รายงาน เรื่อง แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 จัดทำโดย นาย ณัฐพล เมฆจันทร์ รหัส 6521165040 เลขที่12 D13 เสนอ อาจารย์ ดร.พัชรีภรณ์ บางเขียว รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สาขาดนตรีตะวันตกศึกษา (คบ.) คณะ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1 คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มวิชาชีพครู หลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีจุดประสงค์ในการจัดทำ รายงานเล่มนี้ขึ้นเพื่อเป็นการรวบรวม และ สรุปข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรของ ไทยในศตวรรษที่ ๒๑ รายงานเล่มนี้นำสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาสร้างเป็นรายงานเพื่อเป็นประโยชน์ กับบุคคลที่กำลังศึกษาเรื่องแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรของไทยในศตวรรษที่ ๒๑ ทั้งนี้ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิต นักศึกษาและผู้ที่ กำลังศึกษาสนใจแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรหรือนำข้อมูลรวบรวม และ ต้องการข้อมูล เกี่ยวกับแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรของไทยในศตวรรษที่ ๒๑ ไปอ้างอิง หรือ ค้นคว้าเพื่อ พัฒนาต่อยอดต่อไปปรับใช้จนเกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อยเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามความ คาดหวัง หากมีข้อผิดพลาดประการใดเกิดขึ้นในรายงานฉบับนี้ทางผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ นาย ณัฐพล เมฆจันทร์
2 สารบัญ บทที่ หน้า บทที่1.สภาพปัจจุบันของหลักสูตรไทย..........................................................................................................5 หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐...........................................................................................................5 ความนำ.............................................................................................................................................5 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย......................................................................................................................5 วิศัยทัศน์............................................................................................................................................5 หลักการ.............................................................................................................................................6 จุดหมาย............................................................................................................................................7 คุณลักษณะที่พึงประสงค์.......................................................................................................................7 การอบรมเลี้ยงดูและการพัฒนาเด็ก.........................................................................................................8 สาระการเรียนรู้..................................................................................................................................10 การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์...............................................................................................13 แนวทางการอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี.............................................13 การประเมินพัฒนาการ .......................................................................................................................14 จุดหมาย..........................................................................................................................................15 มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์........................................................................................................15 การจัดเวลาเรียน................................................................................................................................16 การจัดประสบการณ์...........................................................................................................................16 การประเมินพัฒนาการ .......................................................................................................................18 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ .........................................................................19 หลักการ...........................................................................................................................................19 จุดหมาย..........................................................................................................................................20 คุณลักษณะอันพึงประสงค์...................................................................................................................20 มาตรฐานการเรียนรู้...........................................................................................................................21 ตัวชี้วัด ............................................................................................................................................21 สาระการเรียนรู้..................................................................................................................................22 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน.........................................................................................................................23 ระดับการศึกษา.................................................................................................................................24
3 การจัดเวลาเรียน................................................................................................................................24 การจัดการเรียนรู้...............................................................................................................................25 สื่อการเรียนรู้.....................................................................................................................................27 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้..........................................................................................................28 หลักสูตรการอาชีวศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช ๒๕๖๒ ...................................................30 หลักการ...........................................................................................................................................30 จุดหมายของหลักสูตร.........................................................................................................................31 หลักเกณฑ์การใช้...............................................................................................................................32 โครงสร้างหลักสูตร.............................................................................................................................33 การประเมินผลการเรียน......................................................................................................................35 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช ๒๕๖๓ ................................................................36 หลักการของหลักสูตร.........................................................................................................................36 จุดหมายของหลักสูตร.........................................................................................................................37 หลักเกณฑ์การใช้...............................................................................................................................38 การประเมินผลการเรียน......................................................................................................................41 หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ..................................................................................42 เป้าหมายการอาชีวศึกษา (มาตรา 6) ....................................................................................................42 แนวปฏิบัติของสถานศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษา..................................................................................42 การวัดผลและประเมินผลการเรียนและสําเร็จการศีกษา............................................................................43 หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) ......................................................................44 หลักการหลักการสำคัญของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ................................................44 ประกาศ ...........................................................................................................................................45 มาตรฐานการอุดมศึกษา.....................................................................................................................45 ตัวบ่งชี้.............................................................................................................................................46 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี..............................................................................................47 ระบบการจัดการศีกษา........................................................................................................................48 การคิดหน่วยกิต.................................................................................................................................48 โครงสร้างหลักสูตร.............................................................................................................................49 สรุปสภาพปัจจุบันของหลักสูตรไทย..........................................................................................................50 บทที่2สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทย.....................................................................................................51
4 สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560.........................................................51 สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ................................................................................................................................52 ปัญหาด้านครู....................................................................................................................................52 ปัญหาด้านผู้บริหาร โรงเรียน ...............................................................................................................52 ปัญหาด้านศึกษานิเทศก์......................................................................................................................52 ปัญหาด้านหน่วยงานกลาง ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ.........................................................................52 การจัดการเรียนการสอน .....................................................................................................................52 ด้านสื่อการเรียนการสอน.....................................................................................................................53 สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรการอาชีวศึกษา........................................................................53 สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐาน คุณวุฒิ อุดมศึกษา)...................54 สรุปสภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทย...................................................................................................54 ด้านหลักสูตร.....................................................................................................................................55 แนวทางแก้ไขและพัฒนาหลักสูตร ด้านหลักสูตร......................................................................................55 ด้านครูผู้สอน ....................................................................................................................................55 ด้านสื่อการเรียนการสอน.....................................................................................................................55 ด้านการจัดการเรียนการสอน ...............................................................................................................55 บทที่3.แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21........................................................................................56 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560.............................................56 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุง พุทธศักราช 2560)....................................................................................................................61 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรการอาชีวศึกษา ...........................................................62 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบ มาตรฐาน คุณวุฒิอุดมศึกษา) ......64 สรุปแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21........................................................................................65 สรุป.........................................................................................................................................................66 บรรณานุกรม ............................................................................................................................................68
