The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by paruenatsang, 2021-10-08 02:19:59

เล่มอาหาร

เล่มอาหาร

บทนำ
______________________________

ววิ ฒั นาการอาหารการกนิ สะท้อนวฒั นธรรมถิ่น 6 แดนดินโลก

เกรนิ่ นำ

ในความหมายของอาหาร คือ สิ่งต่าง ๆ ที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นอันตราย และมี
ประโยชนต์ อ่ ร่างกาย ทำใหเ้ กิดพลังงานที่ช่วยในการดำเนนิ กิจกรรมต่างๆ ในชีวติ ประจำวนั และใหค้ วามอบอุ่น
แกร่ า่ งกาย ตลอดจนช่วยให้ร่างกายเจรญิ เติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนท่ีสกึ หรอ อาหารทม่ี นษุ ยบ์ ริโภคในแต่ละ
พื้นที่ของโลก มีลักษณะที่แตกต่างกันและคล้ายคลึงกันบ้าง ซึ่งเป็นไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นท่ี โดย
จะมีปจั จัยต่างๆทีผ่ ลต่ออาหาร ดงั น้ี

1.ปัจจัยด้านศาสนา วัฒนธรรม และความเชื่อ ลักษณะภูมิประเทศ วัฒนธรรม และความเชื่อล้วนมี
อิทธิพลต่อการดำรงชวี ติ ของมนุษย์รวมถึงการประกอบอาหารด้วย ความเชื่อทางศาสนาจะเขา้ มามีบทบาทใน
การกำหนดชนิดของอาหารที่บริโภค อาหารในแต่ละทวีป ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การเลือกใช้
วตั ถดุ ิบ การเลอื กใชเ้ คร่ืองปรงุ ต่างๆ วิธกี ารประกอบอาหาร การเสริ ฟ์ การตกแตง่ จานอาหาร รวมไปถึงวิธีการ
รับประทาน โดยอาหารแต่ละชนิดในแต่ละทวีปทั่วโลกก็จะมีจุดเด่นและลักษณะสำคัญที่ไม่เหมือนกัน มี
อาหารท่ีข้ึนช่อื หรอื มีเอกลกั ษณเ์ ฉพาะตวั ก็แตกตา่ งกนั ไปตามทวปี นั้นๆ

2.ปจั จัยทางสังคม ถือเป็นสิ่งทมี่ ผี ลตอ่ อาหารและการบรโิ ภคอาหารของมนุษย์ในแต่ละทวปี ท่ัวโลก ท้ัง
โดยทางตรงและโดยทางอ้อม คือ ปัจจัยด้านสภาพภูมิศาสตร์และเชื้อชาติ พฤติกรรมการบริโภคของคนแต่ละ
เช้อื ชาตทิ ่มี ีทอี่ ยอู่ าศัยแตกต่างไปตามสภาพภมู ิศาสตร์และส่งิ แวดล้อมทางธรรมชาติ ซง่ึ เป็นตวั กำหนดชนิดของ
พืชหรือสัตว์ที่จะนำมาเป็นอาหาร จะมีการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
และลกั ษณะทางภมู ิประเทศนัน้ ๆ และทำให้มีความแตกต่างท้ังเร่ืองชนิดของอาหารและการเลือกบริโภคอาหาร
ของคนในทวปี นน้ั

3.ปจั จยั ด้านคา่ นยิ มมีผลต่ออาหาร และพฤตกิ รรมการบริโภคอาหารของคนในสังคม ส่งผลให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เช่น พฤติกรรมการบริโภคลอกเลียนแบบการบริโภคตามฐานะ และมีอาหารให้เลือก
รับประทานได้มากขึ้น อาหารจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะบอกเลา่ เรื่องราวและสะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผูค้ น
ในแตล่ ะทวปี ไดเ้ ป็นอย่างดี และมนษุ ยท์ กุ คนจำเป็นจะต้องมีอาหารเพอื่ จะดำรงชวี ิตอยูต่ ่อไป

3

อาหารประจำชาตทิ วปี ยโุ รป
ที่มา: https://aga24h.allianz-assistance.co.th/th/international-food-europe/

วิวฒั นาการอาหารการกนิ สะทอ้ นวัฒนธรรมถิ่น 6 แดนดินโลก

วิวฒั นาการอาหารทวปี ยุโรป

ยุโรปเป็นทวีปที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การที่ทวีปยุโรปมีความ
เจริญทางดา้ นเศรษฐกิจมากกวา่ ทวีปอนื่ ๆ เพราะมคี วามอดุ มสมบรู ณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

พืชพันธ์ในยุโรปส่วนใหญ่เป็นพืชพันธ์ที่อยู่ในเมืองหนาว ประกอบไปโดยส่วนใหญ่คือผักที่ทน ความ
หนาวเยน็ ได้และส่วนใหญ่จะพบขา้ วสาลไี ด้มาก ข้าวชนดิ ตา่ งๆจะนำมาแปรรูปเป็นแปง้ และแปง้ ท่ีไดจ้ ะนำมา
ประกอบอาหารและนำมาทำเป็นขนมปังนำมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ผลไม้ในทวีปยุโรปเมื่อได้
ผลผลิตแล้ว จะนำผลไม้ต่างๆมาแปรรูปเปลี่ยนเป็นแยมและไวน์ชนิดต่างๆ พืชและผลไม้ในทวีปยุโรปจะ
เจรญิ เตบิ โตได้ดี เพราะมสี ภาพอากาศที่อดุ มสมบรู ณ์ การเพาะปลูกนั้นและจะควบคู่กนั การเลย้ี งสัตว์

ทวปี ยุโรปเปน็ พนื้ ท่ีท่ีมีการเล้ียงสัตว์กนั อยา่ งแพร่หลายในทุกประเทศ ลักษณะการเลี้ยงสัตว์จะทำกัน
เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ มีการควบคุมคุณภาพการเล้ยี งสัตว์จะแตกตา่ งกนั ไปตามลกั ษณะภูมปิ ระเทศ มีการนำ
เทคโนโลยีสมยั ใหมเ่ ข้ามาช่วยในดา้ นตา่ งๆ

สตั วเ์ ลีย้ งทส่ี ำคัญของทวีปยุโรปได้แก่ โคเนอ้ื และโคนม เพราะภูมอิ ากาศสว่ นใหญข่ องยุโรปเป็นเมือง
หนาว ผู้คนจึงต้องการอาหารทม่ี ีไขมันจำนวนมากมาประกอบอาหารเพื่อรับประทาน เพิ่มความอบอุ่นให้แก่
ร่างกาย ให้ทนต่ออากาศทีห่ นาวเย็นได้ ก็คือผลผลติ ท่ีจากนมจะนำมาดืม่ และนำไปแปรรูปต่างๆ นอกจากนี้
ยงั มกี ารนำมาทำเนยชนิดตา่ งๆเพ่อื ใชเ้ ปน็ วัตถดุ บิ ในการประกอบอาหาร

การประมงก็ยังเปน็ อาชีพทสี่ ำคัญของชาวยุโรป เนอื่ งจากมสี ภาพแวดล้อมทเี่ ออ้ื อำนวย แหลง่ ท่ีมีปลา
ชุมของทวีปยุโรป อยู่บริเวณทะเลเหนือ เรียกว่า ดอกเกอร์แบงก์ ซึ่งอยู่ในเขตดอกเกอร์แบงก์ ประเทศที่ทำ
อาชพี ประมงได้มากก็จะเป็นประเทศที่อยู่ติดชายฝ่ังทะเลเป็นส่วนใหญ่ ปลาทไี่ ดส้ ว่ นใหญ่จะเปน็ ปลาสเตอร์
เจยี น ซ่งึ นำมาทำเป็นไข่ปลาคาร์เวยี ร์ และนำมาเปน็ วัตถุดบิ ใช้ประกอบอาหาร

เอกสารอ้างอิง
ภมู ศิ าสตร์ทวีปยุโรป. (2564). 4.1 ลักษณะทัว่ ไปทางเศรษฐกจิ ของทวปี ยโุ รป. สบื คน้ 24

สิงหาคม 2564, จาก https://1th.me/lLfs5

5

อาหารประจำชาตเิ อเชียตะวันออก
ทมี่ า: https://sites.google.com/a/wangchin.ac.th/weareasia/xecheiy-ti

วิวัฒนาการอาหารการกินสะทอ้ นวัฒนธรรมถิ่น 6 แดนดินโลก

ววิ ัฒนาการอาหารทวีปเอเชียตะวันออก

อาหาร จะสอดแทรกอยู่ในการปฏิบัติและประเพณี มักจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม เอเชียเป็นทวีปที่
ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด ทวีปเอเชียเป็นท่ีตัง้ ของหลายวัฒนธรรมซึ่งหลายประเทศมีอาหารที่เป็น
เอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ ส่วนผสมที่พบได้ทว่ั ไปในหลายวฒั นธรรมในภมู ภิ าคตะวนั ออกของทวปี ไดแ้ ก่
ข้าว ขิง กระเทยี ม งา พรกิ หวั หอมแหง้ ถัว่ เหลือง และเตา้ หู้ ผัด นง่ึ และ ทอด เป็นวธิ ีการปรุงอาหารทั่วไป
ข้าว เป็นอาหารทั่วไปในทวีปเอเชีย แต่ก็เป็นที่นิยมในภูมิภาคต่าง ๆ ข้าวบาสมาติ เป็นที่นิยมใน ชมพูทวีป
ข้าวหอมมะลิ มักจะพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ข้าวเมล็ดยาวเป็นที่นิยมในจีนและเมล็ดสั้นใน
ญ่ปี ุ่นและเกาหลี

แกง เป็นอาหารทั่วไปในเอเชียตะวันออก อาหารประเภทแกงมีต้นกำเนิดในชมพูทวีป โดยปัจจุบัน
อินเดียตอนเหนือบังกลาเทศและปากีสถานใช้โยเกิร์ตรากฐาน ซึ่งอาหารเอเชียตะวันออก ชาวจีน , ญี่ปุ่น,
เกาหลี, มองโกเลีย, ชาวสิงคโปร์, ชาวไต้หวัน และ ธิเบต ใช้รากฐานจากกะทิ เอเชียเป็นภูมิภาคที่มี
ประชากรมากที่สุดของโลกจึงมีอาหารประจำภูมิภาคมากมาย (โดยเฉพาะในประเทศจีน) ตัวอย่างอาหาร
หลัก ได้แก่ ข้าว, ก๋วยเตี๋ยว, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, อาหารทะเล (ญี่ปุ่นมีการบริโภคอาหารทะเลสูงสุดต่อหัว)
เนื้อแกะ (มองโกเลีย), บ๊อกฉ่อย (ผักกาดขาว) และ ชา อาหารในภูมภิ าคน้ีคล้ายกับอาหารเอเชียตะวันออก
เฉียงใตเ้ นื่องจากการผสมผสานทางวฒั นธรรมและชาติพันธุส์ ารานุกรม

เอกสารอ้างองิ
WY WANGCHINWITTAYA. (2564). เอเชยี ตะวันตกเฉียงใต.้ สบื คน้ 24 สิงหาคม 2564, จาก

https://sites.google.com/a/wangchin.ac.th/weareasia/xecheiy-ti

7

อาหารประจำชาตทิ วปี เอเชียตะวนั ตก
ท่มี า: https://www.haikudeck.com/people-and-culture-of-southwest-asia--north-africa-
education-presentation-UdhyLhUfEt

