The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by beam.maliwan3, 2019-06-10 03:53:51

Unit 5

Unit 5

หนว่ ยที่ 5

โรคสัตว์และการป้องกนั

ครูคัธรยี า มะลิวลั ย์

แผนกวชิ าสัตวศาสตร์
วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยฉี ะเชงิ เทรา

หนว่ ยท่ี 5

โรคสัตวแ์ ละการปอ้ งกนั

หัวข้อเรอ่ื ง
1. โรคและพยาธทิ ส่ี าคัญในสัตว์เศรษฐกิจ
2. โรคสตั วท์ ตี่ ิดตอ่ ถึงคน

จุดประสงค์การเรยี นรู้
1. บอกสาเหตขุ องการเกิดโรคในสตั ว์ได้
2. อธบิ ายอาการและวิการทีส่ าคัญของโรคสตั ว์ได้
3. บอกวิธีการป้องกนั ควบคุมและรกั ษาโรคสตั ว์ได้

เนือ้ หาการสอน

โรคสัตว์ (Animal disease) หมายถึง ความผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายสัตว์ไปจาก
ปกติ ซ่ึงอาจเกิดข้ึนกับอวัยวะใดอวัยวะหน่ึงหรือเกิดกับทุกระบบของร่างกาย มีผลทาให้การทางานของ
อวัยวะต่างๆเสียไป ทาให้เกิดอันตรายต่อตัวสัตว์ สัตว์จะดารงชีพอย่างไม่ปกติ พิการหรือตายโดยเฉพาะ
อยา่ งย่งิ เมื่อเกดิ กับสตั ว์เศรษฐกจิ เช่น โคนม โคเน้ือ สุกร ไก่เน้ือ และไกไ่ ข่ เปน็ ต้น

การเปล่ียนแปลงของร่างกายสัตว์ หมายถึง การเปล่ียนแปลงทางอวัยวะและหน้าท่ีของอวัยวะใน
ร่างกายสตั ว์

การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะ ได้แก่ การอักเสบ เน้ือตาย เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงหน้าท่ีของ
อวัยวะ ได้แก่ การขาดจงั หวะการเตน้ ของหวั ใจ การยอ่ ยอาหารไมด่ าเนินไปตามควร เชน่ ทอ้ งอดื เป็นต้น

1. โรคและพยาธิทสี่ าคญั ในสตั ว์
โรคท่ีสาคัญในสัตว์มีอยู่ด้วยกันหลายโรคซึ่งแต่ละโรคเมื่อเกิดข้ึนกับสัตว์แล้วก็จะทาความเสียหาย

ให้กับสัตว์เล้ียงเป็นอย่างมากโรคบางโรคเม่ือเกดิ กับสัตว์ในท้องถิ่นหน่ึงแล้วก็สามารถที่จะแพร่ขยายออกไป
ยังอีกท้องถิ่นหนึ่งได้เราเรียกว่าโรคระบาดบางโรคก็เกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นไม่มีการแพร่ระบาดบางโรคยัง
สามารถแพร่ระบาดจากสัตว์สคู่ นได้อีกด้วยดังนนั้ ผู้เลยี้ งสัตวจ์ ึงตอ้ งศึกษาหาความรู้เก่ยี วกบั เร่อื งการเกดิ โรค
ตลอดจนวิธีป้องกันและรักษาทั้งนี้เพ่ือให้สัตว์เลี้ยงของตนเองมีสุขภาพที่สมบูรณ์และให้ผลตอบแทนสูงสุด
โรคและพยาธิทีส่ าคัญในสัตว์ มดี ังนี้

1.1 โรคและพยาธทิ ี่สาคัญในโค-กระบอื
1.1.1 โรคแอนแทรกซ์ (anthrax)
เป็นโรคท่ีร้ายแรงโรคหนึ่งนิยมเรียกโรคนี้ว่าโรคกาลี โคกระบือและแกะท่ีป่วยเป็นโรคแบบ
เฉียบพลันมีลักษณะสาคัญคือสัตว์ป่วยจะตายอย่างรวดเร็วมีเลือดสีดาคล้าไหลออกตามทวารต่างๆซากไม่
แขง็ ตัวเป็นโรคตดิ ต่อทร่ี ้ายแรงชนิดหนึ่งนอกจากจะติดตอ่ กันในฝงู สัตวแ์ ล้วยังสามารถติดต่อไปถึงคนไดด้ ว้ ย
สาเหตุ การแพร่โรคโรคนี้มีสาเหตุจากเช้อื แบคทีเรียช่อื แบซิลลัสแอนทราซสิ (Bacillus anthracis)
พบมากในช่วงการเปล่ียนแปลงของอากาศโรคน้ีส่วนมากเกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่
ปนเปื้อนอยู่ในดินหรือหญ้าเข้าสู่ร่างกายและอาหารที่มีเช้ือปะปนอยู่เข้าไปแต่สัตว์จะเป็นโรคนี้โดยเชื้อเข้า
ทางบาดแผลได้เช่นกันเม่ือเช้ือเข้าตัวสัตว์แล้วจะกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายพร้อมกับสร้าง
สารพิษขนึ้ มาทาให้สตั ว์ปว่ ยและตายในทสี่ ดุ (กรมปศสุ ตั ว์,2549)
อาการ สัตว์เป็นโรคนีแ้ บบเฉียบพลนั จะตายอย่างรวดเร็วภายในเวลา 1 – 2 ช่ัวโมง แต่ถา้ เป็นแบบ
รนุ แรงจะตายภายใน 1 – 2 วัน สัตว์จะมีอาการซึมหายใจเร็วลึกหัวใจเต้นเร็วไข้สูงประมาณ 107 องศาฟา
เรนไฮต์ เยือ่ ชุ่มต่างๆ มีเลอื ดคง่ั หรือมีจดุ เลือดออกตามลาตวั น้านมลดอย่างรวดเร็วและอาจมีเลือดปนหรอื มี
สีเหลอื งเขม้ ท้องอดื และตายในท่ีสดุ สัตวท์ ีป่ ่วยจะตายอย่างรวดเรว็ มีเลือดสีดาคล้าไหลออกตามทวารต่างๆ
ซากไมแ่ ข็งตัว
การควบคุมและป้องกนั

- แยกสตั ว์ปว่ ยออกจากฝงู
- ฝังหรือเผาซากสัตว์ตลอดจนดินบริเวณที่สัตว์ตายการฝังควรขุดหลุมลึกประมาณ
2 เมตร โรยปนู ขาวบนตวั สัตว์ก่อนกลบดนิ
- ใชน้ ้ายาฟอร์มาลิน (formalin) หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (sodium hydroxide) 5 - 10
เปอรเ์ ซ็นต์ ราดฆา่ เช้ือ
- กกั ดอู าการสตั วท์ ่รี วมฝงู กบั สตั วป์ ่วยหรือตาย
- ฉดี วคั ซนี ให้สัตวอ์ ายุต้งั แตห่ ย่านมข้ึนไปในรศั มี 10 กโิ ลเมตรจากจุดเกิดโรค โดยฉีดทุกๆ
6 เดือนติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี โคกระบือฉีดเข้าใต้ผิวหนังตัวละ 1 มิลลิลิตรหลังฉีดวัคซีนแล้วบริเวณท่ีฉีด
จะบวมและสตั วม์ ีไขเ้ ลก็ นอ้ ย 2 - 3 วนั อยา่ ฉดี ใหส้ ัตว์กาลงั ต้งั ทอ้ งเพราะจะทาให้แทง้ ได้
การรักษา ใช้เพนนิซิลินฉีดควบคู่กับซีรั่มป้องกันโรคแอนแทรกซ์หรือรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
จาพวกเตตระไซคลนิ ติดตอ่ กัน 3 - 4 วัน

1.1.2 โรคปากและเท้าเปือ่ ย (foot and mouth disease)
โรคปากและเท้าเป่ือยก็เป็นอีกโรคหน่ึงที่เกิดข้ึนกับโคและกระบือแล้วระบาดติดต่อกันได้มี
รายละเอียดดงั น้ี
สาเหตุ เกิดจากเช้ือไวรัส FMD ท่ีพบในประเทศไทยมี 3 ไทป์คือ โอ (O) เอ (A) และเอเชียวัน
(Asia I) เช้อื ทั้ง 3 ไทปน์ ้ีจะทาให้สตั ว์ป่วยแสดงอาการเหมอื นกัน
อาการ โคท่ีเป็นโรคนี้จะมีไข้ซึมเบื่ออาหารหลังจากนั้นจะมีเม็ดตุ่มพองเกิดท่ีริมฝีปากในช่องปาก
เช่นเหงือกและล้ินทาให้น้าลายไหลกินอาหารไม่ได้และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างช่องกีบไรกีบทาให้เจ็บมากเดิน
กะเผลกเม่ือเม็ดตุ่มแตกออกอาจมเี ช้ือแบคทีเรียร่วมด้วยทาให้แผลหายชา้ ขณะท่โี คเป็นโรคจะผอมน้านมจะ
ลดลงอยา่ งมาก
การรักษา ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนแผลจะหายเองใน 1 - 2 สัปดาห์ถ้าแผลมีการติดเชื้อ ให้ทาความ
สะอาดแผลสาหรับที่กีบใส่ยาปฏิชีวนะชนิดท่ีใช้ป้ายแผล เช่น เพนนิซิลินหรือฟิวราโซลิโดนสาหรับท่ีปาก
ปา้ ยดว้ ยยาสีมว่ ง (เจนเชยี นไวโอเลท)
การควบคุมและป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโดยฉีดครั้งแรกเมื่อโคอายุ 6 เดือนและฉีดซ้าทุก ๆ
6 เดอื น

1.1.3 โรคบรูเซลโลซิส (brucellosis)
โรคบรูเซลโลซิสหรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคแท้งหรือโรคแท้งติดติดต่อเป็นโรคติดต่อเร้ือรังที่
สาคัญของสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมเช่นโคกระบือสุกรแพะม้าสุนัขเป็นต้นและติดต่อสู่คนได้ลกั ษณะที่ควรสังเกต
ของโรคนี้คือสัตว์จะแท้งลกู ในชว่ งทา้ ยของการต้ังท้องและอัตราการผสมตดิ ในฝงู จะตา่
สาเหตุ การแพร่ของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ช่ือบรูเซลล่า (Brucella spp.) พบมีการแพร่
ระบาดในทุกประเทศของโลกโดยเฉพาะโคนมยังมีความสาคัญในด้านสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วยโรคน้ี
สามารถติดตอ่ ถึงคนได้
อาการ แม่โคจะแท้งลูกในระยะตั้งท้องได้ 5 - 8 เดือนจะมีรกค้างและมดลูกอักเสบตามมาเสมอ
การแท้งมักจะเกิดขึ้นในการต้ังท้องแรกเท่าน้ันหลังจากน้ันอาจไม่แท้งแต่จะเป็นตัวอมโรคแพร่ไปยังโคตัว
อน่ื ๆ ได้
การรกั ษา ไมแ่ นะนาให้รกั ษาเนือ่ งจากไมใ่ ห้ผลดเี ท่าที่ควร
การควบคุมและป้องกัน

- ควรตรวจโรคทกุ ๆ 6 เดือนในฝงู โคทยี่ งั ไม่ปลอดโรคและทกุ ปใี นฝูงโคทป่ี ลอดโรค
- สัตวท์ ่ีตรวจพบวา่ เปน็ โรคควรจะแยกออกจากฝูง
- คอกสัตว์ป่วยด้วยโรคน้ีต้องใช้น้ายาฆ่าเชื้อทาความสะอาดแล้วท้ิงร้างไว้อย่างน้อย
1 เดือน กอ่ นนาสัตวใ์ หมเ่ ขา้ คอก
- ทาลายลูกท่ีแท้งรกน้าคร่าโดยการฝังหรือเผาแล้วทาความสะอาดพ้ืนท่ีน้ันด้วยน้ายาฆ่า
เชื้อ

- กาจดั นกหนูแมลงสนุ ัขแมวและสตั วเ์ ล้ยี งอื่นซง่ึ เปน็ ตวั แพร่โรคออกไป
- สัตว์ท่ีนามาเลย้ี งใหมต่ อ้ งปลอดจากโรคนี้ก่อนนาเขา้ คอก
- โคพอ่ พันธ์ุที่ใช้ต้องไมเ่ ป็นโรคนี้
- ทาวคั ซีนตามกาหนด

1.1.4 โรควณั โรค (Tuberculosis)
วณั โรคเป็นโรคท่ีติดต่อเรื้อรังสามารถติดต่อระหว่างคนกับสตั ว์ได้เชอื้ โรคน้ีมีความทนทานสามารถ
อยู่ในซากสตั วไ์ ดห้ ลายสัปดาหแ์ ละสามารถอยู่ในนา้ นมไดป้ ระมาณ 10 วนั
สาเหตุ เกิดจากเช้ือแบคทเี รียที่เรียกวา่ ไมโคแบคทีเรียมโบวิส (Mycobacteriumbovis) ตัวการท่ี
แพร่โรคคือคนและสัตวท์ ่ปี ่วย
การตดิ ต่อ ทางการหายใจพบมากท่ีสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ การกินน้า อาหาร น้านม การสัมผัสทาง
ผวิ หนงั ทีเ่ ปน็ แผล ติดต่อจากแม่ทีป่ ว่ ยไปยังลูกในท้องโดยผา่ นทางสายสะดือการผสมพนั ธ์ุ
อาการ สัตว์จะเบื่ออาหารซูบผอมลงเร่ือยๆสัตว์อาจจะมีไข้ได้เล็กน้อยอาการอื่น นอกจากนี้จะ
ขึ้นกับอวัยวะท่ีเป็นเช่นเกิดวัณโรคท่ีปอดสัตว์จะไอในตอนกลางคืนหรือเม่ือทางานหนักวัณโรคที่ลาไส้จะมี
อาการท้องเสียร่วมด้วยวัณโรคที่ลูกอัณฑะลูกอัณฑะจะบวมโตวัณโรคท่ีเต้านมเต้านมจะอักเสบวัณโรคท่ี
สมองจะพบว่าสัตว์มีอาการทางประสาทเมื่อชาแหละซากสัตว์ท่ีป่วยเป็นโรคน้ีจะพบตุ่มเป็นก้อนสีเทามันๆ
ตรงกลางจะเปน็ หนองสเี หลอื งหนองแข็ง
การควบคุมและป้องกัน การดูแลรักษาเบื้องต้น ไม่มียารักษาเมื่อพบสัตว์ป่วยให้แยกออกจากฝูง
แลว้ ทาลาย

- ควรติดต่อสัตวแพทย์ในท้องที่ให้ทาการทดสอบโคด้วยวิธีการทดสอบทางผิวหนังอย่าง
สม่าเสมอปีละ 1 คร้งั

- ถ้าพบว่าสัตว์ในฝูงเป็นโรคหรือสงสัยว่าเป็นโรคควรแยกสัตว์น้ันออกจากฝูงและทาลาย
สัตว์

- ฟาร์มท่ีเคยมปี ระวัตกิ ารเป็นโรคหรอื ยังคงมีโรคน้อี ยู่ต้องมีการตรวจโรคสมา่ เสมอและทา
การเฝ้าระวงั โรค

- การนาสัตวเ์ ข้า – ออกจากฟารม์ ตอ้ งทาการตรวจโรค

1.1.5 โรคเฮโมรายิกเซฟติซเี มยี (haemorrhagic septicemia)
โรคเฮโมรายกิ เซฟติซีเมยี หรือนิยมเรยี กตามอาการว่า “โรคคอบวม” เป็นโรคระบาดรุนแรงของโค
กระบือ แต่โรคน้ีจะมีความรุนแรงน้อยลงในสตั ว์อ่ืนๆเช่นแกะสุกรม้าอูฐกวางและชา้ งเปน็ ต้นลักษณะสาคัญ
ของโรคคือหายใจหอบลึกมเี สยี งดงั คอหรือหน้าบวมแขง็ อตั ราการป่วยและอัตราการตายสูง
สาเหตุ การแพร่ระบาดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียช่ือพาสทูเรลลามัลโตซิดา (Pasteurella
multocida) พบในประเทศต่างๆของเอเซียและอาฟริกาเป็นส่วนมากการระบาดของโรคจะเกิดข้ึนใน
สภาวะที่สัตวเ์ กิดความเครียดเชน่ ตน้ หรือปลายฤดฝู นการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือการใช้แรงงานสตั ว์มากเกินไป

ในสภาวะวามเครียดเช่นน้ีสัตว์ที่เป็นตัวเก็บเชื้อ (carrier) จะปล่อยเช้ือออกมาปนเป้ือนกับอาหารและน้า
เมื่อสัตว์ตัวอ่ืนกินอาหารหรือน้าท่ีมีเช้ือปนอยู่เข้าไปก็จะป่วยเป็นโรคน้ีและขับเชื้อออกมากับส่ิงขับถ่ายต่าง
ๆเช่นน้ามูกน้าลายอุจจาระทาให้โรคแพร่ระบาดต่อไปเชื้อPasteurella multocida น้ีเม่ือปนเป้ือนอยู่ใน
แปลงหญ้าจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 24 ช่ัวโมงแต่ถ้าอยู่ในดินที่ช้ืนแฉะอาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 1 เดือน

อาการ สัตวท์ ี่เป็นโรคแบบเฉียบพลันจะมีอาการซึมไข้สูง 104 - 107 องศาฟาเรนไฮต์ น้าลายไหล
และตายภายในเวลาอันรวดเร็วไม่เกิน 24 ชั่วโมงแต่ถ้าเป็นโรคแบบเรื้อรังจะสังเกตเห็นอาการทางระบบ
หายใจคืออา้ ปากหายใจหายใจหอบลึกยืดคอไปข้างหน้าหายใจมีเสียงดังล้ินบวมจกุ ปากหน้าคอหรือบริเวณ
หน้าอกจะบวมแข็งร้อนต่อมาจะมีอาการเสียดท้องท้องอืดอุจจาระมีมูกเลือดปนสัตว์จะตายภายใน
2 – 3 วนั (สถาบันสุขภาพสัตว์กรมปศุสตั ว์, 2549)

การรกั ษา การรกั ษาจะได้ผลดเี มื่อทาการรักษาขณะสตั วเ์ ริ่มแสดงอาการปว่ ย
โดยให้ยาปฏิชีวนะหรือยาซัลฟาต่างๆ เช่น อ๊อกซีเตตาไซคลินเทอราไมซินเพนนิซิลินซัลฟา-ไดมิดิน เป็นต้น
การควบคมุ และปอ้ งกันทาได้ดงั นี้

- เมื่อมสี ัตวป์ ว่ ยหรอื ตายทสี่ งสัยว่าจะเปน็ โรคระบาดน้ีให้แจ้งเจ้าหนา้ ที่ สัตวแพทย์ใน
ท้องที่โดยเร็ว

- สัตว์ทตี่ ายไม่ควรนาไปบรโิ ภคควรฝังหรอื เผาป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
- ควรแยกสตั วป์ ่วยออกจากฝูงทันทแี ละรบี ตามเจ้าหน้าท่มี าทาการรักษา
- หลกี เลี่ยงสภาวะท่ีทาใหส้ ตั วเ์ กดิ ความเครียดดว้ ยการจัดการและสขุ าภิบาลทด่ี ี
- ทาวัคซีนปอ้ งกันโรคให้โค-กระบอื อายตุ ัง้ แต่ 4 เดือนข้ึนไปโดยใชว้ ัคซนี เช้ือตาย
ชนิดส่อื น้าในนา้ มนั วคั ซีนนีจ้ ะสามารถคุ้มโรคได้นาน 1 ปี

1.1.6 โรคแบลกเลก (blackleg)
เป็นโรคติดต่อร้ายแรงของโค – กระบือลักษณะสาคัญของโรคนี้คือการอักเสบของกล้ามเนื้อ
โดยเฉพาะบริเวณต้นขาหลังบริเวณท่ีอกั เสบจะบวมร้อนมีอาการแทรกอยู่ภายในเม่ือกดดูจะมีเสียงดังกรอบ
แกรบไข้สงู และเดนิ ขากะเผลกจงึ เรียกโรคนวี้ า่ โรคไข้ขา
สาเหตุ การแพรก่ ระจายเกิดจากเช้อื แบคทีเรีย ช่อื คลอสตรเิ ดยี มโชวไิ อ
(Clostridium chouvei) โคทเ่ี ปน็ โรคน้ีส่วนมากเกิดจากการกนิ อาหารที่มีเช้อื ปะปนอยโู่ รคน้มี กั เกิดกับโคที่
มีอายรุ ะหวา่ ง 6 - 24 เดอื นเป็นส่วนมากและมกั เกิดซา้ ในจดุ ทีเ่ คยเกิดโรคอยเู่ สมอ
อาการ โคจะซึมเดินขากะเผลกข้างเดยี วหรอื ท้ังสองข้างมีไข้สูง 105 ถึง 107 องศาฟาเรนไฮต์หยุด
เค้ียวเอ้ืองหายใจเร็วเกิดการบวมของกล้ามเน้ือบริเวณสะโพกโคนขาหลังไหล่หน้าอกคอหรือลิ้นเมื่อกด
บริเวณท่ีบวมจะได้ยินเสียงดังกรอบแกรบเพราะมีฟองอากาศแทรกอยู่ภายในและโคจะแสดงอาการ
เจ็บปวดผิวหนังบริเวณนีจ้ ะมีสีแดงคล้ารอ้ นตอ่ มาจะเย็นลงผิวหนังจะแห้งดาและโคไม่แสดงอาการเจบ็ ปวด
โคบางตัวจะล้มลงนอนกลา้ มเน้ือสั่นชีพจรเต้นเรว็ เยื่อเมือกมีเลอื ดคั่งปวดเสียดท้องอณุ หภมู ิตา่ กว่าปกติและ
ตายภายใน 12 - 48 ชว่ั โมง

การรักษา การรักษาจะได้ผลดีเมื่อทาการรักษาต้ังแต่สัตว์เร่ิมแสดงอาการโดยฉีดเพนิซิลลิน
(penicillin) เข้ากล้ามเนื้อบริเวณที่เกิดการอักเสบหรือใช้อ๊อกซีเตตราไซคลิน(oxytetracycline) หรือคลอ
เตตราไซคลนิ (chlortetracycline) ก็ไดผ้ ลดีเชน่ เดยี วกัน

การควบคุมและป้องกัน กรณีที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นจะต้องแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูงพร้อมท้ังให้
การรักษาสัตว์ตายจะต้องฝังหรือเผาและสัตว์ที่เหลือภายในฝูงต้องทาวัคซีนควบคู่กับการฉีดเพนิซิลลิน
ในขนาด 6,000 ยูนติ ต่อนา้ หนกั ตวั สตั ว์หน่ึงกิโลกรัม

1.1.7 โรคเตา้ นมอักเสบ (mastitis)
เต้านมอักเสบหมายถึงการอักเสบของส่วนต่างๆของเต้านมเช่นกระเปาะสร้างนมท่อน้านมท่อรวม
นา้ นมหรือโพรงหัวนมทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเต้านมน้านมและส่วนประกอบของนา้ นมมีผล
ใหค้ ณุ ภาพนา้ นมด้อยลงไป
สาเหตุ โรคเต้านมอักเสบมีสาเหตุจากการติดเชอ้ื แบคทีเรียเปน็ สว่ นมากแต่อาจเกดิ จากเชื้อราหรือ
ยีสต์ได้โคสามารถติดเช้ือแบคทีเรียได้จาก 2 แหล่งสาคัญคือจากแม่โคท่ีเป็นโรคเต้านมอักเสบและจาก
สิง่ แวดล้อมรอบๆตัวโคเอง
อาการ เต้านมอักเสบมี 2 ลักษณะสาคญั คือ

- เต้านมอักเสบแบบแสดงอาการจะมีการเปล่ียนแปลงลักษณะของเต้านมและน้านม
เป็นไปได้มากน้อยข้ึนอยู่กับชนิดของเชื้อปริมาณเชื้อและตัวแม่โคเต้านมอาจมีลักษณะบวมแข็งเท่านั้นหรือ
ในรายท่ีเป็นรุนแรงมากอาจถึงกับเต้านมแตกก็มีส่วนลักษณะน้านมอาจพบตั้งแต่น้านมเป็นสีเหลืองเข้มข้น
จนถึงเป็นนา้ ใสมหี นองปนเลือด

- เต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการไม่มีการเปล่ียนแปลงลักษณะของเต้านมและน้านมให้
เห็นการอกั เสบแบบนพ้ี บได้ 8 - 10 เทา่ ของการอกั เสบแบบแสดงอาการและมีสาเหตุสาคญั ทท่ี าให้คณุ ภาพ
น้านมเสื่อมเนื่องจากปริมาณเชื้อแบคทีเรียและเม็ดเลอื ดขาวในน้านมสูงสามารถตรวจได้โดยใช้น้ายา CMT
หาปรมิ าณเม็ดเลือดขาวในนา้ นม

การรักษา การรักษาโรคเต้านมอักเสบต้องใช้ยาปฏิชีวนะเป็นส่วนมากเพราะสาเหตุส่วนใหญ่เกิด
จากเช้ือแบคทีเรียซึ่งมีท้ังแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบยาปฏิชีวนะแต่ละชนิดก็สามารถทาลายเชื้อ
แบคทีเรยี ได้แตกตา่ งกันดังน้ันจงึ ควรศึกษาประสิทธภิ าพของยาปฏชิ ีวนะตา่ งๆไวเ้ พอื่ จะได้ใช้ยาให้เหมาะสม
กับชนดิ ของเช้อื แบคทีเรีย

การควบคมุ และป้องกนั
- ตอ้ งเลี้ยงโคนมไมใ่ ห้อยู่แออัดจนเกินไป
- คอกทเ่ี ลย้ี งต้องแหง้ สะอาดไมป่ ลอ่ ยใหอ้ ุจจาระหมักหมม
- แมโ่ คท่นี าเขา้ มาใหม่ควรไดร้ ับการตรวจโรคเต้านมอักเสบก่อนทจ่ี ะ

นามาเลย้ี งในฟารม์
- ก่อนการรีดนมควรลา้ งเตา้ นมให้สะอาดดว้ ยน้ายาคลอรนี และเชด็ ให้แห้ง

- ผา้ เชด็ เต้านมตอ้ งใช้ตัวละหนงึ่ ผืนและต้องแห้งสะอาด
- มอื ผรู้ ีดก่อนทาการรดี จะต้องลา้ งใหส้ ะอาดและเช็ดให้แหง้ ถา้ สวมถุงมือ
ไดย้ ง่ิ เป็นการดี
- ก่อนรีดนา้ นมทุกคร้ังตอ้ งตรวจดว้ ยถว้ ยตรวจนม (strip cup)
- ควรเช็ดหัวนมทุกครง้ั หลังรีดนมด้วยน้ายาฆ่าเชอ้ื เช่น คลอเฮก-ซดิ นิ (0.5เปอร์เซน็ ต์)
หรอื ไอโอไดฟอร์ (0.5 - 1.0 เปอรเ์ ซน็ ต์)
- ควรตรวจโคในฝูงดว้ ยนา้ ยา CMT ทกุ ครงั้ ทต่ี รวจพบวา่ โคเปน็ โรคเต้านมอักเสบหรือ
อยา่ งน้อยเดอื นละ 1 คร้ัง
- ควรสอดยาดราย (dry) เพ่อื ป้องกันการเกิดเตา้ นมอักเสบในช่วงก่อนหรอื หลังคลอดลูก
ใหม่ ๆ

