The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แบบรายงานสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by daengchot.salakchit, 2023-05-06 19:50:11

แบบรายงานสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา

แบบรายงานสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา

ก รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา คำนำ แบบรายงานผลการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามตัวชี้วัด ในระยะเวลา 1 ปี (รอบ 6 เดือน) สำหรับผู้ได้รับ การบรรจุและแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา จัดทำขึ้นเพื่อเป็นไปตามข้อตกลงในการปฏิบัติงาน ในหน้าที่ ซึ่งครอบคลุมการปฏิบัติงานตามลักษณะงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามกรอบภารกิจของสถานศึกษาให้ สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานนี้เพื่อให้ได้ ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีศักยภาพ มีภาวะผู้นำ มีความสามารถรอบด้านทั้ง “เก่งคน เก่งงาน และเก่งวิชาการ” เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษามีความภาคภูมิและองอาจ ในฐานะที่เป็นกลไกสำคัญในการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในระดับสถานศึกษา แบบรายงานผลฉบับนี้ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลของผู้รับ การประเมิน ส่วนที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบและตัวชี้วัด การประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงาน ดังนี้ การบริหารวิชาการ และความเป็นผู้นำทางวิชาการ การบริหารจัดการ สถานศึกษา การบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม การบริหารงานชุมชนและเครือข่าย และการ พัฒนาตนเองและวิชาชีพ ขอขอบคุณคณะกรรมการประเมิน สัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากร นักเรียนคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือและสนับสนุน ในการดำเนินการบริหารกิจการสถานศึกษา ให้สำเร็จลุล่วงตามกลยุทธ์ นโยบายและจุดเน้นของสถานศึกษา หากมี ข้อผิดพลาด หรือข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้ และขออภัยมา ณ ที่นี้ นายโชคชัย เศษอาจ


ข รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ............................................................................................................................. ....................... ก สารบัญ ............................................................................................................................. .................... ข ตอนที่ 1 ข้อมูลของผู้รับการประเมิน ประวัติส่วนตัว ............................................................................................................. ........ 1 ประวัติการศึกษา ........................................................................................................... ..... 1 ประวัติการรับราชการ ........................................................................................................ 1 ตอนที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ข้อมูลทั่วไป ............................................................................................................... .......... 2 ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา ........................................................................................... 5 ข้อมูลนักเรียน ..................................................................................................................... 7 ข้อมูลด้านอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้........................................................................... 8 สภาพชุมชนโดยรอบ ……………………………………………………………………………………………… 10 ตอนที่ 3 ผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ ................................ 11 องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการสถานศึกษา ................................................................ 25 องค์ประกอบที่ 3 การบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม ........................... 38 องค์ประกอบที่ 4 การบริหารงานชุมชนและเครือข่าย ………………………………………………… 50 องค์ประกอบที่ 5 การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ………………………………………………………… 54


3 แบบรายงานผลการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงาน นายโชคชัย เศษอาจ ผู้อำนวยการโรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ตอนที่ 1 ข้อมูลของผู้รับการประเมิน ชื่อ-สกุล : นายโชคชัย เศษอาจ ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษา อายุราชการ : 6 เดือน (นับถึงวันที่ 10 เมษายน 2566) วันเดือนปีเกิด : วันที่ 7 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2525 อายุ : 40 ปี7 เดือน เชื้อชาติ : ไทย สัญชาติ : ไทย ศาสนา : พุทธ ภูมิลำเนา : เลขที่ 133 หมู่ 8 ต.ตูมใต้ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลการติดต่อ ประวัติการศึกษา ข้อมูลส่วนตัว ประวัติการรับราชการ ระดับ ชื่อสถานศึกษา คุณวุฒิ/สาขาวิชา ปริญญาตรี มหาวิทยาลัย มหาสารคาม บธ.บ. สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ศศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ วุฒิครู มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร ป.บัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ปริญญาโท มหาวิทยาลัย รามคำแหง ศษ.ม. สาขาการบริหารการศึกษา ปี ตำแหน่ง ชื่อสถานศึกษา สังกัด 2553-2555 ครูผู้ช่วย โรงเรียน บ้านดอนแดง สพป. สน.3 2555-2563 ครู โรงเรียน โคกสีวิทยาสรรค์ สพม.สกลนคร 2563-2565 รองผู้อำนวยการ สถานศึกษา โรงเรียน บ้านม่วงพิทยาคม สพม.สกลนคร 2565-ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ สถานศึกษา โรงเรียน โพธิ์ชัยทองพิทยาคม สพม.สกลนคร 063-0165671 [email protected] 133 หมู่ 8 ต.ตูมใต้ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ทักษะและความสามารถ ด้านกีฬา ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ


รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตอนที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 1. ข้อมูลทั่วไป ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม รหัสโรงเรียน 47032010 ที่อยู่ เลขที่ 163 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47140 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร E-mail [email protected] เว็บไซต์ www.pctp.ac.th เปิดสอนระดับชั้น เปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 138 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 17 คน เนื้อที่ มีเนื้อที่ 100 ไร่ เขตพื้นที่บริการ มีโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการ 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านโพธิ์ชัย โรงเรียนบ้านนาจาน โรงเรียนบ้านบ่อแดง โรงเรียนหนองกวั่งหนองกรุงศรี โรงเรียนบ้านนาดูนาดี โรงเรียนบ้านโนนแสบง โรงเรียนบ้านคำลอดพื้น โรงเรียนบ้านเหล่าผักใส่ โรงเรียนบ้านห้วยทราย โรงเรียนชุมชนห้วยหลัว สีประจำโรงเรียน ฟ้า – เหลืองทอง สีฟ้า หมายถึง ความสดใส ความร่าเริง ความอ่อนโยน สีเหลืองทอง หมายถึง ความสามัคคี ความเป็นผู้มีปัญญา ความเจริญก้าวหน้า คติพจน์ ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ “บุคคลย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา” คำขวัญ รักศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สื่อสารสองภาษา รักษาสิ่งแวดล้อมโลก เอกลักษณ์ “รับผิดชอบ สามัคคี มีวินัย ใส่ใจสาธารณะ” อัตลักษณ์ “กิจกรรมดี มีความรู้ คู่คุณธรรม” วิสัยทัศน์(Visions) โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคมจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา พันธกิจ (Mission) 1. ส่งเสริมให้มีหลักสูตรที่หลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้เรียน 2. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูสู่มาตรฐานสากล 3. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ 4. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นหลักธรรมาภิบาล 5. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและภาคนอกโรงเรียน 6. ส่งเสริมให้องค์กรภายนอก ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีบทบาทใน การพัฒนาสถานศึกษา