ววิ ัฒนาการอาหารการกินสะทอ้ นวัฒนธรรมถน่ิ 6 แดนดินโลก

วิวัฒนาการอาหารทวีปเอเชียตะวันตก

เอเชียตะวันตกมีความหลากหลายทางภูมิภาคและมีการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่สูง เช่น ตุรกี
มีเศรษฐกิจที่ใหญต่ ามด้วยซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน อุตสาหกรรมหลักในระบบเศรษฐกจิ คือ ปิโตรเลียม
พืชที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารจะขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิภาคของทวีป เช่น ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าว
บารเ์ ลย์ ปลกู มากในตรุ กี ซเี รีย อริ กั ฝา้ ย ปลกู มากในตุรกี อิสราเอล สม้ อง่นุ มะกอก ปลกู มากในตุรกี ซเี รีย
อิสราเอล และอินทผลมั เป็นพชื ที่ปลุกมากทส่ี ดุ ในเอเชียตะวันตก ปลกุ ตามเขตโฮเอซสิ

ปัจจุบันเอเชียตะวนั ตกมีการพัฒนาการเกษตร เช่น การทำระบบชลประทาน อิสราเอลพัฒนาพื้นท่ี
ลุม่ และทงุ่ หญ้ากึ่งทะเลทรายให้เป็นพ้ืนที่การเกษตร และยงั มโี รงงานน้ำจดื ทน่ี ำน้ำมาจากน้ำทะเลเพ่ือใช้ด่ืม
และใชใ้ นการเกษตร

การเลี้ยงสัตว์ ประชากรในเอเชียตะวันตกจะมีอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนโดยเฉพาะในเขตแห้ง
แล้งของประเทศซาอุดอี าระเบีย ไดแ้ ก่ แกะ แพะ อฐู เกษตรกรจะยา้ ยไปเรื่อยๆเพื่อหาทุ่งหญ้าและแหล่งน้ำ
ในเขตภเู ขาและที่ราบสงู ในประเทศอฟั กานิสถาน อิหร่าน อริ ัก ตรุ กี มกี ารเคล่อื นยา้ ยสตั ว์ไปตามฤดูกาล คือ
ในชว่ งหน้าร้อนจะตอ้ นฝูงแกะ แพะ ข้ึนทีส่ งู เพราะมีท่งุ หญา้ ท่อี ดุ มสมบูรณ์ แต่เม่อื ถึงฤดูหนาวก็จะนำสัตว์มา
เล้ยี งแถบหุบเขาจะสลบั กนั ไปทุกปี

การประมง ตุรกี จะมีการจับปลาซาร์ดีนและทูน่าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อิหร่าน โอมาน
ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จะจับปลาในอ่าวเปอร์เซียและทะเลอาหรับ อิหร่านจะจับ
ปลาสเตอร์เจียนในทะเลสาบแคสเปยี นได้มาก เพราะจะนำมาทำเปน็ ไข่ปลาคาเวยี ร์

เอกสารอ้างองิ
WY WANGCHINWITTAYA. (2564). เอเชียตะวนั ตกเฉียงใต.้ สืบคน้ 24 สงิ หาคม 2562, จาก

https://sites.google.com/a/wangchin.ac.th/weareasia/xecheiy-tawan-tk

9

อาหารประจำชาตทิ วีปแอฟรกิ า
ที่มา: https://hmong.in.th/wiki/Cuisine_of_Africa

ววิ ฒั นาการอาหารการกนิ สะท้อนวฒั นธรรมถิ่น 6 แดนดินโลก

วิวฒั นาการอาหารทวีปแอฟรกิ า

เทคนิคการปรุงอาหารของแอฟริกันกำลังเปลีย่ นไป ในอดีตชาวแอฟริกนั ตะวันตกกินเนื้อสัตวน์ ้อยลง
มากและใช้น้ำมนั พ้นื เมือง ใบเบาบ็อบและผักใบเขียวในทอ้ งถน่ิ จำนวนมากเป็นวตั ถดุ ิบหลกั ในชวี ิตประจำวัน
ในบางช่วงเวลาของปี ทุกวันน้ีอาหารมีเนือ้ สตั ว์เกลอื และไขมันมากขึน้ อาหารหลายอยา่ งประกอบด้วยปลา
และเนื้อสัตว์รวมทั้งปลาแห้งและปลาร้า ปลาทอดและปลาแห้งมักทอดในน้ำมันและบางคร้ังก็ปรุงในซอสท่ี
ประกอบด้วยพริกขี้หนูหัวหอมมะเขือเทศและเครื่องเทศต่างๆ และน้ำเพื่อเตรียมสตูว์ที่มีรสชาติสูง ในบาง
พื้นที่เป็นที่ต้องการเนื้อวัวและเนื้อแกะและเนื้อแพะเป็นเนื้อแดงที่โดดเด่น Suya เคบับเนื้อย่างรสเผ็ดยอด
นิยมปรุงรสด้วยถั่วลิสงและเครื่องเทศอื่น ๆ ขายโดยผู้ขายริมถนนเป็นของว่างหรืออาหารมื้อเย็นและ
โดยทั่วไปจะทำจากเนื้อวัวหรือไก่ เป็นเรื่องปกติที่จะมีอาหารทะเลเด่นกว่าและอาหารทะเลตามที่ระบุไว้
ก่อนหน้านีบ้ างครั้งก็ผสมกับผลติ ภัณฑ์จากเน้ือสตั วอ์ ืน่ ๆ ดว้ ยไข่ไก่

อาหารเช้าส่วนใหญ่ของคนในประเทศแถบแอฟริกันทำจากมันสำปะหลังและข้าวโพด เนื้อสัตว์เป็น
ของแพงและหายาก ประเทศไหนท่ีอยู่ติดทะเลสาบก็อาจได้กินปลา นอกน้นั ตอ้ งอาศัยโปรตีนจากแมลงและ
ถั่ว แต่ในประเทศแถบแอฟริกันส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่ยากจน คนจำนวนมากไม่จำเป็นต้องพยายามอด
เพราะถึงอยา่ งไร พวกเขากไ็ ม่เคยได้รับอาหารเพยี งพออยู่แล้ว ในประเทศยากจนอีกบางแห่ง อย่างเช่นเฮติ
แม้ในมื้ออาหารที่ถือว่า ‘หนัก’ ที่สุด ก็มีการสำรวจพบว่า ครอบครัวหนึ่งที่มีสมาชิก 14 คน ต้องแชร์เน้ือ
แพะปริมาณ 330 กรัมกันกิน เด็กๆ หนึ่งในสาม ได้รับอาหารไม่เพยี งพอ สหประชาชาตปิ ระกาศวา่ มีเด็กท่ี
ต้องเสียชีวิตในแต่ละปีราว 13 ล้านคน จากโรคต่างๆ ที่สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ถ้าหากว่าได้รับวัคซีนและ
อาหารทมี่ ีสารอาหารมากเพียงพอ หลายประเทศในแอฟริกามีอาหารการกินทย่ี ังไม่ค่อยดเี ท่าที่ควร หลายท่ี
ขาดแคลนสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีน แต่กระน้ัน กม็ ตี ัวเลขของ The Guardian บอกวา่ ทุกวนั น้ี เราปลูก
ธญั พืชตา่ งๆ ไมว่ ่าจะเปน็ ขา้ ว ขา้ ววีต หรือธัญพืชอ่ืนๆ ได้มากพอจะสรา้ งพลงั งานใหค้ นทุกคน

เอกสารอา้ งอิง
McCann, James C. (2559). กวนหม้อ: ประวัติศาสตร์ของอาหารแอฟริกัน. สืบคน้ 24 สิงหาคม 2564,

จาก https://hmong.in.th/wiki/Cuisine_of_Africa

11

อาหารประจำชาติทวปี อเมริกา
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/

ววิ ฒั นาการอาหารการกินสะทอ้ นวัฒนธรรมถ่นิ 6 แดนดนิ โลก

วิวฒั นาการอาหารทวปี อเมรกิ า

ทวีปอเมริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ซึ่งรวมกันทั้ง 3 ส่วน คือ อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและ
อเมริกาใต้ มีประชากรทั้งคนพื้นเมืองและคนที่อพยพมาจากหลากหลายที่ที่เข้ามาอยู่รวมกันจึงทำให้ทวีป
อเมริกาได้รับอิทธิพลอย่างมากมายในเรื่องอาหารจากวัฒนธรรมต่างๆเพราะผู้คนจากต่างทวีปมาพร้อมกับ
อาหารประจำชาติ ประจำชนเผ่า ประจำพื้นเองของตน แต่เนื่องจากมีผู้อพยพเข้ามาจึงทำให้มีการ
เปลยี่ นแปลงส่วนผสมเพอ่ื ใหเ้ ข้ากับจำนวนและชนดิ ของวัตถุดิบทมี่ ีในท้องถนิ่ แตก่ ็ยังคงรูปแบบลักษณะของ
อาหารวัฒนธรรมของตนเองไว้จึงทำให้เมนูอาหารในทวีปอเมริกามีความหลากหลายและแตกต่างกันไปใน
แต่ละรัฐแต่ละเมืองในประเทศ ประเทศอเมริกาเป็นประเทศที่มีการส่งออกวัฒนธรรมด้านอาหารและด้วย
ความหลากหลายของภูมิศาสตร์และภูมิอากาศของประเทศจึงทำให้มีผลผลิตทางการเก ษตรที่หลากหลาย
ผักและผลไม้นานาชนิดทำให้อาหารแต่ละประเทศนั้นมคี วามโดนเด่นในเร่ืองรสชาติท่ีแตกต่างกัน ส่วนใหญ่
ผคู้ นในทวปี อเมริกาทำการเพาะปลูก เช่น ตน้ โกโก้ ขา้ วโพด มนั ฝร่งั มนั เทศ พริก อะโวคาโด ถั่วลิสง แต่พอ
ชาวยุโรปอพยพเขา้ มาจึงมีการเร่มิ ทำการปศุสตั ว์ ข้าวสาลี และอลั มอนด์เขา้ มาในทวีปอเมรกิ า

อาหารของทวีปอเมริกาเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากทั่วโลกแต่จะได้รับอิทธิพลสูงสุดจากชาว
ยุโรปจะมีส่วนประกอบหลักเป็นเนื้อสัตว์ พืชผักที่หาได้เฉพาะทวีปอเมริกาและยังได้รับอิทธิพลจากทวีป
แอฟริกาอีกด้วย ผู้คนส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญในการปรุงอาหารทอดและซอสที่มีรสเข้มข้น อาหารของ
อเมริกาใต้จะใช้เนื้อหมูและไก่เป็นวัตถุดิบหลักนิยมใช้การย่างบนเตาถ่านหรือเตาป้ิงบาร์บีคิว พืชท่ีมีผลผลิต
มากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้คือมันฝรั่ง บนชาบฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้มีมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็น
แหล่งรวมอาหารทะเลจำนวนมากและภมู ิภาคทางตอนใต้ของอาร์เจนตินายังมีเนือ้ แกะและเนื้อกวางรวมถึง
ปลาทูน่าและปลาเขตร้อนที่จับได้ทั้งทวีป อาหารทางตอนใต้จะมีวิธีการปรุงแบบชาวแอฟริกันที่ผสมผสาน
กับอาหารอเมรกิ ันได้อยา่ งลงตัว

เอกสารอ้างอิง
วกิ ิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). อาหารอเมรกิ นั . สบื ค้น 24 สงิ หาคม 2564, จาก

https://th.wikipedia.org/wiki/

13

อาหารประจำชาติทวปี ออสเตรเลีย
ที่มา:https://www.hotcourses.in.th/study-in-australia/once-you-arrive/food-in-australia/

ววิ ฒั นาการอาหารการกนิ สะทอ้ นวฒั นธรรมถ่ิน 6 แดนดินโลก

วิวฒั นาการอาหารทวปี ออสเตรเลีย

ในประเทศออสเตรเลียมีอาหารพื้นเมืองหรืออาหารป่า เป็นอาหารหลักของประชากรในท้องถิ่น
ก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่นี่ในปี ค.ศ.1788 และเริ่มมีการเผยแพร่อาหารยุโรป สมัยก่อน
ประชากรในประเทศออสเตรเลียดำรงชีพด้วยการทานลูกเบอรี่ และผลไม้ต่างๆ จากธรรมชาติ สว่ นเน้ือสัตว์
ก็ไดม้ าจากจงิ โจแ้ ละนกอีมู

