The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มรายงานประจำปี 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ANNUAL REPORT 65

เล่มรายงานประจำปี 2565

รายงานป ร ะจําปี 2564-2565 คณ ะสาธา รณสุขศาสต ร์ และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก มีหน้าที่ผลิตบัณฑิต ร ะดับป ริญญ าต รีแล ะบัณฑิตศึกษ าด้ านวิทย าศ าสต ร์สุขภ าพ ให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะในการประกอบวิชาชีพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดการศึกษา โดยเริ่ มดําเนินการตั้งแต่ ปีการศึกษา 2563 ตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 มีการดําเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ภายใต้ความมุ่งมั่น ในการขับเคลื่อนการดําเนินงานของวิทยาลัย ในสังกัด 9 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัด ข อ น แ ก่ น วิ ท ย า ลั ย ก า ร ส า ธ า รณ สุ ข สิ ริ น ธ ร จั ง ห วัด ช ล บุ รี วิท ย า ลั ย ก า ร ส า ธ า รณ สุ ข สิ ริ น ธ ร จั ง ห วั ด ต รั ง วิ ท ย า ลั ย การสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก วิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธร จังหวัดยะลา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัด สุพรรณบุรีวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก และวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี รายงานฉบับนี้นําเสนอความก้าวหน้า ผลความสําเร็จ ตลอดจน กา ร แสดงความมุ่งมั่นของผู้บริหา ร และบุคลากรทุกร ะดับ ในการร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนา คณะสาธารณสุขศาสตร์และ สหเวชศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก หวังเป็นอย่างยิ่ งว่า จะได้รับคําแนะนําและข้อเสนอแนะ อันจะนําไปสู่การพัฒนาให้บรรลุ เป้าหมาย และเป้าประสงค์ตามจุดเน้นของคณะสืบไป


หน้า สารจากคณบดี ส่วนที่1 ข้อมูลทั่วไป § ความเป็นมาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ § ปรัชญา § ปณิธาน § พันธกิจ § อัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก § สมรรรถนะหลักของบัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก § ค่านิยมร่วมสถาบันพระบรมราชชนก § ค่านิยมคณะสาธารณสุขศาสตร์ § วัฒนธรรมองค์กร § โครงสร้างหน่วยงาน § ผู้บริหาร § อัตรากําลัง § งบประมาณ § หลักสูตรการจัดการศึกษา § ยุทธศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์และการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ 3 3 3 3 4 4 4 4 4 5 5 6 7 8 10 ส่วนที่ 2 ผลการดําเนินงาน § ผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจําปีงบประมาณ 2565 สาระสําคัญ แผนปฏิบัติการ § ผลง านเด่นของ วิทย าลัย ในสังกัดคณ ะ ส า ธา รณสุ ขศ าสต ร์ แล ะ สหเวชศาสตร์ 14 16 สารบัญ


หน้า ส่วนที่ 3 ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ § องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต § องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย § องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ § องค์ประกอบที่ 4 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม § องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ § สรุปผลการประเมินโดยคณะกรรมการ 43 44 45 45 45 46 ส่วนที่ 4 ผลการประเมินตามตัวชี้วัด § สรุปผลรายงานความสําเร็จตามแผนงานคณะสาธารณสุขศาสตร์และ สหเวชศาสตริ์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 52 สารบัญ


รายงานประจําปี| 3 1.1 ความเป็นมาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ส่วนที่1 ข้อมูลทั่วไป คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์จัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวง จัดตั้งส่วนราชการในสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564 ตามความ ในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ ประกอบด้วย มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 และมาตรา 34 และมาตรา 35 จึงได้มีการจัดโครงการ ระดับคณะและระดับวิทยาลัย ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์มีวิทยาลัยในสังกัด 9 แห่ง ดังนี้ 1) วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี 2) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น 3) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี 4) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง 5) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก 6) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา 7) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี 8) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 9) วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก 1.2 ปรัชญา จัดการศึกษาแบบบูรณาการผสานความรู้สู่ชุมชนพัฒนากําลังคนให้มีคุณภาพเพื่อให้การ บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 1.3 ปณิธาน สร้างบ้านสร้างคน สร้างชุมชนสร้างความสุข ด้วย “สบช” Transformation 1.4 พันธกิจ (1) ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการและทักษะในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสํานึกต่อสังคม และเพื่อให้มี ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) จัดการศึกษา วิจัย ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างหรือพัฒนาองค์ ความรู้และนําความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม และประเทศชาติ


รายงานประจําปี| 4 (3) พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพให้มีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการให้เป็น ที่ยอมรับในระดับประเทศและนานาชาติ (4) ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยเน้นความร่วมมือกับชุมชน (5) ให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข (6) ส่งเสริมและทะนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม พันธกิจเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์สร้างกําลังคมด้านสาธารณสุขผ่านกระบวนการการจัดการศึกษา การวิจัยและนวัตกรรมและบริการวิชาการในบริบทชุมชนโดยใช้หลักธรรมาภิบาล 1.5 อัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก วินัย หน้าที่สามัคคีเสียสละ สัจจะ กตเวที 1.6 สมรรรถนะหลักของบัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก นักคิดวิเคราะห์ (Critical Thinker) ผู้สื่อสารอย่างสร้างสรรค์(Communicator) นักสานสัมพันธ์ (Collaborators) ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม (Creator) 1.7 ค่านิยมร่วมสถาบันพระบรมราชชนก ส สถาบันพระบรมราชชนก ผลิตบัณฑิตมีสมรรถนะ 4 Cs for C บ บูรณาการด้าน บริการวิชาการ วิจัย และนวัตกรรมสุขภาพเป็นเลิศ ช ชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียั่งยืน 1.8 ค่านิยมคณะสาธารณสุขศาสตร์ PHAS P = Participation ร่วมแรงร่วมใจ H = Happiness สร้างความสุข กาย-ใจ A = Altruism มุ่งผลเพื่อผู้อื่น S = Self-literacy รอบรู้ในตนเอง 1.9 วัฒนธรรมองค์กร PBRI P: Participation ร่วมแรงร่วมใจ B: Bonding รักใคร่ผูกพัน R: Responsibility มุ่งมั่นรับผิดชอบ I: Integrity ส่งมอบคุณธรรม


รายงานประจําปี| 5 5. 1. 2. 3. 4. 11/08/65 ข้อมูล ณ วันที. 19 เมษายน 1 2565 5. 1. 2. 3. 4. 6. 7. 8. 9. คณะกรรมการบริหารคณะฯ 1.10 โครงสร้างหน่วยงาน 1.11 ผู้บริหาร 1) รองศาสตราจารย์ดร.วิทยา อยู่สุข คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 2) ดร.นพมาส เครือสุวรรณ รองคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ด้านบริหารและยุทธศาสตร์ 3) ดร.อาภาพร กฤษณพันธุ์ รองคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ด้านวิชาการ วิจัย นวัตกรรม บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ 4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ณรงค์ ใจเที่ยง รองคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ด้านกิจการนักศึกษา ทะนุบํารุงศิลปวัฒนธรรม สื่อสารองค์กรและกิจการพิเศษ 5) รองศาสตราจารย์ดร.ภูษิตา อินทรประสงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์


