The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการจัดทำรายงานการวิจัย 2559

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nammom Nammom, 2020-10-22 06:44:15

คู่มือการจัดทำรายงานการวิจัย 2559

คู่มือการจัดทำรายงานการวิจัย 2559

41

อนึ่ง ถา้ เร่ืองท่ีตอ้ งการเขียนบางบทไม่สามารถจัดพมิ พ์ตามแบบแผนที่กาหนดได้ครบ
ก็อาจปรับได้ตามความจาเป็น ท้ังน้ี ข้ึนอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการวิจัยและพัฒนา
ของวฒุ ิสภา

2.8 การพิมพข์ ้อความที่คัดลอกมาโดยตรง

2.8.1 ข้อความท่ีคัดลอกมามีความยาวไม่เกิน 3 บรรทัด ให้พิมพ์ต่อจากข้อความ
ในเนื้อหารายงานการวิจัยต่อไปได้เลยโดยไม่ต้องข้ึนบรรทัดใหม่ แต่ให้ใส่ข้อความนั้นไว้
ในเคร่อื งหมาย “…”

ตัวอยา่ ง

ส่วนในประมวลกฎหมายแพ่งฝร่ังเศส ได้บัญญัติเก่ียวกับการใช้อานาจกรรมสิทธิ์
ของเจ้าของไว้ในมาตรา 544 ว่า “กรรมสิทธิ์ คือ สิทธิใช้สอย หาประโยชน์และจาหน่าย
ทรพั ย์สินอย่างเตม็ ท่เี ดด็ ขาด แต่การใช้สทิ ธิ์ตอ้ งไมข่ ดั ตอ่ กฎหมายหรอื ข้อบงั คบั ใด ๆ”

2.8.2 ข้อความที่คัดลอกมามีความยาวเกิน 3 บรรทัด ให้พิมพ์ขึ้นบรรทัดใหม่
โดยให้เว้นระยะห่างระหว่างตัวเน้ือหากบั ข้อความทค่ี ัดลอกมา โดยใช้ระยะห่าง ก่อนหน้า 6 พ.
และระยะห่าง หลังจาก 6 พ. ให้ตัง้ กัน้ หน้ากระดาษเขา้ มาจากข้อความปกติ 0.75 นวิ้ ตัง้ ก้นั หลัง
กระดาษเขา้ มาจากข้อความปกติ 0.75 นิว้ และกอ่ นพมิ พ์ข้อความบรรทัดแรกตอ้ งยอ่ หนา้ เข้ามา
จากก้ันหน้ากระดาษของข้อความนั้นอีก 0.75 นิ้ว ในการพิมพ์ข้อความ ให้ใช้ตัวอักษรเอียง
ขนาด 17 ระยะหา่ งบรรทัด 1 บรรทัด โดยไมต่ อ้ งใส่เครื่องหมาย “...”

ตัวอยา่ ง

รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา แก้ไขเพ่ิมเติม ครั้งที่ 5 (the fifth
Amendment) ไดบ้ ญั ญัติวา่

ไม่มีบุคคลใดท่ีจะถูกพรากไปซ่ึงชีวิต เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน
โดยปราศจากการดาเนินการ ตามกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย
(duc process of law) เอกชนผู้ซ่ึงทรัพย์สินของเขาถูกนาไปใช้
เพ่ือประโยชนส์ าธารณะชอบที่จะได้รับค่าทดแทนท่ีเปน็ ธรรม

2.8.3 ถ้ามีการเว้นหรือตัดข้อความท่ีคัดลอกมาบางส่วน ข้อความท่ีตัดและเว้นนั้น
อยตู่ อนต้นและตอนท้ายของข้อความทั้งหมด ใหพ้ ิมพเ์ คร่ืองหมาย . จานวน 3 จุด โดยเวน้ ระยะ
1 ชว่ งตัวอกั ษรท่ตี อนตน้ และหรือตอนทา้ ยแล้วแต่กรณขี องขอ้ ความท่คี ัดลอกมา

42

ตัวอยา่ ง

เจตนารมณ์ของการกาหนด ให้มี “วุฒิสภา” ก็เพ่ือให้เป็นสภาพี่เลี้ยง
คอยประคับประคองการปฏิบัติหน้าท่ีของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไปจนกว่าราษฎร
และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกต้ัง จะมีความรู้ความเข้าใจและสามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเองได้ ดังเหตุผลที่นายปรีดี พนมยงค์ แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร
ความตอนหนึง่ ว่า

…ที่เราจาต้องมีสมาชิกประเภทท่ี 2 ไว้ก่ึงหน่ึงก็เพื่อท่ีจะชว่ ยเหลือ
ผู้แทนราษฎร ในฐานะที่เพ่ิงเริ่มมีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ เราย่อม
ทราบอยู่แล้วว่ายังมีราษฎรอีกเป็นจานวนมากท่ียังไม่ได้รับการศึกษา
เพียงพอ ที่จะจัดการปกครองป้องกันผลประโยชน์ ของตนเองได้บริบูรณ์
ถ้าขืนปล่อยมือให้ราษฎรเลือกผู้แทนโดยลาพงั เอง ในเวลานี้แล้ว ผลร้าย
ก็จะตกอยูแ่ กร่ าษฎร เพราะผูท้ จี่ ะสมัครไปเปน็ ผ้แู ทนราษฎร อาจเป็นผทู้ ีม่ ี
กาลังในทางทรัพย์ คณะราษฎร ปฏิญาณไว้ว่าถ้าราษฎรได้มีการศึกษา
เ พี ย ง พ อ แ ล้ ว ก็ ยิ น ดี ท่ี จ ะ ป ล่ อ ย ใ ห้ ร า ษ ฎ ร ไ ด้ ป ก ค ร อ ง ต น เ อ ง
โดยไม่จาเปน็ ต้องมสี มาชกิ ประเภทท่ี 2 ฉะน้ัน จึงวางเงือ่ นไขไวข้ อให้เขา้ ใจ
ว่าสมาชิกประเภทที่ 2 เป็นเสมือนพี่เลี้ยงที่จะช่วยประคองการงาน
ให้ดาเนินไปสมตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้ป้องกัน
ผลประโยชน์อนั แทจ้ รงิ ...

2.8.4 ถ้าข้อความที่ต้องการเว้นอยู่ระหว่างกลางของข้อความทั้งหมดให้พิมพ์
เครื่องหมาย . ลงในชว่ งทขี่ อ้ ความน้ันเวน้ จานวน 3 จดุ โดยเว้นระยะระหว่าง . เท่ากบั 1 ตวั อกั ษร

ตวั อย่าง

นักวิชาการได้ให้ความเห็นว่า “ในประเทศไทยนั้น นักสถิติดังกล่าวยังหาได้น้อย
ถ้าจะหาให้ได้เพียงพอก็จะต้องส่งนักสถิติออกไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ... นับเป็นความสาเร็จ
ทีน่ ่ายนิ ดยี ง่ิ ”

2.8.5 กรณีที่ต้องการใช้เคร่ืองหมาย “...” ซ้อน ในข้อความที่มีเคร่ืองหมาย “...”
อยแู่ ล้ว ให้ใชเ้ คร่ืองหมาย ‘…’

43

ตวั อย่าง

“ยัง (Young) ให้ความหมายของบทบาทว่า เป็นหน้าที่ของผู้ดารงตาแหน่งต่ากว่า
ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของบุคคลอื่นๆ คือ ‘บทบาทย่อมมีความสัมพันธ์อยู่กับตาแหน่ง
ทเ่ี จ้าของบทบาทนน้ั ดารงตาแหน่งอยู่’ ”

2.9 การพิมพ์ตาราง แผนภูมิ แผนที่ และภาพประกอบ

ตารางประกอบด้วย เลขท่ีของตาราง ชือ่ ตาราง ขอ้ ความ และแหลง่ ทีม่ าของตาราง
โดยปกติให้พิมพ์อยู่ในหน้าเดียวกัน ถ้าตารางสั้นมาก (น้อยกว่าครึ่งหน้ากระดาษ) อาจจะพิมพ์
อยู่ในเนอ้ื เร่ืองได้

กรณีตารางน้ันมีความยาวไม่สามารถสิ้นสุดในหน้าเดียวกัน ให้พิมพ์ส่วนท่ีเหลือ
ในหน้าถัดไป โดยระบุลาดบั ทีข่ องตาราง ชื่อตารางและวงเลบ็ ดว้ ยคาวา่ “(ต่อ)”

การพิมพ์จะต้องพิมพ์เลขของตารางและช่ือตารางไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ เลขของ
ตารางให้ใชเ้ ลขบทและตามด้วยลาดบั ของตารางเชน่ เดียวกบั หวั ขอ้ เช่น ในบทท่ี 1 ของรายงาน
การวิจัย ให้พิมพ์วา่ ตาราง 1.1 ตาราง 1.2 ตาราง 1.3 ตามลาดบั ส่วนช่อื ตารางให้พิมพห์ า่ งจาก
เลขของตาราง ถา้ ชอื่ ตารางยาวมากกว่า 1 บรรทัด บรรทดั ที่ 2 ตอ้ งตรงกบั ชื่อตารางบรรทดั แรก

ในการพิมพ์ตาราง ให้แสดงเฉพาะเส้นแนวนอนส่วนหัวตาราง เส้นจบตาราง
และเส้นยอดรวม เทา่ นั้น ไม่ตอ้ งแสดงเส้นในแนวต้ัง

การอา้ งองิ ตารางใหอ้ า้ งตามเลขของตาราง เช่น ตามตาราง 1.1

ขนาดความกว้างของตาราง ไม่ควรเกินก้ันหน้าและกั้นหลังของหน้ากระดาษ
สาหรับตารางขนาดใหญใ่ ห้พยายามลดขนาดของตารางลง โดยใชก้ ารถ่ายยอ่ ส่วน หรือวธิ ีอ่นื ๆ
ตามความเหมาะสม ส่วนตารางที่กว้างเกินอาจจัดพิมพ์ตามแนวขวางของหน้ากระดาษได้
โดยหนั หวั ตารางเข้าสนั ปก

ทม่ี า พิมพ์ชดิ ก้ันหน้ากระดาษ อยู่ด้านลา่ งของตาราง

44

ตาราง 1.1 .................................................................................................................................
................................................................

ลาดบั รายการ จานวน

1 Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx Xxxxxx

2 Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxx

3 Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxx

4 Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxx

5 Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxx

6 Xxxxxx xxxxxx

7 Xxxxxx xxxxxx

8 Xxxxxx xxxxxx

9 Xxxxxx xxxxxx

10 xxxxxx xxxxxx

รวม xxxxxxxxxx

ทีม่ า : ………………………………………………………………………………………………………………….………
………………..…………….

45

ตาราง 1.1 ...............................................................................
ลาดับ รายการ

1 Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
2 Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
3 Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
4 Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
5 Xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
6 Xxxxxx
ทีม่ า : ………………………………………………………………………………………………………

............................................................................................ 45
จานวน
Xxxxxx
xxxxxx
xxxxxx
xxxxxx
xxxxxx
xxxxxx

…………….……………………

46
การพิมพ์แผนภูมิ (กราฟ) แ ผน ที่ และภาพปร ะกอบ ให้ร ะบุเลข ช่ือ
และรายละเอยี ดอน่ื ๆ ไว้ใต้ภาพเหลา่ นั้น และพิมพ์ในลกั ษณะเดยี วกนั กบั ตาราง
จานวนคน

20
20-25

15 26-30
31-35

10 36-40
41-45

5 มากกว่า 45
ไมร่ ะบุ

0 20-25 26-30 31-35 36-40 41-45 มากกวา่ ไม่ระบุ ชว่ งอายุ

45

แผนภูมิ 1.1 ..................................................................................
ทม่ี า : …………………………………………………………………………………………………………………

แผนท่ี 1.1 ..................................................................................
ทม่ี า : …………………………………………………………………………………………………………………

47

ภาพท่ี 1.1 ..................................................................................
ที่มา : …………………………………………………………………………………………………………………

การพมิ พต์ าราง แผนภูมิ (กราฟ) แผนที่ และภาพประกอบ ควรจะเว้นระยะขอบทง้ั
4 ด้านเช่นเดียวกับการเว้นระยะขอบในหน้าปกติ และอักษรในตารางหรือรูปภาพนั้น
ควรเปน็ ตัวพมิ พ์ พยายามหลีกเลีย่ งการใชม้ ือเขียน

ในการเขียนแหล่งที่มาของตาราง แผนภูมิ (กราฟ) แผนที่ และภาพประกอบ
ให้ใช้รูปแบบเดียวกับการเขียนเชิงอรรถอ้างอิง (ซ่ึงจะได้กล่าวในบทต่อไป) แต่มีสิ่งต่างกัน
เล็กน้อย คือ ตาแหน่งท่ีพิมพ์ของแหล่งที่มาน้ัน ให้พิมพ์ไว้ใต้ตาราง แผนภูมิ (กราฟ) แผนที่
และภาพประกอบ โดยพิมพช์ ิดกน้ั หนา้ กระดาษ

ถา้ หากตารางมที ้งั “ท่ีมา” และ “หมายเหตุ” ให้ระบุ “ทม่ี า” กอ่ น “หมายเหตุ”
ภาพประกอบ หากเป็นภาพถ่ายท่ีอ้างอิงมาจากที่อื่น ให้ใช้การถ่ายสาเนา
แตห่ ากเปน็ ผลของการวิจยั ใหใ้ ช้ภาพจริงทัง้ หมดและตดิ ด้วยกาวท่มี ีคณุ ภาพดี

48

2.10 การสะกดคา

2.10.1 ก า ร ส ะ ก ด ค า ภ า ษ า ไ ท ย ที่ ใ ช้ ใ น ร า ย ง า น ก า ร วิ จั ย ใ ห้ ใ ช้ พ จ น า นุ ก ร ม
ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถานฉบับล่าสุดเปน็ เกณฑ์

2.10.2การสะกดคาภาษาอังกฤษที่ใช้ในรายงานการวิจัย ให้ใช้ Webster’s
Dictionary ฉ บั บ Webster’s New Twentieth Century Dictionary of The English
Language หรือ Webster’s Seventh New Collegiate Dictionary เป็นเกณฑ์ กรณีที่คาบางคา
สามารถสะกดได้อย่างถูกต้องมากกว่า 1 แบบ ให้เลือกใช้แบบใดแบบหน่ึง และให้ใช้เป็น
แบบเดียวกันตลอดเล่ม ส่วนการสะกดคาภาษาต่างประเทศ ภาษาอื่น ให้ใช้พจนานุกรม
ฉบับมาตรฐานในภาษานนั้ ๆ เปน็ เกณฑ์

2.10.3การสะกดคาภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ซ่ึงไม่ปรากฏในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับล่าสุดให้ตรวจสอบการสะกดคาในประเทศของราชบัณฑิตยสถาน
หรือแหล่งอ้างอิงซ่ึงเป็นท่ียอมรับและเช่ือถือได้ ในกรณีที่เป็นชื่อบุคคลหรือช่ือสถานท่ี
ท่ีเปน็ ภาษาตา่ งประเทศอาจเขยี นตามต้นฉบับเดิม โดยไมต่ ้องเขียนเปน็ ภาษาไทย

