The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลกิจกรรมสายวิชาการ และสายสนับสนุน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nsmu_it, 2024-03-08 03:07:58

รายงานผลกิจกรรมการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2566

รายงานผลกิจกรรมสายวิชาการ และสายสนับสนุน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ 2566

รายงานผลกิจกรรมสายวิชาการ และสายสนับสนุน ปีงบประมาณ 2566 รายงานผลกิจกรรมสายวิชาการ และสายสนับสนุน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ 2566 โดย คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ และ งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง


NSKnowledge Management คำนำ คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่เป็น ตัวแทนจากภาควิชาและสำนักงานที่เข้ามาทำงาน เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นภายใน คณะพยาบาลศาสตร์ ในปีงบประมาณ 2566 นี้ นับเป็นปีที่ 17 ของการดำเนินการด้านการจัดการความรู้ คณะ กรรมการฯ ได้มีการวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยพยายามผลักดันให้เกิดการจัดการความรู้ในงาน ประจำ มีการถอดบทเรียนความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมแต่ละครั้ง ตลอดจนมีการนำเครื่องมือในการ จัดการความรู้เข้ามาใช้มากขึ้น เพื่อสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการวางแผนหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจ เกิดขึ้นต่อไป การจัดการความรู้ของคณะฯ ในปีงบประมาณ 2566 มีการจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมการบูรณาการจัดการความรู้กับการดำเนินงานตามพันธกิจต่างๆ ของคณะฯ 2) การแลกเปลี่ยน เรียนรู้สายสนับสนุน 3) กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ผู้เกษียณอายุราชการ ซึ่งผลการดำเนินการตลอด ปีงบประมาณนี้ ทำให้สามารถถอดบทเรียนความรู้ และเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินงาน คณะกรรมการฯ จึงจัดทำรายงานผลกิจกรรมการจัดการความรู้ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการ ดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ และเผยแพร่ผลการดำเนินงานแก่บุคลากรคณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบุคคลทั่วไป คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน และบุคคลทั่วไปที่จะดำเนินงานด้านการจัดการ ความรู้ต่อไปในอนาคต รองศาสตราจารย์ ดร.สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้


NSKnowledge Management [i] สารบัญ หน้า คำนำ สรุปการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ 1 กิจกรรมที่ 1 การจัดการความรู้จากภาควิชา 1.1 ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ 2 1.2 ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน 6 1.3 ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ 8 กิจกรรมที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สายสนับสนุน 2.1 การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การขอตำแหน่งชำนาญการ ครั้งที่ 1 65 กิจกรรมที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้เกษียณอายุราชการ 3.1 ถ่ายทอดความรู้ผู้เกษียณอายุราชการ สายวิชาการและสายสนับสนุน 71


NSKnowledge Management [1] สรุปการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ประจำปี 2566 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีเป้าหมายในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ จึงได้จัดให้มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นประจำทุกปี โดยในปีที่ผ่านมา มีกิจกรรมการจัดการความรู้ ทั้งสิ้น 6 เรื่อง โดยแบ่งเป็น กิจกรรมการจัดการรู้จากแต่ละภาควิชา จำนวน 4 เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาย สนับสนุน จำนวน 1 เรื่อง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้เกษียณอายุราชการจำนวน 1 เรื่อง โดยสามารถ สรุปกิจกรรมการจัดความรู้ ได้ดังนี้ 1. การจัดการความรู้จากแต่ละภาควิชา ในรอบปีที่ผ่านมาพบว่า คณาจารย์ในคณะพยาบาลศาสตร์ มีความสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งมีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีเป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งมีการ เผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ไปสู่บุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์ให้เกิดการใช้งานองค์ความรู้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมดังนี้ 1.1 ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์จำนวน 1 เรื่อง โดยแบ่งเป็นด้านการศึกษา 1 ครั้ง ด้านวิจัย 1 ครั้ง และด้านอื่นๆ จำนวน 1 ครั้ง 1.2 ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน จำนวน 1 เรื่อง โดยแบ่งเป็นด้านการศึกษา จำนวน 1 เรื่อง 1.3 ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ จำนวน 2 เรื่อง โดยแบ่งเป็นด้านการศึกษา จำนวน 1 เรื่อง และด้านอื่นๆ จำนวน 1 เรื่อง 2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สายสนับสนุน จำนวน 1 เรื่อง 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้เกษียณอายุราชการ สายวิชาการและสายสนับสนุนจำนวน 1 เรื่อง


NSKnowledge Management [2] 1. การจัดการความรู้จากภาควิชา 1.1 ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ถอดบทเรียน “มองนวัตกรรมให้เป็นเรื่องง่าย…ที่คุณก็ทำได้” จัดโดยภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 1 วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 13.00-13.30 น. ครั้งที่ 2 วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12.30-13.30 น. ครั้งที่ 3 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 13.00-13.30 น. ครั้งที่ 4 วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.00-13.30 น. สถานที่ ห้อง 1103/1-2 คณะพยาบาลศาสตร์ บางกอกน้อย และออนไลน์ผ่าน Zoom อาจารย์ชนิตา ตัณฑเจริญรัตน์ และ อาจารย์จินต์ณาภัส แสงงาม วิทยากร อ.ดร.สาธิมา สุระธรรม ผู้ลิขิต คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ โดยภาควิชาการพยาบาลกุมาร เวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “มองนวัตกรรมให้เป็นเรื่องง่าย…ที่คุณก็ทำได้” ประกอบด้วย 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “Introduction of Innovative for Nursing Learning” เนื้อหาประกอบด้วย นวัตกรรมคืออะไร? นวัตกรรม มีอะไรบ้าง? และประโยชน์ และความสำคัญของนวัตกรรม โดยนวัตกรรม คือ สิ่งที่มีความใหม่ มีการใช้ความรู้และความคิดริเริ่ม และมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน หน่วยงานต่างๆ และสังคม นวัตกรรมประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) นวัตกรรมการ ดำเนินงาน (Process Innovation) และนวัตกรรมธุรกิจ (Business Innovation) นอกจากนี้ยังสามารถแบ่ง ประเภทนวัตกรรมได้ตามกลุ่มของผู้ใช้ได้ เช่น นวัตกรรมทางด้านสุขภาพ นวัตกรรมทางการศึกษา สำหรับ ประโยชน์และความสำคัญของนวัตกรรมนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาในด้านต่างๆ โดยการคิดนอกกรอบ คิดเชิง สร้างสรรค์แตกต่างจากเดิม ช่วยให้งานเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด รวมทั้งค้นหากระบวนการใหม่ที่สร้างสรรค์ นวัตกรรมช่วยสร้างความแตกต่างในการดำเนินธุรกิจ การใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่หลากหลาย เพื่อทำให้ธุรกิจโดดเด่นจากคู่แข่ง ช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ นอกจากนี้ยัง ช่วยเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย ครั้งที่ 2 หัวข้อ “Are you ready to be a good NS innovator?” มีรายละเอียดเกี่ยวกับ ความหมายและคุณสมบัติของนวัตกร ถ้าอยากเริ่มต้นทำนวัตกรรม…ต้องทำอย่างไร? และDo & DON’T ใน การทำนวัตกรรม โดยนวัตกร คือ ผู้ที่สร้างสรรค์นวัตกรรม (product/process/service) โดยมีวิธีการฝึก ความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การฝึกการคิดอย่างรอบด้าน ฝึกความเป็นคนช่างสังเกตจดจำ ไม่ย้ำรอยอยู่แต่ ความสำเร็จเดิม สลัดความคิดครอบงำ และไม่กลัวความล้มเหลวหรือการเสียหน้า ทั้งนี้สามารถใช้แนวคิดของ


NSKnowledge Management [3] Design thinking และ Business Model Canvas ในการทำนวัตกรรม ซึ่ง Design thinking ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. เข้าใจลูกค้า 2. ระบุปัญหา 3. คิดค้นไอเดีย 4. ทำตัวต้นแบบ และ 5. ลองนำไปใช้ สำหรับ Business Model Canvas เน้นการมองนวัตกรรมอย่างนักธุรกิจ และสิ่งสำคัญของนวัตกรรม คือ การ ทำในสิ่งที่รักเป็นจุดเริ่มต้นของไอเดียที่มีค่า และไม่ควรโฟกัสมากเกินไปว่าไอเดียนั้นต้องไม่มีใครทำมาก่อน ครั้งที่ 3 หัวข้อ “Selling your Innovations” และ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “Share and Learn for Your Innovation” มีการนำเสนอตัวอย่างนวัตกรรมในรูปแบบต่าง สรุปขั้นตอนการทำนวัตกรรม ปัญหาหรือ อุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรม ทั้งนี้วิทยากรได้ฝากข้อคิดไว้ว่า “เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยทำ ให้เกิดนวัตกรรม แต่นวัตกรรมทุกชิ้นไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี” และ “นวัตกรรมเริ่มต้นจากการมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ที่อยากจะทำสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดประโยชน์” ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียรู้ เรื่อง “มองนวัตกรรมให้เป็นเรื่องง่าย…ที่คุณก็ทำ ได้” ด้านการศึกษา คือ เป็นพื้นฐานความรู้เพื่อพัฒนาต่อยอดออกแบบนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนที่ ทันสมัยในการกระตุ้นให้นักศึกษาเกิด active learning มากขึ้น ด้านวิจัย คือ สามารถใช้การพัฒนานวัตกรรม เป็นรูปแบบหนึ่งขอสื่อการให้ความรู้ หรือติดตามประเมินผลต่างๆ ในการศึกษาวิจัยเชิงทดลองได้ และต่อยอด พัฒนาได้ง่ายมากว่าสื่อในรูปแบบอื่นๆ และด้านอื่นๆ คือ นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นสามารถเผยแพร่ จดลิขสิทธิ์และ ผลิตขายในเชิงพาณิชย์ได้หากได้รับการศึกษาวิจัยจนเกิดประโยชน์ต่อสังคม การประเมินผล มีคณาจารย์จาก 3 ภาควิชาฯ เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น จำนวน 15 คน จากผลการประเมินทั้ง 4 ครั้ง พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด หัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีความเหมาะสม ความรู้ที่ได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดเรียนการสอน และการทำวิจัย ทีมวิทยากรมีการเตรียมตัวมาอย่างดีเยี่ยม ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะที่กระชับ ตรงประเด็น คณาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ให้ข้อคิดเห็นและถามคำถาม ที่น่าสนใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ข้อเสนอแนะ - จัดหัวข้อ advance เรื่องนี้ต่อเนื่องต่อไป - การจัดเป็น ตอนๆ ทำให้น่าติดตาม และแลกเปลี่ยนเมื่อพบปัญหาในแต่ละช่วง - ควรเลื่อนเวลาในการจัดให้ตรงกับช่วงพักเพื่อให้มีผู้ที่สนใจได้เข้าร่วมมากขึ้น - ควรเพิ่มระยะเวลาจัดกิจกรรมมากกว่านี้


NSKnowledge Management [4] ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์ 2. รองศาสตราจารย์ ดร.อาภาวรรณ หนูคง 3. รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์ 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง 5. รองศาสตราจารย์ ดร. สุดารัตน์ สุวรรณเทวะคุปต์ 6. อาจารย์ กาญจนา ครองธรรมชาติ 7. อาจารย์ ดร.ภัทรนุช วิทูรสกุล 8. อาจารย์ดร. สาธิมา สุระธรรม 9. อาจารย์ ดร.ชญาภา ชัยสุวรรณ 10. อาจารย์ สุภาพร ภูศรี 11. อาจารย์ ธัชกร คล้ายสุบรรณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา 1. อาจารย์ดร.ทิวาภรณ์ เฉลิมพิชัย 2. อาจารย์ ดร.พุทธิราภรณ์ หังสวนัส ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ 1. อาจารย์ ดร.ภาศิษฏา อ่อนดี


NSKnowledge Management [5]


NSKnowledge Management [6] 1.2 ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน ถอดบทเรียน “แนวคิดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น : Flexible Learning Approach” ครั้งที่ 1/2566 อาจารย์ ดร.นันทกานต์ มณีจักร ผู้นำกิจกรรม อาจารย์ ดร.เสาวลักษณ์ สุขพัฒนศรีกุล ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “แนวคิดการเรียนรู้แบบ ยืดหยุ่น: Flexible Learning Approach” โดยอาจารย์ ดร.นันทกานต์ มณีจักร ในวันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 12.00 – 13.00 น. ณ ห้องประชุม 318 คณะพยาบาลศาสตร์ ศาลายา มีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ แนวคิดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น (Flexible Learning Approach) เป็นวิธีการจัดการเรียนการ สอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการจัดการตนเองสำหรับการเข้าเรียน ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถตัดสินใจด้วย ตนเองว่า “จะเลือกเรียนอะไร เรียนอย่างไร เรียนที่ไหน และเรียนเมื่อไหร่ ตามความสนใจและความถนัดของ ตนเอง” ดังนั้น องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น คือ ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อ การเรียนรู้ของตนเอง และต้องมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย ให้มากที่สุดเพื่อการพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ ผู้สอนควรเปิดใจเพื่อให้มองเห็นโอกาสสำหรับการจัดการเรียนรู้ ที่ยืดหยุ่นและควรเน้นวิธีการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นมากกว่าบทบาทของผู้สอนแบบบรรยาย สำหรับบทบาทของสถาบันต้องสร้างระบบที่ยืดหยุ่นเพื่อให้นักเรียนมีทางเลือกในการเรียนรู้และต้องรักษา คุณภาพตามกรอบการประคุณภาพด้วย ลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น ควรประกอบด้วย 8 ประการ คือ 1) ความยืดหยุ่นในการเข้าถึง (Flexible access) 2) การรับรู้ประสบการณ์เรียนรู้ก่อนหน้า (Recognition of prior learning) 3) ความยืดหยุ่นของเนื้อหา (Flexible content) 4) ความยืดหยุ่นในการมีส่วนร่วม (Flexible participation) 5) ความยืดหยุ่นในวิธีการเรียนการสอน (Flexible teaching and learning methods) 6) ความยืดหยุ่นของสื่อการเรียนรู้ (Flexible resources) 7) ความยืดหยุ่นในการประเมิน (Flexible assessment) 8) การประเมินผลระหว่างการจัดการเรียนรู้ (Ongoing evaluation)


