แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 1 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. มนุษย์ถูกไฟฟ้าดูด เนื่องจากสิ่งใด ก. ใช้มือจับไปที่ฉนวนของสะพานไฟฟ้า ข. ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายได้ครบวงจร ค. ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายได้แต่ไม่ครบวงจร ง. ก่อนจะต่อสายไฟฟ้าเข้ากับสวิตช์ตัดตอน ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมถุงมือหนังด้วย 2. การตรวจสอบไฟฟ้ารั่วของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องใช้ไขควงทดสอบไฟฟ้าสัมผัสอุปกรณ์ดังกล่าว บริเวณใด ก. ส่วนที่เป็นโลหะกับส่วนที่เป็นพลาสติก ข. ส่วนที่เป็นยางเพื่อยึดจับ ค. ส่วนที่เป็นพลาสติก ง. ส่วนที่เป็นโลหะ 3. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สวิตช์ ก. เกิดความร้อนที่สวิตช์ ข. ฝาครอบสวิตช์จะไม่แตกร้าว ค. ไม่เกิดความร้อนที่สวิตช์ ง. สายไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับสวิตช์จะต้องขันให้แน่น 4. ขาด้านล่างของบันไดที่ใช้ติดตั้งไฟฟ้าต้องมีระยะห่างจากที่พิงผนังเท่าใด ก. 10 เปอร์เซ็นต์ของความยาวบันได ข. 15 เปอร์เซ็นต์ของความยาวบันได ค. 20 เปอร์เซ็นต์ของความยาวบันได ง. 25 เปอร์เซ็นต์ของความยาวบันได 5. จากข้อ 4 หากความยาวบันไดเท่ากับ 2 เมตร 50 เซนติเมตร ขาด้านล่างของบันไดจะมีระยะห่างจากที่พิง ผนังเท่าใด ก. 90 เซนติเมตร ข. 80 เซนติเมตร ค. 70 เซนติเมตร ง. 60 เซนติเมตร 6. ข้อใด ไม่ใช่อุบัติเหตุที่เกิดจากมนุษย์ ก. ใช้เครื่องมือผิดประเภท ข. ฝ่าฝืนกฎระเบียบ ค. แสงสว่างไม่เพียงพอ ง. ขาดความรู้และทักษะในงาน 7. การซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องกระทำสิ่งใดเป็นอันดับแรก
ก. ปิดสวิตช์หลัก ข. ใช้มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ค. ใช้มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ง. ตรวจสอบฟิวส์ของอุปกรณ์ไฟฟ้า 8. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า ก. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีราคาถูกที่สุด ข. เต้ารับกับเต้าเสียบต้องไม่หลวมหรือแน่นเกินไป ค. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีราคาแพงที่สุด ง. เครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีเครื่องหมาย มอก. หรือไม่มีก็ได้ 9. เมื่อน้ำท่วมบ้าน กรณีเป็นบ้าน 2 ชั้น และมีสะพานไฟฟ้าแยกแต่ละชั้น หากน้ำท่วมเฉพาะชั้นล่างควร ปฏิบัติตามข้อใด ก. ปลดสะพานไฟฟ้าเพื่อตัดกระแสไฟฟ้าทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ข. ปลดสะพานไฟฟ้าตัดกระแสไฟฟ้า ค. ปลดสะพานไฟฟ้าตัดกระแสไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง ง. ย้ายสะพานไฟฟ้าชั้นล่างขึ้นไปอยู่ชั้นบน 10. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด ก. หลอดไฟแบบไส้ควรติดตั้งใกล้กับผ้าม่าน ข. เมื่อร่างกายแห้ง ความต้านทานจะสูงมาก ค. เมื่อร่างกายเปียกน้ำ ความต้านทานจะสูงมาก ง. จานรับสัญญาณดาวเทียมควรติดตั้งใกล้สายไฟฟ้าจะทำให้รับสัญญาณชัดเจน แบบฝึกหัดบทที่ 1 ตอนที่ 1 เขียนเครื่องหมายกากบาท (✗) ลงในข้อที่ถูกต้องที่สุด
1. การตรวจสอบไฟฟ้ารั่วที่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรปฏิบัติตามข้อใด ก. ใช้ไขควงเช็คไฟฟ้าแตะที่พลาสติกของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ข. ใช้ไขควงเช็คไฟฟ้าแตะที่โครงโลหะของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้ามีสีแดงปรากฏที่ไขควงเช็คไฟฟ้า แสดงว่าอุปกรณ์ ดังกล่าวเกิดไฟฟ้ารั่ว ค. ใช้ไขควงเช็คไฟฟ้าและที่สายไฟฟ้าของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ง. ใช้ไขควงเช็คไฟฟ้าแตะที่โครงโลหะของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้าไม่มีสีแดงปรากฏที่ไขควงเช็ค ไฟฟ้าแสดงว่าอุปกรณ์ ดังกล่าวเกิดไฟฟ้ารั่ว 2. เมื่อมนุษย์ทำงานกับระบบไฟฟ้า แล้วถูกกระแสไฟฟ้าดูด เกิดจากสาเหตุใด ก. มือข้างหนึ่งจับสายนิวตรอนเส้นเดียวของแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ ข. มือข้างหนึ่งแตะที่โครงพลาสติกของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ค. มือทั้งสองข้างจับสายไลน์กับสายนิวตรอนของแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ ง. สวมถุงมือหนังที่มือขวา แล้วสัมผัสสายไลน์ของแหล่งกำเนิดแรงดัน 220 ไวลต์ 3. ข้อใดคือคำแนะนำที่ปลอดภัยในการใช้เครื่องปรับอากาศ ก. โครงโลหะของเครื่องปรับอากาศต้องไม่มีไฟฟ้ารั่ว ข. สายไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศจะต้องใช้สายอ่อน ค. ล้างทำความสะอาดปีละ 1 ครั้ง ง. ขณะใช้งาน สายไฟฟ้าต้องร้อนเสมอ 4. ข้อใดคือคำแนะนำที่ปลอดภัยในการใช้เตารีดไฟฟ้า ก. สายไฟฟ้าของเตารีดเลือกใช้อย่างไร ข. เมื่อหยุดรีดชั่วขณะจะต้องวางเตารีดบนกระเบื้องทนความร้อน ค. การเก็บเตารีด ควรเก็บขณะที่เตารีดกำลังร้อน ง. เมื่อหยุดรีดชั่วขณะจะต้องวางเตารีดบนพลาสติกแข็ง 5. เต้าเสียบที่ใช้ในบ้านหรือสำนักงานมีลักษณะตรงกับข้อใด ก. มี 2 ขั้ว คือ ดินกับนิวตรอล ข. มี 3 ขั้ว คือ ไลน์ 1 ไลน์ 2 และดิน ค. มี 2 ขั้ว คือ ไลน์กับนิวตรอล ง. มี 3 ขั้ว คือ ดิน นิวตรอล และไลน์ 6. คุณสมบัติของสวิตช์กระดิ่งไฟฟ้าที่อยู่นอกบ้าน ควรมีลักษณะอย่างไร ก. ทนแดด และกันน้ำได้ ข. กันน้ำได้ แต่เสื่อมสภาพง่าย ค. ทนแดดและทนฝน แต่กันน้ำไม่ได้ ง. กันน้ำได้ แต่ไม่ทนแดด 7. เมื่อน้ำท่วมปลั๊กไฟฟ้า ควรปฏิบัติสิ่งใดเป็นอันดับแรก เพื่อความปลอดภัยจากไฟฟ้า ก. ใช้เครื่องปั๊มน้ำดูดน้ำออกจากบ้าน ข. น้ำหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามาเสียบเข้ากับปลั๊กไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วม
ค. ตัดกระแสไฟฟ้าออกจากบริเวณบ้านโดยสับสะพานไฟฟ้าลง ง. ตัดกระแสไฟฟ้าออกจากตัวบ้านโดยยกสะพานไฟฟ้าขึ้น 8. ขาด้านล่างของบันไดที่ใช้ติดตั้งไฟฟ้ามีระยะห่างจากที่พิงผนังเท่าใด เมื่อบันไดยาว 1.85 เมตร ก. 60 เซนติเมตร ข. 56 เซนติเมตร ค. 50 เซนติเมตร ง. 46 เซนติเมตร 9. ข้อใด ไม่ใช่อุบัติเหตุทีเกิดจากสภาพแวดล้อม ก. มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ข. การฝ่าฝืนกฎระเบียบของผู้ปฏิบัติงาน ค. สถานที่ทำงานมีอากาศไม่พอ ง. สถานที่ทำงานร้อนอบอ้าว 10. การทำงานเชื่อมไฟฟ้าต้องสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้ง ยกเว้นงานในข้อใด ก. การเจาะโลหะ ข. การเจาะปูน ค. การเจาะคอนกรีต ง. การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทมอเตอร์ ตอนที่ 2 เติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้องและสมบูรณ์ 1. สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมี 3 ส่วน มนุษย์, สภาพแวดล้อมและเครื่องมือ 2. ผู้ปฏิบัติงานไฟฟ้าที่สูงเกินกว่า 2 เมตร จะต้องสวมใส่ เข็มขัดนิรภัย ด้วยทุกครั้ง 3. การเดินสายไฟฟ้านอกอาคารเพื่อติดตั้งแบบชั่วคราว สายไฟฟ้าที่ใช้มีลักษณะ ทนแสงแดด กันน้ำได้ .
4. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว ควรที่จะต่อ สายดิน เข้าที่โครงโลหะของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 5. เมื่อเปิดพัดลมให้หมุนแล้วมีกลิ่นเหม็นที่ตัวเครื่อง ควรปฏิบัติดังนี้ คือ ปิดพัดลมให้หยุด . 6. ขณะใช้งานกระทะไฟฟ้า ควรวางกระทะไฟฟ้าบนพื้นที่ที่ ไม่ติดไฟ เช่น กระเบื้อง . 7. แผงสวิตช์ตัดตอนจะต้องแห้งอยู่ในระดับความสูงพอสมควรและไม่เข้าใกล้กับ สารไวไฟหรือสารเคมีที่ติด ไฟง่าย . 8. ระบบวงจรหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่ปลอดภัย ขั้วของหลอดจะต้อง แน่นไม่หลุดหลวม และจะไม่มีกลิ่น เหม็นไหม้ที่ บัลลาสต์ 9. ส่วนของสายไฟฟ้าที่จำเป็นต้องทะลุผ่านผนัง จะต้องมี ฉนวนรองรับสายไฟ จึงทำให้เกิดความปลอดภัย 10. การเปิดพัดลมเป็นเวลานานจะทำให้ มอเตอร์เกิดความร้อน ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ตอนที่ 3 อธิบายให้ได้ใจความสมบูรณ์ 1. ร่างกายมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับวงจรไฟฟ้าได้อย่างไรและกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมนุษย์ลงสู่ดินได้ อย่างไร อธิบาย ร่างกายมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในวงจรไฟฟ้า สาเหตุเกิดจากมนุษย์ไปสัมผัสกับ สายไฟฟ้าแล้วทำให้กระแสไฟฟ้าไหลได้ครบวงจร กล่าวคือ มือของมนุษย์ทั้งสองข้างแตะเข้ากับ
แรงดันไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์ ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมนุษย์ครบวงจรส่งผลให้มนุษย์ถูก กระแสไฟฟ้าดูดถึงแม้ว่าจะยืนอยู่บนฉนวนก็ตาม . 2. การใช้บันได้เพื่อปฏิบัติงานไฟฟ้าบนที่สูงตามผ้า เพดาน จะต้องพิงบันไดให้มีระยะทางที่เหมาะสม ปลอดภัย ขาด้านล่างของบันไดจะต้องมีระยะห่างจากที่พิงผนังเท่าใดเมื่อบันไดยาว 3 เมตร อธิบาย 75 เซนติเมตร . 3. บ้านพักอาศัยมีลักษณะ 2 ชั้น แต่ละชั้นมีสะพานไฟแยกอย่างละ 1 ชุด เมื่อน้ำท่วมบ้านทั้งหลัง ควรปฏิบัติ อย่างไร เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยทางไฟฟ้า อธิบาย ให้งดใช้กระแสไฟฟ้า โดยสับสะพานไฟฟ้าหลักลงมาเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าบ้านได้ . 4. เครื่องใช้ไฟฟ้าใดบ้างที่จำเป็นต้องมีการต่อสายดิน อธิบาย ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น . 5. ระบบวงจรหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่ดีมีความปลอดภัย มีลักษณะอย่างไร อธิบาย 1) ไม่ควรนำวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย เช่น ผ้า กระดาษใกล้กับหลอดไฟฟ้า . 2) ขั้วของหลอดฟลูออเรสเซนต์ต้องแน่น ไม่หลุดหลวม และขณะใช้งานจะต้องไม่เกิดความร้อนที่ขา ใช้งานของหลอดไฟดังกล่าว . 3) จะต้องไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้เกิดขึ้นที่บัลลาสต์ . 4) ไม่ควรปล่อยให้หลอดไฟเกิดการกระพริบหรือปล่อยให้หัวของหลอดไฟแดงตลอดเวลาโดยไม่เกิด ความสว่าง เพื่อทำให้หลอดไฟสว่างได้ต้องรีบแก้ไขที่หลอดไฟและสตาร์ตเตอร์ .
