The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Saranporn Bunmueang, 2020-11-24 09:58:46

บทครูสอน

บทครูสอน

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครสู อน” | 1

เอกสารประกอบการเรยี นนาฏศิลปพ์ ื้นบ้าน

โนราบทครสู อน

ชั้นมัธยมศกึ ษาปที ่ี 1

ผเู้ รียบเรยี ง
สนั ต์ฤทัย พรหมชยั ศรี
ศรัญยพ์ ร บญุ เมอื ง
คณะครุศาสตร์ สาขานาฏศิลป์
มหาวิทยาลยั ราชภัฏนครศรธี รรมราช 2563

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

2 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

เอกสารประกอบการเรียนนาฏศลิ ป์พ้นื บา้ น

โนราบทครสู อน

ชนั้ มัธยมศึกษาปที ่ี 1

ผู้เรยี บเรยี ง
สันตฤ์ ทัย พรหมชัยศรี
ศรัญย์พร บญุ เมือง
คณะครศุ าสตร์ สาขานาฏศิลป์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรธี รรมราช 2563

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครูสอน” | 3

คำนำ

เอกสารประกอบการเรียนรำโนราบทครูสอน ฉบับนีจ้ ดั ทำขึ้นโดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนการแสดงพื้นบ้านโนรา ของ
นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตลอดทั้งผู้สนใจใฝ่เรียนรู้ที่ต้องการ
พฒั นาทกั ษะการแสดงโนรา

สาระสำคัญของเอกสารประกอบด้วยความหมาย ประวัติโนรา
องค์ประกอบการแสดง โนราบทครูสอน บทรอ้ งบทครูสอน วธิ ีการร้องบทครู
สอน ทา่ รำบทครสู อน

ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ช่างสาน อาจารย์
ประจำวิชาการแสดงโนรา ทีช่ ีแ้ นะการพัฒนาเอกสารจนสมบูรณเ์ ป็นส่ือท่ีดีมี
ประโยชน์ ขอบคุณศลิ ปินโนรากลอยใจดาวรุง่ ทเี่ สียสละเวลามาเปน็ วิทยากร
แนะนำการแสดงโนราที่ถูกต้องตามแบบฉบับ ขอบคุณเพื่อน ๆ น้อง ๆ
สาขาวิชานาฏศลิ ป์ทุกคนที่เปน็ กำลังใจในการพัฒนาสร้างผลสัมฤทธิท์ ีด่ ีของ
งานเอกสารคร้ังนี้ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสน้ี

คณะผจู้ ดั ทำ

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

4 | เอกสารประกอบการเรยี น”โนราบทครสู อน”

สารบัญ

เรอื่ ง หน้า
คำนำ............................................................................................ 3
สารบญั .......................................................................................... 4
สารบัญภาพ.................................................................................. 5
คำชี้แจงการใชเ้ อกสาร.................................................................. 6
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม............................................................. 7
สาระสำคญั …………………………………………………………………………. 7
แบบทดสอบก่อนเรยี น………………………………………………………….. 8-10
กระดาษคำตอบ........................................................................... 11
หัวข้อเน้ือหาประจำบท............................................................... 12-60
คำถามทบทวน........................................................................... 61-64
แบบทดสอบหลังเรียน............................................................... 65-67
กระดาษคำตอบ........................................................................ 68
บรรณานกุ รม............................................................................ 69-72
ภาคผนวก................................................................................. 73-79

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครสู อน” | 5

สารบญั ภาพ

ภาพที่ หน้า
ภาพท่ี 1……………………………………………………………………………13
ภาพท่ี 2……………………………………………………………………………14
ภาพท่ี 3……………………………………………………………………………15
ภาพที่ 4……………………………………………………………………………16
ภาพที่ 5……………………………………………………………………………16
ภาพที่ 6……………………………………………………………………………17
ภาพที่ 7……………………………………………………………………………18
ภาพที่ 8……………………………………………………………………………18
ภาพที่ 9……………………………………………………………………………19
ภาพท่ี 10………………………………………………………………………….21
ภาพท่ึ 11………………………………………………………………………….29
ภาพท่ี 12....................................................................................31

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

6 | เอกสารประกอบการเรยี น”โนราบทครสู อน”

คำช้ีแจงการใชเ้ อกสารประกอบการเรยี น
เรื่อง โนราบทครูสอน สำหรบั นักเรียนชัน้ มธั ยมศึกษาปีท1่ี

1. นักเรียนตอ้ งมีความซื่อสตั ยต์ ่อตนเอง โดยตอ้ งปฏิบัติตามคำสั่ง
ของครอู ยา่ งเคร่งครัด

2. เอกสารเรื่องโนราบทครูสอน เป็นเอกสารที่มีความสมบูรณ์ใน
เล่ม นักเรียนต้องทำความเข้าใจกับคำชี้แจง ตรวจสอบวัตถุประสงค์
ตรวจสอบสาระสำคัญ ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน แล้วจึงศึกษาสาระในเล่ม
ทั้งหมด อ่านสรุป และทำคำถามทบทวนที่มีในเล่มทุกครั้ง ทำแบบทดสอบ
หลังเรียนอย่างมีสมาธิและเขา้ ใจ

3. นักเรียนต้องอ่านหนังสือทุกหน้าเพื่อทำความเข้าใจ หากมีข้อ
สงสัยใหถ้ ามครู

4. นักเรียนปฏบิ ัตติ ามกิจกรรมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยงิ่
แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน นักเรียนจะต้องมีความซือ่ สัตย์โดยจะต้อง
ทำด้วยตนเองอยา่ งเคร่งครัด

5. เมื่อนักเรียนเรียนและทำกิจกรรมในเล่มเสร็จ จะต้องเก็บ
เอกสารประกอบการเรียนส่งครเู พอื่ จะไดบ้ นั ทึกคะแนน

6. หากนักเรียนอ่านคำถามในกิจกรรมไม่เข้าใจจะต้องตรวจสอบ
กบั คุณครูเทา่ น้ัน โดยไมถ่ ามเพือ่ น

