The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ใบความรู้ประกอบการเรียน ชั้นม.5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ธนัชชา สุเมโท, 2022-05-06 09:28:19

ใบความรู้ประกอบการเรียน ชั้นม.5

ใบความรู้ประกอบการเรียน ชั้นม.5

ฟ้อนม่านมงคล

พ.ศ. 2495 กรมศิลปากรได้ปรับปรุงละครพันทางเรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา นำออกแสดงให้ประชาชนชม ตอน
หนึ่งของเนื้อเรื่องกล่าวถึงพิธีอภิเษกสมิงพระรามกับพระราชธิดาพระเจ้าอังวะ จึงพิจารณาแทรกระบำขึ้นโดยมอบให้นายมนตรี

ตราโมท เป็นผู้แต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้น และตั้งชื่อว่า “ม่านมงคล”



ฟ้อนม่านมงคล เป็นการฟ้อนที่มีลีลาอ่อนช้อยสวยงาม ซึ่งสันนิษฐานกันไปต่างๆนานา บางคนสงสัยว่าเป็นของพม่า
เพราะเรียกว่า ฟ้อนม่าน แต่ฟ้อนม่านมงคลนี้น่าจะเป็นของไทย สังเกตได้จากท่ารำที่อ่อนช้อยงดงาม มีเพียงท่ารำในตอนต้น
เท่านั้นที่ดัดแปลงมาจากของพม่า หากเป็นการฟ้อนรำของพม่า จะมีลีลาและจังหวะในการฟ้อนรำที่รวดเร็วและเร่งเร้ากว่าของ
ไทย น่าจะเป็นไปได้ที่ไทยประดิษฐ์ท่ารำขึ้น โดยอาศัยท่ารำของภาคเหนือ และมีท่ารำของภาคกลางปนด้วย โดยอาศัย
เค้าโครงเรื่องราชาธิราช ซึ่งเป็นตำนานพงศาวดาร เพลงฟ้อนม่านมงคลนี้ มีผู้นำทำนองเพลงฟ้อนม่านมงคลไปใส่เนื้อร้องเป็ฯ
แบบเพลงไทยสากล ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก จนครูมนตรี ตราโมท ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำในฐานะผู้แต่ง
ทำนองเพลง

การแต่งกาย

เป็นแบบพม่า นุ่งผ้าซิ่นกรอมเท้า ใส่เสื้อเอวสั้น ริมเสื้อโครงในมีลวดอ่อนงอนขึ้นจากเอวเล็กน้อย เสื้อแขนยาวถึงข้อมือ มีแพร

คล้องคอ ทิ้งชายลงมาถึงเข่า เกล้าผมทัดดอกไม้ มีอุบะห้อยมาทางด้านซ้าย
























โอกาสที่แสดง

ใช้แสดงในงานสมโภช งานต้อนรับ และโอกาสเบ็ดเตล็ดต่างๆ

ระบำไตรรัตน์

ระบำไตรรัตน์ เป็นการแสดงที่วิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพ ได้อัญเชิญบทร้องพระราชนิพนธ์ของ
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ในละครพูด เรื่องปล่อยแก่ ของนายบัว วิเศษกุล ซึ่งเป็นบทส่งท้ายตอน
จบ ของละครเรื่องนั้น ใช้ทำนองแขก บรเทศ เรียกกันทั่วไปว่า เพลงพุทธานุภาพ หมายถึง ธรรมมา
นุภาพของพระรัตนตรัย ซึ่งดลบันดาลให้เกิดสรรพมงคล และสุขสวัสดิ์ แก่ผู้ชมโดยทั่วหน้า

โอกาสที่แสดง งานมงคลทั่วไป

เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่ โดยใช้
เนื้อเพลงของเก่าทีมีอยู่แล้ว ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระ
ราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
แล้วนำมาใส่ทำนองเพลงบรเทศ เป็นชุดที่นิยมนำมา

แสดงในงานมงคลทั่วไป

ระบำ พม่า-ไทยอธิษฐาน

ระบำชุดนี้จัดเป็นระบำชุดพิเศษที่มีความหมายในด้านเจริญ
สัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ในปี พ.ศ.2498 ๆพลๆ จอมพล ป. พิบูล
สงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มีบัญชาให้กรมศิลปากรนำคณะ
นาฏศิลป์ไปแสดงเผยแพร่ในฐานะทูตวัฒนธรรม ณ ประเทศ พม่า
ท่านผู้หญิง แผ้ว สนิทวงศ์เสนี,ครู ลมุล ยมะคุปต์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
ครูมนตรี ตราโมท เป็นผู้ประพันธ์บทร้องและทำนองเพลง นายวิชิต มณ
ไทวงศ์ ถอดคำแปลเป็นภาษาพม่า

ท่ารำเป็นท่ารำของนาฏศิลป์ไทยและลีลานาฏศิลป์พม่า ผสานกัน
นับว่าเป็นการแสดงที่สวยสดงดงามอีกชุดหนึ่ง

รูปแบบและลกัษณะการแสดง
การแสดงระบำ พม่า-ไทยอธิษฐาน เป็นระบำที่มีความหมายแสดงให้
เห็นถึงสัมพันธภาพอันดีงามระหวา่งไทยกับ พม่า ในท่วงท่างดงามตาม
บทร้องและทำ นองเพลง ที่หมายถึงท้งัสองชาติจะรักกัน ดุจพี่น้อง ร่วม
อุธรณ์โดยยดึถือในพุทธศาสนาเป็นหนึ่งเดียวกนั ลกัษณะการแสดง
เป็นการรำหมู่ของผู้แสดงฝ่ายหญิง โดยแบ่งเป็นไทยและพม่าฝ่ายละ

๓ คน การรำแบ่งเป็นขั้น ตอนต่าง ๆ ไดด้งัน้ี
ขั้น ตอนที่ ๑ รำออกตามทำนองเพลง
ขั้น ตอนที่๒ รำตีบทตามบทขับร้อง
ขั้น ตอนที่๓ รำเข้าตามทำนองเพลง

ดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เครื่องแต่งกาย
ใชว้งปี่พาทยไม้น้วม เพลงที่ใชป้ ระกอบการแสดง ไดเแก่ พม่าแต่งกายด้วยชุดประจำ ชาติใส่เส้ือแขนยาว สวมกระโปรงยาวศีรษะ
เกล้าเป็นมวยสูง มีผม ห้อยยาวลงมาข้างแก้ม ด้านขวา ประดับผมด้วยมุก
รัวพม่า เพลงระบา พม่า-ไทยอธิษฐาน สอง และดอกไม้ใส่เครื่องประดับ มุกไทยแต่งกาย นุ่งกระโปรงจีบหนา้นาง
ชั้น และชั้นเดียว-รัวพม่า
ห่มสไบพลีททับ ด้วยผ้ากรองสีทองศีรษะ ทำ ผมเกลา้สูง
ใส่เกี้ยวและเครื่องประดับ



ระบำจีน-ไทยไมตรี

ระบำจีน-ไทยไมตรี เป็นระบำที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยรัฐบาลไทยได้
มอบหมายให้ นายรังสฤษด์ เชาวนศิริ อธิบดีกรมศิลปากร นำคณะนาฏศิลป์ไทยไป
แลกเปลี่ยนศิลป วัฒนธรรม ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยนายมนตรี ตราโมท
ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรี
ไทย) ประพันธ์บทร้องภาษาไทย และทำนองเพลง ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(นาฏศิลป์ไทย) เป็นผู้ ประดิษฐ์ท่ารำ โดยมีลักษณะท่ารำเป็นท่ารำที่มีลีลาผสมผสาน
กัน ระหว่างนาฏศิลป์ไทยกับนาฏศิลป์จีน ซึ่งต่อมาได้นำบทเพลงไป แปลเป็นภาษา
จีน และเมื่อเดินทางไปแสดง ณ กรุงปักกิ่ง ในครั้งแรกนั้นได้มีศิลปินจีนช่วย
แนะนำตกแต่งลีลาท่ารำ และเครื่องแต่งกายให้เป็นแบบจีนมากขึ้น

บทร้องระบำจีน-ไทยไมตรี

- ร้องเพลงระบำจีน-ไทยไมตรี -

จีนไทยในสมัยหลายพันปีผ่าน ร่วมฤดีรักมั่นกันทั้งสอง

ด้วยสืบสายสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง ที่เกี่ยวดองกันมาแต่คราบรรพ์

แม้บัดนี้ยิ่งเหนี่ยวเกลียวไมตรี แนบฤดีผูกรักสมัครมั่น

ดั่งเชือกเกลียวเหนียวมิตรสนิทกัน ตรึงกระสันรักครองสองพารา

คู่มิตรแท้จีนไทยใจมั่นมิตร แนบสนิทสัมพันธ์กันแน่นหนา

ไม่มีวันแตกรานเสื่อมโรยรา ซึ่งเป็นสัจวาจาที่จริงใจ

หากว่าใครขาดเหลือต่างเผื่อแผ่ ช่วยกันแก้อุปสรรคไม่ผลักไส

ขอฟ้าดินเป็นพยานอันเกรียงไกร ว่าจีนไทยไมตรีมั่นนิรันดร์เทอญ

บทร้องภาษาจีนเพลงจงไท้โยว่บี

ซู่เทียนเหลียนไหลจุงไท้เหลี่ยงกั๋ว เสียโถ่งซิน จิ้นหยู ซุงหยูตี้

เหลียงเชียง เจียงหวัง เฮะจัวอู๋เจียน ฉวนโถงโย่วยี่ ซุย โย่วจงต้วน

ปี่ฉื่อหวายเนียน เหยินหยาน ฉวนไจ้ หยูจินปัง เจียงฉง ไจ้จางไค

จงไท้ฉิ่ง หยีเชียง ไอ้หวูเจียน เซียนไจ้จง ไท้ถง เหวยซินไอ้

ปี่ฉื่อฉิ่ง ยี่ยูว์ลิง เจียนเฉียน หย่งเจี้ย ถงซิน เหียนจิ่วตี้ฉาน

อีจี้อี่โต้ง จิงเถิง เซียงไต้ หยูหยื้ย คุ่นครู่ยิง หยีบังหมาง

เฉินซิน เฉินยีจัว ปุหยิง ย้วน หวางเทียนไจ้ ฉั้งเป่า ยิ้ว จุงไท้

เหลียงกิ๋ว ฉิง ยีโย่ง เหิงปุต้วน

สแกนรับชมการแสดงที่นี่เลยค่ะ

ระบํามิตรสัมพันธ์มั่นใจ ไทย-เกาหลี

ระบำมิตรสัมพันธ์มั่นใจไทย-เกาหลี
ระบำชุดนี้เป็นการแสดงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและ
เกาหลี มีลีลาทำรำที่ผสมผสาน กันทั้งไทยและเกาหลี โดยเกาหลีจะ
มีอุปกรณ์ประกอบการแสดง คือ พัด ลักษณะการแต่งกาย
หญิงไทยใส่ชุดนางใน หญิงเกาหลีแต่งชุดแบบเกาหลี แต่งบทร้อง
และทำนองเพลงโดยนายเสํ หวังในธรรม คิดประดิษฐ์ทำรำโดย

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

บทร้อง ระบำมิตรสัมพันธ์มั่นใจไทย-เกาหลี
-ปีพาทย์ทำเพลงลาวเจริญศรี-
-ร้องเพลงลาวเจริญศรี-

มิตรสัมพันธ์มั่นใจไทยเกาหลี เป็นน้องพี่มาแต่กาลโบราณสมัย
แม้บ้านเมืองอยู่ห่างทิศทางไกล แต่น้ำใจแนบอุราสามัคคี