NSKnowledge Management [7] สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ผู้สอนสามารถนำแนวคิด มาออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้ (Learning styles) ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียน เกิดความสนใจมากขึ้น และควรคำนึงถึงความเหมาะสมของผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาร่วมด้วย ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “แนวคิดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น: Flexible Learning Approach” ด้านการศึกษา คือ การจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น (Flexible Learning Approach) ในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ควรมีแนวทาง ดังนี้ 1) ผู้สอนประชุมวิชาร่วมกันเพื่อกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาให้ชัดเจน 2) ผู้สอนกำหนดรูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายเพื่อเอื้อต่อ วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แตกต่างกันพร้อมทั้งออกแบบวิธีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ กิจกรรมที่จัดการเรียนการสอน 3) ผู้สอนควรกำหนดเนื้อหาเป็นแบบหน่วยการเรียน (Modules) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือก เรียนเนื้อหาได้ตามความสนใจ 4) ผู้สอนควรพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายเพื่อให้เหมาะสมรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน 5) ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเวลาเรียนและสถานที่ได้ตามความต้องการ และเน้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1. รองศาสตราจารย์ ดร. วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ 2. รองศาสตราจารย์พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทีปภา แจ่มกระจ่าง 4. อาจารย์ ดร. นันทกานต์ มณีจักร 5. อาจารย์ ดร. เสาวลักษณ์ สุขพัฒนศรีกุล 6. อาจารย์จิตติมา ปัญญาสราวุธ 7. อาจารย์ประภัสสร พิมพาสาร 8. อาจารย์ปิยาภรณ์ เยาวเรศ 9. อาจารย์รัตติกาล พรหมพาหกุล 10. อาจารย์อารียา ประเสริฐสังข์ 11. ผู้ช่วยอาจารย์จิรวรรณ มาลา 12. ผู้ช่วยอาจารย์จิราวรรณ วิทยานุกรณ์ 13. ผู้ช่วยอาจารย์วรรณฤดี เชาว์อยชัย 14. อาจารย์ผู้ช่วยสอนนิธินันท์ มหาวรรณ


NSKnowledge Management [8] 1.3 ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ ถอดบทเรียน “การใช้ยาสมเหตุผล : กรณีศึกษา” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์ ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "การใช้ยาสมเหตุสมผล: กรณีศึกษา” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๒.๓๐ - ๑๓.๓๐ น. ผ่านระบบ Online รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ การสอน “การใช้ยาสมเหตุสมผล: กรณีศึกษา” เป็นการจัดการการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจในหลักการการใช้ยาสมเหตุผล โดยมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้มีการคิดวิเคราะห์ อภิปราย และเข้าใจในหลักการการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สามารถนำสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพมาจัดการ ประเด็นปัญหาที่สอดคล้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลกับกรณีศึกษาได้ ซึ่งการเรียนการสอนต้องคำนึงถึง เนื้อหาหลัก ๓ ส่วน ดังนี้ ๑) ๑๐ ขั้นตอนและกรอบความคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ประกอบด้วย - ข้อบ่งชี้ (Indication) ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น (เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ) - ประสิทธิผล (Efficacy) ยานั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้ริง โดยอาจพิจารณาจาก กลไก การออกฤทธิ์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ - ความเสี่ยง (Risk) คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก มีประโยชน์มากกว่าโทษ และ ไม่มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วย - ค่าใช้จ่าย (Cost) ใช้ยาอย่างเพียงพอและคุ้มค่า - องค์ประกอบอื่นๆที่จำเป็น (Other considerations) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง รับผิดชอบและใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานทางวิชาการ - ขนาดยา (Dose) ใช้ยาถูกขนาด - วิธีให้ยา (Method of administration) - ความถี่ในการให้ยา - ระยะเวลาในการให้ยา (Duration of treatment) - การยอมรับของผู้ป่วยและความสะดวกในการใช้ยา (Patient compliance) ๒) ๑๐ สมรรถนะในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย - Assess the patient - Consider the options - Reach a shared decision - Administer safely


NSKnowledge Management [9] - Provide information - Monitor and review - Prescribe safely - Prescribe professionally - Improve prescribing practice - Prescribe as part of a team ๓) ๑๗ ประเด็นที่สอดคล้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในการปฏิบัติการพยาบาล มีดังนี้ - National Drug Policy (NDP) and concepts of RDU - Basic pharmacology (Pharmacodynamics) and Clinical pharmacokinetics - Irrational/ inappropriate use of medicine - Monitoring and evaluation impact of drug therapy - Adherence to treatment - Benefit-risk and cost assessment and decision making in prescription - RDU in common illness - Taking an accurate and informative drug history - Administer drug safely - Medication errors - Prescribing for patients with special requirements - Provide patients and careers with appropriate information about their medicines - Awareness of rational approach to prescribing and therapeutics - Ethics of prescribing and drug promotion - Complementary and alternative medicine - Multi-professional care team to improve drug use - Continuous professional development in RDU การสอน “การใช้ยาสมเหตุสมผล” โดยประยุกต์กรณีศึกษาเป็นการจัดการการเรียนการสอนที่ช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความรู้ การคิด วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการประเมินและ แก้ปัญหาของผู้เรียน ในการสร้างกรณีศึกษา สามารถจัดทำเป็นสถานการณ์คลิปวิดีโอสั้นๆ หรือสถานการณ์ให้ ผู้เรียนอ่าน แล้วตอบคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนประเมิน ๑๐ ขั้นตอนและกรอบ ความคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลกับกรณีศึกษา แล้วคิดวิเคราะห์โดยนำสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพมา จัดการประเด็นปัญหาที่พบในกรณีศึกษาที่สอดคล้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล อภิปรายร่วมกัน จากนั้น อาจารย์จะมีการสรุปประเด็นสำคัญ อาจมีการขยายคำถามจากกรณีศึกษาต่อเพื่อกระตุ้นในผู้เรียนได้คิด


NSKnowledge Management [10] วิเคราะห์ต่อ โดยเน้นย้ำสมรรถนะของพยาบาลที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล ซึ่งหน้าที่ของพยาบาลที่สำคัญคือการติดตามอาการ ประเมินผล การช่วยเหลือสนับสนุนการรักษา รวมทั้งการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย พยาบาลควรมีทักษะในการซักประวัติ (การรับประทานยา การรับประทาน อาหาร หรือการใช้ยาสมุนไพร เป็นต้น) เพื่อพิจารณาประเด็นปัญหาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของผู้ป่วย และ จัดการได้อย่างเหมาะสม ผู้ร่วมกิจกรรมได้ร่วมเสนอแนะว่า ในกรณีศึกษาแต่ละโรค ควรมีจุดเน้นในการถามคำถาม หรือเป็น ประเด็นที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคนั้นๆ เช่น การรับประทานยาไม่ครบหรือเกินขนาด ทำให้เกิดการกลับเป็นซ้ำ หรือควบคุมโรคไม่ได้ ผู้สูงอายุกับการรับประทานยาหลายชนิด การเสื่อมตามวัยในผู้สูงอายุ การขับยาใน ผู้สูงอายุ Drug adherence การรับประทานยาไม่ตรงเวลา การใช้อาหารเสริม ยาสมุนไพรร่วมกับยาแผน ปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคประจำตัว การเก็บรักษายา เป็นต้น โดยเน้นย้ำในเรื่องผลข้างเคียงของยา และปฏิกิริยา ระหว่างยาที่ได้รับ เสนอให้รวบรวมกรณีศึกษาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและจัดทำเป็น E-book ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "การใช้ยาสมเหตุสมผล: กรณีศึกษา” เป็น การบูรณาการเนื้อหาหลักการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในกรณีศึกษาของผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบต่างๆ เพื่อให้ ผู้เรียนมีความเข้าใจในหลักการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีการคิดวิเคราะห์ อภิปราย สามารถนำสมรรถนะของ พยาบาลวิชาชีพมาจัดการประเด็นปัญหาที่สอดคล้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลกับกรณีศึกษา ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ในการประยุกต์ใช้เมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย


NSKnowledge Management [11] ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑. รศ.ดร.วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช ๒. รศ.ดร.ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ ๓. รศ.วีรยา จึงสมเจตไพศาล ๔. ผศ.ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล ๕. ผศ.ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ ๖. รศ.ดร.อัจฉริยา พ่วงแก้ว ๗. อ.ดร. ชลธิรา เรียงคำ ๘. อ.ดร.นาตยา รัตนอัมภา ๙. อ.ดร.พุทธิราภรณ์ หังสวนัส ๑๐. ผศ.ดร.พิจิตรา เล็กดำรงกุล ๑๑. ผศ. ธนิษฐา สมัย ๑๒. ผชอ. ปวิตรา จริยสกุลวงศ์ ๑๓. ผชอ.ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์ ๑๔. ผชอ.สิริกาญจน์ หาญรบ ๑๕. ผชอ.ปิโยรส เกษตรกาลาม์ ๑๖. ผชอ.ณัฏยา ประหา ๑๗. ผชอ.วราภรณ์ พาณิชปฐม


NSKnowledge Management [12] ผลการประเมินกิจกรรมการจัดการความรู้ ในหัวข้อ “การใช้ยาสมเหตุผล: กรณีศึกษา” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ วันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๒.๓๐ – ๑๓.๐๐ น. ผ่านระบบ Online ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑๔ ราย ตอบแบบประเมิน ๑๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๑) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสวนา หัวข้อในการประเมิน จำนวนคำตอบ (ราย/ ร้อยละ) มาก ปานกลาง น้อย ไม่ตอบ ผู้นำสามารถนำประเด็นเสวนาได้ชัดเจน ๑๔ (๑๐๐) - - - ผู้นำเสวนาใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ๑๔ (๑๐๐) - - - รูปแบบ และวิธีการนำเสวนาทำให้มีการ วิเคราะห์ปัญหาได้ทั่วถึง ๑๔ (๑๐๐) - - - มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้ ๑๔ (๑๐๐) - - - มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและซักถามได้ ๑๔ (๑๐๐) - - - หัวข้อเสวนาน่าสนใจ ๑๔ (๑๐๐) - - - ๒) โดยสรุป ท่านเห็นว่าการเสวนาครั้งนี้อยู่ในระดับใด ดีมาก ๑๔ ราย (ร้อยละ ๑๐๐) ดี - ปานกลาง - ควรปรับปรุง - ๓) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม วิทยากรมีความรู้มีความสามารถมาก เนื้อหาการสอนน่าสนใจมาก สั้น กระชับ ได้ใจความค่ะ


NSKnowledge Management [13] ถอดบทเรียน "แบ่งปันประสบการณ์การยื่นขอรับรอง MUPSF” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศรินรัตน์ศรีประสงค์วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “แบ่งปันประสบการณ์การยื่น ขอรับรอง MUPSF” ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๓๐ - ๑๓.๐๐ น. ณ ห้อง ๕๐๗ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย) รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการ สอนตามเกณฑ์มาตราฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University professional Standards Framework: MUPSF) เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๔ ซึ่งมาตรฐานคุณภาพอาจารย์ หมายถึง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของอาจารย์ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยมาตราฐานคุณภาพอาจารย์แบ่งออกได้เป็น ๔ ระดับ ดังนี้ ระดับที่ ๑ การจัดการเรียนการสอนเบื้องต้น ต้องมีคุณสมบัติ ๑๕ ข้อ ระดับที่ ๒ การจัดการเรียนการสอนเฉพาะกลุ่ม ต้องมีคุณสมบัติ ๒๘ ข้อ ระดับที่ ๓ การจัดการเรียนการสอนข้ามศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติ ๓๐ ข้อ และระดับที่ ๔ การจัดการเรียนการสอนผู้นำเชิง นโยบายการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติ ๓๑ ข้อ โดยขั้นตอนของการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตราฐานอาจารย์ของ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย ๑) การยื่นเอกสารขอรับการประเมินไปที่ฝ่ายการศึกษาในสัปดาห์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือน ๒) งานทรัพยากรบุคคล คณะพยาบาลศาสตร์ ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินระดับคุณภาพ การจัดการเรียนการสอนเพื่อประเมินในระดับคณะฯ และ ๓) เอกสารต่างๆถูกส่งไปที่มหาวิทยาลัยมหิดล และ ติดตามความคืบหน้าของการได้รับการประเมินเป็นรายบุคคล สำหรับเอกสารเพื่อยื่นขอรับรอง MUPSF ประกอบด้วยเอกสารดังนี้ ๑) MUPSF Form01 ๒) MUPSF Form03 ๓) MUPSF Form03 (Nursing) ๔) แผนการสอนอย่างน้อย ๒ ชั่วโมง ๕) เอกสารประกอบการสอน ๖) ใบประเมินผล (ป.๕ หรือ ป.๕) และ ๗) Quiz หรือ Posttest เพื่อดูการสอนแบบ Active learning โดยเอกสารต่างๆ สามารถเข้าไปทำการดาวน์โหลดได้ที่ http://nurseintranet.mahidol/MUPSF.html ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านอื่น ๆเรื่อง “แบ่งปันประสบการณ์การยื่น ขอรับรอง MUPSF” เป็นแนวทางในการเตรียมตัวเพื่อขอรับการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการ สอนตามเกณฑ์มาตราฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือ MUPSF


