The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อัพยาปัชฌา โหนตุ, 2023-09-06 04:49:58

คู่มือBCPกย.66

คู่มือBCPกย.66

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ คู่มือ แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต Business Continuity Plan : BCP


แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต Business Continuity Plan : BCP ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ปรึกษา นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. นางสาวเยาวภา อินชะนะ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (ปภ.) จัดทำโดย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะผู้จัดทำ คณะบริหารความต่อเนื่องเพื่อดำเนินการในสภาวะวิกฤต ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้


สารบัญ หน้า 1. บทนำ 1 2. วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ 1 3. สมมติฐานของแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ 2 4. ขอบเขตของแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ 2 5. การวิเคราะห์ทรัพยากรที่สำคัญ 3 6. สรุปเหตุการณ์สภาวะวิกฤตและผลกระทบจากเหตุการณ์ 4 7. ทีมงานบริหารความต่อเนื่อง 5 8. ผลกระทบต่อกระบวนการทำงานหรือการให้บริการ 10 9. การวิเคราะห์เพื่อกำหนดความต้องการทรัพยากรที่สำคัญ 13 10. กลยุทธ์ความต่อเนื่อง 17 11. ขั้นตอนการบริหารความต่อเนื่องและกอบกู้กระบวนการ 19 12. สรุปกระบวนการดำเนินการแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง 25 13. การทบทวนและพัฒนาแผน 25


ภาคผนวก หน้า ภาคผนวก ก แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน - เหตุการณ์อุทกภัย 27 - เหตุการณ์อัคคีภัย 40 - เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/ จลาจล 56 - เหตุการณ์โรคระบาด 69 - เหตุการณ์ความไม่สงบ 83 - เหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง 91 - ภัยพิบัติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 99 ภาคผนวก ข ระเบียบแนวปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินต่างๆ 110 ภาคผนวก ค การวิเคราะห์เพื่อกำหนดความต้องการทรัพยากรที่สำคัญ 119 ภาคผนวก ง แผนดำเนินการ Work From Home (HWH) 121 ภาคผนวก จ มาตรการป้องกันแลเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 132 ภาคผนวก ฉ กระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Call Tree) 138


Business Continuity Plan : BCP 2 คำนำ การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในด้านโรคระบาด ภัยธรรมชาติ และอุบัติเหตุ จากการทำงาน ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของบุคลากร การดำเนินงาน และการให้บริการประชาชน หน่วยงานจึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการแก้ไขภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น การบริหารความต่อเนื่อง จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยในการจัดการวางแผนเพื่อรองรับความไม่แน่นอนได้อย่างเป็นระบบ สามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นแล้วยังคงปฏิบัติภารกิจและการบริการประชาชน ได้อย่างต่อเนื่อง ศอ.บต. จึงได้ทบทวนแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต Business Continuity Plan : BCP ของ ศอ.บต. ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน ภาครัฐในการบริหารราชการและให้บริการประชาชนในสภาวะวิกฤต เพื่อให้สำนัก/กอง/สถาบัน และหน่วยงาน ขึ้นตรง ของ ศอ.บต. สามารถนำไปใช้ตอบสนองและปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติหรือสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อุทกภัย อัคคีภัย ชุมนุมประท้วง/จลาจลโรคระบาด เหตุการณ์ความไม่สงบ ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง และภัยทางเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง ลดความเสียหายอันเกิดจากการสูญเสียของบุคลากรและทรัพย์สิน ของ ศอ.บต. ให้น้อยที่สุด และทำให้การให้บริการต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนสามารถดำเนินการได้ โดยไม่หยุดชะงัก คณะบริหารความต่อเนื่องเพื่อดำเนินการในสภาวะวิกฤต ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สิงหาคม 2566


lekfq Business Continuity Plan : BCP 1 1. บทนำ หลักการเตรียมความพร้อมในภาวะวิกฤตตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 คือการที่ส่วนราชการสามารถนำบทเรียนสถานการณ์ความรุนแรงสำคัญที่ผ่านมา ปรับกระบวนการทำงานใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องการบริการประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าภารกิจหลักของราชการ หรืองานบริการประชาชนที่สำคัญสามารถดำเนินงาน หรือให้บริการได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุดหยุดลงแม้ว่า จะประสบกับวิกฤตการณ์ หรือภัยพิบัติต่างๆ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 78 กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบาย ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมาตรา 78 (5) กำหนดให้จัด ระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นเพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ตระหนักถึงการที่หน่วยงานไม่มีกระบวนการ รองรับให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อหน่วยงานในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การเงิน การให้บริการ สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นต้น ดังนั้น การจัดทำ แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และทำให้กระบวนการที่สำคัญ (Critical Business Process) กลับมาดำเนินงานได้อย่างปกติในระดับ การให้บริการที่กำหนดไว้ รวมทั้งลดระดับความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานได้ดังนั้นจึงจัดทำ แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) ขึ้น เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมองค์กร นำไปใช้ในการตอบสนองและปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ อุบัติการณ์โรคระบาด หรือการมุ่งร้ายต่อองค์กร โดยไม่ให้สภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ส่งผลให้หน่วยงานต้องหยุดการดำเนินงาน หรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง 2. วัตถุประสงค์(Objectives) ของการจัดทำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ศอ.บต. ได้ดำเนินการจัดทำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ เพื่อดำเนินการในสภาวะวิกฤต โดยมี วัตถุประสงค์ ดังนี้ ▪ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารความต่อเนื่องของการปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤต ▪ เพื่อบรรเทาความเสียหายให้อยู่ระดับที่ยอมรับได้และเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ▪ เพื่อให้หน่วยงานภายใน ศอ.บต. มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการรับมือกับสภาวะวิกฤต หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากการหยุดชะงักในการดำเนินงาน หรือการให้บริการ เพื่อให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ หน่วยงานต่างๆ ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) เชื่อมั่นใน ศักยภาพของหน่วยงาน แม้หน่วยงานต้องเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงและส่งผลกระทบจนทำให้การดำเนินงาน ต้องหยุดชะงัก 3. สมมติฐาน...


lekfq Business Continuity Plan : BCP 2 3. สมมติฐานของแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BCP Assumptions) เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นภายใต้สมมติฐาน ดังต่อไปนี้ ▪ เหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ แต่มิได้ส่งผลกระทบต่อสถานที่ปฏิบัติงาน สำรองที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ ▪ หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบในการสำรองระบบสารสนเทศต่าง ๆ โดยระบบ สารสนเทศสำรองมิได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ฉุกเฉินเหมือนกับระบบสารสนเทศหลัก ▪ “บุคลากร” ที่ถูกระบุในเอกสารฉบับนี้ หมายถึง เจ้าหน้าที่และพนักงานทั้งหมดของ ศอ.บต. 4. ขอบเขตของแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Scope of BCP) แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BCP) ฉบับนี้ ใช้รองรับสถานการณ์ กรณีเกิดสภาวะวิกฤต หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่สำนักงานของหน่วยงาน หรือภายในหน่วยงาน ด้วยเหตุการณ์ต่อไปนี้ ▪ เหตุการณ์อุทกภัย ▪ เหตุการณ์อัคคีภัย ▪ เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล ▪ เหตุการณ์โรคระบาด ▪ เหตุการณ์ความไม่สงบ ▪ เหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง ▪ ภัยพิบัติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 5. การวิเคราะห์...


Business Continuity Plan : BCP 3 5. การวิเคราะห์ทรัพยากรที่สำคัญ สภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานสามารถ บริหารจัดการการดำเนินงานขององค์กรให้มีความต่อเนื่อง การจัดหาทรัพยากรที่สำคัญจึงเป็นสิ่งจำเป็น และต้องระบุไว้ในแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเตรียมการทรัพยากรที่สำคัญ จะพิจารณาจากผลกระทบ ใน 5 ด้าน ดังนี้ 1. ผลกระทบด้านอาคาร/สถานที่ปฏิบัติงานหลัก หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สถานที่ ปฏิบัติงานหลักได้รับความเสียหายหรือไม่สามารถใช้สถานที่ปฏิบัติงานหลักได้และส่งผลให้บุคลากรไม่สามารถ เข้าไปปฏิบัติงานได้ชั่วคราวหรือระยะยาว ซึ่งรวมทั้งการที่ผู้รับบริการไม่สามารถเข้าถึงสถานที่ให้บริการ ของหน่วยงานด้วย 2. ผลกระทบด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ/การจัดหาจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่สามารถใช้งานวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ หรือไม่สามารถจัดหา/จัดส่งวัสดุอุปกรณ์ ที่สำคัญได้ 3. ผลกระทบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ ระบบงานเทคโนโลยี หรือระบบสารสนเทศ หรือข้อมูลที่สำคัญไม่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้ตามปกติ 4. ผลกระทบด้านบุคลากรหลัก หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้บุคลากรหลักไม่สามารถ มาปฏิบัติงานได้ตามปกติ 5. ผลกระทบด้านคู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้คู่ค้า/ผู้ให้บริการ/ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่สามารถติดต่อหรือให้บริการหรือส่งมอบงานได้ 6. สรุป...


Business Continuity Plan : BCP 4 6. สรุปเหตุการณ์สภาวะวิกฤตและผลกระทบจากเหตุการณ์ เหตุการณ์สภาวะวิกฤต ผลกระทบ ด้านอาคาร/ สถานที่ ปฏิบัติงานหลัก ด้านวัสดุอุปกรณ์ ที่สำคัญ และ การจัดหา/จัดส่ง ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและ ข้อมูลที่สำคัญ ด้าน บุคลากร หลัก คู่ค้า/ ผู้ให้บริการ/ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1 เหตุการณ์อุทกภัย √ √ √ √ √ 2 เหตุการณ์อัคคีภัย √ √ √ √ √ 3 เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/ จลาจล √ √ √ √ √ 4 เหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง √ √ √ - √ 5 เหตุการณ์โรคระบาด √ - - √ √ 6 เหตุการณ์ความไม่สงบ √ √ √ √ √ 7 ภัยพิบัติระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ √ √ √ √ √ แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BCP) ฉบับนี้ ไม่รองรับการปฏิบัติงานในกรณีที่เหตุขัดข้องเกิดขึ้นจาก การดำเนินงานปกติและเหตุขัดข้องดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบในระดับสูงต่อการดำเนินงานและการให้บริการของ หน่วยงาน เนื่องจากหน่วยงานยังสามารถจัดการหรือปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์ได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยผู้บริหารหน่วยงานหรือผู้บริหารของแต่ละกลุ่มงานและฝ่ายงานสามารถรับผิดชอบและดำเนินการได้ด้วยตนเอง 7. ทีมงาน...