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครูสอน” | 7

วัตถปุ ระสงค์เชงิ พฤตกิ รรม

1. นักเรยี นสามารถอธิบายความหมาย ประวตั ขิ องการแสดงโนรา
ไดถ้ ูกต้อง

2. นกั เรียนเขา้ ใจองค์ประกอบของการแสดงโนราไดถ้ กู ตอ้ ง
3. นักเรียนมีทักษะการร้องกลอนประกอบการรำโนราบทครูสอน
ไดถ้ กู ตอ้ งตามทำนองและจังหวะ
4. นกั เรยี นมที ักษะการปฏิบัติทา่ รำบทครูสอนถูกตอ้ งสวยงาม
5. นักเรียนสามารถนำความรทู้ ่ไี ดจ้ ากการแสดงโนราไปใช้แสดงได้
ตามโอกาสทสี่ มควร

สาระสำคญั

สาระสำคญั ของเอกสารประกอบการเรียน เร่ือง โนรา มดี ังน้ี
1. ความหมาย
2. ประวตั หิ รือตำนานโนรา
3. องค์ประกอบของโนรา

3.1 เคร่อื งแต่งกาย
3.2 ดนตรี
3.3 บทรอ้ งและเพลง
3.4 ผ้แู สดง
3.5 ทา่ รำ

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเดก็

8 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

แบบทดสอบกอ่ นเรยี น

คำชแ้ี จง โปรดเลือกคำตอบท่ีถกู ต้องเพียงคำตอบเดยี ว แล้วทำ
เคร่ืองหมาย ( X ) ทับตัวเลอื กทถี่ ูกตอ้ งในกระดาษคำตอบ

1. การแสดงโนราเปน็ ศิลปะการละเล่นของคนในแถบภาคใด

ก. ภาคเหนอื ข. ภาคกลาง

ค. ภาคอีสาน ง. ภาคใต้

จ. ภาคใต้และภาคกลาง

2. ตามตำนานเชอ่ื ว่าโนราเกิดขึ้นทจี่ ังหวัดใด

ก. สงขลา ข. นครศรีธรรมราช

ค. ตรัง ง. กระบี่

จ. พัทลุง

3. เจา้ พระยาสายฟา้ ฟาดมีศักด์ิเป็นอะไรกับขุนศรีศรทั ธาหรือเดก็ ชายน้อย

ก. พอ่ ข. ตา

ค. ย่า ง. ยาย

จ. แม่

4. นางนวลทองสำลีถูกเนรเทศออกจากเมืองไปโดยใช้พาหนะชนิดใด

ก. เรอื ข. เคร่ืองบนิ

ค. แพ ง. รถยนต์

จ. เกวยี น

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครูสอน” | 9

5. ตัวเลือกใดไมใ่ ชอ่ งค์ประกอบของการแสดงโนรา

ก. เคร่ืองเสียง ข. เคร่อื งแต่งกาย

ค. ผู้แสดง ง. ท่ารำ

จ. บทร้อง

6. ตวั เลอื กใดอธบิ าย “เทรดิ ” ไดถ้ ูกต้องท่สี ดุ

ก. ผา้ นงุ่ สำหรบั โนรา ข. ลูกปดั คลมุ ไหล่

ค. เคร่ืองสวมศีรษะ ง. เครอื่ งสวมเล็ก

จ. ทำจากลูกปัด

7. “เครอื่ งเบญจ” ใช้เรียกอะไรของการแสดงโนรา

ก. ทา่ รำ ข. เครอื่ งดนตรี

ค. บทรอ้ ง ง. เสื่อปแู สดง

จ. กาศครู

8. ครเู อยครสู อน ............... คำทหี่ ายไปควรเปน็ ตัวเลอื กใด

ก. เสดอื้ งกรต่อง่า ข. ครูสอนให้ผูกผ้า

ค. ครสู อนใหค้ รอบเทริด ง. ใสแ่ ขนซ้ายย้ายแขนขวา

จ. สอนให้ทรงกำไล

9. จากภาพเป็นท่ารำในตัวเลือกใด

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

10 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

ก. ครสู อนใหท้ รงกำไล ข. สอนใหค้ รอบเทรดิ น้อย

ค. ตีนถีบพนัก ง. หาไหนไม่ได้เสมือนน้อง

จ. รำทำนองพระเทวดา

10. ในท่ารำ “ตีนถีบพนัก” คำว่า “ตนี ” ตรงกับอวยั วะข้อใด

ก. มอื ข. เท้า

ค. เขา่ ง. สะเอว

จ. ไหล่

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครสู อน” | 11

กระดาษคำตอบ

โรงเรยี น........................................................ปีการศกึ ษา...........................
ชอ่ื .............................................................ชั้น...................เลขท่.ี ...............
กลุ่มสาระการเรียนรู้.....................วันท่ี..............เดือน...................พ.ศ..........

ข้อ ก ข ค ง ขอ้ ก ข ค ง
16
27
38
49
5 10

ประเมินผล
เต็ม

ได้

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเดก็

12 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

โนราบทครสู อน

ความหมาย

การรำโนราบทครูสอน เป็นพื้นฐานการฝึกรำโนรา นักเรียนทุกคน
หากต้องการฝึกโนราควรฝึกการร้อง การปฏิบัติท่ารำบทครูสอนให้ถูกต้อง
สวยงามก่อนเป็นลำดับแรก เทคนิคการรำโนราบทครูสอนจะต้องมีหลักการ
ฝึกฝนที่ถูกต้องอย่างลึกซึ้งจะได้มีความมั่นใจที่จะสร้างสรรค์ ท่ารำให้มี
คุณภาพ เพ่ือความเขา้ ใจที่ถกู ต้องในเอกสารฉบบั นี้ จะนำเสนอ ความหมาย
ประวัติโนรา องค์ประกอบของการแสดง โนราบทครูสอน บทร้อง และท่า
รำบทครูสอน ดงั น้ี

โนรามหรสพพื้นบ้านภาคใต้ ในเขตจังหวัดรอบลุ่มทะเลสาบ คือ
นครศรธี รรมราช สงขลา พัทลุง และตรังแต่ปัจจุบนั ไดม้ กี ารแพรก่ ระจายทาง
วัฒนธรรมไปสู่จังหวัดอื่น ๆ ด้วย การแสดงประเภทนี้จะใช้การต้องกลอน
การรำ การเล่นเป็นเรื่องเป็นราวเป็นตัวดำเนินเรื่อง รู้กันในกลุ่มนักวิชาการ
ทางการแสดงว่าการแสดงประเภทนี้เป็นต้นแบบของการแสดงละครรำของ
ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา (ธีรวัฒน์ ช่างสาน. 2543 :1) ใกล้เคียงกับ ราช
บณั ฑติ ยสภา, (2554). ระบุว่าโนราเปน็ คำนามศลิ ปะการแสดงพื้นเมืองอย่าง
หน่ึงของภาคใต้ มีแมบ่ ททา่ รำอยา่ งเดียวกับละครชาตรี, มโนราห์ กว็ ่า

