The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชิปเซทหม่ ของประชากรโลกในศตวรรษที่ 21

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by SEAMEO SEPS, 2022-06-08 00:34:09

ศาสตร์แห่งความสมดุล

ชิปเซทหม่ ของประชากรโลกในศตวรรษที่ 21

Keywords: sufficiency economy philosophy,sustainability,balance

ศาสตรแ หง ความสมดลุ

ชปิ เซทใหม ของประชากรโลกในศตวรรษที่ 21

3H

ปรบั สมดุลของชีวิตใหมด ว ย
THE NEW HEART … HEAD … HAND

หวั ใจ ... สมอง ... สองมอื
เพื่อกาวสูค วามสาํ เรจ็ และความสุข ดวยพลงั แหงความ พอเพยี ง และยั่งยนื

สกุ จิ อทุ นิ ทุ และ Boaz Zippor

ศาสตรแ หงความสมดลุ

ชปิ เซทใหม ของประชากรโลกในศตวรรษที่ 21

ลขิ สทิ ธ์ิ องคก ารรฐั มนตรศี กึ ษาแหง เอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต ศนู ยร ะดบั ภมู ภิ าควา ดว ยหลกั
ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
บรษิ ทั วสิ ตา อนิ เตอรป รน้ิ ท จำกดั เดอื น สงิ หาคม พ.ศ. 2564

ขอ มลู ทางบรรณานุกรม
ช่ือเรื่อง ศาสตรแ หงความสมดุล: ชปิ เซทใหม ของประชากรโลกใน

ผูเ ขียน ศตวรรษท่ี 21
สุกิจ อุทนิ ทุ และ Boaz Zippor
กองบรรณาธกิ าร อัศวนิ จติ ตจ ำนงค
ธนั ยวรวรรธน เฉลิมพฒั นสขุ
ปภาวรนิ ทร แสงประดับ
จำนวนหนา 57 หนา
ราคา 350 บาท
ISBN 978-616-7961-51-4

เจาของ องคการรฐั มนตรีศกึ ษาแหงเอเชียตะวนั ออกเฉียงใต ศนู ยระดบั ภูมิภาควา
ดวยหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
928 อาคาร ธรรมชาติและสิง่ แวดลอม ช้ัน 11 ถนนสุขุมวทิ แขวงพระโขนง
เขตคลองเตย กรงุ เทพฯ 10110
Website: www.seameo-seps.org Email: [email protected]

พมิ พท ่ี บรษิ ทั วสิ ตา อนิ เตอรป รน้ิ ท จำกดั
428/181 ถนนกาญจนาภเิ ษก แขวงดอกไม เขตประเวศ กรงุ เทพฯ 10250
โทร. 02-015-4377

หากทา นตอ งการซื้อเปน จำนวนมากเพอื่ ใชในการสอน การฝก อบรม หรอื ใหเ ปน ของขวัญ
สามารถสอบถามรายละเอยี ดและราคาพิเศษเพ่มิ เติมไดท ่ี Email: [email protected]

คํานํา

ในศตวรรษที่ 21 เรามักจะได้ยินคำ�ว่า “ยั่งยืน” อยู่ในทุก ๆ เรื่อง

รอบ ๆ ตัวเรา คำ�ว่า ยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ของสหประชาตินั้น เป็นแค่คำ�ที่สวยหรู หรือเป็นเรื่องสำ�คัญในชีวิตประจำ�วัน
ของประชากรในศตวรรษที่ 21 เราเข้าใจคำ�ว่ายั่งยืนมากน้อยแค่ไหน เราเข้าใจ
ตรงกันหรือไม่ และความยั่งยืนของแต่ละบุคคลจำ�เป็นต้องเหมือนกันหรือไม่
เป็นที่ยอมรับกันในระดับนานาชาติ ว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ
เพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน แต่เราเข้าใจ
เรื่องความพอเพียงมากน้อยแค่ไหน เราท่องจำ�คำ�ศัพท์ต่าง ๆ และ แผนภูมิ
สามห่วง สองเงื่อนไข หรือเราทำ�ความเข้าใจกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ
เพียงแล้วนำ�มาใช้จริงในชีวิตประจำ�วัน
ผู้คนส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนแปลงโลก ต้องการเปลี่ยนแปลงปัจจัย
ต่าง ๆ รอบตัวเรา เพื่อให้โลกก้าวเข้าสู่ความยั่งยืน แต่จะมีสักกี่คนที่เริ่มจาก
การเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยการทำ�ความเข้าใจกับหลักการของความพอเพียง
เริ่มจากกำ�หนดทัศนคติใหม่ ปรับปรุงวิธีคิด และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ
ตนเอง ที่เราเรียกว่า “3H - Heart Head Hand” หัวใจ สมอง และสองมือ
เพื่อสร้างสมดุลจากภายใน แล้วค่อย ๆ ขยายผลสู่ผู้คนรอบข้าง ในครอบครัว
ในที่ทำ�งาน ในชุมชน และสังคมโดยรวม
หนังสือในชุดคู่มือประชากรในศตวรรษที่ 21 พอเพียง ยั่งยืน
ที่ SEAMEO SEPS ร่วมกับเครือข่ายได้จัดทำ� เพื่อกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่
ประชากรโลกในศตวรรษที่ 21 หันมาสนใจเรื่อง “ความยั่งยืน” และพัฒนา
ตนเองด้วยหลักการ “พอเพียง”
หนังสือชุดนี้ไม่ได้เต็มไปด้วยคำ�สอนและไม่ได้มีคำ�ตอบหรือสูตร
สำ�เร็จ ในทางตรงกันข้าม หนังสือชุดนี้จะเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ และ
คำ�ถาม เพื่อให้ผู้อ่านได้คิด ออกไปค้นหา เรียนรู้จากประสบการณ์ ลองมอง
ชีวิตในมุมมองใหม่ ๆ การค้นหาคุณค่าของตนเอง เป้าหมายของชีวิต และ
แนวทางการดำ�เนินชีวิตที่สมดุล ลองเล่นกับความคิดสร้างสรรค์ ความคิด
นอกกรอบ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับสังคมที่ยั่งยืน และที่สำ�คัญสร้าง
ความสุขให้กับตนเองและสังคมรอบข้าง ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำ�คัญของประชากร
ในศตวรรษที่ 21 “พอเพียง ... ยั่งยืน”

สารบัญ

เสน้ ทาง: บริกรผู้คลอ่ งแคล่ว กบั นักวิ่งลมกรด

คณุ รเู้ ส้นทางของคุณหรอื ยงั

วิธกี าร: นักสบื เอกชน กบั ศลิ ปนิ ช่างฝัน

ต่างวธิ ี สเู่ ป้าหมายเดยี วกนั ในการค้นหาความจริง

วธิ คี ดิ : พ่อครัวหัวป่าก์ กบั นกั วทิ ยาศาสตรส์ ตเิ ฟ่ือง

วธิ ผี สมท่ลี งตวั ไมม่ ากไปไม่นอ้ ยไป

เปา้ หมาย: แรงปรารถนา กับ ความหมายของชีวิต

สิง่ ท่คี ิด กบั ส่ิงทท่ี �ำ ไปทางเดยี วกันหรือไม่

สญั ชาตญาณ: ลุย กบั ถอย

สญั ชาตญาณ และการตัดสนิ ใจในเสย้ี ววนิ าที

กิเลส: ความอยากได้ กับ ความจ�ำ เป็นในชีวิตประจำ�วนั

บรโิ ภคนยิ มสุดโต่ง หรอื บริโภคอยา่ งยงั่ ยนื

ทศั นคต:ิ ความสขุ กบั การทำ�งาน

ปรบั ทศั นคติ คดิ บวก สขุ นิยม

ศาสตร์แห่งความสมดุล

สารบญั

แรงบนั ดาลใจ: เพ้อฝันเพ้อเจอ้ กับ ความฝนั ทเ่ี ป็นจริง

รางวัลแด่คนช่างฝัน

จงั หวะชวี ิต: แมน่ ้ําท่ีไหลเชี่ยว กับ ทะเลสาบอันสงบนิ่ง

พลวัตรแห่งชวี ิต และพลังอำ�นาจในตวั คุณ

ความหมายของชวี ิต: งานท่ีเรารกั กบั อนาคตทเี่ ราหวัง

มีเงิน มีงาน มีการแบ่งปนั ให้สงั คม

บทบาท: การบรโิ ภคทยี่ ่งั ยนื กบั การผลติ สีเขียว

ห่วงโซค่ ุณคา่ แห่งอนาคต

การปรับตวั : โดดเดน่ เป็นตัวของตัวเอง กบั การกลมกลนื อยูใ่ นฝงู ชน

แตกต่างอย่างลงตัว

การเปล่ียนแปลง: เตม็ ใจ หรือ ต่อตา้ น

เปน็ คนใหมท่ ไี่ ฉไลกว่าเดิม

ความสุขที่แท้จริง ... พอเพียง ยงั่ ยนื : เคร่งขรึมแบบผใู้ หญ่ กบั ซกุ ซน
สดใสในวยั เด็ก

คน้ พบความไรเ้ ดียงสาในตัวคณุ

ศาสตร์แหง่ ความสมดุล

คาํ เตือน

การอ่านเพียงครั้งเดียวไม่สามารถทำ�ให้เข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้ง การ
อ่านด้วยสายตา จะให้ผลที่แตกต่างจากการอ่านด้วยหัวใจ จงใช้สมาธิ และ
อ่านด้วยหัวใจ จะนำ�มาซึ่งแสงสว่าง อ่านจนเข้าใจแล้ว ต้องเข้าถึง ต้องไปลอง
ทำ�ดูด้วย จะได้รู้ว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ คุณอาจจะผิดหวัง ถ้าคุณคาดหวังว่า
หนังสือเพียงเล่มเดียวจะมีคำ�ตอบต่าง ๆ ไว้ให้คุณทั้งหมด หนังสือเล่มนี้จะ
เต็มไปด้วยคำ�ถาม มากกว่าคำ�ตอบ และคำ�ตอบของผู้อ่านแต่ละคนย่อมไม่
เหมือนกัน

ศาสตร์แหง่ ความสมดุล

กา้ วสคู่ วามสาํ เรจ็ และความสขุ ดว้ ยพลงั แหง่ ความ พอเพยี ง และยง่ั ยนื
หวั ใจ ... สมอง ... สองมอื (HEART … HEAD … HAND)

ศาสตร์แหง่ ความสมดลุ 4

ศตวรรษท่ี 21

คณุ รู้ไหมว่า คณุ เปน็ คนยคุ ไหน คณุ เปน็ คนตกยคุ หรือเปลา่

การใชช้ ีวิตในยุคน้ี มนั ช่างสับสนอลมา่ น เหมือนอาศัยอยู่ในคณะละคร
สัตว์ ทีม่ ที ้ังผูค้ นที่แปลกประหลาด ตวั ตลก และฝูงสตั ว์นานาพนั ธุ์ ทมี่ ี
กจิ กรรมการละเล่นเส่ียงตายอย่รู อบตวั ทุกการแสดงทส่ี รา้ งสีสนั ใหผ้ ชู้ ม
นั้น ล้วนแล้วแตม่ ีความเสี่ยง และต้องออกแบบการแสดงอยา่ งมีเหตผุ ล
ด้วยความพอดี และต้องปลอดภัย ตอ้ งฝึกซ้อม ปรับหวั ใจ สมอง และสอง
มอื ใหพ้ รอ้ มเสมอ พลาดไมไ่ ดแ้ มแ้ ตค่ รงั้ เดยี ว และการสร้างความสมดุล
ท่สี วยงาม คอื หวั ใจของการแสดง ดังนน้ั จงหมัน่ ฝึกฝนการโยนบอลไวใ้ ห้
ชำ�นาญ

ความสบั สนวนุ่ วาย เปลย่ี นแปลง กลบั ไปกลบั มา หมุนเวยี น ฉวัดเฉวียน จน
ทำ�ใหเ้ รา งงงวย คอื ธรรมชาตขิ องโลกยุคใหม่

จงปรับใจ ยอมรบั มัน

เพราะความจรงิ ของโลกยุคใหม่ กเ็ ปน็ แบบน้ีนี่เอง เม่อื เรายอมรับมันได้ เรา
กจ็ ะมองมนั ในมุมใหม่ ... ทำ�ใหเ้ ราเหน็ ภาพความงดงามของชีวติ แบบใหม่ ซึ่ง
เตม็ ไปดว้ ยสีสนั สนกุ สนาน ต่นื เต้น แปลกใจ และคาดเดาอะไรไมไ่ ด้

มนั กเ็ หมอื นการใช้ชีวติ อยใู่ นคณะละครสตั วด์ ี ๆ น่ีเอง ทเ่ี ตม็ ไปดว้ ยฝูงลงิ ผู้
ซกุ ซน ตัวตลกที่ซ่มุ ซ่าม นักมายากลทโี ยนลกู บอล และมดี ไปมา เกา้ อ้ตี อ่
ตัวกบั จานหมุนทว่ี างบนสนั จมูกของนกั ทรงตัว นกั เต้นที่ห้อยโหนโยนตัวอยู่
เบ้อื งบน ลอยไปมาอยา่ งระมัดระวงั ไม่ให้ล่วงหล่นลงมา มนั อาจจะดูเป็นความ
สบั สนอลหมา่ น หรอื อาจจะดเู ปน็ ความงดงามของความ สมดุลในมุมมองใหม่
ทไี่ ม่เหมอื นเดมิ