3 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป้าประสงค์(Goals) 1. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีหลักสูตรที่หลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้เรียน 2. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูสู่มาตรฐานสากล 3. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ 4. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นหลักธรรมาภิบาล 5. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและ ภาคนอกโรงเรียน 6. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้องค์กรภายนอก ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ มีบทบาทในการพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ (Strategies) กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาครูสู่มาตรฐานสากล กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาผู้เรียน กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการ กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาสัมพันธ์ชุมชน นโยบายและจุดเน้น สถานศึกษาควรพัฒนาในด้านประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ โดยควรให้บุคลากรได้รับการพัฒนาด้วยการทำกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมการเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้หลักสูตรและนวัตกรรมทางการศึกษา การวัดผล ประเมินผลทางการเรียนการสอน กิจกรรมการวิเคราะห์หลักสูตร การวิเคราะห์ผู้เรียน รายบุคคล กิจกรรมการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการจัดทำ และใช้แผนการจัดการ เรียนการสอน กิจกรรมการวัดผลประเมินผล การจัดการเรียนการสอน กิจกรรม วิเคราะห์ผล และพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น ประวัติโรงเรียน เดิมโรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม เป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม ตั้งอยู่เลขที่ 163 หมู่ 3 บ้านโพธิ์ชัย ต.หนองกวั่ง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุมัติจากกรม สามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2537 โดยมีนายศุภชัย ทาสมบูรณ์ อาจารย์ 2 ระดับ 6 โรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม เป็นผู้ประสานงาน ตั้งแต่แรกเริ่มตามคำสั่งโรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม ที่ 101/2536 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2536 เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนในชนบท ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สูงขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้น ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคมและผู้ประสานงานจึงได้จัดหาที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคาร เรียนโดยได้รับความร่วมมือจากสภาตำบลหนองกวั่ง กำนันตำบลหนองกวั่ง และคณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านโพธิ์ชัยและบ้านโพธิ์ทองได้มีมติเป็นเอกฉันท์มอบที่ดิน จำนวน 1 แปลงเนื้อที่ 100 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ทางชาวบ้านโพธิ์ชัย


4 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา และโพธิ์ทองได้บริจาคไม้และวัสดุมุงหลังคา สร้างอาคารเรียนชั่วคราวให้ 1 หลัง ขนาด 4 ห้องเรียน กว้าง 8 เมตร ยาว 32 เมตร ปัจจุบันจัดการเรียนการสอน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี พ.ศ. 2542 ได้รับการจัดตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาลตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ ณ วันที่ 14 มกราคม 2542 เป็น โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ปี พ.ศ. 2544 บริษัท MK Restaurant ได้บริจาคอาคารเรียน แบบ 108 ล/30 โดยผ่านพระราชบัณฑิต และทำพิธีเปิดอาคารใน วันที่ 10 พฤษภาคม 2544 โดยมีท่านเจ้าคุณพระพรหมมุณี วัดบวรนิเวศวิหารเป็นประธาน เปิดอาคาร ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อธิบดีกรมสามัญศึกษาเป็นประธานรับมอบ ปี พ.ศ. 2545 โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม มีพระพรหมมุณี วัดบวรนิเวศ วิหารเป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียน โดยพระราชบัณฑิตสนองงาน ปี พ.ศ. 2545 โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ได้รับจัดสรรงบประมาณก่อสร้าง อาคารแบบ 108 ล/30 จำนวน 1 หลัง ปี พ.ศ. 2548 โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม บริษัท MK Restaurant ได้บริจาคอาคารหอดนตรีโดยผ่านพระราชบัณฑิต ปี พ.ศ. 2560 โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ได้รับจัดสรรงบประมาณก่อสร้าง อาคารโรงอาหารขนาด 300 ที่นั่ง จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2561 โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคมบริษัท MK Restaurant ได้บริจาค เงินเพื่อปรับปรุงและซ่อมแซมหอดนตรี


5 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2. ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา 2.1 ข้อมูลผู้บริหาร ชื่อ-สกุลผู้อำนวยการสถานศึกษา นายโชคชัย เศษอาจ โทรศัพท์ 063-0165671 ชื่อ-สกุลรองผู้อำนวยการสถานศึกษา นางนงลักษณ์ ชาญนรา โทรศัพท์ 098-5693252 2.2 ข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2.2.1 จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตารางที่ 2.1 แสดงจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 บุคลากร ผู้บริหาร ข้าราชการครู พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง เจ้าหน้าที่อื่น ๆ รวม จำนวน 2 10 2 1 2 17 ที่มาของข้อมูล : กลุ่มบริหารงานบุคคล ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2566 แผนภูมิที่ 1 แสดงจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปีการศึกษา 2565 ที่มาของข้อมูล : กลุ่มบริหารงานบุคคล วันที่ 30 มีนาคม 2566 2.2.2 วุฒิการศึกษาสูงสุดของบุคลากร ตารางที่ 2.2 แสดงวุฒิการศึกษาสุงสุดของบุคลากร บุคลากร ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวมทั้งหมด จำนวน 1 12 4 0 17 ที่มาของข้อมูล : กลุ่มบริหารงานบุคคล ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2566 2 10 2 1 2 0 2 4 6 8 10 12 ผู้บริหาร ข้าราชการครู พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง เจ้าหน้าที่อื่น ๆ ผู้บริหาร ข้าราชการครู พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง เจ้าหน้าที่อื่น ๆ


6 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ต่่ากว่าปริญญาตรี, 1 ปริญญาตรี, 12 ปริญญาโท, 4 ปริญญาเอก, 0 0 2 4 6 8 10 12 14 ต่่ากว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก แผนภูมิที่ 2 แสดงวุฒิการศึกษาสูงสุดของบุคลากร ปีการศึกษา 2565 ที่มาของข้อมูล : กลุ่มบริหารงานบุคคล ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2566 2.2.3 สาขาวิชาที่จบการศึกษาและภาระงานสอน ตารางที่ 2.3 แสดงสาขาวิชาที่จบการศึกษาและภาระงานสอนของบุคลากร ที่มาของข้อมูล : กลุ่มบริหารงานบุคคล ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2566 สาขาวิชา จำนวน (คน) ภาระงานสอนเฉลี่ยของครู 1 คน ในแต่ละสาขาวิชา (ชม./สัปดาห์) 1. ฝ่ายบริหาร 2 15 2. ภาษาไทย 2 20 3. คณิตศาสตร์ 1 23 4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 21 5. สังคมศึกษา 1 22 6. สุขศึกษาและพลศึกษา 1 21 7. ศิลปะ 1 20 8. การงานอาชีพ 2 20 9. ภาษาต่างประเทศ 2 20 รวม 15 20