2.11 การใช้ตวั ยอ่

โดยท่ัวไปให้พยายามหลีกเลย่ี งการใช้ตัวยอ่ ในเนือ้ เร่ือง ยกเว้นบางครง้ั อาจจะใช้ได้
แตต่ ้องมีคาอธิบายกากับ โดยในการเขยี นคร้ังแรกใหใ้ ชค้ าเต็มและวงเล็บคาย่อไว้ สว่ นคาตอ่ ๆ ไป
ใช้คาย่อได้ และในตารางอนุญาตให้ใช้ตัวย่อได้ ส่วนในบทคัดย่อห้ามใช้ตัวย่อโดยเด็ดขาด
เพราะอาจทาให้เข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจได้ หรืออาจใช้ได้ในตารางหรือแผนภูมิ (กราฟ)
หรือแผนท่ี หรือรูปภาพ เพื่อการประหยัดพื้นท่ีและโดยปกติน้ัน ควรจะต้องมีคาอธิบายไว้
ใต้ตารางรูปภาพหรือแผนที่หรืออธิบายไว้ในเน้ือเร่ืองและไม่ควรใช้ตัวย่อในผลงานวิจัย
ทเี่ กยี่ วข้อง

2.12 วิธกี ารเขา้ เลม่ รายงานการวจิ ยั

ให้เข้าเล่มแบบไสสันทากาว

49

บทท่ี 3
การอ้างอิง

รูปแบบการอ้างอิงในการเขียนรายงานการวิจัยของสานักงานเลขาธิการวุฒิสภา
มี 2 รปู แบบ ให้เลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนงึ่

1. การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ
2. การอ้างองิ แบบนามปี
ทั้งนี้ เมอื่ ใช้วิธีการอ้างองิ แบบใดแลว้ ใหใ้ ชว้ ิธีการน้ันตลอดรายงานการวจิ ัย
3.1 การอา้ งอิงแบบเชิงอรรถ
เป็นการระบุเอกสารและแหล่งที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายหน้าแต่ละหน้า ซ่ึงมีรูปแบบ
การเขียนอ้างอิงแตกตา่ งกนั ตามประเภทของเอกสารหรอื แหล่งทใ่ี ช้อา้ งอิง
สาหรับวธิ ีการเขยี นเชิงอรรถอ้างอิงนั้น ให้เขียนหมายเลขในเน้อื ความ ณ ตาแหน่ง
ที่ต้องการอา้ งอิง แลว้ จงึ เขยี นเชิงอรรถอ้างอิงทา้ ยหนา้ โดยใหห้ มายเลขตรงกบั ในเนอ้ื ความ
การพิมพใ์ ช้ตวั อกั ษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ตัวปกติ ใช้ระยะห่าง ก่อนหน้า 0 พ.
ระยะหา่ ง หลังจาก 0 พ. ระยะหา่ งบรรทัด 1 บรรทัด ท้ังเล่ม
รายละเอียดของการเขยี นเชงิ อรรถอ้างอิงเอกสารแตล่ ะประเภท มีดงั น้ี
3.1.1 หนังสอื

ชื่อผแู้ ตง่ ,/ชอื่ หนังสอื ,/ครั้งทพี่ มิ พ/์ (สถานท่พี ิมพ์:/สานักพิมพ,์ /ปที ่ีพมิ พ์),/เลขหนา้ .

(เคร่ืองหมาย / แตล่ ะขีดหมายถงึ ให้เวน้ ระยะพิมพ์ 1 ตวั อักษร)
3.1.1.1 ผู้แต่ง
1) หนังสอื ทม่ี ผี แู้ ตง่ คนเดียว
(1) ใหร้ ะบุชอ่ื และชื่อสกลุ ตามลาดับ ทง้ั ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

50

(2) ผู้แต่งที่มีราชทินนาม ฐานันดรศักด์ิ บรรดาศักดิ์ สมณศักด์ิ ให้ใส่ไว้

หน้าชอื่

(3) กรณีผู้แต่งมียศทางทหาร ตารวจ หรือมีตาแหน่งทางวิชาการ เช่น
ศาสตราจารย์ หรือมีคาเรียกทางวิชาชีพ เช่น นายแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรไม่ต้องใส่ยศ
หรอื ตาแหนง่ ทางวิชาการ หรอื คาเรยี กทางวิชาชีพน้ัน ๆ

(4) หลังช่ือผู้แต่งใส่เคร่อื งหมาย ,

2) หนงั สอื ทมี่ ผี แู้ ตง่ 2 คน ใหร้ ะบุชอื่ และช่อื สกลุ ของผแู้ ต่งทง้ั 2 คน คัน่ ด้วย
คาว่า “และ” สาหรบั เอกสารภาษาไทย และใหร้ ะบุชอื่ สกลุ ผ้แู ต่งท้งั 2 คน คัน่ ด้วยคาว่า “and”
สาหรบั เอกสารภาษาตา่ งประเทศ

ตวั อย่าง

1ยศ สนั ติสมบัติ และ วิฑูรย์ ปัญญากลุ ,
2Parker and Krueger,

3) หนังสือที่มีผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุช่ือและช่ือสกุลของผู้แต่งคนแรก คั่นด้วย
เครื่องหมาย , ตามด้วยชื่อและช่ือสกุลของผู้แต่งคนที่ 2 ค่ันด้วยคาว่า “และ” ตามด้วยชื่อ
และช่ือสกุลของผู้แต่งคนที่ 3 สาหรับเอกสารภาษาไทย และให้ระบุชื่อสกุลผู้แต่งคนแรก
คั่นด้วยเครื่องหมาย , ตามด้วยชื่อสกุลผู้แต่งคนที่ 2 ค่ันด้วยคาว่า “and” ตามด้วยชื่อสกุล
ผู้แตง่ คนที่ 3 สาหรบั เอกสารภาษาตา่ งประเทศ

ตวั อยา่ ง

1ฉลาดชาย รมิตานนท,์ อานนท์ กาญจนพันธ์ุ และ สณั ฐิตา กาญจนพนั ธ,์ุ
2Brown, Flarin and Parstel,

4) หนังสือที่มีผู้แต่งมากกว่า 3 คน ให้ระบุเฉพาะช่ือและชื่อสกุลของ
ผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคาว่า “และคณะ” สาหรับเอกสารภาษาไทย และให้ระบุเฉพาะชื่อสกุล
ของผูแ้ ตง่ คนแรก ตามดว้ ยคาวา่ “et al.” สาหรบั เอกสารภาษาตา่ งประเทศ

ตวั อยา่ ง

1สุกญั ญา ตีระวนิช และคณะ,
2Byers et al.,

51

5) หนังสือที่มีผู้แต่งเป็นสถาบัน ถ้าสถาบันเป็นหน่วยงานรัฐบาล อย่างน้อย
ต้องอ้างถงึ ระดบั กรมหรือเทียบเทา่ และเขยี นอา้ งระดับสูงลงมาก่อน

ตัวอยา่ ง

1กรมประชาสมั พนั ธ์,
2จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, คณะรฐั ศาสตร์,

3.1.1.2 ชอ่ื หนงั สือ (ช่อื เรอื่ ง)

1) ให้ระบตุ อ่ จากผแู้ ตง่ ถา้ ไม่มผี ้แู ต่งใหร้ ะบุช่อื หนังสอื ได้เลย

2) ในภาษาอังกฤษหรือภาษาอ่ืนท่ีมีการใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ -ตัวเล็ก
คล้ายภาษาอังกฤษ ให้เขียนตัวใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง และชื่อเร่ืองรอง [(ถ้ามี)
ซงึ่ มกั จะเขยี นตามหลังเครื่องหมาย : ] ตลอดจนชื่อเฉพาะ ช่อื เรอื่ งให้พมิ พ์ตวั หนา

3) หลังชื่อหนังสือ (ช่ือเรื่อง) ถ้าตามมาด้วยสถานท่ีพิมพ์ ไม่ต้องใส่
เคร่อื งหมายใด ๆ คน่ั แตถ่ า้ ตามมาด้วยครงั้ ที่พิมพ์ ใหใ้ ส่เครื่องหมาย ,

3.1.1.3 ครั้งท่ีพิมพ์ หนังสือที่พิมพ์มากกว่า 1 ครั้ง ให้ใส่คร้ังท่ีพิมพ์ไว้ด้วย
(พมิ พค์ รั้งที่ 1 ไม่ตอ้ งใส่)

3.1.1.4 สถานทพี่ มิ พ์ สานกั พมิ พ์ ปที พ่ี มิ พ์

1) ให้ระบตุ อ่ จากช่อื หนงั สอื (ชอ่ื เรอ่ื ง) หรอื ครงั้ ทพ่ี มิ พ์ โดยใสใ่ นเครือ่ งหมาย ( )

2) สถานทีพ่ ิมพ์

(1) ให้ระบุชื่อจังหวัดหรือช่ือเมือง ถ้าชื่อเมืองไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
หรืออาจทาใหส้ บั สนกบั เมืองอ่นื ใหร้ ะบุช่ือจงั หวดั หรอื เมือง หรอื ประเทศทส่ี านักพิมพน์ ้นั ตง้ั อยู่

(2) ถ้าในเอกสารนั้น มีชื่อสานักพิมพ์ตั้งอยู่ในเมืองมากกว่า 1 เมือง
ใหเ้ ลือกเมืองแรก

3) เครอ่ื งหมายท่ใี ชห้ ลงั สถานท่ีพิมพ์ใชเ้ คร่อื งหมาย :

4) สานกั พมิ พ์

(1) พิมพ์เฉพาะชื่อสานักพิมพ์ ส่วนคาระบุสถานะของสานักพิมพ์ เช่น
ห.จ.ก., บริษัท, Publishers, Co., Ltd. หรือ Inc. ให้ตัดออก สานักพิมพ์ที่เป็นของสมาคม
มหาวิทยาลัย ให้ระบุช่ือเต็ม เช่น สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, University of Tokyo
Press เป็นต้น

52

(2) ถ้าไม่ปรากฏสถานท่ีพิมพ์หรือสานักพิมพ์ ให้ระบุ “(ม.ป.ท.)” หรือ
“(n.p.)” แล้วแต่กรณี

5) ปีที่พิมพ์

(1) ใหร้ ะบุปีท่ีพิมพข์ องงานน้ัน โดยไม่ตอ้ งระบคุ าว่า “พ.ศ.” หรือ “ค.ศ.”

(2) สาหรับงานทีไ่ มไ่ ด้ตพี ิมพเ์ ผยแพร่ ปีทีพ่ มิ พ์ หมายถงึ ปที ี่ผลิต

(3) งานที่อยู่ระหว่างการจัดพิมพ์เผยแพร่ ให้ใช้คาว่า “กาลังจัดพิมพ์”
หรือ “In press” แลว้ แต่ภาษาของงานนน้ั ๆ

(4) ถา้ ไมป่ รากฏปีท่พี มิ พ์ ใหร้ ะบุ “(ม.ป.ป.)” หรือ “(n.d.)” แล้วแตก่ รณี

6) หลงั สานกั พมิ พ์ใช้เคร่ืองหมาย , หลงั ปีพมิ พ์ ให้ใส่เครอื่ งหมาย ,

3.1.1.5 เลขหน้า

1) ถ้าเร่ืองท่ีอ้างเป็นภาษาไทย ให้ใช้คาว่า “หน้า” และระบุเลขหน้า
หลังเลขหน้าให้ใสเ่ คร่อื งหมาย .

2) ถ้าเร่ืองที่อ้างเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ “p.” (กรณีอ้างหน้าเดียว)
หรือ “pp.” (กรณีอา้ งหลายหนา้ ) และระบเุ ลขหนา้ หลังเลขหนา้ ให้ใส่เครื่องหมาย .

ตวั อย่าง

5สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ตานานวดั บวรนเิ วศวิหาร (พระนคร: โรงพมิ พ์
โสภณพิพรรฒธนากร, 2465), หนา้ 49.

6Charter V.Good and Douglas E. Scated, Methods of research: Educational
psychological sociological (New York: Appleton-Century-Crofts, 1959c), p. 29.

53

ตัวอยา่ ง
เร่ืองท้าวฮุ่งหรือเจือง เป็นเร่ืองยาวมาก มีโคลงทั้งส้ิน 5,000 บท เป็นหนังสือ
ชนิดที่เรียกว่า มหากาพย์วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่นักประวัติศาสตร์
จะต้องศกึ ษา1
ในการประชุมนานาชาติเรื่องไทยศึกษา นักวิชาการชาวเยอรมัน เคลาส์
โรเซนแบร์ก (Klaus Rosenberg)2 ศึกษาเร่ืองราวของขุนเจืองจากตานานพงศาวดาร
และวรรณกรรมร้อยกรองรวม 8 เรอ่ื ง ไดแ้ ก่…
การเขียนยกย่องกษัตริย์ว่าเป็นเทพ หรือสบื เชื้อสายจากเทพ เป็นลักษณะการสรา้ ง
ความสาคัญให้แกส่ ถาบนั ของผู้นา พบไดบ้ อ่ ย ๆ ในนทิ านประเภทเทพปกรณมั ของชนหลายชาติ
เช่น เทพปกรณัมของเกาหลี3 เปน็ ตน้

1จิตร ภมู ิศกั ดิ์, ความเป็นมาของคาสยาม ไทย ลาวและขอม และลกั ษณะทางสงั คมของชือ่ ชนชาติ
(กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพด์ วงกมล, 2524), หนา้ 124.

2Klaus Rosenberg, “A preliminary study in the history of Khun Chuang” in Historical
documents and literary evidences (International Conference on Thai Studies, Bangkok, August
1983), p. 93.

3Chun Shin-Yong, ed., Korean folk tales (Seoul: International Cultural Foundation,
1973), pp. 61-65.

54

3.1.2 หนงั สือที่ไม่ปรากฏนามผูแ้ ต่ง
ใหล้ งชอ่ื เร่ืองได้เลย โดยใช้หลักเกณฑ์ข้างต้นเช่นกนั

ชือ่ หนงั สือ,/ครั้งทพี่ มิ พ/์ (สถานท่ีพิมพ์:/สานกั พมิ พ,์ /ปีทพ่ี ิมพ)์ ,/เลขหนา้ .

(เคร่อื งหมาย / แตล่ ะขดี หมายถึงใหเ้ วน้ ระยะพิมพ์ 1 ตวั อกั ษร)
ตวั อย่าง

1คาพิพากษาฎีกา ประจาพุทธศักราช 2526 (กรุงเทพมหานคร: เนติบัณฑิตยสภา, 2527),
หน้า 1359.

3.1.3 หนงั สอื ทม่ี ผี ูแ้ ปล
ให้ใช้หลักเกณฑ์ข้างต้น โดยระบุช่ือผู้แต่งก่อน ส่วนช่ือผู้แปลจะตามหลังช่ือเรื่องท่ี
แปล

ช่ือผู้แต่ง,/ชื่อหนังสือ/แปลโดย (tran. by หรือ trans. by)/ชื่อผู้แปล,/
ครง้ั ท่พี มิ พ/์ (สถานท่พี มิ พ์:/สานกั พมิ พ์,/ปที ี่พิมพ์),/เลขหนา้ .

(เคร่อื งหมาย / แต่ละขดี หมายถงึ ใหเ้ ว้นระยะพมิ พ์ 1 ตวั อกั ษร)
ตวั อย่าง

1จอร์ช แน้ช, แดน วอลดอร์ฟ และ โรเบิร์ต อีไพรซ์, มหาวิทยาลัยกับชุมชนเมือง แปลโดย อัปสร
ทรัยอัน และคณะ (กรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพ์แพรพ่ ทิ ยา, 2518), หน้า 19.

2Michel Foucault, The archaeology of knowledge, tran. by A. M. Sheridan Smith
(London: Tavistock Publications, 1972), p. 68.