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 1 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. ร่างกายมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับวงจรไฟฟ้า อาศัยหลักการในข้อใด ก. มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย แต่ไม่ไหลครบวงจร ข. ร่างกายเปียกน้ำแล้วไปสัมผัสกับสายนิวตรอล ค. มีกระแสไฟฟ้าไหลจากสายไลน์แต่ไม่ผ่านร่างกายแล้วไปครบวงจรที่สายนิวตรอล ง. มีกระแสไฟฟ้าไหลจากสายไลน์ผ่านร่างกายครบวงจรที่สายนิวตรอล 2. เครื่องใช้ไฟฟ้าในข้อใดที่ต้องต่อสายดินเพื่อป้องกันปัญหาไฟฟ้ารั่ว ก. เตาไฟฟ้า กาต้มน้ำไฟฟ้า ข. ตู้เย็น เครื่องปิ้งขนมปัง ค. เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น ง. เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สวิตช์ ก. เกิดรอยร้าวที่ฝาครอบสวิตช์ ข. ไม่เกิดความร้อนที่สวิตช์ ค. สายไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับสวิตช์จะต้องหลวม ง. เกิดความร้อนที่สวิตช์ 4. ขาด้านล่างของบันไดที่ใช้ติดตั้งไฟฟ้ามีระยะห่างจากที่พิงผนัง 1.25 เมตร ความยาวของบันไดมีกี่เมตร ก. 5 เมตร ข. 6 เมตร ค. 7 เมตร ง. 8 เมตร 5. ขาด้านล่างของบันได้มีระยะห่างจากที่พิงผนังกี่เมตรเมื่อบันไดยาว 4 เมตร 60 เซนติเมตร มีค่าตรงกับ ข้อใด ก. 115 เซนติเมตร ข. 120 เซนติเมตร ค. 125 เซนติเมตร ง. 130 เซนติเมตร 6. ข้อใด ไม่ใช่อุบัติเหตุที่เกิดจากเครื่องมือและเครื่องจักร ก. สว่านไฟฟ้ามีรอยไหม้ ข. เครื่องเจาะเหล็กหมดอายุใช้งาน ค. ใช้คีมแทนค้อน ง. ที่ทำงานมืดมาก 7. เครื่องปรับอากาศที่ดีมีความปลอดภัยมีลักษณะคือสายไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศต้องมีขนาดเหมาะสม ถูกต้องทนกระแสไฟฟ้าให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ยกเว้น ข้อใด ก. ล้างเครื่องปรับอากาศ 1 ครั้ง ภายใน 6 เดือน ข. โครงโลหะของเครื่องปรับอากาศปราศจากไฟฟ้ารั่ว ค. ล้างเครื่องปรับอากาศ 1 ครั้งภายใน 2 ปี ง. ฉนวนของสายไฟฟ้าต้องไม่เสื่อมสภาพ
8. เมื่อเปิดพัดลมให้หมุนแล้วมีกลิ่นเหม็นไหม้ อันดับแรกควรปฏิบัติตามในข้อใด ก. งดใช้เครื่องเป็นการชั่วคราว ข. ปรึกษาช่างไฟฟ้าให้มาซ่อมแซม ค. ปิดพัดลมให้หยุดหมุน ง. สับสะพานไฟฟ้าในห้องนั้นลงมา 9. ข้อใดไม่ใช่ ลักษณะเด่นในการใช้สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติอย่างปลอดภัย ก. ไม่ควรใช้ฟิวส์เกินขนาด ข. แผงสวิตช์จะต้องแห้งและอยู่สูงพอสมควร ค. จุดสัมผัสและขั้วต่อสายไฟฟ้าเข้าฟิวส์ต้องแน่น ง. แผงสวิตช์ที่เป็นโลหะไม่ต้องต่อสายดิน 10. การใช้เครื่องปิ้งขนมปังอย่างปลอดภัยมีลักษณะอย่างไร ก. ไม่ควรวางอยู่บนผ้า ข. เมื่อเลิกใช้งาน ไม่ต้องดึงปลั๊กเสียบออกจากเต้ารับ ค. ฉนวนของสายไฟฟ้าต้องฉีกขาด ง. ส่วนที่เป็นโลหะต้องมีกระแสไฟฟ้ารั่ว
แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 2 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. ข้อใด ไม่ใช่ หน่วยงานในการออกกฎและมาตรฐานทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ.2545 ก. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ข. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ค. บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ง. การไฟฟ้านครหลวง 2. มาตรฐานทางไฟฟ้าสากลที่ทั่วโลกต่างให้การยอมรับคือข้อใด ก. Japanese Industrial Standard ข. National Electrical Company ค. American Nation Standard Institute ง. National Electrical Code 3. กฎและมาตรฐานที่เข้ามาควบคุมระบบไฟฟ้า มีขั้นตอนตรงกับข้อใด ก. ออกแบบ เลือกใช้อุปกรณ์ ติดตั้งบำรุงรักษา ข. เลือกใช้อุปกรณ์ ออกแบบ ติดตั้งบำรุงรักษา ค. ออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษา เลือกใช้อุปกรณ์ ง. ออกแบบ บำรุงรักษา เลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้ง 4. โหลดที่คาดว่าจะมีกระแสไฟฟ้าสูงสุดอย่างคงที่ติดต่อกันตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไปคือข้อใด ก. โหลดเกิน ข. โหลดต่อเนื่อง ค. เวลาใช้งานของโหลด ง. กระแสไฟฟ้าของโหลด 5. การใช้งานเกินพิกัดปกติของบริภัณฑ์หรือใช้กระแสไฟฟ้าเกินของตัวนำ หมายถึงข้อใด ก. แรงดันไฟฟ้าเกิน ข. โหลดเกิน ค. พิกัดตัดกระแสไฟฟ้า ง. จุดจ่ายไฟฟ้าจ่ายโหลดมากเกินไป 6. ตัวนำไฟฟ้าที่ต่อระหว่างเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของการไฟฟ้ากับบริภัณฑ์ประธานคือข้อใด ก. ตัวนำวงจรจ่าย ข. ตัวนำแผงย่อย ค. ตัวนำแผงสวิตช์ ง. ตัวนำประธาน 7. ข้อใดคือสัญลักษณ์สวิตช์ 2 ทาง ก. S4-2 ข. S21 ค. S2 ง. S12
8. สัญลักษณ์โคมไฟฟ้าของหลอดฟลูออเรสเซนต์คือข้อใด ก. ข. ค. Ⓛ ง. 9. สัญลักษณ์ และ หมายถึงข้อใด ก. เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วและแผงไฟฟ้ากำลัง ข. บริภัณฑ์ประธานและเครื่องตัดไฟฟ้ารั่ว ค. เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วและบริภัณฑ์ประธาน ง. เครื่องตัดไฟฟ้ารั่วและเครื่องปรับอากาศ 10. สัญลักษณ์ และ หมายถึงข้อใด ก. เต้ารับเดี่ยวและกระดิ่งไฟฟ้า ข. เต้ารับคู่และแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ค. เต้ารับคู่และออดไฟฟ้า ง. เต้ารับคู่และกระดิ่งไฟฟ้า RCD
แบบฝึกหัดบทที่ 2 ตอนที่ 1เขียนเครื่องหมายกากบาท (✗) ลงในข้อที่ถูกต้องที่สุด 1. ภายใน 1 ปี ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้ากี่ครั้ง ก. 3 ครั้ง ข. 2 ครั้ง ค. 1 ครั้ง ง. 4 ครั้ง 2. มาตรฐานไฟฟ้าใดที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ก. ISJ ข. JIS ค. DIN ง. JSI 3. ข้อใดหมายถึงตัวนำวงจรที่อยู่ระหว่างอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินจุดสุดท้ายกับจุดจ่ายไฟฟ้า ก. ระบบสายภายใน ข. วงจรย่อย ค. จุดจ่ายไฟชนิดเต้ารับ ง. แผงย่อย 4. เครื่องตัดวงจรในขณะที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินหมายถึงข้อใด ก. เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน ข. บริภัณฑ์ประธาน ค. เครื่องตัดไฟรั่ว ง. แผงสวิตช์ 5. ระบบแรงต่ำหมายถึงข้อใด ก. ระบบไฟฟ้ามีแรงดันไฟฟ้าระหว่างเฟสต่ำกว่า 1,000 โวลต์ ข. ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างเฟสเท่ากับ 380 โวลต์ ค. ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเส้นไฟกับสายนิวตรอลเท่ากับ 220 โวลต์ ง. ระบบไฟฟ้ามีแรงดันไฟฟ้าระหว่างเฟสประมาณ 1,000 โวลต์ถึง 1 กิโลโวลต์ 6. ตัวนำของวงจรอยู่ระหว่างเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินของวงจรย่อยกับเมนสวิตช์คือข้อใด ก. สายดิน ข. สายเส้นไฟ ค. สายของวงจรย่อย ง. สายป้อน 7. สัญลักษณ์ ⊙ ⃞ Ⓕคือข้อใด ก. หลอดฟลูออเรสเซนต์เดี่ยว เต้ารับฝังพื้น ออดไฟฟ้าและจุดต่อพัดลม ข. หลอดฟลูออเรสเซนต์คู่ สวิตช์กดออกไฟฟ้า และจุดต่อฟิวส์ ค. หลอดผลูออเรสเซนต์คู่ สวิตช์กดออดไฟฟ้าและจุดต่อพัดลม ง. หลอดฟลูออเรสเซนต์คู่ เต้ารับฝังพื้นออดไฟฟ้า และจุดต่อพัดลม
8. ข้อใดหมายถึงสัญลักษณ์เต้ารับสำหรับงานเฉพาะอย่างชนิดเดี่ยว ก. ข. ค. ง. GR 9. ข้อใดหมายถึงสัญลักษณ์สายไฟฟ้าที่เดินกลับไปยังแผงจ่ายไฟมีทั้งหมด 4 เส้น ก. ข. ค. ง. 10. ฟิวส์และเซอร์กิตเบรกเกอร์ มีสัญลักษณ์ตรงกับข้อใด ก. ข. ค. ง. ตอนที่ 2 เติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้องและสมบูรณ์ 1. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีชื่อย่อว่า มอก. และมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าสากล คือ NEC ย่อมาจากคำว่า National Electrical Code 2. การทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เมื่อผู้ออกแบบไฟฟ้าคิดสำเร็จแล้ว ขั้นต่อไป คือ เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า . 3. อุปกรณ์ถูกออกแบบให้ปิด-เปิดวงจรไม่อัตโนมัติและเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินกำหนดระบบจะต้อง เปิดวงจรอย่างอัตโนมัติ หมายถึง เซอร์กิต เบรกเกอร์ 4. จากตารางที่ 1 ให้เขียนรายละเอียดของสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า ตารางที่ 1 รายละเอียดของสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า สัญลักษณ์ รายละเอียด โทรศัพท์ภายนอก . กล่องต่อสาย . + แจ้งเหตุเพลิงไหม้ . เต้ารับชนิดเดี่ยว . SWP สวิตช์กันน้ำ . แผงไฟฟ้ากำลัง . โคมฟลูออเรสเซนต์หลอดเดี่ยว . GR เต้ารับคู่มีสายดิน .
