50 สรุปสภาพปัจจุบันของหลักสูตรไทย หลักสูตรของไทย มีการกำหนดหลักสูตร จุดหมาย หลักการ มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการ เรียนรู้ โครงสร้างเวลาเรียน แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อให้ การศึกษา ช่วยพัฒนา ชีวิตของคนในแนวทางที่พึงประสงค์ มีการจัดการศึกษาตามบริบทของการจัดการศึกษาอันเป็น ปานแผนการ ศึกษาของชาติ คือ พัฒนาคน พัฒนาครูอาจารย์ พัฒนาสังคม ในหลากหลายรูปแบบที่เน้น การมีส่วนร่วมของ องค์กรภาครัฐและเอกชน เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นด้านอาชีวศึกษามากขึ้น การ มุ่งเน้นให้มีการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานและ ระดับปริญญาตรีเพื่อเน้นการมีงานทำโดนอาศัยปัจจัยหลักใน องค์กรหลักจากภายนอกหลาย ปัจจัยเช่น ปัจจัย ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านระบบราชการ ด้าน การเมืองการปกครอง ด้านคุณธรรม จริยธรรมเป็นต้น ระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพต้องมีเนื้อหาสาระ และกระบวนการเรียนการสอนที่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีหลักการที่ดี และจำเป็นต้องอาศัยการ บริหารที่กระจายอำนาจให้ผู้ที่มี ส่วน เกี่ยวข้องและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด
51 บทที่ 2 สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทย สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 1.การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากกว่าการพัฒนาการเด็ก ทำให้เด็กเกิด ความเครียด 2. การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เนื่องจาก ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการที่สำคัญตามช่วงวัย ของ เด็ก จึงมีความคาดหวังที่ต้องการให้เด็กอ่านออกเขียนได้ จึงส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีระบบการ สอนแบบ “เร่งเรียนเขียนอ่าน” นอกจากนี้การใช้สื่อเทคโนโลยีในการเลี้ยงดูเด็ก เช่น ไอแพด โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรทัศน์ ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น 3. การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการศึกษาปฐมวัยของ ครู ผู้บริหารและ สถานศึกษา การขาดแคลนความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย จึงทำให้ครูเน้นให้เด็กอ่านเขียนมากกว่าวัย และเน้นการสอนที่มีลักษณะให้เด็กท่องจำ มากกว่าทักษะด้านการ คิด การตัดสินใจ ในขณะที่ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วนบริหารงานเพื่อชื่อเสียงของ โรงเรียนจึงเตรียมความ พร้อมของเด็ก เพื่อการสอบแข่งขันมากกว่าการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็ก รวมถึงปัญหาสถานศึกษาไม่ สามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง จึงทำให้เกิดการ เรียนเพื่อสอบเข้าโรงเรียนที่มี ชื่อเสียงตั้งแต่ระดับอนุบาล 4.ระบบการผลิตครูปฐมวัย จากค่านิยมของการเข้ารับราชการที่มีสวัสดิการที่ดีและมีความมั่นคง ใน ชีวิต จึงเกิดความต้องการเพิ่มคุณวุฒิด้านการศึกษาของครูให้สูงขึ้น แต่ระบบการผลิตครูในปัจจุบันยัง ขาด กลไกในการติดตามและประเมินคุณภาพ เช่น การเปิดรับครูปฐมวัยจำนวนมาก ทำให้อัตราส่วน ระหว่าง อาจารย์กับจํานวนนักศึกษาไม่สอดคล้องกันส่งผลต่อประสิทธิภาพในด้านการเรียนการสอน เนื่องจาก กระบวนการพัฒนาครูปฐมวัย ไม่สามารถทำได้ด้วยการบรรยายเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีการฝึก ประสบการณ์ วิชาชีพ โดยมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย มาดูแลอย่างใกล้ชิด
52 สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ปัญหาด้านครู ➢ ครูขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวหลักสูตร ➢ ครูไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการสอน ➢ ครูไม่มีเวลาศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรก่อนสอน ➢ ครูไม่สนใจจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ➢ ครูไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการวัดและประเมินผล ➢ จำนวนครูที่สอนวิชาทักษะและความสามารถเฉพาะทางไม่เพียงพอ ➢ ครูที่ได้รับการอบรมเรื่องหลักสูตรแล้วไม่นำมาขยายผลต่อให้กับครูที่ไม่ได้ไปอบรม จึงขาด