ประชากรปัจจุบนั ภายในประเทศ มคี วามหลากหลายทางชนชาติทำให้มีการผสมผสานทางวัฒนธรรม
ที่หลากหลายส่งผลให้ประเทศออสเตรเลียมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและอาหาร เพราะได้รับ
อิทธิพลมาจากประเทศอื่น หรือชนชาติต่างๆที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศล้วนมีส่วนสร้างผลประโยชน์
มากมายให้แก่ประเทศออสเตรเลียซึ่งหนึ่งในน้ันก็มีด้านอาหาร เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น
อาหารเกาหลี อาหารกรซี และอ่ืนๆอกี มากมาย

นอกจากชนชาติที่หลากแล้วยังมีการเกษตรอีก เนื่องจากในประเทศออสเตรเลียมีสภาพภูมิอากาศ
และชนิดของดินที่หลากหลายจึงมีการทำเกษตรหลายประเภท เช่น การปลูกผลไม้เขตร้อนและเขตอบอุ่น
การผลิตเมล็ดพืช การปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงเนื้อพันธุ์ที่ดี เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันประเทศออสเตรเลียนิยม
เลี้ยงแกะ พันธเุ์ มอริโน โคเนอ้ื และโคนม สว่ นการประมงทางฝั่งตะวนั ออกจะเลี้ยงปลาค่อนข้างเยอะ จงึ นิยม
จับปลาส่งออกขายเป็นธรุ กิจเป็นสว่ นใหญ่ เชน่ ปลาแซลมอน ปลาฉลาม ทนู า นอกจากน้ยี ังมีการเลี้ยงหอย
มุกที่เกาะเทอร์สเดย์

เอกสารอา้ งอิง
Sutasinee Lertwatcha. (2558). อาหารการกินในประเทศออสเตรเลยี . สบื คน้ 24 สิงหาคม 2564, จาก

https://www.hotcourses.in.th/study-in-australia/once-you-arrive/food-in-australia/

15

ววิ ฒั นาการอาหารการกนิ สะท้อนวฒั นธรรมถิ่น 6 แดนดินโลก

จากวิวัฒนาการอาหารการกินในแต่ละทวีปทั่วโลก ทำให้เราเห็นว่า ในแต่ละทวีปล้วนมีความ
หลากหลายทางด้านอาหารการกิน พฤติกรรมการกินต่างๆ รวมถึงวัถตุดิบที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร
การเลอื กใชว้ ัตถุดิบตา่ งๆนั้นกข็ ึ้นอยู่กบั ความนิยมของคนในท้องถ่ิน อาจจะรวมถงึ ความเชอ่ื หรอื มีปัจจัยอื่นๆ
ทส่ี ง่ ผลตอ่ อาหารทำให้มวี ธิ ีการตา่ งๆแตกต่างกัน โดยแตล่ ะทวปี จะมีวิวฒั นาการอาหารการกนิ ดงั นี้

ทวีปยุโรป จะเป็นทวีปที่มีความเจริญทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก
วัตถุดบิ ทส่ี ำคญั ในทวปี น้ีกจ็ ะเปน็ ข้าวชนดิ ต่างๆ ผู้คนในทวีปยโุ รปจะนำแปง้ ทไ่ี ด้จากขา้ วมาแปรรูปเป็นขนม
ปัง ไว้รับประทาน พืชผักที่มีหัว จะทนต่อความหนาวเย็นได้เป็นอย่างดี ผลไม้ท่ีมีความหลากหลาย ซึ่ง
สามารถนำมาทำไวน์ได้ เพราะผูค้ นในทวีปยโุ รปจะนิยมรับประทานอาหารคู่กับไวน์เปน็ หลัก นอกจากนี้ก็ยัง
มี โคเนื้อ โคนม ผลผลิตที่ได้คือ เนื้อโค และน้ำนมโคก็จะนำมาเป็นวัตถุดิบหลักเช่นกัน เพราะจะมีไขมัน
จำนวนมาก สามารถเพ่ิมความอบอุ่นแกร่ ่างกายได้ มื้อเชา้ ส่วนใหญจ่ ะเปน็ เมนูทีม่ สี ่วนผสมจากแป้ง ซึง่ จะให้
พลงั งานมาก เมนูจากเนอ้ื สตั ว์ ก็จะได้จากสัตวท์ ี่หาไดง้ า่ ยในท้องถน่ิ

ทวปี เอเชยี ตะวนั ออกจะเปน็ แหลง่ รวมหลายวัฒนธรรมและหลายชนชาติ ในแตล่ ะประเทศจะมอี าหาร
ทเ่ี ปน็ เอกลักษณ์ ส่วนผสมท่พี บได้บ่อยในทวปี น้ี คอื ข้าว ขงิ กระเทียม งา พรกิ หัวหอมแห้ง ถั่วเหลืองและ
เต้าหู้ ซึง่ จะเป็นวิธีการปรุงอาหารท่ัวไป ข้าวจะเป็นอาหารหลักของคนในทวีปนี้ นอกจากนก้ี จ็ ะมีเมนูแกงที่
เปน็ อาหารทั่วไป สามารถทำไดง้ า่ ย และเปน็ ทนี่ ยิ มสามารถนำมาดัดแปลงเปน็ อาหารเมนูอ่นื ๆไดห้ ลากหลาย
การประกอบอาหารของผู้คนในทวีปเอเชียตะวันออก จะนำกะทิมาเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหาร
อาหารในทวีปนี้จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่รสชาติ เพราะจะมีการปรุงรสที่มีความจัดจ้าน เมนูจะออกไปทางรส
เผ็ด เครื่องเทศที่ใช้ก็จะมีความร้อนแรง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารจะมีความหลายหลากทางด้านพืช
พนั ธ์แุ ละเนื้อสตั ว์

ทวีปเอเชียตะวันตกมีความหลากหลายทางภูมิภาค อาหารการกินของผู้คนในทวีปนี้จะมีความ
คล้ายคลึงกับทวีปเอเชียตะวันออก พืชที่นำมาเป็นวตั ถุดิบในการทำอาหารจะขึน้ อยู่กับลกั ษณะภูมิภาคของ
ทวปี อย่างเช่น ขา้ วชนิดตา่ งๆ อินทผาลมั เปน็ พืชทีป่ ลูกมากที่สดุ ในเอเชียตะวนั ตก และผลไมช้ นดิ อ่ืนๆ การ
เลี้ยงสตั วใ์ นทวปี นี้ จะมีอาชีพการเล้ยี งแบบเร่ร่อน ยา้ ยถ่ินฐานการเลีย้ งไปเรื่อยๆเพอ่ื หาแหลง่ อาหารให้สตั ว์

17

สัตว์สว่ นใหญก่ จ็ ะเป็น แกะ แพะ อูฐ เนอื้ แกะและแพะ จะนำมาเป็นวตั ถดุ ิบหลักในการประกอบอาหารเป็น
เมนูตา่ งๆ มีการหาปลาเพ่ือมาแปรรูปเปน็ เมนูอาหารชนิดอน่ื ๆด้วย

ทวีปแอฟริกาการปรุงอาหารของแอฟริกนั ในปัจจุบันอาหารมเี นือ้ สตั ว์ และไขมันมากขน้ึ อาหารหลาย
อย่างประกอบด้วยเนื้อสัตว์และปลา เครื่องปรุงของคนในทวีปนี้ จะนิยมเครื่องเทศเป็นหลัก จะได้รสชาติท่ี
ร้อนแรงเป็นเอกลักษณ์เด่นของท้องถิ่น อาหารเช้าส่วนใหญ่ของคนในประเทศแถบแอฟริกันทำจากมัน
สำปะหลังและข้าวโพด เนื้อสัตวเ์ ป็นของแพงและหายากจึงไม่ค่อยนิยมนำมาประกอบอาหาร ผู้คนในแถบนี้
จึงตอ้ งอาศัยโปรตีนจากแมลงและถ่ัว แตใ่ นบางพนื้ ทผ่ี คู้ นสว่ นใหญจ่ ะมฐี านะทยี่ ากจน มลี กั ษณะภูมิประเทศ
จะมีความแห้งแล้ง วัตถุดิบที่จะนำมาประกอบอาหารจึงมีน้อย และหาได้ยาก จึงไม่เพียงพอต่อจำนวน
ประชากร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร เมนูอาหารต่างๆในทวีปไม่ค่อยมีความหลากหลายเหมือนในทวีป
อ่ืนๆ เนือ่ งจากมวี ตั ถุดิบท่จี ำกดั ในปจั จุบันนี้ก็ได้มีการปลูกพชื ผักตา่ งๆเพ่ิมมากขึน้ เพ่ือจะเป็นแหล่งพลังงาน
ให้กบั ประชากรในพน้ื ที่นนั้ ๆ

ทวปี อเมริกาได้รบั อทิ ธิพลอยา่ งมากมายในเร่ืองอาหารจากวฒั นธรรมตา่ งๆเพราะผู้คนจากต่างทวีปมา
พรอ้ มกับอาหารประจำชาติ ประจำชนเผ่า ประจำพ้นื เองของตน ด้วยความอดุ มสมบรู ณ์ทางธรรมชาติ ทำให้
มีผลผลิตทางการเกษตรท่ีหลากหลาย ผกั และผลไมน้ านาชนิด ทำใหอ้ าหารแต่ละประเทศมีความโดนเด่นใน
เรื่องรสชาติและวัตถุดิบ วัตถุดิบหลักที่นำมาประกอบอาหารจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อแกะ และเนื้อกวาง
ซอสท่นี ำมาปรุงกจ็ ะมรี สทเ่ี ขม้ ข้น ทำใหอ้ าหารมรี สชาตทิ ี่อรอ่ ยมากขน้ึ

ทวีปออสเตรเลียมีอาหารพื้นเมืองหรืออาหารป่า เป็นอาหารหลักของผู้คนในท้องถิ่น ประชากรมี
ความหลากหลายทางชนชาติ จึงได้รบั อิทธพิ ลด้านวัฒนธรรมมาจากประเทศอ่ืนๆ และส่งผลไปยงั อาหารการ
กิน ทำให้มีความหลากหลายทางด้านเมนู และวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ทวีปออสเตรเลีย
ยังมสี ภาพภมู อิ ากาศ และสภาพภมู ปิ ระเทศท่ดี ี ส่งผลให้มกี ารเพาะปลูก เช่น ผลไมต้ ่างๆ และพชื ผัก ผคู้ นจะ
นิยมเลี้ยงสัตว์กันอย่างแพร่หลาย สัตว์ส่วนใหญ่จะเป็น จิงโจ้ แกะ โคเนื้อ โคนม ผลผลิตที่ได้ก็จะนำมาเป็น
วัตถดุ ิบหลกั และในทวปี นจี้ ะมกี ารทำประมงจำนวนมาก มปี ลาจำนวนมากและหลากหลายชนิด ดว้ ยปัจจัย
หลายอย่าง ทำให้ทวีปออสเตรเลีย มีอาหารการกินที่อุดมสมบรู ณ์ มีเมนูหลากหลายชนดิ อาหารในทวีปน้กี ็
จะมีเอกลักษณ์เดน่ เฉพาะตวั ทำใหเ้ ป็นที่รู้จักไปทัว่ โลก