1.1.8 โรคเลปโตสไปโรซสิ (leptospirosis)
โรคเลปโตสไปโรซสิ นพี้ บในสตั ว์เลยี้ งทกุ ชนดิ รวมทงั้ สตั วป์ า่ หนูสตั ว์เลือดเย็นและติดตอ่ ถึงคนได้
สาเหตุ การติดต่อเกิดจากเช้ือเลปโตสไปรา (Leptospira spp.) มีลักษณะเป็นเส้นเกลียวยาว
เหมือนเส้นด้ายปลายด้านหน่ึงหรือสองด้านโค้งงอมีความยาว 8 - 12 ไมครอนอุณหภูมิที่เหมาะสมในการ
เจริญเติบโตของเชื้อประมาณ 20 – 30oC การเกิดโรคน้ีพบวา่ หนเู ป็นตวั การสาคญั
อาการและวกิ าร

- มไี ขแ้ ละเกิดภาวะโลหิตเป็นพษิ ซึ่งจะทาให้โคทต่ี ้ังท้องแท้งได้
- มจี ุดเลอื ดออกตามเย่ือเมือกตา่ งๆในลูกสตั ว์อาจมกี ารซีดตามเยือ่ เมอื กและอาจมีอาการ
ดซี ่านได้ในสัตว์บางตวั
- มอี าการทางระบบไตเช่นไตอักเสบปสั สาวะออกมามีสีแดงฯลฯ (มักจะพบในรายท่มี ี
อาการแบบเรือ้ รงั )
- เตา้ นมอกั เสบ (มกั พบในรายที่มอี าการแบบเฉียบพลนั )
การรักษา ใชย้ าปฏิชีวนะคอื ไดไฮโดรสเตรป็ โตมยั ซนิ เต็ทตราไซคลนิ และเพ็นนิซิลนิ
การควบคมุ และป้องกัน
- กาจัดสตั วท์ ่ีเปน็ ตวั นาโรคเช่นหนู
- การสขุ าภิบาลและการจดั การทด่ี ี
- แยกสตั ว์ท่ีติดเช้อื ออกจากฝูง

1.1.9 โรครินเดอรเ์ ปสต์ (rinderpest)
สาเหตุ เกิดจากเช้ือไวรสั พารามกิ โซ (paramyxovirus)
การติดต่อ เช้ือจะถูกขับออกมากับส่ิงขับถ่ายต่างๆของสัตว์ โดยสัตว์จะติดโรคจากการสัมผัสกับ
สัตว์ป่วยโดยตรงการกินน้าหรอื อาหารทป่ี นเปอ้ื นเชื้อสตั ว์อายุนอ้ ยจะติดโรคได้งา่ ยโคจะทนทานโรคมากกว่า
กระบอื พบโรคนใี้ นโค กระบอื แพะ แกะ อูฐ และช้าง

อาการ ระยะฟักตัวประมาณ 2 – 12 วันในลูกสัตว์จะเป็นแบบรุนแรงสัตว์จะตายก่อนที่จะแสดง
อาการออกมาให้เห็นในสัตว์ที่โตเต็มท่ีแล้วจะพบอาการไข้สูง 106 – 107 องศาฟาเรนไฮต์ไม่กินอาหารเย่ือ
บผุ ิวชมุ่ ต่างๆอักเสบมีสแี ดงเข้มเกิดเม็ดต่มุ ในช่องปากเช่นเหงือกลิ้นรมิ ฝีปากหรืออาจพบเม็ดต่มุ บรเิ วณโคน
ขาด้านในอัณฑะเต้านมคอโคนหางและอวัยวะเพศเมียต่อมากลายเป็นตุ่มหนองและลอกหลุดเป็นแผล
น้าลายไหลตาแดงน้าตาไหลอาจมีหนองปนมากับน้ามูกน้าลายหลังจากนั้นไข้จะลดลงเป็นปกติหรือต่ากว่า
พบว่าอาการท้องเสียอย่างรุนแรงอุจจาระมีสีดากลิ่นเหม็นคาวจัดมักมีเย่ือเมือกปนออกมาด้วยยืนห ลังโก่ง
เน่ืองจากปวดในช่องท้องเค้ียวฟันซึมและตายในท่ีสุดสัตว์จะตายในภายใน 5-10 วันหลังจากมีไข้สัตว์ท่ีไม่
ตายจะซูบซดี ขนหยาบกรา้ นอตั ราการตายของโรคอาจสูงถงึ 80-90 เปอรเ์ ซ็นต์

การรักษา ให้การรกั ษาตามอาการทีพ่ บและให้ยาปฏิชีวนะเพอ่ื ป้องกันโรคแทรกซอ้ น
การปอ้ งกนั และควบคุม

- ทาวัคซีนทกุ ๆ 2 ปใี นบริเวณท่ีเคยเกดิ โรคระบาดหรือตามแนวรอยตอ่ ระหวา่ งประเทศ
- จดั การสขุ าภิบาลทด่ี ี

1.1.10 โรคเซอร่า (surra)
โรคเซอร่าเป็นโรคติดต่อของสัตว์เลี้ยงซ่ึงอูฐม้าลาล่อและสุนัขจะติดโรคน้ีได้ง่ายและเป็นโรคอย่าง
รุนแรงสาหรับแพะแกะพบเป็นโรคนี้น้อยส่วนโคกระบือสุกรมีความต้านทานดีกว่าและมักเป็นโรคน้ีอย่าง
ออ่ นและเป็นตัวแพร่เชอื้ ไปสู่สตั ว์ท่ีไวต่อโรคนี้โรคน้ีมีลักษณะเฉพาะคือมีไขโ้ ลหิตจางและมีผ่ืนพุพองเกิดขึ้น
ที่ผิวหนังโรคนี้ไม่ติดคน ช่ือพ้องสาหรับช่ือโรคเซอร่ามักนิยมเรียกในม้าส่วนสัตว์อื่นนิยมเรียกชื่อโรคน้ีว่า
ทรพิ พาโนโซเมยี ซสิ (trypanosomiasis) หรอื ทริพพาโนโซโมซสิ (trypanosomosis)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซวั ชื่อทริพพาโนโซมาอแี วนไส (Trypa- nosomaevansi)
อยใู่ นกระแสเลอื ดม้ามและนา้ ไขสนั หลงั เช้ือนจี้ ะพบอยูน่ อกเม็ดเลอื ดแดง
อาการ ส่วนมากโคกระบือมักเป็นโรคอย่างอ่อนและเรื้อรังไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็นเด่นชัด
นอกจากซีดและผอมบางรายอาจจะมีไข้เล็กน้อยซึมโลหิตจางอ่อนเพลียน้ามูลน้าตาไหลตาอักเสบหรือ ขุ่น
บวมน้าบริเวณหน้าอกและท้องสัตว์สามารถฟื้นตัวและอาการภายนอกดูเป็นปกติสาหรับสัตว์ต้ังท้องอาจ
แท้งลกู
การติดต่อ การแพร่ระบาดของโรคโรคนี้ติดต่อกันได้โดยแมลงดูดเลือดต่าง ๆ เช่น แมลงวันคอก
เหลือบและยุง เป็นต้น ในฤดูที่มีแมลงชุกชุมจะทาให้แพร่โรคมากย่ิงขึ้นเช้ือน้ีสามารถผ่านเข้าทางบาดแผล
ผิวหนงั หรอื เยื่อเมอื กได้ด้วย
การควบคมุ ปอ้ งกนั

- ในแหล่งทีม่ โี รคระบาดควรทาการตรวจเลอื ดอย่างน้อยปีละครง้ั
- กาจัดแมลงดูดเลือดทุกชนิดโดยทาลายแหลง่ อาหารและแหลง่ เพาะพนั ธ์ุของแมลง
เหลา่ น้ี

1.1.11 โรคมงคล่อเทยี ม (melioidosis)
เป็นโรคท่ีพบได้ในสัตว์พวกโคกระบือสุกรแพะแกะสุนัขแมวหนูและม้าโรคน้ีพบในทุกภาคของ
ประเทศไทยและพบมากทสี่ ุดในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือสามารถติดต่อถึงคนไดด้ ว้ ย
สาเหตุ เกดิ จากเชื้อแบคทเี รียซโู ดโมนาสซูโดมอลิไอ (Pseudomonas pseudomallei)
การติดต่อ เช้ือแบคทีเรียซูโดโมนาสน้ีพบได้ท่ัวไปในดินน้าโคลนตมสามารถอยู่ในน้าได้นาน
ประมาณ 8 สัปดาห์และอยู่ในโคลนตมได้ประมาณ 7 เดือนสัตว์เป็นโรคนี้ได้จากการกินหรือหายใจเอาเชื้อ
เข้าไปหรอื เชื้อเขา้ สู่ร่างกายทางบาดแผลในโคนมเช้ือจะเข้าทางรูหัวนมทาให้เต้านมมกี ารอักเสบหรอื เช้อื เข้า
ทางช่องคลอดขณะทโ่ี คกาลังคลอดทาให้เกิดมดลูกอกั เสบโรคมงคล่อเทียมจะพบมกี ารระบาดมากในช่วงฤดู
ฝน
อาการ โคท่ีเปน็ โรคแบบเร้ือรังร่างกายจะซูบผอมมไี ขห้ ายใจหอบน้ามูกนา้ ลายไหลจะแสดงอาการ
อยู่นาน 2-3 เดือนแล้วก็ตายโคบางตัวอาจแสดงอาการทางระบบประสาทเช่นเดินขาหลังอ่อนไม่มีแรงชน
คอกเป็นต้นในโคตัวผู้อาจพบลูกอัณฑะบวมโตข้างใดข้างหนึ่งเสมอเน่ืองจากมีหนองแทรกอยู่ระหว่างลูก
อณั ฑะและหนังหุ้มลูกอัณฑะในโคนมเช้ือตัวน้ีจะทาให้เกิดโรคเต้านมอกั เสบน้านมท่ีได้จะเป็นน้าใสมีสีเขียว
หรือเหลืองมีหนองปน
การรักษา สัตว์ที่ป่วยให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือซัลฟาเช่นเทอราไมซิน หรือซัลฟาไดอะซินแต่
การรักษามักไมค่ ่อยไดผ้ ล
การควบคุมและป้องกัน

- แยกโคทแี่ สดงอาการป่วยออกจากฝูง
- ทาความสะอาดพ้ืนคอกและปล่อยให้พ้ืนแห้งเพราะถ้าคอกสกปรกมีการเปียกแฉะเสมอ
จะทาให้เป็นทอ่ี ยู่ของเชอ้ื แบคทเี รยี ตัวน้ีได้ดี

1.1.12 โรคพยาธภิ ายนอก (ectoparasite)
พยาธิภายนอกทพี่ บในโคมหี ลายชนิดทสี่ าคัญไดแ้ ก่เห็บ ไรข้ีเรือ้ น เหา แมลงดดู เลือด และหนอน
แมลงวนั
1) เหบ็ โค ความสาคัญของเห็บโค

- เห็บโคตวั หน่ึงอาจดดู เลือดได้ถึง 0.5 มิลลิลติ ร
- เป็นตวั นาโรคเหบ็ โคสามารถนาโรคไดห้ ลายชนดิ เช่นบาบีซโิ อซสิ และอะนาพลาสโมซสิ
- รอยแผลทเี่ กิดจากเห็บกัดทาความเสียหายแก่หนังโคทาให้ขายหนังไม่ไดร้ าคา
- รอยแผลจากเห็บดูดเลือดอาจเกิดแผลทม่ี หี นอนแมลงวันมาเจาะไชได้
การควบคมุ เห็บโค ประกอบด้วย
- การควบคุมเห็บในทุง่ หญ้าเหบ็ ท่อี ยู่ในทุง่ หญ้าจะเปน็ เหบ็ ตัวอ่อนหรือเห็บตวั เมียดูดเลือด
อิ่มตัวควรจัดการทุ่งหญ้าโดยการปล่อยทุ่งหญ้าท้ิงไว้นานๆ หรือไถกลบไม่ควรใช้สารเคมีหรือยาฆ่าเห็บพ่น
ในทุ่งหญา้

- การควบคุมเห็บบนตัวโคโดยการใช้ยาฆ่าเห็บชนิดต่างๆ เช่น ยาพวกออแกนโน
ฟอสฟอรัสเช่น ดาซุนทอลนีโอซิด เนกูวอน ยาพวกไพรีทรอยด์ เช่น คูเพ็กซ์ซอล แพคดับบลิว พีไบทรอด์
เอช10 ดับบลวิ พีบูทอ๊ กซ์ ยาพวกอะมดิ ีน เช่น อะมีทราช ยาฉดี เชน่ ไอโวเม็ค

2) เหาโค
สาเหตุ เหาโคมีหลายชนิดพบได้ง่ายในบริเวณท่ีขนยาวเช่นท่ีพู่หางมักพบในลูกสัตว์หรือสัตว์ที่มี
สุขภาพไม่ดโี คทมี่ ีเหามากจะแสดงอาการคนั อยา่ งเหน็ ได้ชดั
การควบคุม ยาท่ีใช้กาจัดเห็บทุกชนิดสามารถใชค้ วบคุมเหาได้ดีแตค่ วรใช้ติดต่อกัน 2 คร้ัง เพ่ือฆ่า
ตัวออ่ นของเหาท่เี พง่ิ จะออกจากไข่
3) ไรขีเ้ ร้อื น แบง่ เปน็ 2 ชนดิ ไดแ้ ก่

3.1 ไรข้เี รือ้ นขุมขน (demodectic mange)
สาเหตุ เกิดจากไรชนดิ ดโี มเดกซ์ (Demodexbovis)
อาการ ชนิดที่พบมักเป็นแบบเฉพาะท่ีซึ่งรอยโรคที่ปรากฏจะมีลักษณะคล้าย เชื้อราคือมี
ขนหกั หรือขนรว่ งหลุดเป็นวงๆขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 – 5 เซนติเมตรเมื่อดูใกลๆ้ จะเหน็ เปน็ รอย
นนู สูงขึ้นมาคล้ายเป็นตุ่มเล็กๆถ้าบีบหรือขูดบริเวณท่ีเป็นรอยนูนน้ีจะพบของเหลวคล้ายหนองข้นสขี าวเม่ือ
นาไปตรวจดดู ว้ ยกล้องจุลทรรศนจ์ ะพบไรขี้เรื้อนขุมขนเปน็ จานวนมาก
การรักษา ไรขี้เรื้อนแบบเฉพาะท่ีไม่ต้องรักษาเพราะโรคมักไม่แพร่กระจาย แต่ถ้าโคเป็น
แบบทั่วตัวควรจาหน่ายออกเพราะรกั ษายากมากยกเวน้ ในรายท่เี ปน็ ไม่มากอาจใช้ยาทาเฉพาะที่เชน่ ยาพวก
ออแกนโนฟอสฟอรสั หรอื ยาอะมทิ ราช
3.2 ไรขี้เรือ้ นชนิดโคริออนตกิ (chorioptic mange)
สาเหตุ เกิดจากไรชนิดโครอิ อบเทส (Chorioptes spp.)
อาการ ในโคจะพบรอยโรคท่ีบริเวณโคนหางรอบก้นหลังและเต้านมโดยอาจจะเกิดตุ่ม
พอง (papule) หรือรังแค (scab) หรือรอยโรคท่ีเป็นลักษณะของการระคายเคืองหนังบริเวณน้ันจะหยาบ
ย่นสกปรกขนร่วงมักพบไดบ้ ่อยทบ่ี ริเวณโคนหางและรอบก้น
การรักษา เนื่องจากไรชนิดน้ีจะไม่ฝังตัวลงในผิวหนังการรักษาจึงทาได้ไม่ยากนัก
การใช้ยาที่เป็นยาฆ่าเห็บและไร (acaricide) ทุกชนิดในขนาดที่แนะนาสามารถใช้ได้แต่ต้องพิจารณาถึง
ความเหมาะสมประหยัดปลอดภัยและพษิ ตกคา้ ง
4) แผลหนอนแมลงวนั
สาเหตุ แมลงที่ทาให้เกดิ แผลหนอนในสัตวต์ ่างๆรวมท้ังโคมีหลายชนิดแต่ท่ีพบบ่อยที่สดุ คือแมลงค
ริสซอเมีย (Chrysomyiabezzina) ซึ่งแมลงตัวแก่จะมีลักษณะคล้ายกับแมลงหัวเขียวมากแมลงวันเหล่าน้ี
จะบินมาตอมและหากินอยู่ที่แผลของสัตว์เช่นแผลท่ีสะดือลูกโคแผลจากอุบัติเหตุและวางไข่ไว้ท่ีแผลไข่จะ
ฟักเป็นตัวอ่อนหรือหนอนตัวอ่อนน้ีจะใช้เวลาเจริญอยู่ในแผล 3– 6 วันจากนั้นตัวอ่อนจะหล่นลงดิน
กลายเป็นดักแด้และเจริญเป็นแมลงตัวแก่ต่อไป

อาการ บาดแผลจะเปิดกว้างเป่ือยยุ่ยส่งกลิ่นเหม็นเน่าอาจมีเลือดออกเน่ืองจากตัวอ่อนของ
แมลงวันชอนไชโคจะแสดงอาการเจ็บปวดถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องสุขภาพสัตว์จะทรุดโทรมและอาจ
ตายในที่สุด

การรักษา โกนขนรอบบริเวณแผลให้กว้างห่างจากขอบแผลพอสมควรล้างแผลให้สะอาดโดยใช้
น้ายาฆ่าเชื้อหรือน้าต้มสุกอุ่นถ้ามีหนองให้ล้างแผลด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จากนั้นใช้สาลีเช็ดขูดเน้ือ
ตายออกให้หมดโรยผงเนกาซันต์ลงในแผลเพ่ือฆ่าตัวอ่อนแมลงจับตัวอ่อนออกให้หมดทาแผลด้วยทิงเจอร์
ไอโอดีนควรโรยผงเนกาซันต์ไว้อกี เพื่อฆา่ ตวั ออ่ นทหี่ ลงเหลือและป้องกนั การวางไข่ซ้าทาเชน่ นี้ทุกวนั จนกว่า
แผลจะหายสนิท

1.1.13 โรคพยาธิใบไมใ้ นตับ (fasciolosis)
สาเหตุและการติดต่อ เกิดจากพยาธิชนิดหน่ึงช่ือฟาสซิโอล่าไจแกนติกา (Fasciola gigantica)
ซ่งึ มีรปู ร่างลักษณะคล้ายใบไมข้ นาดตัวยาว 30 – 55 มิลลิเมตรกวา้ ง 9 – 15 มลิ ลเิ มตรลาตัวแบนสว่ นหน้า
กว้างกว่าสว่ นท้ายอาศัยอยู่ในถงุ น้าดแี ละทอ่ นา้ ดี
อาการ มกั พบในโคทีม่ อี ายตุ ั้งแต่ 8 เดือนขนึ้ ไปอาการป่วยอาจพบได้ 2 ลกั ษณะคอื

- อาการเฉียบพลันเกิดข้ึนเมื่อโคกินตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิเข้าไปพร้อมกันมาก ๆ
พยาธิจะไชเข้าตับทาให้เกิดแผลและมีเลือดออกมากโคจะตายกระทันหันโดยไม่แสดงอาการล่วงหน้าพบ
มากในโคอายนุ ้อย

- อาการเร้ือรังมักพบในโคที่โตแล้วโคที่เป็นโรคจะซูบผอมเบื่ออาหารท้องอืดบ่อย ๆ
โลหิตจาง สังเกตได้จากเย่ือเมือกท่ีตาและปากซีดในแม่โครีดนมปริมาณน้านมลดลงผิวหนังหยาบมีอาการ
บวมน้าใต้คางทอ้ งผูกสลบั กบั ท้องเสยี และตายในทส่ี ุด

การรกั ษา การดูแลรักษาเบื้องต้นในกรณีที่ตรวจพบว่าเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ควรให้ยาถ่ายพยาธิ
ทันทดี ้วยยาท่ีออกฤทธติ์ ่อพยาธใิ บไม้ตับต่อไปนอี้ ย่างใดอยา่ งหนึ่งเชน่

- นโิ คลโฟแลนหรือบเิ ลวอน ขนาด 1.0 ซ.ี ซี./น้าหนัก 50 กิโลกรัมเข้าใต้ผิวหนัง
- โคลซานเทลหรอื ฟลูกิเวอร์ ขนาด 1 ซี.ซี./น้าหนัก 20 กโิ ลกรมั เขา้ ใต้ผิวหนัง
- อลั เบนดาโซลหรือวัลบาเซนใหก้ นิ ขนาด 1 ซี.ซี./น้าหนัก 10 กโิ ลกรมั
- ทริคลาเบนดาโซลหรือฟาซิเน็กซ์ใหก้ ิน ขนาด 12 มิลลกิ รมั /น้าหนัก 1 กโิ ลกรมั
- คลอซูลอนหรอื ไอโวเมค-เอฟ ขนาด 1 ซ.ี ซ.ี /น้าหนัก 50 กิโลกรมั เขา้ ใต้ผิวหนงั
- ไบไทโอนอลซัลฟอกไซด์หรือเลวาซิดให้กินขนาด 4.5 กรัม/น้าหนัก 100 กิโลกรัม
การควบคุมและป้องกนั
- ไมป่ ลอ่ ยใหโ้ คไปกินหญา้ หรอื พชื น้าในแหลง่ ที่มกี ารระบาดของพยาธใิ บไม้ตบั
- ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ควรจัดให้มีการระบายน้าอย่างดีอย่าให้มีน้าขังนานเพราะจะเป็นที่อยู่
ของหอยได้
- ควรมีการตรวจอุจจาระโคเปน็ ประจาอย่างนอ้ ยปีละครัง้

- ในแหล่งที่มกี ารระบาดของพยาธใิ บไม้ตับควรให้ยาถ่ายพยาธิแก่โคทม่ี ีอายตุ ้งั แต่ 8 เดอื น
ข้นึ ไปเปน็ ประจาปลี ะ 2 ครง้ั

1.1.14 โรคพยาธไิ สเ้ ดอื น
ซีสพยาธิไส้เดือนเป็นอุปสรรคอย่างย่ิงต่อการเพ่ิมผลผลิตโคและกระบือโรคนี้มีผลรุนแรงต่อลูก
กระบือเพราะมีอัตราการตายสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์และในเกษตรกรรายย่อยบางรายอาจพบว่าลูกกระบือที่
เกดิ มาทง้ั หมดตายดว้ ยโรคพยาธไิ ส้เดอื น (อัตราการตาย 100 เปอรเ์ ซน็ ต)์
สาเหตุ เกิดจากพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งทีม่ ีลักษณะคล้ายไส้เดือนพวก oxcavevitulorum เรียกกัน
ท่ัวไปวา่ “พยาธิไสเ้ ดือน” พบอยูใ่ นบรเิ วณสว่ นต้นของลาไสเ้ ล็ก
การติดต่อ ลูกกระบือส่วนใหญ่จะได้รับพยาธิตัวอ่อนในขณะท่ีแม่กระบือต้ังท้องโดยผ่านทางสาย
รกนอกจากนี้ลูกกระบอื หลงั คลอดยงั อาจตดิ ต่อโดยการด่ืมนา้ นมจากแม่
อาการ ลูกกระบือท่ีเป็นโรคพยาธิไส้เดือนจะมีอาการซูบผอมแคระแกร็นขนหยองและหยาบกร้าน
เบื่ออาหารระบบทางเดินอาหารผิดปกติโดยแสดงอาการท้องผูกอุจจาระมลี ักษณะเหนียวสีขาวปนเทากลิ่น
เหม็นซึ่งเป็นกล่ินของโรคน้ีโดยเฉพาะลูกกระบือจะแสดงอาการเบ่งถ่ายอุจจาระลาบากในรายท่ีมีพยาธิ
ไส้เดือนจานวนมากจะทาให้ไม่สามารถถ่ายอุจจาระออกมาได้และอาจมีพยาธิไส้เดือนออกมาแทนบริเวณ
ท้องจะโป่งออกมีลกั ษณะกลมเหน็ ไดช้ ดั
การป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมป้องกันโรคพยาธิไส้เดือนคือการป้องกันไม่ให้พยาธิตัวอ่อน
เจริญเติบโตเป็นพยาธติ ัวแกใ่ นลูกกระบือซ่ึงจะชว่ ยตัดวงจรทจี่ ะเกิดไข่พยาธิต่อไปโดยให้ยาถ่ายพยาธิแก่ลูก
กระบอื ทีม่ ีอายุ 10 – 16 วันยาถ่ายพยาธิทีใ่ ชใ้ นการกาจัดพยาธิไส้เดือนตัวอ่อนในลูกกระบอื ในประเทศไทย
ทีม่ ีการทดลองว่าใชไ้ ด้ผลดีคอื ยาถา่ ยพยาธิไทโอฟาเนทใชข้ นาด 50 มิลลกิ รมั ต่อน้าหนกั ตวั สตั ว์ 1 กโิ ลกรมั
การรักษา ควรให้ยาถ่ายพยาธิแก่ลูกกระบือเม่ือเร่ิมแสดงอาการป่วยให้เห็นหรือเม่ือลูกกระบือมี
อายุประมาณ 1 เดือนยาถ่ายพยาธิที่ใช้ในการรักษาโรคพยาธิไส้เดือนในประเทศไทยซ่ึงได้มีการทดลองว่า
ได้ผลดมี ีดังน้ี

- ยาถ่ายพยาธิปิบเปอราซีน เช่น ปิบเปอราซีนซิเตรท ใช้ขนาด 220 มิลลิกรัมต่อน้าหนัก
1 กโิ ลกรัม

- ยาถ่ายพยาธิไพแรนเทล็ ทาร์เทรท ใช้ขนาด 5 มิลลิกรัมต่อนา้ หนกั 1 กโิ ลกรัม
- ยาถ่ายพยาธิเตทตร้ามโิ ซล ใชข้ นาด 7.5 มลิ ลิกรัมตอ่ น้าหนกั 1 กโิ ลกรัม
- ยาถา่ ยพยาธิเฟแบนเทล็ ใช้ขนาด 5 มลิ ลิกรมั ตอ่ น้าหนกั 1 กโิ ลกรัม
- ยาถา่ ยพยาธเิ ฟนเบนดาโซล ใช้ขนาด 7.5 มลิ ลิกรัมต่อน้าหนัก 1 กิโลกรมั
- ยาถา่ ยพยาธไิ อเวอร์เมคทนิ ใชข้ นาด 0.2 มลิ ลกิ รัมต่อนา้ หนัก 1 กิโลกรัม
- ยาถา่ ยพยาธไิ ทโอฟาเนท ใช้ขนาด 50 มลิ ลิกรัมต่อน้าหนกั 1 กิโลกรัม

1.2 โรคและพยาธิท่ีสาคญั ในสุกร
1.2.1 โรคทริคิโนซีส (trichinosis)
เป็นโรคทเ่ี กิดจากพยาธภิ ายในทาความเสยี หายให้กบั สุกรเปน็ อยา่ งมากมีรายละเอยี ดของโรคดังน้ี
สาเหตุ โรคโรคทรคิ ิโนซีส เป็นโรคทเี่ กดิ จากพยาธติ วั กลมชื่อ Trichinella Spiralis พยาธิชนิดนี้จะ

