The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือประชากรโลกในศตวรรษที่ 21

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by SEAMEO SEPS, 2022-02-28 21:59:42

คู่มือประชากรโลกในศตวรรษที่ 21

คู่มือประชากรโลกในศตวรรษที่ 21

ทม่ี าภาพ: Pinterest

ชัค โนแลน ผู้บริหารบริษัทจัดส่งพัสดุยักษ์ใหญ่ ที่ต้องเดิน
ทางไปแก้ปัญหาการจัดการให้กับคลังสินค้าของบริษัท ในระหว่าง
เดินทางไปกับครื่องบินขนส่งสินค้านั้น ได้เจอมรสุมจนเครื่องบิน
ตกลงในมหาสมุทร แต่เขารอดชีวิตติดอยู่บนเกาะเพียงลำ�พังเป็นเวลา
หลายปี โดยมีเพื่อนเป็นลูกวอลเลย์บอลที่เขาตั้งชื่อให้ว่า “วิลสัน”
ด้วยชีวิตที่เคยอยู่ด้วยความสบาย พึ่งพาคนอื่น พึ่งพาเทคโนโลยี จน
ลืมธรรมชาติ และเมื่อมาอยู่อย่างโดดเดียวลำ�พังบนเกาะร้าง เขาต้อง
ปรับตัว เรียนรู้ใหม่ทั้งหมด โดยพึ่งพาใครไม่ได้เลย เขาตระหนักถึง
การพึ่งพาตนเอง ความอดทน ความมานะบากบั่น ความเพียร จน
ค่อย ๆ เรียนรู้ธรรมชาติ และค่อย ๆ เอาชนะไปทีละเรื่อง เขาได้
พยายามต่อแพ เอาชนะคลื่นจนออกสู่ทะเลได้ และในที่สุดมีคนมาพบ
และช่วยเขากลับบ้านได้ ... เขาได้เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์มากมายที่
เขาต้องพึ่งพาตัวเอง ... ถ้าไม่เจอวิกฤติ ก็คงไม่มีโอกาสได้เรียนรู้

101

นโปเลียน จักรพรรดิ์ฝรั่งเศส กล่าวว่า
“ถ้าเราต้องการทำ�อะไรให้ได้ดี
ก็ให้ทำ�ด้วยตัวเอง”

คานธี ผู้นำ�จิตวิญญานของชาวอินเดีย กล่าวว่า
“พวกเราทุกคนต้องการที่จะมีความเข้มแข็งและ
สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ... แต่จะมีสักกี่คนที่ตั้งใจ
และลงมือทำ�อย่างจริงจังเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่เขา

ต้องการ”
บรู๊ช ลี เจ้าพ่อกังฟู กล่าวว่า “ผู้ที่พึ่งพา
ตนเองได้จะโดดเด่นเป็นผู้นำ�ในสังคม ... แต่
ผู้คนส่วนใหญ่มักจะหลบอยู่ข้างหลัง ตาม

ผู้นำ�กระแสให้สังคมพาไป”

วิลเลียม แมททิวส์ นักดนตรีชาวอเมริกัน
กล่าวว่า “อุปสรรค ความยากลำ�บาก ขวาก

หนาม และเส้นทางที่มิได้โรยด้วยกลีบ
กุหลาบ ถือว่าเป็นพรจากสวรรค์ ที่ช่วยให้
เราเข้มแข็งขึ้น และสามารถพึ่งพาตัวเองได้”

102

ลซิ า่ เมอโควสกี้ นกั การเมอื งชาวอเมริกัน
กลา่ วว่า “อิสรภาพ มาจากความแขง็ แกร่ง

และความสามารถในการพ่ึงพาตวั เอง”

เบนสนั เกษตรกรชาวอเมรกิ ัน กลา่ วว่า “เรา
คงจ�ำ ไม่ไดแ้ ลว้ วา่ การพงึ่ พาตัวเองทำ�ได้ในระดบั

ครวั เรือน ด้วยการปลกู ผกั เลย้ี งสตั ว์ สรา้ ง
แหลง่ อาหารงา่ ย ๆ ทบ่ี า้ น แทนที่จะเอาง่ายเข้า
ว่าด้วยการออกไปจับจ่ายท่รี ้านสะดวกซ้ือหน้า

ปากซอยทกุ วนั ”

แจค๊ มา มหาเศรษฐี และนกั ธรุ กจิ ชาวจีน บอกกวา่
“ถา้ ไม่มใี ครย่ืนมือมาชว่ ยคุณ ก็ไม่ใชส่ ง่ิ ท่ีแปลกอะไร

... แตถ่ า้ มใี ครอาสามาช่วยคณุ น่ันสแิ ปลก”

อรสิ โตเตลิ นักปรชั ญาชาวกรกี โบราณ
กลา่ วว่า “ความสุข ข้นึ อยู่กับควาสามาถใน

การพ่งึ พาตนเอง”

ไมว่ า่ ผู้คนชาตใิ ด ศาสนาใด อยสู่ ว่ นไหนของโลก ตา่ งก็เหน็ ตรงกันวา่
การพึ่งพาตนเองได้ จะทำ�ให้เรามีอสิ รภาพ และมีความสขุ อยา่ งแทจ้ ริง

103

“If you want a thing done well, do it yourself.” … Napoleon Bonaparte
“Everyone wants to be strong and self-sufficient, but few are willing to
put in the work necessary to achieve worthy goals.” … Mahatma Gandhi

“Only the self-sufficient stand-alone … most people follow the crowd
and imitate.” … Bruce Lee

“The difficulties, hardships and trials of life, the obstacles... are positive
blessings. They knit the muscles more firmly, and teach self-reliance.”

… William Matthews
“Freedom comes from strength and self-reliance” … Lisa Murkowski
“An almost forgotten means of economic self-reliance is the home pro-

duction of food. We are too accustomed to going to stores and
purchasing what we need.” … Ezra Taft Benson

“If no one helps you, don’t be surprise … If someone helps you,
that’s unusual.” … Jack Ma

“Happiness belongs to the self-sufficient.” … Aristotle

104

19

Yoda โยดา
ผฝู้ กึ พลงั ปญั ญา พลงั ทอ่ี ยภู่ ายใน

พลงั แหง่ ความดี พลงั พอเพยี ง

Sufficient … พอเพียง พอดี มีเท่าที่จำ�เป็น ก็เพียงพอ แล้ว
เราจะพบความพอเพียง ความพอเพียงนั้นย่อมแตกต่างกันไป
ในแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่สมองของเรามักจะสั่งให้คิดอยากได้
สิ่งต่าง ๆ ที่มากเกินความจำ�เป็น สมองถูกครอบงำ�ด้วยกิเลส
ตัณหา มีความปรารถนา ความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น
การสร้างความพอเพียงในชิปสมองอันใหม่ของเรานั้น ต้อง
เริ่มจากการละกิเลส เข้าใจความจำ�เป็น ความคุ้มค่าของสรรพ
สิ่ง และฝึกให้เกิดความสุข ความพอใจในสิ่งที่ตนเองมี โดยไม่
จำ�เป็นที่จะต้องไปเปรียบเทียบกับใคร ว่าไปแล้วก็เหมือนกับ
การสร้างความแข็งแกร่งให้กับด้านสว่าง เพื่อต่อสู้กับด้านมืด
ในตัวของเรานั่นเอง ไม่ต่างอะไรกับวิชาเจได

