The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นวัตกรรมทางการบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม เป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการออกเเบบ DALI เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน "P.N. SGDQ Model"

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Janchai Pokmoonphon, 2022-06-13 21:27:31

P.N. SGDQ Model

นวัตกรรมทางการบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม เป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการออกเเบบ DALI เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน "P.N. SGDQ Model"

Keywords: โรงเรียนคุณภาพ

นวัตกรรมทางการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม
เปาหมายของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ดวยกระบวนการออกแบบDALIเพื่อคุณภาพการศึกษาผานการมีสวนรวมอยางยั่งยืน

“P.N.SGDQModel”

โรงเรียนโพธนิมิติวิทยาคม

สำนกังานเขตพ้นืที่การศกึษามธัยมศึกษานนทบรุี
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ัพืน้ฐาน

บทสรุปผ้บู ริหาร ก

นวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม เรื่อง เป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียน
คุณภาพตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ด้วยกระบวนการออกแบบ DALI เพื่อคุณภาพการศกึ ษาผ่าน
การมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนด้วย “P.N. SGDQ Model” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) สร้างต้นแบบเป้าหมายของการ
พัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการออกแบบ DALI เพื่อคุณภาพ
การศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน “P.N. SGDQ Model” ๒) สร้างต้นแบบหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน
โพธินิมิตวทิ ยาคม ได้แก่ “หลักสูตรห้องเรียนคุณภาพในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น” และ “หลักสูตรห้องเรียนเนน้
อาชีพในระดับมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย” เพ่อื นำมาใชใ้ นปีการศึกษา ๒๕๖๔ – ๒๕๖๖

เป้าหมายเชิงปริมาณ คือ นักเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๑,๐๑๖ คน และครู
บุคลากรทางการศกึ ษาโรงเรียนโพธนิ ิมิตวิทยาคม จำนวน ๕๖ คน ได้รับการจดั การศึกษาภายใต้รปู แบบการบริหาร
โรงเรยี นคณุ ภาพ “โพธนิ ิมติ วิทยาคม””

เป้าหมายเชิงคุณภาพ คือ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมส่วนใหญ่
พึงพอใจการจัดการศกึ ษาภายใต้รูปแบบการบริหารโรงเรยี นคุณภาพ “โพธนิ ิมิตวทิ ยาคม”

ผลการดำเนนิ งาน ๑. ผลการออกแบบและพฒั นานวัตกรรมการบริหารจดั การสถานศึกษาเร่ือง เปา้ หมาย
ของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการออกแบบ DALI
เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนด้วย “P.N. SGDQ Model” จากการพัฒนานวัตกรรมฯ
ก่อให้เกิดหลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม” จำนวนสองหลักสูตรย่อย ได้แก่ หลักสูตร
ห้องเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ หลักสูตรห้องเรียนคุณภาพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ได้ผลลพั ธ์ทเี่ กดิ จากการพัฒนาและนำนวตั กรรมไปใช้งาน ประกอบด้วย ๓ ตวั บ่งชี้ คอื ๑) ผู้เรยี นคณุ ภาพ (Quality
Students) ๒) ครคู ุณภาพ (Quality Teachers) และ ๓) โรงเรยี นคุณภาพ

๒. จากการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และนักเรียน ต่อหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” ใน ๕ ด้าน ดังนี้ ๑) ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
๒)การจัดกระบวนการเรียนรู้ ๓) การใช้สื่อการเรียนการสอน/แหล่งการเรียนรู้ ๔) การวัดผลและการประเมินผล
การเรียนรู้ ๕) การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมทั้ง ๕ ด้าน มีผลการประเมินระดับ
ความพึงพอใจอย่ใู นระดับมาก

ขอ้ เสนอแนะเชิงนโยบาย
๑. ควรมีการพัฒนาและต่อยอดหลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม”ควรมีการขยายผล
การดำเนินงานอย่างต่อเน่อื ง
๒. ควรมกี ารวางแผนพัฒนาคุณภาพการศกึ ษารว่ มกนั ระหว่างผบู้ ริหารและครอู ยา่ งตอ่ เน่ืองและเป็นระบบ
๓. ควรมีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนใน
กล่มุ เป้าหมาย

คำนำ ข

ตามที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรีสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินงานโครงการ
Innovation For Thai Education (IFTE) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ และมีกิจกรรมการคัดเลือกแนวทาง
หรอื รปู แบบการพัฒนานวตั กรรมการศึกษา ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรยี นรู้ และการนิเทศ
ตดิ ตาม และประเมนิ ผล โดยทางโรงเรยี นโพธนิ มิ ิตวทิ ยาคมไดร้ บั ทราบแลว้ น้ัน

ด้านการบริหารจัดการโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม เรื่อง เป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการออกแบบ DALI เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมีส่วน
ร่วมอย่างยั่งยืนด้วย “P.N. SGDQ Model” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบ เป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียน
คุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการออกแบบDALI เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมี
ส่วนร่วมอย่างยั่งยืน “P.N. SGDQ Model” และสร้างต้นแบบหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม
ได้แก่ “หลักสูตรห้องเรียนคุณภาพในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น” และ “หลักสูตรห้องเรียนเน้นอาชีพในระดับ
มัธยมศกึ ษาตอนปลาย” เพ่อื นำมาใช้ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ – ๒๕๖๖

รายงานฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนโพธินิมิต
วิทยาคม ที่ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมจนประสบผลสำเร็จสามารถนำไปใช้ในการบริหารโรงเรียน
อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดนวัตกรรมทางการศึกษาคือ หลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” โดย
อาศัยต้นแบบเป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการ
ออกแบบDALI เพ่ือคุณภาพการศกึ ษาผา่ นการมสี ่วนร่วมอย่างยั่งยืน “P.N. SGDQ Model”

ขอขอบคุณคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรยี นโพธนิ มิ ิตวิทยาคมเปน็ อย่างยิ่งทรี่ ่วมสร้างสรรค์
ผลงานการบริหารจัดการคณุ ภาพการศกึ ษาของโรงเรยี นโพธนิ ิมิตวทิ ยาคมใหม้ ีคุณภาพอย่างยง่ั ยนื

คณะผูจ้ ัดทำ

สารบัญ ค

บทสรปุ ผู้บรหิ าร หนา้
คำนำ ก
สารบัญ ข
สารบัญตาราง / แผนภูมิ ค
สารบญั ภาพ ง
สว่ นที่ ๑ บทนาํ จ

๑. ชือ่ ผลงานนวัตกรรม ๑
๒. ชื่อผู้พัฒนานวัตกรรม/ผู้รว่ มพัฒนานวัตกรรม ๑
๓. รายชอื่ เครอื ข่ายความรว่ มมือ (MOU) / การบูรณาการเพอ่ื ใช้นวัตกรรม ๑
๔. กรอบแนวคิดในการพฒั นานวัตกรรม ๑
๕. ความเปน็ มาและความสําคัญ ๒
๖. วัตถปุ ระสงค์และเป้าหมายการพฒั นา ๔
๗. ขอบเขตการดาํ เนนิ งาน/กลุ่มเป้าหมาย ๕
๘. ระยะเวลาดําเนนิ การ ๕
ส่วนท่ี ๒ หลักการ แนวคิด ทฤษฎที ี่เกีย่ วข้อง
๑. นโยบายโรงเรยี นคุณภาพ ๖
๒. หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง (Philosophy of the Sufficiency Economy) ๖
๓. ทฤษฎแี ละวิธีการเชงิ ระบบ (System Theory) ๗
๔. การนำมาตรฐานไปส่กู ารปฏิบัติ (Standard Implementation) ๘
๕. หลักการตัง้ เป้าหมายดว้ ยเทคนคิ (S.M.A.R.T Technique) ๘
๖. กระบวนการออกแบบ DALI (DALI Design Process) ๙
๗. การมสี ว่ นร่วมทางการศึกษา (Educational Participation) ๑๐
สว่ นท่ี ๓ ผลการดําเนินงาน
๑. กระบวนการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม ๑๒
๒. รายละเอยี ดของนวัตกรรม ๑๓
๓. รปู แบบและวิธีการนาํ นวตั กรรมไปใช้งาน ๒๓
๔. ผลลัพธท์ ีเ่ กิดจากการพัฒนาและนาํ นวตั กรรมไปใชง้ าน ๒๙
๕. ปัจจัยความสําเรจ็ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ๔๐
๖. การเผยแพร/่ การขยายผลต่อยอด ๔๕
บรรณานกุ รม ๔๖

สารบญั ตาราง ง

ตาราง การเปรยี บเทียบจำนวนนกั เรียนที่มผี ลการเรยี นตดิ ค้าง หนา้
ตารางที่ ๑ ปีการศกึ ษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ ๒๙
ตารางท่ี ๒ แสดงผลการเปรยี บเทียบผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนระดับดี ( เกรด ๓ ) ขน้ึ ไป ๓๑
ตารางท่ี ๓ ระดับชั้นมธั ยมศึกษาตอนตน้ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ ๓๒
ตารางท่ี ๔ แสดงผลการเปรียบเทยี บผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนระดับดี ( เกรด ๓ ) ขน้ึ ไป ๓๒
ตารางที่ ๕ ระดบั ช้นั มธั ยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ ๓๓
ตารางที่ ๖ การเปรยี บเทียบผลการประเมินคณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ ๓๓
ตารางท่ี ๗ ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้ ปีการศกึ ษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ ๓๔
ตารางที่ ๘ การเปรยี บเทยี บผลการประเมนิ คณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์ ๓๕
ตารางท่ี ๙ ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย ปีการศกึ ษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ ๓๕
ตารางที่ ๑๐ การเปรยี บเทยี บผลการทดสอบระดบั ชาติ (O - NET) ในระดบั โรงเรียน ๓๖
คะแนน O-NET ระดับมัธยมศึกษาปที ่ี ๓ ปีการศกึ ษา ๒๕๖๔
ตารางท่ี ๑๑ การเปรยี บเทยี บผลการทดสอบระดบั ชาติ (O - NET) ในระดับโรงเรยี น ๓๗
แผนภูมทิ ี่ ๑ คะแนน O-NET ระดับมัธยมศึกษาปีท่ี ๖ ปกี ารศึกษา ๒๕๖๔ ๒๙
แผนภมู ิที่ ๒ แสดงข้อมูลรายละเอียดครผู ู้สอนทส่ี อนตรงตามวฒุ แิ ละมีใบประกอบวชิ าชพี ๓๑
แผนภูมทิ ี่ ๓ การพฒั นาตนเองของบุคลากรโรงเรยี นโพธินมิ ิตวทิ ยาคม ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ๓๒
แผนภูมิท่ี ๔ รายงานแสดงจำนวนครูท่ผี ่านการอบรมเชิงปฏบิ ัตกิ ารจดั ทำโครงการสอนการจดั ทำแผน ๓๓
แผนภูมทิ ี่ ๕ การจัดการเรยี นรู้แบบ Active Learning และการจัดทำแผนการจัดการเรียนร้แู บบ ๓๔
บูรณาการหลักทฤษฎีของเศรษฐกจิ พอเพียง
ผลการประเมนิ ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และนักเรยี น ท่มี ตี อ่ หลกั สูตรสถานศึกษา
หลักสตู รโรงเรียนคณุ ภาพ “โพธินมิ ติ วทิ ยาคม”
แสดงผลการเปรียบเทยี บจำนวนนักเรยี นท่ีมผี ลการเรียนติดค้างปีการศกึ ษา๒๕๖๓–๒๕๖๔
แสดงผลการเปรยี บเทยี บผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนระดับดี ( เกรด ๓ ) ขน้ึ ไป
ระดบั ชั้นมธั ยมศึกษาตอนต้น ปีการศกึ ษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
แสดงผลการเปรียบเทยี บผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนระดับดี ( เกรด ๓ ) ข้นึ ไป
ระดบั ชัน้ มธั ยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
แสดงการเปรียบเทยี บผลการทดสอบระดบั ชาตขิ ัน้ พ้นื ฐาน (O-NET)
ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนโพธนิ ิมิตวทิ ยาคม ระหวา่ งปี ๒๕๖๒–๒๕๖๔
แสดงการเปรียบเทยี บผลการทดสอบระดบั ชาติขนั้ พ้ืนฐาน (O-NET)
ระดบั ช้นั มัธยมศึกษาปีท่ี ๖ โรงเรียนโพธนิ ิมติ วิทยาคม ระหว่างปี ๒๕๖๒–๒๕๖๔

สารบัญภาพ จ

ภาพ จุดเน้น ๗ ดา้ น โรงเรยี นคณุ ภาพ สพฐ. หน้า
ภาพที่ ๑ พิธลี งนามบนั ทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรยี น ๒
ภาพท่ี ๒ คุณภาพระดับมธั ยมศกึ ษา ๒
วสิ ยั ทศั น์การดำเนนิ งาน โรงเรียนคุณภาพ ระดับมัธยมศึกษา
ภาพท่ี ๓ หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓
ภาพที่ ๔ กระบวนการออกแบบ DALI ๗
ภาพท่ี ๕ รปู แบบการพฒั นาโรงเรยี นคุณภาพตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ๑๐
ภาพที่ ๖ ด้วยกระบวนการออกแบบ DALI เพ่อื คุณภาพการศึกษาผา่ นการมสี ่วนรว่ ม ๑๑
อย่างยั่งยนื “P.N. SGDQ Model”
ภาพที่ ๗ วงจรหลักการของทฤษฎีระบบ (System Theory) ๑๒
ภาพท่ี ๘ เป้าหมายการพัฒนาโรงเรยี นคณุ ภาพ (School Goal) ๑๕
ภาพท่ี ๙ รายงานสารสนเทศ ปกี ารศึกษา ๒๕๖๔ ๑๕
ภาพท่ี ๑๐ คู่มอื โรงเรยี นปลอดภัย ๑๗
ภาพท่ี ๑๑ กระบวนการออกแบบ DALI ๒๓
ภาพที่ ๑๒ หลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งสู่หลกั สตู รสถานศกึ ษา ๒๔
ภาพท่ี ๑๓ โครงรา่ งการดำเนินงานโดยใช้หลักการของทฤษฎรี ะบบ (System Theory) ๒๔
ภาพที่ ๑๔ Timeline การดำเนนิ งานหลักสูตรโรงเรยี นคณุ ภาพ ๒๗
ภาพที่ ๑๕ PowerPoint นำเสนอหลกั สูตรห้องเรยี นคุณภาพ ๔๐
ภาพที่ ๑๖-๑๗ การนำเสนอหลกั สตู รห้องเรียนคณุ ภาพระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๔๒
ให้กับนกั เรยี นระดับ ม. ๓



นวตั กรรมการบรหิ ารจดั การศกึ ษาโรงเรียนโพธนิ ิมิตวิทยาคม
เปา้ หมายของการพฒั นาโรงเรียนคณุ ภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
ด้วยกระบวนการออกแบบ DALI เพอ่ื คุณภาพการศกึ ษาผา่ นการมสี ว่ นร่วมอยา่ งย่ังยืน

ด้วย “P.N. SGDQ Model”
สงั กดั สำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษามัธยมศึกษา นนทบรุ ี

ส่วนที่ ๑ บทนำ

๑) ชือ่ ผลงานนวัตกรรม:

เปา้ หมายของการพัฒนาโรงเรยี นคุณภาพตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการ
ออกแบบ DALI เพอ่ื คุณภาพการศกึ ษาผา่ นการมีสว่ นร่วมอยา่ งย่งั ยืนด้วย “P.N. SGDQ Model”

๒) ชอื่ ผรู้ ่วมพฒั นานวตั กรรม:

๑. นางกรชนก สุตะพาหะ ประธานกรรมการ
๒. นางกชพรรณ มีประดิษฐ รองประธานกรรมการ
๓. นางสาวรุ่งฤดี หลวงเจรญิ กรรมการ
๔. นางสาวจนั จริ า ทรพั ยอ์ นนั ต์ กรรมการ
๕. นางสาวสิราวรรณ เส่ยี งบุญ กรรมการ
๖. นางสาวสภุ าวดี มุ้ยจนี กรรมการ
๗. นางสาวณัฐภัสสร อนันต์ธนสวัสดิ์ กรรมการ
๘. นางสาวขวญั สุดา กองชา้ ง กรรมการ
๙. นายวสันต์ ศรีเมือง กรรมการ
๑๐. นางสาววรางคณา นิ่มราศรี กรรมการและเลขานกุ าร

๓) รายช่อื เครอื ข่ายความรว่ มมือ (MOU) / การบูรณาการนวัตกรรม:

๑. สำนกั คณะกรรมการการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน
๒. สำนกั เขตพ้นื ทกี่ ารศึกษามัธยมศกึ ษา นนทบรุ ี
๓. สถาบันการจัดการปญั ญาภิวัฒน์ (PIM)
๔. องค์การบริหารส่วนจังหวดั นนทบุรี
๕. เทศบาลนครปากเกรด็
๖. มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลพระนคร
๗. สโมสรฟุตบอลเมืองทองยูไนเต็ด



๔) กรอบและแนวคิดในการพฒั นานวัตกรรม:

ภาพที่ ๑: จุดเน้น ๗ ดา้ น “โ ค ร ง ก า ร โ ร ง เร ีย น ค ุณ ภ าพ ” เ ป ็ น น โ ย บ า ยส ำค ั ญ ของ
โรงเรยี นคณุ ภาพ สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ ที่มุ่งหวังให้โรงเรียนได้รับการพัฒนา
ให้มีคุณภาพและปลอดภัย โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโครงการ
ดำเนินการโดยพัฒนาต่อยอดจากโครงการเดิม คือ โครงการโรงเรียน
คุณภาพประจำตำบล โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดี
สี่มุมเมือง และโรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand
Alone) โดยได้มีการกำหนดทิศทางขับเคลื่อนโครงการ ภายใต้กรอบ
การดำเนินงานและจุดเน้น ๗ ด้าน ได้แก่ ๑) ความปลอดภัย
ของผู้เรียน ๒) ระบบประกันคุณภาพ ๓) การพัฒนาครู ๔) การเรียน
การสอน ๕) การวัดและประเมินผล ๗) การนิเทศกำกับและติดตาม
และ ๘) Big Data

๕) ความเปน็ มาและความสำคญั :

“โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม” เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ
ระดับมัธยมศึกษา ของจังหวัดนนทบุรี เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งของโรงเรียนมีความพร้อม สามารถรองรับ
นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสในชุมชน และเปิดโอกาสให้นักเรียน
ที่มีความบกพร่องเข้าศึกษาต่อหรือมาเรียนรวม เป็นการแบ่งเบาภาระในการรับนักเรียนโรงเรียนแข่งขันสูงใกล้เคียง
และยกระดบั โรงเรียนใหเ้ ทยี บเทา่ โรงเรียนแขง่ ขันสูง

วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
ในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กับโรงเรียน
โพธินิมิตวิทยาคม โดยมีนายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
นนทบุรี และคณะดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และนางกรชนก สุตะพาหะ
ผู้อำนวยการโรงเรยี นโพธินิมติ วิทยาคม คณะผู้บรหิ าร และครู และ ๕ องคก์ รหลกั ของโรงเรยี นเพ่ือให้การขับเคล่ือน
การดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล
และบรรลุตามวัตถปุ ระสงคข์ องโครงการ

ภาพท่ี ๒: พิธลี งนามบันทึกข้อตกลง
ความรว่ มมือในการขบั เคลอ่ื นโครงการ

โรงเรยี นคุณภาพระดบั มธั ยมศึกษา



โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมเห็นถึงโอกาสการพัฒนารูปแบบบริหารการจัดการศึกษาตามโครงการ

โรงเรียนคุณภาพแบบก้าวกระโดด เนื่องจากโครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ

และความร่วมมอื จากหลายหน่วยงานทั้งภาครฐั และเอกชน ซ่งึ ทำให้โรงเรียนโพธินมิ ิตวทิ ยาคมมีงบประมาณเพียงพอ

ในการบริหารจัดการและพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ สามารถพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา มีอาคารเรียน

แหล่งเรยี นรู้ และสถานที่ ท่ีปลอดภัย มหี อ้ งเรียนและแหล่งเรียนรู้ทันสมัย มคี รุภัณฑ์ อปุ กรณ์ทางการศึกษาเพียงพอ

มีระบบอนิ เตอร์เนต็ ที่เอ้ือตอ่ การเรยี นรู้ของนักเรียนท้งั ในและนอกห้องเรียน

ในระยะยาว โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมเชื่อมั่นว่า

โครงการโรงเรียนคุณภาพจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต

ของคนในชุมชน เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ

ลดอัตราการแข่งขันในการเข้าเรียนโรงเรียนชั้นนำในจังหวัด

นนทบุรี ตามวิสัยทัศน์การดำเนินงานโครงการโรงเรียน

คุณภาพ ระดับมัธยมศึกษา คือ“Education for Equity

and Excellence” “การศึกษาเพื่อความเสมอภาค สร้าง

นักกีฬาทีมชาติ มุ่งสู่อาชีพในอนาคต” แต่อย่างไรก็ตาม

ภาพที่ ๓: วสิ ยั ทัศน์การดำเนนิ งาน เนื่องจากโครงการโรงเรียนคุณภาพเป็นโครงการเร่งด่วน และ
โรงเรียนคณุ ภาพ ระดบั มัธยมศึกษา อยู่ในระยะเริ่มต้น ในภาพรวมของการดำเนินงานโรงเรียน
คุณภาพในระยะแรก ยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคในการ

ดำเนินการ ตามท่ีรายงานสภาพปัญหาการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพ จังหวัดยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส

(ณัฐพงษ์ นวลมาก, ๒๕๖๔ หน้า ๑๖) ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ ๗ ได้รายงานสภาพ