ววิ ัฒนาการอาหารการกนิ สะทอ้ นวัฒนธรรมถิน่ 6 แดนดนิ โลก

บทท่ี 1
วิวัฒนาการอาหารยโุ รป

ววิ ฒั นาการอาหารการกนิ สะท้อนวฒั นธรรมถิ่น 6 แดนดินโลก

สว่ นนำ

ยโุ รปเป็นทวปี ที่มีความเจรญิ ทางดา้ นเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการค้าขายต่างๆ การ
ท่ที วปี ยโุ รปมคี วามเจริญทางด้านเศรษฐกิจมากกวา่ ทวปี อนื่ ๆน้ัน เนอ่ื งจากมีปัจจยั หลายอยา่ ง ได้แก่ ความอุดม
สมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ พลังงานต่างๆ ซึ่งนำมาใช้ได้ทั้งการเกษตรและ
อุตสาหกรรม ความเจริญกา้ วหน้าด้านเทคโนโลยี การมีประชากรทีม่ ีคุณภาพ มีการศึกษาสูง เป็นตลาดการค้า
ใหญ่ มแี หลง่ เงินทนุ สำรองมาก และมคี วามม่ันคงทางดา้ นการเมือง

พืชพันธ์ในยุโรปส่วนใหญ่เป็นพืชพันธ์ที่อยู่ในเมืองหนาว ประกอบไปโดยส่วนใหญค่ ือผัก เช่น ผักสลดั
ทีเ่ ป็นตระกูลผกั สลัดท้ังหลาย ตระกูลของพืชที่มีหัว เช่น หัวผักกาดหวาน มนั ฝรงั่ ที่ทนความหนาวเยน็ ได้ กลุ่ม
ธัญพืช ได้แก่ ข้าวสาลี ซึ่งปลูกในไร่ขนาดใหญ่ในทวีปยุโรปและส่วนใหญ่จะพบข้าวสาลีได้มากในเขตทุ่งหญ้า
สเตปป์ ในประเทศเยอรมนี ยูเครน ส่วนข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ ถั่ว และมั นฝรั่ง จะพบใน
ประเทศยเู ครน ข้าวตา่ งๆจะนำมาแปรรูปเปน็ แป้งชนดิ ตา่ งๆและแปง้ ที่ได้จะทำมาประกอบอาหารและนำมาทำ
เป็นขนมปังนำมาเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหาร ผลไม้ในทวีปยุโรปนั้นจะประกอบด้วย ส้ม มะกอก
แอปเปล้ิ และอง่นุ จะปลกู ได้ดใี นเขตอากาศแบบเมดิเตอรเ์ นยี น ในประเทศอติ าลี ฝรัง่ เศส สเปน และกรซี และ
จะนำผลไมต้ า่ งๆมาแปรรูปเปลย่ี นเป็นแยมและไวน์ชนดิ ต่างๆเพื่อเพิ่มความอร่อยในมอ้ื อาหารนนั้ พืชและผลไม้
ในทวีปยุโรปจะเจริญเติบโตได้ดี เพราะ ทวีปยุโรปมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น และพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีอากาศ
อบอุ่น ฤดูเพาะปลูกยาวนาน มีฝนตกเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูก และในทวีปยุโรปไม่ค่อยจะมีปัญหาการ
ขาดแคลนนำ้ การเพาะปลกู นนั้ และจะควบคู่กันการเลยี้ งสตั ว์

ทวีปยุโรปเปน็ พื้นทีท่ ี่มีการเลี้ยงสตั ว์กันอย่างแพร่หลายในทุกประเทศ ลักษณะการเลี้ยงสัตว์จะทำกัน
เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ มีการควบคุมคุณภาพ บางพ้ืนที่ทำเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ควบคู่ไปกับการเพาะปลูกใน
ลักษณะเกษตรแบบผสม การเลี้ยงสัตว์จะแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่
เข้าช่วย เชน่ การคดั เลือกพันธ์ุ การผสมเทียม การตดิ ตามการเจริญเติบโตของสัตว์ และการแปรรปู ผลผลิต

21

สัตวเ์ ล้ยี งทีส่ ำคญั ของทวีปยโุ รป ได้แก่ โคเน้ือ และโคนม เพราะภมู ิอากาศส่วนใหญข่ องยุโรปเป็นเมือง
หนาว ผู้คนจึงต้องการอาหารที่มีไขมันจำนวนมากมาประกอบอาหารเพื่อรับประทาน เพิ่มความอบอุ่นให้แก่
ร่างกาย ให้ทนต่ออากาศที่หนาวเยน็ ได้ ก็คือผลผลิตท่ีจากนมจะนำมาดื่มและนำไปแปรรูปเป็นนมผงสำเร็จรูป
มีการนำมาทำเนยชนิดต่างๆเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร สัตว์ที่มีการเลี้ยงรองลงมา ได้แก่ แกะ
หมู ไก่ ม้า และกวางเรนเดียร์ เพราะเป็นสัตว์ที่เลีย้ งได้ง่าย ทนต่อความหนาวได้ และเนื้อของสัตว์ชนดิ ต่างๆก็
สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร เช่น การทำสเต็กจากเนื้อแกะ การทำสตูว์จากเนื้อสัตว์ต่างๆ
บรเิ วณทเ่ี ลยี้ งสัตว์เป็นจำนวนมาก ไดแ้ ก่ ยโุ รปเหนือ ยโุ รปตะวนั ตก ยโุ รปตะวนั ออก สว่ นบริเวณยุโรปใต้มีการ
เลี้ยงเป็นบางพน้ื ท่ี

การประมงก็ยงั เป็นอาชีพที่สำคัญของชาวยุโรป เนอ่ื งจากมสี ภาพแวดล้อมที่เอ้ืออำนวย แหล่งท่ีมีปลา
ชมุ ของทวีปยโุ รป อย่บู รเิ วณทะเลเหนือ เรยี กว่า ดอกเกอร์แบงก์ ปลาทีจ่ บั ได้ คอื ปลาคอด เฮอริง แมคเคอเรล
แฮดดอก แฮลิบัท ซาร์ดีนซึ่งอยู่ในเขตดอกเกอร์แบงก์ ประเทศท่ีทำอาชีพประมงได้มากก็จะเป็นประเทศที่อยู่
ติดชายฝั่งทะเลเป็นส่วนใหญ่ ปลาที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นปลาสเตอร์เจียน ซึ่งนำมาทำเป็นไข่ปลาคาร์เวียร์ และ
นำมาเปน็ วตั ถดุ บิ ใช้ประกอบอาหาร

วิวฒั นาการอาหารการกินสะท้อนวัฒนธรรมถิน่ 6 แดนดนิ โลก

เนื้อหาในบทที่ 1 จะกล่าวถึง อาหารของทวีปยุโรป ในทวีปยุโรปนี้ แต่ละประเทศก็จะมีอาหารที่
แตกต่างกันออกไป จะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของประเทศนั้นๆ เช่น การเลือกใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นมาประกอบ
อาหาร โดยแต่ละประเทศก็จะมีวัตถุดิบท้องถิ่นที่ไม่เหมือนกัน การเลือกใช้เครื่องปรุงต่างๆที่ทำให้รสชาติของ
อาหารน้นั อร่อยมากขนึ้ วธิ กี ารประกอบอาหาร รปู แบบการวางจาน หรอื การจัดเรียงจาน ท่ีเตรียมพร้อมเสิร์ฟ
รวมไปถึงวิธกี ารรับประทาน โดยจะแบ่งเป็นอาหารมือ้ เชา้ อาหารท่ีไมห่ นักเกนิ ไปแตใ่ ห้พลังงานเยอะ ไดแ้ ก่
ไส้กรอกไวสส์วูร์สท์ ประเทศเยอรมัน ฟองดูว์ชีส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซุปบอร์ช ประเทศยูเครน ซุป
บัลแกเรีย ประเทศบัลแกเรีย อาหารจานหลัก เป็นอาหารที่หนักเน้นโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ฟัวกราส์
ประเทศฝรั่งเศส เลฟซ่า ประเทศนอร์เวย์ สปาเก็ตตี้คาโบนาร่า ประเทศอิตาลี กูลาช ประเทศฮังการี อาหาร
หวาน เป็นอาหารระหว่างมื้อที่นิยมทานเล่น ได้แก่ ขนมฝอยทอง ประเทศโปรตุเกส สโคน ประเทศอังกฤษ
วาฟเฟิล ประเทศเบลเยยี่ ม ขนมปังบาแก็ตต์ ประเทศฝรัง่ เศส

23

ไสก้ รอกไวสส์วรู ส์ ท์ (Weisswurst)
ทม่ี า: https://www.strudelandschnitzel.com/weisswurst/

วิวฒั นาการอาหารการกนิ สะทอ้ นวฒั นธรรมถ่นิ 6 แดนดินโลก

ไส้กรอกไวสส์วูรส์ ท์ (Weisswurst) อาหารประจำชาติเยอรมนั

ประเทศเยอรมนี เป็นประเทศที่นิยมรับประทานเนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อไก่ ชาวเยอรมันจะนิยม
รับประทานเนื้อวัวที่อยู่ในรูปแบบของไส้กรอกมากที่สุด โดยไส้กรอกเยอรมันเป็นอาหารยอดนิยม
ภายในประเทศและถือเป็นตวั แทนวัฒนธรรมการกินของชาวเยอรมัน โดยชาวเยอรมันชน่ื ชอบและเริ่มทำไส้
กรอกมานานหลายร้อยปี สืบทอดวิธกี ารทำไส้กรอกกันรุ่นต่อรุน่ ภายในครอบครัว แตล่ ะภูมิภาคจะพัฒนาวิธี
ทำไส้กรอกท่ีแตกต่างกัน ซ่งึ ในปัจจุบนั ประเทศเยอรมนมี ีไส้กรอกมากกวา่ 1,500 ชนิด ในแต่ละเมืองจะมีไส้
กรอกสูตรเฉพาะของตัวเอง 1 ชนิด โดยมีชนิดของไส้กรอกที่น่าสนใจเป็นชนิดดั้งเดิมและเป็นเมนูพื้นเมือง
ของแควน้ บาวาเรยี ทางตอนใตข้ องประเทศ คอื ไวสสว์ รู ส์ ท์

ไวสส์วูร์สท์ มีต้นกำเนิดมาจากแคว้นบาวาเรียอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนีทำจากเนื้อลูกวัว
ผสมกบั เนอ้ื หมู ใสพ่ าสลีย์ หัวหอม เลมอน ลูกกระวาน ขิง และดอกจนั ทน์เทศ วธิ ีทำคอื นำไปต้มในนำ้ ร้อนท่ี
ยังไม่เดือด เมื่อสุกแล้วเนื้อไส้กรอกจะมีสีขาวอมเทา วิธีการกินมีหลายวิธีโดยวิธีดั้งเดิมคือการตัดหรือกัด
ปลายไส้กรอกให้เปิดแล้วดูดเนื้อไส้กรอกออกจากเปลือก วิธีที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กันคือการผ่าไส้กรอก
ตามยาวแลว้ ใช้ส้อมรีดเนื้อไส้กรอกออกจากเปลือก และเนื่องจากไส้กรอกไวสส์วรู ์สท์ไมไ่ ด้ใสส่ ารไนไตรท์ซ่ึง
เป็นสารกันบูดดังนั้นตามธรรมเนียมเดิมจะนิยมทำไวสส์วูร์สท์ตอนเช้าและกินเป็นอาหารว่ างในระหว่างมื้อ
เช้าไม่เกินมื้อเที่ยง ซึ่งในปัจจุบันยังมีชาวแคว้นบาวาเรียจำนวนหน่ึงที่ยังไม่ยอมกินไส้กรอกไวสส์วูร์สท์หลัง
มื้อเที่ยงเพราะยังยึดการทำตามวัฒนธรรมที่มีมา และจัดเสิร์ฟในชามขนาดใหญ่ที่ใส่น้ำร้อนไว้เพื่อไม่ให้ไส้
กรอกเย็นตัวลงพร้อมกับเครื่องเคียงคือ มัสตาร์ดหวาน เบียร์ และขนมเบรเซิน เนื่องจากการทำไส้กรอก
ไวสส์วูร์สท์ไม่ได้ใส่สารกันบูดหรือผ่านการรมควันการถนอมอาหารอื่น ๆ ทำให้บูดและเสียได้ง่ายจึงมีความ
เชอ่ื พน้ื บ้านในแคว้นบาวาเรียวา่ ห้ามกินไส้กรอกไวสส์วรู ์สท์ตอนได้ยนิ เสียงระฆงั จากโบสถ์ในท้องถ่ิน