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครูสอน” | 13

ประวตั ิโนรา

ประวัติโนรามีการเล่าขานเป็นตำนาน ด้วยศิลปะการแสดงชนิดน้ี
เปน็ มหรสพพ้นื บ้าน จงึ มีประวตั เิ ล่าขานเป็นมุขปาฐะ หลายเรือ่ งราว อย่างไร
ก็ตามกระแสความต่าง ๆ มีความสอดประสานกันในบางเรื่อง เช่น ชื่อตัว
ละคร ชอ่ื สถานท่ี จากที่xekkalakpaktai. (2562).อา้ งว่ามี หลายตำนาน แต่
ด้วยการแสดงชนิดนี้เชื่อว่าเป็นของดั้งเดิมในภาคใต้จึงอ้างเฉพาะตำนานท่ี
เล่าโดยขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราพุ่มเทวา) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ความวา่

พระยาสายฟ้าฟาดเป็นกษัตริย์ครองเมืองๆ หนึ่ง มีชายาชื่อนางศรี
มาลา มีธดิ าชอ่ื นางนวลทองสำลี

ภาพท่ี 1 เมืองๆหนงึ่
วันหน่ึงนางนวลทองสำลีสุบินว่ามีเทพธิดามาร่ายรำใหด้ ู ท่ารำมี 12
ท่า มีดนตรีประโคม ได้แก่ กลอง ทบั โหมง่ ฉงิ่ ปี่ และแตระ นางให้ทำเครอ่ื ง
ดนตรีและหดั รำตามทส่ี บุ นิ เปน็ ท่คี รกึ ครน้ื ในปราสาท

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเดก็

14 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

ภาพที่ 2 นางนวลทองสำลสี บุ นิ
อยู่มาวันหนึ่ง นางอยากเสวยเกสรบัวในสระหน้าวัง คร้ันนางกำนัล
เก็บถวายใหเ้ สวย

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครสู อน” | 15

ภาพท่ี 3 นางนวลทองสำลอี ยากเสวยเกสรดอกบวั
นางกท็ รงครรภ์ แตย่ ังคงเลน่ รำอยู่ตามปกติ วนั หนง่ึ พระยาสายฟ้า
ฟาดเสดจ็ มาทอดพระเนตรการรำของธิดา
เหน็ นางทรงครรภท์ รงตรสั ถามเอาความจรงิ ได้ความเหตุเพราะ
เสวยเกสรดอกบวั

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเดก็

16 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

ภาพท่ี 4 พระยาสายฟ้าฟาดสอบถามเอาความจรงิ
พระยาสายฟ้าฟาดไม่ทรงเชื่อ และทรงเห็นว่านางทรงทำให้อัปยศ
จึงรับสั่งให้ลอยแพ พระธิดาพร้อมด้วยสนมกำนัล 30 คน แพไปติดเกาะ
กะชัง นางจงึ เอาเกาะนน้ั เปน็ ที่อาศัย

ภาพท่ี 5 นางนวลทองสำลถี ูกลอยแพ
ครรภ์ครบทศมาสจึงประสูติเป็นโอรสตั้งชื่อเด็กชายน้อย ทรงสอน
ให้รำโนราได้อย่างชำนาญ แล้วเล่าเร่ืองแต่หนหลังให้ทราบ ต่อมากุมารน้อย

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครสู อน” | 17

ได้โดยสารเรือพ่อค้าไปเที่ยวรำโนราไปยังเมืองพระอัยกา เรื่องเล่าลือไปถึง
พระยาสายฟ้าฟาด ๆ ทรงปลอมพระองค์ไปดูโนรา เห็นกุมารน้อยมีหน้าตา
คลา้ ยพระธดิ า จึงทรงสอบถามจนไดค้ วามจริงวา่ เป็นพระราชนัดดา จึงรับส่ัง
ให้เข้าวัง

ภาพที่ 6 เจ้าชายนอ้ ยเทยี่ วรำโนราเมืองพระอยั กา
มีพระราชดำรัสให้อำมาตย์ไปรับนางนวลทองสำลีจากเกาะกะชัง
กลบั วังแตน่ างไม่ยอมกลับ พระยาสายฟ้าฟาดจึงกำชับให้จบั มัดข้ึนเรือพามา
ครั้นเรือมาถึงปากน้ำ จะเข้าเมืองก็มีจระเข้ลอยขวางทางไว้ ลูกเรือจึงต้อง
ปราบจระเข้

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

18 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

ภาพที่ 7 ลูกเรอื ปราบจระเข้
ครั้งนางเข้าเมืองแล้ว พระยาสายฟ้าฟาดได้ทรงจัดพิธีรับขวัญข้ึน
และให้มีการรำโนราในงานนี้โดยประทานเครื่องต้น อันมีเทริด กำไลแขน
ป้ันเหน่ง สงั วาลพาดเฉียง 2 ขา้ ง ปกี นกแอน่ หางหงส์ สนบั เพลา ฯลฯ ซ่ึง
ทรงของกษัตริย์ให้เป็นเครื่องแต่งตัวโนรา และพระราชทาน
บรรดาศักดิ์ให้แกก่ มุ ารนอ้ ยราชนัดดาเป็นขุนศรีศรัทธา

ภาพท่ี 8 พธิ ีรับขวัญและพระราชทานบรรดาศักด์ิกุมารน้อย

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครูสอน” | 19

องคป์ ระกอบของการแสดง

องค์ประกอบ หมายถงึ สง่ิ ต่าง ๆ ท่ใี ช้ประกอบเป็นสิง่ ใหญ่ หรอื
สว่ นของส่งิ ต่าง ๆ ที่เป็นเคร่ืองประกอบทำใหเ้ กิดเปน็ รูปข้นึ ใหมโ่ ดยเฉพาะ
(ราชบณั ฑิตยสภา, 2554). การแสดงโนรามีสิง่ ต่าง ๆ ทเ่ี ข้ามาประกอบใน
การแสดงอยา่ งวิจติ รสวยงาม คอื ผแู้ สดง เคร่ืองแตง่ กาย ดนตรีและเพลง
ท่ารำ และสถานทแี่ สดง ดงั น้ี
ผแู้ สดง