3.1.4 การอ้างเอกสารที่ปรากฏในเอกสารอน่ื
ใหใ้ ช้หลักเกณฑ์ข้างตน้ โดยลงรายการดงั ตวั อย่างต่อไปน้ี

ชื่อผู้แต่ง,/ชื่อหนังสือ,/คร้ังท่ีพิมพ์/(สถานท่ีพิมพ์:/สานักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์),/
เลขหน้า,/อ้างถงึ ใน(cited in)/ช่ือผู้แต่ง,/ช่ือหนังสอื ,/ครัง้ ทพ่ี ิมพ์/(สถานทีพ่ ิมพ์:/สานักพมิ พ,์ /
ปที พ่ี มิ พ์),/เลขหนา้ .

(เครื่องหมาย / แตล่ ะขดี หมายถงึ ใหเ้ วน้ ระยะพิมพ์ 1 ตัวอักษร)

55

การอ้างเอกสารที่ปรากฏในเอกสารอ่ืน ให้ระบุช่ือผู้แต่งเอกสารทั้งสองรายการ
โดยระบุชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ คร้ังที่พิมพ์ สถานท่ีพิมพ์ สานักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าที่
อ้างอิงของเอกสารปฐมภูมิหรือเอกสารลาดับแรกก่อน แล้วจึงตามด้วย “อ้างถึงใน” หรือ
“cited in” แล้วจึงระบุชื่อผู้แต่งช่ือหนังสือ ครั้งท่ีพิมพ์ สถานที่พิมพ์ สานักพิมพ์ ปีท่ีพิมพ์
และเลขหนา้ ทอี่ า้ งอิงของเอกสารทตุ ยิ ภมู ิ หรอื เอกสารลาดับท่ี 2

ตัวอยา่ ง

1สมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ, ตานานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ
หอพุทธสาสนสัคหะ และหอสมุดสาหรับพระนคร (พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2459), หน้า 110,
อ้างถงึ ใน แมน้ มาส ชวลติ , ประวตั หิ อสมุดแห่งชาติ (พระนคร: กรมศิลปากร, 2509), หน้า 38.

3.1.5 บทความในวารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ,/“ชื่อบทความ,”/ชื่อวารสาร/ปีที่หรือเล่มท่ี,/ฉบับที่/(เดือน/
ป)ี :/เลขหน้า.

(เครอ่ื งหมาย / แต่ละขีดหมายถงึ ให้เวน้ ระยะพิมพ์ 1 ตวั อกั ษร)
3.1.5.1 ผ้เู ขยี นบทความ
1) ใช้หลักเดยี วกับผู้แต่งหนงั สอื
2) ถ้าไมม่ ีช่อื ผเู้ ขยี นบทความ ใหร้ ะบชุ อื่ บทความไดท้ ันที
3.1.5.2 ชอ่ื บทความ อยู่ในเคร่ืองหมาย “….” โดยไม่ขีดเส้นใต้ หลังช่ือบทความ

ใส่เครอื่ งหมาย ,
3.1.5.3 ช่ือวารสาร
1) ช่ือวารสารใหพ้ มิ พ์ตัวหนา
2) ใช้ตามที่ปรากฏบนหนา้ ปกของวารสาร
3) หลงั ช่อื วารสารไม่มีเคร่ืองหมายใด ๆ

56

3.1.5.4 ปที ่ี หรอื เล่มท่ี (volume)

1) วารสารท่ีมีท้ังปีที่ หรือเล่มท่ี (volume) และฉบับที่ (number) ให้ระบุ
เฉพาะตัวเลขของปีที่ หรือเล่มที่ และตัวเลขฉบับที่เท่าน้ันไม่ต้องพิมพ์คาว่า “ปีท่ี” “เล่มท่ี”
และ “ฉบบั ท่ี”

2) วารสารท่ีไม่มีปีท่ี หรือเล่มที่ มีแต่ฉบับที่ ให้ใช้ฉบับที่ หรือ No. เช่น
ฉบับท่ี 2 หรอื No. 2

3.1.5.5 เดือน ปี

1) ให้ใช้ตามท่ปี รากฏในวารสาร

2) ชอ่ื เดือนให้สะกดเตม็ ตามด้วยปี โดยใสใ่ นเครื่องหมาย ( )

3) หลังเดอื น ปี ใหใ้ ชเ้ ครื่องหมาย :

3.1.5.6 เลขหน้า

1) ระบุเลขหน้าที่บทความน้ันตพี มิ พ์ ว่าเริม่ จากหน้าใดถึงหน้าใด โดยไม่มีคาว่า

“หน้า”

2) ถ้าบทความพิมพ์ต่อในหน้าอื่นของวารสารฉบับเดียวกันระบุเลขหน้าที่
ปรากฏทง้ั หมด โดยใช้เครือ่ งหมาย , คัน่

3) หลังเลขหน้า ให้ใส่เครือ่ งหมาย .

ตวั อย่าง

1รุธีร์ พนมยงค,์ “ศักยภาพของการคา้ ผ่านแดนบนถนนสาย คุณหมิง-กรงุ เทพฯ,” ประชาคมวิจยั 12,
72 (มีนาคม-เมษายน 2550): 16-20.

2ศักด์ิสิน ช่องดารากุล, “สังคมโลกเปล่ียนไป สังคมการศึกษาไทยเปลี่ยนไปบ้างแล้วหรือยัง,”
วารสารวิชาการ 10, 1 (มกราคม-มนี าคม 2550): 9-14.

3.1.6 บทความในหนังสอื

ช่ือผู้เขียนบทความ,/“ชื่อบทความ,” /ใน(in)/ช่ือหนังสือ,/ช่ือบรรณาธิการ,/
บรรณาธกิ าร(ed. หรอื eds.)(ถา้ มี)/(สถานท่พี ิมพ์:/สานกั พมิ พ,์ /ปที ีพ่ มิ พ์),/หน้า.

(เครื่องหมาย / แตล่ ะขดี หมายถงึ ใหเ้ ว้นระยะพมิ พ์ 1 ตวั อกั ษร)

57

ตวั อยา่ ง

1โสภณ รัตนากร, “หมายเหตุคดีตามฎีกาที่ 2405/2516,” ใน แนวฎีกาวิธีพิจารณาความแพ่ง
2516-2527 พร้อมหมายเหตุท้ายฎีกา ข้อวินิจฉัย และข้อสังเกต (กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิชาการกลุ่มเนติธรรม,
2527), หน้า 21-22.

2กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร, “สังคมตะวันตกและวิวัฒนาการ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2,”
ใน อารยธรรมตะวันตก, กอบเก้ือ สุวรรณทัต-เพียร, บรรณาธิการ (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์คัมภีร์, 2519),
หนา้ 335.

3John Tebbel, “The role of technology in the future of libraries,” in The Metropolitan
library, Ralph W. Conant and Kathleen Molz, eds. (Cambridge, MA: MIT Press, 1972), pp. 255-256.

4Carl Weinbergy and Philip Reidford, “Humanistic educational psychology,” in
Humanistic foundations of education, Carl Weinbergy, ed. (Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall,
1972), p. 105.

3.1.7 บทความในหนังสือพิมพ์

ชื่อผู้เขียนบทความ,/“ชื่อบทความ,”/ชื่อหนังสือพิมพ์/(วัน/เดือน/ปีท่ีพิมพ์):/
เลขหน้า.

(เครอ่ื งหมาย / แต่ละขดี หมายถงึ ใหเ้ วน้ ระยะพมิ พ์ 1 ตัวอักษร)
ตวั อยา่ ง

1ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช, “ข้าวไกลนา,” สยามรัฐ (12 มกราคม 2527): 3.
2“Behind that Nobel Prize,” Nation Review (12 December 1976): 6.
3Eric Savareid, “What’s right with sight and sound journalism,” Saturday Review
(2 October 1976): 20.

3.1.8 บทความในสารานุกรม

ชอ่ื ผู้เขยี นบทความ,/“ชอ่ื บทความ,”/ชื่อสารานุกรม/ปที ี่หรอื เลม่ ท่ี/(เดอื น/ปที ี่
พมิ พ)์ :/เลขหน้า.

(เครือ่ งหมาย / แตล่ ะขดี หมายถงึ ให้เว้นระยะพิมพ์ 1 ตัวอักษร)

58

ตวั อย่าง

1เจรญิ อินทรเกษตร, “ฐานันดร,” สารานกุ รมไทยฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน 11 (2515-2516): 6914.
2Eileen M. Trauth, “Information resource management,” Encyclopaedia of Library
and Information Science 43 (1988): 93-112.
3Robert K. Lane and Daniel A. Livingstone, “Lakes and lake systems,” Encyclopaedia
Britannica (Macropaedia) 10 (1974): 613.

3.1.9 ขา่ วจากหนังสือพมิ พ์

“พาดหัวขา่ วหรือหวั ข้อข่าว,” /ชอื่ หนงั สอื พมิ พ์/(วนั /เดอื น/ปที ีพ่ ิมพ์):/เลขหนา้ .

(เครอ่ื งหมาย / แต่ละขดี หมายถึงใหเ้ วน้ ระยะพิมพ์ 1 ตัวอักษร)
ตัวอย่าง

1“ครม.นดั สัง่ ลาอนุมัติแก่งเสือเต้น,” เดลนิ ิวส์ (21 พฤศจกิ ายน 2539): 3.

3.1.10 บทวิจารณใ์ นหนงั สือ

ช่ือผู้เขียนบทวิจารณ์,/วิจารณ์เร่ือง(Review of)/ชื่อหนังสือท่ีวิจารณ์/โดย(by)/
ผ้แู ต่งหนังสอื ท่ีวิจารณ,์ /ใน(in)/ช่ือวารสาร/ปที ่ีหรือเล่มท่ี/(เดือน/ปที พี่ ิมพ์):/เลขหนา้ .

(เคร่ืองหมาย / แต่ละขดี หมายถึงใหเ้ วน้ ระยะพิมพ์ 1 ตวั อกั ษร)
ตวั อย่าง

1ชานาญ นาคประสบ, วจิ ารณ์เร่ือง ลายสือสยาม โดย สุลักษณ์ ศวิ รกั ษ,์ ใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 5
(มถิ ุนายน-สงิ หาคม 2510): 139-141.

2Alan James, Review of The United Nations in a Changing World by Leland M.
Goodrich, in International Affairs 51 (October 1975): 554-555.

3.1.11 ราชกจิ จานุเบกษา

“ชื่อกฎหมาย,”/ราชกจิ จานเุ บกษา/เล่มที/่ (วนั /เดือน/ป)ี :/เลขหน้า.

(เครือ่ งหมาย / แตล่ ะขีดหมายถงึ ใหเ้ วน้ ระยะพมิ พ์ 1 ตัวอกั ษร)

59

ตวั อย่าง

1“พระราชบัญญตั ิวิทยาลยั ครู (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2527,” ราชกจิ จานุเบกษา 101 (12 ตุลาคม 2527):
1-3.

3.1.12 วิทยานพิ นธ์

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์,/“ชื่อวิทยานิพนธ์,”/(ระดับปริญญา/สาขาวิชาหรือ
ภาควชิ า/คณะ/มหาวทิ ยาลยั ,/ปที ีพ่ ิมพ์),/หนา้ (ถา้ มี).

(เครอื่ งหมาย / แตล่ ะขดี หมายถึงให้เว้นระยะพมิ พ์ 1 ตวั อกั ษร)

3.1.12.1 ผ้เู ขียนวทิ ยานพิ นธ์ ใชห้ ลักเดยี วกับผู้แตง่

3.1.12.2 ช่ือวทิ ยานิพนธ์ ใชห้ ลกั เดยี วกบั ชอ่ื บทความในวารสาร

3.1.12.3 ระดับปริญญา ใช้คาว่า “วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต” หรือ
“Master’s thesis” สาหรับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และใช้คาว่า “วิทยานิพนธ์ปริญญา
ดษุ ฎีบัณฑติ ” หรอื “Doctoral dissertation” สาหรบั วิทยานพิ นธร์ ะดับปรญิ ญาเอก โดยเขยี น
ไวใ้ นวงเลบ็

3.1.12.4 ช่ือภาควิชาหรือสาขาวิชา คณะ มหาวิทยาลัย หลังข้อความน้ี
ใส่เครื่องหมาย ,

3.1.12.5 ปีพมิ พ์

1) ใช้ตามที่ปรากฏบนหน้าปกของวิทยานพิ นธ์

2) หลังข้อความนป้ี ดิ วงเล็บ ตามด้วยเคร่อื งหมาย ,

ตัวอยา่ ง

1จิตรลดา ดิษยนนั ทน์, “กลยุทธ์ในการผลิตรายการละครโทรทัศน์ของบริษัทกันตนาวดี ีโอโปรดักชัน
จากัด,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2538), หน้า 99.

2Napaporn Kaewnimitchai, “An analysis of college student culture in Thai Higher
Education Institutions,” (Doctoral dissertation Graduate School Chulalongkorn University, 1996),
p. 209.

60

3.1.13 ภาคนิพนธแ์ ละสารนิพนธ์

ชอ่ื ผเู้ ขียนภาคนิพนธ์หรอื สารนพิ นธ,์ /“ชื่อภาคนิพนธ์หรือสารนพิ นธ์,”/(ภาคนพิ นธ์
หรือสารนพิ นธ์ คณะ/มหาวทิ ยาลยั ,/ปีทีพ่ มิ พ)์ ,/หน้า(ถ้ามี).

(เครื่องหมาย / แต่ละขีดหมายถงึ ให้เว้นระยะพิมพ์ 1 ตัวอกั ษร)
ตวั อย่าง

1วิกานดา วรรณวิเศษ, “การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการจ้างลูกจ้างประจากับ
การจา้ งเหมาบริการภาคเอกชน,” (ภาคนพิ นธ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, 2544), หน้า 20.

3.1.14 รายงานการวจิ ยั และเอกสารทเี่ สนอต่อหนว่ ยงานตา่ ง ๆ

ช่ือผ้เู ขียนรายงานการวจิ ยั ,/“ช่ือรายงานการวิจยั ,”/(รายงานการวิจัยเสนอต่อหรือ
เอกสารวจิ ยั ส่วนบคุ คล ชือ่ หน่วยงาน),/ปที ่ีพมิ พ,์ /หนา้ (ถ้ามี).

(เคร่อื งหมาย / แตล่ ะขดี หมายถึงให้เว้นระยะพมิ พ์ 1 ตวั อกั ษร)
ตวั อย่าง

1สังศติ พิรยิ ะรังสรรค์ และคณะ, “การต่อต้านการคอร์รัปชัน : มาตรการการควบคุมการเคล่อื นไหว
ของเงนิ ,” (รายงานการวจิ ยั เสนอต่อ สานกั งานเลขาธกิ ารวฒุ ิสภา, 2558), หนา้ 28-35.

