The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Salin Phrucksena, 2023-06-13 11:15:01

คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖

คู่มือนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

คู่มือนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖6


คำนำ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ เป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ภายใต้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข และพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาโรงเรียนให้มีแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย สะอาด สวยงามเอื้อต่อการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมของนักเรียนและชุมชน คู่มือนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖6 ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการ กำหนดแนวปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและนักเรียนให้เข้าใจตรงกัน ตลอดจนการรับบริการ ต่างๆ จากทางโรงเรียน ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร ครูบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมให้การจัดทำคู่มือนักเรียนโรงเรียน สุราษฎร์ธานี ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖6 จนสำเร็จ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ได้เป็น อย่างดี นายประยงค์ อินนุพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒


สารบัญ เรื่อง หน้า ข้อมูลพื้นฐาน อัตลักษณ์ของสถานศึกษา ทิศทางการบริหารจัดการศึกษา โครงสร้างการบริหารโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ข้าราชการและบุคลากรโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ กลุ่มบริหารวิชาการ - คณะกรรมการกลุ่มบริหารวิชาการ - หลักสูตรสถานศึกษา - กระบวนการพัฒนาผู้เรียนสู่คุณภาพมาตรฐานสากล - ระเบียบและแนวปฎิบัติการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ - เกณฑ์การวัดผลประเมินผลการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน - แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบแก้ตัว (0) และการเปลี่ยนผลการเรียนที่มีเงื่อนไข (ร มส.) - หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลื่อนชั้นเรียน และการซ้ำชั้นเรียน - กระบวนการตัดสินผลการเรียนและการแก้ไขผลการเรียน - การปฏิบัติงานของงานทะเบียน - สิ่งที่นักเรียน ควรปฏิบัติต่องานทะเบียน - งานห้องสมุด - งานแนะแนวในสถานศึกษา - ทุนการศึกษา กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน - คณะกรรมการกลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน - จุดมุ่งหมายของระเบียบข้อบังคับ - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พุทธศักราช 2548 - ระเบียบโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ว่าด้วยคณะกรรมการในการลงโทษนักเรียน พุทธศักราช 2564 - ระเบียบโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ว่าด้วยลักษณะความผิดและขั้นตอนการลงโทษนักเรียน พุทธศักราช 2564 - ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พุทธศักราช 2563


เรื่อง หน้า - ระเบียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ พุทธศักราช 2563 - ระเบียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายนักเรียน ระเบียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ พุทธศักราช 2561 - แนวปฏิบัติการแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ - แบบบันทึกการตัดคะแนนความประพฤติของนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ - ระเบียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ว่าด้วยการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกของนักเรียน พุทธศักราช2561 - หลักเกณฑ์การให้คะแนนพฤติกรรมเชิงบวกของนักเรียน โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ - ข้อปฏิบัติของนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ - ระเบียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ว่าด้วยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองพุทธศักราช 2561 กลุ่มบริหารงบประมาณและงานบุคคล - คณะกรรมการกลุ่มบริหารงานงบประมาณและงานบุคคล - โครงการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน - โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา กลุ่มบริหารทั่วไป - คณะกรรมการกลุ่มบริหารงานทั่วไป - งานอาคารสถานที่ - ระเบียบการใช้อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ห้องเรียนคุณภาพ - งานประชาสัมพันธ์ - ประโยชน์การใช้สอยอาคาร - การจัดสวัสดิการภายในโรงอาหาร - แนวปฏิบัติการใช้บริการโรงอาหาร - งานอนามัย กิจกรรมหน้าเสาธง เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒


ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สถานที่ตั้งและพื้นที่ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 164 หมู่ที่ 5 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84000 โทรศัพท์ 077-355351-2 โทรสาร 077-355354 พื้นที่ของ ที่ตั้งสถานศึกษาทั้งหมด 27 ไร่ 3 งาน 37.7 ตารางวา ประวัติโรงเรียน 9 พฤษภาคม 2537 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้โรงเรียนสุราษฎร์ธานีเปิดสาขาขึ้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบล มะขามเตี้ย อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า “โรงเรียนสุราษฎร์ธานี สาขาท่าเพชร” ซึ่งเนื้อที่ ดังกล่าวเป็นเนื้อที่ของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ที่ได้จัดซื้อไว้เพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาเกษตรกรรม การรับนักเรียนครั้งแรกรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 101 คน โดยมีนายอภินันท์ พาหะมาก ผู้บริหารโรงเรียนสุราษฎร์ธานีขณะนั้น ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารสาขาและมอบหมายให้ นายสุวิทย์ เทโหปการ อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนสุราษฏร์ธานี เป็นผู้ดูแล การจัดการเรียนการสอน ในช่วงแรกมีครูโรงเรียนสุราษฎร์ธานีมาปฏิบัติการสอน การวัดผล การประเมินผล และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับนักเรียนของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2538 เริ่มรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รุ่นใหม่ จำนวน 155 คน มีครูและ บุคลากรย้ายมาจากโรงเรียนต่างๆ จำนวน 10 คน 30 เมษายน 2539 กรมสามัญศึกษาได้มีประกาศจัดตั้งโรงเรียนสุราษฎร์ธานี สาขาท่าเพชร เป็น “โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒” สังกัดกรมสามัญศึกษา ลำดับที่ 44 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีนายสาธร ลิกขะไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานีในขณะนั้น ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหาร และได้มอบหมายให้ นายสุวิทย์ เทโหปการ เป็นผู้ดูแลเช่นเดิม ปีการศึกษา 2539 รับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 199 คน กรมสามัญศึกษาได้จัดสรร งบประมาณสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนเบ็ดเสร็จ แบบ ก ข ค งบประมาณ 9,834,000 บาท มีสนามบาสเกตบอล ห้องน้ำ บ้านพักครู และบ้านพักนักการภารโรง อย่างละ 1 หลัง 16 ตุลาคม 2539 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายวิรัช เศวตศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ไปปฏิบัติหน้าที่ครูใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ 23 มีนาคม 2540 นายวิรัช เศวตศิลป์ ครูใหญ่โรงเรียนสุราษฏร์ธานี ๒ ได้นำคณะครูและบุคลากร เข้าเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราชเบิกพระเนตร พระพุทธรูปประจำโรงเรียน และสมเด็จพระสังฆราชทรงประทานนามพระพุทธรูปประจำโรงเรียนว่า “พระพุทธ บารมีสุราษฏร์ธานีพิพัฒน์” โรงเรียนสุราษฏร์ธานี ๒ ได้ทำหนังสือกราบทูลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหา สังฆปรินายก เพื่อขอประทานนามอาคาร ก. ซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของโรงเรียนมีชื่อว่า “อาคารสมเด็จ พระสังฆราชญาณสังวร 84” และประทานอนุญาตให้โรงเรียนใช้ตรา “ญสส.” ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ เป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน และใช้ติดหน้าอกเสื้อเครื่องแบบของนักเรียน 7 พฤศจิกายน 2539 นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (รุ่นกาญจนาภิเษก) รุ่นแรกของ โรงเรียน ได้ร่วมกันหารายได้สร้างศาลากาญจนาภิเษก มอบให้แก่โรงเรียนเพื่อเป็นอนุสรณ์ งบประมาณ 140,000 บาท


31 ธันวาคม 2540 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายวิรัช เศวตศิลป์ ครูใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ 6 พฤศจิกายน 2541 ชมรมสังสรรค์สามัคคีสุราษฏร์ธานี (3 ส.) ได้มอบเสาธงให้แก่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ งบประมาณในการก่อสร้าง 116,073 บาท ธันวาคม 2540 - ธันวาคม 2541 นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รุ่น 2 (สสร.) และ รุ่น 3 (เอเชียนเกมส์) ได้มอบป้ายชื่อโรงเรียน ให้แก่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ งบประมาณในการก่อสร้าง 305,330 บาท 30 ธันวาคม 2542 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายวิรัช เศวตศิลป์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียน สุราษฎร์ธานี ๒ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ธันวาคม 2542 นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รุ่น 4 (เทิดพระเกียรติ 72 พรรษา) ได้สมทบเงินก่อสร้างห้องโสตเทิดพระเกียรติ 72 พรรษา งบประมาณในการก่อสร้าง 183,000 บาท 1 ตุลาคม 2543 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 324 (ล) /41 (หลังคาทรงไทย) จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 19,837,000 บาท ธันวาคม 2543 นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รุ่น 5 (100 ปี สมเด็จย่า) ได้สมทบ เงินก่อสร้างห้องพยาบาล 100 ปี สมเด็จย่า มูลค่า 185,000 บาท 16 ธันวาคม 2545 นายวิรัช เศวตศิลป์ ผู้อำนวยการได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นปรับตำแหน่งใน ระดับสูงขึ้นเป็น ผู้อำนวยการระดับ 9 พ.ศ. 2546 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้างหอประชุม/โรงอาหาร(อาคารสมเด็จฯ 91) งบประมาณ 7,194,000 บาท พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ขนาดใหญ่ ระดับประเทศ พ.ศ. 2547 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 108 ล/30 งบประมาณ 4,360,583 บาท 25 สิงหาคม 2547 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แต่งตั้ง นายบัญญัติ สุขขัง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ 26 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แต่งตั้ง นายสมยศ กระจ่างแจ้ง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ 25 เมษายน 2561 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แต่งตั้ง นายประยงค์ อินนุพัฒน์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จนถึงปัจจุบัน 21 กุมภาพันธ์ 2563 เปิดอาคารสธนธร สิทธิคุณ (โดมอเนกประสงค์เพื่อการฝึกซ้อมกีฬาและ นันทนาการ)


