The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nsmu_it, 2024-03-12 05:03:57

รายงานผลกิจกรรมการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2563

รายงานผลกิจกรรมการจัดการความรู้ 2563

NSKnowledge Management ค ำน ำ คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่เป็น ตัวแทนจากภาควิชาและส านักงานที่เข้ามาท างาน เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นภายใน คณะพยาบาลศาสตร์ในปีงบประมาณ 2563 นี้นับเป็นปีที่ 14 ของการด าเนินการด้านการจัดการความรู้ คณะกรรมการฯ ได้มีการวางแผนการด าเนินกิจกรรมต ่างๆ โดยพยายามผลักดันให้เกิดการจัดการ ความรู้ในงานประจ า มีการถอดบทเรียนความรู้ที่ได้จากการด าเนินกิจกรรมแต่ละครั้ง ตลอดจนมีการน า เครื่องมือในการจัดการความรู้เข้ามาใช้มากขึ้น เพื่อสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการวางแผนหาแนว ทางแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อไป การจัดการความรู้ของคณะฯ ในปีงบประมาณ 2563 มีการจัดกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการบูร ณาการจัดการความรู้กับการด าเนินงานตามพันธกิจต ่างๆ ของคณะฯ ซึ ่งผลการด าเนินการตลอด ปีงบประมาณนี้ท าให้สามารถถอดบทเรียนความรู้ได้เป็นจ านวนมาก และเพื ่อเป็นการเผยแพร ่ผลการ ด าเนินงาน คณะกรรมการฯจึงจัดท ารายงานผลกิจกรรมการจัดการความรู้ประจ าปีงบประมาณ 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื ่อสรุปผลการด าเนินงานในด้านต ่างๆ ที ่เกี ่ยวข้องกับ การจัดการความรู้ และเผยแพร่ผลการด าเนินงานแก่บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบุคคลทั่วไป คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับ นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน และบุคคลทั่วไปที่จะด าเนินงานด้านการจัดการ ความรู้ต่อไปในอนาคต รองศาสตราจารย์ ดร.สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้


NSKnowledge Management [i] สารบัญ หน้า สรุปการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ 1 กิจกรรมที่ 1 การจัดการความรู้ตามพันธกิจ 1.1 ถอดบทเรียนการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์ COVID-19 2 1.2 ถอดบทเรียนเปิดบ้านนักวิจัย (Open Researcher’s House) 13 1.3 ถอดบทเรียนด้านบริการวิชาการโครงการสร้างเสริมสุขภาวะสามเณรฯ 19 กิจกรรมที่ 2 การจัดการความรู้แต่ละภาควิชา 2.1 ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ 22 2.2 ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน 29 2.3 ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ 38 2.4 ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ 69 2.5 ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา 71 2.6 ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ 74


NSKnowledge Management [1] สรุปผลจากการจัดการความรู้ประจําปี 2563 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล มีเป้าหมายในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จึง ได้จัดให้มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นประจําทุกปีโดยในปีที่ผ่านมา มีกิจกรรมการจัดการความรู้ทั้งสิ้น 28 เรื่อง โดยแบ่งเป็นกิจกรรมการจัดการความรู้กับการดําเนินงานตามพันธกิจการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ จํานวน 3 เรื่อง และกิจกรรมการจัดการรู้จากแต่ละภาควิชา จํานวน 25 เรื่อง โดยสามารถสรุปกจกรรมการจิ ัดความรู้ได้ดังนี้ 1. การจัดการความรู้กับการดําเนินงานตามพันธกิจการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ ในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า มีการดําเนินการครบตามพันธกิจจํานวน 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1.1 ถอดบทเรียนการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์ COVID-19 ของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล 1.2 ถอดบทเรียน เปิดบ้านนักวิจัย (Open Researcher’s House) 1.3 ถอดบทเรียน ด้านบริการวิชาการโครงการสร้างเสริมสุขภาวะสามเณรโรงเรียนวัดกฤษณเวฬุ พุทธารา (วัดไผ่ดํา) จังหวัดสิงห์บุรีของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล 2. การจัดการความรู้จากแต่ละภาควิชา ในรอบปีที่ผ่านมาพบว่า คณาจารย์ในคณะพยาบาลศาสตร์ มีความสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมทั้งมีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีเป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งมีการเผยแพร่ องค์ความรู้ต่างๆ ไปสู่บุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์ให้เกิดการใช้งานองค์ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี รายละเอียดของแต่ละกิจกรรมดังนี้ 2.1 ภาควิชการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์จํานวน 3 เรื่อง โดยแบ่งเป็นด้านการดําเนินงานด้าน การศึกษา จํานวน 3 เรื่อง 2.2 ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน จํานวน 4 เรื่อง โดยแบ่งเป็นด้านการดําเนินงาน ด้านการศึกษา จํานวน 4 เรื่อง 2.3 ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์จํานวน 11 เรื่อง โดยแบ่งเป็นด้านการดําเนินงาน ด้านการศึกษา จํานวน 2 เรื่อง ด้านวิจัย จํานวน 1 เรื่อง ด้านอื่นๆ (การขอกําหนดตําแหน่งทางวิชา) จํานวน 9 เรื่อง 2.4 ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์จํานวน 1 เรองื่โดยแบ่งเป็นด้านการศึกษาและด้าน วิจัย จํานวน 1 เรื่อง 2.5 ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จํานวน 2 เรื่อง โดยแบงเป่ ็นด้านวิจัย จํานวน 2 เรื่อง 2.6 ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์จํานวน 4 เรื่อง โดยแบ่งเป็นด้านการศึกษา จํานวน 3 เรื่อง และด้านวิจัย จํานวน 1 เรื่อง


NSKnowledge Management [2] 1. การจัดการความรู้กับการดําเนนงานตามพิ ันธกิจการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ เรื่องที่ 1 ถอดบทเรียนการเรยนการสอนออนไลน ี ในสถานการณ ์ ์ COVID-19 ของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.สมสริิรุ่งอมรรัตน์คุณอํานวย ผศ.ดร.ดวงใจ รัตนธัญญา รศ.พัสมณฑ์คมทวุ้ ีพร ผศ.วันดีโตสุขศรีผศ.ดร.วารีรัตน์ถาน้อยผศ.ดร.จรรยา เจริญสขุ ผศ.ดร.วไลลักษณ์พุ่มพวง อ.ธัญยรัชต์องค์มีเกียรติรศ.พรรณิภา บุญเทยรีอ.สกุลรัตน์เตียววานิช อ.ภัทรนุช ภูมิพาน อ.ดร.กุลธิดา หัตถกิจพาณิชกุล อ.สุรสวดั ีไวว่อง อ.ดร.นันทกานต์มณีจักร และ อ.ยุทธพชิัย โพธิ์ศรีคณกุิจ รศ.ดร.สมสิริรงอมรรุ่ ัตน์และ นางสาวดารานิตย์กิ่งวัน คุณลิขิต เนื่องด้วยจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีประกาศเรื่องแนวทางการจัดการเรียนการสอนกรณีสถานการณ์ไม่ ปกติอันเนื่องมาจากภาวการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับนักศึกษาหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ คณะฯ จึงกําหนดให้มีการจัดการเรียนการสอนเป็นไปในรูปแบบระบบการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยคณะฯ มีระบบเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ผ่านระบบ Online เช่น Microsoft team, Google meet, Zoom, WebEx เพื่อถ่ายทอดสด หรือการบันทึกสื่อออนไลน์ในโปรแกรม เช่น Active presenter, PowerPoint หรือใช้สื่อที่ได้บันทึกไว้ล่วงหน้าใน E-Learning ของคณะพยาบาลศาสตร์ทั้งนี้มีการปรับรูปแบบการวัดและ ประเมินผล โดยต้องสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้และวัตถุประสงค์รายวิชา จากที่กล่าวมาข้างต้นทําให้อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา ของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องเรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อนํามาปรับวิธีการสอน และได้ทดลองสอน จริง โดยการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาทําให้อาจารย์ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการสอนออนไลน์มากขึ้น การถอดบทเรียนจากกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวจึงเป็นสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการดําเนินงาน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตจึงได้มอบหมายให้อาจารย์ภาควิชาละ 2 คน ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล รวมถึงปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนการสอน ออนไลน์ในช่วงสถานการณ์ COVID เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Ms team) โดยสามารถประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนได้เป็น 3 เรื่องใหญ่ดังนี้ 1. รายวิชาที่จัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์ COVID 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล 3. ข้อเสนอแนะต่อฝ่ายการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล


รายวิชาที่จัดการเรยนการสอนในชี่วงสถานการณ์ COVID-19 1.ลักษณะของรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19 วิชาที่จัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นวิชาทฤษฎีโดยเริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 ระยะเวลาเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ 1 สัปดาห์ถึง 4 สัปดาห์จํานวน นักศึกษามีตั้งแต่กลุ่มละ 44 – 344 คนโดยมีรายละเอียดตามตารางนี้ วิชา จํานวนสัปดาห์ จํานวน นักศึกษา (คน) สื่อสารสองทางสื่อสารทางเดยวีการวัดและประเมินผล MS team Zoom Face Book live Face Book YouTube live Line Filpsnack Active learning Active presenter Camtasia Power point Google Class room E-learning TBL SPOC Mooc Google form Quiz Google form MS form Kahoot


NSKnowledge Management [3] 1. พยคร 303 (3) การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 3 86 2. พยคร 218 (3) ทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล 7 213 3. พยคร 108 (2) แนวคิดทางการพยาบาลและสุขภาพ โลก 6 นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 60-70 คน 4. พยสน 305 (3) การพยาบาลมารดาทารก 1 3 86 5. พยคร 316 (3) การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3 3 85


วิชา จํานวนสัปดาห์ จํานวน นักศึกษา (คน) สื่อสารสองทางสื่อสารทางเดยวีการวัดและประเมินผล MS team Zoom Face Book live Face Book YouTube live Line Filpsnack Active learning Active presenter Camtasia Power point Google Class room E-learning TBL SPOC Mooc Google form Quiz Google form MS form Kahoot 6. พยคร 330 (1) โครงการพัฒนานวัตกรรมทาง สุขภาพ 44 7. พยคร 223 (2) การพัฒนาตนตามหลัก8 92


NSKnowledge Management [4] การพฒนาตนตามหลก พระพุทธศาสนา 8. พยสธ 404 (1) การรักษาพยาบาลขั้นต้น 4 324 9. พยคร 315 (3) การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 3 87 10. พยคร 317 (1) ผู้นําการพยาบาลทางคลินิก 1 344


NSKnowledge Management [5] รายละเอียดลกษณะรายวั ชาในการจ ิ ัดการเรียนการสอนออนไลน์ รายละเอียด 1. วิชา พยคร 303 (3) การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น จํานวนเรียน 3 สัปดาห์ - วันจันทร์อังคารและพุธของทุกสัปดาห์ให้ศึกษาสื่อการสอนที่เตรียมไว้ให้ด้วยตนเอง จํานวน 10-12 ชั่วโมง - วันพฤหัสบดีของทุกสัปดาห์สอบข้อสอบปรนัยและอัตนัย ในหัวข้อที่ได้ศึกษาด้วยตนเอง - วันศุกร์ของทุกสัปดาห์อาจารย์ที่มีเนื้อหาสอนในสัปดาห์นั้น สอนสรุปและเฉลยข้อสอบ คนละ 45 นาที 2. วิชา พยคร 218 (3) ทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล - จํานวนเรียน 7 สัปดาห์ๆ ละ 1 วันๆ ละ 7 ชั่วโมง (วันพุธ) - 7 สัปดาห์ x 7 ชั่วโมง รวมเป็น 49 ชั่วโมง 3. วิชา พยคร 108 (2) แนวคิดทางการพยาบาลและสุขภาพโลก - จํานวนเรียน 6 สัปดาห์ๆ ละ 1 วันๆ ละ 2 ชั่วโมง (วันจันทร์) - 6 สัปดาห์ x 2 ชั่วโมง รวมเป็น 12 ชั่วโมง 4. วิชา พยสน 305 (3) การพยาบาลมารดาทารก 1 - จํานวนเรียน 3 สัปดาห์ๆ ละ 5 วัน (จํานวน 4 วัน x 7 ชั่วโมง) (จํานวน 1 วัน x 4 ชั่วโมง) - 3 สัปดาห์ x (28 ชั่วโมง + 4 ชั่วโมง) รวมเป็น 96 ชั่วโมง 5. วิชา พยคร 316 (3) การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3 - จํานวนเรียน 3 สัปดาห์ๆ ละ 5 วัน (จํานวน 4 วัน x 7 ชั่วโมง) (จํานวน 1 วัน x 4 ชั่วโมง) - 3 สัปดาห์ x (28 ชั่วโมง + 4 ชั่วโมง) รวมเป็น 96 ชั่วโมง 6. วิชา พยคร 330 (1) โครงการพัฒนานวตกรรมทางสุขภาพ **นักศึกษาลงทะเบียนเรียนเมื่อภาคเรียที่ 1 ณ ปัจจุบันอยในชู่ ่วงปรึกษาอาจาย์เพื่อทํานวัตกรรมทาง Online** 7. วิชา พยคร 223 (2) การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนา - จํานวนเรียน 8 สัปดาห์ๆ ละ 1 วันๆ ละ 2 ชั่วโมง (วันอังคาร) - 8 สัปดาห์ x 2 ชั่วโมง รวมเป็น 16 ชั่วโมง 8. วิชา พยสธ 404 (1) การรักษาพยาบาลขั้นต้น - จํานวนเรียน 2 สัปดาห์ๆ ละ 5 วัน (จํานวน 4 วัน x 4 ชั่วโมง) (จํานวน 1 วัน x 2 ชั่วโมง) - 2 สัปดาห์ x (16 ชั่วโมง + 2 ชั่วโมง) รวมเป็น 36 ชั่วโมง 9. วิชา พยคร 315 (3) การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 - จํานวนเรียน 8 สัปดาห์ๆ ละ 1 วันๆ ละ 7 ชั่วโมง (วันศุกร์) - 8 สัปดาห์ x 7 ชั่วโมง รวมเป็น 56 ชั่วโมง 10. วิชา พยคร 317 (1) ผู้นําการพยาบาลทางคลินิก - จํานวนเรียน 1 สัปดาห์ (จํานวน 4 วัน x 4 ชั่วโมง) (จํานวน 1 วัน x 2 ชั่วโมง) - 16 ชั่วโมง + 2 ชั่วโมง รวมเป็น 18 ชั่วโมง


