The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sudaratpw14, 2021-12-29 02:25:03

กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

กลไกราคา
ในระบบเศรษฐกิจ

Price mechanisms
in the economy

กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

ตลาด - การที่ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันได้โดยสะดวกจนสามารถทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้
1.ตลาดในระบบเศรษฐกิจ ตลาดมีความหมาย 2 ใน คือ

สถานที่ที่มีผู้ซื้อและผู้ขายมาติดต่อทำการซื้อกัน
การติดต่อระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เช่น ทางจดหมาย ทางโทรศัพท์ การซื้อขายออนไลน์ ผ่าน
แอปพลิเคชั่นต่างๆ
1.1 ลักษณะโดยทั่วไปของตลาด
-แบ่งตามลักษณะการขายสินค้า ตลาดขายส่ง,ตลาดขายปลีก
-แบ่งตามชนิดสินค้า ตลาดสินค้าเกษตร,ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม,ตลาดบริการ
-แบ่งตามวัตถุประสงค์ ตลาดสินค้าบริโภค,ตลาดสินค้าผู้ผลิตหรือตลาดปัจจัย

การผลิต,ตลาดการเงินและตลาดทุน
-แบ่งตามลักษณะการแข่งขัน มี 2 ประเภท

* ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ เป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างเต็มที่ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย การ
กำหนดราคาจึงเกิดขึ้นจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายโดยไม่มีปัจัยอื่นมามีอิทธิพลในราคาสินค้า

ลักษณะสำคัญ -มีผู้ซื้อผู้ขายจำนวนมาก
-สินค้าที่ซื้อภายในตลาดจะมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
-ผู้ซื้อและผู้ขายต่างรู้ถึงสภาพการณ์ในตลาดอย่างดี
-การติดต่อซื้อขายต้องกระทำโดยสะดวก
-หน่วยธุรกิจเข้า ออกธุรกิจการค้าได้อย่างเสรี

ข้อดี -ผู้ผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด เป็นการกระตั้นให้มี
ผู้ผลิตรายใหม่เข้ามา
-ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุดในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ และ
โอกาสเลือกซื้อสินค้าในราคาต่ำสุด
-การจัดสรรรัพยากรมีประสิทธิภาพการกระจายรายได้ค่อนข้างเสมอภาค

ข้อเสีย -ในระยะยาวผู้ผลิตจะได้กำไรน้อยมากหรือได้เท่าทุน
-ไม่มีกาารแข่งขันระหว่าผู้ผลิตอย่างแท้จริง เนื่องจากแต่ละมีความสามารถที่
ไม่เท่ากัน
-ผู้ผลิตจะไม่ลงทุนมาก เพราะได้กำไรน้อย

*ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ เป็นตลาดที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายมีอิทธิพลในการกำหนดราคาหรือปริมาณ
สินค้าในตลาด เนื่องจากสินค้าส่วนมากมีลักษณะไม่เหมือนกัน

ประเภทของตลาดสินค้าไม่สมบูรณ์โดยพิจารณาจากผู้ขาย
-ตลาดกึ่งแข่งขันที่ผูกขากสินค้าแบบเดียวกันแต่หลากหลายยี่ห้อ
-ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย
-ตลาดผูกขาดเป็นตลาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว ทำให้ผู้ขายมีอิทธิพลเหนือราคา เช่น
โรงงานยาสูบ

การผูกขาดในตลาดแข่งขันสมบูรณ์อาจไม่ได้เกิดจากผู้ผลิตรายเดียว แต่รวมตัวกันหลาย
รายเพื่อกำหนดราคารวมกัน เช่น น้ำมันถูกกำหนดราคาจากกลุ่มโอเปก ทำให้ไม่มีการแข่งขัน
ด้านราคา ถึงแม้คุณภาพสินค้าเท่ากัน

ข้อดี -สามารถควบคุมการบริโภค
-สามารถควบคุมสภาพแวดล้อม
-ส่งผลดีต่อการผลิตสินค้าพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
-สร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชน

ข้อเสีย -การจัดสรรทรัพยากรไม่เป็นธรรม
-ส่งผลกระทบต่อการบริโภค
-มีการแข่งขันน้อย

2.กลไกราคา (PRICE MECHANISM) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับสินค้า ซึ่งเกิดขึ้นจาก
แรงผลักดันของอุปสงค์ตลาดและอุปทานตลาด
* อุปสงค์ (DEMAND)

ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการและสามารถซื้อสินค้าในระยะเวลาหนึ่ง ณ
ระดับราคาต่างๆของสินค้าและบริการชนิดนั้น
เส้นอุปสงค์และกฎของอุปสงค์

กฎของอุปสงค์ (LAW OF DEMAND)
ถ้าราคาสินค้าและบริการใดๆเพิ่มขึ้น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการนั้นจะ
ลดน้อยลง ตรงข้ามกันถ้าราคาสินค้าลดลง ความต้องการซื้อสินค้านั้นจะเพิ่ม
โดยให้ปัจจัยคงที่

ราคาสูง ความต้องการลดลง
ราคาต่ำ ความต้องการเพิ่มขึ้น

ตัวกำหนดอุปสงค์ -ราคาสินค้า -การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล -รายได้
-จำนวนประชากร -การศึกษาและการโฆษณา
-ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง -รายได้

การเปลี่ยนแปลงอุปทาน -ปป.ปริมาณอุปสงค์ ราคาเปลี่ยนปริมาณเปลี่ยน
-ปป.ระดับอุปสงค์ ราคาเดิมปริมาณเปลี่ยน เนื่องจาก
ปัจจัยต่างๆ

*อุปทาน (SUPPLY)
ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตพร้อมที่จะผลิตออกขาย ณ ระดับภาคต่างๆ ภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด
เส้นอุปทานและกฎของอุปทาน
กฎของอุปทาน (LAW OF SUPPLY)
ถ้าราคาสินค้าและบริการใดๆเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าออกมา
จำหน่ายเพิ่มขึ้น ตรงข้ามถ้าราคาสินค้าและบริการใดๆลดลง ผู้ผลิต
จะผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายลดลง
ราคาสูง ผลิตสินค้ามากขึ้น
ราคาต่ำ ผลิตสินค้าลดลง

กำหนดอุปทาน -ราคาสินค้า -สภาพดินฟ้าอากาศ -ราคาปัจจัยการผลิต
-เป้าหมายของธุรกิจ -จำนวนผู้ผลิต
-การเปลี่ยนแปลงของเทคนิคการผลิต

การเปลี่ยนแปลงอุปทาน
-ปป.ปริมาณอุปทาน ราคาเพิ่ม ยอดผลิตสินค้าเพิ่ม
-ปป.ระดับอุปสงค์ ราคาเดิม ยอดผลิตสินค้าเพิ่มลดก็ได้ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ

3.การกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ

จุดดุลยภาพ (อส = อท) ราคาพอดี สินค้าหมด
เหนือจุดดุลยภาพ (อท เกิน) ราคาสูง สินค้าเหลือ
ใต้จุดดุลยภาพ (อส เกิน) ราคาต่ำ สินค้าขาด


Click to View FlipBook Version