The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อัพยาปัชฌา โหนตุ, 2023-09-06 04:49:58

คู่มือBCPกย.66

คู่มือBCPกย.66

46 5.2 การปฏิบัติระหว่างเกิดเหตุอัคคีภัยในเวลาราชการ 5.2.1 การปฏิบัติระหว่างเกิดเหตุอัคคีภัยในเวลาราชการ 1) การแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (1) ผู้พบเห็นเหตุการณ์คนแรกตะโกนแจ้งเหตุ/กดกริ่งสัญญานแจ้งเตือนเพลิงไหม้ ให้ผู้ปฏิบัติงานภายในอาคารที่เกิดเหตุทราบ พร้อมทั้งทำการดับเพลิงด้วยตนเองก่อน โดยวิธีการ คลุมหรือ ตบไฟ หรือการใช้ถังเคมีดับเพลิง (2) ผู้พบเห็นเหตุการณ์ทำการดับเพลิงด้วยตนเองแล้วแต่ไม่สำเร็จ จึงทำการติดต่องาน รักษาความปลอดภัย กรณีเกิดเหตุ ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เบอร์โทรศัพท์ 0 7327 4114 หรือสายด่วนอุ่นใจ ศอ.บต. 1880 กรณีเกิดเหตุ ณ อาคารศูนย์ราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เบอร์โทรศัพท์ 0 7327 4115 เพื่อให้งานรักษาความปลอดภัยเข้าระงับเหตุ เจ้าหน้าที่รักษา ความปลอดภัยเข้าระงับเหตุ และรายงานสถานการณ์ให้แก่หัวหน้างานรักษาความปลอดภัย เพื่อประเมิน สถานการณ์และรายงานข้อมูลให้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ (ผู้อำนวยการดับเพลิง) ตามลำดับ (3) งานรักษาความปลอดภัยเข้าระงับเหตุ - กรณีสามารถดับเพลิงได้ ให้ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุโดยละเอียดอีกครั้ง พร้อมรายงานหัวหน้างานรักษาความปลอดภัย ได้รับทราบ - กรณีไม่สามารถดับเพลิงได้ ให้รายงานหัวหน้างานรักษาความปลอดภัย เพื่อประสานขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานดับเพลิงภายนอก และทำการตัดระบบไฟฟ้าภายในอาคาร หน่วยดับเพลิง (สถานีดับเพลิงเทศบาลนครยะลา 199, 0 7322 8499) มูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา (0 7321 2669, 1163) เทศบาลเมืองสะเตงนอก (08 0702 9263) โรงพยาบาลยะลา (0 7324 4711) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา (สายด่วน 1129, 0 7327 4882, 0 7327 4892)


47 ผังกระบวนการ การแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ผู้พบเหตุเพลิงไหม้ แจ้งงานรักษาความปลอดภัยเข้าระงับเหตุ กรณีเกิดเหตุ 1) ศอ.บต. : โทร. 0 7327 4114, สายด่วนอุ่นใจ 1880 2) อาคารศูนย์ราชการฯ โทร.073-274115 ตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ อย่างละเอียดอีกครั้ง รายงานสถานการณ์ให้ผู้อำนวยการ สำนักงานเลขาธิการในฐานะ ผู้อำนวยการดับเพลิงได้รับทราบ เพื่อประเมินสถานการณ์ และประกาศใช้แผนอพยพ สามารถดับเพลิงได้ ไม่สามารถดับเพลิงได้ ตะโกนแจ้งเหตุ/กดกริ่งสัญญานแจ้งเตือนให้ ผู้ร่วมงานหรือผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้ รับทราบ พร้อมทำการดับไฟด้วยตนเอง เบื้องต้น รายงานผู้บังคับบัญชา ประสานฝ่ายอาคารสถานที่ฯ เข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ อย่างละเอียดอีกครั้ง โทร. 0 7327 4114, สายด่วนอุ่นใจ 1880 งานรักษาความปลอดภัยเข้าระงับเหตุ พร้อมรายงานสถานการณ์ให้หัวหน้างานรักษาความ ปลอดภัยได้รับทราบเพื่อประเมินสถานการณ์ สามารถดับเพลิงได้ หัวหน้างานรักษาความปลอดภัย โทรแจ้งขอความช่วยเหลือหน่วยดับเพลิง จากภายนอกและสั่งการ ให้ตัดระบบไฟฟ้าภายในอาคาร ไม่สามารถดับเพลิงได้ ประเมินสถานการณ์ (ความรุนแรงของเพลิง)


48 2) การดับเพลิง (1) เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติงานอยู่บริเวณใกล้เคียงเข้าทำ การดับเพลิงทันที โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น คลุมหรือตบไฟ ใช้น้ำดับหรือใช้ถังเคมีดับเพลิงตามชนิดการเกิดไฟ หากสามารถดับเพลิงได้ให้แจ้งฝ่ายอาคารสถานที่ฯ เข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุโดยละเอียดอีกครั้งพร้อมรายงาน ผู้บังคับบัญชาได้รับทราบ (2) หากเพลิงไหม้มีความรุนแรงจนเกิดขีดความสามารถในการควบคุม หัวหน้างานรักษา ความปลอดภัยโทรแจ้งขอความช่วยเหลือหน่วยดับเพลิงจากภายนอก และทำการตัดระบบไฟฟ้า ภายในอาคารหน่วยดับเพลิง (สถานีดับเพลิงเทศบาลนครยะลา สายด่วน 199,0 7322 8499, มูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา (1163), เทศบาลเมืองสะเตงนอก (08 0702 9263) พร้อมรายงานสถานการณ์ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ ในฐานะผู้อำนวยการดับเพลิงได้รับทราบเพื่อประเมินสถานการณ์และ ประกาศใช้แผนการอพยพ (3) กรณีเพลิงไหม้ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้ จำเป็นต้องขอความร่วมมือ รถดับเพลิงจากเทศบาลต่าง ๆ มอบหมายให้นายสุวัฒ พรหมดำ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ หัวหน้าฝ่าย อาคารสถานที่และยานพาหนะ และหัวหน้างานรักษาความปลอดภัย ประสานหน่วยงานและสถานที่ใกล้เคียง ให้อำนวยความสะดวกเพื่อให้การสัญจรเข้าออกเป็นไปด้วยสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น


49 สามารถดับเพลิง ได้ ไม่สามารถดับเพลิง ได้ สามารถดับเพลิง ได้ ไม่สามารถดับเพลิง ได้ ผังกระบวนการ การดับเพลิง แจ้งงานรักษาความปลอดภัยเข้าระงับเหตุ กรณีเกิดเหตุ 1) ศอ.บต. : โทร. 0 7327 4114, สายด่วนอุ่นใจ 1880 2) อาคารศูนย์ราชการฯ โทร.073-274115 ตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ อย่างละเอียดอีกครั้ง เข้าทำการดับเพลิงทันที โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น คลุมหรือตบไฟ ใช้น้ำดับหรือถังเคมี ดับเพลิงตามชนิดของการเกิดไฟ ประสานฝ่ายอาคารสถานที่เข้าตรวจสอบ พื้นที่เกิดเหตุอย่างละเอียดอีกครั้ง โทร. 0 7327 4114, สายด่วนอุ่นใจ 1880 งานรักษาความปลอดภัยเข้าระงับเหตุ พร้อมรายงานสถานการณ์ให้หัวหน้างาน รักษาความปลอดภัยได้รับทราบ หัวหน้างานรักษาความปลอดภัย โทรแจ้งขอความช่วยเหลือ หน่วยดับเพลิงจากภายนอก และสั่งการให้ทำการตัด ระบบไฟฟ้าภายในอาคาร ผู้พบเหตุเพลิงไหม้ รายงานผู้อำนวยการ สำนักงานเลขาธิการ เพื่อประเมินสถานการณ์ และประกาศใช้แผนอพยพ


50 3) การอพยพหนีไฟ (1) หากเพลิงไหม้มีความรุนแรงลุกลามจนเกินขีดความสามารถในการควบคุม ของ ศอ.บต. ให้อพยพตามแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย (2) เมื่อผู้อำนวยการดับเพลิงได้สั่งการอพยพ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้นำการอพยพของกลุ่มงาน เป็นผู้นำการอพยพ เพื่ออพยพเจ้าหน้าที่ไปตามเส้นทางอพยพไปยังจุดรวมพลโดยเร็ว (3) ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบยอดผู้อพยพ ทำการตรวจสอบยอดจำนวนเจ้าหน้าที่ ในกลุ่มงานของตน ณ จุดรวมพล กรณีพบเจ้าหน้าที่ครบถ้วนให้นำอพยพไปยังจุดรองรับการอพยพ หากไม่ครบถ้วน ให้รายงานผู้อำนวยการดับเพลิงเพื่อให้ทำการค้นหาผู้ที่ติดค้างอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ (4) หากค้นพบผู้ได้รับบาดเจ็บให้รายงานผู้อำนวยการดับเพลิงทันที พร้อมทั้งช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บมายังจุดปฐมพยาบาล และหากมีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงให้ส่งต่อให้โรงพยาบาลยะลาหรือโรงพยาบาล ใกล้เคียงโดยทันที (5) เมื่อเพลิงสงบให้ผู้อำนวยการดับเพลิง สั่งการให้เจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายเบื้องต้น พร้อมแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารที่เกิดเพลิงไหม้


51 พบผู้บาดเจ็บ บาดเจ็บรุนแรง ไม่พบผู้บาดเจ็บ ผังกระบวนการการอพยพหนีไฟ ผู้อำนวยการดับเพลิง สั่งการให้มีการอพยพหนีไฟ (ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ) ผู้นำอพยพ นำอพยพเจ้าหน้าที่ไปยังจุดรวมพล กรณีเกิดเหตุ ณ ศอ.บต. : กำหนดจุดรวมพลบริเวณหน้าเสาธง ศอ.บต. กรณีเกิดเหตุ ณ อาคารศูนย์ราชการฯ : กำหนดจุดรวมพล บริเวณลาน ชั้น 1 อาคารจอดรถ (ผู้ตรวจสอบยอดผู้อพยพทำการตรวจสอบยอดจำนวนเจ้าหน้าที่) ผู้นำอพยพตามบัญชีรายชื่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ นำการอพยพของแต่ละหน่วยงานนำอพยพ ไปยังจุดรองรับการอพยพ ผู้อำนวยการดับเพลิง สั่งการให้เจ้าหน้าที่ เข้าค้นหาผู้ที่อาจติดค้างในพื้นที่เกิดเหตุ เพลิงสงบ ผู้อำนวยการดับเพลิงสั่งยุติแผนอพยพ และอพยพบุคลากรกลับเข้าหน่วยงาน จำนวนเจ้าหน้าที่ครบ เจ้าหน้าที่เข้าค้นหาผู้ที่อาจติดค้าง ในพื้นที่เกิดเหตุ แจ้งผู้อำนวยการดับเพลิงทันที พร้อมทั้ง ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บมายังจุดปฐมพยาบาล กรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือทีมค้นหาดำเนินการ ส่งต่อผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลยะลาหรือ โรงพยาบาลใกล้เคียงทันทีและแจ้ง ผู้อำนวยการดับเพลิงทราบโดยเร็ว จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่ครบ