ความรู้ ความชัดเจนในเรื่องวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายต่างๆของหลักสูตร ปัญหาด้านผู้บริหาร โรงเรียน ➢ ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตรน้อย ➢ ผู้บริหารไม่มีความรู้ ความสามารถในการนิเทศ ➢ ผู้บริหารไม่สนับสนุนการใช้หลักสูตรของคณะครูเท่าที่ควร ➢ ผู้บริหาร ไม่ได้ประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตร ให้กว้างขวางและทันเวลา ปัญหาด้านศึกษานิเทศก์ ➢ ศึกษานิเทศก์ นิเทศการหลักสูตรในโรงเรียนต่าง ๆ ไม่ทั่วถึง ➢ ศึกษานิเทศก์ ไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างถ่องแท้ ปัญหาด้านหน่วยงานกลาง ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ➢ ส่งเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบล่าช้าและไม่เพียงพอ ➢ ขาดการประชาสัมพันธ์หลักสูตร โดยเฉพาะกับผู้ปกครองทำให้ไม่ได้รับ ความร่วมมือ ➢ ขาดงบประมาณที่จะสนับสนุนการใช้หลักสูตร ➢ ให้การฝึกอบรม การให้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ การจัดการเรียนการสอน ➢ ครูสอนไม่ตรงกับวิชาเอก ➢ ครูยังไม่ใช้วิธีการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
53 ➢ ครูสอนโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้าง และแผนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ➢ ครูใช้สื่อในการเรียนการสอนน้อย ครูไม่ผลิตสื่อ ไม่ใช้สื่อเทคโนโลยี การจัดสรรงบประมาณ ในการ จัดชื้อ และจัดทาสื่อน้อย สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรการอาชีวศึกษา 1.ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรหลักสูตรก่อนถึงระดับ ปวช. คือระดับ มัธยม ต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระดับต่ำ เช่น อ่านสะกดคำไม่ได้
54 2.ขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิดปัญหา แม้ ครูจะ เตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดี เพียงพอ 3.ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) เพื่อให้ได้ ข้อมูล ในการนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและการพัฒนาการบริหารหลักสูตร ประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ทวิศึกษา) ต่อไป 4.เนื้อหาไม่สอดคล้องกับทักษะที่จําเป็นต่อการใช้ประกอบอาชีพ 5.ควรศึกษาสภาพและปัญหาการจัดครูให้เข้าสอนตรงตามวิชาเอก เพื่อเป็นข้อมูล ในการ พัฒนาการ เรียนการสอนให้มีคุณภาพ สภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทยหลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบมาตรฐาน คุณวุฒิ อุดมศึกษา) 1.ขาดแคลนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์โดยเฉพาะสาขาวิชาที่มีความต้องการ มาก ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรกรรม 2.อุดมศึกษามุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ละเลยคุณธรรม จริยธรรม การบริการวิชาการแก่ 3. มหาวิทยาลัยมักเลียนแบบต่างประเทศโดยไม่เข้าใจ หลักการและเป้าหมายที่แท้จริงของ หลักการที่เลียนแบบ 4.การเรียนการสอนยังเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติเน้นความรู้มากกว่าการนำไปใช้สังคม 5.สถาบันอุดมศึกษาปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างและ พัฒนา คุณภาพมาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจัย เปิดหลักสูตรตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึง คุณภาพ และ มาตรฐานการศึกษา ขาดการวางแผนพัฒนาสถาบันในระยะยาว 6.ทิศทางการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวมไม่ชัดเจน เกิดความซ้ำซ้อน ในเรื่องการ ให้บริการ บุคลากรที่จะเข้ามาในมหาวิทยาลัย เช่น ผู้บริหาร ส่วนหนึ่งไม่มีความรู้ทางด้านการบริหาร แต่ จะมีความรู้ เฉพาะด้านงานวิชาการเท่านั้น รัฐบาลควรมีการจัดอบรมการเป็นผู้บริหารขึ้นมา เหมือนกับ ข้าราชการสายอื่น 7.บัณฑิตที่จบการศึกษาออกมาบางส่วนไม่ได้คุณภาพ และมีปัญหาในด้านภาษาอังกฤษ สรุปสภาพปัญหาหลักสูตรในประเทศไทย