ปัญหาประเด็น ดังต่อไปนี้

๑) โรงเรยี นคณุ ภาพไม่สามารถดึงโรงเรยี นเครือขา่ ยมาเรียนรวมกับโรงเรยี นคุณภาพ
๒) อัตรากำลงั ครขู องโรงเรยี นคณุ ภาพไม่เพียงพอ และขาดบคุ ลากรที่มีความเชยี่ วชาญเฉพาะด้าน เช่น

คอมพิวเตอร์ คหกรรม เป็นต้น
๓) ขาดยานพาหนะในการรบั - สง่ นักเรียนโรงเรยี นเครอื ข่าย
๔) โรงเรยี นในสังกดั บางโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ไม่สนับสนนุ ให้โรงเรยี นร่วม
เป็นเครอื ขา่ ยโรงเรียนคณุ ภาพ และใช้ทรัพยากรรว่ มกัน ด้วยเกรงว่าหากเข้าร่วมเครอื ข่ายแล้ว ในอนาคตโรงเรียน
อาจถูกควบรวมหรือยบุ เลิก
๕) การจัดสรรงบประมาณค่อนขา้ งล่าช้า
๖) ขาดแคลนด้านอาคารสถานที่ วัสดุ สอ่ื อปุ กรณ์ทางการศกึ ษา และงบประมาณในการส่งเสรมิ พัฒนา
ทักษะความสามารถทางการเรยี นรู้ตามความถนัดของนกั เรียน
๗) ครผู สู้ อนไม่ตรงวิชาเอก มีเวลาสอนไม่เต็มเวลาและไมเ่ ต็มตามศักยภาพ เนื่องจากมีภาระงานอ่ืน
นอกเหนือจากการสอน เชน่ งานอาหารกลางวนั งานการเงินและพัสดุ
๘) ในพ้นื ทจี่ งั หวดั ชายแดนภาคใต้ มีข้อจำกัดดา้ นความมน่ั คง และความปลอดภยั ไมส่ ามารถ
ท่ีจะดำเนินการใหเ้ ปน็ ไปตามนโยบายได้



จากสภาพปัญหาที่กล่าวในข้างต้น โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมได้วิเคราะห์สภาพปัญหา
แ ล ะ ค ว า ม จ ำ เ ป ็ น ใ น ก า ร ด ำ เ น ิ น โ ค ร ง ก า ร โ ร ง เ ร ี ย น ค ุ ณ ภ า พ ซ ึ ่ ง ใ น บ า ง ข ้ อ ส อ ด ค ล ้ อ ง ก ั บ ร า ย ง า น ข ้ า ง ต้ น
โดยจำแนกออกเปน็ รายข้อดงั ต่อไปนี้

๑) ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรยี นอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเปรียบเทยี บกับนักเรยี นโรงเรยี น
แข่งขันสูงบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากเราไม่สามารถคัดเลือก หรือดึงดูดนักเรียนที่เก่งให้เข้ามาเรียนได้

๒) อัตรากำลังครูของโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมไม่เพียงพอ เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
เช่น งานธุรกิจและบัญชี งานช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องยนต์ งานเกษตร งานโสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น

๓) การเดินทางมาโรงเรียนไม่สะดวก นักเรียนเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการเดินทาง
๔) การจัดสรรงบประมาณค่อนข้างล่าชา้ ขาดแคลนด้านอาคารสถานที่ วัสดุ สื่อ อุปกรณ์ทางการ
ศึกษา และงบประมาณในการส่งเสริม พัฒนา ทักษะความสามารถทางการเรียนรู้ตามความถนัดของนักเรียน
๕) โรงเรียนยังไม่สามารถสร้างเครือข่ายโรงเรียน ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและโรงเรียน
ขยายโอกาสไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพเนอ่ื งจากอย่ตู ่างสงั กัด
๖) ครูที่โรงเรียนมีจำนวนน้อยแต่ภาระงานเท่ากันกับโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ทำให้ครูผู้สอน
มีเวลาเตรียมการสอนไม่เต็มเวลาและไม่เต็มตามศักยภาพ เนื่องจากมีภาระงานอื่นมากมายนอกเหนือจากการสอน
เช่น งานการเงนิ และพสั ดุ
จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาทางโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมจึงคิดนวัตกรรม เป้าหมายของ
การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการออกแบบ DALI
เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน “P.N. SGDQ Model” เพื่อเปลี่ยนแปลงและยกระดับ
คุณภาพทางการบริหารโรงเรียนจากทุกองค์ประกอบของโรงเรียน และเปิดโอกาสให้นักเรียน ครู บุคลากรภายใน
โรงเรยี น รวมถงึ ผ้ปู กครองเปน็ ส่วนหน่ึงของกลไกการพฒั นาโครงการโรงเรียนคณุ ภาพอยา่ งต่อเนื่อง

๖) วัตถปุ ระสงคแ์ ละเปา้ หมายการพัฒนา:
จากวิสัยทัศน์การดำเนินงาน โครงการโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม

ตามที่ดร.กรชนก สุตะพาหะ และคณะผู้บริหารโรงเรียนได้กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการ
คือ“Education for Equity and Excellence” “การศึกษาเพื่อความเสมอภาค สร้างนักกีฬาทีมชาติ
มุ่งสู่อาชีพในอนาคต” โดยมีหลกั ในการดำเนนิ งาน ๓ ประการด้วยกัน คือ

๑. จดั การศกึ ษาเพ่ือความเสมอภาค และเทา่ เทียม
๒. ส่งเสรมิ นักเรยี นท่มี คี วามเป็นเลิศในด้านตา่ ง ๆ
๓. จัดการศกึ ษาเพ่ือเตรยี มพร้อมนกั เรยี นสู่อาชีพในอนาคต
ทางคณะกรรมการดำเนินงานได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดทำนวัตกรรม เรื่อง เป้าหมายของ
การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการออกแบ บ DALI
เพอ่ื คณุ ภาพการศกึ ษาผา่ นการมสี ่วนร่วมอย่างย่ังยนื “P.N. SGDQ Model” ดงั ตอ่ ไปนี้
๑. สร้างต้นแบบ เปา้ หมายของการพฒั นาโรงเรยี นคณุ ภาพตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงดว้ ย
กระบวนการออกแบบ DALI เพอ่ื คุณภาพการศึกษาผา่ นการมสี ว่ นรว่ มอยา่ งยงั่ ยืน “P.N. SGDQ Model”



๒. สร้างต้นแบบหลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ไดแ้ ก่ “หลกั สูตรหอ้ งเรยี นคุณภาพในระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น” และ “หลักสูตรห้องเรียนเน้นอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย” เพื่อนำมาใช้ใน
ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖

๗) ขอบเขตการดำเนินงาน / กลมุ่ เปา้ หมาย:

เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๑,๐๑๖ คน และครูบุคลากรทางการศึกษา
โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม จำนวน ๕๖ คน ได้รับการจัดการศึกษาภายใต้รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ
“โพธินิมิตวิทยาคม” ตามเป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
กระบวนการออกแบบ DALI เพ่ือคณุ ภาพการศึกษาผ่านการมสี ว่ นร่วมอยา่ งย่ังยืน “P.N. SGDQ Model”

เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมส่วนใหญ่
พึงพอใจการจัดการศึกษาภายใต้รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” ตามเป้าหมายของการ
พัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการออกแบบ DALI เพื่อคุณภาพ
การศกึ ษาผ่านการมีส่วนร่วมอยา่ งย่ังยนื “P.N. SGDQ Model”

๘) ระยะเวลาในการดำเนินการ:

ปีการศึกษา ๒๕๖๔ (๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕)



สว่ นท่ี ๒ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทีเ่ กี่ยวข้อง

เปา้ หมายของการพฒั นาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงด้วยกระบวนการ
ออกแบบ DALI เพือ่ คุณภาพการศกึ ษาผ่านการมีส่วนรว่ มอย่างย่งั ยืน “P.N. SGDQ Model” มหี ลกั การ
แนวคิดและทฤษฎที เ่ี กย่ี วข้องในการออกแบบนวตั กรรม ดังต่อไปน้ี

๑. นโยบายโรงเรยี นคุณภาพ (Quality School Policy)
๒. หลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง (Philosophy of the Sufficiency Economy)
๓. ทฤษฎีและวิธีการเชิงระบบ (System Theory)
๔. การนำมาตรฐานไปส่กู ารปฏบิ ตั ิ (Standard Implementation)
๕. หลักการต้ังเปา้ หมายดว้ ยเทคนคิ (S.M.A.R.T Technique)
๖. กระบวนการออกแบบ DALI ( DALI Design Process)
๗. การมีส่วนรว่ มทางการศึกษา ( Educational Participation)

๑. นโยบายโรงเรยี นคุณภาพ (Quality School Policy)

จากนโยบายโรงเรียนคุณภาพของกระทรวงศึกษาธิการ (อ้างจาก นางสาวตรีนุช เทียนทอง: ๒๕๖๕)
ที่ระบุการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพว่า หลักใหญ่ของการพัฒนาโรงเรียนมัธยมคุณภาพประจำจังหวัด คือมีคุณภาพ
ได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง ลดความเหลื่อมล้ำ ให้เกิดความเท่าเทียม มีความพร้อมในการจัดการเรียน
การสอน มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้เน้นผู้บริหารและครูที่มีประสิทธิภาพ รวมถึง
ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้เรียน ซึ่งการสร้างเครือข่ าย
ของโรงเรียนเปน็ อีกเร่ืองหนงึ่ ท่สี ำคญั มาก “โครงการโรงเรียนคุณภาพ”เป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ
ทมี่ ุ่งหวงั ใหโ้ รงเรียนไดร้ บั การพัฒนาใหม้ คี ณุ ภาพและปลอดภัย

เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาโรงเรยี นคุณภาพ คือ จะต้องเพิ่มจำนวนครูให้ครบชั้นครบวิชาเอก มีจำนวน
นักเรียนที่เหมาะสม มีงบประมาณเพียงพอในการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของบุคลากรและชุมชน มีอาคารสถานที่ที่ปลอดภัย มีครุภัณฑ์ อุปกรณ์ ระบบอินเตอร์เน็ต ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ทันสมัยและเน้นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ ลดอัตราการแข่งขัน รวมทั้งกรณีเป็นโรงเรียน
ในพ้ืนท่หี ่างไกล ตอ้ งให้โรงเรยี นสามารถดำรงอยไู่ ด้โดยมีงบประมาณและอัตรากำลงั ครูอยา่ งเหมาะสม

๒. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Philosophy of the Sufficiency Economy)

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล
อดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย
(เดชา ลุนาวงศ์, ๒๕๖๑ หน้า ๑) เป็นปรัชญาช้ีถึงการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ
ครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับประเทศทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพฒั นาเศรษฐกจิ เพื่อใหก้ ้าวทนั ต่อโลกยุคโลกาภวิ ัตน์



ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึง

ความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร

เมื่อมีผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบ และความระมัดระวัง

อยา่ งย่ิงในการบรหิ ารการศกึ ษา

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและ

ไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและ

การบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ๒. ความมีเหตุผล หมายถึง

ภาพที่ ๔: หลักปรัชญาของ การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมี
เศรษฐกจิ พอเพียง เหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวขอ้ ง ตลอดจนคำนึงถึงผล
ท่ีคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

๓. ภมู ิคมุ้ กัน หมายถงึ การเตรียมตวั ให้พร้อมรบั ผลกระทบและการเปล่ยี นแปลงด้านต่างๆ ทีจ่ ะเกดิ ขึ้น โดยคำนึงถึง

ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนิน

กิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้ ๑. เง่ือนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับ

วิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพ่ือ

ประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ ๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย

มีความตระหนักใน คณุ ธรรม มีความซอื่ สตั ยส์ ุจริตและมีความอดทน มีความเพยี ร ใชส้ ตปิ ัญญาในการดำเนินชวี ติ

๓. ทฤษฎีและวธิ ีการเชงิ ระบบ (System Theory)

ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นทฤษฎีที่ทำให้นักบริหารการศึกษาสามารถที่จะมองเห็นภาพรวมของ
องค์การทั้งหมดตามหน้าที่โดยการพิจารณาองค์การในลักษณะระบบนั้นจะก่อให้เกิดการวิเคราะห์และการแก้ไข
ปญั หาขององค์การทั้งระบบ คำวา่ ระบบ (System) อาจจดั ได้วา่ เป็นกลุ่มของสว่ นที่เกี่ยวข้องกันและมีความสัมพันธ์
กันในเชิงที่จะต้องบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกันดังนี้คือ (สมยศ นาวีการ, ๒๕๔๔ หน้า ๔๙) ส่วนต่าง ๆ ของระบบ
อยู่ในสถานะที่เคลื่อนไหวได้ การเคลื่อนไหวหรือแสดงออกของส่วนต่าง ๆ จะมีปฏิกิริยากระทบต่อกันเสมอ
โดยที่ในระบบหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ (Subsystems) และภายในระบบย่อยก็จะประกอบไปด้วย
ระบบย่อยเล็กลงไปอีก หากมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ณ ส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบจะก่อให้เกิดผลกระทบ
ต่อเน่อื งกนั เปน็ ลกู โซ่ (Chain of Effects) ระบบประกอบไปดว้ ยองค์ประกอบดงั ตอ่ ไปนี้

๑) ปจั จยั นำเขา้ (Inputs) ได้แก่ ทรพั ยากรตา่ ง ๆ ที่ต้องใช้ในกระบวนการบริหาร นนั่ คือทรัพยากรมนุษย์
ทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากรทางการเงิน และข้อมูลที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ

๒) กระบวนการแปรสภาพ (Transformation Process) ประกอบด้วย เทคนิคในการจัดการต่าง ๆ
รูปแบบกิจกรรมการผลติ เทคโนโลยที ่เี ก่ยี วข้องกับการผลิต



๓) ปจั จัยนำออก (Outputs) ได้แก่ สนิ ค้า บรกิ าร กำไร ขาดทนุ และผลทค่ี าดหวังอนื่ ๆ เชน่ ศกั ยภาพ
ของพนักงานท่ีพฒั นาข้นึ เปน็ ตน้

๔) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับผลที่เกิดจากกิจกรรมขององค์กร ซึ่งสามารถนำไป
พิจารณาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในขั้นตอนต่าง ๆ ได้จากทฤษฎีระบบนั้น องค์กรจะใช้กระบวนการแปรสภาพ
เพื่อเปลี่ยนปัจจัยนำเข้าไปเป็นผลผลิต และในขณะเดียวกันกลไกในระบบก็จะขึ้นกับการนำข้อมูลย้อนกลับไปใช้
ประโยชนใ์ นการวเิ คราะห์เพอ่ื ตรวจสอบผลลัพธแ์ ละปรบั ปรงุ ปจั จยั นำเขา้

๔. การนำมาตรฐานไปส่กู ารปฏบิ ัติ (Standard Implementation)
กอ่ นจะกำหนดเป้าหมายของการดำเนนิ โครงการโรงเรยี นคุณภาพภายใต้เป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียน

คุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการออกแบบ DALI เพื่อคุณภาพการศึกษา
ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน “P.N. SGDQ Model” นั้น เราจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อสามารถกำหนด
ทิศทางการดำเนินงานโดยดัดแปลงจากหลักการ ๓Cs-DALI ของการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลตามมาตรฐาน
Hospital Accreditation (HA) ซึ่งเป็นกลไกประเมินเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบงานภายในของ
สถานพยาบาล โดยมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และพัฒนาทั้งองค์กรทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ มีการประเมิน
และพัฒนาตนเองอยา่ งตอ่ เน่ือง (อนุวัฒน์ ศภุ ชุติกลุ , ๒๕๕๑ หน้า ๑๓ - ๑๗)

การพิจารณานำหลักการ ๓Cs-DALI มาใช้เพื่อทำความเข้าใจและกำหนดเป้าหมายของโรงเรียนนั้น
โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมเล็งเห็นวา่ หลักการ ๓Cs-DALI เหมาะสมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ หรือ action plan
สื่อสารและสนับสนนุ การพฒั นา ติดตามการดำเนนิ การ ตามระยะเวลาทีเ่ หมาะสม ปัจจบุ นั พบวา่ หลายโรงเรยี นยงั ใช้
ประโยชน์จากข้อเสนอแนะเพื่อการสำรวจได้อย่างไม่เต็มตามประสิทธิภาพ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังขาดกระบวนการ
จัดทำแผนปฏิบัติการหรือ action plan ในการกำกับและติดตามการดำเนินงานหรือโครงการต่างๆ หากโรงเรียน
สามารถนำข้อเสนอแนะหรอื ผลสะท้อนกลับ (Feedback) จากผู้มีสว่ นเก่ียวข้องมาใช้ประโยชนป์ รับปรุงหรอื พัฒนา
ได้มากที่สุด จะส่งผลให้สามารถตอบประเด็นปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนได้ตรงตามมาตรฐาน
และยกระดับการพัฒนาได้จรงิ เราสามารถใช้พน้ื ฐานของวงล้อคุณภาพ ๓Cs-DALI ใน ๓ ขน้ั ตอนเพ่ือทำความเข้าใจ
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อยอดการดำเนนิ งานได้ ดงั นี้

๔.๑ รู้หลัก (Concept) เริ่มจากศึกษาหลักการแนวคิด กระบวนการ ข้อเสนอแนะ และนำมาจับประเด็น
เชอ่ื มโยงสมู่ าตรฐาน เชื่อมโยงการประเมนิ ผลโครงการ เพ่อื นำไปสกู่ ารกำหนดเปา้ หมายจากมาตรฐานทก่ี ำหนด

๔.๒ รู้โจทย์ (Context) การนำมาตรฐานไปใช้กำหนดเป้าหมายได้นั้น เราจำเป็นต้องดูบริบท
(โจทย)์ ของโรงเรียนโดยมปี ระเด็นทตี่ อ้ งศึกษาและทำความเข้าใจโดยการวิเคราะห์โดยหลักการ SWOT ANALYSIS

๔.๓ รู้เกณฑ์ (Criteria) เป็นการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ท่ีชดั เจนโดยยดึ เกณฑก์ ารประเมนิ คุณภาพในงานประกันคุณภาพของสถานศกึ ษา

๕. หลักการตัง้ เปา้ หมายดว้ ยหลักการ (S.M.A.R.T Technique)
การนำหลักการ S.M.A.R.T มาตั้งเป้าหมายขององค์กรหรือสถานศึกษาให้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
การต้ังเป้าหมายทด่ี ีน้นั เป็นส่วนสำคัญและจำเป็นท่ีจะส่งผลใหเ้ กดิ การบริหารโรงเรียนหรือองค์กรท่ีดีมีประสิทธิภาพ
แต่ถ้าหากการตั้งเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน หรือเป็นนามธรรมจนไม่เห็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเข้าใจง่าย



อาจกลายเป็นเป้าหมายที่ไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้นโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมคำนึงว่าการตั้งเป้าหมายการบริหาร
โรงเรียนให้มีประสิทธิภาพนั้น เราควรนำหลักการ S.M.A.R.T เข้ามาใช้เพื่อที่จะทำให้เป้าหมายของเราชัดเจน
ตลอดจนมีแนวทางปฏิบัติท่ลี งมือทำได้งา่ ยขึน้ ซึ่งหลกั การนี้กำลังเปน็ ท่ีนิยมทั่วโลกและในประเทศไทย หลายองค์กร
ทั้งภาครัฐและเอกชนนำหลักการ S.M.A.R.T ไปใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายของตนให้ชัดเจนและประสบความสำเร็จ
ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี หลักการ S.M.A.R.T ประกอบด้วย

๕.๑ S : Specific – เฉพาะเจาะจง คือการที่โรงเรียน องค์กรหรือบุคคลจะต้องมีเป้าหมาย
ทีเ่ ฉพาะเจาะจงลงไป ไม่กว้างจนเกินไป มีความชดั เจน ไมค่ ลุมเครอื และต้องระบใุ ห้ชดั เจนอย่างมีทศิ ทาง

๕.๒ M : Measurable – สามารถวัดได้ ต้องวัดผลได้ มีหลักการวัดผล วิธีการ ตลอดจน
การคำนวณและสรุปผลออกมาได้อย่างชัดเจน มีหลักฐานยืนยันได้ หากเราวัดผลออกมาได้ก็จะทำให้เราสามารถ
ร้วู า่ การปฏบิ ัตินั้นสำเร็จหรือไม่เพียงไร และควรจะต้องทำอะไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้

๕.๓ A : Achievable – บรรลุผลได้ เป้าหมายที่ดีจะต้องสามารถบรรลุผลได้จริง ประสบ
ผลสำเร็จได้ รวมถึงเป็นเป้าหมายที่ทำไดจ้ ริง มีโอกาสสำเร็จได้ และสามารถกระตุ้นให้เกิดการปฏบิ ัติเพื่อที่จะบรรลุ
เป้าหมายให้ได้ ในทางตรงกันข้ามหากเปา้ หมายยิ่งใหญเ่ กนิ ไปมโี อกาสสำเรจ็ ไดย้ าก หรือมีเปา้ หมายทีส่ งู จนเกินไปจะทำให้
เกิดการท้อแท้ รสู้ ึกวา่ ไม่มีวนั เป็นไปได้ เป้าหมายทีไ่ ม่สง่ เสรมิ หรือกระต้นุ ใหเ้ กดิ พลังในการทำงานนั้นอาจไม่ใชเ่ ป้าหมายทีด่ ี

๕.๔ R : Realistic – สมเหตุสมผล สอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง เป้าหมายที่ตัง้ ต้องอยู่
บนพื้นฐานความเป็นจริง สถานการณ์จริง มีความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับสถานการณ์นั้นๆ รวมถึงสอดคล้อง
กบั สิ่งทอี่ งค์กรตอ้ งการ หากเปน็ การตงั้ เปา้ หมายย่อยกต็ ้องสอดคล้องกบั เป้าหมายใหญ่ไปในทิศทางเดียวกนั