105

ที่มาภาพ: DevianArt

ปรมาจารย์โยดา ผู้เป็นครูประสิทธิ์ประสาทวิชาเจได วิชา
เจได คือพลังด้านบวก พลังแห่งความดี พลังแห่งความเรียบง่าย ไม่
ต่างจากวิชาพอเพียง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะคิด และทำ�ตรงกันข้าม
การฝึกพลังเจไดก็เหมือนการมาฝึกพลังพอเพียง เริ่มด้วยที่โยดา
บอกว่า “คุณต้องเอาความรู้เดิมที่คุณเรียนรู้มาออกให้หมดก่อน” สิ่ง
ที่เคยเรียนรู้มาผิด ๆ สิ่งที่ไม่ทันสมัย เมื่อเอาออกจากสมอง สมองก็
จะโล่งมีที่สำ�หรับเก็บความรู้ใหม่ ๆ ได้ และก่อนเรียนโยดายังยํ้าอีก
ว่า “มีแต่ ทำ� กับ ไม่ทำ� ไม่มีคำ�ว่าจะพยายามทำ�” และเมื่อเรียนรู้วิชา
เจไดแล้วย่อมมีพลังมาก จึงต้องระวังด้านมืดของเรากลับมาครอบงำ�
ดังคำ�สอนที่ว่า “ความแข็งแกร่งไหลเวียนไปตามพลัง จงระวังพลัง
ของด้านมืดให้ดี” คนเรามักจะมีด้านมืด และด้านสว่าง และพลังของ
ทั้งสองด้านมักต่อสู้กันอยู่ในจิตใจของเราเสมอ

106

โยดาจึงสอนว่า “ความกลัวเป็นเส้นทางสู่ด้านมืด ความกลัว
นำ�ไปสู่ความโกรธ ความโกรธนำ�ไปสู่ความเกลียดชัง และความเกลียด
ชังนำ�ไปสู่ความเจ็บปวด นำ�ไปสู่ด้านมืด ดังนั้นจงเปลี่ยนความกลัว
เป็นพลังบวกให้ได้” และเมื่อได้ฝึกวิชาเจไดสำ�เร็จจนมีพลังพึ่งพา
ตนเอง และช่วยเหลือคนอื่นได้แล้ว “จงสอนคนอื่น ๆ ต่อไป” ขยาย
พลังแห่งความดี ความพอเพียง และที่สำ�คัญ “ขอให้พลังจงอยู่กับ
คุณ” วิชาเจได ก็ไม่แตกต่างจากวิชาพอเพียงเลย มีน้อยคนที่จะสนใจ
เรียนรู้ ฝึกฝน มีน้อยคนที่จะมานะพากเพียรจนประสบความสำ�เร็จ
แต่ถ้าสำ�เร็จแล้ว เราจะไม่ต้องกลัวใคร ไม่ต้องพึ่งพาใคร มีอิสรภาพ
และมีความสุขที่แท้จริง ... ถ้ามีเวลาดูภาพยนต์ สตาร์วอร์ ในตอนที่
โยดาฝึกวิชาเจไดให้ ลุค สกายวอคเคอร์ แล้วดูด้วยใจ ดูให้ลึกซึ้ง จะ
เข้าใจวิชาพอเพียงเป็นอย่างดี

ขงจอ้ื สอนไว้เช่นเดียวกันวา่ “ชวี ิตนั้นที่
จริงแล้วแสนเรยี บงา่ ย ...แต่เรานัน่ เองที่

ท�ำ ให้มันยงุ่ ยากไปเอง”

ฮันส์ ฮอฟมนั จิตกรชาวเยอรมัน กลา่ วเสริมวา่
“ถา้ อยากเห็นความเรยี บงา่ ยใหป้ รากฎชดั ก็จงเอา
สงิ่ ท่ีไม่จำ�เปน็ ออกไปให้หมด ... แลว้ ความเรียบงา่ ย

นั้น ก็จะโดดเด่นข้นึ มาเอง”

ออสการ์ ไวด์ นกั ประพันธช์ าวไอแลนด์ กลา่ วว่า
“วิธที ค่ี ณุ จะมคี วามสขุ กบั ต�ำ แหน่งงานท่คี ุณทำ�

ก็คอื ลองจินตนาการวา่ วนั นี้คณุ เสยี มนั ไป”

107

วอเรน บัฟเฟท เจ้าพ่อตลาดห้นุ กล่าววา่ “คนทม่ี ีความสุขทส่ี ุด ไม่ใช่
คนทม่ี สี ่งิ ทด่ี ที ่ีสุด แตค่ อื คนท่ีพอใจกบั สง่ิ ที่ตนเองมี” คอื คนทเ่ี รียบง่าย
พอเพยี ง ดงั นนั้ “จงหยุดไขว่ควา้ ส่ิงทีห่ วั ใจของเราปรารถนา แล้วเรา

จะพบกับสิง่ ทจ่ี ติ วญิ ญาณของเราตอ้ งการ”

“You must unlearn what you have learned”
“Do or Do Not, there is no Try”

“Strength flows from the force, but beware of the dark side”
“Fear is the path to the dark side, fear leads to anger, anger leads to

hate, and hate leads to suffering”
“Always pass on what you have learned”

“May the force be with you”

“Life is really simple, but we insist on making it complicated.”
… Confucius

“The ability to simplify means to eliminate the unnecessary so that the
necessary may speak.” … Hans Hofmann

“The best way to enjoy your job is to imagine yourself without one.”
… Oscar Wilde

“The Happiest people do not necessarily have the best things … They
simply appreciate the things they have.” … Warren Buffett

“Stop chasing what your mind wants, and you will get what your soul
needs” … Warren Buffett
108

หลักปฏิบัติ FROM OUR HAND ... การทำ�งานด้วยมือคู่ใหม่
และทักษะใหม่ ๆ

20. เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
21. คิดภาพใหญ่ แต่เริ่มแก้ปัญหาจากจุดเล็ก ๆ
22. ทำ�ให้ง่าย ไม่ยึดติดตำ�รา
23. พลังของการสร้างความมีส่วนร่วม
24. พอประมาณ พออยู่ พอกิน
25. บริการรวมที่จุดเดียว
26. เต็มไปด้วยพลัง และความสุข
27. กำ�หนดเป้าหมาย และไปให้ถึง ชัยชนะแห่งการทำ�งาน

109

FROM OUR HAND

หลักปฏิบัติ ... การทำ�งานด้วยมือคู่ใหม่ และทักษะใหม่ ๆ
ปรับขบวนการทำ�งานสู่การเป็นมืออาชีพ

การทำ�งานด้วยมือคู่เดิมของเรา ที่ทำ�สิ่งต่าง ๆ มาอย่างชำ�นาญ
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 มันล้าสมัยไปแล้วหรือ ที่จริงมือคู่เดิมก็ยังใช้งานได้
ดีอยู่ แต่ในศตวรรษที่ 21 สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงแปรผันไปอย่างรวดเร็ว
และในปัจจุบันมีกลไกต่าง ๆ เข้ามาเป็นตัวช่วย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี
AI สิ่งประดิษฐ์ใหม่มากมาย ทำ�ให้มือคู่เดิมของเราผสมผสานกับตัวช่วย
ใหม่ สามารถทลายขีดจำ�กัดเดิมไปได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งสมัยก่อนมีหลายสิ่ง
หลายอย่างที่เราคิดว่าเพ้อฝัน เป็นไปได้ยาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
แต่ในวันนี้หลายสิ่งเปลี่ยนไปเรามีเครื่องมือที่ทันสมัยทำ�ให้เราสามารถ
ทำ�สิ่งต่าง ๆ ที่เคยคิดว่าทำ�ไม่ได้ในยุคก่อน และในอนาคตไม่ว่าใคร ๆ ก็
คงจะทำ�สิ่งยากได้อย่างง่ายดาย ... แต่การที่จะยอมปลดปล่อย ละทิ้ง
ทักษะเดิม เพื่อเรียนรู้ฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ มันง่ายจริงหรือ

110

20

Avartar อวตาร ทมี นกั วทิ ยาศาสตรท์ แ่ี ฝงตวั
ไปชว่ ยชนเผา่ นาวี เพอ่ื ปกปอ้ งความสมบรู ณ์