ปี่พาทย์ทำเพลงลาวเจริญศรี-
-ร้องเพลงลาวต่อนก-

เรารวมรักแสนรักสมัครมั่น มิตรสัมพันธ์มั่นใจไม่หน่ายหนี
จะธำรงคงมั่นขวัญชีวี มิตรไมตรีรวมฤดีเกาหลี-ไทย
-เดี่ยวจะเข้เพลง (ซุ้ม) ลาวแพน-



สแกนรับชมการแสดง

ระบำลาว-ไทยปณิธาน

ระบำลาว-ไทยปณิธาน Rabam of Laos - Thai
Friendship

.
ระบำลาว-ไทยปณิธาน เป็นการแสดงเพื่อสร้างสรรค์
สัมพันธไมตรี ระหว่างชาติไทยและชาติลาว ผู้แสดง
แต่งกายแบบหญิงสาวชาวลาวและชาวไทย ออกมารำร่วม
กันตามเนื้อร้องที่กล่าวถึงไทยและลาว ซึ่งมีความสัมพันธ์
ฉันท์พี่น้องร่วมพงศ์เผ่ากันมาเป็นเวลาช้านาน แต่กาล
เวลาทำให้พี่น้องต้องแยกจากกันเป็นสองประเทศ โดยมี
ลำแม่น้ำโขงขวางกั้นเขตแดนไว้ อย่างไรก็ดีทั้งสองชาติก็
ยังผูกสมัครรักกันฉันท์บ้านพี่
เมืองน้อง เนื้อร้องและทำนองเพลงประพันธ์โดย นาย
มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่ง
ชาติ ประดิษฐ์ท่ารำโดย ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ ร่วมกับ
นางละมุน ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย

สแกนรับชมการแสดง

ฉุยฉายวันทอง เป็นชุดการแสดงรำเดี่ยวตัวนางที่สวยงาม ฉุยฉายวันทอง
อีกชุดหนึ่ง อยู่ในการแสดงละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระ
ไวยแตกทัพ กล่าวถึง ความรัก ความผูกพันของผู้เป็นมารดาที่
ถ่ายทอดออกมาทางลีลาท่ารำเมื่อแปลงร่างเป็นหญิงสาวงาม
เนื้อเรื่องกล่าวถึงนางวันทองที่ตายไปเป็นเปรต สงสารลูกชายที่
จะต้องไปออกรบจึงแปลงกายเป็นหญิงสาวแรกรุ่นเพื่อจะห้าม
ทัพ แต่เมื่อพระไวยเห็นหญิงงามจึงเกิดหลงรักและเข้ามาเกี้ยว
พาราสี นางวันทองจึงกลายกลับเป็นร่างเดิมและสารภาพว่าเป็น
มารดาของพระไวยเอง

การถ่ายทอดท่ารำฉุยฉายฉุยฉายวันทองมีประวัติพอสังเขปดังนี้
นางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฎ
ศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์)
ปีพุทธศักราช 2530 เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดกระบวนท่ารำฉุยฉาย
วันทองมาจากหม่อมครูนุ่ม นวรัตน์ ณ อยุธยา เมื่อครั้งฝึกหัดละครอยู่
ที่วังสวนกุหลาบ นางสาวจำเรียง พุธประดับ ผู้เชี่ยวชาญการสอน
นาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฎศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขา
ศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช 2531 เป็นผู้ได้รับการ
ถ่ายทอดกระบวนท่ารำฉุยฉายวันทองมาจากหม่อมครูต่วน (นางศุภ
ลักษณ์ ภัทรวานิก) ดังปรากฏข้อมูลจากหนังสือ กรมศิลปากร
(2551, หน้า 105)

ดนตรี
วงปี่พาทย์ไม้แข็งหรือปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย ระนาด ฆ้องวง ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง และปี่ใน เพลงที่ใช้
ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงรัว เพลงฉุยฉาย เพลงแม่ศรี เพลงเร็ว และเพลงลา
เพลงรัว เป็นเพลงหน้าพาทย์เบื้องต้น ใช้สำหรับการแสดงฤทธิ์หรือการเกิดปรากฏการณ์โดยฉับพลัน
เพลงฉุยฉาย เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบกิริยาของตัวโขนและละครแสดงถึงความภาคภูมิใจในความงาม
เพลงแม่ศรี เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดงกิริยาสนุกสนาน ร่าเริง แสดงอารมณ์และความภาคภูมิใจใน
ความงาม
เพลงรัว เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดงกิริยาการเดินอย่างนวยนาด
เพลงลา เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงต่อจากเพลงเร็ว เมื่อจบการรำ การแต่งกาย

รูปแบบการรำ

๑. ออกด้วยเพลงรัว รำท่าสอดสร้อยมาลา แล้วป้องหน้า สแกนรับชมการแสดงที่นี่ได้เลยนะคะ
๒. บทร้อง รำตีบท ตามคำร้องฉุยฉายและแม่ศรี
๓. จบเพลงเร็ว – ลา รำตามทำนองเพลง

ฉุยฉายพราหมณ์

โอกาสที่ใช้แสดง ใช้เป็นการ
รำเบิกโรงและการแสดงใน
งานเบ็ดเตล็ดทั่วไป

ดนตรีประกอบการแสดง
ใช้วงปี่ พาทย์บรรเลง

รำฉุยฉายพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของการร่ายรำที่งดงามของตัวละครประเภทพระ จากบทพระราชนิพนธ์เบิกโรงดึกดำบรรพ์
เรื่องพระคเณศเสียงา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เนื้อเรื่องย่อมีอยู่ว่า ปรศุรามเจ้าแห่งพราหมณ์ทะนง
ตัวว่าเป็นที่โปรดปรานของพระอิศวร คิดจะเข้าเฝ้าในโอกาสที่ไม่สมควรพระคเณศได้ห้ามปราม ในที่สุดเกิดการวิวาท ปรศุราม
ขว้างขวานโดนงาซ้ายพระคเณศหักสะบั้นไป พระอุมากริ้วปรศุรามจึงสาปให้หมดกำลังล้มกลิ้งดั่งท่อนไม้พระนารายณ์ทรงเล็งเห็น
และเกรงว่าคณะพราหมณ์จะขาดผู้ปกป้อง อีกทั้งทรงทราบว่าพระอุมา ทรงเมตตาต่อเด็ก จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์น้อย ซึ่งเป็น
ปฐมเหตุให้เกิดการรำฉุยฉายพราหมณ์ขึ้น เนื้อเรื่องต่อไปพระอุมาประทานพรให้พราหมณ์ และสามารถแก้ไขคำสาปให้กลับกลาย
เป็นดีได้ในที่สุด