อัตลักษณ์ของสถานศึกษา ชื่อสถานศึกษา : ไทย โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ : อังกฤษ SURATTHANI 2 SCHOOL ตราประจำโรงเรียน : มณฑปพระบรมธาตุไชยาลอยอยู่เหนือเมฆบนช้างสามเศียร มีดวงประทีป เอราวัณทรงเครื่องประกอบกันภายในวง ล้อมด้วยอักษรคติพจน์ และ ชื่อโรงเรียน มณฑปพระบรมธาตุไชยา หมายถึง จริยศึกษา ช้างสามเศียร หมายถึง พลศึกษา ดวงประทีป หมายถึง พุทธศึกษา เอราวัณทรงเครื่อง หมายถึง หัตถศึกษา สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน : ตราประจำพระองค์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหา สังฆปรินายก ซึ่งพระราชทานอนุญาตให้โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ใช้เป็นสัญลักษณ์ ประจำโรงเรียนและใช้ติดหน้าอกเสื้อเครื่องแบบของนักเรียน ญ หมายถึง “สมเด็จพระญาณสังวร” อันเป็นราชทินนามสำหรับพระองค์ใช้สีประจำ วันประสูติคือวันศุกร์ “ สีฟ้า” ส (ตัวแรก) หมายถึง “สมเด็จพระสังฆราช” อันเป็นชื่อยศทางศาสนา ใช้สีขาว หมายถึง พระพูทธศาสนา ส (ตัวที่สอง) หมายถึง “สกลมหาสังฆปรินายก”อันเป็นชื่อตำแหน่งหน้าที่ทางการคณะสงฆ์ คือ ประมุขหรือผู้นำของสงฆ์หมู่ใหม่ทั้งมวล ใช้สีเหลือง หมายถึง คณะสงฆ์ พระนามย่อ “ญ.ส.ส.” จะอยู่ภายใต้เศวตฉัตร ๓ ชั้น หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงสถาปนาขึ้นเทียบเท่า “พระองค์เจ้า” เป็นพื้นสีขาวคาดด้วยแถบสีทอง ๒ เส้น ฉัตรล่างประดับด้วย อุบะจำปาสีทอง สีประจำโรงเรียน ชมพู หมายถึง ทุกคนมีความรักใคร่กลมเกลียวกัน เขียว หมายถึง ความหนักแน่นที่จะต่อสู้กับอุปสรรคและแก้ปัญหา อย่างมีความสุข อักษรย่อของโรงเรียน ไทย ส.ธ.๒ อังกฤษ S.T.2 คติพจน์ประจำโรงเรียน “นิมิตฺต สาธุรูปาน กตัญฺญู กตเวทิตา” ความกตัญญู กตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี ปรัชญาของโรงเรียน “คิดเป็นธรรม ทำเป็นธรรม แก้ปัญหาเป็นธรรม ตามแนวทางวิถีพุทธ” พระพุทธรูปประจำโรงเรียน “พระพุทธบารมีสุราษฎร์ธานีพิพัฒน์” เป็นนามที่สมเด็จพระสังฆราชประทานให้มีความหมายว่า พระซึ่งนำ ความเจริญก้าวหน้ามาสู่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ อัตลักษณ์ กตัญญูรู้หน้าที่ มีจิตอาสา แก้ปัญหาเป็นระบบ เอกลักษณ์ ระบบดูแลนักเรียนดี มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่บนพื้นฐาน ความพอเพียง


ทิศทางการบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖6 - ๒๕70 วิสัยทัศน์(Vision) พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่งเต็มตามศักยภาพ มีความสุขบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง มีสมรรถนะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พันธกิจ (Mission) 1) พัฒนาผู้เรียนด้านความรู้ สมรรถนะ ทักษะ เจตคติ การอ่าน การเขียน การคำนวณ การสื่อสาร ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ให้มีพื้นฐานในระดับดี 2) ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เต็มตามศักยภาพ ของผู้เรียนรายบุคคล เหมาะสมตามช่วงวัย มีความพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป นำไปสู่การมีงานทำ มีอาชีพ และส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ 3) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ เคารพรัก ในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เห็นคุณค่า ประวัติศาสตร์ และรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมไทย เป็นพลเมืองที่ดี มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง รู้สิทธิและหน้าที่ และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) สร้างเสริมสุขภาวะเพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะทางกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีเจตคติที่ดีต่อการดูแล สุขภาพ และมีทักษะปฏิบัติด้านสุขภาพจนเป็นนิสัย 5) พัฒนาหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะ/กระบวนการจัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และตามแนวคิดพหุปัญญา ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) รวมทั้งส่งเสริมการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง ตอบสนองต่อความถนัด และ ความสนใจของผู้เรียน 6) คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน 7) ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งมีจิตวิญญาณความเป็นครู และเคารพสิทธิมนุษยชน 8) พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ระบบการนิเทศติดตามและประเมินผล เพื่อนำผลไปใช้ในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาการบริหารจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้ ตามหลักธรรมาภิบาล และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เป็นที่ยอมรับ ของชุมชน สังคม เป้าประสงค์ (Goal) 1) ผู้เรียนมีพื้นฐานด้านความรู้ สมรรถนะ ทักษะ เจตคติ การอ่าน การเขียน การคำนวณ การสื่อสาร ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในระดับดี 2) ผู้เรียนมีสมรรถนะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล เหมาะสมตามช่วงวัย มีความพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป นำไปสู่การมีงานทำ มีอาชีพ และส่งเสริม ความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ


3) ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ เคารพรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เห็นคุณค่าประวัติศาสตร์ และรักษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมไทย เป็นพลเมืองที่ดี มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง รู้สิทธิและหน้าที่ และ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผู้เรียนมีสุขภาวะ มีสมรรถนะทางกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ และมีทักษะ ปฏิบัติด้านสุขภาพจนเป็นนิสัย 5) โรงเรียนมีหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะ /กระบวนการจัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะของผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ) และตามแนวคิดพหุปัญญา ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) รวมทั้งการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตามสภาพจริง ตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจ ของผู้เรียน 6) ครูนำนวัตกรรมการศึกษา และการเรียนรู้ ในรูปแบบแนวคิด วิธีการ กระบวนการ สื่อการเรียนการสอน ไปใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงขึ้น 7) ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีความรู้ สมรรถนะด้านวิชาการ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมผ่าน “แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ” และได้ปรับบทบาทจาก “ผู้สอน” เป็น “โค้ช” ที่อำนวยการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางบนฐานการวิจัยมีจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งมีจิตวิญญาณความเป็นครู และเคารพสิทธิมนุษยชน 8) โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ระบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อนำผลไปใช้ในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาการบริหารจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้ ตามหลักธรรมาภิบาล และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เป็นที่ยอมรับ ของชุมชน สังคม อัตลักษณ์ของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ “กตัญญูรู้หน้าที่ มีจิตอาสา แก้ปัญหาเป็นระบบ” เอกลักษณ์ของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ระบบดูแลนักเรียนดี มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่บนพื้นฐานความพอเพียง กลยุทธ์โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นนักเรียนยุคใหม่ กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 กลยุทธ์ที่ 2 : ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ กลยุทธ์ที่ 3 : พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลยุทธ์ที่ 4 : พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ


ข้าราชการครูและบุคลากรโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒


ผู้บริหารโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ นายประยงค์ อินนุพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ นางเอกอนงค์ ทรัพย์ยืนนาน รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ นางสาวชฎาพร ช่วยชู รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ นายธรรมนูญ จันทร์แก้ว รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ นางมยุรี พรประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒


ข้าราชการและบุคลากรโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นางสาวนิตยาพร เนตรรุ่ง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ นางทัศนีย์ ขวัญเพชร นางวัฒนี พันธ์พิพัฒไพบูลย์ 00 นางสาวพิไลวรรณ เพชรไฝ นางสาวนิชธาวัลย์ วิภูษณะภัทร์นายพลกฤษ ตาลประสิทธิ์ นางเยาวภัค ทองชะอม นางสาวสลิน พฤกษ์เสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นางสาวมาลิณี จันทร์เพ็ชรพูล หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ นางปนัดดา รัตนะ นายสมญา แพ่งรักษ์ นางภัทรานิษฐ์ สินอุดม นายณัฐพนธ์ ส่งแสง นางสาวเจนจิรา ทิพย์ญาณ นางสาวชุติมา สุวรรณศรี ว่าที่ร้อยตรีเอกชัย ทองเจริญ นายสุริยา นาคใหญ่ ว่าที่ร้อยตรีชาคริต เพ็ชระ นายวิษณุ หนูเนื่อง นางสาวนันท์นภัส ยิ้มย่อง นางสาวนิชธาวัลย์ วิภูษณะ ภัทร์ นางสาวสุกัญญา วรรณศรี


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางบุญเกิด ติลกโชติพงศ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ นางพยงค์ วิภาคหัตถกิจ นางสาวณัฐนาฏ ณ วงศ์ 0 นางรุ่งฤดี อ่อนสง นางเสาวนิต ช่วยนุกูล นางมณฑาทิพย์ หยูหนู นางรจนา ใจห้าว นางสาวทัศนียา เพชรชู นางบุษกร มากชิต นางพรศิริ อินทร์แก้ว นางวิลาวัลย์ กัณรงค์ นายมานพ ถวิลวรรณ นายมนัส สายแก้ว นายธนกฤต รอดกลิ่น นางสาวธัญญรัตน์ นุ้ยฉิม นางสาวสุธาสิณี ณ เวชรินทร์ นางสุวลี พิชิตมโน นางสาวศศิธร ตั้งนรกุล นางยุพเยาว์ กระจ่างแจ้ง นางสาวลักษณ์นารา ทองมาก


กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นางสาวสุชาดา เรืองดำ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ นายมาโนชญ์ เพชรปรางค์ นายเรวัตร นรนวล นางสาวนันท์จรัส มณีโชติ นายวุฒิชัย พูลสวัสดิ์ นายวัชรินทร์ แก้วประเทศ นายพนัส นภบุตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นางสาวสมบูรณ์ จินตุลา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ นางสาวสินานาถ สุวรรณโชติ นางดรุณี ลาศรีทัศน์ นางสาวสุรีรัตน์ ภักดิ์กำเลา กำเลา นายสุพล จันทร์เที่ยง นายวิศรุต สมณะ นางสาวชาลินี แซ่จ้อง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นางสาวจาระวี อำภาวงษ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ นางสาวอนุสรา โอชุม


กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นางยุพยง ใจกว้าง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ นางรุ้งธรรม วิเขียรรัตน์ นางดวงกมล นาคทุ่งเตา นางนิศากร จิระสุนทร นางสาวธมลวรรณ อินทรักษ์ นางสาวนันทิยา บุญศรีนุ้ย นางสาวผกามาศ เฟื่องฟู นางสาวชฎาธร เกตุวิชิต นางสาวธัญธิตา เมฆลัย นางสาวดวงกมล เพชรเศรษฐ นายปฐมพงศ์ ตรียวง นายกิตติธัช หอมนวล นางปรญา เรือนเงิน นางสาวปาริตา พืชผล นายจรูญ ไทยเกิด นางสาวพิชชาภา ทองมณี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ นางปราถนา สมณะ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ นางสุชีรา ชูแก้ว นางจีรพร วรรณโชติ กลุ่มสนับสนุนการสอน นางจิรารัตน์ อุณหศิริกุล บรรณารักษ์ นางสาวจรรจิรา บัวจันทร์ ครูแนะแนว นางสาวศิริประภา สุวรรณเลขา งานโสตทัศนศึกษา นางขนิษฐา บากบั่น ครูแนะแนว