5 บทที่ 1 สภาพปัจจุบันของหลักสูตรไทย หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ความนำ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาประถมวัยพุทธศักราช 2546 เพื่อให้สถานศึกษา หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดนำหลักสูตรฉบับนี้ไปใช้โดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับเด็กและสภาพท้องถิ่น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นที่เป็นปัญหาที่ มีอยู่รอบด้านและความไม่ชัดเจนของการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวมบนพื้นฐานการ อบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และ พัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคน ให้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และ ความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ วิศัยทัศน์ การศึกษาพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคมและสติปัญญาอย่างมี คุณภาพและต่อเนื่องได้รับการจัดประสบการณ์แต่ความสุขและเหมาะสมตามวัยมีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นคนดีและสำนึกความเป็นไทยโดยร่วมมือระหว่างสถานศึกษาพ่อแม่ ครอบครัวชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก
6 หลักการ เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมพัฒนาการ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ตลอดจนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่าง เหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับ ผู้สอน เด็กกับผู้เลี้ยงดู หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดู การพัฒนา และให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย เพื่อให้ เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างเป็นองค์รวม มีคุณภาพ และเต็มตาม ศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้ ๑. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน ๒. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และ ให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึง ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล และ วิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และ วัฒนธรรมไทย ๓. ยึดพัฒนาการ และ การพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย และ มีกิจกรรมที่หลากหลายได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับวัย และอมี การพักผ่อนเพียงพอ ๔. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฏิบัติตน ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข ๕. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก ระหว่างสถานศึกษากับ พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เด็กปฐมวัย
7 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี จัดขึ้นสำหรับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือผู้ที่ เกี่ยวข้อง กับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก เพื่อใช้เป็นแนวทางการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้ อย่างเหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล จุดหมาย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี มุ่งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความสนใจ และความแตกต่างระหว่าง บุคคล ดังนี้ ๑.ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และ มีสุขภาพดี ๒. สุขภาพจิตดีและมีความสุข ๓. มีทักษะชีวิตและสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ๔. มีทักษะการใช้ภาษาสื่อสาร และสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้ ๑. พัฒนาการด้านร่างกาย ๑.๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดร ๑.๒ ใช้อวัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธ์กัน ๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ๒.๑ มีความสุขและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย ๓. พัฒนาการด้านสังคม ๓.๑ รับรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ๓.๒ ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย ๔. พัฒนาการด้านสติปัญญา ๔.๑ สื่อความหมายและใช้ภาษาได้เหมาะสมกับวัย ๔.๒ สนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว
8 การอบรมเลี้ยงดูและการพัฒนาเด็ก หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี แบ่งการอบรมเลี้ยงดูและการพัฒนาเด็ก ออกเป็น ๒ ช่วงอายุ ประกอบด้วย ช่วงอายุแรกเกิด - ๒ ปี เป็นแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูตามวิถี ชีวิตประจำวัน โดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู และช่วงอายุ ๒ - ๓ 1 ปี เป็นแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริม พัฒนาการและ การเรียนรู้โดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู แต่ละช่วงอายุมีรายละเอียด ดังนี้ ▪ ช่วงอายุแรกเกิด – ๒ ปี แนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวันโดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู สำหรับเด็กช่วงอายุแรก เกิด - ๒ ปี เน้นการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวัน และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ร่างกายตามความสามารถ ด้านอารมณ์ จิตใจ ส่งเสริมการตอบสนองความต้องการของเด็ก อย่างเหมาะสม ภายใต้สภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัย ด้านสังคม ส่งเสริมให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ กับบุคคล ใกล้ชิด และด้านสติปัญญา ส่งเสริมให้เด็กได้สังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อสร้างความเข้าใจ และใช้ภาษาเพื่อการ สื่อสาร ส่งเสริมการคิด และการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับวัย การอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กช่วงอายุแรกเกิด - ๒ ปี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ การวางรากฐานชีวิตของเด็ก ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การจัดกิจกรรมในแต่ละวัน ควรจัดให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ และความสามารถตามวัยของเด็ก โดยผ่านการอบรมเลี้ยงดู ตามวิถีชีวิตประจำวันและการเล่นตามธรรมชาติของเด็ก โดยมีแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูตามวิถี ชีวิตประจำวัน ดังนี้ ๑. การฝึกสุขนิสัยและลักษณะนิสัยที่ดีเป็นการสร้างเสริมสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร การ นอน การทำความสะอาดร่างกาย การขับถ่าย ตลอดจนปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพ อนามัย ความปลอดภัย และการแสดงมารยาทที่สุภาพ นุ่มนวลแบบไทย ๒. การเคลื่อนไหวและการทรงตัว เป็นการส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อแขนกับขา มือกับนิ้วมือ และส่วน ต่างๆ ของร่างกายในการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายทุกส่วน โดยการจัดให้เด็กได้เคลื่อนไหว ทั้ง กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และตามความสามารถของวัย เช่น คว่ำ คลาน ยืน เดิน เล่นนิ้วมือ เคลื่อนไหว ส่วนต่างๆ ของร่างกายตามเสียงดนตรี ปีนป่ายเครื่องเล่นสนามเด็กเล็ก เล่นม้าโยก ลากจูง ของเล่นมีล้อ ขี่จักรยานทรงตัวของเด็กเล็ก โดยใช้เท้าช่วยไถ
9 ๓. การฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือ – ตา เป็นการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ ให้พร้อมที่จะหยิบจับ ฝึกการทำงานอย่างสัมพันธ์กันระหว่างมือ - ตา รวมทั้งฝึกให้เด็กรู้จักคาดคะเน หรือ กะระยะทางของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเทียบกับตนเองในลักษณะใกล้กับไกล เช่น มองตามเครื่อง แขวน หรือโมบายที่มีเสียงและสี (สำหรับขวบปีแรก ควรเป็นโมบายสีขาวดำ) ร้อยลูกปัดขนาดใหญ่ เล่นหยอดบล็อก รูปทรงลงกล่อง ตอกหมุด โยนรับลูกบอล เล่นน้ำ เล่นปั้นแป้ง ใช้สีเทียนแท่งใหญ่วาด เขียนขีดเขีย ๔. การส่งเสริมด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นการส่งเสริมการเลี้ยงดูในการตอบสนองความต้องการ ของเด็กด้านจิตใจ โดยการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่นและมีความสุข เช่น สบตา อุ้ม โอบกอด สัมผัส การเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการแสดงออกทางอารมณ์ ตอบสนองต่อ ความรู้สึกที่เด็ก แสดงออกอย่างนุ่มนวล อ่อนโยน ปลูกฝังการชื่นชมธรรมชาติรอบตัว ๕. การส่งเสริมทักษะทางสังคม เป็นการส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์กับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู บุคคล ใกล้ชิด โดยการพูดคุยหยอกล้อหรือเล่นกับเด็ก เช่น เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นจี้จี้ เล่นโยกเยก เล่นประกอบคำ ร้อง เช่น จันทร์เจ้าเอ๋ย แมงมุม ตั้งไข่ล้ม หรือพาเด็กไปเดินเล่นนอกบ้าน พบปะเด็กอื่นหรือผู้ใหญ่ ภายใต้การดูแล อย่างใกล้ชิด เช่น พาไปบ้านญาติ พาไปร่วมกิจกรรมที่ศาสนสถาน ๖. การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นการกระตุ้นการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการมองเห็น การได้ยินเสียง การลิ้มรส การได้กลิ่น และการสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างกันในด้านขนาด น้ำหนัก สี รูปร่างและ ผิวสัมผัส เช่น การเล่นมองตนเองกับกระจกเงา การเล่นของเล่นที่มีพื้นผิว แตกต่างกัน ๗. การส่งเสริมการสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นการฝึกให้เด็กเรียนรู้สิ่งรอบตัวผ่านเหตุการณ์ และสื่อ ที่หลากหลายในโอกาสต่างๆ รู้จักสำรวจและทดลองสิ่งที่ไม่คุ้นเคย เช่น มองตามสิ่งของ หันหาที่มา ของเสียง ค้นหาสิ่งของที่ปิดซ่อนจากสายตา กิจกรรมการทดลองง่ายๆ ๘. การส่งเสริมทักษะทางภาษา เป็นการฝึกให้เด็กได้เปล่งเสียง เลียนเสียงพูดของผู้คน เสียงสัตว์ ต่างๆ รู้จักชื่อเรียกของตนเอง ชื่ออวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ชื่อพ่อแม่หรือผู้คนใกล้ชิดและชื่อสิ่ง ต่างๆ รอบตัว ตลอดจนฝึกให้เด็กรู้จักสื่อความหมายด้วยคำพูดและท่าทาง ชี้ชวนและสอนให้รู้จักชื่อ เรียกสิ่งต่างๆ จากของจริง อ่านหนังสือนิทานภาพ หรือร้องเพลงง่ายๆ ให้เด็กฟัง
10 ๙. การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เป็นการฝึกให้เด็กได้แสดงออกทางความคิด ตาม จินตนาการของตนเอง เช่น ขีดเขียนวาดรูปอย่างอิสระ เล่นบล็อกเล่นของเล่นสร้างสรรค์ พูดเล่าเรื่อง ตาม จินตนาการ เล่นสมมติ ▪ ช่วงอายุ ๒ – ๓ ปี แนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้โดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู สำหรับ เด็ก ช่วงอายุ ๒ - ๓ ปี เน้นการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นตามธรรมชาติที่เหมาะสมกับวัยอย่างเป็นองค์รวม ทั้ง ทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการ ความ สนใจ และความสามารถตามวัยของเด็ก ทั้งนี้ เด็กในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงแรก เด็กมี การพึ่งพาตนเอง แสดงความเป็นตัวของตัวเอง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสาระการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ใน ระดับที่สูงขึ้นไป สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กช่วงอายุ ๒ - ๓ ปี เป็นสื่อกลางในการจัด ประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อ การพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยอาจจัดในรูปแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ หรือเลือกใช้ รูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สาระการเรียนรู้ประกอบไปด้วย ๒ ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระ ที่ควรเรียนรู้ ดังนี้ ๑. ประสบการณ์สำคัญ ประสบการณ์สำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาเด็ก ทั้ง ทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะในระยะแรกเริ่มชีวิตและช่วงระยะปฐมวัย มี ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นรากฐานของพัฒนาการก้าวต่อไปของชีวิตเด็กแต่ละคน ตลอดจน เป็น ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสามารถ แรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ และความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง ของเด็ก ที่ จะส่งผลต่อเนื่องจากช่วงวัยเด็กไปสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ประสบการณ์สำคัญจะเกี่ยวข้องกับ การจัด สภาพแวดล้อมทุกด้านที่กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้และมีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ กับสิ่งต่างๆ รอบตัวในวิถีชีวิตของเด็กและในสังคมภายนอก อันจะสั่งสมเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็น ต่อการเรียนรู้และ สามารถพัฒนาต่อเนื่องไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ประสบการณ์สำคัญที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ของเด็กนั้น พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจำเป็นต้องสนับสนุนให้เด็กได้มีประสบการณ์ตรงด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การ เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย การสร้างความรัก ความผูกพันกับคนใกล้ชิด การปฏิสัมพันธ์กับ ผู้คนและสิ่ง