ตอนที่ 3 อธิบายให้ได้ใจความสมบูรณ์ 1. การออกแบบระบบไฟฟ้าและการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ามีลักษณะอย่างไร อธิบาย การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า การติดตั้งไฟฟ้าและการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า การออกแบบระบบ ไฟฟ้าเป็นการคิดคำนวณหาขนาดกระแสไฟฟ้าของโหลด การคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ (Parameter) ต่าง ๆ เพื่อเลือกใช้เครื่องป้องกัน ชนิดของสายไฟฟ้า ขนาดของสายไฟฟ้า และอื่น ๆ การเลือกใช้อุปกรณ์ ไฟฟ้าจะต้องใช้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) หรือมาตรฐานสากลอื่น ๆ สำหรับการติดตั้งไฟฟ้า จะต้องติดตั้งและเดินสายไฟฟ้าให้มีมาตรฐาน 2. เครื่องปลดวงจร และเซอร์กิตเบรกเกอร์มีลักษณะอย่างไร อธิบาย เซอร์กิต เบรกเกอร์(Circuit Breaker) อุปกรณ์ถูกออกแบบให้ปิด-เปิดวงจรไม่อัตโนมัติ และเมื่อมี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินกำหนด ระบบจะต้องเปิดวงจรอย่างอัตโนมัติเครื่องปลดวงจร (Disconnecting Means) 3. แรงดันไฟฟ้าที่ระบุแตกต่างจากแรงดันไฟฟ้าเทียบกับดินอย่างไร อธิบาย แรงดันไฟฟ้าเทียบกับดิน (Voltage to Ground) สำหรับวงจรที่มีการต่อลงดิน คือ แรงดันไฟฟ้า ระหว่างตัวนำที่กำหนดกับจุดหรือตัวนำของวงจรที่ต่อลงดิน และสำหรับวงจรที่ไม่ต่อลงดิน คือ แรงดันไฟฟ้าสูงสุดระหว่างตัวนำที่กำหนดกับตัวนำอื่น ๆ ในวงจร 4. วงจรย่อยแตกต่างจากแผงย่อยอย่างไร อธิบาย วงจรย่อย (Branch Circuit) หมายถึง ตัวนำวงจรที่อยู่ในวงจรไฟฟ้าระหว่างอุปกรณ์ป้องกัน กระแสไฟฟ้าเกินจุดสุดท้ายกับจุดจ่ายไฟฟ้า แผงย่อย (Panelboard) แผงเดี่ยวหรือกลุ่มของแผงเดี่ยว เป็น แผงที่ออกแบบให้ติดตั้งไว้ในตู้หรือกล่องสะพานไฟที่ติดบนผนังเข้าถึงได้ทางด้านหน้า 5. ตัวนำหุ้มฉนวนแตกต่างจากตัวนำหุ้มอย่างไร อธิบาย ตัวนำหุ้ม (Covered Conductor) หมายถึง ตัวนำที่หุ้มด้วยวัสดุที่มีความหนา ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นฉนวนไฟฟ้าตามมาตรฐานนี้ ตัวนำหุ้มฉนวน (Insulated Conductor) หมายถึง ตัวนำที่หุ้มด้วยวัสดุที่มี ความหนาและยอมรับว่าเป็นฉนวนไฟฟ้า
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 2 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. หน่วยงานใดที่ออกกฎและมาตรฐานทางไฟฟ้าในประเทศไทย พ.ศ.2545 ก. การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและกรมชลประทาน ข. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ค. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วยงานอื่นที่ เกี่ยวข้อง ง. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยบริษัทเทลเลคอมเอเชียและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2. มาตรฐานไฟฟ้าในข้อใดที่ยึดถือมาจากอเมริกา ก. America National Service Institute ข. America Nation Standard Institute ค. America Norman Standard Institute ง. America Nation Standard International 3. กฎและมาตรฐานที่เข้ามาควบคุมระบบไฟฟ้าในขั้นตอนใดที่ต้องใช้ตามมาตรฐานสากล ก. การติดตั้งไฟฟ้า ข. การบำรุงรักษา ค. การออกแบบ ง. การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า 4. การใช้งานเกินพิกัดปกติของบริภัณฑ์หมายถึงข้อใด ก. ช่องเดินสายลัดวงจร ข. ตัวนำประธานขาดวงจร ค. แรงดันไฟฟ้าเกิน ง. โหลดเกิน 5. กระแสไฟฟ้าสูงสุด ณ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดถูกประสงค์ให้ตัดวงจรคือข้อใด ก. พิกัดตัดวงจร ข. พิกัดตัดแรงดันไฟฟ้า ค. กระแสไฟฟ้าเกิน ง. โหลดเกิน 6. อุปกรณ์ใดอยู่ระหว่างแผงสวิตช์กับแผงย่อย ก. สายป้อน ข. วงจรย่อย ค. ตัวนำประธาน ง. ที่ทำงานมืดมาก
7. สัญลักษณ์ S หมายถึงข้อใด ก. สวิตช์กันน้ำ ข. สวิตช์เปิดประตูอัตโนมัติ ค. สวิตช์ 1 ทาง ง. สวิตช์ 3 ทาง 8. สัญลักษณ์ Ⓛ หมายถึงข้อใด ก. ขั้วหลอดไฟพร้อมสวิตช์ตัดตอนในตัวแบบดึง ข. ขั้วหลอดไฟ ค. โคมไฟ ง. หลอดฟลูออเรสเซนต์ 9. เครื่องตัดไฟรั่วและเครื่องปรับอากาศมีสัญลักษณ์ตรงกับข้อใด ก. , ข. , ค. , ง. , 10. เต้ารับเดี่ยวและการแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีสัญลักษณ์ตรงกับข้อใด ก. + , ข. , + ค. , ง. , RCD RCD A/C RCD RCD A/C
แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 3 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย มีแรงดันไฟฟ้าเท่าไร ก. 220 V และ 110 V ข. 380 V ค. 110 V ง. 220 V 2. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย นำแรงดันไฟฟ้ามาจากจุดใด ก. สายเส้นไฟกับสายดิน ข. สายดินกับสายนิวตรอล ค. สายเส้นไฟกับสายนิวตรอล ง. ถูกทั้ง ข้อ ข. และ ข้อ ค. 3. ลักษณะเด่นของระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย คือข้อใด ก. ประกอบด้วยสายเส้นไฟเฟส 1 สาย เส้นไฟเฟส 2 และเส้นไฟเฟส 3 ข. แรงดันไฟฟ้าระหว่างเฟส 2 กับ เฟส 3 มีค่า 220 V ค. ประกอบด้วยสายเส้นไฟเฟส 1 สาย เส้นไฟเฟส 2 และสายดิน ง. แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายดินกับสายเส้นไฟเฟส 3 มีค่าเท่ากับ 380 V 4. ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะเด่นของระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย ก. แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเส้นไฟเฟส 1 กับ สายเส้นไฟเฟส 2 มีค่า 380 V ข. ใช้งานกับหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส และ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์ ค. เหมาะสำหรับใช้งานกับโหลดสมดุล เช่น มอเตอร์ 3 เฟส ง. ไม่มีสายดินและสายนิวตรอล 5. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย ให้แรงดันไฟฟ้าออกมาตรงกับข้อใด ก. 380/220 V ข. 380 V ค. 220 V ง. 380 V และ 0 V 6. แรงดันไฟฟ้า 220 V จากระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย นำมาจากแหล่งใด ก. สายเส้นไฟเฟส 2 กับสายเส้นไฟเฟส 3 ข. สายนิวตรอลกับสายเส้นไฟเฟส 2 ค. สายดินกับสายนิวตรอล ง. สายเส้นไฟเฟส 1 กับสายเส้นไฟเฟส 3 7. เตารีดไฟฟ้าขนาด 1,200 วัตต์ มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเท่าไร ก. 3.45 A ข. 4.45 A ค. 5.45 A ง. 6.45 A
8. ผลคูณของกระแสไฟฟ้ากับแรงดันไฟฟ้าและตัวประกอบกำลังคือข้อใด ก. พลังงานไฟฟ้าของโหลด 1 เฟส ข. กำลังไฟฟ้าของโหลด 3 เฟส ค. พลังงานไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าของโหลด 1 เฟส ง. กำลังไฟฟ้าของโหลด 1 เฟส 9. มีวิธีการใดที่ทำให้มอเตอร์มีค่าตัวประกอบกำลังที่สูงขึ้น ก. ติดตั้งหลอดไฟฟ้าใกล้กับมอเตอร์ ข. ใส่ตัวเก็บประจุให้กับมอเตอร์ ค. เพิ่มความเร็วรอบให้กับมอเตอร์มากกว่าปกติ ง. ลดกำลังไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ต่ำลง
แบบฝึกหัดบทที่ 3 ตอนที่ 1เขียนเครื่องหมายกากบาท (✗) ลงในข้อที่ถูกต้องที่สุด 1. สายไฟฟ้าในข้อใดเมื่อพิจารณาระบบไฟฟ้า 1 เฟส แล้วถูกกระแสไฟฟ้าดุดเมื่อใช้มือสัมผัส ก. สายดิน ข. สายนิวตรอล ค. สายไลน์ ง. สายไลน์กับสายดิน 2. สายไฟฟ้าใดจำเป็นต้องต่อลงดินทุกครั้งที่ต้นทางของแหล่งจ่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นสายป้องกันอันตรายให้กับ ระบบ ก. สายดิน ข. สายนิวตรอล ค. สายเส้นไฟ ง. สายเส้นไฟกับสายนิวตรอล 3. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง ก. แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายนิวตรอลกับสายเส้นไฟเฟส 1 มีค่า 380 V ข. เป็นระบบที่ไม่มีสายดินและสายนิวตรอล ค. แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเส้นไฟเฟส 1 กับสายเส้นไฟเฟส 2 มีค่า 380 V ง. แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเส้นไฟเฟส 2 กับสายเส้นไฟเฟส 3 มีค่า 380 V 4. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง ก. แรงดันไฟฟ้า 220 V มาจากสายนิวตรอลกับสายเส้นไฟเฟส 3 ข. แรงดันไฟฟ้า 220 V มาจากสายเส้นไฟเฟส 1 กับสายนิวตรอล ค. แรงดันไฟฟ้า 380 V มาจากสายเส้นไฟเฟส 2 กับสายเส้นไฟเฟส 3 ง. แรงดันไฟฟ้า 380 V มาจากสายนิวตรอล กับสายเส้นไฟเฟส 2 5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังโหลด ก. กระแสไฟฟ้าขณะเริ่มทำงานของมอเตอร์จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าใช้งานปกติ ข. การออกแบบไฟฟ้าในขั้วตอนสุดท้ายที่ต้องทราบข้อมูลคือขนาดของโหลด ค. ขนาดใช้งานของโหลดทางไฟฟ้าถูกกำหนดด้วยค่าของแรงดันไฟฟ้า ง. กระแสไฟฟ้าขณะเริ่มทำงานของมอเตอร์จะมีค่าสุงกว่ากระแสไฟฟ้าใช้งานปกติ 6. ตัวประกอบกำลังของโหลดโดยทั่วไปมีค่าเท่าใด ก. มีค่ามากกว่า 1 เช่น 1.5 ข. มีค่าระหว่าง 0.1 ถึง 0.4 ค. ไม่เกิน 1 ง. ไม่เกิน 0.5
7. โหลดที่ใช้งานกับระบบไฟฟ้า 1 เฟส ต้องเลือกอัตราทนแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้าอย่างไร ก. ต้องเลือกอัตราทนแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลต์ ข. ต้องเลือกอัตราทนแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้าให้มากกว่า 300 โวลต์ ค. ต้องเลือกสายวีเอเอฟขนาด 1.5 ตารางมิลลิเมตร และมีอัตราทนแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้า เท่ากับ 220 โวลต์ ง. ต้องเลือกสายวีเอเอฟขนาด 2.5 ตารางมิลลิเมตร และมีอัตราทนแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้า มากกว่า 750 โวลต์ 8. เต้ารับจุดละ 200 VA มีทั้งหมด 5 จุด ค่ากำลังไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าของเต้ารับทั้ง 5 จุดมีค่าตรงกับข้อใด เมื่อได้ถูกใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว ก. 200 VA, 4.55 A ข. 1000 VA, 5.45 A ค. 1000 VA, 4.55 A ง. 1000 VA, 4.56 A 9. โหลดที่ใช้งานกับระบบไฟฟ้าเฟสเดียวต้องเลือกแรงดันไฟฟ้าพิกัดของอุปกรณ์ป้องกันในข้อใด ก. มีแรงดันไฟฟ้าเกินกว่า 415 โวลต์ ข. มีแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 380 โวลต์ ค. มีแรงดันไฟฟ้าเกินกว่า 750 โวลต์ ง. มีแรงดันไฟฟ้า 2 ชุด คือ 220 โวลต์ กับ 380 โวลต์ 10. มอเตอร์ 1.2 แรงม้า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 0.7 ค่ากำลังไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์มีกี่วัตต์ ก. 1,278.86 วัตต์ ข. 1,267.86 วัตต์ ค. 1,258.86 วัตต์ ง. 1,248.86 วัตต์
ตอนที่ 2 เติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้องและสมบูรณ์ 1. ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวจ่ายแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลต์ ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย จ่าย แรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 380 โวลต์ และระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย จ่ายแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลต์ . 2. หลอดไฟฟ้าชนิดไส้ 100 วัตต์ มีค่าตัวประกอบกำลังเท่ากับ 1 กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้ามีค่า เท่ากับ 0.45 A และหลอดไฟฟ้าชนิดฟลูออเรสเซนต์ 18 วัตต์ มีค่าตัวประกอบกำลังเท่ากับ 0.5 มี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดไฟฟ้าเท่ากับ 0.16 A 3. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียวมีแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 V มีตัวประกอบกำลังเท่ากับ 0.6 มี กระแสไฟฟ้าเท่ากับ 6.82 แอมแปร์ กำลังไฟฟ้ามีค่าเท่ากับ 900.24 W 4. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส 380 โวลต์ มีกระแสไฟฟ้ากับตัวประกอบกำลังเท่ากับ 10.25 แอมแปร์ และ 0.8 ตามลำดับ กำลังไฟฟ้าเท่ากับ และมีกำลังไฟฟ้าที่ปรากฏเท่ากับ 5. กำลังทางกลของมอเตอร์ 3 แรงม้า เมื่อแปลงเป็นกำลังไฟฟ้าได้ 2,238 วัตต์ ค่ากำลังไฟฟ้าดังกล่าว หมายถึง ค่าที่มอเตอร์ขับออกมา . 6. มอเตอร์ 4.75 แรงม้า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 0.9 ค่ากำลังไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์เท่ากับ 3,937.22 วัตต์ 7. เมื่อโหลดใช้งานกับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว อัตราทนแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้าจะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า .340 โวลต์ และแรงดันไฟฟ้าพิกัดของอุปกรณ์ป้องกันจะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 240 โวลต์ 8. มอเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส สายไฟฟ้าที่ใช้กับมอเตอร์มีอัตราทนแรงดันไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 750 โวลต์ และ แรงดันไฟฟ้าพิกัดของอุปกรณ์ป้องกันจะต้องไม่น้อยกว่า 415 โวลต์