๕.๖ T : Time-bound/ Timely กำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง
ของการตั้งเป้าหมายคือการต้องมีการกำหนดเวลาให้ชัดเจน มีการวางแผนให้ชัดเจน มีกรอบระยะเวลาในการ
ปฏิบัติการที่กำหนดไว้ให้รู้ชัดเจน เพื่อการปฏิบัติให้ชัดแจ้งและการวางแผนปฏิบัติงานในส่วนต่างๆด้วย หากไม่มี
การกำหนดเวลาที่ชัดเจนเราก็จะไม่รู้ว่าทำไปถึงเมื่อไร วางแผนอย่างไร นั่นอาจเรียกว่าไม่มีเป้าหมายเลยก็เป็นได้

(อา้ งอิงจาก https://www.powersmethai.com/sme-article/smart-goal/)

๖. กระบวนการออกแบบ DALI

กระบวนการออกแบบ DALI เป็นที่พูดถึงอย่างเป็นวงกว้างในระบบมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการ
สุขภาพ (Hospital and Healthcare Standards) ซึ่งพัฒนามาจากวงจร PDCA (วงจร Deming) ของ Dr. W.
Edwards Deming ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานระบบคุณภาพตัง้ แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ วงล้อ DALI เน้นการใช้วงจร
ปฏิบัติการที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือ DALI (Design – Action - Learning - Improve) (ศศิธร สุทธิสนธ์ิ,
๒๕๖๐ หน้า ๔๐ -๔๓) ในวงจรเริ่มต้นที่การสํารวจวิเคราะห์บริบทและนโยบายเพื่อให้การพัฒนาโรงเรียนเป็นไป
อย่างสอดคล้อง และรวมกับโรงเรียนกําหนดเป้าหมายกระบวนการทำงาน นําไปสู่การออกแบบกระบวนการ
(Design) การปฏิบัติโดยการนํากิจกรรม มาตรการการเปลี่ยนแปลง (Action) ทบทวนหรือเรียนรู้ (Learning)
และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงการปฏิบัติให้ชัดขึ้น (Improve) เพื่อที่จะเริ่มต้นเข้าสู่วงจรอย่างต่อเนื่อง
ตามละเอยี ดดังตอ่ ไปนี้

๑๐

๑) ขนั้ ออกแบบ (Design) เปน็ การทบทวนการออกแบบระบบ ภาพท่ี ๕: กระบวนการออกแบบ DALI
ระบบที่มีการออกแบบที่ดี ทำให้การทำงานเดินหน้าได้อย่างราบรื่น
รวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งความรู้ที่ชัดเจน (Explicit
Knowledge) แ ล ะ ก า ร ค ง ค ว า ม ร ู ้ ฝ ั ง ล ึ ก ท ี ่ อ ย ู ่ ใ น ต ั ว ค น ( Tacit
Knowledge) วิเคราะหช์ ่องวา่ งความแตกตา่ ง (Gap) สภาพปัจจบุ ัน (as is)
กับสภาพที่เราต้องการ (to be) จัดทำแผนเพื่อกำหนดแนวทางที่ต้อง
ดำเนินการ กำหนดคณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย ทรัพยากรอื่น ๆ
ทจี่ ำเป็น ใหค้ วามรู้แกค่ ณะกรรมการผเู้ กีย่ วขอ้ งก่อนลงมือทำ

๒) ขั้นดำเนนิ การ (Action) การดำเนินการตามแผน การนำระบบ(System) หรือเครื่องมือ (Tools) มาใช้ได้
อย่างกลมกลืน สอดคล้องกับขั้นออกแบบ (Design) มีการติดตามการวัดประเมินผล เป็นระยะๆ และมีข้อมูล
ป้อนกลับ (Feedback) ผลการปฏบิ ตั ิงานระหว่างช่วงการปฏิบัติงาน มีกลไกอะไรเพื่อรับรู้วา่ มีการปฏิบัติตามระบบ
ทก่ี ำหนดไว้ เชน่ การตดิ ตามตัวชว้ี ดั การสมุ่ สำรวจ การตามรอย

๓) ข้นั เรียนรู้ (Learning) เก็บรวบรวม วเิ คราะหข์ อ้ มลู จากขั้นดำเนินการ (Action) และนำมาถอดบทเรียน
(Lesson Learned) เพื่อจัดความรู้ให้เป็นระบบและสร้างความรู้ใหม่ รวมถึงการขยายความรู้ (Knowledge
Sharing) ไปยังผู้มสี ่วนเกี่ยวข้อง

๔) ขน้ั ปรับปรงุ (Improve) ฝกึ หาแนวคิดใหม่ๆ ใหเ้ กดิ การพฒั นาตนเองอยตู่ ลอดเวลา เสาะหาตัวจุดประกาย
แนวคิดใหม่ๆ แล้วนำมาต่อยอดความคิดให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนไปจนถึงการสร้างนวัตกรรมที่เป็น
สิ่งประดิษฐ์ วิธีการรักษา หรือนวัตกรรมของระบบงานโดยอาจมีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพิสูจน์ประสิทธิผลของ
นวตั กรรมการมสี ่วนรว่ มทางการศึกษา

๗. การมสี ว่ นร่วมทางการศึกษา (Educational Participation)

การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ
การร่วมปฏิบัติและร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ อันมีผลกระทบถึงตัวประชาชนเอง การมีส่วนร่วมเป็นการร่วมมือ

ของประชาชน ไม่ว่าปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนท่ีเห็นพ้องต้องกันและเข้ามาร่วมรับผิดชอบเพ่ือดําเนินการพัฒนา
และเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางทีต่ ้องการ เพ่ือให้บรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ การมีส่วนร่วมเป็นการเปิด

โอกาสให้บุคคลได้มีส่วนช่วยเหลือระหว่างกัน ด้วยจิตใจและอารมณ์ของแต่ละบุคคลในการร่วมคิด ร่วมวางแผน
ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน และร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อส่วนรวมในการบริหารจัดการ

เพ่ือให้บรรลุจุดมุ่งหมายของสังคม กําหนดความต้องการในชุมชนของตน เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้มี
ส่วนช่วยเหลือกันตัง้ แต่การวางแผน การบริหารงบประมาณ การดําเนินการ และการติดตามและประเมนิ ผล ดังน้ัน

ผลสําเร็จของการพัฒนาจึงข้ึนอยู่กับการสนับสนุนของประชาชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแข็งขัน

โดยประชาชนตอ้ งรู้ว่าพวกตนตอ้ งการอะไรเพ่ือการพัฒนาของตนเอง

๑๑

สว่ นที่ ๓ ผลการดำเนนิ งาน

กรอบและแนวคิดการดำเนินงานตามเป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการออกแบบ DALI เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน
“P.N. SGDQ Model” เป็นการกำกับดูแลการบริหารโรงเรียนคุณภาพตามนโยบายการจัดการศึกษาให้โรงเรียน
โพธินิมิตวิทยาคมสามารถพัฒนาคุณภาพได้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดจนบรรลุผลสำเรจ็ โดยสรุปเป็นกรอบแนวคดิ
การดำเนนิ งานได้ดงั น้ี

ภาพท่ี ๖: รปู แบบการพฒั นาโรงเรยี นคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการออกแบบ
DALI เพื่อคณุ ภาพการศึกษาผา่ นการมสี ่วนร่วมอยา่ งยั่งยืน “P.N. SGDQ Model”

การดำเนินงานตามเปา้ หมายของการพัฒนาโรงเรียนคณุ ภาพตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งดว้ ย
กระบวนการออกแบบ DALI เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมสี ่วนร่วมอยา่ งย่ังยนื “P.N. SGDQ Model” เพื่อให้
การดำเนนิ งานเปน็ ไปอยา่ งมีประสิทธภิ าพ คณะกรรมการดำเนินงานจงึ แบง่ การดำเนินงานออกเป็น ๕ ส่วน คือ

ตอนท่ี ๑ กระบวนการออกแบบนวตั กรรมและรายละเอยี ดของนวัตกรรม
ตอนท่ี ๒ รปู แบบและการนำนวตั กรรมไปใช้งาน
ตอนที่ ๓ ผลลพั ธ์ทีเ่ กดิ จากการพฒั นาและการนำนวตั กรรมไปใชง้ าน
ตอนที่ ๔ ปัจจัยความสำเรจ็ ปญั หา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ตอนที่ ๕ การเผยแพร่และการขยายผลตอ่ ยอด

๑๒

๑) กระบวนการออกแบบนวัตกรรมและพฒั นานวัตกรรม
การออกแบบนวัตกรรมเรื่อง เป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงด้วยกระบวนการออกแบบ DALI เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน “P.N. SGDQ
Model” คณะกรรมการดำเนินงานได้จัดเตรียมกระบวนการออกแบบอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษา
วิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสารงานวิจัย และบทความทางวิชาการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทั้งในและต่างประเทศ หลักการและทฤษฎีที่จะนำมาใช้ในการกำหนดกรอบและแนวคิดการพัฒนานวัตกรรม
โดยวางแผนการดำเนนิ งานออกเป็น ๗ ขน้ั ตอนดงั ต่อไปน้ี

ข้นั ตอนท่ี ๑ การนำหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงมาเปน็ กรอบของการดำเนินงาน
โดยเริ่มต้นออกแบบภายใต้แนวคิดทฤษฎีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม
น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการการจัดการศึกษาทุกขั้นตอน
และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษาให้มีจิตสำนึก
ในคณุ ธรรม ความซอ่ื สตั ยส์ ุจรติ และใหม้ คี วามรอบรู้ท่ีเหมาะสม ดำเนนิ ชีวติ ด้วยความอดทน ความเพยี ร มสี ติปญั ญา
และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ
สังคม สงิ่ แวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก

ข้ันตอนท่ี ๒ การจดั ทำโครงร่างการดำเนนิ งานโดยใชห้ ลกั การของทฤษฎีระบบ (System Theory)
การจัดทำโครงร่างการดำเนินงานโดยใช้หลักการของทฤษฎีระบบ (System Theory) ซึ่งประกอบด้วย
ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลงาน (Output) ผลผลิต (Outcome) และ ข้อมูลป้อนกลับ
(Feedback) (สงดั อทุ รานันท์. ๒๕๓๓ หนา้ ๑ – ๑๐) รปู แบบของการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis Model)
การนําเอาทฤษฎีระบบหรือวิธีระบบมาใช้ในการบริหารโรงเรียน หากนำมาใช้ให้ดีถูกต้อง และเหมาะสม ระบบก็จะ
ช่วยให้โรงเรียนมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้าม หากนำมาใช้ไม่ถูกต้องหรือองค์ประกอบแต่ละส่วนของระบบ
ไม่สัมพันธ์กันก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์การได้ ดังน้ันการนําเอาทฤษฎีระบบมาใช้จึงจำเป็นต้องมี
การวิเคราะห์ระบบที่เรียกว่า System Analysis ควบคู่ไปด้วย การวิเคราะห์ระบบจะช่วยให้ผู้บริหารทราบว่า
หากผลผลิตหรือผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไป ตามเป้าหมายท่ีกําหนดไว้ ปัญหานั้นจะเกิดจากองค์ประกอบใดของระบบ
มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่อย่างไร ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ทราบถึงประเภทของปัญหา จุดท่ีต้องได้รับ
การพัฒนาแก้ไขหรือปรับปรุงได้มากขึ้น การแก้ไขปรับปรุงก็จะต้องกระทำอย่างเป็นระบบมิใช่แก้ไขเฉพาะด้านใด
ดา้ นหนงึ่ เทา่ นน้ั (จนั ทรานี สงวนนาม, ๒๕๔๕, หนา้ ๘๗ - ๘๙) ดงั ภาพประกอบตอ่ ไปน้ี

ภาพท่ี ๗: วงจรหลักการของทฤษฎรี ะบบ (System Theory)

๑๓

ข้นั ตอนที่ ๓ การจัดทำเปา้ หมายการพฒั นาโรงเรียนคุณภาพ (School Goal)
กระบวนการดำเนินงานของการพัฒนานวัตกรรมโดยวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นเง่ือนไขหลักและส่งผล
ต่อการตั้ง School Goal ของโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม โดยใช้หลักการ ๓Cs ได้แก่ ๑) รู้หลัก (Concepts)
๒) รู้โจทย์ (Context) ๓) รเู้ กณฑ์ (Criteria)

ข้ันตอนที่ ๔ วางแผนขบั เคลื่อนโครงการโรงเรยี นคณุ ภาพโดยใช้ ๘ มาตรการ
สร้างความรู้เข้าใจให้กับครู นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholders) เพื่อการขับเคลื่อนโรงเรียน
ทั้งระบบโดยใช้ ๘ มาตรการ ได้แก่ ๑) การจัดการข้อมูล (Data Management) ๒) การใช้ข้อมูลสารสนเทศ
(Information) ๓) การใช้เทคโนโลยี (Technology) ๔) สถานศึกษาปลอดภัย (Safe School) ๕) ชุมชนแห่งการ
เรียนรู้ (PLC) ๖) การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ๗) หลักธรรมาภิบาล (Good Government)
๘) เครือข่าย (Networks)

ขัน้ ตอนท่ี ๕ การดำเนนิ งานโดยกระบวนการออกแบบ DALI
วงล้อ DALI (Design – Action – Learning - Improve) เริ่มต้นที่การสํารวจวิเครา ะห์บริบท
และนโยบายเพ่ือให้การพัฒนาโรงเรียนโพธินมิ ิตวิทยาคมเป็นไปอย่างสอดคล้อง และรวมกับโรงเรียนร่วมกันกาํ หนด
เป้าหมายกระบวนการทำงาน นําไปสู่การออกแบบกระบวนการ (Design) การปฏิบัติโดยการนํากิจกรรมมาตรการ
เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง (Action) และทบทวนขั้นตอนการดำเนินงาน จากนั้นเข้าสู้ขั้นตอนการเรียนรู้
(Learning) และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง หรือการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ชัดขึ้น (Improve)
เพ่ือทจ่ี ะเริม่ ตน้ พัฒนางานเขา้ สู่วงจรอยา่ งต่อเน่ือง

ขน้ั ตอนท่ี ๖ การวิเคราะห์ผลงาน / ผลผลติ (Output)
จากโครงร่างการดำเนินงานโดยใช้หลักการของทฤษฎีระบบ (System Theory) คณะกรรมการดำเนินงาน
ได้แบ่งขั้นตอน ผลงาน / ผลผลิต (Output) ของโครงการโรงเรียนคุณภาพออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ นักเรียน
คุณภาพ (Quality Students) ครูคุณภาพ (Quality Teachers) และ โรงเรียนคุณภาพ (Quality School)
โดยอาศัยการรวบรวมผลการดำเนนิ งานของโครงการและกิจกรรมทเี่ กีย่ วข้องอยา่ งต่อเนื่อง

ขน้ั ตอนที่ ๗ การสรุปผลลัพธ์ (Outcome)
การวัดผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการวัดผลที่ได้รับจากผลของการดำเนินงานโครงการซึ่งแสดง
ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน หรือผุ้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องความรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทัศนคติ
ความพงึ พอใจ และพฤติกรรมหรือการปฏบิ ตั ิ โดยนำไปเปรียบเทยี บกบั เกณฑ์หรอื เปา้ หมายท่ีวางไว้ตามวัตถุประสงค์
ของแผนงานและโครงการ กล่าวคือเป็นการวัดประสิทธิผล (Effectiveness) โดยวัดความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์
กับวัตถปุ ระสงค์ของงาน

๒) รายละเอียดของนวตั กรรม
รปู แบบการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงดว้ ยกระบวนการออกแบบ DALI

เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน “P.N. SGDQ Model” มีรายละเอียดของนวัตกรรม
ในแต่ละขนั้ ตอน ดงั ตอ่ ไปน้ี

๑๔

ข้ันตอนท่ี ๑ การนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบของการดำเนินงาน
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นหลักในการดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญก้าวหน้าพร้อม
กับความสมดุลและมั่นคง อีกทั้งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิดที่ต้องใช้ความรู้ควบคู่ไปกับ
คุณธรรมในการตัดสินใจโดยคำนึงถึง ๓ หลักการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี
และมุ่งที่จะทำให้ผลที่เกิดขึ้นนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าที่สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ย นแปลงใน ๔ มิติ ได้แก่
ดา้ นวัตถุ สังคม ส่ิงแวดลอ้ ม และวัฒนธรรม

ขนั้ ตอนท่ี ๒ การจดั ทำโครงรา่ งการดำเนนิ งานโดยใช้หลักการของทฤษฎีระบบ (System Theory)
จากการศึกษาทฤษฎีระบบในส่วนที่ ๒ (System Theory) (ปฐม นิคมานนท์. ๒๕๒๙: ๓๓ – ๓๔)
ทางคณะกรรมการดำเนินงานได้แบ่งองค์ประกอบของระบบซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๕ ส่วน ดังน้ี
๑. ปัจจัยนำเข้า (Input) อาจได้แก่ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา งบประมา ณ
วัสดุ อปุ กรณ์ ทรพั ยากรตา่ งๆ รวมไปถึงเวลา อาคารและและสถานท่ี
๒. กระบวนการ (Process) ได้แก่ เทคนิควิธี ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ
๓. ผลผลติ (output) ผลระยะยาวซ่งึ เป็นผลจุดหมายปลายทาง หรอื ผลต่อเนอื่ งจากผลกระทบ
การวัดผลลพั ธเ์ ป็นการวัดผลทไี่ ดร้ ับจากผลของการดำเนินงานซงึ่ แสดงถึงการเปลย่ี นแปลงทเี่ กิดขน้ึ กบั กลมุ่ เป้าหมาย
/ผู้เรยี นท้งั ในเรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมหรือการปฏบิ ัติ โดยนำไปเปรียบเทยี บกบั เกณฑ์หรอื เปา้ หมายท่ีวาง
ไว้ตามวัตถุประสงค์ของแผนงานและโครงการ กล่าวคือเป็นการวัดประสิทธิผล (Effectiveness) โดยวัด
ความสัมพันธร์ ะหวา่ งผลลพั ธ์กบั วัตถุประสงคข์ องงาน
๔. ผลลัพธ์ (outcome) คือ ผลระยะยาวซึ่งเป็นผลจุดหมายปลายทาง หรือผลต่อเนื่องจากผลกระทบ
การวัดผลลัพธ์เป็นการวัดผลที่ได้รับจากผลของการดำเนิน โครงการได้แก่ รางวัลและความสำเร็จ
และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งในเรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมหรือการปฏิบัติโดยนำไป
เปรียบเทียบกับเกณฑห์ รอื เป้าหมายท่ีวางไว้ตามวตั ถุประสงค์ของแผนงานและโครงการ
๕. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับผลที่เกิดจากกิจกรรมขององค์การ ซึ่งสามารถนำไป
พจิ ารณาเพอ่ื ปรบั ปรงุ ประสทิ ธภิ าพในข้นั ตอนตา่ ง ๆ ได้

ขนั้ ตอนท่ี ๓ การจดั ทำเปา้ หมายการพฒั นาโรงเรยี นคณุ ภาพ (School Goal)
การพิจารณานำหลกั การ ๓Cs มาใช้เพ่อื ทำความเขา้ ใจ และกำหนดเป้าหมายนนั้ โรงเรียนโพธนิ มิ ติ วิทยาคม
เห็นว่าหลักการน้ีเหมาะสมในการจัดทำ action plan เพราะสามารถสื่อสารและสนับสนุนการพัฒนา ติดตาม
การดำเนินการตามระยะเวลาที่เหมาะสม ปัจจุบันหลายโรงเรียนนั้นยังใช้ประโยชน์จากข้อเสนอแนะเพื่อการสำรวจ
ได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังขาดกระบวนการ action plan ในการกำกับ และติดตาม หากโรงเรียนสามารถนำ
ข้อเสนอแนะ (Recommendation) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาใช้ประโยชน์ปรับปรุงหรือพัฒนาได้มากที่สุดก็จะ
สามารถตอบประเด็นปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนได้ตรงตามมาตรฐานและยกระดับการพัฒนาได้จริง
เราสามารถใชพ้ น้ื ฐานของวงลอ้ คณุ ภาพ ๓ ขัน้ ตอนในการทำความเข้าใจข้อเสนอแนะเพอื่ การพัฒนาตอ่ ยอด ดังน้ี

๑๕

๑. รู้หลัก (Concept) เริ่มจากศึกษาหลักการ แนวคิด กระบวนการ ข้อเสนอแนะ และนำมาจับประเด็น

เชื่อมโยงสู่มาตรฐาน เช่ือมโยงการประเมนิ ผลโครงการ เพือ่ นำไปส่กู ารกำหนดเป้าหมายจากมาตรฐานท่ีกำหนด

๒. รู้โจทย์ (Context) การนำมาตรฐานไปใช้กำหนดเป้าหมาย

ได้นั้น เราจำเป็นต้องดูบริบท (โจทย์) ของโรงเรียนโดยมีประเด็น

ที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจโดยการวิเคราะห์ SWOT โดยศึกษา

จากบริบทของนักเรียน ครูและบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์

อาคารสถานท่ี สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโรงเรยี น

๓. รู้เกณฑ์ (Criteria) เป็นการกำหนดเป้าหมายการพัฒนา

โดยศึกษานโยบายการพัฒนา มาตรฐานคุณภาพของโรงเรียนนั้น

ควรกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้นให้

ชัดเจนโดยยึดเกณฑ์การประเมินคุณภาพในงานประกันคุณภาพ

ภาพท่ี ๘: เป้าหมายการพัฒนา ของสถานศึกษา นอกจากนี้การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาโรงเรียน
โรงเรยี นคุณภาพ (School Goal) คุณภาพ (School Goal) น้ันต้องอาศยั หลกั การมีส่วนร่วมท่ีสอดคล้อง
กับแนวคิดของโคเฮน และ อัพฮอฟ (Cohen and Uphoff อ้างจาก

