The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Luangta Narongsak, 2020-05-17 00:49:58

ที่สุดแห่งธรรม ๑ หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

หนังสือที่สุดแห่งธรรม ๑_A5_E-Book Version

อธิษฐานจติ ก่อนฟงั ธรรม อ่านธรรมะ หรอื ปฏบิ ัติธรรม

พุทธัง สะระณัง คจั ฉามิ
ธมั มัง สะระณงั คจั ฉามิ
สังฆงั สะระณัง คัจฉามิ

ทตุ ิยมั ปิ พทุ ธงั สะระณัง คจั ฉามิ
ทตุ ิยมั ปิ ธัมมัง สะระณัง คจั ฉามิ
ทตุ ิยมั ปิ สังฆัง สะระณงั คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณงั คัจฉามิ
ตะติยมั ปิ ธมั มงั สะระณัง คจั ฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆงั สะระณงั คัจฉามิ

พุทธบารมี ธรรมบารมี สังฆบารมี
รวมกบั บุญบารมีที่ข้าพเจ้าได้ทามาแล้วทั้งหมด
ข้าพเจ้าขอต้ังสจั จะอธิษฐาน ขอถอนมิจฉาทิฏฐิ อวชิ ชา
ท้งิ เสียทงั้ หมดโดยถาวรสนิ้ เชงิ ต้ังแต่บัดนี้เป็นตน้ ไป
ขอนอ้ มนา “พระสจั ธรรม” ออกจากใจอนั บรสิ ุทธ์ขิ องพระพุทธเจ้า
นามาพิจารณาตามจนมคี วามรูแ้ จง้ (วิชชา) เกดิ ขน้ึ ท่ใี จ
และขอเปน็ ผตู้ รสั รตู้ ามพระสมณโคดมพระพุทธเจ้าดว้ ยเทอญ

หลวงตาณรงคศ์ กั ด์ิ ขณี าลโย | ๑

สอ่ื ธรรมจากใจ

“พระสจั ธรรม” คาสอนที่ออกจากพระทัยอันบริสทุ ธท์ิ ่ีเปย่ี มลน้ ไป
ด้วยพระเมตตาอันไม่มีที่สุดไม่มีประมาณของพระพุทธเจ้า ได้แสดงถึง
ความเป็นจริงในตัวมันเองอยู่ตลอดเวลา คือ ทุกสรรพส่ิงล้วนไม่เท่ียง
เป็นอนจิ จงั ทกุ ขงั อนัตตา ทง้ั “ส่ิงทีถ่ กู รู้” และ “ผู้รู้” ไม่มีสิ่งใดให้ยึดม่ัน
ถือมน่ั ได้

แม้แต่ผู้ปรารถนาความพ้นทุกข์ คือ “นิพพาน” ก็ยากที่จะรู้เห็น
สัจธรรมด้วยใจ มีแต่หลงด้ินรนค้นหาออกไปนอกใจ ยิ่งด้ิน ยิ่งทุกข์
ดิ้นมาก ทุกข์มาก

สุดท้ายจึงยอมปล่อยวางความอยาก หมดความปรารถนา
หยุดดิ้นรนค้นหา เพราะเพียรจนถึงท่ีสุดด้วยความอยากเพียงใด
ความทกุ ข์ก็ตดิ ตามเป็นเงาตามตัว

สุดท้ายจึงรูแ้ จง้ แกใ่ จวา่ ความทุกข์ หรือ ความไม่พน้ ทุกข์ กเ็ พราะ
ความอยากรู้ อยากเห็น อยากได้ อยากเป็น อยากบรรลุนิพพานน่ีเอง
และทุกปัจจุบันขณะ เม่ือเกิดความอยากขึ้นมาในใจแม้เพียงน้อยหน่ึง
นดิ หนง่ึ ปรมาณูหนึ่ง ก็เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนแล้ว เม่ือรู้แจง้ หรือ
รู้เห็นจากใจจริง ๆ ว่าจิตที่มีตัณหา คือ “ความด้ินรนทะยานอยาก”
เปน็ สมทุ ยั ทเ่ี ปน็ เหตุให้เกิดทุกข์ ความหลงด้นิ รนทะยานอยากจึงดับไป

จึงพบใจท่ีไร้ตัวจิตตัวใจ ไร้รูปลักษณ์ ไร้อวิชชา ไร้ตัวตนผู้ยึด
มันมีแต่เพียงช่ือว่า “จิต” หรือ “ใจ” แต่มันไม่มีอะไรเลย แม้แต่
ความวา่ งเปล่าท่ีจะยึดถอื ได้

เมือ่ ไมม่ จี ติ ก็ไมม่ ีอวิชชา ไมม่ ตี วั ตน น่แี หละคือ “ทส่ี ุดแหง่ ธรรม”

เมษายน ๒๕๖๓

หลวงตาณรงคศ์ กั ดิ์ ขณี าลโย | ๓

สารบญั

เรอื่ ง หน้า

ความเข้าใจเรอ่ื ง “ฐีตจิ ิต” จติ เดิมแท้ ........................................... ๙
ธาตุรูแ้ ท้.......................................................................................๑๔
อวชิ ชาในจติ เดิมแท้.....................................................................๒๗
ความเข้าใจเรอ่ื ง “อวิชชา” และ “อรยิ สจั ๔”...........................๓๗
สัจธรรมความจรงิ ของ “ธาตรุ ู้-อวิชชา-จติ เดมิ แท้-นิพพาน”......๔๕
นพิ พานเพราะหายโง่...................................................................๕๖
ทมี่ าโอวาทธรรม..........................................................................๕๙
ไฟลเ์ สยี งซรี ีสค์ ณุ หมอศรีวิไล บลุ สขุ (อายุ ๙๑ ปี)......................๖๐
คาค้น (เนอ้ื หาในโอวาทธรรม) ....................................................๖๔

๔ | “ทีส่ ุดแห่งธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๕

๖ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๗

๘ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

ความเขา้ ใจเร่อื ง “ฐตี ิจติ ” จติ เดมิ แท้

“ฐีติจิต” คือจิตด้ังเดิมตั้งแต่มีจิตเกิดข้ึนมาในจักรวาลพร้อม
กับอวิชชา คือ ความหลงยึดถือตัวมันเอง ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา
เปน็ ตัวเรา เป็นตวั ตนของเรา เป็นของของเรา

เพราะความไม่รู้สัจธรรมความจริง (อวิชชา) หรือไม่รู้จักว่า
“จิตเดิมแท้” หรือ ธาตุรู้บริสุทธ์ิ (ไม่มีอวิชชา) ไม่ใช่ธาตุดิน น้า ลม
ไฟ อากาศ ไม่ใช่อรูปฌาน เป็นวิสังขาร อสังขตธาตุ อสังขตธรรม
เป็นสุญญตา ไม่มีตัวตนรูปลักษณ์ ไม่มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ใด
ไม่อาจมีความรู้สึก นึก คิด ตรึกตรอง ปรุงแต่งได้ ไม่เกิดดับ ไม่อาจ
ถกู รไู้ ดท้ างอายตนะภายใน

ไม่มี “สังขาร” ผสมปนอยู่เลยแม้นอ้ ยหนึง่ นิดหน่ึง ปรมาณูหน่ึง
สว่ น “อวิชชา” ทต่ี ิดมากบั จิตดัง้ เดิมเปน็ “สงั ขาร” คือ ความปรุงแต่ง
หลงยึดถือจิตด้ังเดิม หรือฐีติจิต ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นตัวเรา
เปน็ ตวั ตนของเรา เป็นของของเรา

ครั้นเกิดปัญญาวิมุตติ รู้แจ้งความจริงดังกล่าวขึ้นมาในขณะจิต
ใด ก็จะถอนความหลงผิด (อวิชชาดับ) ท่ีติดมากับฐีติจิต หรือ
จิตดั้งเดมิ จนหมดสิ้น เหลือแต่ฐีติจิตบริสุทธ์ิ มีช่ือสมมุตวิ ่า “นิพพาน”
หรือ “นพิ พานธาต”ุ