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดุล 5

การโยนบอล ก็เหมือนการท่เี ราด�ำ เนนิ ชีวิตอยตู่ อนน้ี และต้องโยนไปจนกว่า
ชวี ิตจะหาไม่ ขณะที่ “สมอง” ของเราสั่งใหโ้ ยนลกู บอลสองสามลกู อยู่บน
อากาศ “สองมอื ” ของเราก็จับลูกบอลอกี หนึง่ ถงึ สองลูกเอาไว้ แลว้ โยน
ออกไปให้ตอ่ เนื่องกัน ในขณะที่ “หัวใจ” ของเรากจ็ ดจ่ออยา่ งมีสมาธิกับ
การเคลอื่ นทขี่ องลกู บอลทกุ ลูก ควบคมุ ให้ถกู จังหวะเวลา และตอ้ งแมน่ ยำ�
อยา่ งสมดุล ใชแ่ ลว้ นัน่ คอื ลกู บอลในชวี ติ จริงของเรา และอาจจะมีลูกบอลอีก
มากมายเขา้ มาเร่ือย ๆ เช่น เรือ่ งสว่ นตวั การเรยี น การงาน ครอบครัว เพ่อื น
ฝูง สุขภาพ ท่องเท่ยี ว พกั ผอ่ น และอ่ืน ๆ ขณะที่เราอยากจัดการกับลูกบอล
ทกุ ลูกใหเ้ ป็นระบบ และอยากเก็บรักษาลกู บอลบางลูกไว้ไมใ่ ห้หลน่ ไป แต่ใน
ความเปน็ จริงคอื เรามีขอ้ จ�ำ กดั และทุกสิง่ ทุกอยา่ งต่างหมนุ ไปตามวิถีของมนั
ลกู บอลบางลูกกไ็ ปไดด้ ี บางลกู ก็หลน่ ไป เราเลือกเก็บลกู บอลไว้ไมไ่ ด้ทง้ั หมด
หรือบางครั้งจงั หวะก็พาให้ลกู บอลบางลกู หลน่ หายไป หรือยงั คงวนเวยี นอยใู่ น
วงแค่เพียงระยะหนง่ึ เทา่ น้ัน
ลกู บอลของชีวติ คุณคอื อะไร หัวใจ สมอง และสองมอื ของคุณ ทำ�งานสอด
ประสานกันดหี รือยัง

ศาสตร์แห่งความสมดลุ 6

ศาสตรแ์ ห่งความสมดุล

พอเพยี ง ... ย่ังยืน

การแสดงส่วนใหญใ่ นคณะละครสัตว์ ต่างออกแบบจากความมหัศจรรยข์ อง
ความสมดุล ผา่ นการจัดฉากท่ีเสยี่ งอันตราย พิษดาร และแทบจะเป็นไปไม่
ได้ เช่น นกั เต้นทีเ่ ดินบนเสน้ ลวดเสน้ บาง ๆ ท่อี ย่สู ูงขน้ึ ไปเทา่ กับตึกหลายชัน้
นักต่อตวั บนเก้าอ้ที ดี่ เู หมือนจะหล่นลงมาไดท้ กุ ขณะ นักขี่จักรยานลอยฟ้าที่
ตอ้ งแสดงกายกรรมเหว่ียงหมนุ บนสองล้อ นักดดั ตนผู้ยืนกระต่ายขาเดียว
เหมอื นนกฟลามงิ โก ทุกสง่ิ ลว้ นเป็นความลบั ของความสมดลุ ทนี่ ่าพศิ วง และ
สามารถแปลความ ถอดรหสั มาใช้ในชีวิตประจำ�วนั ของเราได้

นกั กายกรรมฝกึ ฝนรา่ งกายให้สร้างความสมดลุ ด้วยการฝกึ พัฒนากลา้ ม
เนื้อมดั ต่าง ๆ ให้แขง็ แรงขน้ึ และเรากส็ ามารถ ฝึกความคดิ และจิตใจ ให้
แขง็ แกรง่ ได้ ด้วยวธิ ีท่คี ล้ายกนั ทกุ อยา่ งอยูท่ ีก่ ารฝึกฝน

การฝกึ ความแขง็ แกรง่ ของจติ ใจสมองและสองมอื กค็ อื การฝกึ “วชิ าพอเพยี ง”
นน่ั เอง

แล้วทำ�ไมความสมดุลจึงสำ�คัญนัก อะไรคือประโยชนท์ ่เี ราจะไดร้ บั จากการ
ปรับสมดุลของชวี ติ ของเราใหม่ ทำ�ไมเราไมใ่ ช้ชวี ิตไปเรอื่ ย ๆ แบบที่เราคุ้น
เคย ไมเ่ ห็นตอ้ งใส่ใจปรับความสมดุลอะไรเลย

อาจจะใช่ สมดุลแหง่ ชวี ติ อาจจะเหมือนทำ�ได้งา่ ย เพราะสงั คมของเรามี
บรรทัดฐานเรอ่ื งทางสายกลาง และความสมดุลไว้บา้ งแล้ว อยา่ งน้อยกเ็ ปน็
มาตรฐานขัน้ ตํ่า เพ่อื เปน็ แนวทางไมใ่ หเ้ ราใชช้ ีวติ แบบสดุ โตง่ เกนิ ไป แต่
บรรทัดฐานเหล่านั้นท่ีจริงแล้วยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอท่ีจะทำ�ให้การใช้
ชีวติ มีประสทิ ธิภาพ และมคี วามสขุ ทยี่ งั่ ยืนได้

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดลุ 7

ลองหยุดคิดเรือ่ งอื่น ๆ และเรอื่ งของคนอ่ืน ๆ แล้วหันมาให้เวลากบั การคร่นุ คิด
เรื่องของตวั ของเราเองจะดไี หม คดิ วา่ อะไรสําคญั อะไรไม่สำ�คัญ อะไร
จำ�เป็น อะไรไม่จำ�เป็น อะไรสนกุ อะไรไม่สนุก พยายามรู้จักตวั เองให้มาก
ข้ึน พยามยามเขา้ ใจเปา้ หมาย และความหมายของชวี ิตของเรา พยายาม
คน้ หาความหมายของค�ำ ว่าสมดุลของตัวเราดว้ ยการ “ระเบดิ จากข้างใน”

ด้วยความรู้ต่าง ๆ ที่เรามี เราเริ่มตน้ ดว้ ยการค้นหาความหมายของค�ำ ว่า
สมดลุ ของตัวเรา เมอ่ื เราพบความสมดุลของเราแล้ว ความสมดลุ จะนำ�พาเรา
ไปส่คู วามกลมกลืน ความกลมกลนื จะนำ�พาเราไปสูค่ วามเจริญร่งุ เรือง ความ
เจรญิ รงุ่ เรอื งจะน�ำ พาเราไปสูค่ วามพงึ พอใจ และในทส่ี ดุ ความพงึ พอใจน�ำ พา
ไปสเู่ ปา้ หมายและความหมายของชีวิตตามที่เราตง้ั ไว้ เมือ่ พบความหมายของ
ชีวิตแล้วก็จะเกิดความสุขท่จี ะนำ�ไปสู่

“ความยัง่ ยนื ”

เมอื่ คุณศกึ ษาศาสตรแ์ ห่งความสมดลุ นีส้ �ำ เรจ็ กจ็ ะเหมอื นคุณเปล่ยี นชิปเซท
ใหม่ ให้กบั ระบบปฏิบตั ิการของคณุ คุณจะพบกับความงดงามแบบใหมข่ อง
ชีวติ มุ่งสเู่ ปา้ หมายความส�ำ เร็จใหมด่ ว้ ย “ความพอเพียงและย่งั ยนื ”

ดงั นั้น จงใชเ้ วลาสว่ นใหญ่กบั การตอบค�ำ ถามต่าง ๆ ท่วี างไวเ้ ปน็ ระยะ เพ่อื
คน้ หาความลกึ ลบั และพลังทซี่ ่อนอยใู่ นตวั คุณ แลว้ ปรบั ปรงุ พฒั นาตวั เอง
ใหด้ ีขึ้นจากภายใน

คณุ พร้อมหรือยัง ...

ศาสตร์แหง่ ความสมดุล 8

HEART HEAD HAND

หัวใจ สมอง และสองมือ

หนังสอื เล่มน้ี จะเป็นตวั ชว่ ยน�ำ ทาง ช่วยเราค้นหาว่าในแตล่ ะเรื่อง เรามีความ
คดิ อย่างไร เรามีความสมดุลแคไ่ หน เรามอี ะไรอยบู่ ้างแลว้ แล้วจะต้องปรบั
เปลี่ยนอะไร อย่างไร ตามหลกั การของ “หวั ใจ สมอง และสองมอื ”
หัวใจ: เราจะปรับจิตใจใหม่อยา่ งไร เราควรจะรู้สกึ แบบไหน สิง่ ทีเ่ ราทำ�ลงไป
ทำ�ด้วยใจจรงิ หรือเปลา่ ทำ�ไมเราตอ้ งทำ�ความดี การให้ การกศุ ล การอทุ ศิ
ตน การเหน็ อกเห็นใจ จติ อาสา แล้วเราจะแยกแยะและสร้างความสมดุลของ
ประโยชน์สว่ นรวม และความสุขสว่ นตนไดอ้ ยา่ งไร เราพอเพยี งหรอื ไม่
สมอง: เราจะปรบั ทศั นคตใิ หม่ ความคดิ ใหม่ ขบวนการและวธิ คี ดิ ใหมอ่ ยา่ งไร
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราคิดถูกแล้ว เราคดิ เรอื่ งความสมดลุ ในกีม่ ติ ิ เราคิด
เร่อื งความย่งั ยืนตลอดเวลาหรอื ไม่ แลว้ จะมรี ะบบวัดผลอยา่ งไร
สองมอื : เราจะปรบั ความสมดลุ ใหมใ่ นตวั เราไดอ้ ยา่ งไร การสรา้ งความสมดลุ
ด้วยสองมอื ใหม่นัน้ ต้องอาศัยหวั ใจใหม่ และสมองใหม่ เป็นพื้นฐาน และท้งั
สามส่วนตอ้ งท�ำ งานสอดประสานกัน ทง้ั หวั ใจ สมอง และสองมอื ทเี่ ปน็ สาม
สง่ิ ใหม่ทีเ่ ราต้องเรียนร้แู ละฝึกฝนให้ชำ�นาญ

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดลุ 9

คำ�ถาม: ท่มี กั วนเวียนให้เราหาคำ�ตอบ
หัวใจ มกั จะตง้ั ต้นค�ำ ถามด้วยค�ำ ว่า “ทำ�ไม ... WHY” เพอ่ื ใหเ้ ราค้นหาแรง
จูงใจ ที่ซอ่ นอยู่ลึก ๆ ในจติ วิญญาณของเรา
สมอง มักจะตง้ั ตน้ ค�ำ ถามด้วยค�ำ ว่า “อะไร ... WHAT” เพอ่ื ใหเ้ ราเขา้ ใจวา่
เราคิดอะไรอยู่ มนั ถกู ต้องแลว้ หรือไม่
สองมอื มักจะตั้งตน้ คำ�ถามด้วยคำ�วา่ “อย่างไร ... HOW” เพ่อื ให้เราเขา้ ใจ
ว่าเราจะท�ำ ส่งิ ต่าง ๆ ใหส้ ำ�เรจ็ ได้อย่างไร
และในหนงั สือเล่มน้ี จะเตม็ ไปดว้ ยค�ำ ถามมากมาย ท่คี �ำ ตอบเปน็ ของผอู้ า่ น
แตล่ ะคน ซ่งึ จะแตกตา่ งกนั ไป ถึงแม้ผอู้ า่ นคนเดยี วกันก็อาจจะมีค�ำ ตอบท่ี
ตา่ งกัน เมือ่ เวลาเปล่ียนไป
จงเตรียมการอา่ นดว้ ยหัวใจ มใิ ช่ด้วยสายตา
คณุ พร้อมจะตอบคำ�ถามหรือยัง หัวใจคณุ พรอ้ มหรือไมท่ ีจ่ ะเริ่มค้นหา
ความลล้ี ับและพลังในตัวคณุ

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดลุ 10

“เสน้ ทาง”

1 บริกรผ้คู ลอ่ งแคล่ว กบั นักว่งิ ลมกรด

คุณรู้เส้นทางของคณุ หรือยัง

มอี ะไรบา้ งทีเ่ หมอื นกนั ระหว่างนกั วิง่ มาราธอน กบั บริกรในรา้ นอาหาร
ภารกจิ ทเ่ี หมือนกนั ของทัง้ สองคน คือการเคลอ่ื นท่เี ข้าหาเปา้ หมายของเขาให้
รวดเร็วที่สดุ ใช่หรือไม่ แต่แน่นอน ส่งิ ทีแ่ ตกต่างกนั อยา่ งมากกค็ อื ทศิ ทาง

นกั วง่ิ มาราธอน วงิ่ จากจุด Start ไปสู่จดุ Finish เปน็ เสน้ ตรงให้เร็วทสี่ ดุ สว่ น
บรกิ รตอ้ งไปบรกิ ารตามโตะ๊ ตา่ ง ๆ หลายจดุ วนเวียนไปมา ในหลายทศิ ทาง
ตามค�ำ ส่ัง และการร้องเรียกของลกู คา้

เราคาดหวังว่าการเดินทางของชีวิตว่าน่าจะง่ายดายตรงไปตรงมาเหมือน
ทศิ ทางของนกั วง่ิ มาราธอน แตใ่ นความเปน็ จรงิ แลว้ ชวี ติ ของเราตอ้ งท�ำ สง่ิ ตา่ ง ๆ
มากมาย มีอะไรเขา้ มาทกุ ทศิ ทุกทาง เปลยี่ นแปลงฉับพลนั โดยมิได้คาดหวัง
เหมือนทศิ ทางของบริกรรา้ นอาหาร และถึงแม้จะวางแผนไว้ดีเท่าใด กม็ กั จะมี
เหตุการณ์เฉพาะหนา้ ท่ที �ำ ให้แปลกใจไดเ้ สมอ และนค่ี ือชีวิตจริงในโลกยคุ ใหม่
เมอื่ เราเข้าใจ และทำ�ใจยอมรับไดแ้ ลว้ เราจะเห็นความงดงามของสมดุลในมมุ
มองใหม่ ตามความเปน็ จรงิ