เอกสารอา้ งองิ
Breakfastinnovation. (2021). ไวสส์วรู ส์ ท์ (Weisswurst หรือ Weiβwurst). สบื คน้ 14 สิงหาคม

2564, จาก https://www.breakfastinnovation.com/

ผ้เู รียบเรยี ง เลขท่ี 73 นางสาวไพรินทร์ พงษพ์ ลู

25

ฟองดูวช์ สี (Cheese Fondue)
ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/

วิวฒั นาการอาหารการกนิ สะท้อนวฒั นธรรมถิ่น 6 แดนดนิ โลก

ฟองดวู ช์ ีส (Cheese Fondue) อาหารประจำชาติสวิตเซอร์แลนด์

ฟองดวู ์ชสี เมนูประจำชาติสวติ เซอรแ์ ลนด์ วฒั นธรรมทสี่ ามารถสัมผสั ได้ คือ การไดล้ มิ้ ลองอาหาร
ของประเทศและในท้องถนิ่ มีความอร่อยเฉพาะตัว และเป็นแบบต้นตำรับ สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่
สามารถผลติ สนิ ค้าประเภทนมได้ดีท่สี ุดในโลก ชสี สวิตเซอรแ์ ลนดจ์ ะมรี สชาติหอมมัน

ฟองดูว์ชีสเป็นอาหารที่ชาวสวิตเซอร์แลนด์รับประทานกันในช่วงฤดูหนาว มาตั้งแต่สมัยโบราณเพ่ือ
สรา้ งความอบอุ่นให้แกร่ ่างกาย หนา้ หนาวเปน็ ฤดูทผี่ ลผลติ ตำ่ ชาวสวติ เซอรแ์ ลนดจ์ ึงมีชสี ท่ีหลากหลายชนิด
ทำเตรียมไว้อุ่นรวมกันในหม้อเสิร์ฟในหม้อเคลือบกาเกอลง ตั้งไว้บนเตาพกพา ใช้ส้อมด้ามยาว มีไวน์ขาว
กระเทยี ม เสิรฟ์ พรอ้ มกบั ขนมปังก้อนเลก็ และมนั ฝร่ัง

เป็นการใช้อาหารที่กักตุนไว้ ซึ่งมาจากส่วนผสมด้วยชีสสวิตเซอร์แลนด์สามชนิด คือ ชีสกรูว์แยร์ ชีส
อัพเพนเซลเลอร์ และชีสเอมเมนทัล แต่เนื่องจากชีสละลายยาก จึงการเคี่ยวพร้อมกับไวน์ขาว และตกแต่ง
กลิ่นกับรสชาติ ด้วยเหล้าเชอร์รี่เล็กน้อย ห้องอาหารสวิตของ วีโว่ เบเน วิลเลจ เป็นต้นตำรับ มีความพิเศษ
ของชีสฟองดูว์ของสถานที่แหง่ น้ี ขนมปงั สำหรบั จุ่มชสี ยังเป็นแปง้ โฮมเมด ที่มสี องสี สองรสชาติ ทำจากแป้ง
ซาวโดวส์ ขี าว รสเปรยี้ ว และ แป้งซิลเวอร์สีนำ้ ตาล รสหวาน

วิธีการกินฟองดูว์ชีส คือ การใช้ไม้ปลายแหลมมีลักษณะเหมือนซ้อมจิ้มขนมปัง หรือมันฝรั่ง และจุ่ม
ลงไปในหม้อชีส ไมไ่ ด้มีแค่ขนมปงั ยงั มีเน้ือสัตว์จุ่มนำ้ มัน และของหวาน คอื ผลไม้จุ่มช็อคโกแลต
จะทำฟองดวู ์ส่วนผสมมีไม่มาก คือ มอสซาเรลลา่ ชสี นมสด แปง้ ข้าวโพด พริกไทย เกลอื วิธที ำก็ไม่ยากมาก
อุ่นนมให้ร้อนผสมแป้งข้าวโพดลงไปคนให้ละลายพักไว้ เทมอสซาเรลล่าลงในชามทนความร้อนเทนมลงไป
คนใหเ้ ข้ากนั เต็มพรกิ ไทย เกลืออีกนดิ หนอ่ ยความลับของชาวสวิตเซอร์แลน คือ ใครไดท้ านฟองดูก้นหม้อท่ีมี
ชีสแขง็ นน้ั จะโชคดี

เอกสารอา้ งอิง
by spoon&fork. (2560). Main Dish: ชสี ฟองดูว์ ต้นตำรบั ของชาวสวิสเซอรแ์ ลนด์ จากห้องอาหาร Rössli

Swiss Restaurant. สืบคน้ 15 สิหาคม 2564, จาก https://1th.me/hhnQ7

ผเู้ รยี บเรียง เลขท่ี 74 นางสาวภิญญดา คหู าพฒั นกลุ

27

ซปุ บอรช์ (Borscht)
ที่มา: http://1ab.in/bkFG

วิวัฒนาการอาหารการกนิ สะทอ้ นวฒั นธรรมถ่นิ 6 แดนดินโลก

ซุปบอรช์ (Borscht) อาหารประจำชาติรสั เซีย

ชาวรสั เซียส่วนใหญ่ เปน็ ผูท้ ่นี บั ถือศาสนาครสิ ตน์ ิกายออรโ์ ธดอกซ์ จงึ นิยมรับประทานผกั และงดทาน
เนื้อนมไข่ อาหารการกินของชาวรัสเซีย เน้นความเรียบง่ายในการทำ และเนื่องด้วยภูมิอากาศเป็นเมือง
หนาว จึงนิยมทานซุป ซุปที่นิยมของชาวรัสเซียคือ ซุปบอร์ช (Borscht) เป็นซุปที่นิยมอย่างแพร่หลายใน
ทวปี ยโุ รป ซ่งึ เปน็ ซุปพ้นื เมืองประจำชาติรัสเซียท่ีมีถิ่นกำเนิดมาจากยูเครนมีความคลาสสิกมาอย่างยาวนาน
นับร้อยพันปีมคี ำบอกเลา่ ว่าการดูผูห้ ญิงรัสเซียมาเป็นภรรยานัน้ ให้ดูจากการปรุงซุปบอร์ช ซุปบอร์ชนีท้ ำมา
จากผักหลากหลายชนิด แต่วตั ถดุ บิ หลกั ทข่ี าดไม่ได้เลยคือ บที รทู ทท่ี ำใหซ้ ปุ มีสแี ดงอมม่วงสวยสด ตามด้วย
หัวหอม แครอท กะหล่ำปลี มันฝรั่ง มะเขือเทศ สามารถผสมเนื้อสตั ว์เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัวที่เคี่ยวจนนุ่มลงไป
ด้วยก็ได้ตามใจชอบ เพื่อเพิ่มพลังตามลักษณะของซุปเมืองหนาว เสิร์ฟร้อนๆพร้อมซาวครีมที่ให้รสสัมผัส
ความเปรี้ยวและความหวานจากผัก ทำให้เมนูนี้มีความอร่อยกลมกล่อมมากขึ้น บอร์ชเป็นอาหารท่ี มีการ
กล่าวอ้างว่าเป็นอาหารประจำชาติในหลายประเทศหลายชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวยูเครน รัสเซีย
โปแลนด์ ลทิ วั เนีย และชาวยิวอาซเกนาซี โดยแทจ้ รงิ แลว้ ซปุ นี้เปน็ ของยูเครน

ซุปบอร์ชมีความสำคัญทางด้านวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย ในด้านศาสนา เป็นเมนูมังสาวิรัติมัก
รับประทานในเทศกาลถือศีลอด เป็นหนึ่งในอาหารมื้อค่ำที่ฉลองในวันมาสเตอร์อีฟ ถือเป็นอาหารสำคัญ
ในช่วงเทศกาลปัสกาเนื่องจากเป็นวันหยุดในฤดูใบไม้ผลิใช้หัวบีทเปรีย้ วที่เหลือจากบีทรูทดองบริโภคในฤดู
หนาว และซปุ บอรช์ ยังนำไปเป็นเซน่ ไหว้กบั บรรพบุรุษท่ลี ว่ งลับไปแล้วในพิธี Forefathers' Night.

เอกสารอ้างอิง
Imageholidaythailand. (2561). ซุปบอรช์ (Borsch Soup) ซปุ พืน้ เมอื งประจำชาตริ ัสเซยี กบั ความ

คลาสสกิ ยาวนานนับรอ้ ยปี. สืบค้น 14 สิงหาคม 2564, จาก http://1ab.in/bkFK

ผเู้ รียบเรยี ง เลขที่ 75 นางสาวมณรี ัตน์ ชูสวุ รรณ

29

ซปุ บลั แกเรีย (Tarator)
ที่มา: https://ichi.pro/th/tarator-sup-yo-keirt-yen-taengkwa-101179681963041

วิวฒั นาการอาหารการกินสะทอ้ นวัฒนธรรมถ่นิ 6 แดนดนิ โลก

ซปุ บลั แกเรยี (Tarator) อาหารประจำชาติบลั แกเรยี

บัลเเกเรยี เป็นต้นกำเนิดโยเกริ ์ต ประเพณีของบลั แกเรียจะนยิ มทำโยเกิรต์ และทานกันเป็นประจำ โดย
โยเกริ ์ตในบัลเเกเรยี จะเปน็ สตู รโบราณด้ังเดิม นอกจากนี้ในบัลแกเรียยังเป็นเเหลง่ กำเนดิ ซุปที่มชี ่ือเสียง คือ
Tarator ซุปนี้จะทำด้วยนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต เป็นซุปที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เกิดระหว่างการอพยพของคน
ในช่วง 5-7 ศตวรรษ

Tarator เป็นซุปโยเกิร์ต-เเตงกวาเย็น นิยมมากในบัลแกเรีย และเป็นที่นิยมทานกันในช่วงฤดูร้อน
เป็นซุปที่ทำมาจากโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว ส่วนผสมจะประกอบไปด้วย โยเกิร์ต แตงกวา ครีม วอลนัท
พริกไทย เกลือ กระเทียม น้ำมันพืช ความเผ็ดของตัวซุปจะได้มาจากกระเทียม ส่วนความหอมจะได้มาจาก
ผักชถี า้ ทำซปุ เขม้ ข้นมากเกนิ ไป เราสามารถเเกไ้ ขโดยการเติมน้ำเพื่อให้ซุปมีความเข้มข้นท่นี ้อยลงได้ ถ้าไม่มี
โยเกริ ต์ ด้งั เดิมของบัลเเกเรีย จะใช้ Kefir แทนได้ Kefir คือ นมเปรยี้ ว ทที่ ำมาจากการหมัก เป็นซุปท่ีเหมาะ
กับคนที่ควบคุมน้ำหนัก เพราะมีเเคลอรี่ที่ต่ำมากแถมยังเป็นตัวช่วยที่ดับกระหายได้ดีและที่สำคัญซุปนี้ยังมี
ประโยชนอ์ กี ด้วย เพราะมวี ติ ามินซเี เละเเรธ่ าตุ วธิ ีการเสิร์ฟจะเสิร์ฟได้ทั้งในจานหรือจะเทลงเเก้วก็ได้ และ
ยังเสิร์ฟเป็นกับข้าวหรือเสิร์ฟเป็นเครื่องดื่มได้เช่นกัน ถ้าเสิร์ฟพร้อมกับอาหารจานหลัก ซุปนี้จะเป็น
เครื่องดื่มแทน และนอกจากนี้ก็ยังสามารถเสิร์ฟเป็นเครื่องเคียงที่ทานคู่กับสลัดได้อีกเช่นกัน เป็นซุปที่เบา
เเละดีต่อสุขภาพ ก่อนจะนำซุปไปรับประทานควรนำไปเเช่เย็นก่อนเพื่อความอร่อยเเละสดชื่น ซุปโยเกิร์ต-
แตงกวานี้ยังเป็นอาหารที่นิยมทานในตุรกีและทางตอนใต้ของรัสเซีย ในตุรกีซุปนี้จะพบในช่วงของวันหยุด
และในทางตอนใต้ของรฐั เซียจะรับประทานกนั โดยทำเเตงกวาเเบบขูดแทนเเบบการหนั่ เป็นช้นิ ๆ

