The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ใบความรู้ประกอบการเรียน ชั้นม.5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ธนัชชา สุเมโท, 2022-05-06 09:28:19

ใบความรู้ประกอบการเรียน ชั้นม.5

ใบความรู้ประกอบการเรียน ชั้นม.5

5ชั้นมัธยมศึกษาปีที่

ใบความรู้ ประกอบการเรียน

กลุ่มสาระศิลปะ รายวิชานาฏศิลป์

ครูผู้สอน

นางสาวธนัชชา สุเมโท
ค รู อุ้ ย อ้ า ย

โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์

ใบความรู้ที่ 1

วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

(สมัยน่านเจ้า พ.ศ. ๑๑๖๑ – ๑๑๙๔)

จากการค้นคว้าหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า สมัยอาณาจักรน่านเจ้า ไทยมีนิยายเรื่องหนึ่ง
คือ “มโนห์รา” ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ หนังสือทีเขียนบรรยายถึงเรื่องของชาวจีนตอนใต้ และเขียนถึงนิยายการ
เล่นต่างๆ ของจีนตอนใต้ มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ชื่อเหมือนกับนิยายของไทย คือเรื่อง “นามาโนห์รา” และอธิบายไว้
ด้วยว่าเป็นนิยายของพวกไต ซึ่งจีนถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ทางใต้ของประเทศจีน ไตเป็นน่านเจ้าสมัยเดิม คำว่า
“นามาโนห์รา” เพี้ยนมาจากคำว่า “นางมโนห์รา” ของไทยนั่นเอง

พวกไต คือ ประเทศไทยเรา แต่เป็นพวกที่ไม่อพยพลงมาจากดินแดนเดิม ชีวิตและความ
เป็นอยู่ของพวกไตเป็นแบบชาวเหนือของไทยประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ พวกไทยนี้สืบเชื้อสายมาจากสมัยน่านเจ้า
เหตุแวดล้อมดังกล่าวจึงชวนให้เข้าใจว่าเป็นชาติที่มีศิลปะมาแล้วแต่ดั้งเดิม ซึ่งได้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี
วัฒนธรรมไว้อย่างเดียวกับไทยภาคเหนือมีหมู่บ้านอยู่ทางทิศตะวันออกของมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ฝรั่งเรียกว่า
“สวนมรกต” มีแม่น้ำสายหนึ่งไหลผ่าน ออกเสียงแบบไทยว่า “แล่นชน” หรือ “ล้านช้าง” การละเล่นของไทย
ในสมัยน่านเจ้า นอกจากเรื่องมโนห์รา ยังมีการแสดงระบำต่างๆ เช่น ระบำหมวก ระบำนกยูง ซึ่งปัจจุบันจีน
ถือว่าเป็นการละเล่นของชนกลุ่มน้อยในประเทศของเขา

(สมัยสุโขทัย พ.ศ. ๑๗๘๑–๑๘๒๖)

ในสมัยสุโขทัยเรื่องละคร ฟ้อนรำ สันนิษฐานได้จากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง
หลักที่ ๑ กล่าวถึง การละเล่นเทศกาลกฐินไว้เป็นความกว้างๆ ว่า “ เมื่อจักเข้าเวียง
เรียงกัน แต่อรัญญิกพู้นท่านหัวลาน ดํบงคํกลอยด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียง
เลื้อย เสียงขับ ใครจักมักเหล้น เหล้น ใครจักมัก หัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน”
ในสมัยสุโขทัย ได้คบหากับชาติที่นิยมอารยธรรมของอินเดีย เช่น พม่า มอญ ขอม
และละว้า ไทยได้รู้จักเลือกเฟ้นศิลปวัฒนธรรมของชาติที่สมาคมด้วย
แต่มิได้หมายความว่า ชาติไทยแต่โบราณจะไม่รู้จักการละครฟ้อนรำมาก่อน เรามีการแสดงระบำ รำ
เต้น มาแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว เมื่อไทยได้รับวัฒนธรรมด้านการละครของอินเดียเข้ามา ศิลปะแห่งการละเล่นพื้นเมืองของไทย คือ รำ
และระบำ ก็ได้วิวัฒนาการขึ้น มีการกำหนดแบบแผนแห่งศิลปะการแสดงทั้ง ๓ ชนิดไว้เป็นที่แน่นอน และบัญญัติคำเรียกศิลปะแห่งการ
แสดงดังกล่าวว่า “โขน ละคร ฟ้อนรำ”