ตัวนายโรง ตัวนางรำ ตัวตลก

ภาพที่ 9 ผแู้ สดงโนรา

ผู้แสดง หมายถงึ คนท่ีรับผดิ ชอบในการแสดงโนราท้ังการร้อง การ
รำ การแสดงเป็นเรื่องราวบนเวทใี นแต่ละคร้ัง ประกอบดว้ ย ตัวนายโรง ตวั
นางรำ และตวั ตลก ดังน้ี

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

20 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

1. ตวั นายโรง หมายถึง ตัวพระเอก เจ้าของคณะ หัวหน้าคณะ ผู้
แสดงท่เี ป็นผ้นู ำของคณะโนรา ในอดีตใชผ้ ู้ชายแสดงลว้ น จึงต้องมรี ูปร่างที่
เป็นผนู้ ำ มคี วามรอบรูจ้ ัดเจนในกระบวนการแสดงโนราอย่างชดั เจน

2. ตัวนางรำ หมายถึง ตัวนางโนราที่เป็นตัวประกอบในการรำ
โนราแต่ละครั้ง ในอดีตตัวนางรำมักเป็นตัวหัวจุกโนรา คือเด็กฝึกหัดรำโนรา
ที่มีความสนใจ มีความสามารถในการรำ มักเป็นตัวประกอบในการรำหมู่
ของการรำบทครูสอน บทสอนรำ บทปฐม และอื่น ระยะต่อมาหัวจุกโนรา
เริม่ หมดไปจากสังคม ปจั จบุ ันเร่ิมมโี นราหญิงเกิดขน้ึ

3. ตัวตลก หมายถึง ผู้แสดงที่ทำให้ผู้ชมขบขัน, โดยปริยาย
หมายถึงผู้ที่คนอื่นหัวเราะเยาะ การแสดงโนราจะมีตัวตลกที่ใช้แสดงหลักคู่
กับการแสดงโนราคือ ตัวพราน เป็นตัวแสดงที่สำคัญมีหลายบทบาท ทั้งเป็น
ตัวตลกของคณะโนรา และเป็นตวั บอกเรื่องสำหรับทำการแสดงในแต่ละคร้ัง
อยา่ งไรก็ตามตวั ตลกในบทบาทการแสดงของโนรามตี วั พราน 2 ลักษณะ คือ
พรานผู้ชาย สวมหน้ากากสีแดง และพรานผู้หญิงหรือพรานเมีย สวม
หน้ากากสขี าวหรอื สีเนื้อ

ราชบัณฑิตยสภา, (2545) “เคร่ือง” คอื สง่ิ สำหรับประกอบกันหรือ
เป็นพวกเดียวกัน “แต่ง” คือจัดให้งาม “กาย”คือตัว ดังนั้น “เครื่องแต่ง
กาย” จึงหมายถึง สิ่งสำหรับประกันจัดให้งามที่เกี่ยวกับตัวของนักแสดง
โนรา เชื่อกันว่าเครื่องแต่งกายโนรา เป็นสิ่งของที่ขุนศรีศรัทธาได้รับ

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครูสอน” | 21

พระราชทาน เป็นเครื่องต้น อันมีเทริด กำไลแขน ปั้นเหน่ง สังวาลพาดเฉียง
2 ขา้ ง ปีกนกแอน่ หางหงส์ สนับเพลา (xekkalakpaktai. 2562).

ธีรวัฒน์ ช่างสาน. (2560). สรุปเครื่องแต่งกายโนราตั้งแต่สมัย
รชั กาลท5ี่ ถงึ ปัจจบุ ันมี 3 แบบ

คือแบบเครื่องต้น แบบทรงบัว และแบบเครื่องลูกปัด 5 ชิ้นหรือ
เครอื่ งเตม็

ภาพที่ 10 เครื่องแต่งกายโนราท้ัง 3 แบบ

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

22 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

องคป์ ระกอบของเคร่ืองแตง่ กายโนรา มดี ังน้ี tungsong.com. (2562).

ที่ คำอธิบาย ภาพประกอบ

1 เทรดิ

เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนาย

โรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง

(โบราณไม่นิยมให้นางรำใช้)ทำเป็น

รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า มี

ดา้ ยมงคลประกอบ

2 เครื่องรปู ปัด

เครื่องรูปปัดจะร้อยด้วยลูกปัดสีเป็น

ลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัว

ท่อนบนแทนเสื้อประกอบ ด้วยชิ้น

สำคญั 5 ชนิ้ คือ

1. บา่ สำหรับสวมทบั บนบา่ ซ้าย-

ขวา รวม 2 ชิน้

2. ปิ้งคอ สำหรับสวมห้อยคอหน้า-
หลังคล้ายกรองคอหน้า-หลัง รวม 2
ชน้ิ

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครูสอน” | 23

3. พานอก ร้อยลูกปัดเป็นรปู
ส่เี หล่ยี มผนื ผา้ ใชพ้ นั รอบตวั ตรง
ระดบั อก บางถิน่ เรียกวา่ "พานโครง"
บางถิ่นเรยี กว่า"รอบอก"

3 ปกี นกแอ่น หรือ ปีกเหนง่
มกั ทำดว้ ยแผน่ เงินเป็นรูปคล้ายนก
นางแอ่นกำลงั กางปกี ใชส้ ำหรับโนรา
ใหญ่หรอื ตวั ยนื เครื่อง สวมตดิ กับ
สังวาลอยู่ท่ีระดับเหนือสะเอว
ดา้ นซา้ ยและขวา คล้ายตาบทิศของ
ละคร

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

24 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

4 ซับทรวง หรอื ทับทรวงหรือ ตาบ
สำหรบั สวมห้อยไว้ตรงทรวงอก นิยม
ทำด้วยแผน่ เงนิ เปน็ รูปคล้ายขนม
เปยี กปนู สลกั เปน็ ลวดลาย และอาจ
ฝังเพชรพลอยเป็นดอกดวงหรืออาจ
รอ้ ยดว้ ยลูกปดั นิยมใช้เฉพาะตัว
โนราใหญ่หรือตวั ยนื เครือ่ ง ตัวนางไม่
ใชซ้ บั ทรวง