3.1.15 เอกสารไม่ตีพมิ พเ์ ผยแพร่ และเอกสารอ่ืน ๆ
3.1.15.1 วิธีการอ้าง ใช้หลกั เกณฑเ์ ช่นเดยี วกนั กับหนงั สือ
3.1.15.2 ชือ่ เร่อื งให้พมิ พ์อยใู่ นเครื่องหมาย “…”
3.1.15.3 ท้ายสุดของรายการอ้างอิงให้ระบุคาว่า “(อัดสาเนา)” หรือ

“(Mimeographed)”, “(พิมพ์ดีด)” หรือ “(Typewritten)” , “(เอกสารไม่ตีพิมพ์)” หรือ
“(Unpublished Manuscript)” แลว้ แต่กรณี

61

ตวั อยา่ ง

1นิคม จันทรวิทูร, “การกระจายรายได้และแรงงาน,” เอกสารในการสัมมนาเร่ือง สถานการณ์
ทางเศรษฐกิจในรอบปี 2519 และแนวโน้มในอนาคตปี 2520 เสนอท่ีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 24 กุมภาพันธ์
2520. (เอกสารไม่ตีพมิ พ์)

2สงัด เปล่งวาณิช, “เรื่องกิจการสาธารณสุขท่ีสมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงริเร่ิม
หรือปรับปรุงให้ก้าวหน้า,” บรรยาย ณ พระที่น่ังสิวโมกขพิมานในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 29 กรกฎาคม 2505.
(เอกสารไมต่ พี มิ พ์)

3คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์, “คาวินิจฉัยที่ 20/2528 เร่ือง นายวษิ ณุ หงส์พงศ์ กับพวกร้องทุกข์
ให้เพกิ ถอนประกาศกระทรวงสาธารณสุข,” 6 กนั ยายน 2528. (เอกสารไม่ตพี ิมพ์)

4สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, “มติคณะรัฐมนตรี ท่ี สร. 0404/ว.50 เรื่อง การลงโทษข้าราชการ
ท่ีกระทาความผดิ วนิ ยั กรณที ุจรติ ในการสอบ,” 12 เมษายน 2511. (เอกสารไมต่ ีพมิ พ์)

5คณะกรรมาธิการการศึกษาและวัฒนธรรม (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ), “บันทึกการประชุมพิจารณา
ร่างพระราชบญั ญัติลิขสิทธ์ิ พ.ศ. ...., ครัง้ ท่ี 5/2521,” 2 สิงหาคม 2521. (เอกสารไม่ตีพิมพ์)

6กรมสรรพากร, “หนังสือท่ี กค. 0802/10123,” 22 สิงหาคม 2528. (เอกสารไม่ตพี ิมพ์)
7“เรื่องงบประมาณการจ่ายเงินแผ่นดิน ร.ศ. 111-112,” หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, น.1.3 เลขท่ี
3,10,11. (เอกสารไม่ตีพมิ พ์)
8Suthilak Ambhanwong, “Present scene in library education in universities, Thailand,”
Paper presented at the 1st Conference on Asian Cooperation, Taipei, Taiwan, 19-22 August 1974.
(Unpublished Manuscript)

3.1.16 การสัมภาษณ์

สัมภาษณ์(Interview with)/ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์,/ตาแหน่ง(ถ้ามี),/วัน/เดือน/ปีท่ีทา
การสมั ภาษณ.์

(เคร่ืองหมาย / แตล่ ะขีดหมายถงึ ให้เวน้ ระยะพิมพ์ 1 ตวั อกั ษร)

ผใู้ หส้ ัมภาษณ์

- ใชห้ ลักเกณฑเ์ ดียวกบั ผู้แต่ง โดยระบุชอ่ื ผู้ใหส้ ัมภาษณ์คร้งั ละ 1 คน

- ถ้าสัมภาษณ์หลายคนในหน่วยงานเดียวกันพร้อมกันให้ระบุช่ือผู้ให้สัมภาษณ์

ทีละคน

- ตาแหน่งของผู้ให้สัมภาษณเ์ ท่าทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับเรอ่ื งที่สมั ภาษณ์ (ถ้ามี)

ตวั อยา่ ง

1สมั ภาษณ์ เทยี นฉาย กีระนันทน์, อธิการบดีจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , 2 มถิ ุนายน 2539.
2Interview with Vishidh Prachuabmoh, Director, Institute of Population Studies,
Chulalongkorn University, 25 February 1977.

62

3.1.17 สื่อไม่ตพี ิมพ์

3.1.17.1 โสตทัศนวัสดุ เช่น สไลด์ ฟิล์ม เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ
ฟิล์มสตริป

ช่ือผู้จัดทา/(หน้าที่รับผิดชอบ)(ถ้ามี),/ชื่อเรื่อง/[ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]/
สถานท่ีผลติ :/หนว่ ยงานท่เี ผยแพร่,/ปีท่ีเผยแพร่.

(เคร่ืองหมาย / แตล่ ะขดี หมายถึงให้เว้นระยะพิมพ์ 1 ตัวอักษร)

ตัวอย่าง

1สานักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ผู้ผลิต), พลังนิวเคลียร์ พลังท่ีขับเคลื่อนเอกภพ [วิดิทัศน์]
กรุงเทพมหานคร: สานกั งานพลังงานปรมาณูเพอื่ สนั ติ, 2544.

2พจน์ สารสิน, ความอยู่รอดของเศรษฐกิจไทย [บทวิทยุออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง
แหง่ ประเทศไทย] 13 เมษายน 2520.

3ทอ่ งอนิ โดจนี ตอน ตานานลานา้ โขง เบงิ่ ลาว [Video CD] กรงุ เทพมหานคร: สอ่ งโลก, (ม.ป.ป.).
4Clark, K. B. (Speaker), Problems of freedom and behavior modification [Cassette
Recording No. 7612] Washington DC: American Psychological Association, 1976.
5Mihalyi, Louis J., Landscape of Zambia [Slides] Santa Barbara, Calif.: Visual Education,
1975.
6Orchids [Filmstrip] Encyclopaedia Britannica Films, 1972.
7Holland, H. C., Dynamics: Some new perspectives [Phonotape] Lecture given at
University of Southern California, LA, 11 June 1973.

3.1.17.2 สื่ออิเล็กทรอนกิ ส์ แฟ้มข้อมูลและโปรแกรมคอมพวิ เตอร์ (Electronic
Document)

สอื่ อิเล็กทรอนิกส์เปน็ แหลง่ ขอ้ มลู ที่สาคัญอีกชนดิ หนึง่ สามารถสืบคน้ ได้ 2 ระบบ
คอื ระบบออนไลน์ (Online) และระบบซดี รี อม (CD-ROM)

ระบบออนไลน์ เป็นระบบการสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางไกลผ่านเครอื ข่าย
ซึ่งอาจจะสืบค้นโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การถ่ายโอนข้อมูล (FTP), ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(E-Mail), การใช้เคร่อื งระยะไกล (Telnet) เปน็ ตน้

ระบบซีดีรอม เป็นระบบการสืบค้นข้อมูลจากแผ่นดิสก์เก็ตหรือแผ่นซีดีรอม
ที่บรรจุข้อมูลสาเร็จรูปไว้แล้ว สามารถสืบค้นได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ติดต้ังอยู่ ณ สถานที่
บรกิ ารนัน้ ๆ โดยไม่ต้องต่อเช่อื มกับโทรศพั ท์ รปู แบบการลงรายการอา้ งอิง มีดงั น้ี

63

ช่ือผู้รับผิดชอบหลัก,/ช่ือแฟ้มข้อมูลหรือชื่อโปรแกรม/[ประเภทของส่ือ]/
สถานที่ผลิต:/ช่ือผู้ผลิตหรือผู้เผยแพร่,/ปีท่ีจัดทา.//แหล่งท่ีมา:/ชื่อของแหล่งที่มา/ช่ือแหล่ง
ยอ่ ย/[วัน/เดือน/ปีท่เี ข้าถงึ ขอ้ มลู ]

(เครอื่ งหมาย / แตล่ ะขดี หมายถึงใหเ้ วน้ ระยะพิมพ์ 1 ตวั อักษร)

1) ผ้รู บั ผดิ ชอบหลกั

(1) ให้ระบุผู้รับผิดชอบหลักในการสร้างแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม

คอมพิวเตอร์

(2) วิธีการเขยี นชื่อใช้หลกั เดียวกับการเขยี นชื่อผู้แตง่

2) ชื่อแฟ้มข้อมูลหรือชื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบุช่ือแฟ้มข้อมูลหรือ
ชอื่ โปรแกรมคอมพวิ เตอร์ในลกั ษณะเดยี วกบั ชื่อหนังสือ

3) ประเภทของสือ่

(1) ให้ระบุประเภทของส่ืออยู่ในเคร่ืองหมาย [ ] ต่อท้ายช่ือแฟ้มข้อมูล
หรือชื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยไม่มีเครื่องหมายคั่น ตัวอย่าง เช่น [Online], [Computer
software], [Computer file], [Computer program], [CD-ROM] เปน็ ต้น

(2) ถ้าแฟ้มข้อมูลไม่มีช่ือเรื่องให้เขียนคาอธิบายเน้ือหาของแฟ้มข้อมูล
ไว้ในเคร่ืองหมาย ( ) รวมถงึ ปที ่ีรวบรวมขอ้ มูล

4) สถานทผ่ี ลิต และชื่อผ้ผู ลิตหรอื เผยแพร่

(1) ระบุสถานท่ีผลิตและชื่อผู้ผลิต (บุคคลหรือองค์การ) ที่บันทึกข้อมูล
หรอื จัดทาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

(2) ในกรณีของแฟ้มข้อมูลอาจระบุช่ือบุคคลหรือองค์การผู้จัดทาหรือ
เผยแพร่ ซ่ึงสามารถตดิ ต่อขอสาเนาข้อมูลได้ โดยระบุหน้าที่ของบุคคลหรือองคก์ ารไว้ด้วย เช่น
“(ผู้ผลิต)”, “(Producer)” หรือ “ผเู้ ผยแพร”่ , “ (Distributor)” แลว้ แต่กรณี

(3) ในกรณีของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาจเพิ่มเติมรายละเอียดอ่ืนๆ
ที่จาเป็นสาหรับการสืบค้นโปรแกรมนั้น เช่น หมายเลขรายงาน หรือหมายเลขของโปรแกรม
ต่อจากชื่อผู้ผลิตหรอื ผเู้ ผยแพร่

64

5) ปีท่ีจัดทา หมายถึง ปีที่เผยแพร่แฟ้มข้อมูลหรือปีท่ีสร้างโปรแกรม
คอมพิวเตอร์

6) แ ห ล่ ง ที่ ม า (Available from) เ ป รี ย บ ไ ด้ กั บ ส ถ า น ท่ี พิ ม พ์ แ ล ะ
ช่ือสานักพิมพ์ ให้ระบุแหล่งที่มาหรือที่สืบค้นข้อมูลได้ในกรณีที่ใช้อินเทอร์เน็ตให้ระบุว่า
ใช้โปรโตคอล (Protocol) ชนิดใด เช่น FTP, GOPHER, TELNET, WWW., UseNet, WAIS,
E-Mail ฯลฯ ถา้ เขา้ ถงึ จากเว็บไซต์ ให้ระบชุ ื่อเว็บไซต์ต่อท้ายคาว่า “แหลง่ ทมี่ า:” (ภาษาอังกฤษ
ใชค้ าว่า “Available from:”)

7) วัน เดือน ปี ท่ีเข้าถึงข้อมูล (Access date) ให้ระบุไว้ในเครื่องหมาย [ ]
ไมต่ ้องใสเ่ คร่อื งหมาย . ปิดท้าย

ตวั อย่าง

1สมาคมท่องเท่ียวเชียงราย, การค้าชายแดน [Online], 2544. แหล่งที่มา http://www.chiangraiinfo.
com/criinfo/agriculture.html [19 กรกฎาคม 2547]

2Miller, W., Miller, A., and Kline, G., The CPS 1974 American national election study
[Machinereadable data file] Ann Arbor: University of Michigan, Center for Political Studies (Producer)
Ann Arbor: Inter-University Consortium for Political and Social Research (Distributor), 1975.

3Fernandes, F. D., Theoretical prediction of interference loading on aircraft stores:
Part 1. Subsonic speeds [Computer program] Pomona, CA: General Dynamics, Electro Dynamics
Division. (National Aeronautics and Space Administration Report No. NASA CR-112065-1; Acquisition
No. LAR-11249), 1972.

4Kulikowski Stan, “Readability Formula,” In NL-KR (Digest vol.5,\no.10) [electronic
bulletin board] Rochester, NY, 1988 [cited January 31, 1989]. Available from E-mail: nl-
[email protected]

5Jefferson, T., The declaration of independence [Online], 1989. Available from: FTP:
quake think.com; directory:pub/etext/1991/

6Bowers, K.L., et al., FYI on where to start – bibliography of internet working
information [Online], 1990. Available from E-mail: [email protected]

7Prizker, T.J., An early fragment from central Nepal [Online], (n.d.). Available from:
http://www.ingress.com/-astanart/pritzker/pritzker.html [8 June 1995]

8Inada, K., A Buddhist response to the nature of human rights Journal of Buddhist
Ethics [Online], 1995. Available from: http://www.cac.psu.edu/jbe/twocont.html [21 June 1995]

3.1.17.3บทคดั ยอ่ ในสายตรง (Online abstract)

ตวั อย่าง

1Meyer, A. S., & Bock, K., “The tip-of-the–tongue phenomenon:Blocking or partial
activation?, ” [Online], Memory & Cognition 20, 715-726 Abstract from: DIALOG File: Psyc. INFO
Item: 80-16351, 1992

65

3.1.17.4บทความวารสารในสายตรง (Online journal article)

ตัวอยา่ ง

1Central Vein Occlusion Study Group, “Central vein occlusion study of photocoagulation:
Manual of operations,” [675 paragraphs] Online Journal of Current Clinical Trials [Online serial].
Available from: Doc. No. 92 [2 October 1993]

2Funder, D. C., “Judgmental process and content: Commentary on Koehler on base-
rate [9 paragraphs], ” Psycoloquy [Online serial], 5 (17) Available from FTP: Hostname: Princeton.
Edu Directory: pub/harnad/psycoloquy/1994. Volume. 5 File: psycoloquy, 94.5.17. base-rate. 12.
Funder [March 1994]

3.1.17.5บทคัดย่อในซดี รี อม (Abstract on CD-ROM)

ตวั อยา่ ง

1Bower, D.L., Employee assistant programs supervisory referrals: Characteristics of
referring and no referring supervisors [CD-ROM] Abstract from: ProQuest File: Dissertation
Abstracts Item: 9315947

2Meyer, A. S., & Bock, K., “The tip-of-the-tongue phenomenon: Blocking orpartial
activation?,” [CD-ROM] Memory & Cognition 20, 715-726 Abstract from: Silver Platter File: PsycLIT
Item: 80-16351

(โปรดสังเกตว่า เมื่อจบข้อความของบรรทัดสุดท้ายแต่ละตัวอย่างในบทคัดย่อ
ในสายตรง บทความวารสารในสายตรง และบทคัดย่อในซีดีรอมไม่ต้องใส่เครื่องหมาย .
เพราะหากผู้อ่ืนจะสืบค้นข้อมูลดังกล่าวตามรายการอ้างอิงจะไม่สามารถค้นข้อมูลได้
ถ้ามีเคร่อื งหมายปิดท้าย)

3.1.18 การเขียนเชิงอรรถเมือ่ อา้ งเอกสารซ้า

ในการเขียนเชิงอรรถของเอกสารที่อ้างถึงเป็นคร้ังแรกให้ลงรายการอย่างสมบูรณ์
แต่ถ้ามกี ารอา้ งเอกสารเรือ่ งน้นั ซา้ อกี ใหใ้ ช้วธิ เี ขียนดงั นี้

การอ้างเอกสารเร่ืองน้นั ซ้าโดยไม่มเี อกสารอ่ืนมาคั่น ถ้าเป็นเอกสารภาษาไทยให้ใช้
ว่า “เร่ืองเดียวกัน” ถ้าเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศให้ใช้ว่า “Ibid.” แต่ถ้าเอกสาร
เร่อื งเดียวกนั นัน้ มาจากหน้าทอ่ี า้ งถึงตา่ งหนา้ กนั ให้ระบุเลขหน้าไปด้วย

ตัวอยา่ ง

1เรื่องเดียวกนั , หน้า 13.
2Ibid., p. 19.