Business Continuity Plan : BCP 5 7. ทีมงานบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan Team) เพื่อให้แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BCP) สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล จะต้องจัดตั้งทีมงานบริหารความต่อเนื่อง (BCPTeam) ขึ้น โดยBCP Team ประกอบด้วย หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่อง และทีมงานบริหารความต่อเนื่อง โดยทุกตำแหน่งจะต้องร่วมมือกัน ดูแล ติดตาม ปฏิบัติงาน และกู้คืนเหตุการณ์ฉุกเฉินในฝ่ายงานของตนเอง ให้สามารถบริหารความต่อเนื่อง และกลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว ตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้เพื่อให้แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ ของ ศอ.บต. นำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้แต่งตั้งคณะบริหารความต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการในสภาวะวิกฤตของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ คณะบริหารความต่อเนื่องเพื่อดำเนินการในสภาวะวิกฤตของ ศอ.บต. ➢ เลขาธิการ ศอ.บต. เป็นหัวหน้าคณะบริหารฯ ➢ รองเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (ปภ.) เป็นรองหัวหน้าคณะบริหารฯ ➢ ผู้อำนวยการสำนัก/กอง/สถาบัน และหน่วยงานขึ้นตรง เป็นคณะบริหารฯ ➢ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหารเป็นเลขานุการ ➢ ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการสำนักงานเลขาธิการ และเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เป็นผู้ช่วยเลขานุการ อำนาจหน้าที่ • กำกับ ดูแล ติดตาม บริหารงาน จัดทำแผนและให้การสนับสนุนการวางแผน ทบทวน ทดสอบ ปรับปรุงแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ • แต่งตั้งทีมงานแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ หรือทีมงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง • ประเมินลักษณะ ขอบเขต และแนวโน้มของเหตุการร์ที่เกิดขึ้น เพื่อตัดสินใจประกาศใช้ และดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่องฯ ตลอดจนจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นยามเกิด วิกฤต • ตรวจสอบ กำกับ ติดตามสถานการณ์ รวบรวมข้อมูลและรายงานสถานการณ์ให้ ผู้บริหารระดับสูงทราบ คณะบริหาร...


Business Continuity Plan : BCP 6


lekfq Business Continuity Plan : BCP 7 ทีมงานแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ ➢ รองเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานทีมงานฯ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (ปภ.) และผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เป็นบุคลากรสำรอง ➢ ผู้อำนวยการสำนัก/กอง/สถาบัน และหน่วยงานขึ้นตรง เป็นบุคลากรหลัก ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการและเจ้าหน้าที่แต่ละสำนัก/กอง/สถาบัน และหน่วยงาน ขึ้นตรง เป็นบุคลากรสำรอง อำนาจหน้าที่ • รายงานข้อมูลข่าวสารหรือเหตุการณ์ที่อาจนำมาซึ่งแนวโน้มการเกิดอุบัติการณ์ แก่หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องฯ ของ ศอ.บต. เพื่อให้ตรวจสอบและประเมิน สถานการณ์เบื้องต้น • แจ้งให้ทีมบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงานปฏิบัติตามขั้นตอน แนวทางของแผน ดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ ของ ศอ.บต.ตามที่ประกาศใช้ • นำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ ของ ศอ.บต. ที่ได้กำหนดไว้มาประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสม • ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการตามแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ ของ ศอ.บต. และรายงานความคืบหน้าการแก้ไขสภาวะวิกฤตต่อเลขานุการคณะบริหาร ความต่อเนื่องฯ ของ ศอ.บต. อย่างสม่ำเสมอหรือตามที่กำหนดไว้ ผู้ประสานงานคณะบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตของ ศอ.บต. • มีหน้าที่ในการติดต่อและประสานงานภายใน ศอ.บต. ตามกระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Call Tree)และดำเนินการตามแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับการบริหาร ความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตของ ศอ.บต. ในกรณีที่บุคลากรหลักไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้บุคลากรสำรอง รับผิดชอบทำหน้าที่ในบทบาทของบุคลากรหลัก ตาราง...


Business Continuity Plan : BCP 8 ตารางที่ 1 รายชื่อทีมงานแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ บุคลากรหลัก บทบาท บุคลากรสำรอง ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ นายชนธัญ แสงพุ่ม (รองเลขาธิการ ศอ.บต.) 0863285175 รองหัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง ศอ.บต. 1.นายแพทย์สมหมาย บุญเกลี้ยง ผช.เลขาธิการ ศอ.บต. 2.นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ ผช.เลขาธิการ ศอ.บต. 3.นางสาวเยาวภา อินชะนะ ผช.เลขาธิการ ศอ.บต. (ปภ.) 0832896644 0818485401 0814790315 พันโทเชิด อักษรรัตน์ (ผอ.สลธ.) 08 5484 2198 หัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง สลธ. 1.นางรัสนี จะปะกียา ผอ.กลุ่มอำนวยการ สลธ. 2.นายสุวัฒ พรหมดำ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชก. 0819597283 0895988973 นายสมชาย เกียรติ์ภราดร (ผอ.กบย.) 08 6694 2454 หัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง กบย. 1.นางสาวจิรัช เบ็ญหีม ผอ.กลุ่มอำนวยการ กบย. 2.นางสาวสุภวรรณ วงษ์สำราญ นักประชาสัมพันธ์ ปก. 0910462526 09 3762 7323 นาวาเอกจักรพงษ์อภิมหาธรรม (ผอ.กสพ.) 08 1898 0247 หัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง กสพ. 1.นายซูเฟียน วานิ ผอ.กลุ่มอำนวยการ กสพ. 2.นางสาวสากีเราห์ มูซอ นัดจัดการงานทั่วไป ปก. 08 4998 8151 0884783589 นายอิสระ ละอองสกุล (ผอ.กสม.) 06 1384 0777 หัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง กสม. 1.นายหัสนี เจะนิ ผอ.กลุ่มอำนวยการ กสม. 2.นางสาวสิรีธร สิงห์นำโชค นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ปก. 081 896 3813 08 3196 2126 ตาราง...


Business Continuity Plan : BCP 9 ตารางที่ 1 รายชื่อคณะบริหารความต่อเนื่อง (ต่อ) บุคลากรหลัก บทบาท บุคลากรสำรอง ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ ผช.เลขาธิการ ศอ.บต./ (ผอ.กปพ.) 08 1848 5401 หัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง กปพ. 1.นายยะยา เจะอีซอ ผอ.กลุ่มอำนวยการ กปพ. 2นางสาวนวรัตน์ ยอดผักแว่น นักจัดการงานทั่วไป ปก. 08 1543 8705 06 5894 9394 นายธีรวิทย์ เฑียรฆโรจน์ (ผอ.กปค.) 08 7475 7007 หัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง กปค. 1.นายแวปันดี วาเย๊ะ ผอ.กลุ่มอำนวยการ กปค. 2.นางสาวอธิพร ปานจันทร์ นักวิชาการศึกษา ชก. 08 2268 6442 09 0476 2413 นายประเวศ หมีดเส็น (ผอ.สพจ.) 08 9294 0505 หัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง สพจ. 1.นางนุชนารถ กิติชัย ผอ.กลุ่มอำนวยการ สพจ. 2.อาสมี หะยีเจ๊ะแว พนักงานประจำสำนักงาน 08 6961 0569 08 8399 8254 นางชุตินันท์ โล่กิตติกุล (ผอ.กตส.) 08 1277 1473 หัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง กตส. 1.นางนฌา สิตตหิรัญ นวก.ตรวจสอบภายใน ชก. 2.นางสาวอัจฉรา ดิษฐานพงศ์ เจ้าพนักงานธุรการ ชง. 08 1595 0553 06 2596 1454 นางทัศนีย์ เพ็งสง (ผอ.ศปท.) 09 5095 0238 หัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง ศปท. 1.นางอามีนา ไชยกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชพ. 2.นส.สุภิลักษณ์ ย่าหลี นิติกร ชก. 09 8671 0129 09 6891 5366 นางทัศนีย์ เพ็งสง (ผอ.กพร.) 09 5095 0238 หัวหน้า คณะบริหาร ความต่อเนื่อง กพร. 1.นส.น้ำฝน นวลสกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชก. 2.นส.พาตีเมาะ จารง พนักงานประจำสำนักงาน 09 2979 3236 08 8219 7999 8. ผลกระทบ...