(เครื่องแต่งกายของผู้หญิงสมัยสุโขทัย)
ละครแก้บนกับละครยก อาจมีสืบเนื่องมาแต่สมัยสุโขทัย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในสาส์นสมเด็จว่า หญิงแก้วมี
จดหมายเล่าว่ามีละครเขมรตรงหน้าปราสาทนครวัด ให้พวกท่องเที่ยวชมในเวลากลางคืน เรื่องนี้เรารู้กันอยู่แล้ว ที่ปราสาทนครวัด และปราสาท
หินเทวสถานแห่งอื่นหลายแห่ง มีเวทีทำด้วยศิลา กล่าวกันว่าทำไว้สำหรับฟ้อนรำบวงสรวง อันการฟ้อนรำบวงสรวง ตลอดจนการเล่นโขน เป็น
คติทางศาสนาพราหมณ์ แต่ห้ามทางฝ่ายพระพุทธศาสนา หม่อมฉันได้อ่านหนังสือพรรณนาว่าด้วยเทวสถานในอินเดียว่า แม้ในปัจจุบัน
เทวสถานที่สำคัญยังมีหญิงสาวชั้นสกุลต่ำ ไปสมัครอยู่เป็น “เทวทาสี” สำหรับฟ้อนรำบวงสรวงเป็นอาชีพ และให้ใช้ต่อไปว่าสำหรับปฏิบัติพวก
พราหมณ์ที่รักษาเทวสถาน หรือแม้บุคคลภายนอกด้วย ตามปราสาทหินที่สำคัญในเมืองเขมรแต่โบราณก็คงมีหญิงพวกเทวทาสี เช่นนั้น
หม่อมฉันเห็นว่าประเพณีที่ไทยเราเล่นละครแก้บน เห็นจะมาจากคติเดียวกันนั่นเอง แต่เลยมาถึงเล่นละครบวงสรวงในพระพุทธศาสนา เมื่อ
ฉันยังเป็นเด็กได้เคยเห็นละครชาตรีเล่นแก้บนที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้ยินว่าที่วัดบวรนิเวศวิหาร ก็เคยมีละครแก้บน
พระพุทธชินสีห์ เพิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเพณีไทยเล่นละครแก้บนแต่ก่อนเห็นจะหยุดชะงัก จึงมีผู้คิดทำตุ๊กตา เรียกว่า “ละครยก” สำหรับ

คนจนแก้บนถ้าจะนับเวลาเห็นจะเป็นตั้งพันปีมาแล้ว

(ภาพจารึกประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย)

สมัยอยุธยา

ละครรำสมัยกรุงศรีอยุธยามีต้นกำเนิดจากการเล่นโนรา และละครชาตรีที่นิยม
กันในภาคใต้ของประเทศไทย แต่เดิมมีละครชื่อขุนศรัทธา เป็นละครในสมัยกรุง
ศรีอยุธยา ส่วนระบำหรือฟ้อนเป็นศิลปะโดยอุปนิสัยของคนไทยสืบต่อกันมา ละคร
รำของไทยเรามี ๓ อย่าง คือ ละครชาตรี ละครนอก และละครใน ละครชาตรี
เป็นละครเดิม ละครนอกเกิดขึ้นโดยแก้ไขจากละครชาตรี แต่ละครในนั้นคือละครผู้
หญิง เมื่อครั้งรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังไม่มีปรากฏ มาปรากฏว่ามี
ละครผู้หญิงในหนังสือบุณโณวาทคำฉันท์ ซึ่งแต่งในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรม
โกศ พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑ เป็นครั้งแรก เพราะฉะนั้นละครผู้หญิงจึงเกิดขึ้นใน
ระหว่างรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา พ.ศ.๒๒๓๑ – ๒๒๔๖ มาจนรัชกาลสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในระหว่าง ๗๐ ปีนี้ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้
มีละครผู้หญิงเล่นคือเรื่อง “อิเหนา” ซึ่งเป็นละครใน