66

แต่ถ้ามกี ารอา้ งเอกสารน้นั ซา้ ในบทเดียวกันโดยมเี อกสารอื่นมาคน่ั ใหล้ งรายการย่อ
โดยตดั ขอ้ ความสว่ นท่เี ปน็ สถานทพ่ี ิมพ์ สานกั พมิ พ์ ปที ีพ่ มิ พ์ออกได้

ตวั อยา่ ง

1ขจร สุขพานิช, ฐานันดรไพร่ (กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรนี ครินทรวิโรฒ ประสานมติ ร, 2519), หนา้ 2.

2เจรญิ อินทรเกษตร, “ฐานันดร,” สารานุกรมไทยฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน 11 (2515-2516): 6914.
3ขจร สขุ พานชิ , ฐานนั ดรไพร,่ หน้า 13.
4เรื่องเดียวกัน, หนา้ 35.
5เจริญ อนิ ทรเกษตร, “ฐานนั ดร,” สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน 11: 6914.
6William A. Katz, Introduction to reference work, 2nded. (New York: McGraw-Hill,
1974), 1: 13.
7Ibid., p. 21.
8Karl W. Deutsch, Nationalism and social communication: An Inquiry into the
foundation of nationality, 2nded. (Cambridge, MA: MIT Press, 1967), p. 6.
9Katz, Introduction to reference work, 2: 217.
10Ibid., p. 232.
11Rutherford D. Rogers and David C. Weber, University library administration
(New York: H. W. Wilson, 1971), pp. 3.8-3.9.

3.1.19 การพมิ พ์เชงิ อรรถอา้ งอิง

การใส่หมายเลขกากับเชิงอรรถอ้างอิงให้ใช้เลขอารบิก พิมพ์เฉพาะตัวเลขยกลอย
อยเู่ หนอื แนวบรรทัดเล็กนอ้ ย ไม่ตอ้ งมีเครอื่ งหมายวงเลบ็ ใด ๆ เริ่มด้วยหมายเลข 1 ไปจนจบบท

ข้อความของเชิงอรรถทุกข้อต้องจบลงในหน้าเดียวกัน ครบตามจานวนหมายเลข
ท่ีอ้างอยู่ในแต่ละหน้า ยกเว้นถ้าเชิงอรรถข้อใดยาวมาก และไม่มีเชิงอรรถข้ออื่นตามมา
ในหน้าเดียวกัน ให้พิมพ์ต่อในหน้าถัดไปได้ การพิมพ์เชิงอรรถอ้างอิงให้พิมพ์ไว้ส่วนล่างของ
แตล่ ะหน้าท่อี ้างถึง

การพิมพ์เชิงอรรถ บรรทัดแรกให้ต้ังแท็บจากกั้นหน้ากระดาษที่ 0.75 น้ิว และ
ใชต้ วั อักษร TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 14 ถ้าเชงิ อรรถมเี กนิ กว่า 1 บรรทดั บรรทดั ต่อมา
ให้พิมพ์ชิดกั้นหน้ากระดาษทุกบรรทัดจนจบรายการ โดยให้บรรทัดสุดท้ายของข้อความ
ในเชงิ อรรถอยหู่ า่ งจากขอบกระดาษด้านลา่ ง ประมาณ 1 น้วิ

67

ตัวอย่าง
กระบวนการประเมินความต้องการเป็นเทคนิคท่ีจะช่วยให้งานบริหารโรงเรียน
ของครูใหญ่ เป็นท่ียอมรับของครู อาจารย์ นักเรียน และชุมชน สมาชิกและผู้ท่ีเกี่ยวข้อง
ในหนว่ ยงานที่มองเห็น1

1สุรพันธ์ ยันต์ทอง, การบริหารโรงเรียน: นวัตกรรม เทคนิค ประสบการณ์ (กรุงเทพมหานคร:
หนว่ ยศึกษานเิ ทศก์ กรมการฝึกหดั ครู, 2533), หนา้ 133.

3.2 การอา้ งองิ แบบนามปี
เป็นการแทรกเอกสารที่อ้างอิงไว้ในเน้ือหาของรายงานการวิจัย ด้วยการระบุชื่อ

และช่ือสกุลของผู้แต่ง ปีท่ีพิมพ์ พร้อมท้ังเลขหน้าที่อ้างอิงในเอกสารนั้น โดยให้ใส่ไว้
ในเคร่ืองหมาย ( ) แทรกอยู่กับเนื้อหารายงานการวิจัยก่อนหรือหลังข้อความที่ต้องการอ้างอิง
การอา้ งองิ วิธีนีเ้ ป็นเพียงการอ้างอิงย่อ ๆ ส่วนข้อมลู อ่ืน ๆ ของเอกสารทอ่ี ้างอิง เช่น ชื่อเอกสาร
สถานท่ีพิมพ์และสานักพิมพ์จะต้องมีปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมท้ายเล่มของรายงานการวิจัย
ซ่งึ รายละเอียดของการเขยี นอ้างองิ แบบนามปี มีดังน้ี

3.2.1 การอ้างอิงเอกสารหน่ึงเร่ืองที่มผี ู้แต่งคนเดียว ถ้าผู้แต่งเปน็ ชาวไทย ให้ระบุ
ช่ือและชื่อสกุลของผู้แต่ง ทั้งเอกสารท่ีเขียนเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ถ้าผู้แต่ง
เปน็ ชาวตา่ งประเทศ ให้ระบุเฉพาะช่อื สกลุ ตามด้วยเคร่ืองหมาย , ปีท่ีพมิ พ์ เครื่องหมาย : และ
เลขหน้าที่อ้างอิง ทั้งน้ี ปีที่พิมพ์ให้ใช้ปี พ.ศ. สาหรับเอกสารภาษาไทย และปี ค.ศ. สาหรับ
เอกสารภาษาตา่ งประเทศ

(ชื่อผูแ้ ต่ง,/ปีทพี่ ิมพ์:/หน้าทอ่ี ้างองิ )

(เครื่องหมาย / แตล่ ะขีดหมายถึงใหเ้ วน้ ระยะพิมพ์ 1 ตวั อักษร)
ให้ใชร้ ูปแบบดังกล่าวข้างต้นสาหรบั การอ้างอิงแบบนามปีทกุ ครั้ง
ตัวอยา่ ง
(อรรถกร ชุมวรฐายี, 2539: 65)
(วนิ ยั เชญิ ทอง, 2540: บทคดั ย่อ)
(Cohen, 1977: 7)

68

ถ้ากล่าวถงึ ชื่อผู้แตง่ ไว้ในข้อความท่ียกมา ไม่ต้องระบุช่ือผู้แต่งไว้ในเคร่ืองหมาย ( ) อีก
ให้ระบุเฉพาะปีท่ีพิมพ์และเลขหน้าเท่าน้ัน ยกเว้นถ้าผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ จะต้องกากับ
ชอื่ ภาษาตา่ งประเทศไว้ในเครื่องหมาย ( ) ด้วย

3.2.2 การอ้างองิ เอกสารหน่งึ เร่ืองทีม่ ผี ้แู ต่ง 2 คน ให้ระบชุ อ่ื และช่อื สกุลของผู้แต่ง
ทง้ั 2 คน คนั่ ด้วยคาวา่ “และ” สาหรบั เอกสารภาษาไทย และให้ระบชุ อ่ื สกุลของผู้แตง่ ทัง้ 2 คน
คน่ั ด้วยคาว่า “and” สาหรบั เอกสารภาษาตา่ งประเทศ

ตวั อยา่ ง

(มณมี ยั รตั นมณี และ อนนั ต์ เกตุวงศ์, 2526: ก-ข)

(Coverdale and Terblrg, 1980: 225)

3.2.3 การอ้างอิงเอกสารหนึ่งเร่ืองท่ีมีผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อและช่ือสกุล
ผ้แู ต่งคนแรก คั่นดว้ ยเคร่ืองหมาย , ตามด้วยชอื่ และชื่อสกุลผู้แต่งคนท่ี 2 คัน่ ด้วยคาว่า “และ”
ตามด้วยชอื่ และชอ่ื สกุลผู้แต่งคนที่ 3 สาหรับเอกสารภาษาไทย และใหร้ ะบุชอื่ สกลุ ผู้แต่งคนแรก
คั่นด้วยเครื่องหมาย , ตามด้วยช่ือสกุลผู้แต่งคนท่ี 2 คั่นด้วยคาว่า “and” ตามด้วยชื่อสกุล
ผแู้ ตง่ คนท่ี 3 สาหรบั เอกสารภาษาต่างประเทศ

ตัวอยา่ ง

(ชัยวฒั น์ ปญั จพงษ์, สรุ ีย์ กาญจนวงศ์ และ จารณุ ี นะวโิ รจน์, 2524: 9-14)

(Wells, Burnett and Moriarty, 1989: 154)

สว่ นการอ้างอิงคร้ังต่อไป ให้ระบุเฉพาะชื่อและชือ่ สกุลผแู้ ต่งคนแรก ตามด้วยคาว่า
“และคณะ” สาหรับเอกสารภาษาไทย และระบุเฉพาะชื่อสกุลผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคาว่า
“et al.” สาหรบั เอกสารภาษาต่างประเทศ

ตวั อย่าง

(ชัยวัฒน์ ปญั จพงษ์ และคณะ, 2524: 9-14)

(Wells et al., 1982: 31)

3.2.4 การอ้างอิงเอกสารหนึ่งเร่ืองที่มีผู้แต่งมากกว่า 3 คน ให้ระบุเฉพาะช่ือ
และชื่อสกุลผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคาว่า “และคณะ” สาหรับเอกสารภาษาไทย และให้ระบุ
ชอ่ื สกลุ ผ้แู ต่งคนแรกตามด้วยคาว่า “et al.” สาหรบั เอกสารภาษาต่างประเทศ

69

ตวั อยา่ ง
(แสวง รตั นมงคลมาศ และคณะ, 2528: 1-3)
(Pama et al., 1969: 1-21)
3.2.5 การอ้างอิงเอกสารท่ีผู้แตง่ มรี าชทินนาม ฐานันดรศกั ดิ์ บรรดาศักด์ิ สมณศักดิ์
ใหใ้ สร่ าชทนิ นาม ฐานนั ดรศักดิ์ บรรดาศกั ดิ์ หรือ สมณศกั ดไ์ิ ว้หน้าชอื่
ตวั อย่าง
(ม.ร.ว. คกึ ฤทธิ์ ปราโมช, 2510: 31)
(หลวงวจิ ติ รวาทการ, 2498: 9-15)
(สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, 2465: 49)
3.2.6 การอ้างอิงเอกสารที่ผู้แต่งมียศทางทหาร ตารวจ หรือมีตาแหน่ง
ทางวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ หรือมีคาเรียกทางวิชาชีพ เช่น นายแพทย์ ทันตแพทย์
ไมต่ อ้ งใสย่ ศ หรือตาแหน่งทางวิชาการหรือคาเรยี กทางวชิ าชพี นั้น ๆ
ตัวอยา่ ง
(ชัยอนนั ต์ สมทุ วนชิ , 2532: 11-12)
(วสษิ ฐ์ เดชกุญชร, 2542: 15)
(เสม พริง้ พวงแกว้ , 2530: 23)
3.2.7 การอา้ งอิงเอกสารท่ผี แู้ ตง่ ใช้นามแฝง ใหใ้ ชน้ ามแฝงแทนชื่อผู้แต่ง
ตัวอย่าง
(หยก บูรพา, 2520: 47-53)
(Dr. Seuss, 1968: 33-38)
3.2.8 การอ้างอิงเอกสารที่มีผู้แต่งเป็นสถาบัน ให้ระบุช่ือเต็มของสถาบันทุกคร้ัง
ท่มี กี ารอ้างอิง
ตัวอย่าง
(ตลาดหลักทรัพยแ์ ห่งประเทศไทย, 2534: 5)
(World Bank, 1998: 6)

70

ถ้าสถาบันเป็นหน่วยงานของรัฐบาล อย่างน้อยต้องอ้างถึงระดับกรมหรือเทียบเท่า
และเขยี นอ้างระดับสูงมากอ่ น

ตัวอยา่ ง

(กรมประชาสมั พนั ธ์, 2534: 33)

(กระทรวงมหาดไทย, สานักนโยบายและแผน, 2538: 13)

หากสถาบันมีอักษรย่อเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ในการอ้างอิงครั้งแรก
ให้ระบุช่ือเต็มของสถาบัน และให้มีชื่อย่อในเคร่ืองหมาย [ ] ไว้ด้วย การอ้างอิงในคร้ังต่อมา
ให้ระบเุ ฉพาะช่ือยอ่ น้ัน

ตวั อย่าง

การอ้างองิ คร้งั แรก

(สานักงานการปฏริ ูปท่ีดนิ เพอื่ เกษตรกรรม [ส.ป.ก.], 2542: 15)

(United Nations [U.N.], 1989: 3-7)

การอ้างอิงคร้ังต่อมา

(ส.ป.ก., 2542: 17)

(U.N., 1989: 12)

3.2.9 การอ้างองิ เอกสารหลายเร่ืองทมี่ ผี ู้แตง่ คนเดียวกัน แต่ละเลม่ พิมพ์ปีต่างกนั
และต้องการอ้างอิงพร้อมกัน ให้ระบุชื่อผู้แต่งเพียงครั้งเดียว แล้วระบุปีที่พิมพ์ตามลาดับ
โดยใชเ้ คร่อื งหมาย , คั่นระหว่างปที ่ีพมิ พ์

ตวั อยา่ ง

(บญุ ยงค์ เกศเทศ, 2516: 74, 2520: 18-20, 2523: 14-15)

(Hassam and Grammick, 1981: 56, 1982: 154)

3.2.10 การอ้างอิงเอกสารหลายเรื่องที่มีผู้แต่งคนเดียวกัน แต่ปีท่ีพิมพ์ซ้ากัน
ให้ใช้ ก ข ค ง ตามหลังปีที่พิมพ์ สาหรับเอกสารภาษาไทย และ a b c d ตามหลังปีท่ีพิมพ์
สาหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ เอกสารเล่มใดจะใช้ ก หรือ ข หรือ ค หรือ ง หรือ … หรอื a
หรอื b หรือ c หรอื d หรอื ...ใหจ้ ัดเรยี งตามลาดบั บรรณานกุ รมทา้ ยเล่ม

