The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการสำรวจทรัพยากรป่าไม้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chantarat Somkane, 2020-11-17 04:36:47

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง

รายงานการสำรวจทรัพยากรป่าไม้

บทสรุปสําหรบั ผบู้ ริหาร

จากสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบันพบว่า พ้ืนท่ีป่าไม้ในประเทศเหลืออยู่เพียงประมาณร้อยละ 33.56
ของพ้นื ท่ปี ระเทศ ซง่ึ ภายในรอ้ ยละ 33.56 ยงั ไมท่ ราบลกั ษณะพนื้ ที่และความสําคัญของลักษณะการใช้ประโยชน์
ท่ดี นิ ดังน้ันเพื่อให้การจัดการบริหารทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน ส่วนสํารวจและวิเคราะห์ทรัพยากร
ปา่ ไม้ สาํ นักพืน้ ฟูและพฒั นาพ้นื ท่อี นุรกั ษ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช ได้ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
โดยการวางแปลงตัวอย่างถาวร (Permanent Sample Plot) ท่ีมีขนาดคงท่ี รูปวงกลม 3 วง ซ้อนกัน คือ วงกลม
รัศมี 3.99, 12.62, 17.84 เมตร ตามลําดบั และมีวงกลมขนาดรัศมี 0.631 เมตร อยู่ตามทิศหลักท้ัง 4 ทิศ ในปี
งบประมาณ พ.ศ. 2556 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตวป์ า่ และพันธ์ุพืช ได้ส่งแผนงานสํารวจทรัพยากรป่าไม้เพ่ือติดต้ัง
ระบบตดิ ตามความเปลีย่ นแปลงของทรัพยากรปา่ ไม้ ให้สาํ นกั บรหิ ารพ้ืนท่ีอนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) จํานวน 16 แปลง
ในพนื้ ที่เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง ซึ่งมีเน้ือท่ี 60,625 ไร่ หรือประมาณ 97 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่
ตําบลบา้ นกลาง ตําบลหว้ ยหมา้ ย อาํ เภอสอง จังหวดั แพร่

ผลการสํารวจและวเิ คราะห์ข้อมลู พบว่า มีพนื้ ที่ปา่ ไมจ้ ําแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินได้
3 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ปา่ เบญจพรรณ ป่าเตง็ รัง โดยปา่ เบญจพรรณพบมากท่ีสุด มีพื้นที่ 66.69 ตารางกิโลเมตร
(41,679.69 ไร่) คิดเป็นร้อยละ 68.75 ของพื้นท่ีท้ังหมด รองลงมา คือ ป่าดิบแล้ง มีพื้นท่ี 24.25 ตารางกิโลเมตร
(15,156.25 ไร่) คิดเป็นร้อยละ 25 ของพ้ืนที่ทั้งหมด ป่าเต็งรังมีพื้นที่ 6.06 ตารางกิโลเมตร (3,789.06 ไร่) คิดเป็น
รอ้ ยละ 6.25 ของพน้ื ท่ที งั้ หมด

ชนิดพนั ธุ์ไม้ท่ีสํารวจพบ มีท้งั หมด 39 วงศ์ 105 ชนิด มีปริมาณไม้รวม 3,643,563 ต้น คิดเป็น
ปริมาตรไม้รวม 1,527,193.98 ลูกบาศก์เมตร มีค่าความหนาแน่นเฉล่ีย 60.10 ต้นต่อไร่ มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 25.19
ลูกบาศก์เมตรต่อไร่

ในป่าดบิ แล้ง มีปริมาณไม้รวม 660,813 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้รวม 402,368.99 ลูกบาศก์เมตร มีค่า
ความหนาแนน่ เฉล่ีย 43.60 ตน้ ตอ่ ไร่ มปี รมิ าตรไมเ้ ฉล่ยี 26.55 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ชนิดไม้ท่ีมีปรมิ าณไม้มากท่ีสุด
10 อันดับแรก ได้แก่ ตะแบกเกรียบ (Lagerstroemia balansae) ยางปาย (Dipterocarpus costatus) เต็ง
(Shorea obtuse) มะดูก (Siphonodon celastrineus) กระบก (Irvingia malayana) มะกอก (Spondias
pinnata) รัง (Shorea siamensis) สัก (Tectona grandis) กระพี้จ่ัน (Millettia brandisiana) และ ตระคร้อ
(Schleichera oleosa)

ในป่าเบญจพรรณ มปี รมิ าณไมร้ วม 2,352,250 ต้น คดิ เปน็ ปรมิ าตรไม้รวม 1,027,797.83 ลูกบาศก์เมตร
มีค่าความหนาแนน่ เฉล่ยี 56.44 ต้นตอ่ ไร่ มีปริมาตรไม้เฉลยี่ 24.66 ลกู บาศกเ์ มตรต่อไร่ ชนดิ ไม้ท่มี ีปริมาณไม้มาก
ทีส่ ุด10 อันดับแรกไดแ้ ก่ แดง (Xylia xylocarpa) ตะแบกเกรยี บ (Lagerstroemia balansae) มะเด่อื ปล้อง
(Ficus hispida) ตระคร้อ (Schleichera oleosa) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata ) ตะแบกเปลอื กบาง
(Lagerstroemia duperreana) ยางปาย (Dipterocarpus costatus) ผีเสอื้ หลวง (Casearia grewiifolia)
ลําไยปา่ (Paranephelium xestophyllum) และ ส้านห่ิง (Dillenia parviflora )

การสาํ รวจทรพั ยากรป่าไม้
พ้ืนทเ่ี ขตรกั ษาพันธ์ุสตั ว์ปา่ ดอยหลวง

ในปา่ เต็งรังมปี รมิ าณไมร้ วม 630,500 ตน้ คดิ เปน็ ปริมาตรไมร้ วม 97,027.16 ลูกบาศก์เมตร มีค่า
ความหนาแน่นเฉล่ีย 166.40 ต้นต่อไร่ มีปริมาตรไม้เฉล่ีย 25.16 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ชนิดไม้ที่มีปริมาณไม้
มากท่ีสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ รัง (Shorea siamensis) เต็ง (Shorea obtuse) ทองหลางป่า (Erythrina
subumbrans) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata) แดง (Xylia xylocarpa) มะกอกเกลือ้ น (Canarium
subulatum) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) ง้ิวป่า (Bombax anceps) ยาบขี้ไก่ (Grewia laevigata)
และหาดหนุน (Artocarpus gomezianus)

สําหรับไม้ไผ่ ในพื้นท่ีเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง พบว่ามีไม้ไผ่อยู่จํานวน 6 ชนิด มีจํานวน
1,952,125 กอ รวมทั้งส้ิน จํานวน 18,890,750 ลํา ได้แก่ ไผ่ข้าวหลาม (Cephalostachyum pergracile)
ไผ่ซาง (Dendrocalamus strictus) ไผ่บง (Bambusa nutans) พบได้ในป่าเบญจพรรณ ไผ่ไร่ (Gigantochloa
albociliata) พบได้ในป่าเต็งรัง และไผ่หก (Dendrocalamus hamiltonii) ไผ่เฮียะ (Cephalostachyum
virgatum) พบได้ในปา่ ดิบแลง้

ชนิดและปริมาณของกล้าไม้ที่พบในเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง มีชนิดของกล้าไม้ (Seedling)
มากกว่า 41 ชนิด รวมจาํ นวนท้ังหมด 195,212,500 ต้น ความหนาแนน่ 10654.99 ตน้ ต่อไร่ ซ่งึ เมอื่ เรยี งลําดับ
จากจํานวนต้นที่พบมากสุดไปหาน้อยสุด 10 อันดับ ได้แก่ ตะแบกเกรียบ (Lagerstroemia balansae) ปอแดง
(Sterculia guttata) ต้วิ เกลย้ี ง (Cratoxylum cochinchinense) เสีย้ วใหญ่ (Bauhinia malabarica) แดง
(Xylia xylocarpa) ยาบใบยาว (Colona flagrocarpa) มะหวด (Lepisanthes rubiginosa) ปอตีนเต่า
(Colona winitii) เปลา้ ใหญ่ (Croton roxburghii) และมะกอก (Spondias pinnata)

ชนดิ และปรมิ าณของลูกไมท้ พ่ี บในเขตรักษาพันธุ์สัตวป์ ่าดอยหลวง มีมากกว่า 15 ชนิด รวมท้ังส้ิน
2,788,750 ต้น มีความหนาแน่นของลกู ไม้ 46 ตน้ ตอ่ ไร่ โดยชนิดไม้ทม่ี ปี ริมาณมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่
ปอตนี เตา่ (Colona winitii) หอมไกลดง (Harpullia arborea) ลําไยป่า (Paranephelium xestophyllum)
ตระคร้อ (Schleichera oleosa) เปล้าเงิน (Viburnum odoratissimum) แดง (Xylia xylocarpa) หาดหนุน
(Artocarpus gomezianus) ติ้วเกลี้ยง (Cratoxylum cochinchinense) ยาบขี้ไก่ (Grewia laevigata)
และ กุ๊ก (Lannea coromandelica)

ชนิดและปริมาณของตอไม้ท่ีพบในเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง มี 1 ชนิด รวมทั้งสิ้น 24,250 ตอ
มีความหนาแนน่ ของตอไม้ 0.4 ตอตอ่ ไร่ โดยชนิดไมท้ ่มี ปี รมิ าณตอมากท่สี ุด ไดแ้ ก่ แดง (Xylia xylocarpa)

จากผลการสํารวจเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสังคมพืชในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง พบว่ามี
สังคมพืช 3 ประเภท คือ ปา่ ดิบแลง้ ป่าเบญจพรรณและป่าเตง็ รัง และจากวเิ คราะห์ข้อมูลสังคมพชื สรปุ ไดด้ ังนี้

ในพ้ืนที่ป่าดิบแล้ง มีชนิดไม้ที่มีค่าดัชนีความสําคัญของชนิดไม้ (IVI) สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่
ยางปาย (Dipterocarpus costatus) ตะแบกเกรียบ (Lagerstroemia balansae) เต็ง (Shorea obtusa)
กระพี้จ่ัน (Millettia brandisiana) มะดูก (Siphonodon celastrineus) กระบก (Irvingia malayana) รัง

การสํารวจทรัพยากรป่าไม้
พื้นท่ีเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ดอยหลวง

(Shorea siamensis) คําแสด (Mallotus philippensis) ยาบใบยาว (Colona flagrocarpa)และ กะเจียน
(Polyalthia cerasoides)

ในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ มีชนิดไม้ที่มีค่าดัชนีความสําคัญของชนิดไม้ (IVI) สูงสุด 10 อันดับแรก
ได้แก่ แดง (Xylia xylocarpa) ตะแบกเกรียบ (Lagerstroemia balansae) ปอตีนเต่า (Colona winitii)
เปล้าใหญ่ (Croton roxburghii) ผีเส้ือหลวง (Casearia grewiifolia) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata)
ตระคร้อ (Schleichera oleosa) ยาบขี้ไก่ (Grewia laevigata) ตะแบกเปลือกบาง (Lagerstroemia duperreana)
และยาบใบยาว (Colona flagrocarpa)

ในพ้ืนที่ป่าเต็งรัง มีชนิดไม้ที่มีค่าดัชนีความสําคัญของชนิดไม้ (IVI) สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ รัง
(Shorea siamensis) เต็ง (Shorea obtusa) ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) ประดู่ (Pterocarpus
macrocarpus) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata) ยาบข้ีไก่ (Grewia laevigata) แดง (Xylia xylocarpa)
มะกอกเกล้อื น (Canarium subulatum) โลด (Aporosa villosa) และ ตว้ิ เกล้ียง (Cratoxylum cochinchinense)

จากผลการสํารวจเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ พบว่า ชนิดป่าหรือ
ลักษณะการใชป้ ระโยชนท์ ่ดี ินทมี่ ีความหลากหลายของชนดิ พนั ธ์ุไม้ (Species Diversity) มากที่สุด คือ ป่าเบญจพรรณ
รองลงมา คือ ป่าดิบแล้ง ซ่ึงชนิดป่าหรือลักษณะการใช้ประโยชน์ท่ีดินที่มีความมากมาย ของชนิดพันธ์ุไม้ (Species
Richness) มากที่สุด คือ ป่าเบญจพรรณ รองลงมา คือ ป่าดิบแล้ง และชนิดป่าหรือลักษณะการใช้ประโยชน์
ท่ีดนิ ทมี่ ีความสมํ่าเสมอของชนิดพันธไ์ุ ม้ (Species Evenness) มากทส่ี ดุ คอื ปา่ ดบิ แลง้ รองลงมา คือ ป่าเต็งรัง

การสาํ รวจทรัพยากรปา่ ไม้
พืน้ ที่เขตรักษาพันธสุ์ ตั ว์ปา่ ดอยหลวง

สารบญั i

บทสรปุ สาํ หรบั ผ้บู รหิ าร หน้า
สารบัญ
สารบัญตาราง I
สารบญั ภาพ iii
คาํ นาํ iv
วตั ถปุ ระสงค์ 1
เปา้ หมายการดําเนนิ การ 2
ข้อมูลท่ัวไปเขตรักษาพนั ธส์ุ ตั วป์ ่าดอยหลวง 2
3
ประวตั คิ วามเป็นมา 3
ทต่ี ง้ั และอาณาเขต 3
การเดินทางและเส้นทางคมนาคม 3
ลกั ษณะภมู ิประเทศ 5
ลกั ษณะภูมอิ ากาศ 6
ลักษณะทางธรณีวิทยา 6
จุดเด่นท่นี า่ สนใจ 6
รปู แบบและวธิ ีการสํารวจทรพั ยากรป่าไม้ 9
การส่มุ ตวั อยา่ ง (Sampling Design) 9
รูปรา่ งและขนาดของแปลงตัวอยา่ ง (Plot Design) 10
ขนาดของแปลงตวั อยา่ งและขอ้ มลู ทีท่ าํ การสาํ รวจ 10
การวิเคราะหข์ ้อมลู การสาํ รวจทรพั ยากรปา่ ไม้ 11
1. การคาํ นวณเน้ือท่ปี า่ และปรมิ าณไม้ทัง้ หมดของแตล่ ะพื้นที่อนุรักษ์ 11
2. การคํานวณปริมาตรไม้ 11
3. ข้อมูลท่ัวไป 12
4. การวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบของหม่ไู ม้ 12
5. การวิเคราะห์ขอ้ มลู ชนิดและปรมิ าณของลกู ไม้ (Sapling) และกลา้ ไม้ (Seedling) 12
6. การวิเคราะหข์ ้อมูลชนิดและปริมาณของไมไ้ ผ่ หวาย 13
7. การวเิ คราะหข์ อ้ มูลสังคมพชื 13
8. วเิ คราะหข์ ้อมูลความหลากหลายทางชวี ภาพ 14