ตอนที่ 3 อธิบายให้ได้ใจความสมบูรณ์ 1. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส มีลักษณะเด่นอย่างไร ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย เป็นระบบที่ใช้กันโดยทั่วไปตามบ้านพัก ที่อยู่อาศัย อาคารและ สำนักงานต่าง ๆ . 2. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย แตกต่างจากระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย อย่างไร ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย ถูกใช้งานกับโหลดชนิด 3 เฟส มีสมดุล เช่น มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้า สลับ 3 เฟส และหม้อแปลงไฟฟ้า 380 โวลต์ ชนิด 3 เฟส เป็นต้น แตกต่างตรงที่มีการเพิ่มสายนิวตรอลเข้า มา 1 เส้น เพื่อทำให้สามารถใช้ได้กับแรงดันไฟฟ้า 380 โวลต์ กับแรงดันไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์ได้ โยมีสาย ดินทำหน้าที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบไฟฟ้าดังกล่าว 3. เครื่องรับโทรทัศน์สี 25 นิ้ว มีกำลังไฟฟ้า 159 วัตต์ และพัดลมตั้งพื้นขนาดยาวมีกำลังไฟฟ้าเท่ากับ 50 วัตต์ กระแสไฟฟ้าของเครื่องรับโทรทัศน์สีและกระแสไฟฟ้าของพัดลมตั้งพื้นมีกี่แอมแปร์ โทรทัศน์สี I1 = 1∙cos I = 159 220(1) I = 0.72 A พัดลม I = 50 220(1) I = 0.227 A ต่างกัน 0.49 A . 4. กำหนดชุดหลอดฟลูออเรสเซนต์ 18 วัตต์ จำนวน 4 ชุด ตัวประกอบกำลัง PF มีค่า 0.55 จงคำนวณหา กระแสไฟฟ้าของหลอดฟลูออเรสเซนต์ทั้ง 4 ชุด มีกี่แอมแปร์ 6.55 แอมแปร์ . 5. มอเตอร์ 6.75 แรงม้า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 0.86 มีตัวประกอบกำลังเท่ากับ 0.75 อยากทราบว่า กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมอเตอร์มีกี่แอมแปร์ 35.49 แอมแปร์ 6. กำหนดให้มอเตอร์ 3 เฟส มีตัวประกอบกำลังเท่ากับ 0.8 กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมอเตอร์มี 4.7 แอมแปร์ จงคำนวณหากำลังไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าที่ปรากฏมีค่าเท่าไร 2,474.68 วัตต์
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 3 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ ได้มาจากระบบไฟฟ้าในข้อใด ก. ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวประกอบด้วยสายนิวตรอลกับสายดิน ข. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย ค. ระบบไฟฟ้าเฟสเดียว 3 สาย ง. ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวประกอบด้วยสายไลน์กับสายนิวตรอล 2. แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเส้นไฟกับสายนิวตรอลมีแรงดันไฟฟ้ากี่โวลต์ ก. 380 V ข. 110 V/ 220 V ค. 220 V ง. 220 V/ 380 V 3. ลักษณะเด่นของระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย คือข้อใด ก. แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเส้นไฟเฟส 1 กับสายเส้นไฟเฟส 2 มีค่า 380 V ข. ประกอบด้วยสายเส้นไฟเฟส 1 สายเส้นไฟเฟส 2 และสายนิวตรอล ค. แรงดันไฟฟ้าระหว่างเฟส 2 กับเฟส 3 มีค่า 220 V ง. แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเส้นไฟเฟส 2 กับสายเส้นไฟเฟส 3 มีค่า 220 V และ 380 V 4. ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะเด่นของระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย ก. ใช้งานกับมอเตอร์ 3 เฟส ข. แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเส้นไฟเฟส 1 กับสายเส้นไฟเฟส 3 มีค่า 220 V ค. ไม่มีสายดินและสายนิวตรอล ง. ใช้งานกับหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส สามารถแปรงแรงดันไฟฟ้าออกมาได้เท่ากับ 220 V 5. ระบบไฟฟ้าในข้อใดที่จ่ายแรงดันไฟฟ้าออกเป็น 380 V และ 220 V ก. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย ข. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย ค. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย ง. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 สาย 6. แรงดันไฟฟ้า 220 V จากระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย มาจากสายเส้นไฟเฟส 2 กับสานิวตรอล ยกเว้น สายไฟฟ้าในข้อใด ก. สายเส้นไฟเฟส 3 กับสายนิวตรอล ข. สายเส้นไฟเฟส 1 กับสายเส้นไฟเฟส 2 ค. สายเส้นไฟเฟส 1 กับสายนิวตรอล และสายเส้นไฟเฟส 3 กับสายนิวตรอล ง. สายเส้นไฟเฟส 1 กับสายนิวตรอล
7. กระแสไฟฟ้าจากเตารีดไฟฟ้ามีค่า 6.45 แอมแปร์ ค่ากำลังไฟฟ้าของเตารีดไฟฟ้ามีกี่วัตต์ ก. 1,119 วัตต์ ข. 1,219 วัตต์ ค. 1,419 วัตต์ ง. 1,319 วัตต์ 8. โหลดในข้อใดมีตัวประกอบกำลังเท่ากับ 1 ก. ขั้วหลอดไฟพร้อมสวิตช์ตัดตอนในตัวแบบดึง ข. พัดลมตั้งพื้น ค. เครื่องดูดฝุ่น ง. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 9. การนำตัวเก็บประจุมาใส่ให้กับมอเตอร์มีประโยชน์เพื่อสิ่งใด ก. ทำให้ตัวประกอบกำลังสูงขึ้น และกระแสไฟฟ้าของมอเตอร์มีค่าสูงขึ้นด้วย ข. กระแสไฟฟ้าของมอเตอร์มีค่าลดลง ค. ทำให้ตัวประกอบกำลังลดลง ง. ทำให้ตัวประกอบกำลังมีค่าลดลงส่งผลให้กระแสไฟฟ้าของมอเตอร์ลดลงด้วย
แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 4 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. เพราะเหตุใดในการเดินสายไฟฟ้า ไม่ควรเดินสายร่วมกับสายอากาศของเครื่องรับโทรทัศน์ ก. สิ้นเปลืองค่ากระแสไฟฟ้า ข. เกิดความร้อนสูง ค. ทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง ง. เกิดสัญญาณรบกวน 2. การเดินสายไฟฟ้าในระบบแรงดันไฟฟ้าต่ำ ใช้แรงดันไฟฟ้าอย่างไร ก. สูงกว่า 200 โวลต์ แต่ไม่เกิน 380 โวลต์ ข. ไม่เกิน 800 โวลต์ ค. ต่ำกว่า 1,000 โวลต์ ง. ไม่เกิน 1,200 โวลต์ 3. สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนแบบ 2 แกนตามมาตรฐาน มอก. 11-2553 จะกำหนดเป็นสีในข้อใด ก. ฟ้ากับน้ำตาล ข. ตำกับเทาอ่อน ค. เทาอ่อนกับน้ำเงิน ง. ดำกับแดง 4. สายไฟฟ้าจะมีขนาดพื้นที่หน้าตัดเท่าไรจำเป็นต้องทำเครื่องหมายที่ปลายสายทั้งสอง ก. เกินกว่า 16 ตารางมิลลิเมตร ข. ต่ำกว่า 14 ตารางมิลลิเมตร ค. เกินกว่า 22 ตารางมิลลิเมตร ง. เกินกว่า 18.50 ตารางมิลลิเมตร 5. การเดินสายไฟฟ้าที่ต้องใช้เข็มขัดรัดสายซึ่งระยะห่างของเข็มขัดรัดสายมีค่าเท่าไร ก. ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ข. ต่ำกว่า 15 เซนติเมตร ค. เท่ากับ 20 เซนติเมตร ง. เท่ากับ 15 เซนติเมตร 6. ข้อกำหนดการเดินสายบนผิวอาคารข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง ก. ป้องกันไม่ให้ฉนวนของสายไฟฟ้าเกิดฉีกขาด ข. การเดินสายไฟฟ้าต้องซ้อนกันและต้องติดตั้งเรียงเป็นชั้นเดียว ค. ใช้สายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. ง. ไม่ควรเกินสายไฟฟ้าแบบซ้อนกัน
7. ข้อกำหนดของดวงโคมและเครื่องประกอบคือจุดต่อสายจะไม่อยู่ในก้านของดวงโคม ยกเว้น ข้อใด ก. ขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้กับดวงโคมมีขนาดไม่น้อยกว่า 1.5 ตารางมิลลิเมตร ข. ขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้กับดวงโคมมีขนาดไม่น้อยกว่า 0.5 ตารางมิลลิเมตร ค. ห้ามใช้ขั้วรับหลอดเป็นตัวรับน้ำหนักของดวงโคม ง. ดวงโคมและขั้วรับหลอดจะต้องมีการจับยึดที่แข็งแรง 8. สายไฟฟ้าเส้นใดที่ไม่จำเป็นต้องต่อวงจรผ่านฟิวส์ ก. สายเส้นไฟฟ้าเฟส 3 ข. สายเส้นไฟฟ้าเฟส 2 ค. สายนิวตรอล ง. สายเส้นไฟฟ้าเฟส 1 9. การต่อวงจรเข้ากับสวิตช์ที่ทำหน้าที่ควบคุมไฟฟ้าแสงสว่าง จะต่อในลักษณะข้อใด ก. การต่อสายนิวตรอลอนุกรมกับสวิตช์ ข. การต่อสายเส้นไฟฟ้าอนุกรมกับสวิตช์ ค. การต่อสายนิวตรอลขนานกับสวิตช์ ง. การนำสวิตช์ต่ออนุกรมกับสตาร์ตเตอร์ที่อยู่ในวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์
แบบฝึกหัดบทที่ 4 ตอนที่ 1 เขียนเครื่องหมายกากบาท (✗) ลงในข้อที่ถูกต้องที่สุด 1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเดินสายไฟฟ้าเฟสเดียว ก. สายเส้นไฟฟ้ากับสายนิวตรอลไม่ควรอยู่ในช่องเดียวกัน ข. สายเส้นไฟฟ้ากับสายนิวตรอลควรอยู่ในช่องเดียวกัน ค. ช่องเดินสายไฟฟ้าควรจะทำให้ฉนวนของสายไฟฟ้าเกิดการฉีกขาด ง. ช่องเดินสายไฟฟ้าต้องเป็นฉนวนกันความร้อนต่ำ 2. การเดินสายไฟฟ้าในช่องเดินสายเดียวกันของระบบไฟฟ้าเฟสเดียวกับระบบไฟฟ้า 3 เฟส สามารถที่จะ กระทำได้โดยเลือกฉนวนของสายไฟฟ้าที่ทนแรงดันไฟฟ้าเท่าไร ก. 220 V ข. 380 V ค. 420 V ง. 750 V 3. ลักษณะการเดินสายไฟฟ้าแนวดิ่งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการคือข้อใด ก. ต้องมีการยึดสายไฟฟ้าเป็นช่วง ๆ ละ 15 เมตร ทุกขนาดของสายไฟฟ้า ข. ต้องมีการยึดสายเป็นช่วง ๆ ละ 30 เมตร เหมาะกับสายไฟฟ้าขนาด 30 ตารางมิลลิเมตร ค. ต้องมีการยึดสายไฟฟ้าเป็นช่วง ๆ ละ 12 เมตร เหมาะกับสายไฟฟ้าขนาดมากกว่า 300 ตาราง มิลลิเมตร ง. ไม่ต้องมีการยึดสายไฟฟ้า แต่ต้องทำให้น้ำหนักของสายลดลง 4. การเดินสายไฟฟ้าที่ทะลุผ่านโครงสร้างไม้ช่องที่เจาะผ่านโครงสร้างไม้ห่างจากขอบไม้เท่าใด ก. 2 เซนติเมตร ข. 2.5 เซนติเมตร ค. 4 เซนติเมตร ง. 1.5 เซนติเมตร 5. การนำสายควบที่นำสายไฟหลายเส้นมาใช้ในเฟสเดียวกัน ขนาดของสายไฟฟ้ามีค่าเท่าไร ก. 30 ตารางมิลลิเมตร ข. 40 ตารางมิลลิเมตร ค. มากกว่า 50 ตารางมิลลิเมตร ง. 45 ตารางมิลลิเมตร 6. สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนที่มีสายดิน มีสีอะไร ก. สีเขียวแถบเหลือง ข. สีขาว ค. สีแดง ง. สีเทาอ่อน
7. ระบบไฟฟ้าเฟสเดียว มีการกำหนดสีของฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าตรงกับข้อใด ก. สายไลน์เป็นสีน้ำตาล สายนิวตรอลเป็นสีฟ้า ข. สายไลน์เป็นสีเทา สายนิวตรอลเป็นสีดำ ค. สายเส้นไฟฟ้าเป็นสีดำ สายนิวตรอลเป็นสีฟ้า ง. สายเส้นไฟฟ้าเป็นสีดำ สายนิวตรอลเป็นสายสีแดง 8. สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนแบบ 4 แกน มีสีเขียวแถบเหลือง สีน้ำตาล สีดำ และสีเทาอยากทราบว่า สายเส้นไฟฟ้า เฟส 2 กับสายดินควรเลือกสีอะไร ก. สีดำกับสีเขียวแถบเหลือง ข. สีแดงกับสีเขียวแถบเหลือง ค. สีน้ำตาลกับสีดำ ง. 46 เซนติเมตร 9. จากข้อ 8 ถ้าต้องการเลือกใช้แรงดันไฟฟ้า 380 โวลต์ จากสายเส้นไฟฟ้าที่ 1 กับสายเส้นไฟฟ้าที่ 3 ควร เลือกใช้สีอะไร ก. สีน้ำตาลกับสีเทา ข. สีดำกับสีเทา ค. สีเขียวกับสีเทาอ่อน ง. สีน้ำตาลกับสีเขียวแถบเหลือง 10. การเดินสายไฟฟ้าที่ทะลุผ่านผนังซึ่งการป้องกันสายเสื่อมสภาพ จะต้องกระทำตามข้อใด ก. จะต้องร้อยสายผ่านปลอกฉนวนที่เหมาะสม ข. จะต้องร้อยสายผ่านปลอกฉนวนที่ไม่ดูดความชื้น ค. จะต้องร้อยสายผ่านท่อโลหะ ง. จะต้องร้อยสายผ่านท่อพีวีซี
ตอนที่ 2 เติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้องและสมบูรณ์ 1. สายไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับเซอร์กิตเบรกเกอร์ สายเส้นไฟ . 2. สายไฟฟ้าที่จำเป็นต้องต่อเข้ากับฟิวส์ คือ สายนิวตรอล . 3. เมื่อสวิตช์มีการต่ออนุกรมเข้ากับสายนิวตรอลจะทำให้กระแสไฟฟ้าจาก สายเส้นไฟ ไหลเข้าโหลด ตลอดเวลา. 4. การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์คู่พร้มกับบัลลาสต์ 1 ตัว กำลังไฟฟ้าของบัลลาสต์ มีค่า 36 วัตต์ และ กำลังวัตต์ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ 1 หลอดมีค่าเท่ากับ 18 วัตต์ 5. วงจรสวิตช์บันได้จะใช้ สวิตช์ เพื่อควบคุมหลอดไฟฟ้า 1 ดวง 6. ตัวเก็บประจุที่ต่อคร่อมระหว่างสายนิวตรอลกับบัลลาสต์ที่อยู่ด้านหลังของสวิตช์สำหรับวงจรของหลอด ฟลูออเรสเซนต์ มีหน้าที่ ปรับค่าตัวประกอบ PF ให้สูงขึ้น ทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดมีค่า. เท่าเดิม . 7. การติดตั้งสวิตช์เพ่อควบคุมหลอดไฟฟ้าอย่างไม่ถูกวิธี มีข้อสังเกต คือ สวิตช์จะต่ออยู่ระหว่าง สายนิวตรอลกับหลอดไฟฟ้า . 8. วงจรสวิตช์ 3 ทาง มีข้อสังเกต คือ สวิตช์ทั้งสองตัวจะต่อเข้าที่ สายเส้นไฟ ขณะที่หลอดไฟฟ้าต่อเข้า ที่ สายนิวตรอล . 9. การเดินสายไฟฟ้าบนผิวอาคารจำเป็นต้องใช้เข็มขัดรัดสาย โดยระยะห่างของเข็มขัดรัดสายมีค่าไม่เกิน. 20 เซนติเมตร . 10. สายหุ้มฉนวนแบบ 5 แกน มีสีดังนี้ คือ สีเขียวแถบเหลือง สีฟ้า สีน้ำตาล สำดำ และสีเทา .