71

ตวั อยา่ ง
(แถมสุข นมุ่ นนท์, 2522 ก: 22)
(แถมสขุ นมุ่ นนท์, 2522 ข: 3)
(Katz, 1984 a: 15-17)
(Katz, 1984 b: 21-23)
3.2.11 การอ้างอิงเอกสารหนึ่งเรื่อง และมีผู้แต่งคนเดียว แต่มีหลายเล่มจบ
ใหร้ ะบหุ มายเลขของเล่มท่อี ้างอิงด้วย
ตวั อยา่ ง
(ณัฐวุฒิ สุทธสิ งคราม, 2521: เลม่ 1, 115-116)
(From, 1970: Vol. 2, 192)
3.2.12 การอ้างอิงเอกสารหลายเรื่องท่ีมีผู้แต่งหลายคน และต้องการอ้างอิง
พรอ้ มกัน ให้ระบุช่ือผูแ้ ต่ง โดยเรยี งลาดบั ตามปีที่พิมพ์ และใชเ้ ครอ่ื งหมาย ; ค่ันระหว่างเอกสาร
ทีอ่ า้ งแตล่ ะเรอ่ื ง
ตัวอย่าง
(เปลื้อง ณ นคร, 2512: 10-15; เจือ สตะเวทิน, 2516: 143; ทองสุข นาคโรจน์,
2519: 83; ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และ ประภาศรี สีหอาไพ, 2519: 98-100)
(Woodward, 1963: 77-78; Fiedler, 1967: 15; Thompson, 1967: 125; Kast
and Rosenzweig, 1973: 46-49)
3.2.13 การอ้างอิงเอกสารที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ระบุชื่อเรื่องในตาแหน่ง
ของผู้แต่งได้เลย
ตวั อยา่ ง
(100 ปี กลยทุ ธ์ฝ่าวิกฤตธุรกิจไทย, 2535: 162)
(Organization for Economic Co-Operation and Development, 1963: 53)

72

3.2.14 การอา้ งอิงเอกสารทีไ่ ม่ปรากฏชื่อผู้แตง่ แตม่ ผี ูท้ าหน้าทเ่ี ป็นบรรณาธิการ
หรือผรู้ วบรวม ใหร้ ะบุช่อื บรรณาธิการหรือผรู้ วบรวมในตาแหนง่ ของผู้แต่ง

ในกรณีมผี ูท้ าหนา้ ท่เี ป็นบรรณาธกิ าร หลงั ชอ่ื บรรณาธกิ าร ให้ตามดว้ ยเครื่องหมาย ,
แลว้ ตามด้วยคาวา่ “บรรณาธกิ าร” หรอื “ed.” หรือ “eds.”แล้วแตก่ รณี

ในกรณีมีผู้ทาหน้าที่เป็นผู้รวบรวม หลังชื่อผู้รวบรวม ให้ตามด้วยเคร่ืองหมาย ,
แลว้ ตามดว้ ยคาว่า “ผรู้ วบรวม” หรือ “comp.” หรือ “comps.” แลว้ แต่กรณี

ตวั อย่าง
(ทวน วิริยาภรณ์, บรรณาธกิ าร, 2505: 60)
(พ.ณ ประมวญมารค, ผรู้ วบรวม, 2489: 564-570)
(Anderson, ed., 1950: 143)
(Livingstone, comp., 1985: 29)
3.2.15 การอ้างอิงหนังสือแปล ให้ระบุชื่อผู้แต่งที่เป็นเจ้าของเรื่อง ถ้าไม่ทราบ
ชือ่ ผู้แต่งใหร้ ะบุช่ือผู้แปล หลงั ช่ือผู้แปล ใหต้ ามดว้ ยเครื่องหมาย , แล้วตามด้วยคาว่า “ผ้แู ปล”
หรอื “tran.” หรอื “trans.” แลว้ แตก่ รณี
ตวั อยา่ ง
(บอ๊ ค, 2505: 189)
(กมล จนั ทรสร, ผแู้ ปล, 2506: 258)
(Handerson and Parson, trans., 1966: 340)
3.2.16 การอ้างอิงเอกสารที่เป็นบทวิจารณ์ ให้ระบุช่ือผู้วิจารณ์ในตาแหน่ง
ของผแู้ ต่ง
ตวั อย่าง
(เกศินี หงสนันท์, 2517: 379)
(Dokecki, 1973: 18)

73

3.2.17 การอ้างอิงเอกสารท่ีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ในตาแหน่งที่ต้องระบุปีที่พิมพ์
ให้ระบุ “ม.ป.ป.” สาหรับเอกสารภาษาไทย และ “n.d.” สาหรับเอกสารภาษาตา่ งประเทศ

ตัวอยา่ ง
(ระพี สาคริต, ม.ป.ป.: 53)
(Board of Investment of Thailand, n.d.: 9-11)
3.2.18 การอา้ งองิ เอกสารพเิ ศษหรอื สื่อลักษณะอน่ื
การอ้างอิงถึงเอกสารพิเศษ เช่น ต้นฉบับตัวเขียน รายการวิทยุโทรทัศน์ สไลด์
ฟลิ ม์ สตรปิ ส์ เทป แผนท่ี เป็นต้น ใหร้ ะบลุ ักษณะของเอกสารพเิ ศษหรอื ส่อื น้นั ๆ เชน่

3.2.18.1ตน้ ฉบบั ตวั เขียนคัมภรี โ์ บราณ
ตัวอย่าง
(London, British Library, Arundel MSS; 285, fol. 165b)
(“การเกต.” สมดุ ไทยขาว อักษรไทยเส้นดนิ สอดา, 1: 55)
(“ทฆี นกิ ายมหาวคคปาลี.” ฉบบั ล่องชาด, ผกู 11)
(“เร่ืองงบประมาณการจ่ายเงินแผ่นดนิ ร.ศ. 111-112.” หอจดหมายเหตุแหง่ ชาติ.
น. 1-3. เลขท่ี 3, 10, 11.)

3.2.18.2รายการวิทยโุ ทรทศั น์
ตวั อยา่ ง
(กรมพระยาดารงราชานุภาพ, รายการโทรทัศน์ ชุด “มรดกไทย”)

3.2.18.3สไลด์ ฟิลม์ สตรปิ ส์
ตัวอยา่ ง
(กรมส่งเสริมการเกษตร, สไลด์)

3.2.18.4 เทป
ตัวอยา่ ง
(ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ปราโมช, เทปตลบั )

74

3.2.18.5ส่อื อเิ ลก็ ทรอนิกส์

ตวั อย่าง

(ทบวงมหาวิทยาลยั , Online, 2544)

(Library Research Tutorial, Online, 2000)

(สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา, CD-ROM, 2544)

3.2.18.6เอกสารพิเศษเหล่าน้ี ถ้าในการอ้างอิงถึงหัวข้อใดก็ตามที่มีนามซ้ากัน
ให้ใช้อักษร ก ข ค ง หรือ a b c d กากับไว้หลังชื่อเช่นกัน เอกสารเล่มใดจะใช้ ก หรือ ข หรือ ค
หรอื ง หรอื ... หรอื a หรือ b หรือ c หรือ d หรือ ... ให้จัดเรยี งตามลาดับบรรณานุกรมท้ายเล่ม

ตวั อยา่ ง

(พระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลิศหล้านภาลยั ก. สมุดไทยดาอกั ษรไทยเสน้ รง: 42-43)

(พระบาทสมเดจ็ พระพุทธเลศิ หลา้ นภาลยั ข. สมุดไทยดาอกั ษรไทยเส้นรง: 24-44)

3.2.19 การอ้างถึงส่วนหนึ่งของหนังสือรวมบทความ การอ้างถึงส่วนหน่ึง
ของหนังสือซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์รวมบทความหรือผลงานของผู้เขียนหลายคน และมีผู้รับผิดชอบ
ในการรวบรวม หรือทาหนา้ ที่บรรณาธกิ ารให้ระบเุ ฉพาะช่ือผเู้ ขียนบทความ ในกรณีท่ไี ม่ปรากฏ
ชื่อผู้เขียนบทความ ให้ใช้วิธีการอ้างอิงตามแบบเดียวกับการอ้างเอกสารที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
ที่กล่าวมาแล้วขา้ งตน้

3.2.20 การอ้างอิงการส่ือสารระหว่างบุคคล การส่ือสารระหว่างบุคคล อาจเป็น
จดหมาย บันทึก การสนทนา การสัมภาษณ์ ฯลฯ ให้ระบุช่ือท่ีผู้เขียนส่ือสารด้วย พร้อมวันที่
ถา้ ทาได้

ตัวอย่าง
P.K. Nought (personal communication, April 10, 1983) mentioned...
(เสนอ อนิ ทรสุขศรีม, จดหมาย, 10 มกราคม 2530)
(Wichai Sangsakda, interview, 8 January 1992)
(กระมล ทองธรรมชาติ, สัมภาษณ,์ 5 กนั ยายน 2529)
(ทวน วิรยิ าภรณ์, บรรณาธิการ, 2505: 60)
(Anderson, ed., 1950: 143)
(พ.ณ ประมวลมารค, ผู้รวบรวม, 2489: 564-570)

75

3.2.21 การอ้างอิงเอกสารทุติยภูมิ หรือเอกสารท่ีไม่ใช่ต้นฉบับโดยตรง ให้ระบุ
ชื่อผู้แต่งเอกสารทั้งสองรายการ โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีท่ีพิมพ์ และหน้าท่ีอ้างอิงของเอกสาร
ปฐมภูมิหรือเอกสารลาดบั แรกกอ่ น แลว้ จงึ ตามดว้ ย “อา้ งถึงใน” หรือ “cited in” แล้วแต่กรณี
จากน้ันจงึ ระบุช่ือผู้แตง่ ของเอกสารทุตยิ ภมู ิ หรอื เอกสารลาดบั ที่ 2 ปีทพ่ี ิมพ์และหน้าท่อี ้างอิง

ตวั อย่าง

(โกวทิ ย์ พวงงาม, 2528: 88 อ้างถึงใน กาจัด สทิ ธิชยั , 2538: 41)

(Taylor, 1947: 13 cited in Learner and Wonal, 1992: 50)

3.3 การอ้างอิงในเชงิ อรรถเสรมิ ความ

ในกรณีท่ีผู้เขียนประสงค์จะอธิบายหรือขยายความ หรือให้ความหมายของ
ศัพท์เฉพาะท่ีคิดว่าผู้อ่านไม่ทราบ หรืออธิบายความหมายในเน้ือความเพ่ือให้เข้าใจชัดเจนข้ึน
เรียกว่า “การอ้างอิงในเชิงอรรถเสริมความ” (Content footnotes) โดยให้แยกส่วนท่ีเสริม
ความนั้นออกมาต่างหาก พิมพ์ไว้ที่ส่วนล่างของแต่ละหน้าท่ีอ้างอิงในทานองเดียวกันกับการ
พิมพ์เชงิ อรรถ ถ้าคาอธบิ ายหรือขยายความท่ปี รากฏในเชิงอรรถเสริมความนั้นไม่ใช่เน้ือความที่
ผู้เขียนเขียนข้ึนเอง แต่มีแหล่งท่ีมาท่ีสามารถอ้างอิงได้เช่นเดียวกับการอ้างอิงปกติ ให้ลงการ
อ้างอิงไว้ด้วยตามหลักเกณฑ์ขา้ งต้นแล้วแต่กรณี โดยพิมพ์ไวใ้ นวงเล็บตอ่ ท้ายข้อความเชงิ อรรถ
เสรมิ ความ

สญั ลักษณ์ท่ีกากบั เชงิ อรรถเสริมความใหใ้ ชเ้ ครอ่ื งหมาย * โดยในแตล่ ะหน้าให้ใช้ได้
ไม่เกิน *** หากในหน้าเดียวกันจาเป็นต้องมีเชิงอรรถเสริมความเป็นลาดับที่ 4 และลาดับที่ 5
ใหใ้ ชเ้ ครอ่ื งหมาย † และ †† กากับตามลาดับ

เพ่ือความสะดวกแก่การอา่ นและทาความเข้าใจไดง้ ่าย ส่วนเสรมิ ความนี้ให้เขียนไว้
จนจบสว่ นเสริมความในหน้าเดยี วกนั กับคาหรือขอ้ ความทตี่ ้องการขยายความเพม่ิ เตมิ

76
ตวั อยา่ ง
3. การแสดงลีลา* และทว่ งทานองเขยี น

* ลีลาเป็นคามาจากภาษาบาลี แปลว่า การเย้ืองกราย ลีลาแห่งกระบวนความร้อยแก้วนั้น ได้แก่
การเลือกเฟ้นถ้อยคามาใช้แสดงความหมาย การนาคาท่ีเลือกเฟ้นนั้นมารวมเข้าเป็นประโยค และการจัดประโยค
ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ต่อเนื่องกันเป็นข้อความ ส่วนการเลือกเฟ้นถ้อยคาการจัดประโยคซ่ึงเป็นลักษณะเฉพาะ
ของแตล่ ะบุคคลน้นั เรยี กว่า “ทว่ งทานองเขยี น”

ตัวอยา่ ง
…ในบางประเทศอาจมีข้อกาหนดให้เจ้าของลิขสิทธ์ิต้องจดทะเบียนในวรรณกรรม
นั้นดว้ ย**

**สาหรบั ประเทศไทยกฎหมายมไิ ด้กาหนดให้เจา้ ของลขิ สิทธ์ิตอ้ งทาการจดทะเบียนลขิ สิทธิ์

ตวั อยา่ ง
…สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยได้จัดการประกวดหนังสือชนิดต่าง ๆ รวมทั้ง
หนังสือสาหรับเด็กด้วย และมีการประกาศรายชื่อหนังสือท่ีได้รับรางวัลในงานสัปดาห์หนังสือ
แหง่ ชาติซ่งึ ได้จดั ขึน้ ทุก ๆ ป*ี **

(***ดเู พิ่มเติมทภี่ าคผนวก ค, หน้า 132.)

77

บทท่ี 4
บรรณานกุ รม

บรรณานกุ รม คอื การระบุรายชือ่ หนงั สือพิมพ์ สิ่งพมิ พห์ รอื เอกสารต่าง ๆ ตลอดจน
แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยใช้เป็นข้อมูลประกอบการเขียนรายงานการวิจัย โดยกาหนดให้
ใช้หลกั เกณฑ์และแบบแผนการลงรายการบรรณานกุ รม ดังนี้
4.1 การลงรายการบรรณานุกรม

4.1.1 หนังสอื

ชื่อผู้แต่ง.//ช่ือหนังสอื .//เล่มท่ีหรอื จานวนเล่ม(ถ้ามี),/ชือ่ ชุดหนงั สือและลาดบั ท(ี่ ถา้ ม)ี .//ครง้ั
ท่พี มิ พ.์ //สถานท่พี ิมพ์:/สานักพมิ พ,์ /ปที ี่พิมพ์.

(เครือ่ งหมาย / แตล่ ะขดี หมายถึงให้เว้นระยะพิมพ์ 1 ตวั อักษร)
4.1.1.1 ผู้แตง่ หรือบรรณาธิการ
1) ถ้าผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ให้ลงช่ือสกุล ตามด้วยอักษรตัวย่อของ

ช่ือต้นและชอื่ กลาง (ถ้ามี)
2) ใช้เคร่อื งหมาย , แบ่งชื่อสกลุ และอักษรย่อของชือ่ ต้นกบั ชอ่ื กลาง

ตัวอยา่ ง
Reynolds, F. E.
Fontana, D., Jr.