การสาํ รวจทรพั ยากรป่าไม้
พื้นทเ่ี ขตรักษาพันธุ์สตั วป์ า่ ดอยหลวง

สารบญั (ต่อ) ii

ผลการสาํ รวจและวเิ คราะหข์ ้อมูลทรพั ยากรป่าไม้ หน้า
1. การวางแปลงตวั อยา่ ง 16
2. พืน้ ทปี่ ่าไม้ 16
3. ปริมาณไม้ 17
4. ชนิดพันธไ์ุ ม้ 22
5. สงั คมพืช 26
6. ความหลากหลายทางชีวภาพ 35
39
สรปุ ผลการสาํ รวจและวิเคราะหข์ ้อมลู ทรพั ยากรปา่ ไม้ 40
วิจารณผ์ ลการศกึ ษา 43
ปัญหาและอุปสรรค 44
ข้อเสนอแนะ 44
เอกสารอา้ งอิง 45
ภาคผนวก 46

การสาํ รวจทรัพยากรปา่ ไม้
พนื้ ทเี่ ขตรักษาพันธส์ุ ัตวป์ า่ ดอยหลวง

iii

ตารางท่ี สารบญั ตาราง หน้า
1 10
2 ขนาดของแปลงตัวอย่างและข้อมลู ทีท่ ําการสาํ รวจ 18
พื้นทป่ี า่ ไมจ้ าํ แนกตามลกั ษณะการใช้ประโยชนท์ ่ีดินในเขตรกั ษาพันธุส์ ตั ว์ป่าดอยหลวง
3 (Area by Landuse Type) 22
ปริมาณไมท้ ง้ั หมดจําแนกตามลักษณะการใช้ประโยชนท์ ีด่ ินในเขตรกั ษาพันธุ์สัตวป์ ่า
4 ดอยหลวง (Volume by Landuse Type) 23
ความหนาแนน่ และปริมาตรไมต้ ่อหนว่ ยพน้ื ที่จําแนกตามลกั ษณะการใชป้ ระโยชน์ท่ดี นิ
5 ในเขตรกั ษาพนั ธุ์สัตวด์ อยหลวง (Density and Volume per Area by Landuse Type) 25
6 การกระจายขนาดความโตของไม้ท้งั หมดในเขตรักษาพนั ธ์สุ ตั ว์ปา่ ดอยหลวง 28
7 ปริมาณไม้ท้งั หมดของเขตรักษาพนั ธ์ุสตั วป์ ่าดอยหลวง (30 ชนดิ แรกท่ีมีปริมาตรไม้สงู สดุ ) 29
8 ปริมาณไมใ้ นป่าดิบแลง้ ของเขตรักษาพนั ธส์ุ ตั วป์ ่าดอยหลวง (30 ชนิดแรกทมี่ ปี ริมาตรไมส้ งู สดุ ) 30
ปรมิ าณไม้ในปา่ เบญจพรรณของเขตรกั ษาพนั ธส์ุ ตั ว์ปา่ ดอยหลวง
9 (30 ชนดิ แรกทมี่ ปี ริมาตรไมส้ งู สดุ ) 31
10 ปริมาณไมใ้ นปา่ เตง็ รงั ของเขตรกั ษาพนั ธุ์สตั ว์ป่าดอยหลวง (30 ชนดิ แรกทม่ี ปี ริมาตรไม้สงู สดุ ) 32
11 ชนดิ และปริมาณไมไ้ ผ่ หวาย และไม้กอ ท่ีพบในเขตรกั ษาพนั ธ์ุสตั วป์ ่าดอยหลวง 33
12 ชนิดและปริมาณของกล้าไม้ (Seedling) ท่ีพบในเขตรักษาพนั ธ์ุสตั ว์ป่าดอยหลวง 34
13 ชนิดและปริมาณของลกู ไม้ (Sapling) ทพ่ี บในเขตรักษาพนั ธสุ์ ตั วป์ ่าดอยหลวง 34
14 ชนดิ และปริมาณของตอไม้ (Stump) ทีพ่ บในเขตรกั ษาพนั ธุส์ ัตวป์ า่ ดอยหลวง 36
ดชั นีความสาํ คญั ของชนดิ ไม้ (Importance Value Index : IVI) ของป่าดิบแลง้
15 ในเขตรกั ษาพนั ธุส์ ัตว์ปา่ ดอยหลวง 37
ดชั นคี วามสาํ คญั ของชนิดไม้ (Importance Value Index : IVI) ของป่าเบญจพรรณ
16 ในเขตรกั ษาพนั ธุส์ ัตวป์ า่ ดอยหลวง 38
ดัชนีความสําคญั ของชนดิ ไม้ (Importance Value Index : IVI) ของปา่ เต็งรงั
17 ในเขตรักษาพนั ธ์ุสตั ว์ปา่ ดอยหลวง 39
ความหลากหลายทางชีวภาพของชนดิ พันธ์ุไม้เขตรกั ษาพนั ธุส์ ัตวป์ า่ ดอยหลวง

การสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้
พน้ื ทีเ่ ขตรักษาพันธ์สุ ตั ว์ป่าดอยหลวง

iv

สารบญั ภาพ

ภาพท่ี หน้า
1 แสดงทต่ี ั้งของเขตรักษาพนั ธส์ุ ตั วป์ ่าดอยหลวง 4
2 แผนทแ่ี นบท้ายพระราชกฤษฏกี ากําหนดบริเวณท่ีดินป่าดอยหลวงฯ 5
3 ลกั ษณะหนิ ท่ีพบในพ้นื ทีเ่ ขตรกั ษาพนั ธุ์สตั ว์ปา่ ดอยหลวง 6
4 ถ้ําผาแงแ่ ดง 7
5 “นา้ํ ตกห้วยจนั ทร์” ในเขตรกั ษาพันธุ์สตั ว์ปา่ ดอยหลวง 7
6 บริเวณแหลง่ ทอ่ งเทย่ี วดอยผาถากจุดสงู สดุ ของเขตรักษาพันธสุ์ ตั ว์ปา่ ดอยหลวง 8
7 ลักษณะและขนาดของแปลงตวั อยา่ ง 9
8 แผนทแ่ี สดงแผนงานสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้ ประจาํ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 16
9 ผลการดาํ เนนิ การสาํ รวจภาคสนามในเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ปา่ ดอยหลวง 17
10 พน้ื ทีป่ ่าไมจ้ ําแนกตามชนิดป่าในพ้นื ทีเ่ ขตรักษาพนั ธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง 18
11 ลักษณะทัว่ ไปของป่าเบญจพรรณในพ้นื ทเ่ี ขตรกั ษาพนั ธุส์ ัตว์ป่าดอยหลวง 19
12 ลกั ษณะทวั่ ไปของปา่ ดบิ แลง้ พ้นื ทีเ่ ขตรักษาพันธสุ์ ตั วป์ า่ ดอยหลวง 20
13 ลักษณะท่ัวไปของปา่ เต็งรงั ในพน้ื ทเ่ี ขตรกั ษาพนั ธุส์ ัตวป์ า่ ดอยหลวง 21
14 ปริมาณไมท้ ้ังหมดทพี่ บในพ้นื ทเี่ ขตรักษาพันธส์ุ ัตว์ป่าดอยหลวง 22
15 ปริมาตรไม้ทั้งหมดทพี่ บในพนื้ ท่เี ขตรักษาพันธุ์สัตวป์ า่ ดอยหลวง 23
16 ความหนาแนน่ ของไมท้ ัง้ หมดในพน้ื ที่เขตรกั ษาพันธ์ุสัตวป์ ่าดอยหลวง 24
17 ปริมาตรไม้ (ลบ.ม./ไร่) ของพื้นท่ีแตล่ ะประเภทในพน้ื ทเี่ ขตรักษาพันธ์ุสตั ว์ปา่ ดอยหลวง 24
18 การกระจายขนาดความโตของไมท้ ง้ั หมดในพืน้ ท่เี ขตรกั ษาพันธ์สุ ตั วป์ ่าดอยหลวง (ตน้ ) 25
19 การกระจายขนาดความโตของไมท้ ั้งหมดในพน้ื ท่ีเขตรักษาพันธส์ุ ัตวป์ า่ ดอยหลวง (ร้อยละ) 25

การสาํ รวจทรพั ยากรปา่ ไม้
พื้นทีเ่ ขตรักษาพันธ์ุสัตวป์ า่ ดอยหลวง

1

คํานํา

เม่ือปี พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จมาท่ี
อ่างเกบ็ นํา้ หว้ ยเป๊าะ ท้องท่ี หมูท่ ่ี 1 ตําบลห้วยหม้าย อําเภอสอง จังหวัดแพร่ เพื่อทรงเปิดอ่างและทรงปล่อยปลา
สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงดําริว่า อยากจะให้รักษาป่าและสัตว์ป่าแห่งน้ีให้เป็นการถาวร กรมป่าไม้ก็ได้จัดส่ง
เจา้ หน้าทจี่ ากกองอนุรักษ์สัตว์ปา่ มาสํารวจหาข้อมูล และได้ประกาศพระราชกฤษฎีกากําหนดให้ป่าแห่งน้ี เป็น
เขตรกั ษาพนั ธ์สุ ัตว์ป่า เมอ่ื วันท่ี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ช่ือ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง” ในท้องท่ี ตําบล
บ้านกลาง และตําบลห้วยหม้าย อาํ เภอสอง จังหวัดแพร่ เน้ือท่ีประมาณ 97 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
60,625 ไร่ เปน็ แหล่งของลาํ หว้ ยขนาดใหญห่ ลายสายทไี่ หลลงไปสมทบกับแมน่ ้ํายม ได้แก่ ห้วยแมต่ ํ่า ห้วยจันทร์
ห้วยคะแนง ห้วยเปาะ ห้วยโป่ง ห้วยขอน ห้วยหม้ายและห้วยกาด อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่ีอยู่ของสัตว์ป่ามากมาย
ดงั นัน้ การเกบ็ ข้อมลู ของแหล่งต้นนํ้าลําธารและชนิดพันธ์ุจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งเพื่อให้ทราบถึงการกระจายพันธ์ุ
และการอนรุ ักษ์ไว้ซงึ่ ส่งิ ที่หากยากใกล้สญู พันธุ์ในอนาคตเพอ่ื ความยั่งยืนและสมดุลของระบบนเิ วศ

จากเหตุการณ์อุทกภัยหลายคร้ังที่ผ่านมา สาเหตุส่วนหน่ึงเกิดจากทรัพยากรป่าไม้ลดลงพันธุ์ไม้
บางชนิดหมดสน้ิ ทําให้ การอมุ้ น้าํ ของดินไม่มปี ระสิทธภิ าพ จงึ ทําให้เกดิ อุทกภยั อย่างต่อเน่ืองตลอดมา การสํารวจ
ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่จึงมีความสําคัญอย่างยิ่ง เพ่ือให้ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรท่ีมีอยู่ให้
เกิดประโยชน์สงู สดุ และยัง่ ยืน ดงั นนั้ การสํารวจทรัพยากรป่าไม้ โดยวิธีการสํารวจใช้การวางแปลงตัวอย่างถาวร
(Permanent Sample Plot) จึงเป็นทางเลือกอีกทางหน่ึง เพ่ือนําข้อมูลท่ีได้ไปทําการวิเคราะห์ ด้านความ
หลากหลายทางชีวภาพ ดา้ นนเิ วศวทิ ยาปา่ ไม้ สภาพภูมิประเทศ ตลอดจนปจั จยั ต่างๆ ท่ีมีผลกระทบต่อพ้ืนที่ป่า
โดยกรมอุทยานแหง่ ชาติ สตั ว์ปา่ และพันธ์ุพชื สว่ นสาํ รวจและวเิ คราะหท์ รัพยากรป่าไม้ สํานักฟ้ืนฟูและพัฒนา
พื้นท่ีอนุรักษ์ ได้เห็นความสําคัญจึงได้มอบหมายให้กลุ่มงานวิชาการ สํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)
ดําเนินการสํารวจใช้การวางแปลงตัวอย่างถาวร (Permanent Sample Plot) ในพ้ืนที่เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า
ดอยหลวง จากการวิเคราะห์และประมวลผลทําให้ทราบถึงค่าดัชนีความสําคัญของชนิดไม้ (Importance Value
Index : IVI) ความหลากหลายของชนิดพนั ธ์ุ (Species Diversity) ความร่ํารวยของชนิดพันธุ์ (Richness Indices)
และความสมํ่าเสมอของชนิดพันธุ์ (Evenness Indices) จึงหวังเป็นอย่างย่ิงว่าผลท่ีได้จากการวิเคราะห์ และ
ประมวลผลจะสามารถนําไปใช้ในการตัดสินใจในการบรหิ ารพน้ื ทต่ี ่อไปในอนาคตเพื่อความย่ังยืนและสมดุลของ
ระบบนเิ วศตอ่ ไป

คณะทาํ งานสาํ รวจทรัพยากรปา่ ไม้
สาํ นักบรหิ ารพน้ื ทอี่ นุรักษท์ ี่ 13 (แพร่)

กันยายน 2556

การสํารวจทรัพยากรปา่ ไม้
พน้ื ทเี่ ขตรกั ษาพันธ์สุ ตั วป์ า่ ดอยหลวง

2

วตั ถปุ ระสงค์

1. เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานเก่ียวกับทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะด้านกําลังผลิต และความ
หลากหลายของพืชพันธ์ุในพ้ืนที่อนุรักษ์ต่างๆ ของประเทศไทย

2. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสํารวจทรัพยากรป่าไม้ เก่ียวกับรูปแบบ วิธีการสํารวจ และการ
วเิ คราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบและแบบแผน

3. เพือ่ เป็นแนวทางในการวางระบบตดิ ตามการเปล่ยี นแปลงของทรัพยากรปา่ ไม้ในพนื้ ที่
4. เพ่ือให้ได้ข้อมูลพ้ืนฐานเกี่ยวกับพรรณไม้เด่นและชนิดไม้มาใช้ในการวางแผนเพาะชํากล้าไม้
เพอ่ื ปลูกเสริมป่าในแตล่ ะพ้ืนท่ี

เปา้ หมายการดาํ เนนิ งาน

ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2556 สว่ นสํารวจและวเิ คราะหท์ รัพยากรป่าไม้ สาํ นักฟ้ืนฟูและพัฒนาพ้ืนที่
อนุรักษ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้จัดสรรงบประมาณการดําเนินงานและกําหนดพ้ืนที่สํารวจ
เปา้ หมายในพ้ืนท่ีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง ในท้องที่อําเภอสอง จังหวัดแพร่ ซ่ึงอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
ของสํานักบรหิ ารพน้ื ที่อนรุ ักษ์ท่ี 13 (แพร)่ จํานวน 16 แปลง