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขีณาลโย | ๙

ดังน้ัน จิตด้ังเดิม หรือ ฐีติจิต แม้จะเป็นประภัสสรเปรียบ
เหมือนกับแร่ทองคา แต่ก็ไม่ได้บริสุทธิ์มาตั้งแต่แรก คร้ันเอา
ส่ิงเจือปนออกได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ส่วนที่เหลือจึงเป็น
ธาตบุ รสิ ุทธิ์

ตราบใดถ้ายังมีความหลงคิดปรุงแต่งว่า มีเราเป็นตัวตน
(ไม่เห็นว่าเป็นสมมุติ) ก็ยังไม่พ้นทุกข์ (ไม่นิพพาน) เพราะจะมีตัวเรา
มีกิเลส หรือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน แล้วจะหลงมีเราเป็นตัวตนด้ินรน
ทะยานอยาก เพ่ือให้ตัวเราได้สมใจอยาก เม่ือยังไม่สมใจอยากเสียที
ความทุกข์ก็ยังไมส่ ้ิน ไม่ใช่หลงมีเราเปน็ ตัวตนด้ินรนไปจนพบนิพพาน
(พ้นทุกข์) แต่จะพ้นทุกข์ เพราะส้ินหลงยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตน
เป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นของของเราท่ีติดมากับจิตด้ังเดิม จิตด้ังเดิมจึงจะ
บริสุทธิ์ เป็นนิพพานธาตุ แต่ถา้ ยงั หลงยึดมั่นถือม่ันเป็นตวั ตน เปน็ เรา
เป็นตัวเรา เป็นของของเรา แม้จะดิ้นรนทะยานอยากอย่างแรงกล้า
เท่าใด ก็จะหลงเอาตัวเราดิ้นรนพยายามกระทาอะไรเพื่อให้ตัวเรา
ได้รับผลประโยชน์ เชน่ พน้ ทกุ ข์ แตต่ ราบใดถ้ายงั มอี วิชชา หลงยึดถือ
เป็นเรา ตัวเรา ของเราอยู่ จิตก็จะยงั ไมบ่ รสิ ทุ ธ์ิ หรือ ยังไมน่ ิพพาน

๑๐ | “ทีส่ ุดแห่งธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๑๑

๑๒ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๑๓

ธาตรุ ูแ้ ท้

“ผู้รู้แท้” หรือ “วิญญาณธาตุ” เป็นธาตุตามธรรมชาติ
เหมือนกับธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุอากาศ (ความว่าง)
แตธ่ าตุอ่นื เหล่าน้นั ไมม่ คี วามรู้เหมอื นกับธาตรุ ู้

“ธาตุรู้แท้” หรือ “วิญญาณธาตุ” ว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคล
ตัวตน เรา เขา ไม่ได้เป็นของใคร หรือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่ใช่
เป็นของเรา ไมใ่ ชเ่ ปน็ เรา เปน็ ตัวเรา เปน็ ตัวตนของเรา

จึงไม่ใชเ่ ราว่างเปล่า หรือ เราถงึ ความว่าง

“ธาตรุ ู้แท้” เป็นเหมือนกับความวา่ งของอากาศ แต่ความว่าง
ของอากาศ หรอื ความว่างของอวกาศ ไมม่ ีความรู้

ส่วน “ธาตุรู้แท้” แม้มีคุณสมบัติเป็นเหมือนความว่าง
ของธรรมชาติ แต่เป็นความว่างที่มีความรู้ ไม่มีตัวตนรูปลัก ษณ์
ไม่มีความรสู้ กึ นกึ คดิ ตรึกตรอง ปรงุ แตง่ ไมม่ ีการเกดิ ดับ ไม่มกี ารไป
ไม่มีการมา ไม่มีการหยุดนิ่ง ไม่ปรากฏอาการของผู้รู้ ไม่มีจุด ต่อม
ทีต่ ั้ง ที่หมายของผรู้ ู้

เราไม่อาจเอาสังขารหรือตัวเรา ซง่ึ เปน็ สมมุติ ไปค้นหา ธาตรุ ู้แท้
หรือ ธาตุรู้บริสุทธ์ิ ซึ่งมีช่ือสมมุติว่า “นิพพาน” ได้ เพราะธาตุรู้แท้

๑๔ | “ทสี่ ุดแหง่ ธรรม ๑”

ไม่มีตัวตนรูปลักษณ์ ไม่มีเคร่ืองหมายหรือสัญลักษณ์ใด ไม่มีอะไร
ปรากฏใหถ้ กู รไู้ ด้ด้วยอายตนะภายใน

จะพบธาตรุ ู้แท้ หรือ ธาตุรู้บริสุทธ์ิได้ มีเพียงกรณีเดียวเท่านั้น
ต้องส้ินหลงยึดม่ันถือม่ันสังขาร หรือ ขันธ์ห้า หรือ ร่างกายและ
จิตใจ วา่ เปน็ ตวั ตนคงท่ี เปน็ เรา เป็นตวั เรา เปน็ ของเรา

ก็จะไม่หลงมีตวั เราไปยึดถือคนอ่ืน หรือ สงิ่ อ่ืน (รวมทั้งสังขาร
และ วิสังขาร) มาเปน็ ของเราดว้ ยความยึดม่นั ถอื มัน่

ขณะจิตใดในปัจจุบันขณะท่ีสิ้นหลงยึดม่ันถือม่ันท้ังสังขาร
และ วสิ ังขาร ก็จะพบธาตุรแู้ ท้ หรอื ธาตุร้บู ริสทุ ธ์ิ หรือ นิพพานธาตุ

อันที่จริง ทั้งสังขาร และ วิสังขารเขาก็มีอยู่แล้ว แต่เป็นเพราะ
หลงสังขาร จึงหลงเอาสังขารมาคิดปรุงแต่งยึดถือสังขาร และ วิสังขาร
ดว้ ยความหลงยดึ มัน่ ถือมนั่ ว่าเป็นเรา เป็นตวั เรา เปน็ ของเรา

ส่ิงใดที่มีอยู่ เขาก็คงมีอยู่อย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
โดยธรรมชาตธิ รรมดาของเขาอย่างน้ัน ถ้าไม่หลงยึดม่ันถือมนั่ กไ็ ม่มี
กเิ ลส ไมม่ ผี ู้ทุกข์ (นิพพาน)

ส่ิงท่ีไม่มอี ะไรปรากฏให้ถูกรู้ได้ด้วยอายตนะ เขาก็เป็นธรรมชาติ
ของเขาอย่างนัน้ ไม่ใช่สตั ว์ บคุ คล ตัวตน เรา เขา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
และไม่ได้เป็นของเรา ถ้าไม่หลงยึดมั่นถือมั่น ก็ไม่มีกิเลส ไม่มีผู้ทุกข์
(นพิ พาน)

หลวงตาณรงคศ์ กั ด์ิ ขณี าลโย | ๑๕

แมจ้ ะไดช้ ื่อว่าเป็นผู้ปฏบิ ัตธิ รรม แต่โดยมากจะปฏบิ ัตดิ ว้ ยความ
ยึดมั่นถือมน่ั หลงเอาตัวเราเป็นผู้ปฏิบตั ิ ผพู้ ยายามเพ่ือให้ตัวเราได้รับ
ผลประโยชน์ ไม่ได้ “ปลอ่ ยวาง” ให้สง่ิ ท่ีมี (สังขาร) ไม่ว่าจะเป็นสัตว์
บคุ คล เรา เขา ทรัพย์สิน ส่ิงใด ๆ ท้ังหมด และ “วิสังขาร” คือ สิ่งท่ี
ไม่มีอะไรปรากฏให้ถูกรับรู้ได้ ก็คงเป็นอยู่อย่างน้ัน แต่เห็นว่า
“สังขาร” ทั้งหมด ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นอนิจจัง ทุกขัง
อนตั ตา