NSKnowledge Management [6] 2. รูปแบบของการเรียนการสอน จากการสนทนากลุ่มอาจารย์ผู้สอน พบว่า การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19 ส่วน ใหญ่ใช้เวลาในการวางแผนไม่นาน เนื่องจากเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน บางครั้งจัดการเรียนการสอนและปรับปรุง ระหว่างทางเพื่อให้นักศึกษาได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยสามารถแบ่งรูปแบบการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19 ออกได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้ 2.1. รูปแบบการสอนที่ทําให้นักศึกษาสื่อสารได้สองทาง (Two way communication) โดยใช้ โปรแกรมหลากหลาย เช่น ZOOM, MS Team, Facebook live, YouTube live เพื่อสร้างบรรยากาศในการ เรียนการสอนให้เกิด active learning และเสมือนอยู่ในห้องเรียนจริง ข้อดี 1. อาจารย์สามารถใช้สื่อการสอนที่มีประกอบการสอนได้ (ไม่ต้องสร้างงานชิ้นใหม่) 2. อาจารย์สามารถบรรยายในลักษณะเดียวกับที่สอนในห้องเรียน ตั้งคําถามและสอบถาม ความเข้าใจระหว่างเรียนเป็นระยะๆ ได้ 3. นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นทันที 4. สามารถบันทึกการเรียนการสอนเพื่อเก็บไว้ดูภายหลังได้โดยสามารถนําขึ้นไว้ใน E-learning ของคณะฯ ได้ ข้อควรระวัง 1. เนื้อหาในการสอนสดไม่ควรซ้ําซ้อนกับเนื้อหาที่มีการบันทึกไว้แล้ว เช่น มีคลิปวิดีโอให้ นักศึกษาศึกษาก่อนเรียนและมีการสอนสดในเรื่องเดียวกันอีกครั้ง 2. บาง platform ถ้ามีนักศึกษาจํานวนมาก ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่านักศึกษาทุกคนสนใจ เรียนหรืออยู่ในห้องเรียนหรือไม่เนื่องจากจะมีภาพแสดงเฉพาะนักศึกษาที่มีการ เคลื่อนไหวหรือพูดโต้ตอบ 3. บาง platform ไม่รองรับ นักศึกษาที่มากกว่า 200 คน ทําให้ไม่สามารถเรียนพร้อมกันได้ 4. การสอนสดทําให้มีการดึงคลื่นความถี่ในการส่งข้อมูลมากกว่าปกติ (ใช้อินเตอร์เน็ตเปลือง) ทําให้นักศึกษาบางคนต้องหาสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้เพียงพอ เช่น ซื้ออินเตอร์เน็ตเพิ่ม หาร้านที่มี wifi รองรับ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่าซื้อสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพิ่ม ค่าเดินทาง หรือค่าอาหารหรือเครื่องดื่ม 5. ถ้านักศึกษาเปิดไมค์ระหว่างเรียน อาจมีเสียงบรรยากาศในบ้านของนักศึกษาเข้ามา รบกวนห้องเรียนออนไลน์ 6. นักศึกษาบางคนไม่สามารถปฏิเสธภาระงานที่บ้านได้ทําให้บางครั้งไม่สะดวกในการเรียน ออนไลน์สด


NSKnowledge Management [7] 7. เอกสารประกอบการสอนควรส่งให้นักศึกษาก่อนเรียนล่วหน้า เนื่องจากนักศึกษาบางคน ไม่มีเครื่องพริ้นเตอร์ที่บ้านทําให้ต้องออกจากบ้านไปหาที่พริ้น และใช้เวลาในการเดินทาง 8. เอกสารประกอบการสอนควรมีเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงจากเอกสารที่ส่งให้นักศึกษาล่วงหน้า มากนัก เนื่องจากเมื่อไม่ได้อยู่ร่วมชั้นเรียนกับเพื่อนและอาจารย์อาจทําให้ตามสิ่งที่ อาจารย์สอนไม่ทัน 2.2 รูปแบบการสอนที่ไม่ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาโต้ตอบทันที (One way communication) โดยอาจารย์ผู้สอนจัดทําสื่อการสอนเป็นคลิบวิดีโอ โดยใช้โปรแกรมต่างๆ เช่น Active presenter, Camtasia, PowerPoint หรือ การนําคลิบวิดีโอที่มีอยู่ใน e-learning ของคณะฯ หรือ youtube ส่งให้นักศึกษาผ่าน ช่องทางต่างๆ เช่น นําใส่ไว้ใน Google classroom, Line application, Flipsnack หรือทําโปรแกรม การศึกษา MOOC ร่วมกับมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง ข้อดี 1. อาจารย์สามารถแก้ไขเนื้อหาหรือคําพูดให้ถูกต้องในคลิปวิดีโอได้ก่อน Upload เผยแพร่ 2. นักศึกษาสามารถบริหารจัดการเวลาในการศึกษาด้วยตนเอง หรือดูซ้ําในส่วนที่ไม่เข้าใจได้ ตลอดเวลา 3. สามารถควบคุมเวลาเรียนได้เนื่องจากทราบจํานวนชั่วโมงที่ใช้ในแต่ละคลิปวิดีโอแน่นอน ข้อควรระวัง 1. อาจารย์ใช้เวลาในการเตรียมสื่อการสอนมากกว่าปกติเนื่องจากต้องเตรียมทั้งเนื้อหาและ วิดีโอให้น่าสนใจ 2. เมื่อนักศึกษามีคําถามไม่สามารถสอบถามอาจารย์ได้ทันที 3. ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่านักศึกษาทุกคนได้เข้าดูสื่อหรือคลิปวิดีโอที่จัดทําหรือไม่ 4. คลิปวิดีโอจาก e-learning บางเรื่องคุณภาพเสียงไม่ดีหรือเนื้อหาไม่ทันสมัย ควรจัดทําใหม่ 5. การมอบหมายให้นักศึกษาดูคลิปวิดีโอทบทวนความรู้จาก youtube ที่เป็นภาษาอังกฤษ ก่อนเรียน อาจทําให้นักศึกษาบางคนไม่เข้าใจเนื้อหาในคลิปวิดีโอด้วยตนเอง เนื่องจากถ้า เรียนในห้องเรียน เมื่ออาจารย์นําคลิปวิดีโอมาเปิด อาจารย์มักจะสรุปเรื่องให้ฟังสุดท้าย ทําให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจ 2.3 รูปแบบการมอบหมายงาน โดยให้นักศึกษาทํางานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 10-30 คน ในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เช่น การวิเคราะห์กรณีศึกษาและนําเสนอออนไลน์การสืบค้นข้อมูลและ นําเสนอในรูปแบบของคลิปวิดีโอ เป็นต้น


NSKnowledge Management [8] ข้อดี 1. นักศึกษายังคงได้ฝึกทักษะทางสังคมในหลายประเด็น เช่น การทํางานเป็นทีม การสื่อสาร การบริหารเวลา ภาวะผู้นํา การคิดวิเคราะห์ความรับผิดชอบ ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในสถานที่ เดียวกัน 2. มีทักษะการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ใช่สถานการณ์ปกติทําให้มีเหตุการณ์ต้อง วางแผนและจัดการที่ท้าทายกว่าเดิม ข้อควรระวัง 1. นักศึกษาบางคนมีภาระงานบ้านที่ได้รับมอบหมายจากผู้ปกครอง ทําให้ไม่สามารถบริหาร จัดการเวลาให้ทํางานร่วมกับเพื่อนได้ 2. ควรมีการสํารวจงานกลุ่มที่มอบหมายให้นักศึกษาในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากนักศึกษา ไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ทําให้ภาระงานนั้นต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นจากเดิม 3. นักศึกษาบางคนยังคงไม่มีส่วนร่วมในการทํางานเป็นทีม และไม่สามารถบังคับให้มีส่วน ร่วมได้ทําให้ภาระงานตกอยู่ที่นักศึกษาคนใดคนหนึ่ง 4. ควรจัดกลุ่มนักศึกษากลุ่มละไม่เกิน 10 คน เพื่อความสะดวกในการทํางาน 3. การประเมินผล การประเมินผลในสถานการณ์ COVID-19 เป็นประเด็นที่ท้าทายสําหรับอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่แน่ใจว่า นักศึกษาจะเข้าใจเนื้อหาที่เรียนเพียงพอ หรือทําข้อสอบด้วยตนเองหรือไม่อาจารย์ผู้สอน จึงออกแบบการประเมินผลระหว่างทางร่วมด้วยเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ ยังเป็นประเด็นสงสัย โดยการประเมินผลในช่วงที่ผ่านมา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ 3.1 การประเมินจากสอบอัตนัยและปรนัยออนไลน์ระหว่างเรียน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของ นักศึกษา โดยอาจารย์จัดทําข้อสอบใส่ใน Google form, Microsoft form, Kahoot และกําหนดเวลาให้ นักศึกษาเข้าทํา ข้อดี 1. ข้อสอบที่เป็นปรนัย สามารถตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษาได้ทันที 2. ข้อสอบที่เป็นอัตนัย อาจารย์สามารถประเมินความเข้าใจของนักศึกษาได้และสามารถ ตรวจสอบคําตอบของนักศึกษากับเพื่อนได้ว่าคําตอบเหมือนกันหรือไม่ 3. ใช้ได้กับนักศึกษาจํานวนมาก


NSKnowledge Management [9] ข้อควรระวัง 1. ควบคุมการทุจริตของนักศึกษาได้ยาก โดยนักศึกษาสามารถใช้การสื่อสารที่ไม่มีเสียง สอบถามคําตอบระหว่างกันได้เช่น การใช้ไลน์ Facebook เป็นต้น 2. ควรใช้คู่กับการอธิบายเพิ่มเติม เนื่องจากการเฉลยคําตอบอย่างเดียวอาจไม่เข้าใจเหตุผล ของการตัดสินใจเลือก 3.2 การประเมินการทํากลุ่มของนักศึกษา เป็นการมอบหมายงานให้นักศึกษาทํางานกลุ่ม 1 ชิ้น ร่วมกัน ซึ่งมีกลุ่มตั้งแต่ 10-30 คน โดยให้นักศึกษาหาเวลาในการประชุมกลุ่มด้วยรูปแบบที่ตนเองถนัด เช่น การใช้ไลน์หรือโทรศัพท์คุยกัน จัดทําเป็นสื่อออนไลน์นําเสนอออนไลน์หรือส่งเป็นรายงานกลุ่ม รวมถึงจัดให้มี อาจารย์ที่ปรึกษารับผิดชอบกลุ่มและให้ข้อคิดเห็น โดยมีข้อดีและข้อควรระวังเช่นเดียวกับการสอนโดยใช้ รูปแบบการมอบหมายงาน


NSKnowledge Management [10] แนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล จากการถอดบทเรียนพบว่า การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ควรดําเนินงานให้ครอบคลุม 4 ประเด็น คือ เตรียมให้พร้อม สอนพร้อมกับฟังเสียงผู้เรียน ประเมินผลเป็นระยะ และ จัดสอบให้โปร่งใส โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. เตรียมให้พร้อม คือ การที่หัวหน้าวิชาและอาจารย์ผู้สอนเตรียมความพร้อมของการสอนออนไลน์ ให้ครอบคลุมเรื่องดังนี้ 1.1 ตรวจสอบจํานวนชั่วโมงสอนและจํานวนนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย 1.2 ตรวจสอบความพร้อมในการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษากลุ่มที่ได้รับมอบหมาย 1.3 ทบทวน CLO ของวิชาและประเมินความเป็นไปได้ในวัดผล อาจปรับวิธีการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.4 ออกแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้เหมาะสมกับจํานวนสัปดาห์จํานวนนักศึกษา งานที่ มอบหมายให้นักศึกษาทํา รวมถึงระยะเวลาการใช้อินเตอร์เน็ตในแต่ละหัวข้อ โดยทําเป็นตารางสอน เฉพาะกิจใหม่ ให้ในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์มีความสมดุลของเนื้อหาและเวลา เพื่อให้อาจารย์ ผู้สอนและนักศึกษารับทราบร่วมกัน 1.5 เลือกรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา โดยหัวข้อที่เป็นเรื่องใหม่ ไม่มีประสบการณ์มาก่อน ต้องการการอธิบายและซักถามเพิ่มเติม ควรเป็นรูปแบบผสม เช่น มอบหมายให้นักศึกษาทบทวนเนื้อหา หลักล่วงหน้า และนัดหมายเพื่อสอนออนไลน์สดเพิ่มเติม ทั้งนี้ไม่ควรใช้เวลาเกินกว่าชั่วโมงจริงเดิม 1.6 สํารวจสื่อการสอนในแต่ละหัวข้อ โดยหัวข้อที่อาจารย์ระบุว่ามีสื่อการสอนแล้ว ควรตรวจสอบเนื้อหา และความคมชัดของภาพอีกครั้ง 1.7 เตรียมเอกสารประกอบการสอนส่งให้นักศึกษาหรือ upload ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน โดยให้มีเนื้อหา สอดคล้องกับตารางเรียนใหม่ 2. สอนพร้อมกับฟังเสียงผู้เรียน ถึงแม้จะมีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนมาดีเพียงใด แต่ในระหว่าง การสอนออนไลน์อาจมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้การมีช่องทางรับฟังเสียงของนักศึกษาระหว่างเรียน การสังเกตผู้เรียน และนํามาปรับเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงเป็นสิ่งสําคัญและควรทํา ทันทีโดยปัญหาระหว่างเรียนที่พบมีหลากหลาย เช่น ไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ไม่มีเอกสารอ่าน ล่วงหน้า นักศึกษากลุ่มใหญ่ทําให้ไม่สามารถซักถามได้นักศึกษาไม่เข้าเรียนออนไลน์นักศึกษาหายไป ระหว่างเรียนออนไลน์สด งานที่ได้รับมอบหมายในช่วงเวลาเดียวกันมีหลายชิ้นงาน ซึ่งจากที่ผ่านมาวิชา ที่อาจารย์ไวต่อการฟังเสียงของนักศึกษาจะสามารถปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้ดีขึ้นได้ทันเวลา เช่น


