The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จัดทำโดย
คณะอนุกรรมการฝึกภาคปฏิบัติ 3
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121
โทรศัพท์ 02-696-5504 โทรสาร 02-986-8323
Website : http://www.socadmin.tu.ac.th
ออกแบบรูปเล่ม ณัฐนรี ช่วยวัฒนะ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Faulty Of Social Administration, 2022-02-15 04:03:10

คู่มือการฝึกภาคปฏิบัติ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

จัดทำโดย
คณะอนุกรรมการฝึกภาคปฏิบัติ 3
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121
โทรศัพท์ 02-696-5504 โทรสาร 02-986-8323
Website : http://www.socadmin.tu.ac.th
ออกแบบรูปเล่ม ณัฐนรี ช่วยวัฒนะ

คมู่ ือการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2564

บรรณาธิการ รองศาสตราจารยก์ มลทพิ ย์ แจ่มกระจ่าง
กองบรรณาธิการ อาจารย์ ดร.ปรนิ ดา ตาสี
ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล นริ าทร
ศาสตราจารย์ ดร.พงษเ์ ทพ สนั ติกลุ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปานรัตน์ นม่ิ ตลุง
ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ ดร.วิไลภรณ์ โคตรบงึ แก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภุชงค์ เสนานุช
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.นิฤมน รตั นะรัต
ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สุขมุ า อรณุ จติ
อาจารย์ ปุณกิ า อภริ กั ษไ์ กรศรี
อาจารย์ พงศยา ภูมิพฒั น์โยธนิ
อาจารย์ ดร.สรสชิ สว่างศิลป์
นางสาวนิศา สุขประเสรฐิ
นางยพุ าพร ศกุ รินทร์

จดั ทาโดย คณะอนุกรรมการฝา่ ยการศึกษาฝึกภาคปฏบิ ัติ 3
คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์
สนับสนนุ โดย มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ศนู ยร์ งั สติ
พมิ พ์ครง้ั ท่ี 1 99 หมู่ 18 ถ.พหลโยธนิ ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศพั ท์ 02-696-5504
โทรสาร 02-986-8323
https://www.socadmin.tu.ac.th/

คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
กุมภาพนั ธ์ 2565

2

ค่มู อื การฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 3
ปกี ารศึกษา 2564

การฝึกภาคปฏิบัติ เป็นหัวใจสาคัญของการเรียนการสอนที่มุ่งสู่ความเป็นวิชาชีพ
นักศึกษาสังคมสงเคราะห์จึงต้องฝึกภาคปฏิบัติเพื่อท่ีจะเรียนรู้ในการปฏิบัติจริง สาหรับ
หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ปี 2559 มีการฝึกภาคปฏิบัติ 3 เป็นการฝึกเชิง
บูรณาการสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสานโดยนักศึกษาท่ีฝึกภาคปฏิบัติ 3 เป็นนักศึกษาชน้ั ปี
ที่ 4 ที่มีความพร้อมสาหรับการก้าวสู่ความเป็นนักสังคมสงเคราะห์มืออาชีพ โดยฝ่ายฝึก
ภาคปฏิบัติได้นามาตรฐานคุณภาพการศึกษาสังคมสงเคราะห์ สมรรถนะทางวิชาชีพสังคม
สงเคราะห์ คุณลักษณะบัณฑิตสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และคุณลักษณะของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเป็นเป้าหมายของการฝึกภาคปฏิบัติ 3 ท่ีมีความเป็นสากล
เช่นเดียวกับการฝึกงานของนักศกึ ษาสงั คมสงเคราะหใ์ นประเทศอ่ืนๆ คู่มือการฝึกภาคปฏบิ ัติ
3 ได้รวบรวมกระบวนการและขั้นตอนการฝึกฯ รวมท้ังหลักเกณฑ์การฝึกฯ 3 และ
แบบฟอร์มต่างๆที่จาเป็นเพ่ือเป็นแนวทางสาหรบั นักศึกษาและอาจารย์นิเทศงานท้ังในคณะ
และอาจารย์นเิ ทศงานภาคสนามใช้ในการทางานและทาให้การฝึกภาคปฏิบตั ิ 3 ดาเนินไปได้
อย่างสะดวกขึ้น อย่างไรก็ตาม ฝ่ายการศึกษาและภาคปฏิบัติยินดีรับข้อคิดเห็นและ
ขอ้ เสนอแนะจากทกุ ฝ่ายเพ่ือปรบั ปรุงคุณภาพของคู่มอื และการฝกึ ภาคปฏบิ ัติใหด้ ยี ง่ิ ขึน้

การฝึกภาคปฏิบัติ 3 ในปีน้ีเป็นการฝึกออนไลน์ หรือผสมผสานระหว่างออนไลน์
กับการฝึกในพื้นที่ เน่ืองจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ส่งผลใหต้ ้องมกี ารปรับเปล่ียนแนวทางการฝกึ รวมทั้งการประเมินผล ทง้ั นี้เพื่อความปลอดภัย
ของนักศึกษา เจา้ หน้าทีข่ องหนว่ ยงานและชมุ ชนในพน้ื ท่ฝี กึ ฯเป็นสาคัญ

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์หวังว่าคู่มือฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องกับการฝึกภาคปฏิบัติและเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงาน
สังคมสงเคราะห์ของนักศึกษาและผู้ที่ปฏิบัติงานในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และขอขอบคุณ
หน่วยงานฝึกภาคปฏิบัตแิ ละอาจารย์นิเทศงานท้ังภาคสนามและของคณะท่ีมีบทบาทสาคัญ
ต่อการสร้างสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติสาหรับนักศึกษาเพื่อ ให้เติบโตไปสู่
การเป็นนักสังคมสงเคราะห์วชิ าชีพต่อไป

บรรณาธกิ าร

3

สารบญั

หมวดที่ 1 ภาพรวมการฝกึ ภาคปฏบิ ัติ........................................................................ 7
1.1 ภาพรวมหลักสตู รการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ............................................................... 8
1.2 นโยบายการฝึกภาคปฏิบัติ............................................................................13
1.3 โครงสร้างของการฝึกภาคปฏบิ ตั ิ...................................................................14
1.4 หนา้ ทคี่ วามรบั ผดิ ชอบของฝา่ ยตา่ ง ๆ ในการฝึกภาคปฏบิ ตั ิ.........................18
1.4.1 คณะอนุกรรมการฝึกภาคปฏบิ ตั ิ ...........................................................19
1.4.2 อาจารย์นเิ ทศงานของคณะ...................................................................20
1.4.3 หนว่ ยฝกึ และอาจารย์นิเทศงานภาคสนาม............................................22
1.4.4 นกั ศกึ ษา...............................................................................................26
1.5 แนวการให้ความชว่ ยเหลือดูแลเม่ือนักศกึ ษามปี ัญหาทางสขุ ภาพจติ ............31
1.5.1 นกั ศกึ ษา...............................................................................................31
1.5.2 อาจารยน์ เิ ทศภาคสนามและอาจารย์นเิ ทศงานในคณะ ........................31
1.6 ข้นั ตอนการฝึกภาคปฏบิ ัติ 3 สาหรับนกั ศึกษา..............................................32
1.6.1 การเตรียมตวั กอ่ นการฝกึ ภาคปฏบิ ัติ ....................................................32
1.6.2 ระหวา่ งการฝึกภาคปฏิบตั ิ ....................................................................32
1.6.3 ภายหลงั การฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ ...................................................................33
1.7 ระเบียบการฝึกภาคปฏิบตั ิ 3 ........................................................................33
1.8 ข้อควรปฏิบัตแิ ละขอ้ ควรระวังในการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ .....................................36
1.8.1 เคารพต่อวัฒนธรรม ความเชอื่ และประเพณที ้องถน่ิ .............................36
1.8.2 แตง่ กายสภุ าพให้เหมาะสม...................................................................36
1.8.3 วางตัวเหมาะสมให้สมกบั ความเปน็ นักวิชาชีพ......................................36
1.8.4 มีความรบั ผดิ ชอบและมนษุ ย์สัมพันธ์....................................................37

หมวดที่ 2 การฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 3................................................................................38
2.1 คาอธิบายรายวิชาและวตั ถุประสงค์ของการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 3........................39
2.2 ฐานคดิ ในการกาหนดแนวทางการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 3 ......................................40
2.3 ผังกระบวนการฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 3 ...................................................................43
2.4 หลกั เกณฑ์การประเมินผลการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 3............................................43

หมวดที่ 3 กระบวนการฝกึ ภาคปฏบิ ัติ 3..................................................................51

4

3.1 ขั้นตอนการเตรยี มการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3 ........................................................52
3.1.1 การรวมกลุ่ม การพฒั นาประเดน็ การฝกึ และการหาสถานทฝ่ี กึ ฯ.........52
3.1.2 การพัฒนาโครงการและแผนการฝกึ ฯ รว่ มกบั อาจารย์ทปี่ รึกษา...........52
3.1.3 โครงการและแผนการฝึกฯ 3 และการประเมินผลการเตรยี มความพร้อม
การฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3 .......................................................................................53

3.2 ขนั้ ตอนการลงฝกึ ภาคปฏิบัติ ........................................................................54
3.2.1 การเตรยี มความพรอ้ มนกั ศกึ ษาและการปฐมนิเทศฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 3.....54
3.2.2 การนเิ ทศงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฝึกภาคปฏิบตั ิ 3.........56
3.2.3 การปัจฉมิ นเิ ทศการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 3 ....................................................56
3.2.4 การจัดทารายงานผลการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 3 (จากแผนการฝกึ สผู่ ลผลิตและ
ผลลพั ธ์ที่เกดิ ขึน้ ).............................................................................................58
3.2.5 การจัดทารายงานและงานทต่ี อ้ งนาสง่ ..................................................59

หมวดที่ 4 ปฏิทินการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3 และหนว่ ยฝกึ ภาคปฏบิ ัติ 3..........................63
4.1 ปฏิทนิ การฝึกภาคปฏบิ ัติ 3 ปกี ารศึกษา 2/2564.........................................63
4.2 รายชอ่ื กลมุ่ /โครงการ อาจารย์ผูน้ ิเทศงานและหน่วยงาน..............................66

หมวด 5 การติดตอ่ คณะอนกุ รรมการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 3 ………………………………….…111

ภาคผนวก ..............................................................................................................114
1. เป้าหมายของสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์บัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์..114
2. จรรยาบรรณแหง่ วิชาชพี สังคมสงเคราะห์ .....................................................119
3. เอกสารเกีย่ วกบั การดาเนนิ งานระหวา่ งการฝึกภาคปฏบิ ัติ 3 ........................122
4. เอกสารเก่ยี วกบั การประเมนิ ผลการฝกึ ภาคปฏิบตั ขิ องนักศึกษา...................124
5. แนวทางการถอดบทเรยี นการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ.................................................129
6. แบบบนั ทึกการนิเทศงานของอาจารย์นเิ ทศงานในคณะ................................133
7.แบบประเมนิ การนิเทศงานอาจารย์นิเทศงานในคณะ และอาจารยน์ ิเทศงาน
ภาคสนาม..........................................................................................................134
8.ประเด็นการเขียนโครงการทางสงั คม...............................................................137

5

คมู่ ือ การฝกึ ภาคปฏิบัติ 3
SOCIAL WORK FIELD PRACTICUM 3
คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์
ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2564

1 ภารพรวมการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ
คู่มอื การฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3

SOCIAL WORK FIELD PRACTICUM 3

1.1 ภาพรวมหลักสูตรการฝกึ ภาคปฏิบัติ
การศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์มงุ่ ผลิตบัณฑิตใหส้ ามารถบรู ณาการองค์

ความรู้ ทัศนคติ และทกั ษะทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ และประยกุ ต์ใช้เคร่อื งมอื การ
ทางานทางวชิ าชีพในการทางานกับคน องคก์ ร ท้องถิ่น ชุมชน สังคม ทั้งในระดับชาติ
ภูมิภาคสากล รวมทั้งสามารถทางานแบบสหวิชาชีพได้อย่างเหมาะสมและ
ความสามารถพัฒนาวิธีการทางานใหม่ ๆ เพ่ือให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่
เปล่ียนแปลงตลอดเวลา

หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกอบด้วยการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยการฝึกภาคปฏิบัตินั้นถือ
เป็นหัวใจของการศึกษาสังคมสงเคราะห์ เน่ืองจากประสบการณ์จากการฝึก
ภาคปฏิบัตเิ ปน็ องคป์ ระกอบท่ีสาคญั ในการพัฒนาคุณสมบตั ิและศักยภาพทางวิชาชีพ
ของนักศึกษาท่กี าลังจะก้าวไปเปน็ นักสังคมสงเคราะห์ในอนาคต โดยเป็นปัจจัยสาคัญ
ในการปลูกฝังความรู้ เจตคติ ทักษะ ค่านิยม และจริยธรรมทางวิชาชีพสังคม
สงเคราะห์ รวมท้ังเป็น “พ้ืนท่ี” ของการฝึกให้นักศึกษาเข้าใจอย่างลึกซ้ึงถึงการ
สะท้อนความสมั พนั ธเ์ ชอื่ มโยงระหวา่ งความร้แู ละการปฏบิ ตั ิ ซึง่ สามารถจัดการความรู้
ได้จากฐานการปฏิบตั ิงานจริง

แม้หน่วยฝึก/ชุมชน มีความแตกต่างด้านมิติทางสังคม รูปแบบการทางาน
รวมทั้งแนวทางการจัดสวัสดิการ แต่ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในกระบวนการ
ฝึกภาคปฏิบัติ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การปฐมนิเทศ มัชฌิมนิเทศ และปัจฉิม
นิเทศ รวมท้งั การสัมมนาหลังจากการฝึกภาคปฏิบัติ และการประเมินร่วมกันระหวา่ ง
อาจารย์นิเทศงานและนักศึกษา จะสามารถสะท้อนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่สาคัญ
รวมท้ังสอดคล้องกบั คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาของคณะสังคมสงเคราะห์
ศาสตร์ในมิติก้าวทันโลกทันสังคม การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และทรงพลัง การเป็น
ผู้นาและการทางานเป็นทีมสหวิชาชีพ ตลอดจนการมีจิตวิญญาณธรรมศาสตร์
นอกจากนั้นยังต้องสอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะสังคม
สงเคราะห์ศาสตร์ ทั้งในด้านความรู้ด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (Knowledge)
มีทัศนคติเชิงบวกในการทางานกับคนและสังคม (Attitude) มีทักษะการปฏิบัติงาน
สังคมสงเคราะห์ (Skills) และสมรรถนะปฏิบัติงานวิชาชีพ (Competencies)
ดงั ตารางต่อไปน้ี

8

1) มคี วามรู้ด้านสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ (Knowledge)

ตวั ชี้วัด 1 ช้ันปที ี่ 4
23 √
1. มีความรู้ทางวิชาการด้านสังคมสงเคราะห์ √√ √

สวัสดิการสังคม พัฒนาสังคม กฎหมายและศาสตร์ √ √√ √
√ √
ทีเ่ กี่ยวข้อง √
√ √
2. มีความรู้ท่ีทันสมัยเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของ √ √
สังคมและโลก √√ √
√ √
3. มีความรู้พ้ืนฐานการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ √

ระดบั จุลภาค (เฉพาะราย/ กลุ่มชน)
√√
4. มีความรู้เฉพาะการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ใน √√

องค์กร/ ชุมชน/ การบริหาร/ นโยบายสวัสดิการ

สังคม

5. มีความรู้ด้านการวิจัยที่ใช้ในการปฏิบัติงานสังคม

สงเคราะห์

6. มีความรู้เชิงบูรณาการเพื่อการปฏิบัติงานเชิงสห

วชิ าชพี

7. มีการพัฒนาองค์ความรู้ไปสู่การสร้างนวัตกรรม

สงั คม

8. มีการจดั การความรทู้ เี่ ปน็ ประโยชนต์ ่อการนาไปใช้

งานในองคก์ ร

9. มีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือ

พัฒนาระบบงานสงั คมสงเคราะห์

10. มีความรู้ด้านภาษาอย่างน้อย 2 ภาษาที่ใช้ √
ปฏิบตั งิ านสังคมสงเคราะห์

9

2) มที ศั นคติเชงิ บวกในการทางานกับคนและสงั คม (Attitude)