รายงานประจําปี| 6 1.12 อัตรากําลัง ในปีงบประมาณ 2565 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์มีอัตรากําลังรวมทั้งหมด จํานวน 1,106 คน ตารางแสดงจํานวนบุคลากรคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ลําดับ หน่วยงาน สาย บริหาร สาย สอน สาย สนับสนุน รวม 1 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 1 0 15 16 2 ว.การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร 0 24 21 45 3 วสส.จ.ขอนแก่น 0 86 83 169 4 วสส.จ.ชลบุรี 1 89 74 164 5 วสส.จ.ตรัง 1 41 42 84 6 วสส.จ.พิษณุโลก 1 85 69 155 7 วสส.จ.ยะลา 1 73 51 125 8 วสส.จ.สุพรรณบุรี 0 75 54 129 9 วสส.จ.อุบลราชธานี 1 61 43 105 10 วทก. 0 67 47 114 รวม 6 601 499 1,106


รายงานประจําปี| 7 1.13 งบประมาณ จํานวน 431,896,222 บาท (สี่ร้อยสามสิบเอ็ดล้านแปดแสนเก้าหมื่นหกพันสองร้อย ยี่สิบสองบาทถ้วน) ประกอบด้วย 1) เงินงบประมาณ 180,193,941 บาท 1.1 งบดําเนินงาน 31,728,761 บาท 1.2 งบอุดหนุน 82,871,780 บาท 1.3 งบลงทุน 65,593,400 บาท 2) เงินนอกงบประมาณ 251,702,281 บาท 2.1 เงินรายได้สถานศึกษา 138,796,567 บาท 2.2 เงินรายได้จากบริการวิชาการ 52,472,400 บาท 2.3 เงินรายได้จากวิจัย 6,904,956 บาท 2.4 เงินรายได้สถานบริการ 49,879,698 บาท 2.5 รายได้อื่น ๆ 3,648,660 บาท


รายงานประจําปี| 8 1.14 หลักสูตรการจัดการศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก จัดการเรียนการสอนทั้งใน ระดับบัณฑิตศึกษา ปริญญาตรีและตํ่ ากว่าปริญญาตรีหลักสูตรที่ เปิดสอนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้ 1. ระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 1.1 ระดับปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต 1.2. ระดับปริญญาโท ได้แก่ 1.2.1 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต 1.2.2 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) 1.2.3 หลักสูตรแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต 2. ระดับปริญญาตรีประกอบด้วย 2.1 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน 2.2 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข 2.3 หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย/ หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ 2.4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน 2.5 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค 2.6 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2.7 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ 2.8 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขานวัตกรรมและการสื่อสาร 3. ระดับตํ่ ากว่าปริญญาตรีประกอบด้วย 3.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม 3.2 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ 3.3 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวชระเบียน 3.4 หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยสาธารณสุข


รายงานประจําปี| 9 แผนการผลิตของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ปีการศึกษา 2565 – 2570 ดังรายละเอียดในตารางที่ 1 ตารางแสดงแผนการผลิตของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ปีการศึกษา 2565 – 2570 ลําดับ หลักสูตร แผนผลิต ปีการศึกษา 2565 2566 2567 2568 2569 2570 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 2,514 3,264 3,264 3,264 3,264 3,264 ระดับปริญญาเอก 7 7 7 7 7 7 1 สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต 7 7 7 7 7 7 ระดับปริญญาโท 152 152 152 152 152 152 2 สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต 122 122 122 122 122 122 3 สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตร International) 10 10 10 10 10 10 4 หลักสูตรแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต 20 20 20 20 20 20 ระดับปริญญาตรี 1,695 2,445 2,445 2,445 2,445 2,445 5 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน 685 985 985 985 985 985 6 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข 340 340 340 340 340 340 7 การแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชา การแพทย์แผนไทย/ประยุกต์ 365 415 415 415 415 415 8 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน 110 110 110 110 110 110 9 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทศนิค 55 55 55 55 55 55 10 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 50 150 150 150 150 150 11 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ 40 90 90 90 90 90 12 เทคโนโลยีบัณฑิต สาขานวัตกรรมและการสื่อสารสุขภาพ 50 50 50 50 50 50 13 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรม - 200 200 200 200 200 14 เภสัชศาสตรบัณฑิต - 50 50 50 50 50


รายงานประจําปี| 10 ลําดับ หลักสูตร แผนผลิต ปีการศึกษา 2565 2566 2567 2568 2569 2570 ระดับตํ่ ากว่าปริญญาตรี 660 660 660 660 660 660 15 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชา เทคนิคเภสัชกรรม 330 330 330 330 330 330 16 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขา ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 210 210 210 210 210 210 17 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวช ระเบียน 120 120 120 120 120 120 รวมทั้งสิ้ น 2,514 3,264 3,264 3,264 3,264 3,264 1.15 ยุทธศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการเรียนการสอนด้านสุขภาพสู่มาตรฐานสากล ประเด็นยุทธศาสตร์ที่1 จัดการเรียนการสอนด้านสุขภาพสู่มาตรฐานสากล เป้าประสงค์1 การจัดการเรียนการสอนสู่มาตรฐานสากล กลยุทธ์ 1.1 การเสริมสร้างอาจารย์เป็นมืออาชีพ 1.2 การผลิตและหลักสูตรด้านสุขภาพที่มีมาตรฐานสากลมีมาตรฐานตามเกณฑ์AUN QA 1.3 การเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษาให้ตามเกณฑ์ที่สถาบันกําหนด 1.4 พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านกิจการนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 1.5 การพัฒนานักศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างงานวิจัยสาธารณสุขในบริบทชุมชน และสร้างสรรค์นวัตกรรม เป้าประสงค์ที่ 2 สร้างงานวิจัยสาธารณสุขในบริบทชุมชน และสร้างสรรค์นวัตกรรม กลยุทธ์ 2.1 เร่งรัดและพัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานที่สนับสนุนผลงานการวิจัย ผลงานวิชาการ และนวัตกรรม 2.2 พัฒนาศักยภาพนักวิจัย ให้มีสมรรถนะการขอทุนวิจัยภายนอก/ตีพิมพ์วิจัยในต่างประเทศ 2.3 พัฒนาเครือข่ายและสร้างระบบและกลไกการทํางานวิจัยร่วมกับเครือข่าย ทั้งภายใน และ ภายนอกสถาบันฯ รวมถึงการดําเนินงานกับฝ่ายต่างประเทศ เพื่อการสนับสนุนทรัพยากรการดําเนินงาน วิจัย 2.4 สร้างระบบฐานข้อมูลงานวิจัย


รายงานประจําปี| 11 ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริการวิชาการและบริการสุขภาพอย่างมืออาชีพเพื่อสุขภาพชีวิตชุมชน เป้าประสงค์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งในการบริการวิชาการ และบริการสุขภาพ กลยุทธ์ 3.1 พัฒนาระบบและกลไกสร้างความเข้มแข็งของศูนย์บริการวิชาการ (Training center) 3.2 สร้างหลักสูตรบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการชุมชนสร้างเสริม สนับสนุน สบช. โมเดล สู่ชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูงภายใต้หลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์ที่ 4 การสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ กลยุทธ์ 4.1 พัฒนาระบบและกลไกการดําเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดําเนินการที่ เป็นเลิศ (EdPEx) 4.2 พัฒนาระบบและกลไกของการจัดสรรโควตา (การคิดรอบสมัคร TCAS) 4.3 พัฒนาศักยภาพของวิทยาลัยในการประชาสัมพันธ์เชิงรุก 4.4 ส่งเสริมการสร้างรายได้การใช้พื้นที่และกิจกรรม 4.5 สร้างเสริมการดําเนินการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ 4.6 พัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกระดับ ให้มีสมรรถนะการจัดการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4.7 สร้างเสริมการรักษ์สิ่ งแวดล้อม