NSKnowledge Management [14] ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑. รศ.ดร.วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช ๒. ๓. ๔. ๕. รศ.ดร.ดวงรัตน์ รศ.ดร.อรวมน รศ.ดร.อัจฉริยา ผศ.ดร.ศรัณยา วัฒนกิจไกรเลิศ ศรียุกตศุทธ พ่วงแก้ว โฆสิตะมงคล ๖. ผศ.ดร.วารุณี พลิกบัว ๗. อ.ดร.ชลธิรา เรียงคำ ๘. ผชอ.ปวิตรา จริยสกุลวงศ์ ๙. ผชอ.ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์ ๑๐. ผชอ.สิริกาญจน์ หาญรบ ๑๑. ผชอ.ปิโยรส เกษตรกาลาม์ ๑๒. ๑๓. ผชอ.ณัฏยา ผชอ.วราภรณ์ ประหา พานิชปฐม


NSKnowledge Management [15] ผลการประเมินกิจกรรมการจัดการความรู้ ในหัวข้อ “แบ่งปันประสบการณ์การยื่นขอรับรอง MUPSF” โดย ผศ.ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ วันพุธที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๓๐-๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๕๐๗ คณะพยาบาลศาสตร์ บางกอกน้อย ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑๓ ราย ตอบแบบประเมิน ๑๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๖๒ ๑) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสวนา หัวข้อในการประเมิน จำนวนคำตอบ (ราย/ร้อยละ) มาก ปานกลาง น้อย ไม่ตอบ ผู้นำสามารถนำประเด็นเสวนาได้ชัดเจน ๑๑ (๑๐๐) - - - ผู้นำเสวนาใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ๑๑ (๑๐๐) - - - รูปแบบ และวิธีการนำเสวนาทำให้มีการ วิเคราะห์ ปัญหาได้ทั่วถึง ๑๑ (๑๐๐) - - - มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้ ๑๑ (๑๐๐) - - - มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและซักถามได้ ๑๑ (๑๐๐) - - - หัวข้อเสวนาน่าสนใจ ๑๑ (๑๐๐) - - - ๒) โดยสรุปท่านเห็นว่าการเสวนาครั้งนี้อยู่ในระดับใด ดีมาก ๑๑ ราย (ร้อยละ ๑๐๐) ดี - ปานกลาง - ควรปรับปรุง - ๓) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม - เป็นประโยชน์มากในการเตรียมตัวค่ะ ขอบพระคุณวิทยากรเป็นอย่างสูงค่ะ - ดีมากค่ะ - วิทยากรทำให้รู้สึกว่าการเตรียมเอกสารต่างๆ ไม่ยุ่งยากมากเท่าที่คิดในตอนแรกค่ะ


NSKnowledge Management [16] ถอดบทเรียน “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use: RDU) : Type 2 diabetes” โดย อาจารย์ ดร.ชลธิรา เรียงคำ วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์ ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use: RDU) : Type 2 diabetes” ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ โดย อาจารย์ ดร.ชลธิรา เรียงคำ วิทยากรในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์๒๕๖๖ เวลา ๙.๐๐ – ๙.๓๐ น. ณ ห้อง ๙๐๑ คณะพยาบาลศาสตร์ บางกอก น้อย รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ การสอน "การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use: RDU) : Type 2 diabetes” เป็นการ จัดการการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในหลักการการใช้ยาสมเหตุผล โดยมีการยกตัวอย่าง กรณีศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้มีการคิดวิเคราะห์ อภิปราย และเข้าใจในหลักการการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สามารถ นำสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพมาจัดการประเด็นปัญหาที่สอดคล้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลกับ กรณีศึกษาได้ ซึ่งการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงเนื้อหาหลัก ๒ ส่วน ดังนี้ ๑) ๑๐ ขั้นตอนและกรอบความคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ประกอบด้วย ๑. ข้อบ่งชี้ (Indication) ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น (เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ) ๒. ประสิทธิผล (Efficacy) ยานั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้ริง โดยอาจพิจารณาจาก กลไก การออกฤทธิ์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ ๓. ความเสี่ยง (Risk) คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก มีประโยชน์มากกว่าโทษ และไม่มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วย ๔. ค่าใช้จ่าย (Cost) ใช้ยาอย่างเพียงพอและคุ้มค่า ๕. องค์ประกอบอื่นๆ ที่จำเป็น (Other considerations) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง รับผิดชอบและใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานทางวิชาการ ๖. ขนาดยา (Dose) ใช้ยาถูกขนาด ๗. วิธีให้ยา (Method of administration) ๘. ความถี่ในการให้ยา ๙. ระยะเวลาในการให้ยา (Duration of reatment) ๑๐. การยอมรับของผู้ป่วยและความสะดวกในการใช้ยา (Patient compliance) ๒) ๑๐ สมรรถนะในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย The consultation ๑. Assess the patient: History, Side effect, Adherence ๒. Consider the options: Lifestyle modification, Comorbidity


NSKnowledge Management [17] ๓.Reach a shared decision: Communication, Nonjudgement (การให้ข้อมูล ต่างๆที่เพียงพอทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะร่วมในการตัดสินใจได้) ๔. Administer safely: Risk of adverse events, กรอบบัญชียาหลัก ๕. Provide information: Health literacy ๖. Monitor and review: Clinical improvement, Psychosocial problems Prescribing Governance (มีการติดตามประเมิน Clinical improvement เช่น HbA1C ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่าการทำงานของไต หรือมีประเด็นปัญหาทางจิตสังคมที่เป็นส่วนเสริมหรืออุปสรรค ในการใช้ยาหรือไม่) ๗. Prescribe safely: บริหารยาอย่างปลอดภัย 7R/10R ๘. Prescribe professionally: กฎหมายวิชาชีพ เวชจริยศาสตร์ (การสั่งจ่ายยาของ NP) ๙ . Improve prescribing practice: Audit and feedback, Reflective (ใ ห้ นักศึกษาประเมินตนเองในการบริหารยาของตนเองทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ต้องปรับปรุง ปัญหาอุปสรรรค) ๑๐. Prescribe as part of a team: Interprofessional Practice (พัฒนาความรู้ ของอาจารย์และนักศึกษาเพื่อให้สามารถไปทำงาน อภิปรายกับทีมสุขภาพได้) จาก Type 2 Diabetes Pharmacotherapy Updated 2023 Treatment Algorithm ได้มุ่งเน้น เรื่อง lifestyle ของผู้ป่วย การให้ความรู้ (Education support) และการจัดการตนเอง (Self-management) จะช่วยให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรม และควบคุมโรคได้ดีขึ้น และยังเพิ่มเติมในเรื่องบริบทของผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม รอบตัวที่ส่งผลต่อพฤติกรรม เช่น การมีสวนสาธารณะ การเข้าถึงแหล่งอาหาร เป็นต้น ในประเด็นเรื่องยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปัจจุบันยากลุ่มแรกของเบาหวานชนิดที่ 2 คือ กลุ่ม Biguanide ซึ่งแต่เดิมการใช้ยาจะเป็นกลุ่ม Biguanide และกลุ่ม Sulfonylurea โดยการจ่ายยาจะเริ่มที่ ยา ๑ ชนิดแล้วติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ถ้ายังไม่สามารถควบคุมได้ก็จะเริ่มยากลุ่มที่ ๒ ซึ่งการจะเลือกใช้ ยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงโรคร่วมของผู้ป่วย (โดยเฉพาะ Atherosclerosis, Cardiovascular disease, Heart failure และ Chronic kidney disease) โดยแนะนำให้ใช้ยากลุ่ม GLP-1 RA (ยาฉีด) หรือ กลุ่ม SGLT 2i (การเลือกใช้จะพิจารณาถึงประสิทธิผลเนื่องจากราคาค่อนข้างแพง) ในผู้ป่วยที่มีโรคร่วม Atherosclerosis และ Cardiovascular disease คล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่มีโรคร่วม Heart failure แนะนำให้ใช้ ยากลุ่ม SGLT 2i และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่ม TZDs เนื่องจากผลข้างเคียงของยาที่สำคัญคือการดูดน้ำ กลับ (water retention) ส่งผลให้มีน้ำเกิน การไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อ ผู้ป่วย และในผู้ป่วยที่มีโรคร่วม Chronic kidney disease แนะนำให้ใช้ยากลุ่ม ACEi/ARB หรือกลุ่ม SGLT 2i นอกจากโรคร่วมแล้ว ยังต้องพิจารณากลุ่มยาที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และการ ลดน้ำหนัก ซึ่งกลุ่มยา GLP-1 RA (ยาฉีด) มีประโยชน์ในการลดน้ำหนักร่วมด้วย หรือยารับประทานเช่น Metformin หรือยากลุ่ม SGLT 2i, Sulfonylurea, TZDs หรือ DPP-4i (ยากลุ่มนี้ค่อนข้างแพงแต่อาจจะช่วย เพิ่ม Medical adherence เนื่องจากรับประทานวันละครั้ง) และยังต้องประเมินราคาและการเข้าถึงยาร่วม


NSKnowledge Management [18] ด้วย เช่น กลุ่ม Sulfonylurea, TZDs, Insulin (กลุ่มยาที่กระตุ้นการหลั่ง insulin อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาล ในเลือดต่ำได้) การใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ซึ่งอาจจะเลือกใช้ยากลุ่ม DPP-4i, GLP-1 RA, SGLT 2i และ TZDs แทนเนื่องจากมีความ เสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำน้อย จากกลไกของยาจะไปกระตุ้นการหลั่ง insulin ในปริมาณไม่มาก โดยเฉพาะ SGLT 2i จะเพิ่มการขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะเป็นหลัก ประเด็นต่อมาที่ต้องระวัง คือ การใช้ยาร่วมกันหลายขนาน (Polypharmacy) ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ การใช้ยากลุ่ม Sulfonylurea ร่วมกับ Beta-blocker จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด severe hypoglycemia ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจต้องเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือพบ Serious Adverse Events เช่น death, macrovascular complications, cardiovascular death, dementia หรือ falls and fractures เป็นต้น การสอน “การใช้ยาสมเหตุสมผล” โดยประยุกต์กรณีศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นการจัดการการ เรียนการสอนที่จะต้องนำกรอบแนวคิด RDU มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผลข้างเคียงของยา medical adherence เหตุผลในการใช้ยา การหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้บรรลุเป้าหมายแต่ละราย ไม่ตัดสิน ผู้ป่วยหากมีพฤติกรรมในการกินยาไม่เหมาะสมโดยจะต้องสอบถามเหตุผลก่อนเสมอ รวมถึงการเข้าถึงยานอก บัญชียาหลัก ในกรณียาที่ผู้ป่วยใช้ไม่สามารถควบคุมอาการหรือระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในระดับที่เหมาะสม ได้การคำนึงถึง Health literacy หรือ Psychosocial Problems ของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อพิจารณาประเด็น ปัญหาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของผู้ป่วย และจัดการได้อย่างเหมาะสม ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use: RDU) : Type 2 diabetes” ด้านการศึกษา คือ เป็นการบูรณาการเนื้อหาหลักการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ในกรณีศึกษาของผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในหลักการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มี การคิดวิเคราะห์ อภิปราย สามารถนำสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพมาจัดการประเด็นปัญหาที่สอดคล้องกับ การใช้ยาอย่างสมเหตุผลกับกรณีศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้เมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย


NSKnowledge Management [19] ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑. รศ.ดร.วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช ๒. ผศ.ดร. วารุณี พลิกบัว ๓. รศ.ดร.ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ ๔. รศ.ดร.อัจฉริยา พ่วงแก้ว ๕. ผศ.ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล ๖. ผศ. จงกลวรรณ มุสิกทอง ๗. ผศ.ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ ๘. ผศ.ดร.พิจิตรา เล็กดำรงกุล ๙. อ.ดร. ชลธิรา เรียงคำ ๑๐. ผชอ.ณัฏยา ประหา ๑๑. ผชอ.วราภรณ์ พาณิชปฐม ๑๒. ผชอ.ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์ ๑๓. ผชอ.สิริกาญจน์ หาญรบ ๑๔. ผชอ.ปิโยรส เกษตรกาลาม์