ตวั ชีว้ ัด ช้นั ปที ี่ 4
123 √

11. การเขา้ ใจคนตามสภาพความเป็นจริง ไม่มีอคติ √ √ √ √

12. การยอมรับ และเคารพ ในความ แตกต่ าง √ √ √ √
หลากหลายของวฒั นธธรรม √

13. คดิ บวก มองโลกตามความเป็นจรงิ √√√

14. คิดเปน็ ระบบ จัดลาดับความสาคญั ของงาน √√

15. คดิ แก้ไขปัญหาการทางานสังคมสงเคราะห์ √√ √

16. คิดวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทางาน √√
สงั คมสงเคราะห์ √

17. คิดบูรณาการเช่อื มโยงการทางานกบั องค์กร √

18. มที ัศนคตทิ ่ดี ใี นการปฏิบัตงิ านสังคมสงเคราะห์ √

19. การคานงึ ถึงประโยชน์สูงสดุ ของผ้ใู ชบ้ ริการ √

20. การรักษาความลับของผู้ใช้บริการ องค์กร และ

ไม่นาข้อมูลไปส่ือสารหรือเผยแพร่ต่อสาธารณะโดย √√

ไม่ได้รบั อนุญาต

3) มที กั ษะการปฏบิ ตั ิงานสงั คมสงเคราะห์ (Skills)

ตัวชี้วดั ชน้ั ปีท่ี
1234

21. การสรา้ งสมั พนั ธภาพทางวิชาชีพ √√√

22. การรบั แจ้งเบ้ืองตน้ / แรกรบั √√√

23. กรแสวงหาขอ้ เท็จจรงิ / การสบื คน้ ข้อเทจ็ จริง √√√

24. การศึกษาชมุ ชนอย่างละเอียดและรอบด้าน √√√

25. การประเมนิ ผู้ใช้บรกิ าร ครอบครัว ชมุ ชนอย่าง √√√
รอบด้าน

26. การประเมินปัจจัยเสี่ยง ความต้องการ ศักยภาพ √√√

10

ตวั ชี้วัด ชัน้ ปที ่ี
1234

ความเข้มแข็งของกลุม่ เป้าหมาย

27. การใช้เครื่องมือการประเมินบุคคล ครอบครัว √√√
กลุม่ ได้ถูกตอ้ ง

28. การใช้เครอ่ื งมอื ทางานกับชุมชน √√√

29. การวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ ปัญหาและ √√√
บรบิ ททางสงั คม

30. การวางแผนการจัดการรายกรณี/ กลุ่ม/ ชุมชน/ √√√
องค์กร

31. การวางแผนการทางานกับชมุ ชน √√

32. การจัดทาโครงการ/ กิจกรรมท่ีสอดคล้องกับ √√
แผนงาน

33. การดาเนินงานตามแผนการจดั การรายกรณี √√√

34. การให้คาปรึกษาแนะนากับผู้ใช้บริการแล ะ

ครอบครัว √√√

35. การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ √√√
จัดบรกิ ารทางสงั คม
36. การระดมทรัพยากรทางสังคมเพ่ือจัดบริการทาง √√√
สังคม
37. การสัมภาษณ์ ผู้ใช้บริการ ครอบ ครัวและ √√√
ผ้เู กีย่ วขอ้ ง √√√
38. การเยีย่ มบา้ น √√√
39. การเข้าร่วม Case Conference กับ ที ม ส ห √√√
วิชาชพี √√√
40. การเสรมิ พลงั และพทิ ักษ์สิทธกิ ลุ่มเปา้ หมาย
41. การส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครองสวัสดิภาพ
กลมุ่ เป้าหมาย/ ชุมชน

11

ตัวช้ีวดั ชน้ั ปีที่
1234

42. การทางานเป็นทมี / ทมี สหวิชาชพี √√√

43. การจดั การความขัดแย้งในชมุ ชน √√√

44. การเจรจาต่อรอง/ การไกล่เกลีย่ √√√

45. การวิจยั เพอื่ พัฒนาบรกิ ารทางสังคม √√√

46. การบนั ทึก/ การรายงานการฝกึ ภาคปฏบิ ัติ √√√

47. การนาเสนองานตอ่ สาธารณะอย่างสรา้ งสรรค์ √√√

48. การผลั กดั นให้ เกิด ม าต รการ/ แ นวท าง/

ข้อตกลง/ กติกาของการทางานกับกลุ่มเป้าหมาย/ √√√

ชุมชน/ พ้ืนท่ี

49. การสง่ ตอ่ กบั หน่วยงานท่เี กย่ี วข้อง √√√

50. การถอดบทเรยี น/ การจัดการความรู้ √√

4) ความสามารถการปฏบิ ัติงานวิชาชพี (Competencies)

ตัวชีว้ ดั ช้นั ปที ี่ 4
123

51. สามารถทางานรว่ มกับผ้อู นื่ √√√

52. สามารถจัดการ วเิ คราะห์ และแก้ไขปัญหา √√√

53. สามารถวิเคราะหข์ ้อมลู อย่างเป็นระบบ √√√

54. สามารถบูรณ าการความรู้ วิธีการสังคม √√
สงเคราะห์ ไปสกู่ ารปฏบิ ตั งิ าน

55. ส าม ารถสื่อส ารและแสดงออกได้อย่าง √ √ √ √
เหมาะสม

56. สามารถใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาระบบงานใน √ √ √ √
องค์กร

57. สามารถทางานเปน็ ทีม √√√

58. สามารถทางานทมี สหวิชาชีพ √√√

59. สามารถวางแผนบริการที่ครอบคลุมด้านการ √√√
ป้องกัน/ พิทักษ์สิทธิ/ พัฒนา/ คุ้มครอง/ ฟื้นฟู/

12

ตัวช้ีวัด ชน้ั ปีท่ี 4
123

แก้ไขกลมุ่ เปา้ หมาย

60. สามารถประสานเครือข่ายทางสังคมในการ √√
จดั บรกิ ารทางสังคมกบั กลมุ่ เป้าหมาย

61. สามารถจัดการความขัดแย้งในการทางานสังคม √√
สงเคราะห์

62. สามารถผลักดันให้เกิดแนวทาง/ กติกา/ √√
มาตรการทางสังคม

63. สามารถใช้งานวิจัยไปพัฒนาการจัดบรกิ ารทาง √√√
สังคม

64. สามารถเปน็ ผนู้ าการเปลีย่ นแปลง √√

65. สามารถใช้ทักษะและเทคนิคพื้นฐานในการ √√√
ปฏบิ ตั งิ านสงั คมสงเคราะห์

66. สามารถใช้ทักษะและเทคนิคข้ันกลางในการ √√
ปฏบิ ัติงานสงั คมสงเคราะห์

67. สามารถใช้ทักษะและเทคนิคขั้นสูงในการ √
ปฏบิ ตั งิ านสังคมสงเคราะห์

68. สามารถสร้างเครื่องมือในการปฏิบัติงานสังคม √
สงเคราะห์

69. สามารถสร้างนวัตกรรมทางสังคมมาพัฒนา √√
ระบบงานสังคมสงเคราะห์

1.2 นโยบายการฝึกภาคปฏบิ ัติ
คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มีนโยบายการฝกึ ภาคปฏบิ ัติดงั นี้
1) มุ่งให้นักศึกษามีโอกาสศึกษาในหน่วยงานและชุมชน เพื่อการเรียนรู้

ฝึกฝนทักษะตามความสนใจของตนเอง และใช้โอกาสในการฝึกภาคปฏิบัติอย่างมี
คุณภาพ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถเชิงวิชาชีพ จากการศึกษาทาง
วชิ าการไปส่กู ารปฏบิ ัติงานทมี่ คี ณุ ภาพตอ่ การประกอบอาชพี ในอนาคต

13

2) มุ่งให้คณาจารย์ นักศึกษา รวมถึงหน่วยงานและชุมชนภาคีเครือข่าย
ผู้ปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับองค์ความรู้
ทักษะ เทคนิคการปฏิบัติงานใหม่ๆทางสังคมสงเคราะห์ เพ่ือนาไปสู่การพัฒนาการ
เรยี นการสอนและการปฏบิ ัติงานรว่ มกนั

3) ส่งเสริมให้หน่วยงานและชุมชนที่รับฝึกภาคปฏิบัติมีส่วนร่วมในการ
พัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถในการปฏบิ ัตงิ านสงั คมสงเคราะห์ทจ่ี ะนาไปสู่การ
เปน็ นักสงั คมสงเคราะห์วชิ าชพี ที่มีคณุ ภาพไปปฏบิ ตั งิ านเพ่ือสังคม

1.3 โครงสรา้ งของการฝกึ ภาคปฏิบัติ

หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2559 ได้กาหนดรายวิชาที่

เกย่ี วขอ้ งกบั การฝกึ ภาคปฏิบตั ไิ ว้ 4 วิชา ไดแ้ ก่

สค.201 การดงู านและการสัมมนา 3 หน่วยกิต

สค.202 การฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 1 6 หนว่ ยกิต

สค.301 การฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 2 6 หน่วยกติ

สค.401 การฝึกภาคปฏิบตั ิ 3 6 หนว่ ยกติ

โดยมีรายละเอยี ดรายวชิ าดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 วิชาบังคบั ภาคปฏบิ ัติ 4 วิชา

กระบวนการศึกษาฝึกภาคปฏิบัติเริ่มจากการศึกษาดูงานหน่วยงานทาง

สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดความเข้าใจเบ้ืองต้นใน

การให้บริการโดยตรงกับผู้ใช้บริการท่ีใช้วิธีการทางสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย กลุ่ม

ชน และชมุ ชน จากนน้ั เป็นการฝึกงานบนฐานองคก์ ร เพอื่ ใหน้ ักศกึ ษาไดฝ้ ึกปฏบิ ัตกิ าร

ทางานสังคมสงเคราะห์เฉพาะรายและกลุ่มชนในองค์กร ทั้งภาครัฐ เอกชน และ

ท้องถ่ิน และการฝึกงานบนฐานชุมชน เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การทางานกับชุมชน

และการดาเนินงานเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมในระดับท้องถิ่น โดยมีรายละเอียด

ของแต่ละวิชาดงั นี้

สค. 201 การดงู านและการสมั มนา 3 หนว่ ยกติ

SW 201 Field Visits and Seminars

(เฉพาะนักศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์)

วชิ าบงั คับกอ่ น : สอบได้ สค.111

14

การปฏิบัติงานขององค์การสังคมสงเคราะห์ และองค์การสวัสดิการสังคม

องค์การพัฒนาเอกชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กร

ภาคประชาชน องค์กรธุรกิจเอกชน ผู้ประกอบการทางสังคม เพื่อเรียนรู้ระบบงาน

สงั คมสงเคราะห์ ท้ังในระดับนโยบาย การบริหารงาน การปฏิบัติงานขององคก์ ารที่มี

ความหลากหลายของสังคมไทย เสริมสร้างทัศนคติทางวิชาชีพที่ดีของนักศึกษา และ

จริยธรรมของวชิ าชีพสังคมสงเคราะห์ (มีการศกึ ษาดูงาน)

สค. 202 การฝึกภาคปฏบิ ัติ 1 6 หนว่ ยกิต

SW 202 Field Practicum 1

(เฉพาะนกั ศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร)์

วิชาบงั คับก่อน : สอบได้ สค.201 และ สค.223

การฝึกปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์เฉพาะรายและกลุ่มชนผ่านการทางาน

ผสมผสานในระดับองค์กร โดยอาศัยพ้ืนฐานแนวคิด ทฤษฎี หลักการ วิธีการ

ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ทักษะ ทางวิชาชีพ โดยให้ความสาคัญกับการวิเคราะห์

เพ่ือพัฒนาทั้งรูปแบและวิธีการให้บริการอย่างมีมาตรฐาน และจรรยาบรรณทาง

วชิ าชีพ ทสี่ อดคล้องกบั บริบทของสังคมไทย

สค. 301 การฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 2 6 หน่วยกิต

SW 301 Field Practicum 2

(เฉพาะนกั ศึกษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์)

วิชาบังคบั กอ่ น : สอบได้ สค. 202 และ สค. 311

การฝกึ ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ชุมชนและกลมุ่ ชน โดยประยุกตใ์ ช้ทกั ษะ

หลักการ แนวคิดและทฤษฎีสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสาน ในการทางานชุมชน

หลายลักษณะท้ังเมือง ก่ึงเมืองกึ่งชนบท ชนบทชุมชนแออัดกลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ

ครอบคลุมการศึกษาและการวิเคราะห์ชุมชน การวางแผน การปฏิบัติบัติการตาม

แผนงาน การประเมินผล การพัฒนากลยุทธ์ในการทางานกับชุมชน และการระดม

การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและจริยธรรม

ทางวชิ าชพี (ฝึกภาคสนาม 360 ชัว่ โมง ตลอดภาคการศึกษา)

สค. 401 การฝกึ ภาคปฏิบัติ 3 6 หน่วยกิต

SW 401 Field Practicum 3

(เฉพาะนักศึกษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร)์

วิชาบงั คับกอ่ น : สอบได้ สค. 301, สค.313 และ สค. 314

15

การประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎี หลักการ วิธีการสังคมสงเคราะห์อย่าง
ผสมผสาน ผ่านโครงการทางสังคมเพ่ือฝึกปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ท้ัง
กลยุทธ์และกลวิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์โดยตรงและโดยอ้อม ท้ังระดับ
จลุ ภาคเชอื่ มโยงกับมัชมภาคและระดับมหาภาค ในองค์การสังคมสงเคราะห์ท้ังในและ
ต่างประเทศ หรือการทางานสังคมสงเคราะห์ตามประเด็นสาคัญทางสังคม อย่างมี
มาตรฐาน และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ (ฝึกภาคสนาม 570 ชั่วโมง ตลอดภาค
การศึกษา)

ในปีการศึกษา 2563 ซ่ึงเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนา
ไวรัส 2019 ทาให้ต้องเลื่อนการฝึกภาคปฏิบัติออกไป จึงส่งผลให้นักศึกษาต้องฝึก
ภาคปฏบิ ตั ิตอ่ เนือ่ งทง้ั ฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 2 และฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3

ปฏิทนิ การฝึกภาคปฏบิ ตั ใิ นภาพรวม

ช้ันปี ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศกึ ษาท่ี 2 ภาคฤดูรอ้ น

1 ศกึ ษาวิชาพื้นฐาน วชิ าเฉพาะ เพอ่ื สร้างฐานความรู้

2 การดูงานและสมั มนา การดงู านและสมั มนา การฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 1

(สค 201) (สค 201) (สค 202)

3

4 การฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 2 การฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3

(สค 301) (สค 401)

ท้ังนี้ตามกาหนดเวลาการฝึกภาคปฏิบัติในแต่ละปี จะมีรายละเอียดใน
ปฏิทินการฝกึ ภาคปฏบิ ัติประจาปนี ัน้ ๆ กลา่ วคือ

 การฝึกภาคปฏิบัติ 1 และ 2 ใช้เวลาฝึกงานคร้ังละ 360 ช่ัวโมง
ขณะที่การฝึกภาคปฏิบัติ 3 ใช้เวลา 570 ชั่วโมง รวมระยะเวลาการฝึกภาคปฏิบัติ
ตลอดหลักสูตร จานวน 1,290 ชว่ั โมง

16

 การฝึกภาคปฏิบัติ 1 อยู่ในช่วงภาคฤดูร้อนของการศกึ ษาชั้นปีที่ 2
และการฝึกภาคปฏิบตั ิ 2 อยู่ในช่วงภาคฤดูร้อนของการศึกษาช้ันปีท่ี 3 ขณะที่การฝึก
ภาคปฏบิ ตั ิ 3 อยู่ในชว่ งตน้ ของภาคการศึกษาที่ 2 ของนักศกึ ษาชนั้ ปที ี่ 4

 ในการฝึกภาคปฏิบัติแม้รูปแบบการทางานในแต่ละองค์กรและ
ชุมชนจะมีความแตกต่างกัน แต่คณะฯ คาดหวังให้นักศึกษาได้มีโอกาสปฏิบัติงาน
สังคมสงเคราะห์รายบุคคล รายกลุ่ม และบนฐานชุมชน โดยทางานร่วมกับ
กล่มุ เป้าหมายทห่ี ลากหลายทั้งในดา้ นอายุ ฐานวฒั นธรรม ปัญหาทางสงั คม และอ่ืน ๆ
ท้ังน้ีการฝึกภาคปฏิบัติ 1 และ 2 ทางฝ่ายการศึกษาภาคปฏิบัติเป็นผู้ดาเนินการ
คัดเลือกและส่งตัวนักศึกษาให้กับหน่วยงาน โดยพิจารณาบนฐานความสนใจ
เป้าหมาย และพ้ืนที่ที่นักศึกษาแสดงความจานง ความต้องการของหน่วยฝึก และ
ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการ แต่ในการฝึกภาคปฏบิ ัติ 3 นักศึกษาจะรวมกลุ่ม
และนาเสนอหน่วยงานด้านสงั คมสงเคราะห์ สวัสดิการสงั คมท่ีสนใจจะไปฝึกงานและ
จัดทาโครงการ แผนการฝึกรวมทัง้ แผนการฝึกฯ และติดต่อประสานงานกบั หน่วยงาน
น้ัน เพราะในการฝึกภาคปฏิบัติ 3 นักศึกษาอยู่ในช้ันปีที่ 4 ต้องแสดงออกถึงความมี
วฒุ ิภาวะและพร้อมสาหรับการเปน็ สงั คมสงเคราะห์ศาสตรบ์ ัณฑิตและชีวติ การทางาน

