แผนการจัดการเรียนรู้ รหัสวิชา ว32244 รายวิชา ชีววิทยา 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชื่อ นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนสักงามวิทยา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำอธิบายรายวิชาจุดประสงค์การเรียนรู้การวัดผลประเมินผลโรงเรียนสักงามวิทยา สพม.41 ชื่อผู้สอน : นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์ รหัสวิชา : ว32244 วิชา ชีววิทยา4 จำนวน 1.5 หน่วยกิต จำนวน 3 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วิชา พื้นฐาน เพิ่มเติม คำอธิบายรายวิชา ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างและกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหารสัตว์ที่มีทางเดินอาหาร แบบไม่สมบูรณ์ สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ การกินอาหารของไฮดราและพลานาเรีย โครงสร้าง หน้าที่ กระบวนการย่อยอาหาร การดูดซึม สารอาหารภายในระบบย่อยอาหารของมนุษย์ โครงสร้างที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยน แก๊สของฟองน้ำ ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แมลง ปลา กบ และ นก โครงสร้างของปอดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โครงสร้างที่ใช้ในการแลกการเปลี่ยนแก๊ส กระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ การทำงานของปอด การวัด ปริมาตรของอากาศในการหายใจออกของมนุษย์ ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด ทิศ ทางการไหลของเลือด การเคลื่อนที่ของเซลล์เม็ดเลือดในหางปลา ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดหลอดเลือดกับ ความเร็วในการไหลของเลือด โครงสร้างและการทำงานของหัวใจ หลอดเลือดในมนุษย์ โครงสร้างหัวใจของสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนม ทิศทางการไหลของเลือดผ่านหัวใจของมนุษย์ เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เพลตเลต พลาสมา หมู่เลือด หลักการให้และรับเลือดในระบบ ABO และ Rh ส่วนประกอบและหน้าที่ของน้ำเหลือง หลอดน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลือง กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะและแบบจำเพาะ การสร้างภูมิคุ้มกัน ก่อเองและภูมิคุ้มกันรับมา ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดเอดส์ ภูมิแพ้ การสร้างภูมิต้านทานต่อ เนื้อเยื่อตนเอง โครงสร้างและหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายของฟองน้ำ ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แมลง และสัตว์มีกระดูกสันหลัง โครงสร้างและหน้าที่ของไต โครงสร้างที่ใช้ลำเลียงปัสสาวะออกจากร่างกาย กลไก การทำงานของหน่วยไตในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย การกำจัดของเสียออกจากร่างกายโดยหน่วยไต และ ความผิดปกติของไตอันเนื่องมาจากโรคต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้น ข้อมูลบันทึก จัดกลุ่มข้อมูล และอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรีย นรู้ มี ความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรม และ ค่านิยมที่เหมาะสม
ผลการเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างและกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ที่ ไม่มีทางเดินอาหาร สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ และสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ 2. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้าง ที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สของฟองน้ำ ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แมลง ปลา กบ และ นก 3. สังเกต และ อธิบายโครงสร้างของปอดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิดและระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด 5. อธิบายโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดในมนุษย์ 6. สืบค้นข้อมูล ระบุความแตกต่างของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาวเพลตเลตและพลาสมา 7. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบกลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะและแบบ จำเพาะ 8. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบการสร้างภูมิคุ้มกันก่อเองและภูมิคุ้มกันรับมา 9. อธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของไต และโครงสร้างที่ใช้ลำเลียงปัสสาวะออกจากร่างกาย 10. อธิบายกลไกการทำงานของหน่วยไต ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย และเขียนแผนผังสรุปขั้นตอนการ กำจัดของเสียออกจากร่างกายโดยหน่วยไต รวมทั้งหมด 10 ผลการเรียนรู้
โครงสร้างรายวิชาเพิ่มเติม ว32244 ชีววิทยา 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 เวลาเรียน 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต ที่ ชื่อหน่วย การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 1 ระบบย่อย อาหาร 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และ เปรียบเทียบโครงสร้าง และ กระบวน การย่อยอาหารของ สัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบ ไม่สมบูรณ์และสัตว์ที่มี ทางเดินอาหาร แบบสมบูรณ์ • รา มีการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อย อาหารนอกเซลล์ส่วนอะมีบาและ พารามีเซียมมีการย่อยอาหารภายใน ฟูดแวคิวโอลโดยเอนไซม์ในไลโซโซม • ฟองน้ำ ไม่มีทางเดินอาหารแต่จะมี เซลล์พิเศษทำหน้าที่จับอาหารเข้าสู่ เซลล์แล้วย่อยภายในเซลล์โดย เอนไซม์ในไลโซโซม • ไส้เดือนดิน แมลง สัตว์ไม่มีกระดูก สันหลังส่วนใหญ่และสัตว์มีกระดูกสัน หลังจะมีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ 3 2 • ไฮดรา และพลานาเรีย มีทาง เดิน อาหารแบบไม่สมบูรณ์จะกินอาหาร และขับกากอาหารออกทางเดียวกัน 1 1 • การย่อยอาหารของมนุษย์ ประกอบด้วยการย่อยเชิงกล โดย การบดอาหารให้มีขนาดเล็กลง และ การย่อยทางเคมีโดยอาศัยเอนไซม์ใน ทางเดินอาหาร ทำให้โมเลกุลของ อาหารมีขนาดเล็กจนเซลล์สามารถ ดูดซึมและนำไปใช้ได้ • การย่อยอาหารของมนุษย์เกิดขึ้นที่ ช่องปากกระเพาะอาหาร และลำไส้ เล็ก • สารอาหารที่ย่อยแล้ว วิตามินบาง ชนิด และธาตุอาหารจะถูกดูดซึมที่ วิลลัสเข้าสู่หลอดเลือดฝอยแล้วผ่าน ตับก่อนเข้าสู่หัวใจ ส่วนสารอาหาร ประเภทลิพิดและวิตามินที่ละลายใน ไขมันจะถูกดูดซึมเข้าสู่หลอด น้ำเหลืองฝอย • อาหารที่ไม่ถูกย่อยหรือย่อยไม่ได้จะ เคลื่อนต่อไปยังลำไส้ใหญ่ น้ำ ธาตุ 5 4
ที่ ชื่อหน่วย การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน อาหาร และวิตามินบางส่วนดูดซึมเข้า สู่ผนังลำไส้ใหญ่ ที่เหลือเป็นกาก อาหารจะถูกกำจัดออกทางทวารหนัก 2 ระบบหายใจ 2. สืบค้นข้อมูล อธิบายและ เปรียบเทียบ โครงสร้างที่ทำ หน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สของ ฟองน้ำ ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แมลง ปลา กบ และนก • ไส้เดือนดินมีการแลกเปลี่ยนแก๊ส ผ่านเซลล์บริเวณผิวหนังที่เปียกชื้น • แมลงมีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยผ่าน ทางท่อลมซึ่งแตกแขนงเป็นท่อลม ฝอย • ปลาเป็นสัตว์น้ำมีการแลก เปลี่ยน แก๊สที่ละลายอยู่ในน้ำผ่านเหงือก • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกใช้ปอด และผิวหนังในการแลกเปลี่ยนแก๊ส 6 5 • สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอาศัยปอดในการ แลกเปลี่ยนแก๊ส 1 1 • ทางเดินหายใจของมนุษย์ ประกอบด้วย ช่องจมูกโพรงจมูก คอ หอย กล่องเสียง ท่อลม หลอดลม และถุงลมในปอด 1 1 • ปอดเป็นบริเวณที่มีการแลก เปลี่ยน แก๊สระหว่างถุงลมกับหลอดเลือดฝอย และบริเวณเซลล์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ มี การแลก เปลี่ยนแก๊ส โดยการแพร่ ผ่าน หลอดเลือดฝอยเช่นกัน • การหายใจเข้าและการหายใจออก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดัน ของอากาศภายในปอดโดยการ ทำงานร่วมกันของกล้าม เนื้อกะบัง ลมและกล้ามเนื้อระหว่างกระดูก ซี่โครง และควบคุมโดยสมองส่วน พอนส์และ เมดัลลาออบลองกาตา 4 3 3 ระบบ หมุนเวียน เลือด 3.สังเกต และอธิบาย โครงสร้างหัวใจของสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยน้ำนม • ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิดพบ ในสัตว์จำพวกหอย แมลง กุ้ง ส่วน ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิดพบใน ไส้เดือนดินและสัตว์มีกระดูกสันหลัง • สัตว์ที่มีโครงสร้างร่างกายซับซ้อน จะมีการลำเลียงสารโดยระบบ 4 3
ที่ ชื่อหน่วย การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน หมุนเวียนเลือดซึ่งประกอบ ด้วย หัวใจ หลอดเลือด และเลือด 4. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบระบบ หมุนเวียนเลือดแบบเปิดและ ระบบหมุนเวียนเลือดแบบ ปิด •• ระบบหมุนเวียนเลือดมี2 แบบ คือ ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิดและ ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด 4 3 • ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ ประกอบด้วยหัวใจ หลอดเลือด และ เลือด ซึ่งเลือดไหลเวียนอยู่เฉพาะใน หลอดเลือด 2 2 5.อธิบายโครงสร้างและการ ทำงานของหัวใจ และหลอด เลือดในมนุษย์ • หัวใจมีเอเตรียมทำหน้าที่รับเลือด เข้าสู่หัวใจ และเวนตริเคิลทำหน้าที่ สูบฉีดเลือดออกจากหัวใจโดยมีลิ้นกั้น ระหว่างเอเตรียม กับเวนตริเคิลและ ระหว่างเวนตริเคิลกับหลอดเลือดที่ นำเลือดออกจากหัวใจ • เลือดออกจากหัวใจทางหลอดเลือด เอออตาร์ อาร์เตอรีอาร์เตอริโอล หลอดเลือดฝอย เวนูล เวน และ เวนาคาวา แล้วเข้าสู่หัวใจ • ขณะที่หัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดทำให้ เกิดความดันเลือดและชีพจร สภาพ การทำงานของร่างกาย อายุและเพศ ของมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความ ดันเลือดและชีพจร ๔ ๓ 6.สืบค้นข้อมูล ระบุความ แตกต่างของเซลล์เม็ดเลือด แดง เซลล์เม็ดเลือดขาวเพลต เลตและพลาสมา • เลือดมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์เม็ด เลือดชนิดต่าง ๆ เพลตเลต และ พลาสมา ซึ่งทำหน้าที่แตก ต่างกัน 4 4 • หมู่เลือดของมนุษย์จำแนกตาม ระบบ ABO ได้เป็นเลือดหมู่A B AB และ O ซึ่งเรียกชื่อตามชนิดของ แอนติเจนที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง และจำแนกตามระบบ Rh ได้เป็น เลือดหมู่Rh+ และRh- การให้และรับ เลือดมีหลักว่า แอนติเจนของผู้ให้ต้อง 4 3
ที่ ชื่อหน่วย การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน ไม่ตรงกับแอนติบอดีของผู้รับ และ การให้และรับเลือดที่เหมาะสมที่สุด คือ ผู้ให้และผู้รับควรมีเลือดหมู่ ตรงกัน 4. ระบบ น้ำเหลืองและ ระบบ ภูมิคุ้มกัน 7. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และ เปรียบเทียบกลไกการ ต่อต้านหรือทำลายสิ่ง แปลกปลอมแบบไม่จำเพาะ และแบบจำเพาะ • กลไกที่ร่างกายต่อต้านหรือทำลาย สิ่งแปลกปลอมมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบ จำเพาะและแบบไม่จำเพาะ • ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ ที่ผิวหนังช่วย ป้องกันและยับยั้งการเจริญของ จุลินทรีย์บางชนิด และเมื่อ เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลและ โมโนไซต์จะมีการต่อต้านและทำลาย สิ่งแปลก ปลอมโดยกระบวนการฟา โกไซโทซิส ส่วนอีโอซิโนฟิลเกี่ยวข้อง กับการทำลายปรสิต เบโซฟิลเกี่ยว ข้องกับปฏิกิริยาการแพ้ซึ่งเป็นการ ต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอม แบบไม่จำเพาะ • การต่อต้านหรือทำลายสิ่ง แปลกปลอมแบบจำเพาะจะเกี่ยวข้อง กับการทำงานของลิมโฟไซต์ชนิด เซลล์บีและเซลล์ที • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและ ตอบสนองของลิมโฟไซต์ ประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง ทอนซิล ม้าม ไทมัส และเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่ ผนังลำไส้เล็ก 3 3 8. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และ เปรียบเทียบการสร้าง ภูมิคุ้มกันก่อเองและ ภูมิคุ้มกันรับมา • การสร้างภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะของ ร่างกาย มี ๒ แบบ คือ ภูมิคุ้มกันก่อ เองและภูมิคุ้มกันรับมา • การได้รับวัคซีนหรือทอกซอยด์เป็น ตัวอย่างของภูมิคุ้มกันก่อเอง โดยการ กระตุ้นให้ร่างกายสร้าง ภูมิคุ้มกันขึ้น ด้วยวิธีการให้สารที่เป็นแอนติเจนเข้า สู่ร่างกาย ส่วนภูมิคุ้มกันรับมาเป็น 2 2
ที่ ชื่อหน่วย การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน การรับแอนติ บอดีโดยตรง เช่น การ ได้รับซีรัมการได้รับน้ำนมแม่ • เอดส์ภูมิแพ้และการสร้างภูมิ ต้านทานต่อเนื้อเยื่อตนเอง เป็น ตัวอย่างของอาการที่เกิดจากระบบ ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำงาน ผิดปกติ 1 1 5 ระบบขับถ่าย 9. อธิบายโครงสร้างและ หน้าที่ของไต และโครงสร้าง ที่ใช้ลำเลียงปัสสาวะออกจาก ร่างกาย • ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยว กับ การขับถ่ายและรักษาดุลยภาพของน้ำ และแร่ธาตุในร่างกาย • ไตประกอบด้วยบริเวณส่วนนอก ที่ เรียกว่าคอร์เท็กซ์และบริเวณส่วนใน ที่เรียกว่า เมดัลลาและบริเวณส่วน ปลายของเมดัลลาจะยื่นเข้าไปจรด กับส่วนที่เป็นโพรงเรียกว่า กรวยไต โดยกรวยไตจะต่อกับท่อไตซึ่งทำ หน้าที่ลำเลียงปัสสาวะไปเก็บไว้ที่ กระเพาะปัสสาวะเพื่อขับถ่ายออก นอกร่างกาย • ไตแต่ละข้างของมนุษย์ประกอบ ด้วยหน่วยไตลักษณะเป็นท่อ ปลาย ข้างหนึ่งเป็นรูปถ้วยเรียกว่า โบว์ แมนส์แคปซูลล้อม รอบกลุ่มหลอด เลือดฝอยที่เรียกว่า โกลเมอรูลัส 6 6 10. อธิบายกลไกการทำงาน ของหน่วยไต ในการกำจัด ของเสียออกจากร่างกาย และเขียนแผนผังสรุปขั้นตอน การกำจัดของเสียออกจาก ร่างกายโดยหน่วยไต • กลไกในการกำจัดของเสียออกจาก ร่างกายประกอบด้วยการกรอง การ ดูดกลับ และการหลั่ง สารที่เกินความ ต้องการออกจากร่างกาย 2 2 รวม 58 50 สอบกลางปี/ภาคเรียน 1 20 สอบปลายปี/ภาคเรียน 1 30 รวมตลอดภาคเรียน 60 100