NSKnowledge Management [20] ผลการประเมินกิจกรรมการจัดการความรู้ ในหัวข้อ “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล: โรคเบาหวาน” โดย อาจารย์ ดร.ชลธิรา เรียงคำ วันพุธที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น. ห้องประชุม ๙๐๑ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑๔ ราย ตอบแบบประเมิน ๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๗๒ ๑) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสวนา หัวข้อในการประเมิน จำนวนคำตอบ (ราย/ ร้อยละ) มาก ปานกลาง น้อย ไม่ตอบ ผู้นำสามารถนำประเด็นเสวนาได้ชัดเจน ๕ (๑๐๐) - - - ผู้นำเสวนาใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ๕ (๑๐๐) - - - รูปแบบ และวิธีการนำเสวนาทำให้มีการ วิเคราะห์ปัญหาได้ทั่วถึง ๕ (๑๐๐) - - - มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้ ๕ (๑๐๐) - - - มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและซักถามได้ ๕ (๑๐๐) - - - หัวข้อเสวนาน่าสนใจ ๕ (๑๐๐) - - - ๒) โดยสรุป ท่านเห็นว่าการเสวนาครั้งนี้อยู่ในระดับใด ดีมาก ๕ ราย (ร้อยละ ๑๐๐) ดี - ปานกลาง - ควรปรับปรุง - ๓) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม -ไม่มี-


NSKnowledge Management [21] กรณีศึกษาที่ 1 สมรรถนะ RDU ของบัณฑิต 1. สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา หรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา 1.1 การประเมินประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา และประวัติการแพ้ยา/แพ้ อาหาร 1.2 ประเมินอาการข้างเคียงจากการใช้ยา 1.3 ประเมินอาการที่ดีขึ้นหรือเลวลง 1.4 ติดตามความร่วมมือในการใช้ยา อย่างต่อเนื่อง 1.5 การส่งต่อ 2. สามารถร่วมพิจารณาการเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น 2.1 พิจารณาข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยที่ เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้ยาหรือการรักษาแบบไม่ใช้ยาในการ รักษาและการส่งเสริมสุขภาพ 2.2 พิจารณาข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยเพื่อประกอบการปรับขนาดยา หยุดการให้ยา หรือเปลี่ยนยา 2.3 ประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยาและไม่ใช้ยา 2.4 ใช้ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ของยาที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้จากปัจจัยต่อไปนี้ เช่น พันธุกรรม อายุ ความพร่องของไต การตั้งครรภ์ ฯลฯ เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้องให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา 2.5 พิจารณาโรคร่วม ยาที่ใช้อยู่ การแพ้ยา ข้อห้ามการใช้ยา และคุณภาพชีวิต ที่อาจส่งผลกระทบต่อการ เลือกใช้ยา 2.6 คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาของผู้ป่วย (เช่น ความสามารถในการกลืนยา ศาสนา) และ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการบริหารยา 2.7 พัฒนาความรู้ให้เป็นปัจจุบัน ใช้แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และคำนึงถึงความคุ้ม ทุนในการพิจารณาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 2.8 เข้าใจเรื่องเชื้อดื้อยา แนวทางการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา (antimicrobial stewardship measures) 3. สามารถสื่อสารเพื่อให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจในการใช้ยา โดยพิจารณาจากข้อมูลทางเลือกที่ถูกต้องเหมาะสม กับบริบทและเคารพในมุมมองของผู้ป่วย 3.1 ชี้แจงทางเลือกในการรักษา ยอมรับ ในการตัดสินใจเลือกแผนการรักษาและ เคารพในสิทธิของ ผู้ป่วย/ผู้ดูแล ในการปฏิเสธและจำกัดการรักษา 3.2 ระบุและยอมรับความแตกต่าง ระหว่างบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ และความคาดหวัง เกี่ยวกับสุขภาพ และการรักษาด้วยยา 3.3 อธิบายเหตุผล และความเสี่ยง/ประโยชน์ของทางเลือกในการรักษาที่ ผู้ป่วย/ผู้ดูแล เข้าใจได้


NSKnowledge Management [22] 3.4 ประเมินความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ด่วนตัดสินและเข้าใจเหตุผลในการ ไม่ร่วมมือของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้และหาวิธีที่ดีที่สุดในการสนับสนุนผู้ป่วย/ผู้ดูแล 3.5 สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย/ ผู้เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยไม่คาดหวังว่า การสั่งยานั้นจะเป็นไปตามที่ต้องการ 3.6 ทำความเข้าใจกับการร่วมปรึกษาหารือก่อนใช้ยาเพื่อผลลัพธ์ที่นำไปสู่ ความพึงพอใจของทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง 4. บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง 4.1 เข้าใจโอกาสที่จะเกิดผลไม่พึง ประสงค์จากการใช้ยา และดำเนินการเพื่อ หลีกเลี่ยง/ลดความเสี่ยงที่จะ เกิดขึ้น ตระหนักและจัดการแก้ไขปัญหา 4.2 เข้าใจการสั่งจ่ายยาของแพทย์ตาม กรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ 4.3 ตรวจสอบและคำนวณการใช้ยาให้ ถูกต้อง 4.4 คำนึงถึงโอกาสที่จะเกิดการใช้ยาผิด (เช่น ผิดขนาด ผิดทาง ผิดวิธี ผิดชนิด ผิด วัตถุประสงค์ ฯลฯ) 4.5 ใช้ข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับการใช้ยา อย่างสมเหตุผล (เช่น การเก็บรักษา การ บรรจุ ฯลฯ) 4.6 ใช้ระบบที่จำเป็นเพื่อการบริหารยา อย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น ใบMAR) 4.7 สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับยาและการใช้ ยาแก่ผู้เกี่ยวข้องเมื่อต้องมีการส่งต่อข้อมูล การรักษา 5. สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ยาได้อย่างเพียงพอ (Provide information) 5.1 ตรวจสอบความเข้าใจและความ มุ่งมั่นตั้งใจของผู้ป่วย/ผู้ดูแลในการจัดการ เฝ้าระวังติดตาม และการ มาตรวจตามนัด 5.2 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ชัดเจน เข้าใจ ได้ง่าย และเข้าถึงได้กับผู้ป่วย/ผู้ดูแล (เช่น ใช้เพื่ออะไร ใช้อย่างไร อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น รายงานอย่างไร ระยะเวลาของ การใช้ยา) 5.3 แนะนำผู้ป่วย/ผู้ดูแลเกี่ยวกับ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในเรื่องยาและการ รักษา 5.4 สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย/ผู้ดูแล ว่าจะจัดการอย่างไรในกรณีที่มีอาการไม่ดีขึ้น หรือการรักษาไม่ ก้าวหน้าในช่วงเวลาที่กำหนด 5.5 สนับสนุนผู้ป่วย/ผู้ดูแลให้มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการตนเองเรื่องยาและภาวะเจ็บป่วย 6. สามารถติดตามผลการรักษา และรายงานผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาได้ 6.1 ทบทวนแผนการบริหารยาให้ สอดคล้องกับแผนการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ 6.2 ต้องมีการติดตามประสิทธิภาพของการรักษาและอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้ยา 6.3 ค้นหาและรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาโดยใช้ระบบการรายงานที่เหมาะสม 6.4 ปรับแผนการบริหารยาให้ตอบสนองต่ออาการและความต้องการของผู้ป่วย 7. สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย และไม่เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม (Prescribe safely) 7.1 รู้เกี่ยวกับชนิด สาเหตุของความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบบ่อย และ วิธีการป้องกัน การหลีกเลี่ยง และการประเมิน


NSKnowledge Management [23] 7.2 ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการสั่งยาผ่านสื่อหรือบุคคลอื่น เช่น สั่งทาง โทรศัพท์ ทาง E-mail ทาง Line หรือสั่งผ่านบุคคลที่สาม และหาแนวทางลดความเสี่ยงนั้น 7.3 บริหารยาอย่างปลอดภัยตามกระบวนการบริหารยา เช่น 7 rights 7.4 พัฒนาหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ในประเด็นใหม่ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความ ปลอดภัยในการใช้ยา 7.5 รายงานความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา และทบทวนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ 8. สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม ตามความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ และเป็นไปตามหลักเวชจริยศาสตร์ (Prescribe professionally) 8.1 มั่นใจว่าพยาบาลสามารถสั่งจ่ายยาได้ ตาม พรบ.วิชาชีพและ พรบ.ยาแห่งชาติ 8.2 ยอมรับความรับผิดชอบส่วนบุคคลในการสั่งยาและเข้าใจในประเด็นกฎหมายและจริยธรรม 8.3 รู้และทำงานภายใต้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการสั่งยา (ยาที่ควบคุม ยาที่ไม่มีใบอนุญาต ยาไม่มีฉลาก) 9. สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ยาได้อย่างต่อเนื่อง (Improve prescribing practice) 9.1 สะท้อนคิดการบริหารยาของตนเอง และการสั่งยาของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการใช้ยาอย่างสม เหตุผล 9.2 เข้าใจและใช้เครื่องมือหรือกลไกที่เหมาะสมในการปรับปรุงการบริหารยาและการสั่งยา (เช่น patient and peer review feedback, prescribing data and analysis and audit) 10. สามารถทำงานร่วมกับบุคลากรอื่นแบบสหวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Prescribe as part of a team) 10.1 มีส่วนร่วมกับสหวิชาชีพเพื่อให้มั่นใจว่าการดูแลมีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันในทุกหน่วยโดยไม่ ขัดแย้ง 10.2 สร้างสัมพันธภาพกับทีมสหวิชาชีพ บนพื้นฐานของความเข้าใจ ความไว้วางใจ และยอมรับใน บทบาทของสหวิชาชีพ


NSKnowledge Management [24] ประเด็นที่สอดคล้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในการปฏิบัติการพยาบาล 17 ประเด็น ดังนี้ 1) National Drug Policy (NDP) and concepts of RDU 1) นโยบายยาแห่งชาติ (NDP) และแนวความคิดของ RDU 2) Basic pharmacology (Pharmacodynamics) and Clinical pharmacokinetics 2) เภสัชวิทยาพื้นฐาน (เภสัช) และเภสัชจลนศาสตร์คลินิก 3) Irrational/ inappropriate use of medicine 3) การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล/ ไม่เหมาะสม 4) Monitoring and evaluation impact of drug therapy 4) การติดตามและประเมินผลกระทบของการบำบัดด้วยยา 5) Adherence to treatment 5) การปฏิบัติตามการรักษา 6) Benefit-risk and cost assessment and decision making in prescription 6) การประเมินผลประโยชน์-ความเสี่ยงและต้นทุนและการ ตัดสินใจในใบสั่งยา 7) RDU in common illness 7) RDU ในความเจ็บป่วยทั่วไป 8) Taking an accurate and informative drug history 8) การซักประวัติยาที่ถูกต้องและให้ข้อมูล 9) Administer drug safely 9) ใช้ยาอย่างปลอดภัย 10) Medication errors 10) ข้อผิดพลาดของยา 11) Prescribing for patients with special requirements 11) การกำหนดให้ผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ 12) Provide patients and careers with appropriate information about their medicines 12) ให้ข้อมูลที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยและอาชีพเกี่ยวกับยา 13) Awareness of rational approach to prescribing and therapeutics 13) ความตระหนักในแนวทางที่มีเหตุผลในการสั่งจ่ายยา และการรักษา 14) Ethics of prescribing and drug promotion 14) จรรยาบรรณในการสั่งยาและส่งเสริมยา 15) Complementary and alternative medicine 15) ยาเสริมและการแพทย์ทางเลือก 16) Multi-professional care team to improve drug use 16) ทีมงานดูแลมืออาชีพ ปรับปรุงการใช้ยา 17) Continuous professional development in RDU 17) การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องใน RDU


NSKnowledge Management [25] กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 10 ข้อ 1. ข้อบ่งชี้ (Indication) ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น (เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ) 2. ประสิทธิผล (Efficacy) ยานั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง โดยอาจพิจารณาจากกลไก การออกฤทธิ์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ 3. ความเสี่ยง (Risk) คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลักมีประโยชน์มากกว่าโทษ และไม่มีข้อห้ามใช้ใน ผู้ป่วย 4. ค่าใช้จ่าย (Cost) ใช้ยาอย่างพอเพียงและคุ้มค่า 5. องค์ประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็น (Other considerations) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง รับผิดชอบและใช้ยา อย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานทางวิชาการ 6. ขนาดยา (Dose) ใช้ยาถูกขนาด 7. วิธีให้ยา (Method of administration) 8. ความถี่ในการให้ยา 9. ระยะเวลาในการให้ยา (Duration of treatment) 10. การยอมรับของผู้ป่วยและความร่วมมือในการใช้ยา (Patient compliance) หัวข้อการสอน การพยาบาลผู้ป่วยใช้ยาสมเหตุผล สมรรถนะการใช้ยาสมเหตุผลที่กำหนด 1. สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา หรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา 1.1 การประเมินประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา และประวัติการแพ้ยา/แพ้ อาหาร 1.2 ประเมินอาการข้างเคียงจากการใช้ยา 1.3 ประเมินอาการที่ดีขึ้นหรือเลวลง 1.4 ติดตามความร่วมมือในการใช้ยา อย่างต่อเนื่อง 4. บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง 4.1 เข้าใจโอกาสที่จะเกิดผลไม่พึง ประสงค์จากการใช้ยา และดำเนินการเพื่อ หลีกเลี่ยง/ลดความเสี่ยงที่จะ เกิดขึ้น ตระหนักและจัดการแก้ไขปัญหา ประเด็นเนื้อหาหลักที่กำหนด (เลือกจาก 17 ประเด็นเนื้อหาหลัก) 4. Monitoring and evaluation impact of drug therapy, adverse effects properly and reporting drug related problems 5. Adherence to treatment 9. Administer drug safely