7 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา 3. ข้อมูลนักเรียน ตารางที่ 2.4 จำนวนนักเรียน ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้น 138 คน ระดับชั้นเรียน จำนวนห้อง เพศ รวม เฉลี่ยต่อห้อง ชาย หญิง ม.1 1 9 13 22 22 ม.2 2 13 20 33 17 ม.3 2 16 21 37 19 รวม ม.ต้น 5 38 54 92 ม.4 1 10 4 14 14 ม.5 1 5 9 14 14 ม.6 1 13 5 18 18 รวม ม.ปลาย 3 28 18 46 รวมทั้งหมด 8 66 72 138 17 ที่มาของข้อมูล : งานทะเบียนนักเรียน กลุ่มบริหารวิชาการ ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2566 แผนภูมิที่ 3 แสดงจำนวนนักเรียนแยกชาย-หญิง ปีการศึกษา 2565 ที่มาของข้อมูล : งานทะเบียนนักเรียน กลุ่มบริหารวิชาการ ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2566 9 13 16 10 5 13 13 20 21 4 9 5 0 5 10 15 20 25 ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 ชาย หญิง


8 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา 4. ข้อมูลด้านอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ 4.1 อาคารสถานที่ อาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม มีอาคารสถานที่ อาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น ดังนี้ ตารางที่ 2.5 แสดงจำนวนอาคารสถานที่ อาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น ที่ ประเภท จำนวน แบบ 1 อาคารเรียน 2 108 ล,108 ,ล/30 2 อาคารเรียน 1 กึ่งถาวร 3 อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงาน/หอประชุม 1 อื่น ๆ (สร้างเอง) 4 อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงาน/หอประชุม 1 โรงอาหาร 300 ที่นั่ง 5 อาคารอเนกประสงค์/โรงอาหาร/โรงฝึกงาน/หอประชุม 1 อื่น ๆ (สร้างเอง) 6 บ้านพักครู 2 บ้านพักครู 207 7 บ้านพักครู 1 บ้านพักครู 203/27 8 บ้านพักภารโรง 1 บ้านพักภารโรง/32 9 ส้วม 2 ส้วมมาตรฐาน 6 ที่นั่ง /27 10 ส้วม 1 ส้วมนักเรียนหญิง 4 ที่/49 11 หอสมุด 1 อื่น ๆ 12 บ่อเลี้ยงปลา 2 อื่น ๆ 13 บ่อน้ำตื้น 2 อื่น ๆ 14 สนามกีฬา 1 สนามวอลเลย์บอล 15 สนามกีฬา 1 สนามตะกร้อ 16 สนามกีฬา 1 สนามบาสเก็ตบอล 17 ถังเก็บน้ำ 1 หอส่งน้ำ (ประปา ร.ร.) 18 ถังเก็บน้ำ 1 แท้งค์น้ำ 19 รั้ว 1 รั้วคอนกรีต 20 รั้ว 1 รั้วลวดหนาม 21 ถนน/รางระบายน้ำ 4 ถนนคอนกรีต ที่มาของข้อมูล : กลุ่มบริหารงานทั่วไป ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566


9 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา 4.2 แหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา 4.2.1 แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม มีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ดังนี้ ตารางที่ 2.6 แสดงข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ที่ รายการ จำนวน 1 ห้องสมุด 1 2 ห้องคอมพิวเตอร์ 1 3 ห้องปฏิบัติการ (เคมี, ฟิสิกส์, ชีววิทยา) 3 4 ห้องปฏิบัติการทางภาษา 2 5 ห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ 1 6 ห้องดนตรี, ศิลปะ, นาฏศิลป์ 3 7 ห้องสุขศึกษาและพลศึกษา 1 8 ห้องเกียรติยศ 1 9 โรงอาหาร 1 10 สนามกีฬา (วอลเลย์บอล,เซปักตะกร้อ,บาสเกตบอล) 3 11 คลินิกเสมารักษ์ 1 12 ห้องสภานักเรียน 1 13 ห้องเกษตรกรรม 1 14 สวนเกษตรพอเพียง 2 15 บ่อเลี้ยงปลา 3 16 สวนป่า 60 ปี พระเทพญาณวิศิษฏ์ 1 17 ห้องศาสตร์พระราชา 1 ที่มาของข้อมูล : กลุ่มบริหารวิชาการ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566


10 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา 4.2.2 แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ข้อมูลการใช้แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม มีดังนี้ ตารางที่ 2.7 แสดงข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ที่ รายการ 1 ศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร 2 นาเกลือสินเธาว์ ตำบลหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร 3 วัดศรัทธาราม บ้านบ่อแก้ว อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร 4 วัดศิริสมภรณ์ ตำบลหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร 5 วัดวิสุทธาวาสตำบลหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ที่มาของข้อมูล : กลุ่มบริหารวิชาการ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 5. สภาพชุมชนโดยรวม ลักษณะชุมชนโดยรอบโรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคมเป็นชุมชนที่ให้ความสำคัญในด้านการศึกษา โดยให้ความร่วมมือและสนับสนุนโรงเรียนอย่างดีมาก ประชากรร้อยละ 87 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีเชื้อชาติ ไทย สัญชาติไทย เชื้อชาติลาว และเชื้อชาติพม่า ประชากรร้อยละ 100 นับถือศาสนาพุทธมีขนบธรรมเนียม ประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญเผวส ประเพณีบุญข้าวสาก ประเพณีลอยกระทง ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้เฉลี่ยต่อปี 40,000 บาท โดยยึด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์สภาพพื้นที่ของตำบลหนองกวั่ง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติ มีป่าไม้เบญจพรรณ ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 16 ของพื้นที่ทั้งหมด สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่ดอน ลักษณะดินเป็นดินปนทราย มีปัญหาดินเค็ม ร้อยละ 32 ของพื้นที่การเกษตร ประชากรบางหมู่บ้าน ประกอบอาชีพทำนาเกลือสินเธาว์ สภาพภูมิอากาศ มีสภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูหนาว และฤดูฝน ชุมชน โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม การคมนาคม มีความสะดวกเนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตชุมชน และมีถนนตัดผ่านทั้ง ด้านหน้าและ ด้านข้าง โดยด้านหน้าของโรงเรียนตั้งอยู่ติดกับ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2092 สายเหล่าอุดม-กุดเรือคำ เป็น ทางหลวงแผ่นดินสายหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี ระยะทางจากโรงเรียนถึงอำเภอบ้านม่วง ประมาณ 16 กิโลเมตร ระยะทางจากโรงเรียนถึงจังหวัดสกลนคร ประมาณ 125 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้ทั้งทางรถยนต์และ รถจักรยานยนต์