5 ปีก หรือ หางหงส์
นยิ มทำดว้ ยเขาควายหรอื โลหะเปน็
รปู คล้ายปกี นก ๑ คู่ ซา้ ย-ขวา
ประกอบกัน ปลายปีกเชดิ งอนขน้ึ
และผกู รวมกนั ไวม้ ีพ่ทู ำดว้ ยด้ายสตี ดิ
ไวเ้ หนอื ปลายปกี ใช้ลกู ปัดร้อยหอ้ ย
เปน็ ดอกดวงรายตลอดทั้งขา้ งซา้ ย
และขวาให้ดูคล้ายขนของนก ใช้
สำหรบั สวมคาดทบั ผา้ นุง่ ตรงระดบั

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครูสอน” | 25

สะเอว ปลอ่ ยปลายปีกยืน่ ไป
ดา้ นหลังคลา้ ยหางกนิ รี
6 ผ้านุ่ง
เปน็ ผา้ ยาวสเี่ หล่ยี มผนื ผ้า นุ่งทบั ชาย
แลว้ รง้ั ไปเหน็บไวข้ ้างหลัง ปล่อย
ปลายชายใหห้ อ้ ยลงเช่นเดียวกบั หาง
กระเบน เรยี กปลายชายท่ีพบั แล้ว
ห้อยลงนวี้ ่า "หางหงส"์ (แต่ชาวบา้ น
ส่วนมากเรียกว่า หางหงส์) การนุ่งผ้า
ของโนราจะร้ังสูงและรดั รูปแน่นกวา่
นงุ่ โจมกระเบน

7 หน้าเพลา เหนบ็ เพลา หนบั เพลา
คอื สนับเพลาสำหรบั สวมแล้วนุ่งผา้
ทบั ปลายขาใช้ลกู ปัดร้อยทบั หรือ
รอ้ ยทาบ ทำเป็นลวดลายดอกดวง
เช่น ลายกรวยเชงิ รักรอ้ ย

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเดก็

26 | เอกสารประกอบการเรยี น”โนราบทครสู อน”

8 ผา้ ห้อย
คอื ผา้ สตี ่างๆ ท่ีคาดห้อยคลา้ ยชาย
แครงแต่อาจมีมากกวา่ โดยปกตจิ ะ
ใชผ้ า้ ทโ่ี ปร่งผ้าบางสีสด แต่ละผนื จะ
เหน็บห้อยลงทง้ั ด้านซ้ายและ
ดา้ นขวาของหน้าผ้า

9 หนา้ ผา้
ลกั ษณะเดยี วกบั ชายไหว ถ้าเป็นของ
โนราใหญห่ รอื นายโรงมกั ทำด้วยผ้า
แลว้ ร้อยลูกปัดทาบเปน็ ลวดลาย ที่
ทำเป็นผ้า ๓ แถบคล้ายชายไหวลอ้ ม
ด้วยชายแครงกม็ ี ถ้าเป็นของนางรำ
อาจใชผ้ า้ พนื้ สตี า่ งๆ สำหรบั คาดหอ้ ย
เช่นเดยี วกับชายไหว

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครูสอน” | 27

10 กำไลตน้ แขน
เพือ่ ขบรดั กลา้ มเนือ้ ใหด้ ู
ทะมดั ทะแมงและเพมิ่ ให้สง่างาม
ย่ิงขึน้

11 กำไล
กำไลของโนรามักทำด้วยทองเหลือง
ทำเปน็ วงแหวน ใช้สวมมอื และเท้า
ขา้ งละหลายๆ วง เช่น แขนแต่ละ
ข้างอาจสวม ๕-๑๐ วงซอ้ นกัน เพ่ือ
เวลาปรบั เปลี่ยนทา่ จะได้มีเสียงดงั
เปน็ จังหวะเร้าใจยิ่งข้นึ

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเดก็

28 | เอกสารประกอบการเรยี น”โนราบทครสู อน”

12 เล็บ
เปน็ เคร่ืองสวมนว้ิ มือให้โค้งงามคล้าย
เล็บกนิ นร กินรี ทำด้วยทองเหลอื ง
หรอื เงนิ อาจต่อปลายด้วยหวายทมี่ ี
ลกู ปดั รอ้ ยสอดสไี วพ้ องาม นยิ มสวม
มือละ 4 นิว้ (ยกเวน้ หวั แมม่ อื )
เครอ่ื งแต่งกายโนราตามรายการท่ี (1) ถึง (12) รวมเรยี กวา่

"เครือ่ งใหญ่" เปน็ เคร่ืองแตง่ กายของตวั ยนื เคร่ืองหรือโนราใหญ่ สว่ นเครือ่ ง
แต่งกายของตัวนางหรือนางรำเรียกว่า "เครือ่ งนาง" จะตัดเครื่องแตง่ กาย
ออก ๔ อย่างคือ เทรดิ (ใชผ้ ้าแถบสสี ดหรอื ผ้าเช็ดหนา้ คาดรัดแทน) กำไลตน้
แขน ซบั ทรวง และปีกนกแอ่น (ปัจจุบันนางรำทุกคนนิยมสวมเทริดด้วย)
13 หน้าพราน

เป็นหนา้ กากสำหรบั ตัว "พราน" ซ่งึ
เปน็ ตัวตลก ใช้ไม้แกะเป็นรูปใบหน้า
ไมม่ สี ว่ นทเ่ี ปน็ คาง ทำจมูกยื่นยาว
ปลายจมกู งมุ้ เล็กนอ้ ย เจาะรตู รงส่วน
ทเี่ ปน็ ตาดำ ใหผ้ ู้สวมมองเห็นไดถ้ นดั
ทาสีแดงทง้ั หมด เว้นแตส่ ่วนที่เป็น
ฟนั ทำด้วยโลหะสขี าว หรือทาสีขาว
หรอื อาจลยี่ มฟนั (มเี ฉพาะฟนั บน)
สว่ นบนตอ่ จากหน้าผากใช้ขนเปด็