52 5.2.2 การปฏิบัติระหว่างเกิดเหตุอัคคีภัยนอกเวลาราชการ 1) การแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (1) ผู้พบเห็นเหตุการณ์คนแรก (เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, เจ้าหน้าที่ปฏิบัติราชการ ในวันหยุดราชการและ วันหยุดนักขัตฤกษ์) ตะโกนแจ้งเหตุเพลิงไหม้/กดกริ่งสัญญานแจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติงาน ภายในอาคารที่เกิดเหตุทราบพร้อมทั้งทำการดับเพลิงด้วยตนเองก่อน โดยวิธีการ คลุมหรือตบไฟ หรือใช้ถังเคมี ดับเพลิง (2) ผู้พบเห็นเหตุการณ์ ทำการดับเพลิงด้วยตนเองแล้ว แต่ไม่สำเร็จ จึงทำการติดต่องาน รักษาความปลอดภัย กรณีเกิดเหตุ ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เบอร์โทรศัพท์ 0 7327 4114 หรือสายด่วนอุ่นใจ ศอ.บต. 1880 กรณีเกิดเหตุ ณ อาคารศูนย์ราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เบอร์โทรศัพท์ 0 7327 4115 เพื่อประสานงานงานรักษาความปลอดภัยเข้าระงับเหตุเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัยเข้าระงับเหตุ และรายงานสถานการณ์ให้แก่หัวหน้างานรักษาความปลอดภัย เพื่อประเมิน สถานการณ์และรายงานข้อมูลให้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ (ผู้อำนวยการดับเพลิง) ตามลำดับ (3) งานรักษาความปลอดภัยเข้าระงับเหตุ - กรณีสามารถดับเพลิงได้ ให้ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุโดยละเอียดอีกครั้ง พร้อมรายงานหัวหน้างานรักษาความปลอดภัย ได้รับทราบ - กรณีไม่สามารถดับเพลิงได้ ให้รายงานหัวหน้างานรักษาความปลอดภัย ประสาน ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานดังเพลงภายนอก และทำการตัดระบบไฟฟ้าภายในอาคาร หน่วยดับเพลิง (สถานีดับเพลิงเทศบาลนครยะลา 199, 0 7321 2345, 0 7321 4897) มูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา (1163, 0 7321 2669,) เทศบาลเมืองสะเตงนอก (08 0702 9263) โรงพยาบาลยะลา (0 7324 4711) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา (1129, 0 7327 4882, 0 7327 4892) 5.3 การปฏิบัติหลังเกิดอัคคีภัย 5.3.1 แต่ละกลุ่มงาน ทำการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของทางราชการ และรวบรวมรายละเอียดข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชา และดำเนินการ เพื่อขออนุมัติความช่วยเหลือ, การฟื้นฟูบูรณะ และปรับปรุงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอัคคีภัย ต่อไป 5.3.2 กรณีเหตุอัคคีภัยที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานและทรัพยากรที่สำคัญในการ ปฏิบัติงาน เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จนส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติงานภายใน ศอ.บต. ได้ ให้ไปปฏิบัติราชการ ต่อเนื่อง ณ อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้แทน 6. การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ให้บุคลากรของ ศอ.บต. ทำการศึกษารายละเอียด วิธีปฏิบัติ พร้อมตรวจสอบภาระหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายตามแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย ศอ.บต. เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด พร้อมให้มีการฝึกซ้อมแผนฯ เป็นประจำอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง แล้วนำผลจากการฝึกซ้อมมาเป็นข้อมูล ในการปรับ/แก้ไข และพัฒนาแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย ภายในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น


53 ที่ หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์ 1 หน่วยดับเพลิงเทศบาลนครยะลา 199, 0 7321 2345, 0 7321 4897 2 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา 073-203559-64 3 โรงพยาบาลยะลา 0 7321 2764, 1669 4 ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา 0 7321 2634, 191 5 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา สายด่วน 1129, 073 274 880 6 มูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา 0 7321 2669, 1163 7 เทศบาลเมืองสะเตงนอก 08 0702 9263 8 ที่ทำการปกครองยะลา 0 7321 2004 9 มูลนิธิแม่ทับทิมยะลา 0 73224411 10 การประปาเทศบาลนครยะลา 0 7322 3666 11 องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา 0 7320 3610, 0 7320 3611 บัญชีรายชื่อหน่วยงานติดต่อกรณีเกิดอัคคีภัย


54


55 แผนปฏิบัติการรองรับภาวะฉุกเฉินเหตุการณ์อัคคีภัย กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ ไตรมาส ๑ ไตรมาส ๒ ไตรมาส ๓ ไตรมาส ๔ ผู้รับผิดชอบ ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค.ก.ย. 1. แต่งตั้งคณะทำงานการดำเนินการ กิจกรรมการซ้อมแผนรองรับภาวะ ฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย ✓ กลุ่มงาน อำนวยการและ บริหาร (สลธ.) 2. ประชุมผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจกระบวนการจัดกิจกรรม การซ้อมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย ✓ กลุ่มงาน อำนวยการและ บริหาร และ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ (สลธ.) 3. จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร และจัดกิจกรรมการซ้อมแผนรองรับ ภาวะฉุกเฉินเหตุการณ์อัคคีภัย เพื่อ เตรียมพร้อมรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย ✓ กลุ่มงาน อำนวยการและ บริหาร และ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ (สลธ.) 4. ประชุมผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อร่วมกัน ถอดบทเรียนจากการจัดกิจกรรม และ หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา-อุปสรรค ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อปรับปรุงและ พัฒนาต่อไป ✓ กลุ่มงาน อำนวยการและ บริหาร และ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ (สลธ.) 5.จัดทำสรุปรายงานผลการจัดกิจกรรม การซ้อมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์อัคคีภัย เสนอผู้บริหาร ✓ กลุ่มงาน อำนวยการ และบริหาร และ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ (สลธ.) 6.การตรวจสอบถังดับเพลิง ✓ ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่


56 แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล โดย... สำนักงานเลขาธิการ


57 แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล 1. ที่มาและความสำคัญ การชุมนุมประท้วงของประชาชน เป็นการแสดงออกด้วยการกระทำ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วย โดยมีหลากหลายวิธีในการแสดงออก เช่น การอดข้าวประท้วง การเดินประท้วง เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นการแสดงออกทางด้านสังคมหรือด้านการเมือง และผลจากการชุมนุมประท้วงที่ใช้ ความรุนแรงจะส่งผลให้เกิดความวุ่นวายจนกลายเป็นการก่อเหตุจลาจลในที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการแก้ไขหรือการจัดการกับภาวะฉุกเฉินเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล และเพื่อให้บุคลากร หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอก ศอ.บต. สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ศอ.บต. จึงได้จัดทำแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน กรณีเกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล ศอ.บต. ขึ้น เพื่อกำหนด มาตรการในการป้องกันการเกิดเหตุชุมนุมประท้วง/จลาจล ที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายรุนแรง ใน ศอ.บต. 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันการเกิดเหตุชุมนุมประท้วง/จลาจล ที่อาจส่งผลเสียหาย รุนแรง ใน ศอ.บต. 2.2 เพื่อให้บุคลากร ศอ.บต. มีความพร้อม เมื่อเกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล 2.3 เพื่อให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ 2.4 เพื่อเป็นการป้องกัน ลดอัตราความเสี่ยงภัย และบรรเทาการสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ของ ศอ.บต. จากการชุมนุมประท้วงด้วยการใช้ความรุนแรง 2.5 เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการรักษาความปลอดภัย สำหรับบุคลากร ศอ.บต. บุคคลที่เข้ามา ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ของ ศอ.บต. และผู้มาติดต่อราชการ เป็นการจัดแบ่งหน้าที่และเรียงลำดับการปฏิบัติ ภายในหน่วยงานเพื่อการรักษาความปลอดภัย และหน่วยงานย่อยภายในต้องรับทราบอย่างชัดเจน พร้อมทั้ง ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 3. ข้อมูลของหน่วยงาน 3.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยงาน - ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 60 ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 1.6 กิโลเมตร อย่ห่างจากโรงพยาบาลยะลา ประมาณ 3.3 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา ประมาณ 4.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 8.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 800 เมตร


58 - ศูนย์ราชการจังหวัดหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 318 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 2.5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากโรงพยาบาลยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 6.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา ประมาณ 350 เมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.7 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 5.4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 4 กิเมตร 3.2 ข้อมูลบุคลากรของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 590 อัตรา) ประกอบด้วย 3.2.1 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 122 คน -พนักงานราชการ จำนวน 62 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 317 คน รวม 501 คน 3.2.2 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 39 คน -พนักงานราชการ จำนวน 19 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 31 คน รวม 89 คน 3.3 บุคลากรภายนอกที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 88 คน) ประกอบด้วย 3.3.1 สำนักงานคดีปกครองยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.2 สำนักงบประมาณ (ชั้น 6) จำนวน 11 คน 3.3.3 สำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.4 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ภาค 9 (ชั้น 6) จำนวน 6 คน 3.3.5 สำนักงาน กสทช. เขต 41 (ชั้น 7) จำนวน 19 คน 3.3.6 สำนักกิจการความมั่นคงภายใน จำนวน 5 คน กรมการปกครอง (ชั้น 7) 3.3.7 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา (ชั้น 7) จำนวน 9 คน รวม 88 คน