Business Continuity Plan : BCP 10 8. ผลกระทบต่อกระบวนการทำงานหรือการให้บริการ การวิเคราะห์ผลกระทบต่อกระบวนการทำงานหรือการให้บริการ (Business Impact Analysis) โดยใช้เกณฑ์ในการกำหนดระดับผลกระทบ ดังนี้ ระดับ ผลกระทบ หลักเกณฑ์การพิจารณาระดับของผลกระทบ สูงมาก - เกิดความเสียหายต่อหน่วยงานเป็นจำนวนเงินในระดับสูงมาก - ส่งผลให้ขีดความสามารถในการดำเนินงานหรือการให้บริการลดลงมากกว่าร้อยละ 50 - เกิดการสูญเสียชีวิตและ/หรือภัยคุกคามต่อสาธารณชน - ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และความมั่นใจต่อองค์กรในระดับประเทศ สูง - เกิดความเสียหายต่อหน่วยงานเป็นจำนวนเงินในระดับสูง - ส่งผลให้ขีดความสามารถในการดำเนินงานหรือการให้บริการลดลงมากกว่าร้อยละ 25-50 - เกิดการบาดเจ็บต่อผู้รับบริการ/บุคคล/กลุ่มคน - ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และความมั่นใจต่อองค์กรในระดับหน่วยงาน ปานกลาง - เกิดความเสียหายต่อหน่วยงานเป็นจำนวนเงินในระดับปานกลาง - ส่งผลให้ขีดความสามารถในการดำเนินงานหรือการให้บริการลดลงมากกว่าร้อยละ 10-25 - ต้องมีการรักษาพยาบาล - ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง และความมั่นใจต่อองค์กรในระดับบางหน่วยงาน ต่ำ - เกิดความเสียหายต่อหน่วยงานเป็นจำนวนเงินในระดับต่ำ - ส่งผลให้ขีดความสามารถในการดำเนินงานหรือการให้บริการลดลงมากกว่าร้อยละ 5-10 - ต้องมีการปฐมพยาบาล - ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง และความมั่นใจต่อองค์กรในระดับเจ้าหน้าที่


Business Continuity Plan : BCP 11 กระบวนการ... กระบวนการทำงานที่หน่วยงานต้องให้ความสำคัญและกลับมาดำเนินงานหรือฟื้นคืนสภาพให้ได้ ภายในระยะเวลาตามที่กำหนด (ระบุความเร่งด่วนและระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนชีพ) ตารางที่ 2 ผลกระทบต่อกระบวนการทำงานหรือการให้บริการ (Business Impact Analysis) กระบวนการหลัก ระดับความเร่งด่วน (สูง/ปานกลาง/ต่ำ) ระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนสภาพ 4-24 ชั่วโมง 1-2 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ กระบวนการที่สร้างคุณค่า 1.การวางแผนอัตรากำลังพล งานบรรจุแต่งตั้ง และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ปานกลาง √ 2.การรักษาความปลอดภัย สูง √ 3.พัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ด้านการพัฒนาของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปานกลาง √ 4.การพัฒนาเศรษฐกิจ ต่ำ √ 5.การศาสนาและพหุวัฒนธรรม ต่ำ √ 6.การส่งเสริมการศึกษาและเสริมสร้างโอกาส ทางสังคม ต่ำ √ 7.การอำนวยความเป็นธรรมและความยุติธรรม ปานกลาง √ 8.การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบฯ ปานกลาง √ 9.การพัฒนาบุคลากรภายนอก ศอ.บต. ในหลักสูตรต่างๆ ปานกลาง √ 10.การประสาน เร่งรัด และติดตามงานระดับพื้นที่ ในเขต จชต. ปานกลาง √ 11.งานขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปานกลาง √ 12.งานวิจัย วิชาการ และกิจการพิเศษ ปานกลาง √ 13.การกลั่นกรองแผนงานโครงการประมาณการ ค่าใช้จ่ายโครงการ/กิจกรรม ปานกลาง √ 14.การกำกับติดตามการดำเนินงานตามมติ ครม. ปานกลาง √ 15.การติดตามประเมินผลและจัดทำรายงาน ITA ต่ำ √ ตาราง...


Business Continuity Plan : BCP 12 กระบวนการหลัก ระดับความเร่งด่วน (สูง/ปานกลาง/ต่ำ) ระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนสภาพ 4-24 ชั่วโมง 1-2 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ 16.การดำเนินงานตามมาตรการปรับปรุง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ต่ำ √ ตารางที่ 2 ผลกระทบต่อกระบวนการทำงานหรือการให้บริการ (Business Impact Analysis) (ต่อ) กระบวนการหลัก ระดับความเร่งด่วน (สูง/ปานกลาง/ต่ำ) ระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนสภาพ กระบวนการสนับสนุน 4-24 ชั่วโมง 1.2 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ 1.งานสารบรรณ สูงมาก √ 2.การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปานกลาง √ 3.งานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร สูง √ 4.การเงิน การคลัง และ การเบิกจ่ายเงิน งบประมาณ สูงมาก √ 5.งานตรวจสอบภายใน ปานกลาง √ 6.กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ต่ำ √ 7.ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ต่ำ √ หมายเหตุ : 1. ระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนสภาพ หมายถึง ระยะเวลาภายหลังจากเกิดอุบัติการณ์ขึ้น ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการต้องกลับคืนสภาพเดิม กิจกรรมต้องกลับมาดำเนินการได้ และทรัพยากรต้องได้รับ การฟื้นฟู (มอก. 22301-2556) 2. กรณีภาวะฉุกเฉินหรือภัยพิบัติข้างต้นเกิดขึ้นในระดับที่ส่งผลให้ศอ.บต. ต้องหยุด การดำเนินงาน/ย้ายสถานที่ดำเนินงาน หรือไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติสำหรับกระบวนงานอื่นๆ ที่ประเมินแล้วอาจไม่ได้รับผลกระทบในระดับสูงถึงสูงมาก หรือมีความยืดหยุ่นสามารถชะลอการดำเนินงาน และการให้บริการได้ โดยให้ผู้บริหารของฝ่ายงานประเมินความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ หากมีความจำเป็น ให้ปฏิบัติตามแนวทางการบริหารความต่อเนื่องเช่นเดียวกับกระบวนงานหลัก 9. การวิเคราะห์...


Business Continuity Plan : BCP 13 9. การวิเคราะห์เพื่อกำหนดความต้องการทรัพยากรที่สำคัญ 1) ด้านสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง (Working Space Requirement) ตารางที่ 3 การระบุพื้นที่การปฏิบัติงานสำรอง ประเภททรัพยากร สถานที่/ที่มา 4-24 ชั่วโมง 1-2 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ พื้นที่สำหรับสถานที่ ปฏิบัติงานสำรอง (พื้นที่ = จำนวน บุคลากรหลัก * พื้นที่ สำรองคนละ2 ตรม.) 1. อาคารสำนักงาน ดังนี้ 1.1 ห้องประชุม /อาคารของ ศอ.บต. 1.2 ห้องประชุม/อาคารของ ศูนย์ราชการ 2.เช่าสถานที่เอกชน (ตามความเหมาะสม กรณีที่มีแนวโน้ม เกินกว่า 3 เดือน) อย่างน้อย 186 ตรม. (93 คน) อย่างน้อย 186ตรม. (93 คน) อย่างน้อย 304 ตรม. (152 คน) อย่างน้อย 400 ตรม. (200 คน) ปฏิบัติงานที่บ้าน √ √ √ √ รวม 186 ตรม. 186 ตรม. 304 ตรม. 400 ตรม. 2) ความต้องการ...


Business Continuity Plan : BCP 14 2) ความต้องการด้านวัสดุอุปกรณ์ (Equipment & Supplies Requirement) ตารางที่ 4 การระบุจำนวนวัสดุอุปกรณ์ ประเภททรัพยากร ที่มา 4-24 ชั่วโมง 1-2 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ 1.คอมพิวเตอร์สำรอง 1.ศอ.บต./เครื่องสำรอง ของหน่วยงาน 2.ของบุคลากร 3.ผ่านกระบวนการจัดซื้อ ตามความเหมาะสม 10 เครื่อง 20 เครื่อง 25 เครื่อง 30 เครื่อง 2.เครื่องพิมพ์ (Printer) 1.ศอ.บต./เครื่องสำรอง ของหน่วยงาน 2.ผ่านกระบวนการจัดซื้อ ตามความเหมาะสม 10 เครื่อง 20 เครื่อง 25 เครื่อง 30 เครื่อง 3.โทรศัพท์พร้อมหมายเลข/ โทรศัพท์มือถือ 1.โทรศัพท์มือถือที่ได้ จัดสรรให้ หน.หน่วยงาน 2.โทรศัพท์มือถือของ บุคลากร 3.ผ่านกระบวนการจัดซื้อ ตามความเหมาะสม 25 เครื่อง 25 เครื่อง 25 เครื่อง 25 เครื่อง 4.โทรสารพร้อมหมายเลข 1.ศอ.บต. 2.ผ่านกระบวนการจัดซื้อ ตามความเหมาะสม 2 เครื่อง 2 เครื่อง 2 เครื่อง 2 เครื่อง 8.อุปกรณ์สำนักงาน 1.ศอ.บต. 2.ผ่านกระบวนการจัดซื้อ ตามความเหมาะสม / (จำนวน พิจารณาตาม ความจำเป็น / (จำนวน พิจารณา ตามความ จำเป็น / (จำนวน พิจารณา ตามความ จำเป็น / (จำนวน พิจารณา ตามความ จำเป็น 9.รถยนต์ 1.ศอ.บต. 2.ผ่านกระบวนการจัดซื้อ ตามความเหมาะสม 15 คัน 15 คัน 30 คัน 30 คัน 10.วัสดุอุปกรณ์ป้องกัน/ฆ่าเชื้อ โรค เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ หน้ากากอนามัย ถุงมือ แอลกอฮอล์น้ำยาฆ่าเชื้อ ผ่านกระบวนการจัดซื้อ ตามความเหมาะสม / (จำนวน พิจารณาตาม ความจำเป็น) / (จำนวน พิจารณา ตามความ จำเป็น) / (จำนวน พิจารณา ตามความ จำเป็น) / (จำนวน พิจารณา ตามความ จำเป็น)


Business Continuity Plan : BCP 15 3) ความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูล (IT & Information Requirement) ตารางที่ 5 การระบุความต้องการด้านเทคโนโลยี ประเภททรัพยากร แหล่งข้อมูล 4-24 ชั่วโมง 1-2 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ ระบบงาน 1.ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 1.Server ที่กลุ่มงาน บริหารยุทธศาสตร์การ สื่อสาร สร้างความเข้าใจที่ ดี 2.ระบบสำรองข้อมูลและกู้ คืนข้อมูลความเร็วสูงแบบ DR-Site อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา √ 2.ระบบ Internet และระบบ Intranet √ 3.ระบบ E-mail √ 4.ระบบเครือข่าย เช่าวงจรสื่อสารชั่วคราว ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 6.เว็บไซด์ ศอ.บต. 1.Server ที่กลุ่มงาน บริหารยุทธศาสตร์การ สื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดี 2.ระบบสำรองข้อมูลและกู้ คืนข้อมูลความเร็วสูงแบบ DR-Site อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา √ 5.Line@ กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์ การสื่อสารสร้างความ เข้าใจที่ดี √ 4) ความต้องการ…


Business Continuity Plan : BCP 16 4) ความต้องการด้านบุคลากรสำหรับความต่อเนื่องเพื่อปฏิบัติงาน (Personnel Requirement) ตารางที่ 6 การระบุจำนวนบุคลากรหลักที่จำเป็น ประเภททรัพยากร 4-24 ชั่วโมง 1-2 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ จำนวนบุคลากรปฏิบัติงานที่ สำนักงาน /สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง 91 91 134 175 (รายละเอียดตามภาคผนวก..ค.....) จำนวนบุคลากรปฏิบัติงานที่บ้าน (รายละเอียดตามภาคผนวก...ง....) รวม 91 91 134 175 5) ความต้องการด้านผู้ให้บริการที่สำคัญ (Service Requirement) ตารางที่ 7 การระบุจำนวนผู้ให้บริการที่ต้องติดต่อหรือขอรับบริการ ฝ่ายงาน/ กลุ่มงาน 4 ชั่วโมง 1 วัน 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ ผู้ให้บริการไฟฟ้า √ ผู้ให้บริการน้ำประปา √ ผู้ให้บริการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย Internet √ ผู้ให้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียง (หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน) √ รวม 10. กลยุทธ์...