NSKnowledge Management [26] กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 1. ข้อบ่งชี้ (Indication) ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น (เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ) 2. ประสิทธิผล (Efficacy) ยานั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง โดยอาจพิจารณาจากกลไก การออกฤทธิ์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ 6. ขนาดยา (Dose) ใช้ยาถูกขนาด ผลการเรียนรู้ที่กำหนด 1. มีความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย 2. สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อสื่อสารการใช้ยาอย่างสมเหตุผลกับผู้ป่วยและครอบครัวได้ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายโอกาสของการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา 2. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนทางยา กระบวนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 1. ทบทวนความรู้เรื่องการบริหารยาอย่างสมเหตุผลในผู้ป่วย (10 นาที) 2. แบ่งกลุ่มนักศึกษา กลุ่มละไม่เกิน 10 คน เพื่อร่วมกันวิเคราะห์กรณีศึกษาและอภิปรายในประเด็น โอกาส และการป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา ข้อพึงระวังและอาการแสดงที่สำคัญ ที่เกิดจากความ คลาดเคลื่อนของการใช้ยา และการสื่อสารกับผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล เพื่อลดหรือป้องกันการเกิดความ คลาดเคลื่อนทางยา (20 นาที) 3. สุ่มนักศึกษาเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาในประเด็นที่มอบหมาย อาจารย์เพิ่มเติมในประเด็นที่ นักศึกษายังอธิบายเหตุและผลไม่ชัดเจน/ไม่ถูกต้อง 4. สุ่มนักศึกษาให้แสดงบทบาทสมมติหัวข้อ การสื่อสารกับผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล เพื่อลดหรือป้องกันการ เกิดความคลาดเคลื่อนทางยา (10 นาที) 5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและซักถามเพิ่มเติม (10 นาที) 6. ผู้สอนสรุปประเด็นสำคัญ (10 นาที)


NSKnowledge Management [27] สื่อการสอน 1. ใบงาน 2. กรณีศึกษา 3. กระดาษ Flip chart 4. Power point และเอกสารประกอบการเรียนในระบบ e learning 5. อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ประกอบการสอน วิธีการประเมินผล 1. ประเมินความครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน ได้ใจความของคำตอบในใบงาน 2. Quiz เมื่อสิ้นสุดการสอน ตัวอย่างกรณีศึกษา ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 39 ปี อาชีพงานบ้าน ที่อยู่ บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ อาการสำคัญ หายใจเหนื่อย แขนขาอ่อนแรง ก่อนมาโรงพยาบาล 2 วัน ประวัติปัจจุบัน 8 ปีก่อน มีอาการหนังตาข้างขวาตก ตาขวามองไม่ชัด กลืนอาหารลำบาก มารักษาที่ โรงพยาบาลศิริราช ได้ยา Mestinon 1x 2 Oral pc อาการดีขึ้น F/U สม่ำเสมอ ไม่ขาดยา 5 ปีก่อน มีอาการกลืนลำบาก หายใจลำบาก แขน 2 ข้างอ่อนแรง แพทย์ได้ทำผ่าตัด Thymectomy และหลังผ่าตัดแพทย์ได้ให้ยา Mestinon 1x 2 Oral pc อาการทั่วไปปกติ F/U สม่ำเสมอ ไม่ขาดยา 5 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เหนื่อยง่ายขึ้น เริ่มกลืนน้ำและอาหารลำบาก ซื้อยาแก้อักเสบ ยาลดไข้ ยาแก้ไอและยาลดน้ำมูก จากร้านขายยามารับประทานเอง 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล เหนื่อยมากขึ้น กลืนน้ำและอาหารลำบาก หนังตาขวาตก เห็น ภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรงมากขึ้น จึงมาโรงพยาบาล ประวัติอดีต ปฏิเสธโรคประจำตัวต่างๆ DM , HT ไม่เคยแพ้ยา ประวัติส่วนตัว ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ประวัติครอบครัว บิดา เป็นมะเร็งตับ มารดา เป็นมะเร็งปากมดลูก เสียชีวิตแล้ว พี่สาวเป็น HT


NSKnowledge Management [28] ตรวจร่างกาย vital sign : T = 38.7 o C P = 88 / min R = 26 /min BP = 120/60 mmHg GA : Good consciousness , not pale , no cyanosis , no jaundice , no pitting edema HEENT : Ptosis Rt. eye , pharynx not injected , Lt. tonsil enlarge 2 + CVS : PMI at 5th ICS , MCL , JVP 4 cm above sternal angle RS : normal breathsound , no adventitious sound Abd : soft , not tender , liver and spleen not palpation , BS + NS : E4V5M6 , good consciousness , pupil 3 mm BRTL , EOM full , Ptosis Rt. eye , no facial palsy , no tongue deviation no stiffness , Kernig sign neg motor power : proximal muscle gr IV / V , distal muscle gr. IV / V DTR 2+ all extremmities . แนวทางการอภิปราย สมรรถนะการใช้ยาสมเหตุผลที่ 1 , 4 ประเด็นเนื้อหาหลักข้อที่ 4 , 5 , 9 กรอบแนวคิดที่ 1 , 2 , 6 1. โรค MG การรักษาที่ได้รับ ยาที่เกี่ยวข้อง สรรพคุณของยา และผลข้างเคียงของยา อาการและอาการ แสดงเมื่อขาดยาหรือได้รับยามากเกินไป 2. ประวัติการใช้ยา พฤติกรรมการรับประทานยา การซื้อยารับประทานเอง ภาวะแทรกซ้อนที่มีผลต่ออาการ เจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้น 3. การสื่อสารกับผู้ป่วย / ผู้ดูแล ในการใช้ยา การสังเกตอาการที่เกิดขึ้น ผลข้างเคียงของการใช้ยา


NSKnowledge Management [29] ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับอาจารย์ การดำเนินโรคของ MG มีความหลากหลาย อาจมีอาการดีขึ้นแล้วหนักลง อาการทางคลินิกอาจเป็น แบบมีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรืออย่างค่อยเป็นค่อยไป และอาจมีอาการขึ้นๆ ลงๆ แปรเปลี่ยนไปในแต่ละ วัน อาจเกิดความผิดปกติของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดการสำลัก เพิ่มอัตราการตาย และ จากการได้รับยาเพื่อการรักษาเป็นเวลานานๆ อาจเกิดอาการข้างเคียงของยาได้ โดยอาการจะเริ่มที่กล้ามเนื้อที่ ตาอ่อนแรง และลุกลามไปที่กล้ามเนื้อ Oropharyngeal ที่หน้า กล้ามเนื้อส่วนต้นของแขนและขาและ กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการส่งผ่านของสื่อสัญญาณประสาท Cholinergic ซึ่งมีผลกระตุ้นให้เกิดอาการอ่อนแรงมากขึ้น ปัจจัยกระตุ้นเหล่านั้นได้แก่ การออกแรงนานๆ อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นมาก การพักผ่อนน้อย การติดเชื้อ ระดับของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ในช่วงมี ประจำเดือน หรือตั้งครรภ์ เป็นต้น ความเครียด อารมณ์เสีย การผ่าตัด และยาบางชนิดอาจมีAdverse effect ทำให้เกิดการกำเริบของโรค (Exacerbations) ในผู้ป่วย MG ได้ ยาที่พบบ่อย ได้แก่ กลุ่มยาปฏิชีวนะ Macrolides, Fluoroquinolone, Aminoglycosides, Tetracycline และChloroquine ยา Pyridostigmine (Mestinon) และ ยา Neostigmine (Prostigmin) เป็นยาที่สำคัญการรักษาใน ผู้ป่วย MG จะมีความเฉพาะเจาะจงของผู้ป่วยแต่ละคน เพราะการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อยาของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การพิจารณาขนาดของยาจึงใช้วิธีพิจารณาจากประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วย คือ มี กล้ามเนื้อแข็งแรงและคงความแข็งแรงได้เป็นระยะเวลานาน โดยมีอาการข้างเคียงจากยาน้อยที่สุด อาการ ข้างเคียงที่เกิดขึ้น ได้แก่ มีน้ำลายมากเหงื่อออกมาก คลื่นไส้ ท้องเสีย ตะคริวที่ท้อง หรือมีหัวใจเต้นช้า มีสาร คัดหลั่งในหลอดลมเพิ่มขึ้นหลอดลมตีบเกร็ง มีกล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง และอาการอ่อนแรง ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในผู้ป่วยMG ที่ได้รับยา Anticholinesterase มี2 ชนิด คือ 1. Myasthenic crisis เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่ได้รับยาน้อยเกินไป ในผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง หรือรุนแรง โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาด้านการกลืน และ การหายใจ ผู้ป่วยอาจเกิดอาการเลวลงอย่าง กระทันหัน โดยปกติแล้วจะมีอาการเลวลงเมื่อมีปัจจัยอื่นมากระตุ้น ได้แก่ การติดเชื้อ แต่ก็อาจเกิดอาการเลว ลงได้เองโดยไม่มีปัจจัยอื่นมากระตุ้นหรือเกิดจากการตอบสนองต่อยาลดลง หรือ ได้ยาไม่พอ การช่วยเหลือ สามารถทำโดยการเพิ่มขนาดยาขึ้น ถ้าในกรณีที่ให้ยาเพิ่มแล้วอาการอ่อนแรงไม่ดีขึ้นจำเป็นต้องใส่ท่อช่วย หายใจและเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่การตอบสนองต่อยาจะกลับคืนดีดังเดิมภายใน 24–48 ชั่วโมง และสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ 2. Cholinergic crisis เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการได้รับยามากเกินไป ทำให้เกิดอาการพิษของยาได้แก่ ตะคริวที่ท้อง ท้องเสีย มีเสมหะในปอดมาก มีอาการอ่อนแรงเพิ่มขึ้น และสามารถเป็นสาเหตุของการหดเกร็ง ของหลอดลมได้ ถ้ามีการหายใจไม่ดี ควรใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจเช่นเดียวกับ Myasthenic crisisเนื่องจาก ในปัจจุบัน แพทย์จะพิจารณาให้ยาตามการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละคน และผู้ป่วยมีการดูแลตนเองดีร่วมกับ การมาติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอดีขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะนี้น้อยลงอย่างมาก


NSKnowledge Management [30] คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย 1. วิธีการใช้ยา Anticholinesterase อย่างปลอดภัยและเหมาะสม 1. ควรรับประทานยาพร้อมอาหารหรือเครื่องดื่ม 2. รับประทานยาก่อนอาหาร เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ช่วยให้การเคี้ยวและการกลืนมีประสิทธิภาพ มากที่สุด 3. ปรับขนาดของยา และเวลารับประทานยา ควรทำภายใต้การวางแผนที่กำหนดตามอาการ อ่อนแรงของผู้ป่วย 4. ไม่รับประทานยานอกเหนือไปจากที่แพทย์ให้ เพราะยาบางชนิดจะมีผลต่อการทำงานของ ยาที่ให้อยู่ และอาจทำให้อาการอ่อนแรงเป็นมากขึ้น ได้แก่ ยาชาเฉพาะที่ Aminoglycoside, Beta blocker และCalcium channel blocker 2. การปรับเกี่ยวกับการรับประทานอาหารตามอาการ 1. ให้อาหารอ่อนย่อยง่ายตามที่ต้องการ 2. รับประทานอาการช้าๆ และทีละน้อย 3. การปรับสมดุลระหว่างการพักและการทำกิจกรรมต่างๆตามอาการอ่อนแรงในแต่ละวัน 1. วางแผนสำหรับเพิ่มระยะเวลาพักให้มากขึ้น 2. หากลวิธีที่จะประหยัดพลังงานในการทำกิจวัตรประจำวัน 4. ติดป้ายชื่อโรคของตนเองไว้กับตัวตลอดเวลา เพื่อว่าเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้ช่วยเหลือจะได้ให้การ ช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม 5. ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการ Myasthenic crisis และอาการ Cholinergic crisis และต้องติดต่อแพทย์ ทันทีที่มีอาการดังกล่าว 6. สังเกตปฏิกิริยาความตื่นตัวของร่างกายที่มีต่อภาวะต่างๆ ที่อาจกระตุ้นให้อาการต่างๆ เลวลง ได้แก่ ภาวะเครียด การติดเชื้อ สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง ช่วงที่มีการแกว่งของระดับฮอร์โมน เช่น การมี ประจำเดือนการตั้งครรภ์ เป็นต้น 7. สอนให้สังเกตอาการที่แสดงถึงการติดเชื้อ เช่น ไอ มีเสมหะ หรือมีไข้ขึ้นที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ เกิดขึ้น และต้องรับรักษาทันทีห้ามปล่อยทิ้งไว้และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ 8. ปรับเปลี่ยนและจัดการวิถีชีวิตให้เหมาะสมกับโรค (Lifestyle management) โดยวางแผนการ ออกกำลัง เวลารับประทานอาหาร การพักผ่อน การทำกิจวัตรประจำวัน และกิจกรรมต่างในแต่ละวันให้ เหมาะสมกับช่วงเวลาที่มีแรง