59 4. ขอบเขตของแผน แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล ฉบับนี้ใช้ในการบริหารจัดการ กรณีเกิด เหตุการณ์ชุมนุม ประท้วง/จลาจล ขึ้น ใน ศอ.บต. และอาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งในเวลา ราชการและนอกเวลาราชการ ซึ่งหากเหตุการณ์ชุมนุม ประท้วง จลาจล ที่เกิดขึ้น มีความรุนแรงจนเกิน ขีดความสามารถในการควบคุม ให้การปฏิบัติเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป 5. หลักการปฏิบัติแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 5.1 ก่อนเกิดเหตุชุมนุมประท้วง/จลาจล 5.1.1 สำนักงานเลขาธิการ(สลธ.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการป้องกัน ติดตามข้อมูล ข่าวสาร สถานการณ์ รวมทั้งตรวจสอบประเด็นปัญหาความเดือดร้อน เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ แก้ไขปัญหา รวมทั้งจัดเตรียมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล 5.1.2 ฝ่ายอาคารสถานที่และยานพาหนะ สำรวจแผงกั้นและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมใช้งาน และดำเนินการจัดหาทดแทนตามความจำเป็นในการใช้งาน พร้อมทั้ง การดำเนินการจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่/อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ระบบสื่อสาร ยานพาหนะ และมอบหมาย หน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติการใว้ให้พร้อม 5.1.3 ให้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการปฏิบัติการทางจิตวิทยา ขจัดเงื่อนไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน หรือประชาชนในพื้นที่ 5.1.4 ทุกหน่วยงานใน ศอ.บต. ทำการซักซ้อมความเข้าใจ เตรียมบุคลากรที่มีหน้าที่ให้พร้อม รับเหตุการณ์อยู่เสมอ 5.1.5 ฝ่ายอาคารสถานที่และยานพาหนะ จัดการฝึกอบรมและการฝึกซ้อมเผชิญเหตุ ความรุนแรงจากการชุมนุมประท้วงให้แก่ ศอ.บต. 5.2 ขณะเกิดเหตุชุมนุมประท้วง/จลาจล การบริหารจัดการ กรณีเผชิญเหตุชุมนุม ประท้วง/จลาจล มีแนวทางคือ ตรวจสอบเหตุชุมนุม ประท้วง/จลาจล ติดตามและประเมินสถานการณ์โดยแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ 5.2.1 เหตุที่เกิดขึ้นภายนอก ศอ.บต. แบ่งเป็น 2 กรณีคือ กรณีไม่มีผลกระทบกับ ศอ.บต. ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล แล้วรายงาน ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ กรณีมีผลกระทบกับ ศอ.บต. 1) ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล แล้วรายงานผู้บังคับบัญชาให้ทราบตามลำดับชั้น 2) ดำเนินการมอบหมายเจ้าหน้าที่คอยดูสถานการณ์และเฝ้าระวัง 3) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง 4) ทำหนังสือเวียนแจ้งภายใน ศอ.บต. ให้ทราบถึงสถานการณ์และแนวทางปฏิบัติ ของ ศอ.บต. 5.2.2 เหตุที่เกิดขึ้นภายใน ศอ.บต. แบ่งเป็น 2 กรณีได้แก่ กรณีเหตุการณ์ไม่รุนแรง สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานได้ 1) ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล แล้วรายงานผู้บังคับบัญชาให้ทราบตามลำดับ 2) ดำเนินการจัดเจ้าหน้าที่คอยดูสถานการณ์และเฝ้าระวัง 3) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง


60 4) แจ้งภายในหน่วยงานให้ทราบถึงสถานการณ์และแนวทางปฏิบัติศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีเหตุการณ์รุนแรง ไม่สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานได้ 1) ให้ตรวจสอบข้อมูลแล้วรายงานผู้บริหารให้ทราบถึงเหตุการณ์ข้อเรียกร้อง วัตถุประสงค์ความต้องการของการเรียกร้อง ผู้ชุมนุมเรียกร้อง จำนวน แนวโน้มแล้วรายงานผู้บังคับบัญชา ให้ทราบตามลำดับชั้น 2) ผู้บังคับบัญชาประชุม/หารือ เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหา 3) ดำเนินการจัดเจ้าหน้าที่คอยดูสถานการณ์และเฝ้าระวัง 4) ติดต่อประสานงานเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น ตำรวจ ทหาร และส่วนราชการอื่น ๆ เพื่อจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย จัดการจราจร เพื่อป้องกันการเกิดการจลาจลบริเวณที่มีการชุมนุมประท้วง 5) ประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานภายในอาคาร รวมทั้งบุคคลภายนอก ที่มาติดต่อราชการได้ทราบและเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อมีการชุมนุม 6) จัดเตรียมพื้นที่สำรองสำหรับการปฏิบัติงาน หากเหตุการณ์มีความยืดเยื้อ 7) เตรียมการอพยพ กรณีเกิดความเสียหายรุนแรง - เมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ ให้หยุดการทำงานทันที - ตั้งสติอย่าตื่นตระหนก และเก็บรวบรวมเอกสารหรือทรัพย์สินที่สำคัญ ให้เรียบร้อย - สำรวจ ปิด ดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดออก - เดินออกจากห้องสำนักงานไปยังจุดรวมพล หรือจุดนัดพบที่ได้กำหนดไว้ - อพยพบุคลากรออกจาก ศอ.บต. โดยใช้เส้นทางประตูอาคารชุดห้องพัก บุคลากร ศอ.บต. (แฟลต 46 ยูนิต) - ติดต่อประสานงานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น ตำรวจ ทหาร และส่วนราชการอื่น ๆ เพื่อมอบหมายเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัย 5.2.3 การแบ่งระดับความรุนแรงจากการชุมนุมประท้วงที่จะเป็นผลกระทบต่อหน่วยงาน 1) ระดับสีเขียว คือ การชุมนุมประท้วงที่ไม่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ใช้ความรุนแรง - ติดตามสถานการณ์จากแหล่งข่าว, รายงานข่าวประจำวัน และข้อมูล จากการประชุมกับหน่วยข่าวอื่นๆ - ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการและงานรักษาความปลอดภัยร่วมกัน ประเมินสถานการณ์ประจำวัน เพื่อรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ - ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงมาตรการ เผชิญเหตุความรุนแรง โดยในกรณีที่ระดับความรุนแรงยังอยู่ในระดับสีเขียว ให้บุคลากรแต่ละหน่วยงานยังคง ปฏิบัติงานตามปกติ


61 2) ระดับสีน้ำเงิน คือ แนวโน้มของการชุมนุมประท้วงมีท่าที่ว่าจะเกิดการใช้ ความรุนแรง - ปฏิบัติเช่นเดียวกับระดับสีเขียวใน ข้อ 1 – 3 โดยดำเนินการด้วย ความเข้มงวดมากขึ้น พร้อมกับมอบหมายเวรประจำวันของเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการ เพิ่มขึ้นในฐานะ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย - ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ พร้อมกับ แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงมาตรการเผชิญเหตุอยู่ในระดับสีน้ำเงิน - ผู้บังคับบัญชาพิจารณาให้มีการออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร - ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมตามมาตรการหลักและมาตรการ ของหน่วยงานที่ได้กำหนดไว้ - ให้บุคลากรของหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมประท้วงยุติ การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเป็นการชั่วคราว อาจรวมถึงการระงับการปฏิบัติงานในวันหยุดราชการด้วย - ให้บุคลากร และผู้ที่เข้ามาปฏิบัติงานที่เป็นสตรีเดินทางออกจากพื้นที่เสี่ยง ในการเกิดการชุมชุมทันทีที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนว่า การชุมนุมประท้วงมีแนวโน้มจะใช้ความรุนแรง เมื่อถึงพื้นที่ปลอดภัยแล้ว ให้รอรับคำสั่ง ความเปลี่ยนแปลง โดยทางหน่วยงานจะติดต่อแจ้งให้ทราบภายหลัง 3) ระดับสีแดง คือ การชุมนุมประท้วงด้วยการใช้ความรุนแรงที่อาจลุกลามสู่ที่ตั้ง ของ ศอ.บต. - ปฏิบัติเช่นเดียวกับระดับสีน้ำเงินใน ข้อ 1 โดยดำเนินการด้วย ความเข้มงวดและมอบหมายเวรประจำวันของเจ้าหน้าที่ เพื่อทำการเฝ้าระวังและตรวจตราตลอด 24 ชั่วโมง - ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ พร้อมกับ แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงมาตรการเผชิญเหตุอยู่ในระดับสีแดง ซึ่งแต่ละหน่วยงานต้องปฏิบัติตามมาตรการ เผชิญเหตุที่กำหนดไว้ พร้อมกับเตรียมประสานการใช้งานทางออกฉุกเฉิน - ผู้บังคับบัญชาพิจารณาออกคำสั่งห้ามบุคลากร และ ผู้ปฏิบัติงานสตรี เข้ามาในพื้นที่ที่มีการชุมนุมเด็ดขาด - ให้บุคลากรเริ่มการขนย้ายสิ่งที่มีชั้นความลับและทรัพย์สินมีค่าออกจาก พื้นที่ที่มีการชุมนุมไปยังสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง พร้อมกับห้ามให้บุคลากรที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาในพื้นที่ ที่มีการชุมนุม ยกเว้นในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเข้ามา นำเอาสิ่งที่มีความจำเป็นหรือมีค่าที่ยังมิได้มีการขนย้าย ออกไป แต่ทั้งนี้ต้องได้รับการอนุญาตจากผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้นและ เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้าพื้นที่ดังกล่าว ต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ติดตามไปพร้อมด้วยจนเสร็จสิ้น ภารกิจ และเดินทางออกจากพื้นที่ที่มีการชุมนุม - ให้คงเหลือเฉพาะบุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการชุมนุมประท้วง และการรักษาความปลอดภัย - กำหนดช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างพื้นที่ที่มีการชุมนุมกับสถานที่ ปฏิบัติงานสำรอง


62 4) ระดับสีเหลือง คือ การชุมนุมประท้วงด้วยการใช้ความรุนแรงที่ลุกลามและอาจ เป็นภัยต่อที่ตั้ง - ปฏิบัติเช่นเดียวกับระดับสีแดง ข้อ 1 โดยดำเนินการด้วยความเข้มงวด และจัดเวรประจำวันของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อทำการเฝ้าระวังและตรวจตราตลอด 24 ชั่วโมง และติดตั้งสิ่งกีดขวาง ในพื้นที่ที่เป็นจุดอ่อนและบริเวณทางออกฉุกเฉิน - ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ พร้อมกับ แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงมาตรการเผชิญเหตุอยู่ในระดับสีเหลือง - ผู้บังคับบัญชาพิจารณาออกคำสั่งสำหรับบุคลากรที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ - เตรียมอพยพบุคลากรที่ยังคงเหลือปฏิบัติงานให้ออกจากพื้นที่ ท ี่มีการชุมนุม - เตรียมทำลายเอกสาร สิ่งของที่มีชั้นความลับในกรณีที่ขนย้ายไม่ทัน - ปิดอาคารที่มิได้ใช้เป็นสถานที่ทำการเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงหรือ การรักษาความปลอดภัย - ประสานเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก - เตรียมเผชิญกับผู้ชุมนุมประท้วง โดยขอรับทราบนโยบายของ ผู้บังคับบัญชา - ในกรณีผู้ชุมนุมประท้วงบางส่วนพยายามบุกรุกเข้ามาในพื้นที่ - ใช้วิธีเจรจาหรือพยายามปิดกั้นไม่ให้ล่วงล้ำเข้ามาในพื้นที่ - ในกรณีผู้ชุมนุมประท้วงใช้กำลังทำลายและสร้างความเสียหายที่ยังไม่ รุนแรงให้คงอยู่อย่างสงบในพื้นที่หรือตอบโต้ - ในกรณีผู้ชุมนุมประท้วงใช้ความรุนแรง ให้พยายามใช้สิ่งกีดขวางในพื้นที่ เพื่อใช้ถ่วงเวลาการบุกรุกของผู้ชุมนุมประท้วง หากสามารถทำได้ ให้สำรวจตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งก่อน ถอนกำลัง - ในกรณีผู้ชุมนุมประท้วงจำนวนมากพยายามบุกรุกเข้ามาในพื้นที่ ด้วยการใช้กำลัง ให้ขอรับคำสั่งปิดพื้นที่ที่มีการชุมนุม 5) ระดับสีดำ คือ การใช้ความรุนแรงและเข้าทำลายที่ตั้งของหน่วยงาน - ปิดหน่วยงานที่มีการชุมนุม (ภารกิจของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นคู่มือภายใน) - อพยพบุคลากรที่เหลืออยู่ทั้งหมดออกจากพื้นที่ที่มีการชุมนุมอย่างเร่งด่วน และพยายามให้มีความปลอดภัยแก่ชีวิตให้มากที่สุด แผนฟื้นฟูภายหลังการชุมนุมสงบลงขั้นตอนการให้ การฟื้นฟูผู้ประสบภัย ความช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะ - จัดให้มีการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัย หรือได้รับบาดเจ็บอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะหายเป็นปกติรวมทั้งการจัดที่พักอาศัยชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัยในกรณีที่ต้องอพยพจากพื้นที่อันตราย - การขนย้ายผู้ประสบภัยและทรัพย์สินไปยังที่ปลอดภัย - การจัดหาพื้นที่การทำงานสำรองให้แก่บุคลากร กรณีพื้นที่ในการทำงาน เกิดความเสียหาย - การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยแก่บุคลากร และสถานที่ ร่วมกับงานรักษาความปลอดภัยในพื้นที่