ส่วนท่ี 2 รายละเอียดวิชาบังคับภาคทฤษฎีท่ีนักศึกษาต้องศึกษาและ

สอบไดก้ ่อนการฝกึ ภาคปฏิบัติ 3 ได้แก่

สค. 301 การฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 2 6 หนว่ ยกิต

SW 301 Field Practicum 2

การฝกึ ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ชุมชนและกล่มุ ชน โดยประยุกตใ์ ช้ทักษะ

หลักการ แนวคิดและทฤษฏีสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสาน ในการทางานชุมชน

หลายลักษณะท้ังเมือง ก่ึงเมืองกึ่งชนบท ชนบทชุมชนแออัดกลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ

ครอบคลุมการศึกษาและการวิเคราะห์ชุมชน การวางแผน การปฏิบัติการตาม

แผนงาน การประเมินผล การพัฒนากลยุทธ์ในการทางานกับชุมชน และการระดม

การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและจริยธรรม

ทางวชิ าชพี (ฝกึ ภาคสนาม 360 ช่ัวโมง ตลอดภาคการศึกษา)

สค. 313 หลกั และวธิ ีการสงั คมสงเคราะห์ 4 3 หน่วยกติ
SW 313 Social Work Methodology 4

17

แนวคิด ทฤษฎี หลกั การ และวิธีการบรหิ ารองค์การ การบรหิ ารเชิงกลยุทธ์
การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการบริหารความเส่ียง ในองค์การสวัสดิการสังคม
และองค์การสังคมสงเคราะห์ กระบวนการบริหารงาน การวางแผนทางสังคมและ
สวัสดิการสังคม การจัดทาโครงการทางสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆ มาตรฐาน
การปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม เครื่องมือและทักษะการบริหารงานองค์การ
สวัสดิการสังคมท่ีสาคัญในการบริหาร การเพ่ิมผลผลิต การพัฒนาคุณภาพองค์การ
สวัสดิการสงั คม และองคก์ ารทางสงั คมสงเคราะห์

สค.314 หลกั และวิธีการสงั คมสงเคราะห์ 5 3 หน่วยกติ

SW 314 Social Work Methodology 5

นโยบายสวัสดิการสังคม องค์ประกอบพื้นฐาน แนวคิดทฤษฎีท่ีเกี่ยวข้อง

บทบาทความสาคัญต่อวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ และการปฏิบัติงานของวิชาชีพสังคม

สงเคราะห์ที่นาไปสู่การพัฒนานโยบาย ปัจจัยที่เอ้ือหรือเป็นอุปสรรคต่อการกาหนด

นโยบายและการวางแผนในงานสวัสดิการสังคมในระดับต่างๆ ทักษะและเทคนิคใน

การแสวงหาและเก็บรวบรวมข้อมูลเพ่ือการกาหนดนโยบายและการวางแผนในงาน

สวัสดกิ ารสงั คม และกรณศี กึ ษาทสี่ าคญั

1.4 หน้าที่ความรบั ผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ ในการฝึกภาคปฏบิ ัติ
การฝึกภาคปฏิบัติได้แบ่งโครงสร้างการทางานในรูปแบบคณะกรรม การ

และคณะอนุกรรมการ ประกอบดว้ ย

 คณะกรรมการฝึกภาคปฏิบัติ รับผิดชอบกาหนดนโยบาย แนว
ทางการดาเนนิ งาน และกากบั ดแู ลการฝึกภาคปฏบิ ตั ิ

 คณะอนุกรรมการฝึกภาคปฏิบัติ 1 รับผิดชอบดูแลการฝึก
ภาคปฏิบัติ 1

 คณะอนุกรรมการฝึกภาคปฏิบัติ 2 รับผิดชอบดูแลการฝึก
ภาคปฏบิ ัติ 2

 คณะอนุกรรมการฝึกภาคปฏิบัติ 3 รับผิดชอบดูแลการฝึก
ภาคปฏบิ ตั ิ 3

คณะกรรมการฝึกภาคปฏิบัติและคณะอนุกรรมการฝึกภาคปฏิบัติทุกชุด
ประกอบด้วยคณาจารย์ซง่ึ เป็นผู้แทนจากกลุม่ ชานาญการ (สาขาวิชาโท) และอาจารย์

18

จากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลาปางร่วมเป็น
คณะกรรมการฯด้วย เพ่ือพัฒนาความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ประกอบด้วยฝ่ายการศึกษาภาคปฏิบัติ เป็นตัวแทนของคณะฯ ในการบริหารจัดการ
งานด้านการฝึกภาคปฏิบัติ หน่วยฝึก/ชุมชน และอาจารย์นิเทศงานภาคสนามซ่ึงเป็น
หลักในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ รวมถึงวิธีคิด ทัศนคติทางวิชาชีพ และวิธี
ปฏิบัติงานที่เก่ียวข้อง อาจารย์นิเทศงานของคณะท่ีทางานร่วมกับนักศึกษาในการ
นาองค์ความรู้ภาคทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงกับกลุ่มเป้าหมายของ
งานสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม และส่วนท่ีเป็นศูนย์กลางของการฝึก
ภาคปฏิบัติได้แก่ คือนักศึกษาที่เป็นผู้กาหนดเป้าหมายของการเรียนรู้และ
ประสบการณท์ ่คี าดหวังจากการฝึกปฏบิ ัติและจากกระบวนการนเิ ทศงาน

ท้ังนี้ นอกเหนือจากหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานแล้ว ทุกฝ่ายที่
เก่ียวข้องยังต้องคานึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย เนื่องจากงาน
สังคมสงเคราะห์เป็นงานที่เกี่ยวเน่ืองกับการพิทักษ์สิทธ์ิและการเรียกร้องความเป็น
ธรรมทางสังคมในรูปแบบต่างๆ และเป็นงานท่ีต้องมีการติดต่อสัมพันธ์โดยตรงกับ
ชุมชน หรือผู้ใช้บริการ ที่มีความแตกต่างหลากหลาย กอปรกับในการฝึกภาคปฏิบัติ
นกั ศกึ ษาตอ้ งปฏบิ ัติงานและ/ใช้ชีวติ อย่ใู นชุมชน หรือพื้นทีท่ ่ีอาจจะไมค่ นุ้ ชนิ ซ่ึงอาจมี
ผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของนักศึกษา ดังนั้นจึงจาเป็นทจี่ ะต้องมกี าร
กาหนดหนา้ ที่เพือ่ การสง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ สุขภาพท่ีดแี ละความปลอดภัยสาหรับนักศกึ ษาใน
ระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติดว้ ย

การฝกึ ภาคปฏิบัติ 3 เกย่ี วขอ้ งกับฝ่ายต่างๆ ดงั นี้
1.4.1 คณะอนุกรรมการฝึกภาคปฏิบัติ
คณะอนุกรรมการฝึกภาคปฏิบัติ มีหน้าท่ีดูแลการฝึกภาคปฏิบัติ โดย
ครอบคลมุ เนื้องานตอ่ ไปนี้
1) รับผิดชอบการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติของนักศึกษาตามนโยบายของ

คณะฯ
2) พิจารณาความสอดคล้องของโครงการด้านสวัสดิการสังคมและ

สังคมสงเคราะห์ท่ีพัฒนาจากความสนใจของนักศึกษา ให้เป็นไปตาม
แนวทางการฝกึ ภาคปฏบิ ัติ

19

3) ร่วมเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์โครงการและแผนการฝึกภาคปฏิบัติ
ของนักศึกษา

4) อนมุ ัตโิ ครงการและแผนการฝกึ ภาคปฏบิ ัติของนกั ศกึ ษา
5) พิจารณาอาจารย์นเิ ทศงานของคณะฯ และอาจารย์นิเทศงานภาคสนาม
6) จัดให้มีการปฐมนิเทศ มัชฌิมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ เก่ียวกับการ

ฝกึ ภาคปฏิบัติ เพื่อสรา้ งความเขา้ ใจร่วมกนั ของทุกฝา่ ยที่เก่ียวข้องทั้งใน
สว่ นกลางและตา่ งจงั หวัด โดยเปน็ ผ้อู านวยความสะดวก
7) ประสานงานกับหนว่ ยงานภาคสนาม อาจารย์นเิ ทศงานภาคสนาม และ
อาจารยน์ เิ ทศงานของคณะ
8) กาหนดระเบยี บและขอ้ บงั คบั ต่างๆ สาหรบั การฝกึ ภาคปฏิบตั ิ
9) แก้ไขปญั หาขอ้ ขัดขอ้ งต่างๆ ท่เี กิดจากการฝกึ ภาคปฏิบัติและดาเนินการ
ตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัย ระเบียบของคณะสังคมสงเคราะห์-
ศาสตร์และระเบยี บการฝึกภาคปฏบิ ัติ ในการกาหนดโทษอนั อาจรวมถึง
การยุติการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา การปรับตก การภาคทัณฑ์
การพักการเรียน และการให้พ้นสภาพนักศึกษา ในกรณีที่มีความผิด
รา้ ยแรง
10) รวบรวมผลการประเมินการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาเสนอคณะฯ
เพอ่ื สง่ ต่อสานกั ทะเบยี นและประมวลผล มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์
11) รวบรวมข้อมูลและผลสะท้อนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาการ
ฝกึ ภาคปฏิบัติอย่างตอ่ เนือ่ ง

ด้านความปลอดภัย จัดทานโยบายความปลอดภัยของการฝึกภาคปฏิบัติ
เพ่ือแจกจ่ายให้กับนักศึกษา หน่วยฝึก/ชุมชน และอาจารย์นิเทศงานภาคสนาม
รวมถึงอาจารย์นิเทศงานของคณะ จัดอบรมให้ความรู้เก่ียวกับการดูแลสุขภาพ และ
ความปลอดภยั แก่นกั ศกึ ษาก่อนทจี่ ะเรม่ิ ฝึกภาคปฏิบัติ

1.4.2 อาจารยน์ เิ ทศงานของคณะ
มีบทบาทในการให้คาปรึกษาและคาแนะนากับกลุ่มนักศึกษาตั้งแต่พ้ืนที่/
หน่วยงานฝึกที่กลุ่มนักศึกษาสนใจ การพัฒนาประเด็นสนใจ พัฒนาโครงการ
วัตถปุ ระสงค์ กระบวนการ และแผนการฝึกภาคปฏิบตั ิ ให้เป็นไปตามกฎระเบยี บและ

20

แนวทางการฝึกภาคปฏิบัติ 3 โดยเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีด้านสังคมสงเคราะห์
สวัสดิการสังคม นโยบายและการพัฒนาสังคม และมีบทบาทหลักในการสอบ
สัมภาษณ์โครงการฝึกงานและแผนการฝึกของกลุ่มนักศึกษาในการดูแล โดยเป็นผู้
เสนอชอ่ื อาจารย์นิเทศงานร่วม

หน้าทีข่ องอาจารย์นเิ ทศงานของคณะมดี ังนี้
1) ร่วมให้คาแนะนาในการพัฒนาโครงการและแผนการฝึกของกลุ่ม

นักศึกษาในความดูแล พร้อมท้ังประเมินผลในข้ันการเตรียมความ
พรอ้ มโครงการฝึกภาคปฏิบตั ิ 3 ของกล่มุ นกั ศึกษา
2) สร้างเสริมให้นักศึกษามีความเข้าใจในปัญหาทางสังคม พัฒนาความรู้
และปรบั ประยุกต์ความรู้ทเี่ รยี นจากห้องเรยี น เพ่อื ใชใ้ นการปฏบิ ัติงาน
เกิดการเรยี นรู้และเหน็ ความเชื่อมโยงระหวา่ งทฤษฎแี ละประสบการณ์
ในภาคปฏิบัติ ทั้งนี้ด้วยการมีส่วนร่วมในการอบรมเสริมความรู้ให้แก่
นกั ศึกษาตามที่คณะกรรมการฝา่ ยการศึกษาภาคปฏบิ ัตกิ าหนด
3) รว่ มการสัมมนาที่จดั ขึ้นเพ่ือสังเคราะหค์ วามรูแ้ ละสร้างสรรค์พนื้ ท่ีแห่ง
การแลกเปล่ียนเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติให้กับนักศึกษา อันหมายถึง
การเข้าร่วมในการปฐมนิเทศ มัชฌิมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศการฝึก
ภาคปฏบิ ัติ
4) นิเทศงานฝึกภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาทั้งรายหน่วยงานและแบบ
รวมกลุ่มตามปฏิทินการฝึกภาคปฏิบัติหรือเม่ือมีความจาเป็น พร้อม
บันทึกในแบบบันทึกการนิเทศงานของอาจารย์นิเทศงานของคณะ
(ภาคผนวก 5) รวมท้ังให้คาแนะนาเก่ียวกับการเขียนบันทึกและการ
จัดทารายงาน การนิเทศงานในหน่วยงานหรือช่องทางการสื่อสารอื่น
ไดแ้ ก่ ทางโทรศัพท์ อเี มล ฯลฯ
5) ประสานงานกับหน่วยฝึก และอาจารย์นิเทศงานภาคสนาม เพื่อ
ปรึกษาหารือเก่ียวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา และการ
ดาเนินกิจกรรม โครงการ และการจัดการต่างๆของกลุ่มนักศึกษา
รวมทั้งการใช้องค์ความรู้ ทักษะต่างๆ ในการปฏิบัติงาน รวมถึง
ความสามารถในแก้ไขและจัดการปัญหาต่างๆ ที่พบในการฝึก
ภาคปฏิบตั ิอยา่ งมีวฒุ ิภาวะ

21

6) ในกรณีท่ีเกิดมีข้อขัดแย้งหรือปัญหาเก่ียวกับการฝึกภาคปฏิบัติ
อาจารย์นิเทศงานของคณะ สามารถตัดสินใจได้ตามความเหมาะสม
โดยผา่ นการหารือและทาขอ้ ตกลงรว่ มกบั อาจารย์นิเทศงานภาคสนาม
และแจง้ ต่อคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาภาคปฏบิ ตั ิ

7) ประสานงานกับอาจารย์นิเทศงานภาคสนามในการประเมนิ ผลการฝึก
ภาคปฏิบัติของนักศึกษาจากการนิเทศงาน การเข้าร่วมสัมมนา การ
เขียนบันทึก-รายงาน-และถอดบทเรียน โดยมีการสะท้อนผลการ
ประเมินร่วมกับนักศึกษา และส่งผลการประเมินต่อคณะกรรมการฝ่าย
การศึกษาภาคปฏบิ ตั ิตามกาหนดเวลาในปฏทิ ินการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ

8) ประสานกับหน่วยฝึกและอาจารย์นิเทศงานภาคสนาม เพื่อปรึกษา
เกย่ี วกับการพัฒนาการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ รวมถงึ ความเป็นไปไดใ้ นการเปิด
พืน้ ท่ฝี ึกในครั้งตอ่ ๆ ไป

9) ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการฝ่ายการศึกษา
ภาคปฏิบตั ิ เพื่อการพัฒนาการฝึกภาคปฏิบตั ิใหเ้ กิดประโยชน์สูงสุดแก่
ทุกฝา่ ยตอ่ ไป

ด้านความปลอดภัย ในสถานการณ์ที่มีความเส่ียงอันอาจส่งผลกระทบต่อ
สุขภาพและความปลอดภัยของนักศึกษาในระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติ ขอให้อาจารย์
นเิ ทศงานของคณะประสานกับอาจารย์นิเทศงานภาคสนามเพ่ือรว่ มกันประเมินความ
เสี่ยง โดยสามารถแจ้งให้นักศึกษางดฝึกในช่วงเวลาท่ีมีความเสี่ยง และหารูปแบบ/
แนวทางอ่ืนทเ่ี หมาะสมเพ่ือทดแทนการฝึกงานได้

ทั้งนห้ี ากสถานการณค์ วามเสย่ี งมแี นวโน้มท่ีจะรุนแรง หรอื ต่อเนื่องยาวนาน
ขอให้อาจารย์นิเทศงานของคณะประสานกับฝ่ายการศึกษาภาคปฏิบตั ิเพอื่ ร่วมกันหา
แนวทางการดาเนนิ งานเพอื่ ลด/กาจัดความเส่ียงดังกล่าว