เราตอ้ งรักษาความสมดุลในจินตนาการทีเ่ ราอยากเคลอื่ นที่ กา้ วหน้าเป็น
เสน้ ตรงให้ประสบความส�ำ เร็จเรว็ ทส่ี ดุ แต่ในความเป็นจรงิ ชีวติ มีอุปสรรค
มากมาย และมีพลังต่าง ๆ ท่บี างครั้งกเ็ ปน็ แรงถ่วงทด่ี ึงเราไว้ บางครั้งกเ็ ป็น
แรงผลักดนั ทถ่ี ีบเราออกไป และบางคร้ังก็เป็นแรงเบ่ยี งที่กระแทกเราใหอ้ อก
นอกลู่นอกทาง ทำ�ให้ชีวิตของเราไม่ก้าวหนา้ เป็นเส้นตรง และไม่สามารถเดนิ
ทางสู่เปา้ หมายความสำ�เรจ็ ไดง้ ่าย ๆ

ศาสตร์แห่งความสมดุล 11

ดังนน้ั ทกั ษะในการหาเส้นทางที่ถกู ต้อง ในแบบของตนเอง ด้วยทศิ ทาง และ
ความเร็วทเี่ รากำ�หนดเองจะเป็นส่ิงส�ำ คญั แมเ้ ราจะเจอเสน้ ทางที่ใช่ของเรา
แล้ว แต่ก็มไิ ดค้ งทนถาวร โลกเปลย่ี นไป ปัจจัยรอบด้านเปล่ยี นไป มีเส้น
ทางใหม่ ๆ และอุปสรรคใหม่ ๆ เข้ามาตลอดเวลา และในบางครั้งตัวเราเอง
กเ็ ปล่ียนไปด้วย จงึ ต้องเตรยี มใจท่ีจะปรบั ทศิ ทางการเดนิ ทางอย่างสมาํ่ เสมอ
ข่าวดคี อื เราสามารถปรับเสน้ ทางของเราไดเ้ อง เมื่อไรก็ได้ ท่ีไหนกไ็ ด้ บอ่ ย
ครง้ั แค่ไหนก็ได้ เพราะเราคือผูค้ วบคมุ เสน้ ทางชวี ิตของเราเอง

เส้นทางชวี ิตของคณุ เป็นอยา่ งไร ใครเปน็ คนกำ�หนด คณุ ปรบั เส้นทางบ่อย
แคไ่ หน

BF

DE

C
B

A A

Runner Waiter

ศาสตร์แหง่ ความสมดลุ 12

หัวใจ: ทำ�ไมคุณจึงต้องกำ�หนดเส้นทางชีวิตของคุณเอง
เส้นทางชีวิตของคุณผ่านผู้คนท่ีต้องการความช่วยเหลือบ้าง
หรอื ไม่ แลว้ คณุ เคยหยดุ พดู คยุ และชว่ ยเหลอื พวกเขาบา้ งไหม
คุณอยากจะลองปรับเส้นทางชีวิตใหม่เพื่อที่จะช่วยเหลือ
ผู้คนต่าง ๆ ได้มากขึน้ หรอื ไม่ เส้นทางชวี ติ ใหมข่ องคุณจะ
สร้างความเปลีย่ นแปลงให้โลกใบนไ้ี ดอ้ ยา่ งไร
สมอง: อะไรคอื เส้นทางชวี ติ แบบที่เหมาะกบั คุณ อะไรจะ
ชว่ ยใหค้ ณุ คน้ หาเส้นทางชีวิตทีใ่ ช่ คณุ จะออกแบบเสน้ ทาง
ชวี ิตใหม่ที่เหมาะกับคณุ ได้ไหม เสน้ ทางของคณุ มีอะไรที่
สะทอ้ นความพอเพียงบา้ ง
สองมอื : ในเส้นทางชีวิตใหม่คุณมีแผนการเดินทางอย่างไร
คุณจะเดินทางในเส้นทางใหม่ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
คณุ จะพัฒนาส่ิงต่าง ๆ ตามเสน้ ทางใหย้ อดเยี่ยมไดอ้ ย่างไร
และเส้นทางชีวติ ของคณุ มีความยั่งยนื แค่ไหน

ศาสตรแ์ ห่งความสมดลุ 13

“วธิ กี าร”

2 นกั สบื เอกชน กบั ศิลปินชา่ งฝัน

ตา่ งวิธี สเู่ ป้าหมายเดยี วกนั ในการค้นหาความจรงิ

มีอะไรที่เหมือนกนั ระหวา่ งนกั สืบเอกชน กับศลิ ปินชา่ งฝนั ท้ังคู่เปน็ อาชพี
อสิ ระทห่ี ลายคนใฝห่ า ทัง้ คู่ต่างมีเป้าหมายเดียวกนั นั่นคือการค้นหา “ความ
จรงิ ” แต่ทัง้ คู่มีวธิ ีการทำ�งานทต่ี า่ งกัน เคร่ืองมือท่ีใช้ก็ตา่ งกนั ภาพลักษณ์ของ
แต่ละคนกต็ า่ งกัน และแรงบันดาลใจก็ตา่ งกนั ดว้ ย
ขณะที่นกั สบื มองหาขอ้ เท็จจรงิ ตามหลักฐาน พยายามประติดประตอ่
เหตกุ ารณ์ วา่ เกดิ ขึ้นอยา่ งไร ท่ไี หน และเมื่อไร พยายามรวบรวมข้อมลู
วิเคราะห์ เพื่อเสาะหาความจรงิ ให้ปรากฏ ดว้ ยหลกั การและเหตุผล ของความ
จรงิ ทเ่ี ป็นรปู ธรรม
ส่วนศิลปิน มกั จะเรมิ่ ตน้ ค้นหาความจรงิ จากคำ�ถามว่าทำ�ไม มากกว่าอยา่ งไร
และอะไร มากกวา่ เมอ่ื ไร สายตาของเขามองหาภาพใหญแ่ ละในขณะเดียวกนั
ก็เจาะลกึ เขา้ ไปในอณขู องจิตวิญญาณ แลว้ ค่อย ๆ ต่อจิกซอว์ชิ้นเลก็ ๆ เข้า
ดว้ ยกัน โดยใชค้ วามรู้สึก จนิ ตนาการ อิสรภาพ และความอ่อนเยาว์ ในการ
คน้ หาความจรงิ ท่ีงดงาม และเปน็ นามธรรม
ความสมดุล คือการท่ีเราพยายามสรา้ งความสมั พันธข์ องทง้ั สองโลก ใช้
ศาสตร์ทง้ั สองใหส้ อดประสานกันอย่างกลมกลืน บางครัง้ เราใชส้ มองซกี ซ้าย
บางครง้ั เราใชส้ มองซีกขวา บางครัง้ เราใช้ตรรกะ หลกั การ และเหตุผล และ
บางครั้งเราใช้อารมณ์สนุ ทรีย์ และจนิ ตนาการ จงเลอื กวิธีการใหเ้ หมาะสมกบั
เรา และเลือกใหเ้ หมาะกบั สถานการณ ไม่วา่ จะใช้วธิ กี ารไหน ปัญหากจ็ ะถูก
แก้ไปแลว้ คร่ึงหน่ึง

ศาสตรแ์ ห่งความสมดลุ 14

คณุ กำ�ลงั ค้นหาความจริงเรื่องอะไรอยู่ แล้วคุณจะใชว้ ิธกี ารแบบไหน

Head Imagination
Facts Hear�
Research
Tr�th Creation
Investigate
Dreams
St�dying
Feelings

หัวใจ: ทำ�ไมเราควรค้นหาวิธีการท่ีเหมาะสมที่จะพาเราสู่
เป้าหมาย อะไรคือความจรงิ ความหมาย และเปา้ หมาย
ของชีวิต

สมอง: คณุ กำ�ลงั แสวงหาอะไรกนั แน่ อะไรคอื วิธกี ารท่มี ี
ประสทิ ธภิ าพทจี่ ะท�ำ ใหค้ ณุ ประสบความส�ำ เรจ็ อะไรคือ
ความหมายของคำ�ว่า “ความจรงิ ” ที่พอเพียง และยงั่ ยืน
ในมุมมองของคณุ อะไรคอื วิธีทจ่ี ะท�ำ ให้คณุ ค้นพบตัวเอง

สองมอื : คุณจะมีวิธีค้นพบความจริงท่คี ุณอยากร้ไู ด้อย่างไร
วิธีการทำ�งานของคุณจะนำ�ไปสู่ความย่ังยืนได้อย่างไร
ความจรงิ ความหมาย และเป้าหมายชวี ิตของคุณเป็น
ประโยชน์ หรอื เปน็ โทษกับโลกใบนี้

ศาสตรแ์ ห่งความสมดุล 15

“ความคิด”

3 พอ่ ครวั หวั ปา่ ก์ กับ นักวิทยาศาสตร์สตเิ ฟอ่ื ง

วิธีผสมทีล่ งตวั ไมม่ ากไปไมน่ อ้ ยไป

พอ่ ครวั หัวปา่ ก์ กับนักวทิ ยาศาสตร์ตา่ งกนั อยา่ งไร พ่อครวั หวั ปา่ ก์ หรอื
สมยั น้เี รามกั จะเรียกวา่ เชฟ เมื่อเขาอย่ใู นครัว เพอื่ ทำ�อาหารจานเลิศ เขามกั
จะแสดงความเป็นศิลปนิ จดั โน่น ผสมนี่ คลุกเคลา้ เครื่องปรงุ ตา่ ง ๆ อย่าง
กลมกล่อม ด้วยศิลปะช้นั สงู ดว้ ยทว่ งทา่ สง่างาม มีสไตล์ อยใู่ นอาณาจกั รอนั
แสนรนื่ รมย์ของเขา

การปรุงอาหารจานเลศิ แตล่ ะเมนู มิไดม้ ีสตู รส�ำ เรจ็ ตายตวั ที่ต้อง ช่งั ตวง วัด
ให้เป๊ะทกุ ครั้ง แต่ต้องอาศัยประสบการณ์ และจนิ ตนาการ ผสมสตู ร เตมิ
เครอื่ งปรงุ คลกุ เคล้าเครอ่ื งเทศ ตามวตั ถุดบิ ท่ีมี ตามอารมณข์ องอาหารจาน
นนั้ เพอ่ื ใหไ้ ด้ความกลมกล่อม เขาอาจะชิมรสชาติ ดมกลน่ิ ดคู วามพอดี และ
เตรยี มท่ีจะจดั เสิรฟบนชดุ ภาชนะทอี่ อกแบบไว้ ดว้ ยจนิ ตนาการอนั บรรเจดิ

ในทางกลบั กัน นักวทิ ยาศาสตร์เตรยี มการทดลองในห้องทดลองอนั ทนั สมัย
ลาํ้ ยคุ ทเ่ี ตม็ ไปดว้ ยเคร่อื งชั่ง ตวง วัด ที่มีมาตรฐาน เขาผสมสูตรต่าง ๆ อย่าง
แม่นยำ� มีการชง่ั ตวง วัด ทุกครั้ง มีระบบระเบยี บขัน้ ตอน มขี บวนการทีถ่ ูก
ก�ำ หนดไว้ มีกรอบการท�ำ งานทช่ี ดั เจน มกี ารจดบันทึก เขาจะไม่ท�ำ ตามอ�ำ เภอ
ใจของเขา เพราะเขาตอ้ ง สังเกต ตดิ ตาม ประมวลผล บนั ทกึ และสามารถ
ทำ�ซํ้า ขยายผลได้ และตอ้ งควบคุมผลให้ถูกต้อง แมน่ ยำ� ชดั เจนทกุ ครัง้ การ
ทำ�งานแบบนกั วทิ ยาศาสตร์นัน้ มขี ้อดีมากมาย ท�ำ ใหเ้ ราคน้ พบส่งิ ใหม่ ๆ แต่
ในบางครัง้ กย็ ากท่ีจะทำ�นอกห้องทดลอง หรอื ออกนอกกรอบท่ตี ง้ั ไว้ได้

ศาสตร์แห่งความสมดลุ 16

ทง้ั เชฟ และนกั วิทยาศาสตร์ ตา่ งมวี ิธีคดิ ในการทำ�งาน ในแบบของวิชาชพี ของ
แต่ละคน มขี ้อดขี อ้ เสยี กันคนละอยา่ ง ไมม่ ีแบบใดผิด แบบใดถกู ไมม่ ีแบบ
ใดที่ดีกว่ากัน และผลงานของเขาทัง้ สอง ต่างประสบความสำ�เรจ็ ในโลกแห่ง
ความจรงิ คนละใบ ในคนละวงการ

ทัง้ เชฟ และนักวทิ ยาศาสตร์ ตา่ งใช้วิธีคดิ กันคนละอยา่ ง ใช้สมองกนั คนละ
ดา้ น เพอ่ื สรา้ งสรรค์ผลงานท่ีล้าํ เลศิ ไม่แพ้กัน และในโลกสมยั ใหมท่ ี่มคี วามซับ
ซอ้ นแปรผันมากข้ึน เรามักจะเหน็ นวตั กรรมใหม่ ๆ จากเชฟรุ่นใหมท่ ่ใี ชว้ ธิ ี
คิดแบบนักวิทยาศาสตร์ และในทางกลับกัน เราก็มักจะเหน็ นักวิทยาศาสตร์
รุ่นใหม่คดิ นอกกรอบ ใช้ศิลปะ และจินตนาการมากขนึ้ เหมอื นวธิ คี ิดของเชฟ

วธิ ีคิดของคณุ เป็นแบบไหน คุณเคยแกป้ ัญหาด้วยวิธคี ดิ ที่แตกต่างกันบา้ ง
หรือไม่

The Realit� Creation Process

Flexible Fixed
Open minded Method
Measured
By eye Evidence
Feeling Protocol
Dreams