การสํารวจใช้การวางแปลงตัวอย่างถาวร (Permanent Sample Plot) ท่ีมีขนาดคงท่ี รูปวงกลม
3 วง ซ้อนกัน คือ วงกลมรัศมี 3.99, 12.62, 17.84 เมตร ตามลําดับ และมีวงกลมขนาดรัศมี 0.631 เมตร อยู่
ตามทศิ หลักทง้ั 4 ทศิ โดยจดุ ศนู ย์กลางของวงกลมท้ัง 4 ทิศ จะอยู่บนเส้นรอบวงกลมของวงกลมรัศมี 3.99 เมตร
จํานวนทงั้ ส้นิ 43 แปลง และทําการเก็บขอ้ มลู การสํารวจทรัพยากรป่าไม้ต่างๆ อาทิ เช่น ชนิดไม้ ขนาดความโต
ความสูง จํานวนกล้าไม้และลูกไม้ ชนิดป่า ลักษณะต่างๆ ของพ้ืนที่ท่ีต้นไม้ข้ึนอยู่ ข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ
เช่น ระดับความสูง ความลาดชัน เป็นตน้ ตลอดจนการเก็บข้อมูลองค์ประกอบร่วมของป่า เช่น ไม้ไผ่ หวาย ไม้พุ่ม
เถาวัลย์และพืชช้ันล่าง แล้วนํามาวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อให้ทราบเนื้อท่ีป่าไม้ ชนิดป่า ชนิดไม้ ปริมาณ
และความหนาแนน่ ของหม่ไู ม้ กาํ ลังผลิตของปา่ ตลอดจนการสืบพนั ธ์ุตามธรรมชาติของหมู่ไมใ้ นปา่ นนั้

การสํารวจทรัพยากรป่าไม้
พ้ืนทีเ่ ขตรกั ษาพันธุ์สตั ว์ปา่ ดอยหลวง

3

ขอ้ มูลทว่ั ไปเขตรกั ษาพันธส์ุ ตั วป์ ่าดอยหลวง จงั หวัดแพร่

ประวัตคิ วามเป็นมา
เมื่อปี พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จมาที่

อ่างเก็บนํ้าห้วยเป๊าะ ท้องท่ี หมู่ท่ี 1 ตําบลห้วยหม้าย อําเภอสอง จังหวัดแพร่ เพ่ือทรงเปิดอ่างและทรงปล่อย
ปลา เม่อื เสรจ็ พิธเี รยี บร้อยแล้ว สมเดจ็ พระบรมราชนิ ีนาถไดท้ รงตรสั ถามราษฎรที่เข้าเฝ้ารับเสด็จว่ามีป่าอยู่ไกล
ไหม และสัตว์ป่ายังมีอยู่หรือไม่ อะไรบ้างราษฎรท่ีถูกถามก็ตอบว่า ป่าอยู่ไม่ไกล และสัตว์ป่าก็ยังมีอยู่มาก
สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงดําริว่า อยากจะให้รักษาป่าและสัตว์ป่าแห่งน้ีให้เป็นการถาวร เพื่อความอุดม
สมบูรณ์ของป่าและสัตว์ป่า เป็นแหล่งต้นนํ้าลําธารเพ่ือการกสิกรรมของราษฎรต่อไป หลังจากนั้นสมเด็จ
พระบรมราชินีนาถได้ทรงส่งราชเลขาส่วนพระองค์มาหารายละเอียดเกี่ยวกับป่าแหล่งน้ี และส่งให้จังหวัด
ดําเนินการทางจังหวัดได้เสนอเร่ืองราวไปยังกรมป่าไม้เพ่ือให้ดําเนินการจัดต้ัง ตามโครงการพระราชประสงค์ที่
จะให้เป็นอุทยานหรือไม่ก็เป็นเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า ในที่สุด กรมป่าไม้ก็ได้จัดส่งเจ้าหน้าท่ีจากกองอนุรักษ์สัตว์
ป่ามาสํารวจหาข้อมูลรายละเอียดสภาพป่า ตลอดจนแหล่งน้ําและสัตว์ป่าชนิดต่างๆ และได้ประกาศพระราช
กฤษฎีกากําหนดให้ป่าแห่งนี้เป็นเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า เมื่อวันท่ี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ชื่อ “เขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่าดอยหลวง” เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เน่ืองจากป่าดอยหลวง ในท้องที่
ตําบลบ้านกลาง และตําบลห้วยหม้าย อําเภอสอง จังหวัดแพร่ เน้ือท่ีประมาณ 97 ตารางกิโลเมตร หรือ
ประมาณ 60,625 ไร่ มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์มาก มีแหล่งน้ําแหล่ง
อาหารของสตั วป์ า่ อดุ มสมบรู ณ์ มีสตั ว์ปา่ นานาชนดิ อาศยั อยู่เปน็ จาํ นวนมาก เชน่ หมคี วาย เสอื อีเก้ง กวาง หมูป่า
ลงิ ชะนี ล่นิ กระจง อเี ห็น ไกป่ ่า และนกชนิดต่างๆ ฉะน้ันเพ่ือรักษาไว้ซ่ึงพันธ์ุสัตว์ป่าและให้เป็นท่ีอยู่อาศัยของ
สัตว์ป่าโดยปลอดภัย รวมท้ังเป็นการช่วยป้องกันรักษาต้นนํ้าลําธารและป่าไม้ที่มีอยู่ในพื้นที่แห่งน้ีให้คงอยู่อย่าง
ถาวรตลอดไป ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเลม่ 101 ตอนที่ 135 ลงวนั ท่ี 1 ตลุ าคม 2527

ทีต่ ั้งและอาณาเขต

เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง อยู่ในท้องท่ี ตําบลบ้านกลาง และตําบลห้วยหม้าย อําเภอสอง
จังหวัดแพร่ เน้ือที่ประมาณ 97 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 60,625 ไร่ พ้ืนท่ีรับผิดชอบอยู่ในแผนท่ีสภาพ
ภูมิประเทศ มาตราสว่ น 1 : 50,000 หมายเลขระวาง 5046 III

ทิศเหนือ จด อําเภองาว จงั หวัดลําปาง
ทิศใต้ จด ป่าสงวนแห่งชาตปิ ่าแม่ต้าตอนขนุ อําเภอลอง จงั หวัดแพร่
ทิศตะวนั ออก จด ปา่ สงวนแหง่ ชาติปา่ แม่ยมตะวันตก ตาํ บลหว้ ยหม้าย อาํ เภอสองจังหวดั แพร่
ทิศตะวนั ตก จด อําเภอเมอื ง จงั หวัดลาํ ปาง

การเดนิ ทางและเสน้ ทางคมนาคม

การเดินทางจากกรงุ เทพฯ ถงึ จังหวัดแพร่ เดินทางได้ 2 ทาง คือ ทางบกโดยรถยนต์และรถไฟ ทาง
อากาศทางเคร่ืองบิน ทางบก โดยทางรถยนต์ มีรถยนต์โดยสารประจําทางปรับอากาศจากสถานีขนส่งหมอชิต

การสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้
พ้นื ทีเ่ ขตรักษาพันธส์ุ ตั ว์ป่าดอยหลวง

4

กรุงเทพฯ ถึงสถานีขนส่งจังหวัดแพร่ ระยะทางประมาณ 570 กิโลเมตร ทางรถไฟ ขึ้นรถไฟท่ีสถานีรถไฟหัว
ลาํ โพงถึงสถานรี ถไฟเดน่ ชยั ต่อรถโดยสารรับจา้ ง หรอื รถยนต์โดยสารประจําทางไปสถานีขนส่งแพร่ ต่อรถยนต์
โดยสารประจําทางถึงอําเภอสอง จากน้ันต้องจ้างเหมารถยนต์รับจ้าง หรือรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปยังท่ีทํา
การเขตฯ

ภาพที่ 1 แสดงทต่ี ง้ั ของเขตรักษาพันธส์ุ ัตว์ปา่ ดอยหลวง

การสํารวจทรัพยากรป่าไม้
พน้ื ท่เี ขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง

5

ลักษณะภมู ิประเทศ
พน้ื ที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสงู ชันสลบั ซับซอ้ น มเี ทอื กเขายาวตดิ ต่อกนั เปน็ ชัน้ ๆ มีความสูงจากระดบั

นา้ํ ทะเล ประมาณ 300-1,189 เมตร มีความลาดชันตง้ั แต่ 35-40 องศา

ภาพที่ 2 แผนที่แนบทา้ ยพระราชกฤษฏกี ากําหนดบริเวณทด่ี ินปา่ ดอยหลวง
ใหเ้ ปน็ เขตรักษาพนั ธสุ์ ตั วป์ า่ พ.ศ. 2527

การสํารวจทรัพยากรปา่ ไม้
พน้ื ท่ีเขตรกั ษาพันธ์สุ ัตว์ปา่ ดอยหลวง

6

ลกั ษณะภูมิอากาศ
เขตรักษาพนั ธ์ุสัตว์ปา่ ดอยหลวง ต้งั อยใู่ นเขตลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีฤดูกาล 3 ฤดูกาล ฤดูร้อน

เร่ิมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน มีอากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิประมาณ 35-38 องศาเซลเซียส ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน มีฝนตกชุกประมาณ 800-1,000 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เร่ิมตั้งแต่
เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม มีอากาศหนาวจดั อณุ หภูมิประมาณ 10-17 องศาเซลเซียส
ลกั ษณะทางธรณีวทิ ยา

พืน้ ที่เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวงมีลักษณะดินเป็นดินลูกรังสีแดง เวลาถูกนํ้าแล้วจะเหนียวซึ่ง
กาํ เนดิ จากกล่มุ แร่เหล็ก พบได้บรเิ วณทล่ี าดชันและบนสนั เขา สว่ นบรเิ วณใกลล้ าํ ห้วยมสี ดี าํ ร่วนซยุ่ บางแหง่ เป็น
ดินปนทรายการดูดซึมน้ําและการระบายน้ําได้ดี เป็นแหล่งต้นน้ําลําธารของลําห้วยต่างๆ หลายสายซ่ึงไหลลงสู่
แมน่ า้ํ ยม

ภาพที่ 3 ลกั ษณะหนิ ทพ่ี บในพนื้ ทเี่ ขตรกั ษาพันธุด์ อยหลวง
จดุ เดน่ ทน่ี า่ สนใจ

เขตรักษาพันธสุ์ ตั ว์ป่าดอยหลวง มสี ถานท่นี า่ สนใจ คอื
1. ถํ้าผาแงแ่ ดง
อย่หู า่ งจากที่ทําการเขตฯ ดอยหลวง ประมาณ 4 กโิ ลเมตร ต้ังอยู่บนหุบเขาสูงภายในถํ้ามีหินงอก
หินยอ้ ย สวยงามมาก ความลกึ ของถํา้ ประมาณ 30 เมตร ความกว้างประมาณ 12 เมตร

การสํารวจทรัพยากรปา่ ไม้
พนื้ ท่เี ขตรกั ษาพันธสุ์ ตั ว์ปา่ ดอยหลวง

7

ภาพท่ี 4 ถาํ้ ผาแง่แดง
2. ถํ้าผาปก
ต้ังอยยู่ อดเขาสงู ใกลก้ ับหน่วยพทิ ักษ์ปา่ หว้ ยหมา้ ย ระยะทางประมาณ 1.5 กโิ ลเมตร จากหน่วยฯ
สามารถมองเหน็ ทวิ ทัศนข์ องอาํ เภอสอง ถาํ้ ผาปกเป็นถํ้าขนาดเล็ก แต่มคี วามลกึ มากและมปี ระวัตอิ ันยาวนาน
3. นา้ํ ตกห้วยจันทร์
อยู่หา่ งจากท่ที ําการเขตฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร มคี วามสงู ประมาณ 7-10 เมตร

ภาพที่ 5 นํา้ ตกห้วยจนั ทร์

การสํารวจทรพั ยากรปา่ ไม้
พ้ืนทเ่ี ขตรกั ษาพันธ์ุสัตว์ปา่ ดอยหลวง

8

4. บอ่ นํ้าร้อน
ตั้งอย่กู ลางลาํ หว้ ยโปง่ ในบริเวณท่ที าํ การเขตรกั ษาพันธุส์ ตั ว์ป่าดอยหลวง ตําบลห้วยหม้าย
อําเภอสอง จังหวดั แพร่

ภาพท่ี 6 บรเิ วณแหลง่ ทอ่ งเทย่ี วดอยผาถากจุดสงู สดุ ของเขตรักษาพนั ธส์ุ ัตวป์ ่าดอยหลวง

การสาํ รวจทรพั ยากรป่าไม้
พื้นทเี่ ขตรกั ษาพันธุ์สตั วป์ า่ ดอยหลวง

9

รูปแบบและวิธีการสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้

การสํารวจทรัพยากรป่าไม้ในแต่ละจังหวัดท่ัวประเทศไทย ดําเนินการโดยกลุ่มสํารวจทรัพยากร
ปา่ ไม้ สว่ นสาํ รวจและวเิ คราะห์ทรพั ยากรปา่ ไม้ สาํ นกั ฟื้นฟแู ละพัฒนาพื้นทอ่ี นุรักษ์ และสํานกั บรหิ ารพนื้ ท่อี นรุ กั ษ์
ตา่ งๆ ในสังกัดกรมอทุ ยานแห่งชาติ สตั ว์ปา่ และพันธ์พุ ชื
การสุ่มตัวอยา่ ง (Sampling Design)

การสํารวจทรัพยากรป่าไม้ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสม่ําเสมอ (Systematic Sampling) ในพ้ืนที่ที่
ภาพถ่ายดาวเทียมแปลว่ามีสภาพเป็นป่า โดยให้แต่ละแปลงตัวอย่าง (Sample plot) มีระยะห่างเท่าๆ กัน
โดยกําหนดให้แต่ละแปลงห่างกัน 2.5x2.5 กิโลเมตร เริ่มจากการสุ่มกําหนดแปลงตัวอย่างแรกบนเส้นกริดแผนที่
(Grid) ลงบนขอบเขตแผนทปี่ ระเทศไทยมาตราสว่ น 1:50,000 ให้มีระยะหา่ งระหว่างเส้นกริดท้ังแนวต้ัง และ
แนวนอนเท่ากับ 2.5x2.5 กิโลเมตร คือ ระยะช่องกริดในแผนท่ีเท่ากับ 10 ช่อง จุดตัดของเส้นกริดทั้งสองแนวก็
จะเป็นตําแหน่งท่ีต้ังของแปลงตัวอย่างแต่ละแปลง เมื่อดําเนินการเสร็จส้ินแล้วจะทราบจํานวนหน่วยตัวอย่าง
และตําแหน่งท่ีต้ังของหน่วยตัวอย่าง โดยลักษณะของแปลงตัวอย่างดังภาพที่ 1 และรูปแบบของการวางแปลง
ตัวอย่างดงั ภาพที่ 2 ตามลําดับ