11 ต่างๆ รอบตัว และการรู้จักใช้ภาษาสื่อความหมาย ดังนั้น การฝึกทักษะต่างๆ ต้องให้เด็ก มีประสบการณ์สำคัญ ผ่านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการเล่น ให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการเลียนแบบ ลองผิดลองถูก สำรวจ ทดลอง และลงมือกระทำจริง การปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของ บุคคล และธรรมชาติ รอบตัวเด็กตามบริบทของ สภาพแวดล้อม จำเป็นต้องมีการจัดประสบการณ์สำคัญแบบองค์รวมที่ยึดเด็ก เป็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ ๑.๑ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาส พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท ในการ ทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่างๆ การนอนหลับพักผ่อน การดูแลสุขภาพอนามัย และความ ปลอดภัย ของตนเอง ประสบการณ์สําคัญที่ควรส่งเสริม ประกอบด้วย การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะ ดนตรี การเล่นออกกำลังกลางแจ้งอย่างอิสระ การเคลื่อนไหวและการทรงตัว การประสาน สัมพันธ์ของ กล้ามเนื้อและระบบประสาท การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส การวาด การเขียนขีดเขี่ย การปั้น การฉีก การตัดปะ การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ของใช้ส่วนตัว และการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น ๑.๒ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้ แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย มีความสุข ร่าเริง แจ่มใส ได้พัฒนาความรู้สึกที่ดี ต่อ ตนเองและความเชื่อมั่นในตนเอง จากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู เป็น บุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เด็กรู้สึกเป็นที่รัก อบอุ่น มั่นคง เกิดความรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจ ซึ่งจะ ส่งผลให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ประสบการณ์สำคัญที่ควรส่งเสริม ประกอบด้วย การรับรู้อารมณ์หรือความรู้สึกของตนเอง การแสดง อารมณ์ที่เป็นสุข การควบคุมอารมณ์และการแสดงออก การเล่นอิสระ การเล่นบทบาทสมมติ การชื่นชม ธรรมชาติ การเพาะปลูกอย่างง่าย การเลี้ยงสัตว์ การฟังนิทาน การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การทำ กิจกรรมศิลปะต่างๆ ตามความสนใจ เป็นต้น ๑.๓ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาส ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวในชีวิตประจำวัน ได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ และปรับตัว อยู่ใน สังคม เด็กควรมีโอกาสได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ เด็กวัยเดียวกันหรือต่างวัย เพศ เดียวกันหรือต่างเพศอย่างสม่ำเสมอ ประสบการณ์สำคัญที่ควรส่งเสริม ประกอบด้วย การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตร ประจำวันตามวัย การ เล่นอย่างอิสระ การเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่น การแบ่งปันหรือการให้การอดทนรอคอยตามวัย การใช้ภาษาบอก ความต้องการ การออกไปเล่นนอกบ้าน การไปสวนสาธารณะ การออกไปร่วมกิจกรรม ในศาสนสถาน เป็นต้น
12 ๑.๔ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้ และ เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวในชีวิตประจำวันผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า และการเคลื่อนไหว ได้พัฒนาการใช้ ภาษา สื่อความหมายและความคิด รู้จักสังเกตคุณลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสี ขนาด รูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส จดจำ ชื่อเรียกสิ่งต่างๆ รอบตัว ประสบการณ์สำคัญที่ควรส่งเสริม ประกอบด้วย การตอบคำถามจากการคิด การเชื่อมโยง จาก ประสบการณ์เดิม การเรียงลำดับเหตุการณ์ การยืดหยุ่นความคิดตามวัย การจดจ่อใส่ใจ การสังเกต วัตถุหรือ สิ่งของที่มีสีสันและรูปทรงที่แตกต่างกัน การฟังเสียงต่างๆ รอบตัว การฟังนิทานหรือเรื่องราวสั้นๆ การพูดบอก ความต้องการ การเล่าเรื่องราว การสำรวจ และการทดลองอย่างง่ายๆ การคิดวางแผนที่ไม่ ซับซ้อน การคิด ตัดสินใจหรือคิดแก้ปัญหาในเรื่องที่ง่ายๆ ด้วยตนเอง การแสดงความคิดสร้างสรรค์และ จินตนาการ เป็นต้น ๒. สาระที่ควรเรียนรู้ สาระที่จะให้เด็กช่วงอายุ ๒ - ๓ ปี เรียนรู้ ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเด็กเป็นลำดับแรก แล้วจึงขยาย ไปสู่เรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เด็กควรได้รับการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริม พัฒนาการและการเรียนรู้ให้เหมาะกับวัย ดังนี้ ๒.๑ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อและเพศของตนเอง การเรียกชื่อ ส่วนต่างๆ ของ ใบหน้าและร่างกาย การดูแลตนเองเบื้องต้นโดยมีผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือ การล้างมือ การขับถ่าย การ รับประทานอาหาร การถอดและสวมใส่เสื้อผ้า การรักษาความปลอดภัย และการนอนหลับพักผ่อน ๒.๒ เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลภายใน ครอบครัวและบุคคลภายนอกครอบครัว การรู้จักชื่อเรียกหรือสรรพนามแทนตัวของญาติหรือผู้เลี้ยงดู วิธี ปฏิบัติ กับผู้อื่นอย่างเหมาะสม การทักทายด้วยการไหว้ การเล่นกับพี่น้องในบ้าน การไปเที่ยวตลาดและ สถานที่ต่างๆ ในชุมชน การเล่นที่สนามเด็กเล่น การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี ๒.๓ ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการสำรวจสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติรอบตัว เช่น สัตว์ พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเล่นน้ำเล่นทราย การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ที่ไม่เป็นอันตราย การ เดินเล่นในสวน การเพาะปลูกอย่างง่าย ๒.๔ สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของเล่นของใช้ที่อยู่รอบตัว การเชื่อมโยง ลักษณะ หรือคุณสมบัติอย่างง่ายๆ ของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด ผิวสัมผัส
13 การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์ การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรง ได้พัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สามารถจัดในรูปของกิจกรรม บูรณาการผ่านการเล่น การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์ ควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้ ๑. อบรมเลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ ๒. ตระหนักและสนับสนุนสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กพึงได้รับ ๓. ปฏิบัติตนต่อเด็กด้วยความรัก ความเข้าใจ และใช้เหตุผล ๔. ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างสมดุลครบทุกด้าน ๕. ปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม และวัฒนธรรมไทย ๖. ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับความสามารถและการเรียนรู้ของเด็ก ๗. สนับสนุนการเล่นตามธรรมชาติของเด็ก ๘. จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ๙. ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ๑๐. ประสานความร่วมมือระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดู สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชน แนวทางการอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี มีแนวทาง ดังนี้ ๑. ดูแลสุขภาพอนามัยและตอบสนองความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล ๒. สร้างบรรยากาศของความรัก ความอบอุ่น ความไว้วางใจ และความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับเด็ก ในวิถีชีวิตประจําวัน ๓. จัดประสบการณ์ตรงให้เด็กได้เลือก ลงมือกระทำ และเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า และการ เคลื่อนไหวผ่านการเล่น ๔. จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่แวดล้อมและสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กอย่างหลากหลาย ๕. จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ และของเล่นที่สะอาด หลากหลาย ปลอดภัย และเหมาะสมกับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กรอบด้าน รวมถึงมีพื้นที่ในการ เล่นน้ำเล่นทราย ๖. จัดหาสื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อธรรมชาติ เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก สื่อที่เอื้อให้ เกิดการปฏิสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ๗. จัดรวบรวมข้อมูลและติดตามการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ๘.จัดกระบวนการเรียนรู้โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชน มีส่วนร่วม ทั้ง การวางแผน การสนับสนุนสื่อ การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการเด็ก
14 การประเมินพัฒนาการ การประเมินพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี ควรประเมินให้ครอบคลุมครบทุกช่วงอายุ เพราะ ช่วงวัยนี้ มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อีกทั้งมีความเสี่ยงต่อสภาพความผิดปกติต่างๆ จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวัง และติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดู ควรสังเกตพัฒนาการเด็ก โดยคำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล หากพบความผิดปกติ ต้องรีบพาไปพบแพทย์หรือผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก เพื่อหาทางแก้ไขหรือบำบัดฟื้นฟูโดยเร็วที่สุด สำหรับหลักในการประเมิน พัฒนาการ มี ดังนี้ ๑. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้าน ๒. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ๓. ประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี มีการ สังเกตพฤติกรรมของเด็กในกิจกรรมต่างๆ และกิจวัตรประจำวัน การบันทึกพฤติกรรม การสนทนา การสัมภาษณ์เด็กและผู้ใกล้ชิด และการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็ก ๔. บันทึกพัฒนาการลงในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เล่มสีชมพู) และใช้คู่มือการเฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หรือของหน่วยงานอื่น ๕. นำผลที่ได้จากการประเมินพัฒนาการไปพิจารณาจัดกิจกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และมี พัฒนาการเหมาะสมตามวัย
15 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ ๓ – ๖ ปี หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรม เลี้ยงดูและให้การศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัย และความสามารถของแต่ละบุคคล จุดหมาย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยเต็มตามศักยภาพ และมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไป จึงกำหนดจุดหมายเพื่อให้เกิดกับเด็กเมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัย ดังนี้ ๑. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี ๒. สุขภาพจิตดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม ๓. มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข ๔. มีทักษะการคิด การใช้ภาษาสื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จำนวน ๑๒ มาตรฐานประกอบด้วย ๑. พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน ๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม ๓. พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
16 ๔. พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๙ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ ได้เหมาะสมกับวัย การจัดเวลาเรียน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาในการจัด ประสบการณ์ ให้กับเด็ก ๑ - ๓ ปีการศึกษา โดยประมาณ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กที่เริ่มเข้าสถานศึกษาหรือ สถานพัฒนา เด็กปฐมวัย เวลาเรียนสำหรับเด็กจะขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดยมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วันต่อ ๑ ปีการศึกษา ในแต่ละวันจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง โดยสามารถปรับให้เหมาะสมตาม บริบทของ สถานศึกษาและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะการบูรณาการ ผ่านการ เล่น การลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงอย่างหลากหลาย เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้ง เกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไม่จัดเป็นรายวิชา โดยมีหลักการ จัด ประสบการณ์ แนวทางการจัดประสบการณ์ และการจัดกิจกรรมประจำวัน ดังนี้ ๑. หลักการจัดประสบการณ์ ๑.๑ จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวม อย่างสมดุลและต่อเนื่อง ๑.๒ เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและ บริบทของ สังคมที่เด็กอาศัยอยู่ ๑.๓ จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการ ของเด็ก ๑.๔ จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัด ประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง ๑.๕ ให้พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