นายวิรัช นวนหนู เจ้าหน้าที่งานพัสดุและสินทรัพย์ นางสาวสุภิญญา หนูวงศ์ เจ้าหน้าที่การเงินและการบัญชี นางสาวสุพัตรา บุญเชิด เจ้าหน้าที่แผนงานและสารสนเทศ นางสาวอุตสาห์ ไชยมุติ เจ้าหน้าที่งานสารบรรณโรงเรียน เจ้าหน้าที่และครูอัตราจ้าง นางสาวจุฑารัตน์ หนูนุ่ม เจ้าหน้าที่กลุ่มบริหารทั่วไป นางสาวปิยะนุช สีแดงก่ำ เจ้าหน้าที่กลุ่มบริหารวิชาการ นางจิราพร อินทรักษ์ เจ้าหน้าที่งานธนาคารโรงเรียน นางสาวรัตนาภรณ์ สุขจันทร์ เจ้าหน้าที่งานอนามัยโรงเรียน นายปิยะพล สุวรรณเลขา เจ้าหน้าที่ธุรการ (โสตทัศนศึกษา) นางสาวพิมพ์ประภา พินชู เจ้าหน้าที่กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน นางสาววันวิสา คำแก้ว เจ้าหน้าที่ทะเบียนวัดผล นางสาวสุดารัตน์ กลิ่นเพ็ชร ครูอัตราจ้าง นางสาววิลัยพร ชัยชนะ ครูอัตราจ้าง


นักการภารโรง นางสมบูรณ์ กรปรีชา นางประทุม ดุจรักษ์ นางเนาวรัตน์ อนันรัตน์ นางอนงค์ ไชยโยธา นางสาวจริยา โสภา นางอัจจรา กระชอกชล นางสาวยอดอ้อ นามผดุง นางสาวกัญภร สมสนอง นายโกมล มิ่งแก้ว นายประเสริฐ ฉิมพิมล พนักงานขับรถ ยามรักษาการณ์


กลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒


กลุ่มบริหารวิชาการ คณะกรรมการกลุ่มบริหารวิชาการ ๑. นางสาวชฎาพร ช่วยชู รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ๒. นางพยงค์ วิภาคหัตถกิจ หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ 3. นางสาวพิไลวรรณ เพชรไฝ หัวหน้างานส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หัวหน้างานส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 4. นายณัฐพนธ์ ส่งแสง หัวหน้างานวัดผลประเมินผลและเทียบโอนฯ 5. นางวิลาวัลย์ กัณรงค์ หัวหน้างานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา หัวหน้างานโครงการห้องเรียนพิเศษระดับ ม.ต้น 6. นางบุษกร มากชิต หัวหน้างานนิเทศการศึกษา หัวหน้างานโครงการห้องเรียนพิเศษระดับ ม.ปลาย 7. นางสาวชาลินี แซ่จ้อง หัวหน้างานวางแผนด้านวิชาการและสารสนเทศ 8. นางสาวลักษณ์นารา ทองมาก หัวหน้างานทะเบียนนักเรียนและสำมะโนผู้เรียน ๙. นางสาวเจนจิรา ทิพย์ญาณ หัวหน้า PLC และงานวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา 10. นายมนัส สายแก้ว หัวหน้างานพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและระบบเครือข่าย ๑1. นางยุพเยาว์ กระจ่างแจ้ง หัวหน้างานศูนย์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 12. นางสาวนิชธาวัลย์ วิภูษณะภัทร์ หัวหน้างานโรงเรียนมาตรฐานสากล 13. นางจิรารัตน์ อุณหศิริกุล หัวหน้างานพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ๑4. นางสาวนิตยาพร เนตรรุ่ง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ๑5. นางสาวมาลิณี จันทร์เพ็ชรพูล หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ๑6. นางบุญเกิด ติลกโชติพงศ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตร ๑7. นางสาวสมบูรณ์ จินตุลา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๑8. นางสาวสุชาดา เรืองดำ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ๑9. นางสาวจาระวี อำภาวงษ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 20. นางปราถนา สมณะ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 21. นางยุพยง ใจกว้าง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๒2. นายธนกฤต รอดกลิ่น หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๒3. นางสาวจรรจิรา บัวจันทร์ หัวหน้างานแนะแนวการศึกษา ๒4. นางสุชีรา ชูแก้ว หัวหน้างานส่งเสริมกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ๒5. ว่าที่ร้อยตรีเอกชัย ทองเจริญ หัวหน้างานรับนักเรียน


หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ได้จัดการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ประกอบด้วยหลักสูตรสถานศึกษา 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรห้องเรียนปกติ และหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ ที่ประกอบด้วยกลุ่มการเรียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นไป ตามศักยภาพและธรรมชาติของผู้เรียน ดังนี้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1. หลักสูตรห้องเรียนปกติ 1 กลุ่มการเรียน ได้แก่ กลุ่มการเรียนทั่วไป 2. หลักสูตรห้องเรียนพิเศษ 1 กลุ่มการเรียน ได้แก่ กลุ่มการเรียน SME (วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 1. หลักสูตรห้องเรียนห้องเรียนปกติ 3 กลุ่มการเรียน ได้แก่ 1.1 กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ 1.2 กลุ่มการเรียนศิลป์คำนวณ 1.3 กลุ่มการเรียนศิลป์ภาษา (ภาษาจีน , ภาษาญี่ปุ่น , ภาษาฝรั่งเศส) 2. หลักสูตรห้องเรียนพิเศษ 2 กลุ่มการเรียน ได้แก่ 2.1 กลุ่มการเรียน SME (วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ) 2.2 กลุ่มการเรียน EMC (ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และภาษาจีน) โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ปรับปรุง พ.ศ. 2566 โครงสร้างหลักสูตรห้องเรียนปกติ โครงสร้างหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ


กระบวนการพัฒนาผู้เรียนสู่คุณภาพมาตรฐานสากล ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและศักยภาพความเป็นสากล คือ เป็นบุคคลที่มี คุณภาพ มีทักษะในการค้นคว้า แสวงหาความรู้ และมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล ตลอดจนมีทักษะชีวิตร่วมมือในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากลมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนใน โรงเรียนมาตรฐานสากลขึ้น โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เรียกว่า “บันได 5 ขั้นของการจัดการเรียน การสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล” ได้แก่ บันได 5 ขั้นของการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากลกับ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS : Independent Study) 1. การตั้งคำถามและสมมติฐาน (Hypothesis Formulation) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด สังเกตตั้ง ข้อสงสัย ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผล 2. การแสวงหาความรู้ สืบค้นความรู้ (Searching for Information) เป็นการฝึกแสวงหาความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ตหรือจากการปฏิบัติการทดลอง 3. การสรุปองค์ความรู้ (Knowledge Formulation) เป็นการฝึกให้นำความรู้และสารสนเทศหรือข้อมูล ที่ได้จากการอภิปราย การทดลอง มาวิเคราะห์และสรุปองค์ความรู้ 4. การสื่อสารและการนำเสนอ (Effective Communication) เป็นการฝึกให้ความรู้ที่ได้รับมานำเสนอ และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 5. การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติซึ่งผู้เรียนจะต้องมี ความรู้ในบริบทรอบตัวและบริบทโลกตามวุฒิภาวะที่เหมาะสมโดยนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS : Independent Study) เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนา ซึ่ง ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 3 สาระ ดังนี้ 1. การศึกษาหาความรู้ สืบค้นความรู้ (IS1 : Research and Knowledge Formation) เป็นสาระที่มุ่งให้ ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้ ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และ สร้างองค์ความรู้ 2. การสื่อสารและนำเสนอ (IS2 : Communication and Presentation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำ ความรู้ที่ได้รับถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด นำเสนอข้อมูลและองค์ความรู้ด้วยวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม หลากหลายรูปแบบและมีประสิทธิภาพ 3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ (IS3 : Social Service Activity) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียน นำองค์ความรู้ ประยุกต์ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดการบริการสาธารณะ (Public Service) ๕. การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) 4. การสื่อสารและการนำเสนอ (Effective Communication) 3. การสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formulation) 2. การแสวงหาความรู้ สืบค้นความรู้(Searching for Information) 1. การตั้งคำถามและสมมติฐาน (Hypothesis Formulation) IS3 IS2 IS1


เป้าหมายคุณภาพผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS : Independent Study) คุณภาพผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1. การตั้งคำถามและสมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1. ตั้งประเด็น/คำถามในเรื่องที่ตนสนใจ โดยเริ่มจากตัวเองเชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ 2. ตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลโดยใช้ความรู้ จากสาขาวิชาต่างๆ 1. ตั้งประเด็น/คำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน สังคมโลก 2. ตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลที่สนับสนุน หรือ โต้แย้งประเด็นความรู้ โดยใช้ความรู้จากสาขาวิชา ต่างๆ และมีทฤษฎีรองรับ 2. สืบค้นความรู้ จากแหล่งเรียนรู้และ สารสนเทศ (Searching for Information) 1. ศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้จากแหล่งเรียนรู้ หลากหลาย เช่น ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ ออนไลน์ วารสาร การปฏิบัติการทดลอง หรืออื่นๆ 2. ออกแบบ วางแผน รวบรวมข้อมูล โดยใช้ กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมี ประสิทธิภาพ 3. ใช้กระบวนการกลุ่มในการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น โดยใช้ความรู้จากสาขาวิชา ต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ 4. ทำงานบรรลุผลตามเป้าหมาย กรอบการ ดำเนินงานที่กำหนด โดยการกำกับดูแล ช่วยเหลือของครูอย่างต่อเนื่อง 1. ศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ข้อมูลสารสนเทศ โดยระบุแหล่งเรียนรู้ทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ 2. ออกแบบ วางแผน รวบรวมข้อมูลโดยใช้ กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ใช้กระบวนการกลุ่มในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยใช้ความรู้จากสาขาวิชาต่างๆ เพื่อพิจารณา ความน่าเชื่อถือของแหล่งเรียนรู้อย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ 4. ทำงานบรรลุผลตามเป้าหมาย กรอบการดำเนินงาน ที่กำหนดโดยคำแนะนำของครูที่ให้คำปรึกษา อย่างต่อเนื่อง 3. การสรุปองค์ความรู้ (Knowledge Formulation) 1. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการที่เหมาะสม 2. สังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้ อภิปรายผล และเปรียบเทียบเชื่อมโยงความรู้ 3. เสนอแนวคิด วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็น ระบบ 1. อธิบายความเป็นมาของศาสตร์ หลักการ และ วิธีคิดในสิ่งที่ศึกษาค้นคว้า 2. วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม 3. สังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้ อภิปรายผล และ เปรียบเทียบเชื่อมโยงความรู้ 4. เสนอแนวคิด วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 4. สื่อสารและการนำเสนอ (Effective Communication) 1. เรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดอย่าง ชัดเจนเป็นระบบ 2. นำเสนอในรูปแบบเดี่ยว (Oral Individual) หรือกลุ่ม (Oral panel presentation) 1. เรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดอย่าง ชัดเจนเป็นระบบ 2. นำเสนอในรูปแบบเดี่ยว (Oral Individual) หรือ กลุ่ม (Oral panel presentation) เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย 3. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการเป็น ภาษาไทยความยาว 4,000 คำ หรือภาษาอังกฤษ ความยาว 2,000 คำ 4. อ้างอิงแหล่งเรียนรู้ที่เชื่อถือได้ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ 5. ใช้การสนทนา/วิพากษ์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-conference /social media online 5. การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) 1. นำความรู้ไปประยุกต์สร้างสรรค์ประโยชน์ ต่อโรงเรียนและชุมชน 2. เผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จาก การลงมือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ต่อโรงเรียน และชุมชน 1. นำความรู้ไปประยุกต์สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อ สังคมและโลก 2. เผยแพร่ความรู้ไปประยุกต์สร้างสรรค์ประโยชน์ ต่อสังคมและโลก


การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS : Independent Study)


ระเบียบและแนวปฏิบัติการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดคุณภาพของผู้เรียน โดยผู้เรียนทุกคน ต้องได้รับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามองค์ประกอบต่อไปนี้ แผนภาพที่ 1 แสดงองค์ประกอบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 1 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้สอนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้จะวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายวิชา ตามตัวชี้วัด ที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการที่หลากหลายให้ความสำคัญกับการประเมินผล ทั้งการประเมิน ตามสภาพจริงในกระบวนการจัดการเรียนการสอน (ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างเรียน) และการวัดผลปลาย ภาคเรียนเพื่อตัดสินผลการเรียน ดังแสดงรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ แผนภาพที่ 2 แสดงองค์ประกอบรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ กิจกรรม พัฒนาผู้เรียน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ การวัดและ ประเมินผลรายกลุ่ม สาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ


องค์ประกอบที่ 2 การประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ กำหนดการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน โดยให้ผู้สอนทุกรายวิชาประเมินผู้เรียนเป็นรายภาคเรียน ให้ระดับผลการประเมินเป็นผ่าน (ผ) และ ไม่ผ่าน (มผ) ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้ แผนภาพที่ 3 แสดงองค์ประกอบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียนในด้านการอ่าน การฟัง การดู การรับรู้ จากหนังสือเอกสารและสื่อต่างๆได้อย่างถูกต้อง แล้วนำความคิดมาวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่นำไปสู่ การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์สร้างสรรค์ในเรื่องต่างๆ แล้วถ่ายทอดความคิดเห็นนั้น ด้วยการเขียนซึ่ง สะท้อนถึงสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างสรรค์จินตนาการ อย่างเหมาะสม มีคุณค่าแก่ตนเอง สังคมและประเทศชาติ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สรุปผลเป็นรายภาคเรียน ให้ระดับผลการประเมินเป็น ผ่าน (ผ) และไม่ผ่าน (มผ) ในการประเมินผลให้ผู้เรียน “ผ่าน” มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ผลการประเมิน ระดับคุณภาพ ข้อรายการประเมินตามระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม 3 1. จับใจความสำคัญได้ครบถ้วน 2. เขียนวิพากษ์วิจารณ์และเขียนสร้างสรรค์ 3. แสดงความคิดเห็นประกอบอย่างมีเหตุผล ถูกต้องและสมบูรณ์ 4. ใช้ภาษาสุภาพและเรียบเรียง ดี 2 1. จับใจความสำคัญได้ 2. เขียนวิพากษ์วิจารณ์และเขียนสร้างสรรค์ 3. เขียนโดยใช้ภาษาสุภาพ ผ่าน 1 1. จับใจความสำคัญและเขียนวิพากษ์วิจารณ์ได้บ้าง การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละข้อรายการให้ มีผลการประเมิน ดังนี้ ดีเยี่ยม หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติจน เป็นนิสัยและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม กำหนดค่าระดับคุณภาพเป็น 3 ดี หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามเกณฑ์ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม กำหนดค่าระดับคุณภาพเป็น 2 ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามเกณฑ์ และ เงื่อนไขที่สถานศึกษากำหนด กำหนดค่าระดับคุณภาพเป็น 3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 9. มีความกตัญญูกตเวทิตา


องค์ประกอบที่ 4 การประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นการประเมินการจัดกิจกรรมตามจุดประสงค์และเวลาในการเข้าร่วม กิจกรรม ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละกิจกรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประเมินการเลื่อน ชั้นเรียนและการจบการศึกษาในแต่ละระดับชั้น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีดังนี้ แผนภาพที่ 4 แสดงองค์ประกอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อป้องกันนักเรียนมีผลการเรียน 0 , ร , มส และ มผ 1. งานวัดผลสำรวจแนวโน้ม มส ภาคเรียนละ 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ก่อนสอบกลางภาค 1 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 ก่อนสอบปลายภาค 2 สัปดาห์ 2. นักเรียนติดต่อครูประจำวิชาเพื่อปฏิบัติงานตามที่ครูมอบหมายในแผนการวัดผลเพื่อชดเชยเวลาเรียน 3. ครูประจำวิชาแจ้งผลการติดตามหากในครั้งที่ 2 นักเรียนยังคงไม่ผ่านและมีรายชื่อแนวโน้ม มส นักเรียนก็จะไม่มีสิทธิ์สอบปลายภาคและมีผลการเรียน มส ในรายวิชานั้น ๆ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี กิจกรรมวิชาการตามที่โรงเรียนกำหนด กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามที่โรงเรียนกำหนด การประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครูผู้สอนใช้ประเมินผลโดยใช้เวลาการเข้าร่วม กิจกรรม และผลการทำกิจกรรมที่ได้รับ มอบหมายเป็นเกณฑ์ในการประเมิน ดังนี้ ผ่านการประเมิน (ผ) ไม่ผ่านการประเมิน (มผ)


เกณฑ์การวัดประเมินผลการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1. การตัดสินผลการเรียน 1.1 ตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาคเรียน : รายวิชา นักเรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้นๆ จึงจะมีสิทธิสอบวัดผลปลายภาคเรียน 1.2 นักเรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดทุกรายวิชา และต้องผ่านตัวชี้วัดตามที่สถานศึกษากำหนด 1.3 นักเรียนได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา 1.4 นักเรียน “ผ่าน” การประเมิน (ผ) รายการที่ (1) และ (2) ต่อไปนี้ตามระดับคุณภาพที่กำหนด ส่วนรายการ ที่ (3) ต้องมีผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็น (ผ) (1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (2) การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน (3) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกกิจกรรม 2. การให้ระดับผลการเรียน การให้ระดับผลการเรียนทุกรายวิชา ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับตามคะแนนที่นักเรียน สอบได้แต่ละรายวิชา ดังนี้ ได้รับการประเมินผลการเรียน ไม่ได้รับการประเมินผลการเรียน (ผลการเรียนที่มีเงื่อนไข) คะแนนที่ได้ แต่ละรายวิชา (100 คะแนน) ระดับ ผลการเรียน การแปลความหมาย ตามระดับผลการเรียน “ร” (รอตัดสินผลการเรียน) “มส” (ไม่มีสิทธิ์เข้ารับ การประเมินผลปลายภาคเรียน) 0-49 0 ต่ำกว่าเกณฑ์ สาเหตุการรอตัดสินผลการเรียน อาจจะเกิดจากกรณีต่อไปนี้ (1) ไม่ส่งงาน (2) ส่งงานไม่ครบตามเกณฑ์ที่ กำหนด (3) ไม่ได้สอบวัดผลกลางภาค/ ปลายภาคเรียน สาเหตุการไม่มีสิทธิ์เข้ารับการ ประเมินผลปลายภาคเรียน (ไม่มี สิทธิ์สอบ) เกิดจากการที่นักเรียน มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 ของ เวลาเรียนในแต่ละรายวิชา และ ไม่ได้รับการผ่อนผันให้เข้ารับการ วัดผลปลายภาคเรียน 50-54 1 ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ 55-59 1.5 พอใช้ 60-64 2 ปานกลาง 65-69 2.5 ค่อนข้างดี 70-74 3 ดี 75-79 3.5 ดีมาก 80-100 4 ดีเยี่ยม 3. เกณฑ์การจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) ผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 3.1 เรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 81 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้ (1) รายวิชาพื้นฐาน 66 หน่วยการเรียน (2) รายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด 3.2 ต้องได้หน่วยการเรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้ (1) รายวิชาพื้นฐาน 66 หน่วยการเรียน (2) รายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 11 หน่วยการเรียน 3.3 มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เป็น “ผ” (ระดับคุณภาพที่ 1-3) ตามที่ผู้สอนประเมิน 3.4 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็น “ผ” (ระดับคุณภาพที่ 1-3) ตามที่ผู้สอนประเมิน 3.5 มีผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่สถานศึกษากำหนดเป็น “ผ” ทุกกิจกรรม


4. เกณฑ์การจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) ผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 4.1 เรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 81 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้ (1) รายวิชาพื้นฐาน 41 หน่วยการเรียน (2) รายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด 4.2 ต้องได้หน่วยการเรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้ (1) รายวิชาพื้นฐาน 41 หน่วยการเรียน (2) รายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยการเรียน 4.3 มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เป็น “ผ” (ระดับคุณภาพที่ 1-3) ตามที่ผู้สอน ประเมิน 4.4 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็น “ผ” (ระดับคุณภาพที่ 1-3) ตามที่ผู้สอนประเมิน 4.5 มีผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่สถานศึกษากำหนดเป็น “ผ” ทุกกิจกรรม


แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบแก้ตัว (0) และการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนที่มีเงื่อนไข (ร,มส) 1. การสอบแก้ตัว (ผลการเรียนเป็น 0) ผลการเรียน “0” หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ได้คะแนนรวมตลอดภาคเรียน (คะแนนระหว่างภาคเรียน รวมกับคะแนนปลายภาคเรียน) น้อยกว่าร้อยละ 50 ผู้เรียนสามารถสอบแก้ตัวได้ไม่เกิน 2 ครั้ง และต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น ๆ การดำเนินการสอบแก้ตัวของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 มีวิธีการดำเนินการดังนี้ 1.1 ยื่นคำร้องขอสอบแก้ตัวตามเวลาที่สถานศึกษากำหนด 1.2 ติดต่อครูผู้สอนประจำวิชาเพื่อขอสอบแก้ตัว 1.3 ครูผู้สอนจัดสอนซ่อมเสริมหรือมอบหมายงานในตัวชี้วัดที่ผู้เรียนสอบไม่ผ่านก่อนสอบแก้ตัวให้แก่ นักเรียนตามเวลาที่สถานศึกษากำหนด ถ้าผู้เรียนไม่ดำเนินการสอบแก้ตัวตามที่สถานศึกษากำหนด อาจพิจารณาขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 1 ภาคเรียนหรือตามดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษา กรณีผู้เรียนสอบแก้ตัวไม่ผ่าน (0) สถานศึกษาจะแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ผลการเรียน ของผู้เรียน ดังนี้ 1. ให้เรียนซ้ำในรายวิชาพื้นฐาน 2. ให้เรียนซ้ำ หรือเปลี่ยนวิชาใหม่ในรายวิชาเพิ่มเติม ตามดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษา 2. การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” ผลการเรียน “ร” หมายถึง ผลการเรียนที่ครูผู้สอนยังตัดสินผลการเรียนไม่ได้ เนื่องจากนักเรียนส่งงานไม่ครบ ไม่ได้เข้าสอบกลางภาคหรือปลายภาคตามที่สถานศึกษากำหนด จึงให้รอการตัดสินผลการเรียน แนวปฏิบัติการ เปลี่ยนผลการเรียน “ร” ดำเนินการดังนี้ 2.1 กรณีได้ “ร” เพราะเหตุสุดวิสัย เช่น ป่วย อุบัติเหตุ เมื่อดำเนินการตามสาเหตุเสร็จสิ้นแล้วให้ได้รับ ระดับผลการเรียน ตั้งแต่ 0-4 2.2 กรณีได้ “ร” ที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อผู้เรียนดำเนินการตามสาเหตุเสร็จสิ้นแล้วให้ได้รับระดับผลการเรียน ไม่เกิน 1 2.3 การแก้ไขผลการเรียน “ร” ให้ดำเนินการให้เสร็จภายในภาคเรียนถัดไป เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ใน ดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะขยายเวลาออกไปได้อีก 1 ภาคเรียน 2.4 ถ้านักเรียนไม่แก้ผลการเรียน “ร” ตามกำหนด ให้เรียนซ้ำรายวิชาเดิม กรณีที่เป็นวิชาพื้นฐานหรือ เปลี่ยนวิชาใหม่กรณีเป็นวิชาเพิ่มเติม 2.5 ผลการแก้ “ร” ที่ได้ “0” ให้ดำเนินการซ่อมเสริมและสอบแก้ตัวตามระเบียบการวัดผลและประเมินผล ว่าด้วยการแก้ “0” 3. การเปลี่ยนผลการเรียน “มส” ผลการเรียน “มส” หมายถึง การไม่มีสิทธิเข้าสอบวัดผลปลายภาคเรียน อันเนื่องมาจากมีเวลาเรียนไม่ ครบร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในแต่ละรายวิชา การเปลี่ยนผลการเรียน “มส” ดำเนินการดังนี้ 3.1 กรณีนักเรียนมีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด (1) ลงทะเบียนเรียนซ้ำในรายวิชาเดิมกรณีวิชาพื้นฐาน (2) เรียนซ้ำรายวิชาเดิม หรือ เรียนซ้ำโดยเปลี่ยนวิชาใหม่กรณีวิชาเพิ่มเติม ให้ได้ผลการเรียนตั้งแต่ 0-4 3.2 กรณีนักเรียนมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด ให้เรียน เพิ่มเติมในส่วนที่ยังเรียนไม่ครบ จนครบร้อยละ 80 จึงจะมีสิทธิสอบปลายภาคเรียนและจะได้รับผลการเรียนไม่เกิน “1”


หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลื่อนชั้นเรียน และการซ้ำชั้นเรียน 1. การเลื่อนชั้นเรียน ผู้เรียนจะได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกภาคเรียน และได้รับการเลื่อนชั้นเมื่อสิ้นปีการศึกษา โดยต้องมี คุณสมบัติตามเกณฑ์ต่อไปนี้ 1.1 ได้รับการตัดสินผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำในรายวิชาพื้นฐานทุกวิชา (ไม่ติด 0) 1.2 ในรายวิชาเพิ่มเติมต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 1.3 ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนทุกกิจกรรม มีผลการประเมิน “ผ” ทุกรายการ 1.4 ได้รับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นๆ ไม่ต่ำกว่า 1.00 2. การเรียนซ้ำ สถานศึกษาจะจัดให้ผู้เรียนซ้ำชั้น หากผู้เรียนอยู่ในกรณีต่อไปนี้ กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือทุกกรณี กรณีที่ 1 เรียนซ้ำทุกรายวิชา หากผู้เรียนได้รับการซ่อมเสริมและสอบแก้ตัว 2 ครั้งแล้ว แต่ยังไม่ผ่าน เกณฑ์การประเมินให้เรียนซ้ำในรายวิชานั้น ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการจัดเรียนซ้ำในช่วงใด ช่วงหนึ่งที่สถานศึกษาเห็นว่าเหมาะสม กรณีที่ 2 เรียนซ้ำชั้น มี 3 ลักษณะ คือ (1) ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นๆ ต่ำกว่า 1.00 และมีแนวโน้มว่าจะ เป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นสูงขึ้น (2) ผู้เรียนมีผลการเรียน 0, ร, มส เกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษานั้น (3) นักเรียนสอบไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ มีผลการเรียนเป็น “0” ในรายวิชาพื้นฐาน หรือวิชา เพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด และไม่สามารถเลื่อนชั้นตามหลักเกณฑ์การเลื่อนชั้นใน ข้อ 1 ได้ ทั้งนี้หากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือทุกกรณี สถานศึกษาจะแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา หากเห็นว่า ไม่มีเหตุผลอันควรก็ให้ซ้ำชั้น โดยยกเลิกผลการเรียนเดิมและให้ใช้ผลการเรียนใหม่แทน หากพิจารณาแล้วไม่ต้อง เรียนซ้ำชั้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการแก้ไขผลการเรียน


กระบวนการตัดสินผลการเรียนและการแก้ไขผลการเรียน แผนภาพแสดงขั้นตอน และกระบวนการตัดสินผลการเรียน และการแก้ไขผลการเรียน แก้"ร" ผ่าน "ร" สุดวิสัย ได้ 1-4 "ร" ไม่ใช่สุดวิสัย ได้ 1 ได้ "ร" ไม่เข้าสอบวัดผลปลายภาค ได้ "0" ได้ "1" ไม่แก้ “ร” ภายใน 1 ภาคเรียน จัดสอบให้ เรียนเพิ่มเติม ให้มีเวลาเรียนครบ 60%<เวลาเรียน<80% เวลาเรียน<60% ได้ "มส" วัดผลปลาย ภาคเรียน อนุญาต ไม่อนุญาต ดุลยพินิจ วัดผล ระหว่างภาค มีเวลาเรียน 80% มีเวลาเรียน ไม่ถึง80% เรียนซ้ำ ไม่แก้ “มส” ภายใน ภาคเรียน นั้น เรียน ได้ "0" ได้ "1" แก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง สอนซ่อมเสริม/สอบแก้ตัว ได้ "0" ได้ "1" สอนซ่อมเสริม/ สอบแก้ตัว ถ้าจะแก้ “0” ยื่นคำร้อง ได้ "0" ได้ "1-4" ตัดสินผล การเรียน แก้"ร" เรียบร้อย ได้ "ร" ผู้บริหารสถานศึกษา เห็นชอบ ส่งงานไม่ครบ ไม่เข้าสอบกลางภาค เรียนซ้ำ ไม่แก้ “ร” ภายใน ภาคเรียน นั้น


การปฏิบัติของงานทะเบียน การเข้าศึกษาต่อ 1. นักเรียนเข้าเรียนตามปีการศึกษาใหม่ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สมัครสอบเข้าเรียนตามแนวทางปฏิบัติประจำปีของสถานศึกษา ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม และได้รับอนุมัติให้เข้าเรียนจากผู้อำนวยการสถานศึกษา และรับมอบตัวนักเรียน 2. นักเรียนเข้าเรียนโดยย้ายมาจากสถานศึกษาอื่น มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้ 2.1 เขียนใบคำร้องขอเข้าศึกษาต่อ ที่ส่วนงานกลุ่มบริหารวิชาการ พร้อมนำหลักฐานประกอบ การพิจารณาการเข้าเรียน ดังนี้ - หลักฐานการศึกษา คือ ใบ ปพ.1 หรือ ปพ.6 ถ้าหากย้ายขณะที่กำลังศึกษาระหว่างภาคเรียน หรือระหว่างปีการศึกษา ต้องนำใบรับรองเวลาเรียน และการเก็บคะแนนประกอบการพิจารณาด้วย - หลักฐานประกอบการพิจารณาอื่นๆ ถ้ามี เช่น การย้ายราชการ การย้ายถิ่นฐาน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ 2.2 รอการพิจารณาอนุมัติการเข้าเรียนจากผู้อำนวยการสถานศึกษา และมอบตัวนักเรียนเมื่อนักเรียน ได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสถานศึกษาให้เข้าเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 มีวิธีปฏิบัติดังนี้ การมอบตัวนักเรียน 1. ให้บิดาหรือมารดาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบิดาหรือมารดาของนักเรียนที่ถูกต้องตามกฎหมายมา เป็นผู้ปกครองในการมอบตัวนักเรียน 2. กรอกข้อมูลและรายละเอียดตามใบมอบตัวของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 ตามความเป็นจริง 3. นำส่งหลักฐานการมอบตัวให้ครบ คือ (1) หลักฐานการศึกษา (ปพ.1 ตัวจริง พร้อมสำเนาสำหรับย้ายประจำปี และนำใบรับรองเวลาเรียน การเก็บคะแนนสำหรับนักเรียนย้ายขณะกำลังศึกษาระหว่างภาคเรียนหรือระหว่างปีการศึกษา) (2) หลักฐานทะเบียนบ้าน คือ ทะเบียนบ้านตัวจริง ที่มีชื่อ-นามสกุลของ บิดา มารดา นักเรียนและ ผู้ปกครอง พร้อมสำเนา และลงชื่อสำเนาถูกต้องทุกหน้า (3) สำเนาใบสูติบัตร (4) ใบตรวจหมู่เลือด หรือเอกสารอื่นๆที่ยืนยันหมู่เลือดได้ (5) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนักเรียน 4. รูปถ่ายนักเรียน บิดา มารดา และผู้ปกครอง (หากมีผู้ปกครองที่ไม่ใช่บิดา-มารดา) ขนาด 1.5 นิ้ว (เครื่องแบบนักเรียน ไม่สวมแว่นตาดำ และถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน ๑ รูป/ ๑ คน 5. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเอกสาร โดยนายทะเบียนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และลงชื่อ มอบตัวเป็นนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2