ภาพที่ 7 ลกั ษณะและขนาดของแปลงตวั อย่าง

การสาํ รวจทรพั ยากรป่าไม้
พน้ื ที่เขตรักษาพันธสุ์ ัตว์ปา่ ดอยหลวง

10

รปู รา่ งและขนาดของแปลงตวั อยา่ ง (Plot Design)

แปลงตัวอย่าง (Sample Plot) ที่ใช้ในการสํารวจมีทั้งแปลงตัวอย่างถาวรและแปลงตัวอย่าง
ชั่วคราว เป็นแปลงที่มขี นาดคงท่ี (Fixed–Area Plot) และมีรปู รา่ ง 2 ลักษณะดว้ ยกัน คือ

1. ลักษณะรปู วงกลม (Circular Plot)
1.1 รูปวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน รัศมีแตกต่างกัน จํานวน 3 วง คือ วงกลมรัศมี 3.99,

12.62 และ 17.84 เมตร ตามลาํ ดบั
1.2 รูปวงกลมที่มีรัศมีเท่ากัน จุดศูนย์กลางต่างกัน จํานวน 4 วง รัศมี 0.631 เมตร เท่ากัน

โดยจดุ ศนู ย์กลางของวงกลมอยบู่ นเส้นรอบวงของวงกลมรศั มี 3.99 เมตร ตามทศิ หลักทง้ั 4 ทศิ

2. ลักษณะแบบแนวเส้นตรง (Intersect Line) จํานวน 2 เส้น ความยาวเส้นละ 17.84 เมตร
โดยมีจุดเร่ิมต้นร่วมกัน ณ จุดศูนย์กลางแปลงตัวอย่างทํามุมฉากซึ่งกันและกัน ซ่ึงตัวมุม Azimuth ของเส้นที่ 1
ไดจ้ ากการสมุ่ ตัวอยา่ ง

ขนาดของแปลงตัวอยา่ งและข้อมลู ทที่ าํ การสาํ รวจ

ขนาดของแปลงตวั อยา่ ง และข้อมลู ท่ที ําการสํารวจแสดงรายละเอียดไว้ในตารางท่ี 1

ตารางท่ี 1 ขนาดของแปลงตวั อยา่ งและขอ้ มลู ทท่ี าํ การสาํ รวจ

รศั มีของวงกลม หรือ จํานวน พืน้ ท่หี รือความยาว ข้อมูลทีส่ าํ รวจ
ความยาว (เมตร)
4 วง 0.0005 เฮกตาร์ กลา้ ไม้
0.631 1 วง 0.0050 เฮกตาร์ ลูกไม้และการปกคลุมพ้ืนที่ของกล้าไม้
3.99 และลูกไม้
ไมไ้ ผ่ หวายทีย่ ังไมเ่ ลือ้ ย และตอไม้
12.62 1 วง 0.0500 เฮกตาร์ ตน้ ไม้ และตรวจสอบปจั จัยท่รี บกวน
17.84 1 วง 0.1000 เฮกตาร์ พ้ืนทป่ี า่
Coarse Woody Debris (CWD)
17.84 (เส้นตรง) 2 เส้น 17.84 เมตร หวายเล้ือย และไมเ้ ถา ทพ่ี าดผา่ น

การสาํ รวจทรัพยากรปา่ ไม้
พนื้ ที่เขตรกั ษาพันธุส์ ตั วป์ า่ ดอยหลวง

11

การวิเคราะห์ขอ้ มลู การสาํ รวจทรัพยากรปา่ ไม้

1. การคํานวณเน้ือทีป่ า่ และปรมิ าณไมท้ ้ังหมดของแตล่ ะพน้ื ทอ่ี นุรักษ์
1.1 ใช้ขอ้ มูลพน้ื ทอี่ นรุ ักษจ์ ากแผนทแี่ นบทา้ ยกฤษฎีกาของแต่ละพน้ื ทอ่ี นุรักษ์
1.2 ใชส้ ัดสว่ นจํานวนแปลงตัวอย่างท่ีพบในแต่ละชนิดป่า เปรียบเทียบกับจํานวนแปลงตัวอย่างที่

วางแปลงท้ังหมดในแต่ละพน้ื ที่อนรุ กั ษ์ ทีอ่ าจจะได้ข้อมลู จากภาคสนาม หรือการดูจากภาพถ่ายดาวเทียมหรือ
ภาพถ่ายทางอากาศ มาคํานวณเป็นเนื้อทปี่ า่ แต่ละชนดิ โดยนําแปลงตัวอย่างทว่ี างแผนไว้มาคํานวณทุกแปลง

1.3 แปลงตัวอย่างที่ไม่สามารถดําเนินการได้ ก็ต้องนํามาคํานวณด้วย โดยทําการประเมิน
ลกั ษณะพื้นท่ีว่าเป็น หน้าผา น้าํ ตก หรือพนื้ ท่อี ื่นๆ เพอื่ ประกอบลกั ษณะการใชป้ ระโยชน์ทีด่ ิน

1.4 ปริมาณไม้ท้ังหมดของพื้นที่อนุรักษ์ เป็นการคํานวณโดยใช้ข้อมูลเนื้ท่ีอนุรักษ์จากแผนท่ีแนบ
ท้ายกฤษฎีกาของแต่ละพื้นท่ีอนุรักษ์ ซ่ึงบางพื้นท่ีอนุรักษ์มีข้อมูลเน้ือท่ีคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงและส่งผล
ตอ่ การคํานวณปริมาณไม้ทั้งหมด ทาํ ใหก้ ารคาํ นวณปรมิ าณไมเ้ ป็นการประมาณเบ้อื งต้น
2. การคาํ นวณปรมิ าตรไม้

สมการปริมาตรไม้ท่ีใช้ในการประเมินการกักเก็บธาตุคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ แบบวิธี Volume
Based Approach โดยแบ่งกลุ่มของชนิดไมเ้ ปน็ จํานวน 7 กลุ่ม ดังน้ี

2.1 กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ยาง เต็ง รัง เหียง พลวง กระบาก เคี่ยม ตะเคียน สยา ไข่เขียว พะยอม
จันทน์กะพ้อ สนสองใบ

สมการทไี่ ด้ ln V = 2.372083 + 2.443847 ln (DBH/100)
R2 = 0.94, sample size = 188

2.2 กลมุ่ ท่ี 2 ไดแ้ ก่ กระพ้ีจั่น กระพเี้ ขาควาย เกด็ ดํา เกด็ แดง เกด็ ขาว เถาวัลยเ์ ปรยี ง พะยูง
ชงิ ชัน กระพ้ี ถอ่ น แดง ขะเจา๊ ะ แคทราย แคฝอย และสกลุ มะเกลือ

สมการท่ไี ด้ ln V = 2.134494 + 2.363034 ln (DBH/100)
R2 = 0.91, sample size = 135

2.3 กลมุ่ ท่ี 3 ไดแ้ ก่ รกฟา้ สมอพเิ ภก สมอไทย หกู วาง หกู ระจง ตนี นก ข้อี ้าย กระบก ตะครํ้า
ตะคร้อ ตาเสอื ค้างคาว สะเดา ยมหอม ยมหิน กระทอ้ น เล่ียน มะฮอกกานี ขีอ้ ้าย ตะบูน ตะบนั รัก ต้ิว
สะแกแสง ปเู่ จา้ และไมส้ กุลสา้ น เสลา อินทนิล ตะแบก ชะมวง สารภี บุนนาค

สมการทไี่ ด้ ln V = 1.880578 + 2.053321 ln (DBH/100)
R2 = 0.89, sample size = 186

การสํารวจทรพั ยากรป่าไม้
พ้นื ท่ีเขตรกั ษาพันธุส์ ัตว์ป่าดอยหลวง

12

2.4 กลุม่ ท่ี 4 ได้แก่ กางขี้มอด คนู พฤกษ์ มะคา่ โมง นนทรี กระถินพมิ าน มะขามป่า หลมุ พอ
และสกลุ ข้ีเหลก็

สมการทไ่ี ด้ ln V = 1.789563 + 2.025666 ln (DBH/100)
R2 = 0.90, sample size = 36

2.5 กลมุ่ ท่ี 5 ได้แก่ สกลุ ประดู่ เตมิ

สมการท่ีได้ ln V = 2.037096 + 2.299618 ln (DBH/100)
R2 = 0.94, sample size = 99

2.6 กลุ่มท่ี 6 ไดแ้ ก่ สัก ตีนนก ผ่าเส้ียน หมากเล็กหมากน้อย ไข่เน่า กระจบั เขา กาสามปกี สวอง

สมการทไ่ี ด้ ln V = 2.119907 + 2.296511 ln (DBH/100)
R2 = 0.94, sample size = 186

2.7 กลมุ่ ที่ 7 ได้แก่ ไม้ชนดิ อ่นื ๆ เชน่ กุ๊ก ขวา้ ว ง้วิ ป่า ทองหลางป่า มะม่วงป่า ซ้อ โมกมัน
แสมสาร และไม้ในสกลุ ปอ กอ่ เปล้า เปน็ ต้น

สมการท่ีได้ ln V = 2.250111 + 2.414209 ln (DBH/100)
R2 = 0.93, sample size = 138

โดยที่ V คือ ปริมาตรสว่ นลําตน้ เม่ือตดั โคน่ ทีค่ วามสงู เหนอื ดนิ (โคน) 10 ซนตเิ มตร
ถงึ กงิ่ แรกทที่ าํ เปน็ สินค้าได้ มหี นว่ ยเป็นลกู บาศกเ์ มตร
DBH มีหน่วยเปน็ เซนติเมตร
Ln = natural logarithm

3. ข้อมูลทว่ั ไป

ขอ้ มลู ท่ัวไปท่ีนาํ ไปใช้ในการวิเคราะห์ ไดแ้ ก่ ท่ตี ้งั ตําแหนง่ ชว่ งเวลาทีเ่ กบ็ ขอ้ มลู ผ้ทู ที่ าํ การเก็บ
ขอ้ มลู ความสงู จากระดบั น้าํ ทะเล และลกั ษณะการใช้ประโยชน์ทด่ี ิน เป็นตน้ โดยขอ้ มลู เหลา่ นจ้ี ะใชป้ ระกอบใน
การวเิ คราะหป์ ระเมินผลร่วมกบั ข้อมลู ดา้ นอนื่ ๆ เพื่อตดิ ตามความเปลีย่ นแปลงของพ้นื ที่ในการสาํ รวจทรัพยากร
ปา่ ไม้ครง้ั ตอ่ ไป

4. การวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบของหมู่ไม้
4.1 ความหนาแนน่
4.2 ปริมาตร

5. การวเิ คราะห์ข้อมลู ชนิดและปริมาณของลูกไม้ (Sapling) และกลา้ ไม้ (Seedling)

การสํารวจทรพั ยากรปา่ ไม้
พืน้ ทเ่ี ขตรักษาพันธุ์สตั ว์ปา่ ดอยหลวง

13

6. การวิเคราะห์ขอ้ มลู ชนดิ และปริมาณของไมไ้ ผ่ หวาย
6.1 ความหนาแน่นของไมไ้ ผ่ (จํานวนกอ และ จํานวนลาํ )
6.2 ความหนาแน่นของหวายเสน้ ตั้ง (จาํ นวนตน้ )

7. การวเิ คราะห์ข้อมูลสงั คมพืช

โดยมีรายละเอียดการวเิ คราะห์ข้อมลู ดังนี้

7.1 ความหนาแน่นของพรรณพืช (Density : D) คือ จํานวนต้นไม้ทั้งหมดของชนิดพันธุ์ที่ศึกษาท่ี
ปรากฏในแปลงตัวอย่างต่อหน่วยพื้นท่ีทท่ี ําการสํารวจ

D= จาํ นวนต้นของไมช้ นดิ น้นั ทง้ั หมด
.

พน้ื ท่ีแปลงตวั อยา่ งทง้ั หมดท่ที าํ การสํารวจ

7.2 ความถ่ี (Frequency : F) คอื อตั รารอ้ ยละของจํานวนแปลงตวั อย่างทป่ี รากฏพันธุ์ไมช้ นิดน้ัน
ต่อจํานวนแปลงท่ีทาํ การสํารวจ

F = จํานวนแปลงตวั อย่างที่พบไม้ชนิดที่กําหนด X 100
จํานวนแปลงตัวอย่างทงั้ หมดทท่ี าํ การสาํ รวจ

7.3 ความเด่น (Dominance : Do) ใช้ความเด่นด้านพ้ืนท่ีหน้าตัด (Basal Area : BA) หมายถึง
พนื้ ทีห่ น้าตดั ของลําต้นของต้นไมท้ วี่ ดั ระดบั อก (1.30 เมตร) ต่อพ้ืนทที่ ี่ทําการสาํ รวจ

Do = พ้นื ที่หน้าตดั ทงั้ หมดของไมช้ นดิ ที่กาํ หนด X 100
พน้ื ทแี่ ปลงตวั อยา่ งทที่ าํ การสํารวจ

7.4 ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative Density : RD) คือ ค่าความสัมพัทธ์ของความหนาแน่น
ของไมท้ ต่ี ้องการตอ่ ค่าความหนาแนน่ ของไมท้ กุ ชนดิ ในแปลงตวั อย่าง คิดเป็นรอ้ ยละ

RD = ความหนาแนน่ ของไมช้ นิดนั้น X 100
ความหนาแน่นรวมของไมท้ ุกชนิด

7.5 ค่าความถสี่ ัมพทั ธ์ (Relative Frequency : RF) คือ ค่าความสมั พัทธ์ของความถ่ีของชนิดไม้ท่ี
ต้องการตอ่ ค่าความถี่ท้ังหมดของไม้ทุกชนิดในแปลงตัวอย่าง คิดเปน็ ร้อยละ

RF = ความถีข่ องไมช้ นิดนน้ั X 100
ความถีร่ วมของไม้ทุกชนิด

การสาํ รวจทรัพยากรปา่ ไม้
พ้ืนท่เี ขตรกั ษาพันธุส์ ัตว์ป่าดอยหลวง

14

7.6 คา่ ความเดน่ สัมพัทธ์ (Relative Dominance : RDo) คือ คา่ ความสมั พันธ์ของความเด่นในรูป
พ้ืนทีห่ นา้ ตดั ของไมช้ นิดทกี่ าํ หนดตอ่ ความเด่นรวมของไมท้ กุ ชนิดในแปลงตัวอยา่ ง คดิ เป็นร้อยละ

RDo = ความเดน่ ของไมช้ นดิ น้ัน X 100
ความเดน่ รวมของไมท้ ุกชนิด

7.7 ค่าดัชนีความสําคัญของชนิดไม้ (Importance Value Index : IVI) คือ ผลรวมของค่าความ
สมั พทั ธ์ต่างๆ ของชนดิ ไม้ในสงั คม ไดแ้ ก่ ค่าความสมั พทั ธด์ า้ นความหนาแน่น ค่าความสัมพัทธ์ด้านความถ่ี และ
ค่าความสมั พทั ธ์ด้านความเด่น