Business Continuity Plan : BCP 17 10. กลยุทธ์ความต่อเนื่อง (Business Continuity Strategy) เป็นแนวทางในการจัดหาและบริหารจัดการทรัพยากรให้มีความพร้อมเมื่อเกิดสภาวะวิกฤต ซึ่งพิจารณาทรัพยากรใน 5 ด้าน ตารางที่ 8 กลยุทธ์ความต่อเนื่อง (Business Continuity Strategy ทรัพยากร กลยุทธ์ต่อเนื่อง อาคาร/ สถานที่ ปฏิบัติงานสำรอง ▪ กำหนดใช้พื้นที่ปฏิบัติงานสำรอง ซึ่งเป็นพื้นที่ของ ศอ.บต. ที่พิจารณาแล้วมีความเหมาะสม ▪ กำหนดให้ปฏิบัติงานที่บ้าน สำหรับภารกิจที่ไม่ได้รับ ผลกระทบหรือมีลักษณะงานที่สามารถปฏิบัติงานที่บ้าน ได้ ▪ เหลื่อมเวลาการปฏิบัติราชการ ▪ เช่าสถานที่เอกชน (ตามความเหมาะสม) วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ /การจัดหาจัดส่ง วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ ▪ จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) และอุปกรณ์เครือข่ายไว้พร้อมใช้ในสภาวะวิกฤติ ▪ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์สำรองที่มีคุณลักษณะ เหมาะสมกับการใช้งาน หรืออุปกรณ์ที่สามาถเชื่อมโยง ผ่านระบบ Internet ▪ การจัดซื้อหรือเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สนับสนุนตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ▪ จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น USB ติดตั้งระบบสำรอง ไฟฟ้า การทำสำรองข้อมูล และการกู้คืนระบบ จัดเตรียมพาหนะเพื่อใช้ในการเดินทาง โดยสำรองพาหนะ ไว้ในสถานที่เหมาะสม ตาราง...


Business Continuity Plan : BCP 18 ตารางที่ 8 กลยุทธ์ความต่อเนื่อง (Business Continuity Strategy (ต่อ) ทรัพยากร กลยุทธ์ต่อเนื่อง เทคโนโลยี สารสนเทศและ ข้อมูลที่สำคัญ ▪ปฏิบัติตามแผนป้องกันภัยพิบัติระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ตามภาคผนวก ก ▪ ให้บุคลากร สำรองข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ของตนในอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น Handy Drive, External Harddisk, Cloud, one drive เป็นต้น ▪ ติดตั้งระบบสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลความเร็วสูง แบบ DR-Site อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้ทำการ สำรองข้อมูล ให้กับฐานข้อมูล ซึ่งมีการสำรอง ข้อมูลหลัก ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลกลาง ข้อมูลระบบเว็บไซต์ และ ฐานข้อมูลระบบอีเมล์ บุคลากรหลัก ▪ กำหนดให้มีบุคลากรหลักและบุคลากรสำรอง ทำงาน ทดแทนกันได้ในสายงานหรือกลุ่มงานเดียวกัน ▪ กำหนดแนววิธีการปฏิบัติงานเฉพาะให้กับบุคลากร ของสำนัก/กอง/สถาบันหรือกลุ่มงานเดียวกัน กรณีเกิด สภาวะวิกฤตให้ครอบคลุมบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่ สำคัญ/ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ▪ ประสานงานโดยใช้ระบบสื่อสารในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และออนไลน์ และ เครือข่ายสื่อสารมวลชนต่างๆ ▪ ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ โดยเน้นการสื่อสารผ่านออนไลน์ ▪ การใช้ไฟฟ้า ประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (โทร.1129) ▪ ในกรณีที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ไม่สามารถ ให้บริการระบบวงจรสื่อสารหลัก ศอ.บต.ใช้ระบบ เครือข่ายมือถือในการเชื่อมต่อระบบ Internet ทดแทน ขั้นตอน…


Business Continuity Plan : BCP 19 11. ขั้นตอนการบริหารความต่อเนื่องและกอบกู้กระบวนการ วันที่ 1 การตอบสนองต่อเหตุการณ์ทันที (ภายใน 24 ชั่วโมง) การปฏิบัติการใดๆ ให้บุคลากรของทุกกลุ่ม คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของตนเอง และบุคลากรอื่น และปฏิบัติตามแนวทางแผนเผชิญเหตุ และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ขั้นตอนและกิจกรรม บทบาทความรับผิดชอบ ดำเนินการแล้วเสร็จ แจ้งเหตุฉุกเฉิน วิกฤติ ตามกระบวนการ Call Tree ให้กับ บุคลากรในหน่วยงานทราบ ภายหลังได้รับแจ้งจากหัวหน้า คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต. หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่อง ของหน่วยงาน -จัดประชุมทีมงานบริหารความต่อเนื่อง เพื่อประเมิน ความเสียหาย ผลกระทบต่อการดำเนินงาน การให้บริการ และทรัพยากรสำคัญที่ต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่อง ทบทวนกระบวนงานที่มีความเร่งด่วน หรือส่งผลกระทบ อย่างสูง (หากไม่ดำเนินการ) ดังนั้น จำเป็นต้องดำเนินงาน โดยปฏิบัติตามระเบียบ/แนวทางของ ศอ.บต. กำหนด (ถ้ามี) หรือปฏิบัติด้วยมือ (Manual Processing) เลขานุการคณะบริหารความต่อเนื่อง ของ ศอ.บต. คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต./หัวหน้าคณะบริหารความ ต่อเนื่องของหน่วยงาน/ทีมงาน บริหารความต่อเนื่องของสำนัก/ กอง/สถาบัน/หน่วยขึ้นตรง - ระบุและสรุปรายชื่อบุคลากรในส่วน/ฝ่ายฯ ที่ได้รับ บาดเจ็บหรือเสียชีวิต หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่อง ของหน่วยงาน - รายงานหัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต. โดยครอบคลุมประเด็นดังนี้ - จำนวนและรายชื่อบุคลากรที่ได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต - ความเสียหายและผลกระทบต่อการดำเนินงานและ การให้บริการ - - ทรัพยากรสำคัญที่ต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่อง กระบวนงานที่มีความเร่งด่วนและส่งผลกระทบอย่างสูง หากไม่ดำเนินการ และจำเป็นต้องดำเนินงานหรือ ปฏิบัติงาน ด้วยมือ หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่อง ของหน่วยงาน วันที่...


Business Continuity Plan : BCP 20 วันที่ 1 การตอบสนองต่อเหตุการณ์ทันที (ภายใน 24 ชั่วโมง) (ต่อ) ขั้นตอนและกิจกรรม บทบาทความรับผิดชอบ ดำเนินการแล้วเสร็จ สื่อสารและรายงานสถานการณ์แก่บุคลากรในฝ่ายฯ ให้ทราบ ตามเนื้อหาแลพข้อความที่ได้รับการพิจารณา และเห็นชอบจากคณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต. แล้ว หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน ประเมินและระบุกระบวนการหลัก และงานเร่งด่วน ที่จำเป็นต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 1-5 วัน ข้างหน้า คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต./ หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน/ทีมงานบริหารความต่อเนื่อง ของสำนัก/กอง/สถาบัน/หน่วยขึ้นตรง ประเมินศักภาพและความสามารถของหน่วยงานฯ ใน การดำเนินงานเร่งด่วนข้างต้น ภายใต้ข้อจำกัดและ สภาวะวิกฤตพร้อมระบุทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ใน การบริหาร ความต่อเนื่องตามแผนการจัดหา ทรัพยากร หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน รายงานความคืบหน้าให้แก่หัวหน้าคณะบริหารความ ต่อเนื่องของ ศอ.บต.ทราบ พร้อมขออนุมัติการ ดำเนินงานให้เป็นตามระเบียบ/แนวทาง ศอ.บต. กำหนด (ถ้ามี) หรือปฏิบัติด้วยมือ (Manual Processing) สำหรับกระบวนงานที่มีความเร่งด่วนและ ส่งผลกระทบอย่างสูงหากไม่ดำเนินการ คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต./ หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงานที่เกี่ยงข้องกับกระบวนงานที่มี ความสำคัญเร่งด่วนและส่งผลกระทบสูง -ติดต่อและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน การจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหาร ความต่อเนื่องได้แก่ - สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง - วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ - เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ - บุคลากรหลัก - คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน/ทีมงานบริหารความต่อเนื่อง ของสำนัก/กอง/สถาบัน/หน่วยขึ้นตรง ที่รับผิดชอบการจัดหาทรัพยากรที่ จำเป็นตามที่กำหนดไว้ - พิจารณาดำเนินการหรือปฏิบัติงานด้วยมือ (Manual) เฉพาะงานเร่งด่วน หากไม่ดำเนินการจำ ส่งผลกระทบอย่างสูงและไม่สามารถรอได้ ทั้งนี้ ต้อง ได้รับอนุมัติ หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน/ทีมงานบริหารความต่อเนื่อง ของสำนัก/กอง/สถาบัน/หน่วยขึ้นตรงที่ รับผิดชอบงานเร่งด่วน วันที่...