1.4.3 หน่วยฝกึ และอาจารยน์ เิ ทศงานภาคสนาม
วัตถุประสงค์ประการหน่ึงของการฝึกภาคปฏิบัติ 3 คือ มุ่งให้นักศึกษาได้มี
ประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะสาหรับงานสังคมสงเคราะห์ ผ่านโครงการรวมถึงการ
บริหารจัดการโครงการ การออกแบบการทางานอย่างมีมาตรฐานและเป็นมืออาชีพ
ท้ังน้ีนักศึกษาต้องใช้เวลา 570 ช่ัวโมงในการใช้องค์ความรู้ ฝึกการใช้ทักษะ

22

การปฏิบตั ิงานดว้ ยการบรหิ ารงานผ่านโครงการด้านสังคมสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม
ทพ่ี ัฒนาและออกมา เพอ่ื ให้เกิดการเรียนรตู้ รงตามวัตถุประสงคข์ องการฝกึ ภาคปฏบิ ัติ

ดังน้ันหน่วยฝึกและอาจารย์ภาคสนามจึงมีบทบาทสาคัญย่งิ ในการมบี ทบาท
ในการฝึกงานของนักศึกษา โดยเฉพาะการฝึกภาคปฏิบัติ 3 ซึ่งนักศึกษาต้อง
ดาเนินการเตรียมการฝึกงานด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่การหาประเด็นความสนใจ
หน่วยงานที่ตอบโจทย์ตามประเด็นความสนใจ และการพัฒนาโครงการฝึกงานตาม
ประเด็นความสนใจน้ันและออกแบบแผนการฝึก ซึ่งข้ันตอนการเตรียมการเหล่าน้ัน
ต้องอาศัยการประสานงานกับหน่วยงานฝึกและอาจารย์ภาคสนามที่จะเข้ามามี
บทบาทในการตอบข้อซักถาม ให้ข้อมูลและคาปรึกษาแนะนาแก่นักศึกษา เมื่อพัฒนา
โครงการฝึกฯและแผนการฝึกเรียบร้อยแล้ว ยังมีบทบาทในการร่วมพิจารณาสอบ
สัมภาษณ์เพื่อดูความสอดคล้องและความเหมาะสมของโครงการและแผนการฝึกให้
เปน็ ไปตามวัตถปุ ระสงค์ เปา้ หมายของการฝึกภาคปฏบิ ัติ 3 หลงั จากโครงการฝกึ และ
แผนการฝึกได้รับอนุมัติแล้ว บทบาทของอาจารย์นิเทศงานภาคสนามจะมีมากย่ิงขึ้น
เมื่อกลุ่มนักศึกษาลงฝึกภาคปฏิบัติในหน่วยฝึกจนสิ้นสุดการฝึกงาน โดยหน้าที่และ
ความรับผดิ ชอบของหน่วยฝึกและอาจารยน์ เิ ทศงานภาคสนาม มีดงั นี้

1) ช่วงเตรียมพัฒนาประเด็นและโครงการฝึกฯ ขอความกรุณาอาจารย์
นิเทศงานภาคสนามให้ข้อมูลและคาแนะนาแก่นกั ศึกษาในระหวา่ งการ
พฒั นาโครงการและแผนการฝกึ รวมทง้ั เขา้ ร่วมสอบสัมภาษณโ์ ครงการ
และแผนการฝึกของกลุ่มนักศึกษาในความดูแล พร้อมท้ังร่วม
ประเมินผลในข้ันการเตรยี มความพรอ้ มโครงการฝึกภาคปฏิบัติ 3 ของ
กลมุ่ นกั ศึกษา

2) ในช่วงการเร่ิมฝึกภาคปฏิบัติ อาจารย์นิเทศงานภาคสนามอาจจัดการ
ปฐมนิเทศ/แนะนาข้อมูลของหน่วยฝึก ทั้งด้านการบริหารองค์กร
นโยบายการดาเนินงาน กฎระเบียบ และเจ้าหน้าที่ท่ีเกี่ยวข้อง และ
ข้อมูลเก่ียวกับพื้นที่ วิธีปฏิบัติงานรวมถึงข้อควรระวัง และบทบาท
ความรับผิดชอบของนักศึกษาระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติและแนวทาง
ปฏิบัติตนที่จาเป็นต่อการเรียนรู้ การปรับตัว และความปลอดภัยของ
นักศกึ ษา ทัง้ ในหน่วยงานหรือพืน้ ท่กี ารปฏบิ ัติงาน

23

3) บริหารจัดการแผนการเรียนรู้ของนักศึกษาจากโครงการของนักศึกษา
ตามแผนการปฏิบัติงานท่ีนักศึกษาออกแบบภายใต้คาแนะนาของ
อาจารย์นิเทศในคณะและอาจารย์นิเทศภาคสนาม ตลอดจนให้
ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และเทคนิคการทางานภายในกรอบ
วตั ถุประสงคข์ องการฝึก

4) ใหเ้ วลาในการนิเทศงานสาหรับกลุม่ นกั ศึกษาอยา่ งน้อยสปั ดาห์ละ 2 -
3 ชั่วโมง เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ท่ีผ่านมา พร้อมให้
ข้อคิดเห็น คาแนะนา คาปรึกษา เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของ
นักศึกษาและป้องกันความผิดพลาดซึ่งอาจจะมีผลกระทบทางลบต่อ
ผู้ใชบ้ ริการ ชุมชน หรอื หน่วยงาน

5) ประสานกับอาจารยน์ ิเทศงานของคณะ เพื่อปรกึ ษาหารือเก่ยี วกับการ
เรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา และการฝึกใช้ทักษะต่างๆ
ในการปฏบิ ัตงิ าน รวมถึงแกไ้ ขปญั หาตา่ งๆ ที่พบในการฝกึ ภาคปฏบิ ัติ

6) ในกรณีท่ีเกิดมีข้อขัดแย้งหรือปัญหาเก่ียวกับการฝึกภาคปฏิบัติ
อาจารย์นิเทศงานภาคสนาม สามารถตัดสินใจได้ตามความเหมาะสม
โดยอาจหารือและทาข้อตกลงร่วมกับอาจารย์นิเทศงานของคณะแล้ว
แจง้ ต่อคณะอนกุ รรมการฝา่ ยการศกึ ษาและภาคปฏิบัติ 3

7) เข้าร่วม/จัดการสัมมนาเพ่ือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้จากการฝึก
ภาคปฏิบัติกบั นกั ศึกษา ตามปฏิทนิ การฝกึ ภาคปฏิบัติ

8) ดแู ลให้นกั ศึกษาปฏิบตั ิตามกฎระเบียบของหน่วยงาน และกฎระเบียบ
ของการฝึกภาคปฏบิ ตั ิ

9) ประสานกับอาจารย์นิเทศงานของคณะ ในการประเมินผลการฝึก
ภาคปฏิบัติของนักศึกษา ตามแนวทางการประเมินผลการฝึก
ภาคปฏิบัติ หรือแผนการเรียนรู้ท่ีกาหนดไว้ โดยพิจารณาจากความรู้
ความสามารถ ทัศนคติ และทกั ษะการปฏิบัติงานของนักศกึ ษา รวมทั้ง
พฤติกรรมของนักศึกษารายบุคคลที่สะท้อนถึงวุฒิภาวะ ความ
รับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย โดยการประเมินร่วมกับนักศึกษา

24

(เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาและอาจารย์
นิเทศงาน) และส่งผลการประเมินต่อคณะกรรมการฝ่ายการศึกษา
ภาคปฏบิ ตั ติ ามกาหนดเวลาในปฏิทินการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ

10) ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะแก่คณะกรรมการฝึกภาคปฏิบัติของคณะ
สังคมสงเคราะห์ศาสตร์โดยตรง และ/หรือผ่านทางอาจารย์นิเทศงาน
ของคณะ เพ่ือพฒั นาการฝึกภาคปฏิบตั ิตอ่ ไป

11) ให้ความเห็นต่อรายงานประจาวัน/ สัปดาห์ของนักศึกษา รวมถึง
รายงานสรุปผลการฝึกภาคปฏิบัติ และรายงานส่วนบุคคล (อาจมีเพ่ือ
วัดผลความสามารถของนักศึกษาแตล่ ะคน)

**อาจารย์นิเทศงานภาคสนามสามารถนาผลการรับนักศึกษาฝึก
ภาคปฏิบัติไปนับหน่วยคะแนนจากสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
ตามที่สภาวิชาชีพกาหนดไว้ 1 คนต่อ 1 หน่วยฝึกฯ เท่ากับ 5
คะแนนแต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คะแนน โดยหน่วยงานควรมี
คาสั่งแต่งต้ังมอบหมายงานนักสังคมสงเคราะห์ในการดูแลด้านการ
ฝึกภาคปฏิบตั ิ การสอนงาน การนิเทศงานอยา่ งต่อเนอ่ื ง**

ดา้ นความปลอดภยั
หน่วยฝึกท่ีมีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ควรพิจารณาจัดทานโยบาย
และแผนความปลอดภัย ซึ่งมีรายละเอียดที่สามารถอ่านเข้าใจง่าย และกาหนดข้อ
ปฏิบัติในภาวะฉกุ เฉิน ซงึ่ รวมถงึ

 การสรา้ งพื้นที่ทางานและวฒั นธรรมการทางานท่มี คี วามปลอดภัย
โดยเฉพาะในสถานการณโ์ รคระบาดไวรัสโควดิ 2019 หน่วยงาน
ต้องมีมาตรการและอุปกรณ์ป้องกัน รวมท้ังการแจ้งให้นักศึกษา
วางแผนป้องกันตนเองหากมีความจาเป็นต้องลงปฏิบัติงานใน
พน้ื ทห่ี รือหน่วยงานในบางครงั้

 ในสถานการณ์ท่ีมีความเส่ียงอันอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและ
ความปลอดภัยของนักศึกษาในระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติ ขอให้
ทางหน่วยฝึก/ชุมชน และอาจารย์นิเทศงานภาคสนามประสาน
กับอาจารย์นิเทศงานของคณะโดยเร็วท่ีสุด เพ่ือร่วมกันประเมิน

25

ความเสี่ยง โดยสามารถแจ้งให้นักศึกษางดฝึกในช่วงเวลาท่ีมี
ความเสีย่ ง และทาการฝึกชดเชยในช่วงเวลาอนื่ ๆ ทดแทนได้
ทัง้ น้ีหากสถานการณ์ความเสย่ี งมีแนวโน้มที่จะรุนแรง หรือต่อเน่อื งยาวนาน
ขอให้อาจารย์นิเทศงานภาคสนามและอาจารย์นิเทศงานของคณะฯประสานกับฝ่าย
การศึกษาภาคปฏิบัติเพื่อร่วมกันหาแนวทางการดาเนินงานเพ่ือลด/กาจัดความเส่ียง
ดงั กล่าว

1.4.4 นักศกึ ษา
การฝึกภาคปฏิบัติ 3 เป็นการฝึกงานที่เน้นนักศึกษาเป็นฐาน (Student
centered) เพราะนักศึกษาผา่ นการฝึกงานมา 2 ครงั้ (ฝึกภาคปฏิบัติ 1 – 2) มีความ
เป็นผู้ใหญ่ และมีวุฒิภาวะเพียงพอสาหรับความรับผิดชอบและการตัดสินใจ ดังน้ัน
กระบวนการฝึกภาคปฏิบัติ 3 จึงถูกออกแบบและวางแนวทางการฝึกฯ เพ่ือมุ่งเน้น
การเรียนรู้ของนักศึกษา ทั้งน้ีนักศึกษาจะต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทั้งหมด ท้ังฝ่ายการศึกษาภาคปฏบิ ัติ อาจารย์นิเทศงานภาคสนาม อาจารยน์ ิเทศงาน
ของคณะ โดยเฉพาะอย่างย่ิงผใู้ ช้บริการ องค์การสังคมสงเคราะหแ์ ละสวัสดกิ ารสังคม
และชุมชน โดยหน้าที่และความรบั ผดิ ชอบของนักศึกษา มดี งั นี้
1) นักศึกษารวมกลุ่มกัน 1- 6 คน ต่อโครงการ เพื่อคุยประเด็นที่จะ

พัฒนาเป็นโครงการและสถานท่ีฝึกงานที่สนใจฝึก ท้ังพ้ืนที่ฝึกภาค
ปฎิบัติ 1 , 2 ท่ีนักศึกษาเคยฝึกภาคปฏิบัติมาแล้วโดยการศึกษาต่อ
ยอด, พื้นที่ฝึกภาคปฏิบัติ 3 ของนักศึกษารุ่นท่ีแล้วโดยศึกษาต่อยอด
หรือพื้นที่ฝึกภาคปฏิบัติใหม่ จากหน่วยงาน/องค์กรที่นักศึกษา
ประสานงานไว้แล้ว หรือจากเครือข่าย ฯลฯ ท้ังนี้โดยได้รับความ
เห็นชอบจากหน่วยงานเจา้ ของพืน้ ท่ี
2) นักศึกษาติดต่อประสานงานกับพ้ืนที่/สถานที่ฝึกงานเบ้ืองต้น รวมท้ัง
การค้นคว้าข้อมูลเก่ียวกับประเด็นการฝึกงานร่วมกับอาจารย์ที่กลุ่ม
นักศึกษาสนใจให้เปน็ อาจารย์ที่ปรึกษา
3) นักศึกษาแจ้งฝ่ายฝึกฯ ให้ทราบถึงประเด็นท่ีสนใจ/พื้นท่ี/หน่วยงานที่
จะลงฝึกงาน เพื่อฝ่ายฝึกฯ จะได้แต่งต้ังอาจารย์ท่ีปรึกษา จัดทา
เอกสารให้นักศึกษานาไปประสานงานเบื้องต้นกับพ้ืนที่/หน่วยงานท่ี
สนใจ

26

4) กลุ่มนักศึกษาได้รับการยืนยันจากหน่วยงาน/พ้ืนท่ีฝึกงาน อาจารย์ที่
ปรึกษา และพัฒนาโครงการและแผนการฝึกงานร่วมกับอาจารย์ท่ี
ปรกึ ษาในคณะและภายนอกคณะ และสง่ เค้าโครงและแผนการฝึกฯ 3
ใหฝ้ า่ ยการศึกษาฝกึ ภาคปฏิบัติ

5) การเข้าร่วมปฐมนิเทศ มัชฌิมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศฝึกภาคปฏิบัติ 3
ยกเว้นกรณีเจ็บป่วย และการประสบอุบัติเหตุร้ายแรง นักศึกษาต้อง
ย่ืนใบ รับ รองแพ ท ย์ป ระก อบ การล าป่ วย ฉุกเฉิน แ ล ะก ารรัก ษ าขอ ง
แพทยป์ ระกอบการลาต่อคณะอนุกรรมการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3 พจิ ารณา

6) การปฏิบัตติ นตามจรรยาบรรณแหง่ วิชาชพี สังคมสงเคราะห์ พฤตกิ รรม
ด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาคผนวก 2 ) รวมถึงระเบียบของหน่วย
ฝึกและระเบยี บของการฝกึ ภาคปฏบิ ัติอยา่ งเครง่ ครัด

7) การเก็บรักษาความลับ นักศึกษาต้องร่วมรับผิดชอบในการเก็บรักษา
ความลับของบันทึกทางสังคมสงเคราะหข์ องหน่วยงาน/ชุมชน ต้องไมม่ ี
การนาบันทึกของหน่วยงาน/ชุมชนออกจากพื้นท่ีโดยไม่ได้รับอนุญาต
ในกรณีท่ีนักศึกษาจัดทาบันทึกส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ใช้บริการ
นักศึกษาจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงาน/ชุมชน และมีหน้าท่ีต้อง
เก็บรักษาข้อมูลเหล่านั้นเป็นความลับ การนาเสนอข้อมูลเก่ียวกับ
ผ้ใู ชบ้ ริการในรูปแบบใดๆ จะตอ้ งปกปิดในส่วนของช่ือ-สกุล วันท่ี ทอี่ ยู่
หรือรายละเอียดใดๆ ที่จะส่งผลให้ผู้รับข้อมูลระบุตัวผู้ใช้บริการได้
ท้ังน้ีนักศึกษาจะต้องระวังการส่ือสารผ่านโทรศัพท์ส่วนตัว จดหมาย
อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ (E-mail) และส่ืออน่ื ๆ ที่อาจส่งผลต่อการเปิดเผยขอ้ มูล
ของผู้ใช้บริการ เช่น การโพสต์ภาพ การเขียนข้อความท่ีอาจก่อความ
เสียหายต่อหน่วยงาน กลุ่มเป้าหมาย ผ่านทาง Facebook, Line,
Instagram ฯ ล ฯ ซ่ึ งเป็ น การผิ ด จ ริย ธรรม แล ะ จรรย าบ รรณ
นักสงั คมสงเคราะห์