พบในลาไส้ของสตั วป์ า่ กว่า 100 ชนิดรวมท้งั ในสกุ รสุนัขแมวและคน วงจรชีวิตเม่ือสัตวก์ ินเน้ือดิบๆสกุ ๆทมี่ ี
พยาธิตัวอ่อนอยใู่ นถงุ หุ้มหรือซสี ต์ (cyst) เข้าไปพยาธิตัวอ่อนจะออกจากซีสต์ในระหว่างการย่อยอาหารใน
กระเพาะและเจรญิ เติบโตเป็นพยาธติ ัวแก่อย่างรวดเร็วในลาไสเ้ ลก็ ภายใน 2-6 วนั หลงั กนิ เข้าไปพยาธิตวั ผู้
จะตายหลังผสมพนั ธุส์ ว่ นพยาธติ วั เมยี จะไชเขา้ ไปใน เยื่อเมือกของลาไส้ตอ่ มาพยาธิตัวเมียจะวางไข่และฟัก
เปน็ ตัวอ่อนในมดลูกพยาธติ ัวเมีย 1 ตวั จะใหต้ วั อ่อนได้ประมาณ 1,000-1,500 ตัวหรอื อาจใหต้ วั อ่อนได้
มากถึง 10,000 ตวั ในระหว่างทีม่ ีชีวติ อยไู่ ดป้ ระมาณ 6 สัปดาห์ พยาธติ วั อ่อนมขี นาดประมาณ
0.1 มิลลเิ มตร จะไชเข้าไปในระบบนา้ เหลืองและเข้าส่รู ะบบหมุนเวียนโลหติ ในที่สุดพยาธติ ัวออ่ นจะแพร่ไป
ทวั่ รา่ งกาย

อาการ ในสกุ รถา้ ได้รับพยาธิไม่มากจะไมแ่ สดงอาการผดิ ปกติให้เห็นแต่ในรายท่ีไดร้ ับพยาธิจานวน
มากจะทาให้สกุ รปว่ ยเชน่ มีไข้ซมึ เบอ่ื อาหารผอมแหง้ หายใจลาบากบวมตามหน้าเจ็บปวดตามกล้ามเน้ือมี
ปญั หาเกีย่ วกบั การเคลื่อนไหวของขาโดยเฉพาะขาหลังขาจะแข็งซงึ่ จะมีความลาบากมากท่ีสุดในการท่ีจะ
ลกุ ขนึ้ และมขี นหยาบกร้านในสนุ ัขและแมวถา้ ไดร้ ับพยาธจิ านวนมากจะมีน้าลายไหลปวดกล้ามเน้ือมากจน
ไมส่ ามารถจะเดนิ ได้จะมขี นหยาบกร้าน

การปอ้ งกันและควบคมุ
- ต้องตม้ เนื้อสตั วใ์ หส้ กุ ก่อนบรโิ ภคด้วยการต้มให้เดือดนาน 30 นาทีตอ่ เนื้อหนัก

1 กโิ ลกรมั จงึ จะฆา่ พยาธติ ัวอ่อนที่อยู่ในเนอ้ื ได้การแชเ่ ยน็ เน้ือสุกรท่ีอณุ หภูมิ -35 องศาเซลเซยี ส ต้องใช้
เวลา 24 ชั่วโมงจงึ จะฆา่ พยาธิตัวออ่ นได้

- การเลี้ยงสกุ รจะต้องเลีย้ งในคอกท่ีแข็งแรงหรือในบริเวณทจ่ี ากดั ไม่ปลอ่ ยใหส้ กุ ร
เพ่นพา่ นเทย่ี วอาหารกินเอง

- ควรให้อาหารสุกรด้วยอาหารสาหรบั สุกรโดยตรงถา้ ใช้เศษอาหารนาไปเล้ียงสุกรจะต้อง
ตม้ ให้สกุ เพือ่ ทาลายพยาธติ วั อ่อนท่ีอยู่ในเศษเนื้อสุกรที่อาจตดิ มากบั อาหารได้

- กาจดั สัตว์อ่นื ท่เี ปน็ ตัวแพรโ่ รคได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนู เพราะสุกรสามารถติดโรคไดโ้ ดย
การกนิ หนตู ายหรือซากหนูที่มีพยาธเิ ข้าไป

- กวดขนั การเคล่ือนย้ายสุกรในเขตที่มีโรคระบาดวิธกี ารท่ีดีท่ีสดุ กค็ ือทาลายสุกรทสี่ งสัย
ว่าเป็นโรคท้ังหมดดว้ ยการเผาหรอื ฝังใหล้ กึ

- ไม่ซ้อื สุกรจากแหล่งทเ่ี ปน็ โรคหรือเคยเกดิ โรคระบาดมาเล้ียง
- ควรมโี รงฆา่ สัตวท์ ีไ่ ด้มาตรฐานที่มีการตรวจเนื้อสัตว์วา่ ปลอดจากโรคตา่ ง ๆ รวมทง้ั โรค
ทริคิโนซีสก่อนนาไปจาหน่ายในท้องตลาด

การรักษา มรี ายงานวา่ ไทอาเบนดาโซลมีประสทิ ธภิ าพในการกาจัดท้ังพยาธิตวั แก่ที่อยู่ในลาไส้และ
พยาธติ ัวอ่อนท่ีอยู่ในกลา้ มเนื้อ นอกจากนยี้ ังมรี ายงานวา่ พาร์เบนดาโซลแคมเบนดาโซล ไตรคลอโรฟอน
เฟนไธออน และเมทธีริดนิ มีประสทิ ธิภาพในการกาจัดพยาธติ วั ออ่ นในกลา้ มเน้ือในสตั ว์ทดลอง ในคนพบวา่
ไทอาเบนดาโซลขนาด 50 มิลลิกรมั ต่อนา้ หนักตัว 1กโิ ลกรัม ให้กนิ ตดิ ตอ่ กัน 5-7 วันจะทาใหค้ นไขม้ อี าการ
ดขี นึ้ อยา่ งมาก

1.2.2 โรคอหวิ าต์สกุ ร (Hog Cholera, Classical Swine Fever, CSF : A 130)
สาเห ตุ เกิดจากเชื้อไวรัส (family Flaviviridae, genus Pestivirus) มีระยะฟักตัวนาน
2- 14 วัน เช้ือทนต่อสภาพอากาศเย็นได้นาน ท่ีสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในสภาพแวดล้อมปกติ เช่น
ในโรงเรอื น สง่ิ ปูรอง และมลู สัตว์ เช้อื ไวรสั จะถกู ทาลายโดยสารจาพวกด่าง เช่น โซดาไฟ และครซี อล
การตดิ ต่อ เช้ือจะเข้าสู่รา่ งกายสุกร ไดโดยการกินอาหาร น้า สงิ่ ปูรอง มูลสัตว์ หรือโดยการหายใจ
หรือโดยทางบาดแผลที่ผิวหนังหรือโดยทางเย่ือตา (นกและแมลงวันเป็นพาหนะของโรคนี้ได) และเม่ือเชื้อ
โรคเข้าสู่ร่างกายสุกรแล้วจะมีระยะฟักตัวนาน 2- 14 วัน เช้ือทนต่อสภาพอากาศเย็นได้นาน ท่ีสามารถมี
ชวี ติ อยไู่ ด้นานในสภาพแวดลอ้ มปกติ
อาการ สุกรที่รับเช้ือไวรัสตัวน้ีก็จะเร่ิมแสดงอาการป่วยของโรค อาการท่ีพบไดคือมีไขสูงประมาณ
105-108 ˚F หรือ 40.5-42 ˚C เบื่ออาหารและต่อมาจะไมกินอาหาร หอบ ตื่นเต้นและจะมีอาการซึมใน
เวลาต่อมา เยื่อตาอักเสบ (มีข้ีตา) ทองผูก (ขี้เป็นเม็ด) ในช่วงสุกรป่วยมีไขและเม่ือไขลงจะพบอาการทอง
เสีย (ข้ีเป็นน้าสีเหลืองเทา) และอาจพบอาการอาเจียนร่วมด้วย ผิวหนังบริเวณหู คอ ทอง และด้านในของ
ขาหนีบ จะพบจดุ เลอื ดออกเล็ก ๆ ทาให้ผวิ หนงั บรเิ วณนั้นมสี แี ดงและต่อมาจะเปลยี่ นเป็นสีม่วง
วกิ ารหรอื รอยโรค พบจดุ เลือดออกบรเิ วณผิวหนัง โดยเฉพาะพื้นท้องจมูก ใบหู และโคนขาด้านใน
เม่อื เปิดผ่าดูอวยั วะภายใน พบว่ามีจุดเลอื ดออก เช่น ท่ีต่อมน้าเหลือง กล่องเสยี ง ไต และกระเพาะปัสสาวะ
เสน้ เลอื ดในม้ามถูกอุดตนั ดภู ายนอกเห็นลกั ษณะเป็นจ้าเลือดดาคล้า
การควบคุมและป้องกันโรค

1. จัดการด้านสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ โดยไม่เล้ียงสุกรหนาแน่นเกินไป ทาความ
สะอาดเล้าสุกรอย่างสม่าเสมอ กาจัด นก หนู แมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะของโรคและป้องกันการติดเชื้อจา
ภายนอกโดยใชน้ ้ายาฆา่ เชอ้ื โรคกอ่ นเข้าฟารม์

2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้แก่สุกรทุกตัวตามโปรแกรมและทาเคร่ืองหมายสุกรที่ให้วัคซีน
แล้วเพอื่ สะดวกในการตรวจสอบภายหลงั การปอ้ งกนั ฉีดวคั ซนี ป้องกนั โรคลว่ งหนา้ ทกุ ๆ ปี

- ฉดี วัคซนี ให้กบั ลูกสุกรท่อี ายุต้ังแต่ 1 เดอื นขนึ้ ไปสาหรับลูกสกุ รทีเ่ กิด
จากแมซ่ ึ่งไม่เคยไดร้ ับวคั ซีนอหวิ าต์สุกรมาก่อน

- ฉีดวัคซีนให้กับสุกรที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไปสาหรับลูกสุกรที่เกิดจากแม่ซ่ึง
เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อนแต่ถ้าหากฉีดวัคซนี ให้กับสุกรท่ีมีอายนุ ้อยกวา่ 2 เดือนควรฉดี วัคซีนซ้าอีกคร้ัง
หนึ่งห่างจากคร้ังแรก 2-3 เดือนวัคซีนให้ความคุ้มโรคได้ไม่น้อยกว่า 1 ปีดังน้ันสาหรับสุกรพ่อแม่พันธ์ุควร

ฉีดวัคซนี ปีละครง้ั
3. ไม่ควรฉีดวัคซีนเช้ือเป็นให้แม่สุกรทุกระยะของการต้ังท้อง เนื่องจากไวรัสสามารถผ่าน

จากแมไ่ ปยังลูกโดยผ่านทางสายรกได้ เชื้อไวรัสจะแฝงอยูใ่ นลูกสุกรทาใหก้ ารให้วัคซีนปอ้ งกันโรคในลูกสุกร
เหล่านไี้ ม่ได้ผล

4. ระวังไม่ใช้วัคซีนที่เสื่อมคุณภาพ และเก็บวัคซีนให้ถูกวิธี เช่น เก็บในตู้เย็นหรือกระติก
นา้ แขง็ ที่มคี วามเยน็ เพยี งพอและไม่ให้ถูกแสงแดด

5. เม่ือมีสุกรป่วยท่ีสงสัยว่าเป็นโรคน้ี ควรแยกไว้ในคอกสัตว์ป่วยท่ีอยู่ห่างไกลโดยทันที
แล้วรีบแจ้งต่อปศุสัตว์อาเภอหรือปศุสัตว์จังหวัด และขอคาแนะนาท่ีถูกต้องในการควบคุมโรค

6. ทาลายสุกรป่วยให้หมด เพ่ือไม่ให้โรคแพร่กระจายพร้อมท้ังทาความสะอาดเล้าสุกร
ด้วยโซดาไฟ 2 เปอร์เซ็นต์ หรือครีซอล 5 เปอร์เซ็นต์ แล้วปล่อยให้เล้าว่างไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนนา
สกุ รใหมเ่ ข้ามาเลย้ี ง

การรักษา โรคอหิวาตสุกรเกิดจากเช้ือไวรัส ไม่มียาที่จะใช้รักษาโรคน้ีโดยเฉพาะสุกรท่ีป่วยควร
ทาลายทงิ้ โดยการเผาหรือฝัง

1.2.3 โรคพษิ สุนขั บ้าเทียม (pseudorabies ,Aujeszky’s disease , AD)
โรคนี้เป็นโรคระบาดพบว่าเป็นได้กับสุกรทุกอายุแต่ความรุนแรงของโรคจะเกิดกับลูกสุกร และสกุ ร
เล็กอัตราการเกิดโรคและอตั ราการตายสูง และสุกรท่ีฟ้ืนจากโรคจะเป็นพาหนะของโรคและสามารถปล่อย
เชอ้ื โรคออกมากบั ลมหายใจ
สาเหตุ เกดิ จากเชื้อเฮอร์ปสิ ไ์ วรัส (Herpes virus)
การติดตอ่ เช้ือโรคจะเข้าสู่รา่ งกายสุกรไดโดยการสัมผัสกับสุกรตัวท่ีเป็นพาหนะของโรคน้ี หรือโดย
การกินอาหารหรือน้าที่มีเช้ือน้ีปนอยู่หรอื โดยการหายใจเอาเชอ้ื นี้เข้าไป หรือโดยการผสมพันธุกับสุกรที่เป็น
โรคนี้ หรือโดยทางเย่ือบุตา (หนูบ้านสามารถแพรเช้ือโรคตัวนี้ได) และเมื่อเช้ือโรคเข้าสู่ร่างกายสุกรแล้ว
จะใช้เวลาในการฟกั โรค ประมาณ 36-48 ชั่วโมง สกุ รก็จะเริม่ แสดงอาการปว่ ยให้เห็น
อาการ สุกรป่วยแสดงออกนั้นขึ้นอยู่กับอายุคืออาการจะรุนแรงในลูกสุกรแรกคลอด โดยลูกสุกร
ป่วยจะล้มลงภายในไมก่ีชั่วโมงภายหลังจากการติดเชื้อ มีไขสูงถึง 180 ˚F หรือ 42 ˚C สุกรควบคุมการ
เคลื่อนไหวไมได ตื่นเตน กล้ามเนื้อ กระตุกอย่างแรง แล้วล้มลงโดยขาอยู่ในลักษณะถีบจักรยาน (อาจพบ
อาการอาเจยี นและท้องเสียได) และน้าลายฟูมปาก

- อาการท่ีพบไดในสุกรรุท่ีป่วยคือ มีไขสูง เบื่ออาหาร ไมอยู่น่ิง หายใจลาบากตัวส่ันและ
ควบคมุ ตัวไมไดโดยเฉพาะส่วนของขาหลัง และสุกรป่วยจะชักตายในที่สดุ (สุกรรุ่นท่ีฟ้ืนจากโรคมักจะแคระ
แกรน)

- อาการทพี่ บในสุกรใหญ่ มกั จะไมรนุ แรง อาการที่พบไดคือ อาเจยี น ทองเสียหรือท้องผูก
- อาการทพี่ บไดในสกุ รทอง คือ แท้งลูก

การปอ้ งกนั โรคพิษสนุ ัขบา้ เทียม สามารถป้องกนั ไดโดย
1. ทาวัคซีนป้องกนั โรคพิษสุนัขบ้าเทียม ตามโปรแกรมทกี่ าหนดไว (ถา้ มโี รคนรี้ ะบาด)

ปกตฉิ ีดวัคซนี ปลี ะ 2 คร้ัง
2. มีการจดั การควบคมุ โรคท่เี ข้มงวด
3. มกี ารสขุ าภิบาลท่ีดี
4. มกี ารเลี้ยงดูและอาหารทด่ี ี
5. มีการกักโรคและตรวจโรคสกุ รใหม่
6. กาจดั หนู แมลงวัน นก แมวและสุนัขท่เี ข้ามาอยู่ในบรเิ วณฟาร์ม

การรกั ษา ไม่มวี ธิ กี ารรักษา นอกจากจะรักษาตามอาการ (ลกู สกุ รมักตาย จึงไมแนะนาให้รักษา)
เฉพาะเมื่อเกิดโรคข้นึ ควรทาวัคซีนใหก้ ับฝงู ท่ียงั ไมป่ ่วยจะชว่ ยใหโ้ รคสงบเรว็ ข้ึน

1.2.4 โรคบดิ มูกเลอื ดในสุกร (swine dysentery)
โรคบิดมูกเลอื ดในสุกรเป็นโรคท้องร่วงชนิดตดิ ตอ่ ทางระบบทางเดินอาหาร
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียร่วมกับเช้ือสไปโรซีส และยังมีสาเหตุโน้มนาของโรคนี้คือการจัดการ
ฟาร์มท่ไี มเหมาะสม
การติดต่อ เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายสุกรไดโดยการกินอาหารและน้าท่ีมีเช้ือปนอยู่ หรือโดยการ
สัมผัสกับสุกรป่วยโดยตรงหรือสุกรที่เป็นพาหนะของโรค และเมื่อสุกรไดรับเช้ือโรคตัวน้ีเข้าสู่ร่างกายแลว
เช้ือโรคตัวน้ีจะใช้เวลาในการฟักโรคโดยท่ัวๆ ไปประมาณ 10-14 วนั สุกรกจ็ ะเร่มิ แสดงอาการป่วยของโรค
ให้เหน็
อาการ อาการทพี่ บเหน็ ไดม้ ีอยู่ 2 แบบด้วยกัน

- แบบแรก อาการของโรคจะเกิดแบบฉับพลันโดยจะพบสุกรป่วยทีละตัวสองตัว และ
อาการของโรคท่ีพบไม่เด่นชัด คือสุกรป่วยจะกินอาหารน้อยลง อุจจาระอาจจะเหลวหรือเป็นก้อนเหมือน
ปกติ แต่ต่อมาอุจจาระจะเหลวมีสีเหลืองจนถึงสีเทา และในที่สุดอุจจาระจะเหลวเป็นเลือดสดและมีมูก
ซึ่งเป็นลักษณะเดนของโรค อาการป่วยแบบแรกน้ีมักพบว่าเป็นกับสุกรภายหลังหย่านมแลว 2 หรือ
3 สปั ดาห์

- แบบทสี่ อง อาการของโรคเป็นแบบเร้ือรังคือจะพบอาการอุจจาระเหลวสเี ทาและมีเยื่อบุ
ผิวของลาไสปนออกมา แต่ไม่มีเลอื ดปนออกมากบั อุจจาระสกุ รป่วยที่ฟ้ืนจากโรคหรือป่วยแต่ไมแสดงอาการ
ของโรค พบว่าสกุ รสามารถปล่อยเชอ้ื โรคออกมากับอจุ จาระได้

การปอ้ งกนั โรคบิดมูกเลือก สามารถป้องกนั ไดโดย
1. กาจดั สกุ รท่เี ป็นพาหะของโรค
2. มกี ารกักและตรวจโรคสกุ รใหม่
3. มกี ารเลย้ี งดูและอาหารทีด่ ี
4. มกี ารสุขาภบิ าลทด่ี ี

การรักษา โรคบิดมูกเลือดเกิดจากเช้ือแบคทีเรียร่วมกับเชื้อสไปโรซีส ยาที่จะใช้รักษาโรคน้ีได
ได้แก ยาปฏิชีวนะ เชน ยาลินโคมัยซิน ยาไทโลซิน ยาแบคซิทราซินหรือยาคลอเตตราไซคลิน หรือยากลุ่ม
สังเคราะห เชน ยาฟูราโซลิโดน โรนิดาโซน ไดเมทไตรดาโซน หรือคารบาด็อก นอกจากให้ยาไปกาจัดเชื้อ
โรคแลว อาหารทใ่ี ห้สกุ รป่วยควรมพี ลังงานต่า แต่มีเย่อื ใยสงู และควรให้สารอิเลคโทรไลท์ผสมนา้ ให้สุกรกิน
จะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้

1.2.5 โรคกระเพาะอาหารและลาไสอกั เสบตดิ ต่อ (โรค ที-จ-ี อ)ี
เป็นโรคท่ีพบไดบ้ ่อยมากในลูกสุกรดดู นม น่ันคือ อาการทอ้ งเสยี เนื่องจากทอ้ งเสียในลกู สุกรดูดนม
นน้ั เกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากมักเกดิ จากเช้ืออีโคไล (Colibacilosis) , ท้องเสียจากเชอ้ื คลอสตริเดียม
(Clostridial enteritis) และท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotaviral enteritis) ซ่ึงโรคเหล่านี้ลูกสุกรจะ
แสดงอาการทอ้ งเสียเปน็ หลกั และแตล่ ะโรคนั้นจะมีอัตราการปว่ ยและอตั ราการตายทแ่ี ตกต่างกนั ออกไป
สาเหตุ เกิดจากเช้ือไวรัส ทาให้ลูกสุกรแสดงอาการอย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายท่ีรุนแรง
กว่าการท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรีย โดยสาเหตุของการท้องเสียในลูกสุกรนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้โรคนี้เป็น
โรคระบาดของทางเดินอาหารท่ีเกิดอย่างรุนแรงในลูกสุกร อัตราการเกิดโรคและอัตราการตายสูงถึง 100
เปอรเ์ ซน็ ต์
การติดต่อ เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางอาหารหรือน้าท่ีกิน หรือโดยการหายใจเอาเช้ือโรคนี้เข้าไป
เชอ้ื โรคจะใช้เวลาในการฟัก ประมาณ 14 ชวั่ โมง ถึง 4 วัน
อาการ ลูกสุกรก็จะเริ่มแสดงอาการป่วยของโรคให้เห็น ซงึ่ อาการของโรคจะพบรนุ แรงในลูกสกุ รที่
มีอายุต่ากว่า 3 สัปดาห์ อาการแรกที่พบไดคือ อาการอาเจียน (มีตะกอนน้านม) และมีอาการทองเสีย
ตามมา ซึ่งอาการทองเสียจะพบไดเมื่อลูกสุกรสัมผสั กับเชื้อโรคแล้วนานประมาณ 18-30 ชัว่ โมง อาการทอง
เสียท่ีพบไดในวันแรก จะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใสพบเกาะตามกีบขาหลังและหาง นอกจากนี้อาการอื่น ๆ
ท่ีพบได ไดแก อาการตัวส่ัน ตาลึก และหิวน้า(เน่ืองจากร่างกายสูญเสียน้า) สาหรับอาการทองเสียจะพบ
เป็นอยู่นาน 5-9 วัน อุจจาระก็จะเริ่มข้นข้ึน แต่ลูกสุกรมักจะตายภายในวันที่ 2-4 ของการป่วย เนื่องจาก
การสูญเสียน้าของร่างกาย แม่สกุ รที่ฟื้นจากโรคน้ี สามารถถ่ายภูมคิ ุ้มกันโรคน้ไี ปให้ลูกสุกรไดโดยทางน้านม
เหลืองและน้านมขาว
การปอ้ งกนั โรคท.ี จี.อี. สามารถป้องกนั ไดโดย

1. ทาวคั ซีนป้องกนั โรคท.ี จี.อี. ตามโปรแกรมที่กาหนดไว (ถ้ามีโรคน้รี ะบาด)
2. มีการจัดการควบคมุ โรคท่ีเข้มงวด
3. มกี ารสขุ าภิบาลทด่ี ี
4. มีการเลยี้ งดูและอาหารท่ีดี
5. กาจัดสัตว์ท่สี ามารถเปน็ พาหะของโรค
6. มีการกกั โรคและตรวจโรคสกุ รใหม่

การรักษา โรคที.จ.ี อ.ี เกดิ จากเชื้อไวรสั ไม่มยี าทีจ่ ะใช้รักษาโดยเฉพาะ นอกจากจะรักษาตาม
อาการของโรค โดย

1. ให้น้าเกลือ เพื่อทดแทนน้าและอเิ ลคโทรไลท์ทีส่ ญู เสียออกมากบั อจุ จาระ
2. ให้ความอบอุ่นให้เพียงพอแกลกู สกุ รป่วย
3. ให้ยาปฏชิ วี นะละลายน้าเพื่อปอ้ งกันโรคแทรก

1.2.6 โรคไข้หวดั ใหญ่
โรคนี้เป็นโรคระบาดของทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันและแพรไปไดอย่างรวดเร็วมาก
พบเป็นไดกับสกุ รทุกอายุ อตั ราการเกดิ โรคสูงแต่อตั ราการตายต่า โดยทวั่ ๆ ไปพบประมาณ 1-4 เปอรเ์ ซน็ ต์
สาเหตุ เกิดจากเชอ้ื ไวรัส
การติดต่อ เช้ือโรคจะเข้าสู่ร่างกายสุกรไดโดยเกาะมากับไขของพยาธิปอดหรือโดยการสัมผัสกับ
สุกรป่วยโดยตรง หรือโดยการกินอาการหรือน้าท่ีมีเชื้อโรคน้ีปนอยู่ หรือโดยการหายใจเอาเช้ือโรคน้ีเข้าไป
และเชอื้ เข้าสู่รา่ งกายสุกรแลว จะฟักโรคนานประมาณ 3-7 วนั สุกรกจ็ ะเร่ิมแสดงอาการป่วยของโรคให้เห็น
อาการ ท่ีพบไดคือ ไขสูง ซึม เบ่ืออาหาร หายใจลาบาก หอบ ไอ มีน้ามูกและข้ีตา และกล้ามเน้ือ
ไมมีแรงซึ่งเป็นผลให้สกุ รป่วยนอนหมอบ (อาจมีอาการอาเจียนด้วย) การฟื้นจากโรคจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว
เช่นเดยี วกบั การเกิดโรคคือจะป่วยอยู่นาน 4-6 วัน สุกรป่วยบางตัวอาจจะไม่ฟนื้ จากโรคแต่จะเป็นโรคแบบ
เรือ้ รงั สกุ รทีฟ่ ้ืนจากโรคพบว่าจะมีภูมิคุ้มกันโรคน้ี
การป้องกนั โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกนั ไดโดย

1. ไมควรเล้ยี งสกุ รบนพนื้ ดนิ
2. มีการเล้ียงดูและอาหารทดี่ ี
3. มีการสขุ าภิบาลทีด่ ี
4. มกี ารกกั โรคและตรวจโรคสกุ รใหม่
การรักษา โรคไขห้ วดั ใหญ่เกิดจากเชอื้ ไวรสั ไม่มยี าทีจ่ ะใช้รักษาโดยเฉพาะ นอกจากจะรักษาตาม
อาการของโรค โดย
1. ให้ยาปฏิชีวนะผสมในอาหารหรอื น้า เพื่อป้องกันโรคแทรก
2. น้าทกี่ นิ ต้องสะอาด
3. อาหารทใี่ ห้กิน ควรจากัดให้กินนอ้ ยในช่วง 2-3 วันแรกของการฟ้ืนจากอาการของโรค

1.2.7 โรคแทง้ ติดตอ่ จากเช้ือไวรัส (parvoviral abortion)
สาเหตุ เกดิ จากเชื้อพาร์โวไวรัส (Parvovirus)
การติดตอ่ โดยการผสมพนั ธ์ุการกนิ และหายใจเอาไวรัสทีป่ ะปนออกมากบั น้ามกู น้าลายอจุ จาระ
ปัสสาวะของสุกรป่วยมดลกู และลกู ท่ีตายแล้วพบเกิดโรคในสกุ รสาว (gilt) และสุกรนาง (sow) ส่วนพ่อพันธุ์
(boar) เปน็ พาหะนาโรค