11 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตอนที่ 3 ผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ ตัวชี้วัดที่ 1 พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ วางแผน ตรวจสอบ ทบทวน จัดทำและพัฒนาหลักสูตรประสานงาน วิชาการ และนำหลักสูตรไปใช้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะและการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ กลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ได้ให้ความสำคัญในการวางแผนการดำเนินงาน วิชาการ กำหนดแนวทางปฏิบัติ การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่อง โดยมุ่งกระจาย อำนาจในการบริหารจัดการให้สถานศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โรงเรียน ชุมชน ภาคีเครือข่าย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็ง มีการวางแผน ตรวจสอบ ทบทวน และพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลและประเมินผล รวมทั้งปัจจัยเกื้อหนุนการพัฒนา คุณภาพนักเรียน โรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพ สถานศึกษามีการจัดทำคู่มือการ ปฏิบัติงานของกลุ่มบริหารวิชาการ เพื่อ ประกอบการปฏิบัติหน้าที่ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามขอบข่ายของกลุ่มงาน เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐาน ขอบข่ายของ งานกลุ่มบริหารวิชาการประกอบด้วย ข้อมูล ทั่วไป ขอบข่ายและภารกิจผู้รับผิดชอบ ด้านบริหารวิชาการ และขอบข่ายงานบริหาร วิชาการ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการอื่น ๆ และเอกสารหลักฐานทางการศึกษา


12 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา สถานศึกษามีการจัดทำแผนยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนโพธิ์ชัยทอง พิทยาคม เพื่อวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพ ผู้เรียน ปีการศึกษา 2564 โดยมีเป้าหมายเพื่อ เป็นแนวทางปฏิบัติในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับสถานศึกษาปีการศึกษา 2565 ให้มีค่าพัฒนาการเชิงบวก และเพื่อ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ในกลุ่มสาระ การเรียนรู้หลักให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 2 สถานศึกษามีแนวทางการบริหารจัดการ หลักสูตร ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนา และใช้หลักสูตรตลอดแนว ทั้งหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรอบหลักสูตร ระดับท้องถิ่น และหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจน แนวคิดสำคัญของการจัดการเรียนรู้การวัดและ ประเมินผล ในชั้นเรียน


13 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 2 ปฏิบัติการสอน พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีความพร้อมในการดำรงชีวิตใน ปัจจุบันและอนาคต สถานศึกษาได้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็น สำคัญ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ หรือวิธีการสอนที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้ให้ เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และเน้นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้รับโอกาส และสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เพื่อเป็นแผน หรือแนวทาง หรือข้อกำาหนดการจัดการศึกษาของ โรงเรียน ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ มีการ ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนา ความรู้ ความสามารถและ ทักษะ การปลูกฝัง คุณธรรมจริยธรรม การสร้างวินัย การมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ยึดมั่นในสถาบัน ชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ และมีความภาคภูมิใจ ในความเป็นไทย ครูผู้สอนมีการศึกษาแนวทางการจัดการ เรียนรู้ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดการจัดการ เรียนรู้ที่มีมาตรฐาน เป็นเป้าหมาย สื่อการ จัดการเรียนรู้การจัดทำคำอธิบายรายวิชา การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ ตลอดจนแนวทาง การจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้


14 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้สอนมีการจัดทำกำหนดการสอนหรือโครงสร้างรายวิชาทุกภาคเรียน เพื่อให้ครูผู้สอนได้ เตรียมการในการจัดการเรียนการสอน มีการจัดทำหรือพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ คำอธิบายรายวิชา ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน และบริบทของสถานศึกษา และท้องถิ่น โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบ Active Learning ครูผู้สอนมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้าก่อนการ สอนจริง โดยมีการเตรียมเนื้อหาเตรียมกิจกรรม เตรียมสื่อการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีการวัดผล และประเมินผล ซึ่งการเตรียมการสอนจะช่วยให้ครูผู้สอนมีความพร้อมที่จะสอนให้ผู้เรียนบรรลุ ตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร โดยมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


15 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา สถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ แบบ Active Learning ด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นการพัฒนา ผู้เรียนให้เกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตาม ความสนใจของผู้เรียน โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก


16 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา สถานศึกษาปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ศึกษาข้อแนะนำในการจัดทำระเบียบว่าด้วยการ วัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการวัดและประเมินผลการ เรียนรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชา แนวทางการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ในระดับชั้นเรียนที่น่าไปสู่การ พัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพบนพื้นฐานของความ แตกต่างระหว่างบุคคล


17 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตารางที่ 3.1 แสดงผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2565 ระดับชั้น จำนวน นักเรียน ผลการประเมิน ระดับดี ขึ้นไป ร้อยละ ไม่ผ่าน ผ่าน ดี ดีเยี่ยม ม.1 22 1 - 3 18 21 95.45 ม.2 33 13 - 3 17 20 60.60 ม.3 37 7 - - 30 30 81.08 ม.4 14 1 - - 13 13 92.85 ม.5 14 4 - - 10 10 71.42 ม.6 18 - - 9 9 18 100.00 รวม 138 26 - 15 95 112 81.15 ที่มาของข้อมูล : งานวัดผลและประเมินผล กลุ่มบริหารวิชาการ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 แผนภูมิที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับดีขึ้นไป ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2565 ที่มาของข้อมูล : งานวัดผลและประเมินผล กลุ่มบริหารวิชาการ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 0.00 20.00 40.00 60.00 80.00 100.00 120.00 ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6