Business Continuity Plan : BCP 21 วันที่ 1 การตอบสนองต่อเหตุการณ์ทันที (ภายใน 24 ชั่วโมง) (ต่อ) ขั้นตอนและกิจกรรม บทบาทความรับผิดชอบ ดำเนินการแล้วเสร็จ รายงานความคืบหน้าให้แก่หัวหน้าคณะบริหารความ ต่อเนื่องของ ศอ.บต. ตามเวลาที่กำหนดไว้ คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต./ หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่อง ของหน่วยงาน ระบุหน่วยงานที่เป็นคู่ค้า/ผู้ให้บริการสำหรับงาน เร่งด่วน เพื่อแจ้งสถานการณ์และแนวทางในการ บริหารงานให้มี ความต่อเนื่องตามความเห็นของ คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต. หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน บันทึก (Log Book) และทบทวนกิจกรรมและงานต่างๆ ที่ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ ต้อง ดำเนินการ (พร้อมระบุรายละเอียด ผู้ดำเนินการและ เวลา) อย่างสม่ำเสมอ ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของสำนัก/ กอง/สถาบัน/หน่วยขึ้นตรง แจ้งสรุปสถานการณ์และขั้นตอนการดำเนินการ สำหรับในวันถัดไป ให้กับบุลคากรหลักในหน่วยงาน เพื่อรับทราบและดำเนินการ อาทิ แจ้งวัน เวลา และ สถานการณ์ที่ปฏิบัติงานสำรอง หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน รายงานความคืบหน้าให้แก่หังหน้าบริหารความต่อเนื่อง ของ ศอ.บต. อย่างสม่ำเสมอหรือตามที่ได้กำหนดไว้ คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต./ หัวหน้าและทีมงานบบริหารความต่อเนื่อง ของหน่วยงาน วันที่ 2-7 การตอบสนองในระยะสั้น การปฏิบัติการใดๆ ให้บุคลากรของทุกกลุ่ม คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของตนเองและบุคลากร อื่น และปฏิบัติตามแนวทาง แผนเผชิญเหตุ และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ขั้นตอนและกิจกรรม บทบาทความรับผิดชอบ ดำเนินการแล้วเสร็จ ติดตามสถานะภาพการกอบกู้คืนมาของทรัพยากรที่ ได้ผลกระทบ ประเมินความจำเป็นและระยะเวลาที่ ต้องการใช้ในการกอบกู้คืน หัวหน้า/คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต./หัวหน้าคณะบริหารความ ต่อเนื่องของหน่วยงาน ตรวจสอบความพร้อมและข้อจำกัดในการจัดหา ทรัพยากร ที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารความ ต่อเนื่อง ได้แก่ หัวหน้า/คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต. สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง สำนักงานเลขาธิการ วันที่...


Business Continuity Plan : BCP 22 วันที่ 2-7 การตอบสนองในระยะสั้น (ต่อ) ขั้นตอนและกิจกรรม บทบาทความรับผิดชอบ ดำเนินการแล้วเสร็จ วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ สำนักงานเลขาธิการ กลุ่มงานคลัง กลุ่มงานพัสดุ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์ การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดี บุคลากรหลัก สำนักงานเลขาธิการ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ผู้ให้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ ทุกสำนัก/กอง/สถาบัน/หน่วยงาน ขึ้นตรง รายงานหัวหน้าคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต. เกี่ยวกับความพร้อมข้อจำกัด และข้อเสนอแนะใน การจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารความ ต่อเนื่อง หัวหน้า/ทีมงานบริหารความ ต่อเนื่องของหน่วยงานที่ รับผิดชอบดูแลการจัดหา ทรัพยากรที่จำเป็น ประสานงานและดำเนินการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ ในการบริหารความต่อเนื่อง ได้แก่ หัวหน้า/คณะบริหารความต่อเนื่อง ของ ศอ.บต. สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง สำนักงานเลขาธิการ เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์ การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดี บุคลากรหลัก สำนักงานเลขาธิการ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย -ผู้ให้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่ สำคัญ ทุกสำนัก/กอง/สถาบัน/หน่วยงาน ขึ้นตรง -แจ้งสถานการณ์และแนวทางในการบริหารความต่อเนื่อง แก่ผู้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/คู่ค้า/ผู้ให้บริการสำคัญ ที่ได้รับผลกระทบ หัวหน้าและทีมงานบริหาร ความต่อเนื่องของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง - บันทึก (Log Book) และทบทวนกิจกรรมและงานต่างๆ ที่ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ (พร้อมระบุ รายละเอียด ผู้ดำเนินการ และเวลา) อย่างสม่ำเสมอ ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน -แจ้งสรุปสถานการณ์และขั้นตอนการดำเนินการต่อไป สำหรับในวันถัดไป ให้กับบุลคลากรในหน่วยงานทราบ ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน วันที่...


Business Continuity Plan : BCP 23 วันที่ 8 การตอบสนองระยะกลาง (1 สัปดาห์) การปฏิบัติการใดๆ ให้บุคลากรของทุกกลุ่ม คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของตนเองและบุคลากร อื่น และปฏิบัติตามแนวทาง แผนเผชิญเหตุ และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ขั้นตอนและกิจกรรม บทบาทความรับผิดชอบ ดำเนินการแล้วเสร็จ ติดตามสถานะภาพการกอบกู้คืนมาของทรัพยากร ที่ได้ผลกระทบ ประเมินความจำเป็นและระยะเวลา ที่ต้องการใช้ในการกอบกู้คืน หัวหน้า/คณะบริหารความต่อเนื่อง ของ ศอ.บต./หัวหน้าคณะบริหาร ความต่อเนื่องของหน่วยงาน ระบุทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อดำเนินงานและ ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการกอบกู้คืน หัวหน้า/คณะบริหารความต่อเนื่อง ของ ศอ.บต./หัวหน้าคณะบริหาร ความต่อเนื่องของหน่วยงาน -รายงานหัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงานสถานภาพการกอบกู้คืนมาของทรัพยากร ที่ได้รับผลกระทบ และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อดำเนินงานและให้บริการตามปกติ คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต./ หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานงานและดำเนินการจัดหาทรัพยากรที่ จำเป็นต้องใช้เพื่อดำเนินงานและให้บริการตามปกติ หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่อง ของหน่วยงาน สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง สำนักงานเลขาธิการ วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ สำนักงานเลขาธิการ กลุ่มงานคลัง กลุ่มงานพัสดุ หน่วยงานที่ได้รับ มอบหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์การสื่อสาร สร้างความเข้าใจที่ดี บุคลากรหลัก สำนักงานเลขาธิการ หน่วยงานที่ได้รับ มอบหมาย ผู้ให้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/คู่ค้า/ผู้ให้บริการ ที่สำคัญ ทุกสำนัก/กอง/สถาบัน/หน่วยงานขึ้นตรง แจ้งสรุปสถานการณ์และการเตรียมความพร้อมด้าน ทรัพยากรต่างๆ เพื่อดำเนินงานและให้บริการ ตามปกติให้กับบุคลากรในหน่วยงาน หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน วันที่...


Business Continuity Plan : BCP 24 วันที่ 8 การตอบสนองระยะกลาง (1 สัปดาห์) (ต่อ) ขั้นตอนและกิจกรรม บทบาทความรับผิดชอบ ดำเนินการแล้วเสร็จ บันทึก (Log Book) และทบทวนกิจกรรมและงานต่างๆ ที่ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ (พร้อมระบุ รายละเอียด ผู้ดำเนินการ และเวลา) อย่างสม่ำเสมอ ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของ หน่วยงาน รายงานความคืบหน้าให้แก่หัวหน้าคณะบริหารความ ต่อเนื่องของหน่วยงาน ตามเวลาที่กำหนดไว้ คณะบริหารความต่อเนื่องของ ศอ.บต./ หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่อง ของหน่วยงาน 12. สรุป...


Business Continuity Plan : BCP 25 12. สรุปกระบวนการดำเนินการแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต Business Continuity Plan : BCP ของ ศอ.บต. 13. การทบทวนและพัฒนาแผน ศอ.บต. จะมีการดำเนินการจัดประชุมเพื่อชี้แจงให้แต่ละสำนัก/กอง/สถาบัน และหน่วยงานขึ้นตรง ทราบ และสามารถวิเคราะห์ เสนอแนะข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น และจะนำไปสู่การปรับปรุงแผนดำเนินธุรกิจ อย่างต่อเนื่องสำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (BCP) ในขั้นต่อไป ตลอดจนสามารถดำเนินการ ได้ตามแผนที่วางไว้หากเกิดสภาวะวิกฤต ภาวะปกติ ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท/ภารกิจของแต่ละสำนัก/ กอง/สถาบัน และหน่วยงานขึ้นตรง ขณะเกิดเหตุ/ภาวะฉุกเฉิน -หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องฯ ศอ.บต. (เลขาธิการ ศอ.บต.) ประกาศใช้แผน -ดำเนินงานตามสายงานทีมบริหารความต่อเนื่อง -ดำเนินการตามกลยุทธ์ความต่อเนื่อง -ดำเนินการตามขั้นตอนการบริหารความต่อเนื่องและกอบกู้ กระบวนการของแต่ละสำนัก/กอง/สถาบัน และหน่วยงานขึ้นตรง ภาวะคลี่คลาย -หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องฯ ศอ.บต. (เลขาธิการ ศอ.บต.) ประกาศยกเลิกใช้แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับการบริหาร ความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (BCP) -กลับเข้าปฏิบัติงานปกติ ณ ที่ตั้ง -แต่ละสำนัก/กอง/สถาบัน และหน่วยงานขึ้นตรง ดำเนินการ....... ที่ปฏิบัติงานตามนโยบาย/ข้อสังเกต


26 ภาคผนวก ก แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน


27 แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย โดย... สำนักงานเลขาธิการ