ส่วน “วิสังขาร” เป็นอนัตตา ไม่หลงยึดม่ันถือม่ันมาเป็นเรา
เป็นตัวเรา เป็นของเรา จนเป็นทุกข์ หากปล่อยวางให้สังขารและ
วสิ ังขาร เขาเป็นธรรมชาติอย่างที่เขาเป็น ไมห่ ลงยึดมั่นถือมั่น ผู้ทุกข์
กไ็ มม่ ี เรยี กวา่ “นพิ พาน”

ดังน้ัน “นิพพาน” จึงไม่ใช่สภาวะท่ีว่างเปล่า หรือ สภาวะ
อะไรท่ีคาดหมายไว้ แล้วมตี ัวเราไปเอา ไปได้ ไปถงึ เอามาเปน็ ของเรา
แต่ “นิพพาน” เพราะไม่ยึดม่ันถือม่ัน หรือ ปล่อยวางท้ังสังขารและ
วิสังขาร ใหเ้ ขาเป็นธรรมชาตอิ ย่างทเี่ ขาเป็น

เม่ือมีความเป็นอยู่ด้วยความไม่หลงยึดม่ันถือม่ัน ก็สิ้นความ
ดิน้ รนทะยานอยาก สิน้ สงสยั ส้นิ กงั วล สิน้ ผูท้ ุกข์ (นพิ พาน)

๑๖ | “ทีส่ ุดแห่งธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๑๗

๑๘ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๑๙

๒๐ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๒๑

๒๒ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๒๓

๒๔ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๒๕

๒๖ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

อวชิ ชาในจติ เดมิ แท้

หลวงตา : กราบขอโอกาสพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
ขออนุญาตขยายความคาสอน เพ่อื เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในธรรม

คาถาม : “การรู้โดยไม่คิด คือ การเดินวิปัสสนาท่ีละเอียดท่ีสุด”
เปน็ อยา่ งไรนัน้

หลวงตา : หมายถึงรู้จิตตสังขาร ความคิด หรือ ความปรุงแต่ง
ในปัจจุบันขณะจิตน้ันขึ้นมาเอง โดยไม่มีเจตนารู้ (รวมท้ังไม่จงใจรู้
ไม่พยายามรู้ ไม่ต้ังใจรดู้ ว้ ย) เปน็ การรู้โดยไมค่ ดิ

ผู้ที่รู้เห็นแบบน้ีได้ ต้องฝึกจนถึงขั้นที่ในปัจจุบันขณะ ไม่มี
เจตนาคิด หรือ เจตนาปรุงแต่งจิตอย่างใด ๆ แล้วจะรู้จิตตสังขารใน
ปัจจบุ ันขณะนั้นขึ้นมาเองโดยไม่มเี จตนารวู้ า่ .....

จติ ตสงั ขารเขาเกดิ เอง ดบั เอง... เกดิ เอง ดับเอง... ๆ ๆ ๆ ๆ

ส่วนผู้รกู้ ไ็ มม่ เี จตนาทจี่ ะดู หรอื รูอ้ ะไร เขารู้ของเขาขน้ึ มาเอง

เป็นธาตุรู้แท้ หรือ วิญญาณธาตุแท้ ซึ่งเป็นจิตด้ังเดิมต้ังแต่
กาเนิดจิต หรือ ธาตุรู้ข้ึนมาในจักรวาล พร้อมกับมี “อวิชชา”
ความหลงยดึ มนั่ ถือมน่ั จติ ว่าเปน็ ตัวเรา เป็นของของเราติดมาดว้ ย

หลวงตาณรงคศ์ กั ดิ์ ขีณาลโย | ๒๗

“จิตดัง้ เดิม” เปน็ วสิ งั ขาร อสงั ขตธาตุ อสังขตธรรม เป็นความรู้
ข้ึนมาเอง โดยไม่มีเจตนารู้ จึงเป็นความรู้ที่ไม่คิด ไม่ได้เกิดจาก
จิตปรุงแต่ง แต่เป็นธาตุรู้ หรือ วิญญาณธาตุแท้ ท่ี “รู้” ขึ้นมาเอง
“เป็นของเป็นเอง” เขาเป็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในพระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ ปุถุชน และสรรพสัตว์ท้ังห มด
แต่ปุถุชนและสรรพสัตว์ท้ังหลายมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน คือ หลงคิด
หลงปรงุ แต่ง หลงยึดมน่ั ถือม่นั จึงปิดบงั ธาตรุ แู้ ท้ตามธรรมชาตเิ สียหมด

ถึงแม้จะใช้ความพยายาม ด้ินรนค้นหา ปรุงแต่งสักเพียงใด
กไ็ ม่อาจพบจิตด้ังเดิม หรอื ธาตรุ ูต้ ามธรรมชาตไิ ด้ เพราะธาตุร้เู ขาเป็น
ธรรมชาตทิ ่ีเป็นเอง รขู้ น้ึ มาเอง โดยไม่คดิ และไม่มเี จตนารู้

ดงั น้นั การรู้โดยไมค่ ดิ จงึ เปน็ การเดินวิปัสสนาท่ลี ะเอียดท่สี ุด

ผู้ใดฝึกมาถึงข้ันน้ี ก็จะรู้เห็นจากใจว่า “สิ่งใดส่ิงหน่ึง (สังขาร)
มีความเกิดข้ึนเป็นธรรมดา สิ่งท้ังหมดนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา”
(ยัง กิญจิ สมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ) ซึ่งเป็นธรรม
ในขน้ั พระโสดาบนั

คาถาม : “... ตราบใดที่ยงั เห็นว่า จติ (จิตด้งั เดิม) คือ ตวั เรา เป็นของ
ของเรา ต้องชว่ ยให้จิตหลุดพ้น ตราบนั้นตณั หา หรือ สมุทยั กจ็ ะสร้าง
ภพของ “จิตว่าง” ขึ้นมาร่าไป...” ท่ีบอกว่าตัณหาจะสร้างภพของ
“จติ วา่ ง” ขึน้ มาร่าไป คืออยา่ งไรเจา้ คะ

๒๘ | “ท่ีสดุ แห่งธรรม ๑”

หลวงตา : แม้ปฏิบัตมิ าจนถงึ ธรรมขนั้ พระโสดาบันแล้ว แต่ถา้ ยังหลง
ยึดถือจิตดั้งเดิม ซึ่งเป็นธาตุรู้ เป็นตัวเรา เป็นของของเรา จึงมีความ
พยายามช่วยจิตให้เป็นรู้ท่ีไม่คิด หรือ เป็นรู้ท่ีว่างเปล่าอย่างถาวร
เป็นอมตะตลอดไป จึงเป็น “อวิชชา ตัณหา อุปาทาน” เป็นสมุทัย
หรือ เป็นเหตปุ ัจจัยให้สร้างภพของ “จิตว่าง” เป็นเป้าหมายทตี่ ัวเรา
จะถึง จะได้ จะเป็น จะบรรลุ ไว้ในอนาคตโดยไม่รู้ตัว จึงหลงปรุงแต่งจิต
มีความพยายามกระทาอะไร เพ่ือจะให้สาเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้
คอื จิตว่าง หรอื ผรู้ ้ทู วี่ ่างเปลา่ ผ้รู ู้ท่ีไม่คดิ