63 - สำรวจความเสียหาย และความต้องการด้านต่างๆ ของหน่วยงานที่ได้รับ ความเสียหายจากการชุมนุม โดยจัดทำบัญชีเป็นประเภทไว้ - การปฏิบัติการประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจของ บุคลากรให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วและดำเนินการชี้แจงต่อสาธารณชนให้ทราบถึงสาเหตุและการป้องกันการเกิดซ้ำ - เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุต้องชดใช้/ชดเชย ตลอดจนจะต้อง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด 5.2.4 การแบ่งกลุ่มบุคลากรและความรับผิดชอบในการเผชิญเหตุ โดยให้เป็นไปตามที่ สำนักงานเลขาธิการ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อสั่งการ 1) กลุ่มผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่พิจารณาและตัดสินใจสั่งการตามระดับความรุนแรง ของการชุมนุมประท้วงตามที่ได้กำหนดไว้ 2) สำนักงานเลขาธิการ ในฐานะผู้บังคับบัญชาที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัย ประจำ ศอ.บต. ทำหน้าที่สั่งการด้านการรักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่ พร้อมทั้ง ดูแลการปฏิบัติตาม มาตรการเผชิญเหตุความรุนแรง รวมทั้งแจ้งเตือนและเสนอแนะข้อคิดเห็นในการเผชิญเหตุต่อผู้บังคับบัญชา 3) เจ้าหน้าที่ส่วนงานรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการทำหน้าที่ควบคุม ดูแลเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการรักษาความปลอดภัย และปฏิบัติตามข้อสั่งการของผู้อำนวยการสำนักงาน เลขาธิการ และผู้บังคับบัญชา รวมทั้งรายงาน แจ้งเตือน และเสนอแนะข้อคิดเห็นในการเผชิญเหตุ ต่อผู้บังคับบัญชา ตลอดจนดูแลบุคลากร ให้ปฏิบัติตามมาตรการเผชิญเหตุความรุนแรง 4) ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ทำหน้าที่แบ่งความรับผิดชอบและสั่งการบุคลากรภายใน สำนัก/กอง 5) บุคลากรที่เข้ามาปฏิบัติงานใน ศอ.บต. และผู้มาติดต่อราชการให้ถือปฏิบัติ ตามมาตรการเผชิญเหตุรุนแรงอย่างเคร่งครัดและรายงานกรณีพบสิ่งผิดสังเกตตามลำดับขั้น 5.2.5 การกำหนดเขตพื้นที่ความรับผิดชอบในการเผชิญเหตุ โดยให้เป็นไปตามที่สำนักงาน เลขาธิการ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูง และร่วมกันปรับแก้ให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละสำนัก/กอง 5.2.6 การรักษาความปลอดภัยพื้นที่โดยรวม ได้แก่ บุคคล ทรัพย์สิน อาคาร สิ่งก่อสร้าง ทั้งหมดภายใน ศอ.บต. ให้ถือปฏิบัติตามผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการสั่งการ 5.2.7 การควบคุมดูแลและตรวจสอบเครื่องมืออุปกรณ์เสริมการรักษาความปลอดภัย งานเทคโนฯ กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดี รับผิดชอบในการ ควบคุมดูแลและตรวจเช็คระบบการทำงานของ กล้องวงจรปิด CCTV กรณีหากเกิดเหตุหรือมีข้อสงสัย สามารถติดต่อนายธนาคม สมมาตร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์การสื่อสาร สร้างความเข้าใจ ที่ดีเบอร์โทรศัพท์ 08 1418 3062 ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดูแลกล้องวงจรปิด ศอ.บต. และศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาค


64


65 5.2.8 การควบคุมเครื่องมืออุปกรณ์เสริมการรักษาความปลอดภัย งานรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการ รับผิดชอบการควบคุมเครื่องมืออุปกรณ์เสริมการรักษา ความปลอดภัย 1) ระบบ access control ควบคุมการเข้า - ออกอาคารต่างๆ 2) ระบบตรวจจับควันไฟและสัญญาณเตือนภัย ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และอุปกรณ์ ดับเพลิงประเภทต่างๆ 5.2.9 ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์และซ่อมบำรุงเครื่องกีดขวางและระบบแสงสว่าง 1) กำแพง/รั้ว และการให้แสงสว่างตามแนวกำแพง/รั้ว บริเวณโดยรอบ และอาคาร 2) เครื่อง/ระบบควบคุมการเข้า-ออกประตูทางเข้าทั้งสำหรับบุคคลและยานพาหนะ รวมทั้งประตูทาง เข้า – ออก อาคารต่างๆ 3) ทางออกฉุกเฉิน 4) ระบบติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและกับหน่วยงานภายนอก 5.2.10 ตรวจตราและพิจารณาข้อบกพร่อง พร้อมทั้งจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์เสริม สมรรถนะและสร้างเครื่องกีดขวางเพิ่มเติมให้เหมาะสม และสอดคล้องกับงบประมาณของศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5.2.11 การพิจารณากำหนดสภาพของพื้นที่ต่างๆ อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน เลขาธิการ โดยรับการสนับสนุนข้อคิดเห็นจากหน่วยงานที่ตั้งอยู่ภายใน ศอ.บต. 1) จุดเสี่ยงภัย เช่น ปั้มน้ำมัน ที่ตั้งถังก๊าซ ถุงบรรจุเอกสารทำลายแล้ว ซึ่งเป็น เชื้อเพลิงชั้นดี 2) จุดอ่อนที่ต้องควบคุมดูแล เช่น ประตูทางเข้า - ออก อาคารที่ติดกับแนวกำแพง อาคารไม้ที่อาจเป็นเชื้อเพลิง 3) กำหนดสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานภายหลังที่ต้องถอนตัว ออกจากพื้นที่เสี่ยง 4) จุดปลอดภัยสำหรับให้ผู้บังคับบัญชาพักรอ ก่อนเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ ปฏิบัติงานสำรอง 5) จุดรวมพลของข้าราชการ ลูกจ้าง ก่อนอพยพออกจากพื้นที่ทางประตูฉุกเฉิน 5.2.12 การกำหนดมาตรการเผชิญเหตุความรุนแรงจากการชุมนุมประท้วง โดยแบ่ง ออกเป็น 1) มาตรการหลักในความรับผิดชอบของสำนักงานเลขาธิการ ซึ่งนำเสนอ ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการ โดยกำหนดแผนตามระดับความเสี่ยงภัย 5 ระดับ 2) มาตรการของหน่วยงาน โดยแยกหน่วยงานในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการชุมนุมโดยตรง และ กลุ่มที่ไม่มีภารกิจ เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ซึ่งการจัดทำมาตรการของหน่วยงานจะต่างกัน โดยแต่ละหน่วยงานจะกำหนดมาตรการ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับระดับความสำคัญของหน่วยงาน พร้อมกับจัดทำแผนรองรับ ได้แก่ การจัดแบ่งหน้าที่ ให้แก่ข้าราชการและพนักงานภายในหน่วยงาน แผนการจัดเก็บทรัพย์สิน เอกสารแผนการขนย้ายและทำลาย เอกสารภายในหน่วยงาน


66 5.2.13 การชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์และการ เผชิญความรุนแรงจากการชุมนุมประท้วง อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเลขาธิการ ซึ่งจะดำเนินการ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา โดยสำนักงานเลขาธิการเป็นหน่วยกลาง ทำหน้าที่ประสานงานให้แต่ละหน่วยงาน จัดทำแผนให้สอดคล้องกัน 5.2.14 แผนสำรองให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง หากเกิดเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงขึ้นภายใน ศอ.บต. ให้บุคลากรที่ได้รับผลกระทบจาก การชุมนุมประท้วง ให้ปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home) หรือประชุมผ่านแอบพลิเคชันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิธีปฏิบัติกรณีเกิดเหตุชุมนุมประท้วง/จลาจล 5.3 การปฏิบัติภายหลังเกิดเหตุชุมนุมประท้วง/จลาจล มีแนวทางดังนี้ 5.3.1 เสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่แก้ไขปัญหาของผู้ชุมนุม ให้เสร็จสิ้นลงโดยเร็ว 5.3.2 ประชาสัมพันธ์ ปฏิบัติการทางจิตวิทยาเพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจในข้อเท็จจริง ที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหา และมีทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินการของ ศอ.บต. 5.3.3 ฟื้นฟูความเสียหายให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ 5.3.4 ดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าได้มีการกระทำละเมิดกฎหมาย 5.3.5 วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการในครั้งต่อไป


67 6. จุดรวมพล 6.1 กรณีผู้ชุมนุมประท้วง/จลาจล เข้าปะทะจากบริเวณด้านหน้า ศอ.บต. ให้กำหนดจุดรวมพลบริเวณ หน้าอาคารชุดที่พักบุคลากร ศอ.บต. (แฟลต 6 ชั้น) 6.2 กรณีผู้ชุมนุมประท้วง/จลาจล เข้าปะทะจากบริเวณด้านข้าง ให้กำหนดจุดรวมพลบริเวณ หน้าอาคารชุดที่พักบุคลากร ศอ.บต. (แฟลต 6 ชั้น) 6.3 กรณีผู้ชุมนุมประท้วง/จลาจล เข้าปะทะจากบริเวณด้านหลัง ให้กำหนดจุดรวมพลบริเวณ หน้าเสาธง 6.4 กรณีผู้ชุมนุมประท้วง/จลาจล เข้าปะทะอาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้กำหนด จุดรวมพลบุคลากร รวมตัวบริเวณห้องประชุมชั้น 2 และปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด 7. พื้นที่อำนวยการและประสานงาน 7.1 กรณีเกิดเหตุชุมนุมประท้วง/จลาจล ภายในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดให้ใช้สำนักงานเลขาธิการ เป็นพื้นที่อำนวยการและประสานงาน 7.2 กรณีเกิดเหตุชุมนุมประท้วง/จลาจล ภายในอาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดให้ ใช้ห้องประชุมชั้น 2 อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่อำนวยการและประสานงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์ 1 ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) 0 7320 3690 3 ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา 0 7321 2668 4 มูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา 0 7322 3000 5 หน่วยเฉพาะกิจยะลา 08 1276 6333 6 โรงพยาบาลยะลา 0 7324 4711 7 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา 0 7320 3559 - 64 8 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา 0 7326 2700