ของธรรมชาตบิ นดวงดาวแพนโดรา

Engagement … เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นหลักการการทำ�
งานที่ลํ้าเลิศ แต่ทำ�ไมคนส่วนใหญ่มักจะทำ�กลับด้าน ความ
ล้มเหลวที่เราเห็นซํ้าแล้วซํ้าอีก คือการเริ่มต้น โครงการ
ด้วยแผนพัฒนาที่เราคิดขึ้นเอง หรือตามที่เจ้านายสั่ง รีบด่วน
สรุปโดยยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนของการเข้าใจ และเข้าถึง ... เมื่อ
โครงการถูกอนุมัติแล้ว เราก็เริ่มลงพื้นที่ เริ่มขบวนการการ
เข้าถึง ส่วนใหญ่พอถึงขั้นตอนนี้เราจะเริ่มตระหนักว่าสิ่งที่
เราคิดว่าเราเข้าใจนั้น เราอาจจะไม่เข้าใจเลย หรือเข้าใจผิด
มาตลอด นี่คือกว่าจะรู้ก็ดำ�เนินการไปผิดทางแล้ว และบางที
ก็อาจจะใช้งบประมาณหมดไปแล้วด้วย ดังนั้น การที่จะทำ�
ขั้นตอนให้ถูกต้อง ยอมเสียเวลาในการหาข้อมูล ลงพื้นที่พูด
คุยกับผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ แล้วค่อยเอาสิ่งที่เข้าใจ เข้าถึง มา
พัฒนาโครงการ จะได้ผลดีกว่ากันมาก

111

ท่มี าภาพ: Pedestrian TV

ทีมอวตารที่มี เจค ซัลลี่ อดีตนายทหารเรือผู้พิการที่ต้องนั่ง
บนรถเข็น แม้ว่าร่างกายของเขาจะไม่สมประกอบ แต่เจคก็ยังมีหัวใจ
นักรบ เขาได้รับเลือกให้ร่วมเดินทางหลายปีแสงไปยังดาว ที่ซึ่งมีเหมือง
แร่ล้ำ�ค่าหายากที่เป็นหัวใจสำ�คัญ ในการแก้ปัญหาพลังงาน ขาดแคลน
ของโลก และเพราะชั้นบรรยากาศของดาวแพนโดราเป็นพิษต่อมนุษย์
พวกเขาจึงต้องพัฒนาโปรแกรมอวตาร เพื่อแปลงสภาวะจิตของคนให้
ไปอยู่ในร่างอวตาร และให้ควบคุมร่างกายได้ในภาวะอากาศที่เบาบาง
เจค มีภารกิจต้องแทรกซึมเข้าไปในชนเผ่านาวี ชุมชนพื้นเมืองที่เป็น
อุปสรรคสำ�คัญของชาวโลกในการเข้าถึงเหมืองแร่ล้ำ�ค่า แต่นาวีสาว
สวยชื่อ นาวิตี้ ได้ช่วยชีวิตเจคไว้และแผนการทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลง
เจค ได้เข้าร่วมชนเผ่าของเธอ เขาได้ผ่านการทดสอบและการผจญภัย
ต่าง ๆ จนได้เป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น ความสัมพันธ์ของเจคและนาวิตี้เริ่ม
ลึกซึ้งขึ้นพร้อม ๆ กับความเชื่อถือในกลุ่มนาวี ในที่สุดเขาต้องพบการ
ทดสอบและความขัดแย้งที่จะตัดสินชะตากรรมของโลก

112

เข้าใจ เขา้ ถึง แลว้ คอ่ ยพฒั นา แตค่ นสว่ นใหญม่ กั เรม่ิ กลับทางโดยมคี วาม
คิดไว้ล่วงหนา้ แล้ววา่ จะพฒั นาอะไร คดิ แทนชาวบา้ น ต่อมาก็เรมิ่ ไปหา
ชุมชน เรมิ่ การเขา้ ถงึ และในทส่ี ุดถึงเรมิ่ เข้าใจว่าแท้จริงแล้วชุมชนตอ้ งการ
อะไร ดังนั้นจงทำ�ตามข้นั ตอน ทีละขน้ั เข้าใจ แลว้ คอ่ ยเขา้ ถงึ แลว้ คอ่ ย
พฒั นา ดังทท่ี ีมอวตารไดแ้ ฝงตัวเข้าไปในชนเผ่านาวี

แอมโบรส นักบุญแห่งมิลานกล่าวว่า “เมื่ออยู่กรุงโรม ก็จงทำ�ตัวให้
กลมกลืนกับชาวโรมัน” หรือ “เข้าเมืองตาหลิ่วให้หลื่วตาตาม”

เรียนรู้ เข้าใจผู้คน และวัฒนธรรมท้องถิ่น จะนำ�มาชึ่งความสำ�เร็จ
ปีเตอร์ ดรัคเกอร์ กูรูด้านการจัดการ กล่าวว่า “สิ่งที่
สำ�คัญที่สุดในการสื่อสารคือการฟังให้ได้ยินในสิ่งที่ผู้
พูดไม่ได้พูด” เมื่อเวลาลงชุมชน เราต้องฝึกการรับฟัง
คอยสังเกตุ และซักถาม ทวนสอบ ถามแย้ง จนเห็น
ข้อมูลที่แท้จริงทุกมิติ ที่สำ�คัญต้องฟังมากกว่าพูด

ไดออจะนีซ นักปรัชญาชาวกรีกโบราณ
กล่าวว่า “มนุษย์เราเกิดมามี 2 หู กับ 1 ลิ้น
เหมือนเขาออกแบบมาอย่างดีแล้ว ให้เรา
ฟังให้มาก และพูดให้น้อย” แต่คนส่วนใหญ่

มักทำ�กลับกัน
ไมค์ พอล กล่าวว่า “การเข้าถึง ต้องสร้าง

ความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความไว้วางใจ ...
ความไว้วางใจ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความ
โปร่งใส ความรับผิดชอบ จะค่อย ๆ พัฒนา

เมื่อเราเข้าถึงมากขึ้นจนเป็นเหมือนพวก
เดียวกัน”

113

ไอรีน เกรย์ สถาปนกิ ชาวไอริช กลา่ วว่า “ก่อนที่
จะสรา้ งสรรค์ พัฒนาอะไรกต็ าม ต้องตง้ั คำ�ถาม
มากมาย ค้นควา้ ขอ้ มลู จนกวา่ ค�ำ ตอบจะสร้าง
ความเข้าใจอย่างลึกซ้ึง” ... เข้าใจ เขา้ ถงึ พฒั นา

“When in Rome, do as the Romans do.” … Ambrose
“The most important thing in communication is hearing what isn’t said.”

… Peter Drucker
“We have two ears and one tongue so that we would listen more

and talk less.” … Diogenes
“Trust, honesty, humility, transparency and accountability are the
building blocks of a positive reputation. Trust is the foundation of any

relationship.” … Mike Paul
“To create one must first question everything.” … Eileen gray

114

21

Steve Jobs สตฟี จอ็ บส์
ผคู้ ดิ จะเปลย่ี นแปลงเทคโนโลยแี หง่ อนาคต
ดว้ ยการเรม่ิ ตน้ จากโทรศพั ทเ์ พยี งเครอ่ื งเดยี ว

Begin with a Small Step … คิดภาพใหญ่ แต่เริ่มแก้ปัญหา
จากจุดเล็ก ๆ นอกจากการที่เราต้องมองให้เห็นองค์รวม มอง
ให้เห็นภาพใหญ่แล้ว การที่เราจะเรียนรู้ที่จะเดินก้าวเล็ก ๆ
ก้าวแรกให้เหมาะสม ถือเป็นสิ่งที่สำ�คัญยิ่ง และบางครั้งเรา
อาจจะไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เราอาจจะเลือกที่จะร่วมมือกับคน
ที่ทำ�ไปแล้วบางส่วน เพื่อสืบสาน ต่อยอดความคิดนั้น การ
เริ่มจากก้าวเล็ก ๆ จะทำ�ให้ทำ�อะไรสำ�เร็จได้ง่าย ถ้าผิดพลาด
ก็ลองใหม่ได้ไม่ยาก ถ้าสำ�เร็จก็จะค่อยสะสมความมั่นใจ
สู่ความสำ�เร็จอันยิ่งใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอนาคต

115

ท่มี าภาพ: Macthai.com

สตีฟ จ็อบส์ ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในยุคของ
เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ เขาถือเป็นผู้บุกเบิก เป็น
ผู้สร้างนวัตกรรมต่าง ๆ มากมายผ่านโทรศัพท์มือถือ เขาเป็นผู้ก่อตั้ง
บริษัทแอปเปิ้ล จ็อบส์เป็นศิลปิน เค้ามักจะออกแบบสินค้าของเขาให้
เรียบง่าย ผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้มากนักก็สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องอ่าน
คู่มือ แถมยังโดดเด่นมีสไตล์บนความเรียบง่ายพอเพียง จ็อบส์เป็นคน
มองอนาคต มองภาพใหญ่ แต่เริ่มจากพัฒนาสิ่งเล็ก ๆ ที่เขาสนใจ โดย
เขาคิดว่า เขาจะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ด้วยโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียว ซึ่ง
วันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง โดยโทรศัพท์มือถือไม่ได้เป็นเพียงเครื่อง
มือที่เราใช้โทรหากัน พูดคุยกัน สมัยนี้โทรศัพท์มือถือยังเป็นกล้องถ่าย
รูป กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นเพื่อน เป็นสังคมในชุมชนดิจิทัล เป็นธนาคาร
เป็นศูนย์การค้า เป็นโรงเรียน และอื่น ๆ อีกมากมาย คนเราสมัยนี้
ถ้าขาดโทรศัพท์มือถือแล้ว แทบจะทำ�อะไรไม่ได้เลย จ็อบส์กล่าวไว้ว่า
“เป้าหมายของบริษัทไม่ได้ตั้งใจจะเป็นอะไรที่ใหญ่ที่สุดในโลก แค่เพียง
จะสร้างเครื่องมือที่ดีที่สุดให้กับผู้คนทั่วโลกได้ใช้ก็พอ”

116

นีล อาร์มสตรองค์ นักบินอวกาศ อพอลโล 11 กล่าว
ตอนเหยียบดวงจันทร์ว่า “นี่คือก้าวเล็ก ๆ ของ

มนุษย์ แต่เป็นก้าวอันยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติ”

ขงจื้อ กล่าวว่า “บุรุษผู้เขยื้อนภูผา
เริ่มจากการย้ายหินก้อนเล็ก ๆ
เป็นก้อนแรก”

เดมอสธีเนส นักปราชญ์ชาวกรีก กล่าว
ว่า “สถานการณ์เล็ก ๆ บางครั้งก็เป็น

จุดเริ่มต้นขององค์กรที่ยิ่งใหญ่”
จอห์น เอฟ เคนเนดี ประธานาธิบดี
สหรัฐอเมริกาคนที่ 35 กล่าวว่า

“คำ�พังเพยจีนโบราณ กล่าวว่า การเดินทาง
ไกลพันลี้ เริ่มต้นจากการก้าวเล็ก ๆ ที่เป็น

ก้าวแรก”
117

เฮนรี ฟอรด์ นกั อตุ สาหกรรมยานยนต์ ชาวอเมรกิ ัน
กลา่ วว่า “การเริม่ ต้นด้วยธุรกิจเลก็ ๆ มนั ดี ปลอดภยั

และท�ำ ให้เรามปี ระสบการณ์มากมาย อย่างไมม่ ีขดี
จ�ำ กัด ในชว่ งเวลาทธี่ รุ กิจค่อย ๆ เติบโตข้ึน”

“Our goal is to make the best devices in the world, not to be the big-
gest” … Steve Jobs

“This is one small step for a man, one giant leap for mankind”
… Neil Armstrong

“The man who moves a mountain begins by carrying away small
stones.” … Confucius

“Small opportunities are often the beginning of great enterprises.”
… Demosthenes

“According to the ancient Chinese proverb, A journey of a thousand
miles must begin with a single step.” … John F. Kennedy

“There is safety in small beginnings and there is unlimited capital in the
experience gained by growing.” … Henry Ford

118

22

MacGyver แมคกายเวอร์
นกั สบื ผมู้ ไี หวพรบิ และมดี สวสิ เพยี งเลม่ เดยี ว

กส็ ามารถไขปรศิ นาของคดตี า่ ง ๆ ได้

Think Outside of The Box … ทำ�ให้ง่าย ไม่ยึดติดตำ�รา ตำ�รา
ในศตวรรษที่ 20 นั้นดีพอที่จะแก้ปัญหาในยุคนั้น เพราะนัก
วิชาการทั้งหลายเขียนจากประสบการณ์จริงในเวลานั้น ความ
สำ�เร็จ หรือล้มเหลวก็มาจากองค์ประกอบของเวลานั้น ดังนั้น
เมื่อโลกเปลี่ยนไป เราก็ยังคงต้องคิดเอง คิดให้เป็น คิดนอก
ตำ�ราเพราะบางทีก็ยังไม่มีตำ�รา ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ คิด
นอกกรอบ มีความยืดหยุ่น และทำ�ทุกอย่างให้เรียบง่ายด้วย
Common Sense

119

ที่มาภาพ: Spotern.com

แมคกายเวอร์ นักสืบ ผู้มีพื้นฐานจากการเป็นนักวิทยาศาสตร์
นักฟิสิกส์ ที่ต้องแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่มีในตำ�รา เขาจึงต้องใช้
จินตนาการบวกกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เขามักจะใช้มีดสวิสเพียง
เล่มเดียว ประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อต่อสู้กับเหล่าร้าย เขามักพูด
เสมอว่า “ด้วยการแต่งเติมจินตนาการเข้าไปอีกนิด อะไรก็เป็นไปได้”

120

บิล เกทส์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน กล่าวว่า
“ผมเลือกคนขี้เกียจ ให้ทำ�งานที่ยาก ๆ

ซับซ้อน เพราะคนขี้เกียจจะหาวิธีที่ง่าย ๆ
ที่จะทำ�งานให้เสร็จ”

ขงจื้อ กล่าวว่า “ทำ�ให้เรียบง่าย เน้นในสาระ
สำ�คัญ และอย่าให้ถูกครอบงำ�ด้วยสิ่งที่ไม่
จำ�เป็น”

ลีโอนาโด ดา วินชี ศิลปินนักออกแบบ
ชาวอิตาลี กล่าวว่า “ความเรียบง่าย คือ

สิ่งที่ซับซ้อนที่สุด”

ทีปัก โจปรา นักปราชญ์อินเดีย
กล่าวว่า “แทนที่จะคิดนอกกรอบ

เอากรอบออกเลยดีมั้ย”

121

ซาฮา ฮาดิด สถาปนกิ หวั กา้ วหน้าชาวอังกฤษ
กล่าวไวว้ ่า “เรามี 360 องศา ทำ�ไมตอ้ งมแี ต่

แบบเดมิ ๆ”

โทนี สตาร์ค ไอรอนแมน กล่าวว่า
“บางครั้งเราต้องวิ่ง ก่อนที่เราจะเดินได้เสียอีก”

คำ�พูดต่าง ๆ เหล่านี้ทำ�ให้เราเห็นว่าในชีวิตจริง การคิดค้น แก้
ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จะต้องใช้จินตนาการ ใช้ความจริงตาม
สถานการณ์ โดยไม่จำ�เป็นต้องยึดติดกับตำ�รา ... และควรจะทำ�สิ่ง