18 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตารางที่ 3.2 ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางฯ ของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในระดับดีขึ้นไป ปีการศึกษา 2565 สมรรถนะสำคัญ จำนวน นักเรียน ผลการประเมิน ระดับดี ขึ้นไป ร้อยละ ไม่ผ่าน ผ่าน ดี ดีเยี่ยม 1. ความสามารถในการสื่อสาร 138 4 7 15 112 127 92.02 2. ความสามารถในการคิดคำนวณ 138 4 12 10 112 122 88.40 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 138 4 13 9 112 121 87.68 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 138 4 - 27 107 134 97.10 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 138 4 - 30 104 134 97.10 รวม 20 32 91 547 638 92.46 ที่มาของข้อมูล : งานวัดผลและประเมินผล กลุ่มบริหารวิชาการ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 แผนภูมิที่ 5 แสดงผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางฯ ของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในระดับดีขึ้นไป ปีการศึกษา 2565 ที่มาของข้อมูล : งานวัดผลและประเมินผล กลุ่มบริหารวิชาการ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 82.00 84.00 86.00 88.00 90.00 92.00 94.00 96.00 98.00 ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


19 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาหรือการนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการ จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะ การคิดและสร้างนวัตกรรมได้ มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเลือกแผนการเรียนและรายวิชา เพิ่มเติมที่ตรงกับความต้องการและความสนใจ พัฒนาและใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีการวัด และประเมินผลตามสภาพจริง ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ของหลักสูตร ส่งเสริม การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และดำเนินการจัดการเรียนการสอนได้ทุกสถานการณ์โดยการใช้Google Meet ในการสอนออนไลน์ Google Classroom และ Google Site สนับสนุนให้ครูสร้างนวัตกรรมการเรียนการ สอนเพื่อยกระดับคุณภาพศึกษา


20 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 4 นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู โดยส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางวิชาชีพ ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างและสนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นชุมชนแห่งการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ ครูผู้สอนมีขั้นตอนการวัดผลและประเมินผล ใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมกับและสอดคล้องกับ มาตรฐานการเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน นำผลมาพัฒนาการจัดการเรียน การสอน และพัฒนาผู้เรียน ครูและบุคลากรทุกคนมีข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล และนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน พัฒนาผู้เรียน ครูทุกคนรวมกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเกี่ยวกับปัญหาที่ เกิดขึ้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ เพื่อพัฒนาสื่อ/นวัตกรรม และแนวทาง การแก้ปัญหา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ สังเกตการณ์สอน และสะท้อนผลการสังเกตการณ์สอน ร่วมกัน สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง


21 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 5 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิจัย เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษา สถานศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูมีการทำวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 เรื่อง เพื่อแก้ปัญหาการ เรียนรู้ หรือพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อค้นหาคำตอบหรือข้อสงสัยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สอนและเพื่อ พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน


22 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 6 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง การประกันคุณภาพภายในให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา และเป็นหน้าที่ของ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างมีระบบและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปรัชญา หลักการ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจ ของสถานศึกษาที่กำหนดไว้โดยมีกระบวนการ ดังนี้ 1. จัดให้มีคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่ายและผู้รับบริการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน 2. พัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มในส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของสถานศึกษาที่ สอดคล้องกับท้องถิ่น 3. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาและดำเนินงานตามแผนดังกล่าว 4. ดำเนินการตรวจสอบ ติดตามเพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐาน การศึกษา 5. จัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเสนอหน่วยงานต้นสังกัด ภาคีเครือข่ายและเผยแพร่ต่อ สาธารณชน 6. รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และมีการ กำหนดมาตรการร่วมกันในการพัฒนาสถานศึกษาไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด สถานศึกษาจัดประชุมเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานการศึกษา และคณะกรรมการการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565


23 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานการศึกษา, คณะกรรมการการประเมินคุณภาพภายใน ของสถานศึกษา และจัดทำประกาศกำหนดมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกำหนดค่าเป้าหมาย เพื่อประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565


24 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระยะเวลา 5 ปี แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565 และดำเนินงานตามแผน จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 ผ่านความเห็นชอบ โดยคณะกรรมการสถานศึกษา และรายงานให้หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ


25 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 1 บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษา และบริหาร กิจการของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ ผู้บริหารสถานศึกษามีการบังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษาบทบาท อำนาจและหน้าที่ บริหารกิจการสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ ของสถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (งานบริหารบุคลากร) พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ดังนี้ มาตรา 27 ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน สถานศึกษา และมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) ควบคุม ดูแลให้การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา กำหนด (2) พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา (3) ส่งเสริม สนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้มีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง (4) จัดทำมาตรฐาน ภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา (5) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อ เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่นหรือตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ การศึกษาหรือคณะกรรมการสถานศึกษามอบหมาย ตัวชี้วัดที่ 2 บริหารงานบุคคล บริหารงบประมาณ และบริหารทั่วไปของสถานศึกษา ให้เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและเป็นไปตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ผลการพัฒนา ผลการพัฒนา มีดังนี้ 1. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 1.1 ครูและบุคลากรทุกคนเข้ารับการพัฒนาศักยภาพที่สอดคล้องการปฏิบัติหน้าที่จำนวน มากกว่า 20 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ โรงเรียนมีการจัดระบบการ เรียนรู้และพัฒนาสำหรับบุคลากรและผู้บริหารโรงเรียน โดยวิเคราะห์หาความต้องการและความจำเป็น จัดทำ โครงการพัฒนาบุคลากรตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูและโครงการส่งเสริมศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ สามารถนำความรู้ที่จากการพัฒนาตนเองไปใช้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนให้มี ประสิทธิภาพ และส่งผลดีต่อผู้เรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานแก่บุคลากรให้สามารถทำงานอย่างเป็น ระบบ 1.2 ครูและบุคลากรทุกคนเข้าร่วมเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพและร่วมกิจกรรมชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มากกว่า 50 ชั่วโมงต่อปี 1.3 ครูและบุคลากรทุกคนมีการพัฒนางานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้จำนวน 2 เรื่องต่อปีการศึกษา