ตอนที่ 3 อธิบายให้ได้ใจความสมบูรณ์ 1. การเดินสายของระบบไฟฟ้า 3 เฟส มีลักษณะอย่างไร อธิบาย ไม่ควรเดินแยกระหว่างสายเส้นไฟฟ้าเฟส 1 สายเส้นไฟฟ้าเฟส 2 และสายเส้นไฟฟ้าเฟส 3 ควรที่จะ อยู่ในช่องเดียวกันด้วย . 2. การเดินสายไฟฟ้าในแนวดิ่งมีลักษณะอย่างไร อธิบาย การเดินสายไฟฟ้าในแนวดิ่งควรจะต้องมีการยึดสายไฟฟ้าให้เป็นช่วง ๆ เพื่อไม่ให้สายไฟฟ้ารับน้ำหนัก ที่มากเกิน อาจจะทำให้สายไฟฟ้าเสียหายได้ ซึ่งระยะยึดของสายไฟฟ้าหากเป็นสายไฟฟ้าขนาดพื้นที่หน้าตัด น้อยกว่า 50 ตารางมิลลิเมตร . 3. การติดตั้งฟิวส์ให้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียวมีวิธีการอย่างไร อธิบาย ฟิวส์และสวิตช์จะต้องต่ออันดับกับสายไลน์ที่เป็นสายเส้นไฟฟ้าจะทำให้ระบบมีความปลอดภัยสูง . 4. ลักษณะเด่นของการต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์คู่ บัลลาสต์เดี่ยวคืออะไร อธิบาย การต่อวงจรไฟฟ้าแสงสว่างให้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดหลอดคู่บัลลาสต์คู่ สวิตช์จะต่อเข้ากับ สายไฟฟ้าเป็นปกติ ซึ่งกำลังไฟฟ้าของบัลลาสต์ที่มีค่า 36 วัตต์ นี้สามารถที่จะต่อเข้ากับหลอดฟลูออเรส เซนต์ 18 วัตต์ ได้ถึง 2 หลอด . 5. ลักษณะเด่นของวงจรสวิตช์ 3 ทางคืออะไร อธิบาย 1) สวิตช์ S1กับสวิตช์ S2 เป็นสวิตช์ 3 ขั้วสับสองทางถูกต่อเข้ากับสายเส้นไฟฟ้าปกติสวิตช์ S1มีด้วยกัน 3 ขั้ว คือ ขั้ว 1 ขั้ว 2 และขั้ว 3 ส่วนสวิตช์ S2มีอยู่ 3 ขั้วเช่นกัน คือ ขั้ว 4 ขั้ว 5 และขั้ว 6 2) เมื่อสับสวิตช์ S1 ไปทางตำแหน่ง 3 จะทำให้ขั้ว 1 กับขั้ว 3 ต่อถึงกัน (กระแสไฟฟ้าไหลได้) แต่ทว่า ขั้ว 1 กับขั้ว 2 จะไม่ต่อเข้าหากัน (แยกจากกัน กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไม่ได้) ในทำนองเดียวกัน เมื่อสับสวิตช์ S2 ไปทาตำแหน่ง 6 จะทำให้ขั้ว 4 กับขั้ว 6 ต่อถึงกัน และจะทำให้ขั้ว 4 กับขั้ว 5 ถูกแยกออกจากกัน 3) เมื่อต้องการให้หลอดไฟฟ้าสว่าง สวิตช์ S1จะต้องสับสวิตช์มาที่ขั้ว 1 กับขั้ว 3 และสวิตช์ S2จะต้อง สับสวิตช์มาที่ขั้ว 4 กับขั้ว 5 หรืออีกกรณีหนึ่ง คือ สวิตช์ S1จะต้องสับสวิตช์มาที่ขั้ว 1 กับขั้ว 2 และสวิตช์ S2จะต้องสับสวิตช์มาที่ขั้ว 4 กับขั้ว 6 ก็จะทำให้หลอดไฟฟ้าสว่างได้
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 4 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. การเดินสายในข้อใดที่ทำให้เกิดสัญญาณรบกวน ก. การเดินสายไฟฟ้า 1 เฟส ในช่องเดินสายเดียวกัน ข. การเดินสายไฟฟ้า 3 เฟส ในช่องเดินสายเดียวกัน ค. การเดินสายไฟฟ้า 1 เฟส โดยแยกสายนิวตรอลออกจากสายเส้นไฟฟ้า ง. การเดินสายไฟฟ้าเฟสเดียวร่วมกับสายสัญญาณโทรศัพท์ 2. การเดินสายไฟในท่อร้อยสายที่มีระบบไฟฟ้าเฟสเดียวรวมกับระบบไฟฟ้า 3 เฟสฉนวนของสายไฟฟ้าทั้งสอง ระบบจะต้องทนแรงดันไฟฟ้าได้เท่าไร ก. 380 V ข. 750 V ค. 415 V ง. 1,000 V 3. การเดินสายในรางเคเบิลต้องวางสายไฟฟ้าอย่างไร ก. วางสายให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ข. เดินสายชุดละ 2 เส้น แล้วแยกกันเดินสาย ค. แยกกันเดินสายเพื่อลดปัญหาความร้อน ง. เดินสายครั้งละเส้นและวางสายให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน 4. วิธีการป้องกันการผุกร่อนให้กับท่อร้อยสายหรือเปลือกนอกของสายเคเบิลควรปฏิบัติตามข้อใด ก. เคลือบด้วยดีบุกกับตะกั่ว ข. เคลือบด้วยตะกั่วแคดเมียม ค. เคลือบด้วยสังกะสีแคดเมียม ง. เคลือบด้วยสังกะสีทองแดง 5. เมื่อติดตั้งสายไฟสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าสลับในท่อสายที่เป็นโลหะจะต้องจัดทำไม่ให้เกิดความ ร้อนด้วยวิธีการในข้อใด ก. รวมสายเฉพาะสายเส้นไฟฟ้าไว้ในกลุ่มเดียวกัน ข. รวบสายเส้นไฟฟ้าและสายนิวตรอลไว้ในท่อร้อยสายเดียวกัน ค. รวมสายดินกับสายนิวตรอลไว้ในกลุ่มเดียวกัน ง. รวมสายนิวตรอลทุกสายไว้ในท่อเดียวกัน 6. เมื่อเดินท่อร้อยสายผ่านบริเวณที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก เช่น เดินท่อร้อยสายเข้าและออกห้องเย็น จำเป็นต้องมีการป้องกันการไหลเวียนของอากาศภายในท่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งใด ก. ความร้อนสูงในท่อร้อยสาย ข. หยดน้ำภายในท่อร้อยสาย ค. น้ำแข็งภายในท่อร้อยสาย ง. ประกายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย
7. ข้อใดแสดงรหัสสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนแบบ 3 แกน ได้ถูกต้อง ก. เทาอ่อน ดำ เขียวแถบเหลือง ข. น้ำตาล ดำ เทา ค. ขาว ดำ ฟ้า ง. เทาอ่อน ดำ แดง และขาว ดำ แดง 8. ข้อใด ไม่ใช่ข้อกำหนดการเดินสายบนผิวอาคาร ก. ใช้สายไฟฟ้ามาตรฐาน มอก. ข. ติดตั้งเรียงชั้นเดียว ค. ระยะห่างของเข็มขัดรัดสายไม่เกิน 20 เซนติเมตร ง. ไม่ควรเดินสายไฟฟ้าซ้อนกันและระยะห่างของเข็มขัดรัดสายเท่ากับ 12 เซนติเมตรทุกระยะการ เดินสาย 9. สายไฟฟ้าเส้นใดที่จำเป็นต้องต่อวงจรผ่านฟิวส์ ก. สายเส้นไฟฟ้า ข. สายนิวตรอล ค. สายดิน ง. สายเส้นไฟฟ้ากับสายดิน 10. ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะเด่นของการต่อสายเส้นไฟฟ้าอนุกรมกับสวิตช์เพื่อควบคุมแสงสว่าง ก. เมื่อสวิตช์อยู่ในสภาวะเปิดวงจร (OFF) หลอดไฟฟ้าจะดับ ข. เมื่อสวิตช์อยู่ในสภาวะเปิดวงจร (OFF) มีไฟฟ้าค้างที่หลอด ค. เมื่อสวิตช์อยู่ในสภาวะปิดวงจร (ON) หลอดไฟฟ้าจะสว่าง ง. เมื่อสวิตช์อยู่ในสภาวะปิดวงจร (ON) จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดไฟฟ้า
แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 5 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว มีลักษณะตรงกับข้อใด ก. ติดตั้งโดยปราศจากสะพานไฟฟ้า ข. ติดตั้งหลังสะพานไฟฟ้า ค. ติดตั้งทางออกของตู้เย็นและทางออกของเครื่องใช้ไฟฟ้า ง. ติดตั้งโดยปราศจากสะพานไฟฟ้าและติดตั้งหลังสะพานไฟฟ้า 2. อุปกรณ์ใดทำหน้าที่ปิดและเปิดเส้นทางกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟฟ้า ก. เต้าเสียบกับเต้ารับ ข. เซอร์กิตเบรกเกอร์ ค. สวิตช์ ง. ฟิวส์ 3. ลักษณะเด่นของเต้ารับที่มีสายดินคือข้อใด ก. มี 2 ขั้ว คือ สายดินกับสายเส้นไฟ 1 ข. มี 3 ขั้ว คือ มีสายดิน สายเส้นไฟ และสายนิวตรอล ค. มี 3 ขั้ว คือ สายนิวตรอล สายเส้นไฟ 1 และสายเส้นไฟ 2 ง. มี 3 ขั้ว คือ สายดิน 2 สาย และสายเส้นไฟ 1 4. ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะฟิวส์ที่ใช้คัตเอาต์ ก. ฟิวส์กระปุก ข. ฟิวส์เส้น ค. ฟิวส์ก้ามปู ง. ฟิวส์เส้นกับฟิวส์ก้ามปู 5. ฟิวส์ก้ามปูที่เขียนอักษร F มีความหมายตรงกับข้อใด ก. ฟิวส์ขาดเร็ว ข. ฟิวส์ใช้ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ค. ฟิวส์ขาดช้า ง. ฟิวส์ใช้กับเซฟตี้ สวิตช์ 6. ปุ่มสีดำของสวิตช์ทิชิโนทำหน้าที่อะไร ก. ปุ่มตั้งค่ากระแสไฟฟ้า ข. เปิดเครื่องให้ทำงาน ค. เปิดเครื่องให้ทำงานและป้องกันการลัดวงจร ง. เป็นหน้าสัมผัสให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้
7. กระแสไฟฟ้าต่ำสุดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ 15 AT หมายถึง กระแสไฟฟ้าในข้อใด ก. กระแสไฟฟ้าลัดวงจรสูงสุดที่เซอร์กิตเบรกเกอร์ทนได้โดยไม่เสียหาย ข. แอมแปร์-เปรม มีกระแสไฟฟ้าสูงสุด 15 แอมแปร์ ค. แอมแปร์-ทริป โดยเซอร์กิตเบกเกอร์จะไม่ทริปที่กระแสไฟฟ้า 15 แอมแปร์ ง. แอมแปร์-ทริป มีกระแสไฟฟ้าสูงสุด 15 แอมแปร์ 8. เซอร์กิตเบรกเกอร์เมื่อแบ่งตามหลักการทำงานหมายถึงข้อใด ก. เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ทำงานด้วยสนามแม่เหล็ก ข.แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ ค.โมลเด็ด เคสเซอร์กิตเบรกเกอร์ ง.แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ และเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ทำงานด้วยความร้อน 9. แผงย่อยที่ใช้กับไฟฟ้าเฟสเดียว หมายถึงข้อใด ก. ตู้คอลเซนเตอร์ ข. ตู้โหลดเซนเตอร์ ค. ตู้โหลดยูนิต ง. ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต 10. เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิด 4 ขั้ว ใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว สามารถป้องกันสายไฟในข้อใด ก. สายเส้นไฟได้อย่างเดียว ข. สายดินได้อย่างเดียว ค. สายเส้นไฟกับสายนิวตรอล ง. สายดินกับสายนิวตรอล