การรำฉุยฉายพราหมณ์มีกำเนิดขึ้นในครั้งนั้น และเชื่อกันว่าเป็นศิลปะการร่ายรำที่งดงาม เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ลีลาท่า
รำนั้นเชื่อกันว่าเป็นผลงานของพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) สืบทอดผ่านมา แต่รูปแบบท่าร่ายรำในปัจจุบันของกรม
ศิลปากร เป็นผลงานการปรับปรุงของนางลมุล ยมะคุปต์ อดีตผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร โดย
เป็นลีลาท่ารำของตัวพระที่มีลักษณะของความเป็นหนุ่มน้อยที่มีความงดงามและท่าที่นวยนาดกรีดกราย

การบรรเลงดนตรีในเพลงฉุยฉาย

ฉุยฉายเป็นเพลงในอัตราจังหวะ ๒ ชั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมการร้องเพลงฉุยฉาย ใช้ดนตรีรับ ๑ - ๒ เที่ยว
ทุกๆท่อน แต่ปัจจุบันนิยมใช้ปี่รับเพียงเที่ยวเดียว ตามปกติเพลงฉุยฉายจะมีเพลง ๒ เพลงรวมอยู่ด้วยกัน คือเพลงฉุยฉาย
และเพลงแม่ศรี โดยที่ในตอนแรกจะร้องเพลงฉุยฉายก่อน ร้องหมดท่อนหนึ่งก็มีปี่เป่าเลียนทำนอง และเสียงร้องเพียงชิ้น
เดียวก่อน แล้วจึงบรรเลงรับต่อด้วยเพลงแม่ศรีติดต่อกันไป การที่ต้องร้องเพลงฉุยฉาย และเพลงแม่ศรีติดต่อกันนั้น เพราะ
ถือว่า เพลงฉุยฉายเป็นเพลงช้า เพลงแม่ศรีเป็นเพลงเร็วซึ่งเป็นเพลง ๒ ชั้น เรียกตามหน้าทับว่า "สองไม้" การบรรเลง
ดนตรีจะเริ่มด้วยเพลงรัว ร้องเพลงฉุยฉาย และเพลงแม่ศรี จบด้วยเพลงเร็ว - ลา ซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมโดยทั่วไป

ฉุยฉายพราหมณ์

โอกาสที่ใช้แสดง ใช้เป็นการ
รำเบิกโรงและการแสดงใน
งานเบ็ดเตล็ดทั่วไป
ดนตรีประกอบการแสดง
ใช้วงปี่ พาทย์บรรเลง

สแกนรับชมการแสดงที่นี่ได้เลยนะคะ

ฉุยฉายหนุมานทรงเครื่อง

รำฉุยฉาย เป็นการรำเดี่ยวอย่างหนึ่ง ที่มีทั้งในการแสดงโขนและละคร
ทุกประเภท เพื่อร่ายรำอวดฝีมือ ลีลา ท่าทาง โดยเนื้อหาของเพลงจะบรรยาย
ให้เห็นบุคลิก ลักษณะ นิสัย ความเป็นมาและความสวบงานของเสื้อผ้า
อาภรณ์ เครื่องประดับ ของตัวละครที่เป็นตัวสำคัญในเรื่องนั้นๆ เช่น
ฉุยฉายพราหมณ์ ฉุยฉายวันทอง ฉุยฉายบุเรงนอง ฉุยฉายเบญกาย ฯลฯ
สำหรับการแสดงในครั้งนี้ จะเป็นการแสดง รำฉุยฉายหนุมานทรงเครื่อง
โดยตัวหนุมาน ซึ่งเป็นลิงตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ที่ต้องแต่งองค์ทรงเครื่อง
แบบยักษ์ การร่ายรำอยู่ในตอนหนึ่ง ที่มีชื่อตอนเรียกกันว่า “ชูกล่อง
ดวงใจ” อันเนื้อหานั้นมีโดยสรุปดังนี้

หนุมานได้รับอาสาพระรามเพื่อไปล่อลวงเอากล่องดวงใจของทศกัณฐ์
อันพระฤษีโคบุตรได้ทำพิธีถอดออกจากร่างทศกัณฐ์แล้วเก็บรักษาไว้ โดย
หนุมานทำกลอุบายลวงพระฤษีโคบุตรว่า ตนถูกพระรามขับไล่ ทั้งยังร่าย
เวทย์จนพระฤษียอมพาไปฝากเป็นข้าทหารของทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์ไม่รู้ใน
กลล่วงของหนุมาน ทั้งหวังว่าจะได้หนุมานช่วยตนทำศึกกับพระราม จึงรับ
หนุมานให้อยู่ในลงกา ซ้ำยังแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอุปราช เที่ยบเท่ากับ
อินทรชิตพระโอรส และประทานปราสาทราชฐาน สาวสรรค์กำนันใน ตลอด
จนเครื่องทรงอสูรของอินทรชิตแก่หนุมานให้แต่งองค์ทรงเครื่อง เมื่อยกทัพ
ออกทำสงครามกับฝ่ายพระรามด้วยเนื้อหาดังกล่าว นายเสรี หวังในธรรม
ศิลปินแห่งชาติจึงได้ประพันธ์บทร้องรำฉุยฉายขึ้นและให้ผูเชี่ยงชาญ
นาฏศิลป์ไทย(โขน) ประดิษฐ์ท่ารำให้ตัวหนุมาน เป็นผู้ถ่ายทอดบุคลิก
ลักษณะนิสัยและความเป็นมาตลอดจนลักษณะเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวมใส่ให้
ผู้ชมเห็นได้อย่างชัดเจน