ณรงค์ วารีชล, ๒๕๕๖, หน้า ๙ ) โดยประกอบด้วย ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ๒) การมีส่วน

ร่วมในการปฏบิ ัตกิ าร ๓) การมสี ่วนร่วมในผลประโยชน์ ๔) การมสี ว่ นร่วมในการประเมินผล

ทางโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ได้นำกระบวนการมีส่วนร่วมในสถานศึกษามาใช้ในการกำหนดเป้าหมาย

การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของทั้ง ๕ องค์กรหลักของโรงเรียน ได้แก่ คณะกรรมการ

สถานศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน สมาคมผ้ปู กครองและครู คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ชมรมครเู กา่ และชมรมศิษย์เก่า

ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย และส่งเสริมสนับสนุนการประเมินร่วมกันกำกับติดตาม และตรวจสอบ

เพ่ือพัฒนาการจดั การศกึ ษาให้ดำเนนิ ไปอยา่ งต่อเนื่องเพอ่ื ให้บรรลุจุดมงุ่ หมายทก่ี ำหนดไว้

นอกจากนี้ การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ ทางโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมคำนึงถึง

การตั้งเป้าหมายการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพนั้น เราได้นำหลัก S.M.A.R.T เข้ามาใช้เพื่อให้เป้าหมาย

ของเรามีทิศทางชัดเจน ตลอดจนมีแนวทางปฏิบตั ิทล่ี งมอื ทำไดง้ ่ายขนึ้ ซึ่งประกอบดว้ ย

๑. S: Specific – เฉพาะเจาะจง คือการที่โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ไม่กว้าง

หรอื แคบจนเกนิ ไป มีความชัดเจน ไมค่ ลุมเครือ และต้องระบุทิศทางใหช้ ัดเจน

๒. M: Measurable – สามารถวัดได้ ต้องวัดผลได้ มีหลักการวัดผล วิธีการตลอดจนการคำนวณและ

สรปุ ผลออกมาไดอ้ ย่างชดั เจน มีหลักฐานยนื ยนั ได้

๓. A: Achievable – บรรลุผลได้ เปา้ หมายท่ดี ีจะตอ้ งสามารถบรรลุผลได้จรงิ ประสบผลสำเร็จได้ รวมถึง

เป็นเป้าหมายที่ทำไดจ้ ริง มโี อกาสสำเรจ็ ได้ และสามารถกระต้นุ ให้เกดิ การปฏิบัติเพื่อทจ่ี ะบรรลุเปา้ หมายใหไ้ ด้

๔. R: Realistic – สมเหตุสมผล สอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง เป้าหมายที่กำหนดต้องอยู่บน

พนื้ ฐานความเปน็ จริง สถานการณจ์ รงิ มคี วามสมเหตุสมผล สอดคลอ้ งกับสถานการณน์ ้นั ๆ รวมถึงสอดคล้องกับส่ิงที่

องค์กรตอ้ งการเพือ่ สง่ เสริมกันให้เกิดความสำเร็จ

๑๖

๕. T: Time-bound/ Timely กำหนดช่วงเวลาท่ชี ดั เจน สง่ิ สำคัญทส่ี ุดอยา่ งหนง่ึ ของการต้งั เป้าหมาย
คอื ต้องมีการกำหนดเวลาชัดเจน มีกรอบระยะเวลาในการปฏบิ ตั ิการทก่ี ำหนดไว้ให้รู้ชัดเจน เพ่ือกำหนดระยะเวลา
การวางแผนปฏบิ ตั ิงานในส่วนต่างๆ ดว้ ย

คณะกรรมการดำเนินงานได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายโรงเรียน (School Goal) การดำเนินงานโครงการ
โรงเรยี นคณุ ภาพ ดงั ต่อไปน้ี

๑. สร้างต้นแบบ เป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
กระบวนการออกแบบDALI เพอ่ื คณุ ภาพการศกึ ษาผา่ นการมสี ว่ นร่วมอย่างยั่งยืน “P.N. SGDQ Model”

๒. สรา้ งต้นแบบหลกั สูตรสถานศึกษาโรงเรียนโพธินมิ ติ วิทยาคม ได้แก่ “หลกั สูตรหอ้ งเรียนคุณภาพในระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น” และ “หลักสูตรห้องเรียนเน้นอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย” เพื่อนำมาใช้ใน
ปีการศึกษา ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖

ขนั้ ตอนที่ ๔ วางแผนขบั เคลื่อนโครงการโรงเรียนคณุ ภาพโดยใช้ ๘ มาตรการ
สร้างความรู้เข้าใจให้กับครู นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholders) เพื่อการขับเคลื่อนโรงเรียน
ทงั้ ระบบโดยใช้ ๘ มาตรการ ได้แก่ การจดั การข้อมลู (Data Management) การใช้ข้อมลู สารสนเทศ (Information)
การใช้เทคโนโลยี (Technology) สถานศึกษาปลอดภัย (Safe School) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) การจัดการ
ความเสี่ยง (Risk Management) หลักธรรมาภบิ าล (Good Government) และ เครือขา่ ย (Network) โดยสามารถ
จำแนกรายละเอียดแต่ละมาตรการ ได้ดงั น้ี
๑) การจดั การข้อมลู (Data Management)
โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมได้จัดเก็บข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน สามารถนำมาใช้ได้ง่าย
และตรวจสอบได้ โรงเรียนได้มีขั้นตอนในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ มีการกำหนดนโยบายการจัดระบบ
สารสนเทศในสถานศึกษา มีการประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน แต่งตั้งทีมงาน
หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละงานอย่างชัดเจน ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการจัดระบบ
สารสนเทศ
๑.๑ ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล คำนึงถึงความต้องการของการนำไปใช้ มีแบบฟอร์มในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล เช่น การเก็บข้อมูลรายบุคคลของนักเรียน (DMC) ข้อมูลนักเรียนเรียนรวม (SET) แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
(E-GP) แบบประเมนิ ตนเองในระบบดูแลช่วยเหลือนกั เรียน (SDQ) ระบบรายงานผลการบริหารงบประมาณประจำปี
(E-Budget) และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
(Student Care) โปรแกรมการประเมินผลการเรียน (Bookmark) โปรแกรมการจัดตารางสอน ระบบการรับสมัคร
นักเรียนออนไลน์ และ ระบบสำนกั งานอเิ ล็กทรอนิกส์ (My Office) เปน็ ตน้
๑.๒ ขั้นการตรวจสอบข้อมูล มีการตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตรงตามความต้องการ
ของการนำไปใช้หรอื แบบฟอร์มที่เก็บรวบรวม ตรงตามประเภทของข้อมลู
๑.๓ ขั้นการประมวลผลข้อมูล มีการประมวลผลทั้งทำด้วยมือและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
ในการประมวลผล

๑๗

๑.๔ ขั้นการจัดเก็บข้อมูล มีจัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่ แยกประเภทของข้อมูล มีป้ายกำกับ แยกเป็น
ปีการศึกษาอย่างชัดเจน สารสนเทศจัดทำเป็นรูปเล่ม ข้อมูลเก็บในลักษณะแฟ้มเอกสาร และสำรองข้อมูล ทำเป็น
ตารางในรปู แบบเอกสารและไว้ในระบบคอมพวิ เตอร์ท้งั ท่เี ปน็ ข้อมลู และสารสนเทศ เพื่อใหง้ ่ายต่อการสบื คน้

๒) การใช้ข้อมูลสารสนเทศ (Information)

โรงเรียนโพธินิมติ วิทยาคม ดำเนินการการวเิ คราะห์ข้อมลู สารสนเทศ

ที่ได้ประมวลผลมาแล้ว นำไปเปรียบเทียบให้สอดคล้องเหมาะสม

กับการนำไปใช้ในการประกอบการทำงาน การตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ

มีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ รายงาน

ข้อมูลไปยังหน่วยงานต้นสังกัดตามระยะเวลาที่กำหนด เผยแพร่

ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลและสารสนเทศท่ีเปน็ ประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

ทั้งในและนอกโรงเรียน มีรูปแบบการรายงานผลและนำเสนอข้อมูล

ที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบเอกสารแผ่นพับ รูปเล่มวารสาร และผ่านทาง

ระบบอินเทอร์เน็ต นำข้อมูลที่ได้ไปวางแผน แก้ไข พัฒนา และปฏิบัติจริง

ภาพท่ี ๙: รายงานสารสนเทศ ในการบริหารสถานศกึ ษา
ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔
๓) การใช้เทคโนโลยี (Technology) ในการบริหารจัดการสถานศกึ ษา
การนำเทคโนโลยีในการบริหารโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ผู้บริหาร

โรงเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีทักษะพื้นฐานทักษะด้านคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับดีมาก จัดการอบรม

เชิงปฏิบัติการให้แกค่ รูและบุคลากรในโรงเรียนดว้ ยแนวทางวิธกี ารท่ี หลากหลาย และต่อเนื่อง สร้างความตระหนกั

ในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆทั้ง on-site และ online และ มีการตรวจสอบ ติดตามและ

ประเมนิ ผลหลงั การอบรม และนำผลมาปรบั ปรงุ พัฒนา

เพื่อรองรบั สถานการณโ์ ควดิ ทเ่ี ผชิญอยใู่ น ปจั จบุ ันและยคุ ปรกติใหม่ ผู้บรหิ ารสถานศึกษา ครูและบุคลากร
ในโรงเรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รับ–ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ระบบ
สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ ใช้งานเว็บไซต์สารสนเทศของต้นสังกัดและการเข้าถึง Platform แต่ละ ประเภท เช่น
Google, Messenger, Line. และ Zoom ในการประชุมและการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ โรงเรียนโพธินิมิต
วิทยาคมส่งเสริม สนับสนุนให้คุณครูใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ผ่านการประกวดนวัตกรรมทางการศึกษา
มีการจัดระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่ือสาร เพือ่ จดั รวบรวมสื่อ นวัตกรรมการเรยี นการสอนอย่างเป็นระบบ
ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา กำหนด วิสัยทัศน์เป้าหมาย กำกับ ติดตามประเมินผล
นำผลการประเมิน มาปรบั ปรงุ ระบบ และนำผลการประเมนิ มาปรบั ปรุงแนวทางการบรู ณาการจดั ระบบงานระหว่าง
ผู้บริหารและครูในการใช้เว็บไซต์สารสนเทศของทางโรงเรียนในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าว่าสารให้กับนักเรียน
ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการจัดหาวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้มีคุณภาพ และ
ทนั สมยั รวมทง้ั สง่ เสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารเพอื่ ให้นักเรียนได้เรยี นรู้อย่างหลากหลาย โดย
ใช้เครือขา่ ยความรว่ มมอื ไปยังเครือข่ายต่าง ๆ มีการจดั ทำแผนปฏิบตั กิ าร ตรวจสอบ ติดตาม และนำผลการประเมิน
มาปรับปรุงเป็นตน้

๑๘

๓) โครงการสถานศึกษาปลอดภยั (Safe School)
ปีการศกึ ษา ๒๕๖๔ โรงเรยี นได้รับงบประมาณตามโครงการโรงเรยี นคุณภาพภายใตช้ ื่อโครงการ “โรงเรียน
ปลอดภัย Safety School” เป็นงบประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
๓.๑ แบ่งบริเวณโรงเรียนออกเป็น ๓ พื้นที่ ได้แก่ บริเวณอันตราย (พื้นที่สีแดง) บริเวณเฝ้าระวัง (พื้นท่ี
สีเหลือง) และ บริเวณปลอดภยั (พื้นที่สีเขียว)

๓.๒ จัดทำคู่มือโรงเรียนปลอดภัย เพื่อให้เป็นแนวทางในการดูแลความ
ปลอดภัยในโรงเรียนให้กับนกั เรียนในด้านต่าง ๆ และเผยแพร่แก่นักเรยี น
ครู ผู้ปกครอง และผู้ที่มสี ่วนเกย่ี วข้อง

QR Code ค่มู อื โรงเรียน
ปลอดภยั

๓.๓ ติดตั้งอุปกรณ์และอ่างล้างมือเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด

และโรคติดต่อต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภมู ิแบบอัตโนมัติ พร้อมจำหน่าย

เจลแอลกอฮอล์ ในบริเวณพื้นที่สีแดง ติดตั้งจุดกดเจลล้างมือในพื้นที่

สีแดง เพื่อนักเรียนและบุคลากรมีจุดกดเจลเพียงพอในการใช้งาน

ภาพท่ี ๑๐: คู่มือ ทั่วบริเวณอาคารสถานที่ จำนวน ๔๐ จุด ติดตั้งอ่างล้างมือ และเครื่อง
โรงเรียนปลอดภัย จ่ายสบู่ล้างมือจำนวน ๒ จุด บริเวณหน้าโรงอาหาร และบริเวณศูนย์การ
เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง และจัดหาอุปกรณ์ทำความ

สะอาดสบู่ล้างมือ แอลกอฮอล์ กระบอกฉีดแอลกอฮอล์ไว้ในห้องเรียนทุกห้องเรียน ในห้องน้ำนักเรียนและห้องน้ำ

ครู เพื่อดแู ลความสะอาดและสุขอนามัย

๓.๔ กำหนดจุดเว้นระยะห่างตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา ๒๐๑๙ (ศบค.) ทุกจดุ ในและนอกอาคารเรียนทัง้ ๓ อาคาร

๓.๕ ปรับปรุงป้อมยามเพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

๓.๖ จัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในงานจราจรเพื่อเป็นอุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแล

ความปลอดภยั ให้นักเรียนและบุคลากร

๓.๗ ทาสีสญั ลักษณ์ทางม้าลาย เพอ่ื เสริมสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียน

๓.๘ จัดทำป้ายนิเทศให้ความรู้มาตรการความปลอดภัยในด้านต่างๆ เพื่อให้นักเรียน บุคลากรได้เรียนรู้

วธิ กี ารปฏิบัติตนเมื่อประสบภยั ต่างๆ

๕. การสรา้ งชมุ ชนแหง่ การเรยี นรู้ (PLC)
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning
Community: PLC) ในโรงเรยี นโพธนิ ิมิตวิทยาคม เป็นการรวมตัวของผู้บริหารและครูในการลงมือปฏิรูปการเรียนรู้
และเรียนรู้ร่วมกัน เน้นปฏิสัมพันธ์และการเป็นผู้นำร่วมกัน ซึ่งเริ่มจากการเห็นคุณค่าวิสัยทัศน์ และการเรียนรู้

๑๙

ในทิศทางเดียวกัน แล้วนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ สมาชิกใน PLC จะมุ่งเน้นว่า “ศิษย์ของเรา”
มากกว่าว่า “ศิษย์ของฉัน”และการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มจาก “การเรียนรู้ของครู” เรียนรู้
ที่จะมองเห็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ

โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมได้พัฒนากระบวนการ PLC โดยการเริ่มทำ PLC เริ่มจากคำถามเชิงคุณค่า
ว่า “เราจะช่วยกันทำให้โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนคุณภาพได้อย่างไร” ซึ่งคำถามดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนด
เป้าหมาย (Purpose Statement) ค่านิยมหลัก (Core Value) และแนวทางการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนร่วมกัน
เมื่อเป้าหมายชัดเจนและเหน็ แนวทาง ต้องรีบลงมือปฏบิ ัติ (Action Mode) ต้องมีทีมร่วมคิดร่วมทำ ซึ่งต้องแยกกนั
ทำแต่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติร่วมกัน มีการสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ PLC ว่ามีหลักการ
ดำเนินการอยา่ งไร และผลที่เกิดจากการดำเนนิ การ PLC จะเปน็ อยา่ งไร โดยมีรายละเอยี ด ดังน้ี

๑. การมีเป้าหมายหรือฉันทะร่วมกันในด้านการเรียนการสอน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการสร้างชุมชน
แห่งการเรียนรู้ของครู โดยผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีบทบาทสำคัญในการให้ครูทั้งโรงเรียนได้ร่วมทบทวน
และกำหนดทศิ ทางหรือเปา้ หมายเหลา่ นั้นอยา่ งแท้จริง

๒. การแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน ซ่ึงเริ่มตน้ จากผ้บู รหิ ารและครใู นโรงเรียนรว่ มแลกเปล่ียนเรียนรู้
จากเป้าหมายขององค์กรโดยนำประสบการณ์และความรู้จากการปฏิบัติหรือความรู้ที่ฝังอยู่จากการทำงานของครู
แต่ละคน จำเป็นต้องอาศัยผู้ชี้แนะ (Coach) ที่เป็นไปตามความต้องการของครูโดยการชี้แนะนั้นก็ต้องสอดคล้อง
กับบรบิ ทของพนื้ ทอี่ ย่างแท้จริง

๓. ทบทวนผลการปฏบิ ตั ิทไี่ ดร้ ่วมกนั วางแผนพัฒนาการสอนอย่างสม่ำเสมอ เม่ือคุณครูได้ร่วมทบทวนวิธี
ที่จะปฏิบัติร่วมกันก่อนไปสอนจริงในวง PLC แล้ว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำผลปฏิบัติเหล่านั้นมาทบทวน
ถึงผลทเ่ี กิดข้ัน สง่ิ ที่เหน็ และเรียนรู้อะไรหรืออาจเรียกกิจกรรมน้ีว่า การทบทวนหลงั จากได้ปฏิบัติ ส่วนเพื่อนครูท่าน
อนื่ ก็จะไดแ้ ลกเปลย่ี นเรยี นรใู้ นสงิ่ ทเี่ หน็ และส่ิงท่ไี ดเ้ รยี นรู้จากเพ่ือนครู

๔. ร่วมเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของเพื่อนร่วมวิชาชีพ กิจกรรมทั้งหลายทั้งมวลในวง PLC จึงไม่ใช่แค่
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่อาจจะหมายถึงสังเกตการณ์สอนของเพื่อนครู การนำสื่อมาอธิบายในวง PLC การสร้าง
แรงบันดาลใจจากผู้ประสบความสำเร็จ การสร้างความมั่นใจจากสิ่งที่ปฏิบัตินำไปสู่ทฤษฎี หรือการสร้างเครือข่าย
กับครูต่างโรงเรียนที่มีเป้าหมายเดียวกัน เพ่ือปรับปรุงการเรียนการสอนของครูให้สู่ผู้เรียนอย่างแท้จริง

๕. เผยแพร่สูส่ าธารณะและสร้างเครือข่าย เมอื่ กระบวนการในการพัฒนาการเรยี นรู้ของเดก็ มีความสำเรจ็
วิธที จี่ ะกอ่ ใหเ้ กิดความยั่งยืน และแพรข่ ยาย คอื การนำเร่อื งราวหรือกลไกเหล่านน้ั สู่สาธารณชน ไมว่ ่าจะเป็นการเปิด
ให้ชุมชนอื่นได้มาศึกษาและแลกเปลี่ยนร่วมกัน การสร้างคู่คิดของชุมชน (Community Buddy) ข้อสำคัญการเปิด
กวา้ งส่สู าธารณะ คือการใช้พ้ืนท่ีของโรงเรยี นเปน็ แหล่งเรียนรู้และแลกเปลีย่ นในเวลาที่ไม่กระทบต่อการจัดกิจกรรม
ปกตขิ องครู ซึ่งจะทำใหอ้ งค์กรมคี วามย่งั ยนื และพัฒนาอย่างตอ่ เนื่อง

๖. การจดั การความเสย่ี ง (Risk Management)
การจัดการความเสี่ยงในสถานศึกษานับเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียน
คณุ ภาพ ผู้บรหิ ารสถานศกึ ษามนี โยบายส่งเสริมให้การบรหิ ารความเสีย่ งเป็นของวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้บุคคลากร
ที่เกี่ยวข้องมีความรู้และเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยง เกิดการตระหนักรู้และนำมาใช้ในการบริหารงาน
ในชีวิตประจำวนั ได้ กระบวนการบรหิ ารความเส่ียง เพื่อช่วยให้การบริหารความเสีย่ งเป็นไปอย่างมีระบบ สามารถทํา

๒๐

การควบคุมและตรวจสอบได้ ดังนั้น การกําหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรตามมาตรฐานสากล
ซึ่งประกอบด้วย ๑) การกําหนดนโยบายในเรื่องการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจนจากฝ่ายบริหาร ๒) จัดทำโครงสร้าง
การบริหารความเสี่ยง ๓) กำหนดบทบาทหน้าที่ในการกํากับดูแลรวมถึงหลักเกณฑ์และแนวทางในการบริหาร
ความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยมีกระบวนการและวิธีการในการบริหารความเสี่ยง โดยการกำหนดกรอบ
ความเสี่ยงในสถานศึกษาเพื่อช่วยในการพิจารณาความเสี่ยงพื้นฐานที่สําคัญต่อการบริหาร โรงเรียนให้สามารถ
วิเคราะห์ปจั จัยเสีย่ งท้งั ท่ีมาจากภายในและภายนอก และมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบตามเป้าหมายโรงเรียนท่ีกําหนด
ไว้ได้ เช่น การจัดทําโครงการและกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานที่จะดําเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคต โดยใช้
ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดมาดําเนินการให้ประสบความสําเร็จภายใต้กรอบเวลาอันจํากัด ซึ่งเป็นกําหนดการ
ปฏิบัติการในอนาคต ซึ่งความเสี่ยงจงึ อาจเกิดข้ึนได้ตลอดเวลาอันเน่ืองมาจากความไม่แนน่ อน และความจํากัดของ
ทรัพยากรในโครงการ คณะกรรมการดำเนินงานจึงต้องจัดการความเสี่ยงของโครงการเพื่อให้ปัญหาของโครงการ
ลดน้อยลง และสามารถดาํ เนินการให้ประสบความสําเร็จตามเป้าหมายท่ีต้ังไวอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิผลและมปี ระสทิ ธิภาพ