แบบฝึกหัดบทที่ 5 ตอนที่ 1 เขียนเครื่องหมายกากบาท (✗) ลงในข้อที่ถูกต้องที่สุด 1. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของเครื่องตัดไฟรั่ว ก. ป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ข. ใช้ได้กับกรณีที่เกิดไฟรั่วได้อย่างเดียว ค. ป้องกันไม่ให้ถูกไฟดูด ง. เกิดไฟรั่วที่ตู้เย็น 2. เมื่อเครื่องตัดไฟรั่วตัดกระแสไฟฟ้าออกจากระบบ ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. เมื่อแก้ไขวงจรไฟฟ้าให้ใช้งานได้แล้วให้กดสวิตช์ลงข้างล่างก่อน แล้วผลักสวิตช์ขึ้นไปด้านบน ข. สวิตช์จะอยู่ในตำแหน่งปิดวงจร (ON) ตลอดเวลา ค. จะไม่มีเครื่องหมายสีแดงปรากฏขึ้น ง. เมื่อแก้ไขวงจรไฟฟ้าให้ใช้งานได้แล้วให้ยกสวิตช์ขึ้นไปด้านบนทันที 3. ความแตกต่างระหว่างสวิตช์ทางเดียวกับสวิตช์ 3 ขั้ว 2 ทาง คือข้อใด ก. สวิตช์ทางเดียวใช้กับกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 2 แอมแปร์ ข. สวิตช์ 3 ขั้ว 2 ทาง มีโครงสร้างเหมือนกับสวิตช์ทางเดียวแต่มีขั้วเพิ่มขึ้นอีก 2 ขั้ว ค. สวิตช์ 3 ขั้ว 2 ทางมีโครงสร้างเหมือนกับสวิตช์ทางเดียวแต่มีขั้วเพิ่มขึ้นอีก 1 ขั้ว ง. สวิตช์ทางเดียวส่วนใหญ่ใช้ปิด-เปิดให้กับตู้เย็น 4. สายดินของเต้าเสียบตัวผู้ชนิด 3 ขา มีลักษณะอย่างไร ก. เป็นฉนวนมีลักษณะแบน ข. เป็นตัวนำมีลักษณะแบน ค. เป็นฉนวนมีลักษณะกลม ง. เป็นตัวนำกลมยื่นออกมาหรือเป็นตัวนำกลมที่ไม่ยื่นออกมาก็ได้ 5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเมื่อสะพานไฟฟ้าได้ตัดวงจรอย่างอัตโนมัติ ก. ต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่เพราะฟิวส์จะต้องขาดโดยเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าของฟิวส์ให้สูงขึ้น ข. ต้องเปลี่ยนเป็นฟิวส์เส้นหรือฟิวส์ก้ามปูเท่านั้น โดยพิกัดกระแสไฟฟ้าฟิวส์จะต้องเท่ากับของเดิม ค. ต้องเปลี่ยนเป็นฟิวส์เส้นอย่างเดียวพิกัดกระแสไฟฟ้าฟิวส์เท่ากับของเดิม ง. ต้องเปลี่ยนเป็นฟิวส์ก้ามปูอย่างเดียวพิกัดกระแสไฟฟ้าฟิวส์เท่ากับของเดิม 6. ฟิวส์ก้ามปูชนิดขาดเร็วและฟิวส์ก้ามปูชนิดขาดช้ามีตัวอักษรย่อตรงกับข้อใด ก. S และ F ข. F และ S1 ค. F และ S ง. F และ S2 7. ฟิวส์เส้นเบอร์ใดที่มีขนาดกระแสไฟฟ้า ก. เบอร์ 25 ข. เบอร์ 24 ค. เบอร์ 23 ง. เบอร์ 22
8. ความแตกต่างระหว่างคาร์ทริดจ์ ฟิวส์ชนิดเปลี่ยนไส้ฟิวส์ได้กับคาร์ทริดจ์ ฟิวส์ชนิดเปลี่ยนไส้ฟิวส์ ไม่ได้คือ ข้อใด ก. ฟิวส์ที่เปลี่ยนไส้ฟิวส์ได้จะไม่มีการออกแบบให้หน่วงเวลาได้ ข. ฟิวส์ที่เปลี่ยนไส้ฟิวส์ไม่ได้จะมีผงชอล์กเพื่อดับประกายไฟเวลาฟิวส์ขาด ค. ฟิวส์ที่เปลี่ยนไส้ฟิวส์ไม่ได้จะมีตัวนำโลหะอยู่ที่หัวของฟิวส์อย่างเดียว ง. ฟิวส์ที่เปลี่ยนไส้ฟิวส์ได้จะใช้ไขควงไขเพื่อถอดเปลี่ยนฟิวส์ 9. ข้อใด ไม่ใช่ พิกัดกระแสไฟฟ้าของปลั๊กฟิวส์ ก. 30 แอมแปร์ ข. 15 แอมแปร์ ค. 20 แอมแปร์ ง. 5 แอมแปร์ 10. ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะเด่นของปลั๊กฟิวส์ ก. เพิ่มตัวตัดความร้อน ทำให้ฟิวส์ขาดช้าลง ข. พิกัดกระแสไฟฟ้า เช่น 3 แอมแปร์ 6 แอมแปร์ และ 25 แอมแปร์ และ ฟิวส์ทนกระแสไฟฟ้าสูงถึง 200% ค. ฝาปิดทำมาจากไมกา ง. มีลักษณะเป็นเกลียวเพื่อหมุนใส่ในกลักฟิวส์
ตอนที่ 2 เติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้องและสมบูรณ์ 1. ลักษณะเด่นของเซฟตี้สวิตช์ คือ เป็นสวิตช์ไฟฟ้าที่ทำงานมีความปลอดภัยสูงมาก และฟิวส์ที่ใช้กับ เซฟตี้สวิตช์มีลักษณะ เป็นฟิวส์กระบอกธรรมดาและฟิวส์กระบอกที่เปลี่ยนไส้ได้ 2. การปรับตั้งกระแสไฟฟ้าให้ตัดวงจรของสวิตช์ทิชิโนขึ้นอยู่กับ แผ่นตั้งค่ากระแสไฟฟ้า เรียกว่า ชันต์ คอยล์ ทริป 3. สวิตช์ทิชิโนใส่แผ่นตั้งค่ากระแสไฟฟ้า 30 แอมแปร์ ตั้งเปอร์เซ็นต์ลดค่ากระแสไฟฟ้าไว้ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า สวิตช์ทิชิโนตัดกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 27 แอมแปร์ 4. ปุ่มสีดำและปุ่มสีแดงของสวิตช์ทิชิโน ทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของระบบ . 5. พิกัดการทนกระแสไฟฟ้าสูงสุดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ หมายถึง แอมแปร์ เฟรม . 6. เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ทำงานด้วยความร้อนใช้ได้ในกรณีที่กระแสไฟฟ้ามีลักษณะ โลหะมีลักษณะโก่งโค้ง ไม่เท่ากัน ใช้กับกระแสไฟฟ้าไหลเกินอย่างเดียว . 7. เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ทำงานด้วยความรอนและสนามแม่เหล็กไฟฟ้าใช้ได้ในกรณีที่กระแสไฟฟ้ามีลักษณะ ลักษณะไฟฟ้าไหลเกินและกระแสไฟฟ้าลัดวงจร . 8. ลักษณะเด่นของแอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ เป็นอุปกรณ์ป้องกันให้กับระบบไฟฟ้า . 9. ลักษณะของโมลเด็ด เคสเซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ เน้นอุปกรณ์ป้องกันให้กับสายเมนย่อย . 10. แผงย่อยที่ใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว เรียกว่า ตู้คอนซูเมอร์ ยูนิต และแผงย่อยที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส เรียกว่า ตู้โหลด เซนเตอร์
ตอนที่ 3 อธิบายให้ได้ใจความสมบูรณ์ 1. อธิบายหลักการใช้งานและติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว วิธีใช้เครื่องตัดไฟรั่ว คือ เมื่อติดตั้งระบบเสร็จให้หมุนเข็มบนตัวเครื่องไปที่กระแสไฟฟ้าค่า 5 mA แล้ว เปิดสวิตช์ให้ต่อวงจร (ON) แต่ถ้าเมื่อใดเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้น สวิตช์ตัวนี้จะตกลงมาอย่างอัตโนมัติวงจรการ ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว สามารถติดตั้งได้ 2 แบบ คือ ติดตั้งไฟรั่วหลังสะพานไฟฟ้าแล้วนำเอาต์พุตของระบบ จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับโหลดและอีกแบบหนึ่ง ก็คือ ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว โดยปราศจากสะพานไฟฟ้าแล้วนำ เอาต์พุตของระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับโหลด . 2. กำหนดกระแสไฟฟ้ามาตรฐานของปลั๊กฟิวส์เท่ากับ 70 แอมแปร์ อยากทราบว่าปลั๊กฟิวส์ทนกระแสไฟฟ้า สูงสุดกี่แอมแปร์ 77 A . 3. สวิตช์ทิชิโนใส่แผ่นตั้งกระแสไฟฟ้าไว้ที่ 25 แอมแปร์ ตัวเลขที่ตั้งเปอร์เซ็นต์ลดค่ากระแสไฟฟ้าคือ 25% สวิตช์ดังกล่าวจะตัดกระแสไฟฟ้ากี่แอมแปร์ 18.75 A 4. พิกัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรกับแอมแปร์ ทริปของเซอร์กิตเบรกเกอร์ แตกต่างกันอย่างไร แอมแปร์ ทริป(Ampere Trip, AT) คือ ค่ากระแสไฟฟ้าต่ำสุดที่เซอร์กิตเบรกเกอร์จะไม่ทริป พิกัด ไฟฟ้าลัดวงจร (Interrupting Capacity, IC) คือ ค่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรสูงสุดที่เซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถ ทนได้จากการปลดวงจรโดยไม่เสียหาย 5. ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต แตกต่างจากตู้โหลดเซนเตอร์อย่างไร แผงย่อยที่ใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว เรียกว่า ตู้คอนซูเมอร์ ยูนิต(Consumer Unit) ส่วนแผงย่อยที่ใช้ กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส เรียกว่า ตู้โหลด เซนเตอร์(Load Conter)
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 5 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. การใช้งานของวงจรสวิตช์ 3 ทาง เหมาะกับการใช้งานในข้อใด ก. ควบคุมหลอดไฟให้สว่าง ข. ควบคุมกระแสไฟฟ้าได้ 2 จุด ค. ควบคุมกระแสไฟฟ้า 1 จุด ง. ควบคุมกระแสไฟฟ้าได้ 3 จุด 2. สายไฟฟ้าของเต้ารับที่มีสายดินมีฉนวนหุ้มด้วยสีอะไร ก. สีขาว ข. สีดำ ค. สีเทาอ่อน ง. สีเขียวแถบเหลือง 3. การเริ่มสตาร์ทให้มอเตอร์ทำงาน ควรใช้ฟิวส์ในข้อใด ก. คาร์ทริดจ์ ฟิวส์ชนิดเปลี่ยนไส้ฟิวส์ได้ ข. คาร์ทริดจ์ ฟิวส์ชนิดเปลี่ยนไส้ไม่ได้ ค. ปลั๊กฟิวส์ ง. ฟิวส์แบบก้ามปู 4. กระบอกฟิวส์ของคาร์ทริดจ์ฟิวส์ที่เปลี่ยนไส้ฟิวส์ ไม่ได้ทำมาจากวัสดุอะไร ก. กระเบื้อง ข. ซีเมนต์ ค. ไฟเบอร์ ง. กระเบื้องผสมไฟเบอร์ 5. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะเด่นของเซฟตี้สวิตช์ ก. ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. ข. ได้รับรองจากสถานทดสอบไฟฟ้า เช่น NEMA และ TIS ค. การตัด-ต่อวงจรใช้สวิตช์แบบใบมีดที่มีระบบกลไกและสปริงที่แข็งแรง ง. ฝาตู้จะเปิดไม่ออกกรณีที่มีการจ่ายแรงดันไฟฟ้า 6. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะเด่นของสวิตช์ทิชิโน ก. ป้องกันการลัดวงจรได้ ข. ป้องกันการลัดวงจรได้อย่างเดียว ค. ป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลเกินได้ ง. ปรับตั้งกระแสไฟฟ้าให้ตัดวงจรได้ 7. สวิตช์ทิชิโนจะตัดกระแสไฟฟ้ากี่แอมแปร์เมื่อใส่แผ่นตั้งกระแสไฟฟ้า 25 แอมแปร์และเปอร์เซ็นต์ลดค่า กระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 10% ก. 21.5 A ข. 22.5 A ค. 23.5 A ง. 24.5 A