68 แผนปฏิบัติการรองรับภาวะฉุกเฉินเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ ไตรมาส ๑ ไตรมาส ๒ ไตรมาส ๓ ไตรมาส ๔ ต.ค . พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค . ส.ค. ก.ย . 1. ประชุมผู้เกี่ยวข้อง เ พื่อ เ ต รีย ม ก า ร จั ด กิจกรรมการซ้อมแผน รองรับภาวะฉุกเฉิน เ ห ตุก า ร ณ์ชุม นุ ม ประท้วง/จลาจล ✓ กลุ่มงาน อำนวยการ และบริหาร และฝ่าย อาคารสถานที่ (สลธ.) 2.จัดกิจกรรมการซ้อม แ ผ น ร อ ง ร ั บ ภ า ว ะ ฉุกเฉิน ✓ กลุ่มงาน อำนวยการ และบริหาร และฝ่าย อาคารสถานที่ (สลธ.) 3. ถอดบทเรียนจาก การจัดกิจกรรม และ หาแนว ทางในการ แก้ไขปัญหา-อุปสรรค ในการดำเนินกิจกรรม เพื่อปรับปรุงและ พัฒนาต่อไป ✓ กลุ่มงาน อำนวยการ และบริหาร และฝ่าย อาคารสถานที่ (สลธ.) 4. จัดทำสรุปรายงาน ผลการจัดกิจกรรมการ ซ้อมแผนรองรับภาวะ ฉุกเฉิน เสนอผู้บริหาร ✓ กลุ่มงาน อำนวยการ และบริหาร (สลธ.)


69 แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์โรคระบาด โดย... สำนักงานเลขาธิการ


70 แผนรองรับภาวะฉุกเฉินเหตุการณ์โรคระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 1. ที่มาและความสำคัญ ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิต ได้อย่างปกติ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีการปรับแผนการดำเนินงานเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ (Post pandemic) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตและจัดทำคำแนะนำสำหรับประชาชน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ให้สามารถรับมือกับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจองค์กร ให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และโรคระบาดที่มีการแพร่ เชื้ออย่างรวดเร็วและนับเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา อีก 1 โรค คือ โรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อทั้งชีวิต ค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วง ฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็กในวัยเรียนที่มี ช่วงอายุระหว่าง ๕ –๑๔ ปีและปัจจุบันก็ยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในวัยผู้ใหญ่ด้วย ด้วยเหตุนี้ ศอ.บต จึงได้จัดทำแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์การเกิดโรคระบาด ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ สถานการณ์ และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และโรคไข้เลือดออก 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และโรคไข้เลือดออก 2.2 เพื่อใช้เป็นแนวทางให้หน่วยงานสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.3 เพื่อให้บุคลากรรับทราบเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) และโรคไข้เลือดออก 3. ข้อมูลของหน่วยงาน 3.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยงาน - ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 60 ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 1.6 กิโลเมตร อยู่ห่างจากโรงพยาบาลยะลา ประมาณ 3.3 กิโลเมตร อยู่ห่างจากโรงพยาบาลยะลาสิริรัตนรักษ์ (โรงพยาบาลตำรวจ) ประมาณ 1 กิโลเมตร


71 อยู่ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา ประมาณ 4.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 8.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 800 เมตร - ศูนย์ราชการจังหวัดหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 318 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 2.5 กิโลเมตร อย่ห่างจากโรงพยาบาลยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากโรงพยาบาลยะลาสิริรัตนรักษ์ (โรงพยาบาลตำรวจ) ประมาณ 3.5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ประมาณ 2.5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 6.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา ประมาณ 350 เมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.7 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 5.4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 4 กิเมตร 3.2 ข้อมูลบุคลากรของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 590 อัตรา) ประกอบด้วย 3.2.1 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 122 คน -พนักงานราชการ จำนวน 62 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 317 คน รวม 501 คน


72 3.2.2 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 39 คน -พนักงานราชการ จำนวน 19 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 31 คน รวม 89 คน 3.3 บุคลากรภายนอกที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 88 คน) ประกอบด้วย 3.3.1 สำนักงานคดีปกครองยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.2 สำนักงบประมาณ (ชั้น 6) จำนวน 11 คน 3.3.3 สำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.4 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ภาค 9 (ชั้น 6) จำนวน 6 คน 3.3.5 สำนักงาน กสทช. เขต 41 (ชั้น 7) จำนวน 19 คน 3.3.6 สำนักกิจการความมั่นคงภายใน จำนวน 5 คน กรมการปกครอง (ชั้น 7) 3.3.7 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา (ชั้น 7) จำนวน 9 คน รวม 88 คน 4. ขอบเขต แผนเตรียมความพร้อมรองรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ฉบับนี้ใช้เพื่อเป็นแนวทางให้บุคลากรของ ศอ.บต. ปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และโรคไข้เลือดออกซึ่งอาจจะ ส่งผลกระทบให้การปฏิบัติงานตามภารกิจของ ศอ.บต. ต้องหยุดชะงักลง โดยแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์การเกิดโรคระบาด มีการแบ่งขั้นตอนการดำเนินการ เป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ 5. หลักการปฏิบัติการ 5.1 การปฏิบัติก่อนเกิดเหตุ ศอ.บต. กำหนดมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้บุคลากร, ผู้มาติดต่อราชการ และประชาชนที่เดินทาง มายังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวยะลา และศูนย์ราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ทราบ ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของ ศอ.บต. และระบบเสียงตามสาย


73 5.1.1 มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศอ.บต. กำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยขอความร่วมมือบุคลากรและประชาชนที่เดินทางมาติดต่อราชการ ยังศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนภาคใต้, สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวยะลา และ อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้ 1) สำนักงานเลขาธิการ จัดเตรียมเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ พร้อมเจลแอลกอฮอล์ ล้างมือ บริเวณทางเข้าออกศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวยะลา, อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้, หน้าห้องผู้บริหาร และหน้าห้องหน่วยงานต่าง ๆ ภายใน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ขอความร่วมมือให้บุคลากร และผู้มาติดต่อราชการ สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาขณะเข้ามาติดต่อราชการ ทำการตรวจวัดอุณหภูมิ และใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือเพื่อทำความสะอาด และป้องกันเชื้อโรคที่หน่วยงานจัดไว้ให้ 3) จัดเก้าอี้นั่งรอ หรือ จุดติดต่อให้บริการประชาชน โดยเว้นระยะห่างจากผู้อื่น อย่างน้อย 1 เมตร 4) การรักษาความสะอาด ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ กำชับและเข้มงวดแม่บ้าน เรื่องการทำความสะอาดให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ โดยหมั่นเช็ด และทําความสะอาดกลอน ลูกบิด ประตู หน้าต่าง ลิฟต์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้มือจับ รวมไปถึงห้องน้ำ โดยนำกระบวนการควบคุมภายใน เรื่องการดูแลห้องน้ำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันและรักษาความสะอาดของห้องน้ำ ภายใน ศอ.บต. พร้อมกับดำเนินการปรับปรุงห้องน้ำโดยจัดหาม่านบังสายตามาติดตั้งบริเวณห้องน้ำชาย ชั้น 1 อาคารอำนวยการ ศอ.บต. 5) กรณีที่พบว่าการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทวีความรุนแรง ศอ.บต. ออกประกาศให้บุคลากรปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home) โดยให้ทํางาน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในการประสานงานและการจัดประชุมต่าง ๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานตามภารกิจ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 6) บุคลากรที่ปฏิบัติงานตามมาตรการทำงานที่บ้าน (Work from home) ให้รายงานผลการปฏิบัติงานตามแบบฟอร์มที่กำหนดต่อกลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการ


74 จุดวางเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และตรวจวัดอุณหภูมิ สำหรับบุคลากรภายใน ภายนอก และผู้มาติดต่อราชการบริเวณประตูทางเข้า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จุดวางเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และตรวจวัดอุณหภูมิ สำหรับบุคลากรภายใน ภายนอก และผู้มาติดต่อราชการบริเวณประตูทางเข้า สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวยะลา จุดวางเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และตรวจวัดอุณหภูมิ สำหรับบุคลากรภายใน ภายนอก และผู้มาติดต่อราชการจุดทางเข้าบริเวณอาคาร 5 ชั้น


75 จุดวางเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และตรวจวัดอุณหภูมิ สำหรับบุคลากรภายใน ภายนอก และผู้มาติดต่อราชการจุดทางเข้าบริเวณอาคาร 2 ชั้น จุดบริเวณประตูทางออก จุดวางเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และตรวจวัดอุณหภูมิ สำหรับบุคลากรภายใน ภายนอก และผู้มาติดต่อราชการบริเวณทางเข้าอาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5.1.2 แนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 1) สร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับตนเอง เช่น หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ เตรียมช้อน แก้วน้ำ ส่วนตัวสำหรับรับประทานอาหารในที่ทำงาน 2) สามารถเดินทางได้ตามปกติและเว้นระยะห่างตามความเหมาะสมเมื่อเข้าไป สถานที่เสี่ยง แออัด หรือปิดทึบ 3) สามารถดำเนินกิจกรรมกลุ่มได้ตามปกติ โดยทำการประเมินความเสี่ยงของตนเอง ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และคอยสังเกตอาการหลังเข้าร่วมกิจกรรมเป็นเวลา 5-7 วัน 4) ติดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น