IVI = RD + RF + RDo
8. วเิ คราะห์ขอ้ มูลความหลากหลายทางชวี ภาพ

โดยทาํ การวิเคราะหค์ ่าต่างๆ ดงั น้ี
8.1 ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species Diversity) วัดจากจํานวนชนิดพันธุ์ที่ปรากฏใน
สังคมและจํานวนต้นที่มีในแต่ละชนิดพันธุ์ โดยใช้ดัชนีความหลากหลายของ Shannon-Wiener Index of
diversity ตามวธิ ีการของ Kreb (1972) ซึง่ มีสตู รการคํานวณดังตอ่ ไปนี้

s

H = ∑ (pi)(ln pi)

i=1

โดย H คือ ค่าดัชนคี วามหลากชนิดของชนิดพนั ธุ์ไม้
pi คอื สดั ส่วนระหว่างจาํ นวนต้นไมช้ นดิ ท่ี i ต่อจาํ นวนตน้ ไม้ทง้ั หมด
S คือ จาํ นวนชนดิ พนั ธุ์ไม้ทง้ั หมด

8.2 ความร่ํารวยของชนิดพันธ์ุ (Richness Indices) อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนชนิดกับ
จํานวนต้นทั้งหมดท่ีทําการสํารวจ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเม่ือเพิ่มพื้นที่แปลงตัวอย่าง และดัชนีความรํ่ารวย ที่นิยมใช้กัน
คือ วิธีของ Margalef index และ Menhinick index (Margalef 1958, Menhinick 1964) โดยมีสูตรการ
คํานวณดังนี้

1) Margalef index (R1)
R1 = (S-1)/ln(n)

2) Menhinick index (R2)
R2 = S/

การสํารวจทรพั ยากรป่าไม้
พน้ื ทเ่ี ขตรกั ษาพันธุส์ ัตว์ป่าดอยหลวง

15

เมอื่ S คือ จาํ นวนชนดิ ทั้งหมดในสังคม
n คือ จํานวนตน้ ท้ังหมดทส่ี ํารวจพบ

8.3 ความสมํ่าเสมอของชนิดพันธุ์ (Evenness Indices) เป็นดัชนีที่ตั้งอยู่บนสมมติฐานท่ีว่า ดัชนี
ความสมา่ํ เสมอจะมีค่ามากที่สุดเมือ่ ทกุ ชนิดในสงั คมมีจํานวนต้นเท่ากันทั้งหมด ซึ่งวิธีการที่นิยมใช้กันมากในหมู่
นกั นิเวศวิทยา คือ วิธีของ Pielou (1975) ซงึ่ มีสตู รการคํานวณดงั น้ี

E = H/ ln(S) = ln (N1)/ln (N0)
เมอ่ื H คอื คา่ ดชั นีความหลากหลายของ Shannon-Wiener

S คอื จาํ นวนชนิดทั้งหมด (N0)
N1 คอื eH

การสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้
พน้ื ที่เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง

16

ผลการสาํ รวจและวิเคราะห์ขอ้ มลู ทรพั ยากรปา่ ไม้

1. การวางแปลงตัวอย่าง
จากผลการดาํ เนนิ การวางแปลงสํารวจเพอื่ ประเมินสถานภาพและศักยภาพของทรพั ยากรปา่ ไม้ใน

พืน้ ท่รี ับผดิ ชอบของสํานกั บรหิ ารพ้ืนที่อนุรักษ์ 13 (แพร่) ในพื้นที่เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง ตําบลห้วยหม้าย
อําเภอสอง จังหวัดแพร่ ตามแผนงานสํารวจทรัพยากรป่าไม้ ประจําปีงบประมาณ 2556 จํานวน 16 แปลง
ตวั อย่าง โดยมรี ะยะห่างแตล่ ะแปลงตัวอยา่ งขนาด 2.5X2.5 ตารางกิโลเมตร ดังภาพท่ี 8-9

ภาพที่ 8 แผนทีแ่ สดงแผนงานสาํ รวจทรพั ยากรป่าไม้ ประจาํ ปงี บประมาณ 2556 จาํ นวน 16 แปลงตัวอยา่ ง

การสํารวจทรพั ยากรป่าไม้
พื้นที่เขตรกั ษาพันธสุ์ ตั ว์ป่าดอยหลวง

17

ภาพที่ 9 ผลการดําเนนิ การสํารวจภาคสนามในเขตรักษาพนั ธสุ์ ัตวป์ า่ ดอยหลวง
2. พืน้ ทปี่ า่ ไม้

จากการสํารวจ พบวา่ มพี น้ื ที่ปา่ ไม้จาํ แนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ 3 ประเภท ได้แก่
ป่าดบิ แลง้ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง โดยป่าเบญจพรรณพบมากสุด มีพ้ืนที่ 66.69 ตารางกิโลเมตร (41,679.69 ไร่)
คิดเป็นร้อยละ 68.75 ของพื้นท่ีทั้งหมด รองลงมา คือ ป่าดิบแล้ง มีพ้ืนท่ี 24.25 ตารางกิโลเมตร (15,156.25 ไร่)
คิดเป็นร้อยละ 25 ของพ้ืนที่ทั้งหมด ป่าเต็งรังมีพ้ืนท่ี 6.25 ตารางกิโลเมตร (3,789.06 ไร่) คิดเป็นร้อยละ 6
ของพื้นทท่ี ั้งหมด รายละเอียดดังตารางที่ 2

การสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้
พื้นทเ่ี ขตรกั ษาพันธส์ุ ตั วป์ า่ ดอยหลวง

18

ตารางท่ี 2 พน้ื ท่ปี า่ ไม้จําแนกตามลักษณะการใช้ประโยชนท์ ่ีดินในเขตรกั ษาพันธส์ุ ตั วป์ ่าดอยหลวง

(Area by Landuse Type)

ลกั ษณะการใชป้ ระโยชนท์ ีด่ นิ พ้นื ที่ รอ้ ยละ

(Landuse Type) ตร.กม. ไร่ เฮกตาร์ ของพื้นที่ท้ังหมด

ป่าเบญจพรรณ 66.69 41679.69 6,668.75 68.75

(Mixed Deciduous Forest)

ปา่ ดิบแลง้ 24.25 15,156.25 2,425.00 25.00

(Dry Evergreen Forest)

ปา่ เตง็ รัง 6.06 3,789.06 606.25 6.25

(Dry Dipterocarp Forest)

รวม (Total) 97.00 60625.00 9,700.00 100.00

หมายเหตุ : - การคํานวณพน้ื ทปี่ ่าไมข้ องชนิดปา่ แต่ละชนิดใช้สดั สว่ นของข้อมูลที่พบจากการสํารวจภาคสนาม

- ร้อยละของพื้นท่ีสํารวจคาํ นวณจากข้อมลู แปลงทส่ี าํ รวจพบ ซง่ึ มพี น้ื ทด่ี งั ตารางที่ 1

- ร้อยละของพื้นทที่ ั้งหมดคํานวณจากพืน้ ที่แนบท้ายกฤษฎกี าของเขตรักษาพนั ธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง

ซ่ึงมพี ้ืนท่เี ทา่ กับ 97 ตารางกโิ ลเมตร หรือ 60,625 ไร่

ภาพที่ 10 พืน้ ท่ปี ่าไม้จําแนกตามชนดิ ปา่ ในพน้ื ท่เี ขตรกั ษาพนั ธสุ์ ัตวป์ า่ ดอยหลวง

การสาํ รวจทรพั ยากรป่าไม้
พืน้ ท่ีเขตรกั ษาพันธ์ุสัตว์ปา่ ดอยหลวง

19

ภาพที่ 11 ลักษณะท่ัวไปของป่าเบญจพรรณในพนื้ ทเ่ี ขตรกั ษาพนั ธส์ุ ตั วป์ า่ ดอยหลวง

การสํารวจทรัพยากรปา่ ไม้
พ้นื ทีเ่ ขตรักษาพันธสุ์ ตั ว์ปา่ ดอยหลวง

20

ภาพที่ 12 ลกั ษณะทว่ั ไปของป่าดบิ แล้งในพนื้ ทเ่ี ขตรกั ษาพันธสุ์ ตั วป์ า่ ดอยหลวง

การสํารวจทรพั ยากรปา่ ไม้
พื้นที่เขตรักษาพันธ์สุ ตั ว์ป่าดอยหลวง

21

ภาพที่ 13 ลกั ษณะทว่ั ไปของป่าเตง็ รังในพนื้ ทเ่ี ขตรกั ษาพันธส์ุ ัตวป์ ่าดอยหลวง

การสาํ รวจทรพั ยากรปา่ ไม้
พนื้ ทเ่ี ขตรักษาพันธุ์สัตวป์ า่ ดอยหลวง

22

3. ปรมิ าณไม้

จากการวิเคราะห์เกี่ยวกับชนิดไม้ ปริมาณ ปริมาตร และความหนาแน่นของต้นไม้ในป่า โดยการ
สํารวจทรัพยากรป่าไม้ในแปลงตัวอย่างถาวร ในพ้ืนท่ีเขต จํานวนท้ังส้ิน 16 แปลง พบว่า ชนิดป่าหรือลักษณะ
การใช้ประโยชน์ท่ีดินท่ีสํารวจพบท้ัง 3 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง พบไม้ยืนต้นท่ีมีความ
สูงมากกว่า 1.30 เมตร และมีขนาดเส้นรอบวงเพียงอก (GBH) มากกว่าหรือเท่ากับ 15 เซนติเมตรขึ้นไป มี
มากกว่า 105 ชนิด รวมทั้งหมด 3,643,563 ต้น ปริมาตรไม้รวมทั้งหมด 1,527,193.98 ลูกบาศก์เมตร
ปริมาตรไม้เฉลี่ย 25.19 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ มีความหนาแน่นของต้นไม้เฉลี่ย 60.10 ต้นต่อไร่ พบปริมาณไม้มาก
สุดในป่าเบญจพรรณ จํานวน 2,352,250 ต้น รองลงมา ในป่าดิบแล้ง พบจํานวน 660,813 ต้น สําหรับปริมาตร
ไม้พบมากสุดในป่าเบญจพรรณ จํานวน 1,027,797.83 ลูกบาศก์เมตร รองลงมา คือ ป่าดิบแล้ง จํานวน
402,368.99 ลกู บาศก์เมตร รายละเอียดดังตารางที่ 3 และ 4 ตามลําดับ

ตารางท่ี 3 ปรมิ าณไมท้ งั้ หมดจําแนกตามลักษณะการใชป้ ระโยชน์ท่ีดินในเขตรกั ษาพนั ธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง

(Volume by Landuse Type)

ลกั ษณะการใชป้ ระโยชน์ทดี่ ิน ปรมิ าณไมท้ ้ังหมด

(Landuse Type) จาํ นวน (ตน้ ) ปริมาตร (ลบ.ม.)

ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) 2,352,250 1,027,797.83

ปา่ เต็งรงั (Dry Dipterocarp Forest) 630,500 97,027.16

ป่าดบิ แล้ง (Dry Evergreen Forest) 660,813 402,368.99

รวม 3,643,563 1,527,193.98

ภาพท่ี 14 ปริมาณไมท้ ัง้ หมดทพ่ี บในพน้ื ท่เี ขตรกั ษาพนั ธส์ุ ตั ว์ป่าดอยหลวง

การสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้
พนื้ ที่เขตรักษาพันธ์สุ ตั ว์ป่าดอยหลวง

23

ภาพที่ 15 ปริมาตรไม้ทั้งหมดทีพ่ บในพนื้ ท่เี ขตรักษาพนั ธส์ุ ตั วป์ า่ ดอยหลวง

ตารางที่ 4 ความหนาแนน่ และปรมิ าตรไม้ตอ่ หนว่ ยพน้ื ท่ีจาํ แนกตามลกั ษณะการใช้ประโยชน์ที่ดนิ

ในเขตรักษาพันธ์สุ ตั วป์ า่ ดอยหลวง (Density and Volume per Area by Landuse Type)

ลกั ษณะการใชป้ ระโยชน์ท่ีดิน ความหนาแนน่ ปริมาตร

(Landuse Type) ต้น/ไร่ ตน้ /เฮกตาร์ ลบ.ม./ไร่ ลบ.ม./เฮกตาร์

ป่าดิบแล้ง 43.60 272.50 26.55 165.93

(Dry Evergreen Forest)

ป่าเบญจพรรณ 56.44 352.73 24.66 154.12

(Mixed Deciduous Forest)

ปา่ เต็งรงั 166.40 1,040.00 25.61 160.04

(Dry Dipterocarp Forest)

เฉลย่ี 60.10 357.63 25.19 157.44

การสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้
พ้นื ทเี่ ขตรกั ษาพันธุส์ ัตวป์ ่าดอยหลวง

24

ภาพที่ 16 ความหนาแนน่ ตน้ ไม้ในพนื้ ทเี่ ขตรักษาพนั ธส์ุ ัตวป์ า่ ดอยหลวง

ภาพที่ 17 ปรมิ าตรไม้ (ลบ.ม./ไร)่ ในปา่ แต่ละประเภทในพนื้ ทเี่ ขตรักษาพนั ธส์ุ ัตวป์ า่ ดอยหลวง

การสํารวจทรพั ยากรปา่ ไม้
พืน้ ที่เขตรกั ษาพันธส์ุ ัตวป์ า่ ดอยหลวง

25

ตารางท่ี 5 การกระจายขนาดความโตของไมท้ ัง้ หมดในเขตรกั ษาพันธ์สุ ตั ว์ปา่ ดอยหลวง

ขนาดความโต (GBH : cm.) ปริมาณทัง้ หมด (ตน้ ) รอ้ ยละ (%)

15 - 45 ซม. 1,976,375.00 54.24

>45 - 100 ซม. 1,097,312.50 30.12

>100 ซม. 569,875.00 15.64

รวม 3,643,562.50 100.00

ภาพที่ 18 การกระจายขนาดความโตของต้นไมท้ ั้งหมดในพน้ื ทเี่ ขตรกั ษาพันธ์สุ ัตวป์ า่ ดอยหลวง (ต้น)

ภาพที่ 19 การกระจายขนาดความโตของต้นไม้ท้งั หมดในพนื้ ท่เี ขตรกั ษาพนั ธสุ์ ัตวป์ า่ ดอยหลวง (รอ้ ยละ)

การสํารวจทรัพยากรป่าไม้
พนื้ ท่ีเขตรกั ษาพันธุ์สตั วป์ า่ ดอยหลวง

26

4. ชนดิ พันธุไ์ ม้
ชนิดพันธุ์ไม้ที่สํารวจพบในภาคสนามพบว่า จากการวางแปลงตัวอย่างและทําการแยกชนิดจาก