เอกสารอ้างองิ
ICHI.PRO. (2563-2564). Tarator-ซุปโยเกริ ์ต-แตงกวาเย็น. สบื ค้น 15 สงิ หาคม 2564, จาก

https://ichi.pro/th/tarator-sup-yo-keirt-yen-taengkwa-10117968196304

ผู้เรียบเรียง เลขท่ี 76 นางสาวมนญั ญา อะโน

31

ฟัวกราส์ (Foie Gras)
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/

ววิ ัฒนาการอาหารการกนิ สะทอ้ นวฒั นธรรมถ่นิ 6 แดนดนิ โลก

ฟวั กราส์ (Foie Gras) อาหารประจำชาติฝร่ังเศส

ฟัวกราส์ เป็นภาษาฝรั่งเศสที่แปลวา่ ตับอ้วน ทำมาจากตับเปด็ หรือตับห่านที่มไี ขมันสูงมาก ส่วนมาก
จะทำมาจากตับห่านเพราะจะมีเน้ือที่น่มุ กว่าตบั เปด็ ตับท่ีไดจ้ ะเป็นเนือ้ ท่ตี ึงและแห้งกว่า ฟัวกราส์มีลักษณะ
เด่น คือ จะมีเนื้อที่นุ่มและละมุนลิ้น เป็นที่ยอมรับว่ามีรสชาติล้ำเลิศ เป็นที่ถูกปากของคนทั่วโลก ฟัวกราส์
ถกู คน้ พบมากกวา่ 4,000 ปมี าแล้ว ในอารยธรรมอียิปต์สมยั น้ันเร่ิมจากการขุนนกโดยวธิ ีการให้อาหารบังคับ
กนิ ให้อ้วนเพ่ือเกบ็ ไว้ทำอาหาร แตใ่ นปัจจุบนั ไดม้ ีการเปลย่ี นแปลงวธิ ีการมาทำกับห่านหรือเป็ดแทน โดยใน
ปีค.ศ. 2005 นนั้ ทั่วโลกไดม้ กี ารผลติ ฟวั กราส์ ประมาณ 23,500 ตนั ซ่ึงประเทศฝร่ังเศส นัน้ ก็เป็นประเทศที่
ผลิตได้มากที่สุดถึง 18,450 ตัน ตับห่านหรือตับเป็ด ที่ถูกขุนให้อ้วนขึ้นเป็นพิเศษ กว่าจะได้ตับของห่าน
หรือเป็ดมานั้น ต้องผ่านกระบวนการให้อาหารที่โหดร้าย หรือเป็นการทารุณสัตว์ นั่นก็คือการบังคับกิน
หรอื การบงั คับป้อนอาหารให้กับห่านและเป็ดในปริมาณที่มากกวา่ ปกติ เพ่ือให้ตับนน้ั มีปริมาณท่ีใหญ่กว่าตับ
ห่านและเป็ดทั่วไปหลายเท่า เทคนคิ การให้อาหารแบบนส้ี ืบทอดกันมาถึง 2500 ปกี ่อนครสิ ตกาล ในอียิปต์
โบราณ แต่เดิมแหล่งผลิตฟัวกราส์ที่ดีที่สุดจะอยู่ในเมืองตูลูซ ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส การผลิตและบริโภค
ฟวั กราส์น้ันไดแ้ พร่ขยายไปท่ัวโลก แตฝ่ ร่ังเศสกย็ งั เป็นประเทศท่ผี ลติ และนยิ มบรโิ ภคฟัวกราส์มากท่ีสุด การ
ผลิตฟัวกราส์ในหลายพืน้ ท่นี ั้นยังถอื เปน็ สง่ิ ท่ผี ดิ กฎหมาย เพราะมวี ธิ ีการทโี่ หดร้าย เป็นการทรมานสตั ว์

ในปจั จุบันน้ีมีการนำฟวั กราส์มาประกอบอาหารไดห้ ลากหลายชนดิ แตกตา่ งกันไปในแต่ละพื้นท่ี ใน
ฝรั่งเศสนิยมรับประทานฟัวกราส์ในโอกาสพิเศษเท่านั้น เช่น ในวันคริสต์มาสหรือในช่วงเวลาเยน็ ของปใี หม่
แตห่ ากจะทานเนือ้ ฟวั กราส์ให้อร่อยกวา่ เดิมน้นั ควรรบั ประทานคู่กับไวนช์ นดิ ตา่ งๆ เสิร์ฟเน้ือฟัวกราส์พร้อม
ซอส และเครอ่ื งเคียงผลไมท้ มี่ ีรสเปรี้ยวอ่อนๆจะทำให้อาหารอร่อยยง่ิ ข้ึน

เอกสารอา้ งอิง
วิกิพเี ดีย สารานกุ รมเสรี. (2564). ฟวั กรา. สืบค้น 15 สงิ หาคม 2564, จาก

https://th.wikipedia.org/wiki/

ผู้เรยี บเรียง เลขท่ี 77 นางสาวมารษิ า แกว้ จนั ทร์

33

เลฟซา่ (Lefse)
ท่ีมา: https://www.thespruceeats.com/basic-lefse-recipe-2952663

ววิ ฒั นาการอาหารการกนิ สะท้อนวัฒนธรรมถน่ิ 6 แดนดนิ โลก

เลฟซ่า (Lefse) อาหารประจำชาตินอรเ์ วย์

เลฟซ่าเกิดจากประเทศนอร์เวย์ประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกมันฝรั่งส่งผลให้มันฝรั่งมีจำนวน
มากในประเทศนอรเ์ วยเ์ หตุนีจ้ ึงต้องนำมันฝรั่งมาแปรรปู เพ่ือลดการเน่าเสยี ของมันฝร่ังจึงเกิดเป็นอาหารที่มี
ชื่อว่า เลฟซ่า ที่ทำมาจากการนำมันฝรั่งต้มบดมาทำให้เป็นเเผ่นๆที่มีลักษณะคล้ายโรตีเเผ่นใหญ่และทาเนย
ด้านบน เมอ่ื ผลติ เลฟซ่าได้เเลว้ จะนำไปเกบ็ ไว้ในอาคารเก็บขนาดเล็กท่ีเรยี กว่า bryggehaus เลฟซ่าจะนิยม
รบั ประทานในช่วงวันหยุดครสิ ต์มาส วันขอบคุณพระเจ้า และผ้คู นไดเ้ หน็ ถงึ ความสำคัญของเลฟซา่ จงึ ได้มีวัน
เฉลิมฉลองจะจัดขึ้นทุกปี ต่อมาชาวนอร์เวย์ได้อพยพไปอเมริกายุคเเรกๆได้นำเลฟซ่าพกติดตัวมากินขณะ
เดินทางจึงทำให้ชาวอเมริกันรู้จักเลฟซ่า เมื่อใช้คำว่า เลฟซ่า(Lefse) ในสหรัฐอเมริกาจะหมายถึงสิ่งที่ชาว
นอร์เวยเ์ รยี กวา่ เลฟสม์ นั ฝรั่ง ตอ่ มาชว่ งสงครามโลกครงั้ ท่ี1 ชาวอเมริกันได้รบั การสนบั สนุนใหก้ ินมันฝรั่งเพ่ือ
เป็นการรักชาติเนื่องจากจำเป็นต้องใช้ข้าวสาลีเพื่อไปเลี้ยงทหารในเเนวหน้า เลฟซ่าจึงเป็นอาหารหลัก
สำหรบั ชาวอเมริกนั ท่ีถูกกนิ อยา่ งเอร็ดอรอ่ ย

ในปจั จบุ ันชาวนอรเ์ วย์ได้รบั ประทานเลฟซ่าพร้อมกับอาหารค่ำเเต่ในทุกวันนช้ี าวนอร์เวย์นิยมซื้อมาร
กินมากกกว่าการทำเองในขณะที่ชาวนอร์เวย์-อเมริกันในสหรัฐอเมริกาปัจจุบันทำเลฟซ่าเองในเทศกาล
คริสต์มาสและเลฟซ่าเป็นอาหารวันหยุดแบบดั้งเดิมที่สามารถนำครอบครัวมารวมกันได้ในขณะที่ทุกคน
ชว่ ยงานต่างๆเก่ยี วข้องกบั การทำอาหารอีกด้วยเเละในปัจจบุ ันผู้คนได้สรา้ งสรรค์เลฟซ่าในดเู ข้ากับยุคสมัยนี้
ด้วยการใส่ไส้พวก ปลาทูน่า ไก่หรือสลัดไข่ กินเป็นมื้อกลางวัน ทาแยมชอคโกแลตสเปรดหรือซอสแครน
เบอร์ร่ี กนิ เปน็ ของหวาน ถ้าจะกนิ เป็นอาหารเชา้ กเ็ ติมไข่คนเเละเบคอน

เอกสารอา้ งอิง
Wikipedia. (2564). Lefse:เลฟซ่าต้นตำรับของชาวนอรเ์ วย์. สบื คน้ 15 สงิ หาคม 2564, จาก

https://en.wikipedia.org/wiki/Lefse

ผเู้ รยี บเรยี ง เลขท่ี 78 นางสาวมนิ ทดา สรอ้ ยสมยา

35

สปาเก็ตต้คี าโบนาร่า (Carbonara)
ที่มา: https://snpfood.com/restaurant/highlightmenu/spaghetti-carbonra/

วิวัฒนาการอาหารการกนิ สะท้อนวัฒนธรรมถิน่ 6 แดนดินโลก

สปาเกต็ ตค้ี าโบนารา่ (Carbonara)อาหารประจำชาติอติ าลี

ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงที่ชาวอิตาลี ประสบภาวะขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค
อย่างหนกั ทำให้พ่อครัวเอาไข่ผงที่ทหารอเมริกนั สง่ มาใหม้ าผสมกับสปาเกตตีทีเ่ ป็นอาหารประจำชาตจิ นเกิด
เป็น carbonara ขึ้นมา จนกระทั่งทหารอเมริกันกลับสู่บ้านเกิด พวกเขาก็ยังนำเมนูนี้กลับไปเผยแพร่ใน
สหรัฐอเมริกาในชอ่ื สปาเกตตใี นซอส Carbonara

Carbonara เป็นซอสราดพาสต้าสูตรเด็ดจากทางอิตาลี โดยจะมีวัตถุดิบหลักคือ วัตถุดิบหลักของ
พาสต้าCarbonara ประกอบด้วย เสน้ พาสตา้ หอมใหญ่ เบคอน เนย ไข่แดง วิปปงิ้ ครีม พาเมซานชีส เกลือ
+ พรกิ ไทดำ และในบางส่วนอาจจะมีการเพิม่ เหด็ และแฮมเข้าไปเพ่ือทำให้เกิดรสชาติที่ดีมากย่ิงขนึ้ ลักษณะ
ของซอสคาโบนารา่ จะมีความเข้มขน้ ออกสเี หลอื ง และให้รสชาติท่ีหวานมันลงตัว