8. ปุ่มสีแดงของสวิตช์ทิชิโน มีหน้าที่อะไร ก. เปิดเครื่องให้ทำงาน ข. ปิดเครื่องให้หยุดทำงาน ค. ปุ่มตั้งค่ากระแสไฟฟ้า ง. ตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ 9. แผงย่อยที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย คือข้อใด ก. โหลดเซนเตอร์ ข. คอนเซนเตอร์ ค. คอนซูเมอร์ยูนิต ง. โหลดเซนเตอร์และคอนซูเมอร์ยูนิต 10. ลักษณะเด่นของปลั๊กฟิวส์แบบหน่วงเวลาคือข้อใด ก. ลวดฟิวส์มีขนาดใหญ่มาก ข. ลวดฟิวส์มีขนาดเล็กมาก ค. มีตัวตัดความร้อนเพิ่มเข้ามา ง. มีผงชอล์กไว้ดับประกายไฟ เมื่อเกิดเพลิงไหม้
แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 6 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. สายไฟฟ้าที่มีตัวนำเป็นทองแดงถูกหุ้มด้วยฉนวนพีวีซีเป็นไปตามมาตรฐานในข้อใด ก. มอก. 11-2541 ข. มอก. 293-2541 ค. มอก. 11-2531 ง. มอก. 293-2531 2. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. สายไฟขนาดใหญ่มีพื้นที่หน้าตัดของตัวนำลดลง กระแสไฟฟ้าของสายมีค่าสูงขึ้น ข. ปริมาณกระแสไฟฟ้าของสายไฟฟ้าขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้าตัดของตัวนำ ค. ปริมาณกระแสไฟฟ้าของสายไฟฟ้าขึ้นอยู่กับแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้า ง. สายไฟขนาดเล็กมีพื้นที่หน้าตัดของตัวนำสูงขึ้น กระแสไฟฟ้าของสายมีค่าลดลง 3. ในการใช้งานติดตั้งไฟฟ้า ขนาดกระแสไฟฟ้าของสายไฟจะกำหนดไว้ที่อุณหภูมิกี่องศา ก. 70 0C ข. 60 0C ค. 50 0C ง. 40 0C 4. เมื่อสายไฟใช้งานกับอุณหภูมิที่สูงมากควรแก้ไขอย่างไร ก. ลดพื้นที่หน้าตัดของตัวนำในสายไฟให้ต่ำลง ข. ลดแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้ต่ำลงกว่าเดิม ค. สายไฟต้องมีการคูณเพื่อลดขนาดกระแสไฟฟ้าในสาย ง. เพิ่มแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น 5. เส้นผ่านศูนย์กลางของสายไฟฟ้าและพื้นที่หน้าตัดของตัวนำในสายไฟฟ้ามีหน่วยตรงกับข้อใด ก. มิลลิเมตร ตารางมิลลิเมตร ข. มิลลิเมตร ตารางเซนติเมตร ค. เซนติเมตร ตารางมิลลิเมตร ง. เมตร ตารางมิลลิเมตร 6. สายไฟฟ้าชนิดใดใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว และนิยมเดินสายด้วยเข็มขัดรัดสายเกาะผนังอาคาร ก. สายไฟฟ้าชนิด THW ข. สายไฟฟ้าชนิด VAF ค. สายไฟฟ้าชนิด VCT ง. สายไฟฟ้าชนิด VVF 7. สายไฟฟ้าในข้อใดมีลักษณะแบนในแนวตัดขวางและตัวนำเป็นทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซี ก. VAF, VVF ข. VAF, NYY ค. VVF, THW ง. IV, VAF
8. สายไฟฟ้าในข้อใดที่ ไม่สามารถใช้งานกับแรงดันไฟฟ้าขนาด 750 โวลต์ได้ ก. VAF, IV ข. VAF, VCT ค. IV, NYY ง. IV, THW 9. จำนวนและเส้นผ่านศูนย์กลางของสายเขียนว่า 1/0.80 หมายถึงข้อใด ก. ตัวนำ 1 แกน มีตัวนำ 2 เส้น ข. ตัวนำ 1 เส้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 0.80 เซนติเมตร ค. ตัวนำ 1 แกน มีตัวนำ 1 เส้น แต่ละเส้นของตัวนำมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 0.8 เซนติเมตร ง. ตัวนำ 1 เส้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 0.80 มิลลิเมตร 10. ข้อใด ไม่ใช่สายไฟฟ้าที่ใช้เดินสายเกาะติดพื้นผิว ก. VAF, VVF และ NYY ข. IV, THW และ TWA ค. VCT, NYY และ VAF ง. VVF และ VCT
แบบฝึกหัดบทที่ 6 ตอนที่ 1เขียนเครื่องหมายกากบาท (✗) ลงในข้อที่ถูกต้องที่สุด 1. ในการเดินสายไฟในท่อร้อยสายที่มีจำนวนสายไฟเท่ากับ 30 เส้น ต้องใช้ตัวคูณเพื่อลดกระแสไฟฟ้าในสาย เท่าใด ก. 0.56 ข. 0.48 ค. 0.38 ง. 0.38 และ 0.48 2. ลักษณะเด่นของสายไฟชนิดวีเอเอฟคือข้อใด ก. เดินสายแบบลอย ข. ฝังดินโดยตรง ค. สายไฟ 3 แกนจะพิมพ์คำว่า VAF-GRD และฝังดินโดยตรง ง. เดินสายแบบเกาะผนังอาคารและใช้กับระบบแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส 3. ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะเด่นของสายไฟชนิดวีวีเอฟ ก. ตัวนำเป็นทองแดงใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ ข. ทนอุณหภูมิสูงสุด 70 องศาเซลเซียส ค. เป็นสายไฟมีลักษณะกลมและมีลักษณะแบนในแนวตัดขวาง ง. เดินซ่อนในผนังและเดินในท่อร้อยสายแบบฝังดินได้ดี 4. ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะของการใช้งานสายไฟฟ้าชนิดวีซีที ก. ต่อเข้ากับอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ดี ข. งานที่เกี่ยวกับฝังดินโดยตรง ค. งานที่เกี่ยวกับการเดินร้อยท่อแบบฝังดิน ง. เดินเกาะติดผนัง 5. ข้อใดเป็นสายไฟฟ้าที่มีตัวนำเป็นอลูมิเนียม ก. สายไฟฟ้าชนิด THW และ THWA ข. สายไฟฟ้าชนิด TWA และ THWA ค. สายไฟฟ้าชนิด TWA และ NYY ง. สายไฟฟ้าชนิด VVF, TWA และ THWA 6. จำนวนและเส้นผ่านศูนย์กลางของสายไฟทีเอชดับบลิว (THW) เขียนว่า 19/1.53 หมายถึงข้อใด ก. ตัวนำ 1 เส้น มีแกนตัวนำ 19 แกน ข. ตัวนำ 1 แกน มีสายตัวนำ 10 เส้น ค. ตัวนำ 1 เส้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 1.53 มิลลิเมตร ง. ตัวนำ 1 แกน มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 1.53 มิลลิเมตร
7. ความยาวมาตรฐานของสายไฟฟ้าเขียนไว้ คือ 500/D หมายถึงข้อใด ก. ขนาดมาตรฐานม้วนละ 500 เมตร และ 500 เซนติเมตร ข. ขนาดมาตรฐานม้วนละ 500 เซนติเมตร ค. ขนาดมาตรฐานม้วนละ 500 มิลลิเมตร ง. ขนาดมาตรฐานม้วนละ 500 เมตร 8. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้งานของสายไฟชนิดเอ็นวายวาย ก. สายไฟ 1 แกน ใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส ข. สายไฟ 2 แกน ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย ค. สายไฟ 3 แกน ใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว ง.สายไฟ 4 แกน ใช้กับระบบแรงดันไฟฟ้า 200 โวลต์ 9. ข้อใด ไม่ ถูกต้องในการใช้สายไฟชนิดไอวี ก. ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 300 โวลต์ ข. เดินในท่อร้อยสายจะต้องอยู่ในสถานที่แห้ง ค. ฝังดินโดยตรงได้ดี ง.ไม่ควรร้อยท่อฝังดิน
ตอนที่ 2 เติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้องและสมบูรณ์ 1. สำหรับการเดินสายในท่อร้อยสายของระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด ประกอบด้วยไลน์ 3 เส้น สายนิวตรอล 3 เส้น และสายดิน 3 เส้น ต้องใช้ตัวคูณเพื่อลดกระแสไฟฟ้าในสายเท่ากับ 0.72 . 2. ข้อควรระวังการใช้สายฟ้าชนิดวีเอเอฟ คือ ห้ามฝังดินโดยตรง . 3. สายไฟฟ้าชนิด NYY ใช้กับแรงดันไฟฟ้า ไม่เกิน 750โวลต์ ใช้ในงาน ทั่วไป งานเดินร้อยท่อฝังดินและ งานที่ฝังดินโดยตรง 4. สายไฟฟ้าชนิดวีวีเอฟที่มีสายดิน เขียนว่า VVF-GRD มีลักษณะ แบนในแนวตัดขวาง 5. สายไฟฟ้าชนิดวีซีทีใช้กับแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 750 โวลต์ ใช้งานเกี่ยวกับ การเดินร้อยท่อฝังดิน และฝังดินโดยตรง . 6. สายไฟชนิดไอวีมีตัวเลข 1/1.13 อยู่ในช่องของจำนวนและเส้นผ่านศูนย์กลางของสายไฟหมายถึง ตัวนำ 1 แกน และตัวนำ 1 เส้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 1.13 มิลลิเมตร . 7. สายไฟชนิดทีเอชดับบลิวมีตัวเลข 2,480 อยู่ในช่องน้ำหนักของสาย หมายถึง น้ำหนักของสายเท่ากับ 2,480 ต่อความยาวของสายไฟ 1 กิโลเมตร นอกจากนี้มีตัวเลาข 100/C หมายถึง ความยาว มาตรฐานของสายไฟ 8. สายไฟชนิดตัวนำเป็นอลูมิเนียมมีตัวเลข 150 อยู่ในช่องพื้นที่หน้าตัด หมายถึง ตัวนำ 1 แกน มีสายตัว นำ 37 เส้น มีพื้นที่หน้าตัด 150Sqmm มีตัวเลข 37/2.25 อยู่ในช่องจำนวนและเส้นผ่านศูนย์กลางของ สาย หมายถึง ตัวนำ 1 แกน และสายตัวนำ 1 เส้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 2.25 มิลลิเมตร 9. ความแตกต่างระหว่างสายไฟชนิดไอวีกับสายไฟชนิดทีเอชดับบลิว คือ สายไฟชนิดไอวี มีตัวนำเป็น ลวดทองแดง สายไฟชนิดที่เอชดับบลิว มีตัวนำเป็นอลูมิเนียม . 10. สายไฟฟ้าชนิดวีซีทีที่มีฉนวนหุ้มด้วยพีวีซี 2 แกน มีสี เทา กับสี ดำ .