55 ด้านหลักสูตร ➢ องค์ประกอบของหลักสูตรมีไม่ครบถ้วน การจัดทำหลักสูตรขาดการวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้ส่วน เสีย ไม่มีส่วนในการจัดการจัดทำหลักสูตร แนวทางแก้ไขและพัฒนาหลักสูตร ด้านหลักสูตร ➢ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้มากขึ้น เพื่อเป็นการ ระดม สมองระหว่างผู้บริหาร ครู และชุมชน ในการจัดทำหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและ สัมฤทธิ์ผล และควรมีการติดตามประเมินผลการจัดทําหลักสูตรอย่างเป็นระบบ ด้านครูผู้สอน ➢ ครูขาดความตระหนัก เจตคติ ขาดการทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและโครงสร้างของ หลักสูตร - ขาดเทคนิค วิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความพร้อมและสนใจในการเรียน ➢ ขาดการเตรียมการสอนด้วยการเขียนแผน ด้านสื่อการเรียนการสอน ➢ ขาดสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน ➢ ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนเช่น เครื่องดนตรีไทย พื้นบ้าน สากล ด้านการจัดการเรียนการสอน ➢ ขาดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การเรียนรู้จากโครงงาน การ เรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้แบบปฏิบัติจริง บทที่ 3
56 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 การจัดการศึกษาปฐมวัยในสองทศวรรษหน้ามี 9 ด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยที่มีระดับผลกระทบ จาก มากไปหาน้อยที่จะเป็นไปได้ในสองทศวรรษหน้าได้แก่ ด้านการจัดหลักสูตรปฐมวัย (Curriculum) ประกอบด้วย 5 เรื่อง ด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย (Experience) ประกอบด้วย 8 เรื่อง ด้าน คุณภาพครูปฐมวัย (Quality) ประกอบด้วย 5 เรื่อง ด้านสถาบันผลิตครูปฐมวัย (Quality) ประกอบด้วย 5 เรื่อง ด้านสุขภาพและความปลอดภัยเด็กปฐมวัย (Health & Care) ประกอบด้วย 5 เรื่อง ด้านสภาพแวดล้อม (Environment) ประกอบด้วย 5 เรื่อง ด้านปฏิสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องเด็กปฐมวัย (Interaction) ประกอบด้วย 5 เรื่องด้านผู้นำการบริหารสถานศึกษาปฐมวัย (Administration) ประกอบด้วย5เรื่องด้านองค์กรที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการศึกษา ปฐมวัย (Organization) ประกอบด้วย 5 เรื่อง เมื่อนํามาสร้างภาพวงล้ออนาคตภาพ และภาพตัดอนาคตแล้วมี แนวโน้มที่จะเป็นไปได้ในระดับ มากที่สุด สำหรับการจัดการศึกษาปฐมวัยในสองทศวรรษหน้า 1. ด้านการจัดหลักสูตรปฐมวัย (Curriculum) ประกอบด้วย 5 เรื่องได้แก่ 1) การใช้หลักสูตรแกนกลางเป็นกรอบในการจัดประสบการณ์ 2) ผู้บริหาร ครู ผู้นำ ชุมชนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยนำหลักสูตรแกนกลาง มาประยุกต์ เข้า กับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องของ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ 3) ทิศทางของหลักสูตรควรยึด หลักการแนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการเป็นฐานให้ความสำคัญ กับองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาการเด็ก จิตวิทยาและ การทำงานของสมอง ส่วนหน้า 4) ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองมีความเข้าใจในหลักสูตร หลักการ แนวคิดการจัด ประสบการณ์ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 5) การประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ โดยผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ประเมินพัฒนาการตามมาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2. ด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย (Experience) ประกอบด้วย 8 เรื่องได้แก่
57 1) จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการและชุมชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ พัฒนาตนเองให้เท่าทัน กับการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถใช้ภาษาอังกฤษ และ เทคโนโลยีได้ ทำางานของสมองที่เหมาะกับอายุ วุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ 2) จัดประสบการณ์ที่หลากหลายผ่านการเล่น ตามธรรมชาติของเด็ก และจัดให้สอดคล้องกับ แบบการ เรียนรู้ของเด็ก ให้เด็กได้คิด วางแผน ตัดสินใจ ได้ลงมือ กระทำ เรียนรู้ผ่านประสาท สัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สํารวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วย ตัวเอง 3) จัดประสบการณ์แบบบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะ และสาระการเรียนรู้ 4) จัดประสบการณ์ให้เด็กมี ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ครูผู้ปกครองและ ผู้ใหญ่ ในบรรยากาศ ที่ อบอุ่น มีความสุขและมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อรวมทั้งมี แหล่ง เรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับ บริบท สังคม และ วัฒนธรรม 5) จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมการมีวินัยและ ความ รับผิดชอบ ต่อตนเอง 6) จัดประสบการณ์ให้เด็กมีทักษะการใช้ ชีวิตประจำวันตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 7) จัดประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ ครอบครัวและชุมชนมีส่วน ร่วมทั้งการวางแผน การ สนับสนุน สื่อแหล่งเรียนรู้ การเข้า ร่วมกิจกรรมและการประเมินพัฒนาการ และ 8) จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็น รายบุคคลเพื่อการพัฒนา การวิจัยในชั้นเรียน และการส่งต่อในระดับต่อไป 3. ด้านคุณภาพครูปฐมวัย (Quality) ประกอบด้วย 5 เรื่องได้แก่
58 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจและแม่นยำในหลักสูตรหลักการแนวคิดการจัดการศึกษา พัฒนาการ เต็ก ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา การทำงานของสมองส่วนหน้า และหลักการจัดการ ประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็ก 2) ครูสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างหลากหลายโดยเน้นเด็กเป็น สำคัญ สนอง ความ ต้องการ ความสนใจ ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล บริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ และตาม ธรรมชาติของ เก 3) ครูปฐมวัยต้องประเมินพัฒนาการเด็ก ให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย รวมทั้งประเมินเด็กได้อย่างแท้จริงตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 4) ครูสามารถสื่อสารกับเด็ก ผู้ปกครองและร่วมมือในการจัดการเรื่องความปลอดภัยของเด็ก ใน ด้าน การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และทางสังคม 5) ครูมีจรรยาบรรณวิชาชีพครูปฐมวัย 4. ด้านสถาบันผลิตครูปฐมวัย (Quality) ประกอบด้วย 5 เรื่องได้แก่ 1) ด้วยหลักสูตรผลิตครูปฐมวัยควร เชื่อมโยงกับการศึกษาระดับประถมศึกษา การศึกษา พิเศษ 2) จัดการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 3) สถาบันผลิตครูต้องมีระบบคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติ เฉพาะที่จะเป็นครูปฐมวัย 4) สถาบันผลิตครูปฐมวัยควรผลิต ครูที่เก่งเทคนิค การจัดกิจกรรม นิเทศ การวิจัย รวมทั้งมี ความแม่นยำทั้งศาสตร์และศิลป์ มีหน่วยงานประเมิน คุณภาพสถาบันผลิตครูและผู้ประกอบ วิชาชีพครู ปฐมวัยโดยเฉพาะ 5) สถาบันผลิตครูมีการติดตามและพัฒนาครูปฐมวัยประจำการตามการเปลี่ยนแปลงของ สังคมโลก 5. ด้านสุขภาพและความปลอดภัยเด็กปฐมวัย (Health & Care) ประกอบด้วย 5 เรื่องได้แก่
59 1) เด็กได้รับการดูแลด้านสุขภาพจากหน่วยงานสาธารณสุข 2) มีการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมการสำหรับเด็กให้สามารถดูแลตนเองได้ เมื่อเกิดภัยภิบัติสังคม 3) เด็กได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใน เรื่องสิทธิเด็กจากภัยที่เกิดจากครอบครัว และทาง 4) เต็กได้รับปกป้องจากอุบัติเหตุ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และเทคโนโลยี 5) เด็กได้รับการดูแลและสามารถดูแลตนเองเรื่องสุขนิสัย โภชนาการ และการ พักผ่อน 6. ด้านสภาพแวดล้อม (Environment) ประกอบด้วย 5 เรื่องได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมเอื้อต่อพัฒนาการของเด็ก 2) สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในโลกของเทคโนโลยี 3) สภาพแวดล้อมมีความปลอดภัยจากโรคติดต่อ อุบัติเหตุ และสื่อออนไลน์ 4) เด็กได้รับการฝึกสุขนิสัยในชีวิตประจำวันจากสิ่งแวดล้อม ใน 5) ชุมชนให้ความสำคัญ 7. ด้านปฏิสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องเด็กปฐมวัย (Interaction) ประกอบด้วย 5 เรื่องได้แก่ 1) ครูกับผู้บริหารมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น 2) ครูกับครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่ง กันและกันเพื่อพัฒนาหลักสูตรและแก้ปัญหาร่วมกัน 3) ครูกับผู้ปกครองมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน มีการสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน เพื่อให้ มีความเข้าใจตรงกัน 4) ครูกับเด็กมีสัมพันธภาพระหว่างกันในบรรยากาศที่เป็นมิตรเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก สร้าง จินตนาการ และ 5) เด็กกับเด็กมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นการฝึกทักษะพื้นฐานชีวิตมีการแลกเปลี่ยน ความรู้สึกที่ ดีร่วมกัน มีโอกาสปรับตัวและทำงานร่วมกันเป็นทีม