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 1.ผลการเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สของฟองน้ำ ไฮดรา พลานา เรีย ไส้เดือนดิน แมลง ปลา กบ และนก 2. สังเกต และอธิบายโครงสร้างของปอดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 2. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด 1. อธิบายโครงสร้างที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์ได้ (K) 2. อธิบายโครงสร้างของปอดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมได้ (K) 3. เปรียบเทียบโครงสร้างที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์ต่าง ๆ ได้ (K) 4. ใช้เครื่องมือผ่าตัดในกิจกรรมได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย (P) 5. สนใจใฝ่รู้ในการเรียน (A) 3. สาระสำคัญ -สิ่งมีชีวิตต้องการพลังงานจากการสลายสารอาหารเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการสลาย สารอาหารส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้แก๊สออกซิเจน ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงต้องมีการหายใจเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดร์ออกไซด์กับสิ่งแวดล้อม 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการสังเกต 2) ทักษะการสำรวจค้นหา 3) ทักษะการทดลอง 4) ทักษะการตีความหมายและการลงข้อสรุป 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ รายวิชา ชีววิทยา 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบหายใจ เรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์ เวลา 3 ชั่วโมง ผู้สอน นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์ โรงเรียนสักงามวิทยา
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รักความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ 6. จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 6.1 ความสามารถและทักษะ (ม.ต้น) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 6.2 ความสามารถและทักษะ (ม.ปลาย) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 7. สาระการเรียนรู้สู่การบูรณาการ การเรียนรู้สู่ ASEAN หลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยม 12 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้................................................................................................... อื่น ๆ (ระบุ)............................................................................................................ 8. ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน /ร่องรอยแสดงความรู้) ใบงานที่ 1.1 เรื่อง โครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์ 9. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นนำ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 2. ครูให้นักเรียนทำ Understanding Check จากหนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ เพื่อตรวจสอบความ เข้าใจของตนเองก่อนเรียน 3. ครูถามคำถาม เพื่อกระตุ้นความสนใจของ นักเรียน โดยมีแนวคำถามดังนี้ • สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันจะมีโครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สเหมือนหรือแตกต่าง กัน อย่างไร ชั่วโมงที่ 1
(แนวตอบ: แตกต่างกัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีผลต่อปริมาณแก๊สออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการ ดำรงชีวิต ของสิ่งมีชีวิต ทำให้โครงสร้างที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดแตกต่างกันเพื่อความ เหมาะสมต่อปริมาณแก๊สออกซิเจนที่ได้รับ) • ทำไมเราต้องหายใจตลอดเวลา (แนวตอบ: เนื่องจากร่างกายต้องการแก๊สออกซิเจนไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ ซึ่งร่างกาย ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก และต้องกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ออกจากร่างกาย จึงต้องหายใจเข้าเพื่อนำแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและหายใจออกเพื่อกำจัด แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดเวลา) • การหายใจเข้าและออกมีกลไกอย่างไร (แนวตอบ: การหายใจเข้าและออกเป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงและ กล้ามเนื้อ กะบังลม ซึ่งจะมีการหดและคลายตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงปริมาตรและความดันในช่องอก เป็นผลให้เกิดการหายใจเข้าและออกจากร่างกาย) 5. ครูถามคำถาม เพื่อทบทวนความรู้เดิมกับ นักเรียนโดยมีแนวคำถามดังนี้ดังนี้ • แก๊สออกซิเจนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร (แนวตอบ: ร่างกายของสิ่งมีชีวิตต้องการแก๊สออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งแก๊ส ออกซิเจนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการสลายสารอาหารระดับเซลล์เพื่อสร้างพลังงานที่ใช้ในกระบวนการ ต่าง ๆ ของร่างกายสิ่งมีชีวิต) ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า “สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการพลังงานเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกาย โดยพลังงานได้จากการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องใช้แก๊สออกซิเจน สิ่งมีชีวิตจึงต้องนำ แก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสลายสารอาหารระดับเซลล์” 2. ให้นักเรียนศึกษา โครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา ยูกลีนา พารามี เซียม จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต หรือ หนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 3. จากนั้นครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า “สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างของร่างกายซับซ้อนขึ้นจะมีโครงสร้าง หรือ อวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สโดยเฉพาะ” 4. ครูให้นักเรียนศึกษาโครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของของสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ ฟองน้ำ ไฮดรา พลานาเรีย หอยสองฝา หมึก แม่เพรียง ไส้เดือนดิน แมงดาทะเล ปลิงทะเล แมงมุม แมลง ปลา กบ และนก 5. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า “สัตว์แต่ละชนิดจะมีโครงสร้าง หรืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สแตกต่าง กัน ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่และกิจกรรมของสัตว์แต่ละชนิดที่แตกต่างกัน” ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explain) 6. ครูทบทวนความรู้จากชั่วโมงที่แล้วให้นักเรียนทราบพอสังเขป 7. ครูทำสลากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งหมด 15 ใบ แล้วสุ่มเลือกนักเรียนออกมาจับสลาก ดังนี้ พารามีเซียม พลานาเรีย ไฮดรา หอยสองฝา หมึก แม่เพรียง ขั้นสอน ชั่วโมงที่ 2
ไส้เดือนดิน แมงดาทะเล ปลิงทะเล ปลา แมงมุม แมลง กบ นก สุนัข 8. ให้นักเรียนออกมาอธิบายการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตที่จับสลากได้ จากนั้นครูถามคำถาม นักเรียน โดยมีแนวคำถาม ดังนี้ • การแลกเปลี่ยนแก๊สของไฮดรา พลานาเรีย และไส้เดือนดินมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร (แนวตอบ: ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดินมีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยการแพร่เหมือนกัน โดยการ แลกเปลี่ยนแก๊สของไฮดราและพลานาเรียเป็นการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่ การแลกเปลี่ยนแก๊สของไส้เดือนดินจะเป็นการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างผิวหนังกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีระบบ หมุนเวียนเลือดช่วยลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย) • เพราะเหตุใด แมลงจึงไม่จำเป็นต้องมีระบบหมุนเวียนเลือดเป็นตัวนำแก๊สออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่ว ร่างกาย (แนวตอบ: เนื่องจากแมลงมีขนาดเล็ก และมีระบบท่อลมที่แตกแขนงไปทั่วร่างกาย ซึ่งสามารถนำแก๊ส ไปยัง เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายได้โดยตรง) • แก๊สออกซิเจนที่พบในน้ำมีเพียงร้อยละ 0.5 ปลาจะได้รับแก๊สออกซิเจนเพียงพอกับความต้องการของ ร่างกายอย่างไร (แนวตอบ: ปลาจะขยับแผ่นปิดเหงือกพร้อมกับการอ้าปาก ทำให้น้ำที่มีแก๊สออกซิเจนละลายอยู่เข้า ปาก และผ่านเหงือกได้ตลอดเวลา ปลาจึงได้รับแก๊สออกซิเจนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย) • กบมีการแลกเปลี่ยนแก๊สในระยะต่าง ๆ เหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร (แนวตอบ: กบในระยะลูกอ๊อดมีการแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านทางเหงือก แต่ในระยะตัวเต็มวัยมีการ แลกเปลี่ยน แก๊สผ่านทางปอดและผิวหนัง) • ถุงลมของนกมีส่วนช่วยในระบบหายใจอย่างไร (แนวตอบ: ถุงลมของนกทำหน้าที่สำรองอากาศไว้ใช้ในขณะบิน ซึ่งเมื่อหายใจเข้า อากาศจะผ่านท่อ ลมเข้า สู่ปอดและถุงลมส่วนหลัง ส่วนอากาศจากปอดจะไหลเข้าสู่ถุงลมส่วนหน้า แต่เมื่อหายใจออก อากาศจากถุง ลมส่วนหลังจะเข้าสู่ปอด ส่วนอากาศจากถุงลมส่วนหน้าจะถูกขับออกนอกร่างกาย) 9. ครูถามคำถาม ดังนี้ • โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตอย่างไร (แนวตอบ: ในน้ำมีแก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ปริมาณน้อยมาก และมีการแพร่ช้ามากเมื่อเทียบกับใน อากาศ สัตว์ที่อยู่ในน้ำจึงมีโครงสร้างสำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส คือ เหงือก ซึ่งมีลักษณะเป็น ซี่ ๆ เรียงกันเป็นแผงเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวที่สัมผัสกับแก๊สออกซิเจนในน้ำ และมีการไหวเวียนของน้ำผ่านเหงือก ตลอดเวลา ทำให้สัตว์น้ำได้รับแก๊สออกซิเจนอย่างเพียงพอ) • ลักษณะสำคัญของโครงสร้าง หรืออวัยวะที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิต ควรมีลักษณะ อย่างไร (แนวตอบ: โครงสร้าง หรืออวัยวะที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตจะต้องมีพื้นที่ผิวมาก ชุ่มชื้น และบางพอสำหรับการแลกเปลี่ยนแก๊สได้อย่างมีประสิทธิภาพ) 10. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับโครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งสัตว์แต่ละ ชนิด จะมีโครงสร้าง หรืออวัยวะในการแลกเปลี่ยนแก๊สที่แตกต่างกัน ดังนี้ - ฟองน้ำ ไฮดรา และพลานาเรียแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ - หอยสองฝาแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเหงือก (Gill)
- หมึกแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านไดบราเชียน (Dibranchiate) - แม่เพรียงแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านพาราโพเดีย (Parapodia) - ไส้เดือนดินแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านผิวหนัง (Skin) - แมงดาทะเลแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านแผงเหงือก (Book gill) - ปลิงทะเลแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเรสไพราทอรีทรี(Respiratory) - ปลาแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเหงือก (Gill) - แมงมุมแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านปอดแผง (Book lung) - แมลงแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านระบบท่อลม (Tracheal system) - กบแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเหงือก (ระยะลูกอ๊อด) (External gill) ปอดและผิวหนัง (ระยะตัวเต็มวัย) - นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านปอด (Lung) ( ชั่วโมง ที่ 3 ) ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explain) 11. ครูทบทวนความรู้จากชั่วโมงที่แล้วให้นักเรียนทราบพอสังเขป 12. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทำกิจกรรม โครงสร้างของปอดหมูเพื่อศึกษาโครงสร้าง ภายนอก และภายในของปอด และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปอดเมื่อมีอากาศเข้าสู่ปอด โดยมีรายละเอียดดังนี้ - สมาชิกคนที่ 1 : ทำหน้าที่เตรียมวัสดุอุปกรณ์กิจกรรมโครงสร้างของปอดหมู - สมาชิกคนที่ 2 : ทำหน้าที่อ่านวิธีการทำกิจกรรม และนำมาอธิบายให้สมาชิกภายในกลุ่มฟัง - สมาชิกคนที่ 3 : ทำหน้าที่บันทึกผลการทำกิจกรรม - สมาชิกคนที่ 4-5 : ทำหน้าที่นำเสนอผลที่ได้จากการทำกิจกรรม 13. ครูสุ่มเลือกนักเรียนอย่างน้อย 5 กลุ่ม ออกมานำเสนอผลการทำกิจกรรม โครงสร้างของปอดหมู จากนั้นครู ถามคำถาม โดยมีแนวคำถามดังนี้ • ปอดที่ศึกษามีลักษณะอย่างไร มีสีอะไร เพราะเหตุใด (แนวตอบ: ปอดมี 2 ข้าง ปอดขวามี 3 พู ปอดซ้ายมี 2 พู ซึ่งปอดซ้ายจะเล็กกว่าปอดขวา เนื่องจาก ด้านซ้ายมีหัวใจอยู่) • เมื่อให้นิ้วบีบท่อลมแล้วปล่อย ท่อลมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (แนวตอบ: ท่อลมจะกลับมาคงรูปเดิม) • เมื่อสูบลมเข้าไปในปอด ปอดจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (แนวตอบ: ปอดจะขยายตัว ทำให้มีปริมาตรเพิ่มขึ้น) • การจัดเรียงตัวของกระดูกอ่อนในท่อลม และลักษณะของถุงลมมีความเหมาะสมต่อการทำหน้าที่ อย่างไร (แนวตอบ: ท่อลมมีกระดูกอ่อนเป็นวงเรียงต่อกัน และปลายกระดูกอ่อนแต่ละชิ้นจะไม่ชนกัน ซึ่งจะมี กล้ามเนื้อเชื่อมระหว่างปลายกระดูกอ่อน ซึ่งมีความยืดหยุ่นทำให้หลอดลมไม่ตีบแบน สามารถขยายตัวได้ เล็กน้อย จึงทำให้อากาศเข้าและออกจากปอดได้สะดวก ส่วนถุงลมจะมีผนังบางมากและมีปริมาณมาก จึง ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส) 14. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับโครงสร้างภายนอกของปอดหมู โดยมีประเด็นดังนี้ “ปอดมี 2 ข้าง มีสีแดงเรื่อ โดยปอดขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าปอดซ้ายเล็กน้อย และท่อลมซึ่งมีกระดูกอ่อนเรียงเป็นวง ปลาย กระดูกอ่อนแต่ละชิ้นไม่ชนกัน และเมื่อบีบท่อลมแล้วปล่อย ท่อลมจะกลับมาคงรูปเดิม” 15.นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการสูบลมเข้าปอดซึ่งจะทำให้ปอดขยายตัวจึงมีปริมาตรเพิ่มมาก ขึ้น ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Expand)
16. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง โครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของ สัตว์ 17. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1.ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการถามตอบ ซึ่งมีแนวคำถาม ดังนี้ -แมลงใช้อวัยวะใดในการแลกเปลี่ยนแก๊ส (แนวตอบ: ระบบท่อลม (Tracheal system)) -ไส้เดือนดินแลกเปลี่ยนแก๊สทางใด(แนวตอบ: ผิวหนัง (Skin)) -จงยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ใช้เหงือกในการแลเปลี่ยนแก๊ส (แนวตอบ:หอยสองฝา หมึก และปลา เป็นต้น) 2.ครูตรวจสอบผลจากใบงานที่1.1เรื่องโครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและ ของสัตว์ 3.ครูตรวจสอบผลจากกิจกรรม โครงสร้างภายนอกของปอดหมู 4.ครูตรวจสอบผลจากการทำแบบฝึกหัดชีววิทยา 10. สื่อการสอน 1) หนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 2) แบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 3) ใบงานที่ 1.1 เรื่อง โครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์ 4) วัสดุอุปกรณ์กิจกรรมโครงสร้างของปอดหมู 5) สลากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ 11. แหล่งเรียนรู้ในหรือนอกสถานที่ 1) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2) อินเทอร์เน็ต 12. การวัดและประเมินผล รายการวัด วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน 7.1 การประเมินก่อน เรียน - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ตรวจแบบทดสอบก่อน เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ประเมินตามสภาพ จริง 7.2 ประเมินระหว่างการ จัด กิจกรรมการเรียนรู้ 1) กิจกรรมนำสู่การเรียน - การตอบคำถาม - สังเกตจากการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็น - แบบสังเกตพฤติกรรม รายบุคคล - ร้อยละ 60 ผ่าน เกณฑ์ 2) การแลกเปลี่ยนแก๊ส ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและ สัตว์ - ตรวจใบงานที่ 1.1 - ตรวจแบบฝึกหัด - ตรวจสอบผลจาก กิจกรรม โครงสร้าง ภายนอกของปอดหมู - ใบงานที่ 1.1 - แบบฝึกหัด - แบบประเมินการ ปฏิบัติการ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
3) การนำเสนอผลการทำ กิจกรรม - ประเมินการนำเสนอ ผลทำกิจกรรม - แบบประเมินการ นำเสนอผลทำกิจกรรม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 4) พฤติกรรมการ ทำงานรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 5) พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 6) คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - สังเกตความมีวินัย รับผิดชอบใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
บันทึกผลหลังการสอน สรุปผลการเรียนการสอน นักเรียนจำนวน........................คน ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้...............คน คิดเป็นร้อยละ................................. ไม่ผ่านจุดประสงค์............................คน คิดเป็นร้อยละ................................. ได้แก่ 1............................................................................................................................................................ 2. ........................................................................................................................................................ 3. ......................................................................................................................................................... นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้แก่ 1. ........................................................................................................................................................... 2. .......................................................................................................................................................... 2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ….………………………………………………………………………………………………………………………..………… 3. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ (P) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม (A) ……………………………………………………………………….…………………………………………………………………………… …………………………………………………………………….……………………………………………………………….. ปัญหา/อุปสรรค /แนวทางแก้ไข ............................................................................................................................. ......................................................... ............................................................................................................................. ........................................ .................................................................................................................................................................. .................... ............................................................................................................... ....................................................... ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................. ......................................................... .................................................................................................................................. .................................... .............................................................................................................................................................................. ลงชื่อ................................................................. (นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์) ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ความเห็นของหัวหน้าสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ได้ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของ...................................................................แล้วมีความคิดเห็น ดังนี้ 1. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ดีมาก ดี พอใช้ ควรปรับปรุง 2. การจัดกิจกรรมได้นำเอากระบวนการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่างเหมาะสม ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป 3. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ นำไปใช้ได้จริง ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้ 4. ข้อเสนอแนะอื่นๆ ................................................................................................................................................. ..................................... ...................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......................................................... .............................................................................................................................. ........................................ ลงชื่อ.................................................................. (นางสาวกุลชญา ศรีสุวรรณ) ตำแหน่ง หน้ากลุ่มงานวิชาการโรงเรียนสักงามวิทยา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 1.ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล อธิบายโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส และกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ 2. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด 1. อธิบายโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ได้ (K) 2. อธิบายการแลกเปลี่ยนแก๊สบริเวณปอดและบริเวณเซลล์ต่าง ๆ ได้(K) 3. เขียนการเคลื่อนที่ของอากาศเข้าและออกจากร่างกายได้ (P) 4. เขียนปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยได้ (P) 5. สนใจใฝ่รู้ในการศึกษา (A) 3. สาระสำคัญ เมื่อหายใจนำอากาศเข้าสู่ร่างกาย อากาศจะเดินทางเข้าสู่ปอด ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สเพื่อนำแก๊ส ออกซิเจนไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ และนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม ต่าง ๆ ออกจากร่างกายสู่สิ่งแวดล้อมผ่านการหายใจเข้าออก ซึ่งร่างกายจะมีกลไกควบคุมการหายใจให้อยู่ใน ภาวะสมดุล 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการสื่อสาร 2.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการสังเกต 2) ทักษะการสำรวจค้นหา 3) ทักษะการเปรียบเทียบ 3) ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รักความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ รายวิชา ชีววิทยา 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบหายใจ เรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ เวลา 2 ชั่วโมง ผู้สอน นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์ โรงเรียนสักงามวิทยา
6. จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 6.1 ความสามารถและทักษะ (ม.ต้น) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 6.3 ความสามารถและทักษะ (ม.ปลาย) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 7. สาระการเรียนรู้สู่การบูรณาการ การเรียนรู้สู่ ASEAN หลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยม 12 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้................................................................................................... อื่น ๆ (ระบุ)............................................................................................................ 8. ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน /ร่องรอยแสดงความรู้) ใบงานที่ 1.1 เรื่อง โครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์ 9. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model) ( ชั่วโมง ที่ 1) ขั้นนำ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยการทบทวนความรู้เดิมจากการศึกษาโครงสร้างปอดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ซึ่ง มี 2 ข้าง มีสีแดงเรื่อ ปอดขวามี 3 พู ปอดซ้ายมี 2 พู ซึ่งปอดซ้ายจะเล็กกว่าปอดขวา เนื่องจากด้านซ้ายมี หัวใจอยู่ 2. ครูถามคำถาม เพื่อทบทวนความรู้เดิมกับ นักเรียนโดยมีแนวคำถามดังนี้ • อวัยวะสำคัญในการหายใจของมนุษย์คืออวัยวะใด (แนวตอบ: อวัยวะสำคัญในการหายใจประกอบด้วยอวัยวะในระบบหายใจ ได้แก่ จมูก ท่อลม และปอด รวมทั้งอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ได้แก่ กะบังลมและกระดูกซี่โครง)
ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า “เมื่อหายใจนำอากาศเข้าสู่ร่างกาย อากาศจะเดินทางเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยน แก๊ส ซึ่งจะเดินทางผ่านจมูก โพรงจมูก คอหอย กล่องเสียง ท่อลม หลอดลมฝอย และถุงลม ตามลำดับ” 2. ให้นักเรียนศึกษาการเคลื่อนที่ของอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอด จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต หรือ หนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 จากนั้นครูเปิด PPTเรื่อง การเคลื่อนที่ของอากาศจาก ภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอด 3. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า “เมื่ออากาศจากภายนอกผ่านมาถึงถุงลมจะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างแก๊ส ออกซิเจนที่ได้จากการหายใจเข้าและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ ซึ่งการ แลกเปลี่ยนแก๊สจะเกิด 2 บริเวณ ได้แก่ ระหว่างถุงลมกับหลอดเลือดฝอย และระหว่างหลอดเลือดฝอยกับ เซลล์” 4. ให้นักเรียนศึกษาการแลกเปลี่ยนแก๊ส ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณปอดและบริเวณเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจากหนังสือ เรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 5. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า “แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนแก๊สบริเวณเซลล์กับหลอด เลือดฝอยส่งผลทำให้เลือดมีความเป็นกรดสูงขึ้น เนื่องจากเมื่อแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แพร่เข้าสู่หลอดเลือด ฝอยจะทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งจะแตกตัวให้ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนกับไฮโดรเจน ไอออน ซึ่งมีผลทำให้เลือดเป็นกรด” 6.ครูให้นักเรียนศึกษาการรักษาความเป็นกรด-เบสของเลือด โดยการหายใจออก จากหนังสือเรียนชีววิทยา ม. 5 เล่ม 4 ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 7. ครูทบทวนความรู้จากชั่วโมงที่แล้วให้นักเรียนทราบพอสังเขป 8.ครูสุ่มเลือกนักเรียนอย่างน้อย 3 คู่ ออกมาร่วมกันเขียนการเคลื่อนที่ของอากาศจากภายนอกเข้าสู่ปอด 9. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4-5 คน ร่วมกันเขียนแผนผังการแลกเปลี่ยนแก็ส จากนั้นครูสุ่มเลือกนักเรียน อย่าง น้อย 5 กลุ่ม ออกมาอธิบายแผนผังการแลกเปลี่ยนแก๊ส จากนั้นครูถามคำถาม โดยมีแนวคำถาม ดังนี้ • เมื่อนักเรียนหายใจเข้า อากาศจะผ่านอวัยวะใดบ้าง (แนวตอบ: อากาศผ่านจมูก โพรงจมูก คอหอย กล่องเสียง ท่อลม หลอดลมฝอย และถุงลม ตามลำดับ) • ปอดมีเหมาะสมกับการแลกเปลี่ยนแก๊สอย่างไร (แนวตอบ: ปอดแต่ละข้างมีถุงลมประมาณ 300 ล้านถุง ซึ่งถุงลมแต่ละถุงมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 มิลลิเมตร จึงมีพื้นที่ประมาณ 40 เท่าของพื้นที่ผิวของร่างกาย) • การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นที่บริเวณใดบ้าง และเกิดขึ้นอย่างไร (แนวตอบ: การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้น 2 บริเวณ ได้แก่ บริเวณปอดเป็นการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุง ลม กับหลอดเลือดฝอย โดยแก๊สออกซิเจนแพร่จากถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แพร่ จากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม และบริเวณเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างหลอด เลือดฝอยกับเซลล์ โดยแก๊สออกซิเจนแพร่จากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่เซลล์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แพร่จาก เซลล์เข้าสู่หลอดเลือดฝอย) • แก๊สออกซิเจนถูกลำเลียงจากถุงลมไปยังเซลล์ต่าง ๆ ได้อย่างไร ขั้นสอน ชั่วโมงที่ 2