ขณะจิตใด เกิดปัญญาวิมุตติ รู้แจ้งแก่ใจในปัจจุบันขณะว่า
“จิตดั้งเดิม” ซ่ึงเป็นธาตุรู้ เขาเป็นธรรมชาติท่ีรู้ขึ้นมาเอง เป็นของเป็นเอง
ปรุงแต่งเอาไม่ได้ เขาเป็นธรรมชาติที่เป็นวิสังขาร อสังขตธาตุ
อสังขตธรรม คือเป็นธรรมชาติไม่มีตัวตน ไม่มีจุด ต่อม ที่ตั้ง หรือ
สภาวะใด ๆ อันมีรูปลักษณ์ หรือ เคร่ืองหมายที่จะให้มีที่หมายได้
ไมใ่ ชธ่ าตดุ นิ น้า ลม ไฟ ไม่ใช่ความวา่ งท่ีเป็นอากาศ ไม่ใช่อรปู ฌาน

เปน็ ธรรมชาติทไี่ ม่มีเหตปุ ัจจัยปรุงแตง่ จึงไม่เกิดดับ ไม่มตี ัวตน
ของผู้รู้ ไม่อาจคิด ไม่อาจปรุงแต่ง ซึ่งเป็นคุณสมบัติตามธรรมชาติ
ของเขาเอง (จึงไม่อาจใช้ความพยายามหยุดคิด หยุดปรุงแต่ง หรือ
พยายามทาให้เป็นรู้โดยไม่คิดได้ เพราะอาการเหล่าน้ีล้วนแต่
เป็นความปรุงแต่งโดยมีเจตนา) ไม่มีการไป ไม่มีการมา ไม่มีการ
หยดุ นงิ่

หลวงตาณรงคศ์ กั ดิ์ ขีณาลโย | ๒๙

เม่ือพบจิต หรือ ใจดั้งเดิม ซึ่งเป็นวิญญาณธาตุ หรือ ธาตุรู้
ตามธรรมชาติ ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่ใช่เป็นตัวเรา เป็นของ
ของเรา เรียกวา่ “พบธรรม”

แต่ก็ยังไม่นิพพาน เพราะเมื่อพบจิต หรือ ใจดั้งเดิม ซึ่งเป็น
ธาตุร้ทู ี่รูข้ ึ้นมาเอง โดยไมค่ ิด และไมม่ ีเจตนารู้ ซึ่งเป็นรู้ท่ีว่างเปลา่ จาก
ตัวตน ว่างเปล่าจากความคิด ความปรุงแต่งก็เกิดอวิชชา ตัณหา
อุปาทาน หลงยึดถืออยากให้เป็นอย่างนั้นตลอดไป จึงหลงรักษาจิต
ให้เป็นรู้ท่ีไม่คิด หรือ จิตว่างจากความคิด ความปรุงแต่งไว้ จนกว่า
จะมีผู้รู้ชี้แนะ หรือ เกิดธรรมขึ้นมาในใจ เป็นปัญญาวิมุตติโพลงข้ึน
ท่ีใจ ถึงขนาดทาให้ความหลงยึดถือจิตขาดสะบั้นลงในปัจจุบันทันที
เมื่อความหลงยดึ ถือจิตหรือใจดับลง (อวิชชาดับ) จิตด้ังเดิม ใจด้ังเดิม
ธาตุรู้ดั้งเดิม หรือ วิญญาณธาตดุ ั้งเดิม จึงเป็นธาตุบรสิ ุทธิ์ ซึ่งมีช่ือสมมติ
ว่า “นิพพานธาตุ” หรอื “นิพพาน”

ดังน้ัน จึงไม่มีตัวเรา หรือ จิตของเรานิพพาน แต่เป็นเพราะ
ส้ินความหลงยึดถือจิต หรือ ใจ ว่าเป็นเรา... เป็นของของเรา จึงเป็น
จิตบริสุทธิ์ หรือ ใจบริสุทธิ์ เรียกว่า “นิพพาน” จึงมีคากล่าวว่า
“พบใจ พบธรรม ถงึ ใจ (บรสิ ุทธ)์ิ ถงึ นพิ พาน”

“จิต” มันมีการกระทาตลอดเวลา ทั้ง ๆ ท่ีไม่ได้ตั้งใจจะมี
ตัวเราไปพิจารณา เนือ่ งจาก...

“จิตตสังขาร” มันเป็นธรรมชาติปรุงแต่ง เป็นอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา มันไม่ได้เป็นตัวเรา เป็นของของเรา มันจึงไม่อยู่ในบังคับ
ของเรา

๓๐ | “ที่สุดแหง่ ธรรม ๑”

ดังน้ัน จึงไม่สามารถจะไปบังคับให้จิตมันหยุดคิด หยุดปรุงแต่ง
พยายามกระทาได้ คงปล่อยให้เขาเป็นธรรมชาติของสังขารที่เกิดเอง
ดับเอง... เกดิ เอง ดบั เอง...

ส่วน “จิตด้ังเดิม หรือ จิตเดิมแท้” ก็เป็นธาตุรู้ตามธรรมชาติ
เป็นวิสังขาร อสังขตธาตุ อสังขตธรรม เป็นธรรมชาติรู้ขึ้นมาเองโดย
ไม่มีเจตนารู้ ว่างเปล่าจากตัวตน ว่างเปล่าจากความคิด ความปรุงแต่ง
จงึ ไม่มอี ะไรให้ยึดถือได้

ผู้หลงยึดถือจติ เดมิ แท้ เปน็ ตวั เรา เป็นของของเรา กไ็ ม่มีตวั ตน
อยู่จริง เป็นเพียงมายา หลอกลวงให้หลงว่ามีตัวตน เป็นตัวเรา
เปน็ ของของเรา

เมื่อมีปัญญาวิมุตติรู้แจ้งขึ้นท่ีใจในขณะจิตใด ว่าความเป็น
ตัวตน เป็นตัวเรา เป็นของของเรา ไม่ได้มีอยู่จริง ก็จะส้ินตัวตนของ
ผยู้ ึดถอื ท้ังสังขาร และ วสิ ังขาร (จิตเดมิ แท้)

หลังจากนั้น สังขารก็คงทาหน้าที่ของสังขารอย่างอิสระ ไม่มี
ผู้ยดึ ถือหลงตดิ ไปกับเขา หรอื ไปกดขม่ บงั คับเขา

จิตเดิมแท้ซึ่งเป็นธาตุรู้ที่ไม่ปรุงแต่ง ไม่มีตัวตนของผู้รู้ ก็จะรู้
ขนึ้ มาเองโดยไมม่ ผี ยู้ ึดถือ จึงเป็นจติ ใจ หรือ ธาตุรูบ้ รสิ ุทธ์ิ ซง่ึ เรยี กว่า
“นิพพาน”

หลวงตาณรงคศ์ กั ดิ์ ขณี าลโย | ๓๑

๓๒ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๓๓

๓๔ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

ความเข้าใจเรื่อง “อวิชชา” และ “อริยสจั ๔”

โยม : สมมติว่าเราเห็นอะไร หรอื ว่าเราไดย้ ินอะไร มันมีตัวเราเขา้ ไป
รองรบั เราร้วู ่ามัน “มตี วั ” เข้าไปรองรับ ไอต้ วั เข้าไปรองรบั น่มี ัน?

หลวงตา : สังขาร… มันเป็นตัวปรงุ แต่ง ปรุงมันข้ึนมา

โยม : อนั นี้เข้าใจ แตว่ า่ ทุกครั้งมันจะมอี ยู่แลว้ ค่ะวา่ มนั มีตัวเราเข้าไป

หลวงตา : ก็เหน็ วา่ มนั เป็นตัวปรุงแตง่

โยม : แล้วพอเราเห็นปบุ๊ ! ตัวปรุงแต่งอันนี้มนั จะหยดุ ใชม่ ้ัย?