NSKnowledge Management [31] Quiz ชายไทย อายุ 56 ปี มีประวัติ transient ischemic attack (TIA) ใช้ low dose aspirin มาโดยตลอด พบ แพทย์ด้วยอาการปวด บวม ที่เข่าทั้งสองข้าง วินิจฉัยเป็น osteoarthritis แพทย์สั่งยา Naproxen ให้กับ ผู้ป่วยรายนี้ สมรรถนะที่ใช้ประเมิน RDU คือข้อใด 1. สมรรถนะที่ 1 สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วย เกี่ยวกับความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา 2. สมรรถนะที่ 4 บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง 3. สมรรถนะที่ 5 สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ยาได้อย่างเพียงพอ 4. สมรรถนะที่ 7 สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย และไม่เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เฉลย 7 เหตุผล Diclofenac และ Coxibs ห้ามใช้กับผู้เป็นโรค cerebrovascular disease Ibuprofen และ Coxibs ลดประสิทธิผลของ low dose aspirin ประเด็น RDU ที่ประเมิน ความเสี่ยงจากการใช้ยา drug interaction


NSKnowledge Management [32] กรณีศึกษาที่ 2 สมรรถนะ RDU ของบัณฑิต 1. สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา หรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา 1.1 การประเมินประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา และประวัติการแพ้ยา/แพ้ อาหาร 1.2 ประเมินอาการข้างเคียงจากการใช้ยา 1.3 ประเมินอาการที่ดีขึ้นหรือเลวลง 1.4 ติดตามความร่วมมือในการใช้ยา อย่างต่อเนื่อง 1.5 การส่งต่อ 2. สามารถร่วมพิจารณาการเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น 2.1 พิจารณาข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยที่ เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้ยาหรือการรักษาแบบไม่ใช้ยาในการ รักษาและการส่งเสริมสุขภาพ 2.2 พิจารณาข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยเพื่อประกอบการปรับขนาดยา หยุดการให้ยา หรือเปลี่ยนยา 2.3 ประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยาและไม่ใช้ยา 2.4 ใช้ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ของยาที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้จากปัจจัยต่อไปนี้ เช่น พันธุกรรม อายุ ความพร่องของไต การตั้งครรภ์ ฯลฯ เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้องให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา 2.5 พิจารณาโรคร่วม ยาที่ใช้อยู่ การแพ้ยา ข้อห้ามการใช้ยา และคุณภาพชีวิต ที่อาจส่งผลกระทบต่อ การเลือกใช้ยา 2.6 คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาของผู้ป่วย (เช่น ความสามารถในการกลืนยา ศาสนา) และ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการบริหารยา 2.7 พัฒนาความรู้ให้เป็นปัจจุบัน ใช้แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และคำนึงถึงความ คุ้มทุนในการพิจารณาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 2.8 เข้าใจเรื่องเชื้อดื้อยา แนวทางการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา (antimicrobial stewardship measures) 3. สามารถสื่อสารเพื่อให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจในการใช้ยา โดยพิจารณาจากข้อมูลทางเลือกที่ถูกต้องเหมาะสม กับบริบทและเคารพในมุมมองของผู้ป่วย 3.1 ชี้แจงทางเลือกในการรักษา ยอมรับ ในการตัดสินใจเลือกแผนการรักษาและ เคารพในสิทธิของ ผู้ป่วย/ผู้ดูแล ในการปฏิเสธและจำกัดการรักษา 3.2 ระบุและยอมรับความแตกต่าง ระหว่างบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ และความคาดหวัง เกี่ยวกับสุขภาพ และการรักษาด้วยยา 3.3 อธิบายเหตุผล และความเสี่ยง/ประโยชน์ของทางเลือกในการรักษาที่ ผู้ป่วย/ผู้ดูแล เข้าใจได้


NSKnowledge Management [33] 3.4 ประเมินความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ด่วนตัดสินและเข้าใจเหตุผลในการ ไม่ร่วมมือของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้และหาวิธีที่ดีที่สุดในการสนับสนุนผู้ป่วย/ผู้ดูแล 3.5 สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย/ ผู้เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยไม่คาดหวังว่า การสั่งยานั้นจะเป็นไปตามที่ต้องการ 3.6 ทำความเข้าใจกับการร่วมปรึกษาหารือก่อนใช้ยาเพื่อผลลัพธ์ที่นำไปสู่ ความพึงพอใจของทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง 4. บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง 4.1 เข้าใจโอกาสที่จะเกิดผลไม่พึง ประสงค์จากการใช้ยา และดำเนินการเพื่อ หลีกเลี่ยง/ลดความเสี่ยงที่จะ เกิดขึ้น ตระหนักและจัดการแก้ไขปัญหา 4.2 เข้าใจการสั่งจ่ายยาของแพทย์ตาม กรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ 4.3 ตรวจสอบและคำนวณการใช้ยาให้ ถูกต้อง 4.4 คำนึงถึงโอกาสที่จะเกิดการใช้ยาผิด (เช่น ผิดขนาด ผิดทาง ผิดวิธี ผิดชนิด ผิด วัตถุประสงค์ ฯลฯ) 4.5 ใช้ข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับการใช้ยา อย่างสมเหตุผล (เช่น การเก็บรักษา การ บรรจุ ฯลฯ) 4.6 ใช้ระบบที่จำเป็นเพื่อการบริหารยา อย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น ใบMAR) 4.7 สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับยาและการใช้ ยาแก่ผู้เกี่ยวข้องเมื่อต้องมีการส่งต่อข้อมูล การรักษา 5. สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ยาได้อย่างเพียงพอ (Provide information) 5.1 ตรวจสอบความเข้าใจและความ มุ่งมั่นตั้งใจของผู้ป่วย/ผู้ดูแลในการจัดการ เฝ้าระวังติดตาม และการ มาตรวจตามนัด 5.2 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ชัดเจน เข้าใจ ได้ง่าย และเข้าถึงได้กับผู้ป่วย/ผู้ดูแล (เช่น ใช้เพื่ออะไร ใช้อย่างไร อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น รายงานอย่างไร ระยะเวลาของ การใช้ยา) 5.3 แนะนำผู้ป่วย/ผู้ดูแลเกี่ยวกับ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในเรื่องยาและการ รักษา 5.4 สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย/ผู้ดูแล ว่าจะจัดการอย่างไรในกรณีที่มีอาการไม่ดีขึ้น หรือการรักษาไม่ ก้าวหน้าในช่วงเวลาที่กำหนด 5.5 สนับสนุนผู้ป่วย/ผู้ดูแลให้มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการตนเองเรื่องยาและภาวะเจ็บป่วย 6. สามารถติดตามผลการรักษา และรายงานผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาได้ 6.1 ทบทวนแผนการบริหารยาให้ สอดคล้องกับแผนการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ 6.2 ต้องมีการติดตามประสิทธิภาพของการรักษาและอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้ยา 6.3 ค้นหาและรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาโดยใช้ระบบการรายงานที่เหมาะสม 6.4 ปรับแผนการบริหารยาให้ตอบสนองต่ออาการและความต้องการของผู้ป่วย 7. สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย และไม่เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม (Prescribe safely) 7.1 รู้เกี่ยวกับชนิด สาเหตุของความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบบ่อย และ วิธีการป้องกัน การหลีกเลี่ยง และการประเมิน


NSKnowledge Management [34] 7.2 ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการสั่งยาผ่านสื่อหรือบุคคลอื่น เช่น สั่งทาง โทรศัพท์ ทาง E-mail ทาง Line หรือสั่งผ่านบุคคลที่สาม และหาแนวทางลดความเสี่ยงนั้น 7.3 บริหารยาอย่างปลอดภัยตามกระบวนการบริหารยา เช่น 7 rights 7.4 พัฒนาหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ในประเด็นใหม่ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความ ปลอดภัยในการใช้ยา 7.5 รายงานความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา และทบทวนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ 8. สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม ตามความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ และเป็นไปตามหลักเวชจริยศาสตร์ (Prescribe professionally) 8.1 มั่นใจว่าพยาบาลสามารถสั่งจ่ายยาได้ ตาม พรบ.วิชาชีพและ พรบ.ยาแห่งชาติ 8.2 ยอมรับความรับผิดชอบส่วนบุคคลในการสั่งยาและเข้าใจในประเด็นกฎหมายและจริยธรรม 8.3 รู้และทำงานภายใต้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการสั่งยา (ยาที่ควบคุม ยาที่ไม่มีใบอนุญาต ยาไม่มีฉลาก) 9. สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ยาได้อย่างต่อเนื่อง (Improve prescribing practice) 9.1 สะท้อนคิดการบริหารยาของตนเอง และการสั่งยาของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการใช้ยาอย่างสม เหตุผล 9.2 เข้าใจและใช้เครื่องมือหรือกลไกที่เหมาะสมในการปรับปรุงการบริหารยาและการสั่งยา (เช่น patient and peer review feedback, prescribing data and analysis and audit) 10. สามารถทำงานร่วมกับบุคลากรอื่นแบบสหวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Prescribe as part of a team) 10.1 มีส่วนร่วมกับสหวิชาชีพเพื่อให้มั่นใจว่าการดูแลมีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันในทุกหน่วยโดยไม่ ขัดแย้ง 10.2 สร้างสัมพันธภาพกับทีมสหวิชาชีพ บนพื้นฐานของความเข้าใจ ความไว้วางใจ และยอมรับใน บทบาทของสหวิชาชีพ


NSKnowledge Management [35] ประเด็นที่สอดคล้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในการปฏิบัติการพยาบาล 17 ประเด็น ดังนี้ 1) National Drug Policy (NDP) and concepts of RDU 1) นโยบายยาแห่งชาติ (NDP) และแนวความคิดของ RDU 2) Basic pharmacology (Pharmacodynamics) and Clinical pharmacokinetics 2) เภสัชวิทยาพื้นฐาน (เภสัช) และเภสัชจลนศาสตร์คลินิก 3) Irrational/ inappropriate use of medicine 3) การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล/ ไม่เหมาะสม 4) Monitoring and evaluation impact of drug therapy 4) การติดตามและประเมินผลกระทบของการบำบัดด้วยยา 5) Adherence to treatment 5) การปฏิบัติตามการรักษา 6) Benefit-risk and cost assessment and decision making in prescription 6) การประเมินผลประโยชน์-ความเสี่ยงและต้นทุนและการ ตัดสินใจในใบสั่งยา 7) RDU in common illness 7) RDU ในความเจ็บป่วยทั่วไป 8) Taking an accurate and informative drug history 8) การซักประวัติยาที่ถูกต้องและให้ข้อมูล 9) Administer drug safely 9) ใช้ยาอย่างปลอดภัย 10) Medication errors 10) ข้อผิดพลาดของยา 11) Prescribing for patients with special requirements 11) การกำหนดให้ผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ 12) Provide patients and careers with appropriate information about their medicines 12) ให้ข้อมูลที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยและอาชีพเกี่ยวกับยา 13) Awareness of rational approach to prescribing and therapeutics 13) ความตระหนักในแนวทางที่มีเหตุผลในการสั่งจ่ายยา และการรักษา 14) Ethics of prescribing and drug promotion 14) จรรยาบรรณในการสั่งยาและส่งเสริมยา 15) Complementary and alternative medicine 15) ยาเสริมและการแพทย์ทางเลือก 16) Multi-professional care team to improve drug use 16) ทีมงานดูแลมืออาชีพ ปรับปรุงการใช้ยา 17) Continuous professional development in RDU 17) การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องใน RDU


NSKnowledge Management [36] กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 10 ข้อ 1. ข้อบ่งชี้ (Indication) ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น (เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ) 2. ประสิทธิผล (Efficacy) ยานั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง โดยอาจพิจารณาจากกลไก การออกฤทธิ์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ 3. ความเสี่ยง (Risk) คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลักมีประโยชน์มากกว่าโทษ และไม่มีข้อห้ามใช้ใน ผู้ป่วย 4. ค่าใช้จ่าย (Cost) ใช้ยาอย่างพอเพียงและคุ้มค่า 5. องค์ประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็น (Other considerations) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง รับผิดชอบและใช้ยา อย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานทางวิชาการ 6. ขนาดยา (Dose) ใช้ยาถูกขนาด 7. วิธีให้ยา (Method of administration) 8. ความถี่ในการให้ยา 9. ระยะเวลาในการให้ยา (Duration of treatment) 10. การยอมรับของผู้ป่วยและความสะดวกในการใช้ยา (Patient compliance) หัวข้อการสอน การพยาบาลผู้ป่วยใช้ยาสมเหตุผล สมรรถนะการใช้ยาสมเหตุผลที่กำหนด 1. สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา หรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา 1.1 การประเมินประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา และประวัติการแพ้ยา/แพ้ อาหาร 1.2 ประเมินอาการข้างเคียงจากการใช้ยา 1.3 ประเมินอาการที่ดีขึ้นหรือเลวลง 1.4 ติดตามความร่วมมือในการใช้ยา อย่างต่อเนื่อง 4. บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง 4.1 เข้าใจโอกาสที่จะเกิดผลไม่พึง ประสงค์จากการใช้ยา และดำเนินการเพื่อ หลีกเลี่ยง/ลดความเสี่ยงที่จะ เกิดขึ้น ตระหนักและจัดการแก้ไขปัญหา