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดุล 17

หวั ใจ: ทำ�ไมการแกป้ ัญหาต่าง ๆ ถงึ มีวิธีคดิ ไดห้ ลายวธิ ี ท�ำ ไม
ตอ้ งวดั ค่าของการท�ำ ความดี หรืองานจติ อาสา การวดั น้ันมี
ประโยชนห์ รือไม่ และคุณจะน�ำ คา่ จากการวัดผลมาปรบั ปรุง
พฒั นางานอย่างไร
สมอง: อะไรคอื ตวั ชว้ี ดั ของความส�ำ เรจ็ ของชวี ติ ตวั ชว้ี ดั ตา่ ง ๆ
ทส่ี �ำ คญั มอี ะไรบา้ ง เราจะวดั ความสมดลุ ความกลมกลนื ความ
กดดนั ดว้ ยอะไร ทง่ี า่ ยและใหค้ า่ ทถ่ี กู ตอ้ งแมน่ ย�ำ
สองมอื : การวัดค่า “ความพอดี” ของสรรพสงิ่ ควรใชม้ าตรวดั
ต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ หรือ ความร้สู ึก ประสบการณ์ อย่างไร
จงึ จะเหมาะสม หรอื ต้องวดั ทัง้ สองอย่าง แล้วเราจะวดั ได้
อยา่ งไร

ศาสตรแ์ ห่งความสมดลุ 18

“เปา้ หมาย”

4 แรงปรารถนา กบั ความหมายของชวี ิต

ส่งิ ที่คิด กบั สิ่งท่ที ำ� ไปทางเดยี วกันหรือไม่

มนษุ ยเ์ ราต่างจากสตั วโ์ ลกอ่นื ๆ อย่างไร ความเปน็ มนุษย์ คือส่วนผสมของ
แรงปรารถนา และความหมายของชวี ิต ท่ีห้มุ หอ่ ดว้ ยเน้ือหนงั กระดกู และ
จิตวญิ ญาณ ตัวเราก็คลา้ ยกบั ห่นุ ยนต์ ที่ด�ำ เนนิ ชีวติ ไปวนั ๆ ทำ�โน่นทำ�น่ี
สรา้ งสรรคบ์ างส่ิง และกท็ ำ�ลายบางส่งิ พฤตกิ รรมของเราบางทีอาจจะถูกส่ัง
การด้วยกล่องด�ำ ในสมอง หัวใจ หรือทใ่ี ดสกั แหง่ ที่เราแทบไมเ่ ข้าใจระบบคิด
ระบบสั่งการนั้นเลย

แรงปรารถนา และความหมายของชีวิต ท�ำ ใหเ้ ราเปน็ มนุษย์ ท�ำ ให้เราแตกต่าง
จากสตั วท์ วั่ ไป ท�ำ ใหเ้ รามคี ณุ ค่า ทง้ั จติ ใจ ความปรารถนา และ สาระ ความ
หมาย ต่างท�ำ งานเปน็ อสิ ระ มกี ารเชื่อมโยงสอดประสานกนั เปน็ บางคร้ัง แรง
ปรารถนาจะสะท้อนส่ิงท่ีเราคิด สิ่งท่เี ราตอ้ งการ ในขณะที่ความหมายของชีวิต
จะน�ำ เราไปส่กู ารปฏบิ ัตกิ ารเพ่อื ใหไ้ ดม้ าซงึ่ ความหมายน้นั ถ้าเราเข้าใจระบบ
คดิ และระบบปฏิบตั การของเรามากขึน้ และสร้างสมดุลเขอื่ มโยง ให้ความคิด
ความปรารถนา นำ�ไปส่สู าระทม่ี คี วามหมาย ทป่ี ฏิบัติได้จรงิ จะท�ำ ให้เรามชี วี ิต
ทม่ี คี วามสุขอยา่ งยั่งยืน

แต่ในความเปน็ จริง กลอ่ งด�ำ ในตัวเราท่คี วบคุมแรงปรารถนา และความหมาย
ของชีวติ นั้น มักจะไปกนั คนละทาง สวนทางกนั เสมอ และมักจะขัดแย้งกนั
ถกเถียงกนั อยูใ่ นหวั ของเราเสมอ ตา่ งแยง่ กันกระซิบเขา้ ไปในหขู องเราให้เรา
ทำ�โนน่ ทำ�น่คี นละอยา่ ง เมื่อเราคิดอย่างหนง่ึ ตามแรงปรารถนาส่ิงนนั้ แตเ่ มอ่ื
เราออกไปปฏบิ ตั ิ เราอาจะท�ำ อีกอยา่ งหนงึ่ ตามท่ีกลไกความหมายของชวี ติ
ก�ำ หนดไว้ บางทีก็ทำ�ตรงกนั ข้าม ผลทไี่ ดก้ ค็ อื สง่ิ ทที่ �ำ ไมต่ อบโจทย์ในสิง่ ทคี่ ดิ

ศาสตร์แห่งความสมดุล 19

ทปี่ รารถนา กม็ ักจะไม่มคี วามสุข ไม่ประสบความสำ�เร็จในชีวติ ดังทตี่ ั้งใจไว้

เราคงไม่เก่งระดับเทพท่ีจะควบคุมท้ังสองสิ่งในตัวเราน้ีให้สมดุลได้ตลอดเวลา
ซ่งึ กไ็ มเ่ ปน็ ไร ขอใหเ้ ราเขา้ ใจวา่ ทใ่ี ดสักแห่งในตวั เรามีของสองสิง่ น้ีซอ่ นอยู่
และมกั ขดั แยง้ กันเสมอ ซ่ึงเราจะต้องประสานการทำ�งานของสองส่งิ นี้ใหเ้ นียน
ให้ลงตัว การควบคุมความสมดลุ ใหแ้ รงปรารถนา และความหมายของชวี ติ
ไปในทศิ ทางเดยี วกันจึงเป็นส่งิ ที่สำ�คญั ยง่ิ เม่ือส่งิ ที่มคี วามหมายในชวี ิต เป็น
ส่งิ ที่หัวใจปรารถนาแลว้ น่ันคือจดุ เรมิ่ ตน้ ของความสมดลุ

อะไรคอื สิ่งทคี่ ุณปรารถนา และอะไรคอื ความหมายท่ีแท้จรงิ ของชวี ิตของ
คณุ แลว้ ทัง้ สองสง่ิ น้ี ไปทางเดียวกันหรือไม่

Knowing Owning Pavlov

Leading Reg�ets Feel Following
Joy Thoughts Att�act Actions Pleasure
Energ�
St�ess Mental Results Physical

Love Satisfied

Enlightened Lust

Mind Matter

ศาสตร์แห่งความสมดุล 20

หัวใจ: ท�ำ ไมแรงปรารถนาของคณุ จงึ ส�ำ คญั แรงปรารถนา
พาคณุ ไปสคู่ วามสงบสขุ หรอื ไม่ และความหมายของชวี ติ ของ
คณุ ไปทางไหน ทางเดยี วกันหรือเปล่า ท�ำ ไมเราควรปรับแรง
ปรารถนา และความหมายของชีวติ ใหไ้ ปทางเดยี วกนั
สมอง: อะไรมีอิทธิพลกับคุณมากกว่ากันระหว่างสิ่งท่ีคุณคิด
กับส่งิ ทคี่ ณุ ทำ� ช่วงไหนของชวี ิตทค่ี ณุ ใชค้ วามปราถนาของ
จติ วญิ ญาณ ชว่ งไหนท่คี ุณใช้ตรรกะของความหมาย อะไรจะ
ช่วยใหค้ ุณจะฟังความคิดจากท้ังสองดา้ นอย่างสมดลุ
สองมอื : ความรว่ มมอื กนั ระหวา่ งความปรารถนา และความ
หมายของชีวิตที่คุณได้ลงมือท�ำ จะนำ�ไปสู่อนาคตท่ยี ่งั ยนื ได้
อย่างไร คุณพอคาดเดาไดไ้ หมว่าถ้าปลอ่ ยความปรารถนา
กบั ความหมายของชีวิตในการทำ�งานอิสระ ผลจะออกมาเป็น
อยา่ งไร

ศาสตรแ์ ห่งความสมดุล 21

“สัญชาตญาณ”

5 ลยุ กบั ถอย

สญั ชาตญาณ และการตัดสนิ ใจในเสีย้ ววนิ าที

คุณรูห้ รือไมว่ า่ กลไกทสี่ ำ�คัญอีกสองสง่ิ ที่อยใู่ นกลอ่ งดำ�ของเราคอื “ความ
อ่อนโยน” และ “ความแข็งกรา้ ว” ความอ่อนโยน จะเกดิ ข้นึ เม่ือคณุ อยู่ใน
ภาวะ สงบ สบาย ปลอดภัย แตค่ วามแข็งกร้าวจะเกดิ ข้นึ เม่อื มภี ยั รุกราน
ฉกุ เฉนิ ตนื่ ตระหนก ซ่ึงท้งั สองส่ิงเปน็ สิง่ จำ�เปน็ ที่อย่ใู นสัญชาตญาณของ
มนุษยท์ ุกคน สมองของเราจะมกี ลไกทสี่ ่งั ให้รา่ งกายหล่งั ฮอร์โมนท่ีตา่ งกนั ใน
สถานการณ์ท่ตี ่างกนั เชน่ สัง่ ใหห้ ลัง่ อะดรนี าลนี ยามฉกุ เฉนิ มีภัย หรือ สงั่ ให้
หลัง่ เอน็ ดอรฟ์ ินเมื่อจิตใจของเราสงบสบาย
ในสถานการณฉ์ กุ เฉนิ เรามเี วลาไม่มากนักในการตดั สนิ ใน วา่ จะลยุ หรือจะ
ถอย เมื่อเราเดินอยู่ในป่า แลว้ เจอเสอื รา้ ยยนื ตระหงา่ น จอ้ งตาเราอย่เู บ้ือง
หน้า ในเสย้ี ววินาทีนัน้ เราคงต้องเลือกท่ีจะใช้โหมด “ความก้าวร้าว” แต่ความ
ก้าวรา้ วนน้ั จะไปทางใด จะลยุ ไปขา้ งหนา้ หรือจะถอยหนี
ในชวี ิตจริง บ่อยคร้ังสถานการณม์ กั จะบงั คบั เราเขา้ สู่โหมดคับขัน ทตี่ ้องตดั สิน
ใจวา่ จะสู้ หรือจะถอย ไม่ว่าจะเป็นในช่วงเรยี นหนังสอื ในชว่ งชวี ติ การทำ�งาน
ในห้องประชุม แม้แต่ในบ้าน ในครอบครวั
เมอ่ื ถึงจุดนั้น เม่อื เราจะต้องตดั สนิ ใจ วา่ จะสู้ หรอื ถอย เราจะใชห้ ลกั อะไรใน
การตดั สินใจ
อย่างแรก เร่มิ จาก ใจของเรา ว่าที่จริงแลว้ เป้าหมายของเราคืออะไรกันแน่ จะ
สไู้ ปสุดกำ�ลัง เพอ่ื ใหไ้ ด้มาซึง่ สิง่ ทใ่ี จน้นั ปรารถนา หรือ จะถอยก่อนเพอื่ รักษา
นํ้าใจ แลว้ หาทางใหม่วันหลงั ถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจน เราจะใชเ้ หตผุ ลในการ

ศาสตร์แห่งความสมดุล 22

เลอื กท่ีจะสู้ หรอื จะถอย ซึ่งจะดกี ว่าไม่รูเ้ ปา้ หมายเลย แลว้ ใช้อารมณ์และ
ความรูส้ ึกของสถานการณ์ในการตัดสินใจ
การถอย กไ็ ม่ได้หมายความวา่ เราจะยอมแพเ้ สมอไป แต่อาจจะท�ำ ใหเ้ รา
มีเวลาพอทจ่ี ะคิดทบทวนหาวธิ กี ารใหมท่ ด่ี ีกวา่ เพ่อื ไปสจู่ ดุ หมายและควา้
ชยั ชนะได้ และบางคร้งั การชนะก็มอิ าจน�ำ มาซง่ึ สิง่ ทเี่ ราต้องการได้ท้งั หมด
เช่น การชนะสงครามดว้ ยความรนุ แรง ถงึ แมจ้ ะมีชยั ชนะ และไดค้ รอบครอง
เมอื งท่ีใจปรารถนา แตก่ ็อาจจะเป็นเมอื งทีเ่ หลอื แตซ่ ากปรักหกั พงั คราบเลือด
และนํ้าตา
คุณรจู้ กั สญั ชาตญาณของคุณดพี อหรือไม่ มนั เป็นอยา่ งไร

Relax
Healthy
Prosperit�

Fear BALANCE Anger
Freeze Action
Run away your Fight
Give up FOCUS Hunt
Sur�ive
Protect

FLIGHT FIGHT

ศาสตร์แหง่ ความสมดุล 23

หัวใจ: ท�ำ ไมสญั ชาตญาณทด่ี ี จึงทำ�ให้คุณเป็นคนที่ดีข้นึ ไม่
ว่าจะสู้ หรือถอย ในการเอาตวั รอด คณุ คิดถึงผล กระทบของ
ผู้อนื่ มากน้อยเพยี งใด การอุ้มคนอื่นไปด้วยจะเหมอื นเตย้ี อุ้ม
คอ่ มหรอื ไม่ ทำ�ไมคณุ ถงึ ต้องคิดถึงภาพรวม และเปา้ หมายใน
ทกุ สถานการณ์ ไมว่ า่ จะสู้หรือถอย
สมอง: ฮอร์โมนและสารเคมีอะไรที่ถูกปล่อยออกมาใน
ร่างกายของคณุ ในภาวะต่าง ๆ และคณุ เข้าใจมันมากน้อยแค่
ไหน มันมีผลกับการตดั สนิ ใจ และพฤตกิ รรมอะไรของคณุ
บ้าง คุณจะใชป้ ระโยชนอ์ ะไรกับสิ่งเหล่าน้ี
สองมอื : ไมว่ า่ จะสู้ หรอื จะถอย คณุ จะวางแผนใหเ้ กดิ ประโยชน์
สงู สุดได้อย่างไรเม่อื คณุ จะต้องเลอื กระหว่างสู้ หรือถอย ท่ี
เปน็ โหมด “กา้ วร้าว” คุณจะใช้ประโยชน์จากการปรับสมดุล
ไปส่โู หมด “ออ่ นโยน” ทม่ี ีสมาธิ มีความสงบได้อย่างไร การสู้
หรือถอยด้วยความสุขุม มสี ตนิ นั้ มปี ระสทิ ธภิ าพกวา่ ดว้ ย
ความกา้ วร้าวอยา่ งไร