76 5.2 การปฏิบัติขณะเกิดเหตุ แนวทางในการปฏิบัติตน กรณีเกิดการเจ็บป่วยหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 5.2.1 หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ให้ตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที 5.2.2 หากผลการตรวจเป็นบวก ให้รายงานผลต่อผู้อำนวยการกลุ่มงาน และกรณีที่พักอาศัย อยู่ภายในห้องชุดบุคลากร ศอ.บต. (แฟลต 6 ชั้น)ให้รายงานต่อหัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่ด้วยเพื่อดำเนินการ ส่งตัวเข้ารักษาตามกระบวนการรักษาและดำเนินการในการฆ่าเชื้อบริเวณจุดเสี่ยง พร้อมทั้งปฏิบัติตน ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดการทำกิจกรรมร่วมกับ ครอบครัวและผู้อื่น แยกของใช้ส่วนตัว เป็นต้น 5.2.3 กรณีที่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ไอ มีเสมหะ โดยที่อาคารไม่รุนแรง แต่ไม่สามารถตรวจ ATK ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่สาธารณะ รวมถึงการเดินทางหรือใช้บริการสาธารณะ หากจำเป็นไม่สามารถหลีกเหลี่ยงกิจกรรมดังกล่าว จะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 5.2.4 กรณีมีอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูง หอบ เหนื่อย หายใจลำบาก ให้รีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาทันที 5.2.5 งดหรือหลีกเหลี่ยงการเข้าใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง 608 หากไม่สามารถหลีกเลี่ยง จะต้อง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 5.3 การปฏิบัติหลังเกิดเหตุการณ์ 5.3.1 กลุ่มผู้ติดเชื้อให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ เมื่อมีอาการสงสัยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 5.3.2 กลุ่มผู้สัมผัส ให้เฝ้าระวังตนเองอย่างน้อย 5 วัน หากพบอาการสงสัยให้ตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที 5.3.3 ประชาชนทั่วไปที่อยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของเชื้อ แนะนำให้ป้องกันตนเอง โดยการปฏิบัติตาม Universal prevention (การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล เป็นการป้องกันตนเอง ขั้นสูงสุดตลอดเวลาของทุกคน ให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่ ออกจากบ้าน เมื่อจำเป็น เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร สวมหน้ากากอนามัยล้างมือบ่อย ๆ อย่าใช้มือสัมผัสหน้ากากรวมทั้งใบหน้า ตา จมูก ปาก หากเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ ให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด สวมหน้ากาก อนามัยตลอดเวลาเมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้าน และเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด


77 อาการปกติ ผังกระบวนการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ บุคลากรและผู้มาติดต่อราชการปฏิบัติตาม มาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการป้องกันดังนี้ 1. การวัดไข้ ด้วยเครื่อง ตรวจวัดอุณหภูมิ 2.สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา 3.รักษาความสะอาดโดย ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ท ี ่ ท า ง ห น ่ ว ย ง า น จัดเตรียมไว้ให้ 4.รักษาระยะห่างอย่าง น ้ อ ย ผู้มาติดต่อราชการตรวจวัดไข้ 1 เมตร ด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิก่อน เข้าหน่วยงาน ปฏิบัติตาม มาตรการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีบุคคลตรวจวัดอุณหภูมิแล้วพบว่า อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หรือมีอาการที่สงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประสานโรงพยาบาลยะลา เบอร์โทร 0 7324 4711 หรือ โรงพยาบาลยะลาสิริรัตนรักษ์(โรงพยาบาลตำรวจ) เบอร์โทร 0 7327 4766 เพื่อส่งตัวเข้ารับการตรวจยืนยันการติดเชื้อ และเข้ารับการรักษา ปฏิบัติตามคำแนะนำ และกักตัวตามคำสั่ง ของแพทย์อย่างเคร่งครัด ฝ่ายอาคารสถานที่ดำเนินการในการทำความสะอาดพื้นที่เพื่อทำการฆ่า เชื้อ มีอาการต้องสงสัย


78 โรคไข้เลือดออก การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 1. การป้องกันโรคล่วงหน้า การดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการควบคุมไข้เลือดออก คือ การป้องกันโรคล่วงหน้าเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งต้องดำเนินการก่อนโรคเกิด เพราะหากเกิดการระบาดแล้วการควบคุม จะทำได้ลำบาก และสูญเสียงบประมาณในการดำเนินการเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นการดำเนินงานป้องกันโรค อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคล่วงหน้าเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อไวรัส 2. การควบคุมเมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นใน ศอ.บต. เมื่อพบว่าบุคลากรของ ศอ.บต. ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก งานรักษาความปลอดภัย สำนักงาน เลขาธิการเร่งดำเนินการควบคุมโรคด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยประสาน สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครยะลา หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลามาดำเนินการ ฉีดพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดยุง หรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดขึ้นใน ศอ.บต. เพราะหากดำเนินการ ควบคุมได้ช้า โรคไข้เลือดออกจะแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง จนเกินกำลัง ที่จะควบคุมได้ ซึ่งโดยปกติแล้วโรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน คือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายนหรือตุลาคมของทุกปี สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการควบคุมการระบาด คือ การเฝ้าระวังโรค ที่รวดเร็ว ถูกต้องและครบถ้วน โดยปฏิบัติดังนี้ 2.1 กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดี ประชาสัมพันธ์ข้อมูล รวมทั้งประกาศแจ้งเตือนบุคลากร ศอ.บต. ให้ทราบว่ากำลังมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก พร้อมให้ความรู้ แก่บุคลากรให้รู้จักวิธีการป้องกันตนเองและครอบครัวไม่ให้ยุงลายกัด ให้ความรู้ วิธีปฏิบัติเมื่อเด็กป่วย หรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และวิธีการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในห้องพัก, บ้านและ สำนักงาน พร้อมทั้งขอความร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ของ ศอ.บต. เช่น Radio Spot, Facebook fan page ของ ศอ.บต., Line App กลุ่มต่าง ๆ ของ ศอ.บต. เช่น กลุ่มบุคลากร ศอ.บต., กลุ่มผู้บริหาร เป็นต้น 2.2 ฝ่ายอาคารสถานที่และยานพาหนะ กำหนดมาตรการในการควบคุมการระบาด ของโรคไข้เลือดออก โดยจัดทำแผนกำหนดการในการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทั้งใน ศอ.บต. และศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าฉีดพ่นหมอกควัน 3. การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามระยะเวลาดำเนินการ 3.1 การป้องกันโรคล่วงหน้า ก่อนช่วงระบาด เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อไวรัส การดำเนินการ ระยะที่ 1 (เดือนมกราคม - เดือนเมษายน) เป็นช่วงที่มีความหนาแน่น ของยุง แหล่งเพาะพันธุ์ยุง และจำนวนผู้ป่วยน้อยที่สุด จึงมีเชื้อไวรัสหมุนเวียนน้อย ดังนั้นในช่วงนี้จึงต้อง เร่งดำเนินการควบคุมโรค โดยฝ่ายอาคารสถานที่ฯ ดำเนินการขุดลอกคูระบายน้ำ หรือบริเวณที่มีน้ำขัง และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ลูกน้ำยุงลาย, การจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ของบุคลากร ศอ.บต. เพื่อร่วมกัน ทำความสะอาดสถานที่ต่าง ๆ ภายใน ศอ.บต. รวมทั้งการรณรงค์ให้ใส่ทรายอะเบท เพื่อป้องกันการระบาด


79 ของไข้เลือดออกซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ ประสานเพื่อขอความอนุเคราะห์จาก สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา เข้าฉีดพ่นฉีดพ่นหมอกควันสารเคมีเพื่อกำจัดยุงลาย ควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.2 การควบคุมโรคช่วงระบาด การดำเนินงานระยะที่ 2 (เดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม) เพื่อเป็นการป้องกันโรค มิให้มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ควรเร่งรัดในการทำลายแหล่งเพราะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายใน ศอ.บต. 3.3 การควบคุมหลังการระบาดของโรค การดำเนินงานระยะที่ 3 (เดือนกันยายน - เดือนธันวาคม) เป็นช่วงที่เกิดการระบาด ของโรคแล้ว ต้องมีการควบคุมการระบาดของโรคให้เกิดน้อยที่สุด ต้องระงับการแพร่เชื้อรวมทั้งการเฝ้าระวัง 4. มาตรการป้องกันและเตรียมรับการระบาดของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกพบได้ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ดังนั้น การดำเนินมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค จึงควรดำเนินการควบคุมทุกพื้นที่ โดยเน้นในพื้นที่เสี่ยงสูง ซึ่งมีโอกาสจะเกิดการแพร่ ระบาดได้มากกว่าพื้นที่อื่น ประกอบด้วย มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการควบคุมโรค และการจัดการแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย รวมถึง การเตรียมความพร้อมทรัพยากรในการควบคุมโรค โดยเฉพาะในช่วงก่อนเข้าฤดูฝน (เดือนมกราคม - เมษายน) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างลดความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กำหนดมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก ดังนี้ 4.1 การเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดย สำนักงานเลขาธิการ 4.1.1 ประเมินสถานการณ์ และกำหนดพื้นที่เสี่ยง และกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกัน และเพื่อให้การควบคุมโรคเป็นไปด้วยความรวดเร็ว 4.1.2 สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายภายในพื้นที่ ศอ.บต. และ อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรอบ 4.1.3 เมื่อพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกใน ศอ.บต. และ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ ดำเนินการสอบสวนผู้ป่วย เพื่อค้นหาแหล่งรังโรค และดำเนินการกำจัดแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการประสานหน่วยงานเข้าดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย


80 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์ 1 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา 0 7320 3559 -64 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 0 7321 2008, 06 3203 9907, 06 3203 9908 3 สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา 0 7322 3666 4 โรงพยาบาลยะลา 0 7324 4711 5 โรงพยาบาลยะลาสิริรัตนรักษ์ (โรงพยาบาลตำรวจ) 0 7327 4766


81 กระบวนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นไข้เลือดออก ไม่เป็นไข้เลือดออก บุคลกรสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก มีอาการดังนี้ 1. มีไข้ 38 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-7 วัน 2. ปวดศรีษะ 3. ปวดกระบอกตา 4. ปวดกล้ามเนื้อ 5. ปวดกระดูก 6. มีผื่นขึ้น 7. คลื่นไส้อาเจียน เบื่อ อาหาร 8. ปวดท้องอย่างรุนแรง กดเจ็บชายโครงด้านขวา 9. หน้าแดง อาจพบ จ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสี แดงเล็กๆ ตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่น เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะอุจจาระมีเลือดปน เป็นต้น แจ้งผู้บังคับบัญชาทราบพร้อมประสานฝ่ายอาคาร สถานที่ฯ เพื่อประสานส่งต่อบุคลากรที่ป่วยไปยัง โรงพยาบาลยะลา เบอร์โทรศัพท์ 0 7324 4711 หรือโรงพยาบาลยะลาสิริรัตนรักษ์(โรงพยาบาลตำรวจ) เบอร์โทร 0 7327 4766 แพทย์วินิจฉัย บุคลากรเข้ารับการ ร ั ก ษ า ต า ม อา ก า ร จนกว่าแพทย์วินิจฉัย ให้กลับบ้านได้ บุคลากรเข้ารับการรักษาตามอาการจนกว่าแพทย์วินิจฉัยให้กลับ บ้านได้ ฝ่ายอาคารสถานที่แจ้งผู้บังคับบัญชาทราบพร้อมประสาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา โทร. 0 7321 2008 หรือ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา โทร. 0 7322 3666 เข้าควบคุมการระบาดและพ่นควันสารเคมี กำจัดยุงลาย