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครูสอน” | 29

หรอื ห่านสีขาวติดทาบไวต้ า่ งผม
หงอก

เครื่องแตง่ กายโนรา

ภาพท่ี 11 เคร่ืองแต่งกายโนรา

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเดก็

30 | เอกสารประกอบการเรยี น”โนราบทครสู อน”

เคร่ืองดนตรี
เครื่องดนตรีโนรา ส่วนใหญเ่ ป็นเครอื่ งตีให้จงั หวะเทยี บได้กับเครอ่ื ง

เบญจดุริยางค์ มี 6 อยา่ ง (tungsong. 2562). มดี งั นี้
1. ทับ(โทน) หมายถึง เปน็ เครือ่ งตที ี่สำคญั ที่สดุ เพราะทำหนา้ ทีค่ ุม

จังหวะและเปน็ ตัวนำในการเปล่ยี นจงั หวะทำนอง ทบั โนรา เป็นทับคู่เสยี ง
ตา่ งกนั เลก็ น้อยนิยมใช้ดนตรีเพียงคนเดียว

2. กลอง หมายถึง เปน็ กลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนงั
ตะลุงเลก็ น้อย) 1 ใบ ทำหน้าท่ีเสริมเน้นจังหวะและลอ้ เลยี นเสียงทบั

3. ปี่ หมายถึง เปน็ เครือ่ งเป่าเพียงชนิ้ เดียวของวง นิยมใช้ปี่ในหรือ
บางคณะอาจใชป้ นี่ อกใช้เพยี ง 1 เลา

4. โหมง่ หมายถงึ ฆ้องคู่ เสยี งตา่ งกนั ท่ีเสยี งแหลมเรยี กวา่ เสยี ง
โหม้ง ทเ่ี สียงทมุ้ เรียกวา่ เสียงหมุ่ง

5. ฉิง่ หมายถึง เป็นเครื่องตีเสรมิ แตง่ และเน้นจังหวะ
6. แตระ หรือแกระ หมายถึง กรับมีทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบ
กับรางโมงหรือกรับคู่และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวงหรือใช้ไม้เรียวไม้
หรือลวดเหล็กหลายๆอันมัดเข้าด้วยกันตีให้ปลายกระทบกันก็เรียกว่าแตระ
มีลีลาการขับร้องและรับบทกลอนอย่างหนึ่งเรียกว่า เพลงหน้าแตระ(ใช้แต่
เฉพาะแตระไม่ใชด้ นตรีชนิ้ อื่นประกอบ)

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครูสอน” | 31

ทับ (โทน) กลอง ปี่

โหมง่ ฉง่ิ แตระหรอื แกระ

ภาพที่ 12 ภาพเครื่องดนตรโี นรา

โนราบทครูสอน

โนราบทครูสอน หมายถึง บทโนราเบ้ืองต้นทีผ่ ศู้ ึกษาสามารถเรยี นรู้
ทา่ รำโนรา เริ่มต้ังแต่การนง่ั แล้วสัง่ สอนในทา่ นอื่น ๆ ทั้งการแตง่ กาย การ
สวมเทรดิ ขั้นตอนการรำโนราบทครสู อนนัน้ จะมกี ารร้องบทครสู อน และ
ท่ารำครสู อน ดงั น้ี

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

32 | เอกสารประกอบการเรยี น”โนราบทครสู อน”

บทรอ้ ง

บทรอ้ งครสู อน เปน็ การร้องลักษณะการร้องบทผนั หนา้ เพราะลกู

คูส่ ามารถร้องสอดรบั กลางบทเพื่อเพมิ่ สีสันให้ไพเราะชวนฟัง

......................ซึง่ ต้องประกอบดว้ ย ต้นเสยี ง และลูกคู่ร้องรบั ก่อน

ฝึกการรอ้ งควรเข้าใจเนื้อหาของเพลงร้อง ดังน้ี

บทรอ้ ง

ครเู อยครสู อน เสด้อื งกรต่องา่

ครูสอนเขียนหนังสือ หารอื ครูสอนรำมโนราห์

ครสู อนใหผ้ ูกผ้า สอนข้าทรงกำไล

ครสู อนครอบเทรดิ น้อย รำจบั สรอ้ ยพวงมาลยั

ครูสอนให้ทรงกำไล สอดใสแ่ ขนซ้ายแขนขวา

รำทา่ เสด้อื งเย้ืองขา้ งซา้ ย ตีค่าได้หา้ ปะพารา

รำทา่ เสด้ืองเยื้องขา้ งขวา ตีคา่ ไดห้ า้ ตำลงึ ทอง

รำทา่ ตนี ถีบพะนัก สองมือชกั เอาแสงทอง

หาไหนให้ได้เสมอื นน้อง ทำนองพระเทวดา

วธิ ีการร้อง

วธิ ีการร้องในบทรำหมู่น้ี ตอ้ งใชผ้ ู้รอ้ ง 2 ฝา่ ย คอื ต้นเสยี ง หมายถงึ

ผูร้ ้องนำขึ้นเสยี งร้อง ตามบทท่ีกำหนด และลูกคู่ หมายถงึ ผู้รอ้ งรบั ภายหลงั

จากท่ีผู้ร้องนำร้องจบ ตามทำทองท่ีกำหนด ดังน้ี

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครสู อน” | 33

รอ้ งนำ ครูเจ้าเอยครูสอน สอนแล้วแมน่ าครูสอน เสดือ้ งกรมาตอ่
ง่า

ลกู คู่ ครเู อยครูสอน เสดอ้ื งกรต่องา่ นนั่ แหละเดือ้ งกรต่องา่
ละน้อง เด้ืองกรต่อง่า หนวิ ่าครูเอยครสู อนเสดื้องกรต่องา่

ร้องนำ ลูกไหวค้ รูสอนเขียนหนังสือ
ลูกคู่ ครสู อนเขยี นหนังสือ
รอ้ งนำ เขยี นจริงแมน่ ะ เขียนหนังสือ หารอื ครูสอนรำโนรา
ลกู คู่ ครูสอนเขยี นหนังสือ หารอื ครูสอนเขยี นหนังสือ
รอ้ งนำ ครูสอนให้ผูกผ้า นแ่ี หละครสู อนใหผ้ ูกผา้ สอนข้าให้