๗. การนำหลกั ธรรมาภบิ าล (Good Governance) การบริหารสถานศกึ ษา
ผู้บริหารโรงเรียน และคณะครูโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมนับเป็นเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการบริหาร
จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านทฤษฎี มีทักษะในการบริหารและการดำเนินงาน รู้จักบทบาท
หน้าที่ของตนเอง มีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อทำให้สถานศึกษาประสบผลสำเร็จ สามารถสนองตอบความต้องการ
ของชุมชน ทันสมัยพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการศึกษาทั้งทางด้านการบริหารสถานศึกษา
ด้านการเรียนการสอน แหล่งเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนโพธินิมิตวิทยาคมทุกคนต้องอยู่ในสังคมการเรียนรู้และสามารถใช้
เทคโนโลยี ที่จะทำให้เกิดคุณค่าและประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง (พิณสุดา สิริธรังศรี, ๒๕๕๖ หน้า ๒๒ - ๔๓) ดังนั้น
โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารงานในสถานศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
และมีประสิทธิผล โดยยึดหลักธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบ ๖ ประกอบ คือ ๑) หลักนิติธรรม (Rule of Laws)
๒) หลักคุณธรรม (Ethics) ๓) หลักความโปร่งใส (Transparency) ๔) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
๕) หลักความรับผดิ ชอบ (Accountability) และ ๖) หลักความคุ้มค่า (Effectiveness)

๑) หลักนิติธรรม (Rule of Laws) โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมบริหารงานตามหลักกฎหมาย
มีความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย มีกฎเกณฑ์ที่มีความเที่ยงตรงเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ใช้กฎระเบียบข้อบังคับในการบริหาร
ราชการด้วยความเป็นธรรม มีความยุติธรรมในการบังคับกฎหมายอย่างเสมอภาคกันไม่เลือกปฏิบัติ การกำหนด
หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยมอบหมายงานให้บุคลากรได้ทำงานตามความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมเป็นไป
ตามระเบียบของทางราชการ และตามเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วม
ในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยตั้งคณะกรรมการสถานศึกษา มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอจาก
งานวจิ ัยเร่ืองการบริหารโรงเรยี นตามหลกั ธรรมาภิบาลของผบู้ รหิ ารสถานศึกษา

๒) หลักคุณธรรม (Ethics) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ยึดมั่นใน
ทางที่ถูกต้องดีงาม การไม่ทุจริต ไม่ประพฤติผิดวินัย ไม่กระทำผิด มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ มีคุณธรรม
ซื่อสัตย์สุจริต มีความเป็นผู้นำปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงาน
ดว้ ยหลกั คุณธรรม รวมถงึ การประพฤติปฏบิ ัติตนที่พึงประสงค์ ปลอดการฉอ้ ราษฎร์บงั หลวง การไมล่ ะเมิดจริยธรรม

๒๑

หรือธรรมเนียมปฏิบัติ มีการบริหารงานโดยยึด หลักคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม สนับสนุนบุคลากร
อย่างทั่วถึง คณะกรรมการดำเนินงานขอน้อมนำ คุณธรรม ๔ ประการ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ยึดถือปฏิบัติ มีอยู่ ๔ ประการ คือ ๑) สัจจะ - การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตวั เอง
ทจี่ ะประพฤตปิ ฏิบตั ิแต่ ส่งิ ทเี่ ปน็ ประโยชน์และเป็นธรรม ๒) ทมะ - การรูจ้ กั ข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติ
ปฏิบตั อิ ยใู่ นความดนี ัน้ ๓) ขนั ติ - การอดทนอดกลั้น และอดออมท่ีจะไม่ประพฤตสิ จุ รติ ไม่วา่ จะดว้ ยเหตุประการใด
๔) จาคะ - การรู้จักละวางความชั่ว รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
และโรงเรียน ซึ่งคุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขร่มเย็น โดยเฉพาะครูและผู้บริหาร
สถานศกึ ษาจำเปน็ ต้องยึดถอื ปฏบิ ตั เิ พือ่ ประโยชนข์ องตนเองและผ้เู รียนเปน็ สำคัญ

๓) หลักความโปร่งใส (Transparency) โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมดำเนินงานเป็นไป
ด้วยความ โปร่งใส ตัดสินใจและการดำเนินการต่าง ๆ อยู่บนกฎระเบียบ ชัดเจน การดำเนินงานของสถานศึกษา
ในด้านนโยบายต่าง ๆ นั้น ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถรับทราบ และมีความมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานของ
สถานศึกษานั้นมาจากความตั้งใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของนโยบาย ไม่ปิดปังข้อมูล
และสามารถตรวจสอบได้ ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี การบริหาร
ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ความโปร่งใสในสถานศึกษามีหลายด้านในการดำเนินการนั้นต้องมี
การตรวจสอบภายในที่เข้มแข็ง ได้แก่ มีคณะกรรมการตรวจสอบเห็นระบบงานท้ังหมดได้อย่างชัดเจน ชุมชนเข้ามา
มีส่วนร่วมรับรู้การทำงาน และต้องมีฝ่ายจัดทำบัญชีต่าง ๆ ในด้านการบริหารงบประมาณที่เข้มแข็งมีการวางแผน
กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานแต่งตั้งบุคลากรเป็นที่ยอมรับขององค์กรสามารถตรวจสอบได้ มีการเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้บุคลากรภายในและภายนอกได้รับทราบ รวมถึงการบริหารงานมีความชัดเจน
โปรง่ ใสตรวจสอบได้ทกุ เวลา ผู้บริหารสถานศึกษาจะตอ้ งยึดหลักความบรสิ ุทธิ์ คอื มกี ารวนิ จิ ฉยั สงั่ การกระทำกิจการ
งานด้วยความบริสุทธิ์ใจ คือด้วยเจตนาความคิดอ่านที่บริสุทธิ์โปร่งใส ใช้ระบบสารสนเทศสามารถตรวจสอบได้
ตลอดเวลาโดยใชห้ ลกั กระบวนการ DALI ในระบบงานของสถานศึกษาทั้ง ๔ งาน

๔) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) การมีส่วนรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญ ๆ
ของสังคมโดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม การบริหารแบบมีส่วนร่วมผู้บริหาร
หรือผู้นำได้เปิดโอกาสหรือให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้บริหารเปิดโอกาส
ให้ทกุ ภาคส่วนเข้ามามีสว่ นร่วมในการบริหารงานเพ่ือใหก้ ารบริหารงานมีความชัดเจน และมีประสทิ ธิภาพมากย่ิงขึ้น
ผู้บริหารจะต้องให้ผู้ทีม่ ีส่วนได้สว่ นเสียกับการจัดการศึกษา ทั้งครูนักเรียนและผู้ปกครอง ตลอดทั้งชุมชนมีส่วนรว่ ม
ดำเนินการจัดการศึกษาในโครงการและ กิจกรรมของสถานศึกษาที่จัดขึ้นตลอดปีการศึกษาในรูปแบบ
ของคณะกรรมการ การมีส่วนรว่ มของบคุ ลากรในสถานศกึ ษาทุกฝา่ ย

๕) หลักความรับผิดชอบ (Accountability) มีจิตสำนึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมสิทธิและหน้าท่ี
และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย “ความรับผิดชอบ”
เป็นเรื่องทีส่ ำคัญยิ่งอีกประการหนึง่ เพราะความรับผิดชอบทำให้งานประสบความสำเร็จ แม้ในบางครัง้ งานที่สำคญั
ของสถานศกึ ษาเกิดความบกพร่องผิดพลาดในฐานะผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษาจำเปน็ ต้องยอมรบั ท้ังผดิ และชอบโดยไม่โยน
ความผิดไปให้ผู้อื่น มีการจัดโครงการ / กิจกรรมให้แก่บุคลากรในสถานศึกษามีการติดตาม นิเทศ ประเมินผล

๒๒

และทำการสรุปผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ สร้างข้อตกลงเบื้องต้น ปรับความเข้าใจและให้เกิดการตระหนัก
ในหนา้ ท่ีที่รับผิดชอบ มกี ารมอบหมายงานท่ีตรงกบั ความรู้ และความสามารถของบคุ ลากรในสถานศึกษา

๕) หลักความคุ้มค่า (Effectiveness) การดำเนินงานโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมสามารถบริหารจัดการ
และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินการกับทรัพยากรทางการศึกษาอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์
สูงสุด โดยใช้กระบวนการ DALI ในระบบงานทั้ง ๔ งานอย่างครบถ้วน หลักการนี้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุด
แก่ส่วนรวมในการบริหารการจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด สิ่งเหล่านี้เป็นผลในการปฏิบัติอันเกิด
จากการใช้หลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย ๑) การประหยัด การทำงานและผลตอบแทนบุคลากรเป็นไปอย่าง
เหมาะสม การไม่มีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ การมีการตรวจสอบภายในและการจัดทำรายงานการเงิน
มีการใช้เงนิ อยา่ งมีประสิทธภิ าพ ๒) การใชท้ รพั ยากรใหเ้ กิดประโยชน์สงู สดุ มีการใช้ทรพั ยากรอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ
มีการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา ๓) ความสามารถในการแข่งขัน การมีนโยบายแผน วิสัยทัศน์ พันธกิจ
และเป้าหมาย มีการประเมินผลการทำงาน มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าที่สุดโดยยึดหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และมีความชำนาญในงานที่รับผิดชอบ มีการบริหาร
จัดการและใช้ทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สถานศึกษา มีขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณอย่างเป็นระบบ
และมีการนำเทคโนโลยสี มยั ใหมม่ าใชใ้ นการบรหิ ารงานในสถานศกึ ษาเพ่ือลดระยะเวลาและความซำ้ ซ้อน

๘. การสร้างเครือข่าย (Networks) ทางการศึกษา รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัด
การศกึ ษาในโรงเรียนโพธนิ ิมติ วิทยาคม ประกอบดว้ ย กระบวนการสร้างเครือข่าย ๖ ขน้ั ตอน ได้แก่ ๑) ข้ันตระหนัก
ถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย ๒) ขั้นประสานหน่วยงาน / องค์กรเครือข่าย ๓) ขั้นสร้างพันธสัญญาร่วมกัน
๔) ขั้นบรหิ ารจัดการเครอื ขา่ ย ๕) ขั้นพัฒนาความสมั พันธ์ และ ๖) ข้นั รักษาความสัมพนั ธ์อยา่ งต่อเน่ือง

โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมดำเนินการผ่านการจัดกิจกรรมที่เสริมประสิทธิภาพการดำเนินภารกิจ
ของเครือข่าย ทั้งในรูปแบบของกลุ่มบุคคล หน่วยงาน / องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สำนักเขตพื้นที่
การศึกษามธั ยมศึกษา นนทบุรี องคก์ ารบรหิ ารส่วนจงั หวดั นนทบรุ ี เทศบาลนครปากเกร็ด สมาคมผู้ปกครองและครู
โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม สมาคมครูเก่า สมาคมศิษย์เก่า ผู้นำชุมชนประธานชุมชน สถาบันทางศาสนาใกล้เคียง
สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับประเทศ เช่น สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลพระนคร โรงพยาบาลชุมชน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สโมสรฟุตบอล
เมืองทองยูไนเต็ด โดยได้ดำเนินการตามกระบวนการปฏิบัติงานของเครือข่าย ตั้งแต่การวิเคราะห์บริบทเพื่อทราบ
จุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาของการดำเนินงาน ด้านงานบริหารงานวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านงานบุคคล และ
ดา้ นงานบรหิ ารงานทว่ั ไป

๒๓

ขั้นตอนที่ ๕ การดำเนินงานโดยกระบวนการออกแบบ DALI

กระบวนการออกแบบ DALI (Design – Action – Learning -

Improve) เริ่มต้นที่การสํารวจวิเคราะห์บริบทและนโยบายเพื่อให้

ก า ร พ ั ฒ น า โ ร ง เ ร ี ย น โ พ ธ ิ น ิ ม ิ ต ว ิ ท ย า ค ม เ ป็ น ไ ป อ ย่ า ง ส อ ด ค ล้ อ ง

และรวมกับโรงเรียนร่วมกันกําหนดเป้าหมายกระบวนการทำงาน

นําไปสู่การออกแบบกระบวนการ ( Design) การปฏิบัติโดย

การนํากิจกรรมมาตรการเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง (Action) และ

ทบทวนขั้นตอนการดำเนินงาน จากนั้นเข้าสู้ขั้นตอนการเรียนรู้

(Learning) และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง หรือการดำเนินงาน ภาพที่ ๑๑: กระบวนการออกแบบ
เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ชัดขึ้น (Improve) เพื่อที่จะเริ่มต้น DALI
พฒั นางานเขา้ ส่วู งจรอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง

ขั้นตอนที่ ๖ การวิเคราะห์ผลงาน / ผลผลติ (Output)

การดำเนินงานโดยใชห้ ลักการของทฤษฎีระบบ (System Theory) เราแบง่ ผลงาน (Output) ของโรงเรียน

คุณภาพออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ นักเรียนคุณภาพ (Quality Students) ครูคุณภาพ (Quality Teachers) และ

โรงเรียนคุณภาพ (Quality School) โดยอาศัยการรวบรวมผลการดำเนินงานต่อเนื่องของโครงการและกิจกรรม

ที่เกยี่ วข้อง

ข้ันตอนที่ ๗ การสรปุ ผลลัพธ์ (Outcome)
การวัดผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการวัดผลที่ได้รับจากผลของการดำเนินงานซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลง

ท่เี กิดขึ้นกบั กลุ่มเปา้ หมาย / ผเู้ รียนทั้งในเรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมหรือการปฏิบัติ โดยนำไปเปรียบเทียบ
กับเกณฑ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ตามวัตถุประสงค์ของแผนงานและโครงการ กล่าวคือเป็นการวัดประสิทธิผล
(Effectiveness) โดยวัดความสัมพันธ์ระหว่างผลลพั ธ์กับวัตถปุ ระสงค์ของงาน

๓) รูปแบบและวิธีการนำนวตั กรรมไปใช้งาน
โครงการโรงเรียนคุณภาพ ระดับมัธยมศึกษา ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้

การขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดประสิทธิผล และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการทางโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ได้เล็งเห็นว่า การพัฒนา
หลักสูตรโรงเรียนให้มีคุณภาพถือเป็นงานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาโรงเรียน เพราะหลักสูตรเปรียบเสมือนตัวแม่บท
หรือหัวใจของการศึกษาที่ถือเป็นแก่นสำคัญในการวางแนวทางการจัดการศึกษา เป็นตัวกำหนดทิศทาง
ของการศึกษาในการที่จะให้ความรู้ การเสริมสร้างเจตคติ ตลอดทั้งการฝึกฝนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียน
เกิดการพฒั นารอบด้านและเตมิ เต็มศกั ยภาพของผูเ้ รยี น

ด้วยเหตุนี้ ทางโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมจึงขอแนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินงานโรงเรียน
คุณภาพโดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” โดยใช้เป้าหมาย
ของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการออกแบบ DALI
เพอ่ื คุณภาพการศกึ ษาผ่านการมสี ว่ นร่วมอย่างย่งั ยืน “P.N. SGDQ Model” ดังตอ่ ไปน้ี

๒๔

ขั้นตอนท่ี ๑ การนำหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงมาเป็นกรอบของการดำเนนิ งาน

เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความพอเพียง

พอประมาณในการดำเนินชีวิต มีการตัดสินใจที่ดี

บนพื้นฐานของเหตุผล ฝึกให้มีการมองไปข้างหน้า

และเตรียมตัวให้พร้อม รับต่อความผันผวน

ข อ ง ส ถ า น ก า ร ณ์ ต ่ า ง ๆ อ ย ่ า ง ร ู ้ เ ท ่ า ทั น

รวมถึงการหมั่นแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เกิด

ความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ ฝึกฝนตนเองให้มี

ความรอบคอบและระมัดระวังโดยใช้สติปัญญาใน

ภาพที่ ๑๑: หลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง การทำงานและในการดำเนินชีวิตท่ีสำคัญ แนวคิด
สู่หลกั สูตรสถานศึกษา หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงยังเน้นให้ผู้เรียนมี
คุณธรรม จริยธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่นแบ่งปันและ

ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งนี้โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวทางของหลักปรัชญาของ

เศรษฐกจิ พอเพยี ง (สมศักด์ิ คงเท่ยี ง, ๒๕๕๐, น. ๗ - ๑๒)

การจัดทำหลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” นั้นสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ไปในทกุ สว่ นของการดำเนนิ งานไม่ว่าจะในการกำหนดมาตรฐานการเรยี นรชู้ ัน้ ปี หรือ ผลการเรียนรู้ การจดั ทำหน่วย
การเรียนรู้ หรือแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ครูสื่อหรือมีศูนย์
การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียน มีรายวิชา “เศรษฐกิจพอเพียง” ในตารางเรียน
จัดชุมนุมพอเพียงให้แก่นักเรียนที่สนใจ และจัดตั้งแกนนำนักเรียนที่ให้ความรู้เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพยี งแก่นกั เรยี นโพธินิมติ วิทยาคม และ นักเรียนระดบั ประถมศึกษาบรเิ วณใกลเ้ คยี ง

ขนั้ ตอนท่ี ๒ การจัดทำโครงรา่ งการดำเนินงานโดยใชห้ ลักการของทฤษฎีระบบ (System Theory)

ภาพที่ ๑๓: โครงร่างการดำเนินงานโดยใช้หลกั การของทฤษฎีระบบ (System Theory)

หลักสูตรโรงเรยี นคุณภาพ “โพธนิ ิมิตวทิ ยาคม” จัดทำโครงร่างการดำเนนิ งานออกเปน็ ๕ ขั้นตอนดงั ตอ่ ไปน้ี
๑. ปัจจัยนำเข้า (Input) วิเคราะห์สภาพและความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากร
ทางการศึกษาในโรงเรยี นโพธินิมิตวิทยาคม ความพร้อมด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และทรพั ยากรตา่ งๆ รวมถึง
ระยะเวลาทด่ี ำเนินการ ด้านอาคารและและสถานที่ เปน็ ต้น เพอื่ ต้ังเป้าหมายโรงเรียน (School Goal) ในการพฒั นา
หลักสตู รโรงเรียนคุณภาพ “โพธนิ มิ ติ วทิ ยาคม”

๒๕

๒. กระบวนการ (Process) คณะกรรมการคัดเลือกและออกแบบเทคนิควิธีการขั้นตอนการดำเนินงาน
ต่างๆ ต้ังแตต่ ้นจนจบ โดยวางแผนโดยใชก้ ารออกแบบกระบวนการ DALI

๓. ผลผลิต (output) วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นทันที หรือ ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการดำเนินโครงการ
กิจกรรมเสรจ็ สิ้น เช่น นกั เรยี นคุณภาพ ครคู ณุ ภาพ และ โรงเรยี นคุณภาพ

๔. ผลลัพธ์ (outcome) คือ ผลที่เกิดขึ้นทันที ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการดำเนินโครงการกิจกรรม
เสร็จสิ้น เช่น คุณภาพของนักเรียน สมรรถนะของผู้เรียน หรือผู้เรียนที่จบการศึกษา ครูท่ีผ่านการฝึกอบรมได้
งานวิจัยในช้ันเรียน หรือบทความวิจัยตีพิมพ์ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมท่เี กิดขน้ึ หลังการดำเนนิ งาน เป็นต้น

๕. ขอ้ มูลยอ้ นกลบั (Feedback) คือ ข้อมูลเก่ียวกับผลทีเ่ กิดจากการดำเนนิ งาน ซ่ึงสามารถนำไปพจิ ารณา
เพอื่ ปรับปรุงประสทิ ธภิ าพในขั้นตอนต่าง ๆ ได้ เชน่ รางวลั และความสำเรจ็ ทไ่ี ดร้ บั จากการดำเนนิ งานโครงการ

ขน้ั ตอนที่ ๓ การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ (School Goal)
เมอ่ื ผา่ นกระบวนการขน้ั ตอนน้ี ทางโรงเรยี นโพธนิ ิมติ วิทยาคมได้กำหนดเป้าหมายการดำเนนิ งาน ดังตอ่ ไปน้ี
๑. สร้างตน้ แบบ เปา้ หมายของการพัฒนาโรงเรยี นคุณภาพตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งดว้ ย
กระบวนการออกแบบDALI เพื่อคุณภาพการศึกษาผ่านการมสี ว่ นรว่ มอยา่ งยงั่ ยืน “P.N. SGDQ Model”
๒. สร้างต้นแบบหลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นโพธินิมติ วิทยาคม ได้แก่ “หลักสตู รหอ้ งเรยี นคณุ ภาพในระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น” และ “หลักสูตรห้องเรียนเน้นอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย” เพื่อนำมาใช้ใน
ปีการศกึ ษา ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖
ข้ันตอนท่ี ๔ วางแผนขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพโดยใช้ ๘ มาตรการ
โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม สร้างความรู้เข้าใจให้กับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
(stakeholders) เพื่อการขับเคลื่อนโรงเรียนทั้งระบบโดยใช้ ๘ มาตรการ ได้แก่ ๑) การจัดการข้อมูล (Data
Management) ๒) การใช้ข้อมูลสารสนเทศ (Information) ๓) การใช้เทคโนโลยี (Technology) ๔) สถานศึกษา
ปลอดภัย (Safe School) ๕) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ๖) การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
๗) หลกั ธรรมาภบิ าล (Good Government) ๘) เครอื ขา่ ย (Networks)
ข้ันตอนที่ ๕ การดำเนนิ งานโดยกระบวนการออกแบบ DALI
เพื่อที่จะเริ่มต้นเข้าสู่วงจรอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการดำเนินงานได้ วางแผนการดำเนินงาน แบ่งเป็น
Timeline การขับเคลื่อนกิจกรรม การดำเนินงานหลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” ดังต่อไปน้ี
การจัดทำหลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” คณะกรรมการดำเนินงาน เลือกใช้ วงล้อ DALI
เพื่อที่จะเริ่มต้นเข้าสู่วงจรอย่างต่อเนื่อง โดยวางแผนการดำเนินงานแบ่งเป็น Timeline การขับเคลื่อนกิจกรรม
การดำเนินงานหลกั สูตรโรงเรียนคณุ ภาพ “โพธินมิ ิตวิทยาคม” ดงั ต่อไปนี้