ศาสตร์แห่งความสมดุล 24

“กิเลส”

6 ความอยากได้ กบั ความจาํ เปน็ ในชวี ติ ประจำ�วนั

บรโิ ภคนยิ มสดุ โตง่ หรอื บริโภคอยา่ งยั่งยนื

คณุ รไู้ หมวา่ ศตั รตู วั รา้ ยทส่ี ดุ ของคณุ คอื สมอง และระบบสง่ั การของคณุ เอง
เราไมค่ วรท่จี ะไวว้ างใจสมองของเราแม้แต่เสีย้ ววินาที สมองของเราไมใ่ ชเ่ พ่ือน
แท้ผจู้ งรกั ภกั ดี และไม่ไดค้ ดิ หวงั ดีกบั เราทุกเร่อื ง จะไว้ใจได้กต็ ่อเม่ือเราได้
ปราบสมองของเราให้เชื่อง และควบคุมมันไดอ้ ยา่ งแท้จริงแลว้ เทา่ นนั้

สมองของเราฉลาดกวา่ เรามาก มนั ยืดหยุน่ ล่ืนไหล เคลือ่ นไหวไมเ่ คยอยู่
น่ิง เปลย่ี นไปเปลี่ยนมา เรียนร้ตู ลอดเวลา เสาะหาความเปน็ ไปได้ใหม่ ๆ
จนิ ตนาการไปต่าง ๆ นานา ทั้งเร่ืองท่ีดี และรา้ ย สมองของเราจะพยายาม
ปรับโลกทง้ั ใบ ใหเ้ ปน็ โลกที่เหมาะกับที่สมองคิดไว้

เมอ่ื เราเปน็ เดก็ สมองเรยี นรสู้ ่งิ ทีพ่ อเพยี ง เรียบงา่ ยทส่ี ดุ แค่ “อะไรท�ำ ให้เรามี
ความสุข” และ “อะไรเปน็ สิง่ ทจ่ี �ำ เป็นในการดำ�รงชีวติ ” ซึ่ง “อาหาร” ตอบ
โจทยไ์ ดท้ ัง้ สองอยา่ ง ทัง้ พอเพียง ท้ังยงั่ ยนื

ความตอ้ งการ อยากไดส้ ง่ิ ตา่ ง ๆ ทีน่ อกเหนือจากความจำ�เปน็ กม็ ไิ ดเ้ ปน็ ส่งิ
ทเ่ี ลวร้ายอะไรมากมาย แถมยงั เปน็ แรงผลกั ดนั ให้มนุษย์ประดิษฐ์ส่ิงอำ�นวย
ความสะดวกต่าง ๆ และพฒั นาความร้ใู หม่ ๆ ส่วู ทิ ยาการท่ีก้าวหนา้ ท�ำ ให้เรา
มีส่ิงทันสมยั ทีด่ ีขนึ้ เรอื่ ย ๆ ในโลกยคุ ดิจทิ ัล โลกแหง่ อนาคต

แต่ในโลกแหง่ ความเป็นจริงในปจั จุบัน ความอยากได้ กับสิง่ ทจ่ี ำ�เปน็ ในชวี ติ
ประจ�ำ วนั มาทาบเกี่ยวกนั บนพนื้ ที่สีเทาทแี่ ยกแยะได้ล�ำ บาก บางทีสงิ่ พเิ ศษ
เกินความจ�ำ เป็น แตเ่ ราอยากได้ ก็มาอยใู่ นบัญชสี ่ิงจ�ำ เปน็ ในชีวิตประจ�ำ วนั ไป

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดุล 25

แลว้ ดูเหมอื นใจเราจะขาดสิง่ เหลา่ นั้นไมไ่ ด้เลย ท้งั ๆ ที่สิ่งเหล่าน้นั กม็ ิไดเ้ ป็น
ปจั จัยส่ี หรอื สงิ่ สำ�คญั ในการด�ำ รงชวี ติ เลย ส่งิ เหลา่ น้ัน สงิ่ ที่ไม่จำ�เปน็ สง่ิ ทีเ่ รา
ปรารถนาอยากได้เกินความจำ�เปน็ การบริโภคนยิ มสดุ โตง่ ยอ่ มนำ�มาซง่ึ การ
ทำ�ลายลา้ งทรัพยากร ความเส่อื ม ความลม่ สลาย และความไม่ยง่ั ยืน

ไม่เพียงแตเ่ ราจะแยกแยะความอยากได้ กับสิ่งจ�ำ เป็นออกจากกันได้ยากแลว้
สมยั น้ยี งั มสี ่อื โฆษณาเขา้ ถึงเราทกุ วนิ าที ท้ังทีวี บลิ บอร์ด และโซเชยี ลมเี ดยี
ตา่ ง ๆ โฆษณาแหลา่ นพ้ี ดู เหมือนกันวา่ “ของมนั ต้องม”ี จนงงไปหมดแลว้ วา่ ที่
จริงแล้วเราต้องมอี ะไรบา้ ง

วธิ ีรกั ษาสมดลุ คือ เมอ่ื เวลาคำ�ว่า “ของมนั ต้องมี” ดังขึ้นในสมอง ให้เราลอง
หยุดคิดสกั พกั วา่ ทำ�ไมตอ้ งมี จ�ำ เปน็ แคไ่ หน เรามีอะไรคลา้ ย ๆ แบบน้อี ยู่
แล้วบ้าง ถา้ มีแลว้ ชีวติ จะดขี นึ้ อยา่ งไร แลว้ ถ้าไม่มีเราจะตายไหม มนั คมุ้ ราคา
หรอื ไม่ แล้วตอนนเี้ รามพี อจ่ายไหม ฯลฯ ส่วนใหญ่เม่ือเราหยดุ คดิ แบบน้ีสัก
พัก เราแทบจะรูท้ ันทเี ลยวา่ สว่ นใหญ่คอื ส่ิงที่เราอยากมแี ตไ่ มจ่ �ำ เป็นสกั เท่าไร
แต่ถ้าเปน็ สิ่งจำ�เป็นจรงิ ๆ ก็จดั เลย แต่ไม่ตอ้ งกงั วลหรอก เพราะกิเลสมันวน
เวยี นนำ�เสนอ “ของมันต้องมี” มาอกี เรอื่ ย ๆ และเรากอ็ าจจะพลาดไดส้ กั วัน
หรือพลาดทุกวนั

ในทางตรงกันข้าม ส่ิงจำ�เปน็ ในชวี ิต มกั จะเปน็ อะไร พน้ื ๆ เรียบงา่ ย ไมม่ ี
สสี นั ไมไ่ ดก้ ระตนุ้ ให้หัวใจเตน้ ระรวั อยากได้ แต่ถา้ เราขาดส่งิ เหลา่ น้ัน จะ
ด�ำ รงชีวติ ด้วยความยากล�ำ บาก

อะไรคือชวี ิตท่ียัง่ ยืน ชีวิตท่ีย่งั ยืนจะสัมพนั ธก์ บั พฤติกรรมการบริโภคอยา่ ง
ยัง่ ยนื ที่ไมไ่ ด้มสี ง่ิ ตา่ ง ๆ เกินความจำ�เปน็ อาจจะมสี ิง่ ทเ่ี ราตอ้ งการ ส่งิ ที่
ใจปรารถนาไดบ้ ้าง แตต่ ้องไมม่ ากเกนิ ไป ต้องไม่เบยี ดเบยี นทรัพยากรของ
โลก ต้องไมท่ �ำ ให้การเงินของเรามปี ญั หา และไมไ่ ด้มีไวเ้ พอื่ โอ้อวดในวงสังคม

ศาสตร์แหง่ ความสมดุล 26

What What บริโภคนิยมสุดโตง่ มไิ ดพ้ าโลกของเราสู่ความ
you you want หายนะเรว็ ข้ึนเทา่ นน้ั แตม่ ันท�ำ ลายเศรษฐกจิ
act�ally ครัวเรือน ชุมชน และสรา้ งหน้ีสินที่ไมจ่ ำ�เปน็
need What อีกด้วย
you think
you need
What
you think
you want

Stat�s Solves ชีวิตท่ีพอเพียงต้องรักษาสมดุลแห่งความอยาก
sy�bol a problem ได้ และสิง่ ทีจ่ �ำ เป็นในชวี ิตประจ�ำ วัน ส่งิ ทเี่ รา
เลือกอาจจะไมใ่ ช่สิง่ ท่ีราคาถกู ที่สุด แต่คุ้ม
Give คา่ คุ้มราคาท่สี ดุ ทนทาน แข็งแรง ใช้ไดน้ าน
Fills pleasure ถา้ ช�ำ รดุ กซ็ ่อมแซมได้ง่าย บนพ้นื ฐานของ
a hole เศรษฐกจิ หมุนเวียน

Need คุณรู้จกั กเิ ลสของคณุ ดีแคไ่ หน เวลามเี สยี ง
to own กระซบิ ในหวั ของคณุ วา่ “ของมนั ตอ้ งม”ี
คณุ มักจะทำ�อย่างไร
Nor�al Need / Want

Stat�s Solves
sy�bol a problem
Need
to own

Fills
a hole

Give
pleasure

Optimal Balance Need / Want

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดุล 27

หัวใจ: ทำ�ไมสิ่งท่คี ุณต้องการ จงึ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
สังคม และส่งิ แวดล้อม ท�ำ ไมเราจะตอ้ งพจิ ารณาเรอื่ งความ
ยงั่ ยนื ทกุ ครง้ั ทีค่ ณุ บรโิ ภคสินคา้ และบริการต่าง ๆ คุณ
สนบั สนนุ การใชช้ ีวิตแบบพอเพยี ง หรือแบบฟุม่ เฟอื ย ของ
มันต้องมี
สมอง: อะไรคือสิ่งทีค่ ณุ ควรถามตวั เอง เมอื่ คณุ ต้องการ
ของใหม่ มันมคี วามหมายกบั คุณแค่ไหน มีทางเลือกอื่น ๆ
อีกไหม และอะไรจะท�ำ ให้คุณเปลยี่ นใจได้ คุณพอใจกบั สง่ิ
ท่ีคณุ มีอย่หู รอื ไม่ และท�ำ ไม
สองมือ: คุณจะใช้ส่ิงท่ีคุณมีอยู่ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าท่ีสุด
ไดอ้ ยา่ งไร ถ้าคุณจะมีของมาเพ่มิ ใหม่คุณจะใชป้ จั จัยความ
ยง่ั ยืนมาเปน็ เกณฑ์ในการพจิ ารณาหรอื ไม่อย่างไร ของ
ส่วนเกินทค่ี ณุ มี ได้แบง่ ปนั หรอื บริจาคให้ผทู้ ข่ี าดแคลน
มากนอ้ ยแคไ่ หน

ศาสตร์แหง่ ความสมดลุ 28

“ทศั นคต”ิ

7 ความสขุ กับ การทำ�งาน

ปรบั ทัศนคติ คดิ บวก สขุ นยิ ม

ตอนนี้ชีวติ ของคุณเปีย่ มไปด้วยสีสันแห่งความสขุ สนกุ สนานแล้วหรอื ยงั
โลกของเรานนั้ ไดจ้ ัดเตรยี มความสขุ สม ร่ืนรมย์ สำ�ราญใจ ไวใ้ หก้ ับเราอยา่ ง
มากมายหลากหลายแบบ ในแตล่ ะช่วงชวี ติ ของเรานัน้ เราสามารถกอบโกย
ความสุขแบบต่าง ๆ ไดอ้ ย่างเตม็ ท่ี โดยจะตอ้ งไมท่ ำ�ให้ใครเดอื ดร้อน ไม่
เบยี ดเบยี นใคร และไมเ่ บียดเบียนโลก

แตค่ วามส�ำ ราญ และการเลน่ อย่างสนุกสนานน้ัน อาจมีข้อจำ�กัด เชน่ ตอน
เด็ก ๆ เม่ือเราวงิ่ เลน่ อยู่ในสนามเด็กเลน่ อยา่ งเมามนั กม็ ีเสียงกริ่งเรียกเขา้
ห้องเรยี น พอโตขน้ึ ขณะท่เี ราออกไปส�ำ รวจโลก ใช้ชีวิตแบบช้า ๆ เพ่อื คน้ หา
ตัวเอง สกั พกั กม็ เี สียงโทรศัพทเ์ รียกให้รบี กลบั ไปเร่มิ ทำ�งานประจำ�ไดแ้ ลว้ จน
ในท่สี ุดกต็ ดิ กบั ดักอยู่ในวงจรชีวิตในกรอบแบบเดิม ๆ ซ้ําซากยาวนาน กว่าจะ
ร้ตู ัวอีกที ก็แก่จะเกษียณแล้ว

สง่ิ ส�ำ คญั ทเ่ี ราควรเรียนรู้ เพอ่ื ชวี ติ ที่เป็นสขุ อย่างยงั่ ยืน กค็ ือ ทีจ่ รงิ แลว้ เราไม่
ตอ้ งคอยแสวงหาความสขุ ทอ่ี ย่ภู ายนอกเลย มันเปน็ แคช่ ั่วคร้ังช่วั คราว ความ
สขุ ทแี่ ทจ้ ริง มันซ่อนอย่ภู ายในตวั เราเอง แคป่ รับจูนทัศนคติ และวธิ คี ิดของเรา
ใหมใ่ หเ้ หมาะสมเทา่ น้ันเอง

เราสามารถมคี วามสุขไดก้ ับทกุ งานทเี่ ราท�ำ ถา้ เราโชคดเี ลอื กท�ำ งานท่ีเรารกั ได้
บางครง้ั มันจะสนกุ สนานจนลมื ไปเลยวา่ กำ�ลงั ท�ำ งานอยู่ แต่บางครั้งเราเลือก
งานท่เี ราชอบยงั ไม่ได้ เรากต็ อ้ งปรบั ทศั นคติด้วยการฝึกมองโลกดว้ ยความ
คิดบวก คนทคี่ ิดบวกมักจะมองหาความสุขได้ทุกทีท่ กุ เวลาแมใ้ นสถานการณ์

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดุล 28

นั้นเต็มไปดว้ ยความลำ�บากทุกข์ระทม ในทางกลับกนั คนทคี่ ิดลบ แมจ้ ะอยู่ใน
ภาวะท่ีมคี วามสขุ สนุกสนาน เขากม็ กั หามุมทีน่ ่าเบอื่ และเป็นทุกข์ได้เสมอ
ฝึกความคดิ บวก และลองหยดุ นิง่ สกั พกั แล้วมองหา “ความหมายของชวี ติ ”
และ “ค�ำ จ�ำ กัดความของความสุข” ของเราดู
ชวี ติ ของเราสนั้ นกั จะมัวเสยี เวลากบั สงิ่ ทเี่ ราไมช่ อบ ไม่มคี วามสขุ อยู่ทำ�ไม
เราสามารถเปล่ยี นแปลงตัวเอง เปลย่ี นแปลงการจดั การเวลา แมแ้ ต่การ
งาน ผ้คู นรอบข้าง ปลีกเวลาออกไปท�ำ ประโยชน์สาธารณะ ทำ�งานจิตอาสา
นอกจากจะเกดิ ความสุขจากการสรา้ งประโยชนใ์ หผ้ อู้ ่ืนแล้ว ยังอาจจะทำ�ให้
เราคน้ พบตวั เอง และพบความจรงิ ทวี่ า่ การสรา้ งความสขุ ใหก้ ับผู้อืน่ นน้ั ยอ่ ม
สรา้ งความสุขทแี่ ท้จริงใหก้ บั ตัวของเราเอง
เราสามาถสร้างสมดุลระหวา่ งความสุขของชวี ิต และการท�ำ งานไดไ้ มย่ ากเลย
แลว้ คณุ รหู้ รือยังวา่ ความสุขท่ีแท้จรงิ ของคณุ คืออะไร คุณชอบอะไร และ
งาน หรือส่งื ท่ีคณุ ทำ�อยู่ในปจั จุบันตอบโจทยห์ รือไม่
คณุ เปน็ คนคดิ บวกแคไ่ หน ...