สแกนรับชมการแสดงที่นี่ได้เลยนะคะ

ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน

ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน เป็นการแสดงชุดหนึ่งในโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนทศ
กัณฐ์ลงสวนเป็นบทบาทของทศกัณฐ์ เมื่อทศกัณฐ์ลักพานางสีดามาไว้ที่สวนขวัญแล้ว
ก็แต่งกายทรงเครื่องงดงามเพื่อลงไปเกี้ยวนางสีดาที่สวนขวัญ การรำฉุยฉายทศกัณฐ์
ลงสวน เป็นการรำของทศกัณฐ์เพื่ออวดเครื่องแต่งกายที่สง่างาม เพื่อเตรียมตัวไป
เกี้ยวพาราสีนางสีดา

ลักษณะและรูปแบบการแสดง ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน เป็นการแสดงรำ
เดี่ยว ที่อวดลีลาท่ารำที่สง่างาม มีกระบวนท่ารำตามแบบแผนนาฏศิลป์ไทย

ลักษณะรูปแบบการแสดง แสดงได้ ๒ แบบคือ
๑. เป็นการแสดงชุดหนึ่งในโขนเรื่องรามเกียรติ์

ตอนทศกัณฐ์ลงสวน
๒. เป็นการรำเดี่ยว ที่มีกระบวนท่าและลีลาสื่อ

อารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับความรัก
การแต่งกาย

ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน แต่งกายยืนเครื่องยักษ์สี
เขียว แดง หัวโขนทศกัณฐ์หน้าทอง ห้อยผ้าแดงที่ไหล่ ถือ
พัดกรีดกรายแสดงกิริยาเจ้าชู้ จนเรียกกันว่ามีลีลาแบบเจ้าชู้
ยักษ์ เครื่องแต่งกายมีดังนี้

ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน

เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบ

การแสดงฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน คือวงปี่
พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วยปี่ใน ระนาด
เอก ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพนและฉิ่ง

เนื้อร้องและทำนองเพลง
เพลงฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวนเป็นเพลง

อัตรา ๒ ชั้น ( เหมือนฉุยฉายพราหมณ์ ) จนถึง
ต่อด้วยเพลงแม่ศรี เพลงฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน
มีเนื้อร้องดังนี้

ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน ใช้แสดงได้ ๒
โอกาสคือ

๑. เป็นการแสดงประกอบการแสดงโขน
เรื่องรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ลงสวน

๒. เป็นการแสดงชุดมาตรฐานประเภทรำ
เดี่ยวที่มีท่วงท่าลีลาที่เป็นแบบแผนนาฏศิลป์ไทย

สแกนรับชมการแสดงที่นี่ได้เลยนะคะ

ใบความรู้ที่ ๑๖

ระบำโบราณคดี























ใบลคะวคราสมร้ารงู้สรทีร่ค์17

ละครสร้างสรรค์

ละครสร้างสรรค์ ละครสร้างสรรค์ (Creative Dama) คือ ละครที่ไม่
เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องจัดแสดง บนเวทีเป็นการแสดงบทบาทสมมุติเลียน
แบบจากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ความบันเทิงและพัฒนา
จิตใจ ละครสร้างสรรค์อาจใช้ "เรื่อง" หรือ "นิทาน" เป็นจุดเริ่มดันในการแสดง
ซึ่งเรื่องที่ดีจะต้อง มีโดรงสร้างของเรื่องที่ดี คือมีการดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ
ช่วย่ให้การแสดงมีทิศทางและมี ความหมาย บางครั้งละครสร้างสรรค์ก็เริ่มจากแรง
จูงใจอื่น เช่น ข้อเท็จจริง รูปภาพ วัตถุสิ่งของ บทเพลง คนตรี บทกวี ปริศนา
คำทาย เป็นตัน

องค์ประกอบของละครสร้างสรรค์

โครงเรื่อง หรือเนื้อเรื่อง (Plor) จะต้องมีการวางโดรงเรื่อง หรือเลือกเรื่องที่จะใช้ในการแสดง เป็นเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน หรือเศร้า และ
มีการสอดแทรกข้อคิดต่างๆ ตัวละครให้สอดดล้องกับเนื้อหาของเรื่อง และตัวละครอื่นๆ ต้องเลือกบุคคลที่ตมารถถ่ายทอดอารมณ์

ตัวละคร (Charactcr) ตัวละครในการแสดงจะต้องมีการกำหนดบุคลิกลักษณะของความรู้สึกของตัวละครตัวนั้นได้สมจริง

สถานการณ์ (Siuation) ดีอ เหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้น ทำให้ตัวละครต้องพบเจอ ซึ่งเหตุการณ์จะต้องสัมพันธ์กัน มีคุณค่ในเนื้อ
เรื่อง เป็นสถานการณ์ที่จะช่วยฝึกให้ผู้แสดงมีจินตนาการสร้างสรรค์ในการแสดงได้

ความขัดแย้ง (Confic) คือ สร้างปัญหาความขัดแย้งให้กับตัวละคร แบ่งเป็นความแค้น ภายในจิตใจของตัวละครเอง และความขัดแย้ง
ของตัวละครกับสิ่งรอบข้าง

กิจกรรมเพื่อใช้ฝึกเป็นพื้นฐานในการแสดง

1. การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้กลิ่น การสัมผัส การได้ยิน รวมทั้งการ
ลิ้มรส ประสาทสัมผัสทั้ง 5 นี้ มีความจำเป็นต่อการพัฒนาด้านการแสดงเป็นอย่างยิ่ง นักแสดงสามารถฝึกได้ดังนี้