(แนวตอบ: แก๊สออกซิเจนที่แพร่จากถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอยจะเข้าจับกับเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ด เลือด แดง กลายเป็นออกซีเฮโมโกลบิน ซึ่งจะถูกลำเลียงเข้าสู่หัวใจ และสูบฉีดไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย) • โดยปกติแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์จะจับกับเฮโมโกลบินได้ดีกว่าแก๊สออกซิเจน หากร่างกายได้รับแก๊ส คาร์บอนมอนอกไซด์จะมีผลอย่างไร (แนวตอบ: แก๊สออกซิเจนจะจับกับเฮโมโกลบินได้น้อยลง ทำให้หัวใจต้องบีบตัวเร็วขึ้น เพื่อให้มีการลำเลียง แก๊สออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ) • บริเวณส่วนใดของร่างกายที่มีแก๊สออกซิเจนมากที่สุดและน้อยที่สุด เพราะเหตุใด (แนวตอบ: บริเวณปอดและหลอดลมจะมีแก๊สออกซิเจนมากที่สุด เพราะเป็นบริเวณที่รับอากาศจาก ภายนอกเข้าสู่ร่างกาย ส่วนบริเวณเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจะมีแก๊สออกซิเจนน้อยที่สุด เนื่องจากแก๊ส ออกซิเจนต้องลำเลียงผ่านระบบหมุนเวียนเลือดจะไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงพบแก๊สออกซิเจนที่เซลล์น้อยมากเมื่อเทียบกับบริเวณปอดและหลอดลม) 10. ครูถามคำถามท้าทายการคิดขั้นสูงกับนักเรียน จากหนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 2 กับนักเรียน โดยมีแนว คำถาม ดังนี้ • การหายใจออกช่วยลดความเป็นกรดของเลือดได้อย่างไร (แนวตอบ: การหายใจออกเป็นการกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย ซึ่งแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในเลือดจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้เป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งจะแตกตัวให้ไฮโดรเจน ไอออนและไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน ซึ่งปริมาณไฮโดรเจนไอออนทำให้เลือดมีความเป็นกรด ดังนั้น เมื่อ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถูกลำเลียงไปยังปอดเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย จะช่วยให้เลือดมีความเป็นกรด ลดลง) 11. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ คือ ปอด ซึ่งมี 2 ข้าง ภายในปอดมีถุงลมจำนวนมาก ซึ่งถุงลมมีผนังบางและมีหลอดเลือดฝอยมาห่อหุ้มจำนวนมาก ทำหน้าที่ แลกเปลี่ยนแก๊ส 12. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแก๊ส ซึ่งเกิดขึ้น 2 บริเวณ ได้แก่ บริเวณปอด แก๊ส ออกซิเจนจะแพร่จากถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอย ซึ่งแก๊สออกซิเจนจะเข้าจับกับเฮโมโกลบินของเซลล์เม็ด เลือดแดง และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่จากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม ส่วนการแลกเปลี่ยนแก๊ส บริเวณเซลล์ แก๊สออกซิเจนจะแพร่จากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่เซลล์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่จะเซลล์ เข้าสู่หลอดเลือดฝอย ซึ่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในระบบหมุนเวียนเลือด จะมีผลต่อความเป็นกรดเบสของเลือด 13. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการรักษาความเป็นกรด-เบสของเลือด โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ “เนื่องจากแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ที่แพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้เป็นกรดคาร์บอนิก และจะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออนและไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน ซึ่งปริมาณไฮโดรเจนไอออนทำให้เลือด มีความเป็นกรด แต่เมื่อแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถูกลำเลียงไปยังปอดเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย จะทำใ ห้ ความเป็นกรด-เบสของเลือดกลับสู่สภาวะปกติ” ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Expand) 14. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊ส 15. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1.ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดนการถามตอบ โดยมีแนวคำถามดังนี้ • แก๊สออกซิเจนที่ผ่านเข้าสู่ปอดจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยทั้งหมดหรือไม่ เพราะเหตุใด (แนวตอบ: แก๊สออกซิเจนแพร่จากถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอยเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะอากาศจาก การ หายใจออกยังมีแก๊สออกซิเจนอยู่เช่นกัน) • แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ที่แพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยจะส่งผลต่อความเป็นกรด-เบสของร่างกาย อย่างไร (แนวตอบ: แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่แพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้เป็นกรดคาร์บอ นิก ซึ่งจะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออนและไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน ซึ่งปริมาณไฮโดรเจนไอออนจะส่งผลให้ เลือดมีความเป็นกรด) • นักเรียนคิดว่า แก๊สออกซิเจนจากการหายใจเข้าจะแพร่จากถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอยทั้งหมดหรือไม่ เพราะเหตุใด (แนวตอบ: แก๊สออกซิเจนจะแพร่จะถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอยได้พียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากอากาศ ที่ หายใจออกยังมีแก๊สออกซิเจนเป็นส่วนประกอบอยู่) 2.ครูตรวจสอบผลจากใบงานที่ 1.2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การแลกเปลี่ยนแก๊ส 3. ครูตรวจสอบผลจากการทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 10. สื่อการสอน 1) PPTเรื่อง การเคลื่อนที่ของอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอด 2) แบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 3) ใบงานที่ 1.2 เรื่อง โครงสร้างในการแลกเปลี่ยนแก๊ส 4) วัสดุอุปกรณ์กิจกรรมโครงสร้างของปอดหมู 11. แหล่งเรียนรู้ในหรือนอกสถานที่ 1) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2) อินเทอร์เน็ต 12. การวัดและประเมินผล รายการวัด วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน การประเมินก่อนเรียน - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ตรวจแบบทดสอบก่อน เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ประเมินตามสภาพ จริง ประเมินระหว่างการ จัด กิจกรรมการเรียนรู้ 1) กิจกรรมนำสู่การเรียน - การตอบคำถาม - สังเกตจากการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็น - แบบสังเกตพฤติกรรม รายบุคคล - ร้อยละ 60 ผ่าน เกณฑ์ ขั้นสรุป
2) การแลกเปลี่ยนแก๊ส ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและ สัตว์ - ตรวจใบงานที่ 1.1 - ตรวจแบบฝึกหัด - ตรวจสอบกิจกรรม โครงสร้างภายนอกของ ปอดหมู - ใบงานที่ 1.1 - แบบฝึกหัด - แบบประเมินการ ปฏิบัติการ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 3) การนำเสนอผลการทำ กิจกรรม - ประเมินการนำเสนอ ผลทำกิจกรรม - แบบประเมินการ นำเสนอผลทำกิจกรรม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 4) พฤติกรรมการ ทำงานรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 5) พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 6) คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - สังเกตความมีวินัย รับผิดชอบใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
บันทึกผลหลังการสอน สรุปผลการเรียนการสอน นักเรียนจำนวน........................คน ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้...............คน คิดเป็นร้อยละ................................. ไม่ผ่านจุดประสงค์............................คน คิดเป็นร้อยละ................................. ได้แก่ 1............................................................................................................................................................ 2. ........................................................................................................................................................ 3. ......................................................................................................................................................... นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้แก่ 1. ........................................................................................................................................................... 2. .......................................................................................................................................................... 2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ….………………………………………………………………………………………………………………………..………… 3. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ (P) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม (A) ……………………………………………………………………….…………………………………………………………………………… …………………………………………………………………….……………………………………………………………….. ปัญหา/อุปสรรค /แนวทางแก้ไข ............................................................................................................................. ......................................................... ............................................................................................................................................................. ........ .......................................................................................................................... ............................................................ ............................................................................................................................. ......................................... ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................................. ......................................... ...................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ................................................. ลงชื่อ................................................................. (นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์) ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ความเห็นของหัวหน้าสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ได้ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของ...................................................................แล้วมีความคิดเห็น ดังนี้ 1. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ดีมาก ดี พอใช้ ควรปรับปรุง 2. การจัดกิจกรรมได้นำเอากระบวนการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่างเหมาะสม ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป 3. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ นำไปใช้ได้จริง ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้ 4. ข้อเสนอแนะอื่นๆ ...................................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......................................... ............................................................................................................................. ......................................................... ...................................................................................................................................................................... ลงชื่อ.................................................................. (นางสาวกุลชญา ศรีสุวรรณ) ตำแหน่ง หน้ากลุ่มงานวิชาการโรงเรียนสักงามวิทยา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 1.ผลการเรียนรู้ อธิบายการทำงานของปอด และทดลองวัดปริมาตรของอากาศในการหายใจของมนุษย์ได้ 2. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด 1. อธิบายกลไกการหายใจเข้าและหายใจออกได้ (K) 2. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของกะบังลมและกระดูกซี่โครงในการหายใจเข้าและหายใจออกได้(K) 3. วัดปริมาตรของอากาศในการหายใจของมนุษย์ได้(P) 4. จำลองการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมได้(P) 5. สนใจใฝ่รู้ในการศึกษา (A 3. สาระสำคัญ กลไกการหายใจ (Breathing) เป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงและกล้ามเนื้อกะบังลม โดยประกอบด้วยการหายใจเข้าและการหายใจออก 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการสังเกต 2) ทักษะการสำรวจค้นหา 3) ทักษะการทดลอง 4) ทักษะการตีความหมายและการลงข้อสรุป 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รักความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ รายวิชา ชีววิทยา 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบหายใจ เรื่อง กลไกการหายใจ เวลา 3 ชั่วโมง ผู้สอน นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์ โรงเรียนสักงามวิทยา
6. จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 6.1 ความสามารถและทักษะ (ม.ต้น) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 6.4 ความสามารถและทักษะ (ม.ปลาย) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 7. สาระการเรียนรู้สู่การบูรณาการ การเรียนรู้สู่ ASEAN หลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยม 12 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้................................................................................................... อื่น ๆ (ระบุ)............................................................................................................ 8. ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน /ร่องรอยแสดงความรู้) ศึกษากลไกการหายใจเข้าและออกจากร่างกาย ใบงาน เรื่อง กลไกการหายใจ 9. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( ชั่วโมง ที่ 1) ขั้นนำ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. ครูให้นักเรียนลองสูดลมหายใจเข้าและออก แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของช่องอกที่เกิดขึ้นจากการหายใจ เข้าและออก 2. ครูตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยมีแนวคิด ดังนี้ - เมื่อหายใจเข้าและออก นักเรียนคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะใดบ้าง และเปลี่ยนแปลงอย่างไร (แนวตอบ: พิจารณาจากคำตอบของนักเรียน) ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า “กลไกการหายใจของมนุษย์เป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อยึดกระดูก ซี่โครง และกล้ามเนื้อกะบังลม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรและความดันในช่องอก” 2. ครูให้นักเรียนศึกษากลไกการหายใจเข้าและออกจากร่างกาย จากแหลงการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต หรือ หนังสือเรียนชีววิทยา ม. 5 เล่ม 4 ขั้นสอน
3. ครูเปิดpower point เรื่อง กลไกการหายใจเข้าและออกจากร่างกาย โดยมีตัวอย่างวิดิทัศน์ดังนี้ 4. ครูให้นักเรียนศึกษาปริมาณอากาศที่หายใจเข้าและหายใจออก และความจุของปอด จากหนังสือเรียน ชีววิทยา ม. 5 เล่ม 4 ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 5. ครูถามคำถามนักเรียน เช่น • การเปลี่ยนแปลงของกระดูกซี่โครงและกะบังลมในขณะหายใจเข้า (Inspiration) และหายใจออก (Expiration) เป็นอย่างไร (แนวตอบ: ในขณะหายใจเข้า (Inspiration) กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงแถบนอกจะหดตัวทำให้กระดูก ซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น กล้ามเนื้อกะบังลมจะหดตัวทำให้กะบังลมเลื่อนต่ำลง ส่วนในขณะหายใจออก (Expiration) กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงแถบนอกจะคลายตัวทำให้กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง กล้ามเนื้อ กะบังลมจะคลายตัวทำให้กะบังลมเลื่อนสูงขึ้น) • การเปลี่ยนแปลงของกระดูกซี่โครงและกะบังลมทำให้เกิดการหายใจเข้าและออกอย่างไร (แนวตอบ: เมื่อกระดูกซี่โครงเลื่อนสูงและกะบังลมเลื่อนต่ำลง จะทำให้ช่องอกมีปริมาตรเพิ่มขึ้นและ ความ ดันในช่องอกลดลง อากาศจากภายนอกจึงไหลเข้าสู่ร่างกาย แต่เมื่อกระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลงและกะบังลม เลื่อนสูงขึ้น จะทำให้ช่องอกมีปริมาตรลดลงและความดันในช่องอกเพิ่มขึ้น อากาศจากภายในร่างกายจึง ไหลออกจากร่างกาย) • จากกราฟปริมาตรอากาศในการหายใจเข้า (Inspiration) และหายใจออก (Expiration) การหายใจเข้าและ ออกปกติ 1 ครั้ง จะมี ปริมาตรอากาศเท่าใด (แนวตอบ: 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร) 6. ครูถามคำถาม ดังนี้ • หากกล้ามเนื้อกะบังลม หรือกล้ามเนื้อกระดูกซี่โครงหยุดทำงาน ร่างกายจะยังคงหายใจเข้า (Inspiration) และหายใจออก (Expiration) ได้หรือไม่ อย่างไร (แนวตอบ: ไม่ได้ เนื่องจากความดันอากาศในปอดจะคงที่ หรือเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ทำให้อากาศไม่ สามารถเคลื่อนที่เข้าและออกจากปอดได้) 7. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับกลไกการหายใจ โดยมีประเด็น ดังนี้“เมื่อหายใจเข้ากล้ามเนื้อยึด กระดูกซี่โครงแถบนอกจะหดตัวทำให้กระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น กล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวทำให้กะบังลม เลื่อนต่ำลง ปริมาตรของช่องอกจึงเพิ่มขึ้น ความดันในช่องอกลดลง อากาศจากภายนอกจึงไหลเข้าสู่ร่างกาย แต่เมื่อหายใจออกกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงแถบนอกจะคลายตัวทำให้กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง กล้ามเนื้อ กะบังลมคลายตัวทำให้กะบังลมเลื่อนสูงขึ้น ปริมาตรของช่องอกจึงลดลงความดันในช่องอกเพิ่มขึ้น อากาศ ภายในร่างกายจึงไหลออกภายนอกร่างกาย” ( ชั่วโมง ที่ 2) ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 8. ครูทบทวนความรู้จากชั่วโมงที่แล้วให้นักเรียนทราบพอสังเขป 9. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทำกิจกรรม การจำลองการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลม โดยมี จุดประสงค์เพื่อศึกษาการจำลองการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมเมื่อปริมาตรอากาศเปลี่ยนแปลง จาก หนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 2 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ - สมาชิกคนที่ 1 : ทำหน้าที่เตรียมวัสดุอุปกรณ์การจำลองการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลม - สมาชิกคนที่ 2 : ทำหน้าที่อ่านวิธีการทำกิจกรรม และนำมาอธิบายให้สมาชิกภายในกลุ่มฟัง
- สมาชิกคนที่ 3 : ทำหน้าที่บันทึกผลการทำกิจกรรม - สมาชิกคนที่ 4-5 : ทำหน้าที่นำเสนอผลที่ได้จากการทำกิจกรรม 10. ครูสุ่มเลือกนักเรียนอย่างน้อย 5 กลุ่ม ออกมานำเสนอผลการทำกิจกรรม การจำลองการทำงานของ กล้ามเนื้อกะบังลม เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จ ครูตั้งคำถามเพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียน โดยมีแนวคำถาม ดังนี้ • ลูกโป่งและลูกสูบเปรียบได้กับโครงสร้างใดในการแลกเปลี่ยนแก๊ส (แนวตอบ: ลูกโป่งเปรียบได้กับปอด ส่วนลูกสูบเปรียบได้กับกะบังลม) • ผลการทดลองในครั้งแรกและในครั้งที่สองแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร (แนวตอบ: ผลการทดลองในครั้งแรกและครั้งที่สองแตกต่างกัน เพราะผลการทดลองครั้งที่สอง อากาศ ภายในหลอดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงความดัน เนื่องจากอากาศออกมาทางรูเล็ก ทำให้ขนาดของลูกโป่งไม่ เปลี่ยนแปลง) • จากผลการทดลองนี้อธิบายการหายใจเข้าและออกได้อย่างไร (แนวตอบ: เมื่อกล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัว กะบังลมจะเลื่อนขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดลง ความ ดัน ในปอดเพิ่มขึ้น จึงดันอากาศออกจากปอด แต่เมื่อกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัว กะบังลมจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ ปริมาตรของช่องอกมากขึ้น ความดันในปอดลดลง อากาศจากภายนอกจึงไหลเข้าสู่ปอด) 11. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายกิจกรรม โดยมีประเด็นดังนี้ “การจำลองการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลม เมื่อปิดรูที่เจาะไว้ ข้างหลอดฉีดยา อากาศที่อยู่ภายในหลอดจะมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งเมื่อดันลูกสูบไปด้านหน้า ของหลอดจะทำให้ปริมาตรอากาศภายในหลอดลดลงและความดันอากาศเพิ่มขึ้น จึงดันให้ลูกโป่งหดตัว ซึ่ง เป็นการบีบให้อากาศภายในลูกโป่งออกไป และเมื่อดึงลูกสูบกลับด้านหลังเช่นเดิม จะทำให้อากาศภายใน หลอดเพิ่มขึ้นและความดันอากาศลดลง อากาศภายนอกที่มีความดันสูงกว่าจึงไหลเข้าสู่ลูกโป่ง ลูกโป่งจึง พองออก” ( ชั่วโมง ที่ 3) ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 12. ครูทบทวนความรู้จากชั่วโมงที่แล้วให้นักเรียนทราบพอสังเขป 13. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทำกิจกรรมปริมาตรของอากาศในการหายใจออกโดยมีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาเพื่อตรวจสอบปริมาตรของอากาศในการหายใจออก จากหนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 2 โดยมีรายละเอียดดังนี้ - สมาชิกคนที่ 1 : ทำหน้าที่เตรียมวัสดุอุปกรณ์กิจกรรมปริมาตรของอากาศในการหายใจออก - สมาชิกคนที่ 2 : ทำหน้าที่อ่านวิธีการทำกิจกรรม และนำมาอธิบายให้สมาชิกภายในกลุ่มฟัง - สมาชิกคนที่ 3 : ทำหน้าที่บันทึกผลการทำกิจกรรม - สมาชิกคนที่ 4-5 : ทำหน้าที่นำเสนอผลที่ได้จากการทำกิจกรรม ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 14. ครูสุ่มเลือกนักเรียนอย่างน้อย 5 กลุ่ม ออกมานำเสนอผลการทำกิจกรรม ปริมาตรของอากาศในการ หายใจออก 15. ครูถามคำถามนักเรียน เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียนหลังจากทำกิจกรรมปริมาตรของอากาศใน การ หายใจออก โดยมีแนวคำถาม ดังนี้ • ปริมาตรอากาศที่หายใจออกเต็มที่แต่ละครั้งเท่ากันหรือไม่ (แนวตอบ: คำตอบขึ้นอยู่กับผลการทำกิจกรรมของนักเรียน)
• นักเรียนสามารถออกแบบการทดลองเพื่อตรวจสอบว่าอายุ เพศ ขนาดของร่างกาย และกิจกรรมที่ทำมี ผล ต่อปริมาตรอากาศที่หายใจออกหรือไม่ อย่างไร (แนวตอบ: ทำกิจกรรมเข่นเดียวกับกิจกรรม แต่กำหนดตัวแปรที่แตกต่างกัน เช่น กิจกรรมที่ทำมีผลต่อ ปริมาตรอากาศที่หายใจออกอย่างไร โดยกำหนดตัวแปร ดังนี้ ตัวแปรต้น คือ คนที่ทำกิจกรรมแตกต่างกัน ตัวแปรตาม คือ ปริมาตรของอากาศในการหายใจออก ตัวแปรควบคุม คือ อายุ เพศ น้ำหนัก และสภาพร่างกาย) 16. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายกิจกรรม โดยมีประเด็นดังนี้“ปริมาตรของอากาศในการหายใจออก ซึ่ง ปริมาตรของอากาศ ที่หายใจออกเต็มที่ในแต่ละครั้งจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายในขณะนั้น อีก ทั้งยังขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ขนาดของร่างกาย และกิจกรรมที่ทำ” ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Expand) 17. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ออกแบบและทำกิจกรรม ผลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อปริมาตร อากาศในการหายใจออก ดังนี้ - กลุ่มที่ 1 ผลของอายุที่มีต่อปริมาตรอากาศในการหายใจออก - กลุ่มที่ 2 ผลของเพศที่มีต่อปริมาตรอากาศในการหายใจออก - กลุ่มที่ 3 ผลของขนาดของร่างกายที่มีต่อปริมาตรอากาศในการหายใจออก - กลุ่มที่ 4 ผลของกิจกรรมที่ทำที่มีต่อปริมาตรอากาศในการหายใจออก จากนั้นให้แต่ละกลุ่มทำการสืบค้นข้อมูลเพื่อทำรายงานกิจกรรมส่งครูผู้สอน โดยสามารถศึกษาข้อมูล จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ เช่น อินเทอร์เน็ต หรือ หนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 2 18. ครูให้นักเรียนทำใบงาน เรื่อง กลไกการหายใจ 19. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1.ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการถามตอบ ซึ่งมีแนวคำถามดังนี้ • นักเรียนสามารถหายใจนำอากาศออกจากปอดได้หมดหรือไม่ อย่างไร (แนวตอบ: ไม่ได้ เพราะการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงทำงานได้อย่าง จำกัด จึงมีการเปลี่ยนแปลงของช่องอกแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น จึงทำให้ไม่สามารถดันอากาศออกจากปอดได้ หมด) • ถ้านักเรียนเล่นกีฬามาอย่างหนัก จะพบว่าอัตราการหายใจจะเป็นอย่างไร (แนวตอบ: อัตราการหายใจสูงขึ้น) 2. ครูตรวจสอบผลจากรายงานกลุ่ม เรื่อง ปริมาตรอากาศในการหายใจออก 3. ครูตรวจสอบผลจากใบงาน เรื่อง กลไกการหายใจ 4. ครูตรวจสอบผลจากกิจกรรมการจำลองการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลม 5. ครูตรวจสอบผลจากกิจกรรมปริมาตรของอากาศในการหายใจออก 6. ครูตรวจสอบผลจากการทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 ขั้นสรุป
10. สื่อการสอน 1) หนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 2) แบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 3) ใบงาน เรื่อง กลไกการหายใจ 4) วัสดุอุปกรณ์การจำลองการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลม 5) วัสดุอุปกรณ์กิจกรรมปริมาตรของอากาศในการหายใจออก 6) power point เรื่อง กลไกการหายใจเข้าและออกจากร่างกาย 11. แหล่งเรียนรู้ในหรือนอกสถานที่ 1) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2) อินเทอร์เน็ต 12. การวัดและประเมินผล รายการวัด วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน การประเมินก่อนเรียน - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วย การเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ตรวจแบบทดสอบก่อน เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ประเมินตามสภาพ จริง ประเมินระหว่างการ จัด กิจกรรมการเรียนรู้ 1) กิจกรรมนำสู่การเรียน - การตอบคำถาม - สังเกตจากการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็น - แบบสังเกตพฤติกรรม รายบุคคล - ร้อยละ 60 ผ่าน เกณฑ์ 2) กลไกการหายใจ - ตรวจใบงาน - ตรวจแบบฝึกหัด - ตรวจสอบผลกิจกรรม การ จำลองการทำงานของ กล้ามเนื้อกะบังลม - ประเมินชิ้นงาน เรื่อง ปริมาตรอากาศในการ หายใจออก - ใบงาน - แบบฝึกหัด - แบบประเมินการ ปฏิบัติการ - แบบประเมินชิ้นงาน - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 3) การนำเสนอผลการทำ กิจกรรม - ประเมินการนำเสนอ ผลทำกิจกรรม - แบบประเมินการ นำเสนอผลทำกิจกรรม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 4) พฤติกรรมการ ทำงานรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 5) พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 6) คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - สังเกตความมีวินัย รับผิดชอบใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