อาการ โรคแท้งติดต่อสกุ รสาวมกั พบอาการต้ังท้องเทียม (pseudo- pregnance) ผสมไม่ตดิ หรือ
อัตราการผสมติดลดลงแท้งในช่วงต้นๆของการตั้งท้องสกุ รนางจะพบอาการแท้งลกู ลูกตายในทอ้ งลูกคลอด
ออกมาอ่อนแอหรือตายจานวนลกู กรอก (mummy) จะเพ่ิมขน้ึ ระยะการเป็นสัดช้าออกไปกวา่ ปกติ

การรกั ษา ไม่มยี ารักษา

1.2.8 โรคฝีดาษ
โรคนี้เป็นโรคทีเ่ กิดข้ึนแบบฉับพลนั กบั สกุ รทกุ อายุ และอัตราการเกิดโรคสงู แต่อัตราการตายต่า
สาเหตุ เกดิ จากเช้อื ไวรัส
การติดต่อ เช้ือโรคจะเข้าสู่ร่างกายสุกรไดโดยการสัมผัสกับสุกรป่วยโดยตรง หรือ ยุง ไร เหา
เป็นตัวนาเช้ือโรคตัวน้ีมา และเมื่อเช้ือโรคเข้าสู่ร่างกายสุกรจะใช้เวลาในการฟักโรคนานประมาณ 3-6 วัน
สุกรกจ็ ะเริ่มแสดงอาการป่วยของโรคให้เห็น
อาการ ที่พบไดคือ ไขสูง ประมาณ 104 ˚F ซึม ไมกินอาหาร น้ามูกน้าตาไหล และพบเม็ดตุ่มที่
ผิวหนัง ซ่ึงเม็ดตุ่มน้ีต่อมาจะเปลี่ยนเป็นตุ่มหนองและแตกในท่ีสุด และแผลท่ีแตกจะตกสะเก็ด สุกรป่วยที่
ฟนื้ จากโรคนจ้ี ะมีภมู คิ ุ้มกันโรคน้ีด้วย
การปอ้ งกัน โรคฝีดาษ สามารถป้องกันไดโดย

1. วางโปรแกรมการกาจัดยุง ไรและเหา
2. กาจดั แหล่งนา้ ขงั สาหรบั เพาะยุง
3. มีการเลย้ี งดแู ละการให้อาหารทีด่ ี
4. มกี ารสขุ าภบิ าลที่ดี
การรักษา โรคฝีดาษเกดิ จากเชือ้ ไวรัส ไม่มียาทใี่ ช้รักษาโดยเฉพาะ นอกจากจะรกั ษาตามอาการ
ของโรค โดย
1. ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน 2-5 เปอรเ์ ซน็ ต์ ทาแผลทีผ่ ิวหนัง
2. อาจจะให้ยาปฏชิ ีวนะผสมอาหารเพ่ือป้องกันโรคแทรก
3. คอกหรือเล้าสุกรจะต้องดูแลรักษาให้สะอาดและแหงอยู่เสมอ

1.2.9 โรคทอ้ งเสยี ในลกู สกุ รที่เกดิ จากเชอ้ื อี. โค ไล
โรคทอ้ งเสียในลูกสุกรทเี่ กดิ จากเช้ืออี. โค ไล โรคน้เี ป็นโรคตดิ เชอื้ ทางเดนิ อาหาร พบว่าเป็นไดกบั
สกุ รทุกอายุโดยเฉพาะลกู สุกร
สาเหตุและอาการ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึง่ เชื้อโรคตัวนีส้ ามารถพบไดในทางเดินอาหารปกติและ
เมื่อร่างกายสุกรอ่อนแอ เช้ือโรคก็จะเพ่ิมจานวนมากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้สุกรป่วย ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่
กับอายุของสกุ รทป่ี ่วย คือ ถ้าเป็นกับลูกสุกรแรกคลอดมกั พบว่าลูกสุกรป่วยจะตายด้วยอาการโลหิตเป็นพิษ
โดยไมพบอาการทองเสีย สาหรับลูกสุกรป่วยที่ไมตาย จะพบอาการทองเสีย ขนหยาบ ร่างกายสูญเสียน้า
และผอมแกรน สกุ รรุ่นท่ีเกิดอาการทองเสียเน่ืองจากเช้ืออี.โค ไล มกั เนอื่ งมาจากการกินหรอื หายใจเอาเชื้อ
โรคตัวนี้เข้าไป

การปอ้ งกนั โรคท้องเสียทเี่ กิดจากเชอ้ื อ.ี โค ไล สามารถป้องกนั ไดโดย
1. มีการจัดการเลยี้ งดูและอาหารที่ดสี าหรับแม่สกุ รทองและเลยี้ งดู
2. มีการสุขาภิบาลที่ดี
3. ลกู สกุ รแรกคลอดต้องใหไ้ ดกินนา้ นมเหลอื งจากแม่สุกร
4. แมส่ ุกรจะต้องเล้ียงลูกเก่งและมคี วามสามารถในการให้น้านมดี

การรกั ษา โรคทอ้ งเสียทีเ่ กิดจากเช้อื แบคทเี รียอ.ี โค ไล ยาที่จะใช้รกั ษาโรคนี้ได ไดแก ยาปฏชิ ีวนะ
เช่น ยานโี อมัยซนิ หรือยาสเตร็ปโตมยั ซิน หรือยาโคลสิ ตนิ หรอื ยากลุ่มสังเคราะห์

1.2.10 โรคปากและเท้าเปื่อย (foot and mouth disease or FMD)
โรคนี้เป็นโรคระบาด ที่ระบาดได้อย่างรวดเร็วในสัตว์กีบ (วัว ควาย แพะ แกะและสุกร) และทา
ความเสียหายแกเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากเพราะในโรคนี้เป็นอุปสรรคตอ่ การส่งสุกรออกจาหน่ายใน
ต่างประเทศ โรคนพ้ี บไดกับสกุ รทกุ อายุ อตั ราการเกิดโรคสงู แต่อัตราการตายตา่
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ซ่ึงมีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกันคือ ไทปโอ, ไทปเอ และไทปเอเชียวัน (ไทปโอ
รุนแรงท่ีสุด) เช้ือโรคตัวน้ีจะเข้าสู่ร่างกายสุกรไดโดยทางการสัมผัสกับเช้ือโดยตรง (คนเลี้ยงนาเข้ามาเอง)
หรือโดยการกินอาหารและน้าท่ีมีเช้ือโรคปนอยู่ หรือโดยการหายใจเอาเช้ือโรคตัวนี้เข้าไป และเม่ือเชื้อโรค
เขา้ สู่ร่างกายสุกรแล้ว จะใช้เวลาในการฟักโรคนานประมาณ 3-6 วัน สุกรก็จะเริ่มแสดงอาการโรคน้ีออกมา
ใหเ้ หน็
อาการ ท่ีพบไดคือ มีตุ่มน้าใสที่บริเวณปลายจมูก ปาก ริมฝปาก เหงือกและผิวหนังบริเวณไรกีบ
และต่อมาตุ่มน้าใสน้ีจะแตก ซึ่งน้าในตุ่มนี้จะมีเชื้อไวรัสอยู่เป็นจานวนมาก ถาการจัดการไมดีโรคนี้ก็จะ
กระจายระบาดออกไปอย่างรวดเรว็ นอกจากนยี้ ังพบอาการ ไขสงู เบื่ออาการ นา้ ลายยืดขาเจบ็ และน้าหนัก
ลด (เน่อื งจากกินอาการไมได) และบางครั้งอาจพบกีบลอกหลดุ
ในแม่สุกรเล้ียงลูกที่เป็นโรคนี้ จะพบตุ่มน้าใสที่หัวนมด้วยในกรณีท่ีสุกรป่วยด้วยโรคน้ี ซ่ึงไมเคยมี
ประวัติการทาวัคซีนมาก่อน จะพบอาการของโรครุนแรงกว่าสุกรท่ีเคยทาวัคซีน และอัตราการตายของลูก
สุกรและสุกรเล็กอาจสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ (ลูกสุกรหรือสุกรเล็กท่ีตาย จะพบรอยโรคท่ีหัวใจซึ่งคล้ายๆ
กับลายเสือ) สุกรป่วยทฟ่ี ื้นจากโรคนี้จะพบว่ามีภูมคิ ุ้มกันโรคเฉพาะกลุ่มของไวรัสที่ทาให้เกิดการป่วยเท่าน้ัน
ซง่ึ สามารถป้องกันโรคไดนานประมาณ 90-180 วัน และแม่สุกรสามารถถ่ายภูมคิ ุ้มกนั โรคน้ีให้แกลูกสุกรได
โดยทางนา้ นมเหลอื ง ซ่งึ คุ้มกนั โรคไดนานหลายสปั ดาห์
การปอ้ งกัน โรคปากและเทา้ เป่ือย สามารถป้องกันไดโดย

1. ทาวัคซีนปากและเท้าเป่ือยตามโปรแกรมที่กาหนดไว โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
ลว่ งหน้าทุกๆ 6 เดอื น

2. มีการจดั การควบคมุ โรคทีเ่ ข้มงวด
3. มีการสขุ าภิบาลทีด่ ี
4. มีการเล้ยี งดแู ละอาหารที่ดี

5. มกี ารกกั โรคและตรวจโรคสกุ รใหม่
6. มกี ารกาจดั แมลงวนั และนก
การรักษา โรคปากและเทา้ เป่ือยเกิดจากเชื้อไวรสั ไม่มยี าทจ่ี ะใช้รักษาโดยเฉพาะ แต่โรคนีไ้ มท่ าให้
สกุ รป่วยตาย การรักษาจึงทาไดเพียงรักษาตามอาการโดย
1. ใช้ยาทิงเจอรไอโอดนี 5-10 เปอรเ์ ซน็ ต์ หรอื ยาเย็นเซ่ยี นไวโอเลท็ ทาแผลท่ีเกดิ
จากตมุ่ นา้ ใส
2. ให้ยาปฏิชวี นะผสมในอาหารเพ่ือปอ้ งกนั โรคแทรกแกสกุ รตัวที่ยังไมแสดงอาการและให้
ยาโดยการฉดี เขาสุกรตวั ที่แสดงอาการแลว
3. พน่ น้ายาจนุ สที ี่มีความเข้มขน้ 5 เปอรเ์ ซน็ ต์ ท่ีกีบ
หมายเหตุ สุกรทไี่ มแสดงอาการของโรคให้ทาวคั ซนี ซ้า 2 ครั้ง ช่วงห่าง 1 สัปดาห์

1.2.11 โรคพลูโรนิวโมเนยี (pleuroneumonia)
สาเหตุ โรคพลูโรนิวโมเนยี หรอื โรคปอดติดซ่โี ครงเป็นโรคที่เกดิ ในสกุ รสาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียช่ือ Haemophiluspleuropneumoniae
อาการ สุกรท่ีเป็นโรคนี้จะมีอาการทางระบบหายใจคือหายใจลาบากหอบไอ น้ามูกไหลไข้สูงไม่
ทานอาหารและอาจตายภายใน 1-2 วันในรายที่เป็นแบบเฉยี บพลันเม่อื ผ่าซากอาจเห็นแค่ปอดแดงช้าถ้าใน
รายติดเช้ือแบบเร้ือรังจะแสดงอาการทางระบบหายใจตั้งแต่ 5-7 วันเป็นต้นไปเมื่อผ่าซากจะพบแผ่นหนอง
ปกคลุมที่ช่องอกหนาบางแล้วแต่ความรุนแรงทาให้เยื่อหุ้มหัวใจเยื่อหุ้มปอดติดแน่นและติดกับซ่ีโครงจึงได้
ชื่อว่าโรคปอดติดซี่โครงในสุกรบางรายถ้าไอจามรุนแรงจนทาให้ปอดติดกันแน่นฉีกขาดมีเลือดไหลออกมา
ทางปากทางจมูกสุกรทุกอายุมีสิทธิเป็นโรคน้ีได้แต่ส่วนใหญ่เป็นสุกรขุนอัตราการป่วย 50-100 เปอร์เซ็นต์
อัตราการตายในช่วงแรก 5-10 เปอรเ์ ซ็นต์ สุกรตัวท่ีรอดตายจะแคระแกรนและเป็นตัวแพรก่ ระจายโรคอีก
ในโอกาสต่อไปความเครียดจากการเดินทางสภาวะการเปล่ียนแปลงของดินฟ้าอากาศอย่างกระทันหันการ
จดั การฟาร์มที่แออัดเป็นสาเหตุโน้มนาทาใหโ้ รคระบาดการนาสุกรจากที่อื่นเข้าเลย้ี งปะปนโดยท่ียงั ไม่ได้กัก
ดอู าการอาจเป็นการนาเอาเช้อื นี้เขา้ ส่ฟู าร์มได้
การรักษา การใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคพลูโรนิวโมเนียในประเทศไทยยังได้ผลอยู่แต่ควรจะ
ไดม้ ีการทดสอบหาความไวของเชอื้ ต่อยาจากห้องปฏบิ ัติการก่อนเพื่อการรักษาท่ีไดผ้ ลคุ้มค่ากว่า

1.2.12 โรคโพรงจมูกอกั เสบตดิ ตอ่
โรคนี้เป็นโรคระบาดทางระบบหายใจ พบว่าเป็นไดกับสุกรทุกอายุ ซ่ึงมีอัตราการเกิดโรคสูงแต่
อตั ราการตายต่า
สาเหตุและอาการ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และพบว่าอาการของโรคจะรุนแรงข้ึนถ้ามีเช้ือไวรัสร่วม
ด้วย เชื้อโรคจะเข้าสูร่างกายสุกรไดโดยการหายใจเอาเช้ือเข้าไป หรือโดยการสัมผัสกับสุกรป่วยโดยตรง
หรือโดยการกินน้าและอาหารที่มีเชื้อนี้ปนอยู่ และเมื่อเชื้อน้ีเข้าสู่ร่างกายสุกรแลว อาการและความรุนแรง

ของโรคข้ึนอยู่กับโรคแทรกซ้อนสุขภาพและอายุของสุกรป่วย อาการเดนของโรคน้ีท่ีพบไดคือ จาม เลือด
ไหลออกจากจมกู ซึง่ มกั พบอาการท้ังสองนี้ในสุกรท่ีอายนุ ้อยกว่า 4 สัปดาห์ นอกจากนีจ้ ะพบอาการจมกู
บิดเบี้ยว

การปอ้ งกนั โรคโพรงจมกู อกั เสบติดต่อ สามารถป้องกนั ไดโดย
1. มกี ารกกั โรคและตรวจโรคสุกรใหม่
2. ควรศกึ ษาแหล่งทีม่ าของสกุ รใหม่ ว่ามีโรคน้รี ะบาดหรอื ไม
3. กาจดั หนู แมว และสนุ ัขออกจากโรงเรือนเพาะสัตว์เหล่าน้ีอาจเปน็ พาหนะของโรค
4. มีการจดั การควบคุมโรคที่เข้มงวด
5. มีการเล้ยี งดูและอาหารทีด่ ี
6. มีการสขุ าภิบาลที่ดี

การรักษา โรคโพรงจมกู อักเสบตดิ ต่อเกดิ จากเชื้อแบคทเี รีย ยาท่ีจะใช้รกั ษาโรคนไี้ ดแกยาปฏิชีวนะ
ชนิดท่ีออกฤทธิ์และทาลายเช้ือโรคไดกว้างหรือยาซัลโฟนามาย เชน ยาซัลฟาเมทธาซีน ซัลฟาไทอะโซน
เป็นต้น

1.2.13 โรคไฟลามทุง
โรคนี้เป็นโรคระบาดที่สามารถติดต่อถึงคนได ความรุนแรงของโรคนี้อาจจะมีผลเนื่องจาก
พันธกุ รรม คุณค่าของอาหารท่ีใช้เลย้ี ง การสุขาภิบาล อณุ หภมู ิของสภาพแวดล้อม หรือฤดกู าล
สาเหตแุ ละอาการ เกิดจากเช้ือแบคทีเรีย ซ่งึ เช้ือโรคตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกายสุกรไดโดยการกินน้าและ
อาหารท่ีมีเชื้อโรคตัวนี้ปนอยู่ หรือโดยการสัมผสั กับสุกรป่วยโดยตรง และเมื่อเช้ือเข้าสู่ร่างกายสกุ รแลว จะ
ใช้เวลาในการฟักโรคนานประมาณ 3-4 วัน สุกรกจ็ ะเริ่มแสดงอาการป่วยของโรคให้เหน็ อาการทพ่ี บเหน็ ได
มอี ยู่ 4 แบบด้วยกนั

1. แบบแรก สุกรป่วยจะแสดงอาการแบบฉับพลัน และอาจตายไดโดยไมแสดงอาการป่วย
ให้เห็น อาการท่ีพบไดคือ ไขสูง 104-108 ˚F ซึม เบ่ืออาหาร หนาวส่ัน นอนสุมกัน ตาแดง ไอ มีข้ีมูกข้ีตา
ทองผูกตามดว้ ยอาการทองเสยี อย่างรุนแรง (บางตวั อาจพบอาการอาเจยี น)

2. แบบท่ีสอง สุกรป่วยจะแสดงอาการที่ผิวหนัง คือจะพบอาการบวมที่ผิวหนังซ่ึงมี
ลกั ษณะคล้ายรูปข้าวหลามตัด หรือเป็นหย่อมสีแดงจนถึงสีม่วงท่ีบริเวณท้อง ต้นขา และลาตัว (สุกรป่วยท่ี
ฟน้ื จากโรคจะพบว่าผวิ หนังท่มี รี อยโรคจะลอก)

3. แบบที่สาม สุกรป่วยจะแสดงอาการที่ข้อขา คือจะพบอาการเดินขากระเผลกหรือเดิน
ในลกั ษณะขาไมส่ มั พันธ์กัน ซ่งึ เป็นผลเนอ่ื งจากข้ออกั เสบโดยเฉพาะท่ีข้อเขา่ หน้าและเขา่ หลงั

4. แบบที่สี่ สุกรป่วยจะตายแบบทันทีหรอื อาจพบอาการบวมท่ีปลายจมูก หู และส่วนอื่น
ของร่างกาย

การปอ้ งกนั โรคไฟลามทุง สามารถป้องกันไดโดย
1. มีการกกั โรคและตรวจโรคสุกรใหม่
2. มกี ารจัดการควบคมุ โรคทีเ่ ข้มงวด
3. มกี ารเลยี้ งดแู ละอาหารที่ดี
4. มีการสุขาภบิ าลทดี่ ี

การรักษาโรค โรคไฟลามทุ่งเกิดจากเช้ือแบคทีเรีย ยาที่จะใช้รกั ษาโรคนี้ไดแก ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม
ของยาเพ็นนซิ ิลลิน และยาปฏิชวี นะทอ่ี อกฤทธิ์ทาลายเชือ้ ได้กว้าง

1.2.14 โรคซัลโมแนลโลซสี หรอื โรคพาราไทฟอยด์
โรคน้เี ป็นโรคระบาดทพ่ี บเกิดขน้ึ ไดกบั สุกรทกุ อายอุ ัตราการเกดิ โรคและอตั ราการตายสงู
สาเหตุและอาการ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซ่ึงเชื้อตัวน้ีจะเข้าสู่ร่างกายสุกรไดโดยการกินอาหาร
และน้าที่มีเช้ือโรคตัวนี้ปนอยู่ หรือโดยการกินกระดูกป่นที่มีเช้ือตัวน้ีปนอยู่ หรือโดยการสัมผัสกับสัตว์
ฟันแทะ หรือนกป่าท่ีเป็นตัวพาโรคนี้ และเม่ือเข้าสู่ร่างกายแล้วจะใช้เวลาในการฟักโรคนานประมาณ
1-2 วนั สกุ รจะแสดงอาการป่วยให้เหน็ อาการป่วยที่พบไดมอี ยู่ 4 แบบด้วยกนั

1. แบบแรก มกั พบเป็นกับลูกสกุ ร โดยอาการป่วยจะเกิดแบบฉับพลันจะมีไขสูง 105-107
˚F สุกรจะซึมและตายภายใน 24-48 ช่ัวโมง นอกจากน้ียังพบว่าผิวหนังมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วง โดย
เฉพาะท่ีขอบตาและใตท้ อ้ ง อาการทางประสาทอาจพบและอัตราการตายพบไดสูงถึง 100 เปอรเ์ ซน็ ต์

2. แบบที่สอง มักพบกับสุกรท่ีมีอายุมากหรือสุกรใหญ่ อาการท่ีพบไดคือ ไขสูง 105-107
˚F ทองเสียเป็นนา้ อย่างรุนแรง อจุ จาระมีกล่นิ เน่า เป็นมูกและอาจพบเยอ่ื เมอื กของลาไส้ปนดว้ ย

3. แบบท่สี าม อาการทพี่ บไดคอื ไขสูง 103-104 ˚F อุจจาระน่ิม เบ่ืออาหาร และบางราย
พบอาการสูญเสยี น้า เช่น ผิวหนงั ขาดความยืดหยุน ตาจมลึก ขนลุก ซูบผอมลงเรื่อยๆ และตายในทส่ี ดุ

4. แบบท่ีสี่ แบบน้ีพบว่าสุกรเป็นมาก อาการท่ีพบไดคือ ทองเสีย โดยพบเป็น ๆ หาย ๆ
ไขไมคงที่ ผอมแหง และตอบสนองต่อการรักษาได้นอ้ ย (อุจจาระอาจปกติหรืออาจมมี กู หรอื เลือดปน)

การปอ้ งกัน โรคซัลโมแนลโลซีสหรอื โรคพาราไทฟอยด์ สามารถป้องกนั ไดโดย
1. กาจดั สกุ รท่ีเป็นตัวอมโรค
2. มกี ารกกั โรคและตรวจโรคสกุ รใหม่
3. มีการจดั การควบคมุ โรคทเ่ี ข้มงวด
4. ระวังการใช้วตั ถุดิบอาหารสตั ว์จากโรงฆา่
5. มีการสขุ าภบิ าลที่ดี

การรักษา โรคซลั โมแนลโลซีสเกิดจากเชอ้ื แบคทีเรีย ยาทจ่ี ะใช้รกั ษาโรคน้ไี ด ไดแก ยาปฏชิ วี นะ
เช่น ยานีโอมยั ซนิ หรอื ยาเตตราไซคลิน หรอื ยาซัลโฟนามาย หรือยาไนโตรฟูราโซน

1.2.15 โรคข้อบวมในลกู สุกร
โรคน้พี บวา่ เป็นมากในลูกสกุ รทีม่ ีการตัดสายสะดือไมสะอาด
สาเหตุและอาการ เกิดจากเชื้อแบคทีเรยี ซึ่งเชื้อโรคตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกายลูกสุกรโดยทางบาดแผล
เช่น ที่สะดอื หรือการฉดี ยา เป็นต้น อาการทพี่ บไดในลกู สุกรป่วยคอื ข้ออักเสบเป็นหนอง
การปอ้ งกนั โรคขอ้ บวมในลูกสุกร สามารถป้องกนั ไดโดย

1. มกี ารตัดสายสะดือหรอื ใช้เข็มฉดี ยาทส่ี ะอาด
2. มกี ารสขุ าภบิ าลทด่ี ี
3. มีการจัดการเลี้ยงดูท่ีสะอาด
การรักษา โรคขอ้ บวมในลกู สุกรเกดิ จากเชื้อแบคทีเรีย ยาทจ่ี ะใช้รกั ษาได ไดแก ยาปฏชิ ีวนะ เช่น
ยากลุมเพ็นนิซิลลนิ หรอื ยากลุมเตตราไซคลนิ เป็นตน้

1.2.17 โรคเอนซูตกิ นิวโมเนยี
โรคติดเช้อื ทางระบบหายใจที่เกิดจากเชอื้ มายโคพลาสม่า โรคนี้มักพบว่าเปน็ โรคแทรกเม่ือร่างกาย
สกุ รออ่ นแอหรอื ป่วยด้วยโรคอน่ื ๆ
สาเหตุและอาการ เกิดจากเช้ือมายโคพลาสม่า ซึ่งเช้ือโรคตัวน้ีจะเข้าสู่ร่างกายสุกรไดโดยทางการ
หายใจ อาการป่วยของโรคน้ีที่พบไดคือ ไอลึก หายใจลาบาก ไมกินอาหาร มีอาการไขสูงถึง 105-107 ˚F
การปอ้ งกัน โรคติดเชื้อทางระบบหายใจท่ีเกดิ จากเชอ้ื มายโคพลาสม่า

1. มกี ารจดั การเลย้ี งดแู ละอาหารท่ดี ี
2. มีการสุขาภิบาลทด่ี ี
3. อย่าเล้ียงสกุ รมากตวั ต่อคอก
การรักษา โรคน้ีเกิดจากเชื้อมายโคพลาสม่า ยาท่ีจะใช้รักษา ไดแก ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาไทโลซิน
หรอื ยาลินโคมัยซิน หรือยากลุ่มสงั เคราะห

1.2.17 โรคพลาสเทอรโรซีส
โรคนี้พบเป็นโรคแทรกเม่ือสุกรป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัส หรือเมื่อสุกรอ่อนแอหรือสุกรเครียด ซึ่ง
เนือ่ งมาจากการจดั การทีผ่ ดิ พลาดไมเหมาะสม
สาเหตุและอาการ เกิดจากเช้ือแบคทีเรีย ซ่ึงเช้ือโรคตัวน้ีสามารถพบไดทส่ี ่วนต้นของระบบหายใจ
และทางเดนิ อาหาร เชือ้ โรคตัวนี้จะพบเป็นปัญหาเมื่อสกุ รป่วยหรือเม่ือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขาภิบาล มีปัญหา
พยาธิหรือเมอื่ มีสภาพการเลี้ยงสุกรทแ่ี ออดั อาการของโรคขึ้นอยู่กบั ความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่และเน้อื ท่ี
ของปอดที่เกิดการติดเช้ือโรคในรายที่รุนแรงอาการท่ีพบไดคือ มีไขสูง 105-106 ˚F มีน้ามูก ไมกินอาหาร
อ่อนแอและซึม ในรายโลหิตเป็นพิษ อาการที่พบไดคือ มีไขสูง 105-108 ˚F อ่อนแอหายใจผิดปกติ และ
ไมอยากเคล่อื นที่ ในรายไมรุนแรง อาการที่พบไดคือ ไอเพียงอย่างเดียว

การปอ้ งกนั โรคพลาสเทอรโรซีส สามารถปอ้ งกนั ไดโดย
1. มีการเลี้ยงดแู ละให้อาหารท่ดี ี
2. มีการสุขาภิบาลท่ดี ี
3. ถา้ มีปัญหาเกย่ี วกบั พยาธิ ควรมกี ารวางโปรแกรมให้ถกู ต้อง
4. อย่าเลีย้ งสกุ รจานวนมากเกนิ ไปจนแออัดในแต่ละคอก

การแกไขการจัดการให้ดีขน้ึ เช่น อย่าให้ความชื้นในโรงเรอื นสงู มีนา้ สะอาดให้สุกรดืม่ ให้อาหารท่ี
มีคุณค่าดี จะสามารถลดการสูญเสียเนือ่ งจากโรคนี้ได