เดอื นพฤษภาคม ๒๕๖๔ (Design)
• ศกึ ษาการดำเนนิ โยบายโครงการโรงเรียนคุณภาพ ของกระทรวงศกึ ษาธิการ

• แต่งตั้งการคณะกรรมการโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมและออกคำสั่งแต่งตั้ง
คณะกรรมการดำเนนิ งาน

• วางแผนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพโดยยึดหลักการมีสว่ นรว่ มของทุกภาคสว่ น

๒๖

เดอื นมิถุนายน ๒๕๖๔ (Design)

• กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
กระบวนการออกแบบ DALI เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน “P.N.
SGDQ Model”

เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ (Design)

• กำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย (School Goal) ของโครงการโรงเรียนคุณภาพภายใต้หลักการ
S.M.A.R.T

• จดั ตง้ั คณะกรรมการพัฒนาหลกั สูตรสถานศกึ ษา หลกั สตู รโรงเรียนคุณภาพ “โพธนิ ิมติ วิทยาคม

• ศกึ ษาและวเิ คราะหข์ อ้ มูลพ้ืนฐานต่างๆทีเ่ กยี่ วข้องกบั การพฒั นาหลักสูตรใหม่ เช่น นโยบาย
ของกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจัยพื้นฐานของโรงเรียน วิสัยทัศน์ของโรงเรียน แนวทางนโยบาย
ของคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้บริหารโรงเรยี น เป็นต้น

เดอื นสงิ หาคม ๒๕๖๔ (Design)

• กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระ และจัดประสบการณ์
การเรียนรู้แต่ละกลมุ่ สาระการเรยี นรู้

• ออกแบบหลักสตู รโรงเรยี นคณุ ภาพ “โพธินมิ ิตวทิ ยาคม” โดยแบง่ เปน็ ๒ หลักสตู ร ได้แก่ หลักสตู ร
ห้องเรยี นคณุ ภาพระดับมธั ยมศึกษkตอนต้น และ หลกั สตู รห้องเรยี นเน้นอาชพี ในระดับมธั ยมศึกษา
ตอนปลาย

• สำรวจความต้องการ ความจำเป็นของผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสรุปเป็น
ภาพรวม

เดือนกนั ยายน ๒๕๖๔ (Design / Action)

• จัดทำโครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” โดย หลักสูตรห้องเรียนคุณภาพ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งเป็น ๕ ห้องเรียน และ หลักสูตรห้องเรียนเน้นอาชีพ
ในระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย แบง่ เป็น ๖ แผนการเรยี น

• ออกแบบรายวิชา คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างการจัดการเรียนรู้ กำหนดเกณฑ์และมาตรการ
การวัดและประเมนิ ผลการเรยี นรู้

• นำโครงสร้างหลกั สตู รโรงเรียนคุณภาพ “โพธนิ ิมติ วิทยาคม” เสนอคณะกรรมการสถานศกึ ษา
เพื่ออนุมัตใิ ชห้ ลักสูตร และขอคำช้ีแนะเพอื่ นำไปพัฒนา

เดอื นตุลาคม ๒๕๖๔ (Design / Action)

• เตรียมการจัดทำ MOU เพื่อพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
ท่ีเกี่ยวข้อง เช่น สำนกั งานเขตพื้นท่ีการศกึ ษามธั ยมศึกษา นนทบุรี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร รวมท้ัง
สโมสรเมืองทอง ยูไนเต็ด (Muangthong United) โรงเรียนสอนคนตาบอด บ้านเด็กชายปากเกร็ด
และบ้านราชาวดี (หญิง) เป็นตน้

ภาพที่ ๑๔: Timeline การดำเนินงานหลักสตู ร ๒๗
โรงเรยี นคุณภาพ
• กำหนดมาตรการและเกณฑ์การวัดผล
ประเมนิ ผล จดั ทำอัตรากำลัง และตารางสอน

• วางแผนประชาสัมพันธ์หลักสูตรโรงเรียน
คุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” ให้กับโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาส
ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑ ๐ โรงเรียน
เดือนพฤศจกิ ายน ๒๕๖๔ (Design / Action)

• จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงการ
สอน (Teach Blueprint) การจัดทำแผนการจัดการ
เรียนรู้แบบ Active Learning และการจัด ทำ
แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักทฤษฎีของ
เศรษฐกิจพอเพียง

• เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้
หลกั สูตรใหม่

เดอื นธนั วาคม ๒๕๖๔ (Design / Action)

• ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้
หลกั สูตรใหม่

• รวบรวมโครงการสอน (Teach Blueprint)
ของทุกรายวิชา และ ขอคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ
เพ่อื พฒั นาการจัดการเรยี นการสอน

• นำคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิมาแก้ไข
โครงการสอน (Teach Blueprint) และเผยแพร่
Teach Blueprint ใ น E-portfolio ข อ ง ค รู เ พ่ื อ
แจง้ แก่นกั เรียน ผ้ปู กครอง และผู้มีส่วนเกยี่ วขอ้ ง
เดอื นมกราคม ๒๕๖๕ (Action / Learning)

• ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้
หลกั สูตรใหม่

• การนิเทศการจัดการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
ด้วยกระบวนการ Open Class และ นิเทศการ
จัดการเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนด้วยกระบวนการ
Groups Model โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มธั ยมศึกษา นนทบุรี

๒๘

• ประชาสัมพันธ์หลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” ให้กับโรงเรียนระดับประถมศึกษา
และโรงเรยี นขยายโอกาสทเี่ ป็นกลุม่ เป้าหมาย จำนวน ๑๑ โรงเรยี น

เดือนกมุ ภาพันธ์ ๒๕๖๕ (Action / Learning)
• ดำเนนิ การจดั การเรยี นการสอนโดยใชห้ ลักสูตรใหม่
• การนิเทศการจัดการเรียนรู้ภายในโรงเรียนด้วยกระบวนการ Open Class และ นิเทศการจัด
การเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนด้วยกระบวนการ Groups Model โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มธั ยมศึกษา นนทบุรี
• จดั กิจกรรม PLC เพอื่ พัฒนาผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนคร้งั ท่ี ๑ ภาคเรยี นท่ี ๒

เดอื นมนี าคม ๒๕๖๕ (Action / Learning / Improve)
• ดำเนนิ การจัดการเรียนการสอนโดยใชห้ ลักสูตรใหม่
• ดำเนนิ การแก้ไขปญั หาจากข้อเสนอแนะกระบวนการ PLC ครงั้ ที่ ๑ ภาคเรยี นท่ี ๒

เดอื นเมษายน ๒๕๖๕ (Action / Learning / Improve)
• ด ำ เ น ิ น ก า ร ก ิ จ ก ร ร ม ก ร ะ บ ว น ก า ร PLC เ พ ื ่ อ พ ั ฒ น า ผ ล ส ั ม ฤ ท ธ์ิ ท า ง ก า ร เ ร ี ย น
ครัง้ ที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๒ สรปุ ผลการดำเนนิ กจิ กรรม รายงานผลการดำเนินกจิ กรรม
• สำรวจความพงึ พอใจและประเมนิ ผลการใชห้ ลักสูตร

ข้ันตอนท่ี ๖ การวิเคราะห์ผลงาน/ผลผลติ (Output)
จากโครงร่างการดำเนินงานโดยใช้หลักการของทฤษฎีระบบ (System Theory) เราแบ่งผลงาน (Output)

ของโรงเรียนคุณภาพออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ นักเรียนคุณภาพ (Quality Students) ครูคุณภาพ (Quality
Teachers) และโรงเรยี นคุณภาพ (Quality School) โดยอาศยั การรวบรวมผลการดำเนินงานต่อเน่ืองของโครงการ
และกจิ กรรมทเ่ี ก่ียวข้อง โดยแบ่งประเดน็ การวเิ คราะห์ดังต่อไปนี้

๑. นกั เรียนคุณภาพ (Quality Students)
- การเปรียบเทียบผลการเรียนนักเรียนมีผลการเรียนติดค้าง / ไม่ผ่านเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
และปีการศึกษา ๒๕๖๔
- การเปรยี บเทียบผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนนกั เรยี นในปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔
- การเปรยี บเทียบคณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงคข์ องนักเรยี นปีการศกึ ษา ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔
- การเปรยี บเทียบผลการทดสอบระดบั ชาติ (O -NET)ในระดับโรงเรยี นปกี ารศกึ ษา๒๕๖๒ถงึ ๒๕๖๔

๒. ครคู ณุ ภาพ (Quality Teachers)
- ข้อมูลรายละเอียดครผู ูส้ อนที่สอนตรงตามวฒุ ิ และมีใบประกอบวชิ าชีพ
- การพฒั นาตนเองของบุคลากรโรงเรยี นโพธินมิ ติ วทิ ยาคม ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔
- รายงานแสดงจำนวนครูท่ีผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงการสอน (Teach Blueprint)
การจดั ทำแผนการจัดการเรียนรูแ้ บบ Active Learning และการจดั ทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบ
บูรณาการหลกั ทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียง

๒๙

๓. โรงเรยี นคณุ ภาพ (Quality School)
- การเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๖๓ และ
ปกี ารศึกษา ๒๕๖๔
- การเปรียบเทียบการศึกษาต่อของนักเรียนในระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้ และมัธยมศึกษาตอนปลาย
ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔
- ผลการประเมินความพึงพอใจของผูบ้ รหิ าร ครู และนักเรียนตอ่ หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตร
โรงเรียนคุณภาพ “โพธนิ ิมิตวิทยาคม”

ขัน้ ตอนท่ี ๗ การสรปุ ผลลัพธ์ (Outcome)
การวัดผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการวัดผลที่ได้รับจากผลของการดำเนินงานโครงการการพัฒนาหลักสูตร

โรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเป้าหมายของโรงเรียน (School
Goal) ทั้งในเรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมหรือการปฏิบัติ โดยนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือเป้าหมาย
ที่วางไว้ตามวัตถุประสงค์ของแผนงานและโครงการ กล่าวคือเป็นการวัดประสิทธิผล (Effectiveness) โดยวัด
ความสมั พันธร์ ะหวา่ งผลลพั ธก์ บั วัตถุประสงคข์ องงาน

๔) ผลลัพธท์ ี่เกิดจากการพัฒนาและนำนวตั กรรมไปใช้งาน
๔.๑ นักเรยี นคุณภาพ (Quality Students)
๔.๑.๑ การเปรียบเทียบผลการเรียนนักเรียนมีผลการเรียนตดิ ค้าง / ไม่ผ่านเกณฑ์ ปีการศึกษา

๒๕๖๓ และ ปีการศกึ ษา ๒๕๖๔
ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ นักเรียนมีผลการเรียนติดค้าง / ไม่ผ่านเกณฑ์ลดลง โดยในปีการศึกษา ๒๕๖๓

นักเรียนมีผลการเรียนติดค้าง จำนวน ๕๗๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๒๙ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ นักเรียนมผี ลการเรยี น

ตดิ คา้ ง จำนวน ๑๘๔ คน คิดเป็นรอ้ ยละ ๑๘.๔๔ ซ่งึ ลดลงถงึ ร้อยละ ๓๗.๘๕ ดังตาราง

ชั้น ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๓ ร้อยละ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ รอ้ ยละ การเปรียบเทียบ
(คน) (คน)
๓๔ ๑๗.๗๑ ลดลงรอ้ ยละ ๔๑.๗๘
ม.๑ ๑๑๖ ๕๙.๔๙ ๔๖ ๒๔.๘๖ ลดลงร้อยละ ๓๙.๔๓
ม.๒ ๑๔๔ ๖๔.๒๙ ๑๑ ๔.๗๖ ลดลงรอ้ ยละ ๔๐.๘๕
ม.๓ ๑๐๙ ๔๕.๖๑ ๖๔ ๓๘.๕๕ ลดลงร้อยละ ๑๙.๖๖
ม.๔ ๗๘ ๕๘.๒๑ ๒๔ ๑๘.๖๐ ลดลงร้อยละ ๔๓.๕๑
ม.๕ ๕๙ ๖๒.๑๑ ๕ ๕.๒๖ ลดลงรอ้ ยละ ๔๖.๑๙
ม.๖ ๗๑ ๕๑.๔๕ ๑๘๔ ๑๘.๔๔ ลดลงรอ้ ยละ ๓๗.๘๕
รวม ๕๗๗ ๕๖.๒๙

ตารางท่ี ๑: การเปรียบเทียบจำนวนนักเรยี นที่มผี ลการเรยี นติดคา้ ง ปกี ารศึกษา ๒๕๖๓ - ๒๕๖๔

๓๐

80 64.29 62.11

59.49 58.21 51.45 56.29
60
45.61
38.55
40 24.86
17.71 18.6 18.44
20 4.76 5.26

0
ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 รวม

ปีการศกึ ษา 2563 ปีการศกึ ษา 2564

แผนภูมิที่ ๑: แสดงผลการเปรยี บเทียบจำนวนนกั เรียนที่มีผลการเรียนตดิ ค้าง ปกี ารศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

๔.๑.๒ การเปรียบเทยี บผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นนกั เรยี น ปกี ารศึกษา ๒๕๖๓
และ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา, ภาษาไทย, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการงานอาชีพ
ตามลำดับ

100 ภาษาไทย สงั คม ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ สขุ ศกึ ษา ศลิ ปะ การงานฯ
90 62.3 78.53 62.91 45.88 41.44 80.1 90.23 74.58
80 53.42 78.49 61.24 30.08 48.54 90.46 77.64 79.8
70
60
50
40
30
20
10
0

ปี 2563

ปี 2564

แผนภูมิท่ี ๒: แสดงผลการเปรียบเทยี บผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี ( เกรด ๓ ) ขน้ึ ไป
ระดับกลุม่ สาระของนักเรียน ระดับชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนต้น ปีการศกึ ษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

๓๑

ร้อยละของนักเรียนท่ีมีระดบั ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นระดบั ดี ( เกรด ๓ ) ขน้ึ ไป

ชนั้ ภาษาไทย สงั คมศึกษา ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตรฯ์

ม.๑ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔
ม.๒
ม.๓ ๕๓.๗๖ ๖๓.๐๘ ๙๒.๙๖ ๗๖.๔๑ ๑๙.๐๙ ๔๕.๖๔ ๖๖.๓๓ ๔๕.๖๔ ๓๑.๑๕ ๒๘.๒๑
เฉลี่ยรวม
๗๖.๕๔ ๗๖.๖ ๕๙.๒๙ ๔๘.๔ ๔๓.๓๖ ๒๙.๒๖ ๔๘.๖๗ ๓๒.๔๕ ๓๙.๘๒ ๓๘.๓
ชน้ั
๖๗.๐๘ ๗๕.๗๖ ๕๒.๙๑ ๖๘.๔ ๕๔.๕๘ ๔๑.๕๖ ๔๙.๑๖ ๕๑.๐๘ ๔๑.๒๕ ๖๐.๑๗
ม.๑
ม.๒ ๖๕.๗๙ ๗๑.๘๑ ๖๘.๓๙ ๖๔.๔ ๓๙.๐๑ ๓๘.๘๒ ๕๔.๗๒ ๔๓.๐๖ ๓๗.๔๑ ๔๒.๒๓
ม.๓
เฉล่ียรวม ร้อยละของนักเรียนที่มรี ะดบั ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นระดบั ดี ( เกรด ๓ ) ข้นึ ไป

สุขศกึ ษาฯ ศิลปะ การงานอาชพี เฉลย่ี รวม ๘ กลุ่มสาระ

๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔

๗๕.๘๗ ๙๑.๒๘ ๔๔.๗๒ ๓๔.๓๖ ๙๘.๔๙ ๖๔.๑๐ ๖๘.๐๒ ๕๖.๐๙

๘๕.๓๙ ๘๘.๓๐ ๙๖.๐๑ ๘๐.๓๒ ๖๕.๙๒ ๙๖.๒๘ ๖๔.๓๘ ๖๑.๒๔

๙๓.๗๕ ๙๙.๕๗ ๖๗.๐๘ ๕๘.๘๗ ๕๖.๖๖ ๖๖.๒๓ ๖๐.๓๑ ๖๕.๒๑

๘๕.๐๐ ๙๓.๐๕ ๖๙.๒๗ ๕๗.๘๕ ๗๓.๖๙ ๗๕.๕๔ ๖๔.๒๔ ๖๐.๘๕

ตารางท่ี ๒: การเปรยี บเทยี บผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นระดับดี ( เกรด ๓ ) ขึ้นไป
ระดบั กลุ่มสาระของนักเรยี น ระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนต้น ปกี ารศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

100
90
80
70
60
50
40
30
20
10
0 ภาษาไทย สงั คม ภาษาตา่ งประเทศ คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ สขุ ศกึ ษา ศลิ ปะ การงานฯ

ปี 2563 62.3 78.53 62.91 45.88 41.44 80.1 90.23 74.58

ปี 2564 53.42 78.49 61.24 30.08 48.54 90.46 77.64 79.8

แผนภูมิที่ ๓: แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนระดับดี ( เกรด ๓ ) ขนึ้ ไป
ระดบั กลุ่มสาระของนกั เรียน ระดบั ชัน้ มธั ยมศึกษาตอนปลาย ปกี ารศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

๓๒

ชนั้ รอ้ ยละของนักเรียนท่ีมีระดบั ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นระดบั ดี ( เกรด ๓ ) ข้ึนไป

ม.๔ ภาษาไทย สงั คมศึกษา ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตรฯ์
ม.๕
ม.๖ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔
เฉล่ียรวม
ชนั้ ๖๑.๓๑ ๒๒.๖๒ ๕๑.๘๒ ๕๙.๕๒ ๔๒.๒๕ ๔๗.๖๒ ๓๒.๑๑ ๒๘.๕๗ ๑๙.๗๐ ๒๓.๘๑

ม.๔ ๖๙.๐๗ ๙๒.๓๗ ๙๑.๗๕ ๘๐.๑๕ ๗๑.๑๓ ๖๐.๓๑ ๓๘.๑๔ ๕๑.๑๕ ๓๕.๐๕ ๗๐.๒๓
ม.๕
ม.๖ ๕๖.๕๒ ๔๕.๒๖ ๙๒.๐๒ ๙๕.๗๙ ๗๕.๓๖ ๗๕.๗๙ ๖๗.๓๙ ๑๐.๕๓ ๖๙.๕๖ ๕๑.๕๘
เฉลีย่ รวม
๖๒.๓๐ ๕๓.๔๒ ๗๘.๕๓ ๗๘.๔๙ ๖๒.๙๑ ๖๑.๒๔ ๔๕.๘๘ ๓๐.๐๘ ๔๑.๔๔ ๔๘.๕๔

รอ้ ยละของนักเรียนท่ีมีระดบั ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนระดบั ดี ( เกรด ๓ ) ขนึ้ ไป

สุขศกึ ษาฯ ศิลปะ การงานอาชีพ เฉลยี่ รวม ๘ กลมุ่ สาระ

๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔

๖๒.๐๔ ๘๕.๗๑ ๘๕.๔๐ ๓๗.๕๐ ๘๑.๘๑ ๗๒.๒๒ ๕๐.๐๘ ๕๔.๕๖

๑๐๐ ๘๗.๗๙ ๙๖.๙๐ ๙๕.๔๒ ๗๒.๑๖ ๖๗.๑๘ ๖๔.๕๕ ๗๑.๗๘

๗๘.๒๖ ๙๗.๘๙ ๘๘.๔๐ ๑๐๐ ๖๙.๗๖ ๑๐๐ ๕๙.๔๑ ๗๔.๖๖

๘๐.๑๐ ๙๐.๔๖ ๙๐.๒๓ ๗๗.๖๔ ๗๔.๕๘ ๗๙.๘ ๕๘.๐๑ ๖๗.๐๐

ตารางท่ี ๓: การเปรยี บเทียบผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนระดับดี ( เกรด ๓ ) ขน้ึ ไป
ระดับกลุม่ สาระของนกั เรียนระดับช้ันมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ปีการศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ไดแ้ ก่ กลุม่ สาระการเรยี นรสู้ ุขศกึ ษาและพลศกึ ษา, วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี และการงานอาชีพ ตามลำดบั

๔.๑.๓ การเปรียบเทยี บคณุ ลกั ษณะอนั พึงประสงคข์ องนักเรยี นปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔
ระดบั ชัน้ มธั ยมศึกษาตอนต้น มผี ลการประเมินคุณลักษณะอันพงึ ประสงค์ในระดบั ดีข้นึ ไป รอ้ ยละ ๑๐๐

จานวนของนักเรียนตามระดบั คณุ ภาพ ร้อยละของนักเรยี น
ระดบั ดีขน้ึ ไป
ชนั้ ดีเยย่ี ม ดี ผา่ น ไม่ผา่ น
๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔
ม.๑ ๒๓ ๓๕ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๑๐๐ ๑๐๐
ม.๒ ๑๒ ๒๐ ๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
ม.๓ ๓๑ ๐ ๑๗๓ ๑๖๒ ๐ ๐ ๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
รวม ๖๖ ๕๕ ๐๐
เฉลยี่ รอ้ ยละ ๙.๙๕ ๘.๙๑ ๒๑๖ ๑๖๙ ๐ ๐ ๐๐ --
๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
๒๐๘ ๒๓๑ ๐ ๐

๕๙๗ ๕๖๒ ๐ ๐

๙๐.๐๕ ๙๑.๐๙ ๐.๐๐ ๐.๐๐

ตารางท่ี ๔: การเปรียบเทยี บผลการประเมินคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์
ระดับชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

๓๓

ระดบั ช้ันมธั ยมศึกษาตอนปลาย มผี ลการประเมนิ คณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ในระดบั ดขี ึ้นไป รอ้ ยละ ๑๐๐

จานวนของนักเรยี นตามระดบั คณุ ภาพ รอ้ ยละของนักเรยี น
ระดบั ดีขึ้นไป
ชนั้ ดีเยี่ยม ดี ผา่ น ไม่ผา่ น
๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔
ม.๔ ๕๙ ๕ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๑๐๐ ๑๐๐
ม.๕ ๓๒ ๕๖ ๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
ม.๖ ๗๖ ๑๖๔ ๐ ๐ ๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
รวม ๑ ๑๗ ๐๐
เฉลี่ยรอ้ ยละ ๙๒ ๗๘ ๖๓ ๗๖ ๒ ๐ ๐๐ --
๒๔.๘๖ ๑๙.๗๐ ๐.๐๐ ๐ ๑๐๐ ๑๐๐
๑๓๗ ๗๘ ๐ ๐

๒๗๖ ๓๑๘ ๒ ๐

๗๕.๑๔ ๘๐.๓๐ ๐.๕๔ ๐

ตารางท่ี ๕: การเปรียบเทียบผลการประเมินคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์
ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย ปกี ารศึกษา ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

๔. การเปรียบเทยี บผลการทดสอบระดับชาติ (O - NET) ในระดบั โรงเรยี น
๔.๑ คะแนนผลการทดสอบ O-NET ระดับมัธยมศกึ ษาปที ่ี ๓ ปกี ารศึกษา ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔

ในปกี ารศึกษา ๒๕๖๔ นักเรียนระดบั มัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีคะแนนเฉล่ยี การสอบ O-NET รายวิชา
วิทยาศาสตรเ์ พ่ิมขึน้ รอ้ ยละ ๑.๔๗ เม่อื เปรียบเทียบกับปีการศึกษา ๒๕๖๓

รายวิชา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ผลต่าง ๒๕๖๔-๒๕๖๓

ภาษาไทย ๔๘.๓๒ ๕๔.๒๖ ๔๙.๐๐ -๕.๒๖
ภาษาอังกฤษ ๓๐.๑๑ ๓๓.๘๐ ๒๙.๖๑ -๔.๑๙
คณิตศาสตร์ ๒๒.๑๑ ๒๑.๖๘ ๑๙.๖๓ -๒.๐๕
วิทยาศาสตร์ ๒๗.๙๕ ๒๗.๖๘ ๒๙.๑๖ ๑.๔๘
๓๒.๑๒ ๓๔.๓๖ ๓๑.๘๕ -๒.๕๑
รวมเฉลี่ย

ตารางท่ี ๖: การเปรียบเทียบผลการทดสอบระดบั ชาติ (O - NET) ในระดับโรงเรียน
คะแนน O-NET ระดับมัธยมศึกษาปีท่ี ๓ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔

ปี การศึกษา 2562 ปี การศึกษา 2563 ปี การศึกษา 2564

47.27 54.26 49.00 26.82 33.8 29.61

25.00 21.68 19.63 31.02 27.68 29.16

ภาษาไทย ภาษาองั กฤษ คณติ ศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์

แผนภมู ิที่ ๔: แสดงการเปรยี บเทียบผลการทดสอบระดบั ชาตขิ ั้นพ้นื ฐาน (O-NET)
ระดับชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี ๓ โรงเรียนโพธนิ ิมิตวิทยาคม ระหวา่ งปี ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔

๓๔

๔.๒ คะแนนการทดสอบ O-NET ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ปกี ารศึกษา ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔
ในปกี ารศึกษา ๒๕๖๔ นักเรยี นระดับมธั ยมศึกษาปีที่ ๖ มคี ะแนนเฉลี่ยการสอบ O-NET รายวชิ าภาษาไทย
เพ่มิ ข้ึน ร้อยละ ๘.๔๑ และวิชาภาษาอังกฤษ เพม่ิ ขึ้น รอ้ ยละ ๑.๙๕ เม่อื เปรียบเทยี บกับปีการศึกษา ๒๕๖๓

รายวิชา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ผลต่าง ๒๕๖๔-๒๕๖๓

ภาษาไทย ๓๔.๗๔ ๓๒.๖๗ ๔๑.๐๘ ๘.๔๑
ภาษาอังกฤษ ๓๐.๙๕ ๓๐.๗๖ ๓๒.๗๑ ๑.๙๕
คณิตศาสตร์ ๒๔.๘๔ ๒๔.๕๒ ๒๓.๒๔ -๑.๒๘
วิทยาศาสตร์ ๑๗.๑๕ ๑๗.๓๕ ๑๕.๔๒ -๑.๙๓
๒๔.๔๖ ๒๕.๙๗ ๒๕.๕๔ -๐.๔๓
รวมเฉลี่ย

ตารางที่ ๗: การเปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ (O - NET) ในระดบั โรงเรียน
คะแนน O-NET ระดบั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี ๖ ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๔

ปี การศึกษา 2562 ปี การศึกษา 2563 ปี การศึกษา 2564

41.08 30.95 30.76 32.71 24.84 24.52 23.24 24.46 25.97 25.54
34.74 32.67

17.15 17.35 15.42

ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาองั กฤษ คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์

แผนภมู ิท่ี ๕: แสดงการเปรยี บเทยี บผลการทดสอบระดับชาติขั้นพืน้ ฐาน (O-NET)
ระดับชั้นมธั ยมศกึ ษาปที ่ี ๓ โรงเรียนโพธินมิ ิตวิทยาคม ระหว่างปี ๒๕๖๒ - ๒๕๖๔

๔.๒ ครูคุณภาพ (Quality Teachers)

๔.๒.๑ ข้อมลู รายละเอียดครูผสู้ อนทสี่ อนตรงตามวฒุ ิ และมีใบประกอบวิชาชพี

จากตารางแสดงใหเ้ ห็นว่าครูทุกคนของโรงเรยี นโพธนิ ิมติ วทิ ยาคมสอนตรงตามวุฒแิ ละมีใบประกอบวิชาชีพ
ครู หรอื ใบอนุญาตใหป้ ระกอบวิชาชีพครู

๓๕

ประเภท สอนตรง สอนไม่ตรง มีใบประกอบ มใี บอนญุ าต ไมม่ ีใบประกอบวิชาชีพ/
ตามวฒุ ิ ตามวฒุ ิ วชิ าชีพ สอน ใบอนญุ าตสอน
ขา้ ราชการครู
พนกั งานราชการ ๔๕ ๐ ๔๕ ๐ ๐
ครูอตั ราจ้าง - - - - -
อคบรอู จัต.นรนาจทา้ บงรุ ี ๑๑ ๐ ๑๑ ๐ ๐
ชาวตา่ งชารวตมิ ๘ ๐ ๐ ๘ ๐
๖๔ ๐ ๕๖ ๘ ๐
ร้อยละ ๑๐๐ ๘๗.๕ ๑๒.๕ ๐

ตารางที่ ๘: แสดงขอ้ มูลรายละเอียดครผู ู้สอนท่ีสอนตรงตามวุฒิ และมใี บประกอบวิชาชพี

๔.๒.๒ การพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรยี นโพธนิ มิ ิตวิทยาคม ปีการศกึ ษา ๒๕๖๔
ครูโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมพัฒนาตนเองในหลากหลายด้าน ได้แก่ การอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ และ
ความสามารถการเข้ารว่ มกจิ กรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) การเปน็ วิทยากรทัง้ ภายในและภายนอกโรงเรียน

จำนวนครู การพฒั นาตนเอง ( ช่วั โมง )
ในกลุ่มสาระ
ท่ี กล่มุ สาระการเรียนรู้ การเรียนรู้ (คน) เข้าอบรม เขา้ ร่วม PLC เปน็ วิทยากร รวม

๑ ภาษาไทย ๗ ๒๒๒ ๒๕๐ ๕๘ ๕๓๐
๒ คณิตศาสตร์ ๖ ๒๔๕ ๑๘๐ ๗๙ ๕๙๑
๓ วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ๑๒ ๕๓๕ ๖๕๘ ๔๓ ๑๒๓๖
๔ สงั คมศึกษาฯ ๗ ๑๙๑ ๑๘๑ - ๓๗๒
๕ ภาษาตา่ งประเทศ ๘ ๓๒๔ ๒๖๔ ๗๐ ๖๕๘
๖ ศิลปะ ๕ ๑๙๔ ๒๗๕ ๒๐ ๔๖๙
๗ การงานอาชพี และเทคโนโลยี ๔ ๙๔ ๑๕๐ - ๒๔๔
๘ สขุ ศกึ ษาและพลศึกษา ๔ ๗๒ ๘๐ ๒๔ ๑๗๖
๙ สนบั สนนุ การสอน ๓ ๒๔๖ ๑๐๐ ๑๔ ๓๖๐
๒๑๒๓ ๒๑๓๘ ๓๐๘ ๔๖๓๖
รวม

ตารางที่ ๙: การพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนโพธนิ มิ ิตวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๖๔

๓๖

๔.๓ รายงานแสดงจำนวนครูที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงการสอน (Teach Blueprint)
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
หลกั ทฤษฎขี องเศรษฐกจิ พอเพยี ง

จำนวนครูที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงการสอน (Teach Blueprint) การจัดทำแผน
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักทฤษฎีของ
เศรษฐกิจพอเพียงที่โรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมได้จัดการอบรมขึ้นในปีการศึกษา ๒๕๖๕ ครูโรงเรียนโพธินิมิต
วิทยาคมผา่ นการอบรมคิดเป็นรอ้ ยละ ๙๔.๖๔ เน่ืองจากมีครูไปช่วยราชการ ๒ คน และไปราชการจำนวน ๑ คน

ท่ี กลุ่มสาระการเรยี นรู้ จานวนครู จานวนครทู ่ี รอ้ ยละของ
(คน) ผา่ นการอบรม ผ้ทู ่ีผา่ นการอบรม
๑ ภาษาไทย
๒ คณิตศาสตร์ ๗ ๗ ๑๐๐
๓ วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ๖ ๖ ๑๐๐
๔ สังคมศึกษาฯ ๑๒ ๑๒ ๑๐๐
๕ ภาษาต่างประเทศ ๗ ๗ ๑๐๐
๖ ศลิ ปะ ๘ ๘ ๑๐๐
๗ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๕ ๕ ๑๐๐
๘ สขุ ศกึ ษาและพลศึกษา ๔ ๒ ๕๐
๙ สนบั สนุนการสอน ๔ ๓ ๗๕
๓ ๓ ๑๐๐
รวม ๕๖ ๕๓ ๙๔.๖๔

ตารางท่ี ๑๐: รายงานแสดงจำนวนครทู ผี่ ่านการอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารจดั ทำโครงการสอน
(Teach Blueprint) การจัดทำแผนการจัดการเรยี นรแู้ บบ Active Learning และการจัดทำแผน

การจัดการเรยี นรู้แบบบูรณาการหลกั ทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียง

๔.๓ โรงเรยี นคุณภาพ (Quality School)

๔.๓.๑ ผลการประเมนิ ความพงึ พอใจของผู้บรหิ าร ครู และนักเรยี น ท่ีมตี ่อหลักสูตรสถานศึกษา
หลกั สูตรโรงเรียนคณุ ภาพ “โพธินิมติ วิทยาคม”

หลังจากได้จดั การเรยี นการสอนภาคเรยี นท่ี ๒ ปีการศกึ ษา ๒๕๖๔ คณะดำเนนิ การได้สำรวจความพึงพอใจ
ของผู้บริหาร จำนวน ๔ คน (ร้อยละ ๑๐๐) ครู จำนวน ๕๔ คน (ร้อยละ ๑๐๐) และนักเรียนจำนวน ๘๖๓ คน
(ร้อยละ ๘๓) ทีม่ ีหลกั สูตรสถานศึกษา หลักสูตรโรงเรยี นคณุ ภาพ “โพธินิมติ วิทยาคม” พบว่า

๓๗

ตารางที่ ๑๑: ผลการประเมินความพงึ พอใจของผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่มีต่อหลกั สูตรสถานศึกษา
หลักสตู รโรงเรียนคณุ ภาพ “โพธนิ มิ ิตวิทยาคม”

รายการ คา่ เฉล่ยี S.D. การแปลผล

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

๑. การมีส่วนรว่ มในการจดั ทำหลักสตู รสถานศกึ ษา ๓.๙๒ ๐.๘๔ มาก

๒. วิสยั ทศั น์ของสถานศึกษาสอดคล้องกบั หลกั สตู รสถานศึกษา ๔.๔๖ ๐.๕๑ มาก

๓. การกำหนดโครงสรา้ งและสัดส่วนเวลาเรยี นในหลักสตู ร ๔.๓๖ ๐.๕๘ มาก

สถานศึกษา

๔. การกำหนดผลการเรียนรู้ท่ีคาดหวงั รายปใี นแต่ละกลุ่มสาระการ ๔.๕๖ ๐.๕๐ มากท่สี ุด

เรียนรู้ สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรยี นรูข้ องหลักสูตร

การศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน

๕. การเขียนคำอธิบายรายวชิ าสอดคลอ้ งกบั ผลการเรียนรู้และ ๔.๕๔ ๐.๕๕ มากท่ีสุด

สาระการเรียนรูแ้ ต่ละกลมุ่ สาระ

๖. กระบวนการจัดการเรยี นรู้สอดคล้องกบั ผลการเรยี นรู้ที่คาดหวัง ๔.๔๙ ๐.๕๑ มาก

๗. วิธกี ารวดั ผลประเมินผลผ้เู รยี นตามหลกั สูตรสอดคล้องกับ ๔.๓๖ ๐.๕๔ มาก

กระบวนการเรยี นรู้ของผูเ้ รียน

๘. กำหนดเกณฑ์การประเมนิ ผลได้ถูกต้องและสอดคล้องกับแนวการ ๔.๓๘ ๐.๕๙ มาก

วดั ประเมินผลตามหลักสตู รการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน

การจัดกระบวนการเรียนรู้

๙. จัดกจิ กรรมการเรียนรทู้ ีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็นสำคญั ด้วยวิธีการที่ ๔.๒๖ ๐.๕๕ มาก

หลากหลาย

๑๐. จดั กจิ กรรมการเรียนรูท้ ง้ั ในและนอกห้องเรียนได้เหมาะสมกับ ๔.๑๐ ๐.๗๕ มาก

บทเรยี นหรอื ตามสถานการณ์

๑๑. ระยะเวลาทใ่ี ชใ้ นการจัดกิจกรรมการเรียนรใู้ นแต่ละหน่วย ๔.๑๕ ๐.๖๗ มาก

การเรยี นรู้

๑๒. ให้นักเรยี นมีสว่ นร่วมในการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ ๔.๓๖ ๐.๕๔ มาก

๑๓. ใหน้ ักเรียนไดแ้ สดงความสามารถตามกจิ กรรมการเรยี นรู้ที่ ๔.๔๔ ๐.๕๕ มาก

นกั เรียนสนใจ และมีความถนัด

๓๘

รายการ ค่าเฉล่ีย S.D. การแปลผล

การใช้สอ่ื การเรยี นการสอน/แหล่งการเรียนรู้

๑๔. มีการใช้ส่ือประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับ ๓.๗๔ ๐.๘๒ มาก

บทเรียน

๑๕. มีการใช้สอื่ ทที่ ันสมัยและมีคุณภาพ มีความหลากหลายและ ๔.๔๖ ๐.๕๕ มาก

สง่ ผล ต่อการเรยี นรขู้ องนักเรียน

๑๖. การวดั ผลและการประเมินผลการเรียนรู้ ๔.๐๐ ๐.๕๖ มาก

๑๗. มกี ารวดั ผลประเมินผลทีส่ อดคล้องกบั จุดประสงค์การเรยี นรู้ ๔.๓๑ ๐.๖๑ มาก

๑๘. ใช้วธิ กี ารวัดผลประเมนิ ผลทีห่ ลากหลายตรงตามสภาพจริง ๔.๔๖ ๐.๕๕ มาก

๑๙. กำหนดเกณฑ์การวดั ผลและประเมนิ ผลตามแนวการวัดผลฯ ท่ี ๔.๓๘ ๐.๕๙ มาก

กำหนดไวใ้ นหลกั สตู รสถานศึกษา

๒๐. มีการจดั ทำเอกสารการวัดผลประเมนิ ผลอย่างถกู ต้องตามแนว ๔.๒๑ ๐.๖๖ มาก

การวัดผลประเมนิ ผลท่ีกำหนดไวใ้ นหลกั สูตรการศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน

๒๑. มีการบันทกึ ผลการให้คะแนนอย่างสม่ำเสมอเป็นปกติวิสยั ๔.๖๔ ๐.๔๙ มากทส่ี ดุ

๒๒. มีการแจง้ ผลการเรยี นให้นกั เรยี นและผปู้ กครองทราบตาม ๔.๔๔ ๐.๕๐ มาก

แนวการวดั ผลฯ ในหลักสตู รสถานศกึ ษา

๒๓. มกี ารนำผลการประเมนิ การเรยี นรูม้ าใช้ปรบั ปรุงผเู้ รียนอย่าง ๔.๔๔ ๐.๕๐ มาก

สม่ำเสมอ

การบรหิ ารจัดการหลักสูตรสถานศกึ ษา

๒๔. การจัดตารางสอน ๔.๔๑ ๐.๖๔ มาก

๒๕. การจัดอตั รากำลงั แต่ละกล่มุ สาระการเรียนรู้ ๔.๔๔ ๐.๖๔ มาก

๒๖. การจัดสอนซอ่ มเสรมิ ๔.๐๘ ๐.๖๒ มาก

๒๗. การแกไ้ ขปัญหาด้านการเรียนของนักเรียน ๔.๒๖ ๐.๖๘ มาก

๒๘. การจัดกจิ กรรมพฒั นาผ้เู รยี น เช่น กิจกรรมแนะแนว กจิ กรรม ๔.๕๑ ๐.๖๐ มากที่สดุ

นักเรียน เช่น ลกู เสอื เนตรนารี ชุมนมุ /ชมรมต่างๆ

๒๙. การจัดเวลา PLC / แลกเปล่ยี นเรียนรู้ระหวา่ งครผู ู้สอน ๔.๓๑ ๐.๖๖ มาก

๓๐. ความร่วมมอื ในการปฏบิ ัติงานของคณะครู ๔.๔๖ ๐.๕๕ มาก

๓๑. การมปี ฏสิ มั พนั ธ์ระหวา่ งครกู บั นักเรียนท้ังในและนอกหอ้ งเรยี น ๔.๖๗ ๐.๔๘ มากทสี่ ดุ

เชน่ การทกั ทาย พบปะ พูดคุยกับนักเรียน การดแู ลเอาใจใสน่ ักเรียน

๓๙

เมื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจในแต่ละด้าน พบว่า ๑) ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ความพึงพอใจ
ประเด็นการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐาน
การเรียนรูข้ องหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานมีคะแนนสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = ๔.๕๖, S.D. = ๐.๕๐) ในส่วนประเดน็
การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีคะแนนต่ำที่สุด (ค่าเฉลี่ย = ๓.๙๒ , S.D. = ๐.๘๔)
๒) ด้านการจัดกระบวนการเรยี นรู้ ให้นกั เรียนไดแ้ สดงความสามารถตามกจิ กรรมการเรียนรู้ท่ี นักเรียนสนใจ และมี
ความถนัด มีคะแนนสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = ๔.๔๔ , S.D. = ๐.๕๕) ในส่วนประเด็นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท้ังในและ

นอกห้องเรยี นได้เหมาะสมกับ บทเรยี นหรือตามสถานการณ์ มีคะแนนต่ำทส่ี ุด (คา่ เฉล่ีย = ๔.๑๐ , S.D. = ๐.๗๕)
๓) การใช้สื่อการเรียนการสอน / แหล่งการเรียนรู้ ความพึงพอใจประเด็นมีการใช้สื่อที่ทันสมัยและมีคุณภาพ มี
ความหลากหลายและส่งผล ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน มีคะแนนสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = ๔.๔๖ , S.D. = ๐.๕๕) ใน
ส่วนประเด็นการใช้สื่อประกอบการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับ บทเรียน มีคะแนนต่ำที่สุด (ค่าเฉล่ีย =
๓.๗๔ , S.D. = ๐.๘๒) ๔) การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้ ความพึงพอใจประเด็นการบันทึกผลการให้
คะแนนอย่างสม่ำเสมอเป็นปกติวสิ ัย มีคะแนนสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = ๔.๖๔ , S.D. = ๐.๔๙) ในส่วนประเด็นการใช้
สื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับ บทเรียน มีคะแนนต่ำที่สุด (ค่าเฉลี่ย = ๔.๐ , S.D. =
๐.๕๖) ๕) การบริหารจดั การหลกั สูตรสถานศึกษา ความพึงพอใจประเด็นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
ทั้งในและนอกห้องเรียน เช่น การทักทาย พบปะ พูดคุยกับนักเรียน การดูแลเอาใจใส่นักเรียน มีคะแนนสูงที่สุด
(คา่ เฉลยี่ = ๔.๖๗ , S.D. = ๐.๔๘) ในส่วนประเด็นการจดั สอนซ่อมเสรมิ มคี ะแนนต่ำทีส่ ุด (ค่าเฉลีย่ = ๐.๔๘
, S.D. = ๐.๖๒)