รายงานประจําปี| 12


รายงานประจําปี| 13


รายงานประจําปี| 14 98.47 1.53 แผนภูมิแสดงร้อยละการเบิกจ่ายของโครงการตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2565 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ เบิกจ่าย(%) คงเหลือ(%) ส่วนที่ 2 ผลการดําเนินงาน 2.1 ผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจําปีงบประมาณ 2565 สาระสําคัญ แผนปฏิบัติการ ประจําปีงบประมาณ 2565 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ตารางแสดงผลการเบิกจ่ายโครงการตามแผนปฏิบัติการคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ปีงบประมาณ 2565 ยุทธศาสตร์ จํานวน โครงการ ได้รับจัดสรร เบิกจ่าย ร้อยละ คงเหลือ ร้อยละ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่1 : การผลิต กําลังคนด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ ตอบสนองระบบบริการสุขภาพ 29 2,424,600 2,424,600 100.00 - 0.00 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : การสร้าง องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาสุขภาวะของชุมชน และ สังคมอาเซียน 10 459,000 449,000 97.82 10,000 2.18 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การบริการ วิชาการและวิชาชีพแก่สังคม 5 389,000 289,000 74.29 100,000 25.71 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4: การบริหาร สถาบันสู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติ ด้วยหลักธรรมาภิบาล 22 7,186,440 7,145,834 99.43 40,606 0.57 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : การทํานุ บํารุงศิลปะและวัฒนธรรม 2 30,000 20,000 66.67 10,000 33.33 รวมทั้งสิ้ น 68 10,489,040 10,328,434 98.47 160,606 1.53


รายงานประจําปี| 15 100% แผนภูมิแสดงสถานะโครงการตามแผนปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตารางแสดงสถานะโครงการตามแผนปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวช ศาสตร์ปีงบประมาณ 2565 ประเด็นยุทธศาสตร์ จํานวน โครงการ สถานะโครงการ (จํานวน) ยกเลิกโครงการ โครงการ ดําเนินการ ร้อยละ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่1 : การผลิตกําลังคนด้านสุขภาพที่ มีคุณภาพตอบสนองระบบบริการสุขภาพ 29 4 25 41.67 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : การสร้างองค์ความรู้และ นวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อพัฒนาสุขภาวะของชุมชน และ สังคมอาเซียน 10 1 9 15.00 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การบริการวิชาการและวิชาชีพ แก่สังคม 5 1 4 6.67 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4: การบริหารสถาบันสู่ความเป็น เลิศระดับนานาชาติด้วยหลักธรรมาภิบาล 22 1 21 35.00 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : การทํานุบํารุงศิลปะและ วัฒนธรรม 2 1 1 1.67 รวมทั้งสิ้ น 68 8 60 100.00


รายงานประจําปี| 16 2.1 ผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจําปีงบประมาณ 2565 สาระสําคัญ แผนปฏิบัติการ ประจําปีงบประมาณ 2565 ของวิทยาลัยในสังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ผลงานเด่นของวิทยาลัยในสังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 2.1.1 วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภู เบศร จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีการใช้ตํารับยาสมุนไพรที่ส่วนผสมของกัญชาในการดูแลรักษาผู้ป่วยในหลายตํารับ เช่น ยาศุขไสยาสน์ยานํ้ ามันกัญชาทั้งห้า มีการผลักดันให้ยาตํารับดังกล่าวเข้าสู่ยาในบัญชียาหลัก แห่งชาติจากสมุนไพร ในการใช้ตํารับยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของกัญชานี้พบว่ามีการนําไปใช้ในหลาย กลุ่มอาการ เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเบื่ออาหาร อาการปวดเรื้อรัง และยังมีการใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพ ชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย พบว่ามีผลดีในการให้การรักษา คลีนิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เห็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในการใช้กัญชาทางการแพทย์และยังเป็นการสร้างประสบการณ์การใช้ยาตํารับ สมุนไพรที่มีส่วนผสมของกัญชาให้แก่นักศึกษา จึงได้มีการเปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์ขึ้นเพื่อให้ บริการแก่ประชาชน โดยเน้นการให้บริการใน 2 กลุ่มอาการหลัก คือ อาการนอนไม่หลับ และ ผื่นผิวหนัง โดยเน้นกลุ่มผื่นผิวหนังที่มาจากโรคสะเก็ดเงินและผื่นผิวหนังที่ไม่ทราบสาเหตุ โดยการให้บริการจะมี 2 รูปแบบ คือ การให้บริการ ณ คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรีและการให้บริการแบบออนไลน์โดยแพทย์แผนไทยผู้รับผิดชอบการรักษา จะทําการซัก ประวัติและประเมินผู้ป่วย แล้วจึงสั่งการรักษาด้วยตํารับยาที่ส่วนผสมของกัญชา ร่วมกับยาสมุนไพรหรือ หัตการทางแพทย์แผนไทยอื่นๆ มีการนัดติดตามผู้ป่วยตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อประเมินถึง ประสิทธิผลการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย ส่วนการให้บริการออนไลน์หลังจากได้รับประเมิน อาการแล้วแพทย์แผนไทยจะทําการสั่งจ่ายยา แล้วจัดส่งโดยจะมีการประเมินอาการทางโทรศัพท์ตาม ระยะเวลาที่กําหนด


รายงานประจําปี| 17 ในการให้บริการนี้ช่วยทําให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาที่ส่วนผสมของกัญชาที่ใช้ประโยชน์ทาง การแพทย์ได้ง่ายขึ้น เพิ่มประสบการณ์ของอาจารย์และนักศึกษาในการใช้ยาที่มีส่วนผสมของกัญชาเพื่อ ประโยชน์ทางด้านการแพทย์และส่งเสริมการงานทําวิจัยและวิชาการที่ เกี่ยวข้อง 2.1.2 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ผลงานเด่น : ทีม QUASH CORRECTION จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ได้รับรางวัล Finalists ประเภท Hacks to heal our planet ESG ideas pitching กลุ่ม Governance ในการประกวดนวัตกรรม ESG SYMPOSIUM 2022 by SCG"


รายงานประจําปี| 18 2.1.3 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี กิจกรรมที่ 1 การผลิตผลงานทางวิชาการ ในปีงบประมาณ 2565 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรีดําเนินกิจกรรมสนับสนุน และขับเคลื่อนบุคลากรของวิทยาลัย ให้ดําเนินการศึกษา ค้นคว้าในสาขาวิชาการและวิชาชีพอย่างมีระบบ ด้วยวิธีวิทยาการวิจัย เพื่อสร้าง/พัฒนาองค์ความรู้นําไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการและเอื้อต่อการ นําไปใช้ประโยชน์รวมทั้งสิ้ น 44 รายการ จําแนกเป็น ผลงานลิขสิทธิ์ หนังสือ/ตํารา จํานวน 3 รายการ ผลงานวิจัยที่ เผยแพร่ในประเทศ จํานวน 14 รายการ และผลงานวิจัยที่ เผยแพร่ในระดับนานาชาติจํานวน 27 รายการ รายละเอียดดังนี้