17 ๒. แนวทางการจัดประสบการณ์ ๒.๑ จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของสมอง ที่เหมาะกับ อายุ วุฒิภาวะ และระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ๒.๒ จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ๒.๓ จัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะ และสาระการเรียนรู้ ๒.๔ จัดประสบการณ์ให้เด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ตัดสินใจลงมือกระทำ และนำเสนอความคิด โดยผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ๒.๕ จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ในบรรยากาศที่อบอุ่น มีความสุข และเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่างๆ กัน ๒.๖ จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและ อยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก สอดคล้องกับบริบท สังคม และวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ๒.๗ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน ตามแนวทาง หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และการมีวินัย ให้เป็นส่วนหนึ่ง ของ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ๒.๘ จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและแผนที่เกิดขึ้นในสภาพจริง โดย ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ๒.๙ จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นรายบุคคล นำมาไตร่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวิจัยในชั้นเรียน ๒.๑๐ จัดประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งการวางแผน การสนับสนุน สื่อ แหล่งเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการ ๓. การจัดกิจกรรมประจําวัน กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี สามารถนำมาจัดเป็นกิจกรรมประจำวันได้หลายรูปแบบ เป็นการ ช่วยให้ผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์ทราบว่า แต่ละวันจะทำกิจกรรมอะไร เมื่อใด และอย่างไร ทั้งนี้ การจัด กิจกรรมประจำวันสามารถจัดได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้ของแต่ละ หน่วยงาน และสภาพชุมชน ที่สำคัญผู้สอนต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน การจัดกิจกรรม ประจำวัน
18 การประเมินพัฒนาการ การประเมินพัฒนาการเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดให้ เด็ก ในแต่ละวัน ผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการเด็ก ต้องนำมาจัดทำสารนิทัศน์ หรือจัดทำข้อมูลหลักฐาน หรือ เอกสารอย่างเป็นระบบ ด้วยการรวบรวมผลงานสำหรับเด็กเป็นรายบุคคลที่สามารถบอกเรื่องราวหรือ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด ทั้งนี้ ให้นำข้อมูลผลการประเมิน พัฒนาการเด็กมาพิจารณาปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรม และส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนา ตาม จุดหมายของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง การประเมินพัฒนาการควรยึดหลัก ดังนี้ ๑. วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ ๒. ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ๓. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องตลอดปี ๔. ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ไม่ควรใช้แบบทดสอบ ๕. สรุปผลการประเมิน จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็กสำหรับวิธีการประเมินที่ เหมาะสมและควรใช้กับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี ได้แก่ การสังเกต การบันทึก พฤติกรรม การสนทนากับเด็ก การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ
19 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐) กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๔ ให้เป็น หลักสูตร แกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายและกรอบ ทิศทางในการ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการ แข่งขันในเวทีโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๔) พร้อมกันนี้ได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พศ. ๒๕๕๕ ที่มุ่งเน้นการ กระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาท และมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหลักการที่สำคัญดังนี้ ๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้ เป็น เป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรม บนพื้นฐานของ ความเป็น ไทยควบคู่กับความเป็นสากล ๒. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชนที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ ๓. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอานาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัด การศึกษาให้ สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ๔. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการ เรียนรู้ ๕. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาใน ระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
20 จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และ ประกอบ อาชีพ จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มีศักยภาพในการศึกษาต่อ จึงกำหนดเป็น จุดหมาย เพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ๑..เห็นคุณค่าของตนเองมีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตน นับ ถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต ๓. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกําลังกาย ๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุข ๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิต สาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามใน สังคม และอยู่ ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทํางา ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตสาธารณะ
21 มาตรฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุลต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ ๑. ภาษาไทย ๒. คณิตศาสตร์ ๓. วิทยาศาสตร์ ๔. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๕. สุขศึกษาและพลศึกษา ๖. ศิลปะ ๗. การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๘. ภาษาต่างประเทศ ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ พึง ประสงค์ที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็น กลไก สำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่า ต้องการ อะไร ต้องสอนอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ เพื่อการ ประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพ ภายนอกซึ่งรวมถึง การทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษาและการทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบ เพื่อประกันคุณภาพ ดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณภาพตามที่ มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึง มาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนด เนื้อหา จัดทำหน่วย การเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์ สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อ ตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ๑. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ ( ประถมศึกษาปีที่ ๑ - มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ) ๒. ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ )
22 สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะ อันพึง ประสงค์ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น ๘ กลุ่ม สาระการเรียนรู้ ดังนี้ ๑. คณิตศาสตร์: การนำความรู้ ทักษะและ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา การดำเนินชีวิตและศึกษาต่อ การมีเหตุมีผล มีเจตคติที่ดีต่อ คณิตศาสตร์ พัฒนาการคิด อย่างเป็นระบบ และสร้างสรรค์ ๒. วิทยาศาสตร์: การนำความรู้และกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า หา ความรู้และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คิดวิเคราะห์คิดสร้างสรรค์ และจิตวิทยาศาสตร์ ๓. ภาษาไทย : ความรู้ ทักษะ และวัฒนธรรมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ความชื่นชม การเห็น คุณค่า ภูมิปัญญาไทย และภูมิใจในภาษาประจำชาติ ๔. สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม : การอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติ สุข การเป็น พลเมืองดี ศรัทธาในหลักธรรม ของศาสนา การเห็นคุณค่าของ ทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อม ความรักชาติ และภูมิใจในความเป็นไทย ๕. การงานอาชีพและเทคโนโลยี: ความรู้ ทักษะ และเจตคติในการทำงาน การจัดการ การดํารงชีวิต การประกอบอาชีพ และการใช้เทคโนโลยี ๖. สุขศึกษาและพลศึกษา : ความรู้ ทักษะและเจตคติในการ สร้างเสริมสุขภาพพลานามัย ของตนเองและผู้อื่น การป้องกันและปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพอย่างถูกวิธี และทักษะในการดําเนินชีวิต ๗. ภาษาต่างประเทศ : ความรู้ ทักษะ เจตคติ และวัฒนธรรมการใช้ภาษาต่างประเทศในการ สื่อสาร การ แสวงหาความรู้และการประกอบอาชีพ ๘. ศิลปะ : ความรู้และทักษะในการคิดริเริ่ม จินตนาการ สร้างสรรค์ งานศิลปะ สุนทรียภาพ และการเห็น คุณค่าทางศิลปะ
23 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพพัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความ เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบ วินัย ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้และอยู่ ร่วมกับผู้อื่น อย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น ๓ ลักษณะดังนี้ ๑. กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำาหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพสามารถปรับ ตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้ คําปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน ๒. กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัยความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ความ รับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือ แบ่งปันกันเอื้ออาทรและสมานฉันท์ โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของ ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอนได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมิน และปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและ สอดคล้องกับวุฒิภาวะของ ผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย ๒.๑ กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร ๒.๒ กิจกรรมชุมนุม ชมรม ๓. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตน ให้เป็น ประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่างๆ กิจกรรมสร้างสรรค์ สังคม
24 ระดับการศึกษา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดระดับการศึกษาเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ ๑. ระดับประถมศึกษา ( ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖) การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับมุ่งเน้นทักษะพื้นฐาน ด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ ทางสังคม และพื้นฐานความเป็น มนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และ วัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ๒. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ) เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจของ ตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิด แก้ปัญหา มีทักษะในการดำเนินชีวิต มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็น เครื่องมือในการเรียนรู้ มีความ รับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อ ๓. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ ) การศึกษาระดับนี้เน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบ ความสามารถ ความ ถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะในการใช้วิทยาการ และเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ใน การศึกษาต่อและการ ประกอบอาชีพมุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตนสามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้าน ต่างๆ การจัดเวลาเรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานสำหรับกลุ่ม สาระ การเรียนรู้ ๘ กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนซึ่งสถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมและ จุดเน้น โดยสามารถปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสภาพของผู้เรียน ดังนี้ ๑. ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ ) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียน วัน ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง ๒. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ ) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลา เรียนวันละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง คิดน้าหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ ๔๐ ชั่วโมงต่อภาคเรียน มี ค่านํ้าหนักวิชาเท่ากับ ๙ หน่วยกิต (นก.) ๓. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ ) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลา เรียนวันละไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ ๔๐ ชั่วโมงต่อ ภาคเรียน มีค่านํ้าหนักวิชาเท่ากับ หน่วยกิต (บก)