ตารางท่ี ๑๒: แสดงผลการประเมินความพึงพอใจรายดา้ นโดยรวมของผู้บริหาร ครู และนกั เรียน
ทม่ี ีตอ่ หลักสูตรสถานศึกษา หลกั สตู รโรงเรยี นคณุ ภาพ “โพธินิมติ วทิ ยาคม”

รายดา้ น คา่ เฉลีย่ s.d. การแปลผล
การจดั ทำหลกั สูตรสถานศึกษา ๔.๓๘ ๐.๕๒ มาก
การจดั กระบวนการเรียนรู้ ๔.๒๖ ๐.๕๖ มาก
การใช้ส่อื การเรยี นการสอน/แหลง่ การเรียนรู้ ๓.๘๗ ๐.๖๕ มาก
การวดั ผลและการประเมนิ ผลการเรยี นรู้ ๔.๔๑ ๐.๕๑ มาก
การบรหิ ารจดั การหลกั สูตรสถานศึกษา ๔.๓๙ ๐.๕๕ มาก

จากตารางผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และนักเรียน ต่อหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรโรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” ใน ๕ ด้าน ดังนี้ ๑) ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
๒)การจัดกระบวนการเรียนรู้ ๓) การใช้สื่อการเรียนการสอน/แหล่งการเรียนรู้ ๔) การวัดผลและการประเมินผล
การเรียนรู้ ๕) การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมทั้ง ๕ ด้าน มีผลการประเมินระดับ
ความพึงพอใจอยใู่ นระดับมาก ซ่งึ มคี า่ คะแนนเฉลย่ี เท่ากบั ๔.๒๖ เม่ือพจิ ารณาความพงึ พอใจของแต่ละดา้ นเรียงจาก

๔๐

มากไปน้อย ได้ผลดังนี้ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = ๔.๔๑, S.D. = ๐.๕๑)
ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา (ค่าเฉลี่ย = ๔.๓๙, S.D. = ๐.๕๕) ด้านการจัดทำหลักสูตร
สถานศึกษา (ค่าเฉลี่ย = ๔.๓๘, S.D. = ๐.๕๒) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = ๔.๒๖, S.D. =
๐.๕๖) และด้านที่น้อยที่สุดคือการใช้สื่อการเรียนการสอน/แหล่งการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = ๓.๘๗, S.D. = ๐.๖๕)
ซึ่งเม่ือแปลผลออกมาในแต่ละด้านจะได้ผลอย่ใู นระดบั มากทุกด้าน

๕. ปจั จยั ความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
๕.๑ ปจั จัยความสำเร็จ
การขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา ทางโรงเรียนจัดทำหลักสูตร

โรงเรียนคุณภาพ “โพธินิมิตวิทยาคม” ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
เพื่อให้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนตรงตามความต้องการของผู้เรียนและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรีย นให้เต็ม
ตามศักยภาพ กลุ่มการบริหารงานวิชาการโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโรงเรียน
คุณภาพ และคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อรองรับโครงการโรงเรียนคุณภาพโดยได้เริ่มปรับปรุง
หลักสูตรและทดลองใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๔ และจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้สอนทุกท่าน
เพือ่ จดั ทำหลักสูตรสถานศึกษารว่ มกัน

๕.๑.๑ หลกั สตู รโรงเรยี นคุณภาพ “โพธนิ มิ ติ วทิ ยาคม”

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วยหลักสูตรห้องเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มุ่งเน้น
ให้นักเรียนค้นพบความถนัดของตนเอง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพตามความถนัดและความชอบของตนเอง
และหลักสูตรห้องเรียนเน้นอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน
และเตรยี มพร้อมนักเรียนเขา้ สูร่ ะดับอุดมศึกษาใหเ้ ปน็ กำลังสำคัญของชาติทีม่ ีศักยภาพในอนาคต

๕.๑.๑.๑ หลักสตู รหอ้ งเรียนคุณภาพในระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น

ภาพท่ี ๑๕: PowerPoint
นำเสนอหลักสูตรห้องเรียนคณุ ภาพ

QrCode วิดีทศั น์หอ้ งเรียนคณุ ภาพ
ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น
มั

การจดั ทำหลกั สูตรห้องเรยี นคณุ ภาพในระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น มจี ำนวนทั้งสน้ิ ๕ ห้องเรียนประกอบด้วย
๑) ห้องเรยี น SMT / I-classroom (Science / Math / Technology) ๒) หอ้ งเรียน IEC (Intensive English and
Chinese) ๓) ห้องเรียน ICB (Intensive Computer / Business) ๔) ห้องเรียน ETM (English / Thai / Math)
๕) ห้องเรยี น SC (Sports for Careers) โดยมรี ายละเอยี ด ดังน้ี

๔๑

๑. ห้องเรียน SMT / I-classroom (Science/ Maths / Technology) ได้รับความร่วมมือจาก
สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีจุดเน้นให้นักเรียนที่มีความสามารถ พัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างเต็มศักยภาพ โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้ ๕ วิชาหลัก โดยใช้ IPAD จากโครงการ
I -classroom ของสำนักงานการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน กระทรวงศกึ ษาธิการ

๒. ห้องเรียน IEC (Intensive English and Chinese) เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความชอบ
และความถนัดในการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาจีน เรียนกับครูเจ้าของภาษา โดยได้รับการสนับสนุน
งบประมาณจากองค์กรบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยที่นักเรียนสามารถเลือกเรียนภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาจีน
ได้ตามความสนใจ และไม่เสียค่าใช้จ่ายเพมิ่ เตมิ

๓. ห้องเรียน ICB (Intensive Computer/Business) เน้นการจัดประสบการณ์ด้านทักษะอาชีพธุรกิจ
การค้า และการบัญชี ผ่านประสบการณ์และการปฏิบัติจริง โดยนักเรียนได้เรียนรู้ขั้นต่างๆตอนตั้งแต่เริ่มต้น
รู้จักหลัก การค้าขาย การจัดการบัญชีเบื้องต้น เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปศึกษาต่อในห้องเรียนธุรกิจการค้า
สมัยใหม่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของทางโรงเรยี น สถาบันอาชีวศึกษา หรอื การประกอบอาชีพในอนาคต

๔. ห้องเรียน ETM (English / Thai / Maths) มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียนที่เรียนอ่อน หรือนักเรียนที่ประสบปัญหาความถดถอยทางการเรียน
(Learning Lost) ช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้เต็มตาม
ศักยภาพของผู้เรียน เป็นรายบุคคล โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และการปฏิบัติจริง การวัดผล
ประเมินผลเนน้ พฒั นาการ

๕. ห้องเรียน SC (Sports for Careers) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านกีฬาเพ่ือ
พฒั นาผู้เรยี นสนู่ กั กีฬาอาชีพในอนาคต โดยจัดหลักสตู รให้มีความยืดหยุ่นหลากหลายตามแต่ละบุคคล จดั ตารางของ
นกั เรยี น มเี วลาฝึกซ้อมให้เพียงพอหลงั เลกิ เรยี นโดยไมเ่ สยี ค่าใช้จา่ ยเพิ่มเตมิ

๕.๑.๑.๒ หลกั สตู รห้องเรียนเน้นอาชีพระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย

หลักสตู รหอ้ งเรยี นเนน้ อาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจัดต้ังขนึ้ จากวสิ ยั ทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการ
ที่ระบุให้ผู้เรียนมีทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตตามความสามารถของพหุปัญญา และ
จากเป้าประสงค์ของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อที่ ๗ ที่ระบุว่า กำลังคน มีทักษะอาชีพ สมรรถนะสอดคล้องกับ
ความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต

ภาพที่ ๑๖-๑๗ : การนำเสนอหลกั สูตรห้องเรยี นคณุ ภาพระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้กบั นักเรยี นระดบั ม. ๓

๔๒

หลักสูตรห้องเรียนเน้นอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนโพธินิมิต-

วิทยาคมมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจเพื่อให้ผู้เรียนสามารถ

ค้นพบศักยภาพของตนเองตั้งแต่อายุยังน้อย เรียนรู้ทักษะที่เป็นประโยชน์ในการประกอบ

อาชีพในอนาคต และร่วมมอื กับสถาบันทางการศึกษาชัน้ นำเพอื่ จัดกิจกรรมเสริมหลกั สูตร

QrCode วิดีทศั นห์ อ้ งเรียนเนน้ อาชีพ หลักสูตรห้องเรียนเน้นอาชีพโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม
ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำแนกออกเป็น ๖ แผนการเรียน
ประกอบด้วย ๑) ห้องเรียนเตรียมวิศวกรรม (Young Engineer)
๒) ห้องเรียนธุรกิจกามรัค้าสมัยใหม่ (Modern Entrepreneur) ๓) ห้องเรียนอังกฤษธุรกิจ (Business English)

๔) หอ้ งเรียนจนี ธุรกิจ (Business Chinese) ๕) ห้องเรยี นศลิ ปกรรม (Fine Arts) และ ๖)หอ้ งเรยี นวทิ ยาศาสตร์การ

กฬี า (Sport Science) โดยเปิดโอกาสใหน้ ักเรยี นเลือกเรยี นตามความสมคั รใจและความถนัดของตนเอง จัดกจิ กรรม

แนะแนวเพื่อชี้แจงรายละเอียดของแต่ละแผนการเรียนให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓

โดยมีรายละเอียดของแตล่ ะแผนการเรียน ดงั ตอ่ ไปน้ี

๑. ห้องเรียนเตรยี มวิศวกรรม (Young Engineer) ได้รับความรว่ มมือทางวิชาการร่วมกันกับสถาบันการ
จัดการปัญญาภิวัฒน์ที่ร่วมออกแบบหลักสูตร โครงสร้างรายวิชาและจัดอบรมครูผู้สอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ผู้เรียนยังสามารถร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์กับหน่วยงานต่างๆของทางภาครฐั และเอกชน มุ่งเน้นให้
นกั เรยี นไดเ้ รียนร้ทู ักษะใหมๆ่ ทีจ่ ำเป็นในการประกอบอาชีพในอนาคต โดยไมเ่ สียคา่ ใชจ้ า่ ยเพ่มิ เติม

๒.ห้องเรียนธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (Modern Entrepreneur) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติ
กิจกรรมท้งั ในและนอกห้องเรียน เพอื่ ให้ผเู้ รียนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต โรงเรยี นโพธินิมิตวิทยาคม
ได้รับความร่วมมือทางวชิ าการรว่ มกันกับสถาบนั การจดั การปัญญาภิวัฒน์ร่วมออกแบบหลักสตู ร โครงสร้างรายวิชา
และจัดอบรมครูผู้สอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยผู้เรียนไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับความต้องการ
ของตลาดแรงงาน

๓. ห้องเรียนอังกฤษธุรกิจ (Business English) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
เชิงธุรกิจให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตจัดสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยครูชาวไทยและ
ชาวตา่ งชาติโดยไดร้ ับการสนบั สนนุ งบประมาณจากองค์กรบรหิ ารส่วนจังหวัดนนทบุรี โรงเรียนโพธนิ ิมิวิทยาคมได้รับ
ความร่วมมือทางวิชาการรว่ มกันกับสถาบนั การจดั การปัญญาภวิ ัฒน์

๔. ห้องเรียนจีนธุรกิจ (Business Chinese) มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการสื่อสารภาษาจีนเชิง
ธุรกิจ เพื่อสร้างแรงงานในอนาคตให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน จัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน
โดยครู ชาวไทยและชาวต่างชาติโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยไม่
เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมได้รบั ความร่วมมือทางวิชาการรว่ มกันกับสถาบันการจัดการปัญญา
ภิวัฒน์ในการออกแบบหลกั สตู ร

๕. ห้องเรียนศิลปกรรม (Fine Arts) มุ่งเน้นให้นักเรียนที่มีความสามารถ ความสนใจและความถนัด
ทางศิลปะ โดยเลือกตามความถนัดของนักเรียนในด้านจิตรกรรม ดนตรีไทย และ ดนตรีสากล ให้เกิดความรู้ความ
เข้าใจท้งั ภาคทฤษฎี และภาคปฏบิ ตั ิให้ฝกึ ฝนทักษะและความชำนาญเพ่ือให้ สามารถประกอบอาชีพไดใ้ นอนาคต

๔๓

๖.ห้องเรียนวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport Science) มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้าน
กีฬา โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล และ เซปักตะกร้อ มุ่งพัฒนานักกีฬาอาชีพ และสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง โรงเรียน
และ ประเทศชาติ โดยทำบันทึก MOU ร่วมกันกับสโมสรเมืองทองยูไนเต็ด จุดเน้นของหลักสูตรห้องเรียน
วทิ ยาศาสตรก์ ารกีฬา (Sport Science) จัดหลกั สูตร ที่มคี วามยดึ หยุ่นเหมาะสมกบั ตารางฝกึ ซอ้ มของนักเรียน

๕.๒ ผลงานดเี ด่นของโรงเรยี นโพธนิ มิ ิตวิทยาคม ปีการศกึ ษา ๒๕๖๔
๕.๒.๑ ผลงานด้านนกั เรียนคณุ ภาพ (Quality Students)
ผลงานระดับประเทศ

๑. นายชชั วาล ร้อยผึง้ ได้รบั รางวัลรองชนะเลศิ เหรยี ญเงนิ กฬี าโกลบอลชาย ทีมชาติไทย รนุ่ อายุไมเ่ กิน
๑๘ ปี Asian Youth Para Games ๒๐๒๑ ณ กรงุ มานามา ประเทศบาร์เรน

๒. รางวัลรองชนะเลศิ อนั ดบั ๒ SAT FOOTBALL THAILAND CHAMPIONSHIP “แชมปช์ นแชมป์”
ร่นุ อายุ ๑๓ ปี ประจำปี ๒๕๖๔ จากองค์การบริหารสว่ นจงั หวัดเชียงราย

๓. เด็กชายโทมสั แมร์ ปารค์ ไดร้ บั การพจิ ารณาคัดเลอื กเข้ารับ "นนทลสี ยาม" ลูกดีเดน่ ประจำปี ๒๕๖๔
สาขาลูกดีเดน่ จากกระทรวงศึกษาธิการ

๔. เดก็ ชายศวิ กร บารัตทาปา และนางสาวรงุ่ นภา มคี ำแหง ไดร้ ับโล่รางวลั เดก็ และเยาวชนดเี ด่น
ประจำปี ๒๕๖๕ จากกระทรวงศึกษาธิการ เน่ืองในงานฉลองวนั เดก็ แหง่ ชาติ ประจำปี ๒๕๖๕

๕. นายอภิวชิ ญ์ สงิ หง์ อย ได้รบั คดั เลือกจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชปู ถัมภ์
ให้เป็นนักกีฬาฟุตบอลชายหายชาย ทีมชาตไิ ทยทีมบี เข้ารว่ มการแขง่ ขันกีฬาฟตุ บอลชายหาดรายการ “AFF
BEACH SOCCER FESTIVAL ๒๐๒๑ BY NSDF”

๖. ได้รับรางวลั รองชนะเลิศอันดบั ๒ เหรียญทองแดง การแข่งขันกีฬาฟตุ บอลชาย รนุ่ อายุ ๑๔ ปี ประเภท
ก รายการแข่งขนั กีฬาระหว่างโรงเรยี นกรมพลศกึ ษาส่วนกลางประจำปี ๒๕๖๔

๗. ไดร้ บั รางวัลรองชนะเลศิ อันดบั ๒ ฟุตบอลชายรุ่นอายุไมเ่ กนิ ๑๘ ปี การแข่งขนั กีฬานกั เรียนนกั ศึกษาชงิ
ชนะเลิศแหง่ ประเทศไทย ประจำปี ๒๕๖๕ “แคนแก่นคณู เกมส”์ ณ จังหวดั ขอนแกน่

๘. นายกติ ตพิ ัฒน์ บญุ ดว้ ง, นายยศภัทร มีแก้ว และนายภาคิน มาหา้ งหวา้ ไดร้ บั โอกาสเขา้ รว่ มการเกบ็ ตัว
ฝึกซอ้ มทมี ฟุตบอลชายทีมชาติไทย รนุ่ อายุไมเ่ กนิ ๑๗ ปี เพ่ือเตรียมความพร้อมสำหรบั การแข่งขนั AFC U-๑๗
Asian Cup ๒๐๒๒ qualitier ณ ประเทศบาเรนห์

๙. ได้รับรางวลั ชนะเลิศการแข่งขันเซปักตะกร้อเยาวชน ร่นุ อายไุ ม่เกิน ๑๖ ปี (หญงิ ) การแข่งขันกีฬาเซปกั
ตะกร้อ “ฮอนด้ายูเนีย่ นคพั ” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนษิ ฐาธิราชเจา้ กรมสมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนกีฬา จงั หวดั นครพนม

ระดับเขตพ้นื ท่ี
๑. เดก็ ชายโทมสั แมร์ ปาร์ค ได้รบั รางวัลผู้นำเสนอผลงานเขา้ รับการพจิ ารณาคดั เลอื กเดก็ เเละเยาวชน
ดเี ด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (ระดับเขตพนื้ ท่ีการศึกษา) จาก สำนกั เงานเขตพื้นทีก่ ารศกึ ษามธั ยมศึกษานนทบุรี
๒. นายกอวีย์ เจะสะอะ ได้รับรางวัลผนู้ ำเสนอผลงานเข้ารับการพจิ ารณาคัดเลือกเด็กเเละเยาวชนดเี ด่น
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (ระดับเขตพ้นื ท่กี ารศึกษา) จาก สำนักงานเขตพน้ื ท่ีการศึกษามัธยมศกึ ษานนทบรุ ี

๔๔

๕.๒.๒ ผลงานด้านครูคุณภาพ (Quality Students)

รางวลั ผู้ไดร้ ับรางวลั หน่วยงาน
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร
เพชรรตั นโกสนิ ทร์ โครงการ นายเมธี แปนเมือง
สำนักงานเขตพน้ื ทีก่ ารศึกษา
โล่ประทานเพชรแหง่ แผน่ ดนิ มธั ยมศึกษา นนทบุรี
มหาวิทยาลยั นอร์ท กรุงเทพ
เพชรรตั นโกสินทร์ คร้งั ท่ี ๑
วทิ ยาลยั เทคโนโลยีสยามบริหารธรุ กิจ
“ครูดีเด่น” เนือ่ งในวนั ครแู ห่งชาติ นายทองสา ทวโี ชติ ร่วมกบั มหาวทิ ยาลัย นอรท์ กรุงเทพ

ประจำปี ๒๕๖๕ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้ันพนื้ ฐาน
เปน็ ครูผสู้ ร้างคุณงามความดีใน นางเอื้อมพร เบญ็ นา
สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษา
วิชาชพี ครู ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ ขนั้ พ้นื ฐาน

“ครใู นดวงใจศษิ ย์” ประจำปี ๑. นางสาวกฤชสร บญุ ธรรมเจริญ สำนักงานเขตพ้ืนท่กี ารศึกษา
มธั ยมศกึ ษานนทบุรี
การศึกษา ๒๕๖๔ ๒. นางสาวขวญั สดุ า กองชา้ ง
ศนู ย์การเรียนรู้ การไฟฟา้ ฝา่ ยผลติ
๓. นางสาวชนกิ านต์ ศกั ดาณรงค์ แหง่ ประเทศไทย

คุรชุ นคนคุณธรรม นายกันตภน เรอื งล่ัน สำนกั งานเขตพ้ืนทีก่ ารศึกษา
มัธยมศกึ ษานนทบรุ ี ร่วมกบั เครอื ข่าย
(โครงการโรงเรยี นคณุ ธรรม สพฐ) สง่ เสรมิ ประสทิ ธภิ าพการจัด
การศึกษามธั ยมศึกษา จังหวดั นนทบรุ ี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
สำนักงานเขตพน้ื ทกี่ ารศกึ ษา
ครผู พู้ ัฒนานวตั กรรม รางวลั นางสาวอนัญญา อัตนยั มัธยมศกึ ษานนทบรุ ี

นวตั กรรมสรา้ งสรรค์คนดี (โครงการ

โรงเรยี นคณุ ธรรม สพฐ.)

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

กจิ กรรมเวทีแลกเปลีย่ นเรียนรู้ 1. นางสาวอนญั ญา อตั นัย

(Symposium) แนวปฏบิ ัติท่เี ปน็ เลศิ 2. นายสรุ โชค สงั ฆธรรม

(Best Practice) รปู แบบออนไลน์ ใน 3. นางสาวสุภัทรา บญุ พัชรชยั
หวั ขอ้ “การพัฒนากระบวนการ 4. นายจิรวฒั น์ ครองยุติ
จดั การเรียนรสู้ ศู่ ตวรรษที่ ๒๑”

รางวลั ยอดเยีย่ ม ประเภทส่ือวีดโี อ ใน นายเกยี รติศักด์ิ จันทรอ์ ุป

หวั ข้อ “พลงั งานนา่ รกู้ บั ครูไฝกบั

น้องโซลาร์”

เข้ารว่ มและผา่ นเกณฑก์ ารประเมิน ๑. นายเกียรติศักด์ิ จันทรอ์ ปุ

โครงการ/กจิ กรรมจติ อาสาแชรส์ ่ือ ๒. นายสุรโชค สังฆธรรม

๓. นายอภินันท์ พลเยยี่ ม

๔. นางสาววภิ าดา เจอื จนั ทร์

๕. นางสาวญาติมา โกไสยสุวรรณ

ครูผ้สู อนทเี่ ปน็ เลิศในการจดั การเรียน ๑. นางสาวสภุ ัทรา บุญพชั รชัย

การสอนห้องเรยี นออนไลน์ ๒. นางเอ้อื มพร เบญ็ นา


Click to View FlipBook Version