บันทึกผลหลังการสอน สรุปผลการเรียนการสอน นักเรียนจำนวน........................คน ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้...............คน คิดเป็นร้อยละ................................. ไม่ผ่านจุดประสงค์............................คน คิดเป็นร้อยละ................................. ได้แก่ 1............................................................................................................................................................ 2. ........................................................................................................................................................ 3. ......................................................................................................................................................... นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้แก่ 1. ........................................................................................................................................................... 2. .......................................................................................................................................................... 2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ….………………………………………………………………………………………………………………………..………… 3. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ (P) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม (A) ……………………………………………………………………….…………………………………………………………………………… …………………………………………………………………….……………………………………………………………….. ปัญหา/อุปสรรค /แนวทางแก้ไข ............................................................................................................................. ......................................................... ............................................................................................................................................................. ........ .......................................................................................................................... ............................................................ ............................................................................................................................. ......................................... ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................................. ......................................... ...................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ................................................. ลงชื่อ................................................................. (นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์) ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ความเห็นของหัวหน้าสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ได้ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของ...................................................................แล้วมีความคิดเห็น ดังนี้ 1. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ดีมาก ดี พอใช้ ควรปรับปรุง 2. การจัดกิจกรรมได้นำเอากระบวนการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่างเหมาะสม ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป 3. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ นำไปใช้ได้จริง ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้ 4. ข้อเสนอแนะอื่นๆ ............................................................................................................................. ......................................................... ...................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......................................................... ............................................................................................................................. ......................................... ลงชื่อ.................................................................. (นางสาวกุลชญา ศรีสุวรรณ) ตำแหน่ง หน้ากลุ่มงานวิชาการโรงเรียนสักงามวิทยา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 1.ผลการเรียนรู้ อธิบายการทำงานของปอด และทดลองวัดปริมาตรของอากาศในการหายใจของมนุษย์ได้ 2. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด . อธิบายกลไกการควบคุมการหายใจได้ (K) 2. อธิบายและเปรียบเทียบอัตราการหายใจของสัตว์ต่าง ๆ ได้ (K) 3. คำนวณอัตราการใช้แก๊สออกซิเจนของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ได้ (P) 4. วัดอัตราการหายใจได้อย่างถูกต้อง (P) 5. ตระหนักถึงความปอดภัยของสัตว์ทดลองที่นำมาใช้ในกิจกรรม (A) 6. สนใจใฝ่รู้ในการศึกษา (A) 3. สาระสำคัญ ปกติการหายใจจะถูกควบคุมโดยระบบประสาทที่ศูนย์ควบคุมการหายใจ (Respiratory centers) และ สารเคมีในเลือด เช่น ความเป็นกรด-ด่าง จากการเปลี่ยนแปลงของ H + CO2 และ O2 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการสื่อสาร 2.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการสังเกต 2) ทักษะการสำรวจค้นหา 3) ทักษะการทดลอง 4) ทักษะการตีความหมายและการลงข้อสรุป 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รักความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ รายวิชา ชีววิทยา 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบหายใจ เรื่อง การควบคุมการหายใจและการวัดอัตราการหายใจ เวลา 2 ชั่วโมง ผู้สอน นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์ โรงเรียนสักงามวิทยา
6. จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 6.1 ความสามารถและทักษะ (ม.ต้น) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 6.5 ความสามารถและทักษะ (ม.ปลาย) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 7. สาระการเรียนรู้สู่การบูรณาการ การเรียนรู้สู่ ASEAN หลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยม 12 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้................................................................................................... อื่น ๆ (ระบุ)............................................................................................................ 8. ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน /ร่องรอยแสดงความรู้) ศึกษากลไกการหายใจเข้าและออกจากร่างกาย แบบฝึกหัด 9. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( ชั่วโมง ที่ 1) ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนทดลองกลั้นหายใจ แล้วจับเวลาการกลั้นหายใจ 2. ครูตั้งคำถามกับนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยมีแนวคำถาม ดังนี้ • นักเรียนสามารถกลั้นหายใจได้นานเท่าไร และจะสามารถกลั้นหายใจได้นานกว่านี้อีกหรือไม่ อย่างไร (แนวตอบ: คำตอบขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน) ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า “การหายใจของมนุษย์มีกลไกการควบคุมแบ่งออกเป็น 2 กลไก ได้แก่ การ ควบคุมโดยระบบประสาทและการควบคุมโดยสารเคมีในเลือด” 2. ครูให้นักเรียนศึกษากลไกการควบคุมการหายใจโดยระบบประสาท และการควบคุมการหายใจโดยสารเคมี จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) ขั้นสอน
3. ครูถามคำถามนักเรียน โดยมีแนวคำถามดังนี้ • ในขณะหลับ ร่างกายมีกลไกควบคุมการหายใจรูปแบบใด (แนวตอบ: การควบคุมแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการควบคุมของสมองส่วนเมดัลลาออบลองกาตา (Medulla oblongata) และสมอง ส่วนพอนส์(Pons)) • เคโมรีเซปเตอร์ส่วนกลาง (Central chemoreceptor) และส่วนนอก (Peripheral chemoreceptor) มี การตอบสนองต่อสารเคมีในเลือดแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร (แนวตอบ: แตกต่างกัน ซึ่งเคโมรีเซปเตอร์ส่วนกลาง (Central chemoreceptor) จะตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงความดันของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เคโมรีเซปเตอรส่วนกลางจะตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงปริมาณแก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจนไอออน (H+ )) 4. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการควบคุมการหายใจโดยระบบประสาท โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ “ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่ การควบคุมแบบอัตโนมัติ ซึ่งร่างกายไม่สามารถบังคับได้ ถูก ควบคุมโดยสมองส่วนเมดัลลาออบลองกาตา (Medulla oblongata) และสมองส่วนพอนส์ (Pons) และ การควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งร่างกายสามารถบังคับได้ ถูกควบคุมโดยสมองส่วนเซรีบรัม (Cerebrum) ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) และเซรีเบลลัม (Cerebellum)” 5. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการควบคุมการหายใจโดยสารเคมี ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ของสารต่าง ๆ ในเลือด เช่น ปริมาณและความดันของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณ ไฮโดรเจนไอออน (H+ ) การเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด-เบสในเลือด ( ชั่วโมง ที่ 2) ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 6.ครูทบทวนความรู้จากชั่วโมงที่แล้วให้นักเรียนทราบพอสังเขป 7. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า “ปริมาณแก๊สออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจสามารถบ่งบอกถึงอัตราการหายใจ ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งจะมีค่ามากน้อยแตกต่างกันตามกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต” 8. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทำกิจกรรม การวัดอัตราการหายใจของสัตว์ เพื่อวัดอัตราการ หายใจของสัตว์เมื่อปริมาณอากาศเปลี่ยนแปลง จากหนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 โดยให้นักเรียน เลือกใช้สัตว์ที่แตกต่างกันโดยมีรายละเอียด ดังนี้ - สมาชิกคนที่ 1 : ทำหน้าที่เตรียมวัสดุอุปกรณ์การวัดอัตราการหายใจของสัตว์ - สมาชิกคนที่ 2 : ทำหน้าที่อ่านวิธีการทำกิจกรรม และนำมาอธิบายให้สมาชิกภายในกลุ่มฟัง - สมาชิกคนที่ 3 : ทำหน้าที่บันทึกผลการทำกิจกรรม - สมาชิกคนที่ 4-5 : ทำหน้าที่นำเสนอผลที่ได้จากการทำกิจกรรม 9. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการทำกิจกรรม การวัดอัตราการหายใจของสัตว์ 10. ครูถามคำถามนักเรียน เช่น • สัตว์แต่ละชนิดที่นักเรียนแต่ละกลุ่มนำมาทำกิจกรรมมีอัตราการหายใจแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร (แนวตอบ: คำตอบขึ้นอยู่กับผลการทำกิจกรรมของนักเรียน แต่อัตราการหายใจของสัตว์น่าจะแตกต่าง กัน เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน) • เพราะเหตุใดจึงต้องเปิดฝาขวดให้อากาศผ่านเข้าไปทุกครั้งก่อนทดลอง (แนวตอบ: เพื่อให้อากาศภายนอกเข้าไปทดแทนอากาศที่สัตว์นำไปใช้) • โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมทำหน้าที่ใด (แนวตอบ: โซเดียมไฮดรอกไซด์ทำหน้าที่ดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการหายใจของสัตว์)
• การที่หยดน้ำสีเคลื่อนที่ไป แสดงว่า ส่วนประกอบของอากาศภายในขวดลดลงไปจากเดิม แก๊สที่ลดลงไป คือแก๊สชนิดใด เพราะเหตุใด (แนวตอบ: แก๊สออกซิเจน เพราะสัตว์ต้องนำแก๊สออกซิเจนไปใช้ในการหายใจ) • จากตาราง นักเรียนสามารถอภิปรายกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตของสัตว์แต่ละชนิด ได้อย่างไร สัตว์ อัตราการหายใจ (ลูกบาศก์มิลลิเมตรของออกซิเจน/1 กรัมน้ำหนักของสัตว์/1 ชั่วโมง) ดอกไม้ทะเล 13 หมึก 320 ปลาไหล 128 กบ 150 นกฮัมมิง 3,500 หนู 1,500 มนุษย์ 200 (แนวตอบ: อัตราการหายใจของสัตว์ขึ้นอยู่กับกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตของสัตว์แต่ละชนิด เช่น ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์ที่เกาะนิ่งอยู่กับที่ ไม่ต้องเคลื่อนที่ จึงมีอัตราการหายใจต่ำ หมึกเป็นสัตว์ที่มีทิศทางการ เคลื่อนที่ตรงข้ามกับทิศทางของน้ำที่พ่นออก แต่ต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวเพื่อพ่นน้ำ ออก จึงต้องอาศัยพลังงานมาก จึงมีอัตราการหายใจสูง นกฮัมมิงเป็นสัตว์ที่ต้องใช้พลังงานในการบินเพื่อหา อาหารจึงมีอัตราการหายใจที่สูงมาก) 6. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการวัดอัตราการหายใจ และกิจกรรมการวัดอัตราการหายใจ ของ สัตว์โดยมีเป็นดังนี้ “สัตว์แต่ละชนิดจะมีอัตราการหายใจที่แตกต่างกัน ซึ่งการที่หยดน้ำสีเคลื่อนที่ไปได้ แสดงว่าส่วนประกอบประกอบของอากาศในขวดลดลง หรือแก๊สออกซิเจนลดลง เนื่องจากสัตว์ที่ใช้ทดลอง หายใจนำแก๊สออกซิเจนเข้าไป โดยอัตราการหายใจของสัตว์แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรม และการทำงานของสัตว์ อายุ ซึ่งโดยทั่วไปสัตว์ที่มีเมแทบอลิซึม (Metabolism) สูงจะมีอัตราการหายใจ สูง” ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Expand) 12. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลการทำกิจกรรม การวัดอัตราการหายใจของสัตว์ของกลุ่มตนเองมา เปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ (ใช้สัตว์ทดลองแตกต่างกัน) แล้วนำผลการทำกิจกรรมมาวิเคราะห์และเขียน รายงานสรุป เรื่อง อัตราการหายใจของสัตว์ 13. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1.ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการถามตอบ ซึ่งมีแนวคำถามดังนี้ • ในขณะที่ดำน้ำ ร่างกายมีกลไกควบคุมการหายใจรูปแบบใด (แนวตอบ: การควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งเป็นการควบคุมของสมองเซรีบรัม (Cerebrum) ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) และเซรีเบลลัม (Cerebellum)) • สารเคมีในร่างกายชนิดใดที่มีผลต่อการหายใจ ขั้นสรุป