ทรงกำไล
ลกู คู่ ออครูสอนผกู ผา้ สอนขา้ ใหท้ รงกำไหร นัน่ แหละสอน

ทรงกำไหรละน้อง สอนทรง กำไหร วา่ ครูสอนใหผ้ ูกผ้า
สอนขา้ ให้ทรง กำไหร
ครสู อนครอบเทรดิ น้อย สอนแล้วแม่หน้าครอบเทรดิ น้อย
รำจบั สรอ้ ยพวงมาลยั
ลูกคู่ แลว้ วา่ สอนครอบเทริดน้อย รำจับสรอ้ ยพวงมาลยั แลว้ ว่า
เห้อจับสร้อยพวงมาลัยละน้อง จบั สรอ้ ยพวงมาลัย วา่ ครู
สอนครอบเทรดิ น้อย รำจบั สรอ้ ยพวงมาลัย
รอ้ งนำ ครสู อนใหท้ รงกำไล สอนแล้วแม่หนา้ ทรงกำไล สอดใส่
แขนซ้ายยา้ ยแขนขวา

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเดก็

34 | เอกสารประกอบการเรยี น”โนราบทครสู อน”

ลูกคู่ แล้วว่าสอนให้ทรงกำไล สอดใส่ซา้ ยยา้ ยใส่ขวา นอ้ งเห้อใส่
ซ้ายย้ายใสข่ วาละน้อง ใสซ่ ้ายยา้ ยใส่ขวา วา่ สอนทรงนวิ ่า
กำไล สอดใส่ซา้ ยย้ายใสข่ วา

ร้องนำ รำทา่ เสด้อื งเย้ืองข้างซา้ ย เยื้องแล้วแม่หน้าเย้อื งขา้ งซ้าย
ตคี ่าได้หา้ ปะพารา

ลูกคู่ ออว่าเสด้ืองเยอื้ งขา้ งซา้ ย ตีค่าได้ห้าปะพารา น้องเห้อได้
หา้ ปะพาราละน้อง ได้ห้าปะพาราว่าเสด้อื งเยือ้ งข้างซ้าย ตี
คา่ ได้ห้าปะพารา

รอ้ งนำ รำทา่ เสดือ้ งเย้ืองขา้ งขวา เย้ืองแล้วแมห่ น้าเย้ืองข้างขวา ตี
ค่าได้หา้ ตำลึงทอง

ลกู คู่ ออว่าเสด้ืองเยอ้ื งขา้ งขวา ตีค่าไดห้ ้าตำลงึ ทอง น้องเหอ้ ได้
ห้าตำลงึ ละน้อง ได้ห้าตำลึงทองวา่ เสดือ้ งเย้ืองขา้ งขวา ตีคา่
ได้ห้าตำลงึ ทอง

รอ้ งนำ ท่านตี้ นี ถบี นะพะนัก ถีบแล้วแมห่ น้าถีบพะนัก สองมือชกั
เอาแสงทอง

ลกู คู่ แล้ววา่ ตนี ถบี พะนัก สองมอื ชักชกั เอาแสงทอง ว่านอ้ งเห้
อมือชกั เอาแสงทองละน้อง มือชักละเอาแสงทอง ว่าตนี ถบี
น้ีพะนัก สองมือชักชกั เอาแสงทอง สองมอื ชักชักเอาแสง
ทอง

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครสู อน” | 35

ร้องนำ หาไหนให้ได้เสมอื นน้อง หาไหนให้ได้เสมือนนอ้ ง ทำนอง
พระเทวดา

ลกู คู่ ออว่าหาไหนให้เหมือนนอ้ ง รำทำนองพระเทวดา นอ้ ง
เห้อพระเทวดาละน้อง พระเทวดา ว่าหาไหนไดเ้ หมือนน้อง
ทำนองพระเทวดา

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเดก็

36 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

ท่ารำบทครูสอน ภาพประกอบ

ท่ารำ บทครสู อน มีท่ารำท้ังหมด 18 ทา่ ดงั นี้

ที่ อธิบายทา่ รำ
1 เนื้อรอ้ ง ครูเอย ครสู อน

“ครูเอย ครูสอน” นั่งลักษณะ
การขัดสมาท โดยเข่าขวาทับเข่า
ซ้าย มือท้ังสองพนมมือระดับอก
หน้าตรง
“สอนแล้วแม่นาครูสอน” นั่ง
ลักษณะเดิม ยกมอื จรดหน้าผาก
ก้มหน้าเล็กน้อย จากนั้นลดมือ
มาระดับอก หนา้ ตรง

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครูสอน” | 37

ที่ อธบิ ายทา่ รำ ภาพประกอบ
2 เนอ้ื รอ้ ง เสด้อื งกร ต่อง่า

“ เสดื้องกร ” นั่งลักษณะเดิม
มือซ้ายตั้งวงหน้า มือขวาจีบ
หงายต่อศอก เอียงขวา
“ ต่อง่า ” นั่งลักษณะเดิม
จากนั้นดึงมือขวา มาปล่อยเป็น
ลักษณะวงหน้า มือซ้าย
เหมอื นเดมิ หนา้ ตรง

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

38 | เอกสารประกอบการเรยี น”โนราบทครสู อน”

ท่ี อธิบายทา่ รำ ภาพประกอบ
3 เนื้อร้อง ครูสอนเขียน

หนงั สือ
“ครูสอน” นั่งลักษณะเดิม
พนมมือระดบั อก กม้ หนา้
“เขียนหนังสือ” นั่งลักษณะ
เดมิ มือซา้ ยแบหงาย งอแขน
ระดับอก มือขวาจีบคว่ำ
ระดบั บนมือซา้ ย หนา้ ตรง

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครูสอน” | 39

ท่ี อธบิ ายทา่ รำ ภาพประกอบ
4 เนื้อร้อง หารือครูสอนรำ

โนรา
“หารือครูสอนรำโนรา” นั่ง
ลักษณะเดิม มือทั้งสองจีบ
ระดับใบหน้า จากนั้นลาก
มือจีบปล่อยเป็นวงบน โดย
เหยียดแขนตึงแล้วปล่อย
เป็นวงบน (วงเขาควาย)
หน้าตรง

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเดก็

40 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

ที่ อธบิ ายท่ารำ ภาพประกอบ

5 เน้ือร้อง ครูสอนให้ผกู ผ้า
“ครูสอน” นั่งลักษณะเดิม
พนมมือระดบั อก หนา้ ตรง
“ให้ผูกผ้า” นั่งลักษณะเดิม
มือทั้งสองประสานทับกัน
ระดับสะเอว โดยมือซ้ายทับ
มอื ขวา หนา้ ตรง