26 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2. การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน 2.1 สถานศึกษามีการวิเคราะห์สถานภาพองค์กร (SWOT Analysis) และกำหนดวิสัยทัศน์/ พันธกิจ เป้าประสงค์ จุดเน้นและยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้สอดคล้องกับบริบท สภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาของสถานศึกษาฯ ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน นโยบาย การปฏิรูป 2.2 สถานศึกษาขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติโดยการจัดทำแผนพัฒนาการจัด การศึกษาระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561 -2565) เป็นเครื่องมือในการบริหารและการจัดการศึกษา และจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สอดคล้องกับการพัฒนาทุกกลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการ พัฒนาและนโยบาย การปฏิรูปการศึกษา โดยผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รับทราบในการพัฒนาและมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน 3. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย 3.1 สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อม/อาคารเรียน/อาคารประกอบ/ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้ สามารถใช้งานได้อย่างเพียงพอและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้สถานศึกษาจัดให้มีโครงการปรับปรุง พัฒนาอาคาร สถานที่และสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น และมีความปลอดภัย 3.2 สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและเพียงพอ เช่น ห้องเรียน, ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์, ห้องปฏิบัติการทางภาษา, ห้องสมุด, ห้องคอมพิวเตอร์, สนามกีฬา, ห้อง ดนตรี, ห้องนาฏศิลป์, ห้องศิลปะฯลฯ มีการปรับปรุงห้องน้ำนักเรียนให้สะอาด สวยงาม และเพียงพอต่อความ ต้องการของนักเรียนและผู้ใช้บริการ มีโรงอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะ มีการตรวจคุณภาพอาหารประจำปี


27 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ให้มีสมรรถนะเต็มตาม ศักยภาพ โดยเน้นทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น และทักษะการ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้ารับการพัฒนาศักยภาพที่สอดคล้องการปฏิบัติหน้าที่จำนวนมากกว่า 20 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ โรงเรียนมีการจัดระบบการเรียนรู้และ พัฒนาสำหรับบุคลากรและผู้บริหารโรงเรียน โดยวิเคราะห์หาความต้องการและความจำเป็น จัดทำโครงการพัฒนา บุคลากรตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูและโครงการส่งเสริมศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ สามารถนำความรู้ที่ จากการพัฒนาตนเองไปใช้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ และ ส่งผลดีต่อผู้เรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานแก่บุคลากรให้สามารถทำงานอย่างเป็นระบบ โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566


28 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตารางที่ 3.3 การเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพด้านทักษะการใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ที่ ชื่อหลักสูตร ชื่อผู้ผ่านการอบรม หน่วยงานที่จัด หลักฐาน 1 การอบรมการสร้างสรรค์ บทความทางวิชาการ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และผลงานทางวิชาการ นางปภาดา ยิ่งยืน ศูนย์ส่งเสริม มาตรฐาน การศึกษา ทีเอ็นที 2 การอบรมพัฒนาครู โครงการอ่านออกเขียนได้ เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ สำหรับนักเรียน รูปแบบ ออนไลน์ นางสาวสลักจิตร แดงโชติ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร 3 การพัฒนาการใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ออนไลน์ (English for Communication) นางสาวจณิสตา บุญนาที สพม.กาฬสินธุ์ 4 การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การวางแผน กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ เสริมสร้างสมรรถนะการ สื่อสารภาษาอังกฤษของ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตาม กรอบมาตรฐาน (CEFR) นางสาวปรียาภรณ์ บุญวิเศษ บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 5 การอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะการจัดการ เรียนรู้รูปแบบออนไลน์ สำหรับครูสังกัด สพฐ. (15 ชั่วโมง) นางสาวสลักจิตร แดงโชติ สพฐ.


29 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่ ชื่อหลักสูตร ชื่อผู้ผ่านการอบรม หน่วยงานที่จัด หลักฐาน 6 การอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะการจัดการ เรียนรู้รูปแบบออนไลน์ สำหรับครูสังกัด สพฐ. (15 ชั่วโมง) นายสมพงษ์ โกดหอม สพฐ. 7 การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Work shop) ประจำปี 2564 หลักสูตร “การผลิต สื่อวีดีโอออนไลน์อย่างมือ อาชีพ สำหรับการเรียนการ สอนแบบ Active Learning” นายสมพงษ์ โกดหอม สำนักงานเลขาธิการ คุรุสภา 8 การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Work shop) ในการ ประชุมทางวิชาการออนไลน์ ของคุรุสภา ประจำปี 2564 หลักสูตร “ออนไลน์อย่างไร ให้ไปถึงสมรรถนะ” (3 ชั่วโมง) นางสาวสลักจิตร แดงโชติ สำนักงานเลขาธิการ คุรุสภา 9 อบรมหลักสูตร Microsoft Teams Education (3 ชั่วโมง) นางสาวสลักจิตร แดงโชติ สพฐ. ร่วมกับ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด 10 อบรมหลักสูตร Class Quiz Games With Quizizz (3 ชั่วโมง) นางสาวสลักจิตร แดงโชติ สพฐ. ร่วมกับ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด 11 หลักสูตรที่ 3 : มุมมองใหม่ ของการบริหารการจัด การศึกษาและการพัฒนา ทักษะผู้เรียนรู้สู่การเป็น พลเมืองยุคดิจิทัลของโลก แห่งศตวรรษที่ 21 (3 ชั่วโมง) นางสาวสลักจิตร แดงโชติ สพฐ. ร่วมกับ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด


30 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 4 บริหารกิจการผู้เรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับผู้เรียน


31 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะสำคัญให้กับผู้เรียน


32 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 5 จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีโอกาสและความเสมอภาค ทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ประจำปีการศึกษา 2565


33 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ I-CARE Model การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาครบทั้ง 5 ขั้นตอนเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันและก่อให้เกิดการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทางโรงเรียนจึงได้สร้างรูปแบบ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา คือ รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน “iCARE Model” โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ดังนี้