ต่าง ๆ ให้เรียบง่าย เน้นสาระสำ�คัญเป็นหลัก

“With a little bit of imagination, anything is possible” … MacGyver
“I choose a lazy person to do a hard job, because a lazy person will find

an easy way to do it” … Bill Gates
“Keep it simple and focus on what matters. Don’t let yourself be

overwhelmed.” … Confucius
“Simplicity is the ultimate sophistication.” … Leonardo da Vinci
“Instead of thinking outside the box, get rid of the box.” … Deepak Chopra
“There are 360 degrees, so why stick to one?” … Zaha Hadid
“Sometimes you gotta run before you can walk.” … Tony Stark Ironman

122

23

Mahatma Gandhi มหาตมคานธี
ผู้กอบกู้เอกราชให้กับอินเดีย

People Participation … พลังของการสร้างความมีส่วนร่วม
การทำ�งานในศตวรรษที่ 21 นั้นต่างจาก ศตวรรษที่ 20 อย่าง
สิ้นเชิง ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล เราสามารถติดต่อ ร่วมมือ
ต่อยอดการทำ�งาน กับใครก็ได้จากทั่วโลก การพัฒนาความ
รู้ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ไม่ได้พึ่งพาองค์กรยักษ์ใหญ่อีกต่อ
ไป การทำ�งานให้สำ�เร็จได้จะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มี
ส่วนได้เสียตั้งแต่เริ่มต้น อย่างไรก็ตามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง
ๆ อาจจะมีความต้องการ และความคิดต่างกันไป ดังนั้นการ
สร้างความสมดุลให้ทุกภาคส่วนได้รับความพึงพอใจร่วมกัน
สูงสุด และมีความขัดแย้งน้อยที่สุด และเป็นเคล็ดลับที่ต้อง
เรียนรู้และฝึกฝนในศตวรรษที่ 21

123

ท่ีมาภาพ: Sociallykeeda.com

มหาตมะ คานธี นักการเมืองชาวอินเดีย ผู้นำ�การเคลื่อนไหว
เพื่อปลดปล่อยอินเดียจากการเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และ
ได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอินเดีย เขามองเห็นและได้
สัมผัสความอยุติธรรมที่ชนผิวสีและชาวรากหญ้าถูกปฏิบัติอย่างไม่
เป็นธรรม ต่อมาจึงได้ประท้วง โดยใช้วิธีแบบสันติ อหิงสา เพื่อปลด
ปล่อยอินเดียให้เป็นเอกราช ทุกครั้งที่ประท้วง มักมีประชาชนอินเดีย
เข้าร่วมนับแสน ถึงหลายล้านคน ความเดือดร้อนจากการประท้วงของ
คานธีมีน้อยมาก มีประชาชนเพียงไม่กี่ร้อยคน ที่ประท้วงแบบไม่สันติ
แต่รัฐบาลอังกฤษพยายามรักษาอำ�นาจ จึงหาทางจับกุมตัวคานธีใน
ทุกวิถีทาง และพยายามทำ�ลายภาพลักษณ์ของคานธี

124

แต่ยิ่งรัฐบาลพยายามดำ�เนินการดังกล่าวมากเท่าไร ยิ่งจะ
ทำ�ให้เหตุการณ์บานปลายขึ้นเท่านั้น นอกจากสังคมโลกจะไม่เชื่อ
ถือรัฐบาลแล้ว หลายครั้งหลายหนที่คานธีถูกจับกุม ก็มีประชาชน
ที่เคียดแค้นลุกฮือจนเกิดเหตุจลาจลระดับประเทศ ต่อมาวันหนึ่ง
นายพลไดเออร์ ของฝ่ายอังกฤษ ไม่พอใจ จึงสั่งให้ยิงกราดเข้าไปใน
กลุ่มประชาชนในที่สาธารณะ จนมีผู้เสียชีวิต ทำ�ให้รัฐบาลเสื่อมเสีย
เกียรติยศขึ้นไปอีก และถูกโลกประณามอย่างรุนแรง
จนในที่สุด หลังจากคานธีต่อสู้เพื่ออินเดียเป็นเวลายาวนาน
กว่า 40 ปี อินเดียก็ได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1947 โดยสมบูรณ์และต่อ
มาในปี ค.ศ. 1948 คานธี ก็เสียชีวิตลง โดยถูกลอบสังหาร ทำ�ให้เกิด
ความเศร้าโศกในหมู่ชาวอินเดียทั่วประเทศที่ร่วมต่อสู้เพื่ออิสรภาพกับ
เขามากว่า 4 ทศวรรษ และสิ่งที่คานธี ได้รับความร่วมมือ ก็เพราะการ
มีส่วนร่วมของทุก ๆ คนในสังคม ดังที่คานธีปลุกจิตวิญญาณของชาว
อินเดียว่า “จงร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เราอยากเห็นด้วยมือ
ของเราเอง”

นาเรนดรา โมดิ นายกรัฐมนตรีคนที่ 14
ของอินเดียกล่าวว่า “การมีส่วนร่วมของ

ประชาชนคือหัวใจของธรรมภิบาล”

โคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า
“ถ้าเราอยากจะขจัดความยากจนให้หมดไป เรา
ต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาค
ธุรกิจ และประชาชนทุกคนต้องอาสากันมาช่วย

แก้ปัญหานี้”

125

บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคน
ที่ 42 กล่าวว่า “ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีบทบาท
สำ�คัญในการแก้ปัญหาของชาติ แต่ว่าเราไม่
สามารถทำ�ให้สำ�เร็จได้ถ้าขาดความร่วมมือ
อย่างจริงจังของผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลาย จิต
อาสาคือหัวใจสำ�คัญที่เราจะช่วยกันส่งต่อความ

รุ่งเรืองสู่ลูกหลานของเรา”

จอห์น เอฟ เคนเนดี ประธานาธิบดีคนที่ 35
ของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “ความร่วมมือกัน
ไม่ใช่แค่จับมือกันแล้วถ่ายรูป แต่เป็นขบวนการ

การทำ�งานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมของทุกฝ่าย”

บิล เกตส์ นักธุรกิจชาวอเมริกันกล่าว
ว่า “ความสำ�เร็จของเราขึ้นอยู่กับการ
ร่วมมือกันอย่างจริงจังตั้งแต่เริ่มต้น”

126

“Be the change that you wish to see in the world.” … Mahatma Gandhi
“People’s participation is the essence of good governance.”
… Narendra Modi

“If we are to make poverty history, we must have the active participa-
tion of States, civil society and the private sector, as well as individual

volunteers.” … Kofi Annan
“Though government has an important role to play in meeting the many
challenges that remain before us, we are coming to understand that no
organization, including government, will fully succeed without the active
participation of each of us. Volunteers are vital to enabling this country

to live up to the true promise of its heritage” … William J. Clinton
“Partnership is not a posture but a process-a continuous process that
grows stronger each year as we devote ourselves to common tasks.”