ศาสตรแ์ ห่งความสมดลุ 30

Dist�action Productive
mistaken f�n
for f�n Healthy
f�n

Passions

หัวใจ: คณุ มคี วามสขุ หรอื ไม่ตอนท�ำ งานจิตอาสา และทำ�
ประโยชนใ์ ห้กบั สว่ นรวม ท�ำ ไมคุณถึงต้องตามหาความสขุ
ของคณุ ใหเ้ จอ แล้วสงิ่ นน้ั ดีต่อสงั คม ดีตอ่ โลก หรอื ทำ�ร้าย
โลก

สมอง: กิจกรรมอะไรทค่ี ุณทำ�เปน็ ประจ�ำ ที่มปี ระโยชน์ หรือ
มโี ทษตอ่ โลก อะไรคอื ส่งิ ทท่ี ำ�แล้วมคี วามสขุ ทีย่ ัง่ ยนื ท่ไี ม่ตอ้ ง
เสยี สละมากนักและท�ำ ไดง้ า่ ย อะไรทค่ี ณุ ท�ำ แลว้ มีความสุข
แตอ่ ยูบ่ นความทุกขข์ องคนอน่ื

สองมอื : คุณจะทำ�งานและมีความสุขไปพร้อมกันได้อย่างไร
จะวางแผนความสขุ ที่สอดคลอ้ งกับ แผนการชีวิต เปา้ หมาย
ชวี ติ และมคี วามยัง่ ยืนไดอ้ ย่างไร คณุ จะตอ้ งลงทนุ อะไรอีก
บ้างเพ่ือความสุขของคุณ

ศาสตรแ์ ห่งความสมดุ 31

“แรงบนั ดาลใจ”

8 เพอ้ ฝนั เพ้อเจอ้ กับ ความฝนั ท่เี ปน็ จริง

รางวลั แดค่ นชา่ งฝนั

ส่งิ ประดิษฐ์ท่ียง่ิ ใหญท่ ส่ี รา้ งดว้ ยมอื มนษุ ย์ มักจะเร่มิ จากอะไร สว่ นใหญเ่ ร่มิ
จากความฝนั เล็ก ๆ ของคน ๆ หน่งึ เสมอ เรามกั จะได้ยนิ คนพูดว่า “จะดีไหม
ถ้าเราสร้าง .....” หรือไมก่ ็ “ถา้ พวกเราไมค่ ิดวา่ ผมเพอ้ ฝันเกนิ ไป ผมว่าเราน่า
จะ .....” แล้วไมน่ าน นวัตกรรมใหม่ ๆ ก็ถกู ทยอยสร้างสรรคก์ นั ออกมา จาก
ความฝันเลก็ ๆ เหล่านัน้

“อนาคต คือความฝนั ของปจั จบุ ัน และปัจจุบัน ก็คือความฝันของอดีต” สิ่งที่
เกดิ ข้ึนในปจั จุบันคอื ส่งิ ทบ่ี รรพบุรุษของเราฝันไว้ มวี สิ ัยทัศน์ และลงแรง ตั้งใจ
สร้างให้เกดิ ข้ึนจรงิ แมแ้ ตต่ ัวเราเองวนั นกี้ ็คอื ความฝันของพ่อแมข่ องเราใน
อดตี ท่ีลงทนุ ให้การศึกษา และบม่ เพาะสง่ั สอนจนเป็นตัวเรา ในแบบของเรา
ทกุ วันน้ี และลูกของเรากเ็ ชน่ กนั คือความฝนั ของเราในปัจจุบนั ท่ีเราก�ำ ลงั พา
เขาไปสคู่ วามจรงิ ในอนาคต

ความฝันคือช้ินสว่ นทต่ี ่อกนั ของระบบจักรวาล เหมือนอะตอมท่เี ป็นแกนกลาง
ของสสารท้งั ปวง เหมอื นเสียงกระซิบในสายลม เหมือนอณูรงั สใี นแสงแดด
ความฝันคือช้นิ ส่วนเล็ก ๆ ท่ีตอ่ กนั ทร่ี อคอย ผู้สร้าง ผ้ปู ระดิษฐ์ ท่จี ะน�ำ มัน
ไปประติดประตอ่ สรา้ งสรรค์ทำ�ให้เกิดเป็นความจริง ก่อนที่จะเปน็ ความจริง
ได้นั้น ตอ้ งผ่านด่านอปุ สรรค ต้องทุ่มเทกำ�ลังกายกำ�ลงั ใจ กำ�ลังทุน ต้องเผชญิ
กับความเส่ยี งต่าง ๆ มากมาย

ด่านแรกของการเปลย่ี นความฝนั ส่คู วามจรงิ กค็ อื ดา่ นของค�ำ ถามทวี่ ่า มันมี
ประโยชน์แค่ไหน มันค้มุ ค่าคมุ้ เวลาท่จี ะท�ำ หรือไม่ แลว้ มันจะมปี ระโยชน์ที่

ศาสตร์แหง่ ความสมดลุ 32

ยง่ั ยนื ส�ำ หรับคนหมมู่ ากหรอื เปลา่ ถา้ ใชก่ ค็ ุ้มค่า แตบ่ างครั้งฝันของเรากอ็ าจ
จะเป็นแค่ความปรารถนาที่เหน็ แก่ตัว หรือบางครงั้ ผิดท่ี ผิดเวลาและยงั ไมเ่ ขา้
ตา ไมค่ ้มุ การลงทุน ก็ตอ้ งรอคอยเวลาอนั เหมาะสมต่อไป

จุดเช่ือมโยง และความสมดลุ ระหวา่ งความฝันท่เี พ้อเจอ้ กับความฝันที่เป็น
จรงิ กค็ ือส่วนที่เข้าตา เป็นไปได้ คุม้ คา่ มปี ระโยชนต์ ่อสังคมส่วนรวม มีความ
ยงั่ ยืน และมคี นทมี่ ีวิสัยทศั น์ หยิบมันข้นึ มา ทมุ่ เทคอ่ ย ๆ ตอ่ ชน้ิ สว่ นเหล่านัน้
ด้วยความเพียร จนวันหนึง่ ความฝันนัน้ กลายเป็นความจรงิ เปน็ ประโยชน์แก่
มวลมนษุ ยชาตแิ ละเป็นรางวัลแด่คนช่างฝัน

คณุ มคี วามฝันอะไรเกบ็ ไว้ในใจบา้ ง และคณุ จะทำ�ความฝนั เลก็ ๆ นั้นให้
กลายเป็นความจรงิ ทยี่ ่ิงใหญไ่ ดอ้ ย่างไร

Plans Your World
Hopes Fut�re Societ�
Ex�ect Sur�ive

Want Need

Dreams Realit�

ศาสตรแ์ ห่งความสมดุล 33

หวั ใจ: ทำ�ไมคุณมักจะฝนั ในสง่ิ ทค่ี ณุ ปรารถนาเพอ่ื ตวั คณุ เอง
ทำ�ไมคุณมักจะฝันให้กับส่วนรวม ฝันที่เกี่ยวกับมวล
มนุษยชาติ ฝนั เกี่ยวกบั การปกป้องโลก
สมอง: คุณเคยถอดรหัสความฝันของคุณ เพือ่ ไปทำ�ใหเ้ กิด
ขน้ึ จรงิ บ้างหรือไม่ อะไรคือความพอเพยี ง และความยัง่ ยืน
ทอ่ี ยู่ในฝนั ของคุณ
สองมือ: คณุ จะท�ำ ให้ฝันของคุณเป็นจรงิ ไดอ้ ย่างไร แล้วจะ
ท�ำ ให้ฝนั ของคุณเปน็ จรงิ โดยไม่ท�ำ ร้ายโลก และสรา้ งสขุ ให้
โลกไดอ้ ย่างไร คุณจะยอมเสียสละเพอ่ื ความฝันอันยิ่งใหญ่
ของคณุ หรือไม่

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดุล 34

“จงั หวะชีวติ ”

9 แมน่ ํา้ ทไี่ หลเชีย่ ว กับ ทะเลสาบอนั สงบนง่ิ

พลวัตรแห่งชีวติ และพลงั อำ�นาจในตวั คณุ

อะไรคอื พลงั อันเรน้ ลับ บางเวลาชวี ิตของเราก็ถูกพลงั บางอย่างท่ียิ่งใหญ่
กว่าเราดนั ให้ไหลไปข้างหน้าไปในแมน่ า้ํ ท่ไี หลเช่ียว โดยไมไ่ ดต้ ัง้ ตัว และบาง
เวลาพลงั อันล้ลี บั น้นั ก็คอยดงึ เราไว้ ให้เคลอื่ นทีช่ ้าลง หรอื หยดุ น่ิง ไปไหนไม่
ได้ เราไมม่ พี ละกำ�ลังใด ๆ ที่จะต่อกรกับจงั หวะชีวติ เหล่าน้ไี ด้ การท�ำ ความ
เขา้ ใจกับพลังอนั ลล้ี บั น้ี และจังหวะชวี ิตทบ่ี างครงั้ ตอ้ งเคลอ่ื นไปอย่างรวดเร็ว
และบางครง้ั ต้องหยุดนง่ิ จะทำ�ใหเ้ ราไม่กระวนกระวาย ใช้จงั หวะชวี ิตให้เปน็
ไม่ท�ำ อะไรเสยี เปล่าสวนกระแสเวลา และรอคอยจังหวะทถ่ี ูกต้องทกี่ ำ�ลงั จะ
มาถงึ

บางครัง้ ชวี ติ เรากเ็ หมอื นเรอื ลำ�นอ้ ยไหลไปในแมน่ ํ้าที่เชีย่ วกราก และบาง
ครงั้ ก็เหมอื น เรอื ท่เี ครอื่ งดับหยุดนงิ่ ไม่ไปไหนเลย ลอยวนเวียนเคว้งควา้ ง
อยใู่ นทะเลสาบทีเ่ งียบสงบ บางครั้งตัวเราเองอาจจะเปน็ ขมุ พลังของการเค
ล่ืนไหวของแม่น้าํ หรอื บางครัง้ เราตัวเรากอ็ าจจะเป็นขุมพลังแห่งความเงียบ
สงบของทะเลสาบก็เป็นได้ บางครงั้ แมน่ ้ํา และทะเลสาบก็สะท้อนจังหวะชีวติ
และบางคร้ังกส็ ะท้อนบคุ ลิกภาพในตัวเรา

คนบางคนมีบคุ ลกิ เหมอื นแมน่ าํ้ ทีไ่ หลเชีย่ ว ก้าวร้าว มีพลัง วนุ่ วาย เปล่ียน
ทศิ ทางไปมา คนบางคนกม็ บี คุ ลกิ ทีส่ ภุ าพ สขุ มุ ลมุ่ ลกึ หรือเฉื่อยชาเหมอื น
ทะเลสาบ ถ้าเราพยายามจะเปล่ียนแมน่ ้ําให้เป็นทะเลสาบเขาคงอึดอัดไมร่ ู้
จะปลดปลอ่ ยพลงั ทไ่ี หนอย่างไร เหมอื นถูกกักกันในกรงขัง สว่ นถ้าเรา
พยายามจะเปล่ียนทะเลสาบให้เป็นแม่น้ําเขาคงจะหมดแรงอย่างรวดเร็ว
และคงจะหงุดหงิดท่จี ะต้องเดินทางไกลไปส่ดู ินแดนท่เี ขาไม่อยากไปก็เป็นได้

ศาสตร์แหง่ ความสมดุล 35

แม่น้ําท่ีไหลเช่ยี วและทะเลสาบทส่ี งบนง่ิ ย่อมตอ้ งพ่ึงพาซง่ึ กันและกัน การ
ทำ�งานเป็นทีมก็จำ�เป็นต้องเลือกทีมงานที่มีส่วนผสมของคนที่มีบุคลิกของ
แม่นํ้า และทะเลสาบอยา่ งลงตวั ไม่ว่วู ามจนเสยี งาน และไม่เฉ่อื ยชาจนไม่ได้
งาน