หลวงตา : มันก็ดบั ไป

โยม : แต่เดี๋ยวพอเราเกิดคิดใหม่ มันก็มีใหม่ แล้วเราเห็นใหม่ มันก็
ดบั ไป

หลวงตา : ใช่ ๆ เราก็เห็นจนกว่าเราจะลงแก่ใจว่า ความปรุงแต่ง
มันไม่ได้มีตัวตนอยู่จริงหรอก มันเกิดแล้วก็ดับ ด้วยอานาจรู้เท่าทัน
มันเกิดแลว้ ก็ดบั ๆ ๆ

แท้จริงน่ะ... ตัวตนไม่มีอยู่จริงหรอก เพราะว่ามันเกิดแล้วก็
ดบั พร้อม... เกิดแล้วก็ดับพร้อม เมื่อ “สติ” มีอยู่ ถ้ามันมีตัวตนอยู่จริงนะ
เรามีสตใิ หต้ ายมนั ก็ไม่ดบั พอมนั เกิดความมตี ัวตนเขา้ ไป

หลวงตาณรงคศ์ กั ด์ิ ขีณาลโย | ๓๕

“เห็น” มีตวั ตนเขา้ ไปร่วม
“ได้ยิน” มีตัวตนเขา้ ไปร่วม
“ไปรู้” อาการทางใจ มตี ัวตนเข้าไปรว่ ม

พอสติมาพร้อมปุ๊บ! มันดับพร้อมเลย! มีตัวตนเข้าไปยึดถือ
มันดับพร้อม! ถ้าตัวตนมันมีคงท่ีอยู่จริงมันไม่มีทางดับหรอก สติมาก็
ไมด่ ับ

โยม : แคม่ สี ติปุ๊บ!เนีย่ ตวั น้ันมนั กจ็ บเลย…?

หลวงตา : มันก็ดับ เราเห็นบ่อย ๆ จึงเห็นว่า อ๋อ… ความเป็นตัวตน
เป็นของเกิดดับน่ีหว่าเน่ีย!! มันไม่ได้เป็นตัวตนจริง ๆ คงที่จริง ๆ แล้วก็
เกิดพรอ้ มดับพร้อม...

จึงเห็นความเป็นตวั ตนไม่มีอยู่จริง!!!

พอเห็นความเป็น ตัวตน ไ ม่มีอยู่จริง แค่น้ันมัน ก็เลย
หมดความหมาย มันโผล่มาเม่ือไหร่ก็ดับพร้อม โผล่มาเมื่อไหร่
ก็ดบั พร้อม ตอนหลังมันสู้สตปิ ัญญาไมไ่ ด้ สตปิ ญั ญามนั รู้เทา่ ทนั บอ่ ย ๆ

มันสู้สติปัญญาไม่ได้ “ความหลงยึดถือ” เป็นตัวเป็นตนคงที่
จริง ๆ เราเป็นตัวตนคงที่จริง ๆ กค็ ่อย ๆ หมดความหมายไป ค่อย ๆ
หมดอทิ ธิพล หมดความหมายต่อใจ เวลามันเกิดมาแต่ละครั้งกค็ ่อย ๆ
เจือจาง ด้วยอานาจสติปัญญาที่รูท้ ันไปบ่อย ๆ ความเป็นตัวตนทเี่ ป็น
ตัวตนจริง ๆ ของเรา ท่ีจะไปยึดถือจริง ๆ เป็นตัวตน มันก็หมด

๓๖ | “ทส่ี ดุ แห่งธรรม ๑”

ความหมายไปเรื่อย ๆ แล้วสุดท้ายก็จางคลาย เหลือแต่ “ความรู้ที่
ไม่มีตัวตน” ใจมันเลยว่างเปล่าเลยตอนน้ีเพราะว่ามันไม่มีตัวตน
ไปยึดถอื ใจ ใจมันเลยวา่ งเปล่า

ท่ีโยมหมอ (หมายถึงโยมหมอศรีวิไล จากไฟล์เสียงที่อ้างถึง)
บอกว่า “มันเห็นแล้วไม่มีคนยึดถือ” คือใจโยมหมอมันว่าง ใจมัน
ว่างเปล่าไปหมดเลย มันไม่เหมือนว่างเมื่อก่อน ว่างเม่ือก่อนมันเป็น
อาการแล้วมันมีคนไปยึดถือ ไม่เหมือนตอนน้ี “มันไม่มีตัวตนเลย...
ไม่มีตัวตนของผู้รู้เลย... ใจมันไม่มีตัวตน” เม่ือใจมันไม่มีตัวตนแล้ว
มันว่าง… ว่างจากตัวตน มันเลยไม่มีตัวตนไปยึดถือ เพราะฉะน้ันทุกคร้ัง
ทุกขณะจติ ปัจจบุ นั เมือ่ มีความรสู้ กึ วา่ มีตัวตนเข้าไปร่วม กเ็ ห็นมนั เป็น
เพียงแค่ “สังขารปรุงแต่ง” ปรุงแต่ง... ปรุงแต่ง... เป็นแค่ปรุงแต่ง
พอเห็นปรุงแต่งบ่อย ๆ มนั ไม่ได้กลัวความปรุงแต่งแล้ว สติปัญญาน่ะ
นี่คือทางเดนิ จริง ๆ

การที่หลงเข้าไปยึดถือ มีตัวตนเข้าไปยึดถือแต่ละครั้ง
เปน็ ทุกข์ เป็นสมุทัย “การรู้เทา่ ทัน” แต่ละครง้ั เป็นมรรค เปน็ นิโรธ

ดังน้ันถ้าหลงปั๊บ! เป็นทุกข์ เป็นสมทุ ัย สติรู้ทันปับ๊ ! เป็นมรรค
เป็นนิโรธ มันก็เลยเกิดขณะจิตเดียวกัน เกิดพร้อมแล้วดับพร้อม คือ
หลงเกิดปุ๊บ! แล้วก็รู้ทัน… ที่หลงก็ดับพร้อม ก็เลยเป็นอริยสัจ ๔
“เห็นอริยสัจ ๔” พระพุทธเจ้ามีชีวิตอยู่ก็สอนอริยสัจ ๔ เป็นส่วนใหญ่
คือ ทุกข์ สมุทยั นโิ รธ มรรค

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขีณาลโย | ๓๗

กเ็ ท่ากับว่าการรู้เห็นอย่างนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมตามคาสอน
พระพุทธเจ้าแล้ว เม่ือใจเปน็ ธรรมเรียกว่า “รู้ธรรมเห็นธรรม” ก็คือ
รู้อริยสัจ ๔ เห็นอริยสัจ ๔ แล้ว ใจก็เปน็ ธรรม คอื เปน็ มรรค เปน็ นโิ รธ
พอยึดทีไรก็เป็นทุกข์ เป็นสมุทัย รู้ทันความยึด... มีการปรุงแต่ง
เป็นตัวเราไปยึด รู้ทันก็เป็นมรรค เป็นนิโรธ พอ “สติ” ขาดก็หลง
มีตัวเราไปยึด รูท้ ันกเ็ ปน็ มรรค เปน็ นิโรธ มนั ก็จะเปน็ ขณะจติ เดยี วกนั

เพราะฉะน้ัน ถา้ ไม่หลงซะก่อนจะไปรู้ทนั อะไร... ทกุ ข์ สมุทัย
มันจึงมาก่อน มรรค นิโรธ มันจึงมาคู่หลัง มรรค นิโรธก็ไปรู้ทัน...
ปรุงแต่งปัจจุบันขณะ... ที่มีตัวเราปรุงแต่งเป็นตัวเราเข้าไปยึด
สติปัญญาจะรู้ทันความปรุงแต่งว่ามันไม่ใช่เป็นตัวตนอยู่จริง รู้ทันว่า
มนั เปน็ แค่ความปรุงแตง่

พอรู้ทัน… ความปรุงแต่งก็ดับไปก็เป็นมรรค เป็นนิโรธ
ความรู้ทันเป็นมรรค...