รายงานประจําปี| 19 ชื่อ-สกุล ผลงานวิจัย ผอ.ประเสริฐ อัตโตหิ Survey Study on Cultural Ecology of Wild Herbs for Geographic Information System Creation Wat Khao Bang Sai, Chonburi Province, Thailand ดร.ภก.ธีระพงษ์อาญาเมือง The Health SPA Promotion for Health Tourism Center in Eastern Region of Thailand ดร.ภก.ธีระพงษ์อาญาเมือง ดร.สุรัสวดีสินวัฒน์ Psoriasis: Treatment Approaches Using Herbal Medicine Formulas Based on Wisdom of a Folk Healer in Prachin Buri Province ดร.ภญ.กมลนัทธ์ม่วงยิ้ ม ดร.วรยุทธ นาคอ้าย Participatory Development in Community Health for the Pgazkoenyau Ethnic: a Case Study in an Ethnic Community in Thailand ดร.ปรีชา สุวรรณทอง Systems and mechanisms to develop health volunteers to improve the health of the immigrant workforce in four Thailand provinces Systems and mechanisms to develop health volunteers for the health of immigrant workforce in Ubon Ratchathani, Thailand ดร.วรยุทธ นาคอ้าย Current status of helminthiases in Thailand: A cross-sectional, nationwide survey, 2019 A preventive communicable disease model: a case study for remote tribal communities in Thailand Healthy public policy process in ethnic groups: A qualitative study National Survey of Risk Behavior and Past Historied with Helminthiasis in Thailand ดร.นารีรัตน์ผุดผ่อง Healthcare providers’ perspectives on integrating NCDs into primary healthcare in Thailand: a mixed method study Public contracting with civil society organizations for HIV/AIDS service provisions: A key strategy to ending AIDS in Thailand


รายงานประจําปี| 20 ชื่อ-สกุล ผลงานวิจัย Health Status and Barriers to Healthcare Access among “Son-in-Law Westerners”: A Qualitative Case Study in the Northeast of Thailand Analysis of Policies to Protect the Health of Urban Refugees and Asylum Seekers in Thailand: A Qualitative Study and Delphi Survey Noncommunicable Disease Service Utilization among Expatriate Patients in Thailand: An Analysis of Hospital Service Data, 2014–2018 Access to Non-Communicable Disease (NCD) Services Among Urban Refugees and Asylum Seekers, Relative to the Thai Population, 2019: A Case Study in Bangkok, Thailand Situation of Self-Reported Anxiety and Depression among Urban Refugees and Asylum Seekers in Thailand, 2019 Self-assessment of attitudes towards conditions to provide safe abortion among new medical graduates in Thailand,2018: an application of cross-sectional survey with factor analysis A Cross-Sectional Study on Disparities in Unmet Need among Refugees and Asylum Seekers in Thailand in 2019 ดร.สุรัสวดีสินวัฒน์ ดร.สุรัสวดีสินวัฒน์ “Mud-dyed Silk Fabric: Extension and Improvement of Knowledge Based on Isan Folk Wisdom”. Preliminary Outcomes and Safety of Menopausal Symptoms Treatment using Cannabis-containing Suksaiyat Formulation based on Thai Traditional Medicine Wisdom Health Promotion Guidelines for Elderly Patients with Knee Osteoarthritis Using Thai Traditional Medicine at Prapokklao Hospital, Chantaburi Province


รายงานประจําปี| 21 ชื่อ-สกุล ผลงานวิจัย Postpartum Maternal Health Care Approaches using Wisdom of Folk Philosopher in Chonburi province ดร.อัญชิสา พูลประสาธน์พร In vitro Fourier transform infrared spectroscopic study of the effect of glycerol on the uptake of beclomethasone dipropionate in living respiratory cells Live-cell ATR-FTIR spectroscopy as a novel bioanalytical tool for cell glucose metabolism research Label-free study of intracellular glycogen level in metformin and resveratrol-treated insulinresistant HepG2 by live-cell FTIR spectroscopy ดร.วรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ Capacity Enhancement of Family Development Centre Staff in Early Childhood Language Learning กิจกรรมที่ 2 การบริการวิชาการ จัดอบรมหลักสูตร “การเป็นข้าราชการที่ดี (ออนไลน์)” วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรีได้ดําเนินการจัดอบรมหลักสูตร “การเป็นข้าราชการ ที่ดี(ออนไลน์)” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่วิทยาลัยฯ ได้จัดขึ้นโดยพัฒนาจากแนวทางการจัดอบรมข้าราชการพล เรือนสามัญที่อยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติราชการของกลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้กรอบมาตรฐานหลักสูตรให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ภายใต้สถานการณ์ที่ เป็นข้อจํากัด ตามที่สํานักงาน ข้าราชการพลเรือนกําหนดในเรื่อง การพัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 59 บัญญัติว่าผู้ ได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 55 และข้าราชการหรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่ นซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือน ตามมาตรา 64 ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ ราชการ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และการเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กําหนดในกฎ ก.พ. การจัดอบรมหลักสูตร “การเป็นข้าราชการที่ดี(ออนไลน์)” นี้จึงได้จัดทําขึ้นเพื่อปลูกฝังการเป็น ข้าราชการที่ดีตลอดจนพัฒนาให้ข้าราชการมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของข้าราชการ รวมถึง เสริมสร้างเครือข่ายที่ เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในอนาคต ซึ่งได้กําหนดแนวทางการพัฒนาข้าราชการ ของสํานักงานข้าราชการพลเรือนในส่วนของการอบรมสัมมนาขึ้น โดยมีเนื้อหาอันประกอบด้วย 3 หมวด วิชา ได้แก่


รายงานประจําปี| 22 หมวดที่ 1 ปรัชญาของการเป็นข้าราชการที่ดีประโยชน์ของแผ่นดิน และบทบาทหน้าที่จิตสํานึกของ การเป็นข้าราชการที่มีคุณธรรม ประกอบด้วย ๓ รายวิชา ได้แก่ ๑) ข้าราชการที่ดีและจิตอาสาในการทํางาน ๒) การนําแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี ยงสู่การปฏิบัติงาน และ ๓) การศึกษาโครงการ พระราชดําริ/กิจกรรมจิตอาสา หมวดที่ 2 ความรู้ทักษะ สมรรถนะที่จําเป็นต่อการปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย 5 รายวิชา ได้แก่ ๑) การเสริมสร้างวินัยและกฎระเบียบราชการที่สําคัญสําหรับข้าราชการใหม่ ๒) สมรรถนะหลักของ ข้าราชการพลเรือนและการเขียนหนังสือราชการ ๓) สิทธิประโยชน์ข้าราชการ กบข. และความก้าวหน้าใน หน้าที่ราชการ ๔) บุคลิกภาพ การสื่อสาร และการให้บริการที่ดีและ ๕) การสร้างทีมและเครือข่าย ผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร หมวดที่ 3 ความรู้และทักษะเพื่อการดํารงตนอย่างสมดุลในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 รายวิชา ได้แก่ ๑) คุณลักษณะข้าราชการในศตวรรษที่ 21 ๒) การเสริมสร้างสุขภาพกาย สุขภาพใจให้สมดุล แข็งแรงเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ๓) เทคนิคการบริหารจัดการเงินเพื่อสมดุลชีวิต และ ๔) การ แลกเปลี่ยนถอดบทเรียนและสะท้อนผลการเรียนรู้พร้อมการนําเสนอ อย่างไรก็ตามปัจจุบันการเรียนการสอนออนไลน์เข้ามามีบทบาทสําคัญในการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเรียนรู้ที่สะดวกรวดเร็ว และมีความน่าสนใจ เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่ งเมื่อสังคมประสบปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้ทําให้ไม่สามารถ จัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนปกติได้ดังที่ก.พ พิจารณาเห็นว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด19 ได้ส่งผลกระทบ ทําให้ต้องปรับรูปแบบแนวทาง และวิธีการเรียนรู้และพัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ใหม่ โดยนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาเป็นไปตามที่ได้กําหนดไว้ใน กรอบมาตรฐานหลักสูตรให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ภายใต้สถานการณ์ที่ เป็นข้อจํากัด ทั้งหลักสูตรการพัฒนา ข้าราชการและเจ้าหน้าที่โดยทั่วไป หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ จนถึงหลักสูตรนักบริหาร ระดับสูง โดยหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่นั้น ก.พ กําหนดให้การอบรมสัมมนาร่วมกัน สามารถ ใช้แอพพลิเคชั่น Teleconference หรือ เทคโนโลยีที่รองรับการเรียนรู้และพัฒนาในลักษณะการสื่อสาร แบบสองทาง แทนรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ต้องพบปะกันเป็นการชั่วคราว โดยยังคงวัตถุประสงค์เพื่อให้ ผู้เรียนรู้มีความเข้าใจในเรื่องของคุณลักษณะข้าราชการยุคใหม่และมีการประพฤติปฏิบัติตนเป็นข้าราชการที่ ดีเกิดแรงบันดาลใจในการเป็นข้าราชการผู้มีคุณธรรม เป็นคนดีคนเก่งที่มีจิตสาธารณะ ทํางานเพื่อ ประเทศชาติและตอบสนองความต้องการของประชาชน การจัดอบรมหลักสูตร “การเป็นข้าราชการที่ดี(ออนไลน์)” ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรีได้เริ่ มดําเนินการจัดอบรมหลักสูตรนี้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 จํานวน 10 รุ่น ซึ่งมีผู้เข้า อบรมทั้งสิ้ นประมาณ 3,000 คน และในปีงบประมาณ 2565 นี้ทางวิทยาลัยได้ดําเนินการจัดอบรม จํานวน 3 รุ่น โดยมีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งสายวิชาชีพและสายสนับสนุนเข้าร่วมอบรม ดังนี้ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 7 – 11 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้เข้าร่วมอบรมจํานวน 341 คน รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤษภาคม 2565 มีผู้เข้าร่วมอบรมจํานวน 167 คน รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2565 มีผู้เข้าร่วมอบรมจํานวน 316 คน