28 แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย 1. ที่มาและความสำคัญ อุทกภัย หมายถึง เหตุการณ์ที่มีน้ำท่วมพื้นดินสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปริมาณน้ำฝน จำนวนมากจนทำให้มีน้ำส่วนเกินมาเติมปริมาณน้ำบนพื้นดินที่มีอยู่ตามสภาพปกติ จนเกินขีดความสามารถ ในการระบายน้ำของแม่น้ำลำคลอง และยังมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ โดยการปิดกั้นการไหลของน้ำ ตามธรรมชาติ ทั้งเจตนาและไม่เจตนา จนส่งผลให้เกิดอันตรายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้ง สภาพแวดล้อม และเนื่องด้วยพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเขตร้อน ซึ่งมีลมมรสุมพัดผ่านทุกปีคือลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยฝนจะตกหนักประมาณช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งในช่วงดังกล่าวอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำทะเลหนุนซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอุทกภัยขึ้นได้ ภัยจากอุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง อาจสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของหน่วยงาน เจ้าหน้าที่และประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ด้วยเหตุนี้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดน ภาคใต้ จึงจำเป็นต้องมีแนวทางในการรับมือกับเหตุการณ์และสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อเตรียมความพร้อม ที่จะเผชิญเหตุ ลดอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น พร้อมที่จะเข้าปฏิบัติการบรรเทาทุกข์และฟื้นฟู อย่างมีเอกภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร ระบบปฏิบัติการ ทั้งหน่วยปฏิบัติหลัก หน่วยสนับสนุน ให้สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากอุทกภัยได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์และ มีประสิทธิภาพ 2.2 เพื่อกำหนดกรอบการปฏิบัติให้หน่วยงานสามารถปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ได้อย่างเป็นระบบ และมีการบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.3 เพื่อให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานภายใน ศอ.บต. มีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง และมีการกำหนด หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานให้ชัดเจน สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที 2.4 เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคลากร ศอ.บต. และบุคคลภายนอก ที่มาติดต่อราชการ เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย 3. ข้อมูลของหน่วยงาน 3.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยงาน - ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 60 ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 1.6 กิโลเมตร อย่ห่างจากโรงพยาบาลยะลา ประมาณ 3.3 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร


29 อยู่ห่างจากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา ประมาณ 4.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตำรวจภูธรจังหวัดยะลาประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 8.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 800 เมตร - ศูนย์ราชการจังหวัดหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 318 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 2.5 กิโลเมตร อย่ห่างจากโรงพยาบาลยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 6.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา ประมาณ 350 เมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.7 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 5.4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 4 กิเมตร 3.2 ข้อมูลบุคลากรของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 590 อัตรา) ประกอบด้วย 3.2.1 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 122 คน -พนักงานราชการ จำนวน 62 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 317 คน รวม 501 คน 3.2.2 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 39 คน -พนักงานราชการ จำนวน 19 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 31 คน รวม 89 คน


30 3.3 บุคลากรภายนอกที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 88 คน) ประกอบด้วย 3.3.1 สำนักงานคดีปกครองยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.2 สำนักงบประมาณ (ชั้น 6) จำนวน 11 คน 3.3.3 สำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.4 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ภาค 9 (ชั้น 6) จำนวน 6 คน 3.3.5 สำนักงาน กสทช. เขต 41 (ชั้น 7) จำนวน 19 คน 3.3.6 สำนักกิจการความมั่นคงภายใน จำนวน 5 คน กรมการปกครอง (ชั้น 7) 3.3.7 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา (ชั้น 7) จำนวน 9 คน รวม 88 คน 4. ขอบเขตของแผน แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย ฉบับนี้ใช้ในการรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ อุทกภัย ภายในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5. หลักการปฏิบัติ 5.1 ในภาวะปกติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยง จากการเกิดอุทกภัย ดังนี้ 5.1.1 แนวทางปฏิบัติในการป้องกันและลดผลกระทบ ฝ่ายอาคารสถานที่และยานพาหนะ สำนักงานเลขาธิการ ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงต่อการ เกิดอุทกภัย และวางแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในจุดที่มักเกิดปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อเกิด ฝนตกหนัก เช่น การขุดลอกท่อระบายน้ำ การทำความสะอาดร่องน้ำ เป็นต้น เพื่อกำจัดสิ่งกีดขวางออกจาก ทางระบายน้ำ และสามารถรองรับน้ำฝนที่ตกลงมาได้ 5.1.2 การรายงานสถานการณ์น้ำ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต. มีระบบการรายงานสถานการณ์น้ำ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านทาง เว็บไซต์ของ ศอ.บต. (http://rwater.sbpac.go.th) โดยฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ กลุ่มงานบริหาร ยุทธศาสตร์การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดี เป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ สำหรับ ประกอบการจัดทำข้อมูลรายงานประจำวัน รวมถึงการติดตามข้อมูลจากบัณฑิตอาสาในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูล ประกอบการวิเคราะห์ และคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก สำหรับหน่วยงานในการเตรียมพร้อมรับมือ สถานการณ์หากเกิดเหตุ รวมทั้งสามารถแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้รับทราบล่วงหน้า เพื่อลดความเสียหาย และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น


31 5.1.3 เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชน เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ภาคใต้ ศอ.บต. มีเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชน มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ภาคใต้ เพื่อรายงาน ข้อมูลสถานการณ์การเกิดภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ ให้เฝ้าระวังและเตรียม ความพร้อมในการรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย 5.1.4 แนวทางปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมทรัพยากร ให้ทุกหน่วยงาน ใน ศอ.บต. ทั้งที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ และศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มีความพร้อม ในการเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมง และให้ฝ่ายอาคารสถานที่และยานพาหนะ พิจารณาติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเจ้าหน้าที่ประจำจุดเสี่ยง เพื่อเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาตลอดฤดูฝน 5.1.5 แนวทางปฏิบัติตามการแจ้งเตือน ระดับการแจ้งเตือนภัย ได้แก่ ระดับการแจ้งเตือนภัย มีความหมายของสีในการเตือนภัย ดังนี้ สีแดง หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะอันตรายสูงสุด ให้อาศัยอยู่แต่ใน สถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ สีส้ม หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูง เจ้าหน้าที่กำลัง ควบคุมสถานการณ์ให้อพยพไปยังสถานที่ปลอดภัย และปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด สีเหลือง หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย มีแนวโน้มที่ สถานการณ์จะรุนแรงมากขึ้น ให้จัดเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำ สีน้ำเงิน หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเฝ้าระวัง ให้ติดตามข้อมูลข่าวสาร อย่างใกล้ชิด ทุก ๆ 24 ชั่วโมง สีเขียว หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะปกติให้ติดตามข้อมูลข่าวสาร เป็นประจำ 5.2 การปฏิบัติก่อนเกิดเหตุอุทกภัย 5.2.1 ประชุมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย ศอ.บต. 1) การประชุมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย เป็นการร่วมกันพิจารณา ปรับปรุงแก้ไขแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน 2) ชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรในการปฏิบัติตามแผนฯ 5.2.2 การสำรวจตรวจตราและการฝึกซ้อมแผนฯ โดย ฝ่ายอาคารสถานที่และยานพาหนะ 1) ติดตามข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อม และ รายงานผลเป็นระยะให้ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการทราบ


32 2) จัดทำบัญชีวัสดุอุปกรณ์ในการช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุอุทกภัย 3) กำหนดเส้นทางอพยพหนีภัย พร้อมกับเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการอพยพหนีภัย 4) ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย รวมถึงการซ่อมบำรุง เช่น เครื่องสูบน้ำ ปั้มน้ำ สายฉีดน้ำ ท่อน้ำ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมจัดหาเครื่องพลักดันน้ำ กรณีมีน้ำท่วมขังสูง และท่วมเป็นระยะเวลานาน 5) ให้สำนัก/กอง เตรียมความพร้อมด้านเอกสาร ข้อมูลที่สำคัญ ในกรณีที่ต้องย้าย สถานที่ปฏิบัติงาน 6) ตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงของการเกิดกระแสไฟฟ้า ลัดวงจร ไฟฟ้ารั่ว เป็นต้น 7) การฝึกซ้อมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย และการฝึกการใช้ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อทดสอบความพร้อมอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง 5.2.3 ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ มีการจัดทำแผนกำหนดการขุดลอกท่อระบายน้ำ การทำความสะอาด ร่องน้ำ อย่างน้อยเดือนละ 1ครั้ง เพื่อกำจัดขยะ, เศษวัชพืช, เศษใบไม้ที่ทับถม ป้องกันการอุดตันของท่อระบายน้ำ เมื่อเกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำสามารถระบายได้อย่างสะดวก รวมทั้งเพื่อกำจัดกลิ่นเหม็นและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ภายในท่อ 5.2.4 การป้องกันความเสียหายด้านระบบ IT และการประชาสัมพันธ์ข้อมูล โดย ฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ กองบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1) ดำเนินการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับระบบ IT ของศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) แจ้งข้อมูลเส้นทางอพยพ และขนย้ายทรัพย์สินให้บุคลากร ศอ.บต. ทุกคนทราบ 3) ประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ของ ศอ.บต. เช่น Radio Sport, Facebook fan page ของ ศอ.บต., Webpage Line App (กลุ่มต่าง ๆ ของ ศอ.บต.) เพื่อให้ทุกคนได้มีความรู้ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย และรายงานข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับสถานการณ์อุทกภัย


33 การปฏิบัติก่อนเกิดเหตุอุทกภัย การศึกษาวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง การสร้างการมีส่วนร่วม ของบุคลากร ศอ.บต. 1. ประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณา ปรับปรุงแก้ไขแผนฯ ให้มีความ เ ห ม า ะ ส ม ส อ ดค ล ้ อ ง กั บ สถานการณ์ปัจจุบัน 2. ชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจ ให้กับบุคลากรในการปฏิบัติ ตามแผน ฝ่ายอาคารสถานที่และ ยานพาหนะ สำนักงาน เลขาธิการ 1. ติดตามข้อมูลข่าวสาร 2. จัดทำบัญชีวัสดุอุปกรณ์ ในการช่วยเหลือ 3. กำหนดเส้นทางการอพยพ กำหนดระดับความรุนแรง ของสถานการณ์ 4. ทดสอบประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องมือ อุปกรณ์ 5. ขุดลอกท่อระบายน้ำใน ศอ.บต. เพื่อกำจัด เศษขยะมูล ฝอย ดินโคลนต่างๆออกจากท่อ ระบายน้ำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 6. จัดให้มีการซ้อมแผนรองรับ ภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ อุทกภัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง กองบริหารยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ 1. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ บุคลากร เพื่อเตรียมพร้อมรองรับ ภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย 2. ป้องกันความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบ IT