34 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา จากการดำเนินงานตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการบูรณาการรูปแบบการดำเนินงาน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน “iCARE Model” โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาในภาพรวมที่สูงขึ้น โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกันวางระบบการบริหารจัดการระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน โดยเน้นการทำงานเป็นทีมและการสร้างเครือข่ายทางการดำเนินงาน ตามกลยุทธ์ ดังนี้ 1.1 จัดโครงสร้างและคณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการ/ปฏิทินปฏิบัติงานตามแผนที่ชัดเจน 1.3 กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาและการบริหารงานสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา 1.4 พัฒนาครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน 1.5 ให้การศึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ปกครอง (Parent Education) ในเรื่องที่ เกี่ยวข้อง 1.6 สนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์สื่อ เครื่องมือต่าง ๆ 2. คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงานทุกคน มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม (Teamwork) มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบและติดตามผลการดำเนินงานอย่าง ใกล้ชิด มีการประชุมหารือร่วมกันและสรุปผลหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาร่วมกันให้บรรลุ เป้าหมายอย่างต่อเนื่อง 3. โรงเรียนจัดให้มีศูนย์ประสานงานเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ครูประจำชั้น ครู ที่ปรึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การหาแนวทางแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ของนักเรียนซึ่งโรงเรียนได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 4. โรงเรียนได้จัดให้มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างทั่วถึง 100% (ภาคเรียนละ 1 ครั้ง) 5. โรงเรียนจัดให้มีการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง 6. โรงเรียนจัดโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร 7. โรงเรียนจัดโครงการปลูกฝังความเป็นไทยและความเป็นท้องถิ่นโดยนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมใน วันสำคัญทางชาติ ศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้านและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น 8. โรงเรียนจัดโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะชีวิตและงานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและศาสตร์ของพระราชา 9. โรงเรียนจัดโครงการส่งเสริมความสามารถ ความถนัดและความสนใจของนักเรียนเพื่อพัฒนาด้าน กาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา โดยใช้ดนตรีกีฬา และศิลปะเป็นฐาน 10. โรงเรียนจัดโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข 11. โรงเรียนจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 12. โรงเรียนจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 13. โรงเรียนจัดกิจกรรมโฮมรูมแต่ละระดับชั้นให้สอดคล้องกับนโยบายโรงเรียนและสถานการณ์ ปัจจุบันความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียน 14. โรงเรียนจัดหาทุนการศึกษาจากภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง/ห้างร้าน/ส่วนราชการ/ชุมชน/ผู้นำ ชุมชน/องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อมอบให้กับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์


35 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างทั่วถึง 100% (ภาคเรียนละ 1 ครั้ง)


36 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 6 ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกรรมการและเลขานุการ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ภาคเรียนละ 2 ครั้ง ดำเนินงานด้านธุรการในการจัดประชุม คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำรายงานการประชุมและแจ้งมติที่ประชุมให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบ ดำเนินการหรือถือปฏิบัติแล้วแต่กรณี ประสานการดำเนินงานตามมติการประชุมในเรื่องการอนุมัติอนุญาต สั่งการ เร่งรัดการดำเนินการและรายงานผลการดำเนินการให้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ เพื่อกำกับและ ส่งเสริมกิจกรรมของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและได้ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2543 มีการดำเนินงานต่าง ๆ ดังนี้ 1. มีการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาของสถานศึกษา โดยร่วมกันศึกษาและทำความเข้าใจในความมุ่ง หมายหลักการของหารจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ของชุมชน/ท้องถิ่น ที่ตั้งของสถานศึกษา ร่วมกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษา ด้านวิชาการบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ และกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกำหนดนโยบาย เป้าหมายและทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษาร่วมกำหนดให้สถานศึกษา จัดทำกฎระเบียบของโรงเรียน 2. ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ร่วมศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาทพิจารณาความสอดคล้องของแผนปฏิบัติการประจำปี กับแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา พิจารณาถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสมเกี่ยวกับวิธีการหรือยุทธศาสตร์การ ดำเนินงานของกิจกรรม งาน/โครงงานที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการ ของสถานศึกษา 3. ให้ความเห็นชอบในการจัดทำสาระหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นศึกษาหลักการ จุดหมาย โครงสร้างของหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาความสอดคล้องของสาระการเรียนรู้กับหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน ความถูกต้องความสมบูรณ์ของสาระการเรียนรู้และความสอดคล้องกับความต้องการของ ท้องถิ่น ให้ความเห็นชอบในการจัดทำสาระการเรียนรู้ของสถานศึกษา 4. กำกับและติดตามการดำเนินงานตามแผนของสถานศึกษา ร่วมกำหนดแผนการกำกับและติดตาม ร่วมกับสถานศึกษา ได้แก่ วิธีการ ระยะเวลาดำเนินการติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาตามแผนที่กำหนดไว้ ดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผน และมีวิธีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและ ได้มาตรฐาน มอบหมายให้มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับจำนวนผู้เรียน การคมนาคม สภาพทาง


37 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา เศรษฐกิจ สนับสนุนและจัดหาที่เรียนให้แก่เด็กในพื้นที่บริการได้เข้าเรียนในสถานศึกษาให้มากที่สุด จัดหา ทุนการศึกษาอุปกรณ์การศึกษาและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ แก่ผู้เรียนที่ขาดแคลน 6. พิทักษ์สิทธิเด็ก ดูแลเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาสและเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ให้ได้รับการพัฒนาเต็ม ศักยภาพ สนับสนุนให้เด็กพิการ ได้มีการเรียนร่วมกับเด็กปกติสอดส่อง ดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง 7. มีส่วนร่วมในการบริหารด้านวิชาการด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงาน บุคคลและด้านการ บริหารงานทั่วไปของสถานศึกษา 8. เสนอให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนวิชาวิทยากรภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนทุกด้าน 9. เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนตลอดจนประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและ เอกชนเพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยากรของชุมชนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น 10. เสนอเพื่อขอความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของสถานศึกษา ก่อนเสนอต่อ สาธารณชน


38 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 3 การบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม ตัวชี้วัดที่ 1 กำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นฐานเพื่อเป็นแนวทางเชิงรุก ในการพัฒนาสถานศึกษา และคุณภาพผู้เรียน มีการกำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นฐานเพื่อเป็นแนวทางเชิงรุกในการพัฒนาสถานศึกษา และคุณภาพผู้เรียน ดังนี้ ทิศทางของสถานศึกษา การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม โรงเรียนได้นำนโยบายด้าน การจัดการศึกษา วิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาเป็น กรอบในการบริหารคุณภาพการศึกษาดังนี้ แผนกลยุทธ์ของโรงเรียน ปีงบประมาณ 2563-2566 สภาพปัจจุบันของสังคม สภาพปัจจุบันของโรงเรียน แผนปฏิบัติการประจำปี ปีงบประมาณ 2566 นโยบายของรัฐ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายการศึกษา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน / โครงการ / กิจกรรม