NSKnowledge Management [11] เมื่อสอนและพบว่านักศึกษากลุ่มใหญ่ทําให้นักศึกษาไม่มีโอกาสโต้ตอบได้จึงแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม และให้อาจารย์สอน 2 รอบ เป็นต้น 3. ประเมินผลเป็นระยะ เนื่องจากการสอนออนไลน์มีข้อจํากัดในเรื่องการตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษา ได้ทันทีทําให้อาจารย์อาจไม่แน่ใจว่านักศึกษาเข้าใจเนื้อหาที่เรียนทั้งหมดหรือไม่หรือนักศึกษาที่มีปัญหา สงสัยแต่ไม่สามารถถามเพิ่มเติมได้ระหว่างศึกษาคลิปวิดีโอด้วยตนเองหรือระหว่างสอนออนไลน์สด การประเมินผลเป็นระยะ (formative) จึงเป็นสิ่งจําเป็น โดยสามารถทําได้หลายรูปแบบ เช่น การสอบ ปรนัยหรืออัตนัยระหว่างเรียน การนําเสนอกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อประเมินผลแล้วอาจารย์ผู้สอน ควรให้ความรู้หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นที่พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ 4. จัดสอบให้โปร่งใส การให้นักศึกษาสอบนอกห้องสอบเป็นเรื่องที่หัวหน้าวิชาและอาจารย์ผู้สอนต้องวางแผน อย่างรัดกุม เนื่องจากอาจมีปัญหาหลายประการ เช่น การทุจริตในการทําข้อสอบ มีอินเตอร์เน็ตไม่เพียงพอ ขณะสอบ เป็นต้น โดยการจัดสอบให้นักศึกษาควรคํานึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้ 4.1 การปลูกฝังค่านิยม M – moral และความซื่อสัตย์ให้กับนักศึกษาพยาบาลทุกคนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 โดยสอดแทรกในวิชาที่เรียนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร 4.2 การออกกฎระเบียบเรื่องการสอบข้อสอบออนไลน์ของคณะฯ เพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ยึดถือเป็น ข้อปฏิบัติร่วมกัน 4.3 ใช้ platform ออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ในการจัดสอบ เช่น การเปิดกล้องและเปิดไมค์ในระหว่างสอบ การสุ่มไม่ให้ลําดับข้อสอบเหมือนกัน การล็อคหน้าจอไม่ให้ไปที่หน้าค้นหาอื่นระหว่างทําข้อสอบ 4.4 จัดกลุ่มนักศึกษาเข้าห้องสอบออนไลน์ให้น้อยลง ซึ่งอาจใช้อาจารย์คุมสอบมากขึ้น แต่จะทําให้อาจารย์ คุมสอบสามารถตรวจสอบการทุจริตได้ง่ายขึ้น 4.5 ไม่ควรให้นักศึกษาทําข้อสอบแต่ละชุดนานมากกว่า 30 นาทีเนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดอินเตอร์เน็ตไม่ เพียงพอ หรือหลุดบ่อย นอกจากนี้การใช้เวลาในการทําข้อสอบนาน อาจเป็นช่องทางในการทุจริตของ นักศึกษาได้


NSKnowledge Management [12] ข้อเสนอต่อคณะฯเพื่อให้เกิดความพร้อมสอนออนไลน์ของอาจารย์และนักศึกษา ฝ่ายการศึกษา 1. จัดทํา Master plan ของแต่ละชั้นปีใหม่ ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนออนไลน์โดยมีการสํารวจ รูปแบบการเรียนการสอน การมอบหมายงานและการวัดและประเมินผลของแต่ละรายวิชา เพื่อให้ นักศึกษามีชั่วโมงเรียนที่เหมาะสม ไม่มีงานเหลือค้างในแต่ละวิชา ในขณะเดียวกันนักศึกษาอาจจะได้มี เวลาในการทบทวนความรู้ของตนเองก่อนเริ่มเรียนวิชาใหม่ 2. กําหนดกฎระเบียบใหม่ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนออนไลน์เช่น จํานวนชั่วโมงที่ต้องเข้าเรียน การ เข้าห้องเรียนไม่ตรงเวลา สัดส่วนของการวัดที่เหมาะสม หรือบทลงโทษเมื่อนักศึกษาทําความผิด เพื่อใช้ เป็นแนวปฏิบัติร่วมกันของคณะฯ 3. จัดให้มีเจ้าหน้าที่จัดทําข้อสอบเข้าสู่ระบบออนไลน์โดยมีการตรวจสอบข้อสอบร่วมกับอาจารย์ผู้สอน งานพัฒนานักศึกษา 1. ปลูกฝังค่านิยมของบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ให้กับนักศึกษา โดยเฉพาะเรื่อง ความซื่อสัตย์และความ รับผิดชอบ ซึ่งสามารถทําได้ทั้งการสอดแทรกในห้องเรียนออนไลน์หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2. สํารวจความต้องการการช่วยเหลือของนักศึกษาอยู่เสมอ เช่น ทุนการศึกษา อินเตอร์เน็ต อุปกรณ์ที่ใช้ใน การเรียน การจัดการกับความเครียด เป็นต้น งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. การเตรียมอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ห้องสําหรับการบันทึกเสียงหรือการตัดต่อสําหรับอาจารย์โดยอาจมี การสํารวจความต้องการของอาจารย์และจัดหาอุปกรณ์เพิ่มให้เพียงพอ หรือขยายช่วงเวลาการยืมอุปกรณ์ มากกว่า 1 วัน 2. จัดให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือในการตัดต่อคลิปวีดีโอ และนําขึ้นระบบ E-learning และระบบอื่นๆ 3. การจัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ในการใช้สื่อออนไลน์ให้อาจารย์อยู่เสมอ โดยจัดให้ทั้งการอบรมผ่านสื่อ ออนไลน์การทําคลิบวิดีโอเพื่อศึกษาด้วยตนเอง หรือการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ในการตอบคําถามหรือ ช่วยเหลือเมื่อพบปัญหาในการสอนออนไลน์ งานพัฒนาคุณภาพ 1. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์อยู่เสมอ โดยอาจเชิญวิทยากรภายนอกที่ มีประสบการณ์ในการสอนออนไลน์มาพูดคุย หรือการให้อาจารย์ในแต่ละวิชามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ได้แนวทางที่ทันสมัยและตรงตามความต้องการของอาจารย์และนักศึกษาในคณะพยาบาลศาสตร์


NSKnowledge Management [13] เรื่องที่ 2 ถอดบทเรียน เปิดบ้านนักวิจัย (Open Researcher’s House) รองศาสตราจารย์ดร.ทัศนี ประสบกิตติคุณ ผู้ดําเนินรายการ รองศาสตราจารย์ดร.รักชนก คชไกร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พวงเพชร เกษรสมทรุ วทยากริ นางนภัสสร ลาภณรงค์ชัย ผลู้ิขติ สิ่งแวดล้อมการวิจัยเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อผลผลิตการวิจัย โดยสิ่งแวดล้อมการวิจัย จะมุ่งเน้นวัฒนธรรมของการดําเนินการวิจัยอย่างมีความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ และการสนับสนุนที่ดี ในการสร้างนักวิจัย จึงเป็นเรื่องท้าทายสําหรับคณะพยาบาลศาสตร์อย่างมากในการสร้างสิ่งแวดล้อมการวิจัย ให้เกิดขึ้น ในปีงบประมาณ 2563 จึงสร้างสิ่งแวดล้อมการวิจัยด้วยการส่งเสริมให้นักวิจัย (ทั้งที่เป็นนักวิจัย รุ่นใหม่และนักวิจัยที่มีประสบการณ์และได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก) และมีผลงานวิจัยเป็นที่ ประจักษ์แก่ประชาคมของคณะพยาบาลศาสตร์ซึ่งจะเป็นการสร้างกําลังใจ และแรงจูงใจแก่นักวิจัยรุ่นใหม่ เป็นการเปิดตัวเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นนักวิจัยมืออาชีพต่อไป งานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย จึงจัดกิจกรรม “เปิดบ้านนักวิจัย (Open Researcher’s House)” โดยเชิญ รองศาสตราจารย์ดร.ทัศนีประสบกิตติคุณ เป็นผู้ดําเนินรายการ และเชิญ รองศาสตราจารย์ดร.รักชนก คชไกร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พวงเพชร เกษรสมุทร เป็นวิทยากร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การขอทุนวิจัย และการดําเนินการวิจัย สรุปได้ดังนี้ รองศาสตราจารย์ดร.รักชนก คชไกร อาจารย์ประจําภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ ดําเนินโครงการ “เมืองสุขภาพดีวิถีท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทย” ทุนงบประมาณแผ่นดิน 2562 ของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติโดยปีงบประมาณ 2563 ไ ด้ขอทุน Proposals for Grand Challenges Explorations Round จากต่างประเทศ และ ปีงบประมาณ 2564 ขอสนับสนุนเงินอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน จุดเริ่มต้นของการทําโครงการวิจัย รศ.ดร.รักชนก มีแนวคิดการทําวิจัย KM การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แนวคิดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้แพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจาก คณะฯ ส่งนักศึกษาไปฝึก ที่ภาคปฏิบัติเกือบ 20 ปีและมเครี ือข่ายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ตามแผนภูมิ)


NSKnowledge Management [14] กระบวนการดําเนินงาน มีดังนี้ - ศึกษาเชิงลึกฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว สถานบริการสุขภาพ การแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา - ใช้ Application: smart mapping ในการใช้บริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ - การพัฒนาศักยภาพแพทย์แผนไทยให้มีแนวคิดเกี่ยวกับระบบบริการแพทย์แผนไทยแนวใหม่ ผ่านภูมิปัญญาไทย และ บทบาทพยาบาลในการใช้แพทย์แผนไทย - การปรับโครงสร้างทางกายภาพและระบบบริการแพทย์แผนไทยให้สะอาด ทันสมัย เทียบเท่า สากล และจัดทําศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น - การพัฒนาศักยภาพ ผู้สูงอายุ - มีภาคีเครือข่าย และรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทย - ข้อมูลข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ที่ผู้บริหารจังหวัดและการท่องเที่ยว จังหวัดพร้อมนําประโยชน์ไปใช้ได้ประชาสัมพันธ์บริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพฯ ในวงกว้าง และเพิ่มเครือข่ายในการดําเนินงานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพฯ - จัดประชุมเชิงนโยบาย โดยเชิญผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง - การสัมภาษณ์เชิงลึกปราชญ์ชาวบ้านกําลังจัดทํา Smart mapping - ประชุมผู้สูงอายุ


NSKnowledge Management [15] - ประชุมแพทย์แผนไทย - focus group กลุ่มแพทย์แผนไทย ได้แนวทางการพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทย และศูนย์ การเรียนรู้และ แผนการดําเนินงานวิจัย - focus group กลุ่มผู้สูงอายุได้แนวทางการพัฒนาพฤฒิพลัง - Focus group เครือข่ายได้แนวทางการจัดโปรแกรมทัวร์เพื่อสุขภาพ - การสื่อสารเชิงนโยบาย ได้เข้าพบอธิบดีแพทย์แผนไทยนําเสนอผลการศึกษา ปัญหา และอุปสรรคในการดําเนินการ เนื่องจากต้องเดินทางไปทําโครงการที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงมีอุปสรรคในเรื่องเวลา ซึ่งอาจารย์ ต้องสอนในวันจันทร์-วันศุกร์การติดต่อประสานงานต่างๆ ต้องดําเนินการในวันราชการ อาจารย์จึงต้องลางาน เพื่อไปติดต่อประสานงานเท่าที่จําเป็น มีทีมวิจัยที่เข้าใจ ช่วยเหลือ เอื้อกัน ประกอบกับทางพื้นที่ทําวิจัยจังหวัด พระนครศรีอยุธยาให้ความร่วมมืออย่างดีในทุกๆ เรื่อง แนะนําการขอทุน รศ.ดร.รักชนก ไม่คาดหวังว่าจะได้ทุน ในการขอทุนวิจัย ได้รับการกระตุ้นจากเจ้าหน้าที่งานส่งเสริม และพัฒนางานวิจัย ซึ่งมีผลถึง 30% โครงการแรกจากการขอทุนภายในคณะฯ คือ ทุน CMB ของคณะฯ จํานวน 30,000 บาท โครงการต่อมาขอทุนจากมหาวิทยาลัยในโครงการนักวิจัยรุ่นใหม่ทุนวิจัย จํานวน 200,000 บาท และขอทุนจากภายนอกคือ ทุนจากสํานักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) จํานวน 1,000,000 บาท และแหล่งทุนอื่นๆ โดยทุนวิจัยที่ได้รับสูงสุดคือ 30,000,000 บาท รศ.ดร.รักชนก จัดทําโครงการ โดยมีโครงการย่อยๆ ดึงอาจารย์ในภาควิชาร่วมกันทําวิจัย เพื่อเป็นการ สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ คําแนะนําในการเขียนโครงการ ให้เขียนจากทฤษฎี/เรื่องที่สนใจ และทําให้ลึกเรื่องเดียวเลย เขียนโครงร่างวิจัย ให้ผู้อ่านๆ แล้วทราบเลยว่าอยากได้อะไร กระทบต่อประเทศชาติอย่างไร เช่น คํานวณ ออกมาเป็นจํานวนเงิน เพิ่มรายได้ 10% หรือเพิ่มรายได้เข้าประเทศกี่บาทใน 1 ปี รศ.ดร.รักชนก ให้กําลังใจผู้ที่จะขอทุนวิจัย หรือนักวิจัยรุ่นใหม่ว่า ในการขอทุนครั้งแรกๆ ไม่ได้ไม่ เป็นไร ให้ทําต่อไป มีคําพูดฝากไว้ว่า “เป็นน้ําเต็มแก้วได้แต่ต้องเปลี่ยนแก้ว”


NSKnowledge Management [16] ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พวงเพชร เกษรสมุทร หัวหน้าภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ ดําเนินโครงการ 1. โครงการวิจัย “การพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตใน เด็กและวัยรุ่น” ทุนงบประมาณแผนบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม จากสํานักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) (1 แผนงาน: 3 โครงการย่อย) ปีงบประมาณ 2562 2. โครงการวิจัย “การพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตใน เด็กและวัยรุ่น” ปี 2563 (ต่อเนื่องจากแผนงานเดิม) เสนอของบประมาณด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม งบประมาณปี 2563 จํานวน 1 โครงการย่อย ปีงบประมาณ 2564 จํานวน 1 ชุดโครงการ (10 โครงการย่อย) เสนอของบประมาณด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2564 จํานวน 1 โครงการย่อย เสนอของบประมาณบูรณาการบริการวิชาการ ปี 2564 จํานวน 1 โครงการ และเสนอของบประมาณ Flagship 3. โครงการวิจัย “การพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันภาวะซึมเศร้าของ ผู้สูงอายุ” ในชุดโครงการ “การบริหารจัดการองค์รวมเพื่อผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมในการเพิ่มผลผลิตให้ สังคม” ปีงบประมาณ 2563 4. ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ในประชากรทุกช่วงวัย เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข”เสนอของบประมาณด้านวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2564 Submit 30 พ.ย. 62 10 โครงการย่อย 5. โครงการวิจัย “การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของ ผู้สูงอายุโครงการย่อย ในชุดโครงการของ รศ.ดร. ยุพา จิ๋วพัฒนกุล เสนอของบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2564 6. แผนบูรณาการฯ “ระบบส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุแบบ บูรณาการโดยชุมชนมีส่วนร่วม” เสนอของบแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2564 ปรับแผนงานส่งกรมกิจการผู้สูงอายุ จุดเริ่มต้นของการทําโครงการวิจัย เริ่มจากการให้บริการวิชาการในปี 2560 ได้แรงบันดาลใจจาก รศ.ดร.ฟองคํา ติลกสกุลชัย ท่านบอก ว่า ทําแต่บริการวิชาการให้นําวิจัยมาจับ ดังนั้น ในปี 2560 ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ จึงนําการบริการวิชาการมาบูรณาการกับงานวิจัย โดยเริ่มจาก รศ.ดร.นพพร ขอทุน CMB เป็นการทําวิจัย เกี่ยวกับจิตใจของเด็กใน 3 โรงเรียน ซึ่งก่อนหน้านั้น ผศ.ดร.วารีรัตน์ได้ทํางานวิจัยร่วมกับอาจารย์พยาบาลที่ ประเทศสิงคโปร์ภาควิชาได้ทํา workshop กับมหาวิทยาลัยในประเทศแคนนาดา เห็นว่างานวิจัยของภาคฯ กระจัดกระจาย พบว่างานวิจัยที่ดําเนินการอยู่ใน Theme ของ Promote Psychological Well Being across Life Span (รายละเอียดตามแผนภูมิ)