(การแสดงโนราห์ ชาตรี)

สำหรับละครผู้หญิงของหลวงครั้งกรุงเก่า เห็นจะเป็นของโปรดอยู่เพียงในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคตแล้ว ทำนองจะละเลยมิได้ฝึกซ้อมเสมอเหมือนแต่ก่อน สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์จะทอดพระเนตรละคร
จึงห้ามหาผู้ชายเข้าไปเล่น เมื่อพิเคราะห์ดูทางตำนาน ดูเหมือนละครผู้หญิงของหลวงซึ่งมีขึ้นครั้งกรุงเก่า จะได้เล่นอยู่ไม่ช้านาน
เท่าใดนัก ก็ถึงเวลาเสียกรุงแก่พม่า

สมัยกรุงธนบุรี

สมัยนี้เป็นช่วงต่อเนื่องหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310
เหล่าศิลปินได้กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ เพราะผลจากสงคราม บางส่วนก็เสียชีวิต
บางส่วนก็ถูกกวาดต้อนไปอยู่พม่า ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบดาภิเษกในปีชวด
พ.ศ. 2311 แล้ว ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการละครขึ้นใหม่ และรวบรวมศิลปินตลอดทั้งบท
ละครเก่าๆที่กระจัดกระจายไปให้เข้ามาอยู่รวมกัน ตลอดทั้งพระองค์ได้ทรงพระราช
นิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน คือ ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกลด (เผารูปเทวดา) ตอนพระ
ลักษณ์ถูกหอกกบิลพัท ตอนปล่อยม้าอุปการ มีคณะละครหลวง และเอกชนเกิดขึ้น
หลายโรง เช่น ละครหลวงวิชิตณรงค์ ละครไทยหมื่นเสนาะภูบาล หมื่นโวหารภิรมย์
นอกจากละครไทยแล้วยังมีละครเขมรของหลวงพิพิธวาทีอีกด้วย

สมัยนี้เป็นช่วงต่อเนื่องหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 เหล่าศิลปินได้กระจัดกระจายไปในที่
ต่างๆ เพราะผลจากสงคราม บางส่วนก็เสียชีวิต บางส่วนก็ถูกกวาดต้อนไปอยู่พม่า ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบดาภิเษกในปี
ชวด พ.ศ. 2311 แล้ว ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการละครขึ้นใหม่ และรวบรวมศิลปินตลอดทั้งบทละครเก่าๆที่กระจัดกระจายไปให้
เข้ามาอยู่รวมกัน ตลอดทั้งพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน คือ ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกลด (เผารูปเทวดา) ตอนพระลักษณ์ถูกหอกกบิลพัท ตอนปล่อยม้าอุปการ
มีคณะละครหลวง และเอกชนเกิดขึ้นหลายโรง เช่น ละครหลวงวิชิตณรงค์ ละครไทยหมื่นเสนาะภูบาล หมื่นโวหารภิรมย์
นอกจากละครไทยแล้วยังมีละครเขมรของหลวงพิพิธวาทีอีกด้วย

ใบความรู้ที่ 2

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยรัตนโกสินทร์ระบำและรำมีความสำคัญต่อราชพิธีต่างๆ ในรูปแบบของพิธีกรรม โดยถือปฏิบัติเป็น
กฎมณเฑียรบาลมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (สมัยรัชกาลที่1 – รัชกาลที่ 4 )

รัชกาลที่ 1

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดรวบรวมตำราฟ้อนรำ และเขียนภาพท่ารำ
แม่บทบันทึกไว้เป็นหลักฐาน มีการพัฒนาโขนเป็นรูปแบบละครใน มีการปรับปรุงระบำสี่บท ซึ่งเป็นระบำ
มาตรฐานตั้งแต่สุโขทัย ในสมัยนี้ได้เกิดนาฏศิลป์ขึ้นมาหลายชุด เช่น ระบำเมขลา-รามสูร ในราชนิพนธ์