… John F. Kennedy
“Our success has really been based on partnerships from the very

beginning.” … Bill Gates

127

24

Mies van der Rohe มสี ฟนั เดอร์ โรเออ
ผบู้ กุ เบกิ สถาปตั ยกรรมสมยั ใหม่
ทเ่ี รยี บงา่ ย พอเพยี ง

Moderation … พอประมาณ พออยู่ พอกิน คำ�ว่าพอดีนั้น
ค่อนข้างเป็นนามธรรม และความพอดีของแต่ละคนก็ไม่เท่า
กัน ถึงแม้ในคนคนเดียวกันในช่วงชีวิตที่ต่างกัน ความพอดี
ก็มีความหมายต่างกันไป แต่ทุกคนควรจะเริ่มค้นหาคำ�ตอบ
ว่าพอดีของตนเองคืออะไร เพื่อหาสมดุล และแนวทางสร้าง
ความพอดีในอนาคต ถ้าเรายังไม่รู้ว่าพอดีของเราคืออะไร ก็
ลองคิดดูถึงสิ่งที่น้อยที่สุดที่เราต้องการ เราขาดไม่ได้ แล้ว
ลองสำ�รวจว่าเรามีอะไรที่ยังไม่พอดี ยังขาด หรือเกินแล้ว
ความพอดีไม่ได้แปลว่าให้มีอะไรน้อย ๆ หรือจะต้องใช้ชีวิตที่
ดูยากจน แต่มีพอกินพอใช้ให้พอดีกับอัตภาพ เมื่อความพอดี
และความสมดุลเกิดขึ้น กิเลสส่วนใหญ่ก็จะลดลง เราจะรู้สึก
เบาสบาย และมีความสุขตามวิถีใหม่ของ ศตวรรษที่ 21

128

ทมี่ าภาพ: Arquitecture en Acero

มีส ฟัน เดอร์ โรเออ ได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้
บุกเบิกแห่งวงการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ มีส เป็นคนหนึ่งในช่วง
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่สนใจที่เสาะแสวงหารูปแบบทาง
สถาปัตยกรรมแบบใหม่ ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ และมีสไตล์ประจำ�ยุค
เช่นเดียวกับสไตล์ที่ชัดเจนของยุคคลาสสิกหรือยุคกอธิค ที่มีมาก่อน
เขาสร้างสรรค์รูปแบบสถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เห็น
ชัดถึงความเรียบง่าย และโปร่งสบาย อาคารออกแบบของเขาจะใช้
วัสดุสมัยใหม่ อย่างเช่น โครงเหล็ก แผ่นกระจก เพื่อแสดงขอบเขต
สถาปัตยกรรมภายใน เขามุ่งมั่นในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ใช้
โครงสร้างน้อยชิ้นในการจัดระเบียบโครงสร้างอย่างสมดุล ออกแบบ
พื้นที่เปิดโล่งอิสระ เขาเรียกอาคารของเขาว่า สถาปัตยกรรม
“ผิวหนังและกระดูก” เขานำ�เสนอทฤษฎี ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้าง
ขวางที่สอนว่า “น้อยคือมาก” และ “พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด”

129

แฟรงค์ ลลอย ไรท์ สถาปนิกในยุคเดียวกัน ซึ่งมีผลงานโดดเด่นไม่แพ้กัน
ยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่า “น้อยคือมาก ก็ต่อเมื่อมากคือมากเกินควร” และ

“น้อยดีกว่ามาก ก็ต่อเมื่อมากแล้วมันไม่ดี” อาจแปลความได้ว่า ไม่ว่าจะ
น้อย หรือ มาก จะดีก็ต่อเมื่อเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ ความพอดีคือ
อะไร และความพอดีของใคร คงเป็นโจทย์ที่สำ�คัญของสถาปนิกในยุคนั้น

โซเครติส นักปราชญ์กรีกโบราณ
แห่งกรุงเอเธนส์ กล่าวไว้ว่า “เคล็ดลับแห่ง
ความสุข ไม่ได้อยู่ที่การอยากได้ไขว่คว้าให้ได้
มามากขึ้น แต่อยู่ที่การลดกิเลสของเราเองให้

มีความต้องการน้อยลง”

“Less is More” … “God is in Details” … Mies van der Rohe
“Less is more only when more is too much.” … Frank Lloyd Wright
“Less is only more where more is no good.” … Frank Lloyd Wright
“The secret of happiness, you see, is not found in seeking more, but in

developing the capacity to enjoy less.” … Socrates

130

25

Men in Black (MIB) ศนู ยบ์ รกิ ารหนง่ึ เดยี ว
ของมนษุ ยต์ า่ งดาว

One Service Center … บริการรวมที่จุดเดียว การออกแบบ
ระบบจัดการ ให้รวมกันเป็นจุดเดียวนั้นเป็นอุดมคติ เช่น เมื่อ
เราไปติดต่อหน่วยงานราชการ หรือไปโรงพยาบาล เราก็อยาก
ไปติดต่อที่จุดเดียว ไม่อยากเดินไปตามหน่วยต่าง ๆ วุ่นวาย
สับสนไปหมด หรือแม้แต่เมื่อเราโทรไปหา คอลเซนเตอร์ เรา
ก็อยากจะให้เขาแก้ปัญหาให้เราได้ที่จุดเดียวและรวดเร็ว และ
ในยุคนี้ ยังมีนวัตกรรมการสื่อสารใหม่ ๆ ให้เราแก้ปัญหา
ด้วยตัวเอง หรือเชื่อมโยงตรงไปในหน่วยที่รับผิดชอบได้อย่าง
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ถ้ายังทำ�งานกันเป็นพื้นที่ของใคร
ของมัน เป็นไซโล ไม่เข้าใจความต้องการของลูกค้า และตอบ
สนองได้ไม่ทันใจ หน่วยงานนั้นก็จะมีโอกาสโดนตำ�หนิ และ
อาจจะถึงกาลล่มสลายได้ ถ้าไม่ปรับปรุง ... หัวใจของการให้
บริการจะเป็นมือคู่ใหม่ เป็นทักษะใหม่ที่คนรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้

131

ท่ีมาภาพ: Jonathan Rosenbaum

หน่วยจารชนพิทักษ์โลก “ชายในชุดดำ�” ซึ่งมีภารกิจลับสุด
ยอดในการตรวจตราดูแลและควบคุมเหล่าเอเลี่ยนจากต่างดาวให้
อาศัยอยู่ท่ามกลางมนุษย์โลกอย่างสันติ การเดินทางเข้ามาหรือกลับ
ออกไปต้องผ่านศูนย์บัญชาการ เป็นจุดเดียวเพื่อบริการ เก็บข้อมูล
ต่าง ๆ ดูแลความเรียบร้อย ให้มนุษย์ต่างดาว และคนบนโลกอยู่ด้วย
กันอย่างสันติ องค์กรพิทักษ์โลกชายชุดดำ� เป็นตัวอย่างที่ดีของศูนย์
บริการที่รวมเป็นจุดเดียว สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และควบคุม
การทำ�งานให้สำ�เร็จด้วยความราบรื่น

132

มหาตมะ คานธี มหาบุรุษขวัญใจชาวอินเดีย
กล่าวว่า “ลูกค้าเป็นแขกคนสำ�คัญของเรา เขา
ไม่ได้พึ่งพาเรา แต่เราต่างหากที่ต้องพึ่งพาเขา”
ทัศนคติเช่นนี้ เป็นทัศนคติที่ดีของผู้ให้บริการ

ที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และบริการด้วยใจ

สก็อต คุ๊ก มหาเศรษฐีอเมริกัน ผู้บริหาร อี
เบย์ และพี แอนด์จี กล่าวว่า “แทนที่จะไป
มุ่งกับการต่อสู้แย่งชิงลูกค้ากับคู่แข่ง เราควร
หันมาเน้นการให้การบริการลูกค้าของเราให้

ดีที่สุดดีกว่า”

บิล เกตส์ มหาเศรษฐีอเมริกัน ผู้ก่อตั้ง
ไมโครซอฟ กล่าวว่า “ลูกค้าที่ไม่พอใจกับ
สินค้าและบริการของเรา คือ แหล่งข้อมูล
ที่สำ�คัญที่สุดที่จะช่วยให้เราพัฒนาได้”

133

เจฟ เบโซส มหาเศรษฐีอเมริกัน ผู้ก่อตั้ง อเมซอน กล่าวว่า “ถ้าเราให้บริการ
ลูกค้าของเราให้ดีที่สุด ลูกค้าของเราก็จะเล่าประสบการณ์ให้เพื่อน ๆ ของ
เขาฟัง และเราจะตระหนักว่า การพูดปากต่อปากมีพลังมากมายเพียงใด”

“A customer is the most important visitor on our premises, he is not
dependent on us. We are dependent on him.” … Mahatma Gandhi
“Instead of focusing on the competition, focus on the customer.”