25 การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติหลักสูตรแกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐานเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชน ผู้สอนต้องพยายามคัดสรรกระบวนการ เรียนรู้จัดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง ๔ กลุ่มสาระเรียนรู้ รวมทั้ง ปลูกฝังเสริมสร้าง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาทักษะต่างๆ อันเป็นสมรรถนะสำคัญที่ต้องการให้เกิด แก่ผู้เรียน ๑. หลักการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมี ความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ยึดประโยชน์ที่เกิดกับ ผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมองเน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม ๒. กระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็น เครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้ จากประสบการณ์จริง กระบวนการ ปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย กระบวนการเหล่านี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับ การ ฝึกฝน พัฒนา เพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้น ผู้สอนจึง จำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ใน การจัด กระบวนการ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ชี้วัด สมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเลือกใช้วิธีสอนและ เทคนิค การสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียน ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและ บรรลุตาม มาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นเป้าหมายที่กำหนด
26 ๔. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตรทั้งผู้สอนและผู้เรียนควรมี บทบาท ดังนี้ ๔.๑ บทบาทของผู้สอน ๑. ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลแล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน การจัดการเรียนรู้ ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน ๒. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้และทักษะ กระบวนการ ที่เป็น ความคิดรวบยอด หลักการและความสัมพันธ์รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๓. ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการ ทาง สมองเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย ๔. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ ๕. จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสม มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ๖. ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและ ระดับพัฒนาการของผู้เรียน ๗. วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งปรับปรุงการจัดการเรียน การสอนของตนเอง ๔.๒ บทบาทของผู้เรียน ๑. กําหนดเป้าหมาย วางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง ๒. เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อความรู้ ตั้งค่าถาม คิดหา คำตอบหรือหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ ๓. ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ ต่างๆ ๔. มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและครู ๕. ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
27 สื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อการเรียนรู้ มีหลากหลายประเภท ทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และเครือข่ายการเรียนรู้ ต่างที่มีในท้องถิ่น การเลือกใช้สื่อควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการและลีลาการเรียนรู้ที่ หลากหลายของผู้เรียน การจัดหาสื่อการเรียนรู้ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาขึ้นเองหรือปรับปรุงเลือกใช้ อย่างมี คุณภาพจากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวเพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมและ สื่อสารให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยสถานศึกษาควรจัดให้มีอย่างพอเพียงเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้อย่างแท้จริง สถานศึกษา เขตพื้นที่ การศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้น พื้นฐานควรดำเนินการ ดังนี้ ๑. จัดให้มีแหล่งการเรียนรู้ ศูนย์สื่อการเรียนรู้ ระบบสารสนเทศการเรียนรู้ และเครือข่ายการ เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน เพื่อการศึกษาค้นคว้า และการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การเรียนรู้ ระหว่างสถานศึกษา ท้องถิ่น ชุมชน สังคมโลก ๒. จัดทำและจัดหาสื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน เสริมความรู้ ให้ผู้สอน รวมทั้ง จัดหาสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ ๓. เลือกและใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม มีความหลากหลาย สอดคล้อง กับ วิธีการเรียนรู้ ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ๔. ประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ที่เลือกใช้อย่างเป็นระบบ ๕. ศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ ของผู้เรียน ๖. จัดให้มีการกำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพเกี่ยวกับสื่อและการใช้ สื่อการ เรียนรู้ เป็นระยะๆ และสม่ำเสมอ ในการจัดทำ การเลือกใช้ และการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ใน สถานศึกษา ควรคำนึงถึงหลักการสำคัญของสื่อการเรียนรู้ เช่น ความสอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์ การเรียนรู้ การ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน เนื้อหามีความถูกต้อง ทททท และทันสมัย ไม่ กระทบความมั่นคงของชาติ ไม่ขัดต่อศีลธรรม มีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง รูปแบบ การนำ เสนอที่เข้าใจง่ายและ น่าสนใจ
28 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการ คือ การ ประเมิน เพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียนในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบ ผลสำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะ สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ใน ทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ การวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้ผลการ ประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศ ที่แสดง พัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสําเร็จทางการเรียนของ ผู้เรียน ตลอดจนข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตาม ศักยภาพ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับ สถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ มีรายละเอียด ดังนี้ ๑. การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดำเนินการ เป็นปกติและ สมา เสมอในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การ ตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน แฟ้มสะสมงาน การใช้ แบบทดสอบ ฯลฯ โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วม ประเมิน การประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนมี พัฒนาการความก้าวหน้า ในการเรียนรู้ อัน เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนา ปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูล ให้ผู้สอนใช้ ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ๒. การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปีรายภาคผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และเป็นการประเมินเกี่ยวกับการจัด การศึกษาของสถานศึกษา ว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามเป้าหมายหรือไม่ผู้เรียนมีสิ่งที่ต้องการ พัฒนา ในด้านใด รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติ และระดับ เขตพื้นที่การศึกษา ผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อการ ปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนา คุณภาพการศีกษาของ สถานศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา และการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน
29 ๓. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐาน การเรียนรู้ตาม หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของเขต พื้นที่ การศึกษา ตามภาระความรับผิดชอบ สามารถดำเนินการโดยประเมินคุณภาพผู้เรียนด้วยวิธีการและ เครื่องมือ ที่เป็นมาตรฐานที่จัดทำและดำเนินการ โดยเขตพื้นที่การศึกษา หรือด้วยความร่วมมือกับ หน่วยงานต้นสังกัด และหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังได้จากการตรวจสอบทบทวนข้อมูลจาก การประเมินระดับ สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษ ๔. การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๕ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เข้ารับการประเมินผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูล ใน การเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัด การศึกษา ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ ข้อมูลการประเมินในระดับต่างๆ ข้างต้น เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการตรวจสอบ ทบทวน พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ถือเป็นภาระความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่จะต้องจัดระบบ ดูแลช่วยเหลือ ปรับปรุง แก้ไข ส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐาน ความแตกต่าง ระหว่างบุคคลที่ จำแนกตามสภาพปัญหาและความต้องการ ได้แก่ กลุ่มผู้เรียนทั่วไป กลุ่มผู้เรียนที่มี ความสามารถพิเศษ กลุ่ม ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ กลุ่มผู้เรียน ที่มีปัญหาด้านวินัยและ พฤติกรรม กลุ่มผู้เรียนที่ปฏิเสธ โรงเรียน กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม กลุ่มพิการทาง ร่างกายและสติปัญญา เป็นต้น ข้อมูล จากการประเมินจึงเป็นหัวใจ ของสถานศึกษาในการดำเนินการ ช่วยเหลือผู้เรียนได้ทันท่วงที เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้รับ การพัฒนาและประสบความสำเร็จในการเรียน สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาจะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัด และประเมินผล การ เรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้อง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นข้อกำหนดของ หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกัน
30 หลักสูตรการอาชีวศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช ๒๕๖๒ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นหลักสูตรหลังมัธยมศึกษาตอนต้นหรือ เทียบเท่า เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และเพื่อยกระดับ การศึกษา วิชาชีพของบุคคลให้สูงขึ้น สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ แผนการ ศึกษาแห่งชาติ เป็นไปตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ และกรอบคุณวุฒิ อาชีวศึกษาแห่งชาติตลอดจน ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ โดยเน้นการเรียนรู้สู่ การปฏิบัติ เพื่อพัฒนา สมรรถนะกาลังคนระดับฝีมือ รวมทั้ง คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกิจนิสัยที่เหมาะสม ในการทางาน ให้สอดคล้องกับความต้องการ กำลังคนของตลาดแรงงาน ชุมชน สังคม และประกอบอาชีพ อิสระได้ หลักการ ๑. เป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหลังมัธยมศึกษาตอนต้นหรือ เทียบเท่าด้านวิชาชีพ ที่ สอดคล้อง กับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปตามกรอบคุณวุฒิ แห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของ ชาติ และกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน ระดับฝีมือให้ มีสมรรถนะ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถประกอบอาชีพได้ตรง ตาม ความ ต้องการของสถานประกอบการและการประกอบอาชีพอิสระ ๒. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้เลือกเรียนได้อย่างกว้างขวาง เน้นสมรรถนะเฉพาะ ด้านด้วยการ ปฏิบัติจริง สามารถเลือก วิธีการเรียนตามศักยภาพและโอกาสของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ เทียบ โอนผลการเรียน สะสมผลการเรียน เทียบโอนความรู้และประสบการณ์จากแหล่ง วิทยาการ สถาน ประกอบการ และสถานประกอบอาชีพอิสระ ๓. เป็นหลักสูตรที่สนับสนุนการประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่าง หน่วยงาน และองค์กรทีเกียวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ๔. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้สถานศึกษา สถานประกอบการ ชุมชนและท้องถิ่น มีส่วนร่วมใน การ พัฒนาหลักสูตรให้ ตรงตามความต้องการโดยยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ และสอดคล้องกับสภาพ ยุทธศาสตร์ ของ ภูมิภาคเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
31 จุดหมายของหลักสูตร ๑. เพื่อให้มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในงานอาชีพสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกวิถีการดำรงชีวิต และการประกอบ อาชีพ ได้ อย่างเหมาะสมกับตน สร้างสรรค์ความเจริญต่อชุมชน ท้องถิ่นและประเทศชาติ ๒. เพื่อให้เป็นผู้มีปัญญา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการ ประกอบ อาชีพ มีทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทักษะการคิด วิเคราะห์และการแก้ปัญหา ทักษะด้านสุขภาวะและความปลอดภัย ตลอดจนทักษะการจัดการ สามารถ สร้าง อาชีพและพัฒนาอาชีพให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ๓. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในวิชาชีพที่เรียน รักงาน รักหน่วยงาน สามารถ ทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี โดยมีความเคารพในสิทธิและหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น ๔. เพื่อให้เป็นผู้มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีงาม ทั้งในการทำงาน การอยู่ร่วมกัน การต่อต้านความรุนแรง และสารเสพติด มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว หน่วยงาน ท้องถิ่นและประเทศชาติ ดำรงตนตามหลัก ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าใจและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจิต สาธารณะและจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ๕. เพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ มีคุณธรรม จริยธรรม และวินัยในตนเอง มีสุขภาพอนามัย ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ เหมาะสมกับงานอาชีพ ๖. เพื่อให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศและโลก มี ความรักชาติ สํานึกในความเป็นไทย เสียสละเพื่อส่วนรวม ดำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