รามเกียรติ์

รัชกาลที่ 2

ราชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นยุคของนาฏศิลป์ไทย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรง
โปรดละครรำ ท่ารำงดงามตามประณีตแบบราชสำนัก มีการฝึกหัดทั้งโขน ละครใน ละครนอกโดยได้ฝึกผู้หญิง

ให้แสดงละครนอกของหลวงและมีการปรับปรุงเครื่องแต่งกายยืนเครื่องแบบละครใน

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์(ต่อ)

รัชกาลที่ 3

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยกเลิกละครหลวง ทำให้นาฏศิลป์ไทยเป็นที่นิยม
แพร่หลายในหมู่ประชาชน และเกิดการแสดงของเอกชนขึ้นหลายคณะ ศิลปินที่มีความสามารถสืบทอดการแสดง

นาฏศิลป์ไทยที่เป็นแบบแผนกันต่อมา

รัชกาลที่ 4

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีละครรำผู้หญิงในราชสำนักตามเดิมและใน
เอกชนมีการแสดงละครผู้หญิงและผู้ชาย ในสมัยนี้มีบรมครูทางนาฏศิลป์ได้ชำระพิธีโขนละคร ทูลเกล้าถวายตรา

ไว้เป็นฉบับหลวง และมีการดัดแปลงการำเบิกโรงชุดประเริงมาเป็น รำดอกไม้เงินทอง

รัชกาลที่ 5

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้มีทั้งอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ไทยเพื่อ ทันสมัย เช่น มีการพัฒนา
ละครในละครดึกดำบรรพ์พัฒนาละครรำที่มีอยู่เดิมมาเป็นละครพันทางและละคร เสภา และได้กำหนดนาฏศิลป์เป็นที่บทระบำ
แทรกอยู่ในละครเรื่องต่างๆ เช่น ระบำเทวดา- นางฟ้า ในเรื่องกรุง พาณชมทวีป ระบำตอนนางบุษบากับนางกำนันชมสาร

ในเรื่องนิเหนา ระบำไก่ เป็นต้น

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์(ต่อ)

รัชกาลที่ 6

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นศิลปะด้านนาฏศิลป์เจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ โปรดให้ตั้งกรม
มหรสพขึ้น มีการทำนุบำรุงศิลปะทางโขน ละคร และดนตรีปี่พาทย์ทำให้ศิลปะทำให้มีการฝึกหัด อย่างมีระเบียบ
แบบแผน และโปรดตั้งโรงเรียนฝึกหัดนาฏศิลป์ในกรมมหรสพ นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุง วิธีการแสดงโขนเป็น
ละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์และได้เกิดโขนบรรดาศักดิ์ที่มหาดเล็กแสดงคู่กับโขนเชลย ศักดิ์ที่เอกชนแสดง

รัชกาลที่ 7

รัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการจัดตั้งศิลปากรขึ้นแทนกรมมหรสพที่ถูกยุบไป ทำให้
ศิลปะโขน ละคร ระบำ รำ ฟ้อน ยังคงปรากฏอยู่ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสืบต่อไป

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์(ต่อ)

รัชกาลที่ 8

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีของกรมศิลปาการ ได้
ก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นมา เพื่อปกกันไม่ให้ศิลปะทางด้านนาฏศิลป์สูญหายไป ในสมัยนี้ได้เกิดละครวิจิตร
ซึ่งเป็นละครปลุกใจให้รักชาติและเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมา สนใจนาฏศิลป์ไทย และได้มีการตั้งโรงเรียน
นาฏศิลป์แทนโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ซึ่งถูกทำลายตอน สงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นสถานศึกษานาฏศิลป์และ

ดุริยางคศิลป์ของทางราชการ และเป็นการทุบำรุง เผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่ยกย่องนานาอารยประเทศ

รัชกาลที่ 9

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช นาฏศิลป์ละคร ฟ้อน รำ ได้อยู่ในความ
รับผิดชอบของรัฐบาล ได้มีการส่งเสริมให้ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยคิดประดิษฐ์ท่ารำ ระบำชุดใหม่ ได้แก่ ระบำพม่าไทยอธิษฐาน
ปัจจุบันได้มีการนำนาฏศิลป์นานาชาติมาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ รูปแบบของการแสดง มีการ นำเทคนิคแสง สีเสียง
เข้ามาเป็นองค์ประกอบในการแสดงชุดต่างๆ ปรับปรุงลีลาท่ารำให้เหมาะสมกับฉาก บน เวทีการแสดงมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัย
ทั้งระบบม่าน ฉาก แสง ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์มีระบบเสียง ที่สมบูรณ์มีเครื่องฉายภาพยนตร์ประกอบการแสดง และเผย