ตอนนจี้ ังหวะชีวิตของคุณเป็นแบบไหน และทีจ่ ริงแล้วคุณร้ตู ัวหรอื ไม่วา่
คุณเป็นแบบไหนกนั แน่ ลองมองหาสถานการณ์อะไรบา้ ง ในชีวิตทค่ี ุณเคย
ใชป้ ระโยชน์จากแม่นํา้ และทะลสาบทีเ่ ป็นจังหวะชวี ติ และเป็นลักษณะใน
ตัวคณุ

The River The Lake

Flow Float
For�ard Stable
Direction Position
Move Stay
Energ� Relax
Ex�lore Plan
Well
Life Know
Excite Secure
Danger Goal
Goal

ศาสตรแ์ ห่งความสมดลุ 36

หวั ใจ: คณุ จะเลือกเป็นแบบไหน แบบไหลเชย่ี ว หรือแบบ
สงบนิง่ ท�ำ ไมถึงเลือกแบบนัน้ ท�ำ ไมจังหวะ และพลงั ของ
ชีวิตทตี่ ่างกนั จงึ ส่งผลกบั การสร้างประโยชน์ส่วนตวั และ
สงั คมโดยรวมต่างกนั ท�ำ ไมคุณตอ้ งเปลย่ี นพฤตกิ รรมของ
คุณเพือ่ สรา้ งสมดุล ทำ�ไมจงั หวะชีวติ ของคณุ ถึงมผี ลกระทบ
กบั คนรอบขา้ ง เพื่อนฝงู สังคม ชุมชนของคณุ
สมอง: ตอนน้ีจงั หวะชวี ิตของคณุ เปน็ แบบไหน และท่ีจรงิ
แลว้ ชีวิตของคณุ เหมาะกบั พฤตกิ รรมอะไรแน่ จังหวะ และ
พลังของชีวิตอะไรจะทำ�ให้คุณประสบความสำ�เร็จในชีวิต
ตามเปา้ หมายทต่ี งั้ ไว้
สองมอื : ถา้ คณุ เลอื กแบบใดแบบหน่งึ แล้ว ลองคดิ วา่ คุณ
จะพัฒนาอย่างไร เพือ่ ใหค้ ณุ เปน็ แบบนน้ั อย่างสมบรู ณท์ ่สี ดุ
คณุ จะใชจ้ งั หวะ และพลังของแมน่ า้ํ หรอื ทะลสาบอยา่ งไร
เพอ่ื สร้างประโยชนส์ าธารณะ และประโยชน์สว่ นตน

ศาสตร์แห่งความสมดลุ 37

“ความหมายของชวี ติ ”

10 งานท่ีเรารกั กบั อนาคตท่ีเราหวัง

มเี งนิ มงี าน มกี ารแบ่งปนั ให้สังคม

อะไรคือความหมายท่ีแท้จรงิ ของชวี ิต เซอร์ วนิ สตนั เชอรช์ ิลล์ เคยกล่าวไว้
ว่า “เราดำ�รงชีวิตด้วยการทำ�งานหาเงนิ แตเ่ ราท�ำ ชวี ิตใหม้ ีความหมายดว้ ยการ
บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลอื สังคม” ทจี่ รงิ แลว้ ในค�ำ กล่าวงา่ ย ๆ นม้ี ีความหมายท่ี
ลึกซึ้งซ่อนอยมู่ ากมาย

นกั ปราชญ์ผู้หนงึ่ เคยท้าทายวา่ “ถา้ เราคดิ วา่ เราอยู่ในโลกเสรี หรอื ทเี่ รียกว่า
ฟรเี วลิ ด์แล้ว ลองออกจากบ้านโดยไม่พกกระเป๋าสตางคด์ สู ิ” ในโลกแห่งความ
จริงแล้ว ไมม่ อี ะไรฟรหี รอก ไมม่ ใี ครให้อะไรเราฟรี ๆ เราต้องมอี ะไรแลก
เปลี่ยน ตอบแทน และนค่ี อื ทำ�ไมเราตอ้ งเสยี เวลาเกอื บท้ังชีวติ ออกไปทำ�งาน
หาเงนิ

เราตอ้ งการเงนิ เพ่ือจับจา่ ยใชส้ อยสง่ิ ต่าง ๆ เพ่ือการดำ�รงชวี ิต และหาความสุข
ที่เราตอ้ งการ และถา้ เราไม่ไดโ้ ชคดที ี่เกิดมาในตระกลู มหาเศรษฐี หรือฟลคุ๊
ถกู ลอตเตอรรี่ างวลั ทห่ี น่ึงแล้ว เราก็ต้องสละความสบาย มีความเพียร อดทน
ออกไปหาเงนิ ไมว่ า่ จะหาเชา้ กนิ ค่าํ หรอื เปน็ มนษุ ย์เงนิ เดอื น บางคร้งั เราตอ้ ง
ขายร่างกาย ขายจิตวิญญาณ ยอมล�ำ บากทนทกุ ข์ทรมาน และก็ยงั ไมส่ ามารถ
ท่ีจะหาเงนิ มาเพียงพอตอ่ การด�ำ รงชีวติ ได้ บางคนทำ�งานหนกั จนไมม่ เี วลาให้
ครอบครวั หรือแมแ้ ต่ไม่มีเวลาหาความสขุ ใหก้ บั ตัวเอง เมื่อเราสร้างความ
สมดลุ ระหว่างการงาน การเงนิ และการดำ�เนนิ ชีวติ ได้เม่อื ไร เราจะพบกบั
ความสขุ ทแ่ี ทจ้ ริง และย่งั ยนื แต่มนั ง่ายแบบนน้ั จริงหรอื

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดุล 38

แลว้ เราจะทำ�ไดอ้ ย่างไร อย่างแรกเลยต้องแบง่ เวลาให้ชดั เจนก่อน วา่ เวลา
ไหนเป็นเวลางาน และเวลาไหนเป็นเวลาส่วนตัว เวลาครอบครวั และเวลา
เพื่อสังคม ย่งิ แบ่งชัดเจนเทา่ ไร ก็จะจัดการความสมดลุ ไดด้ ีมากขนึ้ เทา่ นั้น
ในเวลาสว่ นตวั เราก็ไมค่ วรคิดเร่อื งงานทค่ี า้ งอยู่ เราจะได้ใชเ้ วลาส่วนตัวทม่ี ี
ไมม่ ากนัก ใหเ้ ปน็ เวลาทีม่ ีคณุ ภาพ ในเวลางานเราก็ต้องมสี มาธิกบั งานท่ีท�ำ
ไม่ควรเอาเร่ืองสว่ นตวั มาพวั พนั กนั จะไดท้ ำ�งานให้เสร็จอย่างรวดเร็วและมี
ประสทิ ธิภาพ แถมอาจท�ำ ให้มีเวลาส่วนตวั เพ่มิ ขนึ้ กไ็ ด้ การแบ่งเวลาใหช้ ัดเจน
แมจ้ ะทำ�ไมไ่ ดท้ ง้ั หมด แต่กเ็ ป็นจุดเริ่มต้นทดี่ มี าก

อยา่ งต่อมา คือการวางแผนเป้าหมายในชีวิตใหช้ ัดเจน ทั้งระยะสั้น ระยะ
กลาง ระยะยาว ท้งั เปา้ หมายทางการงาน การเงนิ และการสร้างความดใี ห้
สังคม ซง่ึ คอื ความหมายของชวี ติ เราจะได้รู้ว่าเราจะเลือกทางเดนิ ใหส้ มดุล
ระหว่าง การงาน การเงนิ กบั การสรา้ งความหมายในชีวติ ไดอ้ ยา่ งไร การสละ
ความสุขชว่ั คราวของเราน้นั ควรทำ�มากน้อยแค่ไหน นานเพียงใด และคุม้ ค่า
จริงหรือไม่ เราจะผสมผสานทง้ั สามอย่างใหพ้ อดไี ดอ้ ยา่ งไร จะไดป้ รบั แผน
ชีวิตใหถ้ ูกจงั หวะ

ความพอเพียงของการเงิน ความยั่งยนื ของการงาน และความหมายของการ
ดำ�เนินชีวิต ทเี่ ราวางแผนไว้น้นั ถา้ จัดการใหส้ มดุลแลว้ เราจะพบกับอสิ รภาพ
และความสุขที่แท้จรงิ

คุณมเี ป้าหมายและแผนชีวติ อยา่ งไร ...

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดลุ 39

Bills Love
Job Fully Passion
Net�orking BBaallaanncceedd Relationship

Career Happy Family

Workshops Life Hobbies

Lear�ing Lear�ing

A Living A Life

หวั ใจ: ท�ำ ไมความสมดุลของความหมายของชีวิต กบั การ
ทำ�งานเลีย้ งชีพถึงมีความส�ำ คญั ชวี ติ คณุ เปน็ แบบไหนคุณ
วา่ การทำ�งานจิตอาสา เพื่อประโยชน์สว่ นรวมตอบโจทย์ทัง้
สองเรอื่ งหรอื ไม่

สมอง: อะไรคือความแตกต่างระหว่างการทำ�งานเลี้ยงชีพ
กับความหมายของชีวติ เสน้ แบง่ อย่ตู รงไหน ลองมองหา
ตัวอยา่ งดี ๆ จากคนทสี่ ร้างสมดุลของสองส่ิงนีไ้ ดส้ ำ�เรจ็ แลว้
ซึ่งมอี ยมู่ ากมาย

สองมือ: เราจะฝึกสร้างความสมดุลระหว่างท้ังสองสิ่งนี้ได้
อยา่ งไร เพอ่ื ทำ�ใหไ้ ด้ เราจะต้องฝกึ ฝน หรอื มกี ารลงทุน
อย่างไร ทง้ั สองสงิ่ น้ี จะทำ�ใหช้ วี ติ ของคุณมคี ุณค่าเพมิ่ ขึ้นได้
อยา่ งไร

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดุล 40

“บทบาท”

11 การบริโภคที่ยัง่ ยืน กบั การผลิตสีเขียว

ห่วงโซ่คุณคา่ แหง่ อนาคต

ในโลกปจั จบุ นั คณุ กำ�ลงั เล่นบทบาทอะไรอยู่ บางคร้ังในโลกสมยั ใหม่
บทบาทของเราก็ดูเหมือนว่า จะเป็นไดเ้ พียงแค่ผู้บริโภคเพยี งอย่างเดียว อยาก
ได้อะไรก็ไปซือ้ ซือ้ ซอ้ื และก็ซอื้ และคนขายกม็ ักจะขาย ขาย ขาย และก็
ขาย มกั จะชักชวนนำ�เสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทีด่ ดู ีแตไ่ ม่จ�ำ เปน็ เพอ่ื ดดู เงิน
จากกระเป๋าสตางค์เราอย่เู สมอ ถ้าเราท�ำ ความเข้าใจกับการบรโิ ภคนิยมสดุ
โตง่ กบั การบริโภคแบบพอเพยี ง แลว้ ปรบั ตวั ใหม่ เราจะเปน็ ผบู้ ริโภคทรี่ ู้เทา่
ทัน เป็นผบู้ ริโภคทย่ี ัง่ ยืน

คิดได้แบบนัน้ ก็ช่วยโลกไดแ้ ลว้ ครึ่งใบ เมอ่ื เราเข้าใจแล้ว เราก็จะไมเ่ ปน็ เหยอ่ื
ของการตลาด และโฆษณาประชาสมั พนั ธอ์ กี ตอ่ ไป การบริโภคของเรากไ็ ม่
จ�ำ เปน็ ที่จะต้องท�ำ ตามกระแส แตเ่ ป็นการบริโภคแบบพอเพยี ง ย่งั ยืน ที่เรา
เป็นผกู้ �ำ หนดเอง มองหารูปแบบของการบรโิ ภคท่คี มุ้ คา่ ขึน้ รักษ์โลกมากขึ้น
ชว่ ยสงั คมได้มากข้ึน และย่งั ยืนมากขน้ึ

ถา้ อยากจะชว่ ยโลกเพมิ่ ขน้ึ อกี คร่งึ ใบ เราก็สามารถเพ่มิ บทบาทใหม่ โดยเปน็
สว่ นหนึ่งของกลไกการผลติ สีเขียว หลายอย่างเราสามาถท�ำ เองไดง้ า่ ย ๆ ที่
บ้าน เช่น การปลกู พชื ผักสวนครวั รวั้ กินได้ นอกจากมนั่ ใจในความสะอาด
ปลอดสารแลว้ ยังประหยดั ค่าใชจ้ ่ายทไี่ ม่จ�ำ เป็นไดอ้ กี ด้วย เมอ่ื ผลิตอะไรได้
เองแล้ว ถ้ามีส่วนเกนิ กส็ ามารถน�ำ ไปขายหารายไดเ้ พมิ่ ได้ ตอนนี้ในห่วงโซ่
อุปสงค์ อปุ ทาน เรากม็ ไิ ด้เปน็ แคผ่ บู้ ริโภคแลว้ ตอนน้ีเรากก็ ลับกลายเป็นผู้
ผลิตได้อกี บทบาทหน่งึ ด้วย

ศาสตร์แหง่ ความสมดุล 41

นอกจากหว่ งโซอ่ าหารแล้วกย็ งั มีความคดิ สร้างสรรค์อกี มากมาย ทสี่ ร้าง
รายรับ และความสุขใหเ้ ราได้ ไมว่ จ่ ะเปน็ สิง่ ประดษิ ฐ์ งานฝมี ือ งานศลิ ปะ
วัฒนธรรม ดนตรี ทอ่ งเทีย่ ว ทพี่ กั และกิจการประเภทสตารท์ อัพ วิสาหกิจ
เพ่อื สังคมรปู แบบใหม่ ๆ ที่เราสามารถเพิม่ บทบาทเข้าไปอย่ทู ต่ี ้นทางห่วงโซ่
คณุ ค่า แทนทจี่ ะอยู่แคป่ ลายทางแบบเดิม

ท้งั การบรโิ ภค และการผลิต ล้วนสรา้ งความสขุ ใหก้ ับเราคนละแบบ ใช้
ความคิดสรา้ งสรรคต์ ่างกนั ไป และสามารถสร้างความสมดุลใหช้ ีวิตได้ดี
ทงั้ คู่ แทนท่ีเราจะทำ�ตวั เป็นผู้บริโภคเพียงขาเดียว

คุณเปน็ ผบู้ รโิ ภคแบบไหน แลว้ ถา้ มโี อกาสคณุ จะสร้างอะไรดี ๆ ใหก้ บั โลก
ใบนบ้ี า้ ง ...