(แนวตอบ: สารเคมีที่มีผลต่อการหายใจ ได้แก่ แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจน ไอออน (H+ )) 2. ครูตรวจสอบผลจากรายงาน เรื่อง อัตราการหายใจของสัตว์ 3. ครูตรวจสอบผลจากกิจกรรม การวัดอัตราการหายใจของสัตว์ 4. ครูตรวจสอบผลจากการทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 10. สื่อการสอน 1) หนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 2) แบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 3) วัสดุอุปกรณ์การวัดอัตราการหายใจของสัตว์ 11. แหล่งเรียนรู้ในหรือนอกสถานที่ 1) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2) อินเทอร์เน็ต 12. การวัดและประเมินผล รายการวัด วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน การประเมินก่อนเรียน - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ตรวจแบบทดสอบก่อน เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ประเมินตาม สภาพจริง ประเมินระหว่างการ จัด กิจกรรมการเรียนรู้ 1) กิจกรรมนำสู่การเรียน - การตอบคำถาม - สังเกตจากการตอบ คำถาม และแสดงความ คิดเห็น - แบบสังเกตพฤติกรรม รายบุคคล - ร้อยละ 60 ผ่าน เกณฑ์ 2) การควบคุมการหายใจ และการวัดอัตราการหายใจ - ตรวจแบบฝึกหัด - ตรวจสอบผลกิจกรรม การวัดอัตราการหายใจ ของสัตว์ - ประเมินชิ้นงาน - แบบฝึกหัด - แบบประเมินการ ปฏิบัติการ - แบบประเมินชิ้นงาน - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 3) การนำเสนอผลการทำ กิจกรรม - ประเมินการนำเสนอ ผลทำกิจกรรม - แบบประเมินการ นำเสนอผลทำกิจกรรม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 4) พฤติกรรมการ ทำงานรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 5) พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 6) คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - สังเกตความมีวินัย รับผิดชอบใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
บันทึกผลหลังการสอน สรุปผลการเรียนการสอน นักเรียนจำนวน........................คน ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้...............คน คิดเป็นร้อยละ................................. ไม่ผ่านจุดประสงค์............................คน คิดเป็นร้อยละ................................. ได้แก่ 1............................................................................................................................................................ 2. ........................................................................................................................................................ 3. ......................................................................................................................................................... นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้แก่ 1. ........................................................................................................................................................... 2. .......................................................................................................................................................... 2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ….………………………………………………………………………………………………………………………..………… 3. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ (P) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม (A) ……………………………………………………………………….…………………………………………………………………………… …………………………………………………………………….……………………………………………………………….. ปัญหา/อุปสรรค /แนวทางแก้ไข ............................................................................................................................. ......................................................... ..................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......................................................... ............................................................................................................................. ......................................... ข้อเสนอแนะ ...................................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......................................... ............................................................................................................................. ................................................. ลงชื่อ................................................................. (นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์) ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ความเห็นของหัวหน้าสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ได้ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของ...................................................................แล้วมีความคิดเห็น ดังนี้ 1. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ดีมาก ดี พอใช้ ควรปรับปรุง 2. การจัดกิจกรรมได้นำเอากระบวนการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่างเหมาะสม ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป นำไปใช้ได้จริง ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้ 4. ข้อเสนอแนะอื่นๆ 3. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ................................................................................................................ ...................................................................... ...................................................................................................................... ................................................................ ................................................................................................................................ ...................................................... ...................................................................................................................................................................................... ลงชื่อ.................................................................. (นางสาวกุลชญา ศรีสุวรรณ) ตำแหน่ง หน้ากลุ่มงานวิชาการโรงเรียนสักงามวิทยา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 1.ผลการเรียนรู้ อธิบายการทำงานของปอด และทดลองวัดปริมาตรของอากาศในการหายใจของมนุษย์ได้ 2. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด 1. อธิบายความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับปอดและโรคระบบทางเดินหายใจได้(K) 2. สร้างแผ่นพับนำเสนอเกี่ยวกับอันตรายจากบุหรี่ได้อย่างเหมาะสม (P) 3. ตระหนักถึงความสำคัญ การดูแลรักษา และการป้องกันโรคในระบบทางเดินหายใจ (A) 4. สนใจใฝ่รู้ในการศึกษา (A) 3. สาระสำคัญ โรคระบบทางเดินหายใจ (Respiratory tract disease) หมายถึง โรค หรือ ความผิดปกติของอวัยวะใน ระบบทางเดินหายใจละปอด ซึ่งส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อ และการได้รับสารพิษ เช่น โรคปอดบวม โรคถุงลม โป่งพอง เป็นต้น 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการสื่อสาร 2.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการสังเกต 2) ทักษะการสำรวจค้นหา 3) ทักษะการทดลอง 4) ทักษะการตีความหมายและการลงข้อสรุป 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รักความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ รายวิชา ชีววิทยา 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบหายใจ เรื่อง โรคระบบทางเดินหายใจ เวลา 1 ชั่วโมง ผู้สอน นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์ โรงเรียนสักงามวิทยา
6. จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 6.1 ความสามารถและทักษะ (ม.ต้น) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 6.6 ความสามารถและทักษะ (ม.ปลาย) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 7. สาระการเรียนรู้สู่การบูรณาการ การเรียนรู้สู่ ASEAN หลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยม 12 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้................................................................................................... อื่น ๆ (ระบุ)............................................................................................................ 8. ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน /ร่องรอยแสดงความรู้) ศึกษาโรคระบบทางเดินอาหาร แบบฝึกหัด 9. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยนำภาพปอดของคนปกติและคนที่สูบบุหรี่มาให้นักเรียนดู ดังนี้ 2. ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนว่า • ในครอบครัวของนักเรียนมีคนสูบบุหรี่หรือไม่ หากมีจะส่งผลกระทบต่อนักเรียนและคนในครอบครัว อย่างไร (แนวตอบ: คำตอบขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน เช่น ควันบุหรี่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคนที่ สูดดมเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ซึ่งมีผลต่อการทำงานของอวัยวะ ปอดของคนปกติ ปอดของคนที่สูบบุหรี่
ต่าง ๆ เช่น นิโคตินเป็นสารเสพติดและทำให้เกิดโรคหัวใจ น้ำมันดิบหรือทาร์เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งปอด แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นแก๊สที่ขัดขวางการลำเลียงแก๊สออกซิเจนของเซลล์เม็ดเลือดแดง 3. ครูอธิบายเกี่ยวกับสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลต่อร่างกายของผู้สูบบุหรี่และผู้ที่สูดดมควันบุหรี่ ซึ่งก่อให้เกิดโรค ต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคปอดบวม โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูให้นักเรียนศึกษาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม โรคถุงลมโป่งพอง จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 2. ครูถามคำถามนักเรียน เพื่อทดสอบความเข้าใจ โดยมีแนวคำถามดังนี้ • การสูบบุหรี่มีผลต่อระบบหายใจอย่างไร (แนวตอบ: สารเคมีในบุหรี่ เช่น แก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ มีฤทธิ์ทำลาย เนื้อเยื่อ ของผนังถุงลมให้ฉีกขาด พื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สจึงลดลง ทำให้ต้องหายใจเร็วและถี่ขึ้นเพื่อให้ ร่างกายได้รับแก๊สออกซิเจนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย) 3. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ โดย มีประเด็นดังต่อไปนี้ “โรคปอดบวม ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ หรือได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ปอด ทำให้มี หนองและสารเหลวภายในปอด ส่งผลต่อพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส โรคถุงลมโป่งพองเกิดจากการสูบ บุหรี่ การสูดดมความบุหรี่ ควันพิษ หรือสารเคมีต่าง ๆ เป็นเวลานาน ทำให้ผนังท่อลมหนาและบวมขึ้น ทางเดินหายใจและถุงลมขาดความยืดหยุ่น มีเมือกเกาะบริเวณทางเดินหายใจ จึงทำให้อากาศเข้า-ออกได้ ยากกว่าปกติ และผนังถุงลมบางส่วนถูกทำลายจึงไม่สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Expand) 4. ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ คนละ 1 โรค ลงกระดาษ A4 อย่างน้อย 2 แผ่น ประกอบด้วยหัวข้อสาเหตุของโรค อาการของโรค การดูแลรักษาโรค และการป้องกันโรค 5. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน สืบค้นข้อมูล เรื่อง อันตรายจากบุหรี่ แล้วทำแผ่นพับนำเสนอ จำนวน 100 ชุด เพื่อแจกนักเรียนในโรงเรียน และคนในชุมชนของนักเรียนให้ตระหนักถึงอันตรายที่เกิด จากการสูบบุหรี่ หรือการสูดดมควันบุหรี่ 6. ครูให้นักเรียนตอบคำถามเรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ 7. ครูให้นักเรียนทำ ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ จากหนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 8. ครูให้นักเรียนทำ ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ จากหนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 9. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1.ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดนการถามตอบ โดยมีแนวคำถาม ดังนี้ • สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองคืออะไร และมีผลต่อร่างกายอย่างไร (แนวตอบ: การสูบบุหรี่ การสูดดมควันบุหรี่หรือสารเคมีเป็นเวลานานเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคถุงลมโป่ง พอง ซึ่งส่งผลทำให้ผนังท่อลมหนาและบวมขึ้น ทางเดินหายใจและถุงลมขาดความยืดหยุ่น มีเมือกเกาะ ขั้นสอน ขั้นสรุป
บริเวณทางเดินหายใจ จึงทำให้อากาศเข้า-ออกได้ยากกว่าปกติ และผนังถุงลมบางส่วนถูกทำลายจึงไม่ สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้ต้องหายใจเร็วและถี่กว่าปกติ และทำให้เหนื่อยง่ายกว่าปกติ) 2. ครูตรวจสอบผลจากแผ่นพับนำเสนอ เรื่อง อันตรายจากบุหรี่ 3. ครูตรวจสอบผลจากการตอบคำถาม ท้ายหัวข้อ เรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ 4. ครูตรวจสอบผลจาก ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 5. ครูตรวจสอบผลจากการทำ Unit Question ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 6. ครูตรวจสอบผลจากการทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 7. ครูตรวจสอบผลจากแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 10. สื่อการสอน 1) หนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 2) แบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 11. แหล่งเรียนรู้ในหรือนอกสถานที่ 1) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2) อินเทอร์เน็ต 12. การวัดและประเมินผล รายการวัด วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน 1 การประเมินก่อนเรียน - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ตรวจแบบทดสอบก่อน เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ประเมินตาม สภาพจริง 2 ประเมินระหว่างการ จัด กิจกรรมการเรียนรู้ 1) กิจกรรมนำสู่การเรียน - การตอบคำถาม - สังเกตจากการตอบ คำถาม และแสดงความ คิดเห็น - แบบสังเกตพฤติกรรม รายบุคคล - ร้อยละ 60 ผ่าน เกณฑ์ 2) การควบคุมการ หายใจและการวัดอัตราการ หายใจ - ตรวจแบบฝึกหัด - ตรวจสอบผลกิจกรรม - ประเมินชิ้นงาน - แบบฝึกหัด - แบบประเมินการฏิบัติการ - แบบประเมินชิ้นงาน - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 3) การนำเสนอผลการ ทำกิจกรรม - ประเมินการนำเสนอ ผลทำกิจกรรม - แบบประเมินการ นำเสนอผลทำกิจกรรม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 4) พฤติกรรมการ ทำงานรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 5) พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 6) คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - สังเกตความมีวินัย รับผิดชอบใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