60 8. ด้านผู้นําการบริหารสถานศึกษาปฐมวัย (Administration) ประกอบด้วย 5 เรื่องได้แก่ 1) ผู้นำที่เข้าใจในหลักการทฤษฎีแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัยและนำสู่การปฏิบัติสามารถใช้ กระบวนการวิจัยในการพัฒนาสถานศึกษา 2) ผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงด้านกลยุทธ์สู่คุณภาพการศึกษาด้านปฐมวัย 3) ผู้นำในการพัฒนา ลหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตให้สอดคล้องกับชุมชนวัฒนธรรม ใน การดารงชีวิตในโลกเทคโนโลยีจัดสถานศึกษา ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ชุมชนทาง วิชาชีพ (Professional Learning Community 4) ผู้นำในการพัฒนาบุคลากรให้เป็นครูมืออาชีพสนับสนุนการทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้ ครู ปฐมวัยทําในสิ่งที่เรียนมาและมีความสามารถในการนิเทศ และ 5) ผู้นำที่สามารถบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ อย่างมี ประสิทธิภาพ 9. ด้านองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย (Organization) ประกอบด้วย 5 เรื่อง 1) หน่วยงานที่เป็นแกนหลักดูแลนโยบายมาตรฐานแกนกลางของเด็กปฐมวัยเพื่อประสานกับ หน่วยงานรับผิดชอบ 2) หน่วยงานที่ดูแลพัฒนาการเด็กและสุขภาวะเด็กได้แก่กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กรมการแพทย์ ทีทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยี 3) หน่วยงานที่ดูแลและติดตามการใช้หลักสูตร ศักยภาพครูปฐมวัย และสถานศึกษาปฐมวัย ที่ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีได้แก่กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชนและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็น ต้น 4) หน่วยงานที่ดูแลสิทธิเด็กและสวัสดิ์ ภาพความปลอดภัยที่ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยี ได้แก่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมประชาสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์กรเอกชนแล มูลนิธิต่างๆเป็น ต้น และ
61 5) หน่วยงานที่ดูแลการจัดสภาพแวดล้อมระดับ การศึกษาปฐมวัยที่ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยี ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการเป็น ต้น แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560)
62 1. การเพิ่มคุณภาพของครู ให้ครูได้เข้ารับการอบรมทุกคน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพ 2. การเพิ่มงบประมาณในการจัดหาสื่อ การปรับปรุงคุณภาพ และหลักสูตรโดยเน้นการประกอบ อาชีพ 3. การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น 4.การยุบโรงเรียนรวมเข้าด้วยกันแทนการสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ 5. เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 6. มีความสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมทักษะการทํางานและการดำาเนินชีวิต 7.มีความสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ 8. มีแนวทางที่จะเลือกดำเนินชีวิต 9. มีความสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของตนเองให้เจริญถึงขีดสุด 10. มีความสามารถที่จะนำตนเองได้ การควบคุมตนเองได้ 11. มีโลกทัศน์ที่กว้างและมีน้ำใจแบบนานาชาติรวมทั้งมีค่านิยมและความสำนึกในความเป็น ชาติไทย ของตน 12. มีค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรม 13. มีสุนทรียภาพในการดำาเนินชีวิต แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรการอาชีวศึกษา
63 1. ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการพัฒนาความรู้ใหม่ให้ เท่าทันกับสภาวการณ์ปัจจุบันและมีทักษะ ต่อการ เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 2. สถานศึกษาใช้เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและครูภูมิ ปัญญาท้องถิ่น ด้านวิชาชีพมาถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนเพื่อลดปัญหาความขาดแคลนครู 3. ครูจัดทำแผนพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล (Individual Planning: ID PLAN) เพื่อให้ผู้เรียนได้ เกิด การเรียนรู้ ตามศักยภาพของแต่ละบุคคลโดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรายวิชาที่สนใจ 4. การประเมินคุณภาพการศึกษาต้องเน้นกระบวนการในการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดความ ยั่งยืนและต่อเนื่อง 5. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 6. มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นโดยการเรียนรู้แบบสะสมหน่วยกิตหรือหลักสูตรระยะสั้นที่ สามารถนำมาเทียบ โอนเป็นผลการเรียนในหลักสูตรแต่ละระดับได้เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต 7. เพิ่มงบประมาณในการจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ตามสภาวการณ์ปัจจุบันเพื่อการฝึกทักษะผู้เรียนให้ เกิดสมรรถนะ วิชาชีพตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน 8.สถานศึกษาต้องจัดการฝึกอบรมให้แก่ครูผู้สอนวิชาชีพให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยีของแต่ละ อาชีพเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีทางอาชีพในการปฏิบัติงานได้ 9. สถานศึกษาใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆในการติดตามผู้สําเร็จ การศึกษา 10. กระบวนการจัดการอาชีวศึกษาให้มีคุณลักษณะเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการด้าน ทักษะและด้าน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สถานศึกษาจะต้องมีการพัฒนากระบวนการต่างๆซึ่งประกอบไป ด้วยภาวะผู้นำของ ผู้บริหารสถานศึกษามีอัตราส่วนที่เหมาะสมของครูต่อผู้เรียนภายใต้การจัดห้องเรียน ขนาดเล็ก หลักสูตรมี ความเชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพระดับชาติหรือระดับสากล โดยความร่วมมือกับ สถานประกอบการมี ผู้เชี่ยวชาญและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียน การสอนตามแผนการ เรียนรู้
64 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรอุดมศึกษา (ภายใต้กรอบ มาตรฐาน คุณวุฒิอุดมศึกษา) การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ เน้นให้ผู้เรียนมี ความ ฉลาด รอบรู้ มีปัญญา รู้เท่าทันโลกและสามารถสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเองได้ ครูผู้สอนมี ความสามารถใน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสอน ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถสร้าง นวัตกรรมได้ สถาบันอุดมศึกษาต้องมีการปรับเปลี่ยนและติดตามการเปลี่ยนแปลง ของสังคมโลก และการจัด การศึกษาเพื่อทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้การส่งมอบผลผลิตสู่หน่วยผู้ใช้ได้ อย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพ รวมถึงการผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พศ. 2562 ที่ให้ความสำคัญ กับการจัดการศึกษาที่ยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคมหลักเสรีภาพทาง วิชาการ หลักความเป็นอิสระ หลัก ความเสมอภาค และหลักธรรมาภิบาล (ราชกิจจานุเบกษา, 2562) ตาม ทัศนะของผู้เขียนควรส่งเสริมให้ สถาบันอุดมศึกษามี ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมีความเป็น อิสระทางวิชาการ สามารถพัฒนาผู้เรียน ให้มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีองค์ความรู้ทางวิชาการในแขนง ต่าง ๆ ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก มี การวิจัยและการสร้าง ๆ นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้แก่กลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมาย ตลอดจนสามารถถ่ายทอด เทคโนโลยีไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ อย่าง เหมาะสเพื่อสร้าง ความเป็นเลิศในทางวิชาการและมีทักษะขั้นสูงในการ ประกอบวิชาชีพสามารถตอบสนองความต้องการ ของภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างแท้จริง สถาบันอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีหน้าที่ที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) จัดการศึกษาที่คำนึงถึง เหตุผล ความคุ้มค่า