในการให้บริการ ปีงบประมาณ ผู้อำนวยการ ทุกกอง ทุกกอง 2 จำนวนผลงานของการให้บริการที่ประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ปีงบประมาณ ผู้อำนวยการ ทุกกอง ทุกกอง 3 อัตราการใช้พลังงานลดลงจากการประหยัดพลังงาน ปีงบประมาณ ผู้อำนวยการ กองบริการกลาง กองบริการกลาง 4 ร้อยละรายได้จากการบริหารทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นจาก ปีฐาน ปีงบประมาณ ผู้อำนวยการ กองบริหารทั่วไป (ผู้รายงาน) กองบริหารทั่วไป (ผู้รายงาน) 5 ร้อยละของบุคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี ปีงบประมาณ ผู้อำนวยการ กองบริหารทั่วไป กองบริหารทั่วไป


Click to View FlipBook Version