การรกั ษา โรคพลาสเทอรโรซีสเกิดจากเช้ือแบคทเี รยี ยาทีจ่ ะใช้รักษาโรคน้ี ไดแก ยาปฏิชวี นะ
เช่น ยาคลอเตตราไซคลิน หรอื ยาเพ็นนซิ ิลลนิ หรือยาสเตรป็ โตมยั ซนิ หรอื ยาอีรโิ ทรมยั ซิน หรอื ยากานา
มัยซิน หรอื ยาโคลสิ ตนิ เป็นต้น หรอื ยากลุมซลั โฟนามาย

1.2.18 โรคบาดทะยัก
โรคนีพ้ บเป็นไดง้ า่ ยกับสัตว์เลีย้ งลกู ด้วยนม โดยเฉพาะม้า
สาเหตุและอาการ เกดิ จากเชื้อแบคทเี รีย เช้ือตัวน้ีสามารถพบไดในดิน ลาไสของคนและสัตว์ เชอื้ นี้
จะเข้าสู่ร่างกายสุกรไดโดยทางบาดแผลและสามารถจะเจริญเติบโตไดในที่ที่ไมมีออกซิเจน โดยเช้ือน้ีจะใช้
เวลาในการฟักโรค โดยท่ัวไปประมาณ 10-14 วัน สุกรก็จะเรมิ่ แสดงอาการป่วยของโรคให้เห็น อาการที่พบ
ไดคือ เกิดการแข็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณแกม คอ ขาหลัง และบริเวณท่ีมีการติดเชื้อ หลังจากนั้นจะพบ
อาการกระตกุ และไวต่อการแสดงออก การเคีย้ วอาหารลาบาก หางแขง็ หัวและคอยืด และขาแข็งแกร่ง
การป้องกัน โรคบาดทะยกั สามารถป้องกนั ไดโดย

1. โรคน้ีเกิดจากเช้ือโรคเข้าบาดแผล ฉะน้ัน การตัดสายสะดือและการตอนต้องทาด้วย
ความสะอาด

2. ภายหลังการผ่าตดั หรอื การตอน ควรให้ยาปฏิชวี นะเพอื่ ป้องกันโรคบาดทะยกั
3. มกี ารสุขาภิบาลท่ดี ี
การรักษา โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยาท่ีใช้รักษา ไดแก ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพ็นนิซิลลิน
หรือให้ยาแอนต้ีท็อกซิน หรือให้ยาปฏิชีวนะท่ีมีฤทธิ์การทาลายกว้าง เช่น ยาคลอแรมเฟนนิคอล หรือ
ยาคลอเตตราไซคลิน เป็นต้น

1.3 โรคและพยาธิท่สี าคญั ในสัตว์ปีก
1.3.1 โรคไข้หวัดนก (bird flu) เป็นโรคท่ีมีความสาคัญและระบาดอยู่ในหลายๆประเทศรวมทั้ง

ประเทศไทยสรา้ งความเสยี หายให้กบั ธรุ กิจการเล้ยี งสัตวเ์ ป็นจานวนมาก
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Influenza ในตระกูล Orthomyxoviridae ซ่ึงเป็น RNA ไวรัส

ชนิดมีเปลือกหุ้ม (envelope) โดยมีเอนติเจนท่ีสาคัญ ได้แก่hemagglutinin (H) มี 15 ชนิดและ
neuraminidase (N) มี 9 ชนดิ เชอื้ ไวรสั Influenza แบง่ เป็น 3 types ได้แก่

ก) Type A แบ่งย่อยเป็นหลาย subtypes ตามความแตกต่างของ H และ N antigens
พบในคนและสัตวช์ นิดต่าง ๆ

(1) คนพบ 3 ชนิดได้แก่ H1N1, H2N2, H3N2 และ H5N1
(2) สกุ รพบ 3 ชนิดไดแ้ ก่ H1N1, H1N2 และ H3N2
(3) มา้ พบ 2 ชนดิ ได้แก่ H3N8 และ H7N7
(4) สตั วป์ ีกพบทกุ ชนดิ ไดแ้ ก่ H1-15 และ N1-9
ข) type B ไมม่ ี subtype พบเฉพาะในคน
ค) type C ไม่มี subtype พบในคนและสุกร
การติดต่อ การแพร่ของเช้ือจากสัตว์ที่ติดเชื้อทางส่ิงขับถ่ายต่างๆโดยเฉพาะทางอุจจาระของ
นกเป็ดน้าซึ่งมักเป็นตัวอมเช้ือแต่ไม่แสดงอาการทาให้มีเช้ือปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้าได้เป็นเวลานานการ
ติดต่อในสัตว์เกิดข้ึนได้ทั้งทางตรงโดยการสัมผัสกับสัตว์ป่วยและสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ป่วยแล ะทางอ้อมจาก
เช้อื ท่ปี นเปือ้ นในนา้ อาหารเสื้อผ้ารองเทา้ พาหนะและอื่น ๆ การตดิ เช้อื ในสตั วป์ กี แบ่งออกเป็น
- ชนิดท่ีไม่แสดงอาการและที่ทาให้มีอาการป่วยเพียงเล็กน้อยพบได้ในประเทศต่างๆท่ัว
โลกอาจมีสาเหตจุ ากเช้อื ชนิด H1-15
- ชนิดที่ทาให้เกดิ อาการรุนแรงมากมอี ตั ราการตายสูงมีรายงานการระบาดในบางประเทศ
เทา่ นน้ั เช่นสหรัฐอเมริกาเมก็ ซิโกประเทศยุโรปออสเตรเลยี ฮ่องกงและปากีสถานในประเทศไทยไม่เคยมีการ
ระบาดของโรคนี้
ระยะฟักตัวของโรคอาจสั้นเพียงไม่ก่ีชั่วโมงจนถึง 3 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเช้ือวิธีการท่ีได้รับเชื้อ
จานวนเชอ้ื และชนดิ ของสัตว์
อาการ ขน้ึ อยู่กับปจั จัยหลายอย่างเชน่ ชนดิ สัตวอ์ ายสุ ภาวะความเครียดโรคแทรกซ้อนและอน่ื ๆเช้ือ
ท่ีทาให้เกิดอาการรุนแรงในสัตว์ปีกชนิดหนึ่งอาจไม่ทาให้เกิดอาการใดๆในสัตว์ปีกอีกชนิดหน่ึงอาการที่พบ
โดยทว่ั ไป ได้แก่
1) ซบู ผอมซึมมากไมก่ นิ อาหารขนยุ่งไขล่ ด
2) ไอจามหายใจลาบากนา้ ตาไหลมากหน้าบวมหงอนมีสคี ล้า
3) อาจมีอาการของระบบประสาทและท้องเสีย
4) รายที่รุนแรงจะตายกระทนั หันโดยไม่แสดงอาการ (อัตราตายอาจสงู ถึง 100

เปอร์เซน็ ต์)
วิการ ขึ้นอยู่กบั ชนดิ ของเชอ้ื ชนดิ สัตวแ์ ละอน่ื ๆเช่นเดียวกนั ในรายทรี่ นุ แรงและตายทันทีอาจไม่

พบวกิ ารใดๆลักษณะของวิการทม่ี ีรายงานในไก่และไกง่ วงไดแ้ ก่
1) ซากผอมแหง้
2) มีการบวมนา้ ใต้ผิวหนังทส่ี ่วนหวั และคอ
3) ตาอักเสบบวมแดงและอาจมีจดุ เลอื ดออก

4) หลอดลมอกั เสบรุนแรงมีเมือกมาก
5) มีจุดเลอื ดออกที่กระเพาะแท้โดยเฉพาะตรงรอยต่อกบั ก๋นึ
6) มีการลอกหลุดและจุดเลอื ดออกท่ีผนังของกน๋ึ
7) ไตบวมแดงและอาจพบยูเรตท่ที ่อไต
โรคทีค่ ล้ายคลงึ กัน
1) อหิวาต์ไกช่ นดิ รุนแรง
2) นิวคาสเซลิ
3) กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบตดิ ตอ่
4) การตดิ เชื้อมยั โคพลาสมา่ และแบคทีเรยี ชนิดอ่นื ๆ
การควบคุมและป้องกนั ทาไดด้ งั นี้
1) มีการสขุ าภิบาลและการจดั การฟาร์มท่ีเข้มงวด
2) ในกรณีทีเ่ กดิ โรคระบาดให้ทาลายสัตว์ทัง้ หมด
3) ทาความสะอาดโรงเรอื นและใชย้ าฆา่ เช้ือโรคใหท้ วั่ ถึง
4) พักเล้าอย่างน้อย 21 วนั
การทาลายเชื้อเนอ่ื งจากเช้ือไวรัสไม่มีเปลอื กหุม้ จึงถูกทาลายได้ง่ายด้วยความร้อน (เช่น ท่ีอุณหภูมิ
56 ˚C นาน 3 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 60 ˚C นาน 30 นาที) และใช้สารเคมีต่างๆเช่นสารท่ีมีคุณสมบัติในการ
ละลายไขมัน (lipid solvents) เช่น ฟอร์มาลีน เป็นต้น เช้ือน้ีสามารถคงอยู่ได้นานในส่ิงขับถ่ายเช่นน้ามูก
นา้ ตานา้ ลายเสมหะอจุ จาระฯ

1.3.2 โรคนวิ คาสเซิล (newcastle disease)
สาเหตุ เกดิ จากเชื้อ Paramyxovirus พวกอาร์เอน็ เอไวรัสมหี ลายสเตรนแยกเป็นชนดิ รุนแรงชนิด
รนุ แรงปานกลางและชนดิ ไม่รนุ แรง
การตดิ ต่อ โรคและแพร่โรคสว่ นมากไก่ติดโรคทางการการหายใจนา้ และอาหารสัตวป์ กี ชนิดอืน่ เปน็
พาหะนาโรคมาสไู่ กเ่ ช่นนกกระจอกนกเอย้ี งอกี าไก่งวงเป็ดห่านเป็นตน้ เกดิ ในไก่ทุกอายุ
อาการ ข้ึนอยู่กับสายพันธุ์เชื้อชนิดรุนแรงไก่ตายเป็นจานวนมากทันทีเริ่มเป็นโรคจะแสดงอาการ
ทางระบบหายใจหายใจลาบาก มีเสียงดังไอจาม ซึมเบื่ออาหาร ตัวสกปรก ทวารหนักเปื้อนอุจจาระ
กล้ามเน้ือสั่น หัวสนั่ คอปิด ปีกตกอัมพาต ก่อนตายเดนิ โซเซล้มลง ไก่ที่แสดงอาการทางประสาทแล้วจะไม่
รอดอัตราการเปน็ โรค 60-100 เปอร์เซ็นต์ ไก่ทอี่ ดจะแคระแกรน็ คอบดิ ปีกตกตลอดอายุ
การรักษา ไม่มยี ารกั ษาโดยตรงอาจให้วติ ามนิ และสารอิเลคโตรไลทล์ ะลายนา้ ให้ไก่กนิ ไก่จะฟืน้ โรค
ไดเ้ รว็ ข้ึน ใหย้ าปฏชิ ีวนะและยาซลั ฟาละลายนา้ ให้กนิ เพ่ือปอ้ งกันโรคแทรกซ้อนท่ีมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรยี
การป้องกนั

1) ดูแลสุขาภิบาลในโรงเรอื น
2) ควบคุมสัตว์พาหะนาโรค

3) เขม้ งวดการเคลื่อนย้ายไก่
4) ให้วคั ซีนตามกาหนด
การใชว้ ัคซนี ของกรมปศสุ ัตวม์ ี 2 ชนดิ ดงั นี้
1) วคั ซีนนวิ คาสเซิลเชอ้ื ตายสเตรนลาโซตา้ ทาใหก้ บั ไก่อายุ 18-22 สปั ดาห์
2)วัคซนี นวิ คาสเซิลเช้อื เป็นสเตรนลาโซตา้ ทาให้กบั ไก่อายุ 7-10 วัน และอายุ 3-4
สปั ดาห์

1.3.3 โรคฝีดาษไก่ (fowl pox)
สาเหตุ เกดิ จากเชื้อ Fowl pox virus พบในสตั วป์ ีกหลายชนิด
การติดตอ่ โดยการสมั ผัสกับไกป่ ว่ ยเชอ้ื เขา้ ทางบาดแผล แมลงดดู เลอื ด ไวรัสจากไก่ป่วยปะปนใน
น้าและอาหาร
อาการและวกิ าร จากการผ่าซากมีลักษณะดงั น้ี

1) ชนดิ แห้งพบสะเก็ดแผลแห้งที่บรเิ วณใบหน้าหงอนเหนยี งผวิ หนังและทขี่ า
2) ชนดิ เปยี กจะพบแผลนูนหรือเนือ้ ตายเป็นแผน่ ท่ีบริเวณลาคอส่วนต้นของหลอดอาหาร
มผี ลต่อการหายใจการกลนื อาหารทาให้ไกต่ ายได้
3) ชนดิ แสดงอาการเป็นหวดั คล้ายกนั กบั ชนิดเปยี ก
4) ไก่กระทงมักจะพบไดใ้ นไก่อายนุ อ้ ย
5) ในไกไ่ ข่อตั ราการไขล่ ดลงเล็กนอ้ ย
การรกั ษา ไมม่ ยี ารักษาโดยตรง ใชย้ าปฏิชีวนะละลายน้ากินเพือ่ ป้องกันโรคแทรกซ้อน ใชว้ ติ ามนิ
เกลือแร่ช่วยให้ไก่แข็งแรงขน้ึ ไกท่ ี่หายจากการเปน็ โรคจะมีภูมิค้มุ โรคตลอดอายุ
การป้องกนั
1) ควบคุมดูแลสขุ ลกั ษณะในฟารม์
2) พบไกป่ ่วยแยกออกทาลาย
3) ใชว้ ัคซนี ใหก้ บั ไก่อายุ 2-5 สปั ดาห์ โดยการแทงปีก

1.3.4 โรคกลอ่ งเสียงอักเสบตดิ ตอ่ (infectious laryngotracheitis)
สาเหตุ เกดิ จากเช้ือ Herpes virus พวกดีเอ็นเอไวรัส
การติดต่อ การแพรโ่ รคโดยพบทางการหายใจนา้ และอาหารไก่ทุกอายสุ ามารถติดเชอ้ื นไี้ ดแ้ ต่ในไก่
เล็กจะพบโรคน้อยและไมร่ ุนแรง
อาการ ชนิดรุนแรงไก่มนี ้ามกู ไหลหายใจลาบากมเี สยี งดังอา้ ปากหายใจและบางคร้ังรอ้ งเสียงดงั
จามมเี ลือดปนออกมาชนิดไม่รนุ แรงมีอาการตาอักเสบน้ามูกนา้ ตาไหลหนา้ บวมไขล่ ด

วกิ าร จากการผ่าซากจะพบวา่ ชนดิ รุนแรงพบกล่องเสยี งและหลอดลมอกั เสบอย่างรนุ แรงหลอดลม
เลือดออกพบกอ้ นเลือดและหนองอุดตนั อยู่ชนิดเร้ือรังพบแผ่นเนื้อตายคล้ายเนยแข็งในกล่องเสียงหลอดลม
และชอ่ งปาก

การรักษา ไม่มียารักษาโดยตรงป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเช้ือแบคทีเรียโดยให้ยาปฏิชีวนะละลาย
นา้

การปอ้ งกนั ทาไดโ้ ดย
1) หลีกเลีย่ งการนาไกต่ า่ งอายมุ าเลีย้ งคละกนั
2) ดแู ลสขุ าภิบาลในโรงเรอื น
3) ใช้วัคซนี ตามกาหนด

1.3.5 โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ (infectious bronchitis)
สาเหตุ เกิดจากเช้ือ Corona virus พวกอาร์เอ็นเอไวรสั
การติดตอ่ จากการสมั ผสั กับไก่ป่วยหรอื สัตวพ์ าหะ ไกป่ ่วยถา่ ยเชอ้ื ไวรัสปนมากบั อาหารน้าสิ่งรอง
นอน โดยการหายใจ ไกแ่ ม่พันธุ์จะถ่ายเช้ือไวรสั ผา่ นไขไ่ ด้
อาการ ในลกู ไก่ซึมเป็นหวดั หายใจมีเสียงดงั เยือ่ นัยนต์ าอักเสบตาเปียกแฉะไซนสั บวมน้ามูกข้นไหล
ออกจากโพรงจมูกฟุบนอนหมอบไก่ป่วยจะตายด้วยระบบหายใจล้มเหลวอัตราการเปน็ โรค 100 เปอรเ์ ซน็ ต์
อัตราการตาย 1 – 40 เปอร์เซ็นต์ ในไก่ไข่และพ่อแม่พันธุ์อาการทางระบบหายใจไม่เด่นชัดไก่ไข่ แม่พันธุ์
ไข่ลด ไข่ที่ออกมาจะมีขนาดเล็กบิดเบี้ยวหรือไข่ลีบ เมื่อกะเทาะเปลือกไข่จะพบไข่ขาวเป็นน้า ไข่แดงผิด
รูปร่างหลงั จากฟ้นื โรคอตั ราการไข่จะเพ่มิ ขนึ้ อยา่ งช้า ๆ มีอตั ราการตายตา่ ถา้ ไมม่ ีโรคแทรกซ้อน
วิการ จากการผ่าซากจะพบหลอดลมอักเสบมีเมือกไกไ่ ข่พบไขแ่ ดงแตกในชอ่ งท้อง
ไตบวมขยายใหญ่พร้อมกบั มยี ูเรตสะสมในท่อหลอดไต
การรักษา ไมม่ ีวิธีการรักษาที่ได้ผล ในฝงู ทเี่ ป็นโรคใหว้ ิตามินและอเี ลคโตรไลทล์ ะลายน้าให้กนิ ชว่ ย
ใหไ้ ก่ฟ้ืนโรคเร็วขึน้ หรืออาจให้ยาปฏิชีวนะละลายนา้ ให้กินเพ่อื ป้องกันโรคแทรกซอ้ น
การป้องกนั นาลูกไกจ่ ากฟาร์มท่ปี ลอดโรคมาเล้ยี ง ไมเ่ ล้ยี งไก่หลายอายุคละกนั ในโรงเรือน และ
การใชว้ คั ซีนตามกาหนด

1.3.6 กาฬโรคเปด็ (duck plague)
สาเหตุ เกดิ จากเชื้อเฮอร์ปสี ์ไวรัส (Herpes virus)
การตดิ ต่อ ติดต่อทางนา้ มูก น้าลาย อุจจาระของสตั ว์ป่วย และพบโรคได้ใน เป็ด ห่าน หงสท์ กุ อายุ
อาการ ระยะแรกซึมไม่กินอาหารเปลือกตาปิดน้ามูกไหลหิวน้าถ่ายเหลวเป็นน้าอาจมีอุจจาระปน
ยนื ไมไ่ ด้คอตกอตั ราตาย 5-100 เปอร์เซน็ ต์ เป็ดโตตายมากกว่าเป็ดร่นุ ตายภายใน 1-5 วนั หลงั แสดงอาการ

วิการ มีการอักเสบอย่างรุนแรงของระบบทางเดินอาหารเริ่มแรกมีจุดเลือดออกบนเย่ือบุผิวลาไส้
เล็กลาไส้ใหญ่ทวารหนักต่อมาพบแผ่นเนื้อตายสีขาวเหลืองปกคลุมอยู่ตลอดความยาวของหลอดอาหาร
ลกั ษณะน้ีพบในเป็ดโตไม่พบในเป็ดเลก็ นอกจากน้ียังพบจุดเลือดออกที่ไตตับอ่อนต่อมเบอร์ซ่าซ่ึงมักไม่ค่อย
พบในลกู เป็ด

การรักษา ไมม่ ยี ารักษา
การป้องกนั ใหว้ ัคซนี เชอื้ เปน็ และจดั การสขุ าภิบาลทดี่ ี

1.3.7 โรคกัมโบโร (gumboro’s disease)
สาเหตุ เบอรน์ า่ ไวรัส (Burnavirus)
การติดต่อ เชื้อออกมากับอุจจาระไก่ป่วยอาจติดต่อกันโดยไก่จิกก้นกันหรือมีแมลงเป็นตัวนาพบ
โรคไดใ้ นไกอ่ ายตุ ัง้ แต่ 3 สัปดาหถ์ งึ 8 สปั ดาห์
อาการ ซึม กินอาหารน้อยลง ท้องเสียเป็นน้า แล้วเร่ิมทยอยตาย 30-60 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะ
3-4 วัน
วิการ พบกล้ามเน้ือบริเวณอกขามีเลือดออกลาไส้อักเสบไตบวมมีเกลือยูเรท (urate) สีขาวอยู่
ภายในเบอร์ซ่ามีสีซีดต่อมามีจุดเลือดออกเบอร์ซ่าขยายโตแล้วค่อยๆเล็กลงอาจเหลือร่องรอยของจุด
เลือดออกสีเทาของเนือ้ ตายหรืออาจพบหนองภายในเบอร์ซ่ามา้ มมีจุดเนอื้ ตายสีเทาเล็ก ๆ กระเพาะแท้อาจ
มีจุดเลือดออก
การรักษา ไม่มยี ารกั ษา ถา้ เปน็ โรคแลว้ พยายามควบคุมการเกิดโรคแทรกซ้อนจากแบคทีเรีย
การปอ้ งกนั การจัดการสุขาภบิ าลทด่ี ใี ห้วัคซีนครง้ั แรกเมือ่ อายุ 5-7 วัน ครั้งทสี่ องเม่ืออายุ 21 วนั

1.3.8 โรคอหิวาต์เปด็ -ไก่ (fowl cholera)
สาเหตุ เกดิ จากเชื้อแบคทีเรีย Pasteurella multocida
การติดต่อ ติดต่อโดยการกินอาหาร หรือน้าที่มีเช้ือโรคเข้าไป การหายใจติดต่อไปยังไก่ที่อยู่ใกลช้ ิด
กัน อุปกรณ์การเล้ียง คน สุนัข แมว นก หนู แมลงวัน เป็นตัวนาโรค เชื้อปนเปอื้ นในดนิ ซากเป็ดซากไก่ที่
ป่วยตายด้วยโรคน้ี สิ่งขับถ่าย เช่น อุจจาระ น้ามูก เสมหะ ส่ิงปูนอน ที่ตกลงในน้าทาให้เช้ือโรค
แพร่กระจายไปตามกระแสน้าได้ การชาแหละเป็ดและไก่ที่ป่วยและตายด้วยโรคน้ีเศษเนื้อเลือดและน้าล้าง
ทาให้เช้ือโรคแพร่ระบาดได้ การเคลื่อนย้ายเป็ดและไก่ที่เป็นโรคไปสถานท่ีอีกแห่งหน่ึงเช่นตลาดนัดตลาด
ซ้อื ขาย

อาการ - ชนิดร้ายแรงหรือเฉียบพลัน เป็ด-ไก่ป่วยและตายกะทันหันโดยไม่แสดงอาการให้เห็น
หรืออาจพบไข้สูงมีน้ามูกน้าลายไหลเป็นเมือกหัวตกหน้าและหงอนสีม่วงคล้าหายใจลาบากและถี่
เบอ่ื อาหารกระหายนา้ จัดทอ้ งรว่ งอจุ จาระมสี เี หลอื งขนร่วงตายภายใน 2-3 วนั

- ชนิดเร้ือรังเกิดจากพวกท่ีป่วยแล้วไม่ตายบางครั้งจะป่วยนานเป็นเดือนๆมีอาการหงอย
ซึมพบลกั ษณะบวมท่ีเหนยี งโพรงจมูกข้อขาข้อปีกฝา่ เท้าและบรเิ วณก้นตาแฉะหายใจเสียงดังหอบ

การป้องกัน ทาได้โดยทาความสะอาดภายในเลา้ เป็นประจาภายในโรงเรือนต้องโปร่งอากาศถ่ายเท
ดีเย็นสบายไม่อบอ้าวไม่ควรเลี้ยงเปด็ และไกห่ นาแน่นจนเกินไปป้องกนั พาหะต่าง ๆ และมีมาตรการการเข้า
ออกฟารม์

การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะหรือยาซัลฟาโดยการฉีดหรือละลายน้าให้กินติดต่อกัน 2-3 วัน และ
ตดิ ตอ่ สัตวแพทย์ในพน้ื ท่ี

9. โรคบดิ (coccidiosis)
สาเหตุ เกิดจากเชือ้ โปรโตซัวอัยเมอเรยี เช่น อัยเมอเรียเนคาทรกิ ซ์ (Eimerianecatrix) อัยเมอเรีย
เทเนลลา (Eimeriatenella) และอัยเมอเรียอะเซอวูลินา (Eimeriaacervulina) เป็นต้นพบโรคบ่อยถ้า
อณุ หภูมิและความชน้ื ในโรงเรือนสูงหรือสิ่งรองพืน้ เปยี กชน้ื อยเู่ สมอ ๆ
การติดต่อ โดยการกินโอโอซีสท์ลักษณะคลา้ ยไข่พยาธิท่ีแกเ่ ต็มทแี่ ลว้ เขา้ ไป
อาการ ขึ้นกับชนิดของเชื้ออัยเมอเรียชนิดที่ไม่รนุ แรงอาจทาให้ไก่ป่วยเล็กน้อย หรือไม่ป่วยเลยแต่
ชนิดที่รุนแรงจะทาให้ไก่ท้องเสียถ่ายเป็นเมือกหรือเป็นเลือด และทาให้ร่างกายขาดน้าขนยุ่งหงอย ซึม ซีด
ยืนหรือนอนสุมกันอ่อนเพลียผิวหนังขาดสารสีกินอาหารน้อยลงโตช้าแคระแกรนจานวนตายไม่แน่นอน
แต่ถ้าเป็นรุนแรงจะตายมาก โดยเฉพาะบิดที่เกิดจากอัยเมอเรียเนคาทริกซ์และอัยเมอเรียเทเนลลา
โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งเมอ่ื มแี บคทเี รียแทรกซ้อน
การรักษา ใช้ยาแอมโพเล่ียมโซเดียม ซัลฟาคลอโรไพราซีนโมโนไฮเดรท (อีเอสบี3) ซัลฟาควินอก
ซาลีน ซลั ฟาไดเมทธอกซนี และโทลทราซูริล ควรเพิ่มวิตามินเอ และ เค ในอาหารหรือน้าเปลี่ยนสง่ิ รองพ้ืน
เพ่ือลดจานวนโอโอซีสท์
การป้องกัน หลีกเลี่ยงสิ่งรองพื้นเปียกชื้นควบคุมให้ไก่ได้รับโอโอซิสท์จานวนน้อยและควบคุม
สภาพแวดล้อมใหเ้ หมาะสมเลีย้ งไก่บนเล้าลอยหรือยกพ้นื