ความดับเป็นนิโรธ... ความเกิดเป็นตัวตนไปยึดเป็นสมุทัย...
ผลของความยึดเป็นทุกข์... ทุกข์เพราะมันไม่ได้อย่างใจอยาก แต่ละ
คนท่คี บั แคน้ ก็เพราะว่าไมไ่ ดอ้ ย่างใจอยาก มนั ก็เลยเป็นทุกข์

การปฏิบัติเช่นน้ีเท่ากับปฏิบัติตามคาสอนพระพุทธเจ้า
ตลอดเวลา รู้ธรรมเห็นธรรมตลอดเวลา คือ เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ
มรรค คือ “อริยสัจ ๔” เรียกว่า… เห็นอริยสัจ ท่ีเขาบอกว่า อวิชชา
คืออะไร? ก็คือ...

๓๘ | “ทส่ี ดุ แห่งธรรม ๑”

“ความไม่เหน็ อรยิ สัจ ความไมร่ อู้ ริยสัจ” น่ีคืออวชิ ชา!!!

“อริยสัจ” คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่เห็นอริยสัจ
ในปัจจุบันขณะนค่ี ือ “อวิชชา”

เพราะฉะน้ัน “อวิชชา” มันจึงไม่ได้เป็นตัวตนคงที่อะไร
หรอก มนั เป็นแค่ปจั จุบันขณะ ทุกข์ สมุทัยเกิด ก็เกดิ ในปัจจุบันขณะ
แลว้ ก็รูท้ นั ในปัจจบุ ันขณะ ทุกข์ สมุทัยกด็ ับไป เรยี กว่า… เหน็ อรยิ สัจ

การปฏบิ ัตเิ ช่นน้ีไม่มีผิดเลย ไม่มผี ิดทางพระพุทธเจ้าท่ีสอนมา
ตลอดชีวิตของพระองค์ ...จนกระทั่งหลวงปู่ดูลย์ อตโุ ล... ที่เขาเอามา
เขยี นเปน็ กลอนสั้น ๆ วา่ อริยสัจ ๔ คาสอนพระพทุ ธเจา้ มารวมลงที่

“จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ผลแห่งจิต
สง่ ออกนอกเปน็ ทุกข์”... นค่ี ือฝา่ ยทุกข์ กบั สมุทยั

“จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเปน็ มรรค ผลแหง่ จิตเห็นจติ อยา่ ง
แจม่ แจง้ เปน็ นิโรธ”... คือความดบั ทกุ ข์ อันนคี้ ือปจั จุบนั ขณะ ๆ

“จิตส่งออกนอก” คือ เวลาได้เห็น ได้ยิน ได้กล่ิน รู้รส
รอู้ าการในใจ ก็จะมีตัวเราบวกเข้าไป เพราะว่าจิตสง่ ออกก็คือ มี “ตัวเรา"
เป็น “อวิชชา” ความจริงตัวเราไม่มี แต่มีอวิชชาติดอยู่กับจิตท่ีไป
รปู้ ุ๊บ! ก็ยึดเปน็ ตวั เรา มี “ตัวเรา” ได้เหน็ ได้ยิน ได้กลิ่น รรู้ ส รู้สมั ผัส
รอู้ าการ… แล้วกย็ ึด มนั กเ็ ปน็ ทกุ ข์ เป็นสมุทยั ทนั ที

หลวงตาณรงคศ์ ักดิ์ ขีณาลโย | ๓๙

“ จิ ต เ ห็ น จิ ต อ ย่ า ง แ จ่ ม แ จ้ ง ” ก็ คื อ เ ห็ น จิ ต ท่ี มั น มี
“ความปรุงแต่งเป็นตัวเรา” ปนอยใู่ นจิตทส่ี ง่ ออก... ในจติ เดมิ แท้

ในการรู้แต่ละขณะจิต ก็เห็นความเป็นตัวตนมันเป็นความ
ปรุงแต่ง พอรู้ทันก็ดับพร้อม เห็นเกิดพร้อมเห็นดับพร้อม นี่เรียกว่า
เห็นทุกข์ สมุทัย เป็นมรรค เป็นนิโรธ เป็นขณะจิตเดียวเองนะ!!
ขณะจิตเดียวกันไม่ได้เป็นคนละข้ันตอน ที่หลวงปู่ทา จารุธัมโม
ท่านว่า... “ธรรมะมีแต่ปัจจุบันขณะ หลุดจากปัจจุบันขณะ
ไมม่ อี ะไรเป็นธรรม”

ปัจจุบนั ขณะ ทกุ ข์ สมทุ ัย นโิ รธ มรรค ก็คือ “เห็นในปจั จบุ ัน
ขณะ” อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเปน็ ธรรมเมา รูป้ ัจจุบัน ละปัจจุบัน
สิ้นยึดปัจจุบัน เป็นธรรมะ ธัมโม ธรรมะ ธัมโม” รู้ปัจจุบันไม่มีผู้ยึด
ปัจจุบันขณะ ๆ ๆ ส้ินยึดปัจจุบัน ก็คือสิ้นยึดเพราะรู้ทันในปัจจุบัน
ขณะ สิ้นยึดเพราะรู้ทันว่ามันเป็นปรุงแต่ง ตัวตนท่ีไปยึดน่ะไม่ได้มี
ตวั ตนอยจู่ ริง มนั เปน็ เพียงแค่ปรงุ แต่ง

ปรุงแต่งอะไร? ก็ปรุงแต่งเป็นตัวตน แต่คนไปแปลเข้าใจผิด
คอื พอไปเห็นเน่ยี ทาให้มนั ไมค่ ิด ให้รเู้ อ๋อ ๆ พอได้ยนิ ก็ทาให้มนั ไม่คิด
ทาให้มันได้ยินเอ๋อ ๆ รู้กล่ิน รู้รส รู้อาการของใจ ก็ทาให้มันไม่คิด
ให้มันรู้เอ๋อ ๆ แต่มันไม่ใช่!! ที่ว่ารู้เห็นความปรุงแต่ง คือรู้เท่าทัน
ความเป็นตัวเรา ท่ีเข้าไปในปัจจุบันขณะในการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น
รรู้ ส ร้สู มั ผัส รู้อาการของใจ แล้วก็ปรงุ เป็นตวั เรา… เข้าไปเป็นเจา้ ของ

๔๐ | “ทสี่ ุดแห่งธรรม ๑”

“เราเป็นผเู้ หน็ แล้วเรากเ็ ป็นผู้ยดึ …
เราเปน็ ผไู้ ด้ยนิ แล้วเราก็เป็นผูย้ ึด…
เราเป็นผู้ไดก้ ล่นิ แลว้ เรากเ็ ป็นผยู้ ดึ …
เราเปน็ ผู้ร้รู ส แล้วเราก็เปน็ ผูย้ ึด…
เราเป็นผู้รสู้ ัมผสั แลว้ เราก็ยดึ …
เราเปน็ ผู้คดิ แล้วเรากย็ ึด…
เราเป็นผมู้ ีอารมณ์ แล้วเรากย็ ึด…
เราเป็นผรู้ ู้ แลว้ เราก็ยดึ ”

เพราะฉะนั้น สติปัญญามันรู้ทันในปัจจุบันขณะ รู้ทันอะไร?
รู้ทันความปรุงแต่งว่า “เป็นเรา” ท่ีไปยึดเอา “เป็นของของเรา”
มันเป็นความปรุงแต่ง มันไม่ได้เป็นตัวตนคงท่ีอยู่จริง พอรู้ทันว่าเป็น
ความปรุงแต่งมันก็ดับไป เด๋ียวก็ปรุงขึ้นมาอีก ก็รู้ทันอีก มันก็ดับไป
แต่เพราะรู้ทันบ่อย ๆ แล้วมันก็ค่อย ๆ หมดอานาจไป อวิชชาทม่ี ันโง่
อยู่บ่อย ๆ ใครจะปล่อยให้มันโง่อยู่อย่างน้ี ให้มันท่ิมตาตลอดไปล่ะ!
แต่คนก็ไปแปลผิด!! ไปตัดตรงความคิดเลย ทีนี้มันก็เลยเอ๋อ...
ทาอะไรก็เออ๋ ... ทาเออ๋ ๆ ไว้... ไดย้ นิ อะไรก็ทาเออ๋ ๆ...