… Scott Cook
“Your most unhappy customers are your greatest source of learning.”

… Bill Gates
“If you do build a great experience, customers tell each other about

that. Word of mouth is very powerful.” … Jeff Bezos

134

26

Ben (The Intern) เบน
ชายชรา ผฟู้ น้ื ฟคู วามสขุ ของเขาดว้ ยการกลบั
ไปเปน็ พนกั งานฝกึ งาน และสรา้ งความสขุ ให้
เพอ่ื นรว่ มงานและความสำ�เรจ็ ใหก้ บั บรษิ ทั

Passion … เต็มไปด้วยพลัง และความสุข ไม่แน่ใจว่าการ
ทำ�งานอย่างมีความสุขจะก่อให้เกิดพลัง หรือการทำ�งาน
จากพลังที่อยู่ข้างในจะก่อให้เกิดความสุข แต่ที่สำ�คัญคนใน
ศตวรรษที่ 21 มีโอกาสเลือกงานตามที่เขาอยากทำ�ได้ง่ายขึ้น
กว่ายุคศตวรรษที่ 20 เขาไม่จำ�เป็นต้องทำ�งานประจำ�เพียง
งานเดียว หรือไม่จำ�เป็นที่จะต้องเข้าออฟฟิศ 9 โมงเช้าถึง 5
โมงเย็น เขาสามารถทำ�งานที่ไหน เมื่อไรก็ได้ ทำ�ในสิ่งที่เขา
ชอบ 2-3 งานพร้อมกันก็ได้ แต่เขาต้องเรียนรู้การทำ�งานที่ใช้
ผลงาน ตามเวลาเป็นตัวชี้วัด ต้องรักษาวินัยของตัวเอง และที่
สำ�คัญเราต้องค้นหาสิ่งที่เรารักให้เจอ แล้วก็ทุ่มให้สุดตัว

135

ทม่ี าภาพ: Vogue

เบน วิทเทเกอร์ พ่อหม้ายวัย 70 ที่ค้นพบว่าชีวิตหลัง
เกษียณมันน่าเบื่อหน่ายมาก หลังจากภรรยาเขาจากไป เขาก็อยู่ตัว
คนเดียว วัน ๆ หมดเวลาไปกับการนั่งจิบกาแฟ ไปร่วมงานศพ ตี
กอล์ฟ โยคะบ้าง เรียนภาษาบ้าง มันช่างว่างเปล่า และไม่ใช่สิ่งที่เขา
ปรารถนา เขาอยากจะกลับไปทำ�งานอีกครั้ง เขาจึงตัดสินใจไปสมัคร
เป็นเด็กฝึกงานในบริษัทเว็บไซต์แฟชั่นซึ่งก่อตั้งและบริหารโดยจูลส์
ออสติน การกลับไปเป็นเด็กฝึกงานในวัยชรา ทำ�ให้เขาเห็นคุณค่าของ
ชีวิต ทำ�ให้เขามีความสุข และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง

136

ขงจื้อ กล่าวว่า “จงเลือกงานที่คุณชอบ
แล้วชีวิตนี้คุณจะไม่ต้องทำ�งานเลย”

อริสโตเติล นักปรัชญาชาวกรีกโบราณ กล่าว
ว่า “ความสุขในอาชีพที่ใช่ จะสร้างความ
สมบูรณ์แบบให้กับงานที่ทำ�”

แวนโก๊ะ สุดยอดศิลปินชาวดัชท์ กล่าวไว้
เหมือนกันว่า “สิ่งใดที่ทำ�ไปด้วยความรัก

สิ่งนั้นจะออกมาดี”

สตีฟ จอบส์ อัจฉริยะแห่งโลกเทคโนโลยี กล่าวว่า “งานจะกลืนกินเวลา
ส่วนใหญ่ในชีวิตของเรา ดังนั้น เราควรจะเลือกงานที่ยิ่งใหญ่ที่ตอบ

สนองเป้าหมายชีวิตของเรา และการที่เราจะทำ�งานที่ยิ่งใหญ่ได้มันต้อง
เป็นงานที่เรารัก ถ้าเรายังหามันไม่เจอก็อย่าเพิ่งล้มเลิก หามันไปเรื่อย ๆ

และด้วยสันชาตญาณ เราจะรู้เองเมื่อเราพบมัน”
137

“Choose a job you love and you will never have to work a
day in your life.” … Confucius

“Pleasure in the job puts perfection in the work.” … Aristotle
“What is done in love, is done well.” … Vincent Van Gogh

“Your work is going to fill a large part of your life, and the only way
to be truly satisfied is to do what you believe is Great work. And the

only way to do great work is to love what you do. If you haven’t
found it yet, keep looking, and don’t settle. As with all matters of the

heart, you’ll know when you find it.” … Steve Jobs

138

27

Ethan Hunt อธี าน ฮนั ท์
(Mission Impossible) ไมม่ อี ะไรทเ่ี ปน็ ไปไมไ่ ด้

Victory … กำ�หนดเป้าหมาย และไปให้ถึง ชัยชนะแห่งการ
ทำ�งาน ถ้าเราทำ�ตามหลักการตั้งแต่ข้อ 1-26 หรือแม้แต่บาง
ข้อให้สำ�เร็จ การพิชิตชัยชนะย่อมทำ�ได้อย่างราบรื่น ในการ
แข่งขันกีฬาถ้าเรามุ่งแต่เพียงชัยชนะ เราอาจจะทำ�ทุกวิถีทาง
เพื่อให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้ หรือบางครั้งเราอาจจะแอบทำ�ผิดกติ-
กาถ้ากรรมการมองไม่เห็น นับว่าเป็นชัยชนะที่ไม่สมศักดิ์ศรี
น่าละอาย ในหมู่นักกอล์ฟมีคำ�กล่าวที่เป็นอมตะว่า “ชัยชนะ
นั้นสวยงาม แต่ชัยชนะที่ได้มาด้วยการทำ�ตามกฏ กติกา และ
มารยาทของการเป็นนักกีฬาที่มีศักดิ์ศรีของความเป็นสุภาพ
บุรุษนั้น ย่อมเป็นชัยชนะที่สง่างามขึ้นไปอีก” และถ้วยรางวัล
อาจะไม่ใช่สิ่งเดียวที่น่าภาคภูมิใจ แต่วิธีการที่สง่างามที่เราใช้
ในการแข่งขันต่างหากที่ทำ�ให้เรามีเกียรติ และศักดิ์ศรี และ
นั่นคือถ้วยรางวัลที่แท้จริง

139

ท่มี าภาพ: Daily Mail

อีธาน ฮันท์ เจ้าหน้าที่องค์กรลับ ที่มีภารกิจกำ�จัดเหล่าทรชน
เพื่อปกป้องคุ้มครองโลก ในทุกภารกิจ องค์กรลับของเขา จะส่งคำ�
สั่งลับสุดยอดมาในรูปแบบต่าง ๆ และคำ�สั่งลับนั้นจะทำ�ลายตัวเอง
ภายใน 5 วินาที เมื่อเขาได้ฟังข้อเสนอแล้ว เขาจะเลือกที่จะรับ หรือ
ไม่รับ และถ้าเขาเลือกที่จะรับ เขาจะสามารถเลือกทีมงานที่เหมาะสม
กับภารกิจได้ แต่ถ้าเขาหรือคนใดคนหนึ่งของทีมถูกจับได้ รัฐบาลจะ
ปฏิเสธการรับรู้และความรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ทุกภารกิจล้วนแล้วแต่
หิน ๆ ทั้งนั้น ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า “เป็นภารกิจที่เป็นไปไม่ได้” แต่ด้วย
ความสามารถพิเศษ การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ การใช้
จินตนาการนอกกรอบ ไม่ยึดติดตำ�รา การมุ่งมั่นด้วยความเพียร การ
ทำ�งานเป็นทีม และที่สำ�คัญการเห็นประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนความ
สุขส่วนตน ทำ�ให้ภาระกิจของเขาสำ�เร็จแบบเส้นยาแดงผ่าแปดแทบทุก
ครั้ง ที่เล่ามาทั้งหมดนี้แทบจะสะท้อนวิธีทำ�งานที่รวบรวมไว้ทั้งหมด
27 ข้อ ดังนั้น “หลักการทำ�งาน” ก็น่าจะเหมือนเรื่องราวต่าง ๆ ในหนัง
Mission Impossible นั่นเอง

140

มาร์ค ซัคเคอร์เบอร์ก ผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊ค กล่าวว่า
“ผู้คนเขาไม่สนใจหรอกว่าคุณจะพูดอะไร ...