34 5.3 การปฏิบัติขณะเกิดเหตุอุทกภัย 5.3.1 การป้องกันตามแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย โดย ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ 1) การแจ้งเหตุ กรณีเกิดเหตุในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ รายละเอียด ตามข้อมูลการติดต่อสื่อสาร 2) บุคคลที่มีหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายปฏิบัติหน้าที่ทันที โดยดำเนินการ ตั้งแนวกระสอบทรายกั้นปิดตามท่อและบริเวณตลิ่งที่มีน้ำล้น 3) ตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดเพื่อป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้า ลัดวงจร ไฟฟ้ารั่ว 4) กำหนดให้ อาคาร ศอ.บต. 5 ชั้น หรืออาคารชุดที่พักบุคลากร (แฟลต 6 ชั้น) ซึ่งเป็นพื้นที่สูง เป็นจุดรวมพล หรือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการอพยพของบุคลากรศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้และในส่วนของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้อพยพ ขึ้นชั้นที่สูงขึ้น กรณีที่ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการได้ ให้แจ้งเทศบาลนครยะลา และดำเนินการตาม แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มจังหวัดยะลา 5) ผู้ที่มีหน้าที่ตรวจสอบยอดผู้อพยพ ให้ตรวจสอบรายชื่อบุคลากรในหน่วยงาน ตนเอง หากไม่ครบถ้วนให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ 5.3.2 การรายงานสถานการณ์น้ำกรณีเกิดเหตุอุทกภัย บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิรายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่าน Google From ขณะเกิดเหตุ เพื่อฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์การสื่อสาร สร้างความเข้าใจที่ดี ประมวลผลจัดทำข้อมูลในรูปแบบ One Page เพื่อเสนอผู้บริหารและประสานงานในการ เร่งให้ความช่วยเหลือและแจ้งเตือนภัยแก่เจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป 5.3.3 การป้องกันด้านระบบ IT โดยกองบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1) เฝ้าระวังและเตรียมขนย้ายอุปกรณ์ IT ขึ้นที่สูง 2) ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง


35 ได้ การปฏิบัติขณะเกิดเหตุอุทกภัย เมื่อได้รับการแจ้งเหตุ ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ เข้าตรวจสอบพื้นที่พร้อมรายงาน สถานการณ์ให้ผู้บังคับบัญชาได้รับทราบ ผอ.สลธ.ประเมินสถานการณ์ เพื่อกำหนดระดับสถานการณ์ การควบคุม สถานการณ์ ผอ.สลธ. ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน และ ประกาศแจ้งเตือนภัย ฝ่ายอาคารสถานฯ ที่เตรียมการป้องกัน 1. ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ อพยพบุคลากรออกจาก พื้นที่เสี่ยงภัย 2. ฝ่ายเทคโนโลยีและ สารสนเทศทำการเคลื่อนย้าย อุปกรณ์ IT ขึ้นที่สูง ไม่ได้ ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ผอ.สลธ. ประกาศยกเลิก สถานการณ์ฉุกเฉิน


36 5.4 การปฏิบัติหลังเกิดเหตุอุทกภัย 5.4.1 การสำรวจความเสียหาย โดย ฝ่ายอาคารสถานที่ สำนักงานเลขาธิการ 1) สำรวจ ตรวจสอบทรัพย์สิน อุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหาย และจัดทำบัญชีเพื่อขออนุมัติ ซ่อมแซม 2) ตรวจสอบเอกสารที่เสียหาย และอาจก่อให้เกิดผลเสียแก่ทางราชการ หากพบเจอ ความเสียหายดังกล่าวให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้แก้ไขโดยเร่งด่วน 3) จัดระเบียบ และทำความสะอาดหน่วยงานและพื้นที่โดยรอบให้กลับมาสู่สภาพปกติ 4) จัดทำบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และความเสียหายทั้งหมด เพื่อวางแผนป้องกัน เหตุต่อไป 5.4.2 การบรรเทาทุกข์ โดยสำนักงานเลขาธิการ ศอ.บต. 1) ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือกรณีบุคลากรได้รับ ผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย เช่น โรงพยาบาลใกล้เคียง, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดยะลา เป็นต้น 2) ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่บุคลากร ศอ.บต. 3) รักษาความสงบเรียบร้อยของพื้นที่ที่อพยพและพื้นที่ประสบภัย 5.4.3 การฟื้นฟูอาคารสถานที่ โดย ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ สำนักงานเลขาธิการ 1) ทำความสะอาดพื้นที่เกิดเหตุ 2) ปรับปรุงซ่อมแซมแก้ไขความเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ 3) ตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด 5.4.4 การควบคุมโรคติดต่อ 1) หน่วยงานภายใน ศอ.บต. สำรวจตรวจสอบบุคลากรในหน่วยงานของตนว่า มีสุขภาพเป็นอย่างไร มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเข้ารับการควบคุมหรือไม่ ถ้ามีให้ประกาศเป็นพื้นที่ ควบคุมโรคติดต่อ โดยจัดแบ่งโซนผู้ป่วยให้เป็นสัดส่วนและดำเนินการรักษาโดยเร่งด่วน 2) สำนักงานเลขาธิการ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าควบคุมโรคและรักษาโรค


37 เสียหายรุนแรง เสียหายไม่รุนแรง 6. การติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสาร กรณีภาวะปกติใช้ระบบโทรศัพท์ของสำนักงาน/โทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีฉุกเฉินไม่ สามารถใช้โทรศัพท์ของสำนักงาน หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ให้ใช้วิทยุสื่อสารในการติดต่อประสานงาน 7. การรายงาน 7.1 หน่วยงานภายในทุกหน่วยงานต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น พร้อม ทั้งข้อสังเกต (ถ้ามี) 7.2 หน่วยงานภายในทุกหน่วยงานต้องรายงานความเสียหายและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ต่อผู้บังคับบัญชา การปฏิบัติหลังเกิดเหตุอุทกภัย ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ สำรวจความเสียหาย ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ ประเมิน ระดับความเสียหาย ฟื้นฟูบูรณะ/ทำความ สะอาดพื้นที่ บุคลากร เข้าปฏิบัติงาน ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ ออกประกาศห้ามบุคคล ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ และดำเนินการ ปรับปรุงซ่อมแซมแก้ไขความเสียหายให้ กลับคืนสู่สภาพปกติ ตรวจสอบและควบคุมการเกิดโรคติดต่อกรณีพบ ผู้ป่วยประสานโรงพยาบาลศูนย์ยะลาเพื่อเข้าควบคุมและรักษาโรค


38 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์ 1 หน่วยดับเพลิงเทศบาลนครยะลา 199, 0 7321 2345, 0 7321 4897 2 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา 073-203559-64 3 โรงพยาบาลยะลา 0 7321 2764, 1669 4 ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา 0 7321 2634, 191 5 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา สายด่วน 1129, 073 274 880 6 มูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา 0 7321 2669, 1163 7 เทศบาลเมืองสะเตงนอก 08 0702 9263 8 ที่ทำการปกครองยะลา 0 7321 2004 9 มูลนิธิแม่ทับทิมยะลา 0 73224411 10 การประปาเทศบาลนครยะลา 0 7322 3666 11 องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา 0 7320 3610, 0 7320 3611 แผนสำรองให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง (กรณีเกิดเหตุการณ์อุทกภัย ระหว่างการเดินทางมาปฏิบัติงาน ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้) ให้บุคลากรที่ได้รับ ผลกระทบจากเหตุอุทกภัย และบุคลากรที่ไม่สามารถเดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ได้ รายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อขอ อนุญาตปฏิบัติงานยังที่พักอาศัยของตนเอง (Work from home)


39 แผนปฏิบัติการรองรับภาวะฉุกเฉินเหตุการณ์อุทกภัย กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ ไตรมาส ๑ ไตรมาส ๒ ไตรมาส ๓ ไตรมาส ๔ ผู้รับผิดชอบ ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ขั้นตอนการปฏิบัติก่อนเกิดเหตุ 1.ดำเนินการขุดลอกท่อครั้งที่ 1 ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ 2.ดำเนินการขุดลอกท่อครั้งที่ 2 ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ 3.ดำเนินการขุดลอกท่อครั้งที่ 3 ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ 4.ดำเนินการขุดลอกท่อครั้งที่ 4 ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ 5.ดำเนินการขุดลอกท่อครั้งที่ 5 ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ 6.ดำเนินการขุดลอกท่อครั้งที่ 6 ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ 7.ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อวาง แผนการดำเนินการซ้อมแผน รองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ อุทกภัย (การฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ) ✓ กลุ่มงาน อำนวยการและ บริหาร และฝ่าย อาคารสถานที่ (สลธ.) 8.จัดกิจกรรมการซ้อมแผนรองรับ ภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อุทกภัย (การฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ) ✓ กลุ่มงาน อำนวยการและ บริหารและฝ่าย อาคารสถานที่ (สลธ.)


40 แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย โดย... สำนักงานเลขาธิการ


41 แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย 1. ที่มาและความสำคัญ รัฐบาลให้ความสำคัญกับวาระ “ประเทศไทยปลอดภัย หรือ Safety Thailand” โดยมุ่งเน้น การบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่น่าอยู่ น่าท่องเที่ยว พร้อมรับมือกับภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย เป็นประเด็นที่มีความสำคัญ เนื่องจากอัคคีภัย เป็นภัยใกล้ตัว ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ซึ่งแผน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2570 ด้วยแนวคิดการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัยแบบอัจฉริยะ ตั้งเป้าลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมและป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่ พร้อมประยุกต์ใช้งานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยีและภูมิปัญญา เพื่อให้ทุกภาคส่วนรู้เท่าทันการจัดการ ความเสี่ยงจากสาธารณภัย เน้น 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย 2) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการและประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านสาธารณภัย 3) การส่งเสริมการเป็น หุ้นส่วนระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย 4) การจัดการในภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการ 5) การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ซึ่งการสร้างระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้น ในสถานที่ทำงานเป็นส่วนหนึ่ง ในการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างปลอดภัย อันจะเป็นการลด ความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จึงได้จัดทำแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัยขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยและเป็นแนวทางในการ เตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้น หรือหากเกิดขึ้นแล้วก็สามารถระงับ ได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งเป็นการสร้างความปลอดภัยแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานภายใน ศอ.บต., ศูนย์ราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ และผู้มาติดต่อราชการ 2. วัตถุประสงค์ของแผน 2.1 เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากร ศอ.บต. ในการป้องกันและระงับเหตุอัคคีภัยให้ชัดเจน 2.2 เพื่อลดอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุอัคคีภัยภายในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานของ ศอ.บต. และศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.3 เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อราชการ 2.4 เพื่อให้การระงับเหตุอัคคีภัยให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ของทางราชการ 3. ข้อมูลของหน่วยงาน 3.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยงาน - ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 60 ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 1.6 กิโลเมตร