“หลวงปู่… ด่าว่าไอ้ซือ่ บอ้ื โง่ดักดานมากีภ่ พกี่ชาติ ฝึกรเู้ อ๋อ ๆ
แบบนี้… มันซ่ือบื้อ” มันคนละเรื่องกัน “รู้ทันความปรุงแต่งเป็นเรา”
กับ “ไปยึดเป็นของของเรา”… แค่น้ันเอง แต่นี่ไปทาให้มันไม่คิด
ทาให้มันซื่อบื้อ รู้เฉย ๆ อยู่กับปัจจุบัน... รู้เฉย ๆ อยู่กับปัจจุบัน
ปฏบิ ัตหิ ลงเดนิ ทางผิดกันมาตลอด เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจ...!!

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๔๑

๔๒ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

หลวงตาณรงคศ์ ักด์ิ ขณี าลโย | ๔๓

๔๔ | “ที่สดุ แหง่ ธรรม ๑”

สัจธรรมความจริงของ
“ธาตรุ ู้-อวิชชา-จติ เดมิ แท้-นิพพาน”

“สจั ธรรม” ความจริง คอื ไมม่ ีอวชิ ชา ไมม่ จี ติ ไมม่ ตี ัวเรา

“จิต (จิตด้ังเดิมแท้)” เป็นธาตุรู้ (วิญญาณธาตุ) ท่ีเป็น วิสังขาร
... อสังขตธาต.ุ .. อสงั ขตธรรม... สญุ ญตา... ซึ่งเปน็ ความวา่ งเหมือนกับ
ความว่างอันไม่มีขอบเขตในธรรมชาติ หรือ ในจักรวาล แต่ความว่าง
ในธรรมชาติ ไมม่ คี วามรู้

ส่วน “ธาตุรู้” ซึ่งเป็นจิต หรือ ใจดั้งเดิมแท้ เป็นธาตุว่างที่มี
ความรู้ รู้ออกมาเองจากใจ โดยไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง จึงปรุงแต่งยึดถือ
ไม่ได้ พยายามปล่อยวางไม่ได้ ปรุงแต่งทาให้เป็นรู้โดยไม่คิด น่ิง เฉย
ไม่ได้ (ไม่ใช่ความรูท้ ี่เป็นสัญญา หรือ ปัญญา ซึ่งเป็น “สังขาร” ไม่ใช่
ความรู้สึกว่าง ซ่ึงเป็นเวทนา และ ไม่ใช่ความว่างทป่ี รุงแตง่ หรอื มโน
เอาเอง) ไม่มีรูปลักษณ์ หรือ กิริยาอาการใด จึงไม่มีความรู้สึกสุข ทุกข์
ผ่องใส เศร้าหมอง สว่าง มืด สงบ เงียบ สงัด นิ่ง เฉย ความรู้สึก
ว่างเปล่า ซ่ึงเป็นเวทนาในขันธ์ห้า ไม่ใช่สังขาร จึงไม่อาจคิด นึก
ตรึก ตรอง ปรุงแต่ง หรือ แสดงอาการ หรือ แสดงอารมณ์ต่าง ๆ
ซ่ึงเป็น สัญญา สังขาร ในขันธ์ห้า และ ไม่ใช่ “วิญญาณขันธ์” ที่
เกิดดับรบั รตู้ ามทวาร

หลวงตาณรงคศ์ กั ด์ิ ขณี าลโย | ๔๕

เมื่อ “วิญญาณธาตุ” มารวมกับธาตุ ดิน น้า ลม ไฟ อากาศ
(ความว่าง) เกิดเป็นขันธห์ ้า ไดแ้ ก่ รปู เวทนา สญั ญา สังขาร วิญญาณ
ซ่ึงเป็นสังขารเกิดดับ ไม่เท่ียง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แต่ “วญิ ญาณธาตุ” เป็นความรทู้ ่เี ป็นความว่าง จึงไม่เกดิ ดับไปตาม
ขันธ์ห้า ดังน้ัน “วิญญาณธาตุ” แมจ้ ะรวมกับธาตุอื่น ๆ เป็นขันธ์ห้า
แต่ต่างหากจากขันธ์ห้า และ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ท่ีเกิดดับรับรู้
ตามทวาร

~~~~~~~~~~~~~~~~~

“วิญญาณธาตุ” ไม่เกิดดับไปตาม รูปนาม ขันธ์ห้า
แล้วทางานร่วมกับขันธ์ห้า โดยเฉพาะกับ “วิญญาณขันธ์”
อย่างไร? หรือ “วิญญาณธาตุ” กับ “วิญญาณขันธ์” มีหน้าท่ี
ตามธรรมชาตแิ ตกต่างกันอย่างไร?

~~~~~~~~~~~~~~~~~

ธาตุดิน - ทาหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย และ อวัยวะท่ีเป็น
ของแข็ง ทาหน้าที่ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปตามอวัยวะต่าง ๆ
ไมม่ ีการยึดถอื หรือ ยดึ ถอื ไมไ่ ด้ ไมเ่ ทย่ี ง ไมค่ งที่

ธาตุน้า - ทาหน้าที่เป็นน้าเลือด น้าลาย น้าไขมัน น้าเหงื่อ น้าปัสสาวะ
เป็นตน้ ไม่มีการยดึ ถือ หรอื ยึดถอื ไมไ่ ด้ ไมเ่ ท่ียง ไม่คงท่ี

๔๖ | “ท่ีสดุ แห่งธรรม ๑”

ธาตุลม - ทาหน้าท่ีเป็นลมหายใจ ลมตด ลมเรอ ลมในท้อง
ลมในลาไส้ เป็นต้น ไมม่ ีการยดึ ถือ หรอื ยึดถอื ไม่ได้ ไม่เท่ยี ง ไมค่ งที่

ธาตุไฟ - ทาหน้าท่ีให้เกิดความร้อน ความอบอุ่น เผาผลาญอาหาร
ให้เกิดพลังงาน เป็นต้น ไม่มีการยึดถือ หรือ ยึดถือไม่ได้ ไม่เที่ยง
ไม่คงที่

ธาตุอากาศ (ความว่าง) - เป็นช่องว่าง เพ่ือให้ส่ิงต่าง ๆ มีการ
เคลื่อนไหวได้ ไม่มีการยึดถือ หรือ ยึดถอื ไมไ่ ด้

ทง้ั หมดนั้น เป็นสว่ นของร่างกาย

เม่ือมี “วิญญาณธาตุ” เข้าผสม ร่างกายน้ันจึงเกิดเป็น...
นาม คือ เวทนา (ความรู้สึก) สัญญา (ความจา) สังขาร (ความคิด
ความปรุงแต่ง อารมณ์ตา่ ง ๆ) วญิ ญาณ (การรบั รตู้ ามทวาร)

เวทนา - ทาหนา้ ทเ่ี ปน็ ความรู้สึก ตามธรรมชาติไมม่ ีหน้าทย่ี ดึ ถือ หรือ
ยึดถือไม่ได้ ไมเ่ ท่ยี ง ไม่คงท่ี

สัญญา - ทาหน้าที่เป็นความจา ตามธรรมชาติไม่มีหน้าท่ยี ึดถือ หรือ
ยดึ ถอื ไมไ่ ด้ ไม่เที่ยง ไมค่ งท่ี