เอกสาร ตําราและผู้รู้ โดยชนิดพันธุ์ไม้ที่พบท้ังหมดในพ้ืนท่ีเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง มีท้ังหมด 40 วงศ์
105 ชนิด มีปริมาณไม้รวม 3,643,563 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้รวม 1,527,193.98 ลูกบาศก์เมตร มีค่าความ
หนาแน่นเฉลี่ย 60.10 ต้นต่อไร่ มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 25.19 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ชนิดไม้ท่ีมีปริมาณมากท่ีสุด 10
อันดับแรก ไดแ้ ก่ ตะแบกเกรยี บ (Lagerstroemia balansae) ยางปาย (Dipterocarpus costatus) แดง (Xylia
xylocarpa) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata) มะเดอ่ื ปลอ้ ง (Ficus hispida) ตะคร้อ (Schleichera oleosa)
ตะแบกเปลอื กบาง (Lagerstroemia duperreana) เต็ง (Shorea obtusa) สา้ นห่งิ (Dillenia parviflora) รงั (Shorea
siamensis) ดังรายละเอยี ดในตารางท่ี 6

ในป่าดิบแล้ง มีปริมาณไม้รวม 660,813 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้รวม 402,368.99 ลูกบาศก์เมตร
มีค่าความหนาแน่นเฉล่ีย 43.60 ต้นต่อไร่ มีปริมาตรไม้เฉล่ีย 26.55 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ชนิดไม้ท่ีมีปริมาณไม้มาก
ท่ีสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ตะแบกเกรียบ ( Lagerstroemia balansae) ยางปาย (Dipterocarpus costatus)
เต็ง (Shorea obtuse) มะดูก (Siphonodon celastrineus) กระบก (Irvingia malayana) มะกอก (Spondias
pinnata) รงั (Shorea siamensis) สกั (Tectona grandis) กระพี้จั่น (Millettia brandisiana) ตระคร้อ
(Schleichera oleosa) รายละเอยี ดดงั ตารางท่ี 7

ในป่าเบญจพรรณ มีปริมาณไม้รวม 2,352,250 ต้น คิดเปน็ ปรมิ าตรไมร้ วม 1,027,797.83 ลูกบาศก์เมตร
มีค่าความหนาแน่นเฉลี่ย 56.44 ต้นต่อไร่ มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 24.66 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ชนิดไม้ที่มีปริมาณไม้มาก
ท่ีสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ แดง (Xylia xylocarpa) ตะแบกเกรียบ (Lagerstroemia balansae) มะเด่ือปล้อง (Ficus
hispida) ตระคร้อ (Schleichera oleosa) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata) ตะแบกเปลือกบาง
(Lagerstroemia duperreana) ยางปาย (Dipterocarpus costatus) ผีเสื้อหลวง (Casearia grewiifolia) ลําไยป่า
(Paranephelium xestophyllum) สา้ นหิง่ (Dillenia parviflora ) รายละเอียดดังตารางที่ 8

ในปา่ เต็งรังมีปริมาณไม้รวม 630,500 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้รวม 97,027.16 ลูกบาศก์เมตร มีค่า
ความหนาแน่นเฉล่ีย 166.40 ต้นต่อไร่ มีปริมาตรไม้เฉลี่ย 25.16 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ชนิดไม้ท่ีมีปริมาณไม้มาก
ที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ รัง (Shorea siamensis) เต็ง (Shorea obtusa) ทองหลางป่า (Erythrina
subumbrans) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata) แดง (Xylia xylocarpa) มะกอกเกลื้อน (Canarium
subulatum) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus ) งิ้วป่า (Bombax anceps) ยาบขี้ไก่ (Grewia laevigata)
หาดหนุน (Artocarpus gomezianus) รายละเอยี ดดงั ตารางท่ี 9

สําหรบั ไมไ้ ผ่ ในพื้นท่เี ขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง พบว่ามีไม้ไผ่อยู่ 6 ชนิด ได้แก่ ข้าวหลาม
(Cephalostachyum pergracile) ซาง (Dendrocalamus strictus) บง (Bambusa nutans) ไผ่ไร่ (Gigantochloa
albociliata) หก (Dendrocalamus hamiltonii) และเฮ๊ียะ (Cephalostachyum virgatum) มีปริมาณไม้
ไผจ่ าํ นวน 1,952,125 กอ รวมทง้ั ส้ิน 18,890,750 ลํา ดังรายละเอยี ดในตารางท่ี 10

การสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้
พ้ืนท่เี ขตรกั ษาพันธุ์สัตว์ปา่ ดอยหลวง

27

ชนิดและปรมิ าณของกล้าไม้ที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง มีมากกว่า 41 ชนิด รวมท้ังสิ้น
195,212,500 ตน้ มคี วามหนาแนน่ ของกลา้ ไม้ 3,220.00 ตน้ ต่อไร่ โดยชนดิ ไมท้ ี่มีปริมาณมากที่สุด 10 อันดับแรก
ได้แก่ ตะแบกเกรียบ (Lagerstroemia balansae) ปอแดง (Sterculia guttata) ติ้วเกลี้ยง (Cratoxylum
cochinchinense) เสี้ยวใหญ่ (Bauhinia malabarica) แดง (Xylia xylocarpa) ยาบใบยาว (Colona flagrocarpa)
มะหวด (Lepisanthes rubiginosa) ปอตีนเต่า (Colona winitii) เปล้าใหญ่ (Croton roxburghii) มะกอก
(Spondias pinnata) รายละเอยี ดดงั ตารางท่ี 11

ชนดิ และปรมิ าณของลกู ไมท้ ีพ่ บในเขตรกั ษาพันธุส์ ัตว์ปา่ ดอยหลวง มมี ากกว่า 15 ชนิด รวมท้ังส้ิน
2,788,750 ต้น มีความหนาแน่นของลูกไม้ 46.00 ต้นต่อไร่ โดยชนิดไม้ท่ีมีปริมาณมากที่สุด 10 อันดับแรก
ไดแ้ ก่ ปอตีนเต่า (Colona winitii) หอมไกลดง (Harpullia arborea) ลําไยป่า (Paranephelium xestophyllum)
ตระคร้อ (Schleichera oleosa) เปล้าเงิน (Viburnum odoratissimum) แดง (Xylia xylocarpa) หาดหนุน
(Artocarpus gomezianus) ติ้วเกลี้ยง (Cratoxylum cochinchinense) ยาบข้ีไก่ (Grewia laevigata) กุ๊ก (Lannea
coromandelica) รายละเอียดดงั ตารางท่ี 12

ชนิดและปริมาณของตอไม้ที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง มี 1 ชนิด รวมท้ังสิ้น 24,250 ตอ
มีความหนาแน่นของตอไม้ 6.4 ตอต่อไร่ โดยชนิดไม้ที่มีปริมาณตอมากที่สุด ได้แก่ แดง (Xylia xylocarpa)
รายละเอยี ดดงั ตารางท่ี 13

การสาํ รวจทรพั ยากรป่าไม้
พื้นทเ่ี ขตรักษาพันธส์ุ ตั วป์ ่าดอยหลวง

28

ตารางที่ 6 ปริมาณไมท้ ้งั หมดของเขตรักษาพนั ธส์ุ ัตว์ปา่ ดอยหลวง (30 ชนิดแรกทมี่ ีปรมิ าตรไม้สงู สดุ )

ลาํ ดับ ชนิดพันธ์ไุ ม้ ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ ความหนาแนน่ ปรมิ าตร ปริมาณไม้ทง้ั หมด

(ตน้ /ไร)่ (ลบ.ม./ไร)่ จํานวนตน้ ปริมาตร

1 ตะแบกเกรียบ Lagerstroemia balansae 1.90 3.91 115,188 236,858.66

2 ยางปาย Dipterocarpus costatus 0.40 2.32 24,250 140,491.05

3 แดง Xylia xylocarpa 3.50 1.88 212,188 114,103.65

4 ตะแบกแดง Lagerstroemia calyculata 1.70 1.15 103,063 69,496.41

5 มะเดอื่ ปล้อง Ficus hispida 0.70 1.14 42,438 69,098.87

6 ตะคร้อ Schleichera oleosa 0.90 1.12 54,563 67,855.57

7 ตะแบกเปลือกบาง Lagerstroemia duperreana 0.70 0.92 42,438 55,766.73

8 เตง็ Shorea obtusa 1.60 0.76 97,000 45,894.58

9 สา้ นห่ิง Dillenia parviflora 0.30 0.63 18,188 38,050.44

10 รงั Shorea siamensis 1.30 0.60 78,813 36,594.16

11 ลําไยปา่ Paranephelium xestophyllum 0.80 0.57 48,500 34,697.51

12 กระบก Irvingia malayana 0.30 0.56 18,188 34,119.45

13 ผเี สื้อหลวง Casearia grewiifolia 2.40 0.55 145,500 33,223.39

14 ต้วิ เกลีย้ ง Cratoxylum cochinchinense 0.90 0.39 54,563 23,617.36

15 มะกอกเกลื้อน Canarium subulatum 1.10 0.38 66,688 22,741.64

16 มะดกู Siphonodon celastrineus 0.20 0.37 12,125 22,716.60

17 คอแลน Nephelium hypoleucum 0.20 0.36 12,125 21,546.99

18 ก่อนก Lithocarpus polystachyus 0.20 0.35 12,125 21,454.25

19 หวา้ Syzygium cumini 0.30 0.35 18,188 21,185.39

20 ขอ้ี ้าย Terminalia triptera 0.30 0.33 18,188 20,231.83

21 ยาบขไ้ี ก่ Grewia laevigata 2.30 0.32 139,438 19,579.29

22 กาสามปีก Vitex peduncularis 0.10 0.31 6,063 18,804.46

23 กอ่ แพะ Quercus kerrii 0.70 0.27 42,438 16,523.76

24 มะกอก Spondias pinnata 0.90 0.26 54,563 15,823.59

25 ทองหลางปา่ Erythrina subumbrans 1.30 0.25 78,813 14,966.60

26 ซ้อ Gmelina arborea 0.20 0.24 12,125 14,304.23

27 ยมหอม Toona ciliata 0.40 0.23 24,250 13,864.12

28 สวอง Vitex limonifolia 0.70 0.22 42,438 13,121.42

29 ประดู่ Pterocarpus macrocarpus 1.60 0.19 97,000 11,776.71

30 โพบาย Balakata baccata 0.20 0.19 12,125 11,514.72

31 อนื่ ๆ Others 32.00 4.08 1,940,000 247170.55

รวม Total 3,643,563 1,527,193.98

เฉลี่ย Average 60.10 25.19

หมายเหตุ : มีชนดิ พันธไุ์ ม้ทีส่ าํ รวจพบทั้งหมด 105ชนิด

การสํารวจทรพั ยากรป่าไม้
พน้ื ทเี่ ขตรกั ษาพันธ์ุสตั ว์ปา่ ดอยหลวง

29

ตารางท่ี 7 ปริมาณไม้ในป่าดบิ แลง้ ของเขตรักษาพันธส์ุ ตั ว์ป่าดอยหลวง (30 ชนิดแรกท่ีมปี รมิ าตรไม้สูงสุด)

ลําดบั ชนิดพันธุ์ไม้ ช่ือวทิ ยาศาสตร์ ความหนาแนน่ ปรมิ าตร ปริมาณไม้ทัง้ หมด
(ตน้ /ไร่) (ลบ.ม./ไร่)
0.80 จาํ นวนต้น ปริมาตร
1.20 8.62
1 ตะแบกเกรยี บ Lagerstroemia balansae 7.03 12,125 130,681.57

2 ยางปาย Dipterocarpus costatus 18,188 106,578.02

3 เต็ง Shorea obtusa 1.60 1.89 24,250 28,635.64
0.80 1.50 12,125 22,716.60
4 มะดูก Siphonodon celastrineus 0.40 1.34 6,063 20,343.43
0.40 0.61 6,063 9,271.25
5 กระบก Irvingia malayana 2.00 0.43 30,313 6,554.13
1.20 0.41 18,188 6,192.90
6 มะกอก Spondias pinnata 2.00 0.41 30,313 6,185.78
0.40 0.35 6,063 5,295.35
7 รัง Shorea siamensis 0.40 0.35 6,063 5,295.35
1.20 0.33 18,188 4,996.48
8 สกั Tectona grandis 1.60 0.30 24,250 4,586.69
1.60 0.29 24,250 4,451.89
9 กระพ้ีจ่นั Millettia brandisiana 0.40 0.25 6,063 3,778.45
0.40 0.25 6,063 3,733.75
10 ตะครอ้ Schleichera oleosa 1.20 0.20 18,188 3,004.49
0.80 0.18 12,125 2,674.17
11 ส้านหง่ิ Dillenia parviflora 0.80 0.16 12,125 2,427.59
0.40 0.16 6,063 2,395.12
12 มะกอกเกลื้อน Canarium subulatum 0.80 0.12 12,125 1,824.11
0.80 0.11 12,125 1,633.16
13 คําแสด Mallotus philippensis 0.80 0.11 12,125 1,601.19
0.80 0.10 12,125 1,479.37
14 รกฟา้ Terminalia alata 2.40 0.09 36,375 1,439.68
0.80 0.09 12,125 1,390.98
15 มะมว่ งปา่ Mangifera caloneura 0.40 0.08 6,063 1,285.63
0.80 0.07 12,125 1,059.84
16 ปอขาว Sterculia pexa 0.40 0.07 6,063 1,040.01
0.40 0.07 6,063
17 กะเจยี น Polyalthia cerasoides 15.60 0.58 236,438 998.38
660,813 8,818.01
18 ตองแตบ Macaranga denticulata 43.60 26.55 402,368.99

19 พระเจา้ รอ้ ยท่า Heteropanax fragrans

20 ปอแดง Sterculia guttata

21 มะกลาํ่ ต้น Adenanthera pavonina

22 เต้าหลวง Macaranga gigantea

23 ตะเคียนหนู Anogeissus acuminata

24 สะแกแสง Cananga latifolia

25 ยาบใบยาว Colona flagrocarpa

26 ทองหลางป่า Erythrina subumbrans

27 ประดู่ Pterocarpus macrocarpus

28 กระโดน Careya sphaerica

29 สวอง Vitex limonifolia

30 เชยี ด Cinnamomum iners

31 อนื่ ๆ Others

รวม Total

เฉลยี่ Average

หมายเหตุ : มชี นิดพนั ธ์ไุ ม้ท่ีสาํ รวจพบทงั้ หมด 55 ชนิด

การสํารวจทรพั ยากรปา่ ไม้
พน้ื ทเ่ี ขตรกั ษาพันธ์สุ ัตว์ปา่ ดอยหลวง

30

ตารางท่ี 8 ปรมิ าณไม้ในป่าเบญจพรรณของเขตรกั ษาพันธุส์ ัตว์ปา่ ดอยหลวง (30 ชนดิ แรกทม่ี ปี รมิ าตรไมส้ ูงสดุ )