32 หลักเกณฑ์การใช้ ๑. การเรียนการสอน ๑.๑ การเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้ ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนได้ทุกวิธีเรียนที่กำหนด และ น้า ผลการเรียนแต่ละวิธีมาประเมินผลร่วมกันได้ สามารถขอเทียบโอนผลการเรียน และขอเทียบโอน ความรู้ และ ประสบการณ์ได้ ๑.๒ การจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริง สามารถจัดการเรียนการสอนได้หลากหลาย รูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ วิธีการและการดำเนินงาน มีทักษะการปฏิบัติงาน ตาม แบบ แผนในขอบเขตสำคัญและบริบทต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานประจำ ให้คำแนะนำ พื้นฐาน ที่ต้องใช้ ในการตัดสินใจ วางแผนและแก้ไขปัญหาโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการ ปฏิบัติงานในบริบทใหม่ รวมทั้งรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ วิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัย ที่เหมาะสมในการทํางาน ๒. การจัดการคึกษาและเวลาเรียน การจัดการศีกษาในระบบปกติ ใช้ระยะเวลา ๓ ปีการศึกษา การจัดเวลาเรียนให้ดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑ ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ ให้แบ่งภาคเรียนออกเป็น ๒ ภาคเรียนปกติหรือระบบทวิภาค ภาคเรียน ละ 18 สัปดาห์ รวมเวลาการวัดผล โดยมีเวลาเรียนและจํานวนหน่วยกิตตามที่กําหนด และ สถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบันอาจเปิดสอนภาคเรียนฤดูร้อนได้อีกตามที่เห็นสมควร ๒.๒ การเรียนในระบบชั้นเรียน ให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันเปิดทำการสอนไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ ๕ วัน ๆ ละไม่เกิน ๗ ชั่วโมง โดยกำหนดให้จัดการเรียนการสอนคาบละ ๖๐ นาที ๓. การคิดหน่วยกิต ให้มีจํานวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๑๐๓ - ๑๑๐ หน่วยกิต การคิดหน่วยกิตถือเกณฑ์ ดังนี้ ๓.๑ รายวิชาทฤษฎีที่ใช้เวลาในการบรรยายหรืออภิปราย ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ ๑๘ ชั่วโมงต่อ ภาคเรียน รวมเวลาการวัดผล มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต ๓.๒ รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการทดลองหรือฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ ๓๖ ชั่วโมงต่อภาคเรียน รวมเวลาการวัดผล มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต ๓.๓ รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติในโรงฝึกงานหรือภาคสนาม ๓ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคเรียน รวมเวลาการวัดผล มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต
33 ๓.๔ การฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคีที่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคเรียน รวมเวลา การวัดผล มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต ๓.๕ การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพในสถานประกอบการที่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมง ต่อภาคเรียน รวมเวลาการวัดผล มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต ๓.๖ การทําโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพที่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคเรียน รวม เวลา การวัดผล มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตรแบ่งเป็น ๓ หมวดวิชา และ กิจกรรมเสริม หลักสูตร ดังนี้ หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง ไม่น้อยกว่า ๒๒ หน่วยกิต ๑. กลุ่มวิชาภาษาไทย ๒. กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ ๓. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ ๔. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ๕. กลุ่มวิชาสังคมศึกษา ๖. กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า ๗๑ หน่วยกิต ๑. กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน ๒. กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ ๓. กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ๔. ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ ๕. โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๗๑ หน่วยกิต ไม่น้อยกว่า ๑๐ หน่วยกิต - หน่วยกิต กิจกรรมเสริมหลักสูตร (๒ ชั่วโมง/สัปดาห์)
34 ๔. การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันกับ ภาค การผลิตและหรือภาคบริการ หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกหัดหรือฝึกปฏิบัติ เบื้องต้น ใน สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันแล้วระยะเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จาก ประสบการณ์จริง ได้สัมผัสกับการปฏิบัติงานอาชีพ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ทันสมัย และ บรรยากาศ การทํางานร่วมกัน ส่งเสริมการฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยให้ ผู้เรียนทำได้ คิดเป็น ทำเป็นและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเกิดความมั่นใจและเจต คติที่ดีในการ ทํางานและการประกอบอาชีพอิสระ โดยการจัดฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพต้อง ดาเนินการ ดังนี้ ๔.๑ สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน ต้องจัดให้มีการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ ในรูป ของการฝึกงานในสถานประกอบการ แหล่งวิทยาการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ในภาคเรียนที่ ๕ และ หรือภาคเรียนที ๖ โดยใช้เวลารวมไม่น้อยกว่า ๓๒๐ ชั่วโมง กําหนดให้มีค่าเท่ากับ ๔ หน่วยกิต กรณี สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องการเพิ่มพูนประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ สามารถนำรายวิชาที่ตรง หรือสัมพันธ์กับลักษณะงานไปเรียนหรือฝึกในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือ หน่วยงานของรัฐใน ภาค เรียนที่จัดฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพได้ รวมไม่น้อยกว่า ๑ ภาคเรียน ๔.๒ การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับผลการเรียน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายวิชาอื่น ๕. โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ เป็นรายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า บูรณาการความรู้ ทักษะและประสบการณ์จาก สิ่ง ที่ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจ ตั้งแต่การเลือกหัวข้อหรือเรื่องที่จะ ศึกษา ทดลอง พัฒนาและหรือประดิษฐ์คิดค้น โดยการวางแผน กำหนดขั้นตอนกระบวนการ ดำเนินการ ประเมินผล สรุปและจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอ ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของ โครงงานนั้น ๆ โดยการจัดทำโครงงานดังกล่าวต้องดำเนินการ ดังนี้ ๕.๑ สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องจัดให้ผู้เรียนจัดทำโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ที่ สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับสาขาวิชา ในภาคเรียนที่ ๕ และหรือภาคเรียนที่ ๖ รวมจํานวน ๔ หน่วยกิต ใช้เวลา ไม่น้อยกว่า ๒๑๖ ชั่วโมง ทั้งนี้ สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องจัดให้มีชั่วโมงเรียน ๔ ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ กรณีที่กําหนดให้เรียนรายวิชาโครงงาน ๔ หน่วยกิต หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช ๒๕๖๒ หาก จัดให้เรียนรายวิชาโครงงาน ๒ หน่วยกิต คือ โครงงาน และโครงงาน ๒ ให้ สถาบันจัดให้มีชั่วโมงเรียนต่อ สัปดาห์ที่เทียบเคียงกับเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ๕.๒ การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับผลการเรียนให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายวิชาอื่น
35 การประเมินผลการเรียน เน้นการประเมินสภาพจริง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การจัดการ ศีกษา และการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ การสําเร็จ การศึกษาตาม หลักสูตร ๑. ได้รายวิชาและจำนวนหน่วยกิตสะสมในทุกหมวดวิชา ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ใน หลักสูตร แต่ละ ประเภทวิชาและ สาขาวิชา และตามแผนการเรียนที่สถานศึกษาก้าาหนด ๒. ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ ๓. ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ๔. ได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด และ "ผ่าน 'ทุก ภาคเรียน
36 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช ๒๕๖๓ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๖๓ เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ใน การ จัดการศึกษาด้านวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และเพื่อยกระดับการศึกษาวิชาชีพของ บุคคลให้ สูงขึ้น สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปตาม กรอบคุณวุฒิ แห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ และกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ตลอดจนยึดโยง กับมาตรฐาน อาชีพ โดยเน้นการเรียนรู้สู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนระดับเทคนิค รวมทั้ง คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน ให้สอดคล้องกับความ ต้องการก้าลังคน ของ ตลาดแรงงาน ชุมชน สังคม และสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ โดยเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนเลือกระบบ และ วิธีการเรียนได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ ตามความสนใจแลของตน ส่งเสริมให้มี การประสาน ความร่วมมือ เพื่อจัดการศีกษาและพัฒนาหลักสูตรร่วมกันระหว่างสถาบัน สถานศึกษา หน่วยงาน สถานประกอบการและ องค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับชุมชน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ หลักการของหลักสูตร ๑. เป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เพื่อพัฒนากำลังคนระดับเทคนิคให้มี สมรรถนะ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถประกอบอาชีพได้ตรงตามความต้องการ ของ ตลาดแรงงานและการประกอบอาชีพอิสระ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ แผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ และกรอบ คุณวุฒิ อาชีวศึกษาแห่งชาติ ๒. หลักสูตรที่เปิดโอกาสให้เลือกเรียนได้อย่างกว้างขวาง เน้นสมรรถนะเฉพาะด้านด้วยการปฏิบัติ จริง สามารถเลือกวิธีการเรียนตามศักยภาพและโอกาสของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเทียบโอน ผลการ เรียน สะสมผลการเรียน เทียบโอนความรู้และประสบการณ์จากแหล่งวิทยาการ สถานประกอบการ และ สถานประกอบอาชีพอิสระ ๓. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะในการประกอบอาชีพ มีความรู้เต็มภูมิ ปฏิบัติได้จริง มีความเป็นผู้นำและสามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ๔. เป็นหลักสูตรที่สนับสนุนการประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่าง หน่วยงาน และองค์กร ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ๕. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้สถานศึกษา สถานประกอบการ ชุมชนและท้องถิ่น มีส่วนร่วมใน การ พัฒนาหลักสูตร ให้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับสภาพยุทธศาสตร์ของภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
37 จุดหมายของหลักสูตร ๑. เพื่อให้มีความรู้ทางทฤษฎีและเทคนิคเชิงลึกภายใต้ขอบเขตของงานอาชีพ มีทักษะด้าน เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและงานอาชีพ สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม หรือ ศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น ๒. เพื่อให้มีทักษะและสมรรถนะในงานอาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถบูรณาการความรู้ ทักษะ จาก ศาสตร์ต่าง ๆ ประยุกต์ใช้ในงานอาชีพ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ๓. เพื่อให้มีปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน บริหาร จัดการ ตัดสินใจ แก้ปัญหา ประสานงานและประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพ มีทักษะการเรียนรู้ แสวงหา ความรู้และ แนวทางใหม่ ๆ มาพัฒนาตนเองและประยุกต์ใช้ในการสร้างงานให้สอดคล้องกับวิชาชีพและ การพัฒนางาน อาชีพอย่างต่อเนื่อง ๔. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในงานอาชีพ รักงาน รักหน่วยงาน สามารถ ทำงาน เป็นหมู่คณะได้ดี มีความภาคภูมิใจในตนเองต่อการเรียนวิชาชีพ ๕. เพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ มีวินัย มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้ง ร่างกาย และจิตใจ เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในอาชีพนั้น ๆ ๖. เพื่อให้เป็นผู้มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีงาม ต่อต้านความรุนแรงและสารเสพติด ทั้งในการ ทํางาน การอยู่ร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว องค์กร ท้องถิ่นและประเทศชาติ อุทิศตนเพื่อสังคม เข้าใจและ เห็นคุณค่า ของศิลปวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักในปัญหาและความสำคัญของ สิ่งแวดล้อม ๗. เพื่อให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็น กําลัง สําคัญ ในด้านการผลิตและให้บริการ ๘. เพื่อให้เห็นคุณค่าและดำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตนในฐานะ พลเมืองดี ตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