แพร่ศิลปกรรมทุกสาขานาฏศิลป์และสร้างนักวิชาการและนักวิจัยในระบบสูง โดยมีการเปิดสอนนาฏศิลป์ไทยในระดับ
ปริญญาเอกอีกหลายแห่ง

ใบความรู้ที่ 3

ความงามและคุณค่าของนาฏศิลป์ไทย

ความงามและคุณค่าของนาฎศิลป์ไทยการแสดงนาฎศิลป์ไทยในรูปแบบต่างๆ จะต้องมีศิลปะ
หลายแขนงเข้ามามีส่วนในการสร้างผลงาน ได้แก่ การขับร้อง ดนตรี การฟ้อนรำ วรรณกรรม และ
จิตรกรรม

ความงามและคุณค่าทางวรรณคดี


ลักษณะของวรรณคดีที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยจะแต่งเป็นบทร้อยกรองที่เรียกว่า แปด เพื่อสะดวก
ในการร้องและรำ การขึ้นต้นบทละครมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า เมื่อนั้น เป็นการแสดงถึงฐานะของตัวละคร ถ้าตัวละคร
สูงศักดิ์จะใช้คำว่า เมื่อนั้น แต่ถ้าเป็นตัวละครธรรมดาจะใช้คำว่า บัดนั้น หรือถ้าต้องการบอกการดำเนินเรื่องจะใช้
คำขึ้นต้นว่า มาจะกล่าวบทไป นอกจากนี้ ยังบอกถึงจำนวนคำกลอนและเพลงที่ใช้ในบทนั้นๆ ด้วย วรรณคดีที่ใช้
แสดงโขน ได้แก่ เรื่องรามเกี่ยรติ์ ละครในแสดงเรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา และอุณรุท ส่วนละครนอกก็แสดงเรื่อง
จักรๆ วงศ์ๆ เช่น เรื่องสังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ต่อมาภายหลังมีการแสดง เรื่องที่เป็นวิถีชีวิตของสามัญชน เช่น ขนช้าง
ขุนแผน ซึ่งเล่นได้ทั้งละครนอกหรือเสภา

ความงามและคุณค่าทางดนตรี

๑. เพลงที่ใช้ในการแสดงนาฎศิลป์ไทย ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์และเพลงร้อง
เพลงหนำพาทย์ หมายถึง เพลงที่ใช้ประกอบกิริยาของตัวละครหรือใช้อัญเชิญเทพจ้า
ในพิธีไหว้ครู่ อาจแบ่งลักษณะการใช้ได้ดังนี้
เพลงที่ใช้เกี่ยวกับการร่ายนต์ แปลงกาย ลักษณะเพลงจะน่าเกรง
ตระนิมิต ตระบองกัน
๒. เพลงที่ใช้เกี่ยวกับการแผลงฤทธิ์หรือแสดงอาการโกรธ เช่น รัวสามลา คุกพาทย์

ㆍ๓. เพลงที่ใช้เกี่ยวกับการจัดทัพตรวจพล
กราวนอก ใช้สำหรับฝ่ายพลับพลา จังหวะกลองจะลักจังหวะ เหมาะกับพวกลิง

ㆍที่มีลักษณะซุกชน
กราวใน ใช้สำหรับฝ่ายลงกา จังหวะกลองจะหนักแน่นเหมาะกับพวกยักษ์ที่นำเกรงขาม
๔. เพลงที่ใช้เกี่ยวกับการไป-มา
ประกอบกิริยาไปมาระยะใกล้ เช่น เสมอมาร ใช้สำหรับพญายักษ์ เสมอเถร