1.3.10 โรคมาเร็กซ์ (marek’s disease)
โรคนี้เป็นโรคระบาดท่ีร้ายแรงของไก่เช่นกันคือนอกจากจะทาให้ไก่ป่วยตายในอัตราสูงถึงร้อยละ
5-30 แล้วยังทาให้ไก่กินอาหารมากแต่เปลี่ยนเป็นเนื้อได้น้อยเกิดจากเช้ือไวรัส ถ้าเป็นชนิดเฉียบพลันไก่จะ
ตายทันทีในอัตราร้อยละ 70-80 ถ้าเป็นแบบอัมพาตทรงตัวไม่ได้เดนิ ขาลากในท่ีสดุ จะนอนความรุนแรงของ
โรคนจี้ ะมากน้อยแค่ไหนขึน้ อยูก่ ับสายพันธไ์ุ กเ่ พศและอายุ
การป้องกนั โดยใช้วัคซนี ปอ้ งกันโรคลว่ งหน้า
การรักษา ยงั ไม่มียารักษาทไี่ ด้ผลดี
1.3.11 โรคอจุ จาระขาวหรอื โรคขข้ี าว (pullorum)
สาเหตุ เกิดจากเชือ้ แบคทีเรีย (Salmonella pullorum) ซง่ึ ติดต่อได้ใน ไก่ ไก่งวง นกยงู กระรอก
นกพิราบ นกกระจอก โรคน้เี ป็นปัญหาใหญ่ในไก่เลก็ โดยเฉพาะไก่อายุเกิน 1 สัปดาห์ ไก่ป่วยจะตายไปเรือ่ ย
ๆ เป็นเวลา 2-3 สปั ดาหก์ ารตายอาจจะสูงถงึ รอ้ ยละ 80 ไก่ทีอ่ ายมุ ากกวา่ 4 สัปดาห์ อตั ราการตายจะตา่

อาการ ไก่จะแสดงอาการโลหิตเป็นพิษอุจจาระมีสีขาวเหลวก้นเปียกแฉะหงอยซึมยืนส่ันหายใจ
ลาบากคอตกไกใ่ หญ่จะเปน็ แบบเรื้อรัง

การป้องกัน ตรวจเลือดพ่อแม่พันธุ์ด้วยแอนติเจนอย่างสม่าเสมอ ใช้ยาฆ่าเช้ือพ่นภายในเล้าและตู้
ฟักไขใ่ หท้ ัว่ ถึง และรมควันโดยใช้ด่างทบั ทิม 20 กรมั ผสมกับฟอรม์ าลิน 40 มลิ ลลิ ิตร

การรกั ษา ไมร่ ักษาสัตว์ปว่ ยควรทาลายเพ่อื กาจัดสาเหตขุ องโรคใหห้ มดไป

1.3.12 โรคหวดั แห้งเร้อื รัง (chronic respiratory disease or CRD)
สาเหตุ โรคน้ีเกดิ จากเช้ือแบคทเี รียพวกไมโคพลาสมา (Mycoplasma gallisepticum) มักจะมี
โรคแทรกซ้อนเกิดขนึ้ เสมอจะมอี าการจามบ่อย ๆ มนี า้ มูก กนิ อาหารน้อยลงไก่ผอมแคระแกร็นขนไมเ่ ปน็
ระเบียบชอบนอนซุกตามมุมของเลา้
การตดิ ต่อ ทางอากาศ และจากการสัมผสั ไก่ที่ป่วยเปน็ โรค ระยะฟักตวั ประมาณ 4 – 21 วนั
อาการ น้ามูกไหลหรือไม่มีมูกเลยกไ็ ด้ จามบ่อย หนา้ อาจบวมเล็กนอ้ ย ตาอกั เสบและมีน้าตา หายใจมีเสยี ง
ดงั ครดื คราดอยภู่ ายในหลอดลม เบอื่ อาหาร น้าหนักลด
การรักษา ใช้ยาปฏชิ ีวนะ เช่น ไทโลซิน สเตรปโตมยั ซิน เตตราซยั คลนิ ฯลฯ
การป้องกัน

- แยกสัตว์ป่วยไปทาลายและใช้หลักสุขศาสตรเ์ น้นความสะอาดเปน็ หลักปฏิชีวนะละลาย
น้าให้กนิ ตดิ ตอ่ กนั 3-5 วนั

- หมัน่ ตรวจดฝู ูงไกบ่ อ่ ยๆ ถ้ามไี ก่ปว่ ยใหแ้ ยกออกไปรักษาและทาลายทันที
- ทาความสะอาดโรงเรือนด้วยนา้ ยาฆา่ เชือ้ เปน็ ประจา
- ทาวัคซนี ปอ้ งกนั โรคตามโปรแกรมทก่ี าหนด หรือละลายยาปฏชิ ีวนะใหก้ ิน

1.3.13 โรคหวดั ตดิ ต่อหรือหวัดหนา้ บวม (Infectious coryza or Fowl coryza)
สาเหตุ เกิดจากเช้ือแบคทีเรียพวก Hemphillus paragallinarum
การติดต่อ ทางอากาศ ทางน้า และโดยมสี ิ่งนาพา ไก่ปว่ ยเปน็ พาหะ
ระยะฟักตวั ประมาณ 24 – 48 ชวั่ โมง
อาการ ไก่จะแสดงอาการบวมที่หน้าและเหนียง นัยน์ตามีของเหลวเป็นฟองอยู่ตรงหัวตา ทาให้
เกิดการระคายเคือง ไก่ใช้เท้าเขี่ยนัยน์ตา ทาให้รอบตาอักเสบอย่างรุนแรง มีน้ามูกไหล จามบ่อย ๆ หายใจ
ไม่สะดวก เย่อื ตาอักเสบ เบื่ออาหาร และผอมลง การรักษา ใชย้ าซัลโฟนาไมด์ หรือยาปฏชิ ีวนะอื่น ๆ

การปอ้ งกนั
- แยกสตั วป์ ว่ ยออกจากฝูง
- ไม่ควรเลย้ี งไกท่ ่มี อี ายตุ ่างกันไวด้ ้วยกัน
- ไมค่ วรใหพ้ นื้ เล้าชืน้ แฉะและมีลมโกรกแรง โรงเรอื นควรมีการระบายอากาศทดี่ ี
- ทาวัคซีนป้องกนั โรคตามโปรแกรมท่กี าหนด

1.3.14 พยาธไิ ก่ (Parasite)
พยาธิไก่แบ่งออกเปน็ 2 ชนิด คอื พยาธภิ ายนอก (External parasite) ซ่ึงได้แก่ ไร เหา หมดั และ
เห็บ และพยาธภิ ายใน (Internal parasite) ได้แก่ พยาธิตัวกลม และพยาธติ ัวแบนตา่ ง ๆ
1) พยาธภิ ายนอก (External parasite) พยาธิภายนอกที่สาคญั ในไก่ ได้แก่ ไร และเหา

(1) ไรไก่ (Mite) เป็นพยาธิภายนอกที่มขี นาดเล็กมาก มี 8 ขา ดารงชีวติ โดยการดดู เลอื ด
ไก่กนิ เปน็ อาหาร ไรไก่ที่สาคญั มี 3 ชนดิ คอื

- ไร แ ด ง (Common red mites; Dermanyssus gallinae) มี ข น า ด เล็ ก
ตัวสีแดง หรือดา พบอยู่ใต้กองมูลหรือตามรอยแตกของฝาผนังหรือพ้ืนโรงเรือน ออกดูดเลือด ไก่เวลา
กลางคืน ทาให้ผิวหนังระคายเคือง ไก่แสดงอาการอ่อนเพลีย ไข่ลด หงอนและเหนียงซีด โลหิตจาง
นอกจากนยี้ งั เป็นตัวนาโรคฝีดาษ และอหิวาต์ไก่อีกด้วย

- ไรที่อยู่ตามตัว (Northern feather mite; Liponyssus sylviarum) เป็นไรที่
พบบนตัวไก่และรอบๆ ทวาร มีสีเทา ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมากบนตัวไก่ ทาให้เกิดโลหิตจาง ไก่กินอาหาร
ลดลง ไข่ลด น้าหนกั ลดลงอยา่ งรวดเร็ว

- ไรแข้งผุ (Scaly-leg mite) ทาให้เกิดโรคแข้งผุ (Scaly leg) โดยไรจะฝังตัวเข้า
ไปในผิวหนังหรือเกล็ดบรเิ วณขา ทาให้เกล็ดหน้าแข้งอักเสบ มีน้าเหลืองไหลซึมออกมา การรักษาทาได้โดย
เอาแข้งไกแ่ ช่ลงไปในนา้ ยาโซเดยี มฟลูออไรด์ 0.5 % สปั ดาหล์ ะครง้ั เปน็ ระยะเวลา 2-3 สปั ดาห์

(2) เหา (Louse) เป็นพยาธิภายนอกที่ไม่ทาอันตรายต่อไก่มากนัก แต่มีผลต่อลักษณะ
ทางเศรษฐกจิ คอื ไขล่ ด โตช้า และโลหติ จาง เหาไก่ท่ีสาคัญมี 3 ชนดิ คือ

- เหาทต่ี ัวไก่ (Chicken body louse) พบอยู่ตามลาตวั และขนบริเวณท้อง
- เหาท่หี ัวไก่ (Chicken head louse) พบบนผิวหนังและขนบริเวณหวั
- เหาท่ีปีกไก่ (Wing louse) พบตามขนใต้ปีก
การควบคุมพยาธภิ ายนอก
- ฉีดยาฆ่าแมลงในกลุ่ม มาลาไธออน คาร์บารีล หรือเซฟวินในโรงเรือนและรอบๆ
โรงเรือนในช่วงพักเล้า งดใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดีดีที ดีลดริน อัลดริน เฮปตาคลอร์ ในโรงเรือนไก่กระทง
เพื่อการสง่ ออก โดยเด็ดขาดเพราะอาจเปน็ สารเคมีท่อี าจปนเป้ือนและมีฤทธ์ิตกคา้ งในเนือ้ ไก่ได้
- ก่อนย้ายไก่สาวขึ้นกรงตับให้ฉีดพ่นยาบนตัวไก่หรือจุ่มไก่ในน้ายาฆ่าแมลง โดยใช้
ยามาลาไธออนเขม้ ขน้ 0.5-1 % หรือยาเซฟวินเข้มข้น 0.5 %
- เมื่อตรวจพบพยาธิภายนอกบนตัวไก่ให้รีบกาจัดทันทีโดยฉีดพน่ ยาบนตัวไกห่ รือจุม่ ไก่ใน
นา้ ยา

2) พยาธภิ ายใน (Internal parasites)
พยาธิภายในไก่ท่ีสาคัญคือพยาธิตัวกลม ซึ่งเป็นพยาธิที่ทาอันตรายต่อไก่มากท่ีสุด พยาธิตัวกลมท่ี
สาคญั มี 3 ชนิด คือ

(1) พยาธิตัวกลม (Large round worm หรือ Ascardia galli) เป็นพยาธิท่ีพบอยู่ใน
ลาไส้ ตัวแก่มีความยาว 7-8 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายเชือก สีขาวซีด วงจรชีวิตใช้เวลา 30-35 วัน
พยาธิไส้เดือนในระยะที่เป็นตัวหนอนพยาธิเป็นระยะท่ีอันตรายที่สุด เพราะจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในผนังลาไส้
ทาให้ผนังลาไส้เป็นแผล ช้าบวมและมีเลือดออก อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคโลหิตจาง ท้องร่วงและ
ไก่อ่อนเพลยี เมือ่ พยาธิไสเ้ ดือนเจรญิ เตบิ โตเตม็ ทมี่ ันจะคอยแยง่ กนิ อาหารทาให้ไกผ่ อม โตชา้ ไข่ลด

การปอ้ งกนั รกั ษา
- ทาความสะอาดเลา้ และกรง อย่างสม่าเสมอ
- ควรถา่ ยพยาธใิ นไก่สาวก่อนยา้ ยข้นึ กรงตบั ประมาณ 3 สปั ดาห์ และถ่ายซ้าอีกครั้งหนึง่

30 วนั หลังจากนนั้ ยาถา่ ยพยาธทิ ่ใี ช้ได้ผลดี คือ Piperazine
- ใหไ้ วตามนิ เอในอาหารเพิม่ ขึ้นในอตั รา 12 ล้านไอยตู ่ออาหาร 1 ตนั

(2) พยาธิเส้นด้าย (Capillaria worm) มีลักษณะกลม ขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตา
เปล่า เมือ่ โตเต็มทีม่ ีความยาวประมาณ 0.5 น้ิว พยาธิชนดิ นี้ไม่มพี าหะชัว่ คราว ไก่ได้รับพยาธิชนดิ นี้โดยการ
กินไข่พยาธิเข้าไปโดยตรง พยาธิจะเข้าไปอยู่ในทางเดินอาหาร หลอดอาหาร กระเพาะพัก ลาไส้เล็กและ
ส่วนต้นของไส้ตัน ตัวหนอนพยาธแิ ละตัวพยาธิจะฝังตัวอยู่ในผนังลาไส้ทาให้เป็นแผล ช้าบวม ดูดซึมอาหาร
ไมไ่ ด้ ลาไสเ้ กิดเป็นแผลเรือ้ รงั ทาให้ทอ้ งรว่ ง การทล่ี าไสเ้ ป็นแผลเป็นโอกาสใหเ้ ช้ือโรคเขา้ ทาอันตรายไดง้ ่าย
ไกจ่ ะแสดงอาการโตชา้ ผอม แคระแกรน็ หน้าซดี ไขฟ่ องเลก็ ลง

การปอ้ งกันรกั ษา
- ทาความสะอาดเลา้ และกรงกอ่ นยา้ ยไก่
- การรักษาใช้ยาเมลแดน (Meldane) ขนาด 3 ปอนด์ต่ออาหาร 1 ตัน ให้กนิ นาน 14 วัน
- ใหไ้ วตามนิ เอเพิ่มข้นึ ในอตั รา 12 ลา้ นไอยูต่ออาหาร 1 ตนั

(3) พยาธิไส้ตัน (Cecal worm; Helterakis gallinarum) เป็นพยาธิท่ีพบในไส้ตัน ตัวแก่มีความ
ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร พยาธิชนิดน้ีไม่มีพาหะช่ัวคราว ไก่ได้รับพยาธิน้ีโดยการกินไข่พยาธิเข้าไป
โดยตรง ตัวอ่อนของพยาธิชนิดน้ีจะเข้าไปเจริญอยู่บริเวณเยื่อบุไส้ตัน ทาให้ไส้ตันช้าบวมและอักเสบอย่าง
รุนแรง ไกป่ ว่ ยมักไมค่ ่อยแสดงอาการ

การปอ้ งกนั รักษา
- ทาความสะอาดเลา้ และบริเวณรอบๆ อย่างสม่าเสมอ
- ใช้ยาถ่ายพยาธิผสมอาหารใหไ้ กก่ ิน

5.4 โรคสตั วท์ ต่ี ดิ ต่อถงึ คน
โรคสัตว์สู่คน (ZOONOSES) มีบทบาทสาคัญต่อมนุษย์และสัตว์ ตราบใดที่เรายังมีการคลุกคลีกับ

สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก ปลา และสตั ว์ทดลองตา่ งๆ หรอื พวกสัตว์เศรษฐกิจ เชน่ วัว ควาย ม้า
สุกร เป็ด ไก่ โอกาสติดโรคระบายกันจะมีอยู่ตลอดเวลา บางชนิดจะแพร่กระจายในหมู่สัตว์ด้วยกัน แต่
บางชนิดก็แพร่กระจายมาสู่คนได้ไม่ว่าจะเป็นทางผิวหนังบาดแผล, การกิน และการหายใจ โรคต่างๆ
เหล่าน้ีจึงเป็นปัญหาต่อวงการสาธารณสุขของบ้านเรา ที่ชัดเจนคือโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) โรคแอน
แทรกซ์ (Anthrax) ซึ่งจัดอยู่ใน 19 โรคติดต่อทางสาธารณสุข ส่วนในสัตว์ก็จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อใน
พระราชบญั ญัตสิ ตั ว์ดว้ ย

กล่าวโดยสรุป ZOONOSES หมายถึงโรคติดต่อระหว่างคนและสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอืน่ ๆ ทั้งสตั ว์
เลี้ยงและสัตว์ป่า การติดต่ออาจติดต่อจากสัตว์มายังคน หรือจากคนไปยังสัตว์ก็ได้ แต่การติดต่อนั้นต้อง
เป็นไปโดยธรรมชาติ

5.4.1 การติดต่อจากสตั ว์ไปสคู่ น
การติดเชื้อโรคจากสัตว์มาสู่คนน้ันเกิดขึ้นไดห้ ลายทาง ดังนี้

1) โดยการสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยตรง เช่น โรค Leptospirosis ที่เกิดจากเช้ือ
Leptospira เช้อื น้จี ะไชเขา้ สู่ร่างกายคนจากบาดแผลทางผิวหนงั ได้

2) โดยการกิน จะเป็นการกินเน้ือ, อวัยวะบางส่วนซึ่งผลิตภัณฑ์ท่ีได้จากสัตว์ท่ีเป็นโรค
เช่นกินเนื้อสัตว์ท่ีเป็นโรค Trichinosis ท่ีมีตัวอ่อนของพยาธิในกล้ามเนื้อ หรือกินเนื้อสัตว์ที่เป็นโรค
Anthrax หรือด่ืมนมจากแมว่ ัวที่ป่วยเปน็ วัณโรค เปน็ ต้น

3) โดยการหายใจเอาเช้ือหรือ spore ของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น โรค Anthrax,
Cryptococcosis, Aspergillosis เป็นตน้

4) โดยการถกู แมลงทีเ่ ป็นพาหะของโรคกัด เช่น ยุงทีน่ าเชอ้ื Japanese encephalitis
หมดั หนูนาเชอ้ื กาฬโรคไปสคู่ น

5) โดยการถูกสตั ว์ทเ่ี ป็นโรคกัด เช่น โรคพิษสุนัขบ้า เชอ้ื จะอยู่ในนา้ ลายของสนุ ัขทีเ่ ป็น
โรคพษิ สุนัขบ้า และเชื้อจะเขา้ ทางบาดแผลทถี่ ูกกัดน้นั เปน็ ต้น

5.4.2 การจาแนกโรคตดิ ต่อระหว่างสตั ว์และคน
การจาแนกกลมุ่ ของโรคทาได้หลายแบบ เชน่ การจาแนกตามแบบแผนของวงจรชีวติ ของเชื้อโรค
การจาแนกตามธรรมชาติของ host ท่ีเป็น reservoir ของโรค เป็นตน้ ในทีน่ จ้ี ะจาแนกกลุ่มของโรคตดิ ตอ่
ระหว่างสัตว์และคน ตามชนิดของเชื้อทท่ี าใหเ้ กิดโรค ซึง่ พอจะแยกไดด้ งั นี้

1) โรคที่เกดิ จากเช้อื แบคทเี รีย เช่น Anthrax, Brucellosis, Leptospirosis, Plague,
Melliodiosis, glanders, Clostridial food poisoning, Vibrio parahaemolyticus, food-born
infection, Salmonellosis, Shigellosis and E.coli infection, Staphy lococcus food
poisoning, Tuberculosis, Listeriosis, Erysipelothrix infection and Campy lobacteriosis

เป็นต้น
2) โรคทเ่ี กดิ จากเชอ้ื ไวรัส เชน่ Rabies, Japanese encephalitis, Food and

Mouth disease เป็นต้น
3) โรคทเ่ี กดิ จากเชือ้ รา เชน่ Aspergillosis, Cryptococcosis, Histoplasmosis,

Dermatophytosis เปน็ ตน้
4) โรคทเ่ี กดิ จากปาราสิต เช่น Trichinosis, Filariasis, Angiostrongyliasis,

Gnathostomiasis, Thelajiasis, Opisthorchiasis, Fasciolopsiasis, Schistosomiasis,
Paragonimiasis, Tacniasis and Cysticercosis, Toxoplasmosis เป็นตน้

5.4.3 การควบคมุ โรค Zoonoses
1) หลีกเลย่ี งการสัมผสั กบั สตั วป์ ว่ ยหรอื ผลิตภัณฑจ์ ากสตั วป์ ่วย
2) กาจัดหรือทาลายซากสัตว์ป่วย เช่น การฝงั ดนิ ลกึ ๆ หรอื เผาทาลาย
3) ควบคมุ กาจดั พาหะของโรค
4) ฉีดวัคซีนให้กับสัตวเ์ พ่ือป้องกันการระบาดของโรค และฉดี วคั ซีนให้กับบคุ คลที่มีอตั รา

เส่ยี งตอ่ การเป็นโรคสงู
5) ทาลายเชื้อท่ีมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ท่ีได้จากสัตว์ เช่น นมท่ีดื่มต้องผ่านการฆ่าเช้ือ

(Pasteurization) หรือถ้าเปน็ เน้อื สตั ว์ เครอ่ื งในก็ควรทาให้สขุ ก่อน
6) เมื่อมีการระบาดของโรคต้องรีบรายงานเจ้าหน้าที่ท่ีเกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ของกรม

ปศุสตั ว์ และเจ้าหน้าท่สี าธารณสขุ เป็นต้น

โรคติดต่อระหว่างสัตว์กบั คนเนื่องจากสาเหตกุ ารตดิ เช้อื แบคทีเรยี ไวรสั เชอื้ รา และปาราสิต น้นั มี
มากมาย ในทน่ี ้ีจะกลา่ วถงึ เฉพาะโรคท่ีพบบ่อยในประเทศไทยทีม่ ีผลต่อเศรษฐกจิ และกอ่ ปัญหาสาธารณสุข
ในบา้ นเราเท่านน้ั

1. โรคแอนแทรกซ์ (ANTHRAX)
โรคแอนแทรกซ์ ชาวบ้านเรียกว่า โรคกาลี เป็นโรคระบาดในสัตว์เลี้ยงและคนในประเทศไทย

ปัจจุบันโรคนี้เป็นโรคระบาดท่ีเกิดข้ึนอยู่ประปราย โดยเกิดท้ังในสัตว์และในคน และจะพบว่าเกิดซ้าใน
ท้องที่เดิมทเ่ี คยมีรายงานโรคมากอ่ นเสมอ

สาเหตุ โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า “บาซิลัส แอนทราซิส” (Bacillus anthracis) มี
รปู ร่าง slender rod shape ติดสี Gram positive เช้ือน้ีเม่ืออยู่นอกร่างกายสัตว์จะฟอร์มสปอร์ ซ่ึงสปอร์
น้ีจะทนตอ่ ความร้อนความแหง้ แล้งได้ดี และสามารถมชี ีวิตอยู่ในดินได้นาน 10-20 ปี

การตดิ ตอ่ คนติดตอ่ โรคจากสัตวไ์ ดโ้ ดย
1) โดยการสมั ผสั โดยตรงกับสัตว์ป่วยหรือสัมผัสกับผลิตภัณฑ์สัตวท์ ี่ไดม้ าจากสตั ว์ป่วยเช่น

บคุ คลทอ่ี าชพี ชาแหละเน้อื สตั วแพทย์หรือผ้ใู กล้ชดิ กับสตั ว์ปว่ ย

2) โดยคนกินเน้อื สัตวป์ ว่ ยทีเ่ ป็นโรคเขา้ ไป
3) โดยการหายใจเอาสปอรข์ องเช้อื เขา้ ไป
อาการ สาหรับอาการของโรคนใี้ นคนสามารถแบง่ ตามลกั ษณะของการไดร้ บั เช้ือเข้าไป ดังนี้
ก) ในคน
(1) อาการท่เี กิดตามผวิ หนงั (Cutaneous anthrax)
จะพบได้บ่อยท่ีบริเวณผิวหนังท่ีได้รับเชื้อเข้าไป โดยปกติวิการของโรค (Lesion) จะ
เกิดข้ึนที่ผิวหนังไม่เกิน 2 วัน หลังจากได้รับเชือ้ เข้าไป อาการเริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดง คนั คล้ายกับ
ถูกแมลงกัด ต่อมาจะบวมและกลายเป็นตุ่มหนองมีน้าใสอยู่ภายในตรงกลาง หลังจากนั้นเกิดลักษณะของ
เนื้อตาย (necrosis) เป็นสีดามีอาการเจ็บเล็กน้อย ในระยะนี้ต่อมน้าเหลืองทอี่ ยู่บรเิ วณใกล้แผลจะมีอาการ
บวมอย่างเห็นได้ชัด ในรายท่ีมีอาการมากจะทาให้เกิดมีเชื้อในกระแสเลือด และมีอาการโลหิตเป็นพิษ
(toxaemia) ส่วนมาก มักเกิดกับบุคคลท่ีทาการชาแหละเน้ือสัตว์ป่วย เช่น โค, กระบือ, สุกร โดยเช้ือจะ
เข้าทางผิวหนังตรงบริเวณที่เป็นแผล รอยขีด หรือรอยแตกของผิวหนัง ในรายที่ไม่ได้รับการรักษา จะมี
อตั ราการตายประมาณ 20%

(2) อาการระบบหายใจ (Inhalation anthrax)
เกิดข้ึนเนื่องจากหายใจเอาสปอร์ของเช้ือเข้าไป โดยสปอร์จะติดอยู่ตามฝุ่นละออง
ขนสัตว์ หนังสัตว์ เม่ือสูดดมเข้าไปจะไปอยู่ในถุงลม ต่อจากน้ันจะเข้าไปยังต่อมน้าเหลื องบริเวณ
หลอดลม และเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของโลหิต อัตราการตายของผู้ป่วยท่ีเป็นโรคแบบน้ีเกือบ 100%
อาการของโรคท่ีเห็นพบว่าผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดตามกล้ามเนื้อ ไอ อาการดังกล่าวคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
หรือ ปอดอักเสบอย่างอ่อน ต่อมาจะหายในลาบาก มีน้าออกมาตามเย่ือเมือกและผิวหนังมีสีเขียวคล้า
แสดงการขาดออกซิเจนในเลอื ด ผ้ปู ว่ ยจะมีชีพจรและหายใจถกี่ ่อนตายเสมอ

(3) อาการทางระบบลาไส้ (Intestinal anthrax)
เกดิ ขึ้นเนือ่ งจากกินอาหารท่มี ีเช้ือน้ีอยู่เข้าไป เช่น อาหารทด่ี ิบๆ หรือไม่สุก ทาให้มอี าการ
ท้องร่วงอยา่ งรนุ แรง สว่ นใหญโ่ รคนม้ี กั เกิดขน้ึ ในช่วงฤดูร้อน
ข) ในสตั ว์
จะเกิดกับสตั ว์เลยี้ งลกู ด้วยนมทกุ ชนิด และจะเป็นชนิดเฉียบพลัน คือสตั วจ์ ะมีไข้ และตาย
อาการอืน่ มบี วมท่ีคอ ไหล่ บรเิ วณอก ปาก และจมูกแหง้ หายใจเร็ว ไขส้ ูง ขาสน่ั ชกั และเกร็งเป็น
ระยะๆ เยื่อหุ้มตาอักเสบ อาการท่ีพบในโรคนี้ส่วนมากจะมีอาการบวมตามบริเวณคอหอย หายใจ
ลาบาก เลือดออกตามช่องเปิดต่างๆ และเป็นเลือดท่ีไม่มีการแข็งตัว สัตว์ที่ตายจะเกิด ferment เร็ว
มาก
4) การวนิ จิ ฉยั โรค
โดยการแยกเช้ือที่ผิวหนังนามาย้อมสี gram หรือสี giemsa หรือนาไปเพาะเลี้ยงต่อ
สาหรับการนาเลือดมาเพาะเช้ือจะทาได้ในระยะปลายของโรค หรือระยะที่สัตว์ใกล้ตาย จะได้ผลดีกว่า