39 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิสัยทัศน์(Vision) ภายในปี 2566 เป็นโรงเรียนชั้นนำ “มีคุณธรรม นำนวัตกรรม มีทักษะตามมาตรฐานสากล น้อมนำตนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง” พันธกิจ (Mission) 1. ส่งเสริมให้มีหลักสูตรที่หลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้เรียน 2. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูสู่มาตรฐานสากล 3. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ 4. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นหลักธรรมาภิบาล 5. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและภาคนอกโรงเรียน 6. ส่งเสริมให้องค์กรภายนอก ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีบทบาทใน การพัฒนาสถานศึกษา เป้าประสงค์(Goals) 1. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีหลักสูตรที่หลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้เรียน 2. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูสู่มาตรฐานสากล 3. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ 4. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นหลักธรรมาภิบาล 5. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและ ภาคนอกโรงเรียน 6. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้องค์กรภายนอก ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ มีบทบาทในการพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ (Strategies) กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาครูสู่มาตรฐานสากล กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาผู้เรียน กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการ กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาสัมพันธ์ชุมชน นโยบายและจุดเน้น สถานศึกษาควรพัฒนาในด้านประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย ควรให้บุคลากรได้รับการพัฒนาด้วยการทำกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมการเข้ารับการอบรม เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้หลักสูตรและ นวัตกรรมทางการศึกษา การวัดผลประเมินผลทางการเรียนการสอน กิจกรรมการวิเคราะห์หลักสูตร การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล กิจกรรมการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการจัดทำ และใช้แผนการ จัดการเรียนการสอน กิจกรรมการวัดผลประเมินผล การจัดการเรียนการสอน กิจกรรม วิเคราะห์ผล และพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น


40 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 2 นำนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาไปปฏิบัติ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ และติดตาม ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนด นำนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ไปปฏิบัติ โดยจัดทำโครงการรวมทั้งสิ้น 35 โครงการ พร้อมทั้งมีการกำกับ และติดตาม ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนด


41 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา สถานศึกษามีการกำกับติดตามการรายงานผลการดำเนินโครงการ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2565


42 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา สถานศึกษามีการกำกับติดตามการรายงานผลการดำเนินโครงการ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2565


43 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา สถานศึกษามีการกำกับติดตามการรายงานผลการดำเนินโครงการ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2565


44 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 3 สร้างหรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต ส่งเสริมให้ครูผู้สอนสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษา 4 ประเภท ดังนี้ 1. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน 1.1 ทะเบียนสื่อการสอน ครูผู้สอนมีการจัดทำสื่อการสอนที่หลากหลายและทันสมัย และมีการ จัดทำทะเบียนสื่อการสอนเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้กับบุคลากรที่สนใจ อีกทั้ง ยังสะดวกต่อการนำมาใช้งาน


45 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1.2 แอปพลิเคชัน QUIZIZZ เป็นเว็บไซต์หนึ่งที่ ช่วยสร้าง แบบทดสอบออนไลน์e-Testing ได้ ฟรี ผู้เรียนทำแบบทดสอบผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์Notebook Tablet Smart Phone ที่เชื่อมต่อระบบ Internet ผู้เรียนทราบผลการสอบทันที และผู้สอน ได้รับรายงาน (Report) ผลการสอบและบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ Quizizz เหมาะกับการนำมาประยุกต์ใช้กับ การทำข้อสอบก่อนเรียน หลังเรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ ของผู้เรียน หรือ จัดกิจกรรมการสอบแบบเกมส์เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเรียนได้ อีกทั้งช่วยให้สถาบันการศึกษาประหยัด ค่าใช้จ่ายจากการเตรียมสอบ และเป็นการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเกิด ประโยชน์ ช่วยให้ผู้สอนลดเวลาในการทำข้อสอบ และจัดชุดทดสอบ อีกทั้งจะทราบจุดบกพร่องการเรียนของนักเรียนแต่ละคนในแต่ละเนื้อหา ว่านักเรียนไม่เข้าใจใน เนื้อหาการเรียนเรื่องใด เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข กระบวนการจัดการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น ในด้านของผู้เรียนเอง ก็จะได้ทราบข้อมูลและประเมินตนเองและกลับไปทบทวน ทำความเข้าใจในเนื้อหานั้นอีกครั้งหนึ่ง เสมือนการสร้าง แรงจูงใจในการเรียน และให้ผู้เรียน ต้องเตรียมพร้อมในการเรียนอยู่เสมอ 1.3 Google Meet Meet ออกแบบมาเพื่อลดความยุ่งยากในการเข้าร่วมวิดีโอคอลในที่ทำงาน เพราะเพียงแค่ตั้งค่าการประชุมแล้วแชร์ลิงก์ นอกจากนี้อินเทอร์เฟซที่เรียบง่ายและตอบสนองได้รวดเร็ว พร้อมทั้ง การจัดการผู้เข้าร่วมอย่างชาญฉลาดจะช่วยให้จัดวิดีโอคอลที่มีผู้เข้าร่วมหลายคนได้อย่างง่ายดาย แก่แก่การจัดการ เรียนการสอนในรูปแบบ ออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง


46 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1.4 Google Classroom Google Classroom ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้สอนสามารถ สร้างและเก็บงานได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองกระดาษ มีคุณลักษณะที่ช่วยประหยัดเวลา เช่น สามารถท ำสำเนาของ Google เอกสารสำหรับนักเรียน นักศึกษา แต่ละคนได้โดยอัตโนมัติโดยระบบจะสร้างโฟลเดอร์ของไดร์ฟสำหรับแต่ ละงานและผู้เรียนแต่ละคน เพื่อช่วยจัดระเบียบให้ทุกคน ผู้เรียนสามารถติดตามว่ามีอะไรครบกำหนดบ้างในหน้างาน ครู อาจารย์สามารถดูได้อย่างรวดเร็วว่าใครทำงานเสร็จหรือไม่เสร็จ ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นและให้ คะแนนได้ 2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสาระ การเรียนรู้ หรือเนื้อหารายวิชานั้น ๆ ได้แก่ การอธิบาย การสืบสวนสอบสวน การสาธิต / ทดลอง กลุ่มสืบค้นความรู้ การใช้เกมประกอบ กลุ่มสัมพันธ์สถานการณ์จำลอง การเรียนรู้แบบร่วมมือ กรณีตัวอย่าง ความคิดรวบยอด บทบาท สมมุติอริยสัจ 4 การแก้ไขสถานการณ์การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทัศนศึกษานอกสถานที่ ศูนย์การเรียนรู้การ เรียนรู้จากห้องสมุด การพัฒนากระบวนการคิด การสอนโดยใช้ E-book การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสอนแบบ โครงงาน การอภิปรายกลุ่มย่อย การถามตอบ การแก้ปัญหา


47 รายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา 3. นวัตกรรมด้านหลักสูตร สถานศึกษาจัดทำ ทำเนียบแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการ การจัดการเรียนรู้หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม อำเภอบ้านม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ดังนี้


Click to View FlipBook Version