3) ถ้าผู้แต่งเป็นชาวไทย ให้ลงช่ือก่อนแล้วตามด้วยช่ือสกุล ในกรณีที่
เขยี นเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ อาจใชแ้ นวทางเดียวกันกบั ผ้แู ตง่ ชาวต่างประเทศได้

4) ผู้แต่งชาวไทย มีราชทินนาม ฐานันดรศักด์ิ บรรดาศักดิ์ สมณศักด์ิ
ให้ลงชื่อตามด้วยเครื่องหมาย , และราชทินนาม ฐานนั ดรศกั ด์ิ บรรดาศกั ด์ิ หรอื สมณศักดิ์

78

ตัวอย่าง

ธรรมศักด์มิ นตรี, เจา้ พระยา
วจิ ติ รวาทการ, หลวง

5) ถ้าผู้แตง่ 2 คน หรอื มากกว่า 2 คน แตไ่ มเ่ กนิ 6 คน ใหล้ งชือ่ ผูแ้ ต่งทุกคน
และให้ใช้คาว่า “และ” หรือ “, and” ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย แต่ถ้ามีผู้แต่ง 6 คน หรือ
มากกว่านั้นข้ึนไปให้ใช้คาว่า “และคณะ” สาหรับเอกสารภาษาไทย และให้ใช้คาว่า “, et al.”
สาหรบั เอกสารภาษาตา่ งประเทศ

ตวั อยา่ ง

ชาญวิทย์ เกษตรศริ ิ และ สุชาติ สวสั ดศิ รี
Fukutake, T., and Morioka, K.
สุทศั นยี ์ บุญดง, วมิ ล พาณิชยการ, อรณุ ี จันทรสนทิ , จริยา เล็กประยรู และ วณี า เมฆวชิ ัย.
Hanson, H., Borlaug, N. E., and Anderson, R. G.
วิญญู อังคณารกั ษ์ และคณะ
Stevenson, H. W., et al.

6) ถ้าผู้แต่งเป็นสถาบัน ควรคานึงถึงแนวทางดังต่อไปนี้ด้วย คือ ต้องพยายาม
ให้ผู้อ่านไม่สับสนระหว่างสถาบันที่อ้างถึงนั้นกับสถาบันอ่ืน ๆ ทั้งนี้ ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐบาล
อย่างน้อยตอ้ งอา้ งถึงระดับกรมหรือเทยี บเท่า และเขยี นอ้างระดับสูงมาก่อน

ตัวอยา่ ง

กระทรวงมหาดไทย. กรมการปกครอง.
กระทรวงศกึ ษาธิการ. กรมสามญั ศึกษา.
กระทรวงสาธารณสขุ . กรมควบคุมโรคติดต่อ.
การปกครอง.
กรมประชาสมั พันธ์.

7) ถ้าไมม่ ีผูแ้ ตง่ ใหเ้ ขียนช่ือเรอ่ื งในตาแหน่งของผู้แตง่

8) ถ้าเป็นหนังสอื ท่ีมบี รรณาธิการ และผูอ้ า้ งองิ ตอ้ งการอา้ งถงึ หนงั สือท้ังเลม่
ให้เขียนช่ือบรรณาธิการแทนผู้แต่ง และใส่คาว่า “บรรณาธิการ” สาหรับเอกสารภาษาไทย
และใส่คาว่า “, ed.” หรือ “, eds.” แล้วแต่กรณี สาหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ เช่น
Forbes, S. M., ed.

79

9) ปิดท้ายช่ือผู้แต่งหรือบรรณาธิการด้วยเครื่องหมาย . เช่น ตีรณ
พงศ์มฆพัฒน์ และ จารมุ า อัชกลุ , บรรณาธิการ.

4.1.1.2 ชื่อหนังสือ

1) ชื่อหนังสือท่ีเป็นภาษาต่างประเทศให้พิมพ์ตัวใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรก
ของช่อื เร่ือง ช่อื เร่ืองรอง (ถา้ มี) ซง่ึ มกั พมิ พ์ตามหลงั เครอ่ื งหมาย : และช่อื เฉพาะ

2) ช่ือหนังสือให้พิมพ์ตัวหนา ในกรณีท่ีเป็นหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์
อาจพิมพ์โดยไม่ต้องใช้ตัวหนาได้ ท้ังนี้ ต้องพิมพ์ชื่อพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอ่ืน ๆ ท่ีเป็นภาษาลาติน
ด้วยตัวหนา

3) ลงข้อมูลที่จาเป็นสาหรับการสืบค้น เช่น คร้ังท่ีพิมพ์ ตามหลังชื่อเรื่อง
โดยคั่นด้วยเคร่ืองหมาย .

4) จบข้อความสว่ นน้ดี ้วยเคร่อื งหมาย.

4.1.1.3 ในกรณีท่ีชื่อหนังสือท่ีอ้างอิงมีหลายเล่ม หรือเป็นชุด หรือมีลาดับที่
หรือพิมพ์หลายคร้ังให้ลงข้อมูลท่ีจาเป็นสาหรับการสืบค้น โดยระบุไว้หลังช่ือเร่ืองตามลาดับ
โดยแต่ละรายการค่ันด้วยเครอื่ งหมาย .

4.1.1.4 สถานทีพ่ มิ พ์และสานกั พมิ พ์

1) ให้ระบุช่ือจังหวัดหรือชื่อเมือง ถ้าชื่อเมืองไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
หรอื อาจทาให้สับสนกับเมอื งอืน่ ให้ระบชุ อ่ื จังหวัดหรอื เมอื งหรอื ประเทศที่สานักพิมพน์ น้ั ต้ังอยู่

2) ถ้าในเอกสารน้ัน มีช่ือสานักพิมพ์ต้ังอยู่ในเมืองมากกว่า 1 เมือง
ให้เลือกเมอื งแรก

3) พิมพ์เฉพาะชื่อสานักพิมพ์ ส่วนคาระบุสถานะของสานักพิมพ์ เช่น
ห.จ.ก., บริษัท, Publishers, Co., Ltd. หรือ Inc. ให้ตัดออก สานักพิมพ์ท่ีเป็นของสมาคม
มหาวิทยาลัย ให้ระบุช่ือเต็ม เช่น สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, University of Tokyo
Press เป็นตน้

4) ถ้าไม่ปรากฏสานักพิมพ์หรือสถานท่ีพิมพ์ ให้ระบุ “(ม.ป.ท.)” หรือ
“(n.p.)” แลว้ แตก่ รณี

5) จบขอ้ ความสว่ นนี้ด้วยเคร่อื งหมาย ,

80

4.1.1.5 ปีทพ่ี มิ พ์

1) ระบุปีที่พิมพ์งานน้ัน (สาหรับงานที่ไม่ตีพิมพ์เผยแพร่ ปีที่พิมพ์ หมายถึง
ปีทผ่ี ลติ งานนน้ั ) โดยไมต่ ้องระบคุ าวา่ “พ.ศ.” หรอื “ค.ศ.”

2) งานที่อย่รู ะหว่างการจดั พิมพเ์ ผยแพร่ ให้ใชค้ าว่า “(กาลังจัดพมิ พ์)” หรือ
“(in press)” แล้วแต่ภาษาของงานนัน้ ๆ

3) ถ้าไม่ปรากฏปีทีพ่ ิมพ์ให้ระบุ “(ม.ป.ป.)” หรือ “(n.d.)” แลว้ แตก่ รณี

4) จบดว้ ยเครือ่ งหมาย .

ตวั อยา่ ง

ภาษาไทย
กรมประชาสัมพันธ์. รวมบทความเก่ียวกับสถานการณ์ในประเทศลาว. พระนคร:

กรมประชาสมั พันธ์, 2504.
กรมวชิ าการ. จุดประสงค์ในการสอน. พระนคร: กรมวิชาการ กระทรวงศกึ ษาธิการ, 2518.
ขจร สุขพานิช. ฐานันดรไพร.่ กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวโิ รฒ ประสานมติ ร, 2519.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รวมบทความวิชาการด้านเศรษฐกิจ

และสังคม. กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสงั คมแหง่ ชาติ, 2519.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์. แผนกวิชาการปกครอง. รายงานการสัมมนา
เร่ืองปัญหาของรัฐวิสาหกิจไทย. กรุงเทพมหานคร: แผนกวิชาการปกครอง
คณะรฐั ศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, 2518.
ชาญวทิ ย์ เกษตรศริ ิ และ สุชาติ สวัสดิศรี, บรรณาธิการ. ประวัติศาสตร์ และนกั ประวัตศิ าสตร์ไทย.
กรงุ เทพมหานคร: สานกั พมิ พป์ ระพันธ์สาสน์ , 2519.
เชิดชาย เหล่าหล้า. สังคมวิทยาชนบท. พิมพ์คร้ังที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์
แพรพ่ ิทยา, 2519.
เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. 2 เล่ม. พิมพ์คร้ังท่ี 2. พระนคร: สานักพิมพ์
สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2515.
แน้ช, จอร์ช; วอลดอร์ฟ, แดน; และ ไรซ์, โรเบิร์ต อี. มหาวิทยาลัยกับชุมชนเมือง. แปลโดย
อปั สร ทรัยอนั และคณะ. กรงุ เทพมหานคร: สานกั พิมพ์แพรพ่ ิทยา, 2518.

81

ประพัฒน์ ตรีณรงค์. พระประวัติและงานสมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ. พิมพ์คร้ังที่ 2.
กรุงเทพ- ธนบุรี: สานักพิมพ์แพร่พทิ ยา, 2516.

พระราชวรมุนี. ปรัชญาการศึกษาของไทย. พระนคร: สานักพิมพ์เคล็ดไทย, 2518.
ไพฑูรย์ มีกุศล. การปฏิรูปการปกครองมณฑลอีสาน พ.ศ. 2436-2453. เอกสารการนิเทศ

การศกึ ษา. ฉบบั ที่ 149. กรุงเทพมหานคร: หนว่ ยศึกษานิเทศก์ กรมการฝกึ หดั ครู,
2517.
วิจิตรวาทการ, หลวง. ศาสนาสากล เปรียบเทียบศาสนา ลัทธิ และปรัชญาต่างๆ ทั่วโลก.
5 เล่ม. พมิ พ์คร้งั ท่ี 2. พระนคร: โรงพิมพ์ ส.ธรรมภักดี, 2498-2501.
วิญญู อังคณารักษ์ และคณะ. กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายพัฒนาการเมือง
และการปกครอง สานกั นโยบายและแผนมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย, 2516.
สมบูรณ์ ไพรินทร์. บันทึกเหตุการณ์ทางการเมืองต้ังแต่ 24 มิถุนายน 2475-25 ธันวาคม
2515. 2 เลม่ . (ม.ป.ท., ม.ป.ป.).
สุธรรม พงศ์สาราญ, วิรัช ณ สงขลา และ พึงใจ พึ่งพานิช. หลักการประกันวินาศภัย.
กรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพ์ไทยวฒั นาพานิช, 2519.

ภาษาองั กฤษ
College bound seniors. Princeton, NJ: College Board Publications, 1979.
Elliott, H.. Public personnel administration: A value perspective. Reston, VA:

Reston, 1985.
Fontana, D. Jr.. Classroom control: Understanding and building classroom

behavior. London: The British Psychological Society, 1985.
Burris-Meyer, H., and Cole, E. C.. Theatres and auditoriums. 2nded. with new

supplement. New York: Robert E. Krieger, 1975.
Fletcher, R.. The making of sociology: A study of sociology theory. Vol. 1:

Beginnings and foundations. New York: Charles Scribner’s Sons, 1971.
Foucault, M.. The archaeology of knowledge. Trans. by A. M. Sheridan Smith.

London: Tavistock Publications, 1972.
Fukutake, T., and Morioka, K., eds.. Sociology and social development in Asia:

Proceedings of the symposium. Tokyo: University of Tokyo Press,
1974.

82

Katz, W. A.. Introduction to reference work. 2 vols. 2nded. New York: McGraw-
Hill, 1974.

Lauer, J. M., et al.. Four worlds of writing. 2nded. New York: Harper & Row, 1985.
Letheridge, S., and Camnon, C. R., eds.. Bilingual education: Teaching English

as a second language. New York: Prager, 1980.
Office of the National Education Commission. A research report on higher

education system: A case study of Thailand. Bangkok: Office of the
National Education Commission, 1977.
4.1.2 หนังสอื แปล

ช่ือผู้แต่ง.//ช่ือหนังสือ.//แปลโดย (Tran. by) หรือ (Trans./by)/ช่ือผู้แปล.//คร้ังที่พิมพ์.//
สถานท่ีพมิ พ์:/สานักพมิ พ,์ /ปีที่พมิ พ.์

(เครือ่ งหมาย / แต่ละขดี หมายถงึ ให้เว้นระยะพมิ พ์ 1 ตวั อกั ษร)
ให้ใช้หลักเกณฑ์เหมือนหนังสือธรรมดา โดยให้ระบุช่ือผู้แต่งก่อน ส่วนช่ือผู้แปล
จะตามหลงั ช่อื เรอ่ื งท่ีแปล
ตัวอย่าง
แนช้ , จอรช์ ; วอลดอร์ฟ, แดน; และ ไพรซ์, โรเบิร์ต อี. มหาวิทยาลัยกบั ชมุ ชนเมือง. แปลโดย
อัปสร ทรยั อัน และคณะ. กรุงเทพมหานคร: สานักพมิ พ์แพร่พทิ ยา, 2518.
Foucault, M.. The archaeology of knowledge. Tran. by A. M. S. Smith. London:
Tavistock, 1972.
4.1.3 เอกสารทอ่ี ้างถึงในเอกสารอืน่
การอ้างเอกสารซง่ึ มผี ู้กล่าวไว้ในเอกสารอ่ืนโดยที่ผวู้ ิจัย มิได้เคยอ่านหนงั สือเลม่ น้ัน
มแี บบการลงรายการบรรณานกุ รม ดงั น้ี

ชื่อผู้แต่ง.//ช่ือหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สานักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์,/อ้างถึงใน(cited
in)/ชอื่ ผแู้ ต่ง.//ชือ่ หนงั สอื .//ครงั้ ทพ่ี ิมพ.์ //สถานทพี่ ิมพ์:/สานกั พมิ พ์,/ปที ่พี ิมพ์.

(เครอ่ื งหมาย / แต่ละขดี หมายถึงใหเ้ วน้ ระยะพมิ พ์ 1 ตวั อกั ษร)

83

ตวั อยา่ ง

อนุมานราชธน, พระยา. แหลมอินโดจนี สมัยโบราณ. พระนคร: สานักพิมพ์คลังวิทยา, 2479,
อ้างถึงใน สายจิตต์ เหมินทร์. การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานูและปะลิส
ของไทยให้แก่อังกฤษในรัชสมัยพร ะบาทส มเด็จพระจุล จอม เก ล้าเจ้า อยู่หัว .
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, แผนกวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , 2507.

French, L. S.. “Is it really friendly?” PITT (February 1985): 19, อ้างถึงใน ศรอี ร เจนประภาพงศ์.
ทัศนคติของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีต่อเทคโนโลยีสารนิเทศ .
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั , 2529. หน้า 44.

Wallis, Osborne A.. Introduction to Microcomputers. Berkley, Calif.: Adam
Osbarne & Assoc., 1977, p.198. cited in Morris M. Hyman. Automated
Library Circulation System. White Plains, NY: Industry Publications,
1981.

4.1.4 บทความในวารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ.//ช่อื บทความ.//ชอื่ วารสาร/ปีท่หี รอื เลม่ ท่,ี /ฉบับที่/(เดอื น/ป)ี :/เลขหน้า.

(เครือ่ งหมาย / แต่ละขดี หมายถงึ ให้เว้นระยะพมิ พ์ 1 ตวั อกั ษร)

การลงรายการชอ่ื ผเู้ ขียนบทความและช่อื บทความใช้หลกั เดยี วกบั ชือ่ ผแู้ ต่งหนงั สอื

4.1.4.1 ชอ่ื วารสาร

1) ใช้ตามที่ปรากฏในหนา้ ปกในของวารสาร

2) เขียนชื่อเต็มโดยใช้ตัวใหญ่ตัวแรกทุกตัว หรือในกรณีใช้ชื่อย่อต้องเป็น
ช่ือยอ่ ทน่ี ักวชิ าการในศาสตรส์ าขานัน้ ยอมรบั เช่น Journal ใช้ตัวย่อ J.