รายงานประจําปี| 23 ภาพกิจกรรมการอบรมหลักสูตร “การเป็นข้าราชการที่ดี 2.1.4 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง วิทยาลัยได้ดําเนินโครงการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ Elderly Care Worker 420 ชั่วโมง ประจําปีงบประมาณ 2565 ได้รับรองจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ที่ เป็น หลักสูตรที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งวิทยากรตามที่กําหนด ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับใบอนุญาตผู้ให้บริการใน กิจการดูแลผู้สงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิ ง จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดย ปัจจุบันสามารถจัดการอบรมได้จํานวน 3 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 จํานวน 40 คน ระยะที่ 1 (ทฤษฎี) 9 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2565 ระยะที่ 2 (ฝึกปฏิบัติในพื้นที่ 3 – 25 มิถุนายน 2565 ระยะที่ 3 สรุปผล 29-30 มิถุนายน 2565 รุ่นที่ 2 จํานวน 30 คนระยะที่ 1 (ทฤษฎี) 4 สิงหาคม 6– 30 มิถุนายน 2565 ระยะที่ 2 (ฝึกปฏิบัติในพื้นที่ 1 – 23 กรกฎาคม 2565 ระยะที่ 3 สรุปผล 25-26 กรกฎาคม 2565 รุ่นที่ 3 จํานน 40 คน ระยะที่ 1 (ทฤษฎี) 4 สิงหาคม – 25 สิงหาค 2565 ระยะที่ 2 (ฝึกปฏิบัติในพื้นที่ 26 สิงหาคม – 17 กันยายน 2565 ระยะที่ 3 สรุปผล 19-20 กันยายน 2565 1. ผลการประเมินจากอาจารย์พี่เลี้ยง (Care Manager) ในพื้นที่ผู้นําชุมชน และตัวแทน อปท พบว่าผู้ที่รับการอบรมในหลักสูตร Elderly Care Worker 420 ชั่วโมง ไปสนับสนุนการดําเนินงาน Long term care และสนับสนุน การดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงที่ไม่มีญาติดูแล ส่งเสริมคุณภาพ ผู้สูงอายุ


รายงานประจําปี| 24 2. สามารถพัฒนานวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุ หลายชิ้ นงาน เช่น ถุงสีรุ้งบอกสุขภาพ กล่องยา บอกเวลา เก้าอี้ออกกําลังกายช่วยนวดผ่อนคลาย เป็นต้น 3. ตลอดจนนํามาสู่การพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาการดูแล ผู้สูงอายุ


รายงานประจําปี| 25 2.1.5 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก พันธกิจที่ 1 ผลิตบุคลากรด้านสุขภาพให้มีความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาการและ วิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ อัตลักษณ์และความสํานึกต่อสังคม การพัฒนาการจัดการศึกษา ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัด พิษณุโลก ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยมีการเปิดรับ นักศึกษาใหม่และจัดการเรียนการสอนนอกเวลาในวันเสาร์และอาทิตย์ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (ต่อเนื่อง) และหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งมีการเปิด การเรียนการสอนและเปิดศูนย์บัณฑิตศึกษาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 โดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก บูรณาการองค์ความรู้และการให้บริการวิชาการหลักการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดําเนิน กิจกรรม “โครงการสร้างชุมชนสุขภาวะด้วย สบช.โมเดล 2022 1 วิทยาลัย 1 ชุมชน” วิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้บูรณาการองค์ความรู้และการให้บริการวิชาการหลักการสร้าง เสริมสุขภาพโดยใช้แนวคิดปิงปองจราจรชีวิต 7 สีและมาตรการ 3 อ.3 ลด ในการสร้างเสริมสุขภาพ ขับเคลื่อนไปสู่กลุ่มบุคลากร นักศึกษา และลงนามความร่วมมือในการขับเคลื่อนกับชุมชนบ้านเขาสมอแคลง หมู่ที่ 8 ตําบลวังทอง อําเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อสร้างต้นแบบชุมชน ในการสร้างสุขภาวะ


รายงานประจําปี| 26 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบหมาย จากคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ให้เป็นแกนนําในการดําเนินโครงการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ วิพากษ์Gap Analysis และ QA Practice ตามเกณฑ์AUN-QA ระดับหลักสูตร ระหว่างวันที่ 5-7 เมษายน 2565 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท แก่ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คณาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จากทุกวิทยาลัยในสังกัด จํานวน 86 คน พันธกิจที่ 2 จัดการศึกษา วิจัย ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างหรือพัฒนาองค์ ความรู้สุขภาพให้มีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการ และนําความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา สังคมและประเทศชาติ คณะอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสห เวชศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทาง ปัญญา รวมไปถึงแนวทางการสร้างเครือข่ายในการผลิตและต่อยอดผลงานนวัตกรรมทางสุขภาพ และเข้า เยี่ยมชมพื้นที่ MB Ma SHARES Co-Working & Maker Space. พันธกิจที่ 3 พัฒนาบุคลากร และบริการทางวิชาการแก่สังคม โดยเน้นความร่วมมือกับชุมชน ให้บริการ ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข กลุ่มงานบริการวิชาการ ได้จัดโครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ Elderly care worker (420ชั่วโมง) รุ่นที่ 2 ซึ่งการอบรมแบ่งออกเป็น 3 Module โดย Module 1 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 20-30 มิถุนายน 2565 และ Module 2 ระหว่างวันที่ 19-29 กรกฎาคม 2565 และ Module ๓ ระหว่างวันที่๘-๓๐ สิงหาคม 2565 มีผู้เข้ารับการอบรม จากจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ได้จัดบริการศึกษาดูงานแก่ผู้สนใจ และได้รับเกียรติบัตรสวน สมุนไพร 12 กลุ่มโรค ลําดับที่ 2 ของประเทศ ผ่านการประเมินแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทย และสมุนไพรระดับดีเยี่ยม ผ่านการประเมินรับรองมาตรฐาน อาคารผลิตยาสมุนไพรตามมาตรฐาน WHO