ㆍใช้สำหรับผู้ทรงศีล
ประกอบกิริยาสำหรับเดินทาง การแผลงศร เช่น เชิดฉิ่ง เชิด ประกอบกิริยาในการดินทางทางอากาศ เช่น กลม ใช้
สำหรับการไปมาของเทวดาผู้ใหญ่ หรือการหาะสำหรับการเดินทางของเทวดา โคมเวียน ใช้สำหรับการไปมาของเทวดาผู้
น้อยที่ไปมาเป็นหมู่ประกอบขบวนแห่ เช่น ทะแย กลองโยน ประกอบการเดินทางทางน้ำ เช่น โล้
๕. เพลงที่ใช้เกี่ยวกับการนอน เช่น ตระนอน ใช้สำหรับตัวละครสูงศักดิ์ เข้าที่บรรทม ตระบรรทมไพร ใช้สำหรับตัวละครสูง
ศักดิ์บรรทมในป่า
๖. เพลงที่ใช้เกี่ยวกับการอาบน้ำแต่งตัว เช่น ลงสรงโทน ลงสรงชมตลาด ใช้สำหรับการอาบน้ำ และใช้สำหรับแต่งตัว
๗.เพลงที่ใช้เกี่ยวกับความภาคภูมิใจ เช่น ฉุยฉายพราหมณ์อุยฉายเบญกาย อุยฉายวันทอง เพลงที่ใช้เกี่ยวกับการเยาะ
เย้ยหรือดีใจ เช่น กราวรำ
๙. เพลงที่ใช้เกี่ยวกับอารมณ์เศร้าโศก เช่น ทยอย โอด ใช้สำหรับอาการคร่ำครวญ โอ้ปีใน ใช้สำหรับโศกเสียใจเป็นอย่าง
มาก
๑๐. เพลงที่ใช้ในการเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น สาธุการ ตระเชิญ เพลงร้อง หมายถึง เพลงที่ใช้ขับร้องประกอบการแสดง อาจ
แบ่งได้ดังนี้
๑. เพลงเกี่ยวกับการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เวสสุกรรม เชื้อ บรเทศ
๒. เพลงที่ใช้แสดงอารมณ์ต่างๆ

อารมณ์เศร้า เช่น ทะแย พญาโศก แขกลพบุรี
อารมณ์รัก ชมโฉม เช่น โอ้โลมใน ลีลากระทุ่ม โอ้ชาตรี
อารมณ์โกรธ เช่น พ้อ ลิงโลด ลิงลาน
๓. เพลงที่ใช้บรรยาย เช่น ร่าย รื้อร่าย

ความงามและคุณค่าทางด้านการฟ้อนรำ

ความงามของการฟ้อนรำอยู่ที่ความงามในการร่ายรำและการตีบทที่ได้
สร้างขึ้น มีความเหมาะสมกับชุดการแสดงหรือลักษณะของตัวละคร ลักษณะของ
การรำแบ่งออกได้ ๒ ประเภท ดังนี้
แบ่งตามลักษณะของการแสดงโขน ละคร ได้แก่
การเคลื่อนไหวจะเป็นไปตามบทบาทที่ปรากฏ ต้องยึดถือหน้าทับและทำนอง
เพลงเป็นหลัก

๑.๑ การรำหน้าพาทย์เป็นการรำประกอบเพลงบรรเลง อารมณ์
๑.๒ การรำตีบท เป็นการรำโดยใช้กิริยาท่าทางประกอบคำพูดและบทร้อง
เพื่อสื่อความหมาย
๒. แบ่งตามลักษณะของการรำ ได้แก่
๒.๑ รำเดี่ยว เป็นการรำคนเดียวเพื่ออวดฝีมือของผู้รำ
๒.๒ รำคู่ เป็นการรำที่มีผู้แสดง ๒ คน นิยมใช้เป็นการแสดงเบิกโรง
๒.๓ รำหมู่ เป็นการแสดงที่มีผู้แสดงมากกว่า 2 คนขึ้นไป เน้นความงาม
ในด้านความพร้อมเพรียงในการรำของผู้แสดง

ความงามและคุณค่าทางด้านจิตรกรรม

นาฎศิลป์ไทยและจิตรกรรมมีความสัมพันธ์กัน การเขียนภาพไทยในวรรณคดีมักจะเขียนภาพ
ในวรรณคดีที่รู้จักกันมาก เช่น เรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา สังข์ทอง ทำให้เกิดจินตนาการได้โดยไม่ต้อง
อ่านเนื้อเรื่อง เรียกว่า "ภาพเล่าเรื่อง" นั่นเอง