3) ช่ือวารสารให้พมิ พต์ ัวหนา

4) หลังช่ือวารสารไม่มีเครื่องหมายใดๆ ยกเว้นชื่อวารสารที่เป็นคาย่อ เช่น
J. Arizona Acad. Sci.

84

4.1.4.2 ปีที่ หรอื เล่มท่ี (volume)

1) วารสารทมี่ ีท้ัง ปีที่ หรือ เล่มที่ (volume) และฉบับท่ี (number) ให้ระบุ
เฉพาะตัวเลขของปีที่หรือเล่มที่ และฉบับท่ี เท่าน้ัน ไม่ต้องพิมพ์คาว่า “ปีที่” หรือ “เล่มท่ี”
และ “ฉบบั ที่”

2) วารสารท่ไี มม่ ีปีท่หี รือเลม่ ท่ี มีแตฉ่ บับที่ ให้ระบุเฉพาะตัวเลขฉบับท่ี

4.1.4.3 เดอื น ปี

1) ใหใ้ ช้ตามท่ปี รากฏในวารสาร

2) ชอื่ เดือนให้สะกดเตม็ ตามดว้ ยปี โดยใสใ่ นเครื่องหมาย ( )

3) หลงั เดือน ปี ใหใ้ ช้เครอ่ื งหมาย :

4.1.4.4 เลขหน้า

1) ระบุหน้าที่บทความนั้นตพี ิมพว์ ่า เร่ิมจากหน้าใดถึงหน้าใด โดยไม่มีคาว่า

“หนา้ ”

2) ถ้าบทความพิมพ์ต่อในหน้าอื่นของวารสารฉบับเดียวกัน ระบุเลขหน้า
ท่ปี รากฏทง้ั หมดโดยใชเ้ ครื่องหมาย, ค่นั

3) หลงั เลขหนา้ ใหใ้ สเ่ คร่อื งหมาย .

ตวั อยา่ ง

รธุ ีร์ พนมยงค.์ ศักยภาพของการคา้ ผา่ นแดนบนถนนสาย คณุ หมิง-กรงุ เทพฯ. ประชากรวจิ ัย
12, 72 (มีนาคม-เมษายน 2550): 16-20.

4.1.5 บทความในหนงั สือ

บทความในหนังสือ ในที่น้ีอาจหมายถึง ข้อเขียนบทหน่ึงในหนังสือเล่มเดียวกัน
ทม่ี ผี ้เู ขยี นหลายคนมีหลกั เกณฑ์ในการลงรายการบรรณานกุ รม ดังนี้

ช่ื อ ผู้ เ ขี ย น บ ท ค ว า ม . // ชื่ อ บ ท ค ว า ม . / /ใน /ชื่ อ บ ร ร ณ า ธิ ก า ร / [( บ ร ร ณ า ธิ ก า ร ) ห รื อ ( ed.)
หรือ(eds.)](ถ้ามี),/ชือ่ เรือ่ ง,/เลขหนา้ .//สถานทพ่ี มิ พ:์ /สานกั พมิ พ,์ /ปที พี่ มิ พ์.

(เครอื่ งหมาย / แตล่ ะขดี หมายถึงใหเ้ วน้ ระยะพิมพ์ 1 ตัวอักษร)

85

การลงรายการต่างๆ ส่วนใหญ่ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับหนังสือ ส่วนการระบุ
ชือ่ บรรณาธิการกับเลขหน้านน้ั ให้ทาดังนี้

4.1.5.1 การระบุชื่อบรรณาธิการให้เขียนช่ือต้น ช่ือกลาง (ถ้ามี) โดยใช้ชื่อย่อ
และตามด้วยชอื่ สกลุ ตามลาดับ

4.1.5.2 ถ้ามีบรรณาธิการตั้งแต่ 2 คน ให้ใช้เคร่ืองหมาย , คั่นแต่ละชื่อ และ
ใชค้ าว่า “และ” หรอื “, and” กอ่ นช่ือสุดท้าย

4.1.5.3 ระบุคาว่า “(บรรณาธิการ)” หรือ “(ed.)” หรือ “(eds.)” ไว้หลังชื่อ
เพอื่ ใหร้ วู้ า่ บคุ คลนัน้ เป็นบรรณาธิการ

4.1.5.4 ตามด้วยเครอ่ื งหมาย ,

4.1.5.5 ส่วนเลขหน้า หมายถึง เลขหน้าที่ปรากฏในเล่มให้ระบุคาว่า “หน้า”
หรือ “p.” (หน้าเดียว), “pp.” (หลายหน้า) และตามด้วยเลขหน้า เช่น หน้า 467-468.
หรอื pp. 467-468. หลังเลขหนา้ ใช้เคร่อื งหมาย .

ตัวอย่าง

ชัยพร วิชชาวุธ. การสอนในระดับอุดมศึกษา. ใน การสอนและการวัดผลการศึกษา, หน้า 1-30.
พระนคร: ฝ่ายวชิ าการ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย, 2518.

สุมิตร คุณานุกร. การวางแผนการสอน. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ), คู่มืออาจารย์
ด้านการเรียนการสอน, หน้า 58-69. กรุงเทพมหานคร: หน่วยพัฒนาคณาจารย์
ฝ่ายวชิ าการ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520.

Brown, R., and Dyer, A. F.. Cell division in higher plants. In F. C. Steward (ed.),
Plant physiolog: An advanced treatise, pp. 49-90. New York:
Academic Press, 1972.

Neales, T. F., Treharne, K. J., and Wareing, P. F.. A relationship between net
photosynthsis, diffusive resistance, and carboxylating enzyme activity
in bean leaves. In M. D. Hatar; C. B. Osmond; and R. O. Slayter (eds.),
Photosynthesis and photorespriation, pp. 89-96. New York: Wiley
Interscience, 1971.

86

4.1.6 บทความในหนงั สือพมิ พ์

ชื่อผเู้ ขียนบทความ(ถา้ มี).//ชอ่ื บทความ.//ชอ่ื หนังสือพิมพ์/(วนั /เดือน/ป)ี :/เลขหน้า.

(เครื่องหมาย / แตล่ ะขดี หมายถึงให้เว้นระยะพมิ พ์ 1 ตวั อักษร)
ตัวอย่าง
คกึ ฤทธ์ิ ปราโมช, ม.ร.ว.. ขา้ วไกลนา. สยามรัฐ (12 มกราคม 2519): 3.
Behind that noble prize. Nation Review (12 December 1976): 6.
Savareia, E.. What’s right with sight and sound journalism. Saturday Review
(2 October 1976): 18-21.
4.1.7 บทความในสารานุกรม

ชื่อผู้เขยี นบทความ.//ชื่อบทความ.//ช่ือสารานุกรม/เลม่ ที่/(ปีที่พมิ พ์):/เลขหนา้ .

(เครอ่ื งหมาย / แต่ละขีดหมายถึงให้เวน้ ระยะพมิ พ์ 1 ตวั อักษร)
ตัวอย่าง
เจริญ อินทรเกษตร. ฐานันดร. สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน 11 (2515-2516):
6912-6930.
Kaplan, L.. Library cooperation in the United States. Encyclopaedia of Library
and Information Science 15 (1975): 241-244.
Lane, R. K., and Living stone, D. A.. Lakes and lake system. Encyclopaedia
Britannica (Macropaedia) 10 (1974): 600-616.
4.1.8 ข่าวจากหนังสือพิมพ์

พาดหัวข่าวหรอื หวั ขอ้ ขา่ ว.//ช่ือหนังสือพมิ พ/์ (วัน/เดอื น/ปีท่ีพิมพ์):/เลขหน้า.

(เครือ่ งหมาย / แต่ละขดี หมายถงึ ใหเ้ ว้นระยะพมิ พ์ 1 ตัวอักษร)
ตวั อยา่ ง
ครม.นดั สัง่ ลาอนมุ ัติแกง่ เสือเต้น. เดลนิ วิ ส์ (21 พฤศจกิ ายน 2539): 3.

87

4.1.9 บทวจิ ารณห์ นังสอื ในวารสาร

ช่ือผู้เขียนบทวิจารณ์.//วิจารณ์เรื่อง(Review of)/ช่ือหนังสือท่ีวิจารณ์/โดย/ชื่อผู้แต่ง
หนังสือ.//ช่ือวารสาร/ปีทพ่ี มิ พ/์ (เดอื น/ป)ี :/เลขหนา้ .

(เครื่องหมาย / แต่ละขดี หมายถงึ ใหเ้ วน้ ระยะพิมพ์ 1 ตัวอักษร)
ตวั อย่าง
เกศินี หงสนันท์. วิจารณ์เร่ือง การวัดในการจัดงานบุคคล โดย สวัสด์ิ สุคนธรังสี. วารสาร
พัฒนบรหิ ารศาสตร์ 14 (กรกฎาคม 2517): 379-381.
Millar, T. B.. Review of Three and a half powers: The new balance in Asia by
H. C. Hinton. Pacific Affairs 49 (Spring 1976): 114-115.
4.1.10 ราชกจิ จานุเบกษา

ชื่อกฎหมาย.//ราชกจิ จานเุ บกษา/เล่มท/่ี (วนั /เดอื น/ปี):/เลขหน้า.

(เครือ่ งหมาย / แต่ละขดี หมายถงึ ให้เว้นระยะพมิ พ์ 1 ตวั อักษร)
ตัวอย่าง
พระราชบญั ญตั ิวิทยาลยั ครู (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2527. ราชกจิ จานุเบกษา 101 (12 ตลุ าคม 2527): 1-13.
4.1.11 วิทยานพิ นธ์

ช่ือผู้เขียนวิทยานิพนธ์.//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับปริญญา,/ชื่อสาขาหรือภาควิชา/คณะ/
มหาวทิ ยาลยั ,/ปที ีพ่ ิมพ.์

(เครื่องหมาย / แต่ละขีดหมายถึงใหเ้ ว้นระยะพมิ พ์ 1 ตัวอักษร)
4.1.11.1 ช่อื ผเู้ ขียนวทิ ยานิพนธ์ ใชห้ ลกั เดียวกับชอื่ ผูแ้ ตง่
4.1.11.2 ชอื่ วิทยานพิ นธ์
1) ใช้หลักเดยี วกับช่ือบทความในวารสาร
2) ช่ือวิทยานพิ นธ์ ใหพ้ ิมพต์ ัวหนา
3) ตามหลังช่อื วทิ ยานพิ นธด์ ้วยเครอ่ื งหมาย .

88

4.1.11.3 ระดบั ปรญิ ญา
1) ใช้คาว่า “วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต” หรือ “Master’s Thesis”

สาหรับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และใช้คาว่า “วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต” หรือ
“Doctoral dissertation” สาหรบั วิทยานพิ นธ์ระดับปริญญาเอก

2) ตามด้วยสาขาวิชาหรอื ภาควิชา คณะ และชือ่ มหาวทิ ยาลยั
3) หลังข้อความนี้ ให้ใส่เครื่องหมาย ,
4.1.11.4 ปีพมิ พ์
1) ใชต้ ามท่ปี รากฏในหน้าปกของวทิ ยานพิ นธ์
2) หลงั ปพี ิมพ์ ใส่เคร่ืองหมาย .
ตัวอยา่ ง
ชุติมา สัจจานันท์. การสารวจสถานภาพการทางานของบัณฑิต (ปีการศึกษา 2502-2516)
และมหาบัณฑิต (ปีการศึกษา 2507-2516) สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชา
บรรณารกั ษศาสตร์ บัณฑิตวทิ ยาลยั จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , 2518.
Buppha Devahuti. Use of computer in serials control in Thai libraries. Master’s
Thesis, Department of Library Science Graduate School Chulalongkorn
University, 1975.
4.1.12 ภาคนพิ นธ์และสารนิพนธ์

ช่ือผู้เขียนภาคนิพนธ์หรือสารนิพนธ์.//ชื่อภาคนิพนธ์หรือสารนิพนธ์.//ภาคนิพนธ์หรือ
สารนิพนธ์/คณะ/มหาวิทยาลัย,/ปีทพ่ี มิ พ์.

(เครือ่ งหมาย / แต่ละขีดหมายถึงให้เวน้ ระยะพมิ พ์ 1 ตวั อักษร)
ตวั อยา่ ง
วิกานดา วรรณวิเศษ. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการจ้างลูกจ้างประจากับ
การจา้ งเหมาบรกิ ารภาคเอกชน. ภาคนิพนธ์ คณะรฐั ศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย,
2544.

89

4.1.13 รายงานการวิจยั และเอกสารทเี่ สนอต่อหนว่ ยงานตา่ ง ๆ

ช่ือผู้เขียนรายงานการวิจัย.//ช่ือรายงานการวิจัย.//รายงานการวิจัยเสนอต่อหรือเอกสาร
วจิ ยั สว่ นบุคคล/ชื่อหนว่ ยงาน,/ปีที่พมิ พ์.

(เครอื่ งหมาย / แตล่ ะขีดหมายถึงใหเ้ วน้ ระยะพิมพ์ 1 ตวั อกั ษร)

ตวั อย่าง

สงั ศิต พริ ิยะรงั สรรค์ และคณะ. การตอ่ ต้านการคอร์รัปชนั : มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหว
ของเงนิ . รายงานการวจิ ัยเสนอตอ่ สานกั งานเลขาธิการวุฒสิ ภา, 2558.

4.1.14 จุลสาร เอกสารอดั สาเนา และเอกสารที่ไมไ่ ด้ตพี มิ พ์อนื่ ๆ

การลงรายการบรรณานุกรมใชแ้ บบเดยี วกบั หนงั สือ และให้ระบคุ าวา่ “(อัดสาเนา)”
หรือ “(Mimeographed)”, “(พิมพ์ดีด)” หรือ “(Typewritten)”, “(เอกสารไม่ตีพิมพ)”์ หรือ
“(Unpublished Manuscript)” ไว้ท้ายสุดของรายการบรรณานุกรม แล้วแต่กรณี และแล้วแต่
ภาษาของสิ่งทีอ่ ้างอิงว่าเป็นภาษาไทยหรอื ภาษาต่างประเทศ

ตัวอย่าง

กรมแรงงาน. แนะแนวอาชีพบรรณารักษ.์ กรุงเทพมหานคร: กรมแรงงาน, 2517.
(อัดสาเนา)

กรมศิลปากร. ระเบียบการเข้าค้นคว้าเอกสารของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร.
กรงุ เทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2517. (อัดสาเนา)

วรรณี เมืองเจริญ. การให้ข้อติชมทางการศึกษา สาหรับผู้สอนในระดับอุดมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร: หน่วยพัฒนาคณาจารย์ ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2520. (อัดสาเนา)

Economic and Social Commission for Asia and the Pacific. ESCAP trade
promotion centre: What it is, what it does, 1976-1977. Bangkok:
ESCAP, 1976. (Mimeographed)
4.1.15 หนงั สอื พิมพใ์ นโอกาสพเิ ศษ
หนังสือพิมพ์ในโอกาสพิเศษ เช่น หนังสืองานศพ งานวันสถาปนา กฐิน หรืออ่ืนๆ

ซ่งึ ถือเป็นเอกสารอ้างองิ ทสี่ าคญั ใหล้ งรายการบรรณานุกรมเหมือนหนงั สือธรรมดา โดยเพ่ิมเติม
รายละเอียดของหนังสือดงั กลา่ วไวใ้ นเครื่องหมาย ( ) ทา้ ยรายการ


Click to View FlipBook Version