NSKnowledge Management [17] กระบวนการดําเนนงานิมดีังนี้ ดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนโยบายและแผนยุทธศาสตร์อววน.เพื่อการพัฒนาการวิจัยและ สร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม โดยดําเนินการตาม platform 2 การวิจัยและสร้าง นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม P8 สังคมผู้สูงวัย


NSKnowledge Management [18] การเขียนรายงานการวิจัย กรณีโครงการต่อเนื่องหลายปีผู้ให้ทุนจะจ่ายเงินทุนให้ปีละครั้ง รายงานผล ทุก 6 เดือน อาจารย์มีคําแนะนําว่า ควรรายงานผลถึงการดําเนินงานถัดไป ต้องเขียนถึงวิธีแก้ไขในเรื่องนั้นๆ อย่างไร ปัญหาที่มีจะดําเนินการอย่างไร เพื่อให้งานวิจัยบรรลุเป้าหมายตามที่สัญญาไว้ กรณีทุนวิจัย 1 ปีสามารถขยายเวลาไปยังเจ้าของทุนได้ 6 เดือน จํานวน 2 ครั้ง ขึ้นอยู่ว่าเจ้าของทุน จะให้หรือไม่ (งานวิจัย 1 ปีสามารถดําเนินการได้ 2 ปี) ผศ.ดร.พวงเพชร เสนอให้งานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย support และให้บริการผู้ทําวิจัยในการให้ คําปรึกษากับนักวิจัยมือใหม่ ปัญหา และอุปสรรคในการดําเนินการ เมื่อแหล่งทุนประกาศว่าได้รับทุน แหล่งทุนจะให้กลับมาปรับงบประมาณ เช่น จากที่ขอไป 10 ล้านบาท ให้ปรับเหลือ 5 ล้านบาท วิธีการแก้ไข คือ เมื่อทราบว่าถูกตัดงบ ต้องกลับมาพิจารณาค่าใช้จ่ายแต่ละเรื่องว่าจะปรับอะไร ซึ่งอาจต้องปรับตัวชี้วัด โดยต้องทําเรื่องถึงแหล่งทุนให้ทราบ ข้อเสนอแนะในการขอทุนวิจัย - รู้เขา เข้าใจเขา : ศึกษากรอบ/เกณฑ์/กติกา ฯลฯ - สร้างผัน สานผัน เดินตามฝัน : หาจุดสนใจ ตั้งเจตนา ลงมือทํา เกาะติดลงลึก ขยายผล “เอื้อเฟื้อ ผู้อื่น คือ เอื้อเฟื้อตนเอง” - หล่อเลี้ยงใจ : ตนเอง/ทีม/กัลยาณมิตร/ผู้ร่วมเดินทาง - ให้โอกาสผู้อื่นร่วมสานฝัน ผศ.ดร.พวงเพชร ให้ข้อเสนอแนะอีกว่า งานวิจัยที่มีกรอบภายนอกใหญ่ทําให้เราต้องทําใหญ่การทํา ใหญ่ต้องหาพันธมิตรเพิ่ม


NSKnowledge Management [19] เรื่องที่ 3 ถอดบทเรียน “บรการวิ ิชาการโครงการการสร้างเสริมสุขภาวะสามเณรโรงเรียนวัดกฤษณเวฬุ พุทธาราม (วดไผ ั ่ดํา) จังหวดสั ิงห์บรุีของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวทยาลิ ัยมหิดล” รศ.ดร.สมสริิรุ่งอมรรัตน์คุณอํานวย ผศ.ดร.จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์รศ.ดร.วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์ผศ.ดร.วไลลักษณ์พุ่มพวง อ.ดร.ณัฐมา ทองธีรธรรม อ.ชลธิดา ลาดีนายพรพหม แกวสุ้วรรณ น.ส.กุลจิราณฏฐั ์แสนหลวง คุณกิจ รศ.ดร.สมสิริรงอมรรุ่ ัตน์นางนภัสสร ลาภณรงค์ชัย และ นางสาวดารานิตย์กิ่งวัน คุณลขิิต จากการจัดกิจกรรมโครงการการสร้างเสริมสุขภาวะสามเณรโรงเรียนวัดกฤษณเวฬุพุทธาราม (วัดไผ่ดํา) จังหวัดสิงห์บุรีที่ผ่านมา คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดําเนินการตั้งแต่ปีพ.ศ.2546 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2563 เป็นเวลา 17 ปีโดยมีศูนย์บริการวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับคณะกรรมการบริการวิชาการและบริหารการศึกษาต่อเนื่อง คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้มีส่วนร่วมทํากิจกรรมฯ ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนี้ดังนั้น เพื่อให้ทราบว่า การดําเนินงานที่ ผ่านมาได้ผลอย่างไร เรียนรู้อะไรจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้สร้างความรู้อะไรให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งได้ ให้ความรู้ใดในการดําเนินงานไปแล้วบ้าง เพื่อจะได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดําเนินงานให้กับ คณะทํางานโครงการฯ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อันจะนําไปสู่กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาการทํางาน ร่วมกันต่อไปในอนาคต ดังนั้น จึงได้มีการจัดกิจกรรมการถอดบทเรียนนี้ขึ้น จากการสนทนากลุ่มคณะทํางานฯ สามารถถอดบทเรียนการดําเนินงานได้ดังนี้ ระยะที่ 1 สร้างความไว้วางใจ ในช่วงแรก ได้รับการติดต่อจากคุณหญิงกรกฎ มีเพียร ผู้เป็นกรรมการมูลนิธิสิรินธร ที่รับผิดชอบ ดูแลสามเณรวัดไผ่ดําและเป็นศิษย์เก่าคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เชิญ รศ.ดร.กอบกุล พันธุ์เจริญวรกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลในสมัยนั้น เข้าปรึกษาหารือแนวทางการจัด กิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพสามเณร ณ วัดไผ่ดํา เนื่องจากคณะพยาบาลศาสตร์เป็นสถาบันชั้นนําทางการ พยาบาลของไทย มีผู้เชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพ รศ.ดร.กอบกุลจึงหาตัวแทนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นกรรมการบริการวิชาการของแต่ละภาควิชาฯ และกรรมการจากมูลนิธิคณะพยาบาลศาสตร์โดยใน ระยะแรกบุคลากรที่เข้าไปเริ่มจากการประเมินสถานการณ์พบว่า สามเณรมีหิด เกลื้อน หิดเกลื้อน มีห้อง พยาบาล มีเจ้าหน้าที่ดูแล 2-3 คน ซึ่งดูแลไม่ทุกถึง จึงวางแผนจัดกิจกรรมตรวจสายตา สอนความสะอาด สอนล้างมือ แปรงฟัน การดูแลจีวร ที่นอน โดยเข้าไปปีละ 1 ครั้ง และพบว่าสามเณรส่วนใหญ่ให้ความไว้วางใจ ให้ข้อมูลที่เป็นจริง และกล้าที่จะปรึกษากับคณะทํางานฯ จนทําให้คณะทํางานฯ ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน


NSKnowledge Management [20] และนอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากทีมงานของวัดไผ่ดํา คือ การเปิดรับฟังในสิ่งที่ทางคณะทํางานฯ ให้ ข้อมูล ตระหนักถึงความสําคัญ และดําเนินการต่อยอดได้ดี ซึ่งการประเมินผลการดําเนินงานในช่วงแรก สะท้อนให้เห็นภาพของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตาม อาการที่พบของสามเณร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการทางกาย และมีลักษณะของกิจกรรมคล้ายเดิม เช่น การสอน การสาธิต ในขณะที่ผู้ดูแลวัดและสามเณรส่วนใหญ่พึงพอใจกับการจัดกิจกรรม ระยะที่ 2 ทําให้ครบวงจร เมื่อประเมินผลต่อเนื่องทุกปีพบว่า มีประเด็นสุขภาพอื่นๆ ของสามเณรที่เป็นปัญหา เช่น ปัญหา สุขภาพใจ ปัญหาสุขภาพฟัน ทําให้กรรมการที่รับผิดชอบทบทวนและวางแผนการจัดกิจกรรมใหม่ โดยให้ ภาควิชาสุขภาพจิตฯ รับผิดชอบดูแลเรื่องสุขภาพใจ กรรมการจึงวางแผนไปประเมินกับผู้เกี่ยวข้องของวัดไผ่ดํา ล่วงหน้า โดยสอบถามจากหลวงพ่อและให้สามเณรเขียนปัญหา นําหัวข้อกลับมาคัดกรอง สร้างกิจกรรม และ วางรูปแบบ จากการประเมินพบว่า สามเณรมีความเครียด ซึมเศร้า จึงวางแผนให้คําปรึกษา ในรายที่มีต้องการ และประสานกับหน่วยงานภายนอก ในกรณีที่ต้องการการรักษาด้วยยา รวมถึงทําแฟ้มประวัติเพื่อติดตามอย่าง ต่อเนื่อง รวมถึงประสานความร่วมมือไปยังคณะทันตแพทยศาสตร์ (หน่วยทันตกรรมพระราชทาน) ที่ให้การ สนับสนุนในเรื่องการทําฟันของสามเณรฯ จึงทําให้อํานวยความสะดวกได้อย่างรวดเร็ว และให้การรักษาเพื่อให้ มีสุขภาพฟันที่ดีนอกจากนี้ยังมีการประสานความร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรีเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมใน การดูแลสุขภาพของสามเณรร่วมกัน และยังกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทางอ้อม ได้แก่การจัดการพื้นที่ในบริเวณ วัด ให้ปลูกผักสวนครัว และนําไปใช้ในการประกอบอาหารของสามเณรในวัดได้และยังเป็นการส่งเสริมให้ สามเณรได้ออกกําลังกายในการทํากิจกรรมดูแลแปลงผัก นอกจากนี้ในช่วง COVID-19 มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการของสามเณร และผู้ดูแลวัด โดยจัดกิจกรรมโดยการสอนออนไลน์เรื่องไข้เลือดออก เพราะสามเณรมีเจ็บป่วยเป็น ไข้เลือดออกทุกปีด้วยพื้นที่ของวัดไผ่ดํามีความเสี่ยง ปัญหาและอุปสรรค 1. การดําเนินกิจกรรมไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปีทําให้บางปัญหาไม่ได้รับการส่งเสริมต่อเนื่อง 2. บทบาทร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องยังน้อย ควรให้ครูด้านสุขภาพของทางโรงเรียนมีบทบาทหน้าที่ที่ ชัดเจนมากกว่านี้ 3. ขาดการสร้างความยั่งยืนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสามเณรเพื่อให้ดูแลตนเองต่อไปได้เช่น การสร้างแกนนํา เมื่อมีสามเณรกลุ่มใหม่เข้ามาทําให้ต้องจัดกิจกรรมเดิมต่อเนื่อง


NSKnowledge Management [21] ในประเด็นสิ่งที่ได้เรียนรู้และเป็นประโยชน์ของการจัดกิจกรรมโครงการการสร้างเสริมสุขภาวะ สามเณรโรงเรียนวัดกฤษณเวฬุพุทธาราม (วัดไผ่ดํา) จังหวัดสิงห์บุรีได้รับรู้ถึงการทํางานของคณะทํางาน ที่ลงพื้นที่จริง สามารถนําประเด็นปัญหาที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้มาปรับปรุงกระบวนการทํางานให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


NSKnowledge Management [22] 2. การจัดการความรู้จากภาควิชา 2.1 ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ถอดบทเรียน “การจัดการเรยนการสอนในว ี ิชาทฤษฎีสําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ให้มประส ี ิทธิภาพ” ครั้งที่ 1/2563 รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, รศ.ดร.อาภาวรรณ หนูคง, อาจารย์ภัทรนุช ภูมิพาน วิทยากร อาจารย์สาธิมา สุระธรรม, รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ผลู้ิขิต สืบเนื่องจากในภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล มีการจัดการเรียนการสอนในวิชาทฤษฎีสําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในหลักสูตรระดับ ปริญญาตรีดังนั้น เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนักศึกษาเกิดการ เรียนรู้สูงสุด ภาควิชาฯ จึงได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “การจัดการเรียนการสอนในวิชาทฤษฎี สําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ” เมื่อวันพุธที่ 25 มีนาคม 2563 เวลา 12.-30-13.30 น. ณ ห้องประชุม 1103/1-2 และระบบ Online: Microsoft Teams โดยมีรองศาสตราจารย์.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์รองศาสตราจารย์ดร.อาภาวรรณ หนูคง และ อาจารย์ภัทรนุช ภูมิพาน เป็นวิทยากร ในการนําเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนใน 2 หัวข้อ วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สําหรับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ดังนี้ 1. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือด (รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์) - บรรยายแบบมีส่วนร่วม: คลิป VDO - Quiz 8 ข้อ แบบถูก/ผิด (ภายหลังการบรรยาย เก็บ 2 คะแนน มีการเฉลยข้อสอบ) - ทํากลุ่มสถานการณ์ตัวอย่าง ให้นักศึกษาออกมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน รวมทั้งในวิชาวิจัยทางการพยาบาลและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์สําหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 2. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบหายใจ (รศ.ดร.อาภาวรรณ หนูคง และอาจารย์ภัทรนุช ภูมิพาน) - บรรยายแบบมีส่วนร่วม - ฐานกิจกรรมการเรียนรู้ - ทํากลุ่มสถานการณ์ตัวอย่าง ในการนําเสวนา วิทยากรทั้ง 3 คนได้นําเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาทฤษฎี สําหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ทั้งชั้นปีที่ 2 และ 3 เช่น การสอนบรรยายแบบมีส่วนร่วม การอภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษา Quiz การเรียนแบบกลุ่มย่อย e-lecture ฐานการเรียนรู้ (รายละเอียด การสอนในแต่ละหัวข้อตามเอกสารแนบ) และเสนอแนวทางใหม่ที่คาดหวังว่าจะจัดการเรียนการสอน เช่น