ความงามและคุณค่าทางด้านประติมากรรม

ความงามในด้านการปั่นและแกะสลัก ในการแสดงนาฎศิลปีไทยจะมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะ
แขนงนี้มาก โดยเฉพาะในการแสดงโขน เนื่องจากเป็นการแสดงที่จะต้องสวมหัวโขน ช่างทำหัวโขนจึง
ต้องศึกษาเรื่องราวของหัวโขนและ ลักษณะของตัวละครนั้นๆ นอกจากการทำหัวโขนแล้ว การแสดงนาฎ
ศิลป์ประเภทต่างๆ ก็จะต้องมีการ ประดิดประดอยเครื่องประดับที่ใช้ในส่วนต่างๆ เช่น เครื่องประดับศีรษะ
คอ มือ แขน ขา ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กับความงามด้านประติมากรรมทั้งสิ้น

ใบความรู้ที่ 4
โขน















ใบความรู้ที่ 5 ละครรำ











ใบความรู้ที่ 6

ละครที่ไม่ใช่ละครรำ









ใบความรู้ที่ 7

ระบำ รำ ฟ้อน











ใบความรู้ที่ ๘

นาฏศิลป์พื้นบ้าน













ใบความรู้ที่ 9

ฟ้อนเงี้ยว

ฟ้อนเงี้ยว เป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าหนึ่ง เรียกว่า เงี้ยว มี
ภูมิลำเนาอยู่ทางภาคเหนือ ของไทย อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ได้นำลีลาฟ้อน
เงี้ยวมาปรับปรุงขึ้นใหม่ ในหลักสูตรวิชานาฏศิลป์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๘
บทร้องของฟ้อนเงี้ยวมีลักษณะเป็นบทอวยพร อาราธณาพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ เทพดาสิ่งศักดิ์ทั้งหลายมาปกป้องอวยชัยให้พร




การแต่งกาย แต่งได้ทั้งแบบชาวเขาและแบบที่กรมศิลปาการ
ประดิษฐ์ขึ้น แสดงได้ทั้งชุดหญิงชาย และหญิงล้วน ผู้แสดง
จะถือกิ่งไม้ในมือทั้งสองเพื่อปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีให้ออกไป

เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ วงปี่พาทย์

ฟ้อนเงี้ยว

ให้นักเรียนสแกนเพื่อศึกษากระบวนท่ารำ ฟ้อนเงี้ยว เบื้องต้น

https://www.youtube.com/watch?v=TA4qdz00RBc&ab_channel=korattheatre

ขออวยชัยพุทธิไกช่วยค้ำ ทรงคุณเลิศล้ำไปทุกทั่วตัวตน
จงได้รับสรรพมิ่งมงคล นาท่านา ขาเทวาช่วยรักษาเถิด
ขอให้อยู่สุขา โดยธรรมานุภาพเจ้า เทพดาช่วยเรา ถือเป็นมิ่งมงคล
สังฆานุภาพเจ้า ช่วยแนะนำผล สรรพมิ่งทั่วไปเทอญ
มงคลเทพดาทุกแห่งหน ขอบรรดลช่วยให้ค้ำจุน