รายงานประจําปี| 27 GMP จากสถาบันการแพทย์แผนไทยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นอกจากนี้ได้จัด อบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง โดยมีนายพิศิษฐ์กิจบุญอนันต์รองผู้ว่าราชการจังหวัด พิษณุโลกเป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 และ หลักสูตรนวดไทย เพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง โดยนายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นประธานในพิธีมอบใบประกาศนียบัตร แก่ผู้ผ่านการอบรม การพัฒนาบุคลากร อาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัย ได้รับรางวัลผลงานดีเด่น ได้แก่ ดร.ภก.วุฒิชัย วิสุทธิพรต ได้รับรางวัล Bronze award ผลงานนวัตกรรม Thailand Research Expo อาจารย์ไพจิตร พิลึก ได้รับโล่รางวัล “ครูต้นแบบ” ประจําปีการศึกษา 2565 พันธกิจที่ 4 ส่งเสริม สนับสนุน ทะนุบํารุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่ น กลุ่มอํานวยการ และกลุ่มกิจการนักศึกษา พร้อมด้วยบุคลากรและนักศึกษาชั้นนปีที่ 2 ได้จัด กิจกรรม ร่วมทําบุญ ถวายเทียนพรรษาและทอดผ้าป่า ณ วัดศาลาสองพี่น้อง อําเภฤอวังทอง จังหวัด พิษณุโลก เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบูรณาการทํานุบํารุง สืบสานแผลเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม สืบสานงานประเพณีแห่เทียนพรรษา กลุ่มงานบริหาร ได้จัดกิจกรรม “ออกกําลังกาย ขยับวันละนิด ลดพุ ง ลดโรค (สบช.โมเดล)” สําหรับบุคลากร และนักศึกษาในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก มีกิจกรรมออกกําลัง กาย ทุกวันพุ ธ ณ โดมกัลปพฤกษ์และได้จัดการแช่งขันกีฬาบอลสัมพันธ์ณ สนามฟุตบอลวิทยาลัยฯ โดยมีผู้บริหาร อาจารย์บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม พันธกิจที่ 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรภายใต้หลักธรรมาภิบาล วิทยาลัยฯ มีการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคํานึงถึงประโยชน์ขององค์กรและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียใน 10 ด้าน ได้แก่ หลักประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยการจัดซื้อตู้เก็บสารเคมีที่ระบายอากาศ สําหรับสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน และในการเรียนการสอนแต่ละครั้งจะมีอาจารย์และบุคลากรสาย สนับสนุนช่วยควบคุม กํากับดูแล และแนะนํา หลักนิติธรรมและความโปร่งใส ในการปฏิบัติตามระเบียบ รวมถึงการจัดซื้อจ้างภายใต้กฎหมายฯ หลักมุ่งเน้นฉันทามติโดยการจัดประชุมบุคลากรในทุกระดับ หลักการมีส่วนร่วม ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ หลักการกระจายอํานาจ โดยมอบหมายอํานาจให้ บริหารงานได้ตามสายงาน หลักการตอบสนองตามนโยบายมีการดําเนินงาน สบช.โมเดล และหลักการ รับผิดชอบ โดยการร่วมบริการแก่ประชาชนในพื้นที่ 2.1.6 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา จัดโครงการลดเสี่ยงลดโรคเพื่อชุมชนสุขภาวะด้วย สบช.โมเดล( ปิงปองจราจร 7 ) จากความตั้งใจของวิทยาลัยที่ ให้ความสําคัญกับสุขภาพ การดําเนินงาน ดังกล่าวนี้จัดขึ้นภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายของ ศ.พิเศษ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบัน


รายงานประจําปี| 28 พระบรมราชชนก ร่วมกับวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลด้านสุขภาพของคณะผู้บริหารวิทยาลัย นําทีมโดย ผอ.สุนทร ปราบเขต ผู้อํานวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มเป้าหมายที่ 1. ประชาชน ประชาชน หมู่ 5 ตําบลท่าสาบ อําเภอเมือง จังหวัดยะลา อายุ 15 ปีขึ้นไป จํานวน 540 คน โดยกิจกรรม ประกอบด้วย การให้ทีมสุขภาพและนักศึกษาลงพื้นที่ฯ คัดกรองสุขภาพของประชาชนโดยใช้ปิงปองจราจร 7 สีและดําเนินการให้ความรู้และความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกลุ่ม NCD ด้วยสบช. โมเดล รวมถึงลงพื้นที่ เพื่อดูแลกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของสถาบันพระบรมราชชนก นอกจากนี้วิทยาลัย กลุ่มเป้าหมายที่ 2 นักศึกษาและบุคลากร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลาโดยจัด กิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจในโรค NCDs ปรับอารมณ์คิดบวกเชิงสร้างสรรค์และแนวคิดสร้างเสริม สุขภาพด้วย ปิงปองจราจร 7 สี กิจกรรมคัดกรองเพื่อจําแนก 4 กลุ่ม กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ 3 อ. 3 ลด โดยผลการดําเนินงาน นักศึกษาและบุคลากรให้ความสําคัญในเรื่องการรักษาสุขภาพ การป้องกันโรค NCD มากขึ้น และหันมาดูแลสุขภาพเพื่อยกระดับสถานะให้อยู่ในกลุ่มสีขาวและเขียวให้ได้ สืบเนื่องจากการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทําให้วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา นํา ทีมโดย อาจารย์กมลวรรณ วณิชชานนท์และคณะ ในโอกาสได้รับรางวัล รองชนะเลิศ การนําเสนอผลงาน เด่นของวิทยาลัยในการดําเนินงาน การสร้างสุขภาวะชุมชนด้วย สบช.โมเดล 2022: 1 วิทยาลัย 1 ชุมชน เทิดพระเกียรติพระบามสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (2565-2567) กลุ่มเป้าหมายที่ 1. ประชาชน ประชาชน หมู่ 5 ตําบลท่าสาบ อําเภอเมือง จังหวัดยะลา


รายงานประจําปี| 29 ภาพกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ 2 นักศึกษาและบุคลากร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา


รายงานประจําปี| 30 2.1.7 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรีสถาบันพระบรมราชชนก ร่วมกับสํานักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักวิชาการส่งเสริมสุขภาพช่อง ปากผู้สูงอายุ สําหรับทันตาภิบาล (เฉพาะทาง ๔ เดือน) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เข้าอบรมให้มีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากประชาชนในระดับสุขภาพปฐมภูมิมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่าง ๆ มีความรู้และทักษะในการ ขยายกรอบความคิดในมิติของการเติบโตและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มทันต สาธารณสุข ซึ่งระยะเวลาการฝึกอบรมแบ่งเป็น ๔ ระยะ คือ ระยะที่๑ ระหว่างวันที่๑๒-๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ ระยะที่๒ ระหว่างวันที่๓-๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ระยะที่๓ ระหว่างวันที่๓๑ กรกฎาคม-๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ ระยะที่๔ ระหว่างวันที่๔-๙ กันยายน ๒๕๖๕ ณ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัด สุพรรณบุรี โดยในวันที่๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ รองศาสตราจารย์ดร.วิทยา อยู่สุข คณบดีคณะสาธารณสุข ศาสตร์และสหเวชศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดโครงการฝึกอบรม หลักสูตรการพัฒนานักวิชาการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ สําหรับทันตาภิบาล (เฉพาะทาง ๔ เดือน) โดยมีนายภาสกร ศรีไทย ทันตแพทย์ชํานาญการพิเศษ รักษาราชการแทนในตําแหน่งผู้อํานวยการวิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรีกล่าวรายงาน ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยในโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักวิชาการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ สําหรับ ทันตาภิบาล (เฉพาะทาง ๔ เดือน) ประกอบไปด้วยหน่วยการเรียนรู้จํานวน ๖ หน่วย ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่๑ ระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว ระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว ระบบสุขภาพปฐมภูมิหลักการดูแลสุขภาพองค์รวม (holistic care) หลักการดูแลสุขภาพครอบครัว หลักการทํางานกับชุมชนและภาคีเครือข่ายในการสร้าง เสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคในระดับชุมชน บทบาทของทันตาภิบาลในฐานะสมาชิกของ คณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามพรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิพ.ศ. 2562


รายงานประจําปี| 31 หน่วยการเรียนรู้ที่๒ ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีความ ต้องการพิเศษประเภทต่างๆ ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีความต้องการ พิเศษประเภทต่างๆ (ผู้ป่วยเด็กพิเศษ คนพิการวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดสารเสพติด ผู้ป่วยมะเร็ง ช่องปาก ศีรษะและลําคอ ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการการดูแลระยะยาว (เช่น ผู้ป่วย frail, medically compromised, cognitive impaired เป็นต้น ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคองและระยะ ท้ายของชีวิต) การออกแบบแผนดูแลสุขภาพช่องปากประจําวันเฉพาะบุคคล (individualized daily oral care plan) ทักษะการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก ปรึกษาส่งต่อ และ ดูแลต่อเนื่อง สําหรับประชากรที่มี ความต้องการพิเศษกลุ่มต่าง ๆ


รายงานประจําปี| 32 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 Non-Technical Skill สําหรับบทบาทนักวิชาการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก Growth Mindset และ Empathic Communication for Building Trust กิจกรรม Growth Mindset และ Empathic Communication for Building Trust หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สัมมนาบทบาทหน้าที่และการทํางานเป็นทีมระหว่างทันตแพทย์และทันตาภิบาล หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สัมมนาประเมินผลหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรที่พึงประสงค์ หน่วยการเรียนรู้ที่๖ ทักษะปฏิบัติการดูแลและส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ


รายงานประจําปี| 33 2.1.8 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตบุคลากรสาธารณสุข 1.1 ดร.อรรณพ สนธิไชย ผู้อํานวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีไหว้ครูของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งในวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2565 วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ทั้ง 39 แห่ง พร้อมกันจัดพิธีไหว้ครู ขึ้นเพื่อให้นักศึกษาระลึกถึงบุญคุณของครูแสดงออกถึงความเคารพนบนอบ ความกตัญrูกตเวทิตา สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับลูกศิษย์รวมถึงเป็นการสืบสานประเพณีของไทย โดยวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรม อาทิพิธีมอบเข็มหลักสูตร มอบเกียรติบัตรเชิดชูครูดีในดวงใจ มอบเกียรติบัตรแก่ครู ต้นแบบ มอบทุนการศึกษาประเภททุนจิตอาสา และพิธีบายศรีสู่ขวัญแก่นักศึกษาใหม่เพื่อความเป็นสิริ มงคล ภาพกิจกรรม


รายงานประจําปี| 34 1.2 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีจัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศและพิธีมอบ ใบรับรองผลการเรียนแก่ผู้สําเร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิค เภสัชกรรม และสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ปีการศึกษา 2564 ในวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุมนนทรีชั้น 3 อาคารอํานวยการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีโดย ดร.อรรณพ สนธิไชย ผู้อํานวยการวิทยาลัยฯ ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบใบรับรองผลการเรียน และกล่าวให้โอวาทแก่ผู้สําเร็จการศึกษาในครั้งนี้โดยมีอาจารย์บุคลากร นักศึกษา รวมถึงผู้ปกครอง และญาติร่วมแสดงความยินดีเป็นจํานวนมาก ทั้งนี้วิทยาลัยฯ ได้นําผู้สําเร็จการศึกษาเข้าร่วม "โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อทํางานเมื่อ สําเร็จการศึกษา" ผ่านระบบออนไลน์ซึ่งจัดโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาตร์สถาบันพระ บรมราชชนก วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สําเร็จการศึกษามีความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่เมื่อสําเร็จ การศึกษาแล้ว การบริการวิชาการต่อสังคม 2.1 โครงการสร้างชุมชนสุขภาวะด้วย สบช.โมเดล “1 วิทยาลัย 1 ชุมชน เทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2565 – 2567” ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก และคณะ ลง พื้นที่ตรวจเยี่ยมเสริมพลังการนําร่องสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนด้วย "สบช. โมเดล" ในวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2565 ณ บ้านสร้างเม็ก หมู่ที่ 6 ตําบลหนองฮาง อ.เบญจลักษ์จ. ศรีสะเกษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีได้ร่วมมือกับชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ต่างๆ สําหรับวิเคราะห์ออกแบบ วางแผน เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วย “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” ที่มุ่ง “สร้างชุมชน สร้างสุข”ภายใต้ โครงการสร้างชุมชนสุขภาวะด้วย สบช.โมเดล “1 วิทยาลัย 1 ชุมชน เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2565 – 2567” วิทยาลัยฯ ได้พัฒนาระบบติดตามสุขภาวะด้วย e-Health โดยการนําเอาข้อมูลการเยี่ยมบ้าน INHOME SSS, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3 อ. 2 ส., การใช้ยา, NCD, ข้อมูลทันตสุขภาพสภาวะช่องปาก , การเฝ้าระวังความเค็มในอาหาร โดยนํามาประมวลผล CVD Risk เมื่อทําการประมวลผลจะนําข้อมูล เสนอผลรูปแบบของ e-Health


รายงานประจําปี| 35 2.2 โครงการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น (ผ.บ.ต.) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วันสําเร็จหลักสูตรอบรมผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น รุ่นที่ 31 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในโอกาสนี้นายพงศ์รัตน์ภิรมย์รัตน์ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีให้เกียรติมาเป็น ประธานในพิ ธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรม จํานวน 56 คน ณ ห้องประชุมนนทรีชั้น 3 อาคารอํานวยการ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก ภาพกิจกรรม : การอบรมหลักสูตรอบรมผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น รุ่นที่ 31 2.2 "โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง" (Elderly Care Worker) นายนิธิศ ธานีวิทยาจารย์ชํานาญการพิเศษ รองผู้อํานวยการกลุ่มงานอํานวยการ รักษา ราชการแทนผู้อํานวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีเป็นประธานในพิ ธีเปิด "โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง" (Elderly Care Worker) ในวันจันทร์ ที่ 13 มิถุนายน 2565 ห้องประชุม 1406 ชั้น 6 อาคารเรียนและหอนอน 10 ชั้น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จบการศึกษาขั้นตํ่าในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เข้าอบรม จํานวน 38 คน ระยะเวลาการจัดอบรม 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วันที่ 13 มิ.ย. - 3 ก.ค. 2565 ระยะที่ 2 วันที่ 6 ก.ค. - 2 ส.ค. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลทั่วไปให้มี