เพราะเชื้อนจ้ี ะถกู ทาลายเร็วในขบวนการเนา่ เปื่อย

ในกรณีทีก่ ารเพาะเลี้ยงเชอื้ ไม่ได้ผลควรใชก้ ารฉีดเข้าหนู mice หรอื หนูตะเภา ถ้าเราอยากให้สัตว์

ตายช้าอาจใช้ ตวั อย่าง (specimen) ท่ีได้ นามาขูดบนผิวหนัง วธิ ีน้ีจะทาให้การวนิ ิจฉัยโรคแน่นอนกว่า

เพราะถา้ เราฉีดในสตั ว์ทดลองสตั ว์ท่ตี ายเรว็ อาจเนอื่ งมาจากเชอื้ Clostridium ก็ได้ 5) ก า ร

ควบคุมโรค

(1) โดยการฉีดวคั ซีนปอ้ งกันโรคในสตั วเ์ ปน็ ประจาทกุ ปี

(2) สัตวท์ ี่ตายดว้ ยโรคนห้ี รอื สงสัยวา่ ตายดว้ ยโรคน้ใี ห้ฝังหรือเผา หา้ มชาแหละอยา่ งเดด็ ขาด

วิธกี ารน้ีจะควบคุม

มใิ ห้โรคแพร่กระจายออกไปได้ดีอย่างไรกต็ ามปัญหาท่ีพบกค็ ือ การใหภ้ ูมิคุ้มกันโรคแก่สตั ว์ ควรใชว้ ัคซีน

ที่ไม่ได้เตรียมมาจากสปอร์ แต่ควรใชว้ ัคซนี เช้ือตายซงึ่ จะทาให้มีภูมิค้มุ โรคอยู่ได้นานเม่ือเปรยี บเทียบกับ

สปอร์วคั ซนี วธิ กี ารนจ้ี ะทาให้การควบคุมโรคแอนแทรกซ์ในสัตวเ์ ลี้ยงไดผ้ ลดี

2. โรควัณโรค (TUBERCULOSIS)
เป็นโรคติดต่อท่ีสาคัญของสัตว์เลือดอุ่น สามารถติดต่อกันได้ระหว่างคนกับสัตว์และสัตว์กับ

คน
1) สาเหตุ
วัณ โรคมีสาเห ตุจากเชื้อแบคทีเรียท่ี มีช่ือว่า ไมโคแบ คที เรียม ทู เบอร์คูโรซีส

(M.tuberculosis) รูปรา่ งเป็น slender rod shape ย้อมด้วยสี acid – fast ตดิ สแี ดง
2) การตดิ ต่อ
(1) โดยการสัมผัสกนั โดยตรงระหว่างสตั วเ์ ป็นโรคกบั คน
(2) โดยการหายใจเอาเช้ือโรคท่ีอยใู่ นอากาศเขา้ ไป
(3) โดยการกินนา้ นมจากสตั วท์ ่ีเป็นโรคเขา้ ไป เชน่ น้านมโคทเ่ี ปน็ วัณโรค
(4) โดยการกินเนื้อสตั วท์ เ่ี ปน็ โรคเข้าไป
การติดวัณโรคในคนสว่ นใหญ่ติดจากโคท่เี ปน็ โรคมากวา่ สตั ว์ชนดิ อ่นื เช่น สนุ ัข แมว แพะ

แกะ สุกร ม้า กวาง ลงิ เป็นตน้

3) อาการ
(1) ในคน ส่วนใหญ่พบเป็นวณั โรคที่ปอดมากที่สุด เม่ือเปรียบเทียบกับที่อื่น เน่ืองจาก
ทาให้เช้ือแพร่และระบาดไปสู่ผู้อื่นง่าย อาการส่วนใหญ่เป็นแบบเรื้อรัง ไม่แสดงอาการของโรคออกมาให้
เห็น และบางรายอาจหายเองได้ อาการที่เห็นเด่นชัดมีไอ อ่อนเพลีย หมดแรง มีไข้ น้าหนักลด ตอน
กลางคืนมีเหงื่อออก เจ็บหน้าอก ตอ่ มามีเลอื ดออกทางจมกู หรือไอออกมามีเลือดปน อาการดงั กล่าวอาจ
ไม่พบในระยะแรก แต่ในระยะท่ีโรคไปไกลอาการจะแสดงออกอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในแหล่งที่มีโรค
ผอมแห้งเร้ือรังที่มีสาเหตุมาจากโรคอ่ืน ดังน้ันการวินิจฉัยโรคนี้ จึงควรแยกกับโรคทางเดินระบบหายใจ
อ่ืนๆ ออกเช่น โรคปอดบวม หลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น การวินิจฉัยที่ดีท่ีสุดก็โดยการแยกเช้ือ ซ่ึง

บางครั้งต้องทาหลายๆ ครั้ง เพราะการแยกเช้ือครั้งแรกอาจไม่พบ สาหรับวัณโรคที่เกิดขึ้นในอวัยวะอื่นๆ
กม็ ีท่ตี ับ ม้าม ไต กระดูก เยื่อหมุ้ สมอง อัณฑะ ลาไส้ รังไข่ เป็นตน้ วัณโรคจากโคท่ตี ิดมายงั คน ส่วน
ใหญ่อาการในคนจะพบเกิดขึ้นท่ีต่อมน้าเหลืองท่ีคอ อวัยวะที่อยู่ในช่องท้อง และจะพบในเด็กเป็นส่วน
ใหญ่ ท้ังนี้เนื่องจากวัณโรคติดต่อได้ โดยการดื่มน้านมโคที่เป็นโรค นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถติดต่อได้
โดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป และจะพบอาการเกิดขึ้นที่ปอด

(2) ในสัตว์ สัตว์มักไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็นเด่นชัด เพราะสัตว์ที่ป่วยจะไม่ได้เป็นวัณ
โรคปอดเหมือนในคน แต่จะเป็นที่ตับ ม้าม ไต ลาไส้ สัตว์ท่ีเป็นวัณโรคได้ง่ายคือ โค ม้า สุกร ลิง
สว่ นสนุ ัขและแมว มคี วามตา้ นทานตอ่ วณั โรคสงู

4) การวนิ จิ ฉัยโรค
โดยการสงั เกตจากอาการทแี่ สดงออก แตพ่ บว่าสังเกตยาก แม้กระทั่งการทดสอบท่ีผวิ หนัง หรือ
การตรวจทางน้าเหลืองวิทยาก็แยกลาบากมาก แตใ่ นปัจจุบันมกี ารทดสอบทางชีวเคมีซ่งึ ชว่ ยได้มากในการ
วนิ ิจฉัยโรคนี้
5) การควบคมุ ปอ้ งกนั โรค
ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนและบุคคลที่คลุกคลีกับสัตว์ท่ีเส่ียงต่อการเป็นโรคน้ี โดยให้ทราบว่าวัณ
โรคอาจติดต่อจากคนไปสู่คนหรือจากสัตว์ไปสู่คน หรือจากผลิตภัณฑ์สัตว์สู่คน และอันตรายท่ีได้รับจาก
โรคน้ี ตลอดจนการป้องกันตัวเองจากโรค

(1) ป้องกันตัวเองไม่ให้ติดโรคโดยการปฏิบัติให้ถูกสุขวิทยา และการสุขาภิบาล เช่น
การกินน้านมทีต่ ม้ นา้ นมควรผา่ นการพาสเจอร์ไรซ์ ผู้ท่ที างานกบั สตั วท์ ดลองควรมเี ครอื่ งปอ้ งกนั การติดต่อ
เช้อื และควรทาความสะอาดโรงเรือนสัตวใ์ ห้ถกู หลกั เช่นใชน้ ้ายาฆา่ เชือ้

(2) การสร้างภมู ิคุม้ กันโดยให้วัคซนี (B.C.G.) ป้องกันโรคในคน
(3) รกั ษาผ้ปู ่วยใหห้ าย
(4) ควรทาการควบคุมสตั วท์ ่ีเป็นวัณโรคโดยการแยกและทาลายสตั ว์
(5) สตั ว์ทฆ่ี ่าใชเ้ นื้อเป็นอาหารควรผ่านการตรวจเนอื้ จากสตั วแพทย์
(6) ผลติ ภัณฑ์สัตว์ อาการสัตว์ ควรผ่านวธิ ีการฆา่ เช้ือมาก่อนแล้ว

3. โรคแทง้ ตดิ ตอ่ (BRUCELLOSIS)
1) สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีช่ือว่า บูลเซลล่า ซ่ึงมี 3 ชนิดด้วยกัน คือบูลเซลล่าอะบอตัส

(Brucella aboryus), บูลเซลล่าซยุ ส์ (Brucella suis), บูลเซลลา่ เมลลิเทนซสี (Brucella melitensis)
2) การติดตอ่
(1) โดยการกินเอาเช้ือเข้าไป ส่วนใหญ่พบว่า โดยการกินน้านมจากโคท่ีเป็นโรคน้ีเข้าไป

และน้านมไม่ได้ผา่ นการพาสเจอรไ์ รซ์เสียก่อน หรอื การกินเนื้อสตั วท์ ี่เป็นโรคน้ีเข้าไป
(2) โดยการสัมผัส พบว่าเช้ือนี้สามารถผ่านเข้าทางผิวหนังได้ โดยเฉพาะผิวหนังท่ีมีรอย

ขีดข่วน ดังน้ันเช้ือนี้อาจสู่ผิวหนังคนได้โดยการสมั ผัสกับสง่ิ ขับถ่าย, มูลสัตว์, รก, ปัสสาวะ, ซากสัตว์ท่ีเป็น
โรค หรืออาจติดโรคจากการทาคลอดสัตว์, ล้วงรกหรอื ช่วยสตั ว์ขณะแท้ง

(3) ติดต่อได้โดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป ส่วนใหญ่พบในคนที่ทางานในโรงงานฆ่าสัตว์
ซ่ึงมีระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดี

3) อาการ
(1) ในคน แบง่ ออกเปน็ 2 ชนดิ
ก) อาการแบบเฉียบพลัน อาการแบบน้ีมีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1-9 สัปดาห์ หรือ

อาจเกิดนานเป็นเดือนหรือปีก็ได้ เร่ิมด้วยมีอาการไข้หนาวส่ัน เหง่ือออกโดยเฉพาะตอนกลางคืน เบื่อ
อาหาร น้าหนักลด ปวดหัว ปวดตามข้อ ปวดกล้ามเน้ือ สาหรับอาการไข้นั้น จะมีอาการไข้ขึ้นๆ ลงๆ
เช่น อาจมีไขส้ ูง 4-5 วัน แล้วลดลงสู่ปกติ 3-4 วันก็เป็นอีก ซ่ึงอาการดังกล่าวนี้จะเป็นลักษณะเฉพาะโรคนี้
นอกจากน้ีพบว่า ตับโต, ม้ามโต, ต่อมน้าเหลืองโต ถ้าไม่ได้รับการรักษา โรคอาจหายได้เองภายใน 1-3
เดือน แตถ่ ้าได้รบั การรกั ษา โดยการใชย้ าปฏชิ ีวนะทันที จะหายเรว็ กวา่ ปกติ

ข) อาการแบบเร้ือรัง อาการเกิดขึ้นเอง หรอื เกดิ ตามหลงั แบบเฉียดพลนั อาการท่พี บบ่อย
คอื ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดตามข้อ แต่ไมม่ ีอาการอกั เสบ อาจมีอาการทางประสาทร่วม
ด้วย

(2) ในสตั ว์
มีการอักเสบของอวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อหุ้มตัวลูกสัตว์ มีอาการแท้งลูก หรือเป็นหมัน
นา้ นมลดลงอยา่ งมาก จะเกิดการสญู เสยี โดยเฉพาะธรุ กิจโคนม
3) การวนิ ิจฉยั
การวินิจฉัยโรคน้ี ที่แน่นอนอาจทาได้โดยการแยกเช้ือจากผู้ป่วย ซ่ึงทายาก เพราะเชื้ออยู่ใน
กระแสโลหิตมักไม่แน่นอน และไม่สม่าเสมอ นอกจากนี้ยังสามารถทดสอบได้ โดยการใช้ซีรั่ม Serum
agglutination ในรายที่ให้ titer 1:320 อาจสงสัยว่าเป็นโรคนี้ อย่างไรก็ตามการตรวจ
Agglutinins นัน้ ไม่จาเป็นเสมอไปว่าบคุ คลน้ันจะต้องเป็นโรคน้ี เพราะในบางรายตรวจพบว่ามี titer ต่า
ซึง่ จะเป็นในผู้ป่วยท่ีตดิ เชือ้ น้ีก็ได้ แต่เป็นผู้ป่วยท่ีอยู่ในระยะเร้ือรัง การทดสอบทางผิวหนงั (skin test)
จะใหผ้ ลไมแ่ นน่ อนสาหรบั การวนิ ิจฉัยโรคน้ี
4) การปอ้ งกนั และควบคมุ
ปกติโรคนี้ เปน็ โรคระบาดระหวา่ งสตั ว์ดว้ ยกนั คนเปน็ โรคไดโ้ ดยได้รับเช้อื จากสตั ว์หรอื ผลติ ภัณฑ์
สัตว์ ดังนั้น คนจึงเป็นคนสุดท้ายท่ีไม่แพร่เชื้อกระจายระหว่างคนด้วยกัน การป้องกันควบคุมจึงเน้น
เฉพาะสตั วค์ ือ
1) ทาการตรวจสอบโรคน้ีทุกปี และระมดั ระวังเรอ่ื งการเคลื่อนย้ายสัตว์
2) สรา้ งภูมคิ ุม้ กนั โรคให้กบั สตั ว์ โดยการทาวคั ซนี ในลูกสัตวเ์ พศเมยี อายุ 3-8 เดอื น
3) จดั การดา้ นสุขาภิบาลใหถ้ กู ต้อง โดยเฉพาะการกาจัดเชือ้ ในบริเวณสตั วท์ เ่ี ป็นโรค
4) ให้ความรู้แก่บุคคลต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องถึงอันตรายของโรคน้ี และการติดต่อ รวมทั้งการ

ใช้ยาฆา่ เชือ้ โรคด้วย
5) ทาการเฝ้าระวงั โรค และรายงานโรคโดยเรว็ ทีส่ ดุ ถ้าพบว่ามโี รคนอ้ี ยู่

4. โรคบาดทะยกั (TETANUS)
1) สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลอสติเดี่ยม เตทตาไน (Clostridium tetani) เชื้อนี้มีลักษณะ

เหมือนไม้ตกี ลอง และเปน็ แบคทเี รยี ท่ีไมต่ ้องการออกซิเจน
2) การตดิ ตอ่
การติดต่อของโรค เกดิ จากสปอร์ของเช้อื เขา้ ทางบาดแผลที่ผิวหนงั เช่น แผลทถี่ ูกตาปูตาหรือไม้

ตา ในบริเวณที่เลีย้ งม้า หรือในอจุ จาระมา้ พบวา่ มีเชอื้ นอ้ี ยู่ ดังนน้ั คนที่ดูแลมา้ หรอื คลุกคลีกบั สัตวพ์ วก
นี้จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคน้ีได้มากกว่าผู้อ่ืน นอกจากนี้เช้ืออาจเข้าทางช่องคลอด เน่ืองจากมีบาดแผล
จากการขดู มดลูกหรอื ทาแท้งสปอรข์ องเชอื้ ซ่งึ คงทนตอ่ น้ายาฆ่าเชื้อ เม่ือเข้าไปในบาดแผลแลว้ จะเปลย่ี น
มาเป็นรูปตัวเช้ือ (Vegetative form) จะปล่อย tetanolysin และ tetanospasmin ซึ่งมีคุณสมบัติ
ทาลายเมด็ เลือดและทาลายประสาทจงึ ทาใหเ้ กดิ อาการของโรคขึน้

3) อาการ
(1) ในคน คนระยะฟกั ตวั ของโรคเฉลี่ย 2-3 วัน อาจนานหลายสัปดาห์ก็ได้ อาการที่เห็น

ท่ัวๆ ไป คือมีกล้ามเนื้อกระตุก และลักษณะของกรามแข็ง หรืออ้าปากไม่ได้ หลังจากน้ันจะมีอาการ
กระตุกของกล้ามเน้ือคอ แขน ลาตัว และขา การกระตุกคร้ังแรกๆ อาจมีเป็นระยะๆ และต่อไปจะ
กระตุกตลอดเวลา อาการกระตุกจะมากขึ้นถ้ามีเสียงดังหรือแสงสว่างมากกระตุ้น ในที่สุด ผู้ป่วยจะ
ตายเนื่องจากหายใจไม่ได้ทาให้ขาดออกซิเจน โรคนี้มีรายงานเป็นในทารกคลอดใหม่ที่ตัดสายสะดือไม่
สะอาด และใชย้ ากลางบ้านใส่แผล

(2) ในสัตว์ มีอาการเหมือนในคน คือมีกล้ามเนื้อกระตุก ขาท้ังสี่เหยียดตรง แข็ง กราม
แข็ง อ้าปากไม่ได้ จะลงนอนเหยียดแข็งลุกขึ้นไม่ได้ อาการกระตุกจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะตาย
เนือ่ งจากหายใจไม่ได้ทาใหข้ าดออกซิเจน

4) การควบคุมและป้องกนั
การป้องกันที่ดีคือให้ท๊อกซอยด์ (Toxoid) นอกจากนั้นควรให้ความรู้แก่ประชาชนท่ัวๆ ไป
เกยี่ วกบั เรื่องการตดิ ตอ่ ของโรคน้ี และการรกั ษาความสะอาดเพือ่ ป้องกนั การตดิ โรค
5) การรกั ษา
ในระยะทีพ่ บว่าเป็นโรคน้ีมากข้ึน การรกั ษาทาได้โดยการใหแ้ อนตท้ี อ๊ กซิน (Anti-toxin) ซ่ึงเตรียม
มาจากคน ซ่ึงจะใหผ้ ลดกี ว่าการเตรยี มจากม้า เพราะภาวะแทรกซอ้ นและอาการแม้ไม่ค่อยมี

5. โรคเลปโตสไปโรซสี (LEPTOSPIROSIS)
1) สาเหตุ
โรคนี้เกิดจากเชื้อแลปโตสไปรา (Leptospira) ซ่ึงมีหลาย species โรคน้ีเป็นท้ังในคนและสัตว์

ชนิดต่างๆ ได้มีผู้พบว่าในหนูบ้านท่ีจับได้ พบมีเชื้ออยู่ท่ีไต และพบว่าเป็น Host ที่สาคัญของโรคนี้ ซ่ึง
พบท่วั โลก ในปจั จุบันเชอ้ื Leptospira แบง่ ออกเป็น 2 complex คือ

1) Interrogans complex ทาให้เกดิ โรคท้ังในคนและในสัตว์
2) Biflexa complex ไม่ทาใหเ้ กิดโรค
นอกจากน้ีพบว่าเช้ือน้ีมีหลาย Serotype ด้วยกันซ่ึงมี Antigen ซ้ากัน จัดรวมเป็น group ซ่ึง
มีท้ังหมด 18 serotypes ด้วยกนั

2) การตดิ ต่อ
1) โดยการไชเข้าทางผิวหนังที่มีรอยแตกหรือขีดข่วน หรือเข้าตามเย่ือชุ่ม (mucous

membrane)
2) โดยการกินเชอื้ เขา้ ไป
3) โดยการสัมผัสกันโดยตรง จากปสั สาวะของสตั วป์ ่วย
โรคน้ีไม่ติดต่อจากคนไปสู่คนโดยตรง เคยมีรายงานพบเช้ือน้ีอยู่ในน้านมของแม่โค แต่ก็

ยังไม่มีรายงานว่าคนตดิ โรคน้ีจากการด่ืมนา้ นม
3) อาการ
(1) ในคน ระยะฟักตัวของเชื้อโรคประมาณ 10-12 วัน โดยทั่วๆ ไปอยู่ระหว่าง 2-30

วนั อาการท่ีพบในคนมีต้ังแต่ไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น จนกระทั่งถึงขั้นรุนแรงอยา่ งเฉียบพลนั และ
ตายได้ อย่างไรก็ตามอาการที่พบเสมอ คือ มีไข้ ปวดหัว, ปวดตามกล้ามเนื้อ, คล่ืนไส้, อาเจียน,
อ่อนเพลีย, บางครั้งมีตาอักเสบ, ดีซ่าน, โลหิตจาง เน่ืองจากเม็ดเลือดแดงถูกทาลาย, สมองอักเสบ
และไตทางานไมป่ กติ อย่างไรก็ตามอาการท่ีแสดงออกมาของโรคนี้แตกต่างกันมาก ทั้งนขี้ ึ้นอยูก่ ับความ
รนุ แรงของเชือ้

(2) ในสัตว์ มีไข้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปัสสาวะเป็นเลือด มีเลือดปนออกมากับน้านม ตัว
เหลืองมีอาการดีซ่าน ในสุนัขจะมีการอักเสบท่ีเย่ือชุ่มในปาก ตาเหลือง โลหิตจาง สัตว์ที่ตั้งท้องอยู่จะ
แท้งลกู

4) การวนิ จิ ฉัย
โดยการตรวจทางซีรม่ั และการเพาะเช้ือในรายทีส่ งสัยอาจทาได้โดย

1) ตรวจหาเช้ือในเลอื ด, ปัสสาวะ, ตามเนอื้ เยื่อตา่ งๆ ดว้ ยกล้องจลุ ทรรศน์ Darkfield
หรือโดยวธิ ี Fluorescent antibody technique

2) โดยการเพาะเชื้อจากเลอื ด, ปัสสาวะ, นา้ ไขสันหลัง หรือจากเน้ือเย่ือตา่ งๆ นอกจากน้ี
อาจทาไดโ้ ดยการฉีดเขา้ สตั ว์ทดลอง

3) ตรวจหา Antibody ในซีรัม่ โดยวิธี Agglutination test โดยเกบ็ ซีร่ัมซา้ ๆ กัน
โดยเก็บครง้ั แรก และควรเกบ็ ห่างจากนนั้ อีก 7-9 วัน การทดสอบแบบนบี้ อกได้ว่าเปน็ Subgroup ใด

5) การควบคุมและป้องกัน

การควบคุมจะให้โรคนี้หมดไปทาได้ยาก ท้งั นีเ้ พราะมีสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงต่างๆ ท่เี ป็นตัวกกั ตนุ

โรคอยู่ การที่จะปอ้ งกนั ไม่ให้คนไดร้ บั เชื้อจากโรคน้ี ควรคานึงถงึ การใหส้ ขุ ศึกษาเกี่ยวกับแหลง่ ท่ีติด

เชอื้ มา โดยเฉพาะในกลุม่ บุคคลท่มี อี าชพี เสี่ยงต่อการเป็นโรค

6. โรคลสิ เตอรโิ อซสี (LISTERIOSIS)
1) สาเหตุ เกดิ จากเชื้อ Listeria monocytogenes
2) การติดตอ่ การตดิ ตอ่ ของโรคมไี ด้หลายทางคือ
(1) ตดิ ตอ่ จากแม่ไปยงั ลกู (ทารก) ได้
(2) โดยการสัมผสั กันโดยตรงกบั นา้ คร่า, รก และทารก โดยเฉพาะผ้ทู าคลอด แพทย์ หรือ

พยาบาล
(3) มรี ายงานการติดเชอ้ื โดยเข้าทางลูกตาทาใหเ้ กดิ ตาอักเสบ มีรายงานพบว่าสัตวแพทย์

ทชี่ ่วยทาคลอด หรอื การแทง้ ของสตั ว์ ไดร้ ับเช้ือโดยมอี าการเปน็ ตุม่ หนองท่ีผิวหนงั ตามมือ
3) อาการ
(1) ในคน ระยะฟกั ตวั ของโรคนยี้ งั ไม่ทราบแน่นอน อาจแบง่ ออกเปน็
ก) เยอ่ื หุ้มสมองและสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างเฉยี บพลันโดยมอี าการปวดศรีษะ

อย่างรุนแรง, วงิ เวยี น, งอ่ นนอน, ตัวส่นั , คอหลังแข็ง, อาเจยี น, หมดแรง, หนังตาเตน้
ข) อาการท่ีแสดงออกในขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด มีไข้หนาวส่ัน

เจ็บคอ ปวดศรีษะ ปวดหลังส่วนล่าง มีอาการวิงเวียนเล็กน้อย ปัสสาวะสีดา ท้องเดิน อาการ
ดังกล่าวอาจเกิดอยู่หลายวันแล้วหายไป หลังจากน้ันไม่นานมารดาจะรู้สึกว่าทารกไม่ค่อยด้ิน หรือ
เคลื่อนไหว ในที่สุดจะเกิดอาการแท้ง หรือคลอดก่อนกาหนด ทารกที่คลอดตาย น้าคร่ามีสีผิดปกติ
ในบางรายทารกออกมาจะมีอาการเฉียบพลันและตายด้วย Septicemia บางรายทารกคลอดออกมา
ผดิ ปกติ หลังคลอดประมาณ 3 อาทิตย์ จะแสดงอาการเย่ือหุม้ สมองอกั เสบอย่างเฉียบพลนั และตาย

(2) ในสัตว์ มีอาการคอบิด น้ามูกไหล หนังตาเต้น เดินวนเวียนไม่มีจุดหมาย เป็น
อาการทางประสาทรว่ มด้วย

4) การวินิจฉัย
โดยการแยกเชื้อจากน้าไขสันหลัง ในรายท่ีมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แยกเช้ือจากเลือดได้
ในขณะทีผ่ ู้ป่วยแสดงอาการ septicemia

7. โรคไฟลามทุ่ง (ERYSIPELAS)
1) สาเหตุ เกิดจากเช้ือ Erysipelothrix rhusiopathiae หรือ E.insidiosa พบคร้ังแรกท่ี

ประเทศเยอรมนั
2) การตดิ ต่อ โรคนี้ติดตอ่ ไดโ้ ดยเช้อื เข้าทางบาดแผล หรือรอยขีดข่วนทีผ่ วิ หนัง
3) อาการ
(1) ในคน อาการท่ีพบมักเกิดตามผิวหนังของคนซึ่งเรียกว่า Erysipeloid อาการที่เป็น

แบบ generalize อาจมี endocarditis และ Septicemia ทาให้ตายได้ ลักษณะท่ีผิวหนังจะมี
อาการอักเสบ บวมมีสีแดงคล้าและม่วง และอาจมีน้าเหลืองปนเลือดอยู่บริเวณท่ีเป็นแผลคล้ายกับ
แผลถูกไฟไหม้หรือน้าร้อนลวก บางครั้งมีอาการคันปกติพบเป็นตามมือ ในรายที่เป็นอย่างเฉียบพลัน
พบว่ามีไขป้ วดศรีษะมาก ปวดกลา้ มเน้อื และขอ้

(2) ในสัตว์ มีอาการรุนแรงมากในสุกร ทาให้เกิดข้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ผิวหนังมกี ารอกั เสบ บวมมีสแี ดงคลา้ คลา้ ยๆ ไฟไหม้หรือนา้ รอ้ นลวก บางทจี่ ะคัน

4) การวนิ จิ ฉัย
ต้องแยกออกจากโรคอ่ืนๆ ที่มีอาการคล้ายโรคนี้ เช่น ไข้ดาแดง (Scarlet Fever) โรคแอน
แทรกซ์ (Anthrax), แผลหรือฝีท่ีเกิดจากเช้ือ Staphylococcus aureus และ Streptococcus เป็น
ตน้ การวนิ จิ ฉัยทีด่ ที ี่สุดคือการแยกเชื้อ ออกจากผิวหนงั ท่ีเป็นโรค