ตอนที่ 3 อธิบายให้ได้ใจความสมบูรณ์ 1. ขณะที่สายไฟจ่ายกระแสไฟฟ้าออกไปที่โหลดแล้วสายไฟมีความยาวมาก แรงดันไฟฟ้าที่โหลดจะมีลักษณะ อย่างไร อธิบายพร้อมแนวทางแก้ไข จะทำให้แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมโหลดมีค่าลดลงต่ำกว่าพิกัด ต้องแก้ไขโดยการใช้สายไฟฟ้าที่มี ขนาดพื้นที่หน้าตัดให้ใหญ่ขึ้น หรือเลือกใช้สายควบให้มีจำนวนของสายไฟมากกว่า 1 เส้น ต่อ 1 เฟส เพื่อลดความต้านทานของสาย . 2. กำหนดให้สายไฟเส้นเดียวมีขนาด 120 ตารางมิลลิเมตร ขนาดกระแสไฟฟ้าในสายเท่ากับ 214 แอมแปร์ หากนำสายไฟนี้มาต่อใช้งานกับระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย จำนวน 2 ชุด เพื่อเดินในท่อร้อยสายที่เป็นท่อ โลหะ อยากทราบว่ากระแสไฟฟ้าแต่ละเฟสและกระแสไฟฟ้าของสายไฟแต่ละเส้นจะมีกี่แอมแปร์ อธิบาย 3. การติดตั้งของสายไฟฟ้าชนิด วีเอเอฟ วีวีเอฟ เอ็นวายวาย วีซีที ไอวี ทีเอชดับบลิว ทีดับบลิวเอ และทีเอช ดับบลิวเอ มีลักษณะการใช้งานอย่างไร อธิบาย สายไฟฟ้าชนิดวีเอเอฟใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว นิยมเดินสายด้วยเข็มขัดรัดสายเกาะผนังอาคาร สายไฟฟ้าชนิดวีวีเอฟใช้กับงานไฟฟ้าที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ เดินเกาะผนังและเดินใน ท่อร้อยสาย สายไฟฟ้าชนิดเอ็นวายวายใช้กับงานเดินร้อยท่อฝังดินและงานที่ฝังดินโดยตรง สายไฟฟ้าไอวีใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 300 โวลต์ เป็นสายไฟฟ้าที่ใช้เดินสายในท่อร้อยสาย ส่วน สายไฟฟ้าชนิดทีเอชดับบลิว เป็นสายไฟฟ้าที่เดินสายในท่อร้อยสาย สายไฟฟ้าชนิดทีดับบลิวเอกับสายไฟฟ้าชนิดทีเอชดับบลิวเอ ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์.. 4. อธิบายรายละเอียดของสายไฟชนิดไอวี ดังต่อไปนี้ พื้นที่หน้าตัดเขียนว่า 16 จำนวนและเส้นผ่านศูนย์กลาง ของสายเขียนว่า 7/1.70 กระแสไฟฟ้าสูงสุดจ่ายโหลดต่อเนื่องเขียนว่า 83 น้ำหนักของสายเขียนว่า 180 และความยาวมาตรฐานเขียนว่า 100/C มีพื้นที่หน้าตัด 16 Sqmm ตัวนำ 1 แกน มีสายตัวนำ 7 เส้น สายตัวนำ 1 เส้น มีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางเท่ากับ 1.70 mm กระแสไฟฟ้าสูงสุดสามารถจ่ายให้โหลดได้อย่างต่อเนื่อง คือ 83 แอมแปร์ น้ำหนักของสายไฟโดยประมาณ 180 กิโลกรัมต่อความยาวของสายไฟ 1 กิโลเมตร และความยาวของ สายไฟขนาดมาตรฐานม้วนละ 100 เมตร 5. สายไฟชนิดเอ็นวายวาย เมื่อใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส และระบบไฟฟ้า 3 เฟส มีลักษณะอย่างไร อธิบาย ตัวนำ 1 แกน หรือ 2 แกน เหมาะสำหรับกับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว ถ้าเป็นสายไฟชนิด 3 แกน หรือ 4 แกน จะเหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า 3 เฟส
แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 6 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. สายไฟฟ้าที่ใช้ภายในอาคารส่วนใหญ่เป็นสายไฟในข้อใด ก. ทองเหลือง ข. ทองแดง ค. ทองคำ ง. ดีบุก 2. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. สายไฟฟ้าขนาดเล็กมีพื้นที่หน้าตัดของตัวนำลดลง กระแสไฟฟ้าของสายจึงมีค่าสูงขึ้น ข. สายไฟขนาดใหญ่มีพื้นที่หน้าตัดของตัวนำสูงขึ้น กระแสไฟฟ้าของสายมีค่าลดลง ค. ปริมาณกระแสไฟฟ้าของสายไฟฟ้าขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้าตัดของตัวนำ ง. ปริมาณกระแสไฟฟ้าของสายไฟฟ้าขึ้นอยู่กับแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้า 3. เมื่อสายไฟฟ้าใช้งานกับอุณหภูมิสูงมากควรแก้ไขอย่างไร ก. สายไฟฟ้าต้องมีการคูณเพื่อเพิ่มขนาดกระแสในสายไฟฟ้า ข. เพิ่มแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น ค. ลดแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้ต่ำลงกว่าเดิม ง. ใช้สายควบหลาย ๆ เส้นเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้สูงขึ้น 4. พื้นที่หน้าตัดของตัวนำในสายไฟฟ้าและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของสายไฟฟ้ามีหน่วยตรงกับข้อใด ก. เมตร ตารางมิลลิเมตร ข. เซนติเมตร ตารางมิลลิเมตร ค. มิลลิเมตร ตารางเซนติเมตร ง. ตารางมิลลิเมตร มิลลิเมตร 5. สายไฟฟ้าในข้อใดที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า ไม่เกิน 300 โวลต์ ก. สายไฟวีเอเอฟ และสายไฟทีเอชดับบลิว ข. สายไฟวีเอเอฟ และสายไฟวีวีเอฟ ค. สายไฟไอวี และสายไฟวีเอเอฟ ง. สายไฟไอวี และสายไฟวีซีที 6. สายไฟฟ้าในข้อใดมีลักษณะกลมใช้กับแรงดันไฟฟ้า ไม่เกิน 750 โวลต์ ก. NYY, THWA และ VAF ข. NYY, THW และ TWA ค. VVF, THW และ NYY ง. VVF, TWA และ THWA 7. สายไฟฟ้าในข้อใดที่มีตัวนำเป็นอะลูมิเนียม ก. THWA และ TWA ข. THW และ THWA ค. TWA และ IV ง. THW และ TWA
8. ข้อใด ไม่ใช่สายไฟฟ้าที่ใช้เดินสายแบบปิด ก. VVF และ NYY ข. IV และ THW ค. THW และ TWA ง. TWA และ THWA 9. จำนวนและเส้นผ่านศูนย์กลางของสายเขียนว่า 37/2.25 หมายถึงข้อใด ก. ตัวนำ 1 แกน มีเส้นตัวนำ 37 เส้น แต่ละเส้นของตัวนำมีรัศมีเท่ากับ 2.25 มิลลิเมตร ข. ตัวนำ 1 เส้น มีตัวนำ 37 แกน แต่ละแกนของตัวนำมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 2.25 มิลลิเมตร ค. ตัวนำ 1 แกน มีสายตัวนำ 37 เส้น ตัวนำ 1 เส้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 2.25 มิลลิเมตร ง. ตัวนำ 1 เส้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 37 มิลลิเมตร 10. พื้นที่หน้าตัดของสายดินเขียนว่า 6 ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. สายไฟชนิด VAF-GRD มีพื้นที่หน้าตัดของสายดินเท่ากับ 6 ตารางมิลลิเมตร ข. สายไฟชนิด VVF มีพื้นที่หน้าตัดของสายดินเท่ากับ 6 ตารางมิลลิเมตร ค. สายไฟชนิด VVF-GRD มีพื้นที่หน้าตัดของสายดินเท่ากับ 6 ตารางมิลลิเมตร ง. สายไฟชนิด VAF-GRD มีความยาวของสายเท่ากับ 6 มิลลิเมตร
แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 7 คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. ก่อนที่จะตัดสายไฟฟ้าจะต้องเผื่อความยาวของสายไฟฟ้ากี่เซนติเมตร ก. 10 เซนติเมตร ข. 20 เซนติเมตร ค. 30 เซนติเมตร ง. 35 เซนติเมตร 2. สายไฟฟ้าที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดเท่าไรเมื่อต้องการต่อเข้าที่ขั้วต่อสายจะต้องใช้ขั้วต่อสายทุกครั้ง ก. 2.5 ตารางมิลลิเมตร ข. 4 ตารางมิลลิเมตร ค. 6 ตารางมิลลิเมตร ง. 10 ตารางมิลลิเมตร 3. ตัวต่อสายแบบบีบ ใช้ต่อสายไฟอย่างไร ก. ต่อสายไฟทางตรง ข. ต่อสายไฟทางอ้อม ค. พันสายไฟเป็นเกลียวแล้วต่อเข้าตัวต่อสาย ง. นำสายไฟมาต่อกันแล้วใช้เทปพันฉนวนเข้ากับตัวต่อสาย 4. การต่อสายแบบไวร์นัต มีลักษณะอย่างไร ก. สายไฟต่อตรงเข้าไวร์นัต ข. สายไฟตีเกลียวแล้วเสียบเข้ากับไวร์นัต ค. ไม่จำเป็นต้องขันไวร์นัตให้แน่น ง. สายไฟมีทั้งตีเกลียวและไม่ตีเกลียวเมื่อมาต่อกันแล้วจึงเสียบเข้าไวร์นัต 5. ตัวนำของสายไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับขั้วอุปกรณ์จะมีการม้วนอย่างไร ก. ม้วนเป็นวงรอบที่สกรูประมาณ 1 รอบ ข. ม้วนเป็นวงรอบที่สกรูประมาณ 2 รอบ ค. ม้วนเป็นวงรอบที่สกรูประมาณ 3 รอบ ง. ม้วนเป็นวงรอบที่สกรูประมาณ 5 รอบขึ้นไป 6. ข้อใด ไม่ใช่ กล่องต่อสายไฟฟ้า ก. กล่องสำหรับจุดต่อไฟฟ้าของเครื่องซักผ้า ข. กล่องดึงสาย ค. กล่องแยกสาย ง. กล่องต่อสาย
7. ข้อใด ไม่ใช่ขนาดของกล่องโลหะที่มีขนาดเป็นนิ้ว ก. 8x8x4 ข. 6x6x4 ค. 4x4x4 ง. 4x4x5 8. ขนาดของกล่องโลหะกำหนดอย่างไร ก. ความกว้างกับความยาวเป็นนิ้วส่วนความสูงเป็นมิลลิเมตร ข. ความกว้าง ความยาว และความเป็นนิ้ว ค. ความกว้าง ความยาว และความหนาเป็นมิลลิเมตร ง. ขนาด 3 มิติมีหน่วยเป็นเซนติเมตร 9. กล่องต่อสายอโลหะทำมาจากวัสดุข้อใด ก. เทอร์โมคัปเปิล ข. ยาง ค. เทอร์โมพลาสติก ง. ซิลิโคน 10. การเลือกใช้งานของกล่องต่อสายจะต้องพิจารณาเรื่องใดเป็นหลัก ก. พื้นที่ ข. ความยาว ค. ความกว้าง ง. ความหนา
แบบฝึกหัดบทที่ 7 คำสั่ง เติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้องและสมบูรณ์ 1. การปฏิบัติงานต่อสายไฟฟ้าที่ไม่ดี ย่อมส่งผลให้ จุดต่อไฟฟ้านั้นเกิดความร้อนและลุกไหม้ได้ 2. ก่อนที่จะตัดสายไฟฟ้าจะต้องเผื่อความยาวของสายเท่ากับ 15-25 เซนติเมตร 3. เมื่อปอกฉนวนของสายไฟฟ้า ฉนวนของสายจะต้องทำมุม 60 องศากับพื้นผิวตัวนำ 4. การนำสายไฟฟ้าเข้ามาพ่วงต่อต้องเลือกใช้ การต่อไวร์นัต 5. การตอสายไฟฟ้าทางตรงต้องใช้ ตัวต่อสายแบบบีบ มีลักษณะคือ เป็นท่อตัวนำโลหะ ทรงกระบอกชนิดกลวง 6. เมื่อทำการต่อสายไฟฟ้าเข้ากับขั้วอุปกรณ์ที่เป็นแบบสกรู ตัวนำของสายไฟต้องถูกม้วนในลักษณะ ฉนวน ของสายไฟเดิม 7. การต่อสายไฟฟ้าเข้ากับขั้วอุปกรณ์ที่เป็นแบบสกรู ตัวนำของสายไฟต้องถูกม้วนในลักษณะ เป็นวงรอบ สกรู ในทิศทาง ตามเข็มนาฬิกา 8. เพื่อทำให้เกิดความต่อเนื่องทางไฟฟ้า ที่ผิวของตัวนำสายไฟจะต้อง ใช้สันมีดขูด 9. การต่อไวร์นัต (Wire Nut) มีลักษณะ คือ จะเสียบตัวนำของสายที่ตีเกลียวเข้าด้วยกันไว้และสวมเข้าไป ในตัวไวร์นัต จากนั้นจึงขันไวร์นัตให้แน่น 10. การต่อสายไฟโดยตรงแล้วใช้เทปฉนวนพันรอบเหมาะกับสายไฟขนาด พื้นที่หน้าตัด มากกว่า 16 ตารางมิลลิเมตร 11. กล่องในงานไฟฟ้า หมายถึง กล่องดึงสาย กล่องแยกสาย กล่องต่อสาย และกล่องสำหรับจุดต่อไฟฟ้า ของสวิตช์ 12. การต่อสายไฟฟ้าในกล่องต่อสายหากกระทำได้ไม่ดีพอ จะทำให้เกิด กระแสไฟฟ้ารั่วได้ง่าย 13. กล่องต่อสายที่เป็นโลหะต้องมีลักษณะ คือ ขนาดกล่องโลหะมีขนาดความกว้าง 2 นิ้ว ความยาว 4 นิ้ว ความสูง 1.5 นิ้ว 14. กล่องที่ใช้ต่อสายไฟฟ้าจะต้องไม่ให้สัตว์เข้าไป เหตุผล คือ เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และเมื่อติดตั้ง กล่องเสร็จจะต้องปราศจากรูที่ใหญ่เกินกว่า 7.2 มิลลิเมตร 15. กล่องต่อสายชนิดโลหะใช้กับงาน การเดินท่อฝังหรือเดินในที่ซ่อน 16. ลักษณะเด่นของกล่องอโลหะ คือ ทำมาจากวัสดุที่เป็นเทอร์โมพลาสติก 17. กล่องอโลหะที่มีปริมาตรสูงสุด คือ ขนาด 150 นิ้ว x 220 นิ้ว x 75 นิ้ว และกล่องอโลหะที่มีปริมาตร ต่ำสุด คือ ขนาด 75x110x65 นิ้ว 18. งานไฟฟ้าที่ติดกับชายทะเลควรใช้กล่องชนิด อโลหะ 19. กล่องต่อสายขนาดใหญ่มีลักษณะ เป็นกล่องแปดเหลี่ยม เรียกว่า กล่องชนิดโลหะ มีมิติ คือ กว้าง ยาว สูง 20. ชนิดของกล่องโลหะ ได้แก่ กล่องแปดเหลี่ยม กล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส และกล่องแฮนดี้