NSKnowledge Management [23] การสอนบรรยายแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบกลุ่มผ่าน case study และนําเสนอโดยใช้ Concept mapping และ Care mapping และการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม “ตลาดนัดความรู้” เป็นต้น คณาจารย์ในภาควิชาฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างหลากหลายทั้งในเรื่องรูปแบบการจัดการ เรียนการสอน และ e-learning และมีการได้เสนอแนะร่วมกันว่า ควรจะเตรียมการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ fi นํา PowerPoint Slides แขวนใน e-learning ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ fi มีเอกสารประกอบการสอน ประมาณ 8 หน้า fi มี video clip เช่น โรค/ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด การไหลเวียนที่สําคัญ หรือ link ไป สืบค้นได้ fi มีตัวอย่างกรณีศึกษา และเฉลยสั้นๆ พร้อมเหตุผล fi มีตัวอย่างข้อสอบในรูปแบบของ Google form ให้นักศึกษาลองทําด้วยตนเอง fi มีการโต้ตอบ หรือถามคําถามอย่างน้อยกลุ่มละ 2 คําถาม (กําหนดภายใน 1 สัปดาห์หลังเรียน) ส่งให้ อาจารย์ทาง e-learning/line หรือช่องทางที่นักศึกษาทั้งกลุ่มใหญ่รับทราบร่วมกัน สําหรับการสอน อาจจะการสอนบรรยาย ด้วย PowerPoint มี Video clip อุบัติการณ์ ความผิดปกติ/โรค หัตถการ แนวทางการรักษา การพยาบาล (สอดแทรกระหว่างการสอนบรรยาย หรือต่อท้าย การบรรยาย) Quiz (เก็บคะแนน-รายบุคคล 2 คะแนน) ส่วนฐานการเรียนรู้ควรภายหลังการสอนบรรยาย หรือการแข่งขันการตอบคําถามระหว่างกลุ่ม ภายในชั้นเรียน มีรางวัล หรือคะแนนเก็บทดแทนการทําอภิปราย กลุ่มย่อย ในช่วงท้ายของการเสวนา คณาจารย์ในภาควิชาฯ มีมติเห็นพร้องต้องกันว่าควรจะมีปรับการจัดการ เรียนการสอนในแนวทางใหม่ที่น่าจะมีประประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้มีอาจารย์อาสาสมัครจํานวน 5 คน ที่จะปรับการจัดการเรียนการสอนสําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2562 นี้ได้แก่รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ ผศ.ดร.อรุณรัตน์ศรีจันทรนิตย์รศ.ดร.อาภาวรรณ หนูคง อ.กาญจนา ครองธรรมชาติและอ.ภัทรนุช ภูมิพาน ซึ่งมีการติดตามผลในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม 2563 และวางแผนจะประเมินผลในเดือนเมษายน 2563 คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ให้ข้อคิดเห็นว่ามีประโยชน์ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอน สําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ที่น่าสนใจมาก เสนอแนะให้จัดเสวนาในหัวข้อนี้อีก ให้มีความหลากหลาย (วิธีการ/ เทคนิคการสอน) และต่อเนื่องต่อไป และควรมีการติดตามประเมินผลการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่ามีการ ขยายผลไปยังหัวข้อการสอนอื่นๆ ในวิชาทฤษฎีมากน้อยแค่ไหน และทํา PDCA ในเรื่องนี้อีก 1 วงรอบ


NSKnowledge Management [24] ถอดบทเรียน “ประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ใหความร้เบาหวานู้ (Certified Diabetes Educator) และการประยุกต์ใชในการเร ้ ียนการสอน” ครั้งที่2/2563 อาจารย์สาธิมา สุระธรรม วทยากริ รองศาสตราจารย์ดร.วนิดา เสนะสุทธิ์พันธุ์ผู้ลขิิต ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “ประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ให้ความรู้เบาหวาน (Certified Diabetes Educator) และการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน” เมื่อวันพุธที่ 22 เมษายน 2563 เวลา 13.00-13.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams โดยมีอาจารย์สาธิมา สุระธรรม เป็นวิทยากร อาจารย์สาธิมา สุระธรรม วิทยากร ได้นําเข้าสู่กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยกล่าวถึงหลักสูตร หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ให้ความรู้เบาหวาน (Certified Diabetes Educator) มีระยะเวลา 1 ปีที่เน้นให้ ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริง คือฝึกปฏิบัติเป็นผู้ให้ความรู้เรื่องเบาหวาน/ให้คําแนะนํา ไม่ใช่ผู้สอน (Heath educator) มุ่งหวังให้เป็น Coaching หรือ Diabetes Educator มากกว่า Patient Educator หรือ Heath Educator รับผู้เรียนจากสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์เช่นแพทย์พยาบาล นักโภชนาการ เภสัชกร หรือบุคล ที่สนใจหรือเกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติได้แนะนํา/สื่อสารให้ผู้ป่วยเบาหวานเป็น รายบุคคล ให้มีทักษะในการจัดการตนเองได้สามารถโน้มนาวผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ปฏิบัติดูแลตนเองให้ ถูกต้อง และเหมาะสม กล่าวคือ การสื่อสารที่ดีคือ กุญแจ นําไปสู่การให้ความรู้ที่ดีโดยเนื้อหาประมาณ 2/3 ของหลักสูตรเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการปฏิบัติ การเปรียบเทียบ Educator 3 กลุ่ม fi Heath educator (ผู้สอน) fi Patient educator (ผู้เรียน) fi Diabetes educator (เรื่องที่สอน) คุณสมบัติของ “Diabetes Health Educator” fi ได้รับปริญญาในสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์เช่นแพทย์พยาบาล นักโภชนาการ เภสัชกร หรือ บุคคลที่สนใจหรือเกี่ยวข้อง fi มีประสบการณ์ทางคลินิก/การปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวาน/การดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างน้อย 2 ปี fi ได้รับประกาศนียบัตร Certified Diabetes Educator (C.D.E) fi เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง และฝึกปฏิบัติเพื่อต่ออายุประกาศนียบัตร (มีบันทึกการทํางานที่ศูนย์ เบาหวาน โรงพยาบาลศิริราช)


NSKnowledge Management [25] หลักสูตรระยะเวลา 1 ปีดังนี้ ภาคการศึกษาที่ 1 (4 เดือน) fi เรียนทฤษฏี 6 modules (25%) - Module 1: Advance knowledge in diabetes - Module 2: Teaching and learning method for diabetes selfmanagement/Psychosocial approach - Module 3: Advance nutrition for diabetes self-management - Module 4: Diabetes complication - Module 5: Diabetes in special population and special situation>>>T1DM - Module 6: Research methodology, alternative medicine and community awareness fi Workshop role-play (20%) ภาคการศึกษาที่ 2 (7 เดือน) fi ฝึกปฏิบัติตามแนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคเบาหวาน (Diabetes Self Management Education: DSME) ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จํานวน 4 ราย ด้วยตนเอง ในหน่วยงานต้นสังกัด นําเสนอ อภิปรายผู้ป่วยรายกรณีและเขียนรายงาน (25%) fi นําเสนอนวัตกรรมหรือโครงการวิจัย (15%) fi สอบปากเปล่า (15%) Teaching and learning method: - Communication in education, medical counseling, FAIR principles, health literacy, MI, mindfulness, เทคโนโลยีสื่อการสอน, ฯลฯ -Stage of change: Change process -Smart CDE การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้สรุปได้ดังนี้ 1. การเรียนรู้จากหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ให้ความรู้เบาหวาน รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ในภาคทฤษฎี: ความรู้เรียน 6 modules เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย การทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับกลไกพยาธิสรีรภาพของเบาหวาน ชนิดที่ 1 บทบาทของแต่ละ สหสาขาวิชาชีพที่เฉพาะเจาะจง รวมทั้ง Advanced nutrition รวมทั้งเบาหวาน ชนิดที่ 1 ในเด็ก ภาคปฏิบัติ: เรียนรู้ผ่านกิจกรรม Workshop และ Role play ศึกษาดูงานในคลินิกที่เกี่ยวข้อง ศึกษา ให้คําแนะนํา สําหรับผู้ป่วยเบาหวานจํานวน 4 ราย นําเสนอ อภิปราย และเขียนรายงาน


NSKnowledge Management [26] วิธีการเรียนการสอน เป็น Active learning (การสอนบรรยาย มี Active video) Workshop, Role playการนําเสนอ การอภิปรายกลุ่ม และการฝึกปฏิบัติจริง สื่อการสอน ประกอบด้วย Interactive tools เป็นสื่อให้ความรู้และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ต่างๆ มีโจทย์ให้ผู้เรียน คือให้ปฏิบัติตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย (กรณีศึกษา) สื่อที่ใช้สอนมีความหลากหลาย เช่น Active video ภาพเคลื่อนไหว การวัดประเมินผล มีความหลากหลาย เช่น สอบทฤษฎี (25%) workshop (20%) การให้ DSME 4 ราย รายงาน (25%) นวัตกรรม (15%) สอบปากเปล่า (15%) 2. แนวทางในการนําไปประยุกต์ในการสอนทฤษฎี/ปฏิบัติ/นวัตกรรม/การศึกษาวิจัย คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน และการ ประเมินผล รวมทั้งมีการอภิปราย ซักถาม ได้ให้ข้อคิดเห็นว่ามีประโยชน์และควรมีการจัดกิจกรรมเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการนําความรู้เกี่ยวกับเบาหวานที่ได้รับจากหลักสูตรนี้ไปใช้/ประยุกต์ในการ จัดการเรียนการสอน เช่น มีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย การพัฒนานวัตกรรมในการสอน สืบต่อ จาก Interactive tools การเพิ่มพูนความรู้และความก้าวหน้าทางการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบัน โดยการไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลศิริราช ตลอดจนการวัดผลที่หลากหลายวิธีทําให้ สามารถวัดผลได้ครอบคลุม และตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งสามารถนําไปประยุกต์ใช้วัดประเมินผลใน วิชาทฤษฎีและปฏิบัติทั้งในหลักสูตรระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา รวมทั้งบ่มเพาะ ทําความเข้าใจ ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้ป่วยเด็กเบาหวานและครอบครัวต่อไป โดยสรุป คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้คาดว่า สามารถนําไปปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอน ในหลักสูตรต่าง ๆ ของภาควิชาฯ ที่หลากหลาย น่าสนใจ เชื่อมโยงให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริง รวมทั้งการ พัฒนานวัตกรรมทางการสอน และพัฒนางานวิจัยต่อไป


NSKnowledge Management [27] ถอดบทเรียน “การติดตามประเมนผลการจิ ัดการเรียนการสอนสาหรํบนั ักศึกษากลมใหญ ุ่ ่ ในวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นชนปั้ีที่ 3 กลุ่ม 2.1 และ 2.2” ครั้งที่ 3/2563 รองศาสตราจารย์ดร.วนิดา เสนะสุทธิ์พันธุ์รองศาสตราจารย์ดร.อาภาวรรณ หนูคง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.อรุณรัตน์ศรีจันทรนิตย์อาจารย์กาญจนานา ครองธรรมชาติ และอาจารย์ดร.ภัทรนุช ภูมิพาน วิทยากร อาจารย์สาธิมา สุระธรรม รองศาสตราจารย์ดร.วนิดา เสนะสุทธิ์พันธุ์ผลู้ิขิต สืบเนื่องจากแผนการจัดกิจกรรม KM ของภาควิชาฯ ในปีงบประมาณ 2563 นั้นได้มีการจัดกิจกรรม ให้สอดคล้องกับกิจกรรมจัดการความรู้ในระดับคณะฯ เรื่อง “การจัดการเรียนการสอนในวิชาทฤษฎีสําหรับ นักศึกษากลุ่มใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ” และในภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ได้เริ่มการจัดกิจกรรมการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1/2563 ในหัวข้อ “การจัดการเรียนการสอนในวิชาทฤษฎีสําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ ให้มีประสิทธิภาพ” โดยมีรศ. ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์รศ. ดร.อาภาวรรณ หนูคง และ อ.ดร.ภัทรนุช ภูมิพาน เป็นวิทยากรในการนําเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนในหัวข้อ การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มี ปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือด และ การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบหายใจ ตามลําดับ ทั้งนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างหลากหลายในเรื่องรูปแบบการจัดการเรียนการสอน พร้อมกันนี้มีอาจารย์อาสาสมัครจํานวน 5 คน ที่จะปรับการจัดการเรียนการสอนสําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ ใน ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2562 นี้ได้แก่รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ ผศ.ดร.อรุณรัตน์ศรีจันทรนิตย์ รศ.ดร.อาภาวรรณ หนูคง อ.กาญจนา ครองธรรมชาติและ อ.ดร.ภัทรนุช ภูมิพาน สําหรับครั้งนี้เป็นการติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนสําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ในวิชาการ พยาบาลเด็กและวัยรุ่นชั้นปีที่ 3 กลุ่ม 2.1 และ 2.2 ใน 4 หัวข้อ ของวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สําหรับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้แก่การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือด Family- Centered Care, Holistic Care and Psychosocial Care การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบหายใจ และการ พยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบโลหิตวิทยาและมะเร็ง ซึ่งสรุปผลการประเมินมีรายละเอียดตาม เอกสารแนบท้าย คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ให้ข้อคิดเห็นที่หลากหลายและข้อสรุปของจัดการเรียนการสอนสําหรบั นักศึกษากลุ่มใหญ่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยคํานึงถึงการจัดทําสื่อและวิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น การจัดทําเป็นคลิปวิดีโอ นํากรณีศึกษาจริงมาเล่าหรืออภิปรายให้นักศึกษาฟัง ร่วมทั้งการ quiz เพื่อเป็น การประเมินความรู้ความเข้าใจในแต่ละหัวข้อ นอกจากนี้ควรมีการเฉลยและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้อภิปราย ในท้ายชั่วโมงที่สอน เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจในส่วนของเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น สําหรับการสอนออนไลน์ใน นักศึกษากลุ่มใหญ่ควรทําจัดสื่อให้น่าสนใจ มีทั้งคําบรรยายและคลิปประกอบการสอน และแบ่งวิดีโอการสอน


NSKnowledge Management [28] ออกเป็นคลิปสั้นๆ ประมาณ 30-40 นาทีเพื่อไม่ให้นักศึกษาเบื่อ ทั้งนี้ระหว่างการสอน live สด อาจสุ่มเรียกชื่อนักศึกษาเพื่อตอบคําถาม เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมช่วงการเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน


NSKnowledge Management [29] 2.2 ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน ถอดบทเรียน “Overview: การจัดการเรียนการสอนรายวิชาทฤษฎีในนักศึกษากลุ่มใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ” ครั้งที่ 1/2563 รองศาสตราจารย์พัสมณฑ์คมทวุ้ ีพร ผนู้ ํากจกรรมิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย คณอุํานวย ผู้ช่วยอาจารย์อารียา ประเสริฐสังข์ผลู้ิขิต ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “Overview: การจัดการเรียน การสอนรายวิชาทฤษฎีในนักศึกษากลุ่มใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ” โดย รองศาสตราจารย์พัสมณฑ์คุ้มทวีพร ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้อง 305 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล เป็นประเด็นท้าทายและน่าสนใจ สําหรับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทฤษฎีในนักศึกษากลุ่มใหญ่ให้มีประสิทธิภาพของภาควิชา การพยาบาลรากฐาน เนื่องจากรายวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาลมุ่งเน้นความรู้ความเข้าใจ หลักการและ วิธีการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลขั้นพื้นฐาน จึงทําให้มีรายละเอียดเนื้อหามาก ประกอบกับจัดการเรียน การสอนเนื้อหาทฤษฎีต่างๆ ที่ผ่านมาเป็นแบบบรรยายและอภิปรายกลุ่มในนักศึกษากลุ่มใหญ่นักศึกษาให้ ความสนใจน้อย และขาดการมีส่วนร่วม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเข้ามาฝึกปฏิบัติที่ศูนย์การเรียนรู้ทางการ พยาบาล (Learning Resources Center) ดั้งนั้น จึงควรมีการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะพื้นฐาน ทางการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนเป็นแบบ Active Learning ให้นักศึกษา มีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น มีข้อดีคือ สามารถกระตุ้นความสนใจของนักศึกษาในการทําความเข้าใจเนื้อหา การเรียน และทําให้นักศึกษาจดจําและนําประยุกต์ใช้ได้ดีขึ้น ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนให้เป็นแบบ Active Learning มีหลายรูปแบบ เช่น การจัดการเรียน การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) การจัดการเรียนการสอนแบบทีม (Team Based Learning) และการจัดการเรียนการโดยใช้รูปแบบเกมส์ (Game - Based Learning) เป็นต้น การจัดการ เรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าวมีข้อดีคือ สามารถกระตุ้นความสนใจในการเรียนของนักศึกษา ทําให้ นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากขึ้น นอกจากนี้การศึกษานําร่องเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาพยาบาลระหว่างการสอนแบบบรรยายและการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้ทีมในรายวิชาทักษะ พื้นฐานทางการการพยาบาล พบว่า นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้ทีม มีค่าเฉลี่ยคะแนนสอบ ไม่แตกต่างจากนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยาย แต่ทําให้นักศึกษารู้สึกสนุกสนานกับการเรียน พึงพอใจ ต่อการมีส่วนร่วมในการเรียน การทํางานเป็นทีม และมีความรับผิดชอบต่อการเรียนมากขึ้น (ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน, เสาวลักษณ์สุขพัฒนศรีกุล, และวิภาวีหม้ายพิมาย, 2558) เช่นเดียวกับการสอนโดยใช้รูปแบบเกมส์


NSKnowledge Management [30] ที่จัดเป็นเล่นเกมแข่งขันตอบคําถาม สอดแทรกระหว่างการสอนเป็นระยะ และมีการอธิบายให้เหตุผลเฉลย คําตอบที่ถูกต้องช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าว อาจารย์ ควรมอบหมายให้นักศึกษาอ่านหนังสือ ดูวิดีโอ จาก E-Learning ก่อนมาเข้าชั้นเรียน จะสามารถดําเนินการ สอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ใช้เวลาในการสอนน้อยลง เป็นการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไร ก็ตาม ข้อถกเถียงในด้านหัวข้อการเรียนการสอนที่มีเนื้อหารายละเอียดค่อนข้างมาก มีส่วนที่ต้องให้ ความสําคัญ จําเป็นต้องลงรายละเอียดมาก มีข้อจํากัดเมื่อจัดกิจกรรม เช่น การให้นักศึกษาตอบคําถามและ อภิปราย อาจารย์จําเป็นต้องใช้เวลาในการเฉลยคําตอบ อธิบายให้เหตุผล ประกอบกับการสรุปเนื้อหา ทําให้ใช้ เวลาในการสอนมาก บางครั้งนักศึกษาบางส่วนไม่มีส่วนร่วมในการตอบคําถามมากนัก สําหรับการจัดการเรียนการสอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล ประจําปีการศึกษา 2/2562 (ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2563) วางแผนจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบเกมส์ (Game - Based Learning) ใน 2 หัวข้อ คือ หลักการและวิธีการประเมินสัญญาณชีพ และหลักการและวิธีการให้สาร น้ําทางหลอดเลือดดําและการให้เลือด โดยอาจารย์ผู้สอนควรมอบหมายให้นักศึกษาอ่านหนังสือหรือศึกษา บทเรียนให้เรียบร้อยก่อนเข้าชั้นเรียน และอาจารย์ควรกําหนดเครื่องมือในการวัดประเมินผลการเรียนการสอน ที่ชัดเจนและเป็นแนวทางเดียวกัน ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง Overview: การจัดการเรียนการสอน รายวิชาทฤษฎีในนักศึกษากลุ่มใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ ด้านการดําเนินงานด้านศึกษานั้น ได้นําไปใช้ในการ จัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล โดยปรับรูปแบบการสอนจากการสอนแบบ บรรยายมาเป็นการสอนโดยใช้รูปแบบ (Game-Based Learning) จํานวน 2 หัวข้อ คือ หลักการและวิธีการ ประเมินสัญญาณชีพ และหลักการและวิธีการให้สารน้ําทางหลอดเลือดดําและการให้เลือด ทั้งนี้หัวหน้าวิชา พยคร 218 ทักษะพื้นฐานทางการพยาบาลได้มอบหมายให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบสอนหัวข้อดังกล่าวเตรียมการ สอนและมอบหมายให้นักศึกษาล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน


NSKnowledge Management [31] ถอดบทเรียน “การจัดการเรยนการสอนรายวี ิชาทฤษฎีให้นักศึกษากลมใหญ ุ่ ่ให้มีประสิทธิภาพ” ครั้งที่ 2/2563 อาจารย์ธัญยรัชต์องค์มีเกียรติผู้นากํ ิจกรรม ผู้ช่วยอาจารย์วรรณฤดีเชาว์อยชัย คุณอํานวย ผู้ช่วยอาจารย์รัตติกาล พรหมพาหกุล ผู้ช่วยอาจารย์ศิริลักษณ์สทธิ ิโชคสกุลชัย ผู้ลขิิต ภาควิชาการพยาบาลรากฐานจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง รูปแบบและตัวชี้วัดของการจัดการ เรียนการสอนรายวิชาทฤษฎีในนักศึกษากลุ่มใหญ่โดย อาจารย์ธัญยรัชต์องค์มีเกียรติ ในวันที่ 12 มีนาคม 2563 เวลา 15.00 – 17.00 น. ณ ห้อง 509 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา รายละเอียด สรุปได้ดังนี้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active learning รูปแบบเกม (Game – based learning) ในวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล หัวข้อ “หลักการและวิธีการให้สารน้ําทางหลอดเลือดดําและการให้ เลือด” ผู้นํากิจกรรมได้วางแผนจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนผ่านโปรแกรม คาฮูท (Kahoot) โดยก่อนเข้าชั้นเรียนอาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาอ่านบทเรียนที่จะเข้าเรียนมาก่อน และแจ้งนักศึกษาว่าจะมีการเก็บคะแนนในชั้นเรียน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความสนใจในกิจกรรม และเนื้อหาที่เรียน เมื่อเข้าชั้นเรียนอาจารย์จะสรุปเนื้อหา และใช้โปรแกรมคาฮูท (Kahoot) วางแผนการเล่น เกมเป็น 2 แบบ คือ 1) แบบรายบุคคล 2) แบบรายกลุ่ม ซึ่งทั้งสองรูปแบบเนื้อหาการเรียนการสอนและข้อ คําถามไม่แตกต่างกัน ข้อคําถามในหัวข้อนี้มีจํานวนทั้งหมด 11 ข้อ เรียงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของ รายวิชา การเล่นเกมแบบเดี่ยวนักศึกษาใช้สมาร์ทโฟนของตนเองเข้าสู่โปรแกรมคาฮูท (Kahoot) ภายหลัง ตอบคําถามครบทั้ง 11 ข้อ จะไม่เฉลยคําตอบ และเข้าสู่การเล่นเกมรูปแบบกลุ่ม กติกาการเล่นเกมแบบกลุ่ม ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน ใช้เวลาตอบคําถามข้อละ 1 นาที จับเวลาด้วยโปรแกรมคาฮูท (Kahoot) ที่ได้ตั้งค่าไว้แล้ว ภายหลังการตอบคําถามแต่ละข้อ อาจารย์ให้นักศึกษา แต่ละกลุ่มอธิบายเหตุผลของการเลือกข้อคําตอบ แล้วเฉลยแต่ละข้อพร้อมอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม ใช้เวลา ทั้งหมดแต่ละข้อไม่เกิน 5 นาที กรณีอาจารย์สอนนักศึกษา 2 กลุ่ม จะใช้ข้อคําถามเดิม แต่สลับตัวเลือก เพื่อป้องกันการคัดลอก คําตอบจากนักศึกษากลุ่มที่เรียนก่อนแล้ว หลังเสร็จสิ้นจากการตอบข้อคําถามทั้งหมดอาจารย์จะสรุปเนื้อหาทั้งหมดด้วยวิดีโอ วิธีการให้สารน้ํา ทางหลอดเลือดดําและการให้เลือด เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและเห็นภาพชัดเจนขึ้น


NSKnowledge Management [32] คณาจารย์ในภาควิชาร่วมกันปรับแบบประเมิน “ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมผ่านเกมคาฮูท (Kahoot) ในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล” เพื่อเป็นตัวชี้วัดของการจัดการเรียนการสอนและผลการ เรียนรู้ของนักศึกษาในการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง รูปแบบและตัวชี้วัดของการจัดการเรียน การสอนรายวิชาทฤษฎีในนักศึกษากลุ่มใหญ่ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษานั้น ได้นําไปใช้ประโยชน์โดยให้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหัวข้อสอน เรื่อง “หลักการและวิธีการให้สารน้ําทางหลอดเลือดดําและการให้เลือด” จัดการเรียนการสอนตามแผนที่วางไว้และให้นักศึกษาทําแบบประเมินตัวชี้วัดการจัดการเรียนการสอน หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน และนําผลที่ได้มาถอดบทเรียนอีกครั้งในการทํา KM ภาควิชาครั้ง ถัดไป


NSKnowledge Management [33] ถอดบทเรียน “การสอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล หัวข้อหลักการและวธิีการช่วยใหสารน้าทาง้ํ หลอดเลือดดําและการให้เลอดื โดยใช้ Game – based learning: KAHOOT” ครั้งที่ 3/2563 อาจารย์ธัญยรัชต์องค์มีเกียรติผู้นากํ ิจกรรม ผู้ช่วยอาจารย์อภิรฎีพิมเสน คุณอานวยํ ผู้ช่วยอาจารย์วรรณฤดีเชาว์อยชัย ผู้ช่วยอาจารย์เสาวลักษณ์สขพุัฒนศรีกุล ผู้ลขิิต ภาควิชาการพยาบาลรากฐานจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “ถอดบทเรียนการสอนวิชาทักษะ พื้นฐานทางการพยาบาล หัวข้อหลักการและวิธีการช่วยให้สารน้ําทางหลอดเลือดดําและการให้เลือด ด้วยการใช้ Game – based learning: KAHOOT” โดย อาจารย์ธัญยรัชต์องค์มีเกียรติเป็นผู้นํากิจกรรม ในวันที่ 22 เมษายน 2563 เวลา 8.30 – 10.30 น. ผ่านทาง Microsoft team มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบเกม Game – based learning: KAHOOT ในครั้งนี้ อาจารย์ผู้สอนมอบหมายให้นักศึกษาอ่านหนังสือและเอกสารประกอบใน E-learning ทําแบบทดสอบ ก่อนเรียน (Pre-test) ให้เรียบร้อย หลังจากนั้นมอบหมายให้นักศึกษาเข้าเรียนออนไลน์ด้วยการสอนแบบ ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Microsoft team โดยเริ่มจากการทําแบบทดสอบด้วย KAHOOT อีกครั้ง เพื่อดูพัฒนาการการเรียนรู้และแนวโน้มของการตอบถูกผิดในแต่ละตัวเลือก หลังจากนั้น อาจารย์ผู้สอนเปิด ประเด็นการวิเคราะห์ข้อคําถาม อภิปรายตัวเลือกในแต่ละข้อ และอธิบายเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาสาระสําคัญ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นหรือสอบถามเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และสิ้นสุด กระบวนการสอนโดยการสรุปผลการเรียนรู้ หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนมอบหมายให้นักศึกษาทําแบบประเมิน “ผลการใช้ รูปแบบกิจกรรมผ่านเกมคาฮูทในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล” ประกอบด้วย 8 ข้อคําถาม ครอบคลุม “การสร้างแรงจูงใจต่อการเรียนรู้ความสนใจในเนื้อหา ความเข้าใจในเนื้อหา การลดความซับซ้อน ของเนื้อหา การมีส่วนร่วมในการเรียน ความสนุกสนานในการเรียน การให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ และทักษะในการใช้เทคโนโลยี” ลักษณะข้อคําถามทุกข้อเป็นคําถามด้านบวก และมีลักษณะคําตอบเป็น มาตราส่วนแบบประมาณค่า 5 อันดับ (1 หมายถึง เห็นด้วยน้อยที่สุด,…, และ 5 หมายถึง เห็นด้วยมากที่สุด) แปลผลคะแนนออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต่ํา (1.00 - 2.33 คะแนน) ระดับปานกลาง (2.34 - 3.66 คะแนน) และระดับสูง (3.67 - 5.00 คะแนน) ซึ่งผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบเกม Game – based learning: KAHOOT ในหัวข้อ“หลักการและวิธีการช่วยให้สารน้ําทางหลอดเลือดดําและการให้เลือด” ทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดในด้านทักษะในการใช้เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมในการเรียน และความสนใจในเนื้อหาตามลําดับ (รูปที่ 1)