การมอง นักแสดงมองเห็นสิ่งต่างๆ แล้วสามารถแยกประเภทของสิ่งต่างๆ ได้
การฟัง นักแสดงฟังเสียงต่าง ๆ แล้วสามารถบอกได้ว่าเป็นเสียงอะไร
การคมกลิ่น นักแสดงดมกลิ่นแล้วบอกได้ว่าเป็นกลิ่นของอะไร
การลิ้มรส ให้นักแสดงลองปิดตาลิ้มรสอาหาร แล้วบอกว่าเป็นอะไร
การสัมผัส ให้นักแสดงหลับตาดลำสิ่งของต่าง ๆ แล้วบอกว่าของนั้นคืออะไร

2. การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ การแสดงไม่ใช่เพียงแค่อาศัยบทพูดเจรจาเพียงอย่างเดียว ที่จะใช้ในการ
สื่อความหมายหรือแสดงให้เห็นอุปนิสัยใจคอ เรื่องราวต่างๆ เท่านั้น ยังมีการแสดงท่าทางการเคลื่อนไหว
เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ให้ผู้แสดงดูมีชีวิตชีวา ทำให้การแสดงดูน่าติดตามนอกจากนี้การเคลื่อนไหวยัง
ช่วยสร้างบรรยากาศและช่วยเสริมสร้างบุดลิกภาพของผู้แสดงได้อย่างดีการฝึกการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
ผู้แสดงจะจินตนาการโดยใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือเพื่อ สื่อความหมายแทนคำพูด เช่น การฝึกละครใบ้
เป็นต้น

กิจกรรมเพื่อใช้ฝึกเป็นพื้นฐานในการแสดง

3. การใช้จังหวะเสียง น้ำเสียงของผู้แสดงละครจะสื่อสารให้ผู้ชมเห็นถึงความรู้สึกนึกคิด นิสัย จินตนาการ และ
อารมณ์ของผู้แสดงในแต่ละบทบาท เช่น การ์ฝึกละครสด คือ การแสดง ที่ผู้แสดงใช้คำพูดในการสื่อสารและมี
ปฏิภาณไหวพริบในการพูดโต้ตอบ ในการใช้น้ำเสียงของผู้แสดง จะมีทั้งการใช้น้ำเสียงทุ้ม แหลม ดัง เบา
รวมไปถึงคุณภาพของเสียงที่สอดคล้องกันกับจังหวะ ของการเคลื่อนไหวไปตามบทบาทและจังหวะของการพูด

4. การใช้บทบาทสมมุติและภาษา การที่ผู้แสดงจะแสดงบทบาทเป็นตัวละครใดนั้น ขึ้นอยู่กับ
ผู้สร้างหรือผู้กำกับการแสดงที่จะเป็นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสมของผู้แสดงกับบทบาท ที่จะได้รับ
จากนั้นเมื่อผู้แสดงได้รับบทบาทใดแล้ว จะต้องพิจารณาถึงบทบาทความรู้สึกนึกคิด ของตัวละครที่ได้
รับ ว่าตัวละครนั้นมีบุคลิกท่าทาง อุปนิสัยเป็นอย่างไร จากนั้นผู้แสดงละคร จะต้องสำรวจให้เห็นถึง
การกระทำที่ได้เคยกระทำไปแล้วของตัวละครว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้เกิด เรื่องราวต่าง ๆ ในเหตุการณ์
หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตัวละครนั้น และมีอารมณ์ความรู้สึก อย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น รวมไปถึง
ต้องพิจารณาถึงยุดสมัยของเรื่องราวที่จะแสดง และฐานะ เมื่อพิจารณาอย่ถ้ำสวมบทบาทของตัวสะครที่
เป็นคนธรมดำ จะใช้ภาษาในการแสดงที่เป็นภาษาพูดธรมตาที่ไม่เป็นทางการนัก หรือหากสวม
บทบาทเป็นผู้ที่มีฐานันตรศักดิ์ ก็จำเป็นต้องใช้คำราชาศัพท์ การใช้ภาษา ดามยุคสมัยในละครย้อน
ยุด ภาษาพื้นถิ่นแต่ละภาด

การจัดการแสดละคร

การจัดการแสดงละครนั้นจะต้องคำนึงถึง
โครงสร้างของละคร ซึ่งก็คือรูปแบบของ
การดำเนินเรื่องนั่นเอง

1.โครงเรื่อง (Plot) คือ การรวมเอาสถานการณ์และเหตุการณ์ต่างๆ ใน
เรื่องที่มีความสัมพันธ์ ต่อเนื่องกัน ทั้งปัญหา จุดสนใจและสิ่งที่นำตื่น
เต้น การแก้ปัญหาต่างๆ ไปจนถึงจุดจบของเรื่อง

1) เหตุการณ์ต่างๆ เด่นซัด และมีความสัมพันธ์กันดี
2) สามารถสร้างความสนใจจากผู้ชมได้ดี เมื่อถึงตอนสำคัญของเรื่อง
3) ดำเนินเรื่องได้น่าสนใจ ไม่นำเบื่อ
4) ทำให้ผู้ชมเข้าถึงอารมณ์ของการแสดงได้
๕) การสร้างจุดจบของเรื่องที่น่สนใจและเหมาะสม
6) สร้างความนำสนจระหว่างตัวละครกับเนื้อเรื่องได้อย่างเหมาะสม

2. การเริ่มเรื่อง (Exposition) เมื่อละตรเริ่มแสดงจะต้องมี
วิธีการนำเรื่องให้ผู้ชมทราบถึงเรื่องราวพอสังเขป เพื่อให้ผู้
ชมดูละครด้วยความเข้าใจ และทราบว่าเป็นละครชนิดไหน
เกิดเหตุการ การเริ่มเรื่อง (Exposition) เมื่อละตรเริ่มแสดง
จะต้องมีวิธีการนำเรื่องให้ผู้ชมทราบถึง ใดขึ้น การเริ่มเรื่อง
จะต้องประกอบไปด้วย ใคร (Who) ทำไม (Why) ที่ไหน
(Where) เมื่อไร (When) ซึ่งการเริ่มเรื่องจะไม่ยาวนานนัก
อาจมีการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการเริ่มเรื่องเพื่อช่วยให้ผู้ชม
เข้าใจ ยิ่งขึ้น เช่น การพูดนำคุยกันทางโทรศัพท์ เล่าตอน
ใดตอนหนึ่งของเรื่อง การแต่งตัว การจัดฉาก เป็นต้น