ตามประวัติโบราณแล้วเมนูพาสต้าราดครีมซอส carnonaraเป็นอาหารที่ถูกทำขึ้นให้แก่ทหารของ
กองทัพอเมริกันและกองทัพอิตาลี เพราะทำง่ายด้วยการทำครีมชีสกับไข่แดงและเบคอนเท่านั้น พร้อมราด
บนเส้นพาสต้าร้อนๆ ถือว่าเป็นเสบียงอาหารรสชาติดีที่ทำให้ทหารอเมริกันนำสูตรกลับมาเผยแพร่ต่อและ
ปรับเปลี่ยนสตู รใหมจ่ นกลายเป็นสตู รของอเมริกันเอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Carbonara สูตรดั้งเดิมของทาง
อิตาลียงั คงให้รสชาติทด่ี ีและมชี ่ือเสียงทโี่ ด่งดังมาจนถึงปจั จุบัน

เอกสารอา้ งองิ
อรอ่ ยง่ายๆสไตล์อิตาล่ี. (2564). สปาเก็ตต้คี าโบนาร่า. สืบคน้ 19 สิงหาคม 2564, จาก

https://mid34822.wordpress.com/

ผู้เรียบเรยี ง เลขท่ี 79 นางสาวรกั ษณิ า เพชรเอยี่ ม

37

กลู าช (GOULASH)
ที่มา: https://aga24h.allianz-assistance.co.th/th/international-food-europe/

วิวฒั นาการอาหารการกินสะท้อนวฒั นธรรมถ่ิน 6 แดนดนิ โลก

กลู าช (GOULASH) อาหารประจำชาติฮงั การี

กูลาช (GOULASH) คือสตูหรือบางครั้งอาจจะทำเป็นซุปก็ได้ เป็นอาหารที่ทำมาจากเนื้อสัตว์และผัก
โดยเฉพาะมันฝรั่งเคี่ยวในของเหลวจนเปื่อย กูลาชจะใส่เนื้อสัตว์อย่างเช่นเนื้อวัว เนื้อหมู หรือเนื้อแกะเป็น
ส่วนใหญ่ ปรุงรสด้วยปาปริก้า เครื่องเทศ รับประทานร้อนๆคู่กับขนมปังแผ่นบางๆและกูลาชแบบข้นนิยม
รับประทานคู่กับพาสต้า ซึ่งแม่บ้านในอดีตมักจะเคี่ยวกูลาชเก็บไว้รับประทานหลายวัน กูลาชเป็นอาหารท่ี
นยิ มรบั ประทานกนั เปน็ หลักในยุโรปกลาง

กลู าชไดร้ ับความนยิ มอย่างมากจนเปน็ หนึ่งในสัญลักษณ์และอาหารประจำชาติของประเทศฮังการี กู
ลาชเกิดขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยคนเลี้ยงแกะชาวฮังการี มีการเดินทางข้ามทวีปยุโรปจึงต้องมีการ
จัดเตรียมเสบียงอาหาร คนเลี้ยงสัตว์จะนำเนื้อสัตว์มาปรงุ สุกพร้อมกับหัวหอมในกาต้มน้ำแล้วตั้งไฟจนกวา่
ของเหลวจะหายไป หรือนำเน้ือสัตวม์ าปรุงสกุ แล้วทำให้แห้งจากแสงอาทิตย์ จากน้ันนำมาบรรจุลงในถุงท่ีทำ
มาจากกระเพราะอาหารของแกะ วิธีการรับประทานก็คือเติมน้ำร้อนลงไป ในสมัยนั้นยังไม่มีการนำเข้าของ
ปาปริก้าจึงไม่ได้ใส่ จนมาถึงในช่วงคริสตศ์ ตวรรษที่ 16 เริ่มมีการนำเขา้ จงึ เริ่มใส่ปาปริก้าตัง้ แตต่ อนน้ันเป็น
ตน้ มา

เอกสารอา้ งองิ
วกิ ิพีเดีย สารานกุ รมเสรี. (2564). กูยาช. สืบค้น 14 สงิ หาคม 2564, จาก https://1th.me/mb3aN

Allianz Travel. (2564). เรียนรู้วฒั นธรรมจากอาหาร:20เมนูอาหารจานเด็ดประเทศยุโรป. สืบคน้ 14
สงิ หาคม 2564, จาก https://1th.me/oqRLm

ผ้เู รียบเรียง เลขที่ 80 นางสาวรงุ่ นิภา รงุ่ แสงทอง

39

ขนมฝอยทอง (fios de ovos)
ที่มา: https://mgronline.com/travel/detail/9590000069301

ววิ ฒั นาการอาหารการกนิ สะท้อนวัฒนธรรมถนิ่ 6 แดนดินโลก

ขนมฝอยทอง (fios de ovos) อาหารประจำชาติโปรตเุ กส

ขนมฝอยทอง (fios de ovos) เป็นขนมโปรตุเกสที่มลี ักษณะเปน็ เส้นฝอยสีทอง ทำจากไข่แดงของไข่
เป็ดและเคี่ยวในน้ำตาลทรายที่เดือด ชาวโปรตุเกสรับประทานกับขนมปังกับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์
และขนมเค้ก กำเนดิ มาจากเมืองอาไวร(ู Aveiro) เมืองลายฝง่ั ทิศตะวนั ตกเฉยี งเหนอื ของประเทศโปตุเกส

ขนมฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับทองหยิบและทองหยอดในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย
มารีอา กียมู าร์ ดึ ปญี า (ทา้ วทองกบี ม้า พ.ศ. 2202-2265) ลกู คร่ึงโปรตเุ กส-ญี่ปนุ่
ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้นและเป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะทูตจากฝรั่งเศสที่มา
เยอื นกรงุ ศรีอยุธยาในสมยั นัน้ และฝอยทองปรากฏอยใู่ น กาพย์เห่ชมเครอ่ื งคาว-หวาน บทพระราชนพิ นธ์ใน
พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลิศหลา้ นภาลยั

ขนมฝอยทองหรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า เครังโซเม็ง แพร่เข้ามาในประเทศญี่ปุ่นในยุคอาซูจิ-โมโมยามะ
ช่วงปี ค.ศ.1568 – ค.ศ.1600 (พ.ศ.2111-2143) ที่จังหวัดนางาซากิ โดยพ่อค้าชาวโปรตุเกสและถูก
แพร่หลายไปยังจงั หวัดฟูกูโอกะและเริม่ ทำขนมเพ่ือจำหน่ายตามร้านขนมต่างๆในยุตเมจิ ร้านมัตสึยาริเอมง
จงั หวัดฟูกโู อกะ ได้ทำเครังโซเม็งเปน็ ขนมหวานทเ่ี ปน็ เอกลกั ษณ์ประจำรา้ นจนชนถึงปัจจุบนั

ขนมฝอยทองได้ถูกนำไปตั้งชือ่ ทีมฟุตบอลท่ีคนไทยต้ังชื่อให้กับทีมฟุตบอลชาวโปตุเกสที่ชนะเมื่อนดั
ชิงยโู ร 2016 ทมี ฝอยทองไดส้ ร้างประวัตศิ าสตร์ให้กบั ประเทศโปรตเุ กส ที่ได้คว้าแชมป์คร้งั แรก

เอกสารอา้ งองิ
Kyoto Foodie.(2564). Wagashi: Angel Hair Keiran Somen (Fios de Ovos). สบื ค้น 18 สงิ หาคม

2564, จาก https://kyotofoodie.com

ผูเ้ รียบเรยี ง เลขที่ 81 นางสาวรุจาภา เผ่าวงศากุล

41

สโคน (Scone)
ทมี่ า: https://www.gourmetandcuisine.com/stories/detail/532

วิวฒั นาการอาหารการกนิ สะทอ้ นวฒั นธรรมถิน่ 6 แดนดนิ โลก

สโคน (Scone) อาหารประจำชาติองั กฤษ

สโคน มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสก็อตแลนด์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเข้ามาในประเทศ
อังกฤษในค.ศ.1840 โดยหญิงสาวที่ชื่อ เลดี้แอนนา เกิดความหิวและจึงให้แม่บ้านของเธอไปจัดชากับขนม
แม่บ้านจึงเสิร์ฟชาและขนมต่างๆหนึ่งในนั้นก็คือสโคน เมื่อเธอได้ทานสโคนคู่กับชาเธอจึงติดใจและให้
แม่บ้านของเธอจดั ชากับสโคนในช่วงบา่ ยของทุกวัน และเลดีแ้ อนนาก็ชอบชวนเพ่ือนของเธอมาจิบชาในช่วง
บ่ายของทุกวันเช่นกัน และทุกบ้านจึงปฏิบัติตามจนทำให้สโคนเกิดเป็นที่นิยมมากจนกลายเป็นวัฒนธรรม
การจิบนำ้ ชายามบ่ายของชาวองั กฤษ สโคนจะไมน่ ับอยใู่ นหมวดขนมหวานแต่จะอยู่ในหมวดขนมปังเพราะส
โคนนั้นเน้นแป้งและการอบ สโคนในสมัยก่อนนั้นทำมาจากข้าวโอ๊ต ส่วนในสมัยนี้จะใช้แป้งสาลีหรือข้าว
บารเ์ ลย์แทนข้าวโอต๊ สว่ นประกอบทเี่ หลือคอื ไข่ เนย น้ำตาล นมสด ลกู เกด ชสี และอาจจะใส่ผลไมอ้ บแห้ง
ชนิดต่างๆ สโคนที่เป็นแบบอังกฤษจะเป็นชิ้นเล็กๆทานคู่กับแยมหรือครีมแบบคลาสสิกและมีรสชาติหวาน
เลก็ นอ้ ย สโคนจะไมใ่ ชบ่ สิ กติ แต่มีส่วนผสมทเี่ หมือนกนั แต่จะแตกตา่ งกันจากเนื้อสัมผัสและการเสิร์ฟ สโคน
จะมีลักษณะที่แนน่ มากกวา่ แห้งและรว่ น สโคนน้นั เป็นขนมที่ทานง่ายจะนิยมเสริ ์ฟคู่กบั ชาอุ่นๆ อาจจะเป็น
ชาครมี หรอื ชาเดวอนเซอร์ และแยม โดยสว่ นมากแยมทนี่ ิยมกนิ คู่กบั สโคนคือแยมสตรอว์เบอร์ร่ี จะให้ความ
เขา้ กนั อยา่ งลงตวั และถา้ นำสโคนมาทำหลายรสชาติ สว่ นใหญค่ นอังกฤษจะเลือกเปน็
สโคนผลไม้มากกว่าชสี

เอกสารอ้างองิ
วิกิพีเดยี สารานุกรมเสร.ี (2563). สกอน. สบื ค้น 18 สิงหาคม 2564, จาก

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%99

ผู้เรยี บเรยี ง เลขที่ 82 นางสาวรจุ าภา พลู สมบตั ิ

43

วาฟเฟลิ (Waffle)
ที่มา: https://aga24h.allianz-assistance.co.th/th/international-food-europe/

ววิ ฒั นาการอาหารการกนิ สะท้อนวฒั นธรรมถนิ่ 6 แดนดนิ โลก

วาฟเฟลิ (Waffle) อาหารประจำชาติเบลเยี่ยม

ขนมวาฟเฟิลในประเทศเบลเยี่ยม มีต้นกำเนิดในปีค.ศ. 1940 ทำจากยีสต์สด แป้งไข่ นม แต่ใน
ปัจจบุ ันมีการคิดค้นสูตรใหม่ข้ึนมามากมาย แต่จะมสี ตู รที่เป็นทีน่ ิยมมาก 2 สตู ร ได้แก่ Brussels Waffle ท่ี
ทำมาจากแปง้ ผสมไข่ขาวและใช้ยีสต์เปน็ ตัวฟู นยิ มทานค่กู ับมอ้ื เช้า และ Liege Waffle ทนี่ ำแป้งขนมปังมา
ดัดแปลงสูตร เมื่อนำมาผสมกับส่วนประกอบอื่นๆจึงออกมาเป็นแป้งโด ทำให้วาฟเฟิลมีลักษณะกลมแบน
และมีกลน่ิ หอม มีรสชาตหิ วานละมุนกวา่ รสชาติอ่ืนๆ