8) เข้าร่วมเป็นผู้เรียนรู้ และเป็นผู้ริเริ่มในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
โดยการศึกษาหาความรู้เพ่ิมเติมด้วยตนเอง และใช้เวลาในการอบรม
เตรียมความพร้อม และในการนิเทศงานท้ังรายหน่วยงาน และแบบ
กลมุ่ ในการตัง้ คาถาม และศึกษาการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สงู สุด

27

9) มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์หรือกิจกรรมต่างๆ
กบั กลุ่มเป้าหมาย หรือกับหน่วยงานตามทหี่ นว่ ยงานกาหนด

10) นาข้อมูลต่างๆ ท่ีได้จากการศึกษา การนิเทศงานและแลกเปลี่ยน
เรียนรู้จากอาจารย์นิเทศงาน (ท้ังภาคสนามและในคณะ) และการเข้า
ร่วมสัมมนาเพ่ือสังเคราะห์องค์ความรู้ มาใช้ในการวิเคราะห์
สถานการณ์และการปฏิบัติงาน เพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการฝึก
ภาคปฏิบตั ิ

11) จดั ทารายงาน ประกอบด้วย
- บันทึกการทางาน (ระหว่างการฝึก) เป็นการบันทึกรายบุคคล
ที่ต้องมีการระบุว่า ผลการดาเนินงานนั้นบรรลุตามแผนท่ีกาหนดไว้
ไหมและอย่างไร โดยบันทึกอาจเป็นรายวัน/รายสัปดาห์ข้ึนอยู่กับ
หน่วยงานนั้นๆ และบันทึกแต่ละครั้งต้องมีลายเซ็นของอาจารย์
ภาคสนาม รวมทงั้ มีคะแนนการบันทกึ การทางานดว้ ย (5 คะแนน)
- การถอดบทเรียนการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ (รายบุคคล) ( 5 คะแนน)
- รายงานการฝกึ ภาคปฏิบัติฉบบั สมบูรณ์ (งานกลุ่ม) เมื่อส้นิ สุดการ
ฝึกภาคปฏบิ ัติ 3 (10 คะแนน)
- การนาเสนอผลการฝึกภาคปฏิบัติในวันปัจฉิมนิเทศ ซ่ึงนักศึกษา
สามารถออกแบบตามความเหมาะสมและน่าสนใจ ได้แก่ จัดทาใน
รูปแบบวิดีโอคลิป, การทาเป็น Infographic, การนาเสนอเป็น
Powerpoint หรือรปู แบบอนื่ ๆ เปน็ ต้น
การจัดทาผลงานทุกช้ินต้องพร้อมนาเสนอและส่งอาจารย์นิเทศ
งานภาคสนาม อาจารย์นิเทศงานของคณะและฝ่ายการศึกษา
ภาคปฏิบัติ ตามเวลาที่กาหนดร่วมกับอาจารย์นิเทศงานซ่ึงสอดคล้อง
กับปฏิทินการฝึกภาคปฏิบัติ รายงานเหล่าน้ีเป็นเคร่ืองมือท่ีช่วยให้
นักศึกษาได้สะท้อนตัวเอง และช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ระหว่างนกั ศกึ ษาและอาจารย์นิเทศงาน (รายละเอียดเก่ียวกับรายงาน
อยใู่ นส่วนแนวทางการจัดทารายงาน)

12) มีส่วนร่วมในการประเมิน ท้ังการประเมินตนเอง และการประเมิน
ประสบการณ์ในการฝึกภาคปฏิบัติ การเข้าร่วมรับฟังผลการประเมิน
จากอาจารย์นิเทศงาน เป็นส่วนหน่ึงของกระบวนการเรียนรู้เพื่อ

28

สะท้อนความสามารถและข้อจากัดในการปฏิบัติงานของนักศึกษาเพื่อ
ปรบั ปรงุ พฒั นาต่อไป
13) ใหข้ อ้ คดิ เหน็ และเสนอแนะต่อคณะกรรมการฝ่ายการศกึ ษาภาคปฏบิ ัติ
ของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตรเ์ พ่ือพัฒนาการฝึกภาคปฏิบตั ิต่อไป

ดา้ นความปลอดภยั
การฝึกภาคปฏิบัติ 3 ปีการศึกษา 2564 ยึดความปลอดภัยของนักศึกษา
(ลดการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 – 100 %) ดังน้นั ฝ่ายการศึกษาฝกึ ภาคปฏิบัติและ
หน่วยงานฝึกฯ คานึงถึงความปลอดภัยของนักศึกษา และการดูแลรักษาสุขภาพและ
ความปลอดภัยของตนเองในระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติเป็นความรับผิดชอบของ
นักศึกษา โดยนักศึกษาต้องเรียนรู้นโยบายและแผนความปลอดภัยของหน่วยฝึก/
ชุมชนท่ีเป็นพ้ืนที่ฝึก และในกรณีท่ีมีความกังวลเก่ียวกับเรื่องสุขภาพและความ
ปลอดภัยของตนเอง ให้ปรึกษาอาจารย์นิเทศงานของคณะ หรือฝ่ายการศึกษาฝึก
ภาคปฏบิ ตั โิ ดยเร็วเพ่ือหาแนวปฏิบัตริ ว่ มกนั ต่อไป
การรักษาสุขภาพและความปลอดภัยสาหรับนักศึกษาระหว่างการฝึก
ภาคปฏบิ ัติ ในสถานการณ์โรคระบาดไวรสั โคโรนา 2019
เนื่องจากนักสงั คมสงเคราะหต์ อ้ งทางานในสิ่งแวดล้อมท่ีมคี วามหลากหลาย
และบางครั้งส่งผลให้มีความเสี่ยงบางประการต่อสุขภาพ ดังน้ันนักศึกษาต้องศึกษา
ข้อมูล/ศึกษาความเสี่ยงด้านสขุ ภาพในหน่วยฝกึ /ชุมชนของตน เพือ่ เตรียมการปอ้ งกัน
และรองรับตามเหมาะสม เช่น การฉีดวัคซีน การจัดหาอุปกรณ์ท่ีมีความจาเป็น เช่น
หน้ากากอนามัย เป็นต้น ท้ังนี้หากนักศึกษามีความกังวลในประเด็นด้านใดเป็นพิเศษ
ให้ปรึกษาอาจารยน์ เิ ทศงานและฝ่ายการศกึ ษาภาคปฏิบตั ิ
การดแู ลทรพั ย์สินส่วนตัว
ในกรณีที่นักศึกษาอาจต้องลงพ้ืนท่ีฝึก/หน่วยงานฝึกในบางครั้งที่มีความ
จาเป็น ไม่ควรนาทรัพย์สินที่มีค่าติดตัวไป และในส่วนของอุปกรณ์ท่ีมีความจาเป็น
เช่น โทรศัพท์มือถือ เคร่ืองคอมพิวเตอร์ กระเป๋าสตางค์ นักศึกษาจะต้องรับผิดชอบ
ดูแลทรัพย์สินของตนเอง ท้ังนี้ ให้นักศึกษาตระหนักถึงหน้าท่ี ความรับผิดชอบ และ
ความเหมาะสมในการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในระหว่างเวลาการฝึกภาคปฏิบัติใน
หน่วยงานดว้ ย

29

ความปลอดภัยในการทางานกบั ผู้ใชบ้ รกิ าร
ในการทางานกับผู้ทีม่ ีความเปราะบาง ผู้ใช้บริการบางส่วนอาจอยใู่ นสภาวะ
สูญเสีย และได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ หรือมีข้อจากัดในการควบคุม
อารมณ์ โดยเฉพาะกรณที ่ีมกี ารใชส้ ารเสพติด ดงั นน้ั หากนกั ศกึ ษาต้องมีการตดิ ตอ่ กับ
ผใู้ ช้บรกิ ารท่ีมีแนวโนม้ ว่าอาจจะควบคมุ อารมณไ์ มไ่ ด้ และอาจมีการใชค้ วามรนุ แรงต่อ
ตนเองและต่อผู้อ่ืนน้ัน นักศึกษาจะต้องนาข้อมูลการประเมินความเสี่ยงเหล่าน้ันไป
ปรึกษากบั อาจารยน์ เิ ทศงานภาคสนามทุกครัง้
ความปลอดภยั ในสถานทท่ี างาน
ในการทางานที่ตอ้ งมีการพบปะกับผู้ใช้บริการเป็นส่วนตัวนั้น นกั ศึกษาต้อง
ใช้ทักษะในการสังเกตพ้ืนที่ทางาน โดยพิจารณาถึงตาแหน่งการน่ัง ผังทางออก
อุปกรณ์ที่สามารถใช้ป้องกันตัว ฯลฯ ท้ังนี้หากต้องทางานกับผู้ใช้บริการที่นักศึกษา
เห็นว่ามีความเสี่ยงในการใชค้ วามรุนแรง อาจไม่ควรพบกันตามลาพัง แต่ให้นัดพบใน
เวลาที่มีผู้คนพลกุ พล่าน รวมถงึ จัดการแตง่ กายท่ีเหมาะสม
ความปลอดภัยในการเดินทาง/การเยย่ี มบา้ น
งานของนักสงั คมสงเคราะห์บางครง้ั เกี่ยวเนือ่ งกบั การนาผู้ใชบ้ รกิ ารเดนิ ทาง
เพื่อไปรับบริการที่จาเป็น หรือเก่ียวข้องกับการเดินทางเพื่อเข้าไปในพื้นที่/เย่ียมบ้าน
ซ่ึงบางคร้ังทาให้ต้องมีการเดินทางไปในพื้นที่ที่ไม่มีความคุ้นชิน นักศึกษาไม่ควร
เดินทาง/ไปเย่ียมบ้านตามลาพัง และก่อนการเดินทาง/เยี่ยมบ้านควรมีการศึกษา
เสน้ ทาง และควรใสใ่ จกับสง่ิ แวดลอ้ มรอบตัวในขณะเดนิ ทาง
กรณกี ารเย่ียมบ้าน ควรมีการศึกษาข้อมูลของผ้ใู ช้บริการก่อนการเยี่ยมบา้ น
หากเห็นว่าการเย่ียมบ้านไม่ปลอดภัย อาจนัดเจอผู้ใช้บริการในพ้ืนท่ีสาธารณะก่อน
ทั้งน้ีเมื่ออยู่ในบ้านแล้วนักศึกษาควรท่ีจะตื่นตัว ศึกษาตาแหน่งของส่ิงต่างๆ รวมถึง
ทางออก หากนักศึกษารู้สึกกลัวหรือไม่ปลอดภัยให้รีบออกจากพ้ืนท่ี (อย่างสุภาพ)
หรือหากผ้ใู ชบ้ ริการไม่ยนิ ยอมใหเ้ ข้าไปบา้ นในบา้ น นกั ศึกษาก็ไม่ควรฝืน

กรณีเกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในหน่วยฝึกหรือชุมชน เช่น
ถูกข่มขู่ ถูกคุกคามหรือได้รับบาดเจ็บ นักศึกษาต้องแจ้งให้อาจารย์นิเทศ
งานของคณะหรือฝา่ ยการศกึ ษาภาคปฏบิ ตั ิโดยทนั ที

30

1.5 แนวการใหค้ วามช่วยเหลอื ดแู ลเมือ่ นักศกึ ษามีปญั หาทางสขุ ภาพจิต
ปญั หาทางสขุ ภาพจิตนั้น อาจจะเกิดขน้ึ กบั นักศกึ ษาเมื่ออยูใ่ นระยะของการ

ฝึกภาคปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ซึ่งหาก
เกิดข้ึนกับนักศึกษาในระดับรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการทาร้ายตนเอง
สูญเสียหน้าที่ในชีวิตประจาวันไม่ว่าจะเป็นการทางานหรือด้านสังคม เม่ือพบว่า
นักศกึ ษาประสบปญั หาด้านสขุ ภาพจติ มีขอ้ เสนอแนะในการปฏิบัติ ดงั น้ี

1.5.1 นกั ศกึ ษา
ในระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติ หากนักศกึ ษาพบว่าตนเองมคี วามเครียด วิตก
กังวล หรือมีภาวะซึมเศรา้ ให้ประเมินตนเองว่าตนเองมีภาวะซึมเศรา้ ในระดับใดอยูใ่ น
ระดับท่ีเส่ียงหรือไม่ และให้เล่าถึงเร่ืองราวความรู้สึกไม่สบายใจเพ่ือนท่ีสนิท
ครอบครัว หรือคนท่ีไว้ใจรับฟัง ให้รู้จักท่ีจะผ่อนคลายความตึงเครียดด้วยวิธีต่างๆ ท่ี
ตนเองสนใจ รวมถึงสามารถขอรับการปรึกษาจากอาจารย์นิเทศภาคสนามและ
อาจารย์นิเทศในคณะเพื่อวางแผนแนวทางการดูแลช่วยเหลือตนเอง และในกรณี
นักศึกษาเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคประจาตัวอ่ืนใดและอยู่ในระหว่างการรักษาขอให้
แจ้ง อาจารย์นิเทศภาคสนามและอาจารย์นเิ ทศในคณะทราบเพ่ือให้ความชว่ ยเหลือ/
สนับสนุนทเ่ี หมาะสม
ในกรณีผมู้ ีปัญหาสุขภาพจิตเป็นเพื่อนร่วมฝึกภาคฯ เพ่ือนต้องแสดงออกถึง
ความพร้อมในการเป็นผู้รับฟังถึงเรื่องราวท่ีส่งผลให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ คอยให้
ความห่วงใยและดูแล และในกรณีท่ีสงสัยว่ามีภาะวะซึมเศร้าควรรายงานให้กับ
อาจารย์นิเทศภาคสนามและอาจารย์นิเทศในคณะให้ทราบเพื่อวางแผนการดูแล
ช่วยเหลือต่อไป

1.5.2 อาจารย์นิเทศภาคสนามและอาจารยน์ เิ ทศงานในคณะ
ในระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติ หากพบว่านักศึกษามีภาวะเครียด วิตกกังวล
ซึมเศร้า ในเบื้องต้นควรให้การปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล เพื่อทาความเข้าใจ
ถึงให้เขา้ ใจสาเหตขุ องปัญหา และสภาพแวดล้อมของปญั หา ดว้ ยการสร้างบรรยากาศ
ที่ปลอดภัย ผ่อนคลาย ให้นักศึกษาสามารถระบายเรื่องราวที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิด
ของตน เพ่ือนาไปสู่การเข้าใจตนเอง รวมถึงศึกษาศักยภาพในตัวนักศึกษา การคิด
ใหม่ แต่หากประเมินแล้วพบว่านักศึกษามีภาวะความซึมเศร้าข้ันปานกลางถึงรนุ แรง

31

เช่น ควบคุมอารมณ์เศร้าหรือหงุดหงิดของตนไม่ได้ เก็บตัว หนีสังคม หรือมีอาการ
ทางจิตเวช เช่น หูแว่ว ระแวง พยายามทาร้ายหรือมีแผนทาร้ายตนเอง ควรให้แจ้ง
ผ้ปู กครองใหท้ ราบและสง่ ตอ่ นักศกึ ษาไปพบจติ แพทย์

ทง้ั นวี้ ธิ ีการจดั การจาเปน็ ต้องคานึงถงึ สทิ ธิและผลประโยชน์ของผ้ทู ่ีเกี่ยวขอ้ ง
รวมทงั้ หนว่ ยงานและผใู้ ช้บรกิ าร และประเด็นจรรยาบรรณทางวิชาชพี ประกอบด้วย

1.6 ขั้นตอนการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3 สาหรับนักศึกษา
1.6.1 การเตรยี มตวั กอ่ นการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ
1) นักศึกษารวมกลุ่มกัน 1-6 คน ต่อโครงการ โดยกาหนดประเด็นความ

สนใจและนาเสนอโครงการ/โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ที่
สะท้อนการนาหลักวิชาการสังคมสงเคราะห์ไปใช้ในการทางาน ท้ังนี้หากเป็น
โครงการวจิ ัยต้องมกี ารปฏิบัติงานทส่ี ะทอ้ นให้เห็นการปฏิบัติด้วย (มใิ ช่มีเพยี งการวิจัย
อย่างเดียว) เช่น การจัดการเผยแพร่คืนข้อมูลให้หน่วยงาน/กลุ่มเป้าหมาย การนา
งานวิจัยไปสกู่ ารขบั เคลือ่ นการทางาน การระดมทนุ ทรพั ยากร เปน็ ต้น