NSKnowledge Management [37] ประเด็นเนื้อหาหลักที่กำหนด (เลือกจาก 17 ประเด็นเนื้อหาหลัก) 4. Monitoring and evaluation impact of drug therapy, adverse effects properly and reporting drug related problems 5. Adherence to treatment 9. Administer drug safely กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 1.ข้อบ่งชี้ (Indication) ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น (เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ) 2. ประสิทธิผล (Efficacy) ยานั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง โดยอาจพิจารณาจากกลไก การออกฤทธิ์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ 6.ขนาดยา (Dose) ใช้ยาถูกขนาด ผลการเรียนรู้ที่กำหนด 1. มีความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย 2. สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อสื่อสารการใช้ยาอย่างสมเหตุผลกับผู้ป่วยและครอบครัวได้ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายโอกาสของการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา 2. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนทางยา กระบวนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 1. บรรยายเรื่องการบริหารยาอย่างสมเหตุผลในผู้ป่วย (10 นาที) 2. แบ่งกลุ่มนักศึกษา กลุ่มละไม่เกิน 10 คน เพื่อร่วมกันวิเคราะห์กรณีศึกษาและอภิปรายในประเด็น โอกาส และการป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา ข้อพึงระวังและอาการแสดงที่สำคัญ ที่เกิดจากความ คลาดเคลื่อนของการใช้ยา และการสื่อสารกับผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล เพื่อลดหรือป้องกันการเกิดความ คลาดเคลื่อนทางยา (20 นาที) 3. สุ่มนักศึกษาเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาในประเด็นที่มอบหมาย อาจารย์เพิ่มเติมในประเด็นที่ นักศึกษายังอธิบายเหตุและผลไม่ชัดเจน/ไม่ถูกต้อง 4. สุ่มนักศึกษาให้แสดงบทบาทสมมติหัวข้อ การสื่อสารกับผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล เพื่อลดหรือป้องกันการ เกิดความคลาดเคลื่อนทางยา (10 นาที) 5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและซักถามเพิ่มเติม(10 นาที) 6. ผู้สอนสรุปประเด็นสำคัญ (10 นาที)


NSKnowledge Management [38] สื่อการสอน 1. ใบงาน 2. กรณีศึกษา 3. กระดาษ Flip chart 4. Power point และเอกสารประกอบการเรียนในระบบ e learning 5. อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ประกอบการสอน วิธีการประเมินผล 1. ประเมินความครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน ได้ใจความของคำตอบในใบงาน 2. Quiz เมื่อสิ้นสุดการสอน ตัวอย่างกรณีศึกษา ผู้ป่วยชายไทยอายุ 43 ปี การศึกษา ชั้นประถมปีที่ 4 สถานภาพสมรส คู่ อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล อาเจียนและอุจาระเป็นสีดำมา 3 วัน ทานอาหารไม่ได้และอ่อนเพลีย การวินิจฉัยโรค Warfarin Overdose ประวัติเจ็บป่วยในอดีต DM type II , DLP, stroke and CKD stage III ได้รับยา warfarin 2 mg. 1 tab hs. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ PT 50.4; INR 4.32; Hb 10.1 mg%; Hct. 30.3 % การรักษา รับไว้ในโรงพยาบาล - งดยา Warfarin - Repeat PT/INR q 12 hrs. - Observe Vital signs q 4 hrs. and notify if changes. แนวทางการอภิปราย สมรรถนะการใช้ยาสมเหตุผลที่ 1 , 4 ประเด็นเนื้อหาหลักข้อที่ 4 , 5 , 9 กรอบแนวคิดที่ 1 , 2 , 6 1. สรรพคุณของยา Wafarin และผลข้างเคียงของยา อาการและอาการแสดงเมื่อขาดยาหรือ ได้รับยามาก เกินไป 2. ประวัติการใช้ยา พฤติกรรมการกินยา การซื้อยากินเอง 3. การสื่อสารกับผู้ดูแลในการใช้ยา การจัดยาให้ผู้ป่วยและการสังเกตอาการที่เกิดจาก ผลข้างเคียงของการใช้ยา


NSKnowledge Management [39] ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับอาจารย์ Warfarin เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Oral anticoagulant) ใช้ในการรักษาและป้องกันภาวะ thromboembolism warfarin ออกฤทธิ์เป็น vitamin K antagonist ในกระบวนการ carboxylation ของ factor II, VII, IX และ X ใน coagulation cascade ความสำคัญคือ warfarin เป็นยาที่มี bioavailability สูง แต่ therapeutic range แคบ นอกจากนี้ยังพบ drug-drug interaction และ food-drug interaction ได้บ่อย การตอบสนองของยา warfarin ในผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อาหารที่มี วิตามินเคปริมาณมาก  การออกกำลังกาย  การดื่มแอลกอฮอลล์ การไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง (noncompliance) การใช้ยาอื่นร่วมที่มีผลต่อระดับยา warfarin หรือสภาวะที่ผู้ป่วยมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น โรคตับ ภาวะขาด สารอาหาร และภาวะไข้ เป็นต้น ดังนั้นขนาดของยาในแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวัง และเจาะเลือดติดตามอย่างใกล้ชิด ข้อปฏิบัติในการรับประทานยาวาร์ฟาริน 1. ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ไม่เพิ่ม ลด หรือหยุดยาเอง ควรรับประทานยาตามคำแนะนำ ของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยรับประทานยาในเวลาเดียวกันของทุกวัน ซึ่งจะทำให้เกิดความคุ้นเคยและช่วยให้ ไม่ลืมรับประทาน สามารถรับประทานยาก่อน หรือหลังอาหารได้ เนื่องจากยาไม่มีผลระคายเคืองต่อกระเพาะ อาหาร 2. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และควบคุมปริมาณอาหารชนิดพืช ผักใบเขียวที่รับประทานให้ สม่ำเสมอ ไม่ ควรรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป 3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารเสริม หรือสมุนไพรชนิดต่าง ๆ 4. หลีกเลี่ยงกีฬาหรือกิจกรรมที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเลือดออกง่าย ควรใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม ควรใช้แผ่นกัน ลื่นบริเวณห้องน้ำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ 5. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดบาดแผล เลือดอาจออกไม่หยุด หากบาดแผลมีขนาดเล็กและไม่ลึก วิธีแก้ไข คือ ใช้มือสะอาดกดไว้ให้แน่นตรงบาดแผล เลือดจะหยุดหรือออกน้อยลง หากเลือดยังไม่หยุดไหล ให้รีบไป โรงพยาบาลทันทีและแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบว่ารับประทานยาวาร์ฟารินอยู่ 6. หากต้องทำหัตถการทางการแพทย์ เช่นทำฟัน หรือผ่าตัด ต้องบอกให้ทันตแพทย์หรือแพทย์ ผู้รักษาทราบ ว่ากำลังรับประทานยาวาร์ฟาริน โดยเฉพาะในกรณีที่จะต้องทำการผ่าตัด ถอนฟัน หรือต้องรับประทานยา อย่างอื่นเพิ่ม เนื่องจากมียาหลายชนิดที่เพิ่มฤทธิ์หรือลดฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน 7. กรณีเข้ารับบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอื่นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทุกครั้ง และห้ามรับการรักษาโดยการฉีดยาเข้ากล้าม


NSKnowledge Management [40] 8. ควรพกสมุดประจำตัวเมื่อได้รับยาวาร์ฟาริน ติดตัวไว้เพื่อเป็นการดูแลตนเองและแสดงสมุดทุกครั้ง ที่เข้ารับ บริการในโรงพยาบาลหรือสถานบริการทางสุขภาพ เพื่อเป็นการแจ้งให้บุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ทราบ 9. หากลืมรับประทานยามีข้อปฏิบัติคือ ห้ามเพิ่มขนาดยาที่รับประทานเป็น 2 เท่าโดยเด็ดขาดและปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ - กรณีลืมรับประทานยาและยังไม่ถึง 12 ชั่วโมงให้รับประทานยาทันทีในขนาดเท่าเดิม - กรณีลืมรับประทานยาและเลย 12 ชั่วโมงไปแล้ว ให้ข้ามยาในมื้อนั้นไป แล้วรับประทานยามื้อต่อไปใน ขนาดเท่าเดิม 10. การเก็บรักษายา เก็บให้พ้นแสงและความชื้นและเก็บยาให้พ้นมือเด็ก 11. ยานี้มีผลต่อทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากท่านตั้งครรภ์ หรือมี โครงการจะมีบุตร ควรปรึกษาแพทย์ 12. ยานี้สามารถขับผ่านทางน้ำนมได้ ดังนั้นหญิงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร ก่อนใช้ยานี้ การ สังเกตอาการผิดปกติ ได้แก่ เลือดออกตามไรฟัน จ้ำเลือดตามตัว เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกทาง ทวารหนัก อุจจาระมีสีดำ มีเลือดออกที่ช่องคลอด หรือประจำเดือนมามากผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด ปวด ศีรษะมาก แขนขาอ่อนแรง หมดสติพูดไม่ชัด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้ามีอาการดังกล่าว ให้หยุดยาที่ รับประทานและรีบมาโรงพยาบาล การติดตามผลการรักษา 1. ผู้ป่วยจะต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อวัดการแข็งตัวของเลือด และให้แพทย์ได้ปรับยาให้เหมาะสม กับผู้ป่วย แต่ละราย 2 .หลังจากออกจากโรงพยาบาล 2 สัปดาห์ผู้ป่วยจะต้องมาตรวจตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษาและ ปรับ ระดับยา 3. เมื่อระดับยาคงที่แล้ว ควรเจาะเลือดเพื่อวัดการแข็งตัวของเลือดทุกครั้ง โดย แพทย์จะนัดตรวจทุก 1-3 เดือน


NSKnowledge Management [41] Quiz ผู้ป่วยอายุ 78 ปีรายหนึ่ง มาพบแพทย์ 2 แผนก ในวันเดียวกัน แพทย์อายุรกรรมสั่ง tramadol (50 มก.) 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง เมื่อมีอาการปวด จำนวน 30 เม็ด แพทย์แผนกโรคข้อและกระดูกสั่งยา Ultracet® (tramadol 37.5 มก. + paracetamol 325 มก.) 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง จำนวน 30 เม็ด จากประวัติพบว่า ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อ และเพิ่งมีอาการเป็นครั้งแรก ยังไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่ชัด ผู้ป่วยมีค่า eGFR = 28 mL/min/1.73 m2 ท่านจะให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยอย่างไร 1. ให้ใช้ยาของแพทย์อายุรกรรมเพียงอย่างเดียว โดยให้ใช้ตามขนาดที่แพทย์สั่ง 2. ให้ใช้ยาของแพทย์อายุรกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ให้ลดขนาดยาลงเป็นวันละไม่เกิน 2 ครั้ง ห่างกัน อย่าง น้อย 12 ชั่วโมง 3. ให้ใช้ยาของแพทย์แผนกกระดูกและข้อเพียงอย่างเดียว โดยให้ใช้ตามขนาดที่แพทย์สั่ง 4. ให้ใช้ยาของแพทย์แผนกกระดูกและข้อเพียงอย่างเดียว แต่ให้เพิ่มขนาดยาเป็นครั้งละ 2 เม็ด เนื่องจากได้ พาราเซตามอลในขนาดต่ำเกินไป เฉลย 2. เหตุผล การกินยาจากทั้งสองแผนกพร้อมกันเป็นการใช้ยาอย่างซ้ำซ้อน เพิ่มผลข้างเคียงจากยาโดยไม่ได้ ประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยมี eGFR < 30 mL/min/1.73 m2 ควรให้ยาห่างกันทุก 12 ชั่วโมง ควรหลีกเลี่ยงยา นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ (Ultracet) และหลีกเลี่ยงการใช้ยาผสมเมื่อใช้ยาเดี่ยวทดแทนได้ ประเด็น RDU ที่ประเมิน ความเสี่ยงจากการใช้ยา การใช้ยาอย่างซ้ำซ้อน การปรับขนาดยา special population (elderly และ renal impairment) บัญชียาหลักแห่งชาติ