NSKnowledge Management [34] การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบเกม Game – based learning: KAHOOT อาจารย์ผู้สอน สามารถจัดรูปแบบเกมให้มีความสนุกสนาน และสร้างองค์ความรู้ในเนื้อหาที่ครบถ้วนผ่านการ สร้างแบบทดสอบที่ครอบคลุมเนื้อหาในระดับการรู้จํา เข้าใจ นําไปใช้และวิเคราะห์สามารถเปิดโอกาส ให้นักศึกษาได้ร่วมวิเคราะห์ข้อคําถาม อภิปรายตัวเลือกแต่ละข้อได้เป็นอย่างดีตลอดจนนักศึกษามีแนวโน้ม ของการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบเกม Game – based learning: KAHOOT ร่วมกับการสอนแบบถ่ายทอดสดผ่านระบบ Microsoft team ทําให้ เกิดข้อจํากัดต่อการเรียนรู้กรณีที่นักศึกษาเข้าเรียนโดยใช้โทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียว ทําให้ต้องสลับหน้าจอ โทรศัพท์ขึ้นลง สัญญาณอินเตอร์เนตขาดหาย ส่งผลให้นักศึกษาขาดความต่อเนื่องในการเรียนรู้และการใช้งาน ระบบที่ขาดประสิทธิภาพ นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้อาจทําให้เกิดเสียงรบกวนกรณี ที่นักศึกษาเปิดไมโครโฟนทิ้งไว้ซึ่งอาจส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการให้ นักศึกษาให้เปิดโครโฟนเมื่อต้องการตอบคําถามหรืออภิปรายเท่านั้น จากข้อดีและข้อจํากัดดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี Game – based learning: KAHOOT น่าจะเหมาะสมกับการ จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนมากกว่าการจัดเรียนการสอนแบบออนไลน์ รูปที่ 1 กราฟแท่งแสดงคาเฉล่ ี่ยระดบความคั ิดเหนต็ ่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบเกม Game – based learning: KAHOOT ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง ถอดบทเรียนการสอนวิชาทักษะพื้นฐาน ทางการพยาบาล หัวข้อหลักการและวิธีการช่วยให้สารน้ําทางหลอดเลือดดําและการให้เลือดด้วยการใช้ Game


NSKnowledge Management [35] – based learning: KAHOOT ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษานั้น สามารถนําองค์ความรู้จากการถอด บทเรียนมาประยุกต์เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนสําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ให้เป็น Active learning โดยใช้ Game – based learning: KAHOOT ในหัวข้ออื่นมากขึ้น โดยอาจารย์ผู้สอนควรออกแบบ ทดสอบที่เน้นความเข้าใจ นําไปใช้และวิเคราะห์มากกว่าการรู้จํา และในการจัดการเรียนการสอน อาจารย์ ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการอภิปรายมากกว่าการบรรยาย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้


NSKnowledge Management [36] ถอดบทเรียน “รูปแบบและตัวชี้วัดสําหรบการจั ัดการเรียนการสอนแบบออนไลน” ์ ครั้งที่ 4/2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย ผู้นากํจกรรมิ ผู้ช่วยอาจารย์เสาวลักษณ์สุขพัฒนศรีกุล ผลู้ิขิต ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “รูปแบบและตัวชี้วัดสําหรับ การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 เวลา 9.00 – 12.00 น. ผ่านทาง Microsoft team meeting มีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นสิ่งท้าทายสําหรับผู้สอนในยุคปัจจุบัน เนื่องจาก การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ไม่ใช่การนําเทคโนโลยี มาใช้เพียงอย่างเดียว สิ่งสําคัญที่ผู้สอนควรคํานึงถึง คือ การออกแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการความรู้ เชิงเนื้อหา (Content Knowledge) ความรู้ด้านการสอน (Pedagogical knowledge) และความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge) เข้าด้วยกัน การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ผู้สอนควรให้ความสําคัญ เนื่องจากสามารถนําไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบันแนวคิดที่นิยมนํามาใช้มากทางด้านการออกแบบเพื่อจัดการเรียนการสอน คือ ADDIE MODEL ประกอบด้วย การวิเคราะห์ (Analyze) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนําไปใช้ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation) โดยผู้สอนสามารถนําแนวคิด ADDIE MODEL มาประยุกต์ใช้สาหรํ ับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ดังนี้ การวิเคราะห์ (Analyze): ควรมีการวิเคราะห์ลักษณะของรายวิชาและเนื้อหา เป้าหมายและ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ตลอดจนควรมีการวิเคราะห์ถึงข้อจํากัดในการเรียนรู้แบบ ออนไลน์ของผู้เรียนร่วมด้วย การออกแบบ (Design): ควรมีการเตรียมการอย่างเป็นระบบและครอบคลุมตั้งแต่กําหนด วัตถุประสงค์ เตรียมเนื้อหาและแบบฝึกหัด สื่อสําหรับการสอน รูปแบบที่ใช้ในการสอน ระบบบริหารการ จัดการเรียนการสอน ตลอดจนวิธีการวัดผลประเมินผล


NSKnowledge Management [37] การพัฒนา (Development): ควรมีการสร้างส่วนต่างๆ ตามที่วางแผนไว้ในขั้นตอนการ ออกแบบ และควรมีการทดลองใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนการนําไปใช้งานจริง การนําไปใช้ (Implementation): ควรดําเนินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ตาม ที่ได้ออกแบบและพัฒนาไว้ การประเมินผล (Evaluation): สามารถใช้การวัดประเมินผลโดยใช้ Microsoft form, Google form หรือ Moodle เพื่อดูผลลัพธ์การเรียนรู้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในแต่ละรายวิชา ผู้สอนสามารถออกแบบ วิธีการสอนเป็นได้ทั้งแบบ Synchronous learning และ Asynchronous learning และไม่จําเป็นต้องทํา แบบ Asynchronous learning ทั้งรายวิชา โดยกลยุทธ์การสอนออนไลน์ที่ผู้สอนสามารถนํามาใช้ร่วมกับ วิธีการจัดเรียนการสอนแบบ Synchronous learning ได้แก่ Think-Pair-Share, small group and brainstorming technique, home group, project-based learning เป็นต้น สําหรับกลยุทธ์การสอน ออนไลน์ที่สามารถนํามาใช้ร่วมกับวิธีการจัดเรียนการสอนแบบ Asynchronous learning ได้แก่ case study and discussion, small group and brainstorming technique, Inquiry- based learning WEBQUEST, Jigsaw II (Home group/ Expert group), project-based learning เป็นต้น ส่วนของการวัดผลประเมินผล การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผู้สอนควรออกแบบให้มีวิธีการประเมินผลทั้งแบบ Formative evaluation และ Summative evaluation ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง รูปแบบและตัวชี้วัดสําหรับการจัดการ เรียนการสอนแบบออนไลน์ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษานั้น สามารถนําองค์ความรู้มาประยุกต์เป็น แนวทางจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์สําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 โดยนําองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาต่าง ๆ ที่ภาควิชา รับผิดชอบ ตลอดจนยังสามารถนําองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้สําหรับวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาลในปี การศึกษาต่อไป เอกสารอ้างอิง: Koehler, M., & Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge (TPACK)?. Contemporary issues in technology and teacher education, 9(1), 60-70.


NSKnowledge Management [38] 2.3 ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ ถอดบทเรียน “การพฒนาตั าราภาคปฏ ํ ิบตัิการพยาบาล” ครั้งที่ 1/2563 รองศาสตราจารย์ดร.ปรางทิพย์ฉายพุทธ วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ภิญญาพัชญ์กตติ ิ์ธัญญธีรกุล ผู้ลขิิต ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาตําราภาคปฏิบัติ การพยาบาล โดย รองศาสตราจารย์.ดร.ปรางทิพย์ฉายพุทธ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 10.00-11.00 น. ณ ห้อง 704 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พื้นที่บางกอกน้อย รายละเอียดโดยสรุปดังนี้ การปฏิบัติการพยาบาลศัลยศาสตร์เป็นการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุแบบองค์รวมที่มีปัญหาสุขภาพ ในระบบต่างๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด การตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในระยะเฉียบพลัน วิกฤต เรื้อรังทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัด โดยบูรณาการงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการ เสริมสร้างสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมปัญหาสุขภาพที่คุกคาม รวมถึงการฟื้นฟูสภาพ เพื่อมุ่งเสริมสร้าง ศักยภาพในการดูแลตนเอง ให้การพยาบาลโดยคํานึงถึงสิทธิและศักดิ์ศรีผู้ป่วย คุณธรรมและจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ เพื่อให้ได้อัตลักษณ์ของบัณทิตตามต้องการ จึงได้มีโครงการจัดทําตําราภาคปฏิบัติการพยาบาล เชิงพฤติกรรมตาม Outcome base education (OBE) สอดคล้องกับ Program Learning Outcomes (PLOs) และ Course-level learning outcomes: CLOs ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ วัตถุประสงค์ของรายวิชาการปฏิบัติการพยาบาลผใหญู้และผ่สูู้งอายทางศุัลยกรรม (Course Objectives) 1. ประเมินปัญหา และผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณแบบองค์รวมของผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบต่างๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วย เทคโนโลยีขั้นสูงในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัดได้ถูกต้องและครบถ้วน 2. วิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบต่างๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัดได้ถูกต้อง ครบถ้วน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ 3. วางแผนและให้การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบต่างๆ ที่ได้รับการรักษา ด้วยการผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ทั้งในระยะก่อน และหลังผ่าตัดแบบองค์รวมพร้อมระบุเหตุผลได้ถูกต้อง โดยบูรณาการงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้ในการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกัน การแก้ไขปัญหา ที่คุกคามสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ เพื่อมุ่งเสริมสร้างศักยภาพการดูแลตนเอง


NSKnowledge Management [39] 4. ปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบต่างๆ ที่ได้รับการรักษาด้วย การผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ทั้งในระยะก่อนและ หลังผ่าตัดแบบองค์รวมโดยคํานึงถึงความปลอดภัย สิทธิและศักดิ์ศรีผู้ป่วย คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 5. วางแผนการจําหน่าย ให้คําแนะนําการปฏิบัติตัวแก่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบ ต่างๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัดและครอบครัว เพื่อการดูแลต่อเนื่อง โดยมุ่งเสริมสร้างศักยภาพการ ดูแลตนเองได้ถูกต้อง 6. ประเมินและติดตามผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ให้แก่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบ ต่างๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และ เรื้อรัง ทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัดได้ถูกต้อง ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Course-level Learning Outcomes: CLOs) เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาที่สําเร็จการศึกษาในรายวิชา สามารถ 1. CLO1 ระบุวิธีการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย จากการซักประวัติตรวจร่างกายตามระบบ แบบแผนสุขภาพ ๑๑ แบบแผน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจวินิจฉัย โดยใช้วิธีการรวบรวม ข้อมูลทางสุขภาพได้ถูกต้องและครบถ้วน (P) 2. CLO2 วิเคราะห์ข้อมูลทางการพยาบาลและระบุข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลถูกต้องและครบถ้วน (P) 3. CLO3 วางแผนให้การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบต่างๆ ที่ได้รับการ รักษาด้วยการผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ทั้งในระยะ ก่อนและหลังผ่าตัดแบบองค์รวมให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณโดยบูรณาการ งานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและคํานึงถึงความ ปลอดภัย สิทธิและศักดิ์ศรีผู้ป่วยคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ (P) 4. CLO4 ปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบต่างๆที่ได้รับการรักษา ด้วยการผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ทั้งในระยะก่อน และหลังผ่าตัดแบบองค์รวมได้ถูกต้องตามแผนการพยาบาลที่วางไว้โดยคํานึงถึงความปลอดภัย สิทธิ และศักดิ์ศรีผู้ป่วย คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ (P) 5. CLO5 ให้คําแนะนําการปฏิบัติตัวเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ป้องกัน แก้ไขปัญหา และฟื้นฟูสภาพแก่ ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบต่างๆที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วย เทคโนโลยีขั้นสูงในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัดแบบองค์รวม โดยบูรณา การงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมได้ถูกต้อง (P) 6. CLO6 ประเมิน ติดตามและระบุผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ให้แก่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหา สุขภาพในระบบต่างๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในระยะ เฉียบพลัน วิกฤติและเรื้อรัง ทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัดได้ถูกต้อง (P)


NSKnowledge Management [40] กระบวนการเขียนตํารานั้นต้องมีองค์ความรู้ทั้งที่เป็นความรู้สั่งสมจากประสบการณ์หรือที่เรียกว่า ความรู้ที่ฝังลึกในตัวผู้เขียน (Tacit knowledge) และความรู้ในเชิง ทฤษฎีหรือความรู้ที่เปิดเผยแล้ว (Explicit knowledge) ซึ่ง เป็นความรู้เชิงประจักษ์ที่เป็นแนวคิด ทฤษฎีหลักการ หรือ ผลงานวิจัย ที่ได้รับการพิสูจน์ และเป็นที่ยอมรับมาใช้ประกอบการเขียนตํารา มีรายละเอียดดังนี้ 1. การเลือกหัวข้อเรื่อง (Title) ให้สอดคล้องกับทักษะทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ทางศัลยกรรมในตําราตาม OBE ที่สอดคล้องกับ PLOs และ CLOs 2. การระดมสมอง (Brain storming) เพื่อให้ได้วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการวัด แบบประเมิน ที่มีมาตรฐาน เนื้อหาและประเด็นสําคัญที่สอดคล้องกับ PLOs และ CLOs 3. การวางโครงร่างของตํารา (Organizing and shaping) เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของเนื้อหา สอดคล้องกับภาพประกอบ และสามารถวัดและประเมินผลได้ 4. หลักการเขียนตําราที่เป็นมาตรฐาน 5. รายละเอียดเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ในการจัดทําตําราภาคปฏิบัติภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษามีทักษะ การปฏิบัติการพยาบาลและมีแบบวัดการปฏิบัติการพยาบาลทั้งทักษะทั่วไปทางศัลยกรรมและทักษะเฉพาะ การปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทางศัลยกรรม บูรณางานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 เรื่องมาใช้ ประกอบการเขียนตํารา เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและเตรียมความพร้อมก่อนฝึกปฏิบัติจริงบนหอผู้ป่วย โดยมีเนื้อหาในการจัดทําตํารา ดังนี้ 1. การฝึกทักษะทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทางศัลยกรรมในตําราตาม OBE ที่สอดคล้องกับ PLOs และ CLOsที่กําหนด 2. แบบวัดทักษะการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทางศัลยกรรม 3. การวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาลที่ถูกต้องครบถ้วนทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคมและ จิตวิญญาณ 4. การวางแผนการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง 5. การปฏิบัติการพยาบาลตามขั้นตอน 6. การประเมิน การติดตามปัญหาและการประเมิน Psychomotor skills 7. การใช้ self-examination เพื่อประเมินว่านักศึกษามีความรู้ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ


NSKnowledge Management [41] การกําหนดลําดับหัวข้อ/การจัดทํารูปเล่ม โดยเบื้องต้น พิจารณาตาม CLO/วิธีการการสอน/วิธี วัดประเมินผล โดยมีลําดับดังนี้ 1. ชื่อหัวข้อ 2. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 3. บทนํา 4. เนื้อหา 5. ข้อบ่งชี้ 6. Nursing process 7. อุปกรณ์ที่ใช้ 8. ขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาล 9. การประเมินผล 10. การประเมินผล ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาตําราภาคปฏิบัติการพยาบาล ด้านการดําเนินงานเกี่ยวข้องกับการขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการ โดย รศ.ดร.ปรางทิพย์ฉายพุทธ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทําตําราทางการพยาบาล ขั้นตอนการจัดทํา รูปแบบตํารา โดยมีปัจจัยที่เอื้ออํานวย ให้เกิดการพัฒนาตําราภาคปฏิบัติคือ 1. การระดมความคิด เพื่อให้เกิดการจัดทําตํารา โดยมีวิทยาการที่รอบรู้และเชี่ยวชาญเรื่องการทํา ตําราที่ได้มาตรฐานเป็นผู้นําในการจัดทําโครงการตํารา 2. การมีกรอบ/รูปแบบการเขียน และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน แจกจ่ายให้ผู้เขียนตําราทุกท่านได้ปฏิบัติตาม 3. การกําหนดแผนการเขียนตําราและการติดตามงานให้เป็นไปตามที่กําหนด 4. นําเนื้อหาของแต่ละหัวข้อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์เป็นตัวอย่าง ในการเขียนหัวข้อ/ทักษะต่อไปได้อย่างสอดคล้องกับต้นฉบับ อาจารย์ในภาคฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาการทําตําราและนําไปเขียนตําราภาคปฏิบัติ การพยาบาล ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย


NSKnowledge Management [42] ถอดบทเรียน “การพิจารณาภาพประกอบตํารา” ครั้งที่ 2/2563 รองศาสตราจารย์ดร.ปรางทิพย์ฉายพุทธ วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ภิญญาพัชญ์กตติ ิ์ธัญญธีรกุล ผู้ลขิิต ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพิจารณาภาพประกอบตํารา โดย รองศาสตราจารย์.ดร.ปรางทิพย์ฉายพุทธ ในวันท 8 ี่พฤษภาคม 2563 เวลา 10.30-12.00 น. ผานระบบ่ ออนไลน์ Microsoft teams รายละเอียดโดยสรุปดังนี้ ภาพประกอบการเขียนตําราใช้เพื่อสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น สามารถทําให้เห็นและ เข้าใจถึงสถานการณ์จริง การได้มองเห็นภาพจะทําให้เกิดความเข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้เวลาตีความหรือทํา ความเข้าใจ นอกจากนี้ภาพยังถือว่าเป็นภาษาสากล การใช้ภาพประกอบจึงมีความหมายและสําคัญต่อการ เขียนตําราวิชาการไม่น้อยกว่าตัวหนังสือ เนื่องจากการใช้ภาพบางภาพยังช่วยแสดงสิ่งที่ผู้เขียนไม่สามารถ อธิบายออกมาเป็นภาษาเขียนได้โดยเฉพาะภาพที่ใช้ประกอบการเขียนตําราทางการพยาบาลการเลือกใช้ภาพ ที่เหมาะสมจะทําให้นักศึกษาเข้าใจและมองเห็นภาพการปฏิบัติการพยาบาลได้ชัดเจนขึ้น ความสําคัญของภาพประกอบการเขียนตํารา ภาพประกอบการเขียนจะช่วยสื่อความหมายของการถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิชาการเพราะ ภาพประกอบสามารถให้รายละเอียด และความเหมือนจริงเหนือคําบรรยายและใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ ความสําคัญของภาพประกอบสื่อสิ่งพิมพ์มีสาระสําคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ใช้สร้างความเข้าใจ ในการอธิบายถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดบางครั้งตัวอักษรก็มีข้อจํากัดที่จะบ่งบอกถึงสิ่งที่ อธิบายนั้นว่าเป็นอย่างไร ในบางกรณีแม้ผู้บรรยายจะมีความสามารถในการใช้ถ้อยคําแต่ไม่อาจทําให้เกิดความ เข้าใจได้โดยง่าย เช่น การอธิบายลักษณะของท่อระบายแต่ละชนิดหลังผ่าตัดการเขียนบรรยายด้วยตัวอักษร อาจทําให้ผู้อ่านจินตนาการลักษณะของท่อระบายได้ไม่เหมือนจริง แต่หากมีภาพประกอบจะทําให้ผู้อ่านได้เห็น ลักษณะของท่อระบายแต่ละชนิดที่เหมือนจริง 2. ใช้เสริมความเข้าใจ การนําภาพประกอบมาใช้ในกรณีที่ข้อความสามารถสร้างความเข้าใจได้ระดับ หนึ่งแล้วแต่ไม่ชัดเจนจึงจําเป็นต้องใช้ภาพประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การอธิบายการใช้ ไม้ค้ํายันในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์เป็นต้น 3. ใช้เป็นหลักฐานเพื่อบ่งบอกสิ่งของ ในการบ่งบอกอุปกรณ์ของใช้ที่ใช้ในการทําหัตถการแต่ละอย่าง อาจใช้ภาพอธิบายหรือบอกถึงการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ของใช้ทําให้ผู้อ่านสามารถจดจําได้ทันที ดังนั้นในการจัดทําตําราภาพที่ใช้ประกอบการเขียนนั้นจึงมีความสําคัญมาก หลักในการเลือก ภาพประกอบตําราจึงพิจารณาได้ดังนี้


NSKnowledge Management [43] 1. ความสอดคล้องกับเนื้อหา ภาพที่ใช้ในการประกอบการเขียนตําราแต่ละหัวข้อนั้นต้องพิจารณาถึง เนื้อหา ความสอดคล้องของเนื้อหาและภาพประกอบ เนื้อความที่สําคัญที่ต้องการจะสื่อ และองค์ประกอบอื่นที่ จะช่วยให้เกิดการรับรู้ของผู้อ่านได้ดีขึ้น 2. คุณภาพของภาพ ภาพที่นํามาใช้ทําต้นฉบับควรเป็นภาพที่มีความคมชัด หากใช้ภาพที่มีคุณภาพต่ํา อาจทําให้รายละเอียดของภาพผิดไปจากความจริง หรือเกิดภาพเบลอ ภาพไม่ชัดในแต่ละเล่มได้อย่างไรก็ตาม ภาพที่คมชัด สวยงาม อาจไม่ใช่ภาพที่เหมาะสมในการใช้ประกอบการเขียนตําราหากภาพนั้นไม่มีความ สอดคล้องหรือไม่สามารถสื่อความหมายของเนื้อหา ดังนั้นหากใช้ภาพที่ตรงตามเนื้อเรื่องจะสามารถอธิบาย หรือเสริมความเนื้อเรื่องได้จึงเป็นภาพที่เหมาะสมในการนํามาใช้มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามการเลือกภาพที่ชม คัดก็จะทําให้องค์ประกอบของภาพชัดเจน 3. ภาพต้องไม่บิดเบือนความจริง การนําภาพมาใช้ในการประกอบการเขียนตําราการปฏิบัติการ พยาบาลภาพที่นํามาใช้แต่ละหัวข้อต้องมีความถูกต้อง ไม่บิดเบือนความจริง เนื่องจากหากมีการใช้ภาพผิดอาจ ทําให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดได้ ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพิจารณาภาพประกอบตํารา ด้านการ ดําเนินงานเกี่ยวข้องกับการขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ปัจจัยที่เอื้ออํานวยให้เกิดการเลือกภาพที่ เหมาะสมมาใช้ในการเขียนตําราภาคปฏิบัติคือ 1. การระดมความคิด ในการคัดเลือกภาพที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาตําราเกิดการจัดทําตํารา โดยมี วิทยาการรศ.ดร.ปรางทิพย์ฉายพุทธ ที่รอบรู้และเชี่ยวชาญเรื่องการทําตําราที่ได้มาตรฐานเป็นผู้นําในการอธิป รายการเลือกภาพในการเขียนตํารา 2. การมีกรอบ/รูปแบบการเขียน และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนทําให้สามารถเลือกภาพที่ตรงตามเนื้อหา ได้อย่างเหมาะสม 3. ผู้เขียนตําราในแต่ละเรื่องได้นําภาพที่เลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมทําให้ได้ภาพที่มี คุณภาพ มีความสอดคล้องกับเนื้อหาและสามารถอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดทักษะในการเลือกใช้ ภาพประกอบเพื่อใช้ในการเขียนตําราหัวข้อต่อไป


NSKnowledge Management [44] ถอดบทเรียน “การพิจารณาภาพที่มีลิขสิทธิ์” ครั้งที่ 3/2563 รองศาสตราจารย์ดร.ปรางทิพย์ฉายพุทธ วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ภิญญาพัชญ์กตติ ิ์ธัญญธีรกุล ผู้ลขิิต ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพิจารณาภาพที่มีลิขสิทธิ์ โดย รองศาสตราจารย์.ดร.ปรางทิพย์ฉายพุทธ ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 เวลา 13.00-14.30 น. ผ่านระบบ ออนไลน์ Microsoft teams รายละเอียดโดยสรุปดังนี้ ในการเขียนตําราทางวิชาการสิ่งที่ต้องคํานึงถึงในการเลือกภาพมาใช้ประกอบการเขียนตําราคือการใช้ ภาพที่มีลิขสิทธิ์การละเมิดลิขสิทธิ์ตามข้อกฏหมายดังนี้ ลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "ผู้สร้างสรรค์" หมายความว่า ผู้ทําหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมี ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ดังนั้น กรณีภาพถ่าย ผู้มีสิทธิในภาพถ่ายคือผู้ถ่ายภาพและหากเป็นการถ่ายภาพ บุคคล บุคคลตามภาพนั้นเป็นผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์นั่นเอง มาตรา ๒๗ การกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้กระทําดังต่อไปนี้ (๑) ทําซ้ําหรือดัดแปลง (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน กฎหมายลิขสิทธิ์กําหนดงานที่ถือว่าไม่มีลิขสิทธิ์ไว้ด้วย หมายความว่า ทุกคนสามารถนําชิ้นงานทั้งหมด หรือบางส่วนไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนรวมได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือจ่ายค่าตอบแทนก่อน อัน ได้แก่ 1. ข่าวประจําวัน และข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ 2. รัฐธรรมนูญ และ กฎหมาย 3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น 4. คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ 5. คําแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆตาม ข้อ 1 ถึง 4 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของ รัฐหรือของท้องถิ่นจัดทําขึ้น


NSKnowledge Management [45] สําหรับข้อยกเว้นที่ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในแต่ละกรณีที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเขียนผลงานวิชาการ หรือรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ (1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทําเพื่อหากําไร (2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท (3) ติชม วิจารณ์หรือแนะนําผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น (4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น (5) ทําซ้ํา ดัดแปลง นําออกแสดง หรือทําให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้า พนักงานซึ่งมีอํานาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว (6) ทําซ้ํา ดัดแปลง นําออกแสดง หรือทําให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อัน มิใช่การกระทําเพื่อหากําไร (7) ทําซ้ํา ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทําบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อ แจกจ่ายหรือจําหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทําเพื่อหากําไร (8) นํางานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ (9) การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัตินี้โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น (10) การทําซ้ําโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มิให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์หากการทําซ้ํานั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร ดังต่อไปนี้ - การทําซ้ําเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น - การทําซ้ํางานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา ในการเขียนตํารับตําราต้องใช้ "ภาพ" ประกอบคําอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งจะทําให้เนื้อความมีความ ชัดเจนยิ่งขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ผู้เขียนมักดาวน์โหลดภาพจากระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือ มาใช้ ประกอบการเขียนผลงาน กรณีนี้ต้องพิจารณาและระมัดระวังว่า ภาพที่ผู้เขียนจะนํามานั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์ หรือไม่หลักการในพิจารณา คือ หากภาพนั้น เป็นภาพที่มีการถ่ายโดยไม่ได้สร้างสรรค์ใด ๆ ภาพนั้นก็ไม่มี ลิขสิทธิ์เช่น ภาพโต๊ะ, ภาพเก้าอี้อาคาร เป็นต้น แต่หากภาพนั้นมีการใช้ความรู้ความสามารถในการ สร้างสรรค์เช่น ภาพการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายระบาย ภาพการเตรียมยา ต่างๆเหล่านี้จะเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์ ดังนั้น หากภาพใดมีลิขสิทธิ์การเอาภาพเขามาประกอบการเขียนผลงาน จําต้องดําเนินการขออนุญาต เจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน ส่วนภาพนั้นไม่มีลิขสิทธิ์ย่อมสามารถนํามาใช้ประกอบการเขียนได้โดยไม่จําต้องขอ อนุญาต หากภาพใดมีลิขสิทธิ์แม้ผู้เขียนจะนําภาพนั้นจากระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือนํามาจากที่ ใดก็ตาม แล้วนํามาตกแต่งดัดแปลงจนไม่เหมือนของเดิม ในกรณีนี้ยังคงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะเข้าข่าย ดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์


NSKnowledge Management [46] ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพิจารณาภาพที่มีลิขสิทธิ์ด้านการ ดําเนินงานเกี่ยวข้องกับการขอกําหนดตําแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ปัจจัยที่เอื้ออํานวยให้เกิดการเลือกภาพที่มี ลิขสิทธิ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมาใช้ในการเขียนตําราภาคปฏิบัติคือ 1. การระดมความคิด จากการคัดเลือกภาพมาจากแหล่งต่างๆมาใช้ประกอบการจัดทําตํารา ทําให้ได้ ทราบลักษณะของภาพที่นํามาใช้ว่าภาพใดเป็นภาพลิขสิทธิ์โดยมีวิทยาการรศ.ดร.ปรางทิพย์ฉายพุทธที่รอบรู้ และเชี่ยวชาญเรื่องการทําตําราที่ได้มาตรฐานเป็นผู้นําในการอธิปรายเกี่ยวกับภาพลิขสิทธิ์การละเมิดลิขสิทธิ์ และการขอลิขสิทธิ์ 2. ผู้เขียนตําราในแต่ละเรื่องได้นําภาพที่เลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่ประชุมถึงลักษณะของภาพ ลิขสิขสิทธิ์ของภาพ และการขอลิขสิทธิ์เกิดทักษะในการเลือกใช้ภาพประกอบเพื่อใช้ในการเขียนตําราเพื่อ ไม่ให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ใช้ในการเขียนผลงานทางวิชาการและตําราในหัวข้อต่อไป


Click to View FlipBook Version