42 อย่ห่างจากโรงพยาบาลยะลา ประมาณ 3.3 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลาประมาณ 4.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตำรวจภูธรจังหวัดยะลาประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 8.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 800 เมตร - ศูนย์ราชการจังหวัดหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 318 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 2.5 กิโลเมตร อย่ห่างจากโรงพยาบาลยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 6.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลาประมาณ 350 เมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.7 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 5.4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 4 กิเมตร 3.2 ข้อมูลบุคลากรของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 590 อัตรา) ประกอบด้วย 3.2.1 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 122 คน -พนักงานราชการ จำนวน 62 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 317 คน รวม 501 คน 3.2.2 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 39 คน -พนักงานราชการ จำนวน 19 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 31 คน รวม 89 คน


43 3.3 บุคลากรภายนอกที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 88 คน) ประกอบด้วย 3.3.1 สำนักงานคดีปกครองยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.2 สำนักงบประมาณ (ชั้น 6) จำนวน 11 คน 3.3.3 สำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.4 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ภาค 9 (ชั้น 6) จำนวน 6 คน 3.3.5 สำนักงาน กสทช. เขต 41 (ชั้น 7) จำนวน 19 คน 3.3.6 สำนักกิจการความมั่นคงภายใน จำนวน 5 คน กรมการปกครอง (ชั้น 7) 3.3.7 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา (ชั้น 7) จำนวน 9 คน รวม 88 คน 4. ขอบเขตของแผน แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน ศอ.บต. ฉบับนี้ ใช้ในการป้องกันและการเตรียมความพร้อมในการระงับเหตุ อัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในบริเวณสถานที่ปฏิบัติงานของ ศอ.บต. และ อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ซึ่งหากอัคคีภัยที่เกิดขึ้นมีความรุนแรง จนเกิดขีดความสามารถในการควบคุม ให้เป็นไปตามอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป 5. หลักการปฏิบัติ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัย เช่น มีการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในสำนักงาน เช่น กระติกน้ำร้อน, พัดลม, คอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน, การกระจายสัญญาณ Wifi ที่มีการใช้งานประจำ และต่อเนื่องเป็นเวลานาน, การเกิดประกายไฟต่าง ๆ รวมถึง การเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรตามจุดปลั๊กต่างๆ และบริเวณสายไฟภายในอาคาร เป็นต้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือกับสถานการณ์การเกิด อัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้น สำนักงานเลขาธิการ ศอ.บต. จึงได้กำหนดหลักการปฏิบัติ ดังนี้ 5.1 การปฏิบัติก่อนเกิดเหตุอัคคีภัย การดำเนินมาตรการ/กิจกรรมต่าง ๆ ในการป้องกันและเตรียมพร้อมเผชิญเหตุการณ์ฉุกเฉิน เหตุอัคคีภัย เป็นการลดความรุนแรงและลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นให้มีน้อยที่สุด โดยมีขั้นตอน การดำเนินการดังนี้ 5.1.1 การตรวจตราความปลอดภัย 1) ให้แต่ละหน่วยงานกำหนดผู้รับผิดชอบประจำกลุ่มงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตรวจตรา ความปลอดภัยภายในกลุ่มงานของตน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุอัคคีภัยขึ้น เช่น สายไฟ, อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องคอมพิวเตอร์ปลั๊กไฟฟ้า เป็นต้น 2) ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ สำรวจตรวจตราอุปกรณ์ในการแจ้งเตือนภัยและอุปกรณ์ในการ ช่วยเหลืออย่างสม่ำเสมอ ว่ามีความพร้อมสำหรับการใช้งานหรือไม่ เช่น ถังดับเพลิง (โดยตรวจตราอย่างน้อย ทุก 6 เดือน) เครื่องดักจับควัน, สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้, อุปกรณ์ส่องสว่างฉุกเฉิน, แหล่งน้ำ/หัวจ่ายน้ำ


44 ในการดับเพลิง, สายฉีดน้ำ, สัญลักษณ์บอกเส้นทางหนีไฟ,ป้ายบอกทางออก (Exit), ขวาน, ที่ตัดกุญแจ เป็นต้น รวมทั้งการตรวจสอบหรือทดสอบบันไดหนีไฟว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่ หรือมีสิ่งกีดขวางซึ่งเป็นอุปสรรค ต่อการอพยพหนีไฟหรือไม่ โดยเฉพาะบันไดหนีไฟอาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรมี การตรวจสอบและทดสอบการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้อพยพสามารถอพยพลงถึงพื้นได้อย่างปลอดภัย พร้อมรายงานผลการตรวจตราความปลอดภัยให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ทั้งนี้ หากพบข้อบกพร่องหรือใช้งานไม่ได้ ให้เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อสั่งการให้ปรับปรุงแก้ไขโดยด่วน 3) ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ ประสานเทศบาลนครยะลาเพื่อให้เข้าตรวจสอบ/ทดสอบ ความพร้อมของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ หากพบกรณีชำรุดให้จัดหาอุปกรณ์ทดแทน โดยเฉพาะแหล่งน้ำ /หัวจ่ายน้ำ ในการดับเพลิง ของอาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4) ดำเนินการตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 และกฏหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5.1.2 การรณรงค์ เผยแพร่ และเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย สำนักงานเลขาธิการ จัดกิจกรรมหรือประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อรณรงค์ เผยแพร่ และเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและระงับเหตุอัคคีภัยแก่บุคลากร และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ของ ศอ.บต. เช่น วิธีการแจ้งเหตุเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ การใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้น การอพยพหนีไฟ การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยเมื่อต้องเผชิญเหตุเพลิงไหม้ วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยเชิญวิทยากร จากหน่วยงานภายนอก เช่น เทศบาลนครยะลา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา เป็นต้น มาให้ความรู้โดยดำเนินการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5.1.3 การซ้อมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ สำนักงานเลขาธิการ รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมซ้อมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ อัคคีภัย ศอ.บต. โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลนครยะลา, สำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจังหวัดยะลา, มูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา, เทศบาลเมืองสะเตงนอก เป็นต้น มาร่วมซ้อมแผน ทั้งใน ศอ.บต. และอาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้ง ประเมินผลการซ้อมแผน และประมวล ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง ทบทวน และแก้ไขแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย ของ ศอ.บต. ต่อไป โดยกำหนดให้มีการซ้อมแผนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5.1.4 การเตรียมความพร้อมสำหรับการอพยพหนีไฟ 1) การซ้อมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย ภายใน ศอ.บต. และศูนย์ราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดให้แต่ละหน่วยงานกำหนดบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นำการอพยพ และกรณี ต้องอพยพหนีไฟ กำหนดตัวบุคคลให้เป็นผู้ตรวจสอบยอดผู้อพยพพร้อมกำหนดเส้นทางหนีไฟ จุดรวมพล จุดรองรับการอพยพ มีการใช้ธงหรือสัญลักษณ์สำหรับผู้นำการอพยพ รวมทั้งได้กำหนดข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในการอพยพ โดยกำหนดให้มีบุคคลสำรองในการทำหน้าที่แทน กรณีที่ผู้นำการอพยพ ผู้ตรวจสอบยอดผู้อพยพ


45 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในขณะนั้น พร้อมทั้ง กำหนดให้มีทีมปฐมพยาบาลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บจากอัคคีภัย 2) จัดทำบัญชีรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน สำหรับการตรวจสอบยอดจำนวน ผู้อพยพ โดยทำการปรับปรุงบัญชีรายชื่อเจ้าหน้าที่ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ 3) จัดทำบัญชีเอกสารและทรัพย์สินสำคัญของทางราชการที่ต้องขนย้ายเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ พร้อมทั้งจัดทำสัญลักษณ์เรียงลำดับความสำคัญ 4) จัดทำแผน และมอบหมายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการขนย้ายและเก็บรักษาทรัพย์สิน เอกสารและทรัพย์สินสำคัญของทางราชการตามบัญชีที่จัดทำขึ้น 5.1.5 การซ้อมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย ภายใน ศอ.บต. และ อาคาร ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานเลขาธิการ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมซ้อมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย โดยจัดทำกำหนดการในการดำเนินการเรื่องการซ้อมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ อัคคีภัย ภายใน ศอ.บต. และ อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งรายงานและประเมินผล การซ้อมแผนดังกล่าวและประมวลข้อมูลเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง ทบทวน และแก้ไขแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย ภายใน ศอ.บต. ในปีถัดไป 5.1.6 ฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร ศอ.บต. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดับเพลิงเบื้องต้น รวมถึงทราบ ตำแหน่งที่ตั้งเมนสวิตช์ตัดตอนทางไฟฟ้า (cut-out), ถังดับเพลิงภายในหน่วยงานของตน หรือบริเวณใกล้เคียง และวิธีปฏิบัติในการตัดกระแสไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉินและพร้อมที่จะตัดไฟได้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น ทราบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm) โดยสัญญาณดังกล่าวจะต้องให้ทุกคนที่อยู่ภายในอาคารได้ยิน ทั่วถึงกัน ทราบวิธีการแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และการรายงานผู้บังคับบัญชาตลอดจนเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาล เบื้องต้น และการช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีฉุกเฉิน 5.1.7 กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติในวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในคำสั่งศูนย์ อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่อง มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการและ วันหยุดนักขัตฤกษ์ สลธ. กำหนดบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติในวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อเฝ้าระวังการเกิดเหตุวินาศภัยและวินาศกรรมใน ศอ.บต. รวมทั้ง การสำรวจตรวจตรา ดูแลทรัพย์สิน รวมทั้งการรายงานข่าวด่วนหรือเหตุการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจต่อผู้ตรวจเวรรักษาการณ์เพื่อหาทางแก้ไข ให้เหมาะสม กับวิสัยและพฤติการณ์ หรือการประสานโทรแจ้งสายด่วนอุ่นใจ 1880 ในการประสานข้อมูลต่อไป


Click to View FlipBook Version