ลําดบั ชนิดพนั ธุ์ไม้ ชือ่ วิทยาศาสตร์ ความหนาแน่น ปรมิ าตร ปรมิ าณไม้ทง้ั หมด
(ต้น/ไร)่ (ลบ.ม./ไร)่ จํานวนตน้ ปริมาตร
1 แดง Xylia xylocarpa 4.36
2.47 2.59 181,875 107,923.81
2 ตะแบกเกรยี บ Lagerstroemia balansae 0.87 2.55 103,063 106,177.10
1.02 1.66 36,375 69,013.11
3 มะเดื่อปลอ้ ง Ficus hispida 2.04 1.49 42,438 62,278.54
0.87 1.48 84,875 61,803.06
4 ตะครอ้ Schleichera oleosa 1.33 36,375 55,560.98

5 ตะแบกแดง Lagerstroemia calyculata

6 ตะแบก Lagerstroemia duperreana

เปลือกบาง

7 ยางปาย Dipterocarpus costatus 0.15 0.81 6,063 33,913.03
3.20 0.79 133,375 32,904.84
8 ผเี สื้อหลวง Casearia grewiifolia 0.87 0.79 36,375 32,821.44
0.29 0.79 12,125 32,755.08
9 ลาํ ไยปา่ Paranephelium xestophyllum 0.73 0.55 30,313 22,905.09
0.29 0.52 12,125 21,546.99
10 ส้านหิง่ Dillenia parviflora 0.29 0.51 12,125 21,454.25
0.44 0.51 18,188 21,185.39
11 ติ้วเกลีย้ ง Cratoxylum cochinchinense 0.44 0.49 18,188 20,231.83
0.15 0.45 18,804.46
12 คอแลน Nephelium hypoleucum 2.33 0.43 6,063 17,734.09
0.87 0.39 97,000 16,427.91
13 กอ่ นก Lithocarpus polystachyus 0.73 0.34 36,375 14,003.20
0.15 0.33 30,313 13,892.57
14 หว้า Syzygium cumini 0.58 0.33 6,063 13,864.12
0.29 0.33 24,250 13,776.02
15 ข้ีอ้าย Terminalia triptera 0.58 0.29 12,125 11,918.99
0.29 0.28 24,250 11,514.72
16 กาสามปีก Vitex peduncularis 4.80 0.27 12,125 11,410.83
0.29 0.26 200,063 11,037.75
17 ยาบขไ้ี ก่ Grewia laevigata 0.15 0.26 12,125 10,878.80
0.87 0.26 6,063 10,868.52
18 กอ่ แพะ Quercus kerrii 1.02 0.23 36,375 9,425.86
3.93 0.22 42,438 8,986.35
19 มะกอกเกล้ือน Canarium subulatum 21.09 3.14 163,688 130,779.10
879,063
20 ซอ้ Gmelina arborea

21 ยมหอม Toona ciliata

22 กระบก Irvingia malayana

23 สวอง Vitex limonifolia

24 โพบาย Balakata baccata

25 ปอตีนเตา่ Colona winitii

26 ตะครํ้า Garuga pinnata

27 เสลาดํา Lagerstroemia undulata

28 เสลาเปลือกบาง Lagerstroemia venusta

29 ผ่าเสี้ยน Vitex canescens

30 เปลา้ ใหญ่ Croton roxburghii

31 อน่ื ๆ Others

รวม Total 2,352,250 1,027,797.83
56.44 24.66
เฉลีย่ Average

หมายเหตุ : มชี นิดพันธ์ุไม้ที่สํารวจพบทั้งหมด 83 ชนิด

การสาํ รวจทรพั ยากรป่าไม้
พน้ื ท่ีเขตรกั ษาพันธ์สุ ตั ว์ปา่ ดอยหลวง

31

ตารางที่ 9 ปริมาณไมใ้ นป่าเตง็ รงั ของเขตรักษาพันธสุ์ ตั ว์ป่าดอยหลวง (30 ชนดิ แรกที่มปี ริมาตรไมส้ ูงสดุ )

ลําดบั ชนดิ พันธุ์ไม้ ชื่อวิทยาศาสตร์ ความหนาแน่น ปริมาตร ปริมาณไม้ทงั้ หมด
(ตน้ /ไร่) (ลบ.ม./ไร)่
11.20 จาํ นวนตน้ ปริมาตร
19.20 7.25
1 รัง Shorea siamensis 12.80 4.55 42,438 27,482.85
4.80 3.15
2 เตง็ Shorea obtusa 3.20 2.03 72,750 17,258.94
4.80 1.50
3 ทองหลางปา่ Erythrina subumbrans 17.60 0.99 48,500 11,917.31
1.60 0.93
4 ตะแบกแดง Lagerstroemia calyculata 11.20 0.80 18,188 7,693.35
1.60 0.49
5 แดง Xylia xylocarpa 1.60 0.46 12,125 5,687.35
1.60 0.45
6 มะกอกเกลื้อน Canarium subulatum 3.20 0.36 18,188 3,741.96
6.40 0.25
7 ประดู่ Pterocarpus macrocarpus 3.20 0.22 66,688 3,524.39
4.80 0.22
8 งว้ิ ป่า Bombax anceps 4.80 0.21 6,063 3,036.84
6.40 0.19
9 ยาบขไ้ี ก่ Grewia laevigata 1.60 0.19 42,438 1,845.20
6.40 0.16
10 หาดหนุน Artocarpus gomezianus 3.20 0.15 6,063 1,759.35
6.40 0.15
11 ลาํ ไยปา่ Paranephelium xestophyllum 1.60 0.13 6,063 1,708.21
3.20 0.12
12 พระเจ้ารอ้ ยท่า Heteropanax fragrans 4.80 0.11 6,063 1,354.86
1.60 0.11
13 ปอต๊บู หูชา้ ง Sterculia villosa 1.60 0.08 12,125 962.81
3.20 0.07
14 โลด Aporosa villosa 1.60 0.06 24,250 826.03
3.20 0.05
15 ราชพฤกษ์ Cassia fistula 19.20 0.04 12,125 817.41
0.62
16 สมอไทย Terminalia chebula 18,188 801.76

17 ขว้าว Haldina cordifolia 18,188 724.46

18 ต้ิวเกลย้ี ง Cratoxylum cochinchinense 24,250 712.27

19 แคหางคา่ ง Fernandoa adenophylla 6,063 613.62

20 กระพ้ีเขาควาย Dalbergia cultrata 24,250 586.61

21 กระพ้ีจนั่ Millettia brandisiana 12,125 557.82

22 มะเม่าดง Antidesma bunius 24,250 477.42

23 อินทนิลน้ํา Lagerstroemia speciosa 6,063 449.34

24 สัก Tectona grandis 12,125 430.37

25 แข้งกวาง Wendlandia tinctoria 18,188 425.44

26 ตาลเหลือง Ochna integerrima 6,063 291.67

27 ตะครอ้ Schleichera oleosa 6,063 281.68

28 รกั ใหญ่ Gluta usitata 12,125 230.56

29 ตะแบกเปลอื กบาง Lagerstroemia duperreana 6,063 205.75

30 สวอง Vitex limonifolia 12,125 162.43

31 อืน่ ๆ Others 72,750 2355.92

รวม Total 630,500 97,027.16

เฉลีย่ Average 166.40 25.61

หมายเหตุ : มีชนิดพันธ์ุไม้ทส่ี าํ รวจพบทั้งหมด 35 ชนิด

การสาํ รวจทรพั ยากรปา่ ไม้
พ้ืนทเี่ ขตรักษาพันธส์ุ ตั วป์ ่าดอยหลวง

32

ตารางที่ 10 ชนิดและปรมิ าณไมไ้ ผ่ หวาย และไมก้ อ ท่พี บในเขตรกั ษาพนั ธุ์สตั ว์ป่าดอยหลวง

ลาํ ดับ ชนิดพันธไ์ุ ผ่ ชื่อวทิ ยาศาสตร์ ปรมิ าณทั้งหมด

จํานวนกอ จํานวนลํา

1 ซาง Dendrocalamus strictus 666,875 6,438,375

2 ไผ่เฮียะ Cephalostachyum virgatum 436,500 4,789,375

3 ไผ่ไร่ Gigantochloa albociliata 291,000 2,946,375

4 หก Dendrocalamus hamiltonii 242,500 2,061,250

5 ไผ่บง Bambusa nutans 218,250 1,903,625

6 ขา้ วหลาม Cephalostachyum pergracile 97,000 751,750

รวม Total 1,952,125 18,890,750

การสาํ รวจทรัพยากรปา่ ไม้
พ้ืนทเี่ ขตรกั ษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง

33

ตารางท่ี 11 ชนดิ และปริมาณของกล้าไม้ (Seedling) ท่ีพบในเขตรกั ษาพันธ์ุสัตวป์ า่ ดอยหลวง

ลําดับที่ ชนิดพันธ์ไุ ม้ ชอ่ื วิทยาศาสตร์ ปริมาณกลา้ ไม้ทงั้ หมด

จาํ นวน (ต้น) ความหนาแน่น (ตน้ /ไร)่

1 ตะแบกเกรียบ Lagerstroemia balansae 18,364,833.88 2523.67
2 ปอแดง Sterculia guttata 13,468,581.47 320.05
3 ต้ิวเกล้ียง Cratoxylum cochinchinense 12,243,635.48 1163.67
4 เส้ียวใหญ่ Bauhinia malabarica 9,795,331.98 232.76
5 แดง Xylia xylocarpa 9,795,153.88 283.67
6 ปอตีนเตา่ Colona winitii 8,570,915.48 203.67
7 ยาบใบยาว Colona flagrocarpa 8,570,024.99 458.19
8 Unknown Unknown 8,569,668.80 560.00
9 มะกอก Spondias pinnata 7,346,498.98 174.57
10 โมกมัน Wrightia arborea 7,346,320.88 225.48
11 ผา่ เส้ยี น Vitex canescens 7,346,142.79 276.38
12 เปล้าใหญ่ Croton roxburghii 7,345,608.50 429.10
13 แขง้ กวาง Haldina cordifolia 6,122,082.48 145.48
14 ขวา้ ว Haldina cordifolia 6,121,729.49 727.29
15 เดอ่ื หวา้ Ficus oligodon 6,121,192.00 400.00
16 เลียงฝ้าย Kydia calycina 4,897,487.89 167.29
17 ประดู่ Pterocarpus macrocarpus 4,897,312.99 698.19
18 ปอขนนุ Sterculia balanghas 3,673,249.49 87.29
19 ตระคร้อ Schleichera oleosa 3,673,072.99 378.19
20 แคหางค่าง Fernandoa adenophylla 3,673,071.39 138.19
21 ง้วิ ป่า Bombax anceps var. anceps 2,448,832.99 58.19
22 ชิงชัน Dalbergia oliveri 2,448,832.99 58.19
23 ตะเคยี นหนู Anogeissus acuminata 2,448,832.99 58.19
24 ปอเลียงฝ้าย Eriolaena candollei 2,448,832.99 58.19
25 มะกอกเกลือ้ น Canarium subulatum 2,448,832.99 58.19
26 กระเจยี น Polyalthia cerasoides 1,224,416.50 29.10
27 คอแลน Nephelium hypoleucum 1,224,416.50 29.10
28 ตระคราํ้ Garuga pinnata 1,224,416.50 29.10
29 เพกา Oroxylum indicum 1,224,416.50 29.10
30 มะเมา่ ดง Antidesma bunius 1,224,416.50 29.10
31 อืน่ ๆ Others 13,467,512.88 625.48

รวม 189,775,676.18 10,654.99

หมายเหตุ : มชี นิดพันธก์ุ ลา้ ไมท้ ส่ี าํ รวจพบท้ังหมด 41 ชนิด

การสํารวจทรัพยากรปา่ ไม้
พ้ืนท่ีเขตรกั ษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง

34

ตารางท่ี 12 ชนดิ และปริมาณของลกู ไม้ (Sapling) ท่พี บในเขตรักษาพนั ธสุ์ ัตว์ปา่ ดอยหลวง

ลาํ ดับ ชนิดพนั ธไุ์ ม้ ชื่อวิทยาศาสตร์ ปริมาณลูกไมท้ ้งั หมด
ความหนาแน่น (ต้น/ไร)่ จาํ นวนตน้

1 ปอตีนเต่า Colona winitii 8 485,000

2 หอมไกลดง Harpullia arborea 4 242,500

3 ลําไยป่า Paranephelium xestophyllum 4 242,500

4 ตะครอ้ Schleichera oleosa 4 242,500

5 เปลา้ เงิน Viburnum odoratissimum 4 242,500

6 แดง Xylia xylocarpa 4 242,500

7 หาดหนุน Artocarpus gomezianus 2 121,250

8 ติ้วเกลี้ยง Cratoxylum cochinchinense 2 121,250

9 ยาบขไ้ี ก่ Grewia laevigata 2 121,250

10 กุ๊ก Lannea coromandelica 2 121,250

11 กระพจี้ น่ั Millettia brandisiana 2 121,250

12 มะห้อ Spondias lakonensis 2 121,250

13 มะกอกพราน Turpinia pomifera 2 121,250

14 โมกมนั Wrightia arborea 2 121,250

15 เหมือดจี้ Memecylon scutellatum 2 121,250

รวม Total 2,788,750

เฉลีย่ Average 46

หมายเหตุ : มีชนิดพนั ธุ์ลูกไมท้ ี่สาํ รวจพบท้งั หมด 15 ชนิด

ตารางที่ 13 ชนิดและปรมิ าณของตอไม้ (Stump) ทีพ่ บในเขตรกั ษาพันธ์สุ ตั วป์ า่ ดอยหลวง

ลําดบั ชนดิ พนั ธ์ไุ ม้ ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ ปริมาณตอไม้ทั้งหมด
จาํ นวน (ตอ) ความหนาแนน่ (ตอ/ไร)่

1 แดง Xylia xylocarpa 183,635.76 6.4

รวม 183,635.76 6.4

หมายเหตุ : มีชนิดพันธก์ุ ล้าไมท้ ่สี ํารวจพบท้งั หมด 1 ชนิด

การสาํ รวจทรพั ยากรป่าไม้
พน้ื ทเ่ี ขตรักษาพันธ์ุสตั วป์ ่าดอยหลวง

35

5. สังคมพืช
จากผลการสํารวจเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสังคมพืชในเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยหลวง พบว่ามี

สังคมพืช 3 ประเภท คือ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และจากวิเคราะห์ข้อมูลสังคมพืช พบความ
หนาแน่นของพรรณพืช (Density) ความถี่ (Frequency) ความเด่น (Dominance) และดัชนีความสําคัญของ
พรรณไม้ (IVI) ดังนี้