และความจำเป็นของประเทศ รวมทั้งการขยาย โอกาส ทางการศึกษาแก่ผู้เรียนกลุ่มต่าง ๆ จัดให้มีหลักสูตรการศึกษาหรือการเรียนการสอนในรูปแบบที่ หลากหลายเพื่อรองรับการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษานอกเวลางาน เพื่อพัฒนาศักยภาพ และทักษะ การ ทำงานของบุคคลในทุกช่วงวัย เน้นการสร้างเสริม ผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมี ความ รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ 2) ภารกิจด้านการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการและความจําเป็น ของ ประเทศเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมและเพื่อความเจริญ งอกงามทางวิชาการ 3) ภารกิจการบริการวิชาการแก่สังคมสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ในการให้บริการทางวิชาการให้ คำปรึกษาทางวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และ
65 การ สร้างนวัตกรรมแก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และสังคม เพื่อนาความรู้ไปใช้ประโยชน์และ ส่งเสริมการ เรียนรู้ตลอดชีวิต 4) ภารกิจด้านการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมโดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน และ เผยแพร่ ภูมิ ปัญญา ท้องถิ่นและของชาติ บูรณาการการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียน การสอนและ กิจกรรมของผู้เรียน สรุปแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 เป็นการจัดการเรียนการสอนในอนาคตที่จะนำความ เจริญและทันสมัย จึงเน้นการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีองค์ความรู้ทาง วิชาการในแขนงต่าง ๆ ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก มีการวิจัยและการสร้าง ๆ นวัตกรรมใหม่ ๆ การเพิ่ม งบประมาณในการจัดหาสื่อ การปรับปรุงคุณภาพ และหลักสูตรโดยเน้นการ ประกอบอาชีพสื่อและเทคโนโลยี ต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น มีการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองซึ่งผู้เรียน จะสามารถค้นคว้า มีทักษะเข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น
66 สรุป หลักสูตรของไทย มีการกำหนดหลักสูตร จุดหมาย หลักการ มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ โครงสร้างเวลาเรียน แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อให้ การศึกษาช่วย พัฒนา ชีวิตของคนในแนวทางที่พึงประสงค์ มีการจัดการศึกษาตามบริบทของการจัดการศึกษาอันเป็นปาน แผนการ ศึกษาของชาติ คือ พัฒนาคน พัฒนาครูอาจารย์ พัฒนาสังคม ในหลากหลายรูปแบบที่เน้นการมี ส่วนร่วมของ องค์กรภาครัฐและเอกชน เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นด้านอาชีวศึกษามากขึ้น การมุ่งเน้นให้มี การจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานและ ระดับปริญญาตรีเพื่อเน้นการมีงานทำโดนอาศัยปัจจัยหลักในองค์กรหลัก จากภายนอกหลาย ปัจจัยเช่น ปัจจัย ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านระบบราชการ ด้านการเมืองการ ปกครอง ด้านคุณธรรม จริยธรรมเป็นต้น ระบบการศีกษาที่มีประสิทธิภาพต้องมีเนื้อหาสาระ และ กระบวนการเรียนการสอนที่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีหลักการที่ดี และจำเป็นต้องอาศัยการบริหารที่ กระจายอำนาจให้ผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด ผลให้จัดระบบบริหาร จัดการกระทรวงศึกษาธิการรูปแบบ ใหม่ โดยบูรณาการองค์กรหลักของกระทรวงทั้ง 5 องค์กรหลัก โดยให้ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้มีอำนาจ สูงสุด กระจายอำนานไปสู่ส่วนภูมิภาคไปยัง ศึกษาธิการภาค 118 โดยแต่ระภาคจะประกอบไปด้วยกลุ่ม จังหวัด ในแต่ละจังหวัดมีศึกษาธิการจังหวัดเป็น ฝ่ายกำกับดูแล หน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัด เขตพื้นที่ และสถานศึกษาซึ่งเป็นการกระจายอำนาจโดย ให้มีการกำกับ ควบคุมดูแลกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น สภาพปัญหาของหลักสูตรในไทย จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่ามีองค์ประกอบของหลักสูตรมีไม่ ครบถ้วน การจัดทำหลักสูตรขาดการวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่มีส่วนในการจัดการจัดทำหลักสูตรครู ขาด ความตระหนัก เจตคติ ขาดการทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและโครงสร้างของหลักสูตรขาด เทคนิค วิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความพร้อมและสนใจในการเรียนขาดการเตรียมการสอนด้วยการเขียน แผนขาดสื่อ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนเช่น เครื่องดนตรี ไทย พื้นบ้าน สากล ขาดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การเรียนรู้จาก โครงงาน การเรียนรู้ จากธรรมชาติ การเรียนรู้แบบปฏิบัติจริงขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่ สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจาก ขาดงบประมาณและการคมนาคม ขนส่งไม่มีประสิทธิภาพพอ และขาดการวางแผนด้านเวลา การที่ไม่มี การวางแผนเรื่องเวลาใน การทำงาน พัฒนาหลักสูตร ไม่ลดคาบสอน เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน การ สะท้อนความคิดและ การพัฒนาหลักสูตร ซึ่งเวลานี้เกี่ยวพันไปถึงเจตคติ และระดับแรงจูงใจของครู ครู และผู้มีส่วนร่วม บางส่วนจึงอาจมีปฏิกิริยา ต่อต้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้
67 แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 จากที่ได้ค้นคว้าข้อมูลพบว่า การจัดการเรียนการ สอน ในอนาคตที่จะนำ ความเจริญและทันสมัย จึงเน้นการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีองค์ ความรู้ทางวิชาการในแขนงต่าง ๆ ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นบุคคลที่มี ความสามารถในการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสาร เน้นการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น และ สถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของ ผู้เรียน แต่ ส่วนกลางยังคงเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพการ จัดการศึกษา ของสถานศึกษาแต่ละแห่ง มีการวิจัยและการสร้าง ๆ นวัตกรรมใหม่ ๆ การเพิ่มงบประมาณ ในการจัดหาสื่อ การปรับปรุงคุณภาพ และหลักสูตรโดยเน้นการ ประกอบอาชีพสื่อและเทคโนโลยี ต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการ เรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น มีการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองซึ่ง ผู้เรียนจะสามารถค้นคว้า มีทักษะ เข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายได้ ตลอดเวลา จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง การจัดการศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้นสภาพ โลกาภิวัฒน์ที่มีการเชื่อมโยงในทุกด้านร่วมกันทั่ว โลก
68 บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2560), หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กระทรวงศึกษาธิการ. (2560), หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 กระทรวงศึกษาธิการ. (2563), หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พุทธศักราช 2562 พิชญ์สุกานต์ จรพุทธานนท์. (2556). สาระที่ 7 ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2553)มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อรรถพล สังขวาสี, พา อักษรเสือ และชัยยุทธ ศิริสุทธ. (2564)อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยใน ทศวรรษ หน้า (พ.ศ. 2565-2574)มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลิ่นแก้ว มาตา ชวนชม ชินะตังกูร และกมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2553). การจัดการศึกษาปฐมวัย ใน สองทศวรรษหน้า มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี สันติ งามเสริฐ (2560). การบริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ฉัตรดนัย ศรีสา. (2559)ปัญหาการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานศึกษา ดร.ประหยัด พิมพา (มกราคม-มิถุนายน 2561), การศึกษาไทยในปัจจุบัน, วารสารมหาวิทยาลัยมหาม กุฏราช วิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, ปีที่ 7 (ฉบับที่ 1) นายกฤษฎา อัศฤกษ์. (2562), แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร https://kritsada141242.blogspot.com/ พิชชาพร พุ่มมาก. (2559)ปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ.2560), วิทยานิพนธ์เสนอต่อมหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
69