NSKnowledge Management [42] กรณีศึกษาที่ 3 สมรรถนะ RDU ของบัณฑิต 1. สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา หรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา 1.1 การประเมินประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา และประวัติการแพ้ยา/แพ้ อาหาร 1.2 ประเมินอาการข้างเคียงจากการใช้ยา 1.3 ประเมินอาการที่ดีขึ้นหรือเลวลง 1.4 ติดตามความร่วมมือในการใช้ยา อย่างต่อเนื่อง 1.5 การส่งต่อ 2. สามารถร่วมพิจารณาการเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น 2.1 พิจารณาข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยที่ เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้ยาหรือการรักษาแบบไม่ใช้ยาในการ รักษาและการส่งเสริมสุขภาพ 2.2 พิจารณาข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยเพื่อประกอบการปรับขนาดยา หยุดการให้ยา หรือเปลี่ยนยา 2.3 ประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยาและไม่ใช้ยา 2.4 ใช้ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ของยาที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้จากปัจจัยต่อไปนี้ เช่น พันธุกรรม อายุ ความพร่องของไต การตั้งครรภ์ ฯลฯ เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้องให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา 2.5 พิจารณาโรคร่วม ยาที่ใช้อยู่ การแพ้ยา ข้อห้ามการใช้ยา และคุณภาพชีวิต ที่อาจส่งผลกระทบต่อ การเลือกใช้ยา 2.6 คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาของผู้ป่วย (เช่น ความสามารถในการกลืนยา ศาสนา) และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการบริหารยา 2.7 พัฒนาความรู้ให้เป็นปัจจุบัน ใช้แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และคำนึงถึงความคุ้ม ทุนในการพิจารณาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 2.8 เข้าใจเรื่องเชื้อดื้อยา แนวทางการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา (antimicrobial stewardship measures) 3. สามารถสื่อสารเพื่อให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจในการใช้ยา โดยพิจารณาจากข้อมูลทางเลือกที่ถูกต้องเหมาะสม กับบริบทและเคารพในมุมมองของผู้ป่วย 3.1 ชี้แจงทางเลือกในการรักษา ยอมรับ ในการตัดสินใจเลือกแผนการรักษาและ เคารพในสิทธิของ ผู้ป่วย/ผู้ดูแล ในการปฏิเสธและจำกัดการรักษา 3.2 ระบุและยอมรับความแตกต่าง ระหว่างบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ และความคาดหวัง เกี่ยวกับสุขภาพ และการรักษาด้วยยา 3.3 อธิบายเหตุผล และความเสี่ยง/ประโยชน์ของทางเลือกในการรักษาที่ ผู้ป่วย/ผู้ดูแล เข้าใจได้


NSKnowledge Management [43] 3.4 ประเมินความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ด่วนตัดสินและเข้าใจเหตุผลในการ ไม่ร่วมมือของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้และหาวิธีที่ดีที่สุดในการสนับสนุนผู้ป่วย/ผู้ดูแล 3.5 สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย/ ผู้เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยไม่คาดหวังว่า การสั่งยานั้นจะเป็นไปตามที่ต้องการ 3.6 ทำความเข้าใจกับการร่วมปรึกษาหารือก่อนใช้ยาเพื่อผลลัพธ์ที่นำไปสู่ ความพึงพอใจของทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง 4. บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง 4.1 เข้าใจโอกาสที่จะเกิดผลไม่พึง ประสงค์จากการใช้ยา และดำเนินการเพื่อ หลีกเลี่ยง/ลดความเสี่ยงที่จะ เกิดขึ้น ตระหนักและจัดการแก้ไขปัญหา 4.2 เข้าใจการสั่งจ่ายยาของแพทย์ตาม กรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ 4.3 ตรวจสอบและคำนวณการใช้ยาให้ ถูกต้อง 4.4 คำนึงถึงโอกาสที่จะเกิดการใช้ยาผิด (เช่น ผิดขนาด ผิดทาง ผิดวิธี ผิดชนิด ผิด วัตถุประสงค์ ฯลฯ) 4.5 ใช้ข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับการใช้ยา อย่างสมเหตุผล (เช่น การเก็บรักษา การ บรรจุ ฯลฯ) 4.6 ใช้ระบบที่จำเป็นเพื่อการบริหารยา อย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น ใบMAR) 4.7 สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับยาและการใช้ ยาแก่ผู้เกี่ยวข้องเมื่อต้องมีการส่งต่อข้อมูล การรักษา 5. สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้ยาได้อย่างเพียงพอ (Provide information) 5.1 ตรวจสอบความเข้าใจและความ มุ่งมั่นตั้งใจของผู้ป่วย/ผู้ดูแลในการจัดการ เฝ้าระวังติดตาม และการ มาตรวจตามนัด 5.2 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ชัดเจน เข้าใจ ได้ง่าย และเข้าถึงได้กับผู้ป่วย/ผู้ดูแล (เช่น ใช้เพื่ออะไร ใช้อย่างไร อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น รายงานอย่างไร ระยะเวลาของ การใช้ยา) 5.3 แนะนำผู้ป่วย/ผู้ดูแลเกี่ยวกับ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในเรื่องยาและการ รักษา 5.4 สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย/ผู้ดูแล ว่าจะจัดการอย่างไรในกรณีที่มีอาการไม่ดีขึ้น หรือการรักษาไม่ ก้าวหน้าในช่วงเวลาที่กำหนด 5.5 สนับสนุนผู้ป่วย/ผู้ดูแลให้มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการตนเองเรื่องยาและภาวะเจ็บป่วย 6. สามารถติดตามผลการรักษา และรายงานผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาได้ 6.1 ทบทวนแผนการบริหารยาให้ สอดคล้องกับแผนการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ 6.2 ต้องมีการติดตามประสิทธิภาพของการรักษาและอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้ยา 6.3 ค้นหาและรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาโดยใช้ระบบการรายงานที่เหมาะสม 6.4 ปรับแผนการบริหารยาให้ตอบสนองต่ออาการและความต้องการของผู้ป่วย 7. สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย และไม่เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม (Prescribe safely) 7.1 รู้เกี่ยวกับชนิด สาเหตุของความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบบ่อย และ วิธีการป้องกัน การหลีกเลี่ยง และการประเมิน


NSKnowledge Management [44] 7.2 ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการสั่งยาผ่านสื่อหรือบุคคลอื่น เช่น สั่งทาง โทรศัพท์ ทาง E-mail ทาง Line หรือสั่งผ่านบุคคลที่สาม และหาแนวทางลดความเสี่ยงนั้น 7.3 บริหารยาอย่างปลอดภัยตามกระบวนการบริหารยา เช่น 7 rights 7.4 พัฒนาหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ในประเด็นใหม่ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความ ปลอดภัยในการใช้ยา 7.5 รายงานความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา และทบทวนการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ 8. สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม ตามความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ และเป็นไปตามหลักเวชจริยศาสตร์ (Prescribe professionally) 8.1 มั่นใจว่าพยาบาลสามารถสั่งจ่ายยาได้ ตาม พรบ.วิชาชีพและ พรบ.ยาแห่งชาติ 8.2 ยอมรับความรับผิดชอบส่วนบุคคลในการสั่งยาและเข้าใจในประเด็นกฎหมายและจริยธรรม 8.3 รู้และทำงานภายใต้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการสั่งยา (ยาที่ควบคุม ยาที่ไม่มีใบอนุญาต ยาไม่มีฉลาก) 9. สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ยาได้อย่างต่อเนื่อง (Improve prescribing practice) 9.1 สะท้อนคิดการบริหารยาของตนเอง และการสั่งยาของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการใช้ยาอย่างสม เหตุผล 9.2 เข้าใจและใช้เครื่องมือหรือกลไกที่เหมาะสมในการปรับปรุงการบริหารยาและการสั่งยา (เช่น patient and peer review feedback, prescribing data and analysis and audit) 10. สามารถทำงานร่วมกับบุคลากรอื่นแบบสหวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Prescribe as part of a team) 10.1 มีส่วนร่วมกับสหวิชาชีพเพื่อให้มั่นใจว่าการดูแลมีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันในทุกหน่วยโดยไม่ ขัดแย้ง 10.2 สร้างสัมพันธภาพกับทีมสหวิชาชีพ บนพื้นฐานของความเข้าใจ ความไว้วางใจ และยอมรับใน บทบาทของสหวิชาชีพ


NSKnowledge Management [45] ประเด็นที่สอดคล้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในการปฏิบัติการพยาบาล 17 ประเด็น ดังนี้ 1) National Drug Policy (NDP) and concepts of RDU 1) นโยบายยาแห่งชาติ (NDP) และแนวความคิดของ RDU 2) Basic pharmacology ( Pharmacodynamics) and Clinical pharmacokinetics 2) เภสัชวิทยาพื้นฐาน (เภสัช) และเภสัชจลนศาสตร์คลินิก 3) Irrational/ inappropriate use of medicine 3) การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล/ ไม่เหมาะสม 4) Monitoring and evaluation impact of drug therapy 4) การติดตามและประเมินผลกระทบของการบำบัดด้วยยา 5) Adherence to treatment 5) การปฏิบัติตามการรักษา 6) Benefit-risk and cost assessment and decision making in prescription 6) การประเมินผลประโยชน์-ความเสี่ยงและต้นทุนและการ ตัดสินใจในใบสั่งยา 7) RDU in common illness 7) RDU ในความเจ็บป่วยทั่วไป 8) Taking an accurate and informative drug history 8) การซักประวัติยาที่ถูกต้องและให้ข้อมูล 9) Administer drug safely 9) ใช้ยาอย่างปลอดภัย 10) Medication errors 10) ข้อผิดพลาดของยา 11) Prescribing for patients with special requirements 11) การกำหนดให้ผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ 12) Provide patients and careers with appropriate information about their medicines 12) ให้ข้อมูลที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยและอาชีพเกี่ยวกับยา 13) Awareness of rational approach to prescribing and therapeutics 13) ความตระหนักในแนวทางที่มีเหตุผลในการสั่งจ่ายยา และการรักษา 14) Ethics of prescribing and drug promotion 14) จรรยาบรรณในการสั่งยาและส่งเสริมยา 15) Complementary and alternative medicine 15) ยาเสริมและการแพทย์ทางเลือก 16) Multi- professional care team to improve drug use 16) ทีมงานดูแลมืออาชีพ ปรับปรุงการใช้ยา 17) Continuous professional development in RDU 17) การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องใน RDU


NSKnowledge Management [46] กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 10 ข้อ 1. ข้อบ่งชี้ (Indication) ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น (เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ) 2. ประสิทธิผล (Efficacy) ยานั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง โดยอาจพิจารณาจากกลไก การออกฤทธิ์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ 3. ความเสี่ยง (Risk) คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลักมีประโยชน์มากกว่าโทษ และไม่มีข้อห้ามใช้ใน ผู้ป่วย 4. ค่าใช้จ่าย (Cost) ใช้ยาอย่างพอเพียงและคุ้มค่า 5. องค์ประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็น (Other considerations) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง รับผิดชอบและใช้ยา อย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานทางวิชาการ 6. ขนาดยา (Dose) ใช้ยาถูกขนาด 7. วิธีให้ยา (Method of administration) 8. ความถี่ในการให้ยา 9. ระยะเวลาในการให้ยา (Duration of treatment) 10. การยอมรับของผู้ป่วยและความสะดวกในการใช้ยา (Patient compliance) หัวข้อการสอน การพยาบาลผู้ป่วยใช้ยาสมเหตุผล สมรรถนะการใช้ยาสมเหตุผลที่กำหนด 1. สามารถประเมินปัญหาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา หรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา 1.1 การประเมินประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา และประวัติการแพ้ยา/แพ้ อาหาร 1.2 ประเมินอาการข้างเคียงจากการใช้ยา 1.3 ประเมินอาการที่ดีขึ้นหรือเลวลง 1.4 ติดตามความร่วมมือในการใช้ยา อย่างต่อเนื่อง 4. บริหารยาตามการสั่งใช้ยาได้อย่างถูกต้อง 4.1 เข้าใจโอกาสที่จะเกิดผลไม่พึง ประสงค์จากการใช้ยา และดำเนินการเพื่อ หลีกเลี่ยง/ลดความเสี่ยงที่จะ เกิดขึ้น ตระหนักและจัดการแก้ไขปัญหา


NSKnowledge Management [47] ประเด็นเนื้อหาหลักที่กำหนด (เลือกจาก 17 ประเด็นเนื้อหาหลัก) 4. Monitoring and evaluation impact of drug therapy, adverse effects properly and reporting drug related problems 5. Adherence to treatment 9. Administer drug safely 10. Medication errors 11. Prescribing for patients with special requirements ผลการเรียนรู้ที่กำหนด 1. มีความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด 2. สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อสื่อสารการใช้ยาอย่างสมเหตุผลกับผู้ป่วยและครอบครัวได้ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายโอกาสของการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา 2. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนทางยา กระบวนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 1. บรรยายเรื่องการบริหารยาอย่างสมเหตุผลในผู้ป่วย (10 นาที) 2. แบ่งกลุ่มนักศึกษา กลุ่มละไม่เกิน 10 คน เพื่อร่วมกันวิเคราะห์กรณีศึกษาและอภิปรายในประเด็น โอกาส และการป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา ข้อพึงระวังและอาการแสดงที่สำคัญ ที่เกิดจากความ คลาดเคลื่อนของการใช้ยา และการสื่อสารกับผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล เพื่อลดหรือป้องกันการเกิดความ คลาดเคลื่อนทางยา (20 นาที) 3. สุ่มนักศึกษาเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาในประเด็นที่มอบหมาย อาจารย์เพิ่มเติมในประเด็นที่ นักศึกษายังอธิบายเหตุและผลไม่ชัดเจน/ไม่ถูกต้อง 4. สุ่มนักศึกษาให้แสดงบทบาทสมมติหัวข้อ การสื่อสารกับผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล เพื่อลดหรือป้องกันการ เกิดความคลาดเคลื่อนทางยา (10 นาที) 5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและซักถามเพิ่มเติม(10 นาที) 6. ผู้สอนสรุปประเด็นสำคัญ (10 นาที)


Click to View FlipBook Version