ในปีค.ศ.1964 ชื่อขนมเบลเยี่ยมวาฟเฟิล (Belgian Waffles) ถูกตั้งขึ้นในงาน New York World’s
Fair ของสหรัฐอเมริกา เพราะชาวอเมริกันส่วนมากไม่รู้จักเมือง Brussels ในประเทศเบลเยี่ยม ทาง
สหรัฐอเมริกาจึงคิดค้นชื่อขึ้นใหม่โดยการใช้ชื่อประเทศแทนชื่อเมือง จากเดิมที่มีชื่อเรียกว่า Brussels
Waffles จึงถูกเปล่ียนเปน็ Belgian Waffles และนำมาใช้กลา่ วถึงในปัจจุบนั

วาฟเฟิล (Waffle) มาจากภาษาดัตซ์ที่หมายถึงชิ้นส่วนของรังผึ้ง มีส่วนประกอบคือแป้งสาลี น้ำตาล
ไข่ และนม ขนมวาฟเฟิลถอื กำหนดข้ึนต้งั แต่ยคุ หนิ ใหม่ โดยเริม่ ทำมาจากเมล็ดธญั พชื อุปกรณส์ ำคัญท่ีใช้ทำ
ในยุคนั้นคือหินร้อน ต่อมาในยุคโลหะมีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ทำวาฟเฟิลเป็นกระทะทีท่ ำจากเหล็กและมี
ลายพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไป ในยุคกรีกโบราณมีการพัฒนาเตาวาฟเฟิลให้มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กประกบ
กนั 2 ช้ัน เพื่อทำใหส้ ุกอยา่ งรวดเร็ว

เอกสารอา้ งองิ
สรญา. (2563). ที่มาของขนมวาฟเฟลิ มสี ตู รทำ Belgian Waffle ใหด้ ้วย. สืบคน้ 15 สิงหาคม 2564, จาก

https://food.trueid.net/detail/Klj2grb7aoAl

ผู้เรียบเรียง เลขที่ 137 นางสาวธนภรณ์ สศุ วิ ะ

45

ขนมปังบาแกต็ ต์ (Baguette)
ที่มา: https://imageholidaythailand.wordpress.com/2019/01/07/did-you-know-

ววิ ัฒนาการอาหารการกนิ สะท้อนวัฒนธรรมถน่ิ 6 แดนดนิ โลก

ขนมปงั บาแกต็ ต์ (Baguette) อาหารประจำชาติฝรงั่ เศส

ขนมปังบาแก็ตต์ หรือ ขนมปังฝรั่งเศส เป็นขนมปังประจำชาติประเทศฝรั่งเศส โดยมีต้นกำเนิดที่
แท้จริงมาจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรยี ในช่วงศวรรษที1่ 9 ชาวปารีสได้นำต้นตำหรับของขนมปังเขา้
มาในฝรั่งเศส และเรียกขนมปังนี้ว่า บาแก็ตต์ เพราะขนมปังมีลักษณะคล้ายท่อนไม้ มีส่วนผสมหลัก
ประกอบดว้ ย แปง้ สาลี น้ำ ยสี ต์ และเกลอื

ขนมปังด้ังเดิมของชาวฝรั่งเศสที่รับประทานมาอย่างยาวนาน เรียกว่า บูล (Boule) มีลักษณะกลม
คล้ายลูกบอล การทำขนมปังเป็นที่มาของคำว่าเบเกอรี ภาษาฝรั่งเศสออกเสียงว่า บูลองเฌอรี
(Boulangerie) และในช่วงคริสต์ศักราช 1920 ฝรั่งเศสได้ออกกฎหมายห้ามทำงานเวลาสี่ทุ่มถึงตีส่ี ซึ่งขนม
ปังบูลเปน็ ขนมปังทใี่ ชเ้ วลานานในการอบ จงึ ไมส่ ามารถอบใหเ้ สรจ็ ทันขายในช่วงเวลามอ้ื เชา้ ซึง่ ตา่ งจากขนม
ปังบาแก็ตต์ที่ใช้เวลาในการอบน้อยกว่า คนขายขนมปังจึงเปลี่ยนมาทำขนมปังบาแก็ตต์แทนการทำขนม
ปังบูล และทำให้ชาวฝรั่งเศสชอบรับประทานขนมปังบาแก็ตต์มากกว่าขนมปังบูล เพราะบาแก็ตต์มีความ
กรอบนมุ่ จึงเป็นสาเหตทุ ี่ทำใหบ้ าแกต็ ต์เปน็ ทน่ี ิยมคนฝรง่ั เศส จนกลายเป็นขนมปังประจำชาติ

ขนมปังบาแกต็ ต์ เปน็ ขนมปังท่ีกรอบนอกนุ่มใน แปง้ ดา้ นนอกมคี วามแข็งกรอบ ดา้ นในมคี วามเหนียว
นุ่มและเมื่อตดั ขนมปงั จะไมแ่ ตกเสียรูปทรง ในร้านอาหารฝรั่งเศสจะเสริ ์ฟดว้ ยขนมปังอุ่นๆก่อนอย่างอื่น ใน
มอ้ื เช้าจะนิยมทานดว้ ย แยมผลไม้ เนย สลัด หรือทานคู่กับกาแฟ ถ้ามขี นมปงั เหลือในตอนเช้าตอนกลางวัน
จะนำมาทำเป็น แซนวิช มื้อเย็นจะหั่นขนมปังเป็นลูกเต๋า ใช้เนยแข็งกรุยแยร์ (Gruyere) เคี่ยวกับไวน์ขาว
โดยทานแบบ Cheese Fondu หรอื นำขนมปงั ไปโรยชสี กรยุ แยรแ์ ล้วอบ แลว้ นำมาใสใ่ นซปุ หัวหอม โดยการ
รบั ประทานขนมปังสามารถทำไดห้ ลากหลายแลว้ แต่ความชอบของบุคคล

เอกสารอ้างองิ
Foodie destinations Guid. (2559).ของดจี ากฝร่งั เศส-บาแกตต์. สบื ค้น 18 สงิ หาคม 2564, จาก

https://khunpusit.wixsite.com/tripsandtastes

ผู้เรียบเรยี ง เลขท่ี 146 นางสาวสุพนดิ า ต่งิ ทอง

47

อาหารทวีปยโุ รป
ท่มี า: https://aga24h.allianz-assistance.co.th/th/international-food-europe/

https://iecabroad.co.th/blog/food-international/
http://hit-tour.com/

วิวัฒนาการอาหารการกินสะทอ้ นวฒั นธรรมถน่ิ 6 แดนดนิ โลก

สรุป

อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ทุกคนจำเป็นจะต้องใช้ในการดำรงชีวิตในแต่ละวัน อาหารในทวีปยุโรป
จะมวี ัตถดุ ิบทอ้ งถน่ิ และวัฒนธรรมการกนิ ความเชอื่ ท่แี ตกต่างกันออกไป และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละ
ท้องถ่นิ สามารถสะทอ้ นใหเ้ หน็ วิถชี ีวติ การกนิ ของผ้คู นในแต่ละทอ้ งถิ่น โดยอาหารแตล่ ะชนดิ ควรทานให้ครบ 5
หมู่ ตามหลักโภชนาการ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ และน้ำ แต่บางรายการอาหารก็ได้ ได้มี
การนำวตั ถุดบิ ชนดิ อ่นื ๆมาทดแทนกันได้

อาหารบางชนิดจะมีวธิ ีการทำที่สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจบุ ันไม่ไดม้ ีการเปลี่ยนแปลงวิธกี าร ทำให้
เป็นอาหารด้ังเดิมของคนพืน้ เมืองในประเทศน้นั ๆ แต่อาหารบางชนิดก็ได้เปล่ยี นแปลงวิธีการทำตามยุคสมัยทำ
ให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆขึน้ มาหลากหลายมากขึ้น อาหารบางชนิดอาจจะไมไ่ ด้อยู่แค่ในประเทศต้นกำเนิด แต่
ได้มีการเผยแพร่ไปทว่ั ทุกพ้นื ท่ี จงึ ทำใหผ้ ู้คนเข้าถงึ อาหารชนดิ นนั้ ไดง้ า่ ย และเปน็ ทรี่ ู้จักมากย่ิงข้นึ

อาหารก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เพราะ จะต้องมีการปรับปรุงหรือปรับ
สภาพ ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ อากาศ และฤดูกาลของแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศนั้น ท่ีจะมีการ
เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ บางประเทศไม่ได้มีอากาศหนาวตลอดทั้งปี จึงมีวิธีการทำหรือชนิดของอาหารที่ไม่
เหมอื นเดิม

อาหารทั้งหมดที่กล่าวมา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงความเชื่อในการ
รับประทานอาหารอีกด้วย อย่างเช่น ไส้กรอกไวสส์วูร์สท์ ประเทศเยอรมัน ห้ามกินตอนได้ยินเสียงระฆังจาก
โบสถ์ ฟองดวู ์ชีส ประเทศสวติ เชอรแ์ ลนด์ หากใครไดท้ านฟองดกู ้นหมอ้ ท่ีมีชีสแขง็ จะโชคดี

ความสำคัญทางวัฒนธรรม อย่างเช่น ซุปบอร์ช ประเทศยูเครน ด้านศาสนสา ทานในเทศกาลศีลอด
และยังนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เลฟซ่า ประเทศนอร์เวย์ ใช้ในเทศกาลคริสต์มาส ฟัวกราส์
ประเทศฝร่งั เศส จะนิยมรับประทานในวันครสิ ตม์ าส หรอื ชว่ งเย็นในวนั ปีใหม่

49

สโคน ประเทศอังกฤษ รับประทานพร้อมกับการจิบน้ำชายามบ่าย ขนมปังบาแกต็ ต์ ประเทศฝรั่งเศส
วาฟเฟิล ประเทศเบลเยี่ยม และสปาเก็ตตี้คาโบนาร่า ประเทศอิตาลี จะนิยมทานกันในตอนเช้า ซุปบัลแกเรีย
ประเทศบัลแกเรีย อาหารที่ดีต่อสุขภาพ ขนมฝอยทอง ประเทศโปรตุเกส ประทานกับขนมปังกับอาหารม้ือ
หลักจำพวกเนื้อสัตวแ์ ละขนมเค้ก กลู าช ประเทศฮังการี นยิ มทานค่กู ับขนมปงั หรอื พาสตา้

อาหารแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับวัตถุดิบแต่ละชนิดและแต่ละทวีป วัตถุดิบแต่ละชนิดก็ขึ้นอยู่กับ
การเกษตรแต่ละทวีป หรือแต่ละภูมิภาค ที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่รสนิยม และวัฒนธรรมแต่ละบุคคล หรือ
ความชอบแตล่ ะบคุ คล วธิ จี ัดสรรอาหารในแตล่ ะภูมภิ าค ลว้ นแล้วมแี ตกตา่ งกันไป

สดุ ทา้ ยนอี้ าหารแต่ละประเทศในทวีปยุโรป ทมี่ ีความแตกต่างกนั น้ัน มวี ิธกี ารทำหรือชนิดของอาหารที่
ไม่เหมอื นใครซึ่งทำใหก้ ลายเป็นจดุ เด่นของแต่ละประเทศ ทำใหผ้ คู้ นในหลายๆประเทศรจู้ กั และเป็นเอกลักษณ์
เฉพาะตัวของประเทศนน้ั ๆดว้ ย

วิวฒั นาการอาหารการกนิ สะทอ้ นวัฒนธรรมถนิ่ 6 แดนดนิ โลก


Click to View FlipBook Version