5) การควบคมุ ป้องกนั
โรคนีม้ กั พบกบั คนที่มีอาชพี เส่ียงต่อการไดร้ ับเชอื้ เช่น สัตวแพทย์ คนตรวจเนือ้ สัตว์ ผ้ทู ่ีทางาน
ในโรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์ ดังนั้น การควบคุมควรป้องกันไม่ให้บุคคลเหล่าน้ีได้รับเชื้อเข้าทางบาดแผล
โดยการสวมถุงมือ หรอื ถ้ามแี ผลควรทาความสะอาดโดยเร็ว

8. โรคโบทูลิซึม (botulisum)
1) สาเหตุ
เกิดจากเช้ือแบคทเี รยี ทม่ี ีชอ่ื ว่า Clostridium botulinum และ Clostridium baratii บางสาย

พันธ์ุ และ Clostridium butyricum, Clostridium botulinum สร้างสารพษิ โบทูลินุม (botulinum
toxin) ซ่ึงเปน็ พษิ รุนแรงต่อระบบประสาท เปน็ แบคทเี รียที่ไม่ใช้ออกซิเจน แกรมบวก สร้างสปอร์ได้ มี
ลักษณะเป็นรปู แท่ง

โรคโบทูลิซึมเกิดจากการกินสารพิษท่ีเช้ือสร้างมาแล้วหรือจากการเจริญของ Clostridium
botulinum ในเน้ือเย่ือที่ไม่มีออกซิเจน สารพิษที่สร้างจากเช้ือนี้มี 7 ชนิด (A ถึง G) สารพิษ 4 ชนิด คือ A
B E และ F สามารถก่อโรคได้ในคน สารพิษชนิด C ก่อโรคในสัตว์ได้บ่อยที่สุด พบชนิด D ได้บ้างในสุนัข
และโค อาจพบชนิด B ในม้า ชนิด A และ E พบได้บ้างในมิ้งค์และนก ชนิด G มักไม่ทาให้เกิดโรคแต่อาจ
พบได้ในคน สารพิษทุกชนิดทาให้เกิดโรคเหมือนกันแต่การรักษาโดยใช้ antiserum ต้องเลือกใช้ตามชนิด
ของสารพิษ

2) การตดิ ต่อ
Clostridium botulinum และสปอร์ของ Clostridium botulinumกระจายอยู่ในดิน ตะกอน
ชายฝั่งนา้ จดื และชายฝง่ั ทะเล ในทางเดนิ อาหารของปลาและสตั วเ์ ล้ยี งลูกดว้ ยนม ในเหงือกและอวยั วะ
ภายในของหอย Clostridium botulinum สามารถเจรญิ ไดเ้ ฉพาะในสภาวะไรอ้ อกซเิ จน โรคโบทูลซิ มึ เกิด
จากสัตว์กินสารพิษท่ีมีอยู่ในอาหารเขา้ ไปหรือจากสปอร์ของ Clostridium botulinum เข้าไปเจรญิ ใน
เน้อื เยื่อในสภาวะไร้ออกซิเจนแล้วสรา้ งสารพิษข้ึนเม่อื เช้ือเจริญขึน้

(1) ในคน
โรคโบทูลซิ ึมในคนมี 3 รูปแบบ คอื โรคโบทูลิซมึ จากอาหาร โรคโบทูลิซมึ จากแผล โรคโบ
ทูลิซึมในทารกหรือโรคโบทูลิซึมในทางเดินอาหาร พบการติดโรคโบทูลิซึมจากอาหารได้บ่อยที่สุด เกิดจาก
คนกินสารพิษท่ีปนเปื้อนกับอาหารเข้าไป โดยอาหารท่ีทาให้เกิดโรคมักเป็นอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน
(pH มากกว่า 4.6) รวมถึงอาหารชนิดบรรจุกระป๋อง ไส้กรอก ผลิตภัณฑ์เนื้อ ผักบรรจุกระป๋องและอาหาร
ทะเล และพบได้บ้างจากอาหารสาเร็จรูป การติดโรคโบทูลิซึมจากแผลมักเกิดจากบาดแผลที่ไม่มีออกซิเจน
ติดเชื้อ Clostridium botulinum ปนเป้ือนจากดิน ส่วนการเกิดโรคโบทูลิซึมในทารกพบเฉพาะในเด็กที่มี
อายุต่ากว่า 1 ปี พบว่าสปอรข์ องเช้ือจะเพิ่มจานวนในทางเดินอาหารและสรา้ งสารพิษในเวลาตอ่ มา อาหาร
ท่ีเกี่ยวข้องในการเกิดโรคแบบน้ีคือน้าผึ้ง แต่อาจพบสปอร์ในอาหารชนิดอื่นด้วย โรคโบทูลิซึมในทางเดิน
อาหารอาจพบได้ในผู้ใหญ่ท่ีมีสภาวะจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามปกติในลาไส้เปล่ียนแปลงไปเน่ืองจากการผ่าตัดใน
ทางเดินอาหารหรือได้รับยาปฏิชีวนะซ่ึงอาจทาให้เช้ือ Clostridium เจริญได้ในทางเดินอาหารและทาให้
เกิดโรคตามมา
(2) ในสตั ว์
สัตว์เกิดโรคน้ีได้จากการรับสารพิษโบทูลินุมท่ีมาจากหลายแหล่งได้แก่จากพืชที่มีกา รเน่า
เปื่อย เช่น หญ้า ฟาง ธัญพืช หญ้าหมัก และจากซากสตั ว์ ในสัตว์กินเน้ือรวมท้ังมง้ิ ค์และสุนัขจิ้งจอกที่เลี้ยง
เพื่อขายมักเกิดโรคโบทูลิซึมจากการกินสารพิษที่ปนเปื้อนมากับเนื้อสัตว์ เช่น เน้ือสัตว์ดิบ เน้ือปลา โคใน
พื้นที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสอาจแทะกระดูกหรือเศษอาหารท่ีมีเนื้อสัตว์ติดมา เน้ือสัตว์เพียงหน่ึงกรัมอาจมี
สารพิษจานวนมากพอที่จะทาให้โคตายได้ซ่ึงคล้ายกับในประเทศออสเตรเลียท่ีพบว่าบางครั้งแกะท่ีขาด
โปรตีนไปกินซากกระต่ายหรือสัตว์ขนาดเล็ก สัตว์เคี้ยวเอ้ืองอาจกินฟางและหญ้าหมักท่ีมีซากสัตว์ปีกและ
สตั วล์ ี้ยงลูกด้วยนมท่ีมีสารพิษปน ในมา้ มักเกิดโรคโบทลู ิซมึ จากการกินสารพิษท่ีปนเป้อื นมากบั หญ้าสด นก
สามารถได้รับสารพิษจากการกินหนอนบนซากสัตว์หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังท่ีตายอยู่ในน้าที่มีพืชเน่า
เปื่อย เป็ดไกอ่ าจเป็นโรคนไี้ ดถ้ ้าไปกนิ อาหารสตั วท์ ี่มสี ารพิษปนเปอ้ื นหรือกนิ ซากสตั ว์
3) อาการ
(1) ในคน
ก) การติดเช้ือจากอาหาร ได้แก่ ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น คล่ืนไส้
อาเจียน ปวดท้อง อาจพบท้องเสียหรือท้องผูกอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นโรคมากข้ึนจะเกิดอัมพาตแบบ
อ่อนแรง (flaccid paralysis) ของเส้นประสาทสั่งการและเส้นประสาทอัตโนมัติ อาจมองภาพไม่ชัดเจน

หรือเห็นภาพซ้อน กลัวแสง หนังตาตก พูดไม่ชัด กลืนอาหารไม่ได้ ปสั สาวะค่ัง ปากแห้ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ในรายท่ีไม่ได้รักษาจะเกิดการพัฒนาของโรคมากขึ้น พบอัมพาตของกล้ามเนื้อหายใจ แขนขา ในรายท่ี
รนุ แรงอาจพบอมั พาตของระบบทางเดินหายใจภายใน 24 ชัว่ โมง มักไม่พบอาการไข้

ข) การติดเชื้อจากแผล การติดต่อผ่านทางบาดแผลมีอาการท่ีคล้ายคลึงกับอาการจาก
การติดตอ่ จากอาหารแต่มักไม่พบอาการทางระบบทางเดินอาหาร อาจพบของเหลวที่แผลและพบอาการไข้

ค) การติดเช้ือในทารก ส่วนมากพบในทารกอายุต้ังแต่ 2 สัปดาห์จนถึง 6 เดือน อาการ
เรม่ิ แรกมักพบทอ้ งผูก อาการอ่ืนๆท่ีพบ เช่น ออ่ นแอ เซ่ืองซึม หลบั นานกว่าปกติ ดูดน้อยลง ไม่แหวะ กลืน
ลาบากและมนี ้าลายไหล ทารกบางคนรอ้ งไห้บอ่ ย ในรายท่ีเป็นโรคมากข้ึน อาจพบอาการอมั พาตแบบอ่อน
แรงซึ่งเรียกอาการนี้ว่า floppy head และในรายท่ีมีอาการรุนแรงอาจพบการหยุดหายใจและเสียชีวิตได้
ทงั้ นคี้ วามรนุ แรงและอาการของโรคจะแตกต่างกนั ในทารกแตล่ ะคน

ง) การติดเชื้อทางเดินอาหารในผู้ใหญ่ อาการเริ่มแรกอาจพบเวียนศีรษะ อ่อนแรง ใน
รายท่ีเป็นมากขึ้นอาจพบการมองภาพซ้อน พูดและกลืนลาบากมากข้ึน อาการอ่ืนๆ ที่พบ เช่น หายใจไม่
ออก กล้ามเนอื้ ทวั่ รา่ งกายอ่อนแรง ท้องผกู ทอ้ งขยายใหญ่

(2) ในสัตว์
ลักษณะที่สาคัญของโรคคือการควบคุมการทางานของกล้ามเน้ือไม่ได้ (progressive
motor paralysis) เช่น น้าลายไหล กระวนกระวาย ยืนด้วยหลังเท้าหรือกีบ (knuckling) กล้ามเน้ือเป็น
อัมพาต กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน (incoordination) ปัสสาวะคั่ง กลืนไม่ได้ และนอนหมอบ
(sternal recumbency) เค้ียวและกลืนลาบากหรือกลืนอาหารไม่ได้ ท้องผูก ม่ายตาขยายมองไม่ชัดเจน
ปัสสาวะบ่อย เบ่ืออาหาร ไม่กินน้า อาเจียน อ่อนแรงทั่วร่างกาย และมักตายเนื่องจากอัมพาตของ
กล้ามเน้ือเนอ้ื หัวใจ
4) การรักษาและการทาวัคซนี
(1) ในคน การรักษาเพ่ือพยุงอาการและการช่วยหายใจ (ถ้าจาเป็น) เป็นส่ิงสาคัญในการ
รักษา การให้สารต้านพิษโบทูลินุมต้ังแต่เร่ิมแรกอาจป้องกันไม่ให้เป็นโรคมากข้ึนและลดระยะเวลาแสดง
อาการของโรค ในโรคโบทูลิซมึ จากอาหารอาจใชก้ ารล้างทอ้ งหรือการสวนทวารหนักเพ่ือช่วยลดสารพษิ โบทู
ลินุมในทางเดินอาหารได้ ในโรคโบทูลิซึมจากแผลสามารถรักษาได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะและทาความ
สะอาดแผล อาจใช้ยาปฏิชีวนะในรายโบทูลลิซึมจากอาหารได้ แต่ไม่แนะนาให้ใช้ยาปฏิชีวนะกับการเกิด
โรคโบทูลิซึมในทารกเน่ืองจากอาจมีผลต่อจุลินทรีย์ท่ีมีอยู่ตามปกติในลาไส้ด้วย ในอนาคตอาจมีการผลิต
วคั ซีนสาหรับคนที่มีความเสีย่ งตอ่ โรคโบทูลซิ มึ
(2) ในสัตว์ การรักษามักเป็นการรักษาพยุงอาการ โดยการล้างกระเพาะอาหารเพื่อล้าง
พิษบางส่วนออกไป บางครั้งสามารถรักษาได้ด้วยสารต้านพิษโบทูลินุม (botulinum antitoxin)
ความสาเร็จของการรักษาข้ึนอยู่กับชนิดของพิษและชนิดของสัตว์ สารต้านพิษโบทูลินุมชนิด C ใช้ได้ผลดี
ในสัตว์ปีกและมิ้งค์ มีรายงานการรักษาที่ได้ผลโดยใช้ guanidine hydrochloride ยาปฏิชีวนะสามารถ
รกั ษาได้ในกรณีตดิ โรคโบทูลซิ มึ ชนดิ ทแ่ี บคทเี รยี มีการสร้างพิษแต่มักไม่ได้ผลในสตั ว์ปกี

9. โรคแผลหนอนแมลงวนั (myiasis)
1) สาเหตุ
โรคแผลหนอนแมลงวัน คือ แผลเปิดที่มีหนอนแมลงวันระยะตัวอ่อนอยู่ภายในแผล มีสาเหตุจาก

แมลงวันชื่อ คริสซอมเมีย เบซเซียนา (Chrysomyia bezziana) ซึ่งเป็นแมลงวันมีลักษณะท่ีคล้ายกับ
แมลงวันหัวเขียวที่พบได้ทั่วไปมาก แต่เป็นคนละชนิดกัน มาวางไข่ท่ีแผล ไข่จะฟักเป็นหนอนแมลงวัน
(maggot) ระยะที่ 1 ในระยะเวลาประมาณ 24 ช่วั โมง หนอนแมลงวนั ระยะท่ี 1 จะไชเขา้ สู่แผล และจะกิน
เน้ือเยื่อเป็นอาหาร ทาให้เกิดแผลลึกลงไป และจะลอกคราบเป็นหนอนระยะที่ 2 และหนอนระยะที่ 3
ระยะเวลาท่ีหนอนแมลงวันจะอยู่ในเนื้อเยื่อประมาณ 6-7 วัน จากน้ันหนอนแมลงวันระยะท่ี 3 ก็จะออก
จากแผลตกลงบนดิน ฝังตวั ในดนิ กลายเป็นระยะดกั แด้ (pupa) และเจรญิ เป็นแมลงวนั ตวั เต็มวัยต่อไป

2) การติดต่อ
(1) ในคน การตดิ โรคในคนอาจจะเกิดในเด็ก คนปัญญาอ่อน หรือคนท่ีไม่สามารถชว่ ย

ตวั เองได้ เมือ่ เกดิ แผลเลือดออกทาใหแ้ มลงวนั ชนดิ ดังกลา่ วมาวางไข่
(2) ในสัตว์ โดยท่ัวไปแล้วสัตวจ์ ะต้องมีบาดแผล หรือจุดเลือดออกบนผิวหนังก่อน เช่น ท่ี

สายสะดือของลูกสัตว์เกิดใหม่ บาดแผลท่ีอวัยวะเพศของแม่สัตว์ที่เกิดจากการคลอดลูก แผลที่เกิดจากการ
ตอ่ สู้กัน หรือเกดิ ข้ึนเอง เช่น ไม้ตา ลวดหนามเก่ียว หรือแผลจากเห็บดูดเลือด หรอื รอยเลือดออกที่เกดิ จาก
การดดู เลอื ดของเหลือบ กจ็ ะโน้มนาใหแ้ มลงวนั มาวางไข่ได้

3) การป้องกนั
(1) ในคน เม่ือเป็นแผล ตอ้ งจดั การทาความสะอาด ใสย่ าฆ่าเชอื้ ปดิ แผลให้มิดชดิ

ปอ้ งกนั อย่าให้แมลงวันมาตอม ถ้าแผลใหญแ่ ละเป็นแผลเปิด อาจจะต้องทาความสะอาดแผลทกุ วนั ซ่งึ จะ
สามารถกาจัดไข่หรือหนอนแมลงวันได้

(2) ในสัตว์ เมอื่ เกิดแผล ตอ้ งทาการรักษาทันที ทาความสะอาด ถ้าพบหนอนแมลงวนั ใน
แผล ต้องจัดการเอาออกให้หมด ใส่ยาฆ่าเชื้อท่ีอาจจะเป็นยาปฏิชีวนะหรือกลุ่มซัลฟา แล้วทาการปิดแผล
ถ้าไม่สามารถปิดแผลได้ ต้องใส่ยาฆ่าแมลงลงในแผลด้วย ซ่ึงปัจจุบันจะมียาใส่แผลท่ีมียาฆ่าเช้ือและยาฆ่า
แมลงผสมอยูด่ ว้ ยกนั และต้องดูแลรักษาจนกว่าแผลจะหายสนิท

10. โรคพยาธิแส้มา้ (Trichuriasis)
1) สาเหตุ
พยาธิแส้ม้าคือปรสิตที่เป็นสาเหตุของโรค trichuriasis ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของพยาธิชนิดน้ี

อาศัยอยู่ในลาไส้ของสตั ว์และคน และเปน็ สาเหตุของโรคระบบทางเดินอาหาร ตัวเต็มวัยจะปล่อยไข่ออกมา
กับอุจจาระของสัตว์ท่ีติดเช้ือและทาให้เกิดการแพร่กระจายของโรค สามารถพบพยาธิแส้ม้าได้ทั่วโลก
โดยเฉพาะบรเิ วณที่มีภูมอิ ากาศอบอนุ่ และช้ืน

2) การตดิ ต่อ
(1) ในคน คนสามารถติดพยาธแิ สม้ ้าได้โดยการกนิ ดนิ หรือน้าทีป่ นเป้ือนอุจจาระของสัตว์

หรือคนที่ติดพยาธิ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการของโรค การติดพยาธิอย่างรุนแรงทาให้แสดงอาการ
ทางระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะในเด็ก ได้แก่ ปวดท้อง ท้องเสียหรือไส้ตรงย่ืนออกมา (rectal
prolapse) และอาจพบการเจริญเตบิ โตชา้ ได้

(2) ในสัตว์ สัตวต์ ิดพยาธิแสม้ า้ โดยการกินไข่พยาธิทางปากซ่ึงจะเจริญเป็นตวั อ่อนและตัว
เต็มวัยท่ีปล่อยไข่พยาธิ ไข่พยาธิจะถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระของสัตว์ท่ีติดเชื้อและปนเป้ือนอยู่ใน
สิ่งแวดล้อมกลายเป็นแหล่งของเช้ือให้สัตว์ท่ีไวรับต่อการติดเชื้อได้ภายใต้ภาวะที่เหมาะสม ไข่พยาธิแส้ม้า
สามารถอยูใ่ นสง่ิ แวดลอ้ มไดน้ านหลายปี

3) การปอ้ งกนั
(1) ในคน สุขอนามัยที่ดีและการรักษาสัตว์ท่ีติดเช้ือจะช่วยลดโอกาสสัมผัสเช้ือในคนได้

ต้องไม่ใหเ้ ดก็ เล่นในบรเิ วณทม่ี อี จุ จาระสัตวป์ นเป้อื นและต้องลา้ งมือใหส้ ะอาดหลังจากเล่นกับสัตวท์ กุ คร้งั
(2) ในสัตว์ ต้องจดั การใหโ้ รงเรือนเลีย้ งสตั วส์ มั ผัสกับดินที่มีการปนเปื้อนให้น้อยทีส่ ดุ

การทาความสะอาดและกาจัดอจุ จาระเป็นวธิ ีการป้องกนั ทด่ี ีท่สี ุด

11. โรคพยาธติ ัวกลม (Toxocariasis)
1) สาเหตุ
โรคพยาธติ ัวกลมหรือ Toxocariasis เกิดจากการทส่ี นุ ัขหรือแมวตดิ พยาธติ ัวกลมซ่ึงพบในทางเดนิ

อาหาร
2) การตดิ ตอ่
(1) ในคน สนุ ขั และแมวที่ตดิ มพี ยาธิ จะปล่อยไขข่ องพยาธิออกมาในอุจจาระทาใหเ้ กดิ

การปนเปือ้ นในสงิ่ แวดลอ้ ม ไขพ่ ยาธสิ ามารถอยู่ไดเ้ ป็นเวลานานในสวนสาธารณะและสนามเดก็ เล่น การติด
เชอื้ สามารถเกดิ จาการกนิ ไข่ของพยาธิในอจุ จาระท่ปี นเป้ือนในดิน ทราย หรอื พชื ได้ เดก็ มักตดิ เชอ้ื จากการ
เล่นในบรเิ วณท่ีอาจมกี ารปนเปื้อนอจุ จาระของสนุ ัขและแมวทม่ี ไี ข่พยาธิ ส่วนใหญ่แลว้ การทคี่ นไดร้ บั ไข่
พยาธิ จะไมท่ าใหเ้ กดิ อาการหรือความเสียหายต่ออวยั วะ ในบางรายตวั ออ่ นของพยาธิตัวกลมสามารถ
เคลอื่ นที่ไปในรา่ งกายของผู้ป่วยทาใหเ้ กดิ ความเสยี หายของเนอื้ เย่ือในรา่ งกายได้ (visceral larva
migrans) ตัวออ่ นสามารถทาความเสยี หายตอ่ เส้นประสาท หรืออาจเข้าไปอยใู่ นตาซ่งึ เป็นผลให้
เสน้ ประสาทเสียหายถาวรหรืออาจทาใหต้ าบอดได้

(2) ในสัตว์ สุนัขและแมวทุกอายสุ ามารถติดพยาธติ ัวกลมได้ แตม่ กั พบการติดพยาธติ ัว
กลมได้มากในสัตว์ท่ีอายนุ ้อย ในสนุ ขั พยาธิสามารถเคล่ือนที่ผา่ นจากแม่ไปสลู่ กู สนุ ขั ไดเ้ มื่อแมส่ นุ ขั ตัง้ ท้อง

3) การปอ้ งกนั
(1) ในคน การดูแลให้สัตว์เล้ียงมีสุขภาพดีและปลอดจากพยาธิตัวกลมจะช่วยป้องกัน

ไมใ่ ห้ติดพยาธิได้ สุขอนามยั สว่ นบคุ คลมีความสาคัญในการลดโอกาสการติดพยาธิ ล้างมือทกุ ครั้งท่ีสัมผัสตัว
สัตว์หรือทากิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ทาสวน การล้างมือเป็นส่ิงสาคัญอย่างยิ่งท่ีต้องทาก่อนกินอาหาร และ
เป็นสิ่งสาคัญที่ต้องสอนให้เด็กรู้และปฏิบัติ ไม่ควรอนุญาตให้เด็กเล่นในบริเวณที่มีอุจจาระสุนัขหรือแมว

ปนเป้ือน ดูแลสนามเด็กเล่น สนามหญ้า หรือสวนในบ้านให้ปลอดจากส่ิงขับถ่ายของสัตว์ ควรสอนให้เด็ก
ทราบถงึ อันตรายจากการกินสิ่งสกปรกหรอื ดิน

(2) ในสัตว์ การถ่ายพยาธิให้กับสัตว์เล้ียงเป็นประจาสามารถป้องกันและกาจัดพยาธิตัว
กลมในสัตวเ์ ลี้ยงได้ ลูกสนุ ัขและลูกแมวตอ้ งไดร้ ับการตรวจและถ่ายพยาธิจากสตั วแพทย์ในช่วงแรกของชีวิต
บริเวณท่ีเลี้ยงสัตว์ต้องสะอาดและกาจัดอุจจาระอย่างน้อยสัปดาห์ละหน่ึงครั้ง ควรฝังหรือท้ิงอุจจาระในถุง
ขยะ

12. พยาธิปากขอ (Hook worm)
1) สาเหตุ
พยาธิปากขอเปน็ พยาธิทก่ี อ่ ให้เกิดโรคท้องร่วงในคนและสัตว์ พยาธใิ ช้ตะขอบรเิ วณปากชว่ ยในการ

เกาะและทาให้ผนังหลอดเลือดท่ีผนังลาไส้ของคนและสัตว์เสียหาย คนท่ีมีพยาธิปากขออาจมีอาการทาง
ผิวหนังที่เรียกว่า โรคตัวอ่อนพยาธิปากขอไชผิวหนัง (cutaneous larva migrans) ซึ่งเกิดจากตัวอ่อนของ
พยาธปิ ากขอเคลอ่ื นที่จากลาไสไ้ ปยงั ผิวหนัง หรอื อาจจะพบพยาธติ วั เต็มวัยในลาไสไ้ ด้

2) การติดต่อ
(1) ในคน โดยปกติคนจะมีพยาธิปากขอชนิดที่พบได้ท่ัวไปในคนอยู่แล้ว นอกจากนี้คน

สามารถติดพยาธิจากสัตว์ได้โดยการกินตัวอ่อนพยาธิในดินที่ปนเป้ือนไปด้วยอุจจาระสัตว์ที่ติดเช้ือเข้าไป
โดยอาจเกิดข้ึนได้หากไม่ทาความสะอาดและล้างมือหลังจากสัมผัสดิน หรือติดพยาธิได้โดยตรงจากการที่
พยาธิไชเข้าผิวหนังเรียกวา่ โรคจากการเคล่ือนที่ของตัวอ่อนพยาธิผ่านผิวหนัง หรือตัวอ่อนพยาธิไชผิวหนัง
และทาให้เกิดรอยแดงตามทางท่ีถูกตัวอ่อนพยาธิไช พยาธิปากขอ Ancylostoma ceylanicum สามารถ
เจริญเป็นพยาธิปากขอตัวแก่ในลาไส้เล็กของคนได้ แต่พยาธิ Ancylostoma caninum จะไม่สามารถ
เจริญเปน็ พยาธติ วั แกใ่ นทางเดนิ อาหารของคนได้

(2) ในสัตว์ ในสุนัข ตัวอ่อนของพยาธิสามารถติดต่อจากแม่ไปยังลูกในช่วงตั้งท้องหรือ
ติดต่อผ่านทางปากในช่วงที่ลูกสัตว์ดูดนม สุนัขแมวและสัตว์อื่นๆ ยังสามารถติดพยาธิได้จากส่ิงแวดล้อม
โดยไข่ของพยาธิปากขอจะถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระของสัตว์ท่ีติดเช้ือแล้วฟักตัวเป็นตัวพยาธิตัวอ่อน
ในดิน โดยสัตว์สามารถติดเช้ือจากการกินพยาธิจากดินเข้าไป นอกจากน้ีตัวอ่อนพยาธิยังสามารถไชผ่าน
ผิวหนงั โดยตรงได้ หากมีการสัมผัสกับดนิ ทีม่ พี ยาธนิ านประมาณห้าถึงสบิ นาที

3) อาการ
อาการและความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับจานวนของพยาธิท่ีมีอยู่ในร่างกาย ในสุนัข
และแมว อาจทาให้เกิดท้องร่วงที่อาจมีเลอื ดปน หรือมีเหงือกซีดจางซ่ึงแสดงว่าเกิดภาวะโลหิตจางหรือเสีย
เลือด น้าหนักลด ลูกสุนัขและลูกแมวอาจตายได้ถ้ามีพยาธิเป็นจานวนมาก พยาธปิ ากขอที่ไชเข้าผวิ หนังจะ
ท้ิงรอยนูนสีแดงหรอื เสน้ ตามทางทตี่ วั ออ่ นพยาธเิ คล่ือนท่ีไป


Click to View FlipBook Version