Consuming Creating

Subst�acting Adding
Using Making
Wasting Cont�ibute
Therapy Produce
Fun Imagine
Dream
Comfor�able Lear�
Passtime Work
Societ� Satisfaction
Stat�s

ศาสตร์แหง่ ความสมดุล 42

หวั ใจ: ทำ�ไมการบริโภคของคุณถึงต้องเป็นมิตรต่อสังคม
และส่ิงแวดล้อม และในทางกลับกนั การทิง้ รอยเท้าทาง
ส่ิงแวดลอ้ ม จะสรา้ งปัญหาแคไ่ หน ทำ�ไมคณุ ถึงตอ้ งปรบั
พฤตกิ รรมการบริโภคใหเ้ ปน็ มิตรต่อโลก ทำ�ไมคณุ ต้องชว่ ย
คดิ คน้ และท�ำ สงิ่ ตา่ ง ๆ ให้ดกี ว่าสิ่งที่มีอยู่เดมิ
สมอง: อะไรคอื ความแตกต่างระหว่างการเปน็ ผ้บู รโิ ภค กบั
การเป็นผ้ผู ลติ คุณเป็นแบบไหน จะเป็นทง้ั สองบทบาทได้
หรอื ไม่ อะไรคอื ผู้บรโิ ภคในอุดมคติ และผผู้ ลิตในอุดมคติ
และอะไรคือความสมดุลของทงั้ สองโลก
สองมือ: คุณจะเปน็ ผบู้ รโิ ภคทร่ี กั ษโ์ ลกได้อยา่ งไร ถ้าคณุ จะ
เป็นผ้ผู ลิตส่ิงใหม่ ๆ คุณคดิ วา่ คณุ จะท�ำ อะไรเพื่อให้โลกนดี้ ี
ขึน้ และคุณจะท�ำ อยา่ งไร

ศาสตร์แหง่ ความสมดลุ 43

“การปรับตวั ”

12 โดดเดน่ เปน็ ตวั ของตวั เอง กบั การกลมกลนื อยใู่ นฝงู ชน

แตกต่างอย่างลงตวั

คณุ มีตัวตนมากน้อยแค่ไหน คนเรากแ็ ปลก อยากอยใู่ นวงสังคม อยากเปน็
ท่ียอมรบั อยากจะเขา้ พวกและอย่อู ย่างกลมกลืน แต่ในเวลาเดยี วกนั ก็อยาก
ท�ำ ตวั โดดเด่นให้ผูค้ นจดจำ� บางครงั้ ก็อยากอยเู่ งียบ ๆ ไมอ่ ยากเข้าไปสุงสงิ มี
สว่ นร่วมในกลมุ่ มากนกั แตก่ ไ็ ม่อยากใหเ้ พ่ือน ๆ ในกลมุ่ ลืมเราไป หรอื แอบ
นินทาลับหลงั เวลาเราไม่อยู่

ท่ีจริงเรากท็ ำ�อยา่ งนั้นได้ ท�ำ ทั้งสองอย่างในเวลาเดยี วกัน เพราะสังคมมนั ซบั
ซอ้ นกวา่ ทเ่ี ราคดิ ไว้ และบางทีเราเองกไ็ มแ่ นใ่ จว่าเราต้องการแบบไหนแน่

ผคู้ นจ�ำ นวนมาก เกรงวา่ ตวั เองจะเขา้ สงั คมไมไ่ ด้ รสู้ กึ อดึ อดั กบั ค�ำ ซบุ ซบิ นนิ ทา
และกอ็ าจจะแอบอิจฉาเพ่ือนฝูงบางคนท่ีทำ�ตวั โดดเดน่ อยูใ่ นกลุ่ม หลายคน
ถอยหนี แล้วไม่อยากเขา้ ไปยงุ่ กบั ใคร

คนทค่ี ดิ ว่าตัวเองเขา้ สังคมไมไ่ ด้ สว่ นใหญจ่ ะเป็นคนที่มตี วั ตนสูง เปลีย่ นแปลง
ความคิดตวั เองยาก และไม่ชอบให้คนอืน่ คดิ ตา่ ง เขาคดิ วา่ เขาคงเขา้ กับใครไม่
ได้ ท่จี รงิ แลว้ ในสงั คมมันยดื หยุ่นมาก แลว้ ก็ไมม่ ใี ครสนใจคุณจรงิ ๆ หรอก
การเข้าไปมสี ว่ นร่วมนัน้ ไม่ยากเลย ซงึ่ เราสามารถเลอื กไดท้ ่จี ะร่วมกล่มุ ในรปู
แบบใดรูปแบบหนง่ึ ทีเ่ ราสบายใจ

เคยได้ยินค�ำ แนะน�ำ ว่า การโดดเดน่ และกลมกลืนในสงั คมนน้ั ต้องมีคติ
ประจำ�ใจว่า “ชา่ งฉัน ช่างเธอ และชา่ งมัน” หมายความวา่ “ช่างฉนั ” คือ
เมอื่ เราจะทำ�อะไร ทถี่ ูกตอ้ ง ดีงาม ไมเ่ บียดเบียนใคร ก็เป็นเรื่องของฉนั ไม่

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดลุ 44

ตอ้ งสนใจกับค�ำ วิจารณข์ องใคร “ชา่ งเธอ” คอื เมอื่ คนอน่ื ท�ำ อะไร กไ็ ม่ต้องไป
วจิ ารณ์ ไมต่ อ้ งเก็บมาเป็นอารมณ์ เพราะเปน็ เรอ่ื งของเขาไมใ่ ช่เร่อื งของเรา
“ชา่ งมัน” คอื เมื่อท�ำ อะไรไปแล้ว ทกุ อยา่ งย่อมมีผลตามมา ถ้าตงั้ ใจทำ�ดว้ ย
ความดี ความสุจริต ความพอเพยี ง มีผลอย่างไร จะส�ำ เร็จ จะล้มเหลว ก็
ยอมรับในสิง่ ท่เี กดิ ขึน้ แก้ไข ปรับปรุง พฒั นาไป ใครจะวา่ อะไร ก็ช่างมนั แค่
คิดแบบนไ้ี ด้ ก็ท�ำ ใหม้ คี วามสุข ความสมดลุ เบาสบาย และอยู่ในกลมุ่ ไดอ้ ย่าง
สบายใจ

เราไม่จ�ำ เป็นทจี่ ะตอ้ งเลือกวา่ จะโดดเด่นในแบบของเรา หรือลดตัวให้กลมกลืน
อยใู่ นฝงู ชน ในฝงู ชนยอ่ มมที ว่ี ่างเสมอส�ำ หรบั คนที่โดดเด่นเชน่ เรา เพราะ
แทจ้ ริงแลว้ สังคมนัน้ หลากหลายซับซอ้ น และยังมีท่ีว่างเหลอื อกี มากมาย

อะไรคอื ความโดดเด่น และความเปน็ ตวั ตนของคุณ แลว้ คุณจะเลอื กทว่ี า่ ง
ตรงไหนในสงั คม เพอื่ สร้างความสุข และคณุ คา่ เพม่ิ ใหก้ ับชีวิต

ththJeoJecionlciunlubb liTkliaTeklaekulkus s
lTiklThiekhineuinkusks
KKnnoowwththysyesleflf FFititinin
OObbeyey fifinnddyoyouurrcecnentetrer qquDueDosentosin’toti’notn
sestetyoyouurrggoaoalsls

mmaannifiefsetst
pprorotetcetct

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดุล 45

หวั ใจ: ท�ำ ไมคณุ ถึงต้องเลือกระหว่าง การพทิ ักษโ์ ลกเพียง
ล�ำ พงั หรอื ไปรวมกลมุ่ จิตอาสา หรือคุณสามารถท�ำ ไดท้ ัง้
สองอยา่ งในเวลาเดยี วกนั

สมอง: อะไรคอื หลักในการตัดสินใจของคุณ ทจ่ี ะโดดเดน่
เปน็ ตัวของคณุ เอง หรอื จะรวมกลุ่มเพื่อสรา้ งพลงั ในการขับ
เคลอ่ื น คุณคิดข้อดี ขอ้ เสยี แตล่ ะแบบมอี ะไรบา้ ง การผสม
ผสานท้งั สองแบบและสรา้ งสมดลุ น่าจะเป็นส่ิงท่ีดี อะไรคอื
ความสมดุลที่คุณจะเลอื ก

สองมอื : คณุ จะโดดเดน่ ในฝงู ชนไดอ้ ยา่ งไร และคณุ จะเขา้ ไป
รว่ มกลุม่ อย่างกลมกลืนไดอ้ ย่างไร คุณจะท�ำ อย่างไรเพอ่ื
รักษาความเป็นตัวของตัวเองและสามารถรวมตัวกับกลุ่ม
เพื่อท�ำ ในสิ่งสำ�คญั กวา่ ได้ คุณจะสรา้ งสมดลุ ของสองสงิ่ นไี้ ด้
อย่างไร

ศาสตรแ์ ห่งความสมดุล 46

“การเปล่ยี นแปลง”

13 เตม็ ใจ หรอื ตอ่ ต้าน

เป็นคนใหมท่ ่ไี ฉไลกว่าเดมิ

คุณรูส้ ึกอยา่ งไรกับการเปลย่ี นแปลง ในทกุ ยุคทกุ สมัย สง่ิ เดียวทีไ่ มเ่ คย
เปลี่ยนแปลง คือ “การเปลี่ยนแปลง” เม่ือเวลาเปลย่ี นไป ตัวเราก็เปลี่ยนไป
ปจั จัยรอบดา้ นก็เปลย่ี นไป ทุกอย่างก็เปล่ยี นไป สรรพส่ิงลว้ น เกดิ ขึ้น คง
อยู่ และดับไป ป่าไมล้ ดนอ้ ยลง ป่าคอนกรีตเพิ่มมากขนึ้ ภเู ขานาํ้ แขง็ ค่อย ๆ
ละลายหมดไป น้ําทะเลคอ่ ย ๆ มีระดับสูงขน้ึ เมืองต่าง ๆ ทอ่ี ยู่ติดน้าํ คอ่ ย
ๆ จมลง ฝนตกผิดฤดู หมิ ะก็ตกผดิ ที่ พายุฤดูร้อนทวคี วามรุนแรง ไม่มีอะไร
เหมือนเดิม และคาดเดาไดอ้ ีกตอ่ ไป

พระโพธสิ ตั วต์ รสั ไวว้ า่ “ไม่มีความเปลีย่ นแปลงใดทเ่ี จ็บปวด มแี ตผ่ ู้ตอ่
ต้านการเปลยี่ นแปลงเทา่ น้ันที่เจ็บปวด” ดงั นั้นการรักษาสมดุลของการ
เปลี่ยนแปลงจึงเปน็ ส่ิงทีส่ �ำ คัญมาก

มปี ัจจัยหลายอยา่ งท่กี ดดันให้เกิดการเปลีย่ นแปลง อาทิ ปัจจยั ภายนอก
ปจั จยั ภายใน เพอื่ นฝงู คแู่ ข่ง สงั คมรอบด้าน สิ่งแวดลอ้ มโดยรวม รวมถงึ
ผมู้ สี ่วนไดเ้ สียทีค่ าดหวังในตวั เรา ทั้งนร้ี วมถงึ สภาพปญั หาเศรษฐกิจ ปญั หา
สุขภาพ ปญั หาส่วนตวั ของเราดว้ ย

การเปลีย่ นแปลงกม็ หี ลายระดบั ต้ังแต่ เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
เปลี่ยนแปลงแบบกลบั ไปกลับมาสบั สนว่นุ วาย เปลยี่ นแปลงแบบถอนราก
ถอนโคนถลม่ ทลาย เปลี่ยนแปลงแบบอุบัติเหตไุ มค่ าดฝนั หรือเปล่ียนแปลง
แบบพังพนิ าศ ตายแล้วตอ้ งไปเกดิ ใหม่

ศาสตรแ์ ห่งความสมดุล 47

มีอะไรบ้างท่เี ราอยากเปลย่ี นแปลงในชีวิตของเรา อะไรท่ีเราอยากเกบ็ ไว้ อะไร
ทเ่ี ราจะต่อสู้ด้วยชีวิตเพอ่ื จะรักษามันไว้ อะไรทเ่ี ราคาดวา่ จะได้เห็นหลังจาก
การเปลี่ยนแปลง การเปลย่ี นแปลงนั้น เรากำ�หนดเอง หรือคนอนื่ มากำ�หนด
ใหเ้ รา เราเป็นคนเริม่ ลุกข้ึนมาสร้างความเปลี่ยนแปลงเอง หรอื เราพยายาม
ตอ่ ต้านการเปลย่ี นแปลงที่เริม่ จากคนอนื่ แล้วมนั จะทำ�ให้ชวี ติ ของเราดขี ึน้
หรือไม่
ความเปลยี่ นแปลงตา่ ง ๆ ย่อมเต็มไปดว้ ยค�ำ ถามยาก ๆ มากมาย ที่ยังรอ
คอยคำ�ตอบ “สำ�หรบั การเปลีย่ นแปลงจากภายในของคุณนนั้ คุณคือคนเดียว
ท่มี ีค�ำ ตอบทถี่ กู ตอ้ ง และตอ้ งตอบดว้ ยหัวใจ สมอง และสองมอื ทมี่ ีความพอ
เพียง และย่งั ยืน”
แล้วคำ�ตอบของคุณคืออะไร ...

“The Only Constant
in the Universe
is Change.”

ศาสตรแ์ หง่ ความสมดุล 48


Click to View FlipBook Version