82 แผนปฏิบัติการรองรับภาวะฉุกเฉินเหตุการณ์โรคระบาด ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการ/กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ ไตรมาส ๑ ไตรมาส ๒ ไตรมาส ๓ ไตรมาส ๔ ผู้รับผิดชอบ ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค.ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย.ก.ค.ส.ค. ก.ย. 1. ประชุมวางแผนการฉีด พ่นหมอกควันเพื่อป้องกัน และยับยั้งการระบาดของ โรคไข้เลือดออก ของ ศอ.บต. และศูนย์ราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ 2. ทำการฉีดพ่นหมอกควัน (ครั้งที่ 1) บริเวณโดยรอบ ของ ศอ.บต. และศูนย์ราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ 3. ทำการฉีดพ่นหมอกควัน (ครั้งที่ 2) บริเวณโดยรอบ ของ ศอ.บต. และศูนย์ราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ 4. ทำการฉีดพ่นหมอกควัน (ครั้งที่ 3) บริเวณโดยรอบ ของ ศอ.บต. และศูนย์ราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ✓ ฝ่ายอาคาร สถานที่ ฯ


83 แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ความไม่สงบ โดย... สำนักงานเลขาธิการ


84 แผนรองรับภาวะฉุกเฉินเหตุการณ์ความไม่สงบ 1. ที่มาและความสำคัญ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) มีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา และเนื่องจาก ศอ.บต. มีหน้าที่ อำนวยการ บริหารจัดการ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรมนุษย์การบริหารจัดการภาครัฐ และการพัฒนา เพื่อความมั่นคง ด้วยการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของทุกหน่วยงาน ตามพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ ในเรื่องบูรณาการแผนงาน โครงการ ในด้านการพัฒนาของกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ดำเนินการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ กำกับ เร่งรัดและติดตามการปฏิบัติของหน่วยงาน โดยลักษณะของภารกิจนั้น จะมีการบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้ง ภาคเอกชน และประชาชน จึงมีคณะผู้บริหาร ผู้ตรวจราชการจากส่วนกลาง เจ้าหน้าที่จากหน่วยราชการ เจ้าหน้าที่ภาคเอกชน และประชาชน เข้ามาติดต่อราชการในบริเวณ ศอ.บต.อยู่บ่อยครั้ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ได้เกิดเหตุระเบิดบริเวณหน้า ศอ.บต.ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และทรัพย์สิน ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ทั้งยังส่งผลกระทบทางด้านจิตใจของบุคลากร และประชาชนในบริเวณโดยรอบ ด้วยเหตุนี้ศอ.บต. จึงมีความจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนรองรับภาวะฉุกเฉินเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น เพื่อให้บุคลากร และผู้มาติดต่อราชการ สามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สิน 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อป้องกันและเตรียมการมิให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในบริเวณ ศอ.บต. และศูนย์ราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.2 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น ใน ศอ.บต. และ ศูนย์ราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3. ข้อมูลของหน่วยงาน 3.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยงาน - ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 60 ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 1.6 กิโลเมตร อย่ห่างจากโรงพยาบาลยะลา ประมาณ 3.3 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา ประมาณ 4.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร


85 อยู่ห่างจากตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 8.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 800 เมตร - ศูนย์ราชการจังหวัดหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 318 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 2.5 กิโลเมตร อย่ห่างจากโรงพยาบาลยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 6.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยวยะลา ประมาณ 350 เมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.7 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 5.4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 4 กิเมตร 3.2 ข้อมูลบุคลากรของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 590 อัตรา) ประกอบด้วย 3.2.1 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 122 คน -พนักงานราชการ จำนวน 62 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 317 คน รวม 501 คน 3.2.2 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 39 คน -พนักงานราชการ จำนวน 19 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 31 คน รวม 89 คน


86 3.3 บุคลากรภายนอกที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 88 คน) ประกอบด้วย 3.3.1 สำนักงานคดีปกครองยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.2 สำนักงบประมาณ (ชั้น 6) จำนวน 11 คน 3.3.3 สำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.4 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ภาค 9 (ชั้น 6) จำนวน 6 คน 3.3.5 สำนักงาน กสทช. เขต 41 (ชั้น 7) จำนวน 19 คน 3.3.6 สำนักกิจการความมั่นคงภายใน จำนวน 5 คน กรมการปกครอง (ชั้น 7) 3.3.7 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา (ชั้น 7) จำนวน 9 คน รวม 88 คน 4. ขอบเขตของแผน แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ความไม่สงบ ฉบับนี้ใช้ในการป้องกันและเตรียมความพร้อม เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) และศูนย์ราชการ จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น ซึ่งหากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีความรุนแรงจนเกินขีดความสามารถในการควบคุม ให้การปฏิบัติเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5. หลักการปฏิบัติ 5.1 วิธีปฏิบัติก่อนเกิดเหตุ 5.1.1 งานรักษาความปลอดภัย 1) เมื่อได้รับการแจ้งเตือนว่าจะมีการก่อเหตุความไม่สงบขึ้นใน ศอ.บต. และ อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้รีบดำเนินการแจ้งเตือน/กระจายข่าวสารให้บุคลากรภายใน และผู้มาติดต่อราชการรับทราบ เพื่อเพิ่มความระมัดระวังและเฝ้าระวังในพื้นที่รับผิดชอบให้มากขึ้น 2) เพิ่มความถี่ความเข้มงวดในการปฏิบัติภารกิจตามแผนบูรณาการจุดตรวจโดยรอบ ประตูทางเข้าและทางออกของ ศอ.บต. และศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) ปฏิบัติตามแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ความไม่สงบ ของ ศอ.บต. 4) ชุดสายตรวจและ รปภ. ประจำจุด และเพิ่มความถี่ความเข้มในการปฏิบัติภารกิจ 5) เน้นย้ำการปฏิบัติหน้าที่ของ รปภ. ในการตรวจยานพาหนะและควบคุม ทั้งบริเวณจุดตรวจและประจำจุดอาคารและพื้นที่โดยรอบที่มีความสุ่มเสี่ยงในการเกิดเหตุ


87 5.1.2 ศูนย์วิทยุสื่อสารและ CCTV 1) เมื่อได้รับการแจ้งเตือนว่าจะมีการเตรียมการก่อเหตุของกลุ่มผู้ก่อการร้าย ดำเนินการนำเสนอข่าวต่อผู้บังคับบัญชาและรอรับคำสั่งในการปฏิบัติ 2) รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาแจ้งเตือนและกระจายข้อมูลข่าวสารทั้งที่เปิดเผชิญหรือ ปกปิดตามที่ได้รับคำสั่ง 3) ปฏิบัติตามแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ความไม่สงบของ ศอ.บต. 4) แจ้งชุดสายตรวจและรปภ.ประจำจุด และเพิ่มความถี่ความเข้มในการปฏิบัติ ภารกิจ 5) แจ้งเน้นย้ำการสั่งการปฏิบัติของ รปภ. ในการตรวจยานพาหนะ ทั้งบริเวณ จุดตรวจและประจำจุดอาคารและพื้นที่โดยรอบที่มีความสุ่มเสี่ยงในการเกิดเหตุ 5.2 วิธีปฏิบัติขณะเกิดเหตุ 5.2.1 งานรักษาความปลอดภัย 1) ชุดสายตรวจ รปภ. และ รปภ.ซึ่งอยู่ประจำจุด กันประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้อง ออกจากพื้นที่อันตราย โดยประกาศแจ้งเตือนให้ผู้อยู่บริเวณจุดที่ตรวจพบวัตถุต้องสงสัย ออกจากพื้นที่ หรืออาคารไปยังบริเวณที่ปลอดภัย และไม่กีดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 2) ชุดสายตรวจ รปภ. และ รปภ.ซึ่งอยู่ประจำจุด ให้เตรียมความพร้อม รับสถานการณ์ และเพิ่มการปฏิบัติภารกิจ จุดตรวจและพื้นที่บริเวณใกล้เคียงจุดเกิดเหตุ พร้อมทั้งเพิ่มความเข้ม ในการตรวจสอบบุคคล และยานพาหนะเป้าหมายพร้อมทั้งวัตถุต้องสงสัยอย่างละเอียด 5.2.2 บุคลกร ศอ.บต. 1) เมื่อได้รับการแจ้งเตือน หรือ รับทราบประกาศว่าจะมีการก่อเหตุความไม่สงบขึ้น ใน ศอ.บต. และอาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้บุคลากรปฏิบัติงานอยู่ภายในสำนักงาน และเพิ่มความระมัดระวังและเฝ้าระวังในพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งติดตามข่าวสารและประกาศแจ้งเตือน อย่างใกล้ชิด 2) เมื่อได้รับทราบว่ามีการก่อเหตุความไม่สงบขึ้นใน ศอ.บต. และอาคาร ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้บุคลากรอยู่ภายในหน่วยงานของตน จนกว่าจะได้รับการแจ้งเตือน ให้มีการอพยพ ให้ผู้นำอพยพนำอพยพบุคลากรไปยังจุดรวมพลที่ปลอดภัย และปฏิบัติตนตามประกาศ แจ้งเตือนอย่างเคร่งครัด 3) ห้ามบุคลกรเข้าไปยังพื้นที่เกิดเหตุ หรือพื้นที่ใกล้เคียง จนกว่าจะได้รับการอนุญาต จากเจ้าหน้าที่


88 5.2.3 ศูนย์วิทยุสื่อสารและ CCTV 1) รายงานต่อผู้บังคับบัญชาให้ทราบสถานการณ์ 2) ประสานงานขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกทั้งทหาร ตำรวจ กรมการปกครอง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลใกล้เคียงให้เตรียมความพร้อม รองรับสถานการณ์การก่อเหตุ 3) ประสานงานอำนวยความสะดวกเส้นทางเข้าออกที่เกิดเหตุให้หน่วยงานภายนอก ที่เข้ามาช่วยเหลือ 4) ประสานงานการร้องขอของหน่วยงาน ณ จุดเกิดเหตุต่อหน่วยงานภายนอก 5.3 วิธีปฏิบัติหลังเกิดเหตุ 5.3.1 งานรักษาความปลอดภัย 1) สายตรวจ รปภ. และรปภ.ประจำจุดเข้าควบคุมพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ชุดพิสูจน์ หลักฐาน,เจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เข้าตรวจพื้นที่เพื่อรวบรวมหลักฐานวัตถุพยาน/ ปฐมพยาบาล และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ 2) สายตรวจ รปภ. และรปภ. ประจำจุดพร้อมทั้งหน่วยงานจราจร อำนวยความสะดวก ในการใช้ทางสัญจรของยานพาหนะที่จะมายังจุดเกิดเหตุ 3) สนับสนุนอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอก ในการ ช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บโดยที่ประสบเหตุ 5.3.2 ศูนย์วิทยุสื่อสารและ CCTV 1) รวบรวมภาพหลักฐานวัตถุพยานโดยรอบจุดเกิดเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง 2) สังเกตการณ์หาบุคคลผู้ก่อเหตุจากกล้อง CCTV