2) นักศึกษาเลือกหน่วยงาน/องค์กร/ชุมชนที่สนใจฝึกภาคปฏิบัติและ
ประสานการทางานร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ (ทั้งในคณะและภาคสนาม)
และแจ้งตอ่ ฝา่ ยการศึกษาฝึกภาคปฏบิ ตั ิเพ่ือทาการแตง่ ต้งั

3) นักศึกษานาเสนอโครงการและแผนการปฏิบัติงานต่ออาจารย์ท่ีปรึกษา
ในคณะและหนว่ ยงานฝกึ ฯ ทางออนไลน์

4) นักศึกษาส่งโครงการและแผนการปฏิบัติงานที่ได้รับการอนุมัติจาก
อาจารย์ที่ปรึกษาแล้วต่อฝ่ายการศึกษาฝึกภาคปฏิบัติ เพื่อทาการประกาศรายชื่อ
นักศึกษาและหนว่ ยงานฝึกฯ

1.6.2 ระหว่างการฝึกภาคปฏบิ ตั ิ
1) ดาเนินการตามกระบวนการฝึกภาคปฏบิ ัติท่กี าหนดไว้
2) นักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติงานโครงการที่ตกลงร่วมกัน
ระหวา่ งอาจารยน์ เิ ทศงานภาคสนาม อาจารยน์ ิเทศงานของคณะและนักศกึ ษา
3) จัดทาบันทึกการทางาน และรายงานความก้าวหน้าตามท่ีได้ตกลง
รว่ มกับอาจารย์นิเทศงานภาคสนาม และอาจารย์นเิ ทศงานในคณะ
4) ประชมุ และปรึกษาหารือกับอาจารยน์ เิ ทศงาน

32

5) เข้ารว่ มสมั มนาระหว่างฝึกภาคปฏิบัตติ ามระยะเวลาทก่ี าหนด

1.6.3 ภายหลังการฝึกภาคปฏิบัติ
นักศึกษาส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ และรายงานกรณีศึกษาจากการฝึก
ภาคปฏิบัติ 3 ให้กับอาจารย์นิเทศงานภาคสนาม อาจารย์นิเทศงานของคณะท้ัง
อาจารย์นิเทศงานหลักและนิเทศงานร่วมหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกภาคปฏิบัติตาม
ปฏิทินการฝึกภาคปฏิบัติ 3 ท่ีกาหนด พร้อมท้ังจดั ทาวิดีโอคลปิ (งานกลุ่ม) ความยาว
ไม่เกิน 5 นาที สาหรับนาเสนอในวันปัจฉิมนิเทศ โดยต้องส่งให้อาจารย์นิเทศงาน
พิจารณาจรรยาบรรณ ตามช่วงเวลาทก่ี าหนดในปฏิทนิ

1.7 ระเบียบการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3
เพื่อให้การฝึกภาคปฏิบัติดาเนินไปตามวัตถุประสงคท์ ี่กาหนดไว้ในหลกั สตู ร

สังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต 2559 ทางคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์จึงต้องมีการ
กาหนดระเบยี บสาหรบั การฝึกภาคปฏบิ ตั ิ ดงั รายละเอียดตอ่ ไปน้ี

1) การลงทะเบยี นศกึ ษาและการประเมนิ ผล
 นักศึกษาท่ีฝึกภาคปฏิบัติ 1 จะต้องมีพื้นความรู้ คือ สอบได้
วิชาการดูงานและสัมมนา (สค.201) และ วิชาหลักและวิธีการ
สังคมสงเคราะห์ 1 (สค.222)
 นักศึกษาท่ีฝึกภาคปฏิบัติ 2 จะต้องมีพ้ืนความรู้ คือสอบได้
วชิ าการฝกึ ภาคปฏิบัติ 1 (สค.202) และวชิ าหลักและวิธีการสงั คม
สงเคราะห์ 3 (สค.311)
 นักศึกษาท่ีฝึกภาคปฏิบัติ 3 จะต้องมีพ้ืนความรู้ คือ สอบได้
วิชาการฝึกภาคปฏิบัติ 2 (สค.301) วิชาหลักและวิธีการสังคม
สงเคราะห์ 4 (สค.313) และวิชาหลักและวิธีการสังคมสงเคราะห์
5 (สค.314)
 การฝึกภาคปฏิบัติ 3 เป็นการฝึกงานในภาคการศึกษาที่ 2 และ
เป็นการฝึกงานเต็มเวลา (570 ช่ัวโมง) ดังน้ันจึงไม่อนุญาตให้
นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาใดๆ ร่วมกับวิชาฝึกภาคปฏิบัติ 3
(สค.401) และวชิ าสัมมนาทางสังคมสงเคราะห์ (สค. 411)

33

 การประเมินผลการฝึกภาคปฏิบัตดิ าเนินการโดย 3 ฝ่าย คือ ฝ่าย
การศกึ ษาฝึกภาคปฏิบัติ อาจารยน์ ิเทศงานของคณะและอาจารย์
นิเทศงานภาคสนาม

2) จานวนชว่ั โมงการฝึกภาคปฏบิ ตั ิ
 นักศึกษาจะต้องไปรายงานตัวต่อหน่วยฝึก/ชุมชน และอาจารย์
นิเทศงานภาคสนาม ตามวันเวลาที่กาหนดไว้ในปฏิทินการฝึก
ภาคปฏิบัติ โดยในการฝึกภาคปฏิบัติ 3 นักศึกษาต้องฝึกงานให้
ครบ ในระยะเวลา 72 วัน (570 ช่ัวโมง) และเป็นไปตาม
กาหนดการฝึกภาคปฏิบัติ โดยหากนักศึกษามีเหตุจาเป็น
ตอ้ งหยดุ สามารถฝกึ ชดเชยได้ตามที่อาจารย์นิเทศงานภาคสนาม
เหน็ เหมาะสม

3) กรณีการขาด-ลา-หยดุ (ท้ังออนไลนแ์ ละลงพน้ื ที่)
การฝึกภาคปฏิบัติ 3 ปีการศึกษา 2564 เป็นการฝึกงานในรูปแบบ

ออนไลน์ (ตามประกาศของมหาวิทยาลยั เรอ่ื ง การจดั การเรียนการสอน) แตท่ ้ังน้ีหาก
มีความจาเป็นต้องให้นักศึกษาลงพื้นที่/เข้าหน่วยงาน ให้ขึ้นอยู่กับนโยบายของ
หน่วยงาน ความพร้อมของนกั ศึกษา โดยมีการส่ือสารและการวางแผนการลงพื้นที่ใน
แต่ละคร้ังให้ชัดเจน โดยคานึงถึงความปลอดภัยท้ังต่อนักศึกษา เจ้าหน้าที่ของ
หนว่ ยงานและชมุ ชนเป็นสาคัญดว้ ย

ดังนั้นการกาหนดวันหยุดระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติ จึงเป็นข้อตกลง
ร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์นิเทศงานภาคสนาม และอาจารย์นิเทศงานของ
คณะ (การฝึกงานในบางหน่วยงาน/ชุมชน นักศึกษาจะต้องมีความยืดหยุ่นสาหรับ
เวลาการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน/พ้ืนท่ี) การลาหยุด นักศึกษา
สามารถลาหยุดไดใ้ นกรณีต่อไปน้ี

 การลาป่วยต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดง และนักศึกษาจะต้อง
ฝึกงานชดเชยเท่ากับวันลาป่วยจริง หากไม่มีใบรับรองแพทย
นกั ศกึ ษาจะต้องฝึกชดเชยเพ่ิมเปน็ 2 เท่าของจานวนวนั ท่ีขาดไป

34

 การลากิจจะพิจารณาเฉพาะในกรณีที่จาเป็นในดุลยพินิจของ
อาจารย์นิเทศงานของคณะเท่าน้ัน โดยมีหลักฐานประกอบ การ
ฝึกชดเชยคิดเชน่ เดยี วกับการลาป่วย

 การลาเพื่อคัดเลือกการเกณฑ์ทหาร หรือลาเพ่ือแข่งขันกีฬา
มหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องขออนุญาตต่ออาจารย์นิเทศงาน
ภาคสนาม และรายงานใหอ้ าจารยน์ เิ ทศงานของคณะฯ ทราบโดย
อนุญาตให้ลาได้ไม่เกิน 5 วัน และนักศึกษาจะต้องฝึกชดเชย
เทา่ กับจานวนวนั ลาทไ่ี ดร้ ับอนญุ าต

 กรณีที่นักศึกษาหยุดการฝึก การไม่ส่งผลงาน/ช้ินงานท่ีได้รับ
มอบหมายตามกาหนด ต้องแจ้งและได้รับอนุญาตจากอาจารย์
นิเทศงานภาคสนามและอาจารย์นิเทศงานของคณะ ซึ่งสามารถ
พิจารณาให้นักศึกษายุติการฝึกภาคปฏิบัติ และ/หรือ ไม่ผ่านการ
ฝกึ ภาคปฏิบตั ิ

 การขาด การลา การไม่เข้าร่วมบ่อยคร้ังโดยไม่มีเหตุผลความ
จาเป็น รวมถึงการขาดลาโดยไม่มีการแจ้งให้อาจารย์นิเทศงาน
ภาคสนาม/อาจารย์นิเทศงานของคณะทราบ ทางอาจารย์นิเทศ
งานภาคสนามและอาจารยน์ เิ ทศงานของคณะสามารถพจิ ารณาให้
นักศกึ ษายตุ กิ ารฝกึ ภาคสนามและ/หรอื ไมผ่ ่านการฝึกภาคปฏิบัติ

4) พฤตกิ รรมระหว่างการฝกึ ภาคปฏิบัติ
เนื่องจากการฝึกภาคปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อม

ให้กับนักศึกษาในการปฏิบัติงานในฐานะนักวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ จึงมีความจาเป็น
อย่างยิ่งท่ีนักศึกษาจะต้องปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสังคม-
สงเคราะห์ และระเบยี บวินยั นักศึกษามหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์

ในกรณีท่ีนักศึกษาฝ่าฝนื หรือไม่ปฏิบัติจรรยาบรรณแหง่ วชิ าชีพสังคม-
สงเคราะห์และระเบยี บวนิ ยั นักศกึ ษามหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ อาจารยน์ ิเทศงานและ
ฝ่ายการศึกษาภาคปฏิบัติสามารถให้นักศึกษายุติการฝึกภาคปฏิบัติ และ/หรือไม่ผ่าน
การฝึกภาคปฏบิ ตั ิ

35

1.8 ข้อควรปฏิบัติและขอ้ ควรระวงั ในการฝกึ ภาคปฏบิ ัติ
1.8.1 เคารพต่อวัฒนธรรม ความเช่อื และประเพณีท้องถนิ่

 ให้เคารพต่อผู้ใช้บริการ รวมท้ังสมาชิกของหน่วยฝึก/ชุมชนใน
ฐานะ “ครู” ผใู้ ห้โอกาสนักศกึ ษาได้เรียนรภู้ าคปฏบิ ัติ

 ไมล่ บหลดู่ หู มิน่ พธิ ีกรรม ความเชอื่ ประเพณวี ฒั นธรรมท่ีแตกตา่ ง

 ร้จู กั กาลเทศะ มีสมั มาคารวะ

 แนะนาให้ผู้ปกครอง ญาติ มิตรท่ีมาเยี่ยมเยียน มคี วามเขา้ ใจและ
เคารพตอ่ บุคคล วัฒนธรรม ความเชื่อและประเพณที ้องถิน่

1.8.2 แตง่ กายสุภาพให้เหมาะสมกบั การเปน็ นกั ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์-
ศาสตร์ (กรณที ม่ี คี วามจาเปน็ ทตี่ อ้ งเขา้ หนว่ ยงาน/ลงพื้นท่ี)

 แต่งเคร่ืองแบบนักศึกษาในการรายงานตัว และ/หรือในการ
นาเสนองานระหว่างการมัชฌิมนิเทศ/ปัจฉิมนิเทศต่อหน่วยงานท่ี
รบั ผดิ ชอบการฝึก (ตามสถานการณ์และความเหมาะสม)

 แต่งกายสุภาพในขณะอยู่ในชุมชน ควรเตรียมเส้ือเชียร์ของ
มหาวิทยาลัยหรอื เสอ้ื คณะเพ่อื ใส่ในวาระโอกาสท่ีเหมาะสม

 ไม่ใส่เส้ือรัดรูป เอวลอย ไม่ใช้เสื้อผ้าบางเกินไป ไม่สวมกระโปรง
สน้ั ไมใ่ ส่กางเกงขาสนั้ ไม่ใส่เส้อื สายเดยี่ ว

 ห า ก มี ข้ อ ส งสั ย ข อ ให้ ใช้ ร ะ เบี ย บ ก า ร แ ต่ ง ก า ย ข อ ง
มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์

1.8.3 วางตัวเหมาะสมใหส้ มกับความเป็นนักวชิ าชีพ

 ตรงต่อเวลา

 ไม่ปฏิบัติกิจธุระส่วน ตัวในระหว่างเวลาปฏิบัติงาน เช่น
คุยโทรศพั ทเ์ รอ่ื งสว่ นตวั เลน่ เกมหรือส่ือออนไลน์

 ให้ความเคารพต่ออาจารย์/ เจ้าหน้าที่หน่วยงาน/ผู้นา/
กลุ่มเปา้ หมาย ไปลามาไหว้ ไปไหนบอกกล่าว

 มีจรยิ ธรรมในการส่อื สารทางออนไลน์

 ใชว้ าจาสุภาพเป็นแบบอยา่ งแก่เยาวชน

 ไมฟ่ มุ่ เฟอื ย ฟุ้งเฟ้อ

36

 ไม่ด่มื สรุ า หรือเสพของมนึ เมาและยาเสพติด
 ไมท่ ะเลาะววิ าท
 ไมม่ ีพฤตกิ รรมทางชสู้ าว
 สรา้ งความยนิ ดแี ละความสบายใจให้หนว่ ยงาน/พ้นื ทีท่ ี่อาจมคี วาม

จาเปน็ ต้องลงไปในบางคร้ัง
1.8.4 มีความรับผดิ ชอบและมนษุ ยส์ มั พันธ์

 รับผิดชอบต่อการฝึกภาคปฏิบัติและภารกิจท่ีได้รับมอบหมาย
รวมถึงการจัดทารายงานตามทกี่ าหนดไว้ โดยกรณีท่ีมีการคดั ลอก
จากรายงานอนื่ จะตอ้ งมีการอ้างองิ ให้ครบถว้ นทกุ ครง้ั

 เคารพในความคดิ เห็นของผอู้ ่นื
 มีน้าใจ โอบอ้อมอารี เอาใจใส่เพื่อนร่วมงานและคนในหน่วยฝึก/

ชมุ ชน
 คานงึ ถึงประโยชนส์ ่วนรวมและชอ่ื เสียงของมหาวิทยาลยั
ในกรณีที่นักศึกษาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบการฝึกภาคปฏิบัติ
ระเบียบของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือระเบียบของทางมหาวิทยาลัย ทาง
คณะฯ จะการดาเนินการตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัยในการกาหนดโทษ
(ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ.2547) ตามท่ี
คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาภาคปฏิบัติเห็นเหมาะสม ซ่ึงอาจรวมถึง การลดคะแนน
การปรับตก การภาคทัณฑ์ การพกั การเรียน และการให้พน้ สภาพนักศึกษา (ในกรณีท่ี
มีความรุนแรงโดยเฉพาะการกระทาท่ีผดิ จริยธรรมทางวชิ าชพี )

37

2 การฝึกภาคปฏิบตั ิ 3
คู่มือ การฝกึ ภาคปฏบิ ัติ 3

SOCIAL WORK FIELD PRACTICUM 3

หมวดท่ี 2 การฝึกภาคปฏิบัติ 3

ปรัชญาและความสาคัญของหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิตที่ว่า
“การสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ เป็นการศกึ ษาเพ่ือการสร้างหลักประกันความม่นั คงของ
มนุษย์ ความเปน็ ธรรมทางสังคมและการพฒั นาสงั คม การยอมรบั ความหลากหลายใน
มิติต่างๆ การสร้างสังคมท่ีไม่กีดกันและเลือกปฏิบัติ เคารพคุณค่าและศักด์ิศรีความ
เปน็ มนษุ ย์ สิทธิมนษุ ยชน และสิทธิการเข้าถงึ บริการของทุกภาคส่วน การรับใชส้ งั คม
และการสรา้ งสานึกในการรบั ผิดชอบตอ่ หนา้ ท่ี”