สิ่งที่นักเรียนควรปฏิบัติต่องานทะเบียน 1. ตรวจสอบข้อมูลนักเรียน เมื่อมีเอกสารจากงานทะเบียนถึงตัวนักเรียนให้ถูกต้อง เช่น ชื่อ - ชื่อสกุล (นักเรียน บิดา มารดา) วันเดือนปีเกิด เลขบัตรประจำตัวประชาชน ศาสนา สถานศึกษาเดิม ระดับชั้น ปีที่จบการศึกษา รายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียน หากมีข้อผิดพลาดให้แจ้งงานทะเบียน ทราบเพื่อแก้ไขให้เป็นปัจจุบัน 2. ควรแสดงบัตรประจำตัวนักเรียนเมื่อมาติดต่องานทะเบียน ควรนำบัตรประจำตัวนักเรียนติดตัวตลอดเวลา 3. ลงทะเบียนรายวิชาเรียน แต่ละภาคเรียนและผลการเรียนที่ได้ ให้ตรวจสอบความถูกต้องจากงานทะเบียน เป็นระยะๆ 4. การขอหลักฐานการศึกษา เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น สมัครเรียน ขอทุนการศึกษา ฯลฯ ดำเนินการดังนี้ - ยื่นคำร้องขอหลักฐานการศึกษาที่งานทะเบียน กลุ่มบริหารวิชาการ เลือกหลักฐานการศึกษาที่ต้องการ เช่น ใบ ปพ.1/ปพ.6/ปพ.7 หรือเอกสารอื่นๆ (ระบุ) หรือยื่นออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์โรงเรียน หรือ Scan QR Code หรือ เข้าที่ https://shorturl.asia/ulG7P - จ่ายเงินค่าธรรมเนียมการขอหลักฐาน (ปพ.1, ปพ.7 ฉบับภาษาไทย 10 บาท ปพ.6 ฉบับละ 5 บาท ภาษาอังกฤษ ปพ.1 ฉบับละ 30 บาท ปพ.7 ฉบับละ 20) ที่งานการเงิน กลุ่มบริหารงบประมาณและ บุคคล - ถ้าขอใบ ปพ.1 และ ปพ.7 ต้องนำรูปถ่ายของนักเรียนขนาด 1.5 นิ้ว (ชุดเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียน สุราษฎร์ธานี 2 ไม่สวมแว่นตาดำ มีจุดครบตามระดับชั้นของตนเอง มีเข็ม ญสส. และถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน) จำนวนรูปถ่ายเท่ากับจำนวนเอกสารที่ขอ - ให้มารับหลักฐานการศึกษาที่ยื่นคำร้องไว้หลังวันที่ยื่นคำร้อง 3 วันทำการ ในวันและเวลาราชการ การพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 1. การลาออก จากโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 ควรปฏิบัติดังนี้ - ยื่นคำร้องขอลาออกและยื่นคำร้องขอหลักฐานการศึกษาที่งานทะเบียน กลุ่มบริหารวิชาการ พร้อม รูปถ่ายของนักเรียนขนาด 1.5 นิ้ว (ชุดเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 ไม่สวมแว่นตาดำ และถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน) - รอการพิจารณาอนุมัติการลาออกจากผู้อำนวยการสถานศึกษา และมารับหลักฐานหลังจากมา ยื่นคำร้องแล้ว 3 วัน ในวันเวลาราชการ - หลักฐานการศึกษาที่ได้รับ คือ ใบ ปพ.1 ตัวจริง/ปพ.9 สำหรับย้ายประจำปี และนำใบรับรองเวลาเรียน การเก็บคะแนน สำหรับนักเรียนย้ายขณะที่กำลังศึกษาระหว่างภาคเรียนหรือระหว่างปีการศึกษา 2. จบหลักสูตร คือ การจบหลักสูตรภาคบังคับ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) และจบหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) - หลักฐานการศึกษาที่ได้รับ คือ ใบ ปพ.1 ตัวจริง/ปพ.2 (ประกาศนียบัตร) จากงานทะเบียน และ ใบ ปพ.8 (ระเบียนสะสม) จากครูที่ปรึกษาชั้น หมายเหตุ ก่อนรับหลักฐานการศึกษาจากงานทะเบียน กลุ่มบริหารวิชาการ ผู้มาขอรับหลักฐานการศึกษา ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและรายละเอียดในหลักฐานการศึกษาทุกครั้ง QR Code การยื่นคำร้องขอหลักฐานการศึกษา


งานห้องสมุด ๑. ห้องสมุดคืออะไร ห้องสมุดคือ สถานที่รวบรวม สรรพวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งจะบันทึกไว้ในรูปของหนังสือ วารสาร หรือ โสตทัศนวัสดุ และมีการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบเพื่อบริการแก่ผู้ใช้ ส่งเสริมการเรียนรู้และความจรรโลงใจและ ความต้องการของแต่ละบุคคล ๒. ขนาดพื้นที่และสถานที่ตั้งห้องสมุด ห้องสมุดโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ มีขนาดพื้นที่ ๔ ห้องเรียน ตั้งอยู่ชั้นล่างของอาคาร ๓ ซึ่งเป็นอาคารเรียน ๔ ชั้น อยู่ศูนย์กลางของโรงเรียน ผู้รับบริการมีความสะดวกในการเข้าใช้บริการ ห้องสมุดโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ได้จัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศและครุภัณฑ์ของห้องสมุด โดยได้รับการออกแบบ ตกแต่งห้องอย่างมีระเบียบ สวยงาม ได้จัดแบ่งพื้นที่เป็นมุมต่างๆ เพื่อความสะดวกในการค้นคว้าและให้บริการแก่สมาชิก เช่น - มุมบริการยืม - คืนและบริการตอบคำถาม - มุมท่านพุทธทาส - มุมเฉลิมพระเกียรติ - มุมเจ้าฟ้านักอ่าน - มุมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง - มุมห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library) - มุมหนังสือทั่วไป - มุมหนังสืออ้างอิง - มุมเยาวชนและหนังสือสำหรับเด็ก - มุมนวนิยาย เรื่องสั้น - มุมวารสารและหนังสือพิมพ์ - มุมนิทรรศการแนะนำหนังสือใหม่ - มุมหนังสือสำหรับครู ๓. บุคลากรห้องสมุด ห้องสมุดโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ มีบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารงานให้บริการแก่สมาชิก และจัด กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จำนวน ๒ คน คือ ๑. หัวหน้างานห้องสมุด นางจิรารัตน์ อุณหศิริกุล ๒. บรรณารักษ์ห้องสมุด นางสาวนิตยาพร เนตรรุ่ง 3. คณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด (หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้) ๓. นักเรียนชุมนุมห้องสมุด จำนวน ๒๐ คน ๔. นักเรียนช่วยงานห้องสมุด จำนวน ๑๐ คน


4. บริการของห้องสมุด ๑. บริการยืม - คืน หนังสือโดยใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ๒. บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เข้าใช้งานได้ทางแอปพลิเคชั่น Bookdose Path และ www.bookdosepath.com สามารถชมคลิปวิดีโอ และคู่มือแนะนำวิธีการใช้งาน ทางหน้าเว็บไซต์โรงเรียน สุราษฎร์ธานี ๒ หรือทาง QR code ด้านล่างนี้ คู่มือและคลิปวิดีโอแนะนำการใช้งาน E-Book เข้าสู่เว็บไซต์ Bookdose path ช่องทางเข้าใช้ E-Book ผ่านทางหน้าเว็บไซต์โรงเรียน ๓. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด ๔. บริการวารสาร / หนังสือพิมพ์ สำหรับอ่านค้นคว้าในห้องสมุด ๕. บริการหนังสืออ้างอิงสำหรับอ่านค้นคว้าในห้องสมุด ๖. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ๗. บริการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ๘. บริการจุลสารและกฤตภาค ๙. บริการวารสารเย็บเล่ม ๑๐. บริการแนะนำหนังสือใหม่ ๑๑. บริการจัดนักเรียนเข้าใช้ห้องสมุดเป็นชั้นเรียน ๑๒. บริการมุมหนังสือในห้องเรียนเรียน และมุมห้องสมุดเคลื่อนที่ ตามอาคารเรียนต่าง ๆ 5. เวลาทำการของห้องสมุด ห้องสมุดเปิดทำการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.


6. ข้อควรปฏิบัติในการใช้ห้องสมุด ๑. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ๒. สแกนลายนิ้วมือในการเข้าใช้บริการทุกครั้ง ๓. สำรวมและไม่ส่งเสียงดังในห้องสมุดเนื่องจากอาจรบกวนสมาชิกท่านอื่นได้ ๔. ห้ามนำอาหาร ของขบเคี้ยว และเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามาในห้องสมุด ๕. วางกระเป๋าหนังสือหรือสัมภาระต่าง ๆ ไว้ที่ชั้นวางสัมภาระที่ทางห้องสมุดจัดเตรียมไว้ ๖. เมื่อลุกจากเก้าอี้ควรเลื่อนเก้าอี้เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย ๗. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วให้นักเรียนวางหนังสือเหล่านั้นไว้ในที่พักหนังสือที่ทางห้องสมุดจัดเตรียมไว้ ๘. ไม่ฉีก ขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายใด ๆลงในหนังสือ เอกสารและสิ่งพิมพ์ทุกชนิดของห้องสมุด ๙. ไม่นำหนังสือวารสารหรือหนังสือพิมพ์ออกจากห้องสมุดโดยไม่ได้รับอนุญาต ๑๐. ไม่ใช้ห้องสมุดเป็นสถานที่หลับนอน และนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ ๑๑. ไม่กระทำการใด ๆอันเป็นการทำลายทรัพย์สมบัติของห้องสมุด ๑๒. ต้องให้เจ้าหน้าที่ตรวจหนังสือ เอกสาร หรือสิ่งของก่อนออกจากห้องสมุด ๑๓. ต้องดูแล ระมัดระวังทรัพย์สินส่วนตัว หากสูญหายห้องสมุดจะไม่รับผิดชอบ ๑๔. การเข้าใช้ห้องสมุดเวลาเรียน ให้ครูประจำวิชาติดต่อบรรณารักษ์ เพื่อนำนักเรียนเข้าใช้และกำกับ ดูแลนักเรียนด้วย ๑๕. ให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลบุคคลที่มีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจและแจ้งบรรณารักษ์ ๑๖ เมื่อมีปัญหาในการใช้ห้องสมุด สามารถสอบถามได้ที่ครูบรรณารักษ์ 7. ระเบียบการยืมหนังสือและสื่อห้องสมุด ๑. แสกนลายนิ้วมือหรือแสดงบัตรนักเรียนของตนเองในการยืม ๒. ห้ามนำบัตรผู้อื่นมายืมหนังสือหรือสื่อต่างๆ ๓. หนังสือทั่วไปยืมไว้ในครอบครองได้ไม่เกิน ๓ เล่มในเวลา ๗ วัน ๔. หนังสือที่ยืมไปแล้วอ่านยังไม่จบสามารถยืมต่อได้อีก ๒ ครั้ง ๕. สำหรับครูที่ยืมหนังสือประกอบการสอนยืมได้ครั้งละ ๕ เล่ม ในเวลา ๑๔ วัน ๖. หนังสือจองยืมได้ไม่เกิน ๑ เล่ม ภายในเวลา ๑ คืน โดยอนุญาตให้ยืมตั้งแต่ เวลา ๑๕.๐๐น. และ ส่งวันรุ่งขึ้นไม่เกินเวลา ๐๙.๐๐ น. ๗. การยืมสื่อ ซีดี วิดีโอ ยืมได้ครั้งละไม่เกิน ๓ ชิ้น ในเวลา ๗ วัน ๘. เมื่อบันทึกการยืมแล้ว ให้ประทับวันกำหนดส่งในบัตรกำหนดส่งด้านหลังของหนังสือ ๙. หนังสืออ้างอิงไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด หากนักเรียนคนใดต้องการยืมต้องขออนุญาตจาก เจ้าหน้าที่เป็นกรณีพิเศษ ๑๐. การยืมหนังสือช่วงปิดภาคเรียนที่ ๑ นักเรียนสามารถยืมได้ในวันสอบวันสุดท้ายของภาคเรียน จำนวนไม่เกิน ๑๐ เล่ม และนำส่งวันเปิดภาคเรียนถัดไป 8. ระเบียบการใช้ห้องสมุดเพื่อประกอบการเรียนการสอน ๑. ครูประจำวิชาต้องจองล่วงหน้าก่อน ๑ วัน ๒. ครูประจำวิชาต้องควบคุมนักเรียนด้วยตนเอง ๓. หากวัสดุ ครุภัณฑ์ห้องสมุดเสียหาย ชำรุดจะต้องรับผิดชอบให้เหมือนเดิม ๔. ใช้บริการห้องสมุดโดยใช้กฎระเบียบของห้องสมุดอย่างเคร่งครัด ๕. บริการใช้ห้องสมุดระหว่างคาบเรียนได้ไม่เกิน ๒ ห้องเรียนในคาบนั้นๆ ๖. นักเรียนคนใดฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับของห้องสมุด บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ลงโทษนักเรียนได้