สังขาร - ทาหน้าท่ีคิด นึก ตรึกตรอง ปรุงแต่ง แสดงอาการ หรือ
อารมณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติไม่มีหน้าท่ียึดถือ หรือ ยึดถือไม่ได้
ไม่เทย่ี ง ไม่คงท่ี

หลวงตาณรงคศ์ กั ด์ิ ขณี าลโย | ๔๗

วิญญาณ - ทาหน้าที่รับรู้ตามทวาร ตามธรรมชาติไม่มีหน้าท่ียึดถือ
หรอื ยดึ ถอื ไม่ได้ ไมเ่ ท่ียง ไม่คงที่

จะเหน็ ได้วา่ ธาตุ ขันธ์ (รูป-นาม หรอื รูป เวทนา สญั ญา สงั ขาร
วิญญาณ) และ อายตนะภายใน (ประตูตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ)
เขาทาหนา้ ทต่ี ามธรรมชาติของเขาเท่านัน้ ไมม่ ีการยึด

ดังน้ัน ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ซ่ึงเกิดจากธาตุต่าง ๆ มาผสมปรุงแต่งข้ึนมา จึงไม่ได้เป็น
“อวชิ ชา” และ “นพิ พาน”

ส่วนท่ีเป็น “อวิชชา” คือ ความไม่รู้ หลงยึดจิตเป็นตัวเรา
เป็นของเรา มีมาตั้งแต่กาเนิดจิตข้ึนมาในธรรมชาติ แต่แม้จะยังหลง
ยึดจิตด้ังเดิมเป็นตัวเรา เป็นของเรา ซึ่งยังเป็นอวิชชาอยู่ก็ตาม
แต่ธรรมชาติของ “จิตด้ังเดิม” ก็คงเป็นธรรมชาติที่เป็นวิสังขาร
อสงั ขตธาตุ สญุ ญตาธาตุซึ่งเปน็ ธรรม หรือ ธรรมชาติทีไ่ มเ่ ปลี่ยนแปลง
ตลอดกาล เป็นความว่าง ไม่มีตัว ไม่เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
เป็นหญงิ เป็นชาย เป็นนน่ั เปน็ น่ี

ความไม่รู้ (อวิชชา) ใน “สัจธรรม” ความจริงดังกล่าว จึง
ไมเ่ ห็นว่าความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หญิง ชาย เปน็ นั่น เป็น
นี่ เป็นเพียงสมมติ เป็นสังขารปรุงแต่ง มีอยู่ เป็นอยู่ชั่วคราว เกิดข้ึน
แล้ว มีความไม่เที่ยง มีความเส่ือม มีความดับไป เป็นธรรมดา และ
สังขารท้ังหมดไม่มีอยู่ในจิตด้ังเดิม ซ่ึงเป็นวิสังขาร เป็นสุญญตา ต้อง

๔๘ | “ทส่ี ดุ แห่งธรรม ๑”

อบรมสติ ปัญญา เพื่อให้รู้เห็นสัจธรรมความจริงดังกล่าวด้วยใจว่า
จิต... ใจ... หรือ วิญญาณธาตุ... ตั้งแต่ด้ังเดิม เป็นรู้ออกมาจากใจ
โดยไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง ไม่มีอะไรปรากฏเลย ที่มีสังขารปรากฏไม่ใช่ใจ
ทเี่ ป็น “วิสังขาร” ตัวตนของเราก็ไม่มี แล้ว “ใจ” ก็จะเปน็ ความว่าง
(ว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หญิง ชาย ความเป็นนั่น
ความเป็นน่)ี

อบรมด้วยโพชฌงค์ ๗ ซ่ึงเป็นเครื่องส่งเสริม สนับสนุนให้
ตรัสรู้ตาม ไดแ้ ก่ สติสัมโพชฌงค์, ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมะวิจัย),
วิริยสัมโพชฌงค์ (ความเพียร), ปีติสัมโพชฌงค์, ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์,
สมาธสิ มั โพชฌงค์, อุเบกขาสมั โพชฌงค์ อย่างตอ่ เนื่องไมข่ าดสาย

มี “พละ ๕ อินทรีย์ ๕” ได้แก่ ศรทั ธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
เปน็ กาลงั

มี “อิทธบิ าท ๔” ได้แก่ ฉันทะ (ความสนใจ) วิรยิ ะ (ความเพียร)
จิตตะ (เอาใจใส่) วิมังสา (วิเคราะห์เหตุผล รู้เหตุแห่งความเส่ือม คือ
ขาดสติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร รู้เหตุแห่งความเจริญ
รสู้ จั ธรรม รอู้ ริยสัจ หรอื ปฏิจจสมุปบาท) อยา่ งตอ่ เน่ืองไมข่ าดสาย

ปฏบิ ัติตาม “มรรค ๘”

มีขันติ (ความอดทน อดกลั้น) ได้แก่ กินน้อย นอนน้อย
พดู น้อย ไม่คลุกคลีหมู่คณะ สารวมอนิ ทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

หลวงตาณรงคศ์ ักดิ์ ขีณาลโย | ๔๙

ไม่เอาเรื่องโลก ๆ มาสู่ใจ ทาความเพียรให้มาก เพียรให้มีสติ สมาธิ
ปัญญา ศรัทธา ความเพียร อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เพียรละ
บาปกรรมชั่ว (มีหริ ิโอตตปั ปะ ความละอายใจ ความเกรงกลวั ตอ่ บาป)
ธรรมท่ีกล่าวมาทั้งหมดจะเปน็ ส่งิ ช่วยให้ใจรู้แจ้งในสจั ธรรม จากความ
ไม่รู้ (อวิชชา) เป็นความรู้แจ้งจากใจว่า ทุกสรรพส่ิงไม่มีอะไรท่ีมี
ตัวตน เป็นแก่นสารสาระ ให้ยึดม่ันถือมั่นได้ ไม่ควรหลงยึดม่ัน
ถอื มั่น (สพั เพ ธัมมา นาลงั อภินเิ วสายะ)

ความรู้สึกว่า “จิตมีตัว หรือ มีตัวจิต” จะเปรียบเหมือนกับ
เวลากลางวันเดินไปที่ตรงน้ันได้ แต่พอเวลากลางคืนไม่กล้าเดินไป
ท่ีตรงนั้น เพราะรู้สึกว่ามีตัวผี แต่ความจริงตรงบริเวณนั้นไม่มีตัวผี
อยเู่ ลย แตห่ ลงคิดปรุงแต่งว่ามีตัวผจี ึงเกิดความกลัว เป็นทกุ ข์

ทานองเดียวกัน จิต หรือ ใจ หรือ “ธาตุรู้เดิมแท้” ไม่มีตัว
“ผู้ยึดจิต” ก็ไม่มีตัว “ความรู้” ก็ไม่มีตัว และ รู้ออกมาจากใจท่ีเป็น
ความว่าง ไม่มีตัว แต่เม่ือมี "อวิชชา" คือ ความไม่รู้ หรือ ความโง่เขลา
กจ็ ะหลงยึดจติ ว่าเป็นตัวเรา หรอื เปน็ ของเรา

“จิต” เป็นความไม่มีอะไรให้ยึดถือได้ ผู้ยึดก็ไม่มีตัว แต่หลง
ปรุงแต่งเป็นตัวเรา เป็นของเรา เหมือนกับบริเวณนั้นไม่มีอะไร
(ไม่มีผี) แต่เพราะความไม่รู้ หรือ ความเขลา ก็หลงปรุงแต่งผีเป็น
ตัวตนข้ึนมา ในทา่ มกลางความไม่มีอะไร หรือ ในท่ามกลางความว่าง
จึงหลงมีตัวเรากลัวผี เป็นความทุกข์ ถ้าไม่หลงปรุงแต่งมีตัวเรา ก็จะ

๕๐ | “ท่สี ุดแห่งธรรม ๑”


Click to View FlipBook Version