รายงานประจําปี| 36 สมรรถนะที่จําเป็นในการให้บริการดูแลสุขภาพและช่วยเหลือในการทํากิจวัตรประจําวันของผู้สูงอายุ เพื่อ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีครอบครัวดูแล 2.3 โครงการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง (ผ.บ.ก.) ประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 นายแพทย์ทวีศิลป์วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 10 เป็นประธานในพิธี มอบประกาศนียบัตร เข็มวิทยฐานะ และแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุข ระดับกลาง (ผ.บ.ก.) รุ่นที่ 35 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผู้ผ่านเข้าอบรมจํานวน 60 คน (รูปแบบการจัดอบรม ออนไลน์1 สัปดาห์และออนไซต์3 สัปดาห์) ในวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุมนนทรีชั้น 3 อาคาร อํานวยการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 2.1.9 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก พันธกิจที่๑ ผลิตบัณฑิตด้านสหเวชศาสตร์และการแพทย์แผนไทยให้มีคุณภาพคุณธรรม และจริยธรรม ๑. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดี(Good Practice) คณะ สาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ปีการศึกษา ๒๔๖๔ กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือผู้แทน วิทยาลัยสังกัดคณ ะสาธารณสุขศาสตร์แล ะสหเวชศาสตร์ หลักสูตรล ะ ๕ คน รวม ๑๐๕ คน งบประมาณที่ใช้ไม่ใช้งบประมาณ สรุปผลการดําเนินงาน หลักสูตรของวิทยาลัยในสังกัดคณะ สาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์มีแนวทางปฏิบัติที่ดี(Good Practice) ในการจัดการศึกษาหลักสูตร ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ๒. โครงการการประกันคุณภาพการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยฯ ๑๒๐ คน งบประมาณที่ใช้๑๐๐,๐๐๐ บาท สรุปผลการดําเนินงาน วิทยาลัยฯ ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานสํานักงาน


รายงานประจําปี| 37 คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และเกณฑ์มาตรฐานสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสํานักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ) อยู่ในระดับดี่ พันธกิจที่๓ พัฒนาบุคลากร บริการวิชาการแก่สังคม โดยเน้นความร่วมมือกับชุมชน ๑. โครงการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขตามความต้องการของระบบสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมสร้างหลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการของระบบสุขภาพ (หลักสูตรความงามเพื่อสุขภาพ) กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข งบประมาณที่ใช้๑๔,๗๓๙ บาท สรุปผลการ ดําเนินงาน มีหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่ ๑ หลักสูตร ๒. โครงการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขตามความต้องการของระบบสุขภาพ กิจกรรมอบรมการ กดจุดกําเนิดลม ๖ กอง เส้นประธานหลักใหญ่ เส้นประธานสิบตามศาสตร์ อ.ปิง นวดแผนไทย กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข จํานวน ๒๐ คน งบประมาณที่ ใช้๑๐๐,๐๐๐ บาท สรุปผลการดําเนินงาน ค่า NPS เท่ากับ ๘๗.๕ ๓. โครงการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขตามความต้องการของระบบสุขภาพ กิจกรรมปฐมนิเทศ ข้าราชการใหม่ “หลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี”ประจําปี๒๕๖๕ กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรด้านการแพทย์ และสาธารณสุข งบประมาณที่ ใช้๖๕,๙๘๙ บาท สรุปผลการดําเนินงาน ค่า NPS เท่ากับ ๕๓.๔ ๔. โครงการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขตามความต้องการของระบบสุขภาพ โครงการอบรม หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ Elderly worker กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่ว งบประมาณที่ใช้ ๒,๖๓๒,๕๐๐ บาท สรุปผลการดําเนินงาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ๔.๖๑ , ค่า NPS เท่ากับ ๙๓.๕๔ ๕. โครงการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขตามความต้องการของระบบสุขภาพ กิจกรรมอบรม หลักสูตรฝึกอบรมผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๕ กลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหาร การสาธารณสุขระดับต้น งบประมาณที่ ใช้๑,๐๐๗,๐๐๐ บาทสรุปผลการดําเนินงาน ค่า NPS เท่ากับ ๑๐๐ ๖. โครงการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขตามความต้องการของระบบสุขภาพ กิจกรรมการให้รหัส ทางการแพทย์กลุ่มเป้าหมาย จพง.เวชสถิตินวก.เวชสถิติและผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูล งบประมาณที่ใช้ ๒๓๐,๐๐๐ บาท สรุปผลการดําเนินงาน ค่าความพึงพอใจ ๔.๓๙ , NPS ๙๐.๔๕ ๗. โครงการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา ประชาชน อาจารย์อสม. งบประมาณที่ ใช้๓๕,๐๐๐ บาท สรุปผลการดําเนินงาน ความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๖๕ ๘. โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา ประชาชน ตัวแทนหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง งบประมาณที่ ใช้๓๕,๐๐๐ บาท สรุปผลการดําเนินงาน ความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๗๑ ๙. โครงการบริหารจัดการบุคลากรด้านการบริการวิชาการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพอย่างมืออาชีพ กิจกรรมอบรมครูก. มณีเวช กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์และเจ้าหน้าที่วิทยาลัยบุคลากรจากกรมการแพทย์


รายงานประจําปี| 38 แผนไทย งบประมาณที่ ใช้๓๐,๐๐๐ บาท สรุปผลการดําเนินงาน คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจมากกว่า ๔.๓๒ , มีค่าเฉลี่ย NPS เท่ากับ ๘๐ ๑๐. โครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศ ผลการดําเนินโครงการพบว่าวิทยาลัยฯ มีการจัดตั้งศูนย์ ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ งบประมาณที่ใช้๑๕,๐๐๐ บาท สรุปผลการ ดําเนินงาน ศูนย์ความเป็นเลิศจํานวน 3 ศูนย์ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเวชระเบียน , ศูนย์ความเป็น เลิศด้านโสตทัศนศึกษา,ศูนย์ความเป็นเลิศด้านแพทย์แผนไทย ๑๑. โครงการการจัดการความรู้งบประมาณที่ใช้๑๕,๐๐๐ บาท สรุปผลการดําเนินงาน จํานวน ผลงาน KM ของแต่ละฝ่ายงาน จํานวนทั้งหมด ๔ เรื่อง พันธกิจที่๔ พัฒนาวิทยาลัยสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนํา ๑. โครงการบริหารองค์กรตามแผนยุทธศาสตร์กิจกรรม จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี๒๕๖๖ กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก งบประมาณที่ ใช้ไม่ใช้งบประมาณ สรุปผลการดําเนินงาน มีอาจารย์และบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษกเข้าร่วมประชุมทั้งออนไซด์และออนไลน์จํานวน ๘๘ คน จากทั้งหมด ๑๑๐ คน คิดเป็น ร้อยละ ๘๐ และได้เล่มแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ ๒๕๖๖ จํานวน ๒ เล่ม


รายงานประจําปี| 39 โครงการการประกันคุณภาพการศึกษา โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย


รายงานประจําปี| 40 โครงการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขตามความต้องการของระบบสุขภาพ กิจกรรมอบรมหลักสูตร ฝึกอบรมผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โครงการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขตามความต้องการของระบบสุขภาพกิจกรรมสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ตามความต้องการของระบบสุขภาพ (หลักสูตรความงามเพื่อสุขภาพ)


รายงานประจําปี| 41


Click to View FlipBook Version