๙. ระเบียบการคืนหนังสือและสื่อห้องสมุด ๑. ส่งหนังสือหรือสื่อคืนบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกการคืนภายในวันที่กำหนดส่ง ๒. หากคืนช้ากว่ากำหนด จะต้องเสียค่าปรับวันละ ๑ บาทต่อหนังสือ ๑ เล่ม ๓. หากทำหนังสือสูญหายจะต้องซื้อหนังสือมาชดเชยหรือหนังสือในหมวดเดียวกันราคาไม่ต่ำกว่าเล่ม ที่หาย หรือถ้าหนังสือชำรุดต้องชดใช้ค่าเสียหายตามความเหมาะสม ๑๐. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ๑. ขออนุญาตก่อนใช้เครื่องโดยการเขียนลงในสมุดบันทึกการเข้าใช้คอมพิวเตอร์ ๒. ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น ๓. ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยความระมัดระวังไม่ทำให้เครื่องชำรุดเสียหาย ๔. ไม่อนุญาตให้นำเกมหรือโปรแกรมอื่นมาใช้ หากจำเป็นต้องขออนุญาต ๕. ไม่ปรับแต่งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต หากเกิดความเสียหายจะต้องรับผิดชอบ ๖. ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูลเท่านั้น หากใช้ผิดวัตถุประสงค์จะตัดสิทธิ์การใช้เป็นเวลา ๑ สัปดาห์


งานแนะแนว การแนะแนว คือ กระบวนการที่ช่วยให้บุคคลรู้จักและเข้าใจตนเอง ยอมรับและเห็นคุณค่าของตัวเอง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง รวมทั้ง สามารถพัฒนาตนเองให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข บริการหลักของงานแนะแนว ตามหลักของการแนะแนว แบ่งบริการเป็น 5 บริการ คือ ๑. บริการรวบรวมข้อมูลและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน งานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ครูแนะแนว ดำเนินการ ได้แก่ การให้นักเรียนกรอกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตนเอง และบางกรณีใช้การสัมภาษณ์ เพื่อเก็บข้อมูล แล้วนำมารวบรวมไว้อย่างปลอดภัย โดยจะนำข้อมูลมาใช้ในกรณีการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การแก้ปัญหาต่างๆ การสงเคราะห์เบื้องต้น ฯลฯ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับนักเรียนที่ต้องการบริการนี้ คือ ให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตัวนักเรียนแก่ครูแนะแนว ตรงกับความเป็นจริง ในกรณีที่ให้นักเรียนกรอกแบบสอบถามและแบบสำรวจต่างๆ ขอให้ส่งตรงตามเวลาที่ กำหนด ๒. บริการสนเทศ เป็นบริการจัดหา รวบรวม และเสนอข้อมูลต่างๆ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการวางแผนดำเนินชีวิต มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตทุกสาขาและช่วยในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษา การประกอบอาชีพ และการปรับปรุงพฤติกรรมของตนเอง และสังคมอย่างฉลาด รูปแบบของการนำเสนอข้อสนเทศเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม มีทั้งข้อสนเทศภายในและภายนอกโรงเรียน เช่น การจัดกิจกรรมโฮมรูม การปฐมนิเทศ การจัดงานวันอาชีพ การจัดวันศึกษาต่อ ทัศนศึกษา การจัดกิจกรรมใน วิชากิจกรรมแนะแนว เสียงตามสาย การบรรยายของวิทยากร การจัดป้ายนิเทศ การประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ผ่านแฟนเพจ Facebook “งานแนะแนวโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒” ข้อปฏิบัติสำหรับนักเรียนเกี่ยวกับบริการนี้ คือ ติดตามข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ที่ครูแนะแนว นำเสนอในรูปแบบต่างๆ เมื่อรับทราบข้อมูลแล้วแต่ยังไม่เข้าใจชัดแจ้ง ให้ไปติดต่อสอบถามกับครูแนะแนว โดยตรง ๓. บริการให้คำปรึกษา เป็นบริการที่ใช้การสนทนากันระหว่างครูแนะแนว (ผู้ให้คำปรึกษา) กับ นักเรียน (ผู้รับคำปรึกษา) จุดหมายของการให้คำปรึกษาคือการช่วยเหลือให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ ตนเอง เข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น รู้ช่องทางในการแก้ปัญหา และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางในการ แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ข้อปฏิบัติสำหรับนักเรียนเกี่ยวกับบริการนี้ คือ เมื่อนักเรียนเกิดความกังวล ไม่สบายใจ ตัดสินใจ ในบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ ยังไม่เห็นช่องทางแก้ปัญหา หรือต้องการจะปรึกษากับผู้ที่ไว้ใจได้ ขอให้ไปพบครูแนะแนว ที่ห้องแนะแนว เพื่อปรึกษาพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เสนอแนวคิดต่างๆ เพื่อเป็น แนวทางให้นักเรียนนำไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น หรือถ้านักเรียนไม่สะดวก มาพบครูแนะแนวก็สามารถเข้ามาขอคำปรึกษาในเพจ Facebook “Searchlight” โดยในเพจจะมีนักเรียน จิตอาสาร่วมช่วยเหลือและให้เขาปรึกษาด้วย


๔. บริการจัดวางตัวบุคคล เป็นบริการที่ช่วยให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ ได้รับการฝึกฝน ได้รับการสนับสนุนทางการศึกษา เช่น ทุนการศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และได้รับบริการ ต่างๆ ตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี ข้อปฏิบัติสำหรับนักเรียนเกี่ยวกับบริการนี้ คือ ในกรณีที่มีการสำรวจความสนใจสำรวจข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการจัดวางตัวบุคคล หรือช่วยเหลือนักเรียน ขอให้นักเรียนให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง ๕. บริการติดตามและประเมินผล เป็นบริการตรวจสอบและดำเนินงานต่าง ๆ ที่ได้จัดทำไปแล้ว ว่ามีผลอย่างไร เมื่อทราบผลการปฏิบัติงานแล้ว ในขั้นต่อไปจะได้นำข้อมูลที่ได้จากการติดตามและประเมินผล มาพิจารณาร่วมกันเพื่อปรับปรุงและพัฒนาในลำดับต่อไป เช่น การติดตามผลการศึกษาต่อของนักเรียนที่จบม.3 และม.6 ข้อปฏิบัติสำหรับนักเรียนเกี่ยวกับบริการนี้ คือ ในกรณีที่นักเรียนได้รับแบบสอบถามหรือแบบสำรวจ เกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลงานหรือกิจกรรมต่างๆ ขอให้นักเรียนให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริงและส่งคืน กลับมายังครูแนะแนวตามวัน เวลาที่กำหนด กิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นในสถานศึกษาทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนนั้น ดังนี้ ๑. กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 โดยจัดทั้งในคาบแนะแนวและนอกเหนือเวลาเรียน ๒. กิจกรรมแนะแนวอาชีพ ทั้งช่องทางออนไลน์และออนไซต์ โดยมีวิทยากรที่เป็นศิษย์เก่าและเป็น ผู้เชี่ยวชาญหรือประกอบอาชีพต่างๆ โดยตรงมาบรรยายและสร้างแรงบันดาลใจเตรียมตัวสู่อาชีพตามที่นักเรียน สนใจเพื่อให้นักเรียนสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ด้วยความรอบคอบและเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ๓. กิจกรรมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จัดให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้ไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ต่าง ๆ ในช่วงปิดภาคเรียน เพื่อเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ในการประกอบอาชีพในสถาน ประกอบการจริง อีกทั้งยังสามารถนำใบรับรองจากการผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพไปใช้ในการ เข้ามหาวิทยาลัยในรอบ Portfolio Facebook : งานแนะแนว โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ เพจ Searchlight รับฟังปัญหาจากเพื่อน ๆ