ใบความรู้ที่ 13

ระบำกฤดาภินิหาร

ระบำกฤดาภินิหาร เป็นระบำที่กรมศิลปากรสร้างสรรรค์ขึ้นใหม่ ใน
ราว พ.ศ.๒๔๘๖ ใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลง โดยมีพระเจนดุริยางค์
เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ด้วยต้องการให้มีรูปแบบการแสดงที่
แตกต่างไปจากระบำมาตรฐานที่ได้เคยแสดงมาและต้องการให้ทัน
สมัยเหมาสมกับสถานการณ์ในยุคนั้น การปรับปรุงการแสดงตอนนี้
มุ่งหมายให้เป็นละครรำ แต่ให้กระทัดรัดเหมาะสมแก่กาลสมัย จึง
ต้องปรับปรุงขึ้นทั้งท่ารำ ทำนองร้อง และเพลงดนตรี ดังจะเห็นได้
จากท่ารำที่เป็นแบบแผนของนาฏศิลป์ไทยแท้ ๆ ระคนกับการใช้บท
อย่างแนบเนียนกระฉับกระเฉง เข้ากับทำนองดนตรี และขับร้อง
สนิทสนม ส่วนเพลงร้อง และทำนองดนตรีก็เป็นเพลงไทยโบราณ
แท้ หากแต่นำมาปะติดปะต่อเข้ากันเป็นชุด เพื่อให้เหมาะสม
กลมกลืนกับคำร้องและท่ารำ บทร้อง และทำนองเพลง ท่ารำและ
เพลงดนตรีในระบำชุดนี้จึงนับเป็นรำบำไทยที่พยายามปรับปรุงตัว
เองให้ทันสมัยชุดหนึ่ง"

รูปแบบ และลักษณะการแสดง
ระบำกฤดาภินิหาร มีลักษณะท่ารำเป็นระบำหมู่คู่พระ-นาง เสมือนหนึงว่าเหล่า
เทวดา นางฟ้า มาร่วมอวยพรยินดีในเกียรติยศ ชื่อเสียงของประเทศไทย ท่ารำเป็นการตี
บทตามคำร้องในเพลงครวญหา(ซึ่งทั้งลักษณะของท่าที่มีความหมายตรงกับคำร้องและ
ท่าที่ความหมายสอดคล้องกับคำร้อง) และท่ารำในเพลงจีนรัว ผู้แสดงถือพานสำหรับ
โปรยดอกไม้ สามารถแสดงได้สองรูปแบบ คือรำตามบทร้องสี่คำกลอน แล้วตัดไปโปรย
ดอก ไม้ในเพลงจีนรัว ซึ่งใช้เวลาในการแสดง ๕ นาที และอีกบทหนึ่ง รำเต็มบทร้องหกคำ
กลอน โปรยดอกไม้ตามบทร้อง และในเพลงจีนรัวซึ่งใช้เวลาในการแสดง ๖ นาที

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เพลงรัวดึกดำบรรพ์

และครวญหา และเพลงจีนรัว

เครื่องแต่งกาย
ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง พระสวมเสื้อแขนสั้น ศิราภรณ์ชฎายอดชัย นางศิราภา
รณ์มงกุฏกษัตรีย์ อุปกรณ์ประกอบการแสดง คือพานสำหรับใส่ดอกไม้

บทร้องระบำกฤดาภินิหาร



- ปี่พาทย์ทำเพลงรัวดึกดำบรรพ์ -



- ร้องเพลงครวญหา -

ปราโมทย์แสน ยินกฤดาภินิหารมหัศจรรย์

ต่างเต็มตื้นชื่นชมโสมนัส แจ้วจำเรียงเสียงเพลงสดุดี

แล้วลีลาศเริงรำระบำร่าย พรมน้ำทิพย์ปรุงปนสุคนธาร

องค์อัปสรอมรแมนแดนสวรรค์ เกียรติไทยลั่นลือเลื่องเรืองรูจี

โอษฐ์เอื้อนอรรถอวยพรสุทรศรี ดนตรีเรื่อยประโคมประโลมลาน

กรกรีดกรายโปรยมาลีสีประสาน จักรวาลฉ่ำชื่นรื่นรมย์ครัน



- ปี่พาทย์ทำเพลงจีนรัว -

โอกาสที่ใช้แสดง

เดิมใช้ประกอบการแสดงในตอนท้ายละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องเกียรติศักดิ์ไทย ต่อมานิยม
จัดแสดงเป็นชุดเอกเทศ สามารถแสดงในงานมงคลรื่นเริงทั่วไป

หมายเหตุ

ในการแสดงครั้งแรกใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลง ต่อมานำออกแสดงเป็นระบำชุดเอกเทศ
ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เครื่องห้า หรือเครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ บางโอกาสใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลง
ทำนองเพลงใช้ ได้แก่ เพลงรัวดึกดำบรรพ์ เพลงครวญหา และเพลงจีนรัว


Click to View FlipBook Version