การจัดการแสดละคร

3. เหตุการณ์เริ่มเรื่องหรือปฐมบท (Iniia Incident) เหตุการณ์เริ่มเรื่องเป็น
เหตุการณ์สำคัญเริ่มแรกที่จะนำไปสู่เหตุการณ์อื่นๆ ตลอดเรื่องว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
ถ้าหากมีการเริ่มเรื่องได้ดี ก็จะสามารถดึงความสนใจของผู้ชมได้เป็นอย่างดี

4. เหตุการณ์นำ (Rising Action) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อค่อย ๆ นำ
อารมณ์หรือเร้าอารมณ์ ของผู้ชมให้ตื่นเต้นจนไปถึงจุดสำคัญของเรื่อง

5. เหตุการณ์ตาม (Falling Action) คือ เหตุการณ์หลังจาก
ผ่านจุดสำคัญของเรื่อง ซึ่งทำให้ ผู้ชมเกิดความตึงเครียดหรือ
ความตื่นเต้นนั้นได้ลดลง จนไปสู่เหตุการณ์ปกติหรือไปสู่การ

ปิดฉาก

ในการจัดการแสดงละครนั้นผู้จัดการแสดง

จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1. วิธีจัด (Organization) การวางแผ่นการดำเนินการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแสดงละคร
2. เรื่องที่ใช้แสดง ( Theme) การตัดเลือกเรื่องที่จะนำมาแสดงนั้นจะต้องมีความเหมาะสมกับ
โอกาสและสถานการณ์นั้น
3. การคัดเลือกผู้แสดง (Casting) ต้องคัดเลือกผู้แสดงให้เหมาะสมกับบทบาทต่างๆ
4. บท/การตีบท (Scripu/Piay Interpretation) วิธีการแสตงอย่างสมบทบาทเข้าถึงตัวละคร
5. การเคลื่อนไหวบนเวที (Movemen!) จะต้องมีการซ้อมการแสดงบนเวที เพื่อกำหนดตำแหน่ง
ของผู้แสดง
6. ธุรกิจการเงิน (Stage Business) ดูแลควบคุมค่ใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดการ
แสดง เช่น คำอุปกรณ์ ฉาก เครื่องแต่งกาย เครื่องสำอาง เป็นตัน
7. การแบ่งหน้าที่เป็นฝ่ายต่าง ๆ (Grouping) เพื่อให้การจัดการแสดงมีความสมบูรณ์ในทุกด้าน
จึงควรจัดแบ่งหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน
8. วิธีการพูด (Speech) น้ำเสียงและภาษาของการพูดจะสามารถร้งความเชื่อ ความน่ตนใจ ให้ผู้
ชมเชื่อและมีอารมณ์ร่วมเข้าถึงบทบาทตัวละค่ร
9. สถานการณ์ที่บ่งบอกเวลา (Timing) เช่น ยุดสมัย ช่วงเวลากลางวัน-กลางคืน เป็นดัน
10. การสร้างตัวละคร (Creating the Character) การทำหนดบทบาทของตัวละควให้มีบุคลิก
ลักษณะใด มีฐานะความเป็นอยู่อย่างไร
11. เทคนิคการแสดง (Acting Technique) ผู้แสดงจะต้องมีวิธีการต่างๆ ที่จะแสดงออกมาได้
อย่างสมบทบาท รวมไปถึงการใช้เทคนิคของแสง สี เสียง
12. เครื่องแต่งกาย/การแต่งหน้า (Cxstume & Make "p การแต่งกายและการแต่งหน้าที่เหมาะ
สม กับบทบาท สถานะของตัวละกร ก็ยิ่งทำให้ผู้ชมเชื่อในการแสดงนั้น
13. อุปกรณ์ประกอบฉาก (props) เป็นสิ่งที่สามารถสร้างสถานการณ์ให้การแสดงหมจริงยิ่งขึ้น
14. ปัญหาต่ำาง ๆ (Pobem)ในกจัดการแสงนั้นอาจเกิดปัญหาต่ำง ๆ เช่น ความพร้อมของผู้แส
ตง ความพร้อมของอุปกรณ์ประกอบฉาก เป็นดัน

บุคคลที่มีหน้าที่สำคัญในการจัดการแสดง

ในการจัดการแสดงมีความจำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบตามหน้าที่ต่างๆ
ดังนี้

1. ผู้อำนวยการแสดง คือ หัวหน้าคณะหรือผู้จัดให้มีการแสดงละคร เป็นผู้กำหนดนโยบาย
กำหนดเรื่องที่จะแสดง เป็นผู้จัดหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เป็นผู้ตัดสินเรื่องสำคัญๆ เป็นผู้ดูแลค่า
ใช้จ่าย

2. ผู้กำกับการแสดง เป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด เป็นผู้รับผิดชอบการทำงาน มีความเข้าใจในงานที่จะต้องทำเสมอ
เช่น คัดเลือกผู้แสดงให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงรายละเอียดของเรื่อง กำหนดการฝึกซ้อม การเคลื่อนไหวบนเวที
เป็นที่ปรึกษาของฝ่ายฉากและเครื่องแต่งกาย มีความสามารถเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม

3. ผู้กำกับเวที เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การแสดงบนเวที มีความสมบูรณ์ต่อเนื่อง ซึ่งผู้แสดงทุกคนต้องเชื่อ
ฟัง และปฏิบัติตามขณะแสดงบนเวที