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครสู อน” | 41

ที่ อธบิ ายท่ารำ ภาพประกอบ

6 เน้ือรอ้ ง สอนขา้ ให้ทรงกำไล
“สอนข้า” นั่งลักษณะเดิม
พนมมือระดับอก หนา้ ตรง
“ให้ทรงกำไล” นั่งลักษณะ
เดิม มือซ้ายกำมืองอแขนระ
ดังอก มือขวาชี้นิ้ว ระดับ
ข้อมอื ซ้าย เอยี งขวา

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

42 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

ที่ อธิบายท่ารำ ภาพประกอบ

7 เนื้อร้อง ครูสอนให้ครอบ
เทริดนอ้ ย
“ครูสอน”นั่งลักษณะเดิม
พนมมอื ระดบั อก หน้าตรง
“ให้ครอบเทริดน้อย” น่ัง
ลักษณะเดิม มือขวากำยอด
เทริด มือซ้ายแบมือแตะข้าง
แก้ม เอียงขวา

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครสู อน” | 43

ที่ อธิบายทา่ รำ ภาพประกอบ
“สอนแล้วแมน่ า” นัง่ ลักษณะ
เดิมพนมมือระดับอก หน้า
ตรง
“ครอบเทรดิ น้อย” มือทั้งสอง
แบมือแยกจากกัน ยกไว้ระดับ
ศีรษะ หน้าตรง

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

44 | เอกสารประกอบการเรยี น”โนราบทครสู อน”

ท่ี อธิบายทา่ รำ ภาพประกอบ
8 เนื้อร้อง รำจับสร้อย

พวงมาลัย
“รำจบั สร้อย” นงั่ ลักษณะ
เดิม มอื ทง้ั สองจีบควำ่ รวม
ลกั ษณะไขว้กัน ระดับ
ใบหน้า หนา้ ตรง
“พวงมาลยั ” แยกมือจบี ดงึ
มือลดลงระดับสะโพก
จากนนั้ รวมมือจบี อีกคร้งั
พร้อมกับยกกน้ นั่งต้ังเขา่ ขวา
หนา้ ตรง
หมายเหตุ ช่วงรอ้ งรบั ทกุ คน
หมุนตวั ไปทางซ้าย 1 รอบ

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครสู อน” | 45

ท่ี อธิบายทา่ รำ ภาพประกอบ

9 เน้ือรอ้ ง ครูสอนให้ทรงกำไล
“ครูสอน” ลดตัวลงนั่งขัด
สมาทลักษณะเดิม พนมมือ
ระดบั อก หนา้ ตรง
“ให้ทรงกำไล” มือซ้ายต้ังวง
หน้า มอื ขวาแบมือแตะ
ระดบั ข้อมือซ้าย เอียงขวา

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

46 | เอกสารประกอบการเรยี น”โนราบทครสู อน”

ท่ี อธิบายท่ารำ ภาพประกอบ

10 เนื้อเพลง สอดใส่แขนซ้าย
ยา้ ยแขนขวา
“สอดใส่” นั่งลักษณะเดิม
มือซ้ายตั้งวงหน้า มือขวาจีบ
คว่ำวนรอบข้อมอื ซ้าย ศรี ษะ
เอยี งซ้าย
“ย้ายแขนขวา” ดึงมือขวา
ตั้งวงหน้า มือซ้ายจีบคว่ำ
วนรอบขอ้ มอื ขวา เอยี งขวา

เอกสารประกอบการเรยี น “โนราบทครสู อน” | 47

ที่ อธบิ ายทา่ รำ ภาพประกอบ
หมายเหตุ ปฏิบัติสลับกัน
จนหมดจงั หวะ

11 เนื้อเพลง รำท่าเสดื้องเยื้อง
ขา้ งซ้าย
“รำท่าเสดื้อง” นั่งคุกเข่า
แยกเข่าออก พนมมือระดับ
หน้าอก หน้าตรง
“เยื้องข้างซ้าย” นั่งคุกเข่า
เหยียดเท้าซ้ายไปด้านหน้า
มอื ขวามว้ นมอื จบี ปลอ่ ยเป็น
วงบน มือซ้ายจีบหงายแขน
ตวั วางบนเขา่ ซ้าย เอยี งขวา

ส่ือการเรียนการสอนสาหรับเดก็

48 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน”

ท่ี อธบิ ายท่ารำ ภาพประกอบ
“เยื้องแล้วแม่นะเยื้องข้าง
ซ้าย” นั่งลักษณะเดิม มือ
ขวาปฏิบัติลักษณะเดิม มือ
ซ้ายม้วนมือเข้าหาลำตัว
แล้วดึงมือกลับที่เดิม หน้า
ตรง

เอกสารประกอบการเรียน “โนราบทครูสอน” | 49

ที่ อธิบายทา่ รำ ภาพประกอบ

12 เนื้อเพลง ตีค่าได้ห้าพระ
พารา
“ตีค่า” นั่งลักษณะเดิม มือ
ซ้ายกำมือหงายท้องแขน
มือขวาชี้ทีม่ ือกำ
“ได้ห้าพระพารา” มือท้ัง
สองจบี รวมมอื ระดบั อก

สื่อการเรียนการสอนสาหรับเด็ก

50 | เอกสารประกอบการเรียน”โนราบทครสู อน” ภาพประกอบ

ที่ อธิบายทา่ รำ
จากนั้นม้วนมือออกปล่อยเป็น
วง(ปลายนิ้วเขา้ หากัน พร้อมกับ
ยกก้นเข่าซ้ายลงฉาก หนา้ ตรง
หมายเหตุ หมุนตัวทางขวา 1
รอบ

13 เนื้อเพลง รำท่าเสดื้องเยื้องข้าง
ขวา
“รำท่าเสดื้อง” นั่งคุกเข่าแยก
เข่าออก พนมมือระดับหน้าอก
หนา้ ตรง
“เยื้องข้างขวา” นั่งคุกเข่า
เหยียดเท้าขวาไปด้านหน้า มือ
ซ้ายม้วนมอื จบี ปล่อยเป็นวงบน


Click to View FlipBook Version