แต่เค้าสนใจสิ่งที่คุณทำ�สำ�เร็จมากกว่า”

โทนี่ สตาร์ค ไอรอนแมน กล่าวว่า
“คนขี้ขลาดไม่เคยคิดจะเริ่มต้น

คนอ่อนแอไม่เคยจะไปให้ถึงเส้นชัย
และผู้ชนะไม่เคยคิดจะท้อถอย”

มากาเร๊ต แทชเชอร์ สตรีเหล็ก นายก
รัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า “ความอยาก
ที่จะชนะอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด ความ
ต้องการชัยชนะขึ้นอยู่กับการฝึกฝน และ
ลักษณะของผู้ชนะขึ้นอยู่กับเกียรติยศ

ของเรา”

โมฮัมเมด อาลี นักชกแชมเปี้ยนโลกจอมโว
กล่าวไว้ว่า “ชัยชนะ ไม่ได้เกิดจากการฝึกฝน
อย่างหนักในโรงยิม แต่เกิดจากบางสิ่งบาง
อย่างที่อยู่ลึกในตัวตนของเราทุกคน ความ
ปรารถนา ความฝัน และวิสัยทัศน์ของเรา”

141

ชยั ชนะตา่ ง ๆ และความสำ�เร็จในการทำ�งาน มาจากแรงบันดาลใจ
หลักการและแนวทางทีม่ กี ารช้แี นะไว้แล้วในหนงั สือเล่มน้ี เมอื่ เรยี น
รู้ ท�ำ ความเขา้ ใจอยา่ งลกึ ซง้ึ แล้วน�ำ ไปพฒั นาตอ่ ยอด ก็จะนำ�ทางสู่
ความส�ำ เรจ็ อย่างยั่งยนื และพอเพียง ... ถือเป็นค่มู อื ส�ำ คญั ในการ

เปน็ ประชากรโลกในศตวรรษที่ 21

“People don’t care about what you say, they care about what you
build.” … Mark Zuckerberg

“Cowards never start, the weak never finish, and the winner never quit.”
… Tony Stark Ironman

‘The desire to win is born in most of us. The will to win is a matter of
training. The manner of winning is a matter of honor.’
… Margaret Thatcher

“Champions aren’t made in the gyms. Champions are made from some-
thing they have deep inside them-a desire, a dream, a vision.”
… Muhammad Ali

142

WORKING with … SUFFICIENCY & SUSTAINABILITY
WORKING with … OUR NEW HEART … OUR NEW HEAD …

and OUR NEW HAND

หลักการทำ�งานใหม่ในศตวรรษที่ 21 ด้วย “หลักธรรม ... หลักคิด ...

และหลักปฏิบัติ ที่มีแรงบันดาลใจจากหลักการทรงงานของ
ในหลวงรัชกาลที่ 9”

แนวทางทั้ง 27 ข้อนี้ได้แรงบันดาลใจจาก “หลักการทรงงาน
ของในหลวงรัชกาลที่ 9” ที่ท่านทรงรวบรวมไว้เป็นแนวทางให้ผู้ที่
สนใจ นำ�ไปศึกษา พัฒนา ปรับปรุง ต่อยอด แนวทางเหล่านี้ เป็น
สากล เป็นอมตะ อยู่เหนือกาลเวลา ดังจะเห็นตัวอย่างเรื่องราวดี ๆ
ตั้งแต่สมัยกรีก จนถึงปัจจุบัน และในทุกที่ ทุกประเทศ ทุกวงการ ...
ผู้ที่ประสบความสำ�เร็จทุกคนล้วนแล้วแต่มีบางอย่างในหลักการนี้เป็น
พาหนะสู่ความสำ�เร็จเสมอ ... พวกเรามีหรือยัง

143

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Phi-
losophy) คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรง
ชี้แนวทางการดำ�เนินชีวิตใหม่ ให้แก่ปวงชนชาวไทยมายาวนาน ท่านทรง
ทดลองด้วยพระองค์เอง เมื่อสำ�เร็จแล้วทรงนำ�มาเผยแพร่ให้เป็นแบบ
อย่าง แนวทางใหม่นี้เริ่มมาก่อนช่วงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ผู้คน
เริ่มให้ความสนใจเมื่อครั้งเกิดความยากลำ�บากในช่วงวิกฤติ ในช่วงนั้น
พระองค์ท่านได้ขยายความ นำ�มาสู่การปฏิบัติในวงกว้าง เพื่อมุ่งเน้นให้
ประชาชนได้ดำ�รงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน มั่นคง และปลอดภัย ภายใต้ความ
เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามกระแสโลกาภิวัฒน์ อีกทั้งพระองค์ยัง
ได้ทรงพระราชทานความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง เอาไว้เป็นภาษา
อังกฤษว่า Sufficiency Economy ดังพระราชดำ�รัสที่ได้ทรงตรัสไว้เมื่อวัน
ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวทางการที่สำ�คัญใน
การดำ�รงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ เป็นวิธีคิด เป็น
พฤติกรรม เป็นแนวทางการพัฒนาที่มีคน ประชาชน และชุมชน เป็น
ศูนย์กลาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะเป็นตัวการที่นำ�ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ
ในภาษาอังกฤษ คือ Sustainable Development

144

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development
Goals หรือตัวย่อว่า SDGs) เป็นเป้าหมายเกี่ยวกับ การพัฒนาระดับ
นานาชาติซึ่งจัดทำ�ขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ เป้าหมายโลกแห่ง
การพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ได้เผยแพร่เและใช้แทนเป้าหมายการพัฒนาแห่ง
สหัสวรรษ ที่หมดอายุเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2558 โดย SDGs เป็นทิศทางการ
พัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2573 ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก
17 เป้าหมายและเป้าประสงค์ 247 ข้อ
ประเทศไทยมีกรอบการพัฒนาของตนเองที่กำ�ลังใช้อยู่เพื่อ
ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน อาศัยหลักภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
ความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนการรักษาสมดุลด้วยการเดินสายกลาง
ความสมเหตุสมผลและความรอบคอบตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จุดเน้นของปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงคือความยั่งยืนและได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสำ�คัญ
ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2545

145

ติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับการทรงงานได้จาก
SEAMEO SEPS
Website: www.seameo-seps.org
มูลนิธิชัยพัฒนา
Website: www.chaipat.or.th
สำ�นักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมา
จากพระราชดำ�ริ (สำ�นักงาน กปร.)
Website: www.rdpb.go.th
สำ�นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)
Website: www.nesdc.go.th และ https://sdgs.nesdc.go.th/
มูลนิธิมั่นพัฒนา
Website: http://tsdf.nida.ac.th/th/

146



องคก ารรัฐมนตรีศึกษาแหง เอเชียตะวันออกเฉยี งใต
ศนู ยระดับภมู ิภาควาดว ยหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

www.seameo-seps.org


Click to View FlipBook Version