4. ฝ่ายฉาก เวที แสง สี เสียง และดนตรี แม้ว่าจะเป็นเพียงการฝึกการแสดงของนักเรียน นักเรียนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจ
เรื่องของการจัดฉาก การจัดเวที การใช้แสงเสียงและดนตรีประกอบการแสดง เพราะจะทำให้การแสดงมีชีวิตชีวาขึ้น และเป็นการฝึก
บุคลากรที่อยู่เบื้องหลังเวทีการแสดง ในการจัดฉาก เวที เครื่องประกอบฉาก และดนตรี เพื่อให้บรรยากาศสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง

5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายเครื่องแต่งกายและแต่งหน้า ผู้รับผิดชอบต้องรู้ว่าฉากใด มีตัวละครกี่ตัว ต้องแต่งกายแบบใด
และต้องสามารถแต่งหน้าตัวละครให้สมจริง เช่น คนชรา คนบาดเจ็บ คนพิการ เป็นต้น

6. ผู้เขียนบท ผู้เขียนบทเป็นบุคคลสำคัญของการละคร บทละครที่ดีจะต้องกำหนดจุดหมายให้ชัดเจนว่า จะต้องการสั่ง
อะไรกับผู้ดู เช่น แนวคิดของเรื่อง สอดแทรกคติสอนใจในด้านใด เป็นต้น

7. ผู้แสดง คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดในบทละครมาสู่ผู้ชม ผู้แสดงทุกคนในบทละครมีความ
สำคัญเท่าเทียมกัน นักแสดงที่ดีต้องมีจิตสำนึก จะทุ่มเทการฝึกซ้อม และสามารถแสดงได้ทุกบทบาท

การวิจารณ์และการประเมินการแสดง

วิจารณ์ และประเมินคุณภาพการแสดง มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ชมได้ช่วยขึ้แนะหรือ มีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาคุณภาพ
การแสดงทั้งนาฏติอปีและการละครให้มีคุณภาพมากขึ้นได้ยึดถือใช้เป็นแบบอย่างต่อไป ซึ่งการที่บุคดลจะวิจารณ์และประเมินคุณภาพ
การแฮดงได้อย่าง มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ได้รู้ได้ชมมามากพอสมควร สามารถอธิบายเทดูผอที่วิจารณ์หรือ
ประเมินให้คนอื่น ๆ เข้าใจได้แล้วต้องรู้สึกจริง รวมทั้งต้องมีจิตใจที่เป็นกลาง มีความเป็นรรม ปราศจากอดดีใด ๆ ซึ่งคำวิจารณ์และ
การประเมินคุณภาพการแสดงจากผู้เชี่ยวราญนั้นย่อมมีคุณค่และเป็นประโยชน์ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องจะได้นำไปใช้พัฒนาทักษะการแส
ดงนาฎติลปีสำหรับการประเมินผลเป็นสิ่งสำคัญของการทำละครสร้างสรรค์ เพราะการละครทุกประเภท เมื่อมีการแสดงก็ต้องมีการ
วิพากษ์วิจารณ์การแสดงว่เป็นอย่างไร ตัวละครตัวไหนแสดงดีที่สุดสามารถสร้างอารมณ์ใด้สมบทบาททำให้ผู้ชมเชื่อได้เพียงใด ใคร
แสดงได้ไม่สมบทบาท ยังไม่สามารถทำให้ผู้ชมเชื่อใด้ ควรต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรจึงจะแสดงได้ดีขึ้น การวิจารณ์นับเป็นบทสรุปสิ่ง
ที่แสดงไปแล้ว ส่งเสริมให้ผู้แสดงมีความมั่นใจในความพยายาม และรับรู้ผลสำเร็จของตนเอง รวมทั้งเป็นการชี้ให้เห็นแนวทางในการ
ปรับปรุงแก้ไขเพื่อการแสดงครั้งต่อไปจะแสดงใด้ดีขึ้น ซึ่งจะแบ่งหัวข้อออก ดังนี้

โครงเรื่อง (Plot)

เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีความขัดเจนเพียงพอ ผู้ชมสามารถเข้าใจเรื่องราว
เรื่องราวมีความน่าสนใจ เร้าอารมณ์ หรือมีความน่าติ้นเต้น
ตอนจบของเรื่องมีความเหมาะสม

การแสดง (Acting)

ผู้แสดงแสดงได้สมกับบทบาทที่ได้รับ ทำให้ผู้ชมเชื่อในด้ละครนั้นได้
ผู้แสดงสามารถแสดงให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมและคล้อยตามไปกับการแสดงนั้น
น้ำเสียงเหมาะสมกับบทบาท บุคลิกท่าทางของผู้แสดงมีความน่าสนใจ
การใช้วิธีการพูดและภาษาที่ใช้ในการแสะงมีความสมจริง

การจัดเวที (Staging)
การจัดฉากการแสดงมีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ถูกต้องตามสถานการณ์
การออกแบบฉากมีความสวยงามและมีศิลปะ
การจัดฉากการแสดงทำให้เกิดธรรถรสในการชมการแสดงมากขึ้น

ปฎิกิริยาของผู้ชมการแสดงละคร (Audience Reaction)
ผู้ชมมีความสนใจกับการแสดงละครตลอดเรื่อง ตั้งแต่ต้นจนกระทั่ง
จบ
สร้างความเชื่อให้ผู้ชมสามารถเชื่อในการแสดงและมีอารมณ์คล้อย
ตามไปกับการแสดงนั้น
สร้างความประทับใจให้ผู้ชมได้

หลักการวิจารณ์การแสดง ควรพิจารณาองค์ประกอบดังนี้

1. ความถูกต้องชัดเจนของเนื้อหาสาระ ตามแนวคิด เรื่องราว และ
วัตถุประสงค์ของการแสดง

2. แนวคิดหรือคุณค่าที่มีประโยชน์
3. ความงาม ความเหมาะสมขององค์ประกอบ รูปแบบ สัดส่วน วิธีการ
4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5. การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า ชาญฉลาด และเหมาะสม
6. ผลงานมีความเป็นเอกภาพ
7. คุณภาพของผู้แสดงเรื่องการใช้เสียง การแสดงท่าทางเคลื่อนไหว


Click to View FlipBook Version