38 หลักเกณฑ์การใช้ ๑. การเรียนการสอน ๑.๑ การเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้ ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียน ได้ทุกวิธีเรียนที่กำหนด และ น่าผลการเรียนแต่ละวิธีมาประเมินผลร่วมกันได้ สามารถขอเทียบโอนผลการเรียน และขอเทียบ โอนความรู้ และประสบการณ์ได้ ๑.๒ การจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริง สามารถจัดการเรียนการสอนได้หลากหลาย รูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ วิธีการและการดำเนินงาน มีทักษะการ ปฏิบัติงานตามแบบแผน และปรับตัวได้ภายใต้ความเปลี่ยนแปลง สามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้ ความรู้และทักษะทางวิชาการที่ สัมพันธ์กับวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการ ตัดสินใจ วางแผน แก้ปัญหาบริหาร จัดการ ประสานงานและประเมินผลการดำเนินงานได้อย่าง เหมาะสม มีส่วนร่วมในการวางแผนและพัฒนา ริเริ่มสิ่ง ใหม่ มีความรับผิดชอบต่อตนเองผู้อื่นและหมู่ คณะ รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติ และกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน ๒. การจัดการศึกษาและเวลาเรียน ๒.๑ การจัดการศึกษาในระบบปกติสำหรับผู้เข้าเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าในประเภทวิชาและสาขาวิชาตามที่หลักสูตรกำหนด ใช้ระยะเวลา ๒ ปี การศึกษา ส่วนผู้ เข้าเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และผู้เข้าเรียน ที่สําเร็จการศีกษา ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าต่างประเภทวิชาและสาขาวิชา ที่กําหนด ใช้ระยะเวลา ไม่น้อย กว่า ๒ ปีการศึกษา และเป็นไปตามเงื่อนไขทีหลักสูตรกําหนด ๒.๒ การจัดเวลาเรียนให้นําเนินการ ดังนี้ ๒.๒.๑ ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ ให้แบ่งภาคเรียนออกเป็น ๒ ภาคเรียนปกติหรือระบบทวิภาค ภาคเรียนละ 18 สัปดาห์ รวมเวลาการวัดผล โดยมีเวลาเรียนและจํานวนหน่วยกิตตามที่กำาหนด และ สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันอาจเปิดสอนภาคเรียนฤดูร้อนได้อีกตามที่เห็นสมควร ๒.๒.๒ การเรียนในระบบชั้นเรียน ให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันเปิดทำการสอนไม่ น้อยกว่า สัปดาห์ละ ๕ วัน ๆ ละไม่เกิน ๗ ชั่วโมง โดยกำหนดให้จัดการเรียนการสอนคาบละ ๖๐ นาที ๓. การคิดหน่วยกิต ให้มีจำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๘๓ - ๙๐ หน่วยกิต การคิดหน่วยกิต ถือเกณฑ์ ดังนี้ ๓.๑ รายวิชาทฤษฎีที่ใช้เวลาในการบรรยายหรืออภิปราย ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ ๑๘ ชั่วโมงต่อ ภาคเรียน รวมเวลาการวัดผล มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ๓.๒ รายวิชา เวลาในการลอกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ๒ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือ ๓๖ ชั่วโมงต่อภาค เรียน รวมเวลาการวัดผล มีค่าเท่ากับ หน่วยกิต
39 ๓.๓ รายวิชาปฏิบัติ เวลาในการฝึกปฏิบัติในโรงฝึกงานทรี ภาคสนาม ๓ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ ๕๔ ชั่วโมงต่อภาคเรียน รวมเวลาการวัดผล มีค่าเท่ากับ หน่วยกิต ๓.๔ การฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี ที่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมงต่อ ภาคเรียน รวม เวลา การวัดผล มีค่าเท่ากับ หน่วยกิต ๓.๕ การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพในสถานประกอบการ ที่ ใช้เวลาไม่ น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง ต่อภาคเรียน รวมเวลาการวัดผล มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต ทำโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพที่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมงต่อ ภาคเรียน รวมเวลาการ วัดผล มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต ๔. โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๔๓ แบ่งเป็น ๓ หมวดวิชา และ กิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังนี้ ๔.๑ หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง ไม่น้อยกว่า ๒๑ หน่วยกิต 4.1.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย 4.1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 4.1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ 4.1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ 4.1.5 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 4.1.6 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ๔.๒ หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต 4.2.1 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน 4.2.2 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ 4.2.3 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก 4.2.4 ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ 4.2.5 โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ 4.3 หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 4.4 กิจกรรมเสริมหลักสูตร (2 ชั่วโมง/สัปดาห์) – หน่วยกิต
40 ๕.การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันกับ ภาค การผลิต และหรือภาคบริการ หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกหัดหรือฝึกปฏิบัติ เบื้องต้นใน สถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบันแล้วระยะเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จาก ประสบการณ์จริง ได้สัมผัสกับการปฏิบัติงานอาชีพ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ทันสมัย และ บรรยากาศ การทํางานร่วมกัน ส่งเสริมการฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยให้ ผู้เรียนทำได้ คิดเป็น ทำเป็นและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเกิดความมั่นใจและเจต คติที่ดีในการ ทํางานและการประกอบ อาชีพอิสระ โดยการจัดฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพต้อง ดาเนินการ ดังนี้ 5.1 สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องจัดให้มีการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ ในรูป ของ การฝึกงานในสถานประกอบการ แหล่งวิทยาการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ในภาคเรียนที่ 3 และหรือ ภาคเรียนที่ 4 โดยใช้เวลารวมไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง กําหนดให้มีค่าเท่ากับ 4 หน่วยกิต กรณี สถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องการเพิ่มพูนประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ สามารถนำรายวิชาที่ ตรงหรือสัมพันธ์ กับลักษณะงานไปเรียนหรือฝึกในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือ หน่วยงานของรัฐใน ภาคเรียนที่จิตฝึก ประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพได้ รวมไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน 5.2 การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับผลการเรียน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายวิชาอื่น ๖. โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ เป็นรายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า บูรณาการความรู้ ทักษะและประสบการณ์ จากสิ่ง ที่ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจ ตั้งแต่การเลือกหัวข้อหรือเรื่อง ที่ จะศึกษา ทดลอง พัฒนาและหรือประดิษฐ์คิดค้น โดยการวางแผน กำหนดขั้นตอนกระบวนการ ดำเนินการ ประเมินผล สรุปและจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอ ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน นั้น ๆ โดยการจัดทำโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพดังกล่าวต้อง ดาเนินการ ดังนี้ 6.1 สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องจัดให้ผู้เรียนจัดทำโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ที่ สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับสาขาวิชา ในภาคเรียนที 3 และหรือภาคเรียนที่ 4 รวมจำนวน 4 หน่วยกิต ใช้ เวลา ไม่น้อยกว่า 216 ชั่วโมง ทั้งนี้ สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องจัดให้มีชั่วโมงเรียน 4 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ กรณีที่กําหนดให้เรียนรายวิชาโครงงาน 4 หน่วยกิต หากจัดให้เรียนรายวิชาโครงงาน 2 หน่วย กิต คือ โครงงาน 1 และโครงงาน 2 ให้สถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบันจัดให้มีชั่วโมงเรียนต่อสัปดาห์ ที่เทียบเคียง กับเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น 6.2 การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับผลการเรียน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายวิชาอื่น
41 การประเมินผลการเรียน การประเมินผลการเรียน เน้นการประเมินสภาพจริง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษา และการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวชชีพชั้นสูง การ ประเมินผลการเรียน เน้นการประเมินสภาพจริง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบ
42 หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ เป้าหมายการอาชีวศึกษา (มาตรา 6) พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พศ. 2561มาตรา 6 และมาตรา 9 กำหนดให้การจัดการ อาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ ต้องจัดตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด ให้ สอดคล้องกับ ➢ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 ➢ แผนการศีกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 - กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง ➢ มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ➢ กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ➢ เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ 2562 การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพต้องเป็นการจัดการศึกษาในด้านวิชาชีพที่ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อผลิต และ พัฒนา กําลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นการ ยกระดับการศีกษา วิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยนำ ความรู้ ในทางทฤษฎีอันเป็น สากลแลภูมิปัญญาไทยมา พัฒนาผู้รับการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในทางปฏิบัติและมีสมรรถนะ จนสามารถนำไปประกอบลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอ อาชีพโดยอิสระได้ หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร การ นำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะส่งผลให้ การจัดการศึกษาเป็นไป อย่างมีคุณภาพและบรรลุผล ตาม และหลักการของหลักสูตรมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ แนวปฏิบัติของสถานศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษา 1.วางแผนการเปิดสอนหลักสูตร โดยจัดประชุมครูในสถานศึกษาหรือ คณาจารย์ ใน สถาบันการ อาชีวศึกษาเพื่อชี้แจง รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร รูปแบบการจัด การศึกษาและ ระเบียบต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง กันรวมทั้งจัดประชาสัมพันธ์เพื่อ แนะแนวทางการศึกษาและการประกอบ อาชีพแก่ผู้เรียน ผู้ปกครองและ ผู้สนใจ 2.จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้สอนและผู้รับผิดชอบ งานที่เกี่ยวข้อง ได้ ศึกษาค้นคว้าและใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติงานได้แก่ เอกสารหลักสูตร ระเบียบ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เอกสาร แนะนำการใช้หลักสูตร และเอกสาร โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตรเป็นขั้นตอนที่ผู้พัฒนา หลักสูตร ต้องตัดสินใจว่าสมรรถนะที่ ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้สำเร็จการศึกษาตามที่ ได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ มาเป็น สมรรถนะประจำ สาขาวิชา หรือ มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ เพื่อมาก้าหนดเป็นโครงสร้าง
43 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาทุกประเภทวิชาและสาขาวิชาต้องมีคุณภาพอย่างน้อย 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะ 4.ต้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ การวัดผลและประเมินผลการเรียนและสําเร็จการศีกษา การวัดและประเมินผลการเรียนรูทำให้ผู้สอนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและ ผลสัมฤทธิ์ใน การ เรียนรู้ของ ผู้เรียน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล หรือราย กลุ่ม ดังนั้นผู้สอนจึงควรดำเนินการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครอบคลุม จุดประสงค์การเรียนรูที่ต้องการ ให้ เกิดขึ้นกับผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรม ลักษณะ นิสัยที่พึง ประสงค์ รวมทั้งตองสอดคลองกับสาระและกิจกรรม การเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ด้วย ทั้งนี้โดยเป็นไปตามระเบียบการวัดผลประเมินผลของหลักสูตร นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน และผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวัดผล ประเมินผลเพื่อรับทราบ ผลสำเร็จของการเรียนรู้ด้วย
44 หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา) การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย จัดการศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีมาตรฐานการอุดมศึกษาเป็น กลไก ในการก้าาหนดนโยบายของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการอุดมศึกษา ประกอบด้วย 1) มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต 2) มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา 3) มาตรฐานด้านการ สร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เน้นการจัดการศึกษาที่ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของนักศีกษาอย่างน้อย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรร 2) ด้านความรู้ 3) ต้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข หลักการหลักการสำคัญของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 1.เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การจัดการ ศึกษาตามที่ กำหนดใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการ ประกันคุณภาพ การศึกษาสู่การปฏิบัติใน สถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม 2. มุ่งเน้นที่ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) 5 ด้าน ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิง คุณภาพ เพื่อ ประกันคุณภาพบัณฑิต 3. มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและการจัดการเรียน การ สอนเข้า ไว้ด้วยกันและ เชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน 4. เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความมั่นใจใน กลุ่มผู้ที่ เกี่ยวข้องมีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและสถาบัน อื่นๆ ทั้งใน และ ต่างประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของ บัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี 5. มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันใดๆของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับและ เทียบเคียงกันได้ กับ สถาบันอุดมศึกษา ที่ดีทั้งใน และต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษา สามารถจัด หลักสูตร