2.1 คาอธิบายรายวิชาและวตั ถุประสงคข์ องการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 3
วิชา สค. 401 การฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 3 (6 หนว่ ยกติ ) เป็นวิชาการฝึกภาคปฏิบัติ

เฉพาะนักศึกษาสังคมสงเคราะห์ ในช้ันปีที่ 4 ซ่ึงต้องสอบผ่านวิชาบังคับ 3 วิชาก่อน
คอื วชิ า สค. 301 การฝึกภาคปฏิบัติ 2 , สค.313 หลกั และวิธีการสังคมสงเคราะห์ 4
และ สค. 314 หลักและวธิ ีการสงั คมสงเคราะห์ 5

เนอ้ื หาวิชาการฝึกภาคปฏิบตั ิ 3 คือ การประยุกต์ใช้แนวคดิ ทฤษฎี หลกั การ
วิธีการสังคมสงเคราะห์อย่างผสมผสาน ผ่านโครงการทางสังคมเพื่อฝึกปฏิบัติงาน
สังคมสงเคราะห์อย่างลึกซ้ึง ท้ังกลยุทธ์และกลวิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์
โดยตรงและโดยอ้อม ท้ังระดับจุลภาคเช่ือมโยงกับมัชฌิมภาคและระดับมหภาคใน
องค์การสังคมสงเคราะห์ท้ังในประเทศและต่างประเทศ หรือการทางานสังคม
สงเคราะห์ตามประเด็นสาคัญทางสังคมอย่างมีมาตรฐานและจรรยาบรรทางวิชาชีพ
(ฝกึ ภาคสนาม 570 ชัว่ โมง ตลอดภาคการศกึ ษา)

วตั ถปุ ระสงคข์ องการฝกึ ภาคปฏิบัติ 3 คอื
1) มีความรู้ด้านสังคมสงเคราะห์ และสวัสดิการสังคม มีความรู้และ

ความสามารถในการประยุกต์ใช้วิธีวิทยาในการปฏิบัติงานสังคม
สงเคราะห์ และมีทักษะวิชาชพี สามารถประยุกต์และพัฒนาเคร่ืองมือ
การทางานในองค์กร ชมุ ชน กลุ่มเปา้ หมายตา่ งๆ และครอบครัวได้
2) สามารถบูรณาการองค์ความรู้ ทัศนคติ และทักษะทางวิชาชีพสังคม
สงเคราะห์ท่ีเช่ือมโยงการปฏบิ ตั ิงานในหนว่ ยงานต่างๆ มีความสามารถ
พัฒนากลวิธีการทางานใหม่ๆ และประยุกต์เครื่องมือการทางานทาง
วิชาชีพในการทางานกับคน องค์กร ท้องถ่ิน ชุมชน สังคม ทั้งใน

39

ระดับชาติ ภูมิภาค สากล รวมทั้งสามารถทางานแบบสหวิชาชีพได้
อย่างเหมาะสม
3) มีคุณธรรม จริยธรรมทางวชิ าชีพ มีจติ สาธารณะและสามารถเป็นผู้นา
การขับเคล่ือนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อสร้างความเป็นธรรมใน
สังคม
สาหรับความเชื่อมโยงของการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาคณะสังคม
สงเคราะห์ ซ่ึงกาหนดข้ึนเพื่อให้นักศึกษานาความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง
กลา่ วคือ

 ฝึกภาคปฏิบัติ 1 ฝึกในองค์กร หน่วยงานด้านสังคมสงเคราะห์
สวัสดิการสังคม นักศึกษาต้องเรียนรู้ เรียนรู้ วิธีวิทยาทางสังคม
สงเคราะห์ในการปฏิบัติงานกับผู้ใช้บริการเฉพาะราย รายครอบครัว
และรายกลุม่ และมนี กั สังคมสงเคราะหว์ ิชาชพี เป็นอาจารย์นิเทศงาน

 ฝึกภาคปฏิบัติ 2 ฝึกในชุมชน หน่วยงานท่ีรับฝึกมีพ้ืนที่การทางานกับ
ชุมชน เน้นการสังคมสงเคราะห์ชุมชน พัฒนาชุมชน นักศึกษาเรียนรู้
วธิ ีการสังคมสงเคระห์ชมุ ชน เป็นการทางานทเ่ี นน้ ชุมชนเป็นฐานและ
หลกั มีส่วนรว่ ม

 ฝึกภาคปฏิบัติ 3 ฝึกในพ้ืนท่ี/ประเด็นที่นักศึกษาสนใจเน้นการทางาน
สังคมสงเคราะห์แบบผสมผสาน บูรณาการวิธีวิทยาทางสังคม
สงเคราะห์ รวมท้ังการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม ผ่านการ
บริหารจัดการโครงการฝึกภาคปฏิบัติ และ การออกแบบการทางาน
อย่างมมี าตรฐานและเปน็ มืออาชพี

2.2 ฐานคิดในการกาหนดแนวทางการฝกึ ภาคปฏิบัติ 3
หลกั คดิ สาคัญในการฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 3 มาจากหลักคดิ 3 ประการ คอื

1) นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง (Student centered) เพราะนักศึกษาสังคม-
สงเคราะห์ศาสตร์ทุกคนต้องผ่านการฝึกภาคปฏิบัติมาแล้ว (ฝึกฯ 1 และ
ฝกึ ฯ 2) ประกอบกับผ่านการเรียนรู้หลักคิด หลักการและหลกั ปฏิบัติมาทั้ง
องค์ความรู้ ทักษะต่างๆของงานสังคมสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม
รวมถึงนโยบายและหลักการบริหารงานสังคมสงเคราะห์ ความรแู้ ละทักษะ
รวมทั้งวุฒิภาวะจึงมีเพียงพอสาหรับความรับผิดชอบและการตัดสินใจใน

40

การจัดทาโครงการและวางแผนการฝึกภาคปฏิบัติตามประเด็นความสนใจ
ของตนเองได้
2) การทางานสังคมสงเคราะห์ พัฒนาสังคม สวัสดิการสังคมในปัจจุบัน
มีความหลากหลายและความแตกต่างมากมาย ท้ังกลุ่มเป้าหมายและ
องค์ความรู้ใหม่ๆ การฝึกภาคปฏิบัติ 3 จึงต้องใช้ความรู้หลากหลายสาขา
ดังน้ันการนิเทศงานนักศึกษาจึงต้องใช้การนิเทสงานแบบกลุ่มท่ีมีอาจารย์
นเิ ทศงานของคณะมากกว่า 1 คน (Group supervision)
3) การสร้างการเปลี่ยนแปลง (Constructive) ผลจากการฝึกภาคปฏิบัติ 3
ซึ่งเป็นการฝึกทางานสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสาน ผ่านการดาเนินงาน
โครงการ (Project based) ท่ีนกั ศกึ ษาพัฒนาและออกแบบการฝึกงานตาม
ประเด็นสนใจ ดังน้ันผลการฝึกภาคปฏิบัติ 3 จึงควรเกิดการเปล่ียนแปลง/
นวัตกรรมทางสังคมขึ้น ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ของการฝึกงาน
ในฐานะนกั ศกึ ษาเป็นผู้นาการขับเคล่ือนการเปล่ียนแปลงทางสงั คม

Student centered Group supervision Constructive
เพราะนักศกึ ษาผ่านการฝึกงาน งานสังคมสงเคราะห์พัฒนาสงั คม การสรา้ ง/การเปลย่ี นแปลง
มา 2 ครัง้ มีความเป็นผ้ใู หญ่ เปน็ ส่งิ ทีค่ วรเกิดขนึ้ จากการ
และมีวุฒภิ าวะเพียงพอสาหรับ สวัสดิการสังคมปจั จบุ ันมคี วาม
หลากหลายทงั้ กลุ่มเป้าหมายและ ฝึก 3 ตามโครงการท่ี
ความรบั ผดิ ชอบและการ
ตดั สินใจ ความรู้ใหม่ จึงต้อวมีการนิเทศงาน นกั ศึกษาออกแบบ
แบบกลมุ่

4) สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)
ระลอกใหม่ และตามประกาศของมหาวิทยาลัยเร่ือง การจัดการเรียนการ
สอนเป็น hybrid ตลอดเทอม 2 ปีการศึกษา 2564 หรือจนกว่าจะมีการ
เปล่ียนแปลง ทาให้ฝ่ายการศึกษาฝึกภาคปฏิบัติกาหนดแนวทางและ
รูปแบบการฝึกภาคปฏิบัติ 3 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ใน
เบอื้ งต้นเป็นการฝึกภาคปฏิบัติออนไลน์หรือผสมผสานตลอดระยะเวลาการ
ฝึกภาคปฏิบัติ 3 แต่ท้ังน้ีหากมีความจาเป็นต้องให้นักศึกษาลงพ้ืนท่ี/เข้า
หน่วยงาน ให้ขึ้นอยู่กับนโยบายของหน่วยงาน และความพร้อมของ
นักศึกษา โดยมีการสื่อสารและการวางแผนการลงพื้นที่ในแต่ละคร้ังให้
ชัดเจน โดยคานึงถึงความปลอดภัยทั้งต่อนักศึกษา เจ้าหน้าที่ของ

41

หน่วยงานและชุมชนเป็นสาคัญด้วย (ลดการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 100
%)

ด้วยฐานคิดข้างต้น จงึ กาหนดรปู แบบการฝึก 3 ดังน้ี

 การฝึ กภ าค ป ฏิ บั ติ 3 ปี การศึกษ า 2564 นักศึกษารวมกลุ่ มกัน
1 - 6 คนตอ่ โครงการ

 ฝึกตามประเด็นความสนใจและนาเสนอโครงการ/โครงการวิจัยเชิง
ปฏิบัติการ (Action research) ท่ีสะท้อนการนาหลักวิชาการสังคมสงเคราะห์ไปใช้
ในการทางาน โดยนักศึกษาเลือกหน่วยงาน/องค์กร/ชุมชนที่สนใจฝึกภาคปฏิบัติ
และประสานการทางานพัฒนาโครงการร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และ
นาเสนอ

 ในข้ันตอนการเขียนโครงการและวางแผนการดาเนินงาน จะมีอาจารย์ที่
ปรกึ ษาทง้ั ในคณะและภาคสนามเป็นที่ปรึกษา

 ลักษณะโครงการทน่ี ักศกึ ษาพัฒนาข้นึ สาหรับการฝึกภาคปฏิบัติ 3 สามารถ
เป็นโครงการวิจัย (ซ่ึงสามารถกระบวนการวิจัยออนไลน์ได้) หรือการสร้างระบบ
บริการออนไลน์ การระดมทรัพยากรออนไลน์ การพัฒนาฐานข้อมูล การทดลองสรา้ ง
นวัตกรรมบริการ การจัดสวสั ดิการกลมุ่ เป้าหมายในหน่วยงานออนไลน์ ฯลฯ

 หากนักศกึ ษาทาโครงการวจิ ัย จะต้องนาผลจากงานวจิ ัยนัน้ ไปขับเคลอ่ื น/มี
กจิ กรรมอืน่ เพิม่ เตมิ ทจ่ี ะสะทอ้ นใหเ้ ห็นความสามารถในการดาเนินการ/จดั การด้วย

 นักศึกษานาเสนอโครงการและแผนการฝกึ งานตอ่ อาจารยท์ ่ีปรกึ ษาจากใน
คณะและอาจารย์นเิ ทศงานจากหน่วยงานทางออนไลน์

ขณะฝึกงานจะมีทีมอาจารย์นิเทศงาน (Group supervision) ดูแลและให้
คาแนะนาการฝึกงานของนกั ศึกษา เพื่อให้ผลงานมปี ระสิทธภิ าพและประสทิ ธผิ ลมาก
ท่ีสดุ

 นักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติ 3 ปีการศึกษา 2564 ทาการฝึกภาคปฏิบัติใน
รปู แบบออนไลน์ หรอื ผสมผสานระหว่างฝึกออนไลน์และการลงหน่วยงาน/พื้นที่เป็น
ครั้งคราว (ตามนโยบายของหน่วยฝึกฯ และความพร้อมของนักศึกษา โดยมีแผนการ
ลงพ้ืนที่ท่ีชัดเจน ด้วยความคานึงถึงความปลอดภัยของนักศึกษา เจ้าหน้าท่ีและ
กลุ่มเป้าหมาย/ชุมชนที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก) เป็นระยะเวลาการฝึก 570 ชั่วโมง
ประมาณ 72 วันทาการ

42

2.3 ระยะการฝึกภาคปฏิบตั ิ 3

2.4 หลกั เกณฑ์การประเมนิ ผลการฝึกภาคปฏบิ ัติ 3
แนวทางประเมินฝึกภาคปฏิบัติ 3 เป็นการประเมินภายใต้หลักคิดสาคัญ

และวัตถุประสงค์ของการฝึก คือ การให้ความสาคัญกับนักศึกษาเป็นหลัก การยึด
หลักการนิเทศงานและการฝึกงานแบบกลุ่ม และการสร้าง/การเปล่ียนแปลงจากการ
ฝึกภาคปฏิบัติ 3 ตามโครงการ/แผนการฝึกงานที่นักศึกษาออกแบบ โดยพิจารณา
สมรรถนะตามหลักสตู รสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์บัณฑิต (มคอ 2) จรรยาบรรณวิชาชีพ
นักสังคมสงเคราะห์ แผนยทุ ธศาสตร์มหาวิทยาลัย (GREATS) และคณุ ลักษณะบัณฑิต
คณะสังคมสงเคราะห์ (EMPOWER) โดยคานึงถึงการเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นหลัก
มาตรฐานทางวชิ าชีพสงั คมสงเคราะหท์ ่ีกาหนดให้นกั ศึกษาสังคมสงเคราะหต์ ้องมีการ
ฝึกภาคปฏิบัติที่มีการพัฒนาและความก้าวหน้าที่พร้อมไปด้วยความรู้ ทักษะ และ
สมรรถนะตามที่กาหนดสาหรับความเป็นบัณฑิตสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ที่พร้อมทั้ง
วชิ าการและวิชาชพี

การฝึกภาคปฏิบัติ 3 เร่ิมต้นต้ังแต่การพัฒนาโครงการ การลงพื้นท่ีฝึก
ภาคปฏิบัติในหน่วยงาน และหลังจากการฝึกภาคปฏิบัติที่จัดส่งรายงานการฝึก
ภาคปฏิบัติแล้ว โดยในการประเมินผลจะมีผู้ท่ีเกี่ยวข้องในการประเมินผลการฝึก
ภาคปฏิบัติ 3 คือ กลุ่มอาจารย์ผู้นิเทศงานของคณะฯ อาจารย์นิเทศงานภาคสนาม มี
คะแนนรวมท้งั สน้ิ 100 คะแนน ประกอบด้วย

43

ส่วนท่ี 1 ประเมนิ ความสามารถในประเมนิ องคก์ รและการเขยี นโครงการฝึก
ภาคปฏิบตั ิ 3 (20 คะแนน)
ส่วนท่ี 2 การปฏิบัติงานการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 3 (รายบคุ คล) รวม 60 คะแนน
สว่ นที่ 3 รายงานผลการปฏบิ ัติงานการฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 3 รวม 20 คะแนน

- การบนั ทึกการทางานระหว่างการฝกึ ภาคปฏิบัติ รายบคุ คล (5 คะแนน)
- การถอดบทเรยี นการฝึกภาคปฏบิ ัติ รายบคุ คล (5 คะแนน)
- รายงานการฝึกภาคปฏิบัติ รายกลุ่ม (10 คะแนน)

2.4.1 การประเมนิ ผลการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ (100 คะแนน)
การฝกึ ภาคปฏิบัติ 3 ประกอบด้วยการประเมนิ ผลใน 3 ระยะดงั น้ี
1) การประเมินผลในข้ันตอนพัฒนาโครงการ และโครงการฝึก
ภาคปฏิบัติ 3 ฉบับสมบูรณ์ ในรายโครงการ (รายบุคคล/รายกลุ่ม1 ) รวม 20
คะแนน
เป็นการประเมินการเตรียมความพร้อมและการพัฒนาโครงการและ
แผนการฝึกงานของกลุ่มนักศึกษา โดยมีอาจารย์นิเทศงานในคณะและอาจารย์นิเทศ
งานภาคสนามจากหน่วยงานฝึกฯ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการพัฒนาโครงการและ
แผนการฝึกฯ ซึ่งประเมินผลในข้ันตอนพัฒนาโครงการและแผนการฝึกฯ
ประกอบด้วย 4 หมวด คอื (ภาคผนวก 4.1)