บันทึกผลหลังการสอน สรุปผลการเรียนการสอน นักเรียนจำนวน........................คน ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้...............คน คิดเป็นร้อยละ................................. ไม่ผ่านจุดประสงค์............................คน คิดเป็นร้อยละ................................. ได้แก่ 1............................................................................................................................................................ 2. ........................................................................................................................................................ 3. ......................................................................................................................................................... นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้แก่ 1. ........................................................................................................................................................... 2. .......................................................................................................................................................... 2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ( K) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ….………………………………………………………………………………………………………………………..………… 3. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ (P) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม (A) ……………………………………………………………………….…………………………………………………………………………… …………………………………………………………………….……………………………………………………………….. ปัญหา/อุปสรรค /แนวทางแก้ไข ............................................................................................................................. ......................................................... ............................................................................................................................. ........................................ ................................................................................................................................................................................... ... ............................................................................................................................. ......................................... ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................. ......................................................... ................................................................................................................................................... ................... ............................................................................................................... ............................................................... ลงชื่อ................................................................. (นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์) ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ความเห็นของหัวหน้าสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ได้ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของ...................................................................แล้วมีความคิดเห็น ดังนี้ 1. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ดีมาก ดี พอใช้ ควรปรับปรุง 2. การจัดกิจกรรมได้นำเอากระบวนการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่างเหมาะสม ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป 3. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ นำไปใช้ได้จริง ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้ 4. ข้อเสนอแนะอื่นๆ ............................................................................................................................. ......................................................... ...................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......................................................... ............................................................................................................................. ......................................... ลงชื่อ.................................................................. (นางสาวกุลชญา ศรีสุวรรณ) ตำแหน่ง หน้ากลุ่มงานวิชาการโรงเรียนสักงามวิทยา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 1.ผลการเรียนรู้ อธิบายการทำงานของปอด และทดลองวัดปริมาตรของอากาศในการหายใจของมนุษย์ได้ 2. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด 1. อธิบายความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับปอดและโรคระบบทางเดินหายใจได้ (K) 2. สร้างแผ่นพับนำเสนอเกี่ยวกับอันตรายจากบุหรี่ได้อย่างเหมาะสม (P) 3. ตระหนักถึงความสำคัญ การดูแลรักษา และการป้องกันโรคในระบบทางเดินหายใจ (A) 4. สนใจใฝ่รู้ในการศึกษา (A) 3. สาระสำคัญ โรคระบบทางเดินหายใจ (Respiratory tract disease) หมายถึง โรค หรือ ความผิดปกติของอวัยวะใน ระบบทางเดินหายใจละปอด ซึ่งส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อ และการได้รับสารพิษ เช่น โรคปอดบวม โรคถุงลม โป่งพอง เป็นต้น 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1.ความสามารถในการสื่อสาร 2.ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการสังเกต 2) ทักษะการสำรวจค้นหา 3) ทักษะการทดลอง 4) ทักษะการตีความหมายและการลงข้อสรุป 3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รักความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ รายวิชา ชีววิทยา 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ระบบหายใจ เรื่อง โรคระบบทางเดินหายใจ เวลา 1 ชั่วโมง ผู้สอน นางวิไลพร ประเสริฐสิทธิ์ โรงเรียนสักงามวิทยา
6. จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 6.1 ความสามารถและทักษะ (ม.ต้น) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 6.7 ความสามารถและทักษะ (ม.ปลาย) มีความสามารถในการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) มีทักษะการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 7. สาระการเรียนรู้สู่การบูรณาการ การเรียนรู้สู่ ASEAN หลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยม 12 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้................................................................................................... อื่น ๆ (ระบุ)............................................................................................................ 8. ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน /ร่องรอยแสดงความรู้) ศึกษาโรคระบบทางเดินอาหาร แบบฝึกหัด 9. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยนำภาพปอดของคนปกติและคนที่สูบบุหรี่มาให้นักเรียนดู ดังนี้ 2. ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนว่า • ในครอบครัวของนักเรียนมีคนสูบบุหรี่หรือไม่ หากมีจะส่งผลกระทบต่อนักเรียนและคนในครอบครัว อย่างไร ปอดของคนปกติ ปอดของคนที่สูบบุหรี่
(แนวตอบ: คำตอบขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน เช่น ควันบุหรี่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคนที่ สูดดมเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ซึ่งมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น นิโคตินเป็นสารเสพติดและทำให้เกิดโรคหัวใจ น้ำมันดิบหรือทาร์เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งปอด แก๊ส คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นแก๊สที่ขัดขวางการลำเลียงแก๊สออกซิเจนของเซลล์เม็ดเลือดแดง 3. ครูอธิบายเกี่ยวกับสารเคมีในบุหรี่ที่ส่งผลต่อร่างกายของผู้สูบบุหรี่และผู้ที่สูดดมควันบุหรี่ ซึ่งก่อให้เกิดโรค ต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคปอดบวม โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูให้นักเรียนศึกษาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม โรคถุง ลมโป่งพอง จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 2. ครูถามคำถามนักเรียน เพื่อทดสอบความเข้าใจ โดยมีแนวคำถามดังนี้ • การสูบบุหรี่มีผลต่อระบบหายใจอย่างไร (แนวตอบ: สารเคมีในบุหรี่ เช่น แก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ มีฤทธิ์ทำลาย เนื้อเยื่อ ของผนังถุงลมให้ฉีกขาด พื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สจึงลดลง ทำให้ต้องหายใจเร็วและถี่ขึ้นเพื่อให้ ร่างกายได้รับแก๊สออกซิเจนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย) 3. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ โดย มีประเด็นดังต่อไปนี้ “โรคปอดบวม ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ หรือได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ปอด ทำให้มี หนองและสารเหลวภายในปอด ส่งผลต่อพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส โรคถุงลมโป่งพองเกิดจากการสูบ บุหรี่ การสูดดมความบุหรี่ ควันพิษ หรือสารเคมีต่าง ๆ เป็นเวลานาน ทำให้ผนังท่อลมหนาและบวมขึ้น ทางเดินหายใจและถุงลมขาดความยืดหยุ่น มีเมือกเกาะบริเวณทางเดินหายใจ จึงทำให้อากาศเข้า-ออกได้ ยากกว่าปกติ และผนังถุงลมบางส่วนถูกทำลายจึงไม่สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Expand) 4. ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ คนละ 1 โรค ลงกระดาษ A4 อย่างน้อย 2 แผ่น ประกอบด้วยหัวข้อสาเหตุของโรค อาการของโรค การดูแลรักษาโรค และการป้องกันโรค 5. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน สืบค้นข้อมูล เรื่อง อันตรายจากบุหรี่ แล้วทำแผ่นพับนำเสนอ จำนวน 100 ชุด เพื่อแจกนักเรียนในโรงเรียน และคนในชุมชนของนักเรียนให้ตระหนักถึงอันตรายที่เกิด จากการสูบบุหรี่ หรือการสูดดมควันบุหรี่ 6. ครูให้นักเรียนตอบคำถามเรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ 7. ครูให้นักเรียนทำ ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ จากหนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 8. ครูให้นักเรียนทำ ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ จากหนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 9. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1.ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดนการถามตอบ โดยมีแนวคำถาม ดังนี้ • สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองคืออะไร และมีผลต่อร่างกายอย่างไร ขั้นสอน ขั้นสรุป
(แนวตอบ: การสูบบุหรี่ การสูดดมควันบุหรี่หรือสารเคมีเป็นเวลานานเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคถุงลมโป่ง พอง ซึ่งส่งผลทำให้ผนังท่อลมหนาและบวมขึ้น ทางเดินหายใจและถุงลมขาดความยืดหยุ่น มีเมือกเกาะ บริเวณทางเดินหายใจ จึงทำให้อากาศเข้า-ออกได้ยากกว่าปกติ และผนังถุงลมบางส่วนถูกทำลายจึงไม่ สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้ต้องหายใจเร็วและถี่กว่าปกติ และทำให้เหนื่อยง่ายกว่าปกติ) 2. ครูตรวจสอบผลจากการตอบคำถาม ท้ายหัวข้อ เรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ 3. ครูตรวจสอบผลจาก ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 4. ครูตรวจสอบผลจากการทำ Unit Question ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 5. ครูตรวจสอบผลจากการทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 6. ครูตรวจสอบผลจากแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 10. สื่อการสอน 1) หนังสือเรียนชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 2) แบบฝึกหัดชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ 11. แหล่งเรียนรู้ในหรือนอกสถานที่ 1) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2) อินเทอร์เน็ต 12. การวัดและประเมินผล รายการวัด วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน 1 การประเมินก่อนเรียน - แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบหายใจ - ตรวจแบบทดสอบก่อน เรียน - แบบทดสอบก่อนเรียน - ประเมินตาม สภาพจริง 2 ประเมินระหว่างการ จัด กิจกรรมการเรียนรู้ 1) กิจกรรมนำสู่การเรียน - การตอบคำถาม - สังเกตจากการตอบ คำถาม และแสดงความ คิดเห็น - แบบสังเกตพฤติกรรม รายบุคคล - ร้อยละ 60 ผ่าน เกณฑ์ 2) การควบคุมการ หายใจและการวัดอัตราการ หายใจ - ตรวจแบบฝึกหัด - ตรวจสอบผลกิจกรรม - ประเมินชิ้นงาน เรื่อง อัตราการหายใจของสัตว์ - แบบฝึกหัด - แบบประเมินการ ปฏิบัติการ - แบบประเมินชิ้นงาน - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 3) การนำเสนอผลการ ทำกิจกรรม - ประเมินการนำเสนอ ผลทำกิจกรรม - แบบประเมินการ นำเสนอผลทำกิจกรรม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 4) พฤติกรรมการ ทำงานรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 5) พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 6) คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - สังเกตความมีวินัย รับผิดชอบใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์