45 ตลอดจนกระบวนการเรียนการ สอนได้อย่างหลากหลาย โดยมั่นใจถึงคุณภาพ ของบัณฑิต งจะมี มาตรฐานผล การเรียนรู้ ตามที่มุ่งหวัง สามารถ ประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข และภาคภูมิใจเป็นที่พึ่ง พอใจของนายจ้าง 6. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกาศ ตามที่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25555 มาตรา 34 กำหนดให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดทำมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้อง กับความ ต้องการตาม แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา ของชาติ โดย คำนึงถึงความ เป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการการ อุดมศึกษาจึงได้ดำาเนินการ จัดทำมาตรฐานการ อุดมศึกษาเพื่อใช้เป็น กลไกระดับกระทรวง ระดับ คณะกรรมการการอุดมศึกษา และ ระดับหน่วยงานเพื่อนำไปสู่การกำหนด นโยบายของสถาบันอุดมศึกษา ในการพัฒนาการอุดมศึกษาต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของ คณะกรรมการการอุดมศึกษาในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2559 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 จึงประกาศ มาตรฐาน การอุดมศึกษาไว้ดังต่อไปนี้ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานการอุดมศึกษาประกอบด้วย มาตรฐาน 3 ด้าน 12 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1.มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต บัณฑิตระดับอุดมศึกษาเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มี ความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมได้ อย่างมี ความสุขทั้ง ทางร่างกายและจิตใจ มีความ สำนึกและความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองและพลโลก 1.1 บัณฑิตมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน สามารถเรียนรู้ สร้างและ ประยุกต์ใช้ ความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง สามารถปฏิบัติงานและ สร้างงานเพื่อพัฒนาสังคมให้สามารถ แข่งขันได้ในระดับ สากล รับผิดชอบ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม 1.2 บัณฑิตมีจิตสำนึก ดำรงชีวิต และปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบบัณฑิตมีสุขภาพดีทั้ง ด้าน ร่างกายและจิตใจ มีการดูแลเอาใจใส่ รักษาสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้อง เหมาะสม 1.3 มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษามีการบริหารจัดการการ อุดมศึกษาตามหลัก ธรร มาภิบาล และพันธกิจของการอุดมศึกษาอย่างมีดุลยภาพ ก. มาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของการ บริหารการ อุดมศึกษามีการบริหารจัดการการอุดมศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงความ หลากหลายและความ เป็นอิสระทางวิชาการ
46 ตัวบ่งชี้ 1.มีการบริหารจัดการบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับ ความ ต้องการที่หลากหลายของประเภทสถาบัน และสังคมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่าง มี อิสระทาง วิชาการ 2.มีการบริหารจัดการทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล คล่องตัว โปร่งใสและ ตรวจสอบได้ มีการจัดการศึกษาผ่านระบบและวิธีการ ต่างๆ อย่าง เหมาะสมและคุ้มค่าคุ้มทุน 3.มีระบบการประกันคุณภาพเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการ อุดมศึกษาอย่าง ต่อเนื่อง ข. มาตรฐานด้านพันธกิจของการบริหารการอุดมศึกษา การดำเนินงานตามพันธกิจของ การ อุดมศึกษาทั้ง 4 ด้าน อย่างมี ดุลยภาพ โดยมีการประสานความร่วมมือรวมพลังจากทุกภาคส่วน ของ ชุมชน และ สังคมในการจัดการความรู้ ตัวบ่งชี้ 1.มีหลักสูตรและการเรียน การสอนที่ทันสมัย ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความ ต้องการที่หลากหลาย ของ ประเภทสถาบันและสังคม โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน แบบผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้น การ เรียนรู้และการสร้างงานด้วยตนเองตามสภาพจริง ใช้การวิจัยเป็นฐาน มีการประเมิน และใช้ผล การประเมิน เพื่อพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการ หลักสูตร ตลอดจนมี การบริหารกิจการนิสิต นักศีกษาที่เหมาะสม สอดคล้อง กับหลักสูตรและการเรียน 2.มีการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ที่เป็น การขยายพรมแดนความรู้ และ ทรัพย์สิน ทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมตามศักยภาพของ ประเภทสถาบัน มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและ ต่างประเทศ เพื่อ พัฒนาความสามารถ ในการแข่งขันได้ในระดับนานาชาติของสังคมและ ประเทศชาติ 3. มีการให้บริการวิชาการที่ทันสมัย เหมาะสม สอดคล้องกับความ ต้องการของสังคม ตามระดับ ความเชี่ยวชาญของประเภทสถาบัน มีการประสาน ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา กับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมทั้งในและ ต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของ สังคมและ ประเทศชาติ 4.มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อ เสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีการปรับใช้ศิลปะ วัฒนธรรม ต่างประเทศอย่าง เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 5.การเรียนรู้ มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการ แสวงหา การ สร้างและการจัดการความรู้ตามแนวทางหลักการ
47 ตัวบ่งชี้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทศ เพื่อเสริมสร้างสังคมฐานความรู้อันนำไปสู่สังคมฐานความรู้ และ สังคม แห่งการเรียนรู้ ➢ มีการแสวงหา การสร้าง และการใช้ประโยชน์ความรู้ ➢ มีการบริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการ วิจัยแบบบูรณาการ หลักการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักการสร้างเครือข่าย และหลักการประสานความร่วมมือรวมพลังอัน นำไปสู่ สังคมแห่งการเรียนรู้ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ อนุปริญญาที่ใช้ในปัจจุบันให้มี ความ เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ เกณฑ์การ รับรองวิทยฐานะ และมาตรฐานการศึกษา และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไป อย่างมี ประสิทธิภาพ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหาร ราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ2546 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ จึงให้ ออกประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "เกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ. 2558” ดังต่อไปนี้ 1. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า "เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ อนุปริญญา พ.ศ. 2558 2. ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้สำหรับหลักสูตรระดับอนุปริญญาทุก สาขาวิชาที่มี ระยะเวลา การศึกษา 6 ภาคการศึกษาปกติ (3 ปี) ตามระบบ ทวิภาค หรือหลักสูตรที่เทียบเท่าทุก สาขาวิชา สำหรับ หลักสูตรที่จะ เปิดใหม่และ หลักสูตรเก่าเพื่อปรับปรุงใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน และ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 3.ให้ยกเลิกประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง “เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร อนุปริญญา พ.ศ2532 ลง วันที่ 29 พฤษภาคม พศ. 2532 4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้อง กับ แผนพัฒนา การศึกษา ระดับอุดมศึกษาของชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของ สถาบันอุดมศึกษาและ มาตรฐานวิชาการ และวิชาชีพของสาขาวิชา นั้นๆ โดยมุ่งเน้นการผลิตบุคลากร ให้มีความรอบรู้ ทั้ง ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใน สาขาวิชาที่มีความจำเป็น สามารถนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการ ของสังคม รวมทั้งให้เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม ระบบการจัด การศีกษา ใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปี การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการศึกษาภาคฤดู ร้อน ให้กำหนด ระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตโดยมีสัดส่วน เทียบเคียงกันได้กับการศึกษา ภาคปกติ สถาบันอุดมศึกษาที่ จัดการศึกษาในระบบไตรภาค หรือระบบ จตุร ภาค ให้ถือแนวทางดังนี้
48 ระบบการจัดการศีกษา ใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาค การศึกษาปกติมี ระยะเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการศึกษาภาคฤดู ร้อน ให้กำหนด ระยะเวลา และจํานวนหน่วยกิตโดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษา ภาคปกติ สถาบันอุดมศึกษาที่ จัดการศึกษาใน ระบบไตรภาค หรือระบบ จตุรภาค ให้ถือแนวทางดังนี้ ระบบไตรภาค 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มี ระยะเวลา ศึกษาไม่น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ระบบจตุรภาค 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ภาคการศีกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มี ระยะเวลา ศึกษาไม่น้อยกว่า 10 สัปดาห์ สถาบันอุดมศึกษา จัดการศึกษาระบบอื่น ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น รวมทั้ง รายละเอียดการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจนด้วย การคิดหน่วยกิต 1.รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยาย หรืออภิปรายปัญหา ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อ ภาค การศีกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระบบทวิภาค 2. รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศีกษา ปกติ ให้มี ค่า เท่ากับ 1 หน่วยกิต ระบบทวิภาค 3.การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา ปกติ ให้มีค่า เท่ากับ 3หน่วยก็ตระบบทวิภาค ๔.การทําโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับ มอบหมายที่ใช้เวลาทํา โครงงานหรือ กิจกรรมนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อ ภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1หน่วยกิต ระบบทวิภาค 5. จํานวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาการศึกษา ให้มีจํานวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 90 หน่วย กิต ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา สําหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลาและไม่เกิน 4 ปี การศึกษา สําหรับการ ลงทะเบียนเรียน ไม่เต็มเวลาทั้งนี้ให้นับเวลาศึกษาจากวันที่เปิดภาคการศึกษา แรกที่รับเข้า ศึกษาในหลักสูตร นั้น
49 โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี โดยมี สัดส่วน จํานวน หน่วยกิต ของแต่ละหมวดวิชา ดังนี้ 1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่าง กว้างขวาง มีโลก ทัศน์ ที่กว้างไกล มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ ภาษาในการติดต่อ สื่อความหมายได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของ ศิลปวัฒนธรรมทั้ง ของ ไทยและของ ประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต และดำรงตนอยู่ในสังคม ได้เป็นอย่างดี สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็น รายวิชาหรือลักษณะบูรณา การใดๆ ก็ได้ โดย ผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุม สาระของกลุ่มวิชา สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษา และกลุ่มวิชา วิทยาศาสตร์ กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษา ทั่วไป โดยให้มี จํานวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต 2.หมวดวิชาเฉพาะ หมายถึง วิชาแกน วิชาเฉพาะด้านวิชาพื้นฐานวิชาชีพและ วิชาชีพ ที่มุ่ง หมายให้ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติงานได้โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อย กว่า 45 หน่วย กิต หากจัด หมวดวิชาเฉพาะในลักษณะวิชาเอกและวิชาโท วิชาเอกต้องมีจำนวนหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต และวิชาโทต้องมีจํานวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต 3. หมวดวิชาเลือกเสรีหมายถึง วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความ เข้าใจ ตามที่ ตนเองถนัดหรือ สนใจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชา ใดๆ ในหลักสูตรระดับอนุปริญญา ตามที่ สถาบันอุดมศึกษา กำหนด และให้ มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต สถาบันอุดมศึกษาอาจ ยกเว้นหรือเทียบโอน หน่วยกิต รายวิชา ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชา เฉพาะ และหมวดวิชาเลือก เสรี ให้กับ นักศึกษาที่มี ความรู้ความสามารถที่สามารถวัดมาตรฐานได้ ทั้งนี้ นักศึกษาต้อง ศึกษาให้ครบ ตามจํานวนหน่วยกิตที่กำหนด ไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และ เป็นไปตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนผล การเรียนระดับปริญญาเข้าสู่ การศึกษา ในระบบและแนวปฏิบัติ ที่ดีเกี่ยวกับการเทียบโอน ของสำนักงาน คณะกรรมการ การอุดมศึกษา