(1) ความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการต่อการพัฒนางาน
หรือส่งเสริมงานสวัสดิการสังคมหรืองานสงคมสงเคราะห์ของ
องค์กรผ่านการเขียน ความสอดคล้องกับนโยบายยุทธศาสตร์
แผนงาน หลักการและเหตุผล และการทบทวนวรรณกรรม (5
คะแนน)

1 การฝึกภาคปฏิบัติ 3 ปีการศึกษา 2563 เป็นการฝึกในชว่ งสถานการณ์โรคระบาดโค
วดิ - 2019 ระลอกใหม่ ได้กาหนดจานวนนักศึกษาฝึกงานตั้งแต่ 1-8 คนต่อโครงการ
จึงมีบางโครงการทน่ี ักศกึ ษาฝกึ งานคนเดียว แบบประเมนิ ผลจงึ ออกแบบมาใหใ้ ช้ได้ท้ัง
นักศึกษาท่ฝี กึ คนเดยี ว และนักศกึ ษาท่ีฝกึ เปน็ กลุ่ม

44

(2) ความสามารถในการวิเคราะห์ตนเองของนักศึกษาหรือกลุ่มต่อ
การพัฒนาโครงการและดาเนินโครงการ โดยมีประเด็นเกี่ยวกับ
องค์ความรู้และทักษะของนักศึกษาท่ีเกี่ยวข้องกับองค์โครงการ
ความสามารถพิเศษเพิ่มเติม (เช่น ด้าน IT ด้านศิลปะ ด้านกีฬา
เป็นต้น) ท่ีเป็นประโยชน์ต่อการดาเนินโครงการ ข้อควรพัฒนา
ตนเองท้ังเชิงความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติ และ
ข้อจากัดของนักศึกษาหรือกลุ่มต่อการดาเนินโครงการ ผ่านการ
เขยี นในหัวขอ้ การวิเคราะหต์ นเองหรอื กลุ่ม (5 คะแนน)

(3) ความริเร่ิมสร้างสรรรค์ ความเป็นนวัตกรรมของโครงการฝึก
ภาคปฏิบัติ 3 ทสี่ อดคล้องกับความต้องการตอ่ การพฒั นางานหรือ
ส่งเสริมงานสวัสดิการสังคมหรืองานสงคมสงเคราะห์ขององค์กร
โดยพจิ ารณาจากวตั ถปุ ระสงค์ เปา้ หมาย ตวั ช้ีวดั และประโยชน์ที่
คาดว่าจะไดร้ ับของโครงการฝกึ ภาคปฏบิ ัติ 3 (5 คะแนน)

(4) ความสมบูรณ์และความครบถ้วนของโครงการ ความสามารถใน
การนาเสนอโครงการ การวางแผนงานอย่างเป็นระบบของ
โครงการท่ีนาเสนอฝึกภาคปฏิบัติ 3 โดยพิจารณาจาก การ
นาเสนอและการเขยี นโครงการฉบบั สมบูรณ์ (5 คะแนน)

โดยเกณฑก์ ารประเมนิ มี 5 ระดบั คือ
5 หมายถึง ยอดเย่ียม/ดีมาก
4 หมายถงึ ดี
3 หมายถึง ปานกลาง
2 หมายถึง พอใช้
1 หมายถงึ ควรปรับปรงุ

2) การประเมินในระยะการฝึกภาคปฏิบัติ 3 สมรรถนะของนักศึกษาต่อ
การปฏิบัตงิ านจากฝึกภาคปฏบิ ตั ิ 3 (60 คะแนน)

เป็นการประเมินผลนักศึกษารายบุคคลหลังจากการฝึกงานเสร็จสิ้น โดย
ประเมนิ การปฏิบตั ิงานของนกั ศึกษารายบุคคลในความก้าวหน้าและการพัฒนาตนเอง
จากการฝึกภาคปฏิบัติ โดยพิจารณาสมรรถนะตามหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
บัณฑิต (มคอ. 2) จรรยาบรรณวิชาชีพนักสังคมสงเคราะห์ แผนยุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัย (GREATS) และคุณลักษณะบัณฑติ คณะสังคมสงเคราะห์ (EMPOWER)

45

โดยคานึงถึงการเรียนรู้ของนกั ศกึ ษาเป็นหลกั มาตรฐานทางวิชาชีพสงั คมสงเคราะห์ท่ี
กาหนดให้นักศึกษาสังคมสงเคราะห์ต้องมีการฝึกภาคปฏิบัติที่มีการพัฒนาและ
ความกา้ วหน้าที่พรอ้ มไปด้วยความรู้ ทักษะ และสมรรถนะตามที่กาหนดสาหรบั ความ
เปน็ นกั สังคมสงเคราะห์วิชาชีพ และแบบประเมินผลน้ีจะตอ้ งรบั รองโดยทีมอาจารย์ผู้
นเิ ทศงานทั้งภายในคณะและอาจารยผ์ นู้ ิเทศงานภาคสนาม โดยส่งคืนมายังคณะสังคม
สงเคราะห์หลงั จากฝึกภาคปฏิบตั ิเสร็จสมบรู ณ์แลว้

แนวทางการประเมินผลสมรรถนะทางวิชาชีพการฝึกภาคปฏิบัติ มี 2
หมวด ได้แก่

(1) สมรรถนะด้านจริยธรรมและความเป็นนักสังคมสงเคราะหว์ ิชาชพี (20
คะแนน)

(2) สมรรถนะทางความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงาน (40
คะแนน)

การประเมนิ ผลสมรรถนะทางวิชาชีพการฝึกภาคปฏบิ ัตินั้นจะมปี ระเด็นใน
การประเมินท้ังส้ิน 18 ข้อย่อย(ตามแบบประเมินการฝึกภาคปฏิบัติ) โดยในแต่
ละขอ้ ยอ่ ยมีเกณฑก์ ารประเมนิ มี 5 ระดบั คอื

5 หมายถงึ มีความสามารถ/คณุ ลักษณะในการปฏบิ ัติงานทยี่ อดเยยี่ ม เปน็ ท่ีประจักษ์
และได้ยอมรับ

4 หมายถงึ มีความสามารถ/คณุ ลักษณะในการดาเนินงานไดอ้ ยา่ งดี
3 หมายถงึ มคี วามสามารถ/คุณลักษณะดาเนนิ การในระดบั ปานกลาง
2 หมายถึง มคี วามสามารถ/คุณลกั ษณะดาเนนิ การในระดับน้อย
1 หมายถงึ ไม่มีความสามารถและไม่มคี ณุ ลักษณะสาหรับการทางานด้านสังคม
สงเคราะห์และสวสั ดกิ ารสงั คมไดใ้ นอนาคต

5 หมายถึง ยอดเยยี่ ม/ดมี าก
4 หมายถงึ ดี
3 หมายถงึ ปานกลาง
2 หมายถงึ พอใช้
1 หมายถึง ควรปรบั ปรงุ

46

3.) การประเมนิ ผลระหว่างการฝึกและเม่อื ส้นิ สดุ ผา่ นการรายงานผลการฝึก
ภาคปฏิบตั ิ (20 คะแนน)

(1) การบนั ทกึ การทางานระหว่างการฝกึ ภาคปฏบิ ัตเิ ปน็ รายวัน/ราย
สัปดาหข์ องนกั ศึกษารายบุคคล ( 5 คะแนน)

การฝึกภาคปฏิบัติ เป็นการทางานร่วมกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์
นิเทศงานทั้งการแนะนา การให้คาปรึกษาและการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง บันทึก
การทางานน้ีเป็นกระบวนการวิเคราะห์ท่ีสะท้อนถึงทักษะในการใช้ เคร่ืองมือของ
นกั ศกึ ษาในการปฏิบัติงานอยา่ งไตรต่ รอง เคร่อื งมอื ในงานสงั คมสงเคราะหจ์ ึงเปน็ สง่ิ ท่ี
แสดงให้เห็นถึงความเป็นนักศึกษาสังคมสงเคราะห์ท่ีทางานอย่างเป็นมืออาชีพ โดย
แบบบันทึกการทางานเป็นบันทกึ รายบุคคล (ท่นี ักศึกษาฝกึ งานทุกคนต้องทา) โดยใน
การบันทึกการทางานน้ีเป็นการตกลงระหว่างนักศึกษาว่าจะบันทึกเป็นรายวัน/ราย
สัปดาห์ และนกั ศึกษาตอ้ งส่งใหอ้ าจารย์นเิ ทศงานตรวจและลงนามทกุ ครัง้

บันทึกการทางานเป็นเครื่องมือสาคัญสาหรับนักศึกษาสังคมสงเคราะห์
เพราะช่วยในการทบทวนและตรวจสอบก่อนการดาเนินงานต่อไป นักศึกษาสังคม
สงเคราะหฝ์ ึกภาคปฏิบตั ิ 3 ตอ้ งสามารถทาบันทกึ การทางานได้ โดยบนั ทึกการทางาน
ร ะ ห ว่ า ง ก า ร ฝึ ก ภ า ค ป ฏิ บั ติ เป็ น ร า ย วั น / ร า ย สั ป ด า ห์ ข อ ง นั ก ศึ ก ษ า ร า ย บุ ค ค ล
ประกอบด้วย

1) เป้าหมายของการดาเนินการ/ผลลพั ธ์ทคี่ าดหวงั
2) แผนการดาเนินงาน (อธิบายสิ่งที่วางแผนและผลสาเร็จตาม

วัตถปุ ระสงค)์ ประกอบดว้ ย
- รายละเอยี ดการดาเนนิ การ
- สมรรถนะที่แสดงออกไป (ความรู้ ทักษะ เทคนิค เครื่องมือฯลฯ)
3) การสะท้อนการทางานของตนเอง ( การประเมินตนเอง รวมถงึ คาถาม
การประเมินการปฏิบัติงาน ข้อท้าทายที่พบ ปญั หาอุปสรรคทั้งภายใน
และภายนอกตวั บุคคลที่พบ การจดั การแก้ไขปัญหา เปน็ )
4) แผนการดาเนินงานต่อไป (ข้อเสนอต่อความเป็นไปได้ของการ
ดาเนินงานต่อไป การปรับเปลี่ยนแผนการดาเนินงาน แนวทางการ
ดาเนินงานโครงการในอนาคต)

47

การประเมินบันทึกการทางานระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติเป็นรายวัน/ราย
สัปดาห์ของนักศกึ ษารายบุคคล ประเมินจากความสามารถสรุปการเรียนรู้ได้เห็นการ
ทางานอยา่ งเป็นรูปธรรม และสง่ ตรงตามเวลาที่กาหนด

โดยเกณฑก์ ารประเมนิ มี 5 ระดบั คือ
5 หมายถงึ ยอดเยยี่ ม/ดมี าก
4 หมายถึง ดี
3 หมายถึง ปานกลาง
2 หมายถึง พอใช้
1 หมายถึง ควรปรบั ปรุง

(2) การถอดบทเรยี นการฝึกภาคปฏิบัติ 3 งานรายบคุ คล (5 คะแนน)
การถอดบทเรียน เป็นรูปแบบหน่ึงของการจัดการความรู้ โดยในการฝึก
ภาคปฏิบัติ 3 กาหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องถอดบทเรียนการฝึกภาคปฏิบัติของ
ตนเองส่งพร้อมกับรายงานการฝึกภาคปฏิบัติ 3 หลังจากสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ
(ภาคผนวก 5)
การประเมินผลรายงานการถอดบทเรียนฝึกภาคปฏิบัติ3 ประเมินจาก
ความสามารถในการเขียนการสะท้อนการเรียนรู้ใหม่ท่ีได้รับจากการฝึกฯ การเชิง
วิเคราะห์และสังเคราะห์ อย่างเป็นระบบ มีความน่าสนใจ การใช้ภาษาที่ถูกต้อง
อธิบายเข้าใจชัดเจน และมีการอา้ งอิงที่ถกู ต้อง
โดยเกณฑ์การประเมินมี 5 ระดบั คือ

5 หมายถงึ ยอดเยี่ยม/ดีมาก
4 หมายถึง ดี
3 หมายถึง ปานกลาง
2 หมายถึง พอใช้
1 หมายถงึ ควรปรับปรงุ

(3) รายงานการฝกึ ภาคปฏิบัติ 3 งานกลมุ่ (10 คะแนน)
รายงานการฝึกภาคปฏิบัติ 3 เป็นรายงานกลุ่มท่ีนักศึกษาทุกคนในกลุ่มฝึก
ภาคปฏบิ ัติต้องรว่ มกนั จดั ทาขนึ้ โดยรายงานต้องสะทอ้ นการใช้องค์ความรู้ การพฒั นา
ทักษะ เทคนิคในงานสังคมสงเคราะห์ มาประยุกต์/ปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการ

48

บริหารจัดการการฝึกภาคปฏิบัติ 3 จนนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง/การพัฒนา/อาจเกิด
นวัตกรรมทางสังคมในเชิงประจักษ์ได้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงการสะท้อนความสามารถ
ของทีมในการทางานร่วมกันอย่างมีวุฒิภาวะ ความสามารถในการประมวล
สังเคราะห์ วิเคราะห์และการจัดการความรู้ที่เกิดขึ้นจากการฝึกภาคปฏิบัติของกลุ่ม
นักศึกษา เพ่ือนาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้สนใจและผู้ท่ีเก่ียวข้อง ตลอดท้ังการส่ง
ตอ่ ภารกิจในการปฏิบตั ิงานและเผยแพรต่ อ่ ไป

การประเมินผลรายงานฝึกภาคปฏิบัติ ประเมินจากความสามารถในการ
เขียนเชงิ วเิ คราะห์และสงั เคราะห์ อยา่ งเปน็ ระบบ การใช้ภาษาที่ถกู ต้อง อธบิ ายเขา้ ใจ
ชัดเจน มกี ารอา้ งองิ ท่ีถกู ตอ้ ง ข้อเสนอะแนะมีประโยชนต์ อ่ หนว่ ยงานและคณะฯอยา่ ง
สร้างสรรค์มีเหตุผล และรายงานมีความสมบูรณ์ ความครบถ้วนตาหัวข้อที่กาหนด
และมีความเรยี บร้อยของรายงาน

โดยเกณฑ์การประเมนิ มี 5 ระดับ คือ
9-10 หมายถึง ยอดเยยี่ ม/ดีมาก
7-8 หมายถงึ ดี
5-6 หมายถงึ ปานกลาง
3-4 หมายถึง พอใช้
1-2 หมายถึง ควรปรับปรงุ

แนวทางการประเมนิ ผลการฝึกภาคปฏบิ ัติ 3
อาจารย์นิเทศงานภาคสนาม และอาจารย์นิเทศงานของคณะเป็น

ผรู้ ับผิดชอบประเมินผลการฝกึ ภาคปฏบิ ัตขิ องนกั ศึกษา โดยประเมนิ ตามแบบประเมนิ
การฝึกภาคปฏิบัติท่ีกาหนดไว้ ซ่ึงพัฒนาขึ้นตามวัตถปุ ระสงค์ของการฝึกภาคปฏิบัติ 3
โดยประเมินผลการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาเป็นระยะตามขั้นตอนของการฝึก
ภาคปฏิบัติ

ภาพรวมคะแนนการประเมนิ ผลการฝกึ ภาคปฏิบตั ิ 3 (คะแนนรวม 100 คะแนน)
1) การประเมนิ ผลในขัน้ ตอนพัฒนาโครงการ และโครงการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 3
ฉบบั สมบรู ณ์ ในรายโครงการ (รายบุคคล/รายกลมุ่ ) รวม 20 คะแนน
2) การประเมินในระยะการฝึกภาคปฏิบัติ 3 สมรรถนะของนักศึกษาต่อ
การปฏบิ ตั งิ านจากฝกึ ภาคปฏิบัติ 3 รวม 60 คะแนน

49

3) การประเมินผลระหว่างการฝึกและเม่ือส้ินสุดผ่านการรายงานผลการ
ฝึกภาคปฏิบตั ิ รวม 20 คะแนน

รวมคะแนนท้งั หมด 100 คะแนน

บทสรุปหลักเกณฑ์การประเมินผลการฝกึ ภาคปฏบิ ตั ิ 3

สาหรับคะแนนรวมของการฝึกภาคปฏิบัติ 3 คือ 100 คะแนน จัดสรรตาม
หัวข้อต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งผลการ
ประเมินสามารถจาแนกได้เป็นค่าระดับต่าง ๆ คือ A, B+, B, C+, C , D+, D และ F
ตามเกณฑก์ ารพิจารณาคะแนนและเกรด ดังต่อไปนี้

ร้อยละ 85-100 80-84 75-79 70-74 65-69 60-64 55-59 0-54
เกรด A B+ B C+ C D+ D F

50


Click to View FlipBook Version