89 เหตุการณ์รุนแรง ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ งานรักษาความปลอดภัย รายงานผู้บังคับบัญชา และประสานขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก ทั้ง ทหาร ตำรวจ กรมการปกครอง พร้อมทั้งประสาน โรงพยาบาลใกล้เคียงให้เตรียมความพร้อม รองรับสถานการณ์ หัวหน้างานรักษาความปลอดภัย มอบหมาย เจ้าหน้าที่เข้าประจำจุดตรวจและกันบุคคล ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่อันตราย งานรักษาความปลอดภัย รายงานเหตุการณ์ ต่อผู้บังคับบัญชา และเข้าควบคุมพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ พิสูจน์หลักฐาน,เจ้าหน้าที่ตำรวจ,เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง เข้าตรวจพื้นที่อย่างละเอียด เหตุการณ์ไม่รุนแรง สามารถควบคุมสถานการณ์ ได้ กรณีเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบฯ ผอ.สลธ.ประเมินสถานการณ์ ความรุนแรงของเหตุการณ์ ผอ.สลธ. ประกาศใช้แผนการอพยพบุคลากรไปยัง จุดปลอดภัย งานรักษาความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือ กรณีมีผู้ได้รับบาดเจ็บ พร้อมทั้งอำนวยความสะดวก เส้นทางสัญจรแก่หน่วยงานภายนอกที่เข้ามาให้ ความช่วยเหลือ และออกประกาศห้ามมิให้บุคคล ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่เกิดเหตุจนกว่าจะได้รับอนุญาต เมื่อเหตุการณ์สงบลง เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน, เจ้าหน้าที่ตำรวจ,เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เข้าตรวจพื้นที่เกิดเหตุฯ อย่างละเอียด ผู้บริหาร, ผอ.สลธ.,หัวหน้างานรักษาความปลอดภัย และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ร่วมกันพิจารณากำหนด สภาพของพื้นที่เกิดเหตุฯ และความปลอดภัย เพื่อประเมินสถานการณ์ในการเข้าใช้พื้นที่ ในการปฏิบัติงาน และประกาศให้บุคลากร เข้าปฏิบัติงานในหน่วยงาน แนวทางการปฏิบัติ กรณีเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบฯ สำนักงานเลขาธิการ ติดตามข่าวสาร สถานการณ์อย่างใกล้ชิด


90 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์ 1 ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) 0 7322 0247 2 ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา 0 7321 2634 3 มูลนิธิแม่กอเหนี่ยวจังหวัดยะลา 0 7321 2253 4 หน่วยเฉพาะกิจยะลา 08 1276 6333 5 โรงพยาบาลยะลา 0 7324 4711 6 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา 0 7320 3604 7 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา 1129, 0 7327 4892 แผนปฏิบัติการรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ความไม่สงบฯ โครงการ/กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ ไตรมาส ๑ ไตรมาส ๒ ไตรมาส ๓ ไตรมาส ๔ ผู้รับผิดชอบ ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 1. ประชุมคณะทำงาน ดำเนินการกิจกรรมการ ซ้อมแผนรองรับภาวะ ฉุกเฉิน เหตุการณ์ความไม่ สงบฯ(ซ้อมแผนบนโต๊ะ) ✓ กลุ่มงาน อำนวยการและ บริหารและฝ่าย อาคารสถานที่ 2. ดำเนินการกิจกรรม การซ้อมแผนรองรับภาวะ ฉุกเฉินเหตุการณ์ความไม่ สงบฯ (ซ้อมแผนบน โต๊ะ) ✓ กลุ่มงาน อำนวยการและ บริหารและฝ่าย อาคารสถานที่ 3. ร่วมกันถอดบทเรียน จากการซ้อมแผนเพื่อหา แนวทาง ในการแก้ไข ปัญหา-อุปสรรคในการ ดำเนินกิจกรรมเพื่อ ปรับปรุงและพัฒนา ต่อไป ✓ กลุ่มงาน อำนวยการและ บริหารและฝ่าย อาคารสถานที่


91 แผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง โดย... สำนักงานเลขาธิการ


92 แผนรองรับภาวะฉุกเฉินเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง 1. ที่มาและความสำคัญ ระบบไฟฟ้ามีความจำเป็นต่อทั้งการดำเนินชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ สำนักงาน ระบบแสงสว่าง ระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ กรณีไฟฟ้าขัดข้องจึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งในลักษณะที่มีการแจ้งระยะเวลาให้ทราบล่วงหน้า หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทันทีโดยไม่ได้คาดหมาย และไม่มีการกำหนดระยะเวลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการรองรับ ภาวะฉุกเฉินกรณีไฟฟ้าดับ จึงได้จัดทำแผนรองรับภาวะฉุกเฉินกรณีไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง เพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมในการรองรับภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง และเพื่อเป็นแนวทางในการ ปฏิบัติให้แก่บุคลากรของ ศอ.บต. กรณีเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานและการให้บริการ ของหน่วยงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 2. วัตถุประสงค์ของแผน 2.1 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้แก่บุคลากร ศอ.บต. เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ 2.2 เพื่อเตรียมความพร้อม ในการรองรับภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง 3. ข้อมูลของหน่วยงาน 3.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยงาน - ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 60 ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 1.6 กิโลเมตร อย่ห่างจากโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ประมาณ 3.3 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิกู้ภัยแม่กอเหนี่ยวยะลา ประมาณ 4.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการสถานีตำรวจเมืองยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 8.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 800 เมตร - ศูนย์ราชการจังหวัดหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ เลขที่ 318 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ประมาณ 2.5 กิโลเมตร


93 อย่ห่างจากโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยะลา ประมาณ 6.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมูลนิธิกู้ภัยแม่กอเหนี่ยวยะลา ประมาณ 350 เมตร อยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา ประมาณ 2.7 กิโลเมตร อยู่ห่างจากการสถานีตำรวจเมืองยะลา ประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก ประมาณ 5.4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ประมาณ 2.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) ประมาณ 4 กิเมตร 3.2 ข้อมูลบุคลากรของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 590 อัตรา) ประกอบด้วย 3.2.1 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 122 คน -พนักงานราชการ จำนวน 62 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 317 คน รวม 501 คน 3.2.2 อัตรากำลังบุคลากร ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ข้าราชการ จำนวน 39 คน -พนักงานราชการ จำนวน 19 คน -ลูกจ้างประจำ จำนวน 31 คน รวม 89 คน 3.3 บุคลากรภายนอกที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวน 88 คน) ประกอบด้วย 3.3.1 สำนักงานคดีปกครองยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.2 สำนักงบประมาณ (ชั้น 6) จำนวน 11 คน 3.3.3 สำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา (ชั้น 6) จำนวน 19 คน 3.3.4 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ภาค 9 (ชั้น 6) จำนวน 6 คน 3.3.5 สำนักงาน กสทช. เขต 41 (ชั้น 7) จำนวน 19 คน 3.3.6 สำนักกิจการความมั่นคงภายใน จำนวน 5 คน กรมการปกครอง (ชั้น 7) 3.3.7 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา (ชั้น 7) จำนวน 9 คน รวม 88 คน


94 4. ขอบเขตของแผน แผนปฏิบัติการป้องกันและรองรับเหตุฉุกเฉิน เหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง ฉบับนี้ ใช้สำหรับ เตรียมความพร้อม ในการรองรับภาวะฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง ในพื้นที่ศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) และ พื้นที่ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5. ขั้นตอนการปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 5.1 การปฏิบัติก่อนเกิดเหตุไฟฟ้าดับ 5.1.1 ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบไฟฟ้าฉุกเฉินให้มีความพร้อม ใช้งานอยู่เสมอ เช่น ไฟฉุกเฉิน ป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน เป็นต้น 5.1.2 สำรวจความเสี่ยงของแนวพาดผ่านสายไฟหลัก ว่ามีกิ่งไม้หรือวัสดุที่อาจทำให้ระบบ ไฟฟ้าขัดข้องหรือไม่ (ถ้ามี) ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ รีบแก้ไข 5.1.3 จัดให้มีเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) สำหรับเครื่องใช้สำนักงานที่มีความจำเป็น 5.1.4 ให้ทุกหน่วยงานสำรวจอุปกรณ์สำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ สายไฟ ให้อยู่ ในสภาพที่สมบูรณ์และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 5.1.5 ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน การช่วยเหลือกรณีมีคนติดค้างในลิฟท์ ให้มีความรู้และความชำนาญอยู่เสมอ 5.1.6 ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรสำรองข้อมูลของตนเองในหลายๆ ช่องทาง เพื่อหลีกเลี่ยง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น Flash drive, Google Drive, Cloud ฯลฯ 5.1.7 ศอ.บต. ดำเนินการจัดหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ เครื่องปั่นไฟ เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉิน กรณีเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง 5.1.8 สลธ.กำหนดแผนปฏิบัติการในการซ้อมแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน เหตุการณ์ไฟฟ้าดับ เป็นวงกว้าง 5.2 การปฏิบัติขณะเกิดเหตุไฟฟ้าดับ 5.2.1 การแจ้งเหตุ ผู้พบเห็นเหตุการณ์ให้แจ้งสำนักงานเลขาธิการ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 7320 3889 พร้อมแจ้งรายละเอียด สถานที่เกิดเหตุและสาเหตุที่ไฟฟ้าดับ (ถ้าทราบ) 5.2.2 ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ ตรวจสอบการทำงานของลิฟท์พร้อมเร่งช่วยเหลือกรณีมีผู้ติดค้าง อยู่ภายใน 5.2.3 ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ ดำเนินการแก้ไขเหตุไฟฟ้าดับ กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ ให้แจ้งไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา หมายเลขโทรศัพท์ 0 7327 4892 , 0 7327 4892 เข้ามาดำเนินการแก้ไข


95 การแบ่งระดับของเหตุไฟฟ้าดับและการปฏิบัติแบ่งออกเป็น 1. ไฟฟ้าดับเฉพาะชั้น สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยเจ้าหน้าที่ของฝ่ายอาคารสถานที่ฯ 2. ไฟฟ้าดับทั้งอาคาร ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเจ้าหน้าที่ของฝ่ายอาคารสถานที่ฯ ให้ฝ่ายอาคาร สถานที่ฯ โทรแจ้งประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา หมายเลขโทรศัพท์ 0 7327 4892, 0 7327 4892 เข้ามาดำเนินการแก้ไข 5.3 การปฏิบัติหลังเกิดเหตุไฟฟ้าดับ 5.3.1 ฝ่ายอาคารสถานที่ฯ ตรวจสอบระบบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ระบบลิฟท์ เครื่องทำน้ำเย็น ปั๊มน้ำ เป็นต้น


Click to View FlipBook Version