ทุนการศึกษา โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ได้จัดบริการทุนการศึกษาให้กับนักเรียนอย่างหลากหลายตามวัตถุประสงค์ของ การมอบทุนการศึกษา ดังต่อไปนี้ ๑. ทุนสำหรับนักเรียนที่มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ (ทุน ญสส.) ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งได้รับเงินทุนจากดอกผลเงินกองทุนถาวรของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จากการบริจาคของผู้มีอุปการะคุณ คุณสมบัติ ๑. เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ๒. มีความประพฤติเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มีนิสัยและการประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย ๓. บิดามารดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย ๒. ทุนช้างเผือก (ทุนละ ๓,๐๐๐ บาท/ปีการศึกษา) เป็นโครงการคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประเภทนักเรียน ม.3 เดิม โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ มีผลการเรียน 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 3.50 ลำดับที่ 1 – 30 มีความประสงค์ ที่จะศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยไม่สมัครที่โรงเรียนอื่นเลย เงื่อนไขการรักษาทุนการศึกษา ต้องมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.50 จะได้รับทุนการศึกษาภาคเรียนละ 1,500 บาท จนกว่าจะจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ทั้งนี้ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยทุกภาคเรียนไม่ต่ำกว่า 3.50 หากนักเรียนมีผลการเรียนในภาคเรียนใดต่ำกว่า 3.50 ถือว่าขาดคุณสมบัติในการรับทุนช้างเผือก ๓. ทุนช้างเผือกประกายเพชร ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นโครงการคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โครงการ ห้องเรียนพิเศษ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ คุณสมบัติ ๑. นักเรียนที่มีผลการเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๕ ไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ และสอบคัดเลือก เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โดยใช้แบบทดสอบโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ และ อยู่ในลำดับที่ ๑ - ๒๐ ๒. ผลการเรียนไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จะได้รับทุนการศึกษาเป็นค่าบำรุงการศึกษาโครงการห้องเรียน พิเศษภาคเรียนละ ๖,๐๐๐ บาท จนกว่าจะจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ แต่ทั้งนี้ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยทุกภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หากนักเรียนมีผลการเรียนในภาคเรียนใดต่ำกว่า ๓.๕๐ จะต้องจ่ายค่าบำรุงการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นโครงการคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โครงการ ห้องเรียนพิเศษ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ คุณสมบัติ นักเรียนมีผลการเรียน 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 3.50 และสอบคัดเลือกเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยใช้แบบทดสอบโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และอยู่ในลำดับที่ 1-5 ของ แต่ละแผนการเรียน โดยนักเรียนต้องรักษาผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.75 จะได้รับทุนการศึกษาเป็นค่าบำรุง การศึกษา โครงการห้องเรียนพิเศษภาคเรียนละ 6,000 บาท จนกว่าจะจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ทั้งนี้ต้องมี ผลการเรียนเฉลี่ยทุกภาคเรียนไม่ต่ำกว่า 3.75 หากนักเรียนมีผลการเรียนในภาคเรียนใดต่ำกว่า 3.75 จะต้อง จ่ายค่าบำรุงการศึกษา


๔. เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน (สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ทุนละ ๑,๕๐๐ บาท/ภาคเรียน) คุณสมบัติ ๑. เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ๒. มีความประพฤติเรียบร้อย ๓. บิดามารดาหรือผู้ปกครองเป็นผู้มีรายได้น้อย ๕. เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนพิเศษ (เฉพาะนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ทุนละ ๑,๕๐๐ บาท/ภาคเรียน) คุณสมบัติ ๑. เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ๒. บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน ไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท/เดือน ๖. ทุนช่วยเพื่อนเดือนละบาท (ทุนละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นประจำทุกเดือน) คุณสมบัติ ๑. เป็นนักเรียนที่มีความประพฤติดี มีจิตสาธารณะ ๒. บิดามารดาหรือผู้ปกครองเป็นผู้มีรายได้น้อย หรือขาดแคลนทุนทรัพย์ ๗. ทุนการศึกษาจากองค์กรภายนอก คุณสมบัติ ๑. มีความประพฤติเรียบร้อย มีนิสัยและการประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ๒. มีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ ๓. บิดามารดาหรือผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย ๘. ทุนการศึกษาอื่น ๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธามอบให้ในแต่ละปีการศึกษานั้น ๆ คุณสมบัติทั่วไป 1. มีความประพฤติเรียบร้อย มีนิสัยและการประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย ตั้งใจเรียน 2. มีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75 3. บิดามารดาหรือผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย 4. มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงตามที่เจ้าของทุนการศึกษาประสงค์ หมายเหตุ นักเรียนสามารถขอรับแบบฟอร์มสมัครขอรับทุนการศึกษาได้ที่ครูที่ปรึกษาหรือครูแนะแนวได้ที่ ห้องแนะแนว


กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน คณะกรรมการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน 1. นางเอกอนงค์ ทรัพย์ยืนนาน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน 2. นางเยาวภัค ทองชะอม หัวหน้ากลุ่มบริหารกิจการนักเรียน/ หัวหน้าส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 3. นางดรุณี ลาศรีทัศน์ หัวหน้างานสำนักงานกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน/ หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ 4. นางสาวสมบูรณ์ จินตุลา หัวหน้างานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ 5. นางสาวนันท์นภัส ยิ้มย่อง หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 6. นายพลกฤษ ตาลประสิทธิ์ หัวหน้างานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด / หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ 7. นายพนัส นภบุตร์ หัวหน้างานเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน 8. นางสาวนันทิยา บุญศรีนุ้ย หัวหน้างานสมาคมผู้ปกครองและครูฯ 9. นายวัชรินทร์ แก้วประเทศ หัวหน้างานส่งเสริมวินัยจราจร / หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ 10. นายวุฒิชัย พูลสวัสดิ์ หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ 11. นายเรวัตร นรนวล หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 12. นางสาวผกามาศ เฟื่องฟู หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ 13. ว่าที่ร้อยตรีชาคริต เพ็ชระ หัวหน้างานบัตรประจำตัวนักเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 14. นางสาวธัญธิตา เมฆลัย เจ้าหน้าที่งานสมาคมผู้ปกครองและครูฯ 15. นางวัฒณี พันธ์พิพัฒไพบูลย์ เจ้าหน้าที่งานส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 16. นางสาวสลิน พฤกษ์เสนา เจ้าหน้าที่งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด(ทูบีนัมเบอร์วัน) 17. นางขนิษฐา บากบั่น เจ้าหน้าที่งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (แนะแนว) 18. นางสาวสุดารัตน์ กลิ่นเพ็ชร เจ้าหน้าที่งานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ 19. นางสาววิลัยพร ชัยชนะ เจ้าหน้าที่งานบัตรประจำตัวนักเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 20. นางสาวพิมพ์ประภา พินชู เจ้าหน้าที่สำนักงานกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน


จุดมุ่งหมายของระเบียบข้อบังคับ สำหรับนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในสังคม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดี เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันตามหลักประชาธิปไตย เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความภาคภูมิใจในเกียรติ ศักดิ์ศรีของตนเอง และเชิดชูเกียรติของสถาบัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในหลักการและเหตุผล ด้วยวิธีการแห่งปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี กลมเกลียว ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความกตัญญู รู้หน้าที่ มีจิตอาสา แก้ปัญหาเป็นระบบ


ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ …………………………………………………… อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พุทธศักราช ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบว่าการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยบทลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยบทลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถาบันศึกษา” หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อธิการบดี หรือหัวหน้าของโรงเรียน หรือสถานศึกษา หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของโรงเรียนหรือสถานศึกษานั้น “การกระทำผิด” หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของ สถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วยการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา “การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อการสั่งสอน ข้อ ๕ โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิดมี 4 สถาน ดังนี้ (๑) ว่ากล่าวตักเตือน (๒) ทำทัณฑ์บน (๓) ตัดคะแนนความประพฤติ (๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อ ๖ ห้ามลงโทษนักเรียนนักศึกษาด้วยวิธีการรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้งหรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการ ลงโทษ การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียน หรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับพฤติกรรมตนในทางที่ดีต่อไป ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้บริหารโรงเรียน หรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจ ในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา ข้อ ๗ การว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง ข้อ ๘ การทำทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียน หรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือกรณีทำให้เสื่อมเสียชื่อสียงและ เกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้วแต่ยังไม่เข็ดหลาบ การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิด และรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย ข้อ ๙ การตัดคะแนนความประพฤติให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤติ ของนักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถาบันที่กำหนด และให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน


ข้อ ๑๐ ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิด ที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและ วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


ระเบียบโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ว่าด้วยคณะกรรมการในการลงโทษนักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๔ …………………………………………………… เพื่อให้การควบคุมแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนมีหลักเกณฑ์การดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน สามารถปฏิบัติได้ เป็นแบบอย่างเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การดำเนินการควบคุม ดูแลความประพฤติของนักเรียน ในส่วนการดำเนินการป้องกัน ลงโทษหรือแก้ไขพฤติกรรม ความประพฤติที่ไม่เหมาะสม จึงขอวางระเบียบว่าด้วย คณะกรรมการในการลงโทษนักเรียน ไว้ดังนี้ ๑. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ว่าด้วยคณะกรรมการในการลงโทษนักเรียน พ.ศ. ๒๕๖๔” ๒. ให้ถือเป็นบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของครูและบุคลากรทุกคนที่ต้องมีหน้าที่ในการควบคุม อบรม พัฒนา และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน ๓. ให้มีคณะกรรมการพิจารณาวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกอบด้วย ๓.๑ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน ประธานกรรมการ ๓.๒ หัวหน้าระดับทุกระดับชั้น กรรมการ ๓.๓ ครูที่ปรึกษาประจำชั้นทุกระดับชั้น กรรมการ ๓.๔ ครูผู้สอน และบุคลากรทุกคน กรรมการ ๓.๕ หัวหน้ากลุ่มบริหารกิจการนักเรียน กรรมการและเลขานุการ 4. ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจ วินิจฉัย วิธีการดำเนินการของคณะกรรมการและคำวินิจฉัย ของผู้อำนวยการโรงเรียนถือเป็นข้อยุติ ๕. การกระทำการใดๆ ระหว่างสถานศึกษากับนักเรียน และผู้ปกครอง จะต้องบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์ อักษรทุกครั้ง ๖. สถานศึกษามอบหมายการลงโทษตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและ นักศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามความเหมาะสม ดังนี้ ๖.๑ มอบหมายให้ครูและบุคลากรทุกท่านว่ากล่าวตักเตือน คุมประพฤติ และบำเพ็ญประโยชน์ ก็ได้ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ๖.๒ มอบหมายให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนในการลงโทษ โดยการทำทัณฑ์บน และให้ดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วันทำการ ๖.๓ การให้นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามลักษณะความผิด ในกรณีการย้าย สถานศึกษา ให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนและคณะกรรมการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน ร่วมกับ คณะกรรมการเครือข่ายในระดับชั้นเรียนนั้นๆ ประชุมลงมติเสนอผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อลงความเห็นชอบ ๗. ผู้อำนวยการโรงเรียนมีสิทธิยับยั้ง ลด เพิ่ม การลงโทษทุกประเภท และทุกกรณีตามที่เห็นสมควร ๘. ให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ (นายประยงค์ อินนุพัฒน์) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒


Click to View FlipBook Version