ในพื้นท่ีป่าดิบแล้ง มีชนิดไม้ท่ีมีค่าดัชนีความสําคัญของชนิดไม้ (IVI) สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่
ยางปาย (Dipterocarpus costatus) ตะแบกเกรียบ (Lagerstroemia balansae) เต็ง (Shorea obtusa)
กระพี้จ่ัน (Millettia brandisiana) มะดูก (Siphonodon celastrineus) กระบก (Irvingia malayana) รัง
(Shorea siamensis) คําแสด (Mallotus philippensis) ยาบใบยาว (Colona flagrocarpa) และ รกฟ้า
(Terminalia alata) ดงั รายละเอียดในตารางท่ี 15

ในพ้ืนท่ีป่าเบญจพรรณ มีชนิดไม้ที่มีค่าดัชนีความสําคัญของชนิดไม้ (IVI) สูงสุด 10 อันดับแรก
ได้แก่ แดง (Xylia xylocarpa) ตะแบกเกรียบ (Lagerstroemia balansae) ปอตีนเต่า (Colona winitii)
ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata) ตระคร้อ (Schleichera oleosa) ยาบข้ีไก่ (Grewia laevigata)
ตะแบกเปลือกหนา (Lagerstroemia duperreana) ยาบใบยาว (Colona flagrocarpa) และ มะเดื่อปล้อง
(Ficus hispida) ดังรายละเอียดในตารางที่ 16

ในพื้นที่ป่าเต็งรัง มีชนิดไม้ท่ีมีค่าดัชนีความสําคัญของชนิดไม้ (IVI) สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ รัง
(Shorea siamensis) เต็ง (Shorea obtusa) ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) ประดู่ (Pterocarpus
macrocarpus) ตะแบกแดง (Lagerstroemia calyculata) ยาบข้ีไก่ (Grewia laevigata) แดง (Xylia
xylocarpa) มะกอกเกล้ือน (Canarium subulatum) โลด (Aporosa villosa) ติ้วเกลี้ยง (Cratoxylum
cochinchinense) ดังรายละเอียดในตารางท่ี 17

การสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้
พ้ืนท่เี ขตรกั ษาพันธ์สุ ตั วป์ ่าดอยหลวง

ตารางท่ี 14 ดชั นคี วามสาํ คญั ของชนดิ ไม้ (Importance Value Index : IVI) ของปา่ ดิบ

ลําดับ ชนิดพนั ธไุ์ ม้ ชื่อวิทยาศาสตร์ จาํ นวน ความหนาแน่น แปลงพบ
ต้น (ต้น/เฮกตาร)์

1 ยางปาย Dipterocarpus costatus 3 7.50 2
2 ตะแบกเกรยี บ Lagerstroemia balansae
3 เตง็ Shorea obtusa 1 2.50 1
4 กระพ้ีจ่ัน Millettia brandisiana
5 มะดกู Siphonodon celastrineus 4 10.00 1
6 กระบก Irvingia malayana
7 รงั Shorea siamensis 5 12.50 2
8 คาํ แสด Mallotus philippensis
9 ยาบใบยาว Colona flagrocarpa 2 5.00 1
10 รกฟา้ Terminalia alata
11 กาสะลองคาํ Radermachera ignea 1 2.50 1
12 สัก Tectona grandis
13 มะกอกเกล้อื น Canarium subulatum 5 12.50 1
14 มะขามป้อม Phyllanthus emblica
15 ตองแตบ Macaranga denticulata 4 10.00 2
16 มะกลํ่าต้น Adenanthera pavonina
17 ตะเคยี นหนู Anogeissus acuminata 6 15.00 1
18 กระโดน Careya sphaerica
19 มะไฟ Baccaurea ramiflora 4 10.00 1
20 เพกา Oroxylum indicum
21 อนื่ ๆ Others 5 12.50 1

3 7.50 1

3 7.50 1

3 7.50 2

2 5.00 2

2 5.00 2

2 5.00 2

2 5.00 2

2 5.00 2

2 5.00 2

48 120.00 39

รวม 109 272.50

36

บแลง้ ในเขตรักษาพนั ธส์ุ ตั วป์ ่าดอยหลวง

ความถ่ี พืน้ ทีห่ น้าตัด ความเดน่ RDensity RFrequency RDominance IVI
(ตร.ม.)
2.90 23.35 29.00
2 50.00 1.55 0.23 2.75 1.45 22.90 25.27
1 25.00 1.45 6.59 11.71
1 25.00 1.52 0.23 0.92 2.90 2.30 9.79
2 50.00 1.45 6.16 9.44
1 25.00 0.44 0.07 3.67 1.45 6.16 8.53
1 25.00 1.45 2.37 8.41
1 25.00 0.15 0.02 4.59 2.90 1.56 8.13
2 50.00 1.45 0.73 7.68
1 25.00 0.41 0.06 1.83 1.45 1.44 6.56
1 25.00 1.45 0.34 6.37
1 25.00 0.41 0.06 0.92 1.45 2.09 6.29
1 25.00 1.45 1.81 6.01
1 25.00 0.16 0.02 4.59 2.90 0.14 5.79
2 50.00 2.90 0.97 5.70
2 50.00 0.10 0.02 3.67 2.90 0.70 5.44
2 50.00 2.90 0.61 5.34
2 50.00 0.05 0.01 5.50 2.90 0.46 5.19
2 50.00 2.90 0.43 5.17
2 50.00 0.10 0.01 3.67 2.90 0.34 5.07
2 50.00 56.52 18.56 119.12
9 975.00 0.02 0.00 4.59 100.00 100.00 300.00

0.14 0.02 2.75

0.12 0.02 2.75

0.01 0.00 2.75

0.06 0.01 1.83

0.05 0.01 1.83

0.04 0.01 1.83

0.03 0.00 1.83

0.03 0.00 1.83

0.02 0.00 1.83

1.23 0.19 44.04

1725.00 6.64 1.00 100.00

การสํารวจทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่เขตรกั ษาพันธุ์สตั ว์ปา่ ดอยหลวง

ตารางที่ 15 ดชั นคี วามสาํ คญั ของชนดิ ไม้ (Importance Value Index : IVI) ของปา่ เบญ

ลําดบั ชนดิ พันธไุ์ ม้ ช่ือวทิ ยาศาสตร์ จาํ นวน ความหนาแน่น แปลงพบ
ต้น (ต้น/ฮกตาร์)

1 แดง Xylia xylocarpa 30 27.27 8
16 14.55 5
2 ตะแบกเกรียบ Lagerstroemia balansae 33 30.00 6
27 24.55 6
3 ปอตนี เตา่ Colona winitii 14 12.73 2
7 6.36 5
4 เปล้าใหญ่ Croton roxburghii 16 14.55 6
6 5.45 2
5 ตะแบกแดง Lagerstroemia calyculata 14 12.73 6
6 5.45 2
6 ตะคร้อ Schleichera oleosa 6 5.45 4
8 7.27 6
7 ยาบข้ีไก่ Grewia laevigata 5 4.55 3
7 6.36 3
8 ตะแบกเปลอื กบาง Lagerstroemia duperreana 6 5.45 2
6 5.45 4
9 ยาบใบยาว Colona flagrocarpa 2 1.82 1
7 6.36 2
10 มะเดื่อปล้อง Ficus hispida 8 7.27 1
8 7.27 3
11 ลําไยป่า Paranephelium xestophyllum 156 141.82 102

12 มะกอก Spondias pinnata

13 ต้วิ เกลย้ี ง Cratoxylum cochinchinense

14 ผ่าเสี้ยน Vitex canescens

15 ก่อแพะ Quercus kerrii

16 ขวา้ ว Haldina cordifolia

17 ส้านหิ่ง Dillenia parviflora

18 ผเี ส้ือหลวง Casearia grewiifolia

19 เสมด็ ทุง่ Lophopetalum wallichii

20 โมกมัน Wrightia arborea

21 อ่ืนๆ Others

รวม 388 352.73

37

ญจพรรณในเขตรักษาพนั ธุส์ ัตวป์ ่าดอยหลวง

บ ความถี่ พื้นทหี่ นา้ ตัด ความเดน่ RDensity RFrequency RDominance IVI
(ตร.ม.)
4.47
8 72.73 2.28 0.11 7.73 2.79 11.07 23.27
5 45.45 3.35 9.22 16.13
6 54.55 1.90 0.09 4.12 3.35 1.66 13.52
6 54.55 1.12 1.35 11.66
2 18.18 0.34 0.02 8.51 2.79 6.18 10.91
5 45.45 3.35 6.01 10.60
6 54.55 0.28 0.01 6.96 1.12 2.17 9.65
2 18.18 3.35 5.51 8.18
6 54.55 1.27 0.06 3.61 1.12 0.85 7.81
2 18.18 2.23 4.78 7.44
4 36.36 1.24 0.06 1.80 3.35 2.77 6.55
6 54.55 1.68 0.75 6.17
3 27.27 0.45 0.02 4.12 1.68 2.14 5.10
3 27.27 1.12 1.07 4.55
2 18.18 1.14 0.06 1.55 2.23 1.61 4.28
4 36.36 0.56 0.50 4.28
1 9.09 0.17 0.01 3.61 1.12 3.20 4.27
2 18.18 0.56 1.31 4.23
1 9.09 0.99 0.05 1.55 1.68 1.44 4.06
3 27.27 56.98 0.32 4.06
2 927.27 0.57 0.03 1.55 100.00 36.09 133.28
100.00 300.00
0.16 0.01 2.06

0.44 0.02 1.29

0.22 0.01 1.80

0.33 0.02 1.55

0.10 0.00 1.55

0.66 0.03 0.52

0.27 0.01 1.80

0.30 0.01 2.06

0.07 0.00 2.06

7.45 0.36 40.21

1627.27 20.63 1.00 100.00

การสาํ รวจทรัพยากรป่าไม้
พน้ื ที่เขตรักษาพันธุส์ ตั วป์ ่าดอยหลวง

ตารางท่ี 16 ดัชนีความสาํ คญั ของชนดิ ไม้ (Importance Value Index : IVI) ของปา่

ลําดับ ชนิดพนั ธ์ุไม้ ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ จํานวน ความหนาแน่น แปลงพบ
ตน้ (ตน้ /ฮกตาร)์

1 รัง Shorea siamensis 7 70
2 เตง็ Shorea obtusa 12 120
3 ทองหลางปา่ Erythrina subumbrans 8 80
4 ประดู่ Pterocarpus macrocarpus 11 110
5 ตะแบกแดง Lagerstroemia calyculata 3 30
6 ยาบข้ีไก่ Grewia laevigata 7 70
7 แดง Xylia xylocarpa 2 20
8 มะกอกเกล้อื น Canarium subulatum 3 30
9 โลด Aporosa villosa 4 40
10 ติ้วเกลีย้ ง Cratoxylum cochinchinense 4 40
11 กระพี้เขาควาย Dalbergia cultrata 4 40
12 มะเมา่ ดง Antidesma bunius 4 40
13 งิ้วปา่ Bombax anceps 1 10
14 ขว้าว Haldina cordifolia 3 30
15 แหน Lemna perpusilla 3 30
16 แขง้ กวาง Wendlandia tinctoria 3 30
17 ปอตู๊บหูชา้ ง Sterculia villosa 2 20
18 หาดหนนุ Artocarpus gomezianus 1 10
19 ลาํ ไยป่า Paranephelium xestophyllum 1 10
20 ราชพฤกษ์ Cassia fistula 2 20
21 อน่ื ๆ Others 19 190

รวม 104 1040

38

าเต็งรงั ในเขตรกั ษาพนั ธสุ์ ตั วป์ ่าดอยหลวง

บ ความถ่ี พื้นทีห่ นา้ ตดั ความเด่น RDensity RFrequency RDominance IVI
(ตร.ม.)
2.86 23.24 32.83
1 100.00 0.52 0.23 6.73 2.86 16.79 31.19
1 100.00 0.38 0.17 11.54 2.86 12.62 23.16
1 100.00 0.28 0.13 7.69 2.86 4.85 18.29
1 100.00 0.11 0.05 10.58 2.86 7.24 12.98
1 100.00 0.16 0.07 2.88 2.86 2.64 12.23
1 100.00 0.06 0.03 6.73 2.86 5.86 10.64
1 100.00 0.13 0.06 1.92 2.86 4.16 9.90
1 100.00 0.09 0.04 2.88 2.86 1.20 7.90
1 100.00 0.03 0.01 3.85 2.86 1.15 7.85
1 100.00 0.03 0.01 3.85 2.86 0.96 7.66
1 100.00 0.02 0.01 3.85 2.86 0.83 7.54
1 100.00 0.02 0.01 3.85 2.86 3.07 6.89
1 100.00 0.07 0.03 0.96 2.86 1.10 6.84
1 100.00 0.02 0.01 2.88 2.86 0.80 6.54
1 100.00 0.02 0.01 2.88 2.86 0.70 6.44
1 100.00 0.02 0.01 2.88 2.86 1.30 6.08
1 100.00 0.03 0.01 1.92 2.86 1.95 5.77
1 100.00 0.04 0.02 0.96 2.86 1.91 5.72
1 100.00 0.04 0.02 0.96 2.86 0.84 5.62
1 100.00 0.02 0.01 1.92 42.86 6.80 67.93
15 1500.00 0.15 0.07 18.27 100.00 100.00 300.00

3500.00 2.24 1.00 100.00

การสํารวจทรพั ยากรป่าไม้
พืน้ ที่เขตรักษาพันธสุ์ ตั ว์ป่าดอยหลวง

39

6. ความหลากหลายทางชวี ภาพ

จากผลการสํารวจและวิเคราะห์หาค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ พบว่า ป่าเบญจพรรณ มี
ค่าความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species Diversity) มากที่สุด คือ 3.86 และยังมีค่าความมากมาย
(Species Richness) มากท่ีสุด คือ 13.67 และ ป่าดิบแล้ง มีค่าความสมํ่าเสมอ (Species Evenness) ของ
ชนิดพนั ธุ์ไม้ มากท่ีสุด คือ 0.95 รายละเอียดดังตารางที่ 18

ตารางที่ 17 ความหลากหลายทางชีวภาพของชนิดพนั ธุ์ไมเ้ ขตรักษาพนั ธส์ุ ตั ว์ปา่ ดอยหลวง

ลักษณะการใช้ประโยชน์ทีด่ นิ ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)

(Landuse Type) ความหลากหลาย ความสม่ําเสมอ ความมากมาย

(Diversity) (Evenness) (Richness)

ปา่ ดิบแลง้ 3.82 0.95 11.44

(Dry Evergreen Forest)

ป่าเบญจพรรณ 3.86 0.87 13.67

(Mixed Deciduous Forest)

ปา่ เตง็ รัง 3.24 0.90 7.45

(Dry Dipterocarp Forest)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปา่ ดอยหลวง 4.18 0.90 16.16

การสํารวจทรัพยากรป่าไม้
พนื้ ทเ่ี ขตรักษาพันธ์สุ ตั วป